You are on page 1of 20

หมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อม

(Degenerative Disc)

โดย น.พ.ธเนศ วรรธนอภิสิทธิ์


หมอนรองกระดูกสันหลัง (Intervertebral disc) เป็นส่วนที่อยู่
ระหว่างกลางกระดูกสันหลังแต่ละชิ้นทาหน้าที่ให้ความมั่นคงแก่กระดูก
สันหลัง เป็นส่วนที่รับน้าหนักและกระจายแรงให้กระดูกสันหลังและ
ให้มีการเคลื่อนไหวของกระดูกสันหลังและป้องกันเส้นประสาทและไข
สันหลังที่อยู่ภายใน
ลักษณะทางกายวิภาคของกระดูกสันหลังซึ่งมีข้อต่อคือหมอนรองกระดูกทางด้านหน้าและข้อต่อฟาเซท
ทางด้านหลัง
ลักษณะทางกายวิภาคของหมอนรองกระดูกสันหลังและกระดูกสันหลังที่มเี ส้นประสาทและไขสันหลังที่อยู่
ภายใน
รูปแสดงลักษณะของหมอนรองกระดูกและเส้นประสาทที่บริเวณกระดูกสันหลังส่วนเอว
ชั้นนอกNucleus Pulposus (NP)
ชั้นในAnnulus Fibrosus (AF)

Cartilaginous Endplate

ส่วนประกอบของหมอนรองกระดูกสันหลัง
ส่วนนอก (annulus fibrosus) จะทาหน้าที่รับแรงดึง
(tensile stress) ในขณะที่ส่วนใน (nucleus
pulposus) จะรับแรงกดทับ (compression) เมื่อคนเรามี
อายุมากขึ้น หมอนรองกระดูกสันหลังจะมีการเสื่อมเกิดขึ้นโดยมีการ
เปลี่ยนแปลงของชนิด collagen, proteoglycan และน้า
ในหมอนรองกระดูกลดลงซึ่งทาให้ความสูงของหมอนรองกระดูกลดลง
ความยืดหยุ่นลดลง มีรอยแตกในหมอนรองกระดูก
รูปแสดงการรับน้าหนักของหมอนรองกระดูกสันหลังเมื่อมีแรงกดทับโดยส่วนกลางเป็นส่วนกระจาย
แรงกดทับ(shock absorber) ส่วนด้านนอกจะต้านแรงดึง(tension force)
Mechanical Function

รูปแสดงถึงการใช้งานของหลังที่มีผลต่อแรงกดที่หมอนรองกระดูกสันหลัง
พบว่าในท่านอนมีแรงกดที่หมอนรองกระดูกน้อยที่สุด ท่านั่งมีแรงกดมากว่าท่ายืน
ลักษณะของหมอนกระดูกสันหลังในเด็กเปรียบเทียบกับคนสูงอายุ
Disc
Degeneration I

การเสื่อมของหมอนรองกระดูกสันหลัง
เริ่มจากมีการสูญเสียน้าที่อยู่
II

ภายใน มีการเปลี่ยนแปลงของ
ส่วนประกอบของโปรตีน ทาให้
หมอนรองทรุดตัวลง มีการฉีก III

