You are on page 1of 4

แนวทางปฏิบตั ิในการตรวจหามะเร็งชองปากระยะเริ่มแรก

• บทนํา

มะเร็งชองปากที่พบมากที่สดุ คือ Squamous cell carcinoma ซึ่งพบไดมากถึงรอยละ 90 ของมะเร็ง


บริเวณศีรษะและลําคอ และมักจะพบรอยโรคที่เยื่อบุชองปาก ซึ่งเปนบริเวณ ที่สามารถ ตรวจพบในระยะ
เริ่มแรก ไดโดยงาย อยางไรก็ตาม ผูปวยที่มารับการรักษาสวนใหญมักจะอยูในระยะทาย หรือมีการ
แพรกระจายไปยังตอมน้ําเหลืองขางเคียงแลว ซึ่งทําใหการรักษายุงยากมากขึ้น จนถึงไมสามารถ รักษาได
และสูญเสีย อวัยวะหรือชีวิต การตรวจหามะเร็งในระยะแรกจึงเปนขั้นตอนที่สําคัญมากตอการพยากรณโรค
และผลการรักษา การพบปจจัยเสี่ยง รอยโรคกอนมะเร็ง หรือมะเร็งในระยะเริ่มแรก จะทําให เกิดผลดี ทั้งตอ
ผูปวยและผูรักษา รวมทั้งจะชวยชีวิตผูปวยใหอยูรอด และลดการสูญเสียทางดานเศรษฐกิจและสังคมที่อาจ
เกิดขึ้น ดังนัน้ ทันตแพทยจึงควรมีสวนรับผิดชอบในการใหความรูตอ ประชาชน ในการปองกันโรค โดย
หลีกเลี่ยง และกําจัดปจจัยเสี่ยง รวมทั้งตรวจหารอยโรคไดดวยตนเอง ในระยะเริ่มแรก

• วัตถุประสงค

• เพื่อเปนแนวทางใหทันตแพทยใชปฏิบัตใิ นการตรวจและใหคําแนะนําแกประชาชน
• เพื่อปองกันการเกิดรอยโรคกอนมะเร็งและมะเร็งชองปาก
• เพื่อใหทันตแพทยสามารถตรวจพบรอยโรคกอนมะเร็งหรือมะเร็งชองปากระยะเริ่มแรกไดถูกตอง
• เพื่อลดปจจัยเสี่ยงอุบัติการณและอัตราการเกิดทุพพลภาพในผูปวยอันมีสาเหตุจากมะเร็งชองปาก
• กลุมเปาหมาย

ทันตแพทยทั่วไป

• แนวทางการปฏิบตั ิ
• ใหความรูแกผูมารับบริการถึงปจจัยเสี่ยงและวิธีการตรวจและสังเกตรอยโรค ในชองปากไดดวยตนเอง
รวมทั้งความรูเ บื้องตนของการเกิดมะเร็งชองปาก และ มีความเขาใจวามะเร็ง เปนโรคที่สามารถปองกันได
• มีการตรวจคัดกรองอยางเปนระบบเพื่อคนหารอยโรคกอนมะเร็ง และมะเร็งชองปากระยะเริ่มแรก
• กําจัดปจจัยเสี่ยงในชองปากเชนกรอลบมุมคมของฟน หรือฟนปลอม กําจัดสิ่งแปลกปลอมในชองปาก
ออกไป
• ใหคาํ แนะนํา ใหการรักษาเบื้องตน และสงตอผูปวยที่เปนรอยโรคกอนมะเร็ง และมะเร็งในชองปาก เพื่อ
ไดรับการรักษาที่เหมาะสม
การตรวจคัดกรองผูป วย แบงเปน 2 กลุม ไดแก

กลุมที่1 ผูที่ไมมีรอยโรคแตควรไดรับการตรวจคัดกรองอยางนอยปละครั้งไดแก
• มีอายุ 40 ปขึ้นไป
• มีปจจัยเสี่ยง ตอไปนี้
• สูบบุหรี่ เคี้ยวยาสูบ เคี้ยวหมาก อมเมี่ยง สูดยานัตถ เปนประจํา
• ดื่มเครื่องดื่มที่มีอัลกอฮอลเปนประจํา
• สุขภาพชองปากไมดี
• มีการระคายเคืองเรื้อรัง
• มีฟนปลอมที่ไมถูกสุขลักษณะ
• ไดรับแสงอาทิตยโดยตรงบริเวณใบหนาเปนประจํา
• ภาวะทุพโภชนาการ
• มีบุคคลในครอบครัวเคยเปนมะเร็งบริเวณทางเดินอาหารสวนบน
• ภาวะภูมิคุมกันบกพรอง
• มีประวัตติ ิดเชื้อไวรัสบางชนิดเชน HIV, CMV, HPV

กลุมที่ 2 ผูที่มีอาการตอไปนี้ ควรไดรับการตรวจอยางละเอียดทันที


• เปนรอยโรค erythroplakia erythroleukoplakia หรือ leukoplakia
• เปนแผลเรื้อรัง เปนระยะเวลานานกวา 2 สัปดาห เมื่อกําจัดสิ่งระคายเคืองออกแลว
• มีการบวมเปนกอน หรือหนาตัวบริเวณริมฝปาก เหงือก หรือตําแหนงอื่นๆในปาก
• รอยโรคโตขึ้นอยางรวดเร็ว
• มีเลือดไหลออกจากแผลไดงาย
• มีอาการชาบริเวณริมฝปากและใบหนา
• การเคลื่อนไหวของลิ้นจํากัด ( ลิ้นแข็ง )
• มีอาการเจ็บแสบ ในชองปากโดยอาจไมมีแผล
• ฟนโยกที่ไมทราบสาเหตุ หรือมีอาการชารวมดวย

• แนวทางการวินิจฉัยและการรักษา
• ซักประวัติเกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป ประวัติครอบครัว อาชีพ การสัมผัสกับสารกอมะเร็ง
• ซักประวัติเกี่ยวกับการเกิดรอยโรค และปจจัยเสี่ยงตางๆที่อาจมีสวนรวมทําใหเกิดรอยโรค
• ตรวจภายนอกและภายในชองปากอยางเปนระบบ
• การตรวจรางกายทัว่ ไปที่สมั พันธกับการเกิดรอยโรค เชน ซีด น้ําหนักลด
• การตรวจนอกชองปาก เพือ่ หารอยโรคที่ปรากฎอยูภายนอก เชนที่ผวิ หนัง และ ตรวจดูความผิดปกติของ
ตอมน้ําเหลือง บริเวณศีรษะและคอ ซึ่งจะมีผลตอการรักษาและพยากรณโรคตอไป
• การตรวจในชองปาก เพื่อหาความผิดปกติของกระดูกและเนื้อเยื่อออนบริเวณริมฝปาก เยื่อบุชอ งปาก
กระพุงแกม เหงือก ลิ้น พื้นชองปาก และเพดานปาก
• กรณีที่รอยโรคอยูใกลหรือมีความสัมพันธกับกระดูกขากรรไกร อาจจําเปนตองสงภาพถายรังสีดวย
• บันทึกสิ่งทีต่ รวจพบโดยละเอียด ถึงขนาด สี ตําแหนงและการลุกลามของรอยโรค
• ใหความรูแกผูปวยเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพชองปากและกระตุนใหผูปวยงดปจจัยเสี่ยงตางๆ
• ใหการรักษาเบื้องตน โดยการฟนฟูสุขภาพชองปาก เชน ขูดหินปูน แกไขสิ่งระคายเคืองตางๆและแนะนํา
ใหผูปวยดูแลสุขภาพชองปากอยางสม่ําเสมอ
• ติดตามสังเกตการเปลี่ยนแปลงของรอยโรค 1-2 สัปดาห
• ถาอาการดีขนึ้ ควรติดตามผลการรักษาอยางตอเนื่อง โดยเนนใหผูปวยงดปจจัยเสีย่ งตางๆตอไป และรักษา
สุขภาพชองปากใหดีสม่ําเสมอ
• ถาอาการไมดีขึ้นควรตัดชิน้ เนื้อสงตรวจทางพยาธิวิทยาหรือสงตอเพื่อรับการวินิจฉัย และการรักษาที่
เหมาะสม
แผนภาพแสดงขั้นตอนแนวทางการรักษาผูปวยที่มีรอยโรคในชองปาก

You might also like