You are on page 1of 9

ทาไมจึงต้องพาตัวใจกลับบ้าน?

โดย ศุภวรรณ กรีน

ทาไมมนุษย์ทุกคนต้องให้ความสนใจเรื่องสติปัฏฐานสี่หรือพาตัวใจกลับบ้านนั้น จาเป็นต้องรู้เรื่องขันธ์ ๕
ก่อน เพื่อให้รู้จักการทางานของจิตใจ และเข้าใจเหตุผลว่าทาไมจิตใจของคนเราจึงอ่อนแอ และเจ็บปวดเมื่อเจอ
ปัญหาชีวิต ขันธ์ ๕ คือ ส่วนประกอบ ๕ อย่าง ที่สร้างร่างกายและจิตใจของมนุษย์ทุกคน

ส่วนประกอบทั้ง ๕ นี้ ร่วมมือทางานกันอย่างแนบแน่นตลอดเวลา วัฒนธรรมของพุทธศาสนาทาให้เกิด


คาพูดที่คนไทยพูดจนติดปากคือ ใจเป็นนาย กายเป็นบ่าว ชี้ให้เห็นว่า ตัวกาย เป็นเพียงเปลือกหรือตัวปลอมที่
ห่อหุ้มตัวใจ อันเป็นตัวจริงของเรา

ทุกกิจกรรมในชีวิตของมนุษย์สาเร็จได้ก็เพราะมีตัวใจซึ่งเป็นตัวจริงของเราเป็นผู้สั่งการอยู่เบื้องหลัง กายเรา
จึงเหมือนถุงมือ ในขณะที่ตัวใจเป็นมือจริงๆที่กาลังเชิดถุงมืออยู่

1
เหตุผลที่สนับสนุนว่า ตัวใจเป็นตัวจริงคือ ทุกครั้งที่เรานอนหลับสนิท หมดสติไม่ว่าจะใช้ยาสลบหรือไม่ใช้
อยู่ในอาการโคม่า และตายสนิท ในสี่กรณีนี้ มาสมมุติแบบเข้าใจง่ายๆว่า ตัวใจได้ออกจากตัวกาย ไปไหนไม่รู้ และไม่
จาเป็นต้องรู้ ตรงนี้ขอให้เป็นความลับของสวรรค์ดีกว่า รู้มากอาจยุ่งได้

จุดสาคัญที่ต้องรู้คือ เมื่อเหตุการณ์ทั้งสี่อย่างเกิดขึ้น แม้ตัวกายยังหายใจอยู่ แต่ถ้าไม่มีมือเชิดถุงมือแล้ว


แม้มีตา ก็มองไม่เห็นภาพ มีหู ก็ไม่ได้ยินเสียง คนหลับเป็นตายนั้น แม้ไฟไหม้อยู่ใกล้ๆ เขย่าตัวเขาอย่างไร ก็ไม่ตื่น
เพราะตัวใจไม่อยู่ ตัวกายจึงเหลือเพียงเปลือกเปล่าๆที่ทาอะไรไม่ได้ ขณะนั้น จึงไม่มีการเชื่อมโยงระหว่างโลก
ภายนอกกับภายใน แต่พอตัวใจกลับมาสู่ตัวกายแล้ว (มือกลับมาสู่ถุงมือ) เช่นในกรณีที่ “รู้สึกตัว ” หลังจากนอนหลับ
สนิท จากอาการสลบ หรือจากอาการโคม่า ตัวกายจึง สามารถ “ตื่น” กลับมีชีวิตชีวาขึ้นมาอีก
ตัวกายเป็นส่วนที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และปัญหาต่างๆ ในโลกของรูป ซึ่งปัญหาที่หลากหลายของ
แต่ละวันเหล่านั้น เปรียบเหมือนคลื่นลมมรสุมที่ซัดส่ายตัวกายของเราให้ขึ้นลงกับมัน ก่อให้เกิดการหัวเราะและร้องไห้
หรือมีทั้งสุขและทุกข์

