You are on page 1of 4

การกอการรายในตะวันออกกลาง (2)

ศราวุฒิ อารีย

อิกบาล อะหมัด (Iqbal Ahmed) นักวิชาการอเมริกันเชื้อสายปากีสถาน ไดกลาวไวในการ


นําเสนอผลงานที่มหาวิทยาลัยโคโลราโด ประเทศสหรัฐฯ เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม ค.ศ. 1998 วา ประเด็น
เรื่องการกอการรายนั้นคอนขางมีความสลับซับซอน ภาพลักษณของผูกอการรายนั้นอาจเปลี่ยนแปลง
ได “ผูกอการรายของวันวานก็อาจกลายเปนวีรบุรุษของวันนี้ และวีรบุรุษของวันวานก็อาจเปลี่ยนเปน
ผูกอการรายของวันนี้”

ปรากฏการณที่มาอธิบายคําพูดของ อิกบาล อะหมัด อาจเห็นไดจากกรณีภาพลักษณของ


องคกรปลดปลอยปาเลสไตน (PLO) ที่ชาติมหาอํานาจมองการเคลื่อนไหวในอดีตนับตั้งแตป ค.ศ.
1969 ถึง ค.ศ. 1990 ของ PLO วาเปนการกอการราย นักขาวผูมีชื่อเสียงของสหรัฐฯ อยาง วิลเลี่ยม ซาไฟร
(William Safire) จากหนังสือพิมพนิวยอรก ไทมส มักอางถึง ยัซเซอร อารอฟต วา เปนเสมือน
“หัวหนาใหญของผูกอการราย” แตเมื่ออารอฟตไดถายรูปคูกับอดีตประธานาธิบดีสหรัฐฯ นายบิล
คลินตัน และอดีตนายกรัฐมนตรีอิสราเอล นายเนทันยาฮู (Natenyahu) ในทําเนียบขาว เมื่อเดือน
กันยายน ค.ศ. 1998 ภาพลักษณของอารอฟตก็เปลี่ยนไปทันที ในขณะเดียวกัน วิลเลี่ยม ซาไฟร ก็
เปลี่ยนทัศนคติเดิมๆ ที่เคยมีตออารอฟต ยิ่งกวานั้น เจาหนาที่ระดับสูงและนักวิชาการของตะวันตกเอง
ก็กลายเปนผูสนับสนุนผลักดันใหอารอฟตไดรับรางวัลโนเบล สาขาสันติภาพ1

อีกตัวอยางหนึ่งคือ กรณีของอดีตผูนําชาวยิวในอิสราเอล เชนอดีตนายกรัฐมนตรี เมนาเฮม


เบกิน (Menachem Begin) และยิตซัค ชามิร (Yitzhak Shamir) ซึ่งผูนําทั้งสองตางก็เคยถูกตราหนาวา
เปนผูกอการรายทั้งสิ้น เพราะเปนผูที่เกี่ยวของกับการฆาตกรรมพลเรือนอาหรับ (รวมทั้งชาวยิว) หลาย
ครั้งหลายคราดวยกัน หนึ่งในนั้นคือการโจมตีดวยระเบิดที่โรงแรมคิงเดวิด (King David Hotel) และ
เปนผูที่อยูเบื้องหลังการสังหารขาหลวงใหญชาวอังกฤษในปาเลสไตน รัฐบาลอังกฤษตั้งคาหัวของ เบ
กิน และชามิร ในชวงเวลานั้นสูงถึงคนละ 1 แสนปอนดสเตอลิง แตเมื่อเกิดการฆาลางเผาพันธุชาวยิว
ในยุโรป ทําใหมหาอํานาจฝายพันธมิตรในชวงสงครามโลกครั้งที่สองตางแสดงความเห็นอกเห็นใจ
ชาวยิว จนในที่สุดผูกอการรายอยางเบกินและชามิรก็กลายเปนนักรบเพื่อเสรีภาพ2

ทั้งนี้ ก็ไมควรลืมวา แรกเริ่มเดิมทีคําวา ‘การกอการราย’ นั้น เปนการใชเรียก ‘นโยบายของ


รัฐ’ (state policy) ในชวงการปฏิวัติฝรั่งเศส (French Revolution) แตปจจุบันสังคมโลกมักไมใหความ
สนใจมากนักตอประเด็นเรื่องการกอการรายที่กระทําโดยรัฐ (state terrorism) เชน การยิงหรือทิ้ง
ระเบิดโดยไมเลือกเปา การเนรเทศ การระเบิดรถยนต ซึ่งกระทําโดยรัฐบาลตางๆ เชน อิสราเอล อิรัก
(ในยุคของประธานาธิบดีซัดดัม) และซีเรีย เปนตน
2

แตเดิมนั้น การกอการรายมักจะถูกพิจารณาตามลักษณะวิธีการของมันในการกอเหตุ และ


หนึ่งในวิธีการนั้นคือการจี้เครื่องบิน ซึ่งครั้งแรกเกิดขึ้นโดยรัฐบาลฝรั่งเศสภายใตการนําของ Guy
Mollet เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม ค.ศ. 1956 ซึ่งบังคับใหเครื่องบินที่บินจากเมืองราบาตไปยังเมืองตูนิส
(โดยมี Ben Bella และผูนํากลุม FLN คนอื่นๆ รวมอยูในกลุมผูโดยสาร) ลงจอดแบบฉุกเฉิน
เหตุการณในลักษณะเดียวกันนี้ไดเกิดขึ้นอีกครั้งหลังสงครามอาหรับ-อิสราเอล ค.ศ. 1967 ในวันที่ 23
กรกฎาคม 1968 กลุม PFLP (Popular Front for Liberation of Palestine)ไดจี้เครื่องบินของสายการบิน
El Al ที่มีเสนทางบินระหวางกรุงโรม (Rome) ไป เทล อวีฟ (Tel Aviv) กลุมฟาตะห (Fatah) ใชวิธีการ
นี้เชนกันภายหลังเหตุการณ “กันยาฯ ทมิฬ” (Black September)

อยางไรก็ตาม ในป 1973 ขบวนการปลดปลอยปาเลสไตน (PLO) ไดตัดสินใจยุติการ


ปฏิบัติการดังกลาว ซึ่งมีเพียงบางกลุมยอยเทานั้น เชนกลุมของอบู นิดาล (Abu Nidal) ที่ไมเห็นดวย
และยังคงใชวิธีการกอการรายดังกลาว ทั้งนี้ ดวยมาตรการรักษาความปลอดภัยของสนามบินที่ มี
ประสิทธิภาพมากขึ้น ประกอบกับการที่ กลุม PLO ประณามการกระทําดังกลาว จึงทําใหการ
ปฏิบัติการจี้เครื่องบินลดนอยลงอยางเห็นไดชัด ปจจุบันจึงเปนเพียงประเด็นปญหาระดับทองถิ่น
เทานั้น

การลักพาตัวก็เปนวิธีการหนึ่งของการกอการราย ซึ่งมักเกิดขึ้นในพื้นที่ที่เกิดความขัดแยง เชน


ในดินแดนเคิอรดิสถาน (Kurdistan) ในอิรัก โดยกลุม Peshmerga ไดทําการลักพาตัวเจาหนาที่เทคนิค
ชาวตางชาติหลายตอหลายครั้งในชวงทศวรรษที่ 1980 อีกกรณีหนึ่งคือเลบานอน ประเทศที่เต็มไปดวย
ความขัดแยงและการแตกแยก มีการลักพาตัวบอยครั้งในชวงทศวรรษที่ 1980 จนเปนที่ขึ้นชื่อไปทั่วโลก
โดยเฉพาะกลุมฮิซบุลลอฮ (Hezbollah) ที่มักลักพาตัวชาวตางชาติ อยางไรก็ตาม ในชวงทศวรรษที่
1990 การลักพาตัวหรือการจับตัวประกันในตะวันออกกลางก็ลดลงเรื่อยๆ จนแทบไมปรากฏ

เปนที่นาสังเกตวา คลื่นของการกอการรายครั้งใหญในตะวันออกกลางดังกลาว 3 ชวง (คือชวง


หลังป 1970 ชวงหลังป 1982 และในป 2000) ที่กระทําโดยตัวแสดงที่ไมใชรัฐ เกิดขึ้นหลังจากที่
ประชาชนคนอาหรั บ ตกอยูใ นภาวะท อแท สิ้น หวั ง อย า งถึ งที่ สุด และเป น ภาวะที่เ ป น ทางตั น ทาง
การเมือง สําหรับเยาวชนชาวปาเลสไตนและเลบานอนบางกลุมบางพวกแลว การกระทําใดๆ ก็ตาม
เพื่อตอตานผูยึดครองถือวามีความชอบธรรม อันเปนวิถีทางของการแสดงออกถึงความทอแทสิ้นหวัง
การที่รัฐบาลอิสราเอลไมปฏิบัติตามสนธิสัญญาออสโล (Oslo Accord) อยางจริงจัง อันเปนการทําลาย
ความหวังของสันติภาพที่ตั้งอยูบนความยุติธรรมนั้น ถือเปนตนเหตุที่กอใหเกิดปฏิบัติการ “ระเบิดพลีชีพ”
(Suicide Bombing)
3

Olivier Roy ยอมรับวา การโจมตีแบบพลีชีพนั้นไมมีในหลักการคําสอนของอิสลาม มันเพิ่ง


จะปรากฏขึ้นมาในชวงทศวรรษที่ 1980 โดยขบวนการมุสลิมสายชีอะห เชน กลุมฮิซบุลลอฮ ตอมาได
แผขยายเขาไปในหมูขบวนการมุสลิมสายซุนนีย ปรากฏการการโจมตีแบบพลีชีพเกิดขึ้นบอยครั้งใน
ดินแดนปาเลสไตนภายใตการยึดครอง ซึ่งปรากฏการเชนนี้ไมไดสะทอนใหเห็นถึงเปาหมายหรือ
อุดมการณทางศาสนาแตอยางใด แตเปนปรากฏการที่เกิดขึ้นมาจากความทอแทสิ้นหวัง และเกิดภาวะ
ทางตันในการใชวิถีทางทางการเมืองในการแกปญหา3

แม ก ารต อ สู ใ นเวสแบงค แ ละฉนวนกาซ า จะมี ค วามชอบธรรมในตั ว ของมั น เอง แต 2 ป
หลั ง จากการลุก ฮือขึ้ น ตอสู ข องชาวปาเลสไตน ครั้ง ที่ 2 (Second Intifadah) ความคิ ด เห็ น ของ
สาธารณชนชาวปาเลสไตนสวนใหญ ก็ไมเห็นดวยกับการโจมตีชาวอิสราเอลแบบไรเหตุผล ไมวาจะ
เปนการโจมตีโดยกลุมฮามาส กลุมอิสลามิกญิฮาด หรือกลุมอัล-อักศอ (ที่มีความใกลชิดกับกลุมฟาตะห)
ก็ตาม กระแสการคัดคานของชาวปาเลสไตนตอการตอสูในลักษณะดังกลาว เกิดขึ้นจากประสบการณ
ที่ตามมาของผลลัพธที่มีตอชาวปาเลสไตนเอง ทั้งนี้ เปนเพราะการสังหารชาวอิสราเอลดวยระเบิดพลี
ชีพ ยิ่งเปนการผลักดันใหอิสราเอลใชนโยบายที่แข็งกราวตอชาวปาเลสไตนมากขึ้น รวมทั้งการอาง
ความชอบธรรมในการตอบโตดวยความรุนแรงในระดับที่มากกวา แกนนําของชาวปาเลสไตนหลาย
คน รวมทั้งกลุมติดอาวุธบางกลุม ไดเลือกที่จะประณามการกอการราย เพราะการกอการรายทําให
เหตุผลและเปาหมาย รวมทั้งอุดมการณของพวกเขาตองแปดเปอนมัวหมอง และเปนการบอนทําลาย
รูปแบบสังคมในอุดมคติที่พวกเขาพยายามที่จะสรางขึ้น

ความจริง องคกรระหวางประเทศหลายองคกร ก็มีความเห็นในทิศทางเดียวกันเกี่ยวกับการ


กระทําอันโหดรายของอิสราเอล และการระเบิดพลีชีพของชาวปาเลสไตน องคกรเฝาติดตามดานสิทธิ
มนุษยชน (Human Rights Watch) เปนองคกรหนึ่งที่มีการรายงานอยางละเอียด เกี่ยวกับอาชญากรรม
สงครามในคายพักผูลี้ชาวปาเลสไตนจากฝมือของกองทัพอิสราเอล และกรณีที่อิสราเอลโดนโจมตี
ดวยระเบิดพลีชีพ Human Rights Watch รายงานวาระดับและลักษณะของการปะทะกันระหวาง
อิสราเอลและกลุมติดอาวุธชาวปาเลสไตนในระยะหลังๆ มีลักษณะที่แตกตางไปจากกรณีการกอการราย
ในอดีตที่ผานมา โดยที่ทั้งสองฝายตางก็ไดกออาชญากรรมอันละเมิดหลักมนุษยธรรมอยางเปดเผย

ทํานองเดียวกัน ในรายงานขององคกรนิรโทษกรรมสากล (Amnesty International) ไดยืนยัน


วา องคกรไดทําการประณามติดตอกันมาหลายป ตอกรณีการละเมิดกฎหมายมนุษยธรรมและสิทธิ
มนุษยชน ที่อิสราเอลไดกระทําตอชาวปาเลสไตนในดินแดนภายใตการยึดครอง ซึ่งการปฏิบัติการ
เหลานี้ของอิสราเอลสวนใหญแลวเปนอาชญากรรมสงคราม ในอีกดานหนึ่ง องคกรนิรโทษกรรมสากล
อธิบายวาการโจมตีแบบพลีชีพก็เปนอาชญากรรมที่ขัดตอหลักมนุษยธรรม ในแงมุมของกฎหมาย
ระหวางประเทศ และเปนอาชญากรรมสงครามดวยลักษณะทางกฎหมายวาดวยความขัดแยง และ
4

สถานะของกลุมติดอาวุธและพลเรือนปาเลสไตน องคกรนิรโทษกรรมสากลสรุปรายงานโดยไดย้ําวา
“สมัชชาใหญองคการสหประชาชาติใหการยอมรับในการตอสูของมวลชนที่ตอตานการยึดครองของ
ตางชาติ เพื่อใหไดมาซึ่งสิทธิในการกําหนดอนาคตและความเปนอิสรภาพของตนเอง อยางไรก็ตาม
กฎหมายระหวางประเทศเรียกรองใหทุกฝายที่เกี่ยวของกับความขัดแยง จําแนกแยกแยะระหวาง
พลเรือนและประชาชนที่ไมมีสวนเกี่ยวของกับความเปนปรปกษ โดยตองทําทุกวิถีทางเพื่อปกปอง
พลเรือนจากภัยอันตรายตางๆ”

แมกระนั้นก็ตาม การใชเพียงหลักจริยธรรมประณามอาชญากรรมที่กอขึ้นโดยทั้งสองฝายดังที่
ไดกลาวมานั้น คงยังไมเพียงพอ เพราะเราคงไมสามารถวางทั้งสองฝายใหอยูในมาตรฐานเดียวกันเพียง
เพราะตัวแสดงทั้งสองนั้นละเมิดหลักมนุษยธรรมเหมือนกัน เหตุเพราะ 1) การละเมิดที่กระทําโดยฝาย
รัฐ (โดยเฉพาะรัฐบาลที่อางวาเปนรัฐบาลที่ยึดมั่นในประชาธิปไตย) ถือไดวาเลวรายกวาการกระทํา
ของกลุมที่ไมใชรัฐ และ 2) เปนเหตุผลทางการเมือง เพราะการตอสูของชาวปาเลสไตนนั้น กระทําไป
เพื่ อ ต อ ต า นการยึ ด ครองที่ ผิ ด กฎหมายของอิ ส ราเอล ซึ่ ง เป น การต อ ต า นที่ มี ค วามชอบธรรมตาม
กฎหมายระหว า งประเทศ ท า มกลางการวางแผนในการยึด ครองดิ น แดนปาเลสไตน โ ดยรั ฐ บาล
อิสราเอลตอไปเรื่อยๆ อยางไมมีที่สิ้นสุด

เชิงอรรถ
1
ศราวุฒิ อารีย, การกอการราย: มุมมองของโลกอิสลาม (กรุงเทพฯ: สถาบันเอเชียศึกษา
จุฬาฯ, 2550)
2
เพิ่งอาง.
3
ดูรายละเอียดใน Olivier Roy, The Failure of Political Islam (Harvard University Press,
1996)

Keyword: การกอการราย, ตะวันออกกลาง, ปาเลสไตน, ศราวุฒิ อารีย


Section: ความมั่นคง

You might also like