You are on page 1of 14

ปรัชญาการเมืองของอริสโตเติล้

ปรัชญาการเมืองของอริสโตเติ้ล
ธรรมชาติของคนและรัฐ
• มนุษย์เป็นสัตว์ที่มีธรรมชาติอยู่ในรัฐ เพราะมนุษย์มีสัญชาติญาณที่จะแสวงหาอำานาจ
และสิ่งที่จะ สนองความปรารถนาของเขา สิง่ เหล่านี้ไม่อาจจะหาได้ที่อื่นนอกจากรัฐ
• รัฐเป็นสถาบันที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติและเป็นสิ่งจำาเป็น
• คนจะสามารถค้นพบจุดหมายปลายทางทีแ่ ท้จริงได้ ภายในรัฐเท่านั้น
• มนุษย์แตกต่างจากสัตว์อื่นๆ คือความสามารถในการพูดและการสมาคมกับคนอื่นๆ
ดังนั้น ชีวิตในรัฐเท่านั้นที่จะสร้างให้มีมนุษย์มีฐานะสูงกว่าสัตว์ป่า และมีความเป็น
มนุษย์อย่างแท้จริง
• ความแตกต่างของคนในด้านสติปัญญา และร่างกาย นำาไปสู่ความแตกต่างด้านฐานะ
ทางสังคม
• อริสโตเติ้ลเชื่อว่า ธรรมชาติกำาหนดให้คนบางคนเป็นนายและบางคนเป็นทาส
• พลเมืองตามทัศนะของอริสโตเติ้ล คือบุคคลที่มีสิทธิในการปกครองของรัฐในรูป
ของการเป็นสมาชิกในองค์กรของรัฐหรือมีส่วนในภารกิจการเมืองอื่นๆ ยกเว้น ทาส
ไม่ควรจะได้รับการยอมรับว่าเป็น “พลเมือง”
• กฎหมายเป็นสิ่งจำาเป็น เป็นสถาบันทีจ่ ะขาดเสียไม่ได้ เพราะกฎหมายเป็นสิ่งซึ่งบันดาลให้
ความยุติธรรมบังเกิดขึ้นในรัฐ และนำามาซึ่งสันติสุขแต่ประชาชน
• คนจะบรรลุถึงความสมบูรณ์ เป็นเลิศที่สุดในบรรดาสัตว์ทั้งหลาย แต่หากเขาแยกออกจาก
กฎหมายและความยุติธรรม เขาจะกลายเป็นสัตว์ทเี่ ลวที่สุด

ความยุตธิ รรม
• ความยุติธรรมเกี่ยวพันกับองค์ประกอบ 2 ประการ คือ
สิ่งที่กำาหนดให้ และการที่บคุ คลเป็นเจ้าของสิ่งที่กำาหนดให้
• ความยุติธรรมจะเกิดขึ้นเมื่อบุคคลที่มีความเท่าเทียมกันได้รับสิ่งที่
กำาหนดให้แบบเดียวกัน

• ความยุติธรรมอธิบายได้ 2 นัย คือ


• ความยุติธรรมในการแบ่งสรรปันส่วน (fairness)
• ความยุติธรรมอันเกิดจากความเสมอภาคกันทางกฎหมาย (lawfulness)
• ความยุติธรรมในการแบ่งสันปันส่วน
หมายถึง คนเราอาจถูกกำาหนดให้ทำาหน้าที่ต่างๆ กันได้ สุดแต่คุณค่า (merit)
ของแต่ละคน
• ความยุติธรรมอันเกิดจากความเสมอภาคกันทางกฎหมาย
หมายถึง ในเรื่องทีเ่ กี่ยวกับการพิจารณาทางกฎหมายนั้น ทุกคนจะต้อง
ได้รับการปฏิบัติโดยทัดเทียมกัน

อุตมรัฐ (Ideal State)