การแก้ปัญหาชีวิตของพระพุทธเจ้านั้น ท่านไม่ได้ไปเน้นแก้ที่ปลายเหตุซึ่งหลากหลายและกระจัดกระจาย
ท่านแก้ที่ต้นเหตุและทาของยากให้เป็นของง่าย โดยบอกว่า ไม่ว่าจะเจอปัญหาอะไรก็แล้วแต่ ขอให้รวบลงมาเป็น
ปัญหาที่มากับภาพ ปัญหาที่มากับเสียง กับกลิ่น กับรส และกับสัมผัสเท่านั้น เช่น ภาพคนที่เรารัก ภาพเงินก้อนใหญ่
เสียงนินทา เสียงบ่น เสียงเพลง กลิ่นอาหาร กลิ่นเหล้า เป็นต้น ฉะนั้น ในส่วนของโลกภายนอก (รูป สสาร) จึงมีตัว
กายของเราที่กาลังรับข้อมูล (data) อันเป็นเหตุการณ์ทั้งบวกและลบ ที่เข้ามาประชิดตัวเราในลักษณะของภาพ เสียง
กลิ่น รส สัมผัส

2
โลกของรูป (สสาร) โลกของนาม (พลังงาน)

แต่ตัวกายเป็นเพียงตัวปลอม ตราบใดที่ข้อมูลดิบเหล่านี้ยังเดินทางไม่ถึงตัวใจซึ่งเป็นตัวจริงของเราละก็
ปัญหายังไม่เกิด สุขทุกข์จึงยังไม่มี ฉะนั้น ข้อมูลดิบจากโลกภายนอกจึงต้องเดินทางเข้ามาในโลกของใจ (โลกภายใน
ที่เป็นนาม เป็นพลังงาน) โดยข้อมูลแต่ละกลุ่มจะต้องเดินทางผ่านสะพานที่เป็นคู่สร้างคู่สมของมัน นั่นคือ ภาพต้อง
เดินผ่านสะพานตา เสียงเดินผ่านสะพานหู กลิ่น จมูก รส ลิ้น สัมผัส ผิวหนัง ทันทีที่ข้อมูลดิบจากโลก
ภายนอกเข้ามาสู่โลกภายในแล้ว มันจะเปลี่ยนสถานะของมันจากรูป (สสาร) เป็นนาม (พลังงาน) กลายเป็น ความจา
(สัญญา) ความคิด (สังขาร) และ ความรู้สึก (เวทนา) ซึ่งจะรวบนามขันธ์ทั้ง ๓ นี้เป็น “หนูเจอรี่” ฉะนั้น จะได้สมการ
ง่ายๆดังนี้คือ
ภาพ เสียง กลิ่น รส สัมผัส (รูป) = ความจา ความคิด ความรู้สึก (นาม) = หนูเจอรี่
เจอรีร่ ปู = เจอรี่นาม
เจอรีภ่ ายนอก= เจอรี่ภายใน

โลกของรูป (สสาร) โลกของนาม (พลังงาน)

ถ้าแทนตัวใจ (วิญญาณขันธ์)เป็นแมวทอม และปัญหาชีวิตทุกอย่างเป็นเจอรี่ และใช้ภาษา “ทอมกับเจอรี่”


สื่อกันแล้ว จะช่วยให้เข้าใจตนเองและคนอื่นง่ายมากขึ้น เพราะมนุษย์ทุกคนมีขันธ์ ๕ และการทางานของขันธ์ ๕
เหมือนกันหมด นั่นคือ เมื่อเจอรี่จากโลกภายนอกเดินทางเข้ามาในโลกของใจแล้ว มันก็นาข้อมูลเหล่านี้รายงานต่อตัว
ใจ (แมวทอม) ซึ่งเป็นตัวจริงของเรา ทาให้ตัวใจรับรู้เหตุการณ์ต่างๆ ตรงนี้แหละ เป็นจุดเริ่มต้นของปัญหาชีวิตและ
สงครามภายในใจของมนุษย์ทุกคน เหตุการณ์ที่เข้ามาทาให้เราหัวเราะ สมหวังและเป็นสุขนั้น ยังไม่ต้องพูดถึง มาดู

3
เจอรี่ที่นาความผิดหวัง น้าตาและความทุกข์มาให้ดีกว่า ทุกครั้งที่เจอเหตุการณ์ไม่ได้ดังใจ คิดเป็นห่วงกังวลเรื่องลูก
หรือคนที่เรารัก หรือคิดถึงคาพูดของคนที่เกลียดเรา ก็เหมือนมีใครมาเหยียบตัวใจ เอาของหนักมาทุบ หรือมีของ
แหลมมาเสียบ ทิ่มแทงใจเราเสมอ คิดทีไร ก็เจ็บปวดทุกครั้ง แมวตัวใจของเราจะอ่อนปวกเปียก ไม่มีทางต่อสู้ เพราะ
เป็นศึกภายในระหว่าง ๑ ต่อ ๓ เสมอ

