You are on page 1of 5

5

1.2 ลําดับเลขคณิต (Arithmetic sequence)


1.2.1 ลําดับเลขคณิต
พิจารณาลําดับตอไปนี้ 5 , 8 , 11 , 14 , 17 , 20 , . . .
ผลตางของพจนที่อยูติดกัน a 2 -a1 = 8 - 5 = 3
a 3 -a 2 = 11 - 8 = 3
a 4 -a 3 = 14 - 11 = 3
จะพบวาผลตางของพจนที่อยูติดกัน มีคาคงตัวและเทากันเรียกลําดับนีว้ าลําดับเลขคณิต
บทนิยาม ลําดับเลขคณิต คือลําดับที่ผลตางที่ไดจากการนําพจนที่ n +1 ลบดวยพจนที่ n มีคาคงตัวที่
เทากันสําหรับจํานวนเต็มบวก n และเรียกคาคงตัวนีว้ าผลตางรวม

จากบทนิยามให a n เปนลําดับเลขคณิต ดังนัน้ a n +1 − a n = d สําหรับทุกจํานวนเต็มบวก


n เมื่อ d เปนคาคงตัว เรียก d วาผลตางรวม (common difference)
ตัวอยาง 1.4 ตัวอยางลําดับเลขคณิต
(1) 5, 7 , 9, . . . , (2n+3) , . . .
ลําดับนี้คือ a n = 2n + 3
ผลตางรวม , d = 2
(2) 3 , 3, 3 , . . .
ลําดับนี้คือ a n = 3
ผลตางรวม , d = 0
(3) 6 , 4 , 2 , . . . , (8 – 2n) , . . .
ลําดับนี้คือ a n = ………….
ผลตางรวม , d = ………….
จากบทนิยาม a n +1 − a n = d หรือ a n +1 = a n + d

เมื่อ n =1 จะได a 2 = a1 + d
n=2 จะได a3 = a 2 + d = (a1 + d) + d = a1 + 2d
n =3 จะได a4 = a 3 + d = (a1 + 2d) + d = a1 + 3d
n=4 จะได a5 = a 4 + d = (a1 + 3d) + d = a1 + 4d
ดังนั้นจะได

พจนทวั่ ไป a n = a1 + (n-1)d
และ a n − a n −1 = d
6

ลําดับเลขคณิต a n เขียนไดเปน a1 , a1 + d, a1 + 2d, a1 + 3d,… , a1 + (n − 1)d, . . .


ตัวอยาง 1.5 ลําดับตอไปนี้เปนลําดับเลขคณิตหรือไม ถาเปนจงหาผลตางรวม
(1) a n = 2n + 4n (2) a n = 3n − 2
วิธีทํา (1) a n = 2n + 4n
จาก a n = 2n + 4n ดังนั้น a n +1 = 2n+1 + 4n +1
a n +1 − a n = ( 2n +1 + 4n +1 ) − (2n + 4n )
= (2n +1 − 2n ) + (4n +1 − 4n )
= (2 ⋅ 2n − 2n ) + (4 ⋅ 4n − 4n )
= 2n + 3 ⋅ 4n ไมเปนคาคงตัว
ดังนั้นลําดับ a n = 2n + 4n ไมเปนลําดับเลขคณิต
(2) a n = 3n − 2
จาก a n = 2n + 3 ดังนั้น a n +1 = 3(n+1) − 2 = 3n + 1
a n +1 − a n = (3n + 1) − (3n − 2)
= 3 เปนคาคงตัว
ดังนั้นลําดับ a n = 3n − 2 เปนลําดับเลขคณิต

ตัวอยาง 1.6 จงหาพจนทวั่ ไปของลําดับเลขคณิตตอไปนี้


(1) 7 , 9 , 11 , 13 , . . . (2) 4a , 5a + 2b , 6a + 4b , . . .
วิธีทํา (1) 7 , 9 , 11 , 13 , . . .
a1 = 7 และ d = a 2 − a1 = 9 -7 = 2
จาก a n = a1 + (n-1)d
จะได a n = 7 + (n-1) ⋅ 2
a n = 2n + 5

(2) 4a , 5a + 2b , 6a + 4b , . . .
a1 = a และ d = a 2 − a1 = (5a + 2b) − 4a = a + 2b
จาก an = a1 + (n-1)d
จะได a n = 4a + (n-1)(a + 2b)
a n = (n + 3)a + 2(n − 1)b

1.2.2 พจนกลางระหวาง 2 พจนในลําดับเลขคณิต


ให a , A , b เปนลําดับเลขคณิต จะได
A–a = b–A
ดังนั้น A = a + b
2
7

ในกรณีที่ c1 , c2 , c3 , . . . , ck เปนพจนกลาง k พจน ระหวาง a และ b จะได


a , c1 ,c2 ,c3 , . . . , c k , b เปนลําดับเลขคณิต มี a เปนพจนที่ 1 และมี b เปนพจน
ที่ k + 2 จากสูตรพจนทั่วไปจะได
a k+2 = a1 + (k+2-1)d
b = a + (k+1)d
b−a
d =
k +1
ดังนั้น c1 = a + d , c2 = a + 2d , c3 = a + 3d , … , ck = a + kd

