You are on page 1of 9

1

สภาพการจัดการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลีของคณะสงฆ์ไทย
บทนำำ
ในสังคมไทยนั้น การบวชเณรและพระเป็นทางเลือกในการแสวงหาโอกาสทางการศึกษาและการ
ไต่เต้าทางอาชีพของคนจนในชนบทจำานวนมาก ที่ไม่มีโอกาสรับการศึกษา และประเพณีการบวชเรียนซึ่งมี
ความหมายว่า บวชคู่กับเรียน เมื่อบวชก็ต้องเรียน หรือที่บวชก็เพื่อเรียน (พระราชวรมุนี, 2529 : 3)
การศึกษาสงฆ์ถูกแยกออกจากระบบการจัดการศึกษาสำาหรับประชาชน โดยจัดให้อยู่ในความดูแล
ของกรมการศาสนาและมหาเถรสมาคม ด้วยเหตุที่ผู้เรียนอยู่ใน "ภิกษุภาวะ" แม้จะเป็นหลักสูตรเดียวกับ
การศึกษาสำาหรับบุคคลทั่วไป เช่น หลักสูตรพระปริยัติธรรมศึกษา แผนกสามัญศึกษาก็ตาม เป็นต้น โครง
หารสร้างการบริหารการศึกษาเช่นนี้จึงก่อให้เกิดปัญหาทางการศึกษาของคณะสงฆ์ในด้านต่าง ๆ เนื่องจาก
การจัดการศึกษามิใช่ภาระหน้าที่หลักของกรมการศาสนาและมหาเถรสมาคมเหมือนเช่นกรมอื่น ๆ ใน
กระทรวงศึกษาธิการ หากพิจารณาโครงสร้างการบริหารการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ จะเห็นความ
แตกต่างระหว่างการจัดการศึกษาของฆราวาสและการศึกษาสงฆ์อย่างชัดเจน เพราะในหน่วยงานระดับกรม
14 หน่วยงานของกระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่ในการจัดการศึกษาจำาแนกตามระดับอย่าง
ชัดเจน 7 หน่วยงาน และเน้นเฉพาะการศึกษาของฆราวาส (สุภาพร มากแจ้ง, 2542 : 239)
รัฐธรรมนูญและพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติทุกฉบับ มิได้กล่าวถึงการจัดการศึกษาของคณะ
สงฆ์ไว้เป็นส่วนเฉพาะต่างหากจากการศึกษาของประชาชน ดังนั้นการศึกษาของคณะสงฆ์จึงควรเป็นส่วน
หนึ่งของการศึกษาแห่งชาติและใช้หลักการในการจัดตามแนวทางการจัดการศึกษาที่ปรากฏในรัฐธรรมนูญ
และพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติด้วย

กำรศึกษำของสงฆ์
การศึกษาสงฆ์ หมายถึง สิ่งที่พระภิกษุสามเณรต้องเล่าเรียนทำาความเข้าใจ ส่วนคณะสงฆ์ หมายถึง
บรรดาพระภิกษุที่ได้รับการบรรพชาอุปสมบทจากอุปัชฌาย์ การศึกษาของคณะสงฆ์ เป็นการศึกษาที่จัดให้
แก่ภิกษุสามเณร โดยคณะกรรมการศึกษาของคณะสงฆ์และสภามหาวิทยาลัยสงฆ์เป็นการศึกษาวิชาการ
พระพุทธศาสนา ได้แก่ การศึกษาพระปริยัติธรรมเป็นหลักโดยมี วัตถุประสงค์สำา คัญคือ ป้อ งกั นมิ ให้
เปลี่ยนแปลงพระธรรมวินัยให้ผิดไปจากพระบาลีในพระไตรปิฎก ซึ่งปัจจุ บันประกอบด้ วยการศึกษา
หลักสูตรต่าง ๆ ดังนี้ คือ
1. หลักสูตรพระปริยัติธรรมแผนกธรรม มี 3 ระดับ ได้แก่นักธรรมชั้นตรี นักธรรมชั้นโท และนัก
ธรรม ชั้นเอก
2

2. หลักสูตรพระปริยัติธรรมแผนกบาลี มี 8 ระดับ ได้แก่ ประโยค 1-2 และเปรียญธรรม 3-4-5-6-7