เมื่อเจอปัญหาที่หนักหน่วงมาก จะรู้สึกเหมือนความคิดมาจากทุกทิศทุกทางในหัวของเรา นั่นคือ อาการ


ฟุ้งซ่านซึ่งเปรียบเหมือนเจอรี่ ๓ ตัวเป็นแม่ทัพใหญ่ ไปเอาลูกน้องหนูมาอีกทั้งกองทัพ มารุมกัด ตะลุมบอน ทุบตีตัวใจ
ของเราจนบอบช้า (พลังงานสามารถขยายตัวได้เร็วเหมือนเชื้อโรค) ทาให้ตัวใจเจ็บปวด อ่อนแอ เป็นทุกข์ ตัวใจของ
เราหมดหนทางต่อสู้ เพราะเป็นสงครามภายในระหว่าง ๑ ต่อทหารหนูทั้งกองทัพ ตัวใจจึงทนความกดดันจากปัญหา
ต่างๆของโลกภายนอกไม่ได้ ตรงนี้เป็นต้นตอของปัญหาชีวิตและของสังคมทุกอย่าง คิดง่ายๆด้วยว่ากิเลสทุกอย่าง
ของมนุษย์แทรกมากับความคิด (เจอรี่) ทั้งสิ้น เช่น คิดโลภ คิดโกรธ คิดเกลียด ฯลฯ คนทาผิดศีล ทาผิดกฎหมาย ก็
เพราะตัวใจถูกกองทัพเจอรี่สั่งงานอยู่ในหัว บังคับให้เราทาสิ่งผิดๆ

โลกของรูป (สสาร) โลกของนาม (พลังงาน)

4
กองทัพของหนูเจอรี่ที่กาลังทาร้ายตัวใจก็คือก้อนทุกข์ที่มนุษย์ทุกคนกาลังแบกอยู่ ซึ่งเหมือนการแบกภูเขา
ทั้งลูกอยู่ในอก ใบหน้าของตัวกายอาจจะฝืนยิ้ม เสแสร้ง และปกปิดความรู้สึกภายใน แต่ตัวใจของเราเท่านั้นที่รู้ดีว่า
ปัญหาที่เรากาลังแบกนั้นมันหนักหน่วงและเจ็บปวดมากแค่ไหน บาดแผลของตัวกายแม้มีมากเท่าไร ก็ไม่เจ็บเท่ากับ
บาดแผลของตัวใจ เพราะตัวใจเป็นตัวจริงๆของเรา ตัวกายเป็นเพียงตัวปลอม

ทาไมจึงแทนสติปัฏฐานสี่ด้วยวลี “พาตัวใจกลับบ้าน” เพราะต้องการให้เห็นภาพชัดเจนว่า กองทัพ


ของเจอรี่สามารถแผ่กิ่งก้านสาขาออกไปมากมายจนเหมือนป่าดาหรือป่าดงดิบครอบตัวใจของเรา ทาให้ตัวใจหลง
ทางอยู่ในป่าดงดิบของความจา ความคิด ความรู้สึก (เจอรี่) นี่เป็นสาเหตุว่าทาไมเราจึงรู้สึกหวาดกลัวมากเมื่อเจอ
ปัญหาชีวิตที่หนักหน่วงต่างๆ

