You are on page 1of 19

ศีลธรรมและสัจจธรรม

หลวงพ่อปัญญานันทะ
วันอาทิตย์ที่ 16 สิงหาคม 2513
ญาติโยมพุทธบริษัททั้งหลาย

ณ บัดนี้ถึงเวลาของการฟังปาฐกถาธรรม อันเป็นหลักคำาสอนในทางพระพุทธศาสนาแล้ว
ขอให้ทุกท่านอยู่ในอาการสงบ ตั้งอกตั้งใจฟังให้ดี เพื่อให้ได้ประโยชน์อันเกิดขึ้นจากการฟัง
ตามสมควรแก่เวลา
ในวันอาทิตย์ที่แล้วมา ได้อัดเทปปาฐกถาไว้ให้ญาติโยมทั้งหลายฟัง เพราะมีกิจธุระไปข้าง
นอก อาทิตย์ต่อๆ ไปนี้ ไม่มีธุระอะไรจะไปข้างนอก ญาติโยมก็มาฟังได้โดยตรงจากปากไม่
ต้องฟังจากเทปอัดเสียง
เรื่องที่พูดไป 2 อาทิตย์ก่อนนั้น เป็นการพูดที่แนะแนวทางชั้นรากฐาน อันเป็นข้อปฏิบัติใน
ส่วนเบื้องต้น สำาหรับเราผู้นับถือพระพุทธศาสนา เพื่อจะได้ให้เกิดความเข้าใจ เมื่อเราเข้ามา
เป็นศิษย์ของพระพุทธเจ้าแล้ว เราควรจะปฏิบัติตนอย่างไร มีความคิดอย่างไร ตามทัศนะ
ของพระผู้มีพระภาคเจ้า เพราะว่าเรายอมเป็นศิษย์ของท่านผู้ใด เราก็ควรจะได้ปฏิบัติตามคำา
สอนของท่านผู้นั้น

เมื่อเราสมัครจะเป็นลูกศิษย์ของพระพุทธเจ้า เราก็ปฏิบัติตนตามคำาสอนของพระองค์อย่าง
แน่วแน่ ไม่ง่อนแง่นคลอนแคลน จึงควรรู้ไว้เป็นเบื้องต้นว่า การปฏิบัติตามคำาสอนของพระ
ผู้มีพระภาคเจ้านั้น เราควรจะมีความเชื่ออย่างไร มีความคิดอย่างไร มีการกระทำาในรูปใด จึง
จะเรียกว่าถูกตรงตามคำาสอนในทางพระพุทธศาสนาซึ่งหวังว่าญาติโยมทั้งหลายที่ได้ฟังแล้ว
คงจะนำาไปคิดพิจารณาด้วยปัญญาเพื่อให้เกิดความเข้าใจชัดเจนถูกต้องและแก้ไขความคิด
เห็น การปฏิบัติให้ดีงามถูกต้อง เพื่อจะได้เข้าใกล้พระรัตนตรัย คือ พระพุทธ พระธรรม พระ
สงฆ์ มากยิ่งขึ้น
การที่เราปฏิบัติตามหลักธรรมะทางพระพุทธศาสนาดังที่กล่าวแล้ว ความจริงก็เป็นเรื่องง่าย
สะดวกสบาย ไม่ลำาบากยากเข็ญอะไรมากนัก เพียงแต่มีความเชื่อว่า การกระทำาของเราเอง
จะช่วยสร้างชีวิตของเราเอง แล้วเราก็ลงมือปฏิบัติตามแนวทางนั้น เป็นเรื่อที่ลำาบาก บางที
ต้องมีการลงทุน ต้องแสวงหา ต้องรอเวลาเพื่อให้เหมาะกับเวลาที่ต้องการ ถ้าไม่เหมาะแก่
เวลาก็ทำาไม่ได้

การปฏิบัติธรรมะในทางพระพุทธศาสนานูน เรียกว่าเป็นอกาลิก คือ ไม่จำากัดเวลา ไม่ถือว่า


ควรจะปฏิบัติเวลานั้น เวลานี้ เวลานั้นดี เวลานี้ชั่ว อะไรอย่างนี้ไม่มี แต่พระผู้มีพระภาคตรัส
ว่า... การปฏิบัติตามธรรมะที่เราตถาคตบอกแล้ว กล่าวแล้วนั้น เมื่อไรก็ได้ จะเป็นตอนเช้า
ตอนสาย ตอนบ่าย ตอนเย็น เราก็ทำาได้ทั้งนั้น ใสสถานที่ใดๆ ก็ทำาได้ มีอย่างเดียวที่จะต้อง
เลือกเฟ้นก็คือว่า จัดธรรมะให้ถูกแก่เหตุการณ์ แก่บุคคล แก่สถานที่ที่เราเข้าไปเกี่ยวข้อง
เท่านั้นเอง...
ฉะนั้นหลักธรรมะในทางพระพุทธศาสนา พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสธรรมะไว้เป็นเรื่องๆ
ไป เพื่อให้หยิบไปใช้ได้เหมาะแก่เหตุการณ์ เหมือนยาสำาหรับแก้โรค เราปรุงไว้เป็นขนานๆ
เป็นยาสำาเร็จรูป ใส่ขวดไว้เรียบร้อย ปิดฉลากบอกไว้ด้วยว่า เป็นยาแก้ปวดท้อง ปวดหัว ปวด
ฟัน หรือเป็นทาภายนอก เวลาเราจะกินยานั้นๆ ก็ต้องอ่านให้เข้าใจก่อนว่าเราจะกินยาอะไร
เราเป็นโรคอะไร กินเวลาไหน จำานวนเท่าไร ถ้ากินให้ถูกตรงตามที่หมอแนะนำาไว้ ยานั้นก็
สามารถรักษาโรคให้หายไปจากร่างกายของเราได้ฉันใด ในเรื่องของธรรมะที่เรานำามา
ปฏิบัตินี้ก็เช่นเดียวกัน

พระผู้มพี ระภาคแสดงธรรมะไว้มากมาย หลายเรื่อง หลายประการ เพื่อให้เหมาะแก่โรคของ


คนอันจะแก้ไขได้นั่นเอง
ทีนี้โรคของเรานั้น มีโรคทางภายนอก คือ โรคร่างกาย เรียกว่า โรคฝ่ายกาย อีกอย่างหนึ่ง
เรียกว่า โรคฝ่ายจิต โรคฝ่ายกายนั้น เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของดินฟ้าอากาศ เกิดจากเชื้อ
โรคที่เช้ามาเกาะจับในร่างกาย ทำาให้ร่างกายเราไม่สบายผิดปกติไป
การรักษาโรคฝ่ายกายนั้น ก็ต้องใช้วัตถุเป็นเครื่องรักษา เช่นเรามียาประเภทต่างๆ ซึ่งทางฝ่าย
แพทย์เจริญมากในเรื่องอย่างนี้ ได้จัดยาไว้ให้เหมาะแก่โรค ถ้าเราไปหาหมอให้ตรวจทัน
ท่วงที หมอให้ยาเหมาะแก่โรค ก็หายไวไม่เปลืองเวลา ไม่เสียเงินไปโดยใช่เหตุ รักษาไม่ยาก
อะไรนัก

โรคทางฝ่ายจิตหรือวิญญาณ เป็นโรคที่เกิดขึ้นภายใน ไม่อาศัยอะไรที่เป็นเชื้อข้างนอกมาก


นัก อาศัยบ้างก็เพียงแต่สิ่งที่มากระทบ เช่นรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ที่มากระทบทาง
ประสาทห้าของเรา แล้วก็เกิดทำาให้มีอาการทางจิตใจขึ้น เรียกว่า โรคทางใจ โรคทางใจนั้น
เป็นจำาพวกกิเลส ซึ่งเกิดขึ้นแล้วทำาให้จิตของเราเปลี่ยนสภาพจากหน้าตาดั้งเดิมไปเป็นอีกรูป
หนึ่ง เช่น เปลี่ยนไปเป็นความโลภ เป็นความโกรธ เป็นความหลง เป็นความริษยา อาฆาต
พยาบาทจองเวร มีประการต่างๆ ในขณะใดที่ใจเรามีโรคเกิดขึ้น มันก็เปลี่ยนสภาพไปตาม
อำานาจของโรคนั้น เช่น
โลภะ เกิดขึ้นก็มีความอยากได้ไม่รู้จักพอในทรัพย์สมบัติของผู้อื่น ซึ่งตนไม่มีสิทธิจะพึงมีพึง
ได้ โทสะเกิดขึ้นก็มีความเร่าร้อน คิดแต่ในเรื่องที่จะประทุษร้ายเบียดเบียนคนอื่น ทำาให้คน
อื่น ได้รับความทุกข์ความเดือดร้อนด้วยประการต่างๆ
โมหะ เกิดขึ้นในใจ ก็ทำาให้มืดมัวหลงไหล ไม่เข้าใจชัดเจนในเรื่องนั้น เป็นเหตุให้หลงผิดไป
โดยประการต่างๆ ทำาให้เกิดความทุกข์ความเดือดร้อน พยาบาทเกิดขึ้น ก็เป็นไปในทางมุ่ง
ร้าย จองล้างจองผลาญบุคคลอื่น
ริษยา เกิดขึ้นก็เป็นเหตุให้ไม่ยินดี ไม่มีความสุขความสบายใจ ในเมื่อเห็นคนที่เราไม่ชอบใจ
มีความสุข มีความเจริญ มีความก้าวหน้าในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เราไม่ชอบใจในความเป็นอยู่
ของบุคคลนั้น อาการเช่นนี้เรียกว่าเป็นโรคริษยา โรคริษยานี้ถ้าเกิดขึ้นในใจของบุคคลใด
แล้ว ทำาให้บุคคลนั้นเร่าร้อนกระวนกระวายอยู่ตลอดเวลา ไม่มีความสุขไม่มีความสงบ ความ
ทุกข์ความเดือดร้อนที่เกิดขึ้นในใจของคนเรานั้นเกิดจากโรคทางใจ โรคทางใจนี้เป็นโรคร้าย
ทำาลายสังคม ทำาให้มนุษย์อยู่ในความทุกข์ความเดือดร้อนด้วยประการต่างๆ จึงเป็นหน้าที่
ของเราจะต้องรักษาโรคชนิดนี้ อันการรักษาโรคชนิดนั้น เราจะไปหาหมอตามธรรมดาก็ไม่
ได้ เพราะว่าหมอตามธรรมดาทั่งไปนั้น มีหน้าที่เยียวยาโรคทางกาย ไม่มีหน้าที่เยียวยาโรค
ทางจิตใจ บางทีหมอเองก็อาจจะเป็นโรคทางด้านจิตใจนั้นได้เหมือนกัน จึงเป็นที่พึ่งในเรื่อง
นี้ยังไม่ได้
เราจะรักษาโรคทางใจของเราได้นั้น ต้องอาศัยยา คือ ธรรม อันเป็นหลักคำาสอนในทางพระ
ศาสนา เวลาเรารู้สึกตัวว่าเรามีโรคทางใจเกิดขึ้น เราก็ไปหาหมอประเภทที่มีความรู้ทาง
ธรรมะ เล่าเรื่องให้ท่านฟังว่าเราไม่สบาย มีความครุ่นคิดในเรื่องนั้นเรื่องนี้ มีความไม่ดีไม่
งามเกิดขึ้นในใจ มีความทุกข์ มีความเดือดร้อนกระวนกระวายต่างๆ ควรจะรักษาอย่างไร
ทีนี้เมื่อเราไปหาเช่นนั้นท่านก็คงจะบอกวิธีการให้ว่า ควรจะรักษาอย่างนั้น รักษาอย่างนี้ เรา
ก็นำาเอายาซึ่งได้รับแล้วนั้นมารักษา