ตัวอยาง 1.7 จํานวนสองที่กาํ หนดใหตอไปนี้ เปนสองพจนในลําดับเลขคณิตจงหาอีก 2 พจนทเี่ รียงอยู


ระหวางพจนทั้งสอง
(1) 5, 26 (2) -33 ,-48
วิธี (1) 5, 26
ให c1 ,c 2เปนพจนกลางที่เรียงอยูร ะหวาง 5 , 26
ดังนั้น 5, c1 , c2 , 26 เปนลําดับเลขคณิต มี a1 = 5 และ a 4 = 26
เนื่องจาก 26 = 5 + 3d
26 − 5
จะได d = =7
3
ดังนั้น c1 = 5 + 7 = 12 และ c 2 = 5 + 2(7) = 19

(2) -33 ,-48


ให c1 , c2 เปนพจนกลางที่เรียงอยูร ะหวาง -33 ,-48
…………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………

ตัวอยาง 1.8 ถา -1 , a , b , c , 27 เปนลําดับเลขคณิต จงหา a , b และ c


วิธีทํา a1 = − 1 , a 5 = 27
เนื่องจาก a n = a1 + (n-1)d
จะได a 5 = a1 + 4d

27 = -1 + 4d
27 + 1
d = = 7
4
a = a1 + d = − 1 + 7 = 6
8

b = a1 + 2d = − 1 + 2(7) = 13
c = a1 + 3d = − 1 + 3(7) = 20
จะได a = 6 , b = 13 และ c = 20
ตัวอยาง 1.9 a1 , a 2 , a 3 , . . . เปนลําดับเลขคณิต และ a 25 − a 5 = 40 จงหาผลตางรวม ของลําดับนี้
วิธีทํา เนื่องจาก a 25 − a 5 = 40
จะได (a1 + 24d) − (a1 + 4d) = 40
20d = 40
40
d = = 2
20
ดังนั้นผลตางรวมของลําดับนี้คือ 2
ตัวอยาง 1.10 จํานวนที่อยูระหวาง 100 ถึง 900 มีจํานวนที่หารดวย 7 ลงตัวกี่จํานวน
วิธีทํา จํานวนที่อยูระหวาง 100 ถึง 900 มีจํานวนที่หารดวย 7 ลงไดแก
105 , 112 , 119 , . . . , 896
เปนลําดับเลขคณิต มี a1 = 105 , d = 7 ให 896 = a n
เนื่องจาก a n = a1 + (n-1)d
ดังนั้น 896 = 105 + (n-1)(7)
896 − 105
n = + 1
7
= 114
ดังนั้นมีจํานวนทีห่ ารดวย 7 ลงตัว 114 จํานวน
ตัวอยาง 1.11 1,527 เปนพจน ในลําดับเลขคณิต 5 , 11 , 17 , . . . หรือไม
วิธีทํา ลําดับเลขคณิต 5 , 11 , 17 , . . . มี a1 = 5 , d = 11 – 5 = 6
ให 1,527 = a n
เนือ่ งจาก a n = a1 + (n-1)d
จะได 1,527 = 5 + (n – 1)(6)
1,527 − 5
n = + 1 = 255.6666 . . .
6
คา n ตองเปนจํานวนเต็มบวก ดังนั้น 1,527 ไม เปนพจน ในลําดับเลขคณิต 5, 11, 17 , . . .
9

แบบฝกหัด 1.2

1. ลําดับตอไปนี้เปนลําดับเลขคณิตหรือไม ถาเปนจงหาผลตางรวม
(1) a n = 4n + 3 (2) a n = 6n − 4
(3) a n = 3 − 2n (4) an = n2 − 4
2. จงหาพจนทั่วไปของลําดับเลขคณิตตอไปนี้
1 3 5
(1) -4 , 2 , 8 , . . . (2) , ,1, ,...
2 4 4
1 1 1
(3) (x + 4) , (x + 2) , x , . . . (4) − , − , − , . . .
20 30 60
3. จงหาพจนที่ 20 ของลําดับเลขคณิต 7 , 15 , 23 , . . .
4. ถา 5 , A , 25 , . . . เปนลําดับเลขคณิต จงหาพจนที่ 12
5. ถาผลบวกผลคูณของสามพจนแรกของลําดับเลขคณิตชุดหนึ่งมีคาเปน 24 และ 312 ตามลําดับจงหา
พจนทั่วไปของลําดับนี้

You might also like