ถ้าแทน “สติ” เป็น “ตัวใจ” และแทน “ฐาน” เป็น “บ้าน” สติปัฏฐานคือ การเอาสติมาตรึงไว้ที่ฐาน หรือ พา
ตัวใจกลับบ้านนั่นเอง ตัวใจของมนุษย์ทุกคนล้วนมีบ้านหลังใหญ่ให้กลับเสมอเหมือนกันหมด นี่เป็น “ข่าวดีที่สุด” ที่
มนุษย์จานวนมากของโลกยังไม่รู้ ตัวใจซึ่งเป็นตัวจริงของเขาจึงยัง “หลงทาง” อยู่ เพราะพาตัวใจกลับบ้านไม่เป็น ใคร
รู้จักบ้านของใจก็จะมีเป้าหมายชีวิตที่ชัดเจนทันที ไม่รู้สึกหลงทางอีกต่อไป เพราะการปฏิบัติสติปัฏฐานสี่หรือพาตัวใจ
กลับบ้าน คือ วิธีการลดประชากรของเจอรี่ในหัวให้น้อยลง ทาลายป่าดงดิบของเจอรี่ เพื่อตัวใจจะได้เป็นอิสระจาก
การบงการ บังคับ ขู่เข็ญของเจอรี่

5
สมมุติต่อว่าบ้านหลังใหญ่นี้มี ๔ ห้อง ห้องที่ ๑ คือ ลมหายใจ และ การเคลื่อนไหวของกาย การพาตัวใจ
กลับบ้านคือ การใช้ “ตาใจของตัวใจ” มองไปที่ลมหายใจ และ การเคลื่อนไหวของกาย ไม่ว่าจะเดิน ก้ม เงย เหยียด คู้
ฯลฯ ทาเพียงเท่านี้ก็เท่ากับได้เอาสติมาตรึงไว้ที่ฐานหรือพาตัวใจกลับบ้านแล้ว ครูบาอาจารย์บางท่านใช้คาว่า “ทา
ความรู้สึกตัวทั่วพร้อม” เมื่อหายใจ ก็รู้อย่างทั่วพร้อม เมื่อเคลื่อนไหว ก็รู้ตัวทั่วพร้อม ทาเช่นนี้ คือพาตัวใจกลับบ้าน

โลกของรูป (สสาร) โลกของนาม (พลังงาน)

ตาใจมอง
ลมหายใจ
ไห าร
ื่อน งก
เคล ใจมอ

ตา

สติปัฏฐานสี่หรือพาตัวใจกลับบ้านสามารถทาได้ทุกอิริยาบถ ไม่ว่าจะเดิน ยืน นั่ง นอน

6
ห้องที่ ๒ ของบ้านหลังใหญ่นี้ คือ ความรู้สึกของตัวกาย ในขณะนั่งบนเก้าอี้ จะมีความรู้สึกที่แผ่นก้น เท้าที่
แตะพื้น ขณะเคลื่อนลูกประคา หรือลูบมือ จะมีความรู้สึกที่มือ ตบมือก็รู้สึกเจ็บ ก็ใช้ตาใจของตัวใจมองไปที่
ความรู้สึกที่เด่นๆในขณะนั้นๆ ทาเพียงเท่านี้ คือ การเอาสติมาตรึงไว้ที่ฐานหรือพาตัวใจกลับบ้านแล้ว จะทาให้
ประชากรเจอรี่ในหัวค่อยๆน้อยลง ทาให้สงบสุขมากขึ้น

ฐานของสติ = บ้านของใจ = ลมหายใจ การเคลื่อนไหวของกาย ความรู้สึก


ของกาย
ถ้าแมวอ่อนแอ หนูจะร่าเริง แต่ถ้าแมวแข็งแกร่ง หนูจะเขินอาย สติปัฏฐานสี่หรือพาตัวใจกลับบ้านเปรียบ
เหมือนข้าวคลุกปลาทู เป็นการให้วิตามินแก่แมวทอม เมื่อแมวแข็งแกร่งแล้ว มันจะลุกขึ้นมาต่อสู้กับหนูเจอรี่ทั้ง
กองทัพเอง เกิดปฏิบัติการไล่หนูเจอรี่ออกจากบ้านของใจ หรือ ไล่ปัญหาที่หนักอกและกลุ้มออกจากหัวจากใจของเรา

ใครที่มีทักษะในการพาตัวใจกลับบ้านเก่งขึ้น ตัวใจก็จะเป็นอิสระจากการคุกคามของเจอรี่ เมื่อเจอรี่ออก


จากบ้านของใจแล้ว จะเกิดพลังภายใน สามารถต้านแรงกดดันของปัญหาต่างๆในโลกของรูปได้ ทาให้สามารถก้ม
หน้าก้มตาทาแต่ความดี ไม่ตอบสนองต่อสิ่งยั่วยุ และเหยื่อต่างๆที่สังคมยุคนี้ป้อนให้ สติปัฏฐานสี่หรือพาตัวใจกลับ
บ้านจึงเป็นวิธีการตรงๆที่จะให้เราทาความดีได้โดยไม่มีแรงเสียดทาน