8-9
3. หลักสูตรปริญญาตรีในมหาวิทยาลัย ได้แก่ พุทธศาสตรบัณฑิตของมหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ราช
วิทยาลัย และศาสตรบัณฑิตของมหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย
4. หลักสูตรพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษาจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรมัธยมศึกษาทั้ง
ตอน ต้นและตอนปลายของกระทรวงศึกษาธิการ
หลั ก สู ต รทั้ ง 4 ประเภทสามารถจำา แนกได้ เ ป็ น 2 กลุ่ ม กล่ า วคื อ กลุ่ ม หลั ก สูต รที่ ศึ ก ษาเฉพาะ
วิชาการพระพุทธศาสนา ได้แก่ หลักสูตรพระปริยัติธรรมแผนกธรรมและหลักสูตรพระปริยัติธรรมแผนก
บาลี จัดเป็น การศึกษาปริยัติธรรม กลุ่มที่ 2 เป็นหลักสูตรที่ศึกษาวิชาการพระพุทธศาสนาร่วมกับวิชาสามัญ
อื่น ๆ ได้แก่ หลักสูตรมหาวิทยาลัยสงฆ์และหลักสูตรพระปริยัติธรรมแผนกสามัญจัดเป็น การศึกษาพระ
ปริยัติธรรมประยุกต์ (สุภาพร มากแจ้ง, 2542 : 2-4)
เมื่อพิจารณาเป็นส่วนใหญ่ 2 ส่วน คือ คันธธุระ 1 วิปัสสนาธุระ 1 คันธธุระนั้น เรียนหนัก เริ่มต้น
ด้ว ยการเรียนภาษาบาลี และแปลพระไตรปิ ฎ ก พยายามให้ อ่า นออกแปลได้ ค้น คว้า ให้ แ ตกฉาน ส่วน
วิปัสสนาธุระนั้น ไม่หนักนัก โดยการเรียนทางสมาธิวิปัสสนากรรมฐาน ทำาให้ใจสะอาดปราศจากกิเลศทั้ง
ปวง (กองแผนงานการศึกษา, 2526 : 5)
การศึกษาเมื่อแบ่งออกเป็นลำาดับชั้น คือ ปริยัติ การศึกษาเล่าเรียนหลักทฤษฏี คัมภีร์ต่างๆ เช่น พระ
ไตรปิฎก อรรถกถา ฯลฯ ปฏิบัติ การประพฤติปฏิบัติให้ถูกต้องตามหลักคำาสอนที่ได้เล่าเรียนมาอย่างดีแล้ว
ปฏิเวธ คือ การรู้แจ้งภายหลังจากบรรลุผลการปฏิบัติ

กำรศึกษำพระปริยัติธรรมแผนกบำลี
ภาษาบาลี (ภาษาบาลี : ปาลิ) (पािि ) เป็นภาษาที่เก่าแก่ภาษาหนึ่ง ในตระกูลอินเดีย-ยุโรป (อินโด-
ยูโรเปียน) ในสาขาย่อย อินเดีย -อิหร่าน (อินโด-อิเรเนียน) ซึ่งจัดเป็นภาษาปรากฤตภาษาหนึ่ง เป็นทีร่ ู้จักกัน
ดีในฐานะเป็นภาษาที่ใช้บันทึกคัมภีร์ในพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท (มี พระไตรปิฎก เป็นต้น) โดยมี
ลักษณะทางไวยากรณ์ และคำาศัพท์ที่คล้ายคลึงกับภาษาสันสกฤต ไม่มีอักษรชนิดใดสำาหรับใช้เขียนภาษา
บาลีโดยเฉพาะ มีหลักฐานจารึกภาษาบาลีด้วยอักษรต่างๆ มากมายในตระกูลอั กษรอินเดีย เช่น อักษร
พราหมี อักษรเทวนาครี จนถึง อักษรขอม อักษรไทย อักษรมอญ แม้กระทั่งอักษรโรมัน (โดยมีการเพิ่ม
เครื่องหมายเล็กน้อย) ก็สามารถใช้เขียนภาษาบาลีได้ ร้อยกรอง และงานประพันธ์อื่นๆ แม้กระทั่งการพูด
เพื่อสื่อสารระหว่างผู้รู้ภาษาบาลีด้วยกัน
3