การรักษาโรคในทางด้านจิตใจนี้สำาคัญอยู่ที่ผู้ป่วย ไม่ใช่สำาคัญอยู่ที่ผู้ให้ยา เพราะว่าผู้ให้ยา


นั้น ทำาหน้าที่เพียงแต่ผู้ชี้ทางให้เท่านั้นเอง การเดินทางเป็นหน้าที่ของเราผู้ป่วยทุกคน จะ
ต้องเดินไปไม่ชักช้าให้เสียเวลาเมื่อรู้จักตัวยาแล้วก็รีบเดินไปในทางนั้น คือลงมือปฏิบัติ
นั่นเอง แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลาย พระองค์ก็ได้ตรัสบอกกับลูกศิษย์จของ
พระองค์ว่า...
ตถาคตเป็นแต่เพียงผู้ชี้ทางให้ ส่วนการเดินทางเป็นหน้าที่ของเธอทั้งหลาย จะต้องเดินด้วย
ตัวเธอเอง...
อันนี้นับว่าเป็นเรื่องสำาคัญที่เราควรจะจำาใส่ใจ การปฏิบัติตนนั้น เป็นเรื่องที่ตนจะต้องรีบเร่ง
ปฏิบัติทันทีไม่ชักช้า ก็เข้ากับหลักที่ว่า ตน เป็นที่พึ่งของตน หมายความว่าเราเองต้องพึ่งตัว
เองในเรื่องการปฏิบัติ เพื่อจะให้พน้ ไปจากความทุกข์ความเดือดร้อน ถ้าหากว่าไม่พึ่งตัวเอง
คอยให้คนอื่นช่วยด้วยวิธีการต่างๆ ย่อมไม่สำาเร็จได้ตามความปรารถนา เราจึงช่วยตัวเองการ
ลงมือปฏิบัติตามแนวทางนั้นๆ ที่เราได้รับรู้รับการาศึกษามาอันผลที่เกิดจากการปฏิบัตินั้น
ไม่ต้องให้ใครบอก เรารู้ได้เอง เหมือนกับเรารับประทานอาหาร เปรี้ยวหวานมันเค็มอย่างไร
เราผู้รับประทานย่อมรู้ได้ด้วยตนเอง ไม่ต้องให้ใครอธิบาย ถึงแม้จะมีใครอธิบายให้ฟัง เราก็
ไม่รู้ไม่เข้าใจชัดเจน เพราะยังไม่ได้รับประทานแต่เมื่อรับประทานเข้าไปก็รู้ทันทีว่า เปรี้ยว
หวานมันเค็มอย่างไร
ข้อนี้ฉันใด ในเรื่องการปฏิบัติตามธรรมะในทางศาสนา ก็เป็นเช่นเดียวกัน เมื่อเราลงมือ
ปฏิบัติ เราก็ซาบซึ้งในเรื่องนั้นได้ทันที เช่นจิตสงบขึ้น มีความสบายขึ้น ความร้อนต่างๆ หาย
ไป อันนี้เป็นหลักควรจะเข้าใจไว้ว่า การปฏิบัตินั้นเรารู้ได้ด้วยตัวของเราเองของเราเอง
ประการหนึ่ง

ทีนี้อีกประการหนึ่ง ในเรื่องการทำากิจในทางศาสนาจะเป็นการ ให้ทาน รักษาศีล หรือทำา


อะไรก็ตาม ญาติโยมบางคนก็เข้าใจผิด คือเข้าใจผิดว่าทำาไว้เมื่อหน้า ไปเอาผลกันข้างหน้า
อันนี้ยังไม่ตรงแท้ตามหลักความเป็นจริง คือว่าในการปฏิบัติอะไรก็ตาม ข้างหน้านั้นมันก็มี
เหมือนกัน แต่ว่า ผลอันแท้จริงถูกต้องนั้น คือผลที่เราได้รับทันทีในปัจจุบันนี้ เมื่อเราปฏิบัติ
เราก็ได้ผลทันที ไม่ต้องรอไปเอากันเมื่อนั้นเมื่อโน้น ซึ่งบางคนอาจจะเข้าใจว่าทำาไว้เผื่อข้าง
หน้า อันนี้ยังไม่ตรงตามความหมาย ต้องเข้าใจกันเสียใหม่ว่า
ทำาทันทีได้ทันที ทำาดีก็ได้ดีทันที ทำาชั่วก็ได้ชั่วทันที ทำาเหตุให้เกิดทุกข์ ก็เกิดทุกข์ทันที
เหมือนกันได้ในขณะนั้น
ผลที่ได้นั้นได้ที่ตรงไหน ก็ได้อยู่ที่ใจของเรา ใจเรารู้สึกว่าเป็นอย่างนั้นเป็นอย่างนี้ สมมติว่า
เราคิดดี เราก็ได้ผลคือใจสบาย ถ้าเราทำาดี เราก็สบายใจ ถ้าเราคิดชั่ว เราร้อนใจ ถ้าเราทำาชั่ว
เราก็มีความทุกข์เกิดขึ้นในใจ อันนี้ได้แล้ว ได้ผลอยู่ในปัจจุบันทันตา ซึ่งทุกคนทำา ทุกคน
ก็ได้ทุกคนก็เห็น ส่วนผลอันจะมาข้างหน้านั้นมันก็มีเหมือนกัน แต่ว่าอาจจะช้า จะเร็ว เป็น
ผลของทางวัตถุไป ไม่ใช่เป็นเรื่องของทางนามธรรมที่เกิดขึ้นในใจของเรา ผลที่เกิดในใจนั้น
ทำาทันทีได้ทันที ทำาเดี๋ยวนั้นได้เดี๋ยวนั้น ขอให้เข้าใจอย่างนี้ไว้
ฉะนั้นเมื่อเราจะทำาอะไร เราก็จะได้รู้ว่าทำาเพื่ออะไร และเราจะได้อะไร เมื่อทำาแล้ว เราก็
สังเกตตัวเราว่า มีความรู้สึกอย่างไรเกิดขึ้นในใจ ความรู้สึกนั้นเยือกเย็นหรือเร่าร้อน ความ
รู้สึกนั้นเป็นสุขหรือเป็นทุกข์ เราพิจารณาได้ด้วยตัวของเราเอง เราจะเห็นชัดเจนแจ่มแจ้งใน
ผลนั้น ทีนี้เมื่อเห็นผลแล้ว อันนี้แหละก็จะเกิดผลที่เรียกว่า ปสาท ปะสาทะ แปลว่า เลื่อมใส
ในการปฏิบัติ ที่เกิดความเลื่อมใสในการปฏิบัติขึ้น ก็เพราะว่าเราสบายใจ เราได้เห็นผลที่เกิด
ขึ้นจากการปฏิบัตินั้น เราก็ใคร่จะทำาอีกต่อๆ ไป ครั้นเมื่อทำานานๆ เข้าก็เคยชิน ถ้าความ
เคยชินเกิดขึ้นในจิตใจก็เป็นนิสัย นิสัยในทางดีเกิดขึ้นแก่บุคคลใด บุคคลนั้นก็ได้ชื่อว่าเป็น
คนดี อยู่กับพระอยู่ตลอดเวลา ไม่ผละตนออกไปอยู่กับสิ่งชั่วร้าย อันจะทำาตนให้เกิดความ
ทุกข์ ความเดือดร้อน นี่คือ ตัวผล อันเกิดขึ้นจากการปฏิบัติ ซึ่งเราทั้งหลายจะได้พบเองด้วย
ตัวของเราทั้งนั้น นี้ประการหนึ่ง

ทีนี้อีกประการหนึ่ง ในการที่เราจะปฏิบัติตามหลักธรรมะในทางพระพุทธศาสนา ที่พระผู้มี