7
โลกของรูป (สสาร) โลกของนาม (พลังงาน)

สติปัฏฐานสี่หรือพาตัวใจกลับบ้านจึงมีความสาคัญมากต่อมนุษย์ทุกคน เพราะมันเปรียบเหมือน ยาแก้


ทุกข์ของพระพุทธเจ้า ใครได้กินยาขนานนี้แล้ว ผลโดยตรงคือ ทาให้ใจสงบ ไม่กลุ้มใจ ไม่เครียด ไม่ห่วงกังวล ไม่
ทุกข์อีกต่อไป ส่วนผลข้างเคียงคือ ทาให้ชีวิตมีรากแก้วทางอารมณ์ความรู้สึก เมื่อเจอปัญหาท้าทายต่างๆ จะไม่ล้ม
ทางอารมณ์ง่ายๆ มีความหนักแน่น และเป็นที่พึ่งให้แก่ตนเองและคนใกล้เคียงได้ดียิ่ง

เมื่อพาตัวใจกลับบ้านได้แล้ว ตัวกายยังคงต้องเกี่ยวข้องกับปัญหาในโลกภายนอกเหมือนเดิม แต่เพราะตัว


ใจแข็งแกร่งจากการได้กินยาแก้ทุกข์ของพระพุทธเจ้า ฉะนั้น แม้ปัญหามีอยู่ แต่ตัวใจของเราจะอยู่เหนือปัญหาได้ ทา
ให้ทะเลภายในสงบ ไม่ถูกคลื่นลมกระแทกและซัดส่ายอีกต่อไป สามารถยิ้มได้กับปัญหาทุกอย่างที่อยู่เบื้องหน้า นี่คือ
อานิสงส์ของการได้ฝึกสติปัฏฐานสี่หรือพาตัวใจกลับบ้าน

8
สติปัฏฐานสี่หรือพาตัวใจกลับบ้านจึงควรเป็นเนื้อหาสาคัญในหลักสูตรการศึกษาของคนทั้งโลก
เพื่อมนุษยชาติจะได้อยู่ร่วมกันอย่างสงบและสันติสุข มีสันติภาพอย่างแท้จริง ขอให้ช่วยกระจาย “ข่าวดี
ที่สุดของมนุษยชาติ ” ออกไปเพื่อความสุขสงบของลูกหลานเหลนโหลนของท่านและความอยู่รอดของ
ประเทศไทยอันเป็นแผ่นดินที่โอบอุ้มชาวไทยเกือบ ๗๐ ล้านคน

.............................................................................................................

หนังสือที่ควรอ่านควบคู่กับข้อเขียนนี้คือ “รู้เท่านี้ ก็พอแล้ว ” เขียนโดย ศุภวรรณ กรีน เป็นหนังสือที่แจก


เป็นธรรมทาน เพียงช่วยค่าพิมพ์ ๓๐ บาท ติดต่อชมรมพาตัวใจกลับบ้านเพื่อรับหนังสือเล่มนี้
ภาคปฏิบัติของเรื่องสติปัฏฐานสี่หรือพาตัวใจกลับบ้านยังมีอีกมาก หากท่านยังไม่เคยปฏิบัติและสนใจจะ
เรียนรู้การพาตัวใจกลับบ้านอย่างเป็นระบบ เพื่อมีพื้นฐานการปฏิบัติที่หนักแน่น กรุณาหาข้อมูลการอบรมสติปัฏฐาน
สี่หรือพาตัวใจกลับบ้านได้ที่
Website: www.supawangreen.in.th
Email: innocentperception@gmail.com, supawanpg@gmail.com
Tel: ชมรมพาตัวใจกลับบ้าน 086 6100001, 089 0195656
สถาบันพาตัวใจกลับบ้าน ภูเก็ต 076 211 115

หากท่านสนใจร่วมทาบุญพิมพ์หนังสือเล่มนีเ้ พือ่ แจกเป็นธรรมทาน


กรุณาติดต่อชมรมพาตัวใจกลับบ้าน 089 0195656, 086 6100001

You might also like