You are on page 1of 24

12 เรื่องควรรู้ใน

การสอนบรรยายชั้นเรียนขนาดใหญ่
สมชาย แสงอำนาจเดช
4 พฤษภ่าคม 2553

แปลจาก
Cantillon, P. ABC of learning and teaching in medicine: Teaching
large group. BMJ. Volume 326, pp. 437-440.
© ssaeng 2010 page 2
© ssaeng 2010 page 3

12 เรื่องควรรู้ใน
การสอนบรรยายชั้นเรียนขนาดใหญ่
สมชาย แสงอำนาจเดช
4 พฤษภ่าคม 2553

แปลจาก
Cantillon, P. ABC of learning and teaching in medicine: Teaching
large group. BMJ. Volume 326, pp. 437-440.
© ssaeng 2010 page 4

1. ควรจัดหาเนื้อหาให้เหมาะสมกับรายวิชา

2. การเตรียมตัวทำความเข้าใจเนื้อหาที่สอนได้ดีจะช่วยนำ
ความเข้าใจของนิสิตจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่ง

3. เตรียมตัวอย่างที่เข้าใจง่ายและชัดเจนไว้ล่วงหน้า
© ssaeng 2010 page 5

4. แจกชีทสไลด์ที่มีที่ว่างสำหรับเขียนระหว่างฟังบรรยาย
และชีทสไลด์ที่แจกควรให้รูปหรือรายละเอียดที่ไม่ครบถ้วน
เพื่อเว้นว่างไว้ให้นิสิตเติม

5. มีช่วงเวลาหยุดเว้นช่วงระยะการพูดบรรยายอย่างพอเหมาะ
เพื่อให้นิสิตมีเวลาจดบันทึกความเข้าใจ

6. เตรียมคำถามหรือทดสอบย่อย (quiz)
เพื่อทดสอบความเข้าใจในเรื่องที่บรรยาย
© ssaeng 2010 page 6

7.การวางแผนการสอน

(1.) สิ่งที่ต้องรู้ก่อนการวางแผน
ก. ตรวจดูเนื้อหาว่า
เหมาะกับรายวิชาหรือหลักสูตรหรือไม่อย่างไร
ข. หาข้อมูลว่า
นิสิตเรียนรู้อะไรบ้างแล้วเกี่ยวกับเรื่องที่กำลังจะสอน
ค. ควรทราบวิธีการประเมินของรายวิชา
ง. ควรทราบวิธีสอนที่นิสิตคุ้นเคย

(2.) แยกแยะความรู้หรือหลักการเนื้อหาเป็น
สิ่งสำคัญที่ต้องรู้ หรือ
เป็นเนื้อหาที่น่าสนใจที่น่ารู้

(3.) กำหนดวัตถุประสงค์การสอน
ก. การสอนเพื่อสอนความรู้หรือหลักการใหม่ๆ
การบรรยายเป็นวิธีที่เหมาะสม
ข. การสอนเพื่อให้รู้วิธีอื่นๆในการแก้ปํญหาทางคลินิก
การใช้วิธีนำเสนอแบบอื่นและการอภิปรายจะเหมาะกว่า
© ssaeng 2010 page 7

ตัวอย่างแผนการบรรยายแบบโครงสร้างปกติ

ก. บอกเค้าโครงวัตถุประสงค์ของการบรรยาย
ข. อธิบายภาพใหญ่ๆ (main themes) มีอะไรบ้าง
ค. จุดสำคัญของเนื้อหาเรื่องที่ 1 (the first key point)
บอกเค้าโครงและอธิบาย
แสดงตัวอย่าง
พูดซ้ำจุดสำคัญของเรื่องที่ 1

ง. ก่อนที่จะไปจุดสำคํญของเนื้อหาเรื่องที่สอง อาจจัดให้
นิสิตมีกิจกรรมบางอย่าง เพื่อเสริมการเรียนรู้ใน
เรื่องแรกนี้

จ. จุดสำคัญของเนื้อหาเรื่องที่ 2 (the second key


point)
บอกเค้าโครงและอธิบาย
แสดงตัวอย่าง
พูดซ้ำจุดสำคัญของเรื่องที่ 2

ฉ. ก่อนที่จะไปจุดสำคํญต่อไป อาจจัดให้นิสิตมีกิจกรรม
บางอย่าง เพื่อเสริมการเรียนรู้ในเรื่องที่สองนี้

....
....