• รูปแบบการปกครองที่ดีที่สุดคือรูปแบบการปกครองทีท่ ำาให้ทุกคนมีความสุขมาก
ที่สดุ
• คนที่มีความสุข คือคนทีม่ ีโอกาสได้เป็นเจ้าของสิ่งที่ดี 3 ประการ
1. สิ่งดีภายนอก (external goods) การเป็นเจ้าของสิ่งอำานวยความสะดวก
2. สิ่งดีแห่งร่างกาย (goods of the body) การมีสุขภาพดี
3. สิ่งดีแห่งจิตใจ (goods of the soul) การมีจิตที่เป็นกุศล
• เครื่องมือทีค่ ้นพบความดีทั้ง 3 ประการ คือ
1. คุณสมบัติตามธรรมชาติ
2. อุปนิสัยอันเหมาะสม
3. หลักการแห่งเหตุผล
• เครื่องมือประการแรก รัฐไม่สามารถช่วยเหลือได้ เพราะมนุษย์จะได้รับจาก
จากธรรมชาติ ส่วน 2 ประการหลัง อาจเพิ่มพูนได้ด้วย “การศึกษา”
เพราะการศึกษา ช่วยสร้างคนให้รู้จักเหตุผล รู้จักปฏิบัติตามวินัย
• รูปแบบรัฐในอุดมคติในอุดมคติ รัฐจะต้องมีอาณาบริเวณไม่กว้างเกินไป และ
เล็กจนเกินไป เพราะถ้าใหญ่เกินไปจะเป็นอุปสรรคแก่การบังคับใช้กฎหมาย
แต่ถ้าเล็กเกินไปจะขาดความอุดมสมบูรณ์
• การที่รัฐไม่เล็กหรือใหญ่จนเกินไปจะทำาให้ประชาชนรู้จักกันทั่วทุกคน และ
สามารถสรรหาคนดีเข้ารับราชการได้เหมาะสมตามคุณสมบัติของแต่ละคน
• รัฐกำาหนดอายุที่เหมาะสมทีจ่ ะสมรสคือ ชายอายุ 37 หญิง 18 ปี
• รัฐในอุดมคติจะต้องตั้งอยู่ในภูมิประเทศที่เหมาะสมทัง้ ทางยุทธศาสตร์และการพาณิชย์
คือ ควรตั้งอยู่ในหุบเขาและมีทางติดต่อกับทะเล เพราะจะได้ประโยชน์จากการป้องกัน
ตนเองจากธรรมชาติ การอยู่ติดทะเลทำาให้สามารถสร้างพลังกองทัพเรือได้ และอำานวย
ประโยชน์อย่างยิ่งแก่การพาณิชย์
• สังคมในอุดมคติจะแบ่งบริการต่างๆ ออกเป็น 6 ประเภท คือ
1. การกสิกรรม 2. การช่าง
3. การป้องกันรัฐ 4. การที่ดนิ
5. การศาสนา 6. การบริการสาธารณะ
สมาชิกในสังคมแบ่งออกเป็น 2 ประเภท
1. พลเมือง เป็นเจ้าของทีด่ ินได้ ทำาหน้าทีด่ ้าน ที่ดิน ป้องกันรัฐ ศาสนา
และบริการสาธารณะ
2. ผู้อาศัย ได้แก่ พ่อค้า ช่างฝีมือ และทาส ทำาหน้าทีด่ ้านการกสิกรรม การช่าง
ช่วยแบ่งเบาภาระ ทำาให้พลเมืองมีเวลาว่างที่จะแสวงหาความสุข และ
ศึกษาเพิ่มเติม
• การแบ่งสรรที่ดีที่สุด คือ การกำาหนดหน้าที่ป้องกันประเทศไว้กับพลเมืองหนุ่ม
การปกครองไว้กับพลเมืองวัยกลางคน และการศาสนากับพลเมืองที่สงู อายุ ใน
ลักษณะเช่นนี้จะทำาให้พลเมืองแต่ละคนได้ทำาหน้าทีท่ ุกหน้าที่ แต่ละช่วงชีวิตที่เขา
มีคุณสมบัติเหมาะสม
• ทีด่ ินในรัฐต้องจัดสรรให้กับพลเมือง แต่มสี ่วนหนึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของรัฐ เพื่อนำา
ผลผลิตรายได้ไปสงเคราะห์ผู้ทที่ ำามาหากินฝืดเคือง และผู้ที่ทำาหน้าที่บริการทาง
ศาสนา
• พลเมืองควรจะมีที่ดนิ 2 แปลง แปลงหนึ่งอยู่ในเมือง อีกแปลงหนึ่งอยู่นอกเมือง