พระภาคแสดงไว้นั้นเราควรจะเริ่มต้นที่ไหน ควรจะเริม่ ต้นด้วยเรื่องอะไร อันนี้ก็เป็นข้อที่
ควรจะได้เข้าใจเป็นประการแรกเหมือนกันว่า ในการปฏิบัติธรรมนี้ เราควรจะเริ่มต้นที่อะไร
ก่อน
การเริ่มต้นการปฏิบัติธรรมนั้น ก็เริ่มที่ตัวของเราเอง ข้อที่เราจะเอามาปฏิบัตินั้นมีอยู่ ๒
ประการ หลักธรรมะในทางพระพุทธศาสนานั้นมีอยู่ ๒ เรื่องคือ
เรื่องที่เรียกว่า "ศีลธรรม" ประการหนึง่ เรื่องที่เป็น "สัจธรรม" นัน้ อีกประการหนึง่

ศีลธรรมนั้น เป็นข้อบัญญัติที่ผู้รู้ทั้งหลายได้บัญญัติขึ้นเพื่อประโยชน์เพื่อความสุขของคนหมู่
มาก เพราะว่าคนเราเมื่ออยู่คนเดียวมันยุ่งน้อย แต่ถ้าอยู่ ๒-๓-๔ คน ขึ้นไป ความยุ่งก็มากขึ้น
ความยุ่งที่เกิดขึ้นในใจคนที่รวมกันเป็นหมู่นั้น เกิดจากเรื่องอะไร ก็เกิดจากเรื่องของจิตใจไม่
ตรงกัน คือจิตใจที่ได้รับการปรุงแต่งไม่ตรงกัน แต่งไม่เหมือนกัน ก็เหมือนกับการแต่งกายนี่
ดูพวกเราทั้งหลายที่แต่งกายนี้ แต่งไม่เหมือนก้น คนหนึ่งอาจจะแต่งสีนั้น คนอื่นๆ อาจจะ
แต่งสีโน้น สีนี้ ไม่เหมือนกันสักคนเดียว เท่าที่มานั่งๆ กันอยู่ ข้อนี้ฉันใด ใจเรานี้ก็เหมือนกัน
ว่ากันโดยเนื้อแท้ถ้าพูดถึงว่า จิตเดิมแท้ของมนุษย์นั้น คือความบริสุทธิ์ความสะอาดมีความ
ผ่องใสอยู่ตลอดเวลา อันนั้นเหมือนกัน ทุกคนมีสภาพเช่นเดียวกัน เป็นจิตแบบเดียวกัน จิต
เดิมนี้ หน้าตาเหมือนกันทุกคน และมีสิทธิ์ทีจะไปถึงความบริสุทธิ์ได้ทุกคน แต่ว่าที่ไม่
เหมือนกันนั้น ไม่ได้หมายถึงจิตดวงนั้น แต่หมายถึงจิตที่ถูกปรุงแต่งด้วยอะไรต่างๆ ที่เราพูด
กันว่า นานาจิตตัง
คำาว่า นานาจิตตัง ไม่ใช่จิตเดิม แต่เป็นจิตที่ปรุงแล้ว แต่งแล้วด้วยอะไรๆ มากเรื่องมาก
ประการ ได้ปรุงตั้งแต่เป็นเด็กน้อย เป็นหนุ่มเป็นสาวจนเป็นผู้ใหญ่ มั่นปรุงมันแต่งด้วยสิ่ง
แวดล้อม ด้วยการอบรมบ่มนิสัยของผู้หลักผู้ใหญ่ ตามทัศนะของคนเหล่านั้น บางคนก็อบรม
ให้เกิดความเข้าใจผิดในเรื่องอะไรมากเรื่อง ให้เชื่อผิดในเรื่องอะไรมากเรื่อง ให้กระทำาด้วย
ความหลงผิดอะไรต่างๆ จิตนี้มันก็แตกต่างกับจิตของคนอื่นไป มีความคิดไม่ตรงกันในเรื่อง
นั้นเรื่องนี้

คนเราถ้ามีความคิดไม่ตรงกัน เมื่อมานั่งด้วยกัน ก็มักจะเถียงกัน ทะเลาะกัน ทำาอะไร ก็ทำากัน