ช. สรุปการบรรยาย
ซ. พูดทวนเกี่ยวกับภาพรวมที่สำคัญทั้งหมด (main
themes) อีกครั้งแล้วกล่าวสรุป
© ssaeng 2010 page 8

ตัวอย่างแผนการบรรยายแบบโครงสร้างที่ใช้ปัญหานำ

ก. ให้รายละเอียดเกี่ยวกับปัญหา
ข. บอกวิธีการแก้ปัญหา วิธีที่ 1
ค. อภิปราย จุดเด่นจุดด้อย ของการแก้ปัญหาด้วยวิธีที่ 1
ง. หลังจากนั้นอาจจัดกิจกรรมให้นิสิตตามวิธีการแก้
ปัญหาด้วยวิธีที่ 1
จ. บอกวิธีการแก้ปัญหา วิธีที่ 2
ฉ. อภิปราย จุดเด่นจุดด้อย ของการแก้ปัญหาด้วยวิธีที่ 2
ช. หลังจากนั้นอาจจัดกิจกรรมให้นิสิตตามวิธีการแก้
ปัญหาด้วยวิธีที่ 2
ซ. สรุปและให้ข้อคิดหรือข้อสังเกต
© ssaeng 2010 page 9

8.เลือกสื่อที่ใช้สอน

หลังจากเลือกเนื้อหาที่เหมาะสมและจัดลงโครงสร้างแผนการ
สอนแล้ว ขั้นต่อไปคือเลือกวิธีการสื่อสารที่ควรใช้ (เช่น สไลด์
เครื่องฉายข้ามศีรษะ เอกสารประกอบการบรรยาย
แบบทดสอบ)

สื่อที่ดีทีสุดขึ้นกับ
ห้องเรียนหรือสถานที่ใช้
จำนวนนิสิต และหัวข้อสอน
มีสื่ออะไรบ้างที่สถานที่นั้น
เลือกใช้สื่อการสอนที่คุ้นเคย

พิจารณาว่าสื่อการสอนใดเหมาะสมที่สุดสำหรับหลักการและ
ภาพที่ต้องการสร้างให้ผู้เรียน (themes)

เลือกสื่อที่จะส่งเสริมให้นิสิตสามารถเรียนรู้ผ่านการโต้ตอบได้
ในระหว่างการบรรยาย
© ssaeng 2010 page 10

ลักษณะของเอกสารประกอบการบรรยาย

อาจช่วยทำให้การเรียนรู้ดีขึ้น
เพราะช่วยให้นิสิตมีเวลาฟังและคิดตาม

ควรให้เค้าโครงที่ทำให้นิสิต
ใช้สร้างความเข้าในหัวข้อที่สอน

ควรให้บทสรุปของภาพหลักๆและเลี่ยงการอธิบาย
เนื้อหาของแต่ละส่วนอย่างละเอียด

สามารถใช้เพื่อให้การเรียนรู้เพิ่มขึ้น โดยวิธีการเพิ่ม
แบบฝึกหัด
คำถาม
และรายชื่อหนังสือที่แนะนำให้อ่าน
© ssaeng 2010 page 11

9. เริ่มการบรรยาย

บอกให้นิสิตรู้ว่าตอนนี้นิสิตอยู่ตรงไหนในรายวิชาและกำลังไป
อย่างไรต่อไป

โดยการสรุปเรื่องที่บรรยายในคาบเรียนก่อน
แล้วบอกภาพเรื่องราวหลักๆและวัตถุประสงค์ของการเรียนใน
ครั้งนี้

ถ้าเริ่มการบรรยายในกลุ่มนิสิตนั้นเป็นครั้งแรก
(ไม่มีเนื้อหาก่อนหน้านี้) อาจเริ่มด้วยการแจ้ง
ระเบียบพื้นฐานในห้องบรรยาย เช่น ให้ปิดมือถือ หรือ
่อนุญาตให้ยกมือถามได้ตลอดเวลาที่บรรยาย
© ssaeng 2010 page 12

10. สร้างบรรยากาศส่งเสริมให้นิสิตโต้ตอบ

ในการบรรยายนิสิตมีแนวโน้มที่จะไม่มีส่วนร่วม (passive)
ผู้บรรยายอาจใช้วิธีหลากหลายวิธีร่วมกันเพื่อสร้าง
บรรยากาศส่งเสริมให้นิสิตมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้

ปกติความสนใจและความจำได้ของนิสิตจะดีที่สุด
ตอนต้นและตอนท้ายการบรรยาย
ดังนั้นการช่วยเพิ่มให้นิสิตจำได้ดีขึ้นทำได้โดย
เปลี่ยนรูปแบบการสอนในระหว่างกลางบรรยาย
โดยการวางแผนการบรรยายควรคิดรูปแบบกิจกรรม
และแบบฝึกหัดไว้ล่วงหน้าเพื่อนำมาใช้ขั้นจังหวะ
ในระหว่างการสอน

เช่น

1. ป้อนคำถาม

ในระหว่างการบรรยายช่วงต่างๆ
ให้ป้อนคำถามเพื่อตรวจสอบความเข้าใจ
และอาจสร้างความสนใจที่อาจชักนำเข้าสู่การอภิปราย

ถ้าถามแล้วเงียบไม่มีคำตอบก็อย่าเพิ่งด่วนตอบคำถาม
เสียเอง ให้รอสักพักเพื่อให้เวลานิสิตในการเปลี่ยนจาก
การฟังเป็นการคิดคำตอบ ปกติใช้การนับ 1 ถึง 10 ในใจ
© ssaeng 2010 page 13

2. ให้นิสิตถามคำถาม

วิธีลดปัญหาการกลัวที่จะถามคำถามที่เกรงว่าจะทำให้เขิน
แบ่งเป็นกลุ่มละ 2-3 คนแล้วให้ตั้งคำถามร่วมกัน
จากนั้นสุ่มเลือกบางกลุ่ม
เมื่อได้คำถามแล้วให้ทวนคำถามให้ทั้งชั้น
ได้ยินชัดเจนทั่วถึงก่อน
ก่อนที่จะตอบคำตอบหรือเพิ่มเติมเองอาจจะหาคำตอบ
จากนิสิตอื่นๆจะเป็นวิธีที่เพิ่มการมีส่วนร่วมมากขึ้น
© ssaeng 2010 page 14

3. การรวมหัว

ผู้บรรยายจดคำตอบที่นิสิตในชั้นตอบคำถามหรือเสนอ
การแก้ปัญหาลงบนกระดานดำหรือเครื่องฉายข้าม
ศีรษะโดยที่ไม่แต่งเติมหรือวิจารณ์เพิ่ม

ใช้เวลาสักพักในการรวบรวม (ประมาณ 2-3 นาที)


จากนั้นผู้สอนทบทวนคำตอบทั้งหมดที่ได้ทั้งหมดร่วม
กับผู้เรียนทั้งชั้น คำตอบที่ได้นำไปใช้ในการบรรยาย
ส่วนต่อไปหรือเพื่อให้นิสิตได้รู้ว่ากำลังอยู่จุดไหนก่อน
ที่จะต่อไปยังเรื่องต่อไป วิธีการเขียนคำตอบให้ทั้งชั้นเห็น
พร้อมกันนี้เป็นการทำให้นิสิตได้เรียนรู้ระหว่างนิสิตเองด้วย
© ssaeng 2010 page 15

4. ให้โอกาสจับกลุ่มย่อยกับเพื่อนข้างๆ

ให้นิสิตจับกลุ่มกับนิสิตข้างๆประมาณ 2-5 คน
ให้ช่วยกันคิดหาคำตอบต่อคำถาม ปัญหา
หรือแบบฝึกหัดที่ให้เป็นเวลาสั้นๆ (2-3 นาที)
เสร็จแล้วผู้สอนจึงบรรยายต่อหรืออาจตรวจคำตอบสำหรับ
แบบฝึกหัดโดยเลือก 1-2 กลุ่มมาแสดงความคิดของกลุ่มตน
© ssaeng 2010 page 16

5. การประเมินสั้นๆ

วิธีนี้ช่วยนิสิตในการค้นหาจุดที่ยังไม่รู้และฝึกนำสิ่งที่เพิ่ง
เรียนรู้มาใช้ทางปฏิบัติอาจทำโดยการให้นิสิตประเมินสั้นๆ
หรือให้ทำแบบฝึกหัด ผู้สอนจะรู้ด้วยว่านิสิตเข้าใจมากน้อย
อย่างไร

การประเมินอาจใช้คำถามหลายตัวเลือกหรือคำถาม 1นาที
(one-minute paper) ดังในตัวอย่างหน้าถัดไป

การประเมินการเรียนรู้ก่อนหน้านี้ก็ทำก่อนเริ่มบรรยายและ
การประเมินการเรียนรู้ในการสอนครั้งปัจจุบันนี้ก็ทำในช่วง
สิ้นสุดการสอน
© ssaeng 2010 page 17
© ssaeng 2010 page 18

11. การจบการบรรยาย

สิ่งสำคัญที่ต้องทำหลังจากสิ้นสุดการบรรยายแล้วคือการ
สรุปจุดสำคัญต่างๆพร้อมทั้งแนะการเรียนรู้ต่อไปอาจใช้
สไลด์หรือเครื่องฉายข้ามศีรษะอีกแผ่นที่รวมจุดสำคัญ
ต่างๆไว้ หรืออาจให้เปิดดูตามหัวข้อหลักๆในเอกสารประ
กอบการสอน

นิสิตจะสนใจที่จะเรียนรู้เพิ่มเติมถ้าให้งานหรือแบบฝึกหัด
ที่นิสิตจะต้องหาคำตอบเพิ่มเติม

ตอนท้ายของการสอนนี้ยังเป็นช่วงเวลาสำหรับการตอบ
คำถาม นิสิตอาจใช้ประโยชน์จากการคิดจากแบบประเมิน
นาทีเดียว (ในหัวข้อที่แล้ว) มาหาคำตอบหรือคำอธิบายจาก
ผู้สอนเพิ่มเติม
© ssaeng 2010 page 19

12. การประเมินการบรรยาย

การประเมินการสอนจะช่วยในการพัฒนาการสอน
วิธีการสามารถทำได้หลายอย่าง

ก. วิธีที่ใช้การให้ข้อมูลกลับของนิสิต มีดังนี้
ขอตัวอย่างบันทึกของนิสิตถ้าสามารถอ่านบันทึกที่จด
ระหว่างการบรรยาย
ให้นิสิตแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการสอนด้วยวาจา
ขอให้นิสิตทำแบบประเมิน 1 นาที (หน้าที่ 17)
ขอให้นิสิตทำแบบประเมิน ดังในตัวอย่างหน้า 20 และ
21

ข. กรณีที่ต้องการประเมินรูปแบบวิธีการสอน
คณาจารย์ที่ร่วมงานอาจให้ข้อมูลย้อนกลับได้

ขอให้เพื่อนอาจารย์ผู้ร่วมงานเข้าสังเกตการสอนบางส่วน
หรือจนจบการบรรยายแล้วขอความคิดเห็นหลังจากนั้น
สิ่งสำคัญต้องบอกให้สังเกตจุดของกระบวนการสอนที่ต้อง
การให้ประเมินด้วย เช่นเรื่องความชัดเจน
การรื่นไหลตามเหตุและผล ประสิทธิภาพของสื่อที่ใช้

หรือบันทึกเทปการบรรยายสำหรับทบทวนเป็นการส่วน
ตัว แล้วนัดเพื่อนผู้สอนมาชมตอนหลัง
© ssaeng 2010 page 20
© ssaeng 2010 page 21
© ssaeng 2010 page 22

Translation from The Original Article:

Cantillon, P. ABC of learning and teaching in medicine: Teaching large group.


BMJ. Volume 326, pp. 437-440.
© ssaeng 2010 page 23

List of Image Sources


Creative Commons: Attribution by.

1. Old School large lecture hall


by cogdogblog@flickr.com accessed on 3 May 2010
http://www.flickr.com/photos/cogdog/6288971/in/photostream/

2. study
by DAEllis@flickr.com
accessed on 3 May 2010
http://www.flickr.com/photos/23771587@N08/2407983862/

3. The Bodleian Library, Oxford


by malias@flickr.com
accessed on 3 May 2010
http://www.flickr.com/photos/malias/129529675/

4. The Manchester Central Library (UK) in St Peter's Square


by ricardo266@flickr.com
accessed on 3 May 2010
http://www.flickr.com/photos/16712259@N04/4487635324/in/set-
72157623845821728/

5. Final exam
by dcJohn@flickr.com
accessed on 3 May 2010
http://www.flickr.com/photos/dcjohn/74907741/
The Final Exam

You might also like