You are on page 1of 16

บ ท ที่ ๒ ...

กำเนิดและวิวัฒนาการของความหวังในพันธสัญญาเดิม


คริสตชนเป็นบุคคลที่มีความหวัง โดยแท้จริงแล้ว ไม่ใช่คริสตชนเท่านั้น เพราะความหวังเป็น
ลักษณะทั่วไปของประสบการณ์มนุษย์ สิ่งที่ทำให้คริสตชนแตกต่างจากผู้อื่น ก็คือ เขามีความหวังแบบ
พิเศษไม่เหมือนใคร และมีเหตุผลเฉพาะเจาะจงเพื่อมีความหวัง จุดมุ่งหมายของความหวังคริสตชน
ที่กล่าวไว้ในพระคัมภีร์ คือ พระอาณาจักรของพระเจ้า เหตุผลที่คริสตชนมีความหวังก็คือสิ่งที่พระเจ้า
ทรงกระทำในพระเยซูเจ้าชาวนาซาเร็ธเพื่อความรอดพ้นของมวลมนุษย์ ความจริงนี้เป็นแก่นแท้ของ
ความเชื่อคริสตชน นักเทววิทยาพยายามอธิบายทัศนะความหวังของคริสตชนสำหรับอนาคตของโลก
จากแก่นแท้นี้
เราจะเข้าใจธรรมชาติความหวังของคริสตชนได้อย่างเต็มเปี่ยม ถ้าเราเข้าใจกำเนิดและ
วิวัฒนาการความหวังของคริสตชนในพันธสัญญาเดิม คริสตชนมีความหวังเพราะรู้สิ่งที่พระเจ้าทรง
กระทำในพระเยซูเจ้า แต่เพื่อจะเข้าใจพระคริสตเจ้าอย่างถ่องแท้ เราต้องเข้าใจธรรมประเพณีตลอด
ประวัติศาสตร์ของอิสราเอลที่บันทึกไว้ในพันธสัญญาเดิม เพราะพระเยซูเจ้าทรงพระชนมชีพในธรรม
ประเพณีดังกล่าว

18
อ นั น ต วิ ท ย า
บ ท ที่ ๒ ... กำเนิดและวิวัฒนาการของความหวังในพันธสัญญาเดิม

อนันตวิทยา (Eschatology) เป็นวิชาที่ศึกษาความหวัง และการรอคอยเหตุการณ์สุดท้าย


ของมนุษยชาติ ในแง่นี้ เราจะพบว่าความหวังและการรอคอยนี้เป็นเรื่องที่มีกำเนิดในพันธสัญญาเดิม
เราจึงพิจารณาเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ของชาวอิสราเอล ชึ่งแสดงออกอย่างชัดเจนเกี่ยวกับความ
หวังและการรอคอย
ศาสนาในพันธสัญญาเดิมเป็นศาสนาที่มีความสัมพันธ์กับประวัติศาสตร์เช่นเดียวกับพันธ-
สัญญาใหม่ กล่าวคือ เป็นศาสนาที่ขึ้นอยู่กับความจริงที่ว่า พระเจ้าทรงเปิดเผยพระองค์และแผนการ
ของพระองค์แก่บุคคลบางคนในเวลาและสภาพแวดล้อมที่เจาะจง พระองค์ทรงเข้าแทรกแซงในช่วง
เวลาเฉพาะของประวัติศาสตร์มนุษยชาติ
บทแรกๆ ในหนังสือปฐมกาล ชาวอิสราเอลพบทั้งคำตอบของปัญหาต่างๆ ที่มนุษย์ทุกคน
ถามตนเองเกี่ยวกับความหมายของโลกและชีวิต ความหมายของความทุกข์และความตาย และยังพบ
คำตอบของปัญหาเฉพาะของตนในฐานะที่เป็นชาวอิสราเอลว่า ทำไมพระยาห์เวห์ผู้เป็นพระเจ้าเพียง
พระองค์เดียวจึงเป็นพระเจ้าของอิสราเอล ทำไมในบรรดาชนชาติทง้ั หลายในโลก ชาวอิสราเอลเท่านัน้
เป็นประชากรของพระองค์ คำตอบก็คือ ชาวอิสราเอลได้รับพระสัญญาจากพระเจ้า
พระสั ญ ญาที่ พ ระเจ้ า ประทานแก่ อาดั ม และเอวาหลั ง จากที่ ทั้ ง สองคนตกในบาปแล้ ว
นับว่าเป็น “ข่าวดี” แรกเรื่องความรอดพ้นที่พระเจ้าจะประทานในอนาคต (Proto-evangelium)
พระยาห์เวห์ตรัสกับงูว่า “เราจะทำให้เจ้าและหญิงเป็นศัตรูกัน ให้ลูกหลานของเจ้าและลูกหลานของ
นางเป็นศัตรูกันด้วย เขาจะเหยียบหัวของเจ้า และเจ้าจะกัดส้นเท้าของเขา” (ปฐก 3:15)
เราจะพิจารณาเรื่องราวในพันธสัญญาเดิมเป็น 3 ขั้นตอน เพื่อเข้าใจแนวความคิดและ
วิวัฒนาการทางความคิดเรื่องอนันตกาลในพันธสัญญาเดิมนั้น ดังนี้
1) พระสัญญาในสมัยโบราณ (THE ANCIENT PROMISES) ที่เป็นจุดเริ่มต้นประวัติ-
ศาสตร์ของชาวอิสราเอล
2) คำสอนของบรรดาประกาศก (PROPHETIC LITERATURE)
3) วรรณกรรมประเภทวิวรณ์ (APOCALYPTIC)