ขาดในหมอนรองกระดูก มีการ
สร้างกระดูกงอกขึ้น
IV

V
ลักษณะทางกายวิภาคของหมอนรองกระดูกสันหลังที่เสื่อม
รูปแสดงการตีบแคบของช่องกระดูกกดทับเส้นประสาทจากหมอนรองกระดูกที่เสื่อมและกระดูกงอก
รูปX-rayและMRI แสดงลักษณะหมอนรองกระดูกคอเสื่อม
รูปX-rayและMRI แสดงลักษณะหมอนรองกระดูกเอวเสื่อมกดทับเส้นประสาท
รูปแสดงลักษณะหมอนรองกระดูกแตกกดทับเส้นประสาท
หมอนรองกระดูกที่เสื่อมจะทาให้เกิดอาการปวดหลังขึ้นได้เชื่อว่าเกิดจากมี
การเสียโครงสร้างและคุณสมบัติทาง biomechanics, มีการ
ปล่อยสารเคมี เช่น IL-1, IL-6, PGE2, nitric oxide ไป
กระตุ้นเส้นประสาททาให้เกิดความเจ็บปวดหรือมีเส้นเลือด,
เส้นประสาทงอกเข้าไปในหมอนรองกระดูกที่เสื่อม
หมอนรองกระดูกที่เสื่อมยังอาจแตกไปกดทับเส้นประสาทได้ (Herniated
nucleus pulposus) ซึ่งจะพบในผู้ป่วยอายุน้อยประมาณ 20 – 30
ปี ทาให้มีอาการปวดบริเวณสะโพกร้าวลงขามีอาการชาตามเส้นประสาทที่
ถูกกดทับ มีการอ่อนแรงของขาซึ่งอาการปวดจะเป็นมากขึ้นเมื่อก้มหลังหรือ
ไอ จาม ในผู้ป่วยสูงอายุหมอนรองกระดูกที่เสื่อมจะทาให้มีการตีบแคบของ
ช่องไขสันหลัง (spinal stenosis) ทาให้มีการกดทับเส้นประสาท
ซึ่งจะทาให้มีการอ่อนแรงและชาตามเส้นประสาทที่ถูกกดทับ นอกจากนี้
หมอนรองกระดูกที่เสื่อมอาจให้เสียความมั่นคงของโครงสร้างกระดูกสัน
หลังทาให้เกิดกระดูกสันหลังเคลื่อน (spondylolisthesis) ผู้ป่วย
จะมีอาการปวดหลังเวลาเปลี่ยนท่าทาง มีอาการชา อ่อนแรง ตาม
เส้นประสาทที่ถูกกดทับ
กลไกการเกิดหมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อมเกิดขึ้นตามธรรมชาติและการใช้งานไม่สามารถยับยั้ง
การเสื่อมได้ แต่สามารถชะลอการเสื่อมได้โดยควบคุมและลดน้าหนักตัวให้เหมาะสมเพื่อลด
น้าหนักที่มากระทาต่อหมอนรองกระดูก หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ทาให้หมอนรองกระดูกรับ
น้าหนักมากเกินไป เช่น การก้มเงย ยกของหนัก การออกกาลังกายให้สม่าเสมอ การใช้ยาแก้
ปวดพวก NSAIDs, ยาคลายกล้ามเนื้อ จะช่วยลดอาการปวดที่เกิดจากหมอนรองกระดูก
เสื่อมได้ การใส่อุปกรณ์ประคองหลัง การทากายภาพบาบัด เช่น การดึงหลัง การทา
ultrasound การประคบร้อนจะช่วยบรรเทาอาการปวดได้
ในรายที่รักษาโดยวิธีอนุรักษ์นิยม (conservative treatment) แล้วไม่ได้ผลหรือในรายที่มี
อาการกดทับทางเส้นประสาทมาก อาจต้องรักษาโดยวิธีผ่าตัด โดยการผ่าตัดเอาหมอนรองกระดูกที่แตก
กดทับเส้นประสาทออก (disectomy) เป็นวิธีการผ่าตัดรักษาที่เป็นมาตรฐานในปัจจุบัน นอกจากนี้
อาจใช้การผ่าตัดหมอนรองกระดูกออกโดยใช้กล้อง microscope หรือ endoscope มาช่วย
ในการผ่าตัดโดยขนาดของแผลผ่าตัดไม่มีผลต่อการฟื้นตัวของระบบประสาท
ในรายที่มีกระดูกสันหลังเคลื่อน(spondylolisthesis) ผ่าตัดรักษาโดยการเชื่อมกระดูกสันหลังร่วม
ด้วย (spinal fusion)
ผู้ป่วยที่มีการตีบแคบของช่องไขสันหลัง (spinal stenosis) พิจารณาผ่าตัดรักษาโดยการขยายช่อง
ไขสันหลัง (decompressive laminectomy)
ทางเลือกอื่นสาหรับการผ่าตัดโรคหมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อมเช่น การผ่าตัดใส่หมอนรองกระดูกเทียม
(Disc arthroplasty) การผ่าตัดดามกระดูกสันหลังโดยไม่เชื่อมกระดูกสันหลัง (Dynamic
stabilization)ยังจาเป็นต้องรอดูผลการศึกษาระยะยาวถึงประโยชน์ที่ได้รับและ ภาวะแทรกซ้อนที่
อาจเกิดขึ้น รวมไปถึงราคาของวัสดุทยี่ ังมีราคาแพง นอกจากนี้ในปัจจุบัน มีการใช้สาร เช่น stem
cell, growth factors, gene therapy มาใช้ในการรักษาโรคหมอนรองกระดูกเสื่อม
ซึ่งการศึกษาในกลุ่มนี้ส่วนใหญ่ยังอยู่ในขั้นทดลองในสัตว์ทดลองและห้องปฏิบัติการซึ่งยังคงต้องติดตาม
ต่อไปในอนาคต

You might also like