ความสำา คัญของภาบาลีนั้น เทวประภำส มำกคล้ำย (2551 : 135) อธิบายว่า ภาษาบาลี หรือภาษา


มคธ เป็นภาษาที่จารึกพระไตรปิฎก ด้วยเป็นภาษาที่คนชมพูทวีปในสมัยพุทธกาลนิยมใช้กันทั่วไป จึงเป็น
ภาษาที่พระพุทธเจ้าใช้เผยแพร่พระพุทธศาสนาในสมัยนั้น หลังจากพุทธปรินิพพานมีการทำาปฐมสังคายนา
พระเถระได้ตกลงกันใช้ภาษาบาลีสำาหรับจดจำาพระไตรปิฎก พระสงฆ์สายเถรวาทจึงต้องศึกษาภาษาบาลี
ให้เข้าใจลึกซึ้งและสามารถเทียบเคียงสอบทานกับพระไตรปิฎกที่เก็บไว้ในสถานที่ต่างกันได้ เพื่อรักษาการ
แปลความหมายจากพระพุทธพจน์ในพระไตรปิฎกให้ถูกต้องไม่บิดเบือน และหน้าที่นี้ก็เป็นหน้าที่ของพระ
สงฆ์ในประเทศไทยเช่นเดียวกัน
การจัดการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกภาษาบาลี เป็นพระราชภาระของพระมหากษัตริย์ ทรงจัด
ให้พระภิกษุสามเณรได้ศึกษาเล่าเรียนตามกำาลังสติปัญญา สืบเนื่องเป็นพระราชกรณียกิจมา ตั้งแต่สมัยกรุง
ศรีอยุธยา ครั้งถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นนับแต่สมัยรัชกาลที่ 1 ถึงสมัยรัชกาล ที่ 5 พระมหากษัตริย์
ทุกพระองค์ทรงรับพระราชภาระอยู่โดยสมำ่าเสมอ โดยเฉพาะในรัชกาลที่ 2 คือ พระบาทสมเด็จพระพุทธ
เลิศหล้านภาลัย นอกจากพระองค์จะทรงมีพระราชดำาริให้ สมเด็จพระสังฆราช (มี) วัดพระเชตุพนฯ จัดพิธี
วิสาขบูชาขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2360 แล้ว ยังทรงโปรดให้สมเด็จพระสังฆราช ขยายหลักสูตรบาลีจาก
บาเรียนตรี โท เอก ซึ่งสืบเนื่องมาจากกรุงศรีอยุธยาเป็น เปรียญ 9 ประโยค ยังคงสืบเนื่องมาจนบัดนี้ (บา
ลีดิค. ออน-ไลน์. 2551)
พระสงฆ์ไทยน่าจะมีการศึกษาภาษาบาลีมาตั้งแต่สมัยเริ่มแรกที่พระพุทธศาสนาเข้ามาเผยแผ่ใน
ประเทศไทย มีหลักฐานปรากฏในสมัยทวารวดี มีหลักฐานการจัดการศึกษาพระปริยัติธรรมบาลีอย่างเป็น
ระบบในสมัยอยุธยา
การศึกษาบาลีรุ่งเรืองยิ่งในสมัยล้านนา มีการแต่งคัมภีร์บาลีขึ้นมากมาย คัมภีร์ที่แต่งในครั้งนั้นยัง
ใช้เป็นหลักสูตรในการเรียนการสอนพระปริยัติธรรมของคณะสงฆ์ไทยในปัจจุบันด้วย
ส่วนรูปแบบการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลีในปัจจุบัน มีรูปแบบและพื้นฐานการจัดการ
ศึกษามาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 2 คือ เป็นการศึกษาที่เน้นการสอบวัดผลความรู้ หรือที่เรียกว่า สอบบาลีสนาม
หลวง เป็นหลัก โดยมีแม่กองบาลีสนามหลวง เป็นผู้ดำาเนินการจัดการสอบพร้อมกันทั่วประเทศ ส่วนการ
เรียนการสอนนั้น จะอยู่ที่ผู้เรียน หรือแต่ละสำานักเรียนจะดำาเนินการ โดยมีเจ้าสำานักเรียน เป็นผู้รับผิดชอบ
ทั้ งเรื่ อ งการเรี ย นการสอน การจั ด การเรื่ อ งสถานที่ อุ ป กรณ์ ก ารเรี ย นการสอน ครู ผู้ สอน ตลอดถึง งบ
ประมาณในการดำาเนินการ (กีรติ ศรีวิเชียร, 2541 : 18)
เทวประภำส มำกคล้ำย (2551 : 135-136) อธิบายถึงการศึกษาภาษาบาลีของไทยว่า การศึกษาภาษา
บาลีตั้งแต่สมัยสุโขทัยนั้น มีองค์พระมหากษัตริย์เป็นองค์อุปถัมภ์ให้การสนับสนุนตลอดมา มีการอุทิศพระ
ราชมณเฑียรเป็นที่เล่าเรียนศึกษาของพระสงฆ์ มีการยกย่องและถวายนิตยภัตรแก่พระสงฆ์ผู้มีความรู้ภาษา
4