19
อ นั น ต วิ ท ย า
บ ท ที่ ๒ ... กำเนิดและวิวัฒนาการของความหวังในพันธสัญญาเดิม

1. พระสัญญาในสมัยโบราณ (THE ANCIENT PROMISES)


ชาวอิสราเอลโบราณมีความสำนึกว่า ประวัติศาสตร์ของเขานั้นมีความสัมพันธ์กับพระเจ้า
อยู่เสมอ ในอดีตพระองค์ตรัสและทรงสัญญากับเขา ทำให้เขาเข้าใจว่าประวัติศาสตร์ของเขาจะต้อง
เป็นประวัติศาสตร์แห่งความรอดพ้น เราจะพิจารณาความเชื่อของเขา ซึ่งแสดงออกจากพระคัมภีร์
บางตอน
“ท่ า นจะต้ อ งตอบบุ ต รของท่ า นว่ า “เราเคยเป็ น ทาสของพระเจ้ า ฟาโรห์ อ ยู่ ใ น
ประเทศอียิปต์ พระยาห์เวห์ทรงใช้พระหัตถ์ทรงฤทธิ์นำเราออกจากประเทศอียิปต์
เราเห็ น กั บ ตาว่ า พระยาห์ เ วห์ ท รงกระทำเครื่ อ งหมายอั ศ จรรย์ แ ละปาฏิ ห าริ ย์
อันยิ่งใหญ่ และน่ากลัวกับชาวอียิปต์กับพระเจ้าฟาโรห์และบรรดาข้าราชบริพาร
พระยาห์เวห์ทรงช่วยเราให้ออกจากที่นั่น ทรงนำเรามาในแผ่นดินที่ทรงสาบานไว้
กับบรรพบุรุษของเราว่าจะประทานให้เรา” (ฉธบ 6:21-23)
ในข้อความนี้ ชาวอิสราเอลแสดงความเชื่อในรูปแบบเป็นคำสั่งให้สอนความจริงที่เขาเชื่อ
แก่ลูกหลานสืบต่อไป คำสอนนี้เป็นการเล่าเหตุการณ์ในอดีตที่เกิดขึ้นเพราะพระเจ้าทรงสัญญากับ
บรรพบุรุษของเขา และพระองค์ทรงซื่อสัตย์ต่อพระสัญญาอยู่เสมอ
“ท่านเข้ายึดครองแผ่นดินนี้ไม่ใช่เพราะท่านเป็นผู้ชอบธรรม หรือมีใจซื่อสัตย์ แต่
พระยาห์เวห์พระเจ้าของท่านทรงขับไล่ชนชาติเหล่านี้ต่อหน้าท่าน เพราะเขาทำ
ความชั่วและเพราะพระยาห์เวห์ทรงตั้งพระทัยจะรักษาพระสัญญาที่ทรงสาบานไว้
กับบรรพบุรุษของท่าน คือ อับราฮัม อิสอัค และยาโคบ” (ฉธบ 9:5)
ในข้อความนี้ ชาวอิสราเอลแสดงความสำนึกถึงการที่พระเจ้าประทานแผ่นดินให้เขา ทั้งนี้
ไม่ใช่เพราะความดีของเขา แต่เพราะพระสัญญาที่พระองค์ประทาน เป็นคำสัญญาในอดีตซึ่งจะเปิด
อนาคตใหม่ ในพันธสัญญาเดิม เราจะพบว่าพระยาห์เวห์ทรงทำพันธสัญญากับบรรพบุรุษที่สำคัญ
ของชาติอิสราเอล 3 ท่าน คือ อับราฮับ โมเสส และกษัตริย์ดาวิด