เพื่อให้พลเมืองมีผลประโยชน์ร่วมกัน และร่วมมือในกิจกรรมของรัฐ และป้องกันภัย
จากภายนอก
• รูปแบบการปกครองที่ดีทสี่ ุด คือ ราชาธิปไตย (Monarchy) รองลงมา คือ
อภิชนาธิปไตย (Aristocracy)
• รัฐบาลในอุดมคติคือรัฐบาลโดยคนดี (virtuous man) ไม่ว่าจะเป็นคนๆ เดียว
น้อยคน หรือมากคน ก็ตาม
• อย่างไรก็ตามจากการสำารวจรัฐต่างๆ ทั้งตะวันตกและตะวันออก อริสโตเติ้ล ไม่พบ
รัฐราชาธิปไตยที่ถูกต้องตามอุดมคติของเขาแต่ประการใด จึงอาจกล่าวได้ว่า
แท้จริงแล้ว อริสโตเติ้ลมุ่งหวังที่จะสถาปนารัฐในอุดมคติ มากกว่ารัฐที่เป็นไปได้ใน
ความเป็นจริง
ประยุกตรัฐ (Practical State)
• อริสโตเติ้ล เชื่อว่า รัฐที่ดที ี่สุดที่สถาปนาขึน้ ได้ในความเป็นจริงต้องเป็นรัฐที่มีชนชั้น
กลางจำานวนมากๆ กว่าชนชั้นสูง หรือชนชั้นตำ่า และมีรัฐธรรมนูญทีก่ ำาหนดรูปแบบ
การปกครองบนหลักการผสมระหว่าง คณาธิปไตย (Oligarchy) กับประชาธิปไตย
(Democracy) รูปแบบการปกครองนี้อริสโตเติ้ลเรียกว่า มัชฌิมวิถีอธิปไตย (Polity)
หรือ ประชาธิปไตยสายกลาง (Moderated Democracy)
• อริสโตเติ้ลยึดหลักว่า ในสังคมใดก็ตามควรมีองค์ประกอบ 2 ประการ คือ คุณภาพ
และปริมาณ คุณภาพ ได้แก่ลักษณะของคณาธิปไตย อันได้แก่ การให้ความสำาคัญกับ
ชาติกำาเนิด ทรัพย์สิน หรือการศึกษา คือปริมาณลักษณะของประชาธิปไตย หมายถึง
การให้คนจำานวนมากเข้ามามีสิทธิในการปกครอง ถ้าปล่อยให้รูปการปกครองเป็นไป
ในลักษณะใดเพียงลักษณะเดียวอาจทำาให้รัฐมีจุดหมายปลายทางที่ไม่ดี
• การทีจ่ ะให้ลักษณะการปกครองเป็นไปในรูปมัชฌิมวิถีอธิปไตย อริสโตเติ้ลเห็นความ
จำาเป็นที่จะต้องมีพลังถ่วงดุลย์ระหว่างพลังของคณาธิปไตยและประชาธิปไตย ซึ่ง
อริสโตเติ้ลกำาหนดให้ชนชั้นกลางเป็นพลังที่ว่านี้ เพราะชนชั้นกลางไม่จนจนเกินไป
จนอาจทำาให้เกิดความริษยา และไม่รวยเกินไปจนเกิดความละโมบ ชนชั้นกลางนี้
โดยปกติมุ่งใช้ชีวิตในการทำามาหากิน แต่ในขณะเดียวกันก็มีสายตาทีจ่ ะคอยตรวจสอบ
กิจกรรมของรัฐ
• คุณสมบัติของผู้ปกครอง อริสโตเติ้ลกำาหนดทรัพย์สมบัติเป็นคุณสมบัติ แต่เขาเห็นว่า
ผู้ปกครองต้องมาจากการเลือกตั้ง เพราะการเลือกตั้งทำาให้ผู้ปกครองไม่สามารถทำา
ตามอำาเภอใจหรือแสวงหาประโยชน์ใส่ตน เพราะตำาแหน่งขึ้นอยู่กับการสนับสนุนของ
ประชาชน โดยเฉพาะในประยุกตรัฐ ซึ่งมีชนชั้นกลางจำานวนมาก แม้ผู้ปกครอง
(คณาธิปไตย) ซึ่งเป็นคนรวย แต่ก็ต้องมีนโยบายสายกลาง และคำานึงถึงผลประโยชน์
ของชนชั้นกลาง จึงจะได้รับความไว้วางใจให้ปกครอง (ได้รับคะแนนนิยม)
• ในประยุกตรัฐ กำาหนดให้เฉพาะคนรวยหรือชนชั้นสูงเท่านั้นทีม่ ีสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง
เป็นผู้ปกครอง ชนชั้นกลางและชนชั้นตำ่าจะไม่ได้รับสิทธิหรือโอกาสที่จะเป็น
ผู้ปกครอง ลักษณะประชาธิปไตยแสดงออกโดยให้ทุกชนชั้นในรัฐมีสิทธิลงคะแนน
เสียงเลือกตั้ง ซึ่งเท่ากับควบคุมให้ผู้ปกครองยึดหลักทางสายกลาง
• เพราะคนส่วนใหญ่เป็นชนชั้นกลาง หลักสายกลางจะช่วยประสานประโยชน์ระหว่าง
ชนชั้นสูงที่มีความละโมบกับชนชั้นตำ่าทีม่ ีความริษยา ก่อให้เกิดความสมานฉันท์
(Harmony) ภายในรัฐ
• ผู้ปกครองที่ดีจะต้องมีความรู้ความสามารถ และยึดกฎหมายเป็นหลักปฏิบัติ
• ประชาชนทุกกลุ่มจะต้องได้รับการพิทักษ์จากรัฐในเรื่องผลประโยชน์ ศักดิศ์ รี และ
สิทธิต่างๆ ทีค่ วรจะได้รับจากรัฐ จะต้องสร้างให้ประชาชนฉลาด มีขนั ติ และมี
คุณธรรม
• ประชาชนที่ดจี ะต้องมีความฉลาด มีวิจารณญาณ เคารพกฎหมายอย่างเคร่งครัด และ
ดำาเนินชีวิตไปในทางที่จะช่วยรักษารูปแบบการปกครองที่ดไี ว้ได้ จะต้องทราบว่า
ผลประโยชน์ส่วนรวมต้องสำาคัญกว่าส่วนตัว จะไม่แสวงหาผลประโยชน์จนเกิดผล
เสียต่อสังคม และจะต้องรู้ว่าการใช้เสรีภาพแบบผิดๆ นั้นอาจทำาลายรัฐและสังคมได้
• แม้ลักษณะของประยุกตรัฐจะไม่สมบูรณ์แบบเท่ากับอุตมรัฐ แต่อริสโตเติ้ลก็พอใจ
มากกว่าด้วยเหตุผลทีว่ ่า ประยุกตรัฐไม่เลอเลิศเกินกว่าความสามารถของมนุษย์ที่จะ
สร้างขึ้น ผิดกับอุตมรัฐซึ่งยากจะเนรมิตให้ปรากฏเป็นจริงขึ้นมาได้
รูปแบบการปกครอง
• อริสโตเติ้ลเชื่อว่า รัฐอาจจะเป็นรัฐที่ดที ี่สุด แม้ว่าปราศจากความสมบูรณ์
และคนนั้นอาจจะประพฤติดที ี่สุดได้แม้ว่าเขาจะอยู่ในรัฐที่เลว
มาตรการที่ใช้วัดความดีหรือความยุติธรรมของรัฐ
คือความสามารถที่จะรับใช้ผลประโยชน์ร่วมของคนในรัฐ
• รัฐทีเ่ ลวคือรัฐที่มีรูปการปกครองที่อำานวยประโยชน์แก่ผู้ปกครองเท่านั้น
เขาเขียนไว้ใน Politics ว่า “รัฐธรรมนูญจำาพวกที่คำานึงถึงผลประโยชน์ร่วม
เป็นรัฐธรรมนูญทีถ่ ูกต้องเมื่อตัดสินด้วยมาตรฐานแห่งความยุติธรรมอันสูงสุด
ส่วนรัฐธรรมนูญซึ่งคำานึงถึงแต่ผลประโยชน์ส่วนตัวของผู้ปกครองเป็นรัฐธรรม
นูญที่ผิดเบี่ยงเบนไปจากรูปแบบที่ถูกต้อง”
• รัฐที่ดที ี่สุดในทรรศนะของอริสโตเติ้ลคือ
รัฐที่ปกครองโดยคนคนเดียวและมีวัตถุประสงค์เพื่อความสุขของประชาชนทั้ง
หมด หรือที่เรียกว่าราชาธิปไตย
อย่างไรก็ตามหากว่าการปกครองโดยคนคนเดียวนี้ดำาเนินการตามอำาเภอใจ
เพื่อแสวงหาผลประโยชน์ของเขาเพียงคนเดียวก็จัดได้ว่าเป็นการปกครองที่เลว
ที่สดุ อริสโตเติ้ลเรียกว่า ระบบทุชนาธิปไตยหรือทรราชย์
• อริสโตเติ้ลแบ่งรูปการปกครองออกเป็น 6 ระบบด้วยกัน
การวิเคราะห์ของเขาวางรากฐานบนหลัก 2 ประการคือ
จำานวนบุคคลที่เป็นผู้ใช้อำานาจอธิปไตย
และจุดมุ่งหมายของการปกครองซึ่งเน้นว่า
เพื่อผลประโยชน์ของผู้ปกครองหรือเพือ่ ประชาชนทั้งหมด