บาลี จนถึงแม้พระมหากษัตริย์ไทยบางพระองค์ ที่ทรงเป็นปราชญ์เชี่ยวชาญในภาษาบาลี สามารถลงบอก


บาลี (สอน) แก่พระสงฆ์สามเณรด้วยพระองค์เองก็มีตลอดมาจนสมัยกรุงรัตนโกสินทร์
การจัดสอบบาลีหรือการสอบสนามหลวงจัดว่าเป็นการวัดความรู้ชั้นสูงของคณะสงฆ์ไทยโดย
พระบรมราชูปถัมภก สืบทอดมาตั้งแต่สมัยอยุธยาจนถึงปัจจุบนั พระภิกษุสามเณรผู้สอบไล่พระปริยัติธรรม
บาลีได้ องค์พระมหากษัตริย์ไทยแต่โบราณจะยกย่องและให้เกียรติถวายสมณศักดิ์โดยเฉพาะ
อนึ่ง การเล่าเรียนศึกษาพระปริยัติธรรมนั้นเป็นสิ่งสำาคัญที่รัฐให้ความสำาคัญมาตลอด ดังที่ สมเด็จ
กรมพระยาดำารงราชานุภาพ ทรงตรัสไว้ใน อธิบายเรื่องการสอบพระปริยัติธรรม ว่า "การสอบพระปริยัติ
ธรรมของพระภิกษุสามเณร นับเป็นราชการแผ่นดินอย่างหนึ่ง ด้วยอยู่ในพระราชกิจของพระเจ้าแผ่นดินผู้
เป็นพุทธศาสนูปถัมภก"
ในปัจจุบันมีการจัดการศึกษาบาลีอย่างเป็นระบบ โดยแม่กองบาลีสนามหลวงรับผิดชอบดูแลโดย
ภายใต้การกำากับของมหาเถรสมาคม ในความอุปถัมภ์ของรัฐบาล
สำานักงานแม่กองบาลีสนามหลวง เป็นหน่วยงานจัดการศึกษาของคณะสงฆ์ไทยคู่กับสำา นักงาน
แม่กองธรรมสนามหลวง เป็นหน่วยงานภายใต้การดูแลของมหาเถรสมาคมซึ่งอยู่ในความอุปถัมภ์ของ
รั ฐ บาล หน้ า ที่ ห ลั ก คื อ ดู แ ลรั บ ผิ ด ชอบการศึ ก ษาพระปริ ยั ติ ธ รรมแผนกบาลี ร ะดั บ ชาติ และกำา หนด
เปลี่ยนแปลงการใช้คัมภีร์เรียนในหลักสูตรเปรียญธรรม 1-9 ให้เหมาะสมกับชั้นเรียนของแต่ละประโยค
รวมทั้งการจัดสอบประเมินผลการศึกษาบาลีระดับชาติ โดยมีสำานักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติเป็นผู้รับ
สนองงาน ภายใต้การกำากับดูแลของมหาเถรสมาคม
การศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกภาษาบาลี ในระยะ 200 ปีที่ผ่านมา มีการเปลี่ยนแปลงไม่บ่อยครั้ง
นัก แต่ละครั้งก็เปลี่ยนไม่มาก ที่เห็นเด่นชัดคือ เปลี่ยนการแบ่งชั้นเรียนจาก 3 ระดับ (บาเรียนตรี บาเรียนโท
บาเรียนเอก) เป็น 8 ระดับ คือ ประโยค 1-2-3 ป.ธ. 3-9 และเปลี่ยนตำา ราเรียนจากพระไตรปิฎกมาเป็น
คัมภีร์อรรถกถา ฎีกา ซึ่งเป็นคัมภีร์ชั้นรองแทน ในสมัยรัชกาลที่ 2 เปลี่ยนระบบการสอบปากเปล่ามาเป็น
สอบข้อเขียนใน พ.ศ. 2456 ในสมัยรัชกาลที่ 6 ประกาศเกณฑ์การตรวจบาลีสนามหลวง พ.ศ. 2478, พ.ศ.
87, พ.ศ 2490 และแบ่งชั้นและหลักสูตรประโยค 1-2-3 ออกเป็น 2 ชั้น คือ ประโยค 1-2 และประโยค ป.ธ.
3 ใน พ.ศ. 2510 ซึ่งถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสุดท้าย (สมชาย ไมตรี, 2539 : 2)
หลักสูตรพระปริยัติธรรมแผนกบาลี มี 8 ระดับ ได้แก่ ประโยค 1-2 และเปรียญธรรม 3-4-5-6-7 8-9
หลัก สู ต รทั้ ง 4 ประเภทสามารถจำา แนกได้ เ ป็ น 2 กลุ่ ม กล่ า วคื อ กลุ่ ม หลั ก สูต รที่ ศึ ก ษาเฉพาะวิช าการ
พระพุทธศาสนา ได้แก่ หลักสูตรพระปริยัติธรรมแผนกธรรมและหลักสูตรพระปริยัติธรรมแผนกบาลี
เนื่องจากหลักสูตรการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลี เป็นระบบที่มีการเรียนการสอนมาเป็น
ระยะเวลายาวนาน โดยไม่มีการปรับปรุงให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงของสังคม การประสบปัญหา
ด้านต่างๆ รวมทั้งพระสงฆ์เอง ก็นิยมหันมาเรียนการศึกษาแผนกสามัญศึกษามากขึ้น การศึกษาพระปริยัติ
5