20
อ นั น ต วิ ท ย า
บ ท ที่ ๒ ... กำเนิดและวิวัฒนาการของความหวังในพันธสัญญาเดิม

เราจะพิจารณาพันธสัญญาระหว่างพระยาห์เวห์กบั ชาวอิสราเอล โดยวิเคราะห์โครงสร้างของ


ความหวังที่เกิดจากพันธสัญญาที่พระเจ้าทรงกระทำกับ 3 บุคคลดังต่อไปนี้
1.1 อับราฮัม
ถ้าเราพิจารณาถึงประวัติและจุดเริ่มต้นของชาวอิสราเอล เราจะพบว่า จุดเริ่มต้น คือ
พระเจ้าทรงเรียกอับราฮัมและทรงทำพันธสัญญากับเขา ตามที่บันทึกไว้ในหนังสือปฐมกาลว่า
“พระยาห์เวห์ตรัสแก่อับรามว่า “จงออกจากแผ่นดินของท่าน จากญาติพี่น้อง
จากบ้านของบิดา ไปยังแผ่นดินที่เราจะชี้ให้ท่าน เราจะทำให้ท่านเป็นชนชาติ
ใหญ่ จะอวยพรท่านและทำให้ท่านมีชื่อเสียงเลื่องลือ ท่านจะนำพระพรมาให้
ผู้อ่ืน เราจะอวยพรผู้ท่ีอวยพรท่าน เราจะสาปแช่งผู้ท่ีสาปแช่งท่าน บรรดา
เผ่าพันธุท์ ั้งสิ้นทั่วแผ่นดินจะได้รับพรเพราะท่าน” (ปฐก 12:1-3)
สิ่งแรกที่พระเจ้าตรัสกับอับราฮัมเป็นทั้งคำสั่งให้เขาเดินทางและคำสัญญาถึงอนาคต
ของเขา เงื่อนไขของพันธสัญญา คือ อับราฮัมจะต้องออกแรงร่วมมือกับพระเจ้าโดยตอบสนองการ
เรียกของพระองค์ เพื่อจะได้รับสิ่งที่ทรงสัญญาไว้ คือ บุตรหลาน แผ่นดินและพระพรสำหรับบรรดา
เผ่าพันธุท์ งั้ สิน้ ของโลก มนุษย์จงึ ต้องตอบสนองการเรียกของพระเจ้า ทัง้ โดยประกาศยืนยันความเชือ่
ด้วยปาก และโดยการกระทำ
“เมื่อโลกแยกไปแล้ว พระยาห์เวห์ตรัสกับอับรามว่า “จงเงยหน้าขึ้นจากที่ที่ท่าน
อยู่ มองไปทางทิศเหนือทิศใต้ ทิศตะวันออกและทิศตะวันตก แผ่นดินทั้งหมด
ที่ท่านเห็นนี้ เราจะมอบให้ท่านและให้ลูกหลานของท่านตลอดไป” (ปฐก
13:14-15)
พระเจ้ า ทรงรื้ อ ฟื้ น พระสั ญ ญาแก่ อั บ ราฮั ม เมื่ อ ทรงกระทำพิ ธี พั น ธสั ญ ญากั บ เขา
ดังต่อไปนี้
“เมื่อดวงอาทิตย์ตกและมืดลงแล้ว ก็มีหม้อไฟที่มีควันพวยพุ่งและคบเพลิงที่ลุก
อยู่ลอยผ่านระหว่างกลางสัตว์ที่ผ่าซีกเหล่านั้น ในวันนั้นพระยาห์เวห์ทรงกระทำ