จำานวน เพื่อประชาชน เพื่อผู้ปกครอง


คนเดียว ราชาธิปไตย ทุชนาธิปไตย
(Monarchy) (Tyranny)
คณะ อภิชนาธิปไตย คณาธิปไตย
(Aristocracy) (Oligarchy)
ประชาชนทัง้ หมด มัชฌิมวิถีอธิปไตย ประชาธิปไตย
(Polity) (Democracy)
• รัฐที่ดที ี่สุดในทรรศนะของอริสโตเติ้ลคือ
รัฐที่ปกครองโดยคนคนเดียวและมีวัตถุประสงค์เพื่อความสุขของประชาชนทั้ง
หมด หรือที่เรียกว่าราชาธิปไตย
อย่างไรก็ตามหากว่าการปกครองโดยคนคนเดียวนี้ดำาเนินการตามอำาเภอใจ
เพื่อแสวงหาผลประโยชน์ของเขาเพียงคนเดียวก็จัดได้ว่าเป็นการปกครองที่เลว
ที่สดุ อริสโตเติ้ลเรียกว่า ระบบทุชนาธิปไตยหรือทรราช

ระบบอภิชนาธิปไตยคือระบบการปกครองโดยคณะบุคคลจำานวนหนึ่งซึ่งมีคุณส
มบัติแห่งความเฉลียวฉลาดและมีจุดมุ่งทีจ่ ะนำาสันติสุขมาสูค่ นในรัฐทั้งหมดเป็น
ผู้ใช้อำานาจอธิปไตย อริสโตเติ้ลเห็นว่า
ระบบการปกครองเช่นนี้เป็นระบบที่ดที ี่สุดรองจากราชาธิปไตย
แต่ถ้าคณะบุคคลที่ปกครองมุ่งทีจ่ ะใช้อำานาจเพื่อความผาสุกของพวกตนเพียงก
ลุ่มเดียว
โดยยึดหลักทรัพย์สมบัติมากกว่าความรักชาติและความเฉลียวฉลาดแล้ว
ก็จะเป็นระบบการปกครองชั้นเลวรองจากทุชนาธิปไตย
• ระบบการปกครองมัชฌิมวิถอี ธิปไตยนั้น
เป็นการปกครองเพื่อประชาชนผู้ปกครองใช้อำานาจเพือ่ ผลประโยชน์ร่วม
ประชาชนมีสิทธิเลือกผู้ปกครอง
แต่ผู้ทจี่ ะเสนอตัวเข้าเลือกตั้งต้องมีคุณสมบัติบางอย่าง
ในทีน่ ี้อริสโตเติ้ลกำาหนดให้ต้องเป็นผู้ทมี่ ีทรัพย์สมบัติจำานวนหนึ่ง
การปกครองระบอบมัชฌิมวิถีอธิปไตยนี้อริสโตเติ้ลยอมรับว่าเป็นระบบดีน้อยที่
สุดเมื่อเปรียบเทียบกับระบบทีด่ ีทั้งหลาย
แต่นับว่าดีกว่าระบอบการปกครองอื่นๆ
ที่ปกครองเพื่อผลประโยชน์ของผู้ปกครอง
• ส่วนระบอบประชาธิปไตยทัว่ ๆ ไป
ที่ให้ประชาชนทั้งหมดมีส่วนร่วมในการปกครอง ไม่มีการเลือกตั้งแต่
ใช้จับสลากหมุนเวียน หรือมีเลือกตั้ง แต่ไม่มีกำาหนดคุณสมบัติ
เป็นระบบทีเ่ ลวน้อยทีส่ ุดในบรรดาระบบที่เลวด้วยกัน
เพราะเป็นระบบปกครองที่ผู้ปกครองสนับสนุนผลประโยชน์ของคนจนแต่
กลุ่มเดียว

You might also like