ธรรมแผนกบาลี จึงได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ทั้งจากพระสงฆ์และฆราวาส ว่าเป็นระบบการศึกษาที่ล้าหลัง


และไม่เอื้ออำานวยต่อการผลิตพระสงฆ์ที่มีคุณภาพได้ นอกจากนี้ ยังมีตัวแปรที่สำา คัญต่อระบบการ
ศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลี เช่น ด้านหลักสูตร ด้านการจัดการเรียนการสอน ความคาดหวังของผู้เรียน
ความคิดที่จะลาสิกขา การนำาวุฒิการศึกษาไปเรียนต่อในสถาบันการศึกษาทางโลกเป็นต้น (กีรติ ศรีวิเชียร,
2541 : บทคัดย่อ)

สภำพปัญหำกำรจัดกำรศึกษำพระปริยัติธรรมแผนกบำลี
ด้ำนหลักสูตร
หลักสูตรเก่าแก่ ล้าสมัย ไม่เหมาะกับสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป เนื่องจากยึดระบบเดิม ไม่ว่า
กาลเวลาจะเปลี่ยนแปลงไป สังคมจะเปลี่ยนไปแค่ไหน แต่การศึกษาคณะสงฆ์ก็ยังยึดขนบธรรมเนียมเก่าๆ
คือ เป็นการศึกษาตามอัธยาศัย โดยผู้บริหารการศึกษามองว่า การปรับหลักสูตรจะทำาให้มาตรฐานลดลง
และเชื่อว่าที่ผ่านมาร ไม่มีข้อบกพร่อง
ปัญหาครูผู้สอน ขาดการบำารุงขวัญหรือกำาลังใจจากคณะสงฆ์ เนื่องจากยึดจารีตเดิมตั้งแต่อดีต เมื่อ
100 ปีที่แล้วว่า การศึกษาเป็นเรื่องของแต่ละวัดแต่ละสำานักเรียนจะดำาเนินการสอน คณะสงฆ์รับผิดชอบ
เฉพาะการสอบการและการวัด ไม่รับผิดชอบในการจัดการศึกษา
ปั ญ หาผู้ เ รี ย น ก่ อ นปี 2505 การศึ ก ษาด้ า นพระปริ ยั ติ ธ รรมแผนกบาลี ยั ง เป็ น ที่ นิ ย มในกลุ่ ม
ประชาชนภาคอีสาน ภายหลังวัดได้จัดการศึกษาพระปริยัติธรรมสายสามัญขึ้น ซึ่งง่ายกว่าและมีทางเลือก
ในการศึกษาต่อมากกว่าในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐและเอกชน การศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลีจึง
ทรุดลงตามลำาดับ
ปัญหางบประมาณ งบประมาณโดยทั่วไปได้รับจากกรมการศาสนา แต่เงินอุดหนุนดังกล่าวมีขั้น