21
อ นั น ต วิ ท ย า
บ ท ที่ ๒ ... กำเนิดและวิวัฒนาการของความหวังในพันธสัญญาเดิม

พันธสัญญาไว้กับอับรามว่า “เรามอบแผ่นดินนี้ให้แก่ลูกหลานของท่าน ตั้งแต่


แม่น้ำแห่งอียิปต์ ไปจนถึงแม่น้ำใหญ่ คือ แม่น้ำยูเฟรติส” (ปฐก 15:17-18)
อับราฮัมไว้ใจว่าพระสัญญาจะเป็นความจริง แม้ในวิธกี ารตามประสามนุษย์จะเป็นไปไม่ได้
ท่านจึงเชื่อพระสัญญาที่ว่า
“นางซาราห์ ภรรยาของท่านจะคลอดบุตรชายคนหนึ่งให้ท่าน และท่านจะตั้ง
ชื่อเขาว่าอิสอัค เราจะรักษาพันธสัญญาที่เราได้ให้ไว้กับเขาและกับลูกหลาน
ของเขาที่จะตามเขามา เป็นพันธสัญญาที่คงอยู่ตลอดไป” (ปฐก 17:19)
อิสอัคเป็นบุตรแห่งพระสัญญา ถึงกระนัน้ พระเจ้าทรงสัง่ ให้อบั ราฮัมถวายลูกเป็นเครือ่ ง
บูชา ดูเหมือนว่าพระสัญญาที่อับราฮัมจะมีลูกหลานขึ้นอยู่ที่ว่า อิสอัคต้องมีชีวิตอยู่ต่อไป แต่พระองค์
ทรงเรียกร้องสิ่งที่ดูเหมือนไม่สมเหตุสมผลและขัดแย้งกับพระสัญญา อับราฮัมมีความวางไว้ใจใน
พระเจ้า จึงปฏิบัติตามคำสั่งเพราะสิ่งที่พระองค์ทรงบัญชาย่อมถูกต้องอยู่เสมอ ลักษณะความเชื่อ
ของอับราฮัม คือ ไว้วางใจในพระเจ้าอย่างสิ้นสุดจิตใจ เพราะพระองค์ทรงสร้างอนาคตได้อยู่เสมอ
1.2 โมเสส
โดยแท้จริงแล้ว ประวัติศาสตร์ของชนชาติอิสราเอลเริ่มต้นเมื่อเผ่าต่างๆ ที่เป็นทาสใน
ประเทศอียิปต์ได้อพยพมาสู่แผ่นดินคานาอัน เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเพราะการริเริ่มจากพระเจ้าผู้ทรงให้
คำสัญญาแก่บรรพบุรุษ และทรงเรียกโมเสสเช่นเดียวกับพระองค์ทรงให้คำสัญญาและทรงเรียก
อับราฮัม
พระยาห์เวห์ตรัสว่า “เราสังเกตเห็นความทุกข์ยากของประชากรของเราใน
อียิปต์ เราได้ยินเสียงร้องเพราะความทารุณของนายงาน เรารู้ดีถึงความทุกข์
ทรมานของเขา เราลงมาช่วยเขาให้พ้น มือชาวอียิปต์ และนำเขาออกจาก
ประเทศนั้น ไปสู่แผ่นดินที่อุดมสมบูรณ์และกว้างใหญ่ ไปยังแผ่นดินที่มีน้ำนม
และน้ ำ ผึ้ ง ไหลบริ บู ร ณ์ ไปยั ง ที่ อาศั ย ของชาวคานาอั น ชาวฮิ ตไทต์ ชาว
อาโมไรต์ ชาวเปริสซี ชาวฮีไวต์ และชาวเยบุส เราได้ยินเสียงร้องคร่ำครวญ

22
อ นั น ต วิ ท ย า
บ ท ที่ ๒ ... กำเนิดและวิวัฒนาการของความหวังในพันธสัญญาเดิม

ของชาวอิสราเอล และเห็นเขาถูกชาวอียิปต์ข่มเหงอย่างทารุณ บัดนี้ เราจะ


ส่งท่านไปเฝ้าพระเจ้าฟาโรห์ เพื่อนำชาวอิสราเอลประชากรของเรา ออกจาก
อียิปต์ โมเสสทูลพระเจ้าว่า “ข้าพเจ้าเป็นผู้ใดเล่าที่จะไปเฝ้าพระเจ้าฟาโรห์
และนำชาวอิสราเอลออกจากอียิปต์” พระองค์ตรัสว่า “เราจะอยู่กับท่าน
และเครื่องหมาย แสดงว่าเราส่งท่านไป ก็คือ เมื่อท่านนำประชากรออกจาก
อียิปต์แล้ว ท่านทั้งหลายจะมานมัสการพระเจ้าบนภูเขานี้” (อพย 3:7-12)
น่าสังเกตว่าโมเสสต้องร่วมมือกับพระเจ้า ต้องไปที่ประเทศอียิปต์เพื่อให้พระสัญญา
ของพระเจ้าเป็นความจริง พระเจ้าทรงปลุกความหวังของชาวอิสราเอล และการเดินทางในถิ่น
ทุรกันดารก็เป็นประวัติของความหวังที่พระเจ้าประทานแก่ชาวอิสราเอล เมื่อประชาชนมาถึงภูเขา
ซีนาย พระยาห์เวห์ทรงสัญญาว่าจะทรงคุ้มครองชาวอิสราเอลเป็นพิเศษ โดยทรงกระทำพันธสัญญา
กับเขา
“ท่านทั้งหลายเห็นแล้วว่า เราได้ทำต่อชาวอียิปต์อย่างไร และเรานำท่านมาหา
เราที่นี่เหมือนนกอินทรีที่พยุงลูกอ่อนขึ้นไว้บนปีก แผ่นดินทั้งหมดเป็นของเรา
บัดนี้ ถ้าท่านเชื่อฟังเราและรักษาพันธสัญญาของเราไว้ ในบรรดาประชาชาติ
ทั้งมวล ท่านจะเป็นกรรมสิทธิ์พิเศษของเรา ท่านจะเป็นอาณาจักรสมณะ เป็น
ชนชาติศักดิ์สิทธิ์สำหรับเรา ท่านต้องบอกชาวอิสราเอลเช่นนี้” (อพย 19:4-6)
การที่พระเจ้าทรงทำพันธสัญญากับชาวอิสราเอลมีโครงสร้างเหมือนกับพันธสัญญาที่
พระองค์ทรงกระทำกับอับราฮัม พระเจ้าทรงเรียกร้องโมเสสให้ร่วมมือกับพระองค์ มีความวางไว้ใจ
ในพระองค์และสอนชาวอิสราเอลให้ประพฤติเช่นเดียวกับตน โดยปฏิบัติตามบทบัญญัติ 10 ประการ
ซึ่งเป็นเงื่อนไขของพันธสัญญา
1.3 กษัตริย์ดาวิด
การพัฒนาความหวังของชาวอิสราเอลที่จะได้รับความรอดพ้นอย่างสมบูรณ์แยกออก
จากประสบการณ์ทางการเมืองไม่ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จากประสบการณ์ในสมัยของผู้วินิจฉัย สมัย

23
อ นั น ต วิ ท ย า
บ ท ที่ ๒ ... กำเนิดและวิวัฒนาการของความหวังในพันธสัญญาเดิม

มีกษัตริย์ปกครอง และจากประสบการณ์ของบรรดาประกาศก ตั้งแต่เริ่มแรก ชาวอิสราเอลคิดว่า


พระยาห์เวห์ทรงเป็นกษัตริยป์ กครองเขา บางคนจึงยอมรับการปกครองทีม่ กี ษัตริยไ์ ด้ยาก แต่ถา้ ยอมรับ
ก็มีเงื่อนไขว่า กษัตริย์บนแผ่นดินเป็นผู้แทนพระเจ้าซึ่งทรงเป็นกษัตริย์ที่แท้จริงเพียงพระองค์เดียว
กษัตริย์ดาวิดได้รับพระสัญญาจากพระยาห์เวห์ว่า ราชวงศ์ของพระองค์จะปกครองชาว
อิสราเอลตลอดไป พระสัญญานี้ทำให้พระสัญญาที่ทรงให้แก่อับราฮัมและโมเสสในอดีตเจาะจงมาก
ยิ่งขึ้น เพราะเป็นพระสัญญาแก่ราชวงศ์กษัตริย์ดาวิดเท่านั้น แต่ยังเกี่ยวข้องกับชนอิสราเอลทั้งชาติ
เพราะอนาคตของประชากรขึ้นอยู่กับการคุ้มครองของพระยาห์เวห์โดยผ่านทางกษัตริย์ ดังที่เราพบ
ในคำทำนายของประกาศกนาธันว่า
“เราให้ท่านเลิกเลี้ยงแกะในทุ่งหญ้ามาเป็นผู้นำอิสราเอล ประชากรของเรา
เราอยู่กับท่านไม่ว่าท่านไปไหน เรากำจัดศัตรูทั้งปวงที่ท่านเผชิญหน้า เราจะทำ
ให้ท่านมีชื่อเสียงเหมือนกับผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดในแผ่นดิน เราจะเลือกที่แห่งหนึ่ง
ให้อิสราเอลประชากรของเราตั้งหลักแหล่ง เขาจะอยู่ที่นั่นโดยไม่มีใครรบกวน
จะไม่มีคนชั่วคอยกดขี่ข่มเหงเขาเหมือนในอดีต เมื่อเราเคยแต่งตั้งผู้วินิจฉัยให้
ปกครองอิสราเอลประชากรของเรา เราจะให้ทา่ นได้พกั จากศัตรูทงั้ ปวงของท่าน
เรา พระยาห์เวห์ประกาศแก่ท่านว่า เราจะสร้างราชวงศ์ให้ท่าน เมื่อท่านสิ้น
ชีวิตในวัยชรา และถูกฝังไว้กับบรรพบุรุษแล้ว เราจะตั้งเชื้อสายคนหนึ่งของ
ท่าน ซึ่งเป็นบุตรของท่าน ให้เป็นกษัตริย์ต่อจากท่าน เราจะพิทักษ์รักษา
อาณาจักรของเขาให้มนั่ คง เขาจะเป็นผูส้ ร้างวิหารให้แก่นามของเรา เราจะดูแล
ให้ลูกหลานของเขาเป็นกษัตริย์ครองราชย์ตลอดไป เราจะเป็นบิดาของเขา
และเขาจะเป็นบุตรของเรา ถ้าเขาทำผิด เราจะลงโทษเขาเหมือนบิดาใช้ไม้
เรียวตีบุตร แต่เราจะไม่ถอนความโปรดปรานของเราไปจากเขาเหมือนที่เรา
เคยทำกับซาอูล ซึ่งเราได้ปลดออกจากราชบัลลังก์ให้ท่านขึ้นเป็นกษัตริย์แทน

24
อ นั น ต วิ ท ย า
บ ท ที่ ๒ ... กำเนิดและวิวัฒนาการของความหวังในพันธสัญญาเดิม

ราชวงศ์และอาณาจักรของท่านจะมั่นคงอยู่ต่อหน้าเรา ตลอดไป อำนาจ


ปกครองของท่านจะตั้งมั่นอยู่ตลอดไป” (2 ซมอ 7:8-16)
ในข้อความนี้ พระเจ้าตรัสถึงเหตุการณ์ที่ ได้ทรงกระทำในอดีต ซึ่งเป็นพื้นฐานของ
เหตุการณ์ในอนาคต พระสัญญาที่ทรงให้แก่อับราฮัมและโมเสสจะสำเร็จไปโดยผ่านทางราชวงศ์ของ
กษัตริย์ดาวิด
1.4 โครงสร้างของพันธสัญญา
เมื่อเราพิจารณาถึงลักษณะของพันธสัญญาต่างๆ ที่พระเจ้าทรงกระทำกับอิสราเอล
โดยผ่านทางอับราฮัม โมเสสและกษัตริย์ดาวิดแล้ว เราจะพบว่า แม้เหตุการณ์เหล่านี้เกิดขึ้นต่างยุค
ต่างสมัยกัน และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง แต่มีโครงสร้างที่คล้ายคลึงกัน ซึ่งมีลักษณะดังต่อไปนี้
• พระเจ้าทรงเป็นผู้ริเริ่มพันธสัญญา ทรงเลือกสรรอับราฮัมและชาว
อิสราเอล
• พระเจ้าทรงให้คำสัญญาเกี่ยวกับอนาคต ผู้รับพระสัญญาต้องร่วมมือ
กับพระเจ้า โดยปฏิบัติตามคำสั่งของพระองค์ แต่เขาจะไม่เห็นผลสำเร็จ
ของพระสัญญา พระองค์ทรงทำพันธสัญญาเป็นการเปิดทางและเตรียม
ไปสู่อนาคต
• ปฏิกิริยาตอบสนองของคู่พันธสัญญา คือ ต้องมีความเชื่อและความไว้
วางใจ
• พระสัญญาจะเป็นจริงในภายหลัง แต่ยังไม่สำเร็จอย่างสมบูรณ์ ความ
สำเร็จแต่ละครั้งเป็นจุดเริ่มต้นใหม่ของความหวังที่จะมีต่อไป แม้ชาว
อิสราเอลพบว่าพระสัญญาดูเหมือนขัดแย้งกับสภาพชีวิตจริง เขาก็ไม่
หมดความหวังในพระสัญญา แต่ยังมีความไว้วางใจว่า พระองค์จะ
ประทานตามที่ทรงสัญญาไว้อย่างแน่นอน

25
อ นั น ต วิ ท ย า
บ ท ที่ ๒ ... กำเนิดและวิวัฒนาการของความหวังในพันธสัญญาเดิม

2. คำสอนของบรรดาประกาศก (PROPHETIC LITERATURE)


บรรดาประกาศกในประวัติศาสตร์ของชาวอิสราเอลมีบทบาทวิเคราะห์และตีความหมาย
สถานการณ์ที่ชาวอิสราเอลมีประสบการณ์ เพื่อจะค้นหาพระประสงค์ของพระเจ้าสำหรับประชากร
คำสอนของบรรดาประกาศกมักจะอ้างถึงความผิดของชาวอิสราเอลที่ ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขของ
พันธสัญญา ประชากรอิสราเอลจะต้องปฏิรูปวิธีดำเนินชีวิต มิฉะนั้น พระเจ้าจะทรงลงโทษเขา เพื่อ
ทรงอบรมเขาให้อยู่ในกฎระเบียบ
เราจะพิจารณาถึงงานเขียนของประกาศกอาโมสซึ่งมีชีวิตอยู่ในสมัยที่อิสราเอลมีวิกฤตการณ์
เมื่ออาณาจักรเหนือกำลังจะถูกชาวอัสซีเรียมารุกราน ประกาศกอาโมสเป็นคนแรกที่ได้เขียนหนังสือ
ประเภทประกาศก ต่อมางานเขียนของบรรดาประกาศกอื่นๆ ก็ดำเนินตามแนวของประกาศกอาโมส
ด้วยเช่นกัน
ประกาศกอาโมสประกาศพระวาจาที่ว่า พระเจ้าจะทรงให้พันธสัญญาเป็นความจริงใน
อนาคต ถึงแม้ว่าในสมัยของประกาศกอาโมส ดูเหมือนว่าพระเจ้าทรงทอดทิ้งชาวอิสราเอล แต่ใน
ความเป็นจริงแล้วไม่เป็นเช่นนั้น เพราะพระองค์ยังทรงคงดูแลชาวอิสราเอลอยู่ ในที่สุดพระองค์ก็จะ
ทรงทำให้พระสัญญาสำเร็จไป เหตุการณ์ทจี่ ะเกิดขึน้ ในอนาคตดังกล่าวจะสมบูรณ์ถาวรและไม่เปลีย่ น
แปลง เราพบความคิดนี้ในข้อความ 2 ตอน ของประกาศกอาโมสว่า
• “วิบัติจงเกิดแก่ท่านทั้งหลายผู้ปรารถนาวันของพระยาห์เวห์ วันของพระ
ยาห์เวห์จะเป็นประโยชน์อะไรแก่ท่านเล่า วันนั้นเป็นความมืด ไม่ใช่เป็น
ความสว่าง” (อาโมส 5:18)
ประกาศกอาโมสใช้คำว่า “วันของพระยาห์เวห์” (The day of Yahweh) ชาวอิสราเอลมี
ความหวังว่า “วันของพระยาห์เวห์” เป็นวันที่พระเจ้าจะนำความสุขและความอุดมสมบูรณ์แก่เขา แต่
โดยแท้จริงแล้ว “วันของพระยาห์เวห์” จะเป็นวันที่พระเจ้าจะทรงลงโทษชาวอิสราเอล ซึ่งมีความคิด
ตรงกันข้ามกับเหตุการณ์นี้ พระเจ้าจะทรงลงโทษผู้ที่กระทำความผิดและไม่ซื่อสัตย์ต่อพระองค์

26
อ นั น ต วิ ท ย า
บ ท ที่ ๒ ... กำเนิดและวิวัฒนาการของความหวังในพันธสัญญาเดิม

• “ในวันนั้น เราจะยกกระท่อมของกษัตริย์ดาวิดที่ล้มลงแล้วนั้นตั้งขึ้นใหม่
และซ่อมช่องชำรุดต่างๆ และยกที่สลักหักพังขึ้น และสร้างเสียใหม่อย่าง
ในสมัยโบราณกาล เพื่อเขาจะได้ยึดกรรมสิทธิ์คนที่เหลืออยู่ของเอโดม และ
ประชาชาติทั้งสิ้นซึ่งเขาเรียก ด้วยนามของเรา พระเจ้าผู้ทรงกระทำเช่นนี้
ตรัสดังนี้แหละ พระเจ้าตรัสว่า ‘ดูเถิด วันเวลาก็มาถึง เมื่อคนที่ไถจะทันคน
ที่หว่านเมล็ดองุ่น จะมีน้ำองุ่นหยดจากภูเขา เนินเขา ทั้งสิ้นจะละลายไป
เราจะให้อิสราเอลประชากรของเรากลับสู่สภาพเดิม เขาจะสร้างเมืองที่พัง
นั้น ขึ้นใหม่และเข้าอาศัยอยู่ เขาจะปลูกสวนองุ่น และดื่มเหล้าองุ่นของ
สวนนั้น เขาจะทำสวนผลไม้และรับประทานผลของมัน เราจะปลูกเขาไว้ใน
แผ่นดินของเรา เขาจะไม่ถูกถอนออกไปจากแผ่นดินซึ่งเราได้มอบให้แก่เขา
อีกเลย’ พระยาห์เวห์พระเจ้าของท่านตรัสดังนี้แหละ” (อาโมส 9:11-15)
ประกาศกอาโมสจึงประกาศสภาพความเป็นอยู่ใหม่ ที่พระเจ้าจะทรงสร้างให้ชาวอิสราเอล
คือ ความอุดมสมบูรณ์ ประกาศกอาโมสใช้ภาพของการหว่านเมล็ดที่ได้ผลิตผลทันที ดังนั้น การ
ลงโทษไม่ใช่การกระทำสุดท้ายของพระเจ้า เพราะหลังจากทรงลงโทษผู้ทำผิดแล้ว พระองค์จะทรง
ใช้ชุมชนที่เหลืออยู่ เพื่อสร้างอาณาจักรใหม่ที่จะมั่นคงถาวร เป็นสิ่งใหม่ที่ชาวอิสราเอลไม่เคยพบเห็น
มาก่อน
บรรดาประกาศกอื่นๆ แผ่ขยายความหวังนี้ในอนาคตรุ่งเรืองให้กว้างออกไปทั่วโลก เช่น
อสย 2:10-21, มลค 3:19-21, ศฟย 1:14-18, ฯลฯ การที่พระเจ้าทรงลงโทษชาวอิสราเอล และ
ทรงยอมให้ศัตรูเข้าจู่โจมทำลายอาณาจักรของเขา เป็นการเตรียมที่จะประทานความรอดพ้นอย่าง
ถาวร ดังนั้น แม้วันของพระยาห์เวห์จะเป็นวันแห่งการลงโทษ ก็ยังเปรียบได้กับเหตุการณ์ในอดีต ที่
พระเจ้าทรงช่วยชาวอิสราเอลให้รอดพ้น เช่น
• ประกาศกโฮเชยา เปรียบเทียบระยะเวลาที่ชาวอิสราเอลรอคอยความ
สมบูรณ์ กับระยะเวลาที่เขาเดินทางในถิ่นทุรกันดารเพื่อยึดครองแผ่นดิน

27
อ นั น ต วิ ท ย า
บ ท ที่ ๒ ... กำเนิดและวิวัฒนาการของความหวังในพันธสัญญาเดิม

แห่งพระสัญญา หมายความว่า ชาวอิสราเอลต้องผ่านความทุกข์ยากลำบาก


ก่อนที่จะได้รับความรอดพ้น
• ประกาศกอิสยาห์ เปรียบเทียบสภาพสมบูรณ์นั้นเสมือนเป็นนครเยรูซาเล็ม
ใหม่ อาณาจักรใหม่ของกษัตริย์ดาวิด
• ประกาศกเยเรมีย์ กล่าวถึงสภาพของแผ่นดินใหม่ที่มั่นคง ถาวร ไม่มีการ
เปลี่ยนแปลง กิจการที่พระจะทรงกระทำในอนาคตนั้น มีจุดมุ่งหมายเพื่อ
ความสนิทสัมพันธ์กับพระองค์ทั้งสิ้น คือ พระองค์ทรงเปลี่ยนจิตใจของ
ประชากรอิสราเอลดังนี้ พระยาห์เวห์ตรัสว่า “ดูซิ วันเวลาจะมาถึง เมื่อเรา
จะทำพั น ธสั ญ ญาใหม่ กั บ พงศ์ พั น ธุ์ อิ ส ราเอลและพงศ์ พั น ธุ์ ยู ดาห์ จะไม่
เหมือนกับพันธสัญญาที่เราทำไว้กับบรรพบุรุษของเขา เมื่อเราจูงมือเขาให้
ออกมาจากแผ่นดินอียปิ ต์ เขาได้ละเมิดพันธสัญญานัน้ แม้วา่ เราเป็นเจ้านาย
ของเขา” พระยาห์เวห์ตรัสดังนี้ นี่จะเป็นพันธสัญญาที่เราจะทำกับพงศ์พันธุ์
อิสราเอลเมื่อเวลานั้นมาถึง” พระยาห์เวห์ตรัสดังนี้ “เราจะใส่ธรรมบัญญัติ
ของเราไว้ภายในเขา เราจะเขียนธรรมบัญญัติไว้ในใจของเขา เราจะเป็น
พระเจ้าของเขา และเขาจะเป็นประชากรของเรา ไม่มีผู้ใดจะต้องสอน
เพื่อนบ้านของตน หรือบอกพี่น้องของตนอีกต่อไปว่า ‘จงรู้จักพระยาห์เวห์
เถิด’ เพราะทุกคนจะรู้จักเรา ตั้งแต่คนเล็กน้อยที่สุดจนถึงคนใหญ่โตที่สุด”
พระยาห์เวห์ตรัสดังนี้ “เราจะให้อภัยความผิดของเขา และจะไม่ระลึกถึงบาป
ของเขาต่อไปอีกเลย” (ยรม 31:31-34)
ถ้ า พิ จ ารณาถึ ง ความคิ ด ของบรรดาประกาศกเมื่ อ กล่ า วถึ ง สิ่ ง ที่ จ ะเกิ ด ขึ้ น ในอนาคต
เราจะเห็นว่า บรรดาประกาศกทำนายถึงเหตุการณ์ในอนาคตโดยใช้ลