You are on page 1of 19

บทสงทาย

วิถีชีวิตจิตแหงความเปนหนึ่งเดียว
แบบองครวม และแนวปฏิบัติ
1. สรุปความหมายและประวัติการดําเนินชีวติ จิตของคริสตชน
1.1 ความหมายของชีวิตจิตคริสตชน
วิถีชีวติ จิตคริสตชน คือ ชีวิตที่ดําเนินตามแนวทางพระวรสาร เปนชีวติ ของบุคคลที่ดําเนิน
ตามการดลใจของพระจิตเจา (รม 8:1-13; 1 คร 2:10-16) นักบุญเปาโลกลาววา “ทุกคนที่มพี ระจิตของ
พระเจาเปนผูน ํายอมเปนบุตรพระเจา” (รม 8:14) นักบุญเปาโลกลาวถึงวิถชี ีวติ สองแบบคือ ชีวติ ที่ดําเนิน
ตาม การดลใจของพระจิตเจาเปนการดําเนินชีวติ ตามพระวรสาร ซึง่ เปนแนวทางนําไปสูชวี ิต และชีวติ ที่
ดําเนินตามความปรารถนาของเนื้อหนัง1 (กท 5:16-25) ซึ่งเปนแนวทางนําไปสูความตาย
พระจิตเจาทรงเปนผูนําชีวติ คริสตชนหมายถึง พระจิตเจาทรงเปนหลักที่ใหชวี ติ พระเจาแก
มนุษยในพระเยซูคริสตเจา “พระจิตเจาซึ่งพระเจาไดประทานใหเราทรงหลั่งความรักของพระเจาลงใน
ดวงใจของเรา” (รม 5:5) พระจิตเจาทรงชวยใหคริสตชนดําเนินชีวติ ตาม “กฎของพระเยซูคริสตเจา หรือ
กฎของพระจิตเจา” (กท 6:2; รม 8:2) คือ กฎแหงความรักซึ่งเปนบัญญัตปิ ระการเดียวสําหรับแนวทาง
ชีวติ ใหมของคริสตชน (รม13:8-10; กท 5:14; ยน 13:34; ยก 2:8) ทําใหคริสตชนมีสวนในความรักของ
พระบิดาและพระบุตร (รม 5:5 เชิงอรรถ d; กท 4:6) ผลของพระจิตเจาคือ “ความรัก ความชื่นชม ความสงบ
ความอดทน ความเมตตา ความใจดี ความซื่อสัตย ความออนโยน และการรูจักควบคุมตนเอง” (กท 5:22)
การพัฒนาวิถีชีวิตจิตคริสตชน จึงเปนการพัฒนาชีวิตทั้งครบทั้งภายนอกและภายใน ทั้ง
จิตสํานึก ทัศนคติ ความโนมเอียงตามธรรมชาติใหอยูในทางที่จะสามารถตัดสินใจกระทําสิ่งตางๆ ตาม
การดลใจของพระจิตเจาหรือตามแสงสวางและคุณคาของพระวรสาร ตามแบบพระเยซูคริสตเจาจนเปน
นิสัยหรือกลายเปนคุณธรรม
วิถีชีวิตจิตคริสตชนมีหลายรูปแบบ แตมีหลักพื้นฐานเดียวกัน คือ แนวชีวิตจิตของ
พระเยซูคริสตเจา ซึ่งดําเนินชีวิตภายใตการนําของพระจิตเจาไปสูพระบิดา แตการติดตามพระเยซูคริ
สตเจา ของคริสตชนแตละคนยังขึ้นกับบุคลิกภาพ สถานการณในชีวิต สภาพสังคมและวัฒนธรรม ยุค
สมัย กระแสเรียกและพระพรพิเศษตางๆ ดวย ทําใหมีวิถีชีวิตจิตของฆราวาส วิถีชีวิตจิตของบาทหลวง

1
เนื้อหนังมีความหมาย คือสสารที่ประกอบเปนรางกาย ระบบเกาที่ตรงขามกับระบบใหม และแวดวงที่ราคะตัณหา และ
บาปทํางานอยู ดูพระคัมภีรภาคพันธสัญญาใหม โดยคณะกรรมการคาทอลิกเพื่อพระคัมภีร หนา 518 เชิงอรรถ C รม 7
หรือมุขนายก ชีวิตจิตของนักพรตและนักบวชคณะตางๆ เชนวิถีชีวิตจิตแบบเบเนดิกติน ฟรังซิสกัน
อิกญาซีโอ คารเมไลท เปนตน รูปแบบตางๆ เหลานี้มีตนกําเนิดมาจากพระจิตเจา “เมื่อพระจิตแหงความ
จริงเสด็จมา พระองคจะทรงนําทานไปสูความจริงทั้งมวล พระจิตเจาจะทรงแจงใหทานรูคําสอนที่ทรงรับ
จากเรา” (ยน 16:13-15)

1.2 ประวัตวิ ถิ ีชีวติ จิตคริสตชนในประวัติศาสตรพระศาสนจักรอยางสังเขป


วิถีชวี ติ จิตคริสตชนคือ ชีวติ ที่ดําเนินตามแนวทางของพระวรสาร เริ่มจากคณะอัครสาวกและ
บรรดาศิษยของพระเยซูคริสตเจาที่ติดตาม มีสวนรวมในพระภารกิจ และปฏิบัตติ ามคําสอนของ
พระองค หลังจากพระเยซูคริสตเจาสิ้นพระชนมและกลับคืนพระชนมชีพ คณะอัครสาวกและบรรดาศิษยได
รวมตัวกันอีก อาศัยพระจิตเจาประมาณ 120 คน (กจ 1:15) และพระจิตเจาทรงชวยใหการประกาศขาวดี
ของพวกเขาเกิดผล มีผกู ลับใจเปนคริสตชนกลุมแรกที่กรุงเยรูซาเล็มประมาณสามพันคน และตอมา
เพิ่มขึ้นเปนหาพันคน (กจ 2:41; 4:4)
1.2.1 วิถีชีวิตจิตของกลุมคริสตชนสมัยแรกเริ่ม (คริสตศวรรษ 1-4)
เปนแนวทางหรือรูปแบบการดําเนินชีวิตตามพระวรสารที่ครบถวนสมบูรณ สมาชิก
ใหมไดกลับใจและรับศีลลางบาป มีความเชื่อในพระเยซูคริสตเจาผูทรงกลับคืนพระชนมชีพ เปนองคพระผู
เปนเจาผูประทับในสภาพใหมในพระศาสนจักร ในพระวาจา ในศีลศักดิ์สิทธิ์ ในเพื่อนมนุษย ในหมูผูที่
รวมกันในพระนามของพระองค ในบรรดาผูนําพระศาสนจักร และในใจของบรรดาผูมีความเชื่อ มีชีวิตหมู
คณะเปนน้ําหนึ่งใจเดียวกันในการปฏิบัติศาสนกิจ รวมภาวนา รับฟงพระวาจาและรับศีลศักดิ์สิทธิ์ มีการ
แบงปน รวมกันแกปญหาที่เกิดขึ้น รวมเปนพยานและประกาศขาวดี มีการบําเพ็ญพรตเลียนแบบพระ
เยซูคริสตเจาโดยการตายตอบาป มีชีวิตใหมภายใตการนําของพระจิตเจา และรอคอยการเสด็จกลับมาครั้ง
ที่สองของพระเยซูคริสตเจาดวยความหวัง คริสตชนในสมัยสามศตวรรษแรกมีคุณภาพชีวิตคริสตชนสูง
เพราะการเปนคริสตชนตองเสี่ยงอันตรายจากการเบียดเบียน คริสตชนหลายคนไดเลียนแบบพระเยซูคริ
สตเจาโดยการเปนมรณสักขี (Martyrdom) คือ การถูกทรมานและไดรับโทษประหารชีวิตเพราะเปนพยาน
ถึงพระเยซูคริสตเจา ถือเปนอุดมคติของคริสตชน
1.2.2 วิถีชีวิตจิตนักพรตผูแสวงหาพระเจาในชีวิตสันโดษ (คริสตศวรรษ 4-5)
ในศตวรรษที่สี่ เมื่อการเบียดเบียนสิ้นสุด คริสตศาสนาไดรับการยอมรับในอาณาจักร
โรมัน ชีวิตบําเพ็ญพรตและการถือพรหมจรรยถือเปน “วีรกรรมใหม” เปนชีวิตที่เปนพยานและเลียนแบบ
พระเยซูคริสตเจา คริสตชนยุคนี้เนนการดําเนินชีวิตตามพระวาจาที่วา “ทานจะตองรักองคพระผูเปนเจา
พระเจาของทานสุดจิตใจ สุดวิญญาณ สุดสติปญญาของทาน” (มธ 22:37 )นักบุญแอนโทนี แหงอิยิปต
(ค.ศ. 251-356) เปนผูนําชีวิตจิตในยุคนี้ เมื่อทานยังหนุมไดปฏิบัติตามพระวาจา “จงไปขายทุกสิ่งที่มี
มอบเงินใหคนยากจนและทานจะมีขุมทรัพยในสวรรค แลวจงติดตามเรามาเถิด” (กจ 4:34; มธ 19:21)
ทานไดปฏิบัติตามพระวาจา ไดสละโลกและไปบําเพ็ญพรตในที่เปลี่ยวประมาณยี่สิบป ตอมาทานไดเปน
ผูนําฝายจิตแกนักพรตและฆราวาสผูมาขอคําแนะนําจากทาน
1.2.3 วิถีชีวิตจิตนักพรตที่รวมกันแสวงหาพระเจาในชีวิตหมูคณะ (คริสตศวรรษ 5-9)
คริสตชนยุคนีเ้ นนการดําเนินชีวติ ตามพระวาจา “ทานตองรักเพื่อนมนุษยเหมือนรัก
ตนเอง” (มธ 22:39) จึงเกิดรูปแบบการดําเนินชีวติ มุงสูค วามศักดิ์สิทธิ์โดยการชวยเหลือกัน นักบุญปาโค
มีอุส (ค.ศ. 287-346) ตั้งอารามนักพรตในที่เปลีย่ ว มีนักพรตประมาณ 30-40 คน ดําเนินชีวติ รวมกัน รวม
ปฏิบตั ิศาสนกิจ ทํางานรวมกัน มีทุกสิ่งเปนของสวนรวม มีอธิการดูแลสมาชิก เผยแผธรรมอาศัยการเปน
พยานชีวติ นักบุญบาซิล แหงซีซาริยา (ค.ศ. 330-379) บิดาแหงระบบอารามนักพรตของพระศาสนจักร
ตะวันออก นักพรตมีชวี ิตหมูคณะ ดําเนินชีวติ ตามบทบัญญัติแหงความรัก อารามอยูใกลเมืองเพื่อรับใช
ประชาชนโดยใหการศึกษาและชวยเหลือคนยากจน นักบุญออกัสติน (ค.ศ. 354-430) ตั้งอารามนักพรต
ที่มีชีวติ หมูคณะเปนน้ําหนึง่ ใจเดียวกัน เหมือนคริสตชนสมัยแรกที่ดําเนินชีวติ รวมเดินทางไปหาพระเจา
ดวยกัน นักบุญเบเนดิกต แหงเนอรเซีย (ค.ศ. 480-550) บิดาแหงระบบอารามนักพรตของพระศาสนจักร
ตะวันตก อารามเปนเสมือนครอบครัวของนักพรตที่ดําเนินชีวติ ติดตามพระเยซูคริสตเจา สมาชิกตองนอบ
นอมเชื่อฟงอธิการผูเปนเสมือนบิดาของหมูคณะ มีชีวติ ประจําวันที่มสี มดุลคือ ภาวนา ทํางาน และศึกษา
โดยเฉพาะการอานรําพึงพระคัมภีร (Lectio Divina) ในยุคนี้ปตาจารยกรีกและลาติน เชน ออริเจน
นักบุญเกรโกรี แหงนิซซา และดิโอนีซีอุส เปนตน ไดวางรากฐานฌานนิยม (Mysticism) ซึ่งจะสืบทอด
ตอไป
1.2.4 วิถีชีวติ จิตคริสตชนในสมัยกลาง (ศริสตศวรรษ 10-15)
ตอนตนศตวรรษที1่ 3 นักบุญฟรังซิส แหงอัสซีซี (ค.ศ. 1182-1226) และนักบุญโด
มินิก แหงกุซมาน (ค.ศ. 1171-1221) เปนผูนําการปฏิรูปชีวิตนักพรตนักบวชและชีวติ ของพระศาสนจักร
นักบุญฟรังซิส ไดกอตั้งกลุมนักบวชชายและหญิงที่ดําเนินชีวิตตามพระวรสาร มีชีวิตสมถะ เรียบงาย รัก
ความยากจน รักสันติและเอื้ออาทรตอมนุษยและสิ่งสรางทั้งหลาย อุดมคติคือดําเนินชีวติ ตามพระวรสาร
เหมือนบรรดาอัครสาวกที่ไปประกาศขาวดี (มธ 10:1-16) นักบุญโดมินิก ไดตั้งคณะนักบวชที่เนนการ
ดําเนินชีวติ ตามพระวรสาร มีชีวิตสมถะ เรียบงาย ยากจน อุดมคติคือดําเนินชีวิตตามพระวรสาร อุทิศ
ตนออกไปประกาศขาวดี ทําหนาที่เทศนสอน (มธ 10:7-10) คณะนักพรตนักบวชใหมทั้งสองคณะในยุคนี้
ทํางานรับใชและใกลชิดกับประชาชนที่อยูในเมือง ดําเนินชีวิตตามพระวรสารโดยเฉพาะเนนคุณธรรม
ความยากจน เปนแนวทางและรูปแบบชีวติ ทีต่ อบสนองตอสถานการณในยุคนั้น ในปลายศตวรรษที่ 14
มีขบวนการฌานนิยม (Mysticism) มีผูถึงญาณ (Mystic) เปนนักบวชคณะโดมินิกัน เชน เอคคารต เทา
เลอร ซูโซ เปนตน นักบุญเม็กทิลด แหงมักเดบูรก และนักบุญแคธรีน แหงซีเอนา
1.2.5 วิถชี ีวติ จิตคริสตชนยุคฟนฟูศลิ ปวิทยาการหรือมนุษยนิยมแบบคริสต (คริส
ศวรรษ15-16)
ตอนปลายศตวรรษที่ 15 ถึงศตวรรษที่ 16 เปนยุคที่เนนมนุษยเปนศูนยกลางของโลก
จักรวาล แตมีพระเจาพระตรีเอกภาพประทับอยูในใจ “ผูใดรักเรา ผูนั้นจะปฏิบัติตามวาจาของเรา พระ
บิดาของเราจะรักเขา พระบิดาจะเสด็จพรอมกับเรามาหาเขา จะทรงพํานักอยูกับเขา” (ยน 14:23) นักบุญ
อิกญาซีโอ แหงโลโยลา (ค.ศ. 1491-1556) ไดตั้งคณะนักบวชใหมที่มีจิตตารมณหมูคณะแหงมิตรสหาย
ของพระเยซูคริสตเจา “คณะเยสุอิต” สมาชิกจะตองเปลี่ยนแปลงตนเองใหเหมือนพระเยซูคริสตเจา อาศัย
การฝกจิต (Spiritual Exercise) เพื่อใหมีจิตใจกลาหาญ กวางขวางและสูงสงในการรับใชพระเจาและ
เพื่อนมนุษย นักบุญเทเรซา แหงอาวีลา (ค.ศ.1515-1582) และนักบุญยอหน แหงไมกางเขน (ค.ศ.
1542-1591) ไดรวมกันปฏิรูปคณะนักพรตคารเมไลททั้งชายและหญิง ใหมีชีวิตจิตที่กาวหนาสูการเปน
หนึ่งเดียวกับพระเจาพระตรีเอกภาพ นักบุญเทเรซา แหงอาวีลา ไดอธิบายขั้นตอนตางๆ ในการภาวนา
เพื่อเปนหนึ่งเดียวกับพระเจาในจิตใจของเรา พระองคประทับอยูในสวนลึกที่สุดของ “ปราสาทแหงจิต”
(Interior Castle) นักบุญยอหน แหงไมกางเขน กลาวถึง “ความวางเปลา หรือสุญตา” (Nada) หมายถึง
การตัดทุกสิ่งและความจําเปนที่จะตองผานคืนมืดแหงการดับกิเลสตัณหา มีการเปลี่ยนแปลงชีวิตเพื่อจะ
ไดมีชีวิตสนิทสัมพันธกับพระเจา
1.2.6 วิถีชวี ติ จิตคริสตชนแหงการรับใชดานเมตตาจิตและธรรมทูต (คริสตศวรรษ17-
19)
ยุคหลังสังคายนาเมืองเตรนท (ค.ศ. 1545-1563) ในศตวรรษที่ 16-19 เกิดวิถชี ีวติ จิต
แบบใหมที่มุงรับใชประชาชน โดยเฉพาะคนยากจนและผูถูกทอดทิ้ง พระวาจาที่เรียกรอง “เมื่อเราหิว
ทานใหเรากิน เราเจ็บปวย ทานก็มาเยี่ยม..ทานทําสิ่งใดตอพี่นองผูต า่ํ ตอยที่สุดของเราคนหนึ่ง ทานก็ทําสิง่
นั้นตอเรา” (มธ 25:31-46) พระจิตเจาไดทรงนําบุคคลตางๆ เชน นักบุญคามิลโล นักบุญยอหน บัปติสต
เดอ ลาซาล นักบุญหลุยส มารี เดอมงฟอรต นักบุญอันเจลา เมริชี นักบุญ ยอหน บอสโก นักบุญ
วินเซนตเดอ ปอล นักบุญอัลฟองโซ เดอ ลีโกรี นักบุญกัสปาร แบรโทนี่ นักบุญเออเยน เดอ มา
เซอโนด นักบุญมีคาแอล การิกอยส และผูต ั้งคณะธรรมทูต ฯลฯ ไดตั้งคณะนักบวชและคณะธรรม
ทูตเพื่ออุทศิ ตนรับใชเพื่อนมนุษย รักษาคนเจ็บปวย ใหการศึกษา ชวยเหลือคนยากจน ชวยฟน ฟูชีวติ คริ
สตชนและทํางานธรรมทูต
1.2.7 วิถีชวี ิตจิตคริสตชนในยุคปจจุบัน (คริตศตวรรษ 20-21)
ในศตวรรษที่ 20-21 สภาพการณเรียกรองใหมีความเปนหนึ่งเดียวกันทั้งในดาน
การเมือง วัฒนธรรม เศรษฐกิจและศาสนา มีการจัดตั้งองคกรระดับโลกและระดับภูมิภาค เชน
สหประชาชาติ สหภาพยุโรป สมาคมอาเซี่ยน กลุมประเทศไมฝกใฝฝายใด สันนิบาตอาหรับ องคกร
การคา ฯลฯ เพื่อนํามนุษยใหใกลชิดกัน รวมมือและชวยเหลือกัน พระจิตเจาไดทรงนําพระศาสนจักร
คาทอลิกในการจัดประชุมสภาสังคายนาวาติกันที่ 2 (11 ต.ค. 1962 – 8 ธ.ค. 1965) ซึ่งเปนเหมือน
วันเปนเตกอสเตใหม มีจุดประสงคเพื่อเสริมสรางสันติภาพและความเปนหนึ่งเดียวของมนุษยชาติโดย
การฟนฟูพระศาสนจักรใหม บรรดามุขนายกทัว่ โลกมาประชุมเพื่อพิจารณาสภาพการณของโลกปจจุบันโดย
มองดูเครื่องหมายแหงกาลเวลา และพยายามหาคําตอบจากจุดยืนทางศาสนาใหกบั สังคมปจจุบนั เพื่อ
พระศาสนจักรจะไดสืบสานพระภารกิจของพระเยซูคริสตเจาในการชวยมนุษยใหรอดพนตอไปในโลก
ก. สภาสังคายนาวาติกันที่ 2
ไดใหแนวชีวิตจิตคริสตชนดังนี้
1) คริสตชนทุกคนไดรับการเรียกใหมีชีวิตที่ศักดิ์สิทธิ์คือ ใหกาวหนาสูความดี
บริบูรณและมีความรักอยางสมบูรณ (มธ 5:48; LG 39-42)
2) เนนความสําคัญของพระวาจาของพระเจาในชีวิตคริสตชนและชีวิตภาวนา พระ
จิตเจาจะทรงบันดาลใหพระวาจาที่นํามาดําเนินชีวติ เปนแสงสวางในการดําเนินชีวิต และในการแกปญหา
ตางๆ ในโลก
3) เนนการมีสวนรวมในพิธีกรรม โดยเฉพาะพิธีบูชาขอบพระคุณซึ่งเปนบอเกิด
และศูนยกลางของชีวิตคริสตชนและชีวิตพระศาสนจักร
4) พระศาสนจักรเปนเครื่องหมายและเครื่องมือแหงความรอดพน คริสตชนทุกคน
จึงมีสวนในพันธกิจชวยมนุษยใหรอดพน โดยการเปนพยานและการประกาศขาวดีในโลกปจจุบัน
ข. เอกสาร “เริ่มตนสหัสวรรษใหม” ของสมเด็จพระสันตะปาปา ยอหน ปอล ที่ 2
พระสันตะปาปายอหน ปอล ที่ 2 ไดทรงแนะนําแผนการฟนฟูชีวติ คริสตชนที่พบ
ในพระวรสาร ซึ่งมีพระเยซูคริสตเจาทรงเปนศูนยกลางและแบบอยาง เพื่อเราจะไดดําเนินชีวติ พระตรี
เอกภาพในพระองค และเปลี่ยนแปลงประวัติศาสตรรว มกับพระองค เปนการดําเนินชีวติ ตามกระแสเรียก
สูความศักดิ์สทิ ธิ์ สูมาตรฐานที่สูงสงของการดําเนินชีวติ คริสตชน โดยมี
1) การภาวนา
2) การรวมพิธีบูชาขอบพระคุณโดยเฉพาะในวันอาทิตย
3) การรับศีลศักดิ์สิทธิ์แหงการคืนดี
4) ความเปนเอกแหงพระหรรษทานคือการทํางานอภิบาลและการภาวนาควบคูกนั
5) การรับฟงและประกาศพระวาจา
6) การดําเนินชีวติ จิตแหงความเปนหนึ่งเดียว (N.M.I. 30-41,43-45)

2. วิถีชีวิตจิตแหงความเปนหนึ่งเดียวแบบองครวม
2.1 ความเปนมาของวิถีชีวติ จิตแหงความเปนหนึ่งเดียวแบบองครวม
สมเด็จพระสันตะปาปา ยอหน ปอลที่ 2 ไดทรงแนะนําในเอกสาร “เริ่มตนสหัสวรรษใหม”
(ขอ 43-45) ใหทําพระศาสนจักรเปน “บานและโรงเรียนแหงความเปนหนึ่งเดียว” กอนที่จะวางแผนใน
ภาคปฏิบตั ิ จําเปนตองสงเสริมชีวติ จิตแหงความเปนหนึ่งเดียว ชีวิตจิตแหงความเปนหนึ่งเดียวเปนพระ
พรพิเศษสําหรับทุกคน ในประวัตศิ าสตรของพระศาสนจักร พระจิตเจาไดประทานพระพรพิเศษใหกับ
บุคคลตางๆ ในยุคสมัยตางๆ เพื่อชวยฟนฟูชีวติ ของพระศาสนจักร ในปจจุบันมีความตองการความเปน
น้ําหนึ่งใจเดียวกันของมนุษยชาติมากที่สดุ พระจิตเจาทรงดลใจใหเกิดขบวนการตางๆ เพื่อความเปน
หนึ่งเดียว โดยเริ่มตนในป ค.ศ.1943 ทามกลางสภาพสงครามโลกครั้งที่ 2 เคียรา ลูบิค และเพื่อน
ฆราวาสผูถวายตนแดพระเจาไดพยายามดําเนินชีวติ ประจําวันตามพระวรสาร บทเรียนของสงครามที่
แสดงใหเห็นวา “ทุกสิ่งลวนอนิจจัง” ทําใหพวกเธอไดเลือกพระเจา องคความรักเปนอุดมคติเดียวในชีวติ
และเปนอุดมคติที่จะคงอยูตลอดไป ในหลุมหลบภัย พระวาจาทีว่ า “เพื่อใหทุกคนเปนหนึ่งเดียวกัน” (ยน
17:21) กลายเปนเปาหมายชีวติ ของพวกเธอ คือการสรางความเปนหนึ่งเดียว และ “ความเปนพี่นอง
สากล” ชีวติ จิตแหงความเปนหนึ่งเดียวมีเอกลักษณคือ การดําเนินชีวติ แบบกลุมหรือหมูคณะ (Collective
Spirituality) เพื่อชวยกันและกันใหกาวหนาไปสูความศักดิ์สิทธิ์ การเปนนักบุญ และการไปสวรรครวมกับ
เพื่อนพี่นอง ไมใชไปตามลําพังคนเดียว และถือวาแตละคนเปนหนทางที่จะนําไปสูพ ระเจาได
2.2 องคประกอบของวิถชี ีวิตจิตแหงความเปนหนึ่งเดียวแบบองครวม
จากประสบการณการดําเนินชีวิตประจําวันตามพระวรสาร ทําใหเกิดแนวชีวิตจิตใหมคือ วิถี
ชีวิตจิตแหงความเปนหนึ่งเดียว ซึ่งมีรากฐานอยูบนหลักการแหงพระวรสาร และชี้ใหเห็นคุณคาตางๆ ที่
คลายคลึงกันซึ่งมีอยูในความเชื่อและในวัฒนธรรมตางๆ องคประกอบของวิถีชีวิตจิตแหงความเปนหนึ่ง
เดียวมีดังนี้
2.2.1 “พระเจาทรงเปนองคความรัก” (1 ยน 4:8;16)
พระเจาทรงเปนบิดาของครอบครัวมนุษยชาติ ( มธ 6:9) บทเรียนจากสงครามสอน
วา “ทุกสิ่งลวนอนิจจัง ทุกสิ่งจะผานพนไป” (ปญจ 1:2) มีแตพระเจาเทานั้นคงอยูน ิรันดร เราจึงควรเลือก
พระเจาเปนอุดมคติลําดับแรกในชีวิต การตระหนักวา “พระเจาทรงเปนองคความรัก” ทําใหกลับใจและ
เปลี่ยนแปลงวิถีชีวติ ทําใหตระหนักวาเรามิไดเปนลูกกําพรา แตเปนลูกของพระบิดาเจา และมนุษยทุก
คนเปนพี่นองกัน เรามิไดเชื่อถึงพระเจาเทานั้น “เรารูและเชื่อในความรักที่พระองคทรงมีตอเรา” (1 ยน
4:16) “จงมีความรักเถิด เพราะพระองคทรงรักเรากอน” (1 ยน 4:19) พระคัมภีรกลาววา “ผูที่รักเรา พระ
บิดาของเราก็จะทรงรักเขา และเราเองก็จะรักเขา และจะแสดงตนแกเขา” (ยน 14:21) พระเจาทรงทําให
เราเขาใจมากขึ้นวา การรักพระเจามิใชเปนเพียงอารมณและความรูส ึก แตเปนการปฏิบตั ิตามพระ
ประสงคของพระองคในแตละขณะในปจจุบัน
2.2.2 พระประสงคของพระเจา
เปนหนทางสูค วามเปนผูค รบครันสําหรับทุกคน เปนวิถีทางที่เรา จะตอบรับความรัก
ของพระเจาในชีวติ ของเรา พระคัมภีรกลาววา “คนที่กลาวแกเราวา “พระเจาขา พระเจาขา” นั้นมิใชทุกคน
จะไดเขาสูอาณาจักรสวรรค แตผูทปี่ ฏิบตั ิตามพระประสงคของพระบิดาของเรา ผูสถิตในสวรรคนั่นแหละ
จะเขาสูสวรรคได” (มธ 7:21) มนุษยทุกคนสามารถปฏิบัตติ ามพระประสงคของพระเจาโดยปฏิบัตติ าม
เสียงมโนธรรมที่ใหทําความดีและหลีกหนีความชัว่ ปฏิบัตคิ ุณธรรมความรักและปฏิบตั ิตามพระบัญญัติ
และพระวรสาร ทําตามบทบาทและหนาที่ในชีวติ ของแตละคน นี่คอื หนทางสูความศักดิ์สิทธิ์ครบครัน
สําหรับทุกคน
2.2.3 ความรักตอเพื่อนพี่นอง
พระประสงคของพระเจาที่สําคัญคือความรักตอเพื่อนพี่นอง พระเยซูคริสตเจาไดทรง
สรุปบทบัญญัติเอกคือ “รักพระเจาสุดจิตใจ สุดวิญญาณ สุดสติปญญาและรักเพื่อนมนุษยเหมือนรัก
ตนเอง” (มธ 22:37-39) เปนบทสรุปของกฎเกณฑและคําสั่งสอนของบรรดาประกาศก เปน “กฎทอง”
ของทุกศาสนา การเรียนรูที่จะรักโดยมีศิลปะแหงรัก คือ รักทุกคน ทําตนใหเปนหนึ่งเดียวกับผูอื่น ดําเนิน
ชีวิตเพื่อผูอื่นและรักเปนคนแรก พระคัมภีรกลาววา “เรารูวา เราผานความตายมาสูชีวิตแลว เพราะเรารักพี่
นอง” (1 ยน 3:14)
2.2.4 พระวาจาทรงชีวิต
เพื่ อ ความเป น น้ํ า หนึ่ ง ใจเดี ย วกั น พระวรสารเป น พระวาจาของพระเจ า เป น
แหลงกําเนิดชีวิต (1 ยน 1:1; ยน 6:68; ฟป 2:16; กจ 5:20;13:26) คนที่มีอายุมาก แตยังอานหนังสือ
ไมได เพราะไมไดเรียนรูอักษรและหลักไวยากรณ เชนเดียวกันคริสตชนจะเปนเหมือนพระเยซูคริสตเจา
และปฏิบัติตามจิตตารมณของพระองคไมได ถาเขาไมฟงพระวาจาและนําพระวาจาแตละตอนไปปฏิบัติ
ในชีวิตประจําวัน การนําพระวาจาไปปฏิบัติในชีวิตประจําวัน และแบงปนประสบการณการดําเนินชีวิต
ตามพระวาจาจะทําใหเราเติบโตในความเปนน้ําหนึ่งใจเดียวกัน
2.2.5 ความรักซึ่งกันและกัน
เปน “บทบัญญัติใหม” ของพระเยซูคริสตเจา “เราใหบทบัญญัติใหมแกทานทั้งหลาย
ใหทานรักกัน เรารักทานทั้งหลายอยางไร ทานก็จงรักกันอยางนั้นเถิด” (ยน 13:34) เปนหัวใจของพระวร
สาร พระเยซูคริสตเจาทรงรักเราอยางไร พระองคทรงรักเราจนยอมสิ้นพระชนมเพื่อเรา เราจึงควรพรอม
ที่จะตายเพื่อกันและกัน “ไมมีใครมีความรักยิ่งใหญกวา การสละชีวิตของตนเพื่อมิตรสหาย” (ยน 15:13)
เราจึงตองฝกฝนการดําเนินชีวิตตามบทบัญญัติใหมของพระเยซูคริสตเจาเพื่อจะไดมีชีวิตใหมในฐานะ
บุตรพระเจา มีชีวิตเปนหนึ่งเดียวกันเหมือนชีวิตพระตรีเอกภาพ (ยน 17:10)
2.2.6 พระเยซูคริสตเจาผูถูกตรึงกางเขนและถูกทอดทิ้ง
บนไมกางเขน พระเยซูคริสตเจาทรงรองเสียงดังวา “ขาแตพระเจาของขาพเจา ขาแต
พระเจาของขาพเจา ทําไมพระองคจึงทรงทอดทิ้งขาพเจาเลา” (มธ27:46) ขณะทีพ่ ระองคทรงรับทนทุกข
ทรมานสูงสุด พระองคก็ทรงแสดงความรักอยางสูงสุด เปนความรักทีไ่ มเห็นแกตวั ปลอยวางทุกสิ่ง ทํา
จิตใจใหวางเพื่อเปนหนึ่งเดียวกับพระเจาและเพื่อนพีน่ อง พระองคจึงทรงเปน “กุญแจ” แหงชีวติ สนิท
สัมพันธกับพระเจาและความเปนหนึ่งเดียวกับเพื่อนพี่นอ ง การยอมรับและรักพระเยซูผูถูกตรึงกางเขน
และถูกทอดทิ้งในชีวติ ของเราและในเพื่อนพี่นองที่ทนทุกขทรมาน ทําใหเรามีประสบการณใหม ทําให
ความทุกขยากถูกเปลีย่ นเปนความรัก วิกฤตกลับกลายเปนโอกาสใหเรารักมากยิ่งขึ้น การยอมรับความ
ทุกขเชนนี้ทําใหเรารักเสมอ รักโดยไมมีเงื่อนไข รูจักเสียสละ อุทิศตน แบกไมกางเขนและรับใชผอู ื่น นี่คือ
กุญแจสําคัญของความเปนหนึ่งเดียวกับพระเจาและกับเพื่อนพี่นอง
2.2.7 ความเปนน้ําหนึ่งใจเดียวกัน
เพื่อใหทุกคนเปนหนึ่งเดียวกัน เปนความปรารถนาสุดทายของพระเยซูคริสตเจา
กอนที่พระองคจะสิ้นพระชนม พระองคทรงอธิษฐานภาวนาวา “ขาแตพระบิดา ขาพเจาอธิษฐานภาวนา
เพื่อใหทุกคนเปนหนึ่งเดียวกัน” (ยน 17:21) เราจึงพยายามทําใหความปรารถนาของพระเยซูคริสตเจา
เปนจริง โดยรักทุกคนดวยความรักที่พระเยซูคริสตเจาทรงรักบรรดาศิษยของพระองค “พระองคทรงรักผู
ที่เปนของพระองคซึ่งอยูในโลกนี้ พระองคทรงรักเขาจนถึงที่สุด” (ยน 13:1)
2.2.8 พระเยซูคริสตเจาประทับอยูทามกลางเรา
พระเยซูคริสตเจาตรัสวา “ทีใ่ ดมีสองหรือสามคนชุมนุมกันในนามของเรา เราอยูที่นั้น
ในหมูพวกเขา”(มธ 18:20) ถาเราเปนหนึ่งเดียวกัน พระเยซูคริสตเจาจะประทับอยูในหมูเรา ดังนั้นจึงมี
คุณคามากกวาครอบครัวตามธรรมชาติ พระองคเสด็จมาประทับในครอบครัวเหนือธรรมชาติ เมื่อคนสอง
หรือสามคนไมวาจะเปนใครก็ตามที่รวมกัน แตเหนือทุกสิ่งคือ เขามีความรักตอกันเสมอ รักกันจนพรอมที่
จะใหชีวติ แกผูอื่น ตายตอความเห็นแกตัว ทําตนใหวา งเพื่อจะรักผูอื่น เพื่อชวยกันกาวหนาสูความ
ศักดิ์สิทธิ์และไปสวรรคพรอมกับเพื่อนพี่นอง
2.2.9 ศีลมหาสนิท
ศีลมหาสนิท (Communion) เปน ศีลศักดิ์สิทธิ์แหงความเปนหนึ่งเดียวกัน
เสริมสรางความเปนหนึ่งเดียวในสายสัมพันธแหงความรักแท (Agape) กับพระเยซูคริสตเจาและพระศาสน
จักร กับเพื่อนพี่นอง และกับโลกจักรวาล การรับศีลมหาสนิททุกวันทําใหเราเปนหนึ่งเดียวกับพระเยซูคริ
สตเจา (ยน 6:56) และทําใหเราเปนหนึ่งเดียวกับเพื่อนพี่นองในพระศาสนจักร “มีปงกอนเดียว แมวาจะมี
หลายคน เราก็เปนกายเดียวกัน เพราะเราทุกคนมีสวนรวมกินปงกอนเดียวกัน” (1 คร 10:17)
2.2.10 พระศาสนจักร
เปนเครื่องหมายและเครื่องมือของความสนิทสัมพันธเปนหนึ่งเดียวกับพระเจา และ
ความเปนหนึง่ เดียวของมนุษยชาติทั้งมวล (LG 1) คริสตชนจึงรวมกันเสริมสรางความเปนหนึง่ เดียว
คริสตชนเปนหนึ่งเดียวกับผูนําพระศาสนจักรซึ่งเปนผูแทนอัครสาวก ผูทําหนาที่รับใชสืบสานพันธกิจของ
พระเยซูคริสตเจา พระเยซูคริสตเจาตรัสวา “ผูใดฟงทาน ผูนั้นฟงเรา” (ลก 10:16) สิ่งทาทายในสหัสวรรษ
ใหมคือการทําใหพระศาสนจักรเปนบานและโรงเรียนแหงการภาวนาและความเปนหนึ่งเดียวกันเพื่อ
ประกาศขาวดี (N.M.I. 30-45)
2.2.11 พระมารดามารีย
มารดาแหงความเปนหนึ่งเดียวกัน ซึ่งเราตองเลียนแบบพระนาง โดยการดําเนิน
ชีวิตตามพระวาจาของพระเจา และการมอบพระเยซูคริสตเจาใหแกโลก
2.2.12 พระจิตเจา
ซึ่งพระเจาไดประทานใหเรา ทรงหลั่งความรักของพระเจาลงในดวงใจของเรา” (รม
5:5) นักบุญเกรโกรี แหงนาซีอันเซม ปตาจารยของพระศาสนจักรสอนวา “ทุกสิ่งที่พระเจาทรงกระทํา
เปนพระจิตเจาที่กระทํา” พระจิตเจาทรงใหกําเนิดและทรงนําขบวนการตางๆ เพื่อความเปนหนึ่งเดียวกัน
ตั้งแตเริ่มแรกจนถึงปจจุบัน วิธีที่จะรักและถวายเกียรติแดพระจิตเจาคือ การฟงเสียงและปฏิบัติตามการ
ดลใจของพระองค

3. วิถีชีวิตจิตแหงความเปนหนึ่งเดียวแบบองครวมในภาคปฏิบัติ
ในชีวิตประจําวันของเรา เรามักจะแยกชีวิตออกเปนสวนตางๆ เชน การภาวนา การทํางาน
การ ศึกษาเลาเรียน การเลนกีฬา ฯลฯ แตตอมาหลังจากการดําเนินตามวิถีชีวิตจิตแหงความเปนหนึ่ง
เดียว ทําใหเราเขาใจวาแมชีวิตจะประกอบดวยกิจกรรมตางๆ ที่แตกตางกัน แตสําหรับคริสตชนสิ่งเดียว
ที่สําคัญคือ ความรักตอพระเจา เพราะความรักตอพระองคผลักดันเราใหทํากิจการตางๆ ความรักจึงทํา
ใหชีวิตมีบูรณาการเปนหนึ่งเดียว ทําใหเห็นวาวิถีชีวิตจิตหรือชีวิตตามจิตตารมณพระวรสารตองสัมพันธ
กับชีวิตในทุกมิติ โดยแนวปฏิบัติในชีวิตประจําวันสามารถแบงออกเปนเจ็ดมิติ ดังนี้

3.1 มิติชีวติ จิตและชีวติ ภาวนา


3.1.1 ความหมาย
บอเกิดและทอธารของชีวิตจิตคริสตชน คือ พระเยซูคริสตเจา ผูประทานพระจิตเจาแก
เรา และพระจิตเจาทรงนําเราไปหาพระบิดาเจา ศิษยทุกคนของพระเยซูคริสตเจาไดรับการเรียกมาสู
ความศักดิ์สิทธิ์ ความดีบริบูรณ โดยเฉพาะมีความรักอยางสมบูรณ (มธ 5:48; 1 ธส 4:3; LG 5) พระ
เยซูคริสตเจาทรงรักและทรงพลีพระองคเพื่อพระศาสนจักร ทรงบันดาลใหพระศาสนจักรศักดิ์สิทธิ์ (อฟ
5:25-26) คริสตชนตั้งแตสมัยแรกไดหลอเลี้ยงทําใหชีวิตจิตกาวหนาสูความศักดิ์สิทธิ์ โดยอาศัยการ
ภาวนา พระวาจาของพระเจาและศีลศักดิ์สิทธิ์ (กจ 2:42)
พระเยซูคริสตเจาทรงสอนวา “จําเปนตองภาวนาอยูเสมอโดยไมทอถอย” (ลก 18:1) การ
ภาวนาทําใหเรามีชีวิตสนิทสัมพันธกับพระเยซูคริสตเจา พระองคตรัสวา “ทานทั้งหลายจงดํารงอยูในเรา
เถิด ดังที่เราดํารงอยูในทาน” (ยน 15:4) นี่เปนแกนของชีวิตจิตคริสตชน เราแตละคนตองเรียนรูศิลปะ
แหงการภาวนาที่เหมาะสมกับตนดวย ดังเชนบรรดาศิษยรุนแรกที่เห็นพระเยซูคริสตเจาทรงอธิษฐาน
ภาวนาอยางลุมลึก และทรงภาวนาดวยทัศนคติใหมวา พระเจาทรงเปนบิดาที่รักมนุษยทุกคน มนุษยทุก
คนเปนพี่นองกัน ศิษยของพระองคจึงทูลพระองควา “พระเจาขา โปรดสอนใหเราอธิษฐานภาวนา” (ลก
11:1)
3.1.2 แนวปฏิบัติ
ก. ทําใหพิธีบูชาขอบพระคุณเปนศูนยกลางและจุดสูงสุดของชีวิตคริสตชนและชีวิต
พระศาสนจักร
มีการเตรียมตัวทั้งกายและใจ และมีสวนรวมในพิธีกรรมอยางกระตือรือรน โดยเฉพาะ
การรับศีลมหาสนิทที่ทําใหเราเปนหนึ่งเดียวกับพระเยซูคริสตเจาและเพื่อนพี่นอง
ข. ทําใหพระวาจาของพระเจาหลอเลี้ยงชีวิตจิตและชีวิตหมูคณะ
โดยการรําพึงพระวาจา เลือกพระวาจาที่เหมาะสม เชน จากบทอานประจําวันในพิธี
บูชาขอบพระคุณ พระวาจาทรงชีวิต ฯลฯ เปนตน เลือกวิธีการรําพึงภาวนาที่เหมาะสม เชน การรําพึง
ภาวนาอาศัยพระคัมภีรแบบ Lectio Divina การรําพึงภาวนาแบบเจ็ดขั้นตอน เปนตน เนนการเปดใจรับ
ฟงพระวาจาโดยอาศัยแสงสวางและการนําของพระจิตเจา การอานหลายๆ รอบ การรําพึงไตรตรองอยู
กับพระวาจา ใหพระเจาตรัสกับเราผานทางพระวาจา นําพระวาจาไปปฏิบัติในชีวิตประจําวัน ควรจัดหา
เวลาที่เหมาะสมสําหรับการแบงปนพระวาจาในกลุมหรือหมูคณะ
ค. ทําใหชีวิตของเราเปนชีวิตแหงการภาวนา ทําใหครอบครัว ชุมชนวัด พระศาสน
จักรเปนบานแหงการภาวนา
โดยวิธีการตางๆ เชน จัดใหมีสถานที่ที่เหมาะสมสําหรับการภาวนา มีการจัดเวลาเพื่อ
การภาวนา การภาวนาตามจังหวะเวลาของชีวิต ภาวนาเวลาเชา เวลาเย็นและเวลาค่ํา กอนและหลัง
รับประทานอาหาร กอนทํากิจการสําคัญ การยกจิตใจภาวนาถึงพระเจาบอยๆ ทําใหการทํางานสัมพันธ
กับการภาวนา มีการภาวนาแบบเพงพินิจ หรือจิตภาวนา (Contemplative prayer) มีบุคคลที่ชวยแนะนํา
และสงเสริมการภาวนา เปนตน
ง. เอาใจใสตอกิจการที่หลอเลี้ยงชีวิตจิต
ไดแก การรับศีลศักดิ์สิทธิ์แหงการคืนดี การสวดสายประคํา การเฝาศีลมหาสนิท
การทําวัตรหรือภาวนาโดยใชบทภาวนาของพระศาสนจักร การรวมในกิจศรัทธาตางๆ การอานหนังสือ
บํารุงศรัทธา การเขาเงียบฟนฟูจิตใจ การเขารวมขบวนการฟนฟูชีวิตจิตของพระศาสนจักร ฯลฯ
จ. มีการทบทวน ไตรตรอง (reflection) การวินิจฉัย (discernment) และการ
ประเมินผล
การปฏิบตั ิดานชีวติ ภาวนา วามีปญหาและอุปสรรคอะไร มีแนวทางแกไขและสงเสริม
ใหกาวหนาตอไปไดอยางไร ควรทําสวนตัวและทําเปนกลุมหรือหมูคณะ และกับผูแ นะนําดานชีวิตจิต
3.2 มิติชีวิตจิตและสุขภาพ
3.2.1 ความหมาย
สุขภาพดี หมายถึง สภาพชีวิตที่ดําเนินไปอยางปกติสุข ไมมีโรคภัย เกิดจากความ
สมดุลที่เคลื่อนไหว ซึ่งครอบคลุมไปถึงสภาพทางรางกาย จิตใจ และจิตวิญญาณ ตลอดจนการมีปฏิกิริยา
สัมพันธกับธรรมชาติและสิ่งแวดลอม มนุษยจะมีสุขภาพดีก็ตองทําตามกฎธรรมชาติคือ ตองตอบสนอง
ความตองการที่จําเปนของรางกายอย างเหมาะสม เช น อาหาร น้ํา อากาศ การออกกําลังกาย การ
พักผอน เครื่องนุงหม ยารักษาโรค ที่อยูอาศัย เปนตน
คริสตชนพยายามรักษาสุขภาพมิใชเปนการทําตามกฎธรรมชาติเทานั้น แตคริสต
ชนเชื่อวาการทําตามกฎธรรมชาติเปนการทําตามแผนการของพระเจา เพื่อใหมนุษยมีชีวิตที่สมบูรณและ
รวมสืบสานงานสรางสรรคของพระเจา และเพื่อจะไดรับชีวิตนิรันดร
ทาทีตอความเจ็บปวยและความตาย มนุษยแมจะพยายามรักษาสุขภาพอยางดี
แตเมื่อถึงเวลาที่จะตองพบกับความเจ็บปวย เราควรมีทาทียอมรับความเจ็บปวย เราตองเอาใจใสรักษา
และใหกําลังใจคนเจ็บปวย และพยายามอยางเต็มที่ที่จะทําใหมีสุขภาพดีดังเดิม แตความเจ็บปวยและ
ความตายเปนกฎธรรมชาติประการหนึ่ง คริสตชนจึงนอมรับความเจ็บปวยและความตายดวยทาทีแหง
ความเชื่อในพระเจาองคความรัก นักบุญเปาโลกลาววา “เรารูวา พระเจาทรงบันดาลใหทุกสิ่งกลับเปน
ประโยชนแกผูที่รักพระองค” (รม 8:28) และคริสตชนดําเนินชีวติ เหมือนเมล็ดขาวที่จะตองตายและเนา
เปอย เพื่อจะมีชีวิตแทตลอดนิรันดร (ยน 12:24) นักบุญเปาโลกลาววา “ไมวาขาพเจาจะเปนหรือตาย
ขาพเจาไมรูจะเลือกสิ่งใดดี คือปรารถนาจะพนจากชีวติ นี้ไปเพื่ออยูกบั พระเยซูคริสตเจา แตการมีชีวิตอยู
ในโลกนี้ก็จาํ เปนอยางยิ่งสําหรับเขาทั้งหลาย” (ฟป 1:20-24) นักบุญฟรังซิส แหงอัสซีซีเรียกความตายวา
“นองสาว” นักบุญเทเรซาแหงพระกุมารเยซูตอนรับความตายวา “เจาบาวมาถึงแลว” คริสตชน
เตรียมพรอมสําหรับเวลาแหงความตายโดยภาวนาเสมอวา “โปรดภาวนาเพื่อเราคนบาป บัดนี้และเมื่อจะ
ตายเทอญ” คริสตชนเชื่อในการกลับคืนชีพหลังความตาย พระเยซูคริสตเจาตรัสวา “เราเปนการกลับคืนชีพ
และเปนชีวิต ใครเชื่อในเรา แมตายไปแลวก็จะมีชวี ิต” (ยน 11:25)
3.2.2 แนวปฏิบัติ
ก. เรารักษาสุขภาพโดยการดําเนินชีวิตประจําวันอยางมีระเบียบและสมดุลคือ
การจัดการใหมีเวลาตางๆ อยางเหมาะสมสําหรับ การภาวนา การศึกษาเลาเรียน การทํางาน การออก
กําลังกาย การพักผอนหยอนใจ และการนอนอยางพอเพียง รับประทานอาหารที่ถูกสุขลักษณะและ
พอเหมาะ ดําเนินชีวิตตามพระประสงคของพระเจาในแตละขณะในปจจุบันอยางดี
ข. เมื่อเกิดการเจ็บปวยเราก็ยอมรับ และพยายามรักษาอยางเต็มที่ แตเมื่อพบ
กับความเจ็บปวยที่รักษาไมไดและกําลังจะพบกับความตาย เราก็ยอมรับดวยทาทีแบบคริสตชน
ค. เรามิไดมองดูสุขภาพสว นตัวของเราเทานั้น เราควรมองดูสุขภาพของหมู
คณะและของพระศาสนจักรดวย และมองดูสุขภาพแบบองครวม ทั้งสุขภาพกาย จิตใจ และจิต
วิญญาณ
ง. สุขภาพจิตที่สมบูรณ คือ การประทับอยูของพระเยซูคริสตเจาในหมูเรา (มธ
18:20) การมีบรรยา กาศครอบครัวแบบใหมที่มีความรักและความยินดี มีความรักตอกันเหมือนที่พระ
เยซูคริสตเจาทรงรัก ทําใหพระเยซูคริสตเจาประทับอยูในหมูเรา
จ. สุขภาพจิตวิญญาณที่ดีอาศัยศีลมหาสนิท พระเยซูคริสตเจาตรัสวา “ผูที่กิน
เนื้อของเราและดื่มโลหิตของเราก็มีชีวิตนิรันดร เราจะทําใหเขากลับคืนชีพในวันสุดทาย” (ยน 6:54) ศีล
มหาสนิทจะรวมเราเปนหนึ่งเดียวกับพระเยซูคริสตเจา และจะเปลี่ยนแปลงเราทุกคนใหมีชีวิตในพระ
เยซูคริสตเจา “ผูที่กินเนื้อของเราและดื่มโลหิตของเราก็ดํารงอยูในเรา และเราดํารงอยูในเขา” (ยน 6:56)
3.3 มิติชีวิตจิตและการใชทรัพยากรอยางมีคุณคา
3.3.1 ความหมาย
ทรัพยากรหมายถึงทรัพยสิ่งของ พลังกายและใจ พรสวรรค เวลา โอกาส ความรู
ประสบการณชีวิต โดยเฉพาะประสบการณชีวิตจิต พระพรพิเศษของพระจิตเจา ฯลฯ ทรัพยากรมีจํากัด
เราตองรูจักใชอยางเหมาะสมและรูจักแบงปนกัน
ก. การแบงปน
มีหลายรูปแบบ “กลุมคริสตชนสมัยแรกดําเนินชีวติ เปนน้ําหนึ่งใจเดียวกัน ไมคิดวา
สิ่งทีต่ นมีเปนกรรมสิทธิ์ของตน แตทุกสิง่ เปนของสวนรวม” (กจ 2:42-47;4:32) “ในหมูพวกเขาไมมีใครขัด
สน… แจกจายใหผูมคี วามเชื่อแตละคนตามความตองการ” (กจ 4:32-37) สิ่งที่แบงปนมิใชทรัพยสินอยาง
เดียว แตเปนประสบการณแหงความเชื่อ ความสามารถ พระพรพิเศษตางๆ เวลาและกําลังใจ ฯลฯ การ
แบงปนใหดว ยความยินดีและดวยความสมัครใจ (2 คร 9:7) ดวยความรักแทคือไมหวังผลตอบแทน (ลก
14:12) การแบงปนมีหลักคือใหความชวยเหลือตามความจําเปนและตามความสามารถ ดังตัวอยางชาว
สะมาเรียผูใจดี (ลก 10:25-37) และนักบุญเปาโลไดนําเงินไปชวยคริสตชนซึ่งตองการความชวยเหลือในกรุง
เยรูซาเล็ม (กจ 24:17;1 คร 16:1) เปนตน
ข. การทํางาน
เปนการสืบสานการสรางสรรคโลกตามพระประสงคของพระเจา (ปฐก 1:26-31)
พระเยซู ค ริส ตเจ าทรงเป นตั ว อย างของผูทํางาน “คนนี้เ ปนชา งไม ลูกนางมารีย ไมใ ช หรือ” (มก 6:3)
นั ก บุ ญ เปาโล กล า วว า “ถ า ผู ใ ดไม อ ยากทํ า งานก็ อ ย า กิ น ..ให ทํ า งานอย า งสงบ และหาเลี้ ย งชี พ ด ว ย
น้ําพักน้ําแรงของตนเอง” (2 ธส 3:10,12)
ค. จิตตารมณความยากจน การตัดสละ และการวางใจในพระเจา
พระเยซูคริสตเจาทรงสอนวา “ผูมีใจยากจนยอมเปนสุขเพราะอาณาจักรสวรรคเปน
ของเขา” (มธ 5:3) การดําเนินชีวิตสมถะ เรียบงายตามจิตตารมณของพระวรสาร พระเยซูคริสตเจาทรง
เรียกรองใหศิษยบางคนสมัครใจสละทุกสิ่งเพื่อติดตามพระองค (มธ19:29) และใหวางใจในพระญาณเอื้อ
อาทรของพระองค “อยากังวลถึงชีวิตของทานวาจะกินอะไร อยากังวลถึงรางกายของทานวาจะนุงหมอะไร
..จงแสวงหาพระอาณาจักรของพระเจาและความชอบธรรมของพระองคกอน แลวพระองคจะทรงเพิ่มทุกสิ่ง
เหลานี้ให” (มธ 6:25,33)
ง. เศรษฐกิจแหงการแบงปน
เพื่อแสวงหาแนวทางแกปญหาเศรษฐกิจของโลกปจจุบัน โดยยึดหลักความสมัครใจ
และความเปนหนึ่งเดียว จึงมีการเสนอวิธีการตางๆ เชน การนํากําไรจากกิจการหนึ่งมาแบงเปนสามสวน
สวนที่หนึ่งใชพัฒนาและดําเนินกิจการตอไป สวนที่สองใชสําหรับชวยเหลือคนยากจน และสวนที่สามใช
เพื่ออบรมคนใหมีแนวคิดใหม เรียนรูวัฒนธรรมแหงการให มีธุรกิจตางๆ มากกวา 800 กิจการในหลาย
ประเทศเขารวมโครงการนี้ เปนตน
3.3.2 แนวปฏิบัติ
ก. ใชทรัพยสิ่งของ เวลา พลังกายและใจ พรสวรรค ความรู ประสบการณ ฯลฯ และทุก
อยางที่เรามีใหเกิดประโยชนสูงสุด ใชอยางพอเพียงและอยางประหยัด โดยมีเปาหมาย “แสวงหาพระ
อาณาจักรของพระเจาและความชอบธรรมของพระองคกอน” (มธ 6:33)
ข. มีใจเอื้อเฟอเผื่อแผและรูจักแบงปนทรัพยากรที่เรามีแกผูอื่น ดวยความใจกวางและ
ความรักสมัครใจ
ค. มีจิตสํานึกรวมในการเปนเจาของทรัพยสมบัติสวนรวม รูจักใช รูจักรักษา และรูจัก
ประหยัด
ง. ทํางานอยางสรางสรรคดวยความขยันหมั่นเพียรและความรับผิดชอบ
จ. รูจักตัดสละ และวางใจในพระญาณเอื้ออาทรของพระเจา ดําเนินชีวิตสมถะ เรียบ
งาย ตามจิตตารมณพระวรสาร
ฉ. สงเสริมและแสวงหาวิธีการแบงปนทรัพยากร เพื่อทําใหเกิดความยุติธรรมและ
ความเปนน้ําหนึ่งใจเดียวกัน เกิดวัฒนธรรมแหงการให เพื่อมีการแบงปนกันมากขึ้นในสังคมปจจุบัน
3.4 มิติชีวิตจิตและสิ่งแวดลอม
3.4.1 ความหมาย
สิ่งแวดลอมหมายถึง มนุษย ทรัพยากร และสิ่งของวัตถุที่อยูรอบตัวเรา สิ่งแวดลอมมี
อิทธิพลตอสภาพรางกายและจิตใจของมนุษยเสมอ การรูจักรักษาสิ่งแวดลอม และจัดสิ่งแวดลอมใหเปน
ระเบียบ สวยงามและกลมกลืน เปนการสะทอนใหเห็นความงามของพระเจาที่มีอยูในดวงใจของเรา การ
รู จั ก ใช แ ละจั ด สิ่ ง แวดล อ มจึ ง เป น การแสดงความเคารพต อ พระเจ า ผู ท รงสร า งสิ่ ง ต า งๆ ขอกล า วถึ ง
สิ่งแวดลอมสามประการ คือ บาน ชุมชนคริสตชนพระศาสนจักร และการแตงกาย
บาน คือ สถานที่พักอาศัยของสมาชิกในครอบครัว ภายในบานควรมีบรรยากาศ
แหงความรัก ความเขาใจ ความอบอุน เหมือนครอบครัวของพระเยซูคริสตเจาที่เมืองนาซาเร็ธ เปนที่ที่
พระองคทรงเจริญวัยทั้งดานรางกาย สติปญญา และพระหรรษทานของพระเจา (ลก 2:40) บานควรเปน
สถานที่ที่สะอาด มีระเบียบกลมกลืน มีรสนิยมที่ดี และนาอยู แตในบางครั้งเมื่อสถานการณเรียกรอง เรา
ตองไมยึดติด ตองพรอมที่จะยายที่อยูใหมเหมือนที่พระเยซูคริสตเจาตรัสวา “สุนัขจิ้งจอกยังมีโพรง นกใน
อากาศยังมีรัง แตบุตรแหงมนุษยไมมีที่จะวางศีรษะ” (มธ 8:20)
ชุมชนคริสตชน : พระศาสนจักร นักบุญเปาโลเรียกชุมชนคริสตชนวา “บานของ
พระเจา” (1 ทธ 3:15) ผูเขียนจดหมายถึงชาวฮีบรูกลาววา บานของพระเยซูคริสตเจาคือพวกเราคริสตชน
(ฮบ 3:6) การมาอยูรวมกันของคริสตชนคือพระศาสนจักร คริสตชนสมัยแรกใชบานเปนที่ชุมนุมของผูมี
ความเชื่อ ทําใหการชุมนุมเพื่อประกอบพิธีกรรมเปนบานของพระเจา มีความรัก ความอบอุน มีความเชื่อ
ที่มีชีวติ ชีวา

3.4.2 แนวปฏิบัติ
ก. รูจักจัดบานสถานที่ที่อยูอาศัยใหสะอาด เปนระเบียบเรียบรอย กลมกลืนและ
สวยงาม เพื่อตอนรับพระเยซูคริสตเจาในผูอื่นที่จะมาพักอาศัยหรือมาเยี่ยม เปนการแสดงความเคารพรัก
ตอผูอื่นและตอพระเยซูคริสตเจาในบุคคลนั้น ดูแลรักษาความสะอาด ความเปนระเบียบเรียบรอย ทั้ง
ภายในและภายนอกอาคารสถานที่ ทําความสะอาดและเก็บขยะ โดยแยกแยะขยะใหเปนสัดสวนเพื่อ
นําไปทิ้ง หรือนําไปใชประโยชนตอไป
ข. เอาใจใสทําใหวัดเปนบานแหงการภาวนา รักษาความสะอาด ความมีระเบียบ
เรียบรอย ความสวยงามกลมกลืน มีความสงบเงียบ มีความพรอมสําหรับประกอบพิธีกรรม
ค. เราแตละคนเปนสิ่งแวดลอมสําหรับผูอ ื่น เราจึงตองแตงกายใหเหมาะสม เปน
สุภาพชนที่แตงกายอยางเหมาะสมกับโอกาส สถานที่ เพื่อมอบความเคารพรักแกผูอื่นและกับพระเยซูคริ
สตเจาในบุคคลตางๆ นั้น
3.5 มิติชีวิตจิตและการศึกษาอบรม
3.5.1 ความหมาย
นักบุญยอหนสอนวา “พระเจาทรงเปนความรัก” (1 ยน 4:8) และ “พระเจาทรงเปน
ความสวาง” (1 ยน 1:5) ดวย พระเยซูคริสตเจาตรัสวา “เราเปนหนทาง ความจริง และชีวติ ” (ยน 14:6)
พระจิตเจาองคความจริงทีพ่ ระบิดาประทานในนามของพระเยซูคริสตเจาใหกบั บรรดาศิษยของพระองค
จะทรงสอนคําสอนของพระเยซูคริสตเจาและนําบรรดาศิษยไปสูความจริงที่สมบูรณ (ยน 16:13-15) การ
เขาถึงความจริงโดยอาศัยการศึกษาทางสติปญญา ขอแบงออกเปน 2 แบบที่มีความสัมพันธกัน คือ
ก. การศึกษาเลาเรียน (study) จากวิชาการที่มนุษยเรียนรู เชน ปรัชญา เทววิทยา
มนุษยศาสตร วิทยาศาสตร เปนตน ซึ่งเปนความจําเปนและมีความสําคัญ เปนเครื่องมือของปรีชาญาณ
ข. การศึกษาปรีชาญาณ (wisdom) ความรูที่มาจากการเปดเผยความจริงของพระ
เจา เชน ทางพระวาจาของพระเจา ทางพระเยซูคริสตเจาผู “ทรงเปนปรีชาญาณของพระเจา” (1 คร 1:24)
เราไดรับปรีชาญาณโดยทาง
1) ภาวนาวอนขอปรีชาญาณ
ภาวนาตอพระเยซูคริสตเจาในศีลมหาสนิท “พระองคทรงเปนทุกสิ่ง สวน
ขาพเจาเปนความเปลา” ขอพระองคทรงทํางานผานทางขาพเจา และภาวนาดวยความเปนหนึง่ เดียวกัน
(มธ 18:19)
2) รักพระเจาและรักเพื่อนพี่นอง
พระเยซูคริสตเจาตรัสวา “ผูใดรักเรา พระบิดาของเราก็จะรักเขา และเราเองก็จะ
รักเขา และจะแสดงตนแกเขา” (ยน 14:21)
3) รักพระเยซูคริสตเจาผูถ ูกตรึงกางเขนและถูกทอดทิ้ง
ทําใหพระเยซูคริสตเจาผูท รงกลับคืนพระชนมชีพและพระจิตเจาสองสวางใน
จิตใจของเรา การมีความรักแทตอพระเจาและเพื่อนพี่นอ งเหมือนพระเยซูผูถูกตรึงกางเขนและถูกทอดทิ้ง
ทําใหเรามีปรีชาญาณอยางแทจริง
4) พระเยซูคริสตเจาประทับอยูในหมูเรา (มธ 18:20)
โดยมีความรักซึ่งกันและกันอยางแทจริง ทําใหเกิดปรีชาญาณในหมูคณะของ
เรา

3.5.2 แนวปฏิบัติ
1) อุ ทิ ศ ตนศึ ก ษาเล า เรี ย น วิ ช าความรู แ ละศึ ก ษาปรี ช าญาณด ว ยความ
ขยันหมั่นเพียร ดวยความรัก และมีการภาวนาโดยเฉพาะเพงพินิจภาวนา หรือจิตภาวนา (Contemplative
prayer) ควบคูไปดวย
2) การอบรมคนอยางมีบูรณาการ มีมิติดานวุฒิภาวะความเปนมนุษยขั้นพื้นฐาน
มิติดานชีวิตจิตเปนหัวใจ มิติดานการอภิบาลและเผยแผธรรมเปนเปาหมาย และมีมิติดานสติปญญา
เปนเครื่องมือ ทุกมิติจึงมีความสําคัญในการชวยอบรมคนใหสมบูรณ
3) สรางความสัมพันธระหวางวิชาความรูของมนุษยและปรีชาญาณ เพื่อให
เกิดความรูในมิติใหมในวิชาความรูตางๆ และใหความรักเปนหัวใจของการศึกษา
4) เรียนรูการวินิจฉัย เหตุการณตางๆ ดว ยแสงสวางของพระวรสาร (Gospel
Discernment) เรียนรูการอานเครื่องหมายแหงกาลเวลาดวยสายตาแหงความเชื่อ เพื่อจะไดรูจักแยกแยะ
จัดลําดับคุณคาและเลือกคุณคาที่ถูกตอง และสามารถนําไปสูการปฏิบัติที่สอดคลองกับพระประสงคของ
พระเจา

3.6 มิติชวี ิตจิตและการสือ่ สัมพันธในชีวิตหมูคณะ


3.6.1 ความหมาย
พระเยซูคริสตเจามีชีวติ สนิทสัมพันธในชีวิตพระตรีเอกภาพ พระองคตรัสวา “ทุกสิง่ ที่
เปนของพระองคก็เปนของขาพเจา” (ยน 17:10) พระเยซูคริสตเจาทรงสื่อสารใหบรรดาศิษย “เราเรียก
เขาเปนมิตรสหาย เพราะเราแจงใหเขารูท ุกสิ่ง ที่เราไดยินมาจากพระบิดาของเรา” (ยน 15:15) “เพื่อให
ทุกคนเปนหนึง่ เดียวกัน” (ยน 17:21) “แมเราจะมีจํานวนมาก เราก็รวมเปนรางกายเดียวในพระเยซูคริสต
เจา” (รม 12:5) เพื่อใหเกิดความเปนหนึ่งเดียวกัน จึงจําเปนตองมีการสื่อสารสัมพันธกันอยางดี รอบคอบ
และเหมาะสม การสื่อสารคือการมุงดําเนินชีวติ ออกจากตนเอง ไปดําเนินชีวติ เพื่อผูอื่น เปนหนาที่ที่
จะตองแลกเปลี่ยนขุมทรัพยที่เรามีกับผูอนื่ เชน นําความรักไปในองคกรของพระศาสนจักร เพือ่ ทําให
พระศาสนจักรมีชีวติ ชีวา สื่อสารและสงเสริมการประทับอยูของพระเยซูคริสตเจาในเพื่อนพี่นอง เปนตน
คนเปนเครื่องมือสื่อสารที่ดีที่สุด เราตองเห็นความสําคัญของสื่อ แตเราตองรูจักเลือกบริโภคสื่อที่ดี
สงเสริมและรวมผลิตสื่อที่ดเี พื่อนําคุณคาอาณาจักรพระเจาเขาสูบ านอาศัยสื่อที่ดีตางๆ “แสงสวางของ
ทาน ตองสองแสงตอหนามนุษย เพื่อคนทั้งหลายจะไดเห็นกิจการดีของทาน และสรรเสริญพระบิดาของ
ทานผูสถิตในสวรรค” (มธ 5:16) พระมารดามารียเปนแบบอยาง โดยการดําเนินชีวิตตามพระวาจา แลวจึง
แบงปนประสบการณใหผูอื่น พระนางไดมอบพระบุตรแกทุกคน

3.6.2 แนวปฏิบัติ
1) เสริมสรางความสัมพันธอันดีกับสมาชิกทุกคนในบาน มีสวนรวมใน
กิจกรรมตางๆ ของบาน มีทัศนคติที่ดตี อ ทุกคน มองและพูดถึงผูอนื่ ในแงบวก ยอมรับความแตกตางของ
กันและกัน รับรูและมองเห็นถึงความรูสึก ความตองการและปญหาของผูอื่น กลาที่จะแนะนําตักเตือนกัน
ดวยความรัก และยอมรับการตักเตือนดวยใจสุภาพถอมตน รูจักใหอภัยกัน ใหโอกาสผูอื่นกลับตัวใหม
และมองเพื่อนพี่นองดวยสายตาใหมเสมอ
2) ติดตามใหความสนใจขาวสารของครอบครัว ของหมูคณะและของ
พระศาสนจักรเสมอ มีสวนรวมในการสื่อขาวสารแกกันและกันเพื่อสรางความเปนหนึ่งเดียวกัน
3) รูจักเลือกบริโภคสื่อที่ดี และเลือกไมบริโภคสื่อที่ไมดี เชน ไมดูรายการ
โทรทัศน ภาพยนตร ละคร หนังสือ สื่ออินเตอรเน็ทที่ไมดี ฯลฯ เปนตน เขารับการอบรมเรื่องสื่อศึกษา
เพื่อรูเทาทันสื่อ รูจักใชสื่อใหเกิดประโยชน และรูจักใชสื่อหรือผลิตสื่อเพื่อการประกาศขาวดี
4) สงเสริมการผลิตสื่อที่ดี เพื่อใหพระเจาและคุณคาแหงพระอาณาจักรพระเจา
เขาไปสูบานอาศัยสื่อที่ดีตางๆ

3.7 มิติชีวติ จิตและการอภิบาลและเผยแผธรรม


3.7.1 ความหมาย
พระเยซูคริสตเจาเสด็จมาในโลกเพื่อประกาศขาวดี “เราตองประกาศขาวดีเรื่องพระ
อาณาจักรของพระเจาใหแกเมืองอื่นดวย เพราะถูกสงมาก็เพื่อการนี้” (ลก 4:43) พระเยซูคริสตเจาทรงนํา
ไฟแหงความรักมาในโลก “เรามาเพื่อจุดไฟในโลก เราปรารถนาอยางยิ่งที่จะใหโลกนี้ลุกเปนไฟ” (ลก
12:49) ความรักจึงเปนหัวใจของการเผยแผธรรม ความรักคืองานเผยแผธรรมลําดับแรก การรักผูอื่นเปน
การแสดงออกวา เรารักพระเจา ความรักแผขยายออกไป ความรักเปนประจักษพยาน การประกาศขาวดี
ควรเริ่มเชน เดียวกับคริสตชนสมัยแรกเริม่ ดวยการนําพระวาจามาปฏิบัตใิ นชีวติ ทําใหเกิดประสบการณ
ใหม โดยเฉพาะประสบการณแหงความรักตอพระเจาและตอเพื่อนพี่นอง ความรักเปนพลังของงานเผยแผ
ธรรม ความรักหมายถึง การเสียสละ การแบกไมกางเขน การภาวนาเพื่อผูอื่น งานเผยแผธรรมเปนพันธ
กิจสําคัญของคริสตชน นักบุญเปาโลกลาววา “หากขาพเจาไมประกาศขาวดี ขาพเจายอมไดรับความ
วิบตั ”ิ (1 คร 9:16) คริสตชนสมัยแรกเผยแผธรรมดวยความเปนหนึ่งใจเดียวกัน “เพื่อใหทุกคนเปนหนึ่ง
เดียวกัน..เพื่อโลกจะไดเชื่อวาพระองคทรงสงขาพเจามา” (ยน 17:21) และ “ถาเขามีความรักตอกัน ทุกคน
จะรูว าเขาเปนศิษยของเรา” (ยน 13:35) พันธกิจงานธรรมทูต การเปนพยานและการประกาศขาวดีกับ
ความเปนหนึง่ เดียวยอมควบคูกันเสมอ ความเปนหนึ่งเดียวกอใหเกิดพันธกิจ และพันธกิจจะสําเร็จไดก็
ในความเปนหนึ่งเดียวกัน (EA 24) ความเปนหนึ่งเดียวของบรรดาศิษยของพระเยซูคริสตเจา และความ
เปนหนึ่งเดียวกับพระเยซูคริสตเจา พระสันตะปาปา ยอหน ปอล ที่ 2 ตรัสวา “หากไมมีพระเยซูคริสตเจา
เราก็ทําอะไรไมไดเลย” (ยน 15:5) การอธิษฐานภาวนาชวยใหเราเปนหนึ่งเดียวกับพระเยซูคริสตเจา
และทําใหงานเผยแผธรรมบังเกิดผล จึงเชิญชวนพระศาสนจักรทั้งหมดอุทิศตนใหกบั การภาวนามาก
ยิ่งขึ้น” (NMI 38) “อนาคตของงานเผยแผธรรมขึ้นกับการรําพึงภาวนา คริสตชนทุกคนตองมีชวี ิตจิต
ของผูเผยแผธรรม มีชีวิตแหงการรําพึงภาวนา” (Ecclesia in Asia,1999: 23)
3.7.2 แนวปฏิบัติ
1) มีความสํานึกในบทบาทหนาที่การอภิบาลและแพรธรรมที่เปนสวนสําคัญใน
ชีวติ คริสตชน เปนเหมือนคริสตชนสมัยแรกที่ดําเนินชีวติ ตามขาวดี โดยเฉพาะขาวดีแหงความรักกอน
แลวจึงแบงปนประสบการณแหงขาวดีแกผูอื่น
2) ดําเนินชีวิตในความรักซึ่งกันและกันตามบทบัญญัติใหมของพระเยซูคริ
สตเจา (ยน 13:34) เปนประจักษพยานในความรัก การเสียสละ อุทิศตนเพื่อผูอื่น และความเปนน้ําหนึ่ง
ใจเดียวกัน
3) มีสวนรวมดวยความรักในงานอภิบาลและงานเผยแผธรรม ในรูปแบบ
ตางๆ ทั้งในสวนบุคคลและในหมูคณะ
4) ภาวนาอยางรอนรนเพื่อใหพระจิตเจาทรงนําใหงานอภิบาลและงานเผยแผธรรม
เกิดผลดี

4. สรุป วิถีชีวิตจิตแหงความเปนหนึ่งเดียวแบบองครวม

ในสมัยปจจุบนั พระจิตเจาทรงนําและทรงดลใจฆราวาสผูถวายตนแดพระเจา เคียรา ลูบิค และเพือ่ นๆ


ใหดําเนินชีวติ ตามพระวรสาร และพบหนทางใหมในการดําเนินตามรูปแบบชีวติ ครอบครัวศักดิ์สทิ ธิ์แหงนาซา
เร็ธ ตอมาไดกลายเปนขบวนการชีวติ จิตของพระศาสนจักรมีชื่อเปนทางการวา “คณะกิจการพระมารดามารีย”
(The Work of Mary) มีสมาชิก 140,000 คน สมาชิกสนับสนุน 2.5 ลานคน ใน 185 ประเทศ คณะฯแบงปน
วิถีชวี ติ จิตความเปนหนึ่งเดียวกับทุกคน

วิถีชวี ติ จิตแหงความเปนหนึง่ เดียวแบบองครวม ซึ่งมีองคประกอบสําคัญคือ “พระเจาทรงเปนองค


ความรัก” เลือกพระองคเปนอุดมการณของชีวติ และตอบสนองความรักของพระเจาโดยการทําตามพระ
ประสงคของพระองค ดําเนินชีวติ ตามพระวาจาของพระเจา โดยเฉพาะตามบทบัญญัติใหมแหงความรักซึ่งกัน
และกัน ซึ่งนําไปสูหัวใจของพระวรสารคือ “เพื่อใหทุกคนเปนหนึ่งเดียวกัน” (ยน 17:21) โดยการดําเนินชีวติ
ตามแบบอยางของพระเยซูคริสตเจาผูถูกตรึงกางเขนและถูกทอดทิ้ง ซึ่งเปนมาตราวัดความรักซึ่งกันและกัน
และเคล็ดลับการสรางความเปนหนึ่งเดียว จนทําใหเกิดการประทับอยูข องพระเยซูคริสตเจาผูทรงกลับคืนพระ
ชนมชีพในหมูเ รา ดังที่พระองคทรงสัญญาไววา “ที่ใดมีสองหรือสามคนชุมนุมกันในนามของเรา เราอยูที่นั้นใน
หมูเขา” (มธ 18:20) ในนามของเราหมายถึงในความรักของพระองค การประทับอยูของพระเยซูคริสตเจานํา
พระพรของ พระจิตเจาคือ สันติสุข ความชืน่ ชมยินดี ความรักและแสงสวาง

วิถีชวี ติ จิตแหงความเปนหนึง่ เดียวสอดคลองกับจิตตารมณของสภาสังคายนาวาติกันที่ 2 และ


ตอบสนองความตองการของมนุษยในสมัยปจจุบัน ชวยฟนฟูชีวติ คริสตชน และชีวิตพระศาสนจักร ฟนฟู
ครอบครัวใหม ขบวนการเยาวชนใหม ชุมชนวัดใหม ฟนฟูชีวติ นักพรต นักบวช ทําใหพระพรดั้งเดิมและพระ
พรใหมเปนหนึ่งเดียวกัน ทําใหขบวนการชีวติ จิตของพระศาสนจักรทํางานรวมกัน

วิถีชวี ติ จิตแหงความเปนหนึ่งเดียวมิใชเปนเรื่องฝายจิตเทานั้น แตเปนชีวติ แบบองครวมและมีแนว


ปฏิบตั ิในทุกมิติของชีวิต และทําใหเกิดการปฏิรูปฟนฟูสังคมในดานตางๆ ทั้งเศรษฐกิจ การเมือง การสื่อสาร
ศิลปะ และศาสตรแขนงตางๆ เพื่อเสริมสรางวัฒนธรรมใหม วัฒนธรรมแหงการให วัฒนธรรมแหงความรักแท
และความเปนน้ําหนึ่งใจเดียวกันกับทุกคน

วิถีชวี ติ จิตแหงความเปนหนึง่ เดียวไดกาวขามความแตกตาง ของเชื้อชาติ วัย ศาสนา สถานภาพทาง


สังคม นําไปสูการเสวนาดานคริสตศาสนสัมพันธ ดานศาสนสัมพันธ เสวนาแมกับผูไมมีศาสนาแตมี
อุดมการณตางๆ เพื่อมุงไปสูความรัก ความเปนพี่นองสากล และความเปนหนึ่งเดียวของมนุษยชาติ

หนังสืออางอิง

ยอหน ปอลที่2, สมเด็จพระสันตะปาปา.สมณสาสน “เริ่มตนสหัสวรรษใหม (Novo Millennio Inuente)


2001.
ยอหน ปอล ที่ 2, สมเด็จพระสันตะปาปา.สมณสาสนหลังการประชุมสมัชชา “พระศาสนจักรในเอเซีย
(Ecclesia in Asia) 1999.
Aumann, Jordan. Christian Spirituality in the Catholic Tradition. San Francisco : Ignatius,
1985.
Downey, Michael. The New Dictionary of Spirituality. Minnessota : Liturgical, 1993.
Dufour, Xavier Leon. Dictionary of Biblical Theology. Bangalore : Asian Trading, 1987.
Lubich, Chiara. Una Via Nuova : La Spiritualita dell’ Unita. Rome : Citta Nuova, 2002.
Mcbrien, Richard P. Encyclopedia of Catholicism. New York : The Harper Collins, 1989.

You might also like