ตอนการเบิกจ่ายอย่างล่าช้า และเป็นปัญหาต่อเนื่องจากตั้งแต่ พ.ศ. 2505-2542 และไม่เคยได้รับการแก้ไข
ในหลายๆ จังหวัด บางแห่งล่าช้าไปกว่า 6 เดือน หรือบางแห่งไม่ได้รับเงินสนับสนุนเลย
ปัญหาการจัดการเรียนการสอน การจัดการเรียนการสอนมีลักษณะตามเกิด ซึ่งขึ้นอยู่กับวิธีการ
สอนของครูแต่ละคนที่ได้รับการถ่ายทอดมา การเรียนการสอนยังยึดผู้สอนเป็นศูนย์กลางและตำาราเป็นหลัก
การวัดผลใช้แบบอัตนัยเป็นหลัก
ปัญหาด้านการบริหารจัดการ สำานักเรียนต่างๆ ขาดการติดตามและวางแผนการประเมินผล คณะ
สงฆ์ระดับจังหวัด อำาเภอ ตำาบล ให้ความสนใจการศึกษาแผนกนี้น้อยลง และผลักดันความรับผิดชอบให้
เป็นหน้าที่ของมหาเถรสมาคมที่จะหาวิธีแก้ไขปัญหานี้ต่อไป การจัดการเรียนการสอนเป็นลักษณะทรง กับ
ทรุด (พระธรรมปิฎก : สัมภาษณ์, อ้างใน คนึงนิตย์ จันทบุตร, 2544 : 27)
6

ทำงออกของปัญหำ
ด้านหลักสูตร ควรมีการปรับเข้ากับหลักสูตรสายสามัญอย่างเป็นสากล มีการเชื่อมต่ออย่างครบ
วงจร ศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพและพัฒนาจิต หลักสูตรควรปรับให้สั้นและเป็นมาตรฐานยิ่งขึ้น ทำาให้ผู้เรียนผู้
สอนง่ายต่อการเรียนการสอน ซึ่งจะเป็นการดึงดูดผู้เรียนเข้าสู่ระบบมากขึ้น เป็นการแก้ปัญหาด้านผู้เรียน
ด้านครูผู้สอน ควรมีนิตยภัตเป็นค่าตอบแทน เพราะการสอนภาษาบาลีเป็นวิชาที่ยาก ถ้าสำานักใด
ให้ความสำาคัญแก่ครูผู้สอน ส่วนมากจะมีคุณภาพ ประกอบกับผู้เรียนมีปริมาณมาก จึงต้องมีการพัฒนาครูผู้
สอนด้วย
ด้านงบประมาณ รัฐต้องจัดสรรงบประมาณสนับสนุนการศึกษาทั้งระบบ จัดสวัสดิการที่เพียงพอ
จัดครูสอนภาษาบาลีประจำาเหมือนวิชาสามัญทั่วไป
ด้านการจัดการเรียนการสอน เปิดโอกาสให้บุคคลทุกชั้น ทั้งพระสงฆ์และฆราวาสเข้าไปศึกษา
บรรจุครูบาอาจารย์ที่เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน (คนึงนิตย์ จันทบุตร, 2544 : 31-32)

ข้อเสนอแนะสำำหรับหน่วยงำนรำชกำร
1. กระทรวงศึกษาธิการควรกำาหนดนโยบายและแนวทางการจัดการศึกษาของโรงเรียนพระปริยัติ
ธรรมให้ชัดเจนเป็นระบบอย่างสอดคล้องกันในทุกระดับชั้นในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค เพื่อให้การ
จัดการศึกษาเป็นไปในรูปแบบและแนวเดียวกันอย่างมีประสิทธิภาพ
2. กระทรวงศึกษาธิการควรพิจารณาจัดสรรงบประมาณ และบุคลากรเพื่อสนับสนุนการจัดการ
ศึกษา ของโรงเรียนพระปริยัติธรรมให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง และได้ประสิทธิผลโดยเฉพาะ – งบประมาณ
ด้านการพัฒนา – ฝึกอบรมและผลิตครู – ผู้สอนพระปริยัติธรรม งบประมาณการสร้างอาคารเรียน งบ
ประมาณอุปกรณ์การศึกษา - ตลอดจนงบประมาณค่าตอบแทนครูผู้สอนให้มากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนี้
3. กระทรวงศึกษาธิการและมหาเถรสมาคมควรกำา หนดระเบียบให้สามารถนำา เงินศาสนสมบัติ
กลาง มาใช้ในการอุดหนุนบูรณวัดได้
4. กรมการศาสนา ควรกำา หนดหลักสูตรการศึกษาพระปริยัติธรรมให้สอดคล้องกับการจัดการ
ศึกษา ในระบบโรงเรียนของรัฐและประสานงานให้สถานศึกษาและหน่ว ยงานของรั ฐ รับรองคุ ณวุ ฒิ
ทางการศึกษาของสงฆ์ ให้เทียบเท่ากับการศึกษาตามระบบการศึกษาของรัฐในระดับต่าง ๆ เพื่อประโยชน์
ในการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นและการออกไปประกอบอาชีพได้อย่างมั่นคง
5. กรมการศาสนาควรจัดตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูสอนพระปริยัติธรรมให้ครบทุกเขตการปกครอง
คณะ สงฆ์ โดยมอบหมายให้เจ้าคระภาคเป็นผู้ดำาเนินการ เพื่อจัดหาและฝึกอบรมครูสอนปริยัติธรรมส่งไป
ประจำา ทำาการสอนให้โรงเรียนพระปริยัติธรรม ทุกวัดในเขตภาคต่าง ๆ ให้เพียงพอ
7

6. กรมการศาสนาควรอุดหนุนงบประมาณด้านอุปกรณ์การศึกษาสื่อการเรียนการสอนแก่โรงเรียน
พระปริยัติธรรม ในระดับพื้นฐานเช่นเดียวกับระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษาและมีอุปกรณ์การศึกษาที่ทัน
สมัย ตลอดจนนำาเทคโนโลยีสมัยใหม่ มาใช้ในระบบการเรียนการสอน เช่น โทรทัศน์ คอมพิวเตอร์ และ
สื่อมวลชนต่าง ๆ เป็นต้น
7. กรมการศาสนาและคณะสงฆ์ควรวางระบบการจัดศาสนศึกษาไว้ให้พระสงฆ์ทุกรูปต้องศึกษา
การ ศาสนศึกษาไว้ให้พระสงฆ์ทุกรูปต้องศึกษาการศาสนศึกษาขั้นพื้นฐาน เมื่ออุปสมบทเป็นพระภิกษุและ
ให้ทุกวัดจัดการศาสนศึกษาขั้นพื้นฐานแก่พระภิกษุสามเณรอย่างทั่วถึงโดยพระภิกษุสามเณรที่บวชใหม่ที่
จำาพรรษา 1 พรรษาขึ้นไป ต้องเรียนได้อย่างน้อยนักธรรมชั้นตรี ผูท้ ี่บวชตั้งแต่ 2 พรรษาขึ้นไป ต้องเรียนให้
ได้อย่างน้อยนักธรรมชั้นโทหรือชั้นเอก หรือเรียนแผนกบาลี
8. สำา นั ก งานศึ ก ษาธิ ก ารจั ง หวั ด /อำา เภอ ควรสนั บ สนุ น ส่ ง เสริ ม ให้ มี ก ารประชาสั ม พั น ธ์ ใ ห้
ประชาชน สนใจการส่งเสริมการศาสนศึกษา การสร้างบุคลากรทางศาสนามากกว่าสร้างถาวรวัตถุใน
พระพุท ธศาสนา อั น จะส่งผลต่ อ การพัฒ นาคุ ณภาพต่ อ การจั ด การศึก ษาและบุ ค ลากรทางศาสนาให้ มี
ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
9. วัดต้องจัดให้มีการจัดทำาแผนพัฒนา การศาสนาศึกษาให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาของอำา เภอ/
จังหวัด เพื่อขอสนับสนุนด้านงบประมาณ การจัดการศึกษาของโรงเรียนพระปริยัติธรรม.
8

บรรณานุกรม

การศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลี สมัยกรุงรัตนโกสินทร์, เว็บไซต์บาลีดิค. [ออนไลน์]. (2550).


แหล่งที่มา http://www.palidict.com/.
กีรติ ศรีวิเชียร. (2540). ตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับผลการเรียนของนักเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลี,
กรุงเทพฯ: วิทยานิพนธ์ กศ.ด. (การศึกษาดุษฎีบัณฑิต), มหาวิทยาลัยศรี
นครินทรวิโรฒ. 2541.
กองบาลีสนามหลวง. (2550). เรื่องสอบบาลีสนามหลวงแผนกบาลี, ฉบับ พ.ศ. 2540-2550. 11 เล่ม.
กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์การศาสนา.
สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ กองแผนงานการศึกษา. (2526)
สภาพการจัดการศึกษาของคณะสงฆ์ไทย, กรุงเทพฯ : สํานักงาน.
คนึงนิตย์ จันทรบุตร. (2544). แนวคิดทิศทางการศึกษาของคณะสงฆ์ไทย [บทความวิจัย] , วารสารพุทธ
ศาสน์ศึกษา ปีที่ 8, ฉบับที่ 2 (พ.ค.-ส.ค. 2544), หน้า 6-49.
พระราชวรมุนี (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). (2529). การศึกษาของคณะสงฆ์ : ปัญหาที่รอทางออก,
กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์มูลนิธโิ กมลคีมทอง.
สมชาย ไมตรี. (2539). รายงานการวิจัยการศึกษาของพระสงฆ์ในประเทศไทย : กรณีศึกษาพระปริยัติ
ธรรมแผนกบาลี, กรุงเทพฯ : คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สุภาพร มากแจ้ง, สมปอง มากแจ้ง. (2542).รายงานการวิจัยการศึกษาสภาพการจัดการศึกษาของคณะสงฆ์.
กรุงเทพฯ : กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ
เทวประภาส มากคล้าย เปรียญ.. (2551). สำระกำรเรียนรูท้ ้องถิ่น : ประเพณีวัฒนธรรมและพัฒนำกำรทำง
ประวัตศิ ำสตร์ของวัดและหมู่บ้ำนคุ้งตะเภำ. อุตรดิตถ์: พงษ์วิทยาการพิมพ์

ภาคผนวก
9

บัญชีสถิติจำำนวนนักเรียนบำลีสนำมหลวง
พุทธศักรำช 2540-2550
จำำนวนนักเรียน
พ.ศ. ขอเข้ำ % ท่ีสอบ
สอบ ขำดสอบ คงสอบ สอบได้ สอบตก ได้
2540 28,403 10,660 17,743 5,513 12,230 31.07
2541 29,177 11,648 17,529 3,769 13,760 21.50
2542 34,968 13,410 21,558 4,646 16,912 21.55
2543 40,604 13,491 27,113 5,079 22,034 18.73
2544 41,354 16,065 25,289 6,120 19,169 24.20
2545 43,408 17,202 26,206 4,945 21,261 18.87
2546 41,278 13,455 27,823 5,175 22,648 18.60
2547 38,805 26,164 12,641 5,108 7,533 40.41
2548 35,996 19,382 16,614 5,671 10,943 34.13
2549 32,627 13,300 19,327 5,513 10,668 19.77
2550 29,342 10,589 18,753 4,547 14,206 35.97
รวม 395,962 165,366 230,596 56,086 171,364 24.32

ทีม่ า : เรื่องสอบบาลีสนามหลวง พ.ศ. 2540-2550 ของกองบาลีสนามหลวง

You might also like