ไปคนละทาง คนหนึ่งมีความคิดอย่างหนึ่ง ก็ไปด้านหนึ่ง อีกคนหนึ่งก็ไปอีกด้านหนึ่งเลยไม่
ลงรอยกัน เมื่อไม่ลงรอยกันก็เกิดการทะเลาะเบาะแว้งกัน สร้างความทุกข์ความเดือดร้อนให้
เกิดขึ้นในสังคมด้วยประการต่างๆ จึงต้องมีระเบียบสำาหรับบังคับคนเหล่านั้น ให้มีความคิด
ความเห็นในทัศนะเดียวกัน มีการกระทำาในทางเดียวกัน เพื่อจะให้ไปกันได้ ไม่ใช่วิ่ง
เพ่นพ่านไปคนละทิศคนละทาง แต่ว่าให้มุ่งไปในทางเดียวกัน ทางนั้นก็คือทางธรรมะ ซึ่ง
เรียกว่าทางของ ศีลธรรม ที่ผู้รู้ทั้งหลายได้บัญญัติแต่งตั้งไว้
เราอยู่ในสังคมมนุษย์ จึงต้องปฏิบัติตนตาม หลักศีลธรรม เหล่านั้น จึงจะอยู่กันด้วยความ
สงบ ถ้าไม่มีการปฏิบัติตามหลักศีลธรรม คนเราก็มีความเห็นแก่ตัว มีความเข้าข้างตัวเป็น
เรื่องใหญ่ เป็นเรื่องสำาคัญ จะเอาท่าเดียว ไม่มีการให้ ไม่มีการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่
ตัวอย่างเห็นง่ายๆ เช่นเวลาเรานั่งรถไปตามถนนใหญ่ที่มีการจราจรคับคั่ง ถ้าสมมติว่าที่ตรง
นั้นไม่มีไฟเขียว ไฟแดง ไม่มีเจ้าหน้าที่ตำารวจมายืนจัดระเบียบ การจราจรจะยุ่งที่สุด
ขวักไขว่ที่สุด เพราะว่าคนขับรถทุกคน ทุกคันนั้นมุ่งจะไปท่าเดียว ไม่มีใครผ่อนให้ใคร ต่าง
คนต่างก็จะไป เมื่อไปไม่ได้ ก็ไปยันกันอยู่ที่สี่แยกนั่นแหละ เสียเวลาไปตั้งหลายนาที นี่มนั
เรื่องอะไร ก็เรื่องความเห็นแก่ตัวของมนุษย์เรานี่เอง ไม่ได้คิดว่า เออ ให้คันนั้นไปก่อน ถ้า
ต่างคนต่างคิด จะให้ มันก็ไม่ติด คนโน้นก็ให้ คนนี้ก็ให้ แล้วก็ไปกันด้วยความเรียบร้อย แต่
ความคิดที่จะให้ มันไม่เกิดขึ้น จึงได้มีสะภาพเช่นนั้น ต้องมีเจ้าหน้าที่ตำารวจมายืนยกไม้
ยกมือจัดให้คันนั้นไปก่อน คันนั้นไปทีหลัง
อันนี้เราก็จะเห็นได้ว่า มนุษย์เรานี่นะ ถ้าปล่อยตามเรื่องแล้วไม่ได้ มันยุ่งกันตลอดเวลา จึง
ต้องมีระเบียบกฎเกณฑ์สำาหรับที่จะไว้ใช้บังคับทางจิตใจ ให้ทุกคนถือตาม ดำาเนินตาม
ระเบียบเหล่านั้น เรียกว่าเป็น "หลักศีลธรรม"
ในทางศาสนา แม้ตัวบทกฎหมาย ขนบธรรมเนียมประเพณีที่เราปฏิบัติกันมาตั้งแต่บรม
โบราณ อันเป็นไปเพื่อความสุขเพื่อความเจริญของสังคม เราก็ควรรวมเรียกได้ว่า เป็นหลัก
การทางศีลธรรมทั้งนั้น เมื่อเราเอาหลักการเหล่านั้นมาเป็นแนวปฏิบัติ มนุษย์ก็จะอยู่กันด้วย
ความสุข ด้วยความสงบ เพราะทุกคนปฏิบัติตามแนวนั้น
แต่ถ้าเมื่อใดมนุษย์เราเกิดดื้อขึ้นมา เกิดดื้อแล้วก็เกิดจะไปท้ารบกับธรรมชาติขึ้นมา เรียกว่า
รบกับธรรมะ หรือว่าไปรบกับพระผู้เป็นเจ้า เดี๋ยวนี้มนุษย์ไม่ใช่ทำาสงครามระหว่างมนุษย์
แล้ว แต่ว่ากำาลังทำาสงครามกับพระผู้เป็นเจ้า ไปท้ารบกับพระผู้เป็นเจ้า การท้ารบกับพระผู้
เป็นเจ้านั้นทำาอย่างไร ขัดขืนต่อการปฏิบัติตามธรรมะ ไม่เอาธรรมะมาเป็นหลักปฏิบัติด้วย
การถือดีว่า ฉันไม่ปฏิบัติตามธรรมะฉันก็อยู่ได้ ฉันก็มีกิน ฉันก็มีใช้ ฉันจะไปยุ่งกับศีลธรรม
ทำาไม ฉันจะกอบโกยเอาตามชอบใจของฉัน ถ้าไปถือศีลธรรมอยู่ ไม่ทันอกทันใจ อันนี้
แหละเขาเรียกว่าท้ารบกับธรรมะ หรือท้ารบกับพระผู้เป็นเจ้า ซึ่งเราเรียกกันโดยสมมติในรูป
อย่างนั้น
ถ้ามนุษย์เราไปประกาศสงครามกับธรรมะอย่างนี้ โลกก็เต็มไปด้วยความวุ่นวาย เต็มไปด้วย
ความเร่าร้อนด้วยประการต่างๆ อย่าเป็นคนคิดในรูปเช่นนั้น แต่ควรคิดว่าเราทำาเช่นนัน้ ไม่
ได้ เราควรหันเข้าประนีประนอมกับธรรมะ อันเป็นหลักสำาหรับชีวิตดีกว่า แล้วก็หันเข้าหา
ธรรม เอาธรรมมาเป็นหลักปฏิบัติ พอเราเริ่มหันหน้าเข้าหาธรรมะ เราก็ได้รับแสงสว่าง ได้
เกิดความรู้สึกผิดชอบชั่วดี มีอะไรๆ เกิดขึ้นในใจหลายสิ่งหลายประการ ความยับยั้งชั่งใจ
ความอดทน การบังคับตัวเอง ความเป็นคนมีนำ้าใจหนักแน่น ความเสียสละ ความละอายใน
การ ที่จะกระทำาในสิ่งไม่ดีไม่งามย่อมเกิดขึ้นในใจของบุคคลผู้นั้นๆ เมื่อสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นใน
ใจแล้ว มันก็เป็นเช่นบังเหียนที่เราใช้บังคับม้า ทำาให้ม้าวิ่งตรงทาง
มนุษย์เราก็เป็นเช่นเดียวกัน พอมีธรรมะเป็นบังเหียนเราก็วิ่งตรงทาง เดินตรงทาง ทำาอะไรก็
ตรงทาง ชีวิตก็เรียบร้อย ต่างคนต่างเดินตามเส้นของตน ไม่ข้ามเส้น ไม่ขวางทางกัน อันนี้จะ
สะดวกสบายหรือไม่ ญาติโยมทั้งหลายพิจารณาแล้วก็จะมองเห็นด้วยตนเองว่า เป็นความ
สะดวกสบายในรูปดังกล่าว ก็ควรจะได้หันเข้าหาหลักศีลธรรมนั้นๆ เช่นเราถือเป็นนิสัย ถือ
ธรรม คู่กับ ศีล ไว้เป็นนิสัยประจำาใจ สมาชิกในครอบครัวของเรา ก็ควรปฏิบัติตนเช่นนั้นทุก
ถ้วนหน้า การอยู่ร่วมกันก็จะสงบเรียบร้อย
ให้สังเกตดูครอบครัวบองอริยบุคคลในสมัยก่อน ดังปรากฏอยู่ในตำานานต่างๆ เช่น
ครอบครัวของที่านอนาถบิณฑิกเศษฐี ซึ่งเป็นเศรษฐีตัวอย่างในครั้งพุทธกาล การที่ท่านผู้นี้
ได้ชื่อว่า "อนาถะบิณฑิกะ" ถ้าจะแปลเป็นภาษาไทยง่ายๆ ก็ว่า "หม้อข้าวของคนยากจน" นัน้
เป็นชื่อที่เขาตั้งให้ เดิมท่านไม่ได้ชื่ออย่างนั้น แต่ชื่อว่า "สุทัตตะ" อันเป็นชื่อที่พ่อแม่ตั้งให้
แต่ว่าต่อมาเมื่อได้มาเป็นลูกศิษย์ของพระพุทธเจ้าได้ถือศีลถือธรรมเคร่งครัด ปฏิบัติดีปฏิบัติ
ชอบ ทรัพย์สมบัติที่ท่านมีอยู่นั้น เกิดเป็นประโยชน์แก่สังคม ด้วยการสงเคราะห์ช่วยเหลือ
มนุษย์ที่ลำาบากยากจน ใครต้องการเสื้อผ้า ต้องการอาหาร ต้องการยานพาหนะ ต้องการวัว
ควาย ไปพึง่ พาอาศัย ก็ได้ ไม่เคยปฏิเสธต่อบุคคลที่มาขอ ชาวบ้านในถิ่นนั้นจึงได้ใส่ชื่อให้
ใหม่
ถ้าพูดสมัยใหม่ก็ว่าเป็น นิคเนม ของท่านผู้นั้นว่า "อนาถะบิณฑิกะ" แปลเป็นไทยว่าหม้อข้าว
คนยากจน ใครที่ลำาบากยากจนเดินเข้าไปสู่บ้านนั้นต้องอิ่มท้อง ถ้าไม่มีเสื้อผ้าก็ต้องได้มา
ต้องการสิ่งใดก็ได้ ในครอบครัวนี้ ถ้าเราศึกษาดูตามตำานานแล้ว จะพบว่ามีการประพฤติ
ธรรมเคร่งครัด พ่อบ้านคือท่านเศรษฐีก็ประพฤติธรรม แม่บ้านของท่านก็ประพฤติธรรม
ท่านมีลูกสาว ๓ คน ก็เป็นคนเคร่งครัด ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ เป็นผู้ช่วยเหลือบิดาในการ
ปฏิบัติงาน ให้ทานรักษาศีล สนใจในการฟังธรรม ประตูเปิดกว้างสำาหรับพระภิกษุที่เข้ามา
รับอาหารบิณบาต พระทั้งหลายจึงคุ้นเคยกับท่านผู้นี้เป็นอย่างดี มีการประพฤติชอบ ถ้าถึง
วันอุโบสถศีล ทัง้ บ้านต้องถืออุโบสถ ไม่มีการหุงหาอาหารรับประทานมื้อเย็น กินอาหาร
เพียงเช้าชั่วเพล พ้นจากนั้นแล้วโรงครัวปิดเงียบไม่มีการรับประทานอาหารกันเลยทั้งบ้าน
อันนี้เป็นการปฏิบัติดีอยู่
แล้วก็ท่านมีลูกชายอยู่คนหนึ่ง เป็นลูกชายคนเดียวของครอบครัว ก็เหมือนกับลูกชายของ
ครอบครัวทั่วไปนั่นแหละ เกเรหน่อย เพราะว่าพ่อเป็นเศรษฐีมั่งมีทรัพย์ ไม่ชอบวัดฟังธรรม
เวลาพระมาก็แอบไปที่อื่นเสีย ไม่อยู่ต้อนรับ ไม่อยู่เลี้ยงพระอะไรทั้งนั้น ท่านเศรษฐีมองดู
ลูกชายแล้วก็เห็นว่า มันผ่าเหล่าผ่ากออยู่หน่อย มันผิดประหลาดอยู่เจ้าลูกชายคนนี้ จะทำา
อย่างไรดีให้ลูกชายไปวัดเสียบ้าง ได้ฟงั ธรรมเสียบ้าง
ท่านคิดว่าเด็กๆ มันชอบเงินชอบทอง เลยเรียกลูกมาบอกว่า ลูก ขอให้ลูกไปที่วัด ถ้าไปวัด
แล้วไปพักอยู่ที่วัด ๑-๒ ชัว่ โมง กลับมาพ่อจะให้เงิน เจ้าหนุ่มนั่นก็อยากได้เงิน เอาไปเที่ยว
ไปเตร่ ก็เลยไปที่วัด แต่ว่าไปนอนหรอก ไม่ได้ไปทำาอะไร ไปนอนเสียชั่วโมงสบาย เสร็จ
แล้วกลับมา พ่อให้รางวัล ทำาอย่างนั้นหลายครั้งหลายหน
ทีนี้พ่อเขยิบเลื่อนชั้นลูกชายขึ้นอีกหน่อย บอกว่าไปนอนน่ะมันไม่ได้อะไร ต่อไปนี้ขอให้ไป
ฟังธรรมด้วย ถ้าพระแสดงธรรมแล้วก็ให้ไปนั่งฟังกับเขาด้วยก็แล้วกัน เขาก็ไปนั่งฟัง แต่ว่า
ใจไม่ได้อยู่เสียงพระ ฟุ้งซ่านไปในเรื่องอะไรก็ไม่รู้ เวลากลับมาพ่อลองสัมภาษณ์ดูว่าไปฟัง
เทศน์ได้อะไรบ้าง ไม่ได้เรื่อง เพราะว่าไม่ได้ตั้งจะฟัง พ่อก็ให้รางวัลในฐานะที่ได้ไปฟังแล้ว
ต่อมาก็เลื่อนชั้นขึ้นไปอีก คือบอกว่า ทีนี้น่ะ ไปฟังแล้วจำาเรื่องให้ได้ นำามาเล่าให้พ่อฟัง แล้ว
พ่อจะให้รางวัลขึ้นไปกว่านี้อีก
เจ้าลูกชายก็ชักกระหยิ่มอิ่มใจ เพราะได้รางวัลมากขึ้นมาเป็นลำาดับ วันนั้นก็เลยไปตั้งใจฟัง
เมื่อตั้งใจฟังเข้า พระผู้มีพระภาคเจ้าก็เทศน์ให้ฟัง ฟังแล้วเกิดจับจิตจับใจ ได้ความรู้ได้ความ
เข้าใจ บรรลุธรรมเป็น โสดาบันบุคคลเหมือนกัน พอได้โสดาบันบุคคลแล้ว วันนั้นไม่กลับ
บ้าน นอนวัดเสียเลย นอนทั้งคืน
รุ่งขึ้นเช้า พระผู้มีพระภาคเจ้าจะไปบิณทบาตในบ้านของท่านเศรษฐี เจ้าลูกชายเศรษฐีนั้นตื่น
เช้าเหมือนกัน จัดแจงแต่งตัวเรียบร้อย รับอาสาอุ้มบาตรตามหลังพระพุทธเจ้าเลย ไปบ้านพ่อ
เวลาเดินไปเขานึกอยู่ในใจว่า "อย่าให้พ่อเอ่ยเรื่องเงินเรื่องทองรางวัลเลย" นึกในใจอย่างนั้น
บอกว่าอย่าให้เอ่ยถึงเรื่องนั้น ถ้าไม่เอ่ยแล้วก็จะดี รูส้ ึกว่าน่าละอายที่ได้รับการจ้างให้มาฟัง
ธรรมนี่น่ะ ละอายใจ กลัวพระพุทธเจ้าจะทรงทราบ แต่ความจริงพระองค์ทราบมานานแล้ว
ไม่ต้องบอกก็รู้ได้
แต่ท่านเศรษฐีก็เข้าใจจิตวิทยาเหมือนกัน พอเห็นลูกชายอุ้มบาตรตามหลังมา ไม่พูดอะไรสัก
คำาเดียวในเรื่องเงินรางวัลอะไรต่ออะไร ดีอกดีใจ ยิ้มด้วยนิดหน่อย เสร็จแล้วลูกชายเข้าไป
เอาบาตรถวายพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วนั่งปฏบัติวัตรฐาก เอานำ้าถวาย จัดของถวาย จน
พระพุทธเจ้าฉันเสร็จ พระฉันเสร็จอนุโมทนา เขาก็นั่งฟังอยู่ด้วยความเรียบร้อย พระองค์
เสด็จลุกขึ้น เขาก็อุ้มบาตรไปส่งถึงประตูบ้าน แล้วพระผู้มพี ระภาคเสด็จกลับสำานักที่อยู่ เขา
กลับเข้าบ้าน พ่อก็บอกว่า อือ วันนีพ้ ่อสบายใจเหลือเกิน ตั้งแต่ลูกเกิดมา พ่อไม่เคยสบายใจ
เท่าวันนี้ วันนี้เป็นวันที่พ่อมีความสุข เพราะลูกของพ่อได้เข้าถึงพระเดินตามพระ มีพระ
ประจำาจิตใจ อันเป็นความสุขที่พ่อบอกไม่ถูก อันนี้เศรษฐีพูดออกมาอย่างนี้
เรื่องนี้ก็นับว่าเป็นตัวอย่าง แก่ทั้งผู้เป็นบุตรและบิดามารดา คือบิดามารดานั้นตามปกติรักลูก
เหลือล้น รักจนกระทั่งว่าไม่รู้รักอย่างไร แต่ว่าบางทีรักให้ลูกเสียไปเหมือนกัน ที่ว่าเรารักให้
ลูกเสียนัน้ รักอย่างไร รักเกินไป จนไม่ว่ากล่าวแนะนำาพรำ่าเตือน ให้เกิดความรู้สึกผิดชอบชั่ว
ดี ลูกจะทำาอะไร จะไปไหน ก็ปล่อยตามเรื่องตามราว ไม่มีการชี้แจงเหตุผลให้ลูกเข้าใจใน
เรื่องนั้นๆ อันนี้เรียกว่ารักเกินไปจนกระทั่งว่า ลูกเสียผู้เสียคนไปก็มีแบบหนึ่ง
อีกแบบหนึ่งนั้นน่ะ รักเหมือนกัน แต่ว่าดุด้วย ดุจนเสียคนได้เหมือนกัน เรียกว่าดุเกินไป
เอาแต่ดุท่าเดียว ตวาดแหว ดุด่า กลับมาก็ดุ ว่ากล่าวอย่างนั้นอย่างนี้ด้วยถ้อยคำารุนแรง ลูกไม่
อยากกลับบ้าน เพราะว่ากลับมาทีไร ก็เจอยักษ์ ๒ ตนนั่งอยู่ในบ้าน แล้วยักษ์นั้นก็คือพ่อกับ
แม่นั่นเอง เอาแต่แผดเสียงตวาดอยู่ตลอดเวลา ลูกรำาคาญ มาบ้านไม่ได้ ทีนี้เมื่อมาบ้านไม่ได้
ก็ไปที่อื่น ไปหาคนอื่นซึ่งมีความสุขกว่า พ่อแม่ก็เสียอกเสียใจ ลูกไม่รักเรา ไม่มาหาเรา แต่
ว่าไม่รู้ว่าใครผิดในเรื่องนี้ อันนี้ก็เรียกว่ารักไม่ถูกเหมือนกัน ทำาให้ลูกเสียหายไป
ความรักที่ถูกทางนั้นต้องเปลี่ยนวิถีใหม่ คือว่าต้องรักให้ถูกตามคำาโบราณนั่น ที่เขาพูดว่า "
รักวัวให้ผูก รักลูกให้ตี" คำาว่าตี ไม่ได้หมายความว่าไม้เรียวมาไว้สักโหล กลับมาแล้วเฆี่ยน
เอาๆ ตีอย่างนั้นก็ไม่ได้ ลูกเจ็บเนื้อเปล่าๆ แนะนำาพรำ่าเตือน เอาวาจาอ่อนหวาน สอน เตือน
แนะนำาวันละเล็กละน้อย ค่อยแก้ไปอย่าไปแก้วันเดียว แก้ที่เดียว หรือ ๓ เดือนแก้ทีหนึ่ง
อย่างนี้มันก็ไม่ได้ เรื่องอบเรื่องรมเรื่องดัดนี้ ต้องทำาทุกวัน ทำาบ่อยๆ ก็เหมือนว่าเราดัดไม้ ถ้า
เราดัดทีเดียวไม้ก็หักเท่านั้นเอง ต้องค่อยๆ ดัด ค่อยๆ ลนไฟ ไฟร้อนจัดก็ไม่ได้ ร้อนน้อยก็ไม่
ได้ ต้องรู้ว่าร้อนขนาดไหน แล้วก็ค่อยโน้มเข้ามาทีละน้อยๆ แล้วก็มัดไว้ เมื่อเด็กๆ เคยเห็น
เขาดัดไม้ไผ่ทำาขอบกระด้ง ต้องใช้เวลาค่อยๆ ดัด แต่บางคนใจร้อน ทำาอะไรรวดเร็ว ดัด
เข้าไป หักหมดเลย ทำาขอบกระด้งไม่ได้มันเป็นอย่างนี้
เด็กเรานี่ก็เหมือนกันต้องค่อยฝึกค่อยสอนไปทีละเล็กละน้อย ค่อยๆ บอก อย่างนี้ก็จะดีขึ้น
อย่าเอาคำาหยาบไปพูดให้เด็กตกอกตกใจ อย่าดุอย่าด่า ถ้าเขาไปไหน ทำาอะไรมาไม่ชอบไม่
ควรค่อยพูดค่อยสอนค่อยไต่ถามว่าไปไหนมา ... ไปหาใคร...ไปทำาอะไร...ไปทำาอะไร... เรา
ก็ค่อยพูดชี้แจงทีละเล็กทีละน้อยไม่บังคับ แต่พูดเสนอแนะให้เขาเข้าใจ เขามาได้ความคิดเอง
ในภายหลัง อันนี้เป็นการชอบการควรที่ควรกระทำาต่อเด็กของเรา ซึ่งเป็นหน้าที่ของพ่อแม่
ทีนี้ลูกก็เหมือนกัน เราต้องรู้ถ้าเราเป็นลูก รู้ว่าคนที่รักเราจริงๆ มี ๒ คนเท่านั้น คือคุณพ่อกับ
คุณแม่ คนอื่นรักก็ไม่จริงหรอก เช่นเรามีแฟน เขารักเราก็รักอย่างนั้นแหละ ไม่จริงจังเท่าใด
รักคนละแบบ แต่ว่าพ่อแม่รักเราจริง ทุกข์ร้อนไปพึ่งได้มีอะไรก็เข้าเกาะแข้งเกาะขาท่าน
ท่านไม่ปัดหรอก บางคนแม้จะพูดว่าตัดขาด ไม่เป็นลูกเป็นแม่กันต่อไป ก็ว่าไปอย่างนั้น
แหละ แต่ว่าภายหลังพอลูกเข้าไปหา ก็ใจอ่อนลงไปทันที มันตัดไม่ได้เพราะเราให้กำาเนิดมา
เอง เลี้ยงมาเอง จะตัดได้อย่างไร พ่อแม่เป็นอย่างนั้น
เราผู้เป็นลูกก็ควรจะคิดว่า เออ นำ้าใจพ่อแม่นั้นดีกับเราดีเหลือล้น เราควรจะเอาใจท่านไว้บ้าง
อย่าเอาใจตัวเองเป็นใหญ่จะทำาอะไรก็ต้องคิดต้องตรองให้รอบคอบ คือต้องคิดว่าเจ้าพระคุณ
ทั้ง ๒ นี้ท่านจะว่าอย่างไร ท่านจะพอใจหรือว่าท่านจะไม่พอใจ ถ้าทำาอะไรพอใจเรา แต่ไม่
เป็นที่พอใจของบิดามารดา เราจะอยู่อย่างไร เราก็กลายเป็นลูกที่เรียกเอาแต่ใจตัว ไม่คิดถึง
พ่อแม่ที่เลี้ยงเรามา ท่านก็จะน้อยเนื้อตำ่าใจ จะเศร้าโศกเสียใจ เสียใจว่า แหม อุตสาห์เลี้ยงดูมา
ให้การศึกษาเล่าเรียน จ่ายเงินจ่ายทองไปเยอะแยะ แต่ว่าเมื่อสำาเร็จ ปีกกล้าขาแข็งแล้ว เขาไม่
เหลียวแลเราเลย เขาเป็นเหมือนกับตัวผีเสื้อ พอบินได้แล้วก็บินไปเลย ไปกลับมาอีกต่อไป
อันนีพ้ ่อแม่โทมนัสน้อยใจ ทำาให้ท่านเป็นทุกข์ถ้าเราเป็นบุตรเป็นธิดา ทำาให้พ่อแม่เป็นทุกข์
ต้องร้องให้ร้องห่มก็ไม่ดี เรียกว่าสร้างขุมนรกไว้ในอกของมารดาบิดา เป็นการไม่ชอบไม่
ควร เราผู้เป็นบุตรจะต้องสร้างวิมานน้อย ๆ ไว้ในใจของพ่อแม่ ให้ท่านเป็นสุข แม้เราจะเป็น
ทุกข์จะเดือนร้อนก็ไม่เป็นไรแต่ขอให้ เจ้าพระคุณทั้ง ๒ นั้นมีความสุขมีความสบาย ถ้าใคร
ทำาได้อย่างนี้ก็เรียกว่าทำาดีทำาชอบ
ในครอบครัวถ้าหากว่าได้มีการประพฤติธรรม พ่อประพฤติธรรม แม่ประพฤติธรรม ลูกก็
ประพฤติธรรม ถ้าคนใช้ที่เราจ้างมาทำางานทำาการ เราก็สอนให้เขาประพฤติธรรมะให้
ประพฤติดีประพฤติชอบด้วย บ้านนั้นก็จะกลายเป็นบ้านของธรรมะไป ทุกคนในบ้านนั้นก็
จะมีความสุข ความสงบไม่มีความยุ่งยากลำาบากเดือนร้อน
ครอบครัวในสมัยก่อน เช่น ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ครอบครัวของนางวิสาขา ครอบครัว
ของอุบาสก มีมาก ซึ่งปรากฏในคัมภีร์หลายด้านด้วยกัน ล้วนแต่เป็นตัวอย่างของครอบครัว
นั้นๆ ทั้งนั้น อยู่ในศีลธรรมทั้งนั้น จึงมีความสุขความเจริญ
อันนี้เป็นเรื่องที่มีความสำาคัญอยู่ประการหนึ่ง

จึงใคร่จะขอฝากญาติโยมทั้งหลายไว้ว่า...
เราควรจะได้เข้าหาธรรมะ ความจริงก็ได้ประพฤติกันอยู่แล้วในทางนั้นๆ แต่ว่ายังไม่เข้าใจ
ชัดเจน พูดยำ้าให้ฟังอีกทีหนึ่ง คนใดประพฤติแล้ว จะได้ภูมิใจอิ่มใจ อิ่มใจว่าเราได้เดินทาง
ถูก เราประพฤติตามคำาสอนของพระ เราจึงมีความเจริญความก้าวหน้าอยู่
ถ้าบังเอิญครอบครัวของผู้ใดกำาลังมีความทุกข์อยู่ก็จะได้รู้ว่า ความทุกข์ความเดือดร้อน
ลำาบากต่างๆ ในครอบครัวนี้นะ มันไม่ใช่เรื่องอะไร แต่เป็นเรื่องที่เราทำาไม่ถูก เราต้องแก้ไข
เสียใหม่ เราต้องปรับปรุงใหม่ ต้องหันหน้าเข้าหาธรรมะ ปรับปรุงชีวิตให้ดีงามเรียบร้อยต่อ
ไป ก็เป็นเรื่องเรียบร้อย นี้ประการหนึ่ง เป็นการปฏิบัติในขั้นทีเรียกว่า ศีลธรรม อันเป็นการ
ปฏิบัติเบื้องต้น ซึ่งเป็นของจำาเป็นสำาหรับทุกคน

เมื่อได้ปฏิบัติในขั้นนี้แล้ว ก็ยังไม่พอ เราจะต้องก้าวหน้าต่อไป เพราะว่าความทุกข์ความ


เดือดร้อนที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำาวันนั้น แก้ได้ด้วยหลักศีลธรรมเพียงเล็กน้อย ขั้นพื้นฐาน
ตื้นๆ เท่านั้นเอง แต่ความทุกข์ความเดือดร้อนชั้นลึกๆ ยังมีอยู่ยังแก้ไม่ได้ ต้องใช้หลักธรรมะ
ชนิดสูงที่ประณีตขึ้นไปกว่านั้น สิ่งนั้นคือหลักธรรมะที่เรียกว่า "สัจจธรรม"
ในทางศาสนามีหลักคำาสอนชั้นสูงชนิดที่เรียกว่า สัจจธรรม
สัจจธรรม นี้เป็นคำาสอนที่ปรากฏอยู่ในที่ทั่วๆ ไปไม่มีใครบัญญัติแต่งตั้งหรอก แต่ว่ามีผู้คน
พบ เช่นในทางพระพุทธศาสนานี้ พระผู้มีพระภาคผู้บรมครูของชาวเราทั้งหลาย ได้ทรงค้น
พบด้วยพระองค์เอง เปิดเผย ทำาให้ตื้น แจกจ่ายให้แก่คนทั่วไป เราจึงได้รู้ว่าอะไรเป็นอะไร
ถูกต้องตามความเป็นจริง และได้นำาหลักธรรมะเหล่านั้นมาเป็นแนวปฏิบัติ ขูดเกลาจิตใจ
ของเราให้สะอาด สงบ สว่าง ตามควรแก่ฐานะ เรื่องของสัจจธรรมนี้จึงเป็นเรื่องที่ลึกซึ้ง มีอยู่
ในที่ทุกหนทุกแห่ง ถ้าเราตั้งใจดู ตั้งใจฟัง ตั้งใจคิด เราก็จะได้พบสิ่งนั้นเหมือนกัน มันมีอยู่ที่
เราจะพบได้ แล้วเมื่อเราได้พบแล้ว เราก็นำามาเป็นหลักสำาหรับพิจารณาแก้ไขปัญหาต่างๆ
จะยกตัวอย่างให้เห็นง่ายๆ เช่นว่าญาติโยมบางคนก็มีความประพฤติดีประพฤติชอบอยู่ แต่ว่า
ยังมีความทุกข์ในใจ ทุกข์ด้วยเรื่องอะไร ... ด้วยเรื่องของธรรมดา เช่น ทุกข์เพราะพลัดพราก
จากของรักของชอบใจ มีลูกตายจากไปเราก็เสียใจ มีทรัพย์ถูกขโมยไปเราก็เสียใจ บางครั้ง
บางคราวตัวเราเอง มีความเจ็บไข้ได้ป่วยด้วยโรคภัยไข้เจ็บ อันเป็นเรื่องธรรมชาติ มนุษย์เกิด
มาแล้วก็ต้องมีเรื่องอย่างนี้ ก็นอนเป็นทุกข์ตรมตรองใจด้วยประการต่างๆ มีหลานบางทีก็
เป็นทุกข์เพราะหลาน เช่นมีหลานเลี้ยงอยู่ก็สบายใจพอเขาเอาหลานไปก็เป็นทุกข์กลุ้มอก
กลุ้มใจ ต่อไปไม่มีหลานจะเลี้ยงแล้ว
ทำาไมจึงเป็นอย่างนั้น ทุกข์เรื่องนี้มันเกิดจากอะไร ก็เพราะไม่เข้าใจในสัจจธรรมอันเป็นหลัก
ความจริงของโลก เป็นหลักความจริงของชีวิต เราไม่ได้คิดถึงความจริงทั้งหลายเหล่านั้นให้
เข้าใจชัดเจน เลยไปเกิดความยึดถือขึ้น ความยึดถือนี้เป็นสิ่งที่สร้างความทุกข์ให้เกิดขึ้นในใจ
ของเรา ยึดถือว่าเป็นลูกของฉัน หลานของฉัน เงินของฉัน ทองของฉัน อันนั้นอันนี้เป็นของ
ฉันไปทั้งนั้น นึกอย่างนี้เขาเรียกว่านึกผิดไปจากความจริง
ความจริงนั้นมันเป็นอย่างไร "ความจริงสิ่งทั้งหลายนี้ไม่ใช่ของใคร"
พระผู้มพี ระภาคได้ตรัสไว้ใน ในธรรมะบทหนึ่งว่า
คนเราคิดว่าสิ่งนั้นเป็นของตนสิ่งนี้เป็นของตน เช่นคิดว่าทรัพย์มีอยู่ ของนั้นมีอยู่ การคิดเช่น
นี้ไม่ถูกต้อง เพราะว่าตนของตนก็ยังไม่มี แล้วจะเอาสิ่งนั้นมาจากไหน
คำาบาลีว่า
"ปุตตา นัตถิ ธะนะนัตถิ อิติ พาโล วิหัญญะติอัตตาหิกุโต ปุตตากุโต ธะนัง
ท่านว่าอย่างนั้น แปลว่า
คนเขลาคิดว่าบุตรของฉัน ทรัพย์ของฉัน
แล้วก็เข้าใจว่าสิ่งนั้นเป็นของตัวตลอดไป
เนื้อแท้ตัวของตัวก็ยังไม่มี
แล้วสิ่งนั้นมันจะมีได้อย่างไร"
อันนีม้ ันลึกซึ้ง ถ้าฟังเผินๆ ก็อาจจะมองไม่เห็น เราต้องคิด เพื่อให้เห็นจริง ว่ามันไม่มีอย่างไร
มันไม่เป็นของเราอย่างไร ต้องหมั่นคิดนึกตรึกตรองในปัญหาเหล่านี้ หลักที่เราจะนำามาคิดก็
มีอยู่ ๓ หลัก อันเป็นหลักธรรมดาธรรมชาติที่มีอยู่ตลอดเวลา คือ
๑. ความไม่เที่ยงหลักหนึ่ง
๒. ความเป็นทุกข์หลักหนึ่ง
๓. ความเป็นอนัตตา คือที่ไม่ใช่ของตัวที่แท้จริงนี้อีกหลักหนึ่ง
ถ้าเราหมั่นเอาความคิดเหล่านี้มาคิดบ่อยๆ ก็จะมองเห็นชัดเจนขึ้น คือเห็นว่ามันไม่เที่ยงจริง
มันมีความทุกข์เพราะเข้าไปยึดถือจริง มันไม่มีตัวตนที่แท้จริง มีแต่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และก็ไหล
ไปชั่วขณะหนึ่งๆ ตามเรื่องตามราวของมันเท่านั้นเอง ไม่มีอะไรที่เรียกว่าเป็นตัวตนที่แท้จริง
ถาวร อันควรจะเข้าไปจับไปเกาะว่าเป็นตัวเราเป็นของเราขึ้นมา อันนี้เป็นเรื่องที่ต้องคิดนึก
ตรึกตรองบ่อยๆ พิจารณาบ่อยๆ เห็นอะไรข้างนอก เราก็เอามาพิจารณาเป็นเครื่องเตือนใจได้
สมมติว่าเราเล่นดอกไม้ เราปลูกกุหลาบไว้กระถางหนึ่งที่หน้าบ้าน กุหลาบมันก็ออกดอก
เวลามันจะออกดอกนะ มันจะออกอย่างไร ถ้าหมั่นไปดูเช้าๆ เพื่อดูว่าหนอนมันจะมารังแก
หรือเปล่า เราไปใส่ปุ๋ยรดนำ้าให้มัน เราก็จะเห็นว่ามีดอกเล็กๆ เป็นดอกตูมออกมานิดเดียว
ดอกตูมนั้นค่อยโตขึ้น พอโตขึ้นมาแล้วมันก็แย้มออกมาหน่อยหนึ่ง แล้วต่อมามันก็บานออก
เป็นดอกสวย เราก็ชมว่า แหม ดอกใหญ่ดี สวยงาม สีก็งาม กลิ่นก็หอม เราก็ชอบใจ เราก็
เพลิดเพลินอยู่กับดอกกุหลาบนั้น เราไม่ได้คิดว่าดอกกุหลาบนี้มันจะเป็นอะไรต่อไป
ถ้าดูต่อไปอีกหน่อย ดูต่อไป บางทีวันเดียวเท่านั้นแหละดอกกุหลาบนั้นกลีบนอกชักจะเหี่ยว
มันเหี่ยวที่ริมน้อยๆ ก่อน สี่ไปก่อนต่อไปก็เหี่ยวทั้งกลีบ ไม่เท่าใดกลีบนั้นก็ร่วงหล่นลงไป
ในกระถางต่อไปกลีบอื่นก็หล่นลงไป ผลที่สุดก็เหลือแต่ก้าน ดอกกุหลาบนั้นหายไปแล้ว
และเมื่อหล่นลงไปในกระถางหรือที่ดินแล้ว มันก็จมดินหายไป ดอกกุหลาบที่เราเข้าไป
ยึดถือว่าสวยงาม กลิ่นหอมน่ารักนั้น มันหายไปไหน มันก็หายไปตามเรื่องของมัน เพราะว่า
มันเกิดขึ้นจากการปรุงแต่งมันก็หายไปตามเรื่องของมันอีก คือว่าเครื่องปรุงแต่งหมดมันก็
หายไปไม่มีอะไรที่เป็นตัวจริงของดอกกุหลาบนั้น
ถ้าเราเพ่งมองอย่างนี้เราก็จะเกิดปัญญาขึ้นมาได้ว่า อ้อร่างกายเราก็เหมือนกับดอกไม้ เราเกิด
มาเป็นเด็กๆ น้อยๆ แล้วค่อยเจริญเติบโตขึ้นโดยลำาดับ ผู้หลักผู้ใหญ่ชอบอกชอบใจ พอเห็น
หลานยิ้มก็ชอบใจ หลานกินได้ก็ชอบใจ ชอบใจไปก่อนแต่พอหลานป่วยหรือเป็นอะไรไป
บ้าง ญาติโยมที่มีลูกมีหลานก็รู้เอง ไม่ต้องบอกก็ได้ พอหลานป่วยนี่วุ่นกันไปทั้งบ้าน แล้วใจ
ก็ไม่สบาย คุณยายก็เป็นทุกข์ คุณตาก็เป็นทุกข์ แม่ก็เป็นทุกข์ คนใช้ก็พลอยเป็นทุกข์ไปกับ
เขาด้วย เพราะต้องวิ่งว่อนเที่ยวเรียกหมอมารักษา ไม่เป็นอันหลับอันนอนกันละ เรื่องหลาน
ไม่สบายนั้นเป็นทุกข์ขึ้นมาแล้ว มันเป็นอย่างนี้
ความทุกข์อย่างนี้จะเกิดขึ้นแก่ใครเมื่อใดก็ได้ ในเมื่อสิ่งนั้นเปลี่ยนสภาพไป แต่ถ้าเรา เข้า
ใจกฏความจริงไว้ว่า อ้อ สิ่งทั้งหลายเปลี่ยนได้ สิ่งทั้งหลายไม่มีความมั่นคงถาวร เราจะไปตู่
เอาว่าจงเป็นอย่างนั้นจงเป็นอย่างนี้ มันจะเป็นตามใจเราได้ที่ไหน เพราะสิ่งทั้งหลายไม่อยู่ใน
อำานาจของใคร มันต้องไปตามเรื่องของมัน มันก็ต้องเปลี่ยนแปลงไปอย่างนั้น
ถ้าเรามีธรรมะเป็นหลักคุ้มครองจิตใจเราก็พอคิดได้ เช่นว่าหลานป่วย เราก็คิดว่าเป็นเรื่อง
ธรรมดา เราไม่ต้องเป็นทุกข์เรื่องความป่วย หน้าที่ของเราจะทำาอย่างไร เราก็ต้องเอาหลาน
ไปหาหมอ ไปโดยเร็ว ไปให้หมอรักษา เวลาอุ้มหลานไปหาหมอ อย่าอุ้มไปด้วยความทุกข์
ถ้าอุ้มไปด้วยความทุกข์ก็เหมือนกับอุ้มกองไฟไป เราก็เป็นทุกข์ไปตลอดทาง หมอตรวจแล้ว
เขาก็ให้ยารักษา มันไม่ใช่อย่างนั้น มันต้องรอเวลา กินยาเข้าไปแล้วต้องรออีกสักวันสองวัน
ความไข้มันก็จะค่อยเบาบางไปเอง ค่อยฟื้นขึ้น เราอย่าใจร้อน อย่าด่วนจะให้หายเร็วๆ แต่เรา
ต้องรูว้ ่ามี เกิด แล้วมันต้องมี ดับ เมื่อเป็น แล้วมันก็ หายได้ แต่ว่าสิ่งนี้ขึ้นอยู่กับเวลา เราต้อง
นั่งดูด้วยความอดทนด้วยใจเย็นหลานป่วย ยายก็ไม่ต้องไปป่วยกับหลาน ลูกป่วยแม่ก็ไม่ต้อง
ไป ป่วยกับลูกด้วย ทีนี้ถ้าเราไม่เข้าใจธรรมะ ป่วยหมด ลูกป่วย แม่ป่วย พ่อป่วย ป่วยหมดทุก
คน ลูกป่วยทางกาย พ่อแม่ป่วยทางจิตใจ นั่งเป็นทุกข์กระสับกระส่าย คนใช้ในบ้านก็พลอย
รับทุกข์เพราะว่าแม่บ้านพ่อบ้านดุเอาด้วย นี่มันไปกันใหญ่
ความทุกข์มันเต็มบ้านอย่างนี้นะ เพราะไม่ได้ใช้ธรรมะเป็นหลักพิจารณา
ถ้าได้ใช้ธรรมะเป็นหลักพิจารณาก็สบายใจไม่ต้องเป็นทุกข์ในเรื่อ งนั้นมากเกินไป ถึงบทตัว
เราป่วยเองบ้างญาติโยมป่วยเองนะทีนี้ ถ้าป่วยเองขอให้มันป่วยแต่กาย อย่าให้ใจป่วยเข้าไป
ด้วย ร่างกายเจ็บปวด แต่อย่าให้ใจเข้าไปเจ็บปวด เราต้องรู้จักแยกความรู้สึกนั้นออกจากกัน
ได้พอสมควร ก็จะมีความสบายตามควรแก่ฐานะ
เคยไปที่โรงพยาบาลศิริราช ไปที่ตึกเกี่ยวกับการผ่าตัดพวกคนสันหลังหัก แข้งขาหัก อะไร
จำาพวกนั้นแหละ เกี่ยวกับพวกกระดูก ผู้ป่วยบางคนนอนตะแคง บางคนนอนควำ่า ถามว่า
นอนควำ่ามากี่เดือนแล้ว เขาตอบว่านอนควำ่ามา ๓ เดือนแล้ว นึกในใจว่า โอ มันแสนทรมาน
แต่ว่าเปล่า คนไข้เหล่านั้นเขาคุยกัน เขาหัวเราะกัน จากเตียงนี้ข้ามไปเตียงโน้น จากเตียงโน้น
ข้ามไปเตียงนั้น เอะอะโวยวายตามเรื่องตามราวของเขา เขาไม่ได้เป็นทุกข์ที่ต้องนอนมาตั้ง
๓ เดือน หรือว่าเดินไม่ได้หรือว่าทำาอะไรไม่ได้ เขาไม่เป็นทุกข์แล้ว เขาสนุกกัน คุยกัน
โวยวายกันไปตามเรื่อง บางคนก็เปิดวิทยุฟังเพลง ฟังลิเกคณะหอมหวลอะไร เพลินกันไป
ตามเรื่อง ดูๆ แล้วนึกว่า อ้อ เขาไม่ทุกข์แล้ว ที่ไม่ทุกข์แล้วนั่นเพราะอะไร คงจะเกิดธรรมะ
ขึ้นในใจอย่างหนึ่งเป็นอย่างน้อยแม้ว่าจะไม่ได้ศึกษาธรรมะ แต่ว่ามันเกิดขึ้นในใจแล้ว
ธรรมข้อนั้นเกิดขึ้นว่าอย่างไร...คงเกิดขึ้นว่า ไม่ใช่ฉันคนเดียวที่ป่วยแต่ว่ามีคนอื่นมาป่วยอยู่
อีกหลายสิบคน แล้วฉันจะมาเป็นทุกข์เรื่องอะไร เมื่อคนอื่นเขาไม่ได้ทุกข์มากมาย เขา
หัวเราะหัวไห้ก็เลยพลอยหัวเราะไปกับเขาด้วย อันนี้มันเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เพราะว่าอยู่
กันเป็นหมู่เป็นคณะ หมู่ทำาอะไรก็ทำาไปอย่างนั้นตามเรื่องตามราว ความเจ็บป่วยก็บรรเทา
ที่ไปคราวนั้น ไปเยี่ยมคนหนึ่งแกป่วยขาขาด คือว่ารถทับขาขาดเลย เลยถามว่า เป็นอย่างไร
ขาขาดนี่รู้สึกอย่างไร
แกบอกว่า มาแรกๆ นี่เป็นทุกข์เต็มที ไม่สบายใจเลย ๓ วัน
"วันที่สี่เป็นอย่างไร"
"ค่อยสบาย"
ถามว่า "สบายเพราะอะไร"
"เพราะนึกได้ว่ามันไม่ได้เป็นแต่ผมคนเดียว" ว่าอย่างนั้น
คนอื่นเขาก็เป็นกันหลายคน แล้วก็เปิดประตูดูคนที่นอนอยู่ข้างนอกก็ไม่เห็นเขานอนเป็น
ทุกข์สักคนเดียว เขามีความพอใจในสภาพที่เป็นอยู่ แล้วหัวเราะกัน คุยกันเล่านิทานกัน ก็เลย
พลอยไม่เป็นทุกข์ไปกับพวกนั้นด้วย
อันนี้เป็นเรื่องที่เป็นไปได้ คือหมดทุกข์ไปก็เพราะเกิดความรู้สึกตัวว่า อ้อ ธรรมดาคนเราเกิด
มาแล้วก็ต้องเป็นอย่างนั้น ด้วยกันทั้งนั้น เป็นเรื่องหนีไม่พ้น ก็นึกได้ เมื่อนึกได้มันก็หมด
เรื่องไป เรื่องอื่นๆ ก็เหมือนกัน สมมติว่าเราอยู่กัน สามีภรรยาอยู่ด้วยกัน ทีนี้ตายจากไปคน
หนึ่ง ภรรยาตายไป สามีก็นั่งเป็นทุกข์เหงาใจว่าเหงาเต็มทีอยู่คนเดียว หรือว่าสามีตาย ภรรยา
ก็เป็นทุกข์เหงาจิตเหงาใจว่าอยู่คนเดียว นี่เป็นเพราะไม่ได้คิดถึงกฎธรรมดา
ถ้าคิดถึงกฎธรรมดาว่าก่อนนี้เราก็อยู่คนเดียว เราไม่มีเพื่อนสองอย่างนี้ แต่ต่อมาชีวิตมันก็
เปลี่ยนฉากไปตามเรื่องนึกดูว่าฉากละครชีวิตที่เราแสดงมาเป็นอย่างไร นึกถึงภาพเด็กน้อยๆ
ที่นอนอยู่ในเบาะ เด็กที่รู้จักคลาน รูจักเดินเตาะแตะไปโรงเรียนได้ เป็นหนุ่มเป็นสาว
แต่งงานมีลูกมีหลาน หรืออาจจะไม่มีก็ได้ แล้วก็อยู่มาจนป่านนี้ อ้อ มันเปลี่ยนมาเรื่อยๆ ชีวิต
นี่เปลี่ยนมาโดยลำาดับ

คนเราที่เกิดมาแล้วต้องจากกันทั้งนั้น ต้องตายทั้งนั้น เมื่อก่อนนี้เรามีพ่อแม่ มีคุณปู่ คุณตา


คุณย่า คุณยาย เดี๋ยวนี้ปู่เราไปไหนแล้ว ทวดเราไปไหนแล้ว ย่าเราไปไหน ยายเราไปไหน ถ้า
คิดดู อ้อ ท่านไปแล้ว ไปก่อนแล้ว ปู่ทวดไปก่อน แล้วปู่ตาไป ย่ายายไป พ่อแม่เราก็ไป สามี
เราก็ไป ภรรยาเราก็ไปกันโดยลำาดับ คนอื่นเขาไปกันแล้ว วันหนึง่ เราก็ต้องไป แต่เวลานี้ยัง
ไม่ไป เพราะร่างกายมันยังมีปัจจัยเครื่องปรุงเครื่องแต่งอยู่ ยังพออยู่ในโลกมนุษย์ไปได้
แล้วเราจะอยู่ด้วยความทุกข์ดี หรือว่าจะอยู่ด้วยความสุขใจความเบาใจดี ถามตัวเองอย่างนี้ ก็
คงจะตอบตัวเองได้ว่าอยู่ด้วยความเบาใจสบายใจดีกว่า ทำาอย่างไรจึงจะสบายใจ ทำาอย่างไร
จึงจะเบาใจ จะนึกจะคิดอย่างไรใจจะสบาย ต้องถามตัวเองต่อไป ก็รู้ได้ว่าถ้าเราคิดอย่างนั้น
เราเป็นทุกข์ ความคิดที่ทำาให้เกิดทุกข์นนั่ คิดไปทำาไม หน้าต่างบานไหนเปิดแล้วมันมีแต่กอง
ขยะมูลฝอย เราจะไปเปิดบานนั้นทำาไม เอาไม้ตีปิดเสียเลยอย่าให้มันเปิดได้ แต่บานไหนเปิด
ไป เห็นสนามหญ้าสวยมีดอกไม้งามๆ เราก็เปิดบานนั้น เปิดไปก็เห็นสีเขียวสดชื่น สบายใจ
ฉันใด
ความคิดของเรานี้เหมือนกัน ถ้าเราคิดเรื่องใดกลุ้มใจเราควรจะหยุดคิดจากเรื่องนั้น แต่
ว่าการหยุดคิดไม่ใช่เรื่องง่ายเหมือนกัน ต้องค่อยทำาค่อยไป ค่อยคิดปัญหาเหล่านี้ ต้องค่อย
สอนตัวเอง ค่อยบอกตัวเองไว้ตลอดเวลา อย่าให้เกิดความร้อนอกร้อนใจที่มีความทุกข์มาก
เกินไปจากปัญหาเหล่านั้น ไม่กี่วันก็พ้นจากความทุกข์ความเดือดร้อนได้ ไม่ต้องตรมตรอม
ใจมากเกินไป เพราะได้ธรรมะคือได้รู้ว่าอะไรเป็นอะไรถูกต้องตามความเป็นจริง อันนี้เรียก
ว่าช่วยแก้ได้ ธรรมช่วยแก้ปัญหาได้ในชีวิตประจำาวัน

ทั้งนี้เราได้ศึกษาสัจธรรม อันเป็นคำาสอนชั้นสูงในทางศาสนา มองเห็นสิ่งทั้งหลายทั้งปวง


ว่ามีการเกิดขึ้น มีการเปลี่ยนแปลงไป แล้ว ผลที่สุดก็แตกดับด้วยกันทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นคน
หรือเป็นสัตว์ เป็นต้นไม้ แม้โลกของเรานี้ วันหนึ่งมันอาจจะแตกไปก็ได้ แต่ว่ามันจะแตก
เมื่อไหร่ก็ไม่รู้ ไม่ต้องไปนั่งกลัวว่าโลกมันจะแตก หรือไม่ต้องกลัวว่าดาวพระอังคารมาชน
โลกแหลกลาญไป ไม่ต้องหวาดกลัวถึงขนาดนั้น
เหมือนกับพวกที่เชื่อโหรเมื่อ ๓ ปีก่อนโน้น เขาเชื่อกันว่าอย่างไร แล้วก็ตกใจกัน ไม่กล้าอยู่
ในบ้านในช่อง หอบลูกหลานไปนั่งกันอยู่ในสนามหญ้า เพราะกลัวว่ามีเหตุเกิดขึ้นในโลก
กลัวจนไม่สบาย ไปนั่งอยู่ในสนามมันก็ยังเป็นทุกข์อยู่นั่นเองแต่เมื่อเราคิดได้ว่าถ้ามันมีจริง
ไม่ใช่เราคนเดียวที่ต้องรับสิ่งนี้ หลายคนร่วมรับกับมัน เป็นธรรมดา ธรรมชาติลงโทษมนุษย์
ที่ทำาบาปมานานแล้ว ให้รู้สึกตัวเสียบ้าง เราก็ยินดีจะรับสิ่งนั้นด้วยหน้าชื่นตาบาน มันก็ไม่มี
เรื่องอะไร ไม่มีความทุกข์ความเดือดร้อน แต่ถ้าคิดปฏิเสธหนีเรื่อยไป มันก็ทุกข์เรื่อยไป อัน
นี้เป็นข้อคิดที่น่าคิดอยู่เหมือนกัน

จึงนำามาพูดฝากญาติโยมทั้งหลายที่ได้มาประชุมกันในวันนี้เพื่อฟังธรรมะ จะได้รู้ว่า ชีวิต


ของเรานี้จะต้องใช้ธรรมะอย่างไร และควรจะปฏิบัติอย่างไร เพื่อแก้ไขสถานการณ์อันเกิด
ขึ้นกับวิถีชิวิตในวันหนึ่งๆ เราก็จะอยู่ได้โดยปลอดภัยมีความสบายอกสบายใจตลอดเวลา

ดังที่กล่าวมาเพื่อเป็นเครื่องเตือนใจญาติโยมทั้งหลาย ขณะนี้ก็สมควรแก่เวลา ขอยุติไว้แต่


เพียงเท่านี้

You might also like