You are on page 1of 25

บทที่ 5 วิถีชีวิตจิตคริสตชน

หลังสภาสังคายนาเตรนท
(Post-Tridentine Spirituality)
สภาพสังคมในชวงระยะเวลาตั้งแตกลางศตวรรษที่15 ถึงกลางศตวรรษที่17 ไดเกิดกระบวนการ
หรือการพัฒนาที่สําคัญบางอยางในโลกตะวันตกซึ่งนําการเปลี่ยนแปลงโครงสรางของชีวิตในสังคม
สมัยกลาง ทั้งดานการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และทําใหเกิดสถาบันใหมๆ ในสังคม รวมทั้งแนวคิดที่
เปลี่ยนไปจากเดิมอยางเห็นไดชัดซึ่งจะนําไปสูสมัยใหม
1. สภาพสังคมของยุโรป ศตวรรษที่ 15 – กลางศตวรรษที่ 17
1.1 ลัทธิฟว ดัลเสื่อมสลายไป และรัฐชาติ (Nation State) เขามาแทน
ประชาชนมีความสํานึกในความเปนชาติและการใชภาษาเดียวกัน เชน สเปน โปรตุเกส
ฝรั่งเศส อังกฤษ เปนตน มีการสรางรัฐ มีกษัตริยท ี่มีอํานาจออกกฎหมายเรียกวา ระบอบราชาธิปไตย
ใหม การแขงขันระหวางประเทศตางๆ สงผลกระทบตอเอกภาพของพระศาสนจักร การแตกแยกเปน
นิกายตางๆ ลวนสัมพันธกับปญหาทางการเมืองทั้งสิ้น
1.2 ขบวนการฟนฟูศิลปวิทยาการ (Renaissance)
ในชวงปลายสมัยกลาง ผูมีความรูเริ่มเบื่อความคิดแบบจิตนิยมและคติชีวิตแบบยึดมั่นกับ
ศาสนาแบบจิ ตนิ ยม หั นไปสนใจแนวคิ ดแบบมนุ ษยนิ ยม สนใจภาษา วรรณคดี ศิ ลปะ ตลอดจน
วัฒนธรรมดานตางๆ ของสมัยคลาสสิก กรีกและโรมัน ที่สงเสริมคุณคาและศักดิ์ศรีของมนุษย มนุษย
ในยุคใหมตองการคําตอบใหมเพราะวิถีชีวิตไดเปลี่ยนไป
1.3 พระศาสนจักรตองการการปฏิรูป
พระศาสนจักรปกครองทั้งทางโลกและทางธรรม ผูนําพระศาสนจักรสมัยนั้นจึงมักมาจาก
ตระกูลชนชั้นปกครอง ขาดคุณวุฒิ จริยธรรม และระเบียบวินัย มีการแตกแยก มีความพยายามในการ
ปฏิรูปพระศาสนจักรจากสองแนวทางคือ ขบวนการปฏิรูปภายนอกสถาบัน (Reformation) ทําใหเกิด
การแบงแยกเปนนิกายโปรเตสแตนท และขบวนการปฏิรูปภายในพระศาสนจักรเพื่อแกไขขอบกพรอง
และฟนฟูพระศาสนจักรใหม มีขบวนการมนุษยนิยมแบบคริสตที่ชวยใหมีการปฏิรูปพระศาสนจักร
ไดแก นิโคลัส แหงคูซา นักบุญโทมัส มอร อีรัสมุส (Erasmus) นักบุญอิกญาซีโอ แหงโลโยลา นักบุญ
อันเจลา เมรีชี นักบุญเทเรซา แหงอาวีลา นักบุญยอหน แหงไมกางเขน และสังคายนาเมืองเตรนท
(ค.ศ.1545-1563)

57
1.4 มีการขยายตัวทางการคา การกําเนิดระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมและการคนพบ
โลกใหม
สงผลทําใหยุโรปขยายตัวออกไปทั่วโลก เกิดการติดตอเชื่อมโยงระหวางโลกตะวันตกและ
ตะวันออก
1.5 การเปลีย่ นแปลงดานชีวติ จิต
ในสมัยกลางเนนพระเจาเปนศูนยกลางของโลก วิถีชวี ติ ของคนสมัยนั้นเนนความรักตอพระ
เจา การดําเนินชีวติ เพื่อพระเจา แตในยุคฟนฟูศลิ ปวิทยาการหรือยุคมนุษยนิยม มีความเขาใจใหมวา
พระเจาทรงมอบใหมนุษยปกครองดูแลโลก มนุษยจงึ เปนศูนยกลางของโลกจักรวาล แตมีพระเจา
ประทับอยูในใจมนุษย มีความสนใจดานชีวติ ภายใน ดานจิตวิญญาณ ตามที่พระเยซูคริสตเจาทรงสอน
“ผูมีใจยากจน ใจออนโยน ใจเมตตา ใจบริสทุ ธิ์ยอมเปนสุข” (มธ 5:3,5,7,8) “มีใจสุภาพออนโยนและถอม
ตน” (มธ 11:29) สิ่งที่บริสุทธิ์และสิง่ ที่เปนมลทินมาจากใจ (มธ 15:18-21)
บทนี้ จึงนําเสนอวิถีชีวิตของผูนําชีวิตจิต ในสมัยหลังสภาสังคายนาคายนาแหงเตรนท ที่สนใจ
การพัฒนาจิตวิญญาณใหบรรลุถึงจุดสูงสุด โดยการพบพระเจาในสวนลึกของจิตใจ ไดแก นักบุญอิกญา
ซีโอ แหงโลโยลา นักบุญเทเรซา แหงอาวีลา และนักบุญยอหน แหงไมกางเขน

2. นั กบุ ญอิ กญาซี โอ แห งโลโยลา (ค.ศ.1491-1556) ชี วประวั ติ แนวชี วิ ตจิ ต และ
ผลงาน
นัก บุญ อิก ญาซีโ อไดชื่อ วา เปน ผูมีสว นในการปฏิรูป พระศาสนจักรโดยไดให “การฝกจิต”
(Spiritual Exercises) ที่สมบูรณครบครันและชีวิตนักบวชรูปแบบใหมแกพระศาสนจักร
2.1. ประวัติของนักบุญอิกญาซีโอ แหงโลโยลาโดยสังเขป
2.1.1 ชีวิตในชวงแรก
ทานเกิดในครอบครัวคริสตชนผูเปนเจาของปราสาทโลโยลา ในป ค.ศ.1491 ในแควนบาสค
ซึ่งอยูตอนเหนือของประเทศสเปน เดิมชือ่ อินิโก โลเปส เด โลโยลา ตอมาทานไดเปลี่ยนชื่อเปน อิกญา
ซีโอ ตามชื่อของนักบุญอิกญาซีโอ ชาวอันทิโอก มุขนายกและมรณสักขี ทานเปนบุตรคนสุดทองของ
ครอบครัวใหญ มีพี่นอง
สิบสามคน ทางครอบครัวปรารถนาใหทานบวชเปนบาทหลวง แตทา นยังไมสนใจ เมือ่ อายุ 16 ป ถูก
สงไปเปนผูรบั ใชทา นฮวน เวลัสสเควส (Juan Velazquez) ขุนคลังแหงอาณาจักรคาสติล (Castile) เพื่อ
เตรียมตัวเปนอัศวิน ทานใชชีวติ ในวัยรุนตามความทะเยอทะยานฝายโลก สนใจในการเอาชนะใจสตรี
ผูมีตระกูล โดยการแสวงหาเกียรติยศชื่อเสียง ทานชอบการพนัน ชอบติดตอกับผูหญิง และชอบฝก
การใชอาวุธ คือ ดาบ
58
2.1.2 การกลับใจเปลี่ยนแปลงชีวิตใหม
เมื่ออายุ 26 ป ทานเปนทหารทําหนาทีต่ อสูปองกันปอมเมืองปมโปลนา (Pamplona)
จากการโจมตีของทหารฝรั่งเศส ระหวางการสูรบทานถูกลูกปนใหญระเบิดใสขาจนกระดูกแตก ทาน
กลับไปรักษาตัวที่ปราสาทโลโยลา ตองรับการผาตัดดวยความเจ็บปวดทรมานถึงสามครั้ง เพื่อตองการ
ใหเดินไดเหมือนเดิม ตองใชเวลารักษาตัวนาน ขณะทีน่ อนปวยอยูท า นขอหนังสือนวนิยายความรักและ
การผจญภัยของอัศวิน แตไมมีหนังสือที่ทา นขอ มีแตหนังสือชีวติ ของพระคริสต (The life of Christ)
และหนังสือประวัตชิ ีวติ บรรดานักบุญ (Golden Legend) ทานจึงไดอานหนังสือทั้งสองเปนประจําจน
เกิดความประทับใจ ทานไดกลาววา “ถาฉันจะทําอยางเดียวกับนักบุญฟรังซิสหรือนักบุญดอมินกิ อะไร
จะเกิดขึ้น” ทานไดเปรียบเทียบความคิดทางโลกที่นําความสุข แตตอมาก็เกิดความเบื่อหนาย มีจติ ใจ
หดหูและวางเปลา อีกดานหนึ่งเมื่อทานคิดถึงชีวติ ของนักบุญทําใหทานเกิดความชืน่ ชมยินดี เมื่อหยุด
คิด ความชื่นชมยินดียังคงอยูในจิตใจตอไป ความรูสึกนีเ้ ปนจุดเริ่มตนของการวินจิ ฉัย (Discernment)
พระเจาไดทรงเปลี่ยนจิตใจของทานทีละนอย จนในทีส่ ุดทานไดกลับใจพรอมที่จะรับใชพระเยซูคริสต
เจาแตผูเดียว ทานพยายามแสวงหาหนทางหรือวิธีตา งๆ ที่จะรับใชพระเยซูคริสตเจา เชน การเดินทาง
ดวยเทาเปลาไปยังกรุงเยรูซาเล็ม หรือการเปนนักพรตคารทูเซียน (The Carthusian) เปนตน เมื่อ
ทานหายเปนปรกติแลว ในเดือนมีนาคม ค.ศ.1522 ทานเริ่มชีวติ แสวงหาพระเจาโดยเดินทางไปเมือง
มันทซีรัท (Montserrat) ที่สกั การสถานแมพระของเมืองมันทซีรทั ทานภาวนาตลอดคืนตอหนาพระ
แทนพระนางมารีอา ปฏิญาณถือโสดตลอดชีวติ และถวายดาบประจําตัวและชุดนักรบไวที่พระแทน
จากนั้นทานแตงกายชุดผูจาริกแสวงบุญและเดินทางตอไป
ตอมาทานไดมาอยูที่เมืองแมนรีซา(Manresa) ไดรับการแนะนําดานชีวิตจิตจากนักพรต
เบเนดิกตินคนหนึ่ง ทานไดไปชวยดูแลคนปวยในเมืองใกลเคียง รวมพิธีบูชาขอบพระคุณและรวม
พิธีกรรมทําวัตรอยางสม่ําเสมอดวยใจรอนรน แตละวันทานใชเวลาหลายชั่วโมงสําหรับการภาวนาที่
อาราม และใชโทษบาปในถ้ําที่อยูในที่เปลี่ยวนอกเมืองแมนรีซา
2.1.3 ประสบการณดานจิตวิญญาณที่เมืองแมนรีซา
ทานอยูที่เมืองแมนรีซาประมาณหนึ่งป ที่นี่ทานมีประสบการณฝายจิต เชน ความแหง
แลงหดหูใจ (Desolation) และความบรรเทาใจ (Consolation) ทานตกอยูในอารมณวุนวาย กังวลใน
เรื่องบาปอยางรุนแรงจนถึงคิดจะฆาตัวตาย และสุดทายทานไดรับพระหรรษทานทีเ่ ปนเครือ่ งหมายของ
การเปน “มนุษยใหม” ประสบการณทางจิตที่ทานไดรับ สามารถรวบรวมไดพอสังเขป ดังนี้
ก. ความศรัทธาอยางแรงกลาในพระตรีเอกภาพ (The Trinity)
ทานไดรับประสบการณเกี่ยวกับพระตรีเอกภาพติดตาตรึงใจ มีความปติและความ
บรรเทาใจเปนอยางมาก

59
ข. ความเขาใจลักษณะที่พระเจาทรงสรางโลก (Creation)
มีลักษณะเปนสีขาว มีแสงพวยพุงออกมา แตไมสามารถอธิบายได และจดจําแสง
สวางภายในซึ่งพระเจาทรงประทับลงบนวิญญาณของทานไดไมถนัด
หลังจากอยูที่เมื องแมนรีซาเกือบป ทานไดรับการบรรเทาใจจากพระเจ า ไดละการ
ทรมานกายภายนอก แตงกายปรกติเหมือนผูอื่น ขณะที่รวมพิธีบูชาขอบพระคุณ ทานไดรับแสงสวาง
ทําใหเกิดความเขาใจถึงการประทับอยูของพระเยซูคริสตเจาในศีลมหาสนิท
ในขณะภาวนาทานมักไดเห็นมนุษยภาพของพระเยซูคริสตเจา (The humanity of
Christ) และเขาใจบทบาทของพระมารดามารีย
ที่ฝงแมน้ําคารโดเนอร (Cardoner) อยูหางเมืองแมนรีซาประมาณหนึ่งไมล ทานไดรับ
ความเขาใจอยางลึกซึ้ง (insight) ในเรื่องตางๆ ทั้งดานชีวิตจิต สิ่งที่เกี่ยวกับความเชื่อและความรู
ที่ไดเรียนมา ความสวางนี้ยิ่งใหญจนทุกสิ่งดูเหมือนใหม และไมสามารถอธิบายไดทั้งหมด ทานกลาววา
”ถาจะประมวลความชวยเหลือจากพระเจา และสิ่งที่ขาพเจาไดเรียนรูตลอดระยะเวลาหกสิบสองนั้นป
ไมสามารถเทียบไดกับประสบการณที่ขาพเจาไดรับในครั้งนี้ครั้งเดียว”
ประสบการณ ธรรมล้ําลึ กของท านไมเพี ยงแตการมีชี วิตจิ ตที่ ลึ กซึ้งเท านั้น แต ยั งเป น
แนวทางของธรรมทูตผูรับใชพระเจาตามแบบอยางของพระเยซูคริสตเจา จากประสบการณฝายจิตที่
ทานไดรับที่เมืองแมนรีซานี้ ตอมาทานไดเขียนหนังสือ “การฝกจิต” (Spiritual Exercises) เพื่อ
แบงปนและชวยผูอื่นใหมีประสบการณฝายจิตตามแนวทางพระวรสาร และเปนแนวชีวิตจิตของนักบวช
ในรูปแบบใหมที่พระจิตเจาจะทรงดลใจใหทานและเพื่อนรวมกันกอตั้งขึ้น เพื่อสืบสานพันธกิจของพระ
เยซูคริสตเจาในโลก
2.1.4 การกลับไปศึกษาตอ
ตอมาเนื่องจากทานมีความศรัทธาตอความเปนมนุษยและธรรมล้ําลึกของชีวติ ในโลก
ของพระเยซูคริสตเจา ทานจึงเดินทางไปแสวงบุญที่กรุงเยรูซาเล็ม แตสถานการณทางการเมืองใน
ปาเลสไตนในสมัยนั้นไมมคี วามปลอดภัย ทานจึงเห็นวาพระประสงคของพระเจาคงไมตองการใหทา น
อยูในปาเลสไตน ทานจึงเดินทางกลับสเปนและตัดสินใจที่จะกลับไปศึกษาเพื่อเตรียมตัวเปนบาทหลวง
เพื่อจะสามารถรับใชพระเจาและเพื่อนมนุษยไดมากยิ่งขึ้น ขณะนัน้ ทานอายุ 34 ป ทานไปศึกษา
ไวยากรณภาษาลาตินที่มหาวิทยาลัยบารเซโลนา (Barcelona ค.ศ.1524-26) และวิชาปรัชญาที่
มหาวิทยาลัยอัลคาลา (Alcala ค.ศ.1526-27) ตอมาไปศึกษาวิชาเทววิทยาที่มหาวิทยาลัยซาลามันกา
(Salamanca ค.ศ.1527) และมหาวิทยาลัยแหงกรุงปารีส (ค.ศ.1528-35) ทานใชเวลาศึกษาทั้งหมด
ประมาณ 11 ป (ค.ศ.1524-1535) จนสําเร็จปริญญาโทดานเทววิทยา ในระหวางทีท่ านกําลังศึกษานี้

60
ทานกระตือรือรนที่จะชวยคริสตชนผูส นใจไดเขาเงียบแบบ “การฝกจิต” (Spiritual Exercises) เพื่อจะ
ไดมีประสบการณฝายจิตตามพระวรสาร แมจะมีอุปสรรคมากมายจากผูท ี่ไมเขาใจทานก็ตาม
2.1.5 การตัง้ คณะนักบวชรูปแบบใหม
ในวันที่ 15 สิงหาคม ค.ศ.1534 นักบุญอิกญาซีโอและเพือ่ นๆ 6 คน มีนักบุญฟรังซิส เซ
เวียร (St. Francise Xavier ค.ศ.1506-1552) บุญราศีปเตอร ฟาเบอร (Blessed Peter Faber ค.ศ.
1506-1546) ฯลฯ ไดถวายปฏิญาณความยากจน ความบริสทุ ธิแ์ ละความนอบนอมเชื่อฟงเพื่อรับใชพระ
สันตะปาปาเปนครั้งแรกทีว่ ัดพระมารดามารียบนเนินมองมารต ในกรุงปารีส กลุมของทานไดเทศนเขา
เงียบและชวยเหลือคนยากจน ในป ค.ศ. 1537 นักบุญอิกญาซีโอและเพื่อนไดรบั ศีลบวชเปนบาทหลวง
ที่เมืองเวนิส ประเทศอิตาลี และกลุมของทานไดชื่อวา “มิตรสหายของพระเยซูคริสตเจา” หรือ”คณะ
เยสุอติ ” (The Society of Jesus) ทีว่ ัดนอยลาสตอรตา (La Storta) ใกลกรุงโรม ทานเห็นภาพนิมติ พระ
บิดาตรัสกับพระเยซูคริสตเจาวา “เราปรารถนาใหทา นผูน ี้เปนผูรบั ใชของเรา”
สามปตอมา ในป ค.ศ.1540 พระสันตะปาปา เปาโล ที่ 3 ไดทรงอนุญาตใหนักบุญอิกญา
ซีโอตั้ง “คณะนักบวชแหงพระเยซูคริสตเจา” โดยมีสมาชิก 10 คน ทานไดรับเลือกเปนมหาธิการ
คนแรกของคณะ แมทา นจะไมเต็มใจ ทานใชชวี ติ 15 ปตอมาชวยเขียนพระวินยั และชวยดูแลใหคณะ
เติบโตขึน้ สมาชิกของคณะไดไปทํางานเผยแผธรรมในทีต่ างๆ ทัว่ ยุโรปและดินแดนใหม เชน นักบุญฟ
รังซิส เซเวียรทํางานเผยแผธรรมในเอเซีย เปนตน ในวันที่ 31 กรกฎาคม ค.ศ.1556 ทานเสียชีวติ ที่
กรุงโรม อายุได 65 ป ในป ค.ศ.1622 พระสันตะปาปา ปโอที่ 11 ไดทรงประกาศใหทานเปนนักบุญ
ทานไดชื่อวา “นักบุญองคอุปถัมภของผูเขาเงียบ1

1
คริสตชนมีธรรมเนียมปฏิบัติเรื่อง “การเขาเงียบ” ดวยการสํารวมจิตใจเงียบ ๆ สักระยะหนึ่ง เพื่อฟงเสียงของพระเจาที่
ตรัสถึงแตละคน การเขาเงียบนี้อาจมีการเชิญบาทหลวง นักบวชมาชวยใหคําแนะนําตอการดําเนินชีวิตดานจิตใจ.

61
2.2 แนวชีวิตจิตของนักบุญอิกญาซีโอ
2.2.1 การฝกจิต (Spiritual Exercises)
ในสมัยกอนทานนักบุญอิกญาซีโอไดมีการฝกจิตบางแลว เชนของการเซีย เด ซิส
เนรอส อธิการของอารามนักพรตเบเนดิกตินเมืองแมนรีซา เปนตน แตนักบุญอิกญาซีโอไดจัด
กําหนดการ (program) สําหรับการรําพึงทีเ่ ปนระบบตามประสบการณที่ทานไดรับที่เมืองแมนรีซา เพื่อ
ชวยใหมีการฟนฟูปฏิรูปชีวติ ใหมและนําไปสูการพบกับพระเจา เปาหมายของการฝกจิตคือ เพื่อใหเรา
เขาถึงความรักของพระเจา (การฝกจิต ขอ 230-237) พระเจาประทานพระพรและพระองคเองแกเรา
พระองคทรงอยูในสิ่งสรางและทรงทํางานผานทางเรา พระองคทรงเปนบอเกิดแหงความดีทั้งหมด ทรง
นําน้ําใจและสติปญญาของเรา ดวยความรักของพระองค ทรงชวยใหเรารูวา ควรทําอะไรตามพระ
ประสงคของพระองค สิ่งเหลานี้เปนกระบวนการพลวัตรที่เราเรียนรูจากสวนลึกภายในตัวเรา

การฝกจิตใชเวลาประมาณสีส่ ัปดาห ผูเ ขาเงียบจะไดรับการแนะนําสูประสบการณ


การกลับใจ การชําระจิตใจใหบริสทุ ธิ์ ดวยพื้นฐานจากความรักทีล่ ึกซึง้ และการรูจักพระเยซูคริสตเจา
ทําใหมคี วามปรารถนาที่จะรับใชอาณาจักรพระเจาตามมาตรฐานของพระเยซูคริสตเจา และเติบโตใน
การปฏิบตั ติ ามการดลใจของพระจิตเจา ในการเขาเงียบจะมีการปรับใหเหมาะกับสถานการณและ
ความตองการ ของผูเ ขาเงียบ นักบุญอิกญาซีโอมักจะใหการเขาเงียบแบบฝกจิตอยางเต็มรูปแบบแกผู
ที่มีคุณธรรมเดนชัด หรือผูท ี่กําลังปรารถนาจะเลือกสภาพหรือฐานะชีวติ ใหม
2.2.2 แนวชีวิตจิตรูปแบบใหมตามแนวนักบุญอิกญาซีโอ
มาจากประสบการณแหงธรรมล้ําลึกที่ทา นไดรับทีเ่ มืองแมนรีซา พระเจาทรงสอน
ทานใหมีประสบการณแหงธรรมล้าํ ลึก ทําใหทานมีความเขาใจใหมถงึ ขอความเชื่อที่สาํ คัญหาประการ
คือ พระเจาทรงเปดเผยพระองคในพระตรีเอกภาพ (The Trinity) พระองคทรงสรางโลกจักรวาล
(creation) และทรงสงพระบุตรมาบังเกิดเปนมนุษย (Jesus in His humanity) เพื่อไถกูมนุษย และ
พระเยซูคริสตเจาทรงประทับอยูในศีลมหาสนิท (Christ in the Eucharist) พระเจาจะทรงนําทุกสิ่ง
กลับมาหาพระองค ผานทางพระเยซูคริสตเจาและพระมารดามารีย (Our Lady)
ทานไดรบั วิสยั ทัศนของจักรวาลและมนุษยใหม มีความเขาใจใหมวา พระเจาอยูที่
ไหน พระองคทรงมีบทบาทอยางไรในโลก และมนุษยจะพบพระเจาไดอยางไร ทานเขาใจวาพระเจา
ทรงเปนผูก ระทํา และทรงกระทําอยางตอเนื่องในการสรางโลกและการไถกูมนุษย เหตุการณที่เปน
ศูนยกลางที่พระเจาเขามาในประวัตศิ าสตรของมนุษยคอื การเสด็จมาของพระเยซูคริสตเจาเพื่อ
สถาปนาอาณาจักรพระเจา พระเยซูคริสตเจาผูทรงกลับคืนพระชนมชีพและทรงพระชนมอยูอยาง
ตอเนื่อง ไดทาํ ใหพระภารกิจของพระบิดาสําเร็จในพระศาสนจักรตั้งแตแรกเริ่มจนถึงปจจุบัน บรรดา

57
ศิษยของพระเยซูคริสตเจาอาศัยอํานาจของพระองคชว ยปลดปลอยมนุษยจากการตกเปนทาสฝายจิต
พระเจาประทับอยูและทรงกระทําสิ่งตางๆ ในโลกนี้ผา นทางพระศาสนจักร การรวมมือและการนอบ
นอมเชื่อฟงพระศาสนจักร จึงเปนหนทางทําใหมนุษยเปนหนึ่งเดียวกับพระประสงคของพระเจา
ชีวติ จิตที่สําคัญมิใชอยูท ี่ปญ
 หาการภาวนาหรือการกระทํา แตอยูท ี่การซื่อสัตยตอ
พระเจาซึ่งมีพระประสงคใหเราซื่อสัตยตอการสืบสานงานของพระองค การเปนหนึ่งเดียวกับพระเจาจึง
เปนการเปนหนึ่งเดียวกับพระประสงคของพระองค ในการภาวนาและในการทํากิจกรรมที่เหมาะสมและ
สอดคลองกับพระประสงคของพระองค และกระทําดวยความรัก จึงไมทําใหเราออกหางจากพระเจา
แตเปน การพบพระเจาในทุกสิง่ (“Finding God in All things”)
สรุ ปเนื้ อหาของชี วิ ตจิ ตของนั กบุ ญอิ กญาซี โอที่ บั นทึ กในการฝ กจิ ต (Spiritual
Exercises) และพระวินัยของคณะเยสุอิต (The Constitutions of the Society of Jesus) มีดังนี้
ก. มีพระคริสตแหงพระวรสารเปนศูนยกลาง
การฝกจิตทําใหเกิดและหลอเลี้ยงความรูสึกและความสัมพันธอยางลึกซึ้งกับพระ
เยซูคริสตเจาผูทรงกลับคืนพระชนมชีพ ผูทรงพระชนมอยูในปจจุบันเสมอ และมีสวนรวมดวยความรัก
ในการสืบสานพันธกิจงานไถกูกับพระองค
ข. มีความรูสึกที่จะมีสวนรวมงานสรางสรรคของพระเจาในโลก
การฝกจิตไดสอื่ สารความเชือ่ ที่วาพระเจาทรงทํางานอยางแข็งขันในโลกเพื่อทํา
ใหเกิดสภาพความเปนอยูทดี่ ีของครอบครัวมนุษย และพระเจาทรงตองการความรวมมือของมนุษยเพื่อ
ทําใหงานนั้นสําเร็จ การประกาศขาวดีในรูปแบบตางๆ เปนการรวมมือกับพระเจาเพื่อเสริมสรางสภาพ
ความเปนอยูท ี่ดี และความผาสุกของเพื่อนมนุษย
ค. มีการพินจิ พิเคราะหและวินจิ ฉัย (discernment)ในกระบวนการตัดสินใจ
การฝกจิตเปนการกระทําของพระเจาในโลก จึงสามารถชวยผูฝก จิตวินิจฉัยจาก
ประสบการณของแตละบุคคล และจากมาตรการที่เปนจริง นักบุญอิกญาซีโอไดใหหลักเกณฑและแนว
ปฏิบตั ิในการพินิจพิเคราะหและวินิจฉัย เพื่อสืบหามูลเหตุ จังหวะชีวติ รูปแบบและทิศทางของ
ประสบการณของบุคคลหรือของหมูคณะ เพื่อจะสามารถเลือกทางเลือก ที่สนับสนุนและรวมมือกับการ
สรางสรรคของพระเจาในโลก สอดคลองกับพระประสงคของพระเจา

58
ง. การมีจิตใจสูงสงและมีใจกวางขวางในการตอบสนองพระประสงคของพระ
เจา
การฝกจิตพัฒนาใหมีความกลาหาญ มีจิตใจกวางขวางและสูงสงในการรับใชพระ
เจาและเพื่อนมนุษย นักบุญอิกญาซีโอกําหนดคําขวัญของคณะวา “เพื่อสรรเสริญพระสิริรุงโรจนของ
พระเจามากยิ่งขึ้น” “For the Greater Glory of God” (Ad Majorem Dei gloriam) และทานเนนคําวา
“มากยิ่งขึ้น”(Magis)
จ. การเปนพี่นองและความเปนเพื่อนในการรับใชบริการ
คณะนักบวชแหงพระเยซูคริสตเจา (เยสุอิต) ตั้งขึน้ โดยปรารถนาที่จะรักษาความ
เปนพี่นองและความเปนเพื่อนที่นักบุญอิกญาซีโอ และเพื่อนรุนแรกมีตอกัน ซึ่งมาจากประสบการณ
ของพระเยซูคริสตเจาในการฝกจิตเยสุอิตรุน แรกจะเรียกกันวา “เพื่อนในองคพระผูเ ปนเจา” เปนพี่นอง
ที่มีความสัมพันธรว มกันในความรูสึกอุทศิ ตนแกพระเยซูคริสตเจา ในการรับใชตามแบบอยางของ
บรรดาอัครสาวก นีเ่ ปนมิติทเี่ ปนศูนยกลางที่สําคัญของชีวติ จิตของนักบุญอิกญาซีโอ
ฉ. การพบพระเจาในทุกสิ่ง (Finding God in all things)
การบูรณาการระหวางการภาวนาและการกระทํากิจการเพื่อรับใช บาทหลวงเย
โรม นาดัล (d.1580) ไดสรุปลักษณะพิเศษนี้วา การเพงพินิจภาวนาในการกระทํากิจการแหงการรับใช
(Contemplative in Action)
กลาวโดยสรุป แนวชีวติ จิตของนักบุญอิกญาซีโอคือ มีพระเยซูคริสตเจาเปน
ศูนยกลาง (Christocentric) เปนแนวทางธรรมทูต (Apostolic) มีการพินิจพิเคราะหและวินิจฉัย
(Discerning) มีใจกวาง (Generous) มีความเปนพี่นองกัน (Fraternal) เปนชีวติ จิตที่มีบูรณาการ
(Integrated spirituality) ที่ชว ยใหคณะและสมาชิกแตละคนแสวงหาพระเจาในทุกมิตขิ องชีวติ ทั้งในการ
ภาวนาและในศาสบริการ

59
2.3 การพัฒนาชีวิตนักบวชรูปแบบใหมของคณะแหงพระเยซูคริสตเจาในประวัติศาสตร
นักบุญอิกญาซีโอไดตั้งคณะนักบวชรูปแบบใหมในพระศาสนจักร แมทานเห็นวาชีวติ
นักพรตในอารามมีสวนที่ดีหลายอยาง แตทานไดใหรปู แบบนักบวชใหมที่แตกตางจากรูปแบบ
นักบวชเดิม กลาวคือ
2.3.1 คณะไมมีเครื่องแบบพิเศษ แตแตงกายเหมือนบาทหลวงสังฆมณฑล
2.3.2 การทําวัตรมีความสําคัญ แตใหสมาชิกของคณะภาวนาสวนตัว ไมภาวนารวมกัน
เชนนักพรตในอาราม
2.3.3 ไมมีการกําหนดใหทํากิจใชโทษบาปเหมือนกันหมดสําหรับทุกคน
2.3.4 บรรดานวกชนผูฝกหัดเตรียมตัวเปนสมาชิกของคณะใหใชเวลาชวงหนึ่งนอกนวก
สถาน

นักบุญอิกญาซีโอ ผูกอตั้ง ”คณะนักบวชแหงพระเยซูคริสตเจา” (The Society of Jesus)


หรือนิยมเรียกสั้นๆ วา “คณะเยสุอติ ” (Jesuits) คณะไดรับการรับรองจากพระศาสนจักรโดยพระ
สันตะปาปา เปาโลที่ 3 ในวันที่ 27 กันยายน ค.ศ.1540 มีสมาชิก 10 คน คณะมีจุดประสงคเพื่อทํางานศา
สนบริการอยางแข็งขัน เพื่อชวยบรรดาคริสตชนใหกาวหนาในชีวติ จิตและความรูดา นคําสอน และ
ประกาศเผยแผความเชื่อ คณะมิไดตั้งขึ้นเพื่อตอตานการปฏิรูปพระศาสนจักรโดยตรง แตตอมาคณะ
มีสวนรวมในการปฏิรูปพระศาสนจักรคาทอลิกในเยอรมัน โปแลนด และที่อื่นๆ นักบุญอิกญาซีโอ
ตองการใหคณะสามารถปรับตัว พรอมเสมอที่จะปฏิบตั พิ ันธกิจเพื่อพระเจาไดตามความเหมาะสมและ
ตามความจําเปนของพระศาสนจักร ทานจึงมิไดเจาะจงถึงงานเผยแผธรรมเฉพาะดานใดดานหนึ่ง ที่ใด
ที่พระศาสนจักรเห็นความจําเปนเรงดวน คณะจะอาสาสมัครอุทศิ ตนไปชวยทํางานนั้นอยางเต็มที่

จํานวนสมาชิกของคณะเพิม่ ขึ้นอยางรวดเร็ว ในป ค.ศ. 1615 มีสมาชิก 16,000 คน มี


โรงเรียนมัธยมปลายและมหาวิทยาลัย 450 แหง มีบานเณร 55 แหง ในป ค.ศ. 1773 มีสมาชิก 22,600
คน มีสถาบันการศึกษา 670 แหง มีบานเณร 175 แหง นักบวชเยสุอติ กลายเปนผูฟ งแกบาปของ
บรรดากษัตริย และไดตอสูกับพวกลัทธิยันเซ็นนิยม1 จึงมีศัตรูหรือผูที่ไมชอบคณะนักบวชเยสุอิต ใน

1
ลัทธิยันเซ็นนิยม (Jansenism) คือ คําสอนตามแนวความคิดของ คอรเนลิส ยันเซ็น (ค.ศ. 1583-1636) มุขนายกชาว
ฮอลันดาที่สอนวา มนุษยไมสามารถจะทําความดีเพื่อบรรลุถึงความรอดพนดวยตนเอง ใครจะเขาสวรรคแลวแตพระ
เจากําหนด มนุษยไมมีใจเสรีแตเปนเครื่องมือทําความดีของพระเจา เรียกรองใหมีการบําเพ็ญพรตอยางเครงครัด คํา
สอนนี้แผไปในประเทศฝรั่งเศส ตอมาพระศาสนจักรประณามวาเปนคําสอนที่ผิดในป ค.ศ. 1642.
60
ปนี้เองคณะไดถูกบีบใหหยุดการดําเนินกิจการตางๆ ในพระศาสนจักร ตอมาอีก 41 ป ในป ค.ศ.
1814 คณะจึงไดรับการฟนฟูขึ้นใหมในพระศาสนจักร ปจจุบันมีสมาชิกประมาณ 19,850 คน

ในดานการเผยแผธรรมในยุโรปและในโลก ในป ค.ศ. 1542 นักบุญฟรังซิส เซเวียรไดไปเผย


แผธรรมที่อินเดีย ในป ค.ศ.1549 สมาชิกคณะเยสุอิตไดไปเผยแผธรรมที่บราซิล ตอมาบาทหลวง
มัททีโอ ริชชี (Matteo Ricci ค.ศ.1552-1610) นักวิทยาศาสตรและธรรมทูตเยสุอิต ไดทํางานเผยแผ
ธรรมในประเทศจีนอยางไดผลดี และไดพยายามประยุกตวัฒนธรรมจีนเขากับศาสนาคริสต
บาทหลวงโรเบิรท เดอ โนบีลี (Roberto de Nobili ค.ศ.1577-1656) บาทหลวงธรรมทูตเยสุอติ ที่ทาํ งาน
เผยแผธรรมในประเทศอินเดีย ไดพยายามประยุกตวัฒนธรรมอินเดียใหเขากับศาสนาคริสต ปจจุบันมี
สมาชิกของคณะเยสุอติ ในอินเดียประมาณ 3,000 คน ป ค.ศ.1789 มุขนายกองคแรกของพระศาสนจักร
คาทอลิกในสหรัฐอเมริกา คือ มุขนายกยอหน แครโลล (Bishop John Carroll)กอนไดรับเลือกเปนมุข
นายก ทานเปนบาทหลวงคณะเยสุอติ ที่ทาํ งานในดินแดนใหม ทานไดวางรากฐานใหพระศาสนจักรและ
พยายามชวยเหลือชนพื้นเมืองใหสามารถดําเนินชีวติ อยางมีศักดิศ์ รี

ในดานการศึกษาและชีวิตจิต คณะไดอุทิศตนสงเสริมงานดานชีวิตจิต การเทศนอบรม การ


นําการเขาเงียบ การแนะนําวิญญาณ มีศูนยเขาเงียบและภาวนา ฯลฯ ในอีกดานหนึง่ คือ การชวยเหลือ
พี่นองที่อยูในความทุกขยากตางๆ การสงเคราะห การพัฒนา และการสงเสริมความยุติธรรมในสังคม
ในดานเทววิทยา มีนักเทววิทยาที่มีชื่อเสียงเชน ปแอร เตยารด เดอ ชารแด็ง (Pierre Teilhard de
Chardin d.1955) เบอรนารด โลเนอรแกน (Bernard Lonergan d.1984) คารล ราหเนอร (Karl
Rahner d.1984) เปนตน

3. นักบุญเทเรซา แหงอาวีลา (St.Teresa of Avila ค.ศ. 1515-1582) ชีวประวัติ แนวชีวิต


จิต และผลงาน
ท านเป นผู ปฏิ รู ปคณะคาร แมลและเป นผู มี ประสบการณ ด านชี วิ ตภาวนา ได เขี ยนคํ าสอน
และประสบการณดานชีวิตจิตและชีวิตภาวนาเพื่อแบงปนกับผูอื่น ทานไดรับการประกาศเปนนักบุญ
และเปนนักปราชญของพระศาสนจักร
3.1 ประวัตินักบุญเทเรซา แหงอาวีลาโดยสังเขป
3.1.1 ชีวิตในชวงแรก
ทานเกิดในครอบครัวคริสตชนมีพี่นอง 9 คน บิดาชื่อ ดอน อะลองโซ ซางเซซ อิ เชเป
ดา มารดาชื่อ เบอาตริส เด อาฮูมาดา ทานเกิดทีเ่ มืองลาโมเนดาใกลๆ เมืองอาวีลา ในป ค.ศ.1515
ทานมีความศรัทธาและรักพระเจาตั้งแตวัยเยาว เมื่ออายุ 7 ขวบ ทานและพีช่ ายคนหนึ่งไดหนีออกจาก
บานเพื่อจะไปเปนมรณสักขีในเขตชาวมัวร แตลุงของทานไดพบและนํากลับมาบาน ทานเปนเด็ก
61
นารัก รูปรางดี หนาตาสวย เมื่ออายุ 13 ปมารดาของทานไดเสียชีวติ เมื่อเขาวัยสาว ทานชอบอาน
หนังสือนิยายรักผจญภัยเหมือนวัยรุน ทัว่ ไป บิดาของทานจึงสงไปเขาโรงเรียนประจําของภคินีคณะ
ออกัสติน ที่นที่ านไดพบกับภคินีที่สอนใหทานรักการภาวนา และทําใหทานคิดถึงกระแสเรียกการเปน
นักพรต ตอมาลุงคนหนึ่งของทานทีเ่ ปนนักพรตไดใหทานอานหนังสือ “จดหมายของนักบุญเยโรม”
หนังสือนี้ชว ยทําใหทานตัดสินใจตอบสนองกระแสเรียกการเปนนักพรต
เมื่อทานอายุ 20 ป ในวันที่ 20 พฤศจิกายน ค.ศ.1535 ทานหลบหนีออกจากบาน
เพื่อไปเขาอารามคณะคารแมลชื่อ “อารามพระวจนาตถทรงรับเอากาย” ตอมาบิดาของทานก็ได
อนุญาตใหทานเปนนักพรต หลังจากถวายตัวแลว ทานปวยหนักเปนเวลาสามป ทางอารามไดเตรียม
หลุมศพในสุสานไวใหทานเรียบรอยแลว แตตอมาไมนานทานกลับฟนขึ้นและมีสุขภาพดีขึ้นเรื่อยๆ จน
หายเปนปกติ ทานกลาววาพระเจาทรงรักษาทานโดยการเสนอวิงวอนของนักบุญโยเซฟ
3.1.2 การกลับใจเปลี่ยนแปลงชีวิตใหม
ชีวิตนักพรตในอารามพระวจนาตถทรงรับเอากายในสมัยนั้นยังหางไกลจากชีวิต
นักพรตคารเมไลทที่ควรจะเปน อารามนี้เปนอารามหนึ่งในจํานวน 11 อารามของคณะคารแมลใน
ประเทศสเปนในสมัยนั้น อารามมีสมาชิก 180 คน มีเวลารําพึงภาวนานอย ถือพระวินัยแบบผอนปรน
ทานมีความสามารถในงานบาน การจัดการตางๆ และในการเขียนหนังสือเลาประสบการณ ทานเองมี
ปญหาเกี่ยวกับวิธีการภาวนา และอยูในสภาพแหงแลงฝายจิตเปนเวลานาน แตทานไมเคยละทิ้งการ
ภาวนาเลย การรําพึงภาวนาตอหนารูปปนพระเยซูคริสตเจาทรงสวมมงกุฎหนามและพระวาจาจากพระ
คัมภีรตอนที่อางถึงคําพูดของปลาตที่กลาวกับประชาชนวา “นี่คือ คนคนนั้น” (ยน 19:5) ทําใหเกิดการ
เปลี่ยนแปลงในชีวิตขอลทาน ทานเขมแข็งมากยิ่งขึ้น (ชีวิต บทที่ 9,1-3) และไมสนใจคําติชมของ
มนุษยอีกตอไป แตมอบตนแดพระเจาเทานั้น เมื่ออายุ 39 ป ทานไดเริ่มกาวหนาในชีวิตภาวนา และ
ไดรับประสบการณทางฌาน บาทหลวงวิญญาณารักษผูมีความรูและความเขาใจไดแนะนําทานให
กาวหนาในชีวิตภาวนา ใหพระเจาไดทรงทํางานในจิตใจของทาน
3.1.3 การปฏิรูปคณะนักพรตคารแมล
เริ่มจากตัวทานกอน ทานปฏิญาณวาจะพยายามดําเนินชีวติ ใหกาวหนาสูความ
ศักดิ์สิทธิค์ รบครัน โดยถือระเบียบวินยั อยางดีที่สุด แตสภาพแวดลอมของอารามทีท่ า นอยูไม
เอื้ออํานวยใหทานปฏิบตั ติ ามขอตั้งใจได ในป ค.ศ.1560 ทานพรอมกับเพื่อนภคินีจาํ นวนหนึ่งจึงมี
ความเห็นวา จําเปนตองมีการปฏิรปู และฟนฟูชีวติ นักพรตคารแมลใหม แมจะพบอุปสรรคมากมายก็
ตาม ในชวงนีท้ านไดเขียนหนังสือ “ชีวติ ” (The Life) ตามคําขอรองของบาทหลวงวิญญาณารักษ ใน
วันที่ 24 สิงหาคม ค.ศ.1562 ทานไดรับอนุญาตใหตั้งอารามใหมแหงแรกทีเ่ มืองอาวีลาสําหรับนักพรต
หญิง มีภคินี 4 คนที่สมัครใจไปอยูกบั ทานในอารามใหมเพื่อดําเนินชีวติ ตามจิตตารมณและพระวินัย
เดิมของคณะคารแมล อารามนี้มีชื่อวา “อารามนักบุญโยเซฟ”

62
ที่อารามนักบุญโยเซฟ ทานดําเนินชีวิตอยางสงบ ทําหนาที่ฝกอบรมบรรดาภคินี
ใหดําเนินชีวิตอยางดี ระหวางนี้ทานไดเขียนหนังสือ “แนวทางแหงความครบครัน” (The Way of
Perfection) ในป ค.ศ.1567 อัคราธิการคณะคารแมลไดขอใหทานดําเนินการกอตั้งอารามปฏิรูป 17
แหงสําหรับบรรดาภคินีซึ่งดําเนินชีวิตตามพระวินัยเดิมอยางเครงครัด สวนการปฏิรูปคณะคารแมล
ชาย ทานไดรวมมือกับนักบุญยอหน แหงไมกางเขน โดยการกอตั้งอารามสําหรับนักพรตชาย 15 แหง
และในป ค.ศ.1575 ทานไดเขียนหนังสือ “ปราสาทแหงจิต” (The Interior Castle)
3.1.4 ชวงบั้นปลายชีวิต
แมจะมีอุปสรรคมากมายในการกอสรางและดําเนินการปฏิรูปอารามตางๆ ของ
คณะคารแมลในสมั ยนั้น พระเจาก็ไ ดประทานมิต รแทหลายคนแกทานเพื่อช วยใหทานสามารถ
ทํ า งานของพระเจ า ได อ ย า งดี พระเจ า ได ท รงเรี ย กท า นกลั บ ไปหาพระองค ใ นวั น ที่ 4 ตุ ล าคม
ค.ศ.1582 เมื่ออายุ 67 ป
ในป ค.ศ.1617 รัฐสภาของประเทศสเปนแตงตั้งทานเปนนักบุญองคอุปภัมภของ
ประเทศสเปน ในป ค.ศ. 1622 พระสันตะปาปา เกรโกรี ที่ 15 ทรงประกาศทานเปนนักบุญ พรอมกับ
นักบุญอิกญาซีโอ แหงโลโยลา นักบุญฟรังซิส เซเวียร นักบุญอิซิโดโรแหงเซวิล และนักบุญฟลิป เนรี
และในป ค.ศ.1970 พระสันตะปาปา เปาโลที่ 6 ไดทรงประกาศทานเปนนักปราชญแหงพระศาสนจักร
3.2. คําสอนดานชีวิตจิตและชีวิตภาวนา
ผลงานคําสอนจากประสบการณดานชีวิตจิตและชีวิตภาวนาของทานที่สําคัญปรากฏอยูใน
หนังสือที่ทานไดเขียนเพื่อแบงปนประสบการณแกบรรดาภคินีมีดังนี้
1) ชีวิต : อัตชีวประวัติ (The life )
2) แนวทางแหงความครบครัน (The Way of Perfection)
3) ปราสาทแหงจิต (The Interior Castle )
จากหนั งสื อที่ ท านได เ ขี ยนแบ งบั นดั งกล าว นํ าสู คํ าสอนด านชี วิ ต จิ ตและชี วิ ตภาวนาจาก
ประสบการณของทาน ดังนี้
3.2.1 คําสอนดานชีวิตจิต
นักบุญเทเรซาไดรับการประกาศเปนนักปราชญของพระศาสนจักร แมทานมิไดเลา
เรียนวิชาปรัชญาและเทววิทยาแตอยางใด แตเนื่องจากทานมีประสบการณฝายจิตที่มาจากความรัก
พระเจ าและมาจากฌานภาวนา ท านได สอนว า “มนุ ษย มี กายและวิ ญญาณที่ มี ความสั มพั นธ กั น”
เพื่อที่จะรักพระเจาดวยใจอิสระ เราตองรูจักตนเอง ตองยอมรับและสามารถควบคุมกิเลสตัณหา หรือ
แรงกระตุนตางๆ ทานสอนวิถีชีวิตคริสตชนโดยไมเนนวิธีภาวนามากนัก แตสอนใหภาวนาเทาที่เราทํา

63
ได การภาวนาไมใชอยูที่การคิดมาก แตอยูที่การรักมาก ทานเนนวาความรักตอพระเจาและความรักตอ
เพื่อนมนุษยตองควบคูกันไปเสมอ เพื่อจะกาวหนาในชีวิตจิตตองมีจิตใจที่เปนอิสระ รูจักปลอยวาง
(detachment) จากการยึดติดกับสิ่งสราง เกียรติยศชื่อเสียง ทรัพยสมบัติ มีความสุภาพถอมตนอยาง
แท จริง ปฏิบั ติ ตามพระประสงคของพระเจา ดําเนินชีวิตก าวหน าในคุณธรรมตางๆ ภาวนาอย าง
สม่ําเสมอ เพื่อจะไดกาวหนาไปสูการพบพระเจาในสวนลึกของจิตวิญญาณ
3.2.2 ชีวิตภาวนา
จากหนังสือ "ชีวติ ” ทานอธิบายวา “การภาวนาเปนการสนทนาอยางสนิทสนม
ระหวางเพื่อน เราสละเวลาเพื่ออยูตามลําพังกับพระองค ผูที่เรารูว าทรงรักเรา เพื่อใหความรักนัน้ จริงใจ
และมิตรภาพยั่งยืน น้ําใจของเพื่อนทั้งสองจะตองสอดคลองกัน” (ชีวติ 8,5) การภาวนาทําใหเรา
กาวหนาในความสัมพันธกบั พระเจา
ก. จิตภาวนาในระดับตางๆ
ในหนังสือ “ชีวิต” บทที่ 11 ทานอธิบายจิตภาวนาในระดับตางๆ สีร่ ะดับ โดย
เปรียบเทียบวิญญาณเหมือนสวน และการภาวนาเหมือนการรดน้ํา หรือการนําน้าํ มาหลอเลีย้ งพืชใน
สวน วิธีที่จะไดรับน้ํามารดสวนมีสวี่ ิธีดังนี้

1) การตักน้าํ จากบอโดยใชมือและถังน้ําที่มีเชือกผูก (Buckets) เปรียบ


เหมือนการรําพึงภาวนา (Discursive meditation)
2) การตักน้ําจากบอโดยใชรอก (The water wheel) เปรียบเหมือนการ
ภาวนาแบบเงียบ (Prayer of quiet)
3) การทดน้ําจากแหลงน้ํา (Irrigation) เพือ่ นําน้ํามารดสวน เปรียบเหมือน
การเพงพินิจภาวนาที่พระเจาทรงทํางาน สมรรถภาพของวิญญาณ สติปญญา ความจํา และน้ําใจ
เหมือนหลับอยู ทานมิไดระบุชื่อการภาวนาแบบนี้
4) ฝนที่ตกลงมาจากทองฟา ทําใหไดน้ํามารดสวนเปรียบเหมือนการภาวนา
เปนหนึ่งเดียวกับพระเจา (Prayer of union)
ข. ประสาทแหงจิต
สิบหาปหลังจากที่ทานไดเขียนหนังสือ “ชีวิต” ทานเขียนหนังสืออีกเลมหนึ่ง
กลาวถึงชีวติ ภาวนาที่สมบูรณ คือ หนังสือ “ปราสาทแหงจิต” (The Interior Castle) ทานเปรียบเทียบ
วิญญาณของเราเปนเหมือนปราสาทหลังหนึ่งที่ทําดวยเพชรพลอยและอัญมณีที่สวยงาม กําแพงดาน
นอกของปราสาทคือ รางกายของเรา ภายในปราสาทประกอบดวยวิมานหรือที่ประทับหลายหลัง
ปราสาทนี้มีวมิ านหลายหลัง อยูขางบนบาง ขางลางบาง ศูนยกลางคือวิมานหลังสําคัญ เปนสถานที่
64
ประทับของพระเจา เปนที่สําหรับการพบปะอยางเรนลับระหวางพระเจาและวิญญาณ ประตูเขาสู
ปราสาทนี้ คือ “การภาวนาและการรําพึง” ซึ่งมีหลายประตูเพื่อเขาสูปราสาทในระดับตางๆ เรา
จะตองเดินทางกาวหนาไปใหถึงวิมานสําคัญที่เปนศูนยกลางของปราสาทนี้
นักบุญเทเรซาไดแบงวิมานชั้นตางๆ เปน 7 ชั้น การภาวนาในระดับตางๆ 7 ขั้น
และ 3 ระดับ ดังนี้
1) การภาวนาระดับบริสุทธิมรรค (Purgative Way) เพื่อการชําระใหบริสุทธิ์
- ในวิมานชั้นแรก
สภาพวิญญาณของผูเริ่มตนแมจะอยูในสภาพพระหรรษทาน แตยงั ติดใจ
กับสิ่งของฝายโลก และยังอยูในอันตรายจะตกในบาปไดงาย ตองอาศัย การภาวนาเปลงเสียง (Vocal
prayer) การภาวนาดวยความเชื่อวาพระเจาทรงสรางมนุษยตามภาพลักษณของพระองค พระเจา
ประทับอยูในตัวเรา มนุษยทุกคนจึงมีศักดิ์ศรี มีจิตวิญญาณที่บริสุทธิ์ มีความสงบ ความสวาง สันติสุข
วิญญาณของผูเริ่มตนตองรับการชําระใหบริสุทธิ์จากบาปหนัก ที่เปนความมืด ความสกปรก ตองรูจัก
ตนเอง รูจักควบคุมอายตนะ (Senses) กิเลสตัณหาเปรียบเหมือนสัตวตางๆ ตองปลอยวางจากการยึด
ติดกับทรัพยสมบัติ เกียรติยศ สิ่งของฝายโลก เพื่อจะไดกาวหนาตอไปในชีวิตคุณธรรมและชีวิตภาวนา
พระเยซูคริสตเจาทรงสอนบรรดาศิษยใหภาวนาดวยความเชื่อ โดยเฉพาะ “บทขาแตพระบิดาของ
ขาพเจาทั้งหลาย” (มธ 6:9-13; ลก 11:1-4) พระเยซูคริสตเจาทรงอธิษฐานภาวนาถึงพระบิดาทั้งในยาม
สุขและยามทุกข (มธ 11:25-26; มก 14:36)
- ในวิมานชัน้ ที่สอง
สภาพวิญญาณเริ่มฝกการภาวนาดวยความกระตือรือรน แตมคี วามเบื่อ
หนายงาย ตองอาศัย การรําพึงภาวนา (Meditation) ดวยความตัง้ ใจดีและความพากเพียร
เราตองใชความพยายามมากขึ้น มีความปรารถนาอยางแรงกลาที่จะเลือกทางทีถ่ ูกตอง ตองตอสูอ ยาง
จริงจังกับการประจญตางๆ อาศัยพระเมตตาของพระเจา เพื่อนที่ดี ความตั้งใจดีที่มั่นคง ถาผิดพลาด
ก็เริ่มตนใหม พยายามทําทุกอยางเพื่อใหน้ําใจของเราสอดคลองกับพระประสงคของพระเจา โดยการ
รําพึงภาวนาอาศัยพระวาจาของพระเจา เพื่อจะกาวหนาตอไปในชีวติ คุณธรรมและชีวติ ภาวนา
- ในวิมานชั้นที่สาม
สภาพวิญญาณจะยําเกรงพระเจา ไมอยากทําบาปแมบาปเบา
วิญญาณจะกาวหนาสูการภาวนาตามธรรมชาติขั้นสุดทายคือ การภาวนาสํารวมจิตใจ (The prayer
of acquired recollection) ภาวนาดวยความรูสึกรักและยําเกรงพระเจา และตระหนักถึงการประทับ
อยูของพระเจาภายในวิญญาณของตน หลายครั้งพระเจาทรงทดลองใหมีความแหงแลงฝายจิต เพื่อจะ
กาวหนาในชีวติ จิตตอไปจําเปนตองมี ความพากเพียร การเสียสละ และอุทิศตนเอง ไมเปน
65
เหมือนกับเศรษฐีหนุมที่ยังติดกับทรัพยสมบัติ และมิไดตอบสนองการเชื้อเชิญของพระเยซูคริสตเจา
(มธ 19:21-22) จําเปนตองมีความสุภาพถอมตน และตระหนักวา แมเราทําความดีและกาวหนาใน
คุณธรรมตางๆ เราก็เปนเพียงแต “ผูรับใชที่ไรประโยชน เพราะทําตามหนาที่ทตี่ องทําเทานัน้ “ (ลก
17:10)
การภาวนาในขั้นที่ 1-3 นี้เปนการภาวนาแบบที่เรามนุษยเปนฝายออก
แรงกระทํา (Active prayer) การภาวนาเปลงเสียงและการรําพึงภาวนาจะไปดวยกัน ในการภาวนาใน
ขั้ นที่ 4-7 เป นการภาวนาแบบที่ มนุ ษย มิ ได เป นฝ ายกระทํ า แต อาศั ยพระหรรษทานของพระเจ า
(Passive prayer) เปนการเพงพินิจภาวนา (Infused contemplation)
2) การภาวนาระดับรังสิมรรค (Illuminative Way) เพื่อรับแสงสวางแหง
ความจริง
- ในวิมานชั้นที่สี่
เปนการเริ่มกาวสูการเพงพินิจภาวนา เราเรียกวา การภาวนาแบบ
เงียบ (Prayer of quiet) มีจุดศูนยกลางความสําคัญอยูที่การเปนหนึ่งเดียวกับพระเจา เปนการภาวนา
ที่น้ําใจหรือเจตจํานงเต็มเปยมดวยความรักของพระเจา นักบุญเทเรซากลาววา “สิ่งสําคัญมิใชการคิด
มาก แตอยูที่การรักมาก” การภาวนานี้มาเองโดยเราไมตองพยายามออกแรง มีกิเลสตัณหามารบกวน
บาง แตไมบอยนัก และไมสามารถทําอันตรายเราได
นักบุญเทเรซาอธิบายถึง “ความบรรเทาใจ” (Consolation) ที่มาจาก
ธรรมชาติและความพยายามของมนุษย แตอาศัยพระหรรษทานทําใหกิจการสําเร็จ เชน การทํางานที่
สําคัญสําเร็จ การพบกับคนที่เรารักโดยไมคาดหวัง คนที่เรารักรอดชีวิตจากความตาย ฯลฯ ความ
บรรเทาใจในการภาวนาที่มาจากธรรมชาติของมนุษย แตจบลงในพระเจา สวนความยินดีทางจิต
วิญญาณ (Spiritual delight) มาจากพระเจาและมีผลถึงธรรมชาติความรูสึกของมนุษย เหมือนการดื่ม
น้ําจากตนกําเนิดน้ําพุ นักบุญเทเรซาสอนวา “ความรักมิใชอยูที่ความยินดีทางจิตวิญญาณ แตอยูที่
ความปรารถนาจะทํ าใหพระเจ าพอพระทัยในทุกสิ่ง” พยายามไม ทําใหพระองค เคืองพระทั ย และ
กาวหนาในการสรรเสริญ ถวายพระเกียรติและพระสิริรุงโรจนแดพระบุตรของพระองค
3) การภาวนาระดับสหชีวมรรค (Unitive Way)
- ในวิมานชั้นที่หา เราเรียกวา การภาวนาแหงความเปนหนึ่งเดียว (The
prayer of union) สมรรถภาพทางจิตจะสงบนิ่ง พลังทั้งหมดภายในวิญญาณจะมุงไปรวมอยูที่พระเจา
วิญญาณจะตระหนักอยางมั่นใจถึงการประทับอยูของพระเจาในสวนลึกหรือศูนยกลางของวิญญาณ
นักบุญเทเรซากลาววา “เขาจะไมสงสัยเลยวา เขาไดอยูในพระเจา และพระเจาไดอยูในเขา ความจริงขอ
นี้ตรึงอยูในวิญญาณอยางแนบแนน แมเวลาจะผานไปหลายป”

66
นักบุญเทเรซาไดอธิบายสภาพจิตใหมนี้ดวยการเปรียบเทียบ การเลี้ยงไหม
และ “ชีพจักรของไหม2” เริม่ จากผีเสื้อชนิดหนึ่งวางไข ประมาณ 10 วัน ไขจะฟกเปนตัวหนอน
เรียกวา “หนอนไหม” บนใบหมอน มันจะเติบโตอยางรวดเร็วโดยกินใบหมอน และลอกคราบเปนระยะ
เมื่อมันโตเต็มที่ประมาณ 8 วัน มันจะสราง “รังไหม” ขณะอยูในรังไหม หนอนไหมจะเติบโตเปนดักแด
เมื่อดักแดโตเต็มที่ประมาณ 10 วัน มันจะเจาะรังไหมออกมาสูโลกภายนอก เปนผีเสื้อตอไป เรานํา
รังไหมไปตมแลวสาวเปนเสนไหมสําหรับทอผาไหมตอไป หนอนไหมเหมือนจิตวิญญาณของเราที่
ไดรับการหลอเลี้ยงจากพระศาสนจักร จากพระวาจาของพระเจา ศีลศักดิ์สิทธิ์ วิญญาณเริ่มเติบโตดวย
การรําพึงภาวนา และตองตายตอน้าํ ใจของตน ความผูกพันกับสิ่งของฝายโลก เพื่อ ผีเสื้อสีขาวตัว
นอย จะสามารถเจาะรังไหมออกมาสูโลกและมีชีวติ ใหม วิญญาณในขัน้ นี้กําลังเตรียมกาวหนาไปสูขั้น
ตอไปคือ การหมั้นอันล้ําลึกซึ่งตองรูจักพระเจาอยางดี นักบุญเทเรซายังกลาววา ความรักไมทําใหเกียจ
คราน แตพยายามดําเนินชีวติ ในคุณธรรม โดยเฉพาะความรักตอเพื่อนมนุษย มีความสุภาพถอมตน
และมีความซื่อสัตยในการทําหนาที่
- ในวิมานชั้นที่หก เราเรียกการภาวนาในขั้นนี้วา การหมั้นอันล้ําลึก (The
mystical espousal or prayer of conforming union) นักบุญเทเรซาไดเขียนบรรยายการภาวนาหรือ
การเดินทางฝายจิตในขั้นนี้ยาวถึง 11บท ในขั้นนี้วิญญาณแมไดรับความสงบสุข อายตนะ จินตนาการ
และสมรรถภาพของจิตอยูในความสงบ มีความบรรเทาใจและปติสุขมาก แตก็มีการทดลองมากเชนกัน
วิญญาณจะถูกทดลองดวยความทุกขยากตางๆ เชน คํานินทาหรือคําสรรเสริญ ความเจ็บปวยดวย
โรคภัยทั้งฝายกายและฝายจิต ความทุกขทางจิตวิญญาณ ความปรารถนาอยางแรงกลาที่จะพบปะ
และอยูกับพระเจา ความกลัว การที่ผูอื่นเขาใจวิญญาณอยางไมถูกตอง ฯลฯ วิญญาณจึงตองมีความ
กล าหาญมาก ในการภาวนาขั้ นการหมั้ นอั นล้ํ าลึ กนี้ วิ ญญาณจะได รั บความรู ความเข าใจพิ เศษ
เกี่ ยวกับพระเจาและเกี่ ยวกั บตนเอง วิญญาณจะอยูในฌานภาวนาแบบตางๆ และไดรับนิ มิตทาง
สติปญญา ฯลฯ นักบุญเทเรซาเปรียบเทียบวาเหมือนกับเจาบาวไดใหอัญมณีล้ําคาแกคูหมั้นของตน
นักบุญเทเรซาสอนวา การที่จะกาวหนาในชีวิตจิตตอไปจะตองมีการเพงพินิจภาวนาถึงพระเยซูคริสต
เจาทั้งในความเปนมนุษยและพระเจา และตองมีการชําระจิตวิญญาณใหบริสุทธิ์กอนที่จะกาวไปสูขั้น
สุดทาย
- ในวิมานชั้นที่เจ็ด เราเรียกการภาวนาแบบนี้วา การวิวาหอันล้ําลึก หรือ
การเปลี่ยนแปลงสูความเปนหนึ่ง (The mystical marriage or the transforming union) นักบุญเทเร
ซาสอนวาไมมีประตูปดกั้นระหวางวิมานชั้นที่หกและเจ็ด แตที่แบงชั้นเพราะสิ่งตางๆ ในชั้นสุดทายยัง
ไมเปดเผยแกผูที่ยังเขาไมถึงขั้นสุดทาย ในการภาวนาขั้นที่หาและขั้นที่หกวิญญาณจะมีสภาพเหมือน

2
ผูเขียนใชคําศัพทตามพระราชนิพนธของพระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัวฯ ที่ทรงนิพนธใน สารานุกรมไทยสําหรับ
เยาวชน. เลม 7 หนา 79.
67
ตาบอดและหูหนวก เปนเหมือนนักบุญเปาโลเมื่อกลับใจ วิญญาณจะรวมเขาเปนหนึ่งเดียวกับพระเจา
วิญญาณจะไมเขาใจสิ่งที่เกิดขึ้นเพราะสมรรถภาพจิตหยุดทํางาน
แตในการภาวนาขั้นที่เจ็ด การสนิทเปนหนึ่งเดียวกับพระเจาจะมีลกั ษณะ
แตกตางคือ เหมือนสะเก็ดหลุดจากตา วิญญาณจะมองเห็นและเขาใจดวยตาฝายจิต ตระหนักถึงการ
ประทับอยูของพระตรีเอกภาพในศูนยกลางของวิญญาณของเรา “ผูใดรักเรา ผูนั้นจะปฏิบตั ติ ามพระ
วาจาของเรา พระบิดาของเราจะทรงรักเขา พระบิดาจะเสด็จพรอมกับเรามาหาเขา จะทรงพํานักอยูกับ
เขา” (ยน 14:23) “สวนทาน เมื่ออธิษฐานภาวนา จงเขาไปในหองสวนตัว ปดประตู อธิษฐานภาวนาตอ
พระบิดาของทานผูสถิตในที่ลี้ลบั และพระบิดาของทานผูทรงเห็นในทีล่ ี้ลบั จะทรงโปรดประทานบําเหน็จ
แกทาน”(มธ 6:6) การวิวาหอันล้ําลึกฝายจิตเปนการรวมสิ่งสรางกับพระเจาดวยความรัก เหมือนคู
สมรสที่จะไมแยกจากกัน นักบุญเปาโลกลาววา “ผูที่สนิทสัมพันธกบั องคพระผูเปนเจาก็เปนจิตใจ
เดียวกันกับพระองค”(1 คร 6:17) “ขาพเจาคิดวาการมีชวี ติ อยูก็คือพระเยซูคริสตเจา และการตายก็เปน
กําไร” (ฟป 1:21)
นักบุญเทเรซาแยกวิญญาณกับจิต วิญญาณระดับสูงและระดับต่ํา ในการภาวนา
ขั้นนี้วิญญาณระดับสูงหรือจิตสนิทสัมพันธกับพระเจาอยางถาวรและตลอดเวลา ไมมีอะไรจะมารบกวน
ได ในวิญญาณระดับต่ํายังคงตองตอสูกับปญหาในชีวิตประจําวัน แตมีความสมดุลกลมกลืนระหวางจิต
และวิญญาณ ระหวางการเพงพินิจภาวนาและการทํากิจการตางๆ
จุดหมายการวิวาหฝายจิตคือ การเปนหนึ่งเดียวกับพระเยซูคริสตเจาในพระตรี
เอกภาพ ฌานภาวนาจะมีนอยลง แตจิตจะอยูในความสงบ ผลของชีวิตใหมนี้คือ การลืมตนเอง การ
ปลอยวางสิ่งของฝายโลก มีความรอนรนในการทําตามพระประสงคของพระเจา ทํากิจการดี การรับใช
เปนหนึ่งเดียวกับพระเจาและเพื่อนมนุษย รอนรนที่จะสืบสานงานชวยมนุษยทุกคนใหไดรับความรอด
พน และรวมสรรเสริญพระเจาเสมอ ยินดีทําหนาที่ตางๆ ของตน และเขาใจวาพระเจาไมทรงมองดู
ความยิ่งใหญของผลงาน แตทรงมองดูความรักของเราในการทํางานเหลานั้น
นักบุญเทเรซาไดเขียนแบงปนประสบการณฝายจิตของทานดวยความยากลําบาก
แตก็มีความสุขใจมากที่ไดเขียนสําเร็จ ทานกลาววายังมีมิติฝายจิตตางๆ อีกมากที่ทานไมไดพูดถึง
ประสบการณ ของท านมาจากพระเจ าและเป นไปตามคํ าสอนของพระศาสนจั กร ท านได แบ งป น
ประสบการณเหลานี้ เพื่อสรรเสริญพระเจาและเพื่อรวมในการประกาศขาวดีของพระองค

68
4. นักบุญยอหน แหงไมกางเขน (St. John of the Cross, ค.ศ. 1542-1591) ชีวประวัติ แนว
ชีวิตจิต และผลงาน
นักบุญยอหน แหงไมกางเขนเปนนักบุญที่มีประสบการณชีวิตจิตที่ลึกซึ้ง และไดเขียนหนังสือ
แบงปนประสบการณของทาน ทานเปนกวีและเปนนักปราชญของพระศาสนจักร
4.1. ประวัตินักบุญยอหน แหงไมกางเขนอยางสังเขป

4.1.1 ชวงแรกของชีวิต
ทานเกิดในป ค.ศ.1542 ที่ตําบลฟอนตีเวโรส (Fontiveros) ใกลเมืองอาวีลา ชื่อเดิมคือ
ฮวน เด เยเปส (Juan de Yepes) ครอบครัวของทานยากจน บิดาชื่อ กอนซาโล เด เยเปส (Gonzalo de
Yepes) บุตรของพอคาผาไหมผูร่ํารวยจากเมืองโตเลโด ไดแตงงานกับคาทาลีนา อัลวาเรส (Catalina
Alvarez) สาวทอผาไหมผูยากจนแตสุภาพถอมตน ผูเปนมารดาของทาน ทําใหบิดาถูกตัดขาดจากกอง
มรดก ทานเปนบุตรคนที่สาม บิดาสิ้นชีวิตเมื่อทานเกิดไดไมนาน ตอมาพี่ชายคนกลางก็เสียชีวิตตาม
บิดาไปดวย ครอบครัวจึงยากจนมากยิ่งขึ้น มารดาจึงตองยายครอบครัวไปอยูเมืองเมดีนา เดล คัมโป
(Medina del Campo) ทานไดเขาเรียนชั้นประถม และเรียนวิชาชีพฝกแกะสลักรูป วาดรูป ซอมรองเทา
และทํางานไปดวย ตอมาทานไปทํางานในโรงพยาบาลที่บาทหลวงอัลฟองโซ อัลวาเรส แหงโตเลโดได
กอตั้งขึ้น บาทหลวงอัลฟองโซไดสงทานไปเรียนตอชั้นมัธยมในโรงเรียนของคณะเยสุอิต เพื่อใหเรียน
เปนบาทหลวงจะไดมาทํางานแทนตนเอง
4.1.2 การเขาคณะคารแมล
เมื่อทานอายุ 21 ป ทานสมัครเขาคณะคารแมลในอารามที่เมืองเมดีนา คณะไดรบั
ทานเขาเปนสมาชิก มีชื่อใหมวา “ภราดายอหน แหงนักบุญมัทธีอัส” ตอมาทางคณะไดสงไปศึกษาเทว
วิทยาที่มหาวิทยาลัยซาลามังกา (Salamanca) เมื่อสําเร็จการศึกษาและบวชเปนบาทหลวง ทานอยาก
มีชีวติ สนิทสัมพันธกบั พระเจาอยางลึกซึง้ มากยิ่งขึน้ จึงคิดจะเปลี่ยนคณะไปเปนนักพรตคารทูเซียน
เมื่อทานไดกลับมาถวายบูชาขอบพระคุณครั้งแรกทีเ่ มืองเมดีนา ที่นี่ทา นไดพบกับนักบุญเทเรซา แหง
อาวีลาซึ่งขณะนั้นมีอายุ 52 ป นักบุญเทเรซาไดชักชวนทานขณะนัน้ อายุ 25 ปใหชว ยรวมงานการ
ปฏิรูปคณะคารแมลฝายชาย
4.1.3 การปฏิรูปคณะคารแมล
เนื่ องจากนั กบุ ญเทเรซาได รั บมอบหมายจากอั คราธิ การ3ให ก อตั้ งอารามคณะ
คารแมลปฏิรูปสําหรับนักพรตชาย ทานไดเลือกภราดายอหนและภราดาอันโตนีโอใหเปนผูกอ ตัง้ อาราม
3
หมายถึง อธิการเจาคณะที่ทําหนาที่เปนผูนําของคณะนักบวช มีการกําหนดวาระการปฏิบัติหนาที่ตามพระวินัยของแต
ละคณะ.
69
ที่ตําบลดูรูเอโล ในวันที่ 28 พฤศจิกายน ค.ศ. 1568 ทานและเพื่อนรวมสามคนไดถวายปฏิญาณเปน
นักพรตคณะคารแมลปฏิรูป ไดรับชื่อใหมวา “ภราดายอหน แหงไมกางเขน” ในป ค.ศ.1569 คณะได
มอบหนาที่ใหทานเปนนวกจารย และในป ค.ศ. 1570 เปนอธิการของวิทยาลัยคณะคารแมลที่เมืองอัล
คาลา ในป ค.ศ. 1572 ทานไดรับตําแหนงจิตตาธิการประจําอารามนักพรตหญิงพระวจนาตถทรงรับเอา
กาย
4.1.4 ประสบการณแหงความทุกขยากลําบาก
ตอมาบรรดาเพื่อนนักพรตคารอมในคณะเดิมเชื่อวา ภราดาในคณะคารแมลปฏิรูป
ไมยอมเชื่อฟงและแยกตัวไปจากคณะเดิม คืนวันที่ 2 ธันวาคม ค.ศ. 1577 พวกเขาไดมาจับตัวภราดา
ยอหน แหงไมกางเขน นําไปขังในคุกของอารามที่เมืองโตเลโด เปนคุกมืดคับแคบ ตองอดอยาก ขัดสน
วัตถุสิ่งของตางๆ ตลอดระยะเวลา 8 เดือน คืนวันที่ 15 สิงหาคม ค.ศ.1578 ทานจึงหนีออกมาได
ระหวางที่ทานอยูในคุกแมจะมีความทุกขยากลําบากฝายกาย แตทานไดมีประสบการณชีวิตสนิท
สัมพันธกับพระเจา ทานไดแบงปนประสบการณฝายจิตที่ลึกซึ้งนี้ในหนังสือที่ทานไดเขียนในคุกและ
เมื่อออกจากคุกแลว
หลังจากหลบหนีจากคุกในเมืองโตเลโด ทานไดไปอยูในอารามที่เมืองเอล กัลวารีโอ
แควนอันดาลูเซีย ไดรับมอบใหทําหนาที่สําคัญตางๆ ในคณะ ในป ค.ศ.1590 มีการประชุมใหญของ
แขวงพิเศษที่เมืองมาดริด โดยภราดานิโกลาส ดอเรีย รองอัคราธิการคณะคารแมลปฏิรูป ที่ประชุมได
พิจารณาเรื่องการยกเลิกระเบียบการปกครองของบรรดาภคินีคณะคารแมลปฏิรูป และเรื่องขับไล
ภราดาเยโรนิโม กราเซียนออกจากคณะ ทานไดคัดคานรองอัคราธิการทั้งสองเรื่อง จึงถูกปลดออกจาก
หนาที่ตางๆ ในคณะ ป ค.ศ. 1591 ทานถูกสงไปอยูอารามที่ยากจนและหางไกลที่เมืองลาเปนูเอลา
แควนอันดาลูเซีย
4.1.5 ในชวงบั้นปลายของชีวิต
กลางเดือนกันยายน ขาขางหนึ่งของทานเปนแผลอับเสบเรื้อรัง เมืองนั้นไมมีแพทย
รักษา ตอมาทางคณะจึงสงทานไปรักษาที่อารามเมืองอูเบดา แผลของทานกลายเปนเนื้อราย ทาน
ยอมรับความเจ็บปวยดวยความพากเพียร ในคืนวันที่ 13 ธันวาคม ค.ศ.1591 ทานไดสิ้นใจอยางสงบโดย
สวดบทเพลงสดุดี 31:5 เชนเดียวกับพระเยซูคริสตเจาวา “พระบิดาเจาขา ขาพเจาขอมอบจิตใจไวในพระ
หัตถของพระองค” เมื่ออายุได 49 ป
ป ค.ศ.1675 พระสันตะปาปา เคลเมนตที่ 5 ไดทรงประกาศทานเปนบุญราศี ตอมา
พระสันตะปาปา เบเนดิกตที่ 13 ไดทรงประกาศทานเปนนักบุญ เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม ค.ศ.1726 และ
พระสันตะปาปา ปโอที่ 11 ไดทรงประกาศทานเปนนักปราชญของพระศาสนจักร เมื่อป ค.ศ.1926

70
4.2 แนวชีวิตจิตและผลงานของทาน
ทานไดเขียนแบงปนประสบการณชีวิตจิตของทานในหนังสือหลายเลม ผลงานที่สําคัญ
มีดังนี้
1) ขึ้นภูเขาคารแมล (The Ascent of Mount Carmel)(1579-85)
2) คืนมืดของวิญญาณ (The Dark Night of the Soul)(1579-81)
3) เพลงจิต (The Spiritual Canticle)(1578)
4) เปลวไฟรักทรงชีวิต (The Living Flame of Love)(1582-85)
ซึ่งมีเนื้อหาสําคัญดังนี้
4.2.1 หนังสือ “ขึ้นภูเขาคารแมล” (The Ascent of Mount Carmel)
บรรยายเสนทางไปสูยอดเขาคือ การบรรลุถึงการสนิทสัมพันธเปนหนึ่งเดียวกับ
พระเจาอยางรวดเร็ว โดยผานการชําระจิตวิญญาณใหบริสุทธิ์และหนทางแหงความรัก หนังสือแบงเปน
3 ตอนหรือ 3 เลม
ก. เลมที่ 1
กลาวถึงการที่วิญญาณตองออกแรงทํางานเพื่อชําระและดับกิเลสตัณหาหรือ
ความปรารถนาที่ไรระเบียบ ความอยากของอายตนะตอสิ่งตางๆ ฝายโลก (The active purification of
the senses) ความปติยินดีของเนื้อหนัง และความรูสึกพึงพอใจของน้ําใจ กิเลสตัณหาทําใหวิญญาณ
ออนเพลีย ทรมาน มืดมัว สกปรกและออนแอ เราตองใชความอุตสาหะเปลี่ยนแปลงชีวิต ปลอยวางสู
ความวางเปลา “ทุกทานที่ไมยอมสละทุกสิ่งที่ตนมีอยู ก็เปนศิษยของเราไมได” (ลก 14:33) โดยอาศัย
พระวาจาของพระเจา ศีลศักดิ์สิทธิ์ การภาวนาและการมอบตนแดพระเจา
ข. เลมที่ 2
กลาวถึงการที่วิญญาณออกแรงชําระสติปญญา(The active purification of
the spirit, intellect, memory, will จิตหรือมนัสวิญญาณ หรือวิญญาณสวนบนประกอบดวย 3
สมรรถภาพ คือสติปญญา ความจํา และน้ําใจ) เพื่อบรรลุถึงการสนิทสัมพันธเปนหนึ่งเดียวกับพระเจา
สติปญญาตองกาวหนาในความเชื่อ และปลดเปลื้องทุกสิ่งที่ขัดแยงกับกฎของพระเยซูคริสตเจาและ
พระศาสนจักร ตองออกแรงชําระมนัสวิญญาณคือ ดานสติปญญา ตองอาศัยคุณธรรมทางเทววิทยา
ไดแก ความเชื่อในสติปญญา ความหวังในความจํา และความรักในน้ําใจ ความเชื่อเปนวิถีทางที่สั้น
ที่สุดเพื่อไปหาพระเจา ใหบุคคลที่มีเครื่องหมายพรอมเขาสูการเพงพินิจภาวนา (บทที่13)4 ในการเพง
4
เครื่องหมายแสดงวาควรเขาสูการเพงพิศภาวนา คือ 1. ไมสามารถรําพึงโดยอาศัยจินตนาการอยางไดผลดี 2. ไมอยาก
จินตนาการหรือรับรูยึดติดกับสิ่งตางๆ อีกตอไป 3. อยากอยูตามลําพังในการภาวนาโดยการตระหนักรูถึงพระเจาดวย
ความรัก
71
พินิจภาวนาเราตองไมแสวงหาหรือผูกพันกับมโนสัมผัสหรือสิ่งกระทบจิต เชน ภาพนิมิต (Visions)
การเผยแสดง (Revelation) คําพูดในวิญญาณ (Locutions) ความรูสึกฝายจิต (Spiritual feeling) เปน
ตน
ค. เลมที่ 3
กลาวถึงการชําระความจําและน้ําใจ (The active purification of the spirit,
memory, will) อธิบายวิธีทําใหความจําวางเปลาจากรูปแบบทุกอยางที่ไมใชพระเจา ลืมและตัดขาดจาก
ทุกสิ่ง ดําเนินชีวิตดวยความหวังในพระเจาแตผูเดียว อธิบายวิธีทําใหน้ําใจเปนอิสระจากพลังตาม
ธรรมชาติ (passions) ในตัวเรา พลังมาจากความชื่นชมยินดี ความหวัง ความกลัว และความโศกเศรา
การชําระความยินดีที่มาจากโลกียทรัพย คุณสมบัติ กามคุณ มีศีลธรรม พระพรเหนือธรรมชาติและพระ
พรฝายจิต เพื่อวิญญาณจะไดรักพระเจาดวยสุดกําลัง และรักษาพลังไวเพื่อพระองค
จากหนังสือ “ขึ้นภูเขาคารแมล” จึงสรุปไดวา นักบุญยอหน แหงไมกางเขน
กลาวถึงการชําระสวนประกอบตางๆ ของวิญญาณคือ อายตนะหรือผัสวิญญาณ และจิตหรือมนัส
วิญญาณซึ่งประกอบดวยสติปญญา ความจํา และน้ําใจใหบริสุทธิ์ อาศัยคุณธรรม ความเชื่อ ความหวัง
และความรัก เพื่อจะไดเปนหนึ่งเดียวกับพระเจา
4.2.2 คืนมืดของวิญญาณ (The Dark Night of the Soul)
มีเนื้อหาตอเนื่องจากหนังสือขึ้นภูเขาคารแมล คือเปนสวนที่สี่ตามที่ทานนักบุญ
ยอหนกลาวแสดงความตั้งใจไวในบทที่ 1 ของหนังสือขึ้นภูเขาคารแมล เลม 1 วาสวนที่สี่นี้จะกลาวถึง
การชําระวิญญาณโดยพระเจาทรงเปนผูกระทํา และวิญญาณเปนเพียงผูรับการกระทํา หนังสือคืนมืด
แบงออกเปน 2 เลม คือ
ก. เลม 1
กลาวถึงการที่พระเจาทรงชําระผัสวิญญาณหรืออายตนะ(The passive
purification of the senses) ในการเพงพินจิ ภาวนา กลาวถึงขอบกพรองของบรรดาผูเริ่มตน คือบาป
ตน 7 ประการ ความจองหอง ความโลภฝายจิต ราคะตัณหา ความโกรธ ความตะกละฝายจิต ความ
อิจฉาและความเกียจครานฝายจิต เครื่องหมายในการเพงพินิจภาวนา ผลประโยชนทเี่ กิดจากการ
ชําระผัสวิญญาณ
ข. เลม 2
กลาวถึง การชําระมนัสวิญญาณ (The passive purification of the spirit)
ไดแก สติปญญา ความจํา และน้ําใจ อยางเขมขนและลึกซึ้งโดยพระเจา ผานทางการเพงพินิจภาวนา
ทําใหเปนหนึ่งเดียวกับพระประสงคของพระเจา และวิญญาณจะเปนหนึ่งเดียวกับพระเจาโดยหนทาง
แหงความรัก
72
4.2.3 เพลงจิต (The Spiritual Canticle)
ผลงานกวีนิพนธชิ้นแรกของนักบุญยอหน แหงไมกางเขน เปนบทเพลงที่
ประพันธขึ้นดวยความรักอันแรงกลาตอพระเจา เปนความรักที่เกิดจากความเขาใจทางฌานซึ่งพระ
เจาประทานแกทาน ขณะทีถ่ ูกจําคุกอยูทอี่ ารามเมืองโตเลโดในป ค.ศ.1577 ทานเขียนผลงานนีโ้ ดย
ใชสัญลักษณทางพระคัมภีรและภาพพจนตางๆ ที่ปรากฏอยูในหนังสือเพลงซาโลมอนเปนพื้นฐาน
ความคิด เนื่องจากทานเห็นวาวิธีการที่ใชในการเขียนหนังสือเพลงซาโลมอนเปนวิธที ่ที านจะ
สามารถกลาวถึงประสบการณที่ลึกซึ้งของตนเองได ทานแตงบทเพลงทั้งหมด 31 บทเมื่ออยูในคุก
และตอมาไดเขียนเพิ่มเติมอีกจนครบ 40 บท บรรดาภคินีที่ทานไดเปนผูแนะนําวิญญาณมีโอกาส
อานผลงานนี้และมีความสนใจ จึงขอรองใหทานเขียนคําอธิบาย ซึ่งทานเองไมเต็มใจที่จะเขียนใน
ตอนแรกเนื่องจากมีเนื้อหาเกี่ยวกับจิต เปนเรื่องยากที่จะอธิบาย แตในที่สุดทานไดเขียนคําบรรยาย
บทเพลง มีเนือ้ หาเปนเรื่องราวความรักระหวางเจาสาว (คือนักบุญยอหน) และเจา บาวคือพระเยซูค
ริสตเจา เราอาจแบงเพลงจิตเปนหมวดหมูเพื่อแสดงใหเห็นการเดินทางของวิญญาณ หรือเจาสาว
ผานขั้นตอนตางๆ จนบรรลุถึงการสนิทเปนหนึ่งเดียวกับเจาบาวผูเ ปนที่รักไดดังนี้
ก. บทเพลงที่ 1-12
เปนขั้นแรกของการเดินทางฝายจิต วิญญาณแสวงหาผูเปนที่รัก เริม่ ตนดวย
การที่เจาสาวคร่ําครวญถึงการจากไปของเจาบาว วิญญาณมีความกระหายหาที่จะพบเจาบาว
พยายามแสวงหาเขาทุกวิธี จึงรูสึกเหนื่อยลาเพราะความที่รักที่รุนแรงสุดจะทนได (Impatient love)
ข. บทเพลงที่ 13-21
ขั้นเตรียมการสําหรับการสนิทเปนหนึ่งเดียวอยางครบครัน การพบปะในการ
สนิทเปนหนึ่งเดียวที่เต็มเปย มดวยความรักและความปรารถนาอยางรอนรนที่จะเปนอิสระอยาง
สมบูรณจากอุปสรรคตางๆ ทั้งภายนอกและภายใน
ค. บทเพลงที่ 22-35
การสนิทเปนหนึ่งเดียวกันอยางบริบูรณ คือการยอมมอบน้ําใจและตนเองทั้ง
ครบแกกันและกัน ในการสมรสฝายจิต
ง. บทเพลงที่ 36-40

ความปติยินดีจากการสนิทเปนหนึ่งเดียวกับเจาบาวและความปรารถนาจะ
เห็นพระสิริรุงโรจนของเจาบาว

73
4.2.4 เปลวไฟรักทรงชีวิต (The Living Flame of Love)
เปนบทกวีนพิ นธของนักบุญยอหนแหงไมกางเขน กลาวถึงวิญญาณซึ่งกาวหนา
ไปสูการเปนหนึ่งเดียวกับพระเจาแลว ประกอบดวยบทกลอนสีบ่ ท ทานไดเขียนคําอธิบายบทกลอน
เหลานี้นี้ตามคําขอรองของคุณหญิงอันนา เด เปญาโลซา (Dona Ana de Penalosa) ผูมีพระคุณตอ
อารามของทานที่เมืองกรานาดา ในป ค.ศ. 1584 เปลวไฟรักนี้คือพระจิตเจา เราสามารถเรียกผลงานนี้
อีกชื่อหนึ่งวา “ขอเขียนเรื่องพระจิตเจา” ในขณะที่ เพลงจิต สะทอนใหเห็นพระวจนาตถ พระบุตรของ
พระเจาทรงซอนพระองคอยูใ นสวนลึกที่สดุ ของวิญญาณ แต เปลวไฟรักทรงชีวติ อธิบายการทํางาน
ของพระจิตเจาภายในวิญญาณเพื่อทําใหวิญญาณศักดิส์ ิทธิ์ กลายเปนพระเจา เนื้อหาโดยสรุปของบท
กลอนทั้งสี่
ก. บทกลอนที่ 1
กลาวถึงการรวมวิญญาณใหเปนหนึ่งเดียวกับพระเจาโดยการทํางานของพระ
จิตเจา วิญญาณที่ถูกจูโจมดวยเปลวไฟที่ใหชีวิต ก็จะกลายเปนเปลวไฟที่ใหชีวิตหนึ่งเดียวกับพระจิต
ของพระเจา วิญญาณปรารถนาใหพระจิตเจาทรงฉีกผาคลุมของชีวิตที่ตายไดนี้ และประทานสิริรุงโรจน
ที่ครบครันและความสุขแทจริง ในขั้นนี้วิญญาณเปนเพียงผูรับการกระทํา และพระเจาเทานั้นเปน
ผูกระทํา
ข. บทกลอนที่ 2
อธิบายวาทั้งสามพระบุคคลของพระตรีเอกภาพศักดิ์สิทธิ์ทรงทําใหการเปน
หนึ่งเดียวกับพระเจาเกิดผลอยางไร ผลลัพธที่แตละพระบุคคลทรงทําใหเกิดขึ้นคือ บาดแผลที่นายินดี
มาจากการแผดเผาที่ ออนโยนเป นพระพรจากพระจิ ตเจ า รสชาติของชี วิ ตนิ รั นดรมาจากสั มผั สที่
ละมุนละไมเปนพระพรจากพระบุตร และพระหัตถที่ออนโยนซึ่งเปนพระพรของพระบิดาทรงชําระหนี้
ของวิญญาณจนหมดสิ้นและเปลี่ยนความตายของวิญญาณใหเปนชีวิตในพระตรีเอกภาพ
ค. บทกลอนที่ 3
วิญญาณสรรเสริญและขอบพระคุณเจาบาวของตนสําหรับพระพรตางๆ ที่เขา
ไดรับจากการสนิทเปนหนึ่งเดียว คือ ความรูที่สูงสงของพระเจาอยางเหลือลนซึ่งเปยมดวยความรักและ
ถายเทความสวางและความรักแกสมรรถภาพและความรูสึกของเขา เขารูแจงในสิ่งที่เคยคลุมเครือและ
มืดบอด ไดรับความอบอุนจากความรักของพระองคผูทรงทําใหเขารูแจงและเต็มเปยมดวยความรัก ผูมี
ความรักแทจะพอใจก็เพียงเมื่อเขาไดใชทุกสิ่งที่เขามีและไดรับเพื่อผูที่เขารัก ยิ่งเขาใหไดมากเทาไร
เขาก็จะยิ่งอิ่มเอมใจมากเทานั้น วิญญาณปลื้มปติเพราะความรุงโรจนและความรักที่เขาไดรับ
ง. บทกลองที่ 4

74
วิญญาณกลาวแกเจาบาวของตนดวยความรักลึกซึ้งและขอบพระคุณสําหรับผล
อันนาชื่นชมสองประการที่พระองคประทานให คือพระเจาทรงปลุกเราวิญญาณในความออนโยนและ
ความรักอยางนุมนวลดวยลมปราณของพระองค เปนลมปราณที่นายินดีสําหรับวิญญาณและเต็มเปยม
ดวยพระพรและพระสิริรุงโรจน
นี่ คื อประสบการณ ของนั กบุ ญยอห น แห งไม กางเขน ท านยื นยั นว าในฐานะพระเจ า
พระองคทรงสามารถประทานพระพรที่สูงสงและนาพิศวงเชนนี้แกวิญญาณใดก็ไดที่ทรงมุงหมายจะ
เมตตา ไมมีเหตุผลที่เราจะสงสัยวาเปนเรื่องเหลือเชื่อ เพราะทรงสัญญาวา “ผูใดรักเรา ผูนั้นจะปฏิบัติ
ตามวาจาของเรา พระบิดาของเราจะทรงรักเขา พระบิดาจะเสด็จพรอมกับเรามาหาเขา จะทรงพํานักอยู
กับเขา” (ยน 14:23)
4.3 การพัฒนาของคณะคารแมลในประวัติศาสตร
คณะคารแมลเกิดขึ้นในราวป ค.ศ.1200 ที่ภูเขาคารแมล มีคริสตชนฆราวาสกลุมหนึ่งได
ไปดําเนินชีวิตนักพรตสันโดษที่นั่น และไดรับการสนับสนุนจากกลุมคริสตชนและมุขนายก นักพรต
เหลานี้มีพระมารดามารีย และประกาศกเอลียาหเปนแบบอยาง เนนชีวิตสันโดษและการภาวนา ตอมา
พวกเขาไดอพยพไปตั้งอารามในประเทศตางๆ มีการปฏิรูปคณะหลายครั้ง การปฏิรูปครั้งสําคัญโดย
นักบุญเทเรซา แหงอาวีลาและนักบุญยอหน แหงไมกางเขน เรียกวาคณะคารแมลไมสวมรองเทา (The
Discalced Carmelites, 0.C.D.) (1593) ในความหมายที่วาเปนการดําเนินชีวิตอยางเครงครัดตามพระ
วินัยเดิม ปจจุบันเรียกอีกชื่อหนึ่งวา “คณะคารแมลแหงนักบุญเทเรซา” (Teresian Carmel)
ปจจุบันคณะคารแมลปฏิรูปหรือคณะคารแมลแหงนักบุญเทเรซา มีนักพรตชายประมาณ
4,051 คน และนักพรตหญิงประมาณ 10,500 คน คณะคารแมลเดิม (The Ancient Observance
(0.Carm) มีนักพรตชายประมาณ 2,312 คน และมีนักพรตหญิงประมาณ 1,842 คน สมาชิกที่มี
ชื่อเสียงของคณะ เชน นักบุญซีมอน สต็อก (St. Simon Stock ศตวรรษที่ 13) นักบุญเทเรซา แหงอาวี
ลา (St. Teresa of Avila ค.ศ.1515-1582) นักบุญยอหน แหงไมกางเขน (St.John of the Cross
ค.ศ.1542-1591) นักบุญเทเรซา แหงลีซีเออซ (St.Therese of Lisieux ค.ศ.1873-1897 ) บุญราศีเอลี
ซาเบธ แหงพระตรีเอกภาพ (Blessed Elizabeth of the Trinity ค.ศ.1880-1906 ) นักบุญเทเรซา แหง
พระเยซู หรือนักบุญเทเรซา แหงลอส แอนดีส (St.Teresa of Jesus ค.ศ.1900-1920 ) นักบุญเอดิธ
ชไตน (St. Edith Stein ค.ศ.1891-1942 ) และบุญราศีทิตัส บรันดสมา (Titus Brandsma ค.ศ.1881-
1942) และคณะคารเมไลทฆราวาส (Carmelite Secular Order) ซึ่งมีและมี คณะคารแมลไลทพระนาง
มารียผูปฏิสนธินิรมลThe Carmelites of the Blessed Virgin Mary the Immaculate (C.M.I.)ใน
ประเทศอินเดียดวย

75
5. สรุป วิถีชีวิตจิตคริสตชนหลังสังคายนาเมืองเตรนต
ในสมัยฟนฟูศิลปวัฒนธรรมหรือยุคมนุษยนิยม มีการเปลี่ยนแปลงในดานตางๆ มีการเนน
“มนุษยเปนศูนยกลาง และมีพระเจาอยูในใจมนุษย” ดานชีวิตจิต พระจิตเจาทรงนําใหมีการตอบสนอง
ความสนใจการพัฒนาจิตใจของมนุษย นักบุญอิกญาซีโอไดเนน “การพินิจพิเคราะหและวินิจฉัยจิต”
(Discernment of spirits) “การฝกจิต” (Spiritual Exercises) เพื่อใหมีประสบการณความรักของพระ
เจาและถายทอดความรักของพระองคแกมนุษยทุกคน ในหนังสือบันทึกประสบการณฝายจิตของ
นักบุญเทเรซา แหงอาวีลา “ปราสาทแหงจิต” (Interior Castle) และหนังสือ “ขึ้นภูเขาคารแมล และ
คืนมืด” ของนักบุญยอหน แหงไมกางเขน ไดแนะนําหนทางการพัฒนาชีวิตจิต โดยการรําพึง
ภาวนาและการเพงพินิจภาวนา การชําระวิญญาณใหบริสุทธิ์ การตัดสละทุกอยางสู “ความวางเปลา”
(Nada) และหนทางแหงความรัก เพื่อกาวหนาไปสูความสนิทสัมพันธกับพระเจาอยางสมบูรณ
ภายในจิตใจ และในการดําเนินชีวิตประจําวันในโลก

หนังสืออางอิง

เทเรซา, นักบุญ. ชีวิตนักบุญเทเรซาแหงอาวีลา. จันทบุรี : อารามคารแมล, 2003.


ยอหน, นักบุญ. ขึ้นภูเขาคารแมล. จันทบุรี : อารามคารแมล, 1998.
ยอหน, นักบุญ. คืนมืด. จันทบุรี : อารามคารแมล, 1998.
ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัว. สารานุกรมไทยสําหรับเยาวชน เลม 7. กรุงเทพฯ : โครงกา
สารานุกรมไทยเยาวชน, 2512.
Aumann, Jordan. Spiritual Thology. London : Sheed and Ward, 1980.
Aumann, Jordan. Christian Spirituality in the Catholic Tradition. San Francisco : Ignatius, 1985.
Bouyer, Louis. A History of Christian Spirituality. Vol.1. London : Burns & Oates,1995.
Cheslyn, Jones., and Edward, Y. The Study of Spirituality. London : SCM, 1983.
Downey, Michael. The New Dictionary of Catholic Spirituality. Minessota : The Liturgical, 1993.
Egan, Harvey D. Christian Mysticism:the future of a tradition. New York : Pueblo Pub. Com, 1984.
Gannon, Thomas M. The Desert and the city. Chicago : Loyola University, 1969.
Healey, Charles J. Christian Spirituality:An Introduction to Heritage. New York : Alba House, 1998.
Johnston, Willam. Being in Love :The Practice of Christian Prayer. London : Collins,1988.
Johnston, Willam. Mystical Theology:The Science of Love. London : HarperCollins, 1995.
Kavanaugh, Kieran. The Collected works of St.John of the Cross. Washington. D.C : ICS Pub.,1979.
Kavanaugh, Kieran. The Collected works of St.Teresa OF AVILA Vol1-3, Washington. D.C : ICS Pub.,1976.
Marthaler, Barard L. The New Catholic Encyclopedia. Washington D.C : The Catholic University, 2003.
Puhl, J.Louis. S.J. The Spiritual Exercises of St.Ignatius. Chicago : Loyola University, 1951.
Wakefield, Gordon S. A Dictionary of Christian Spirituality. London : SCM, 1983.

76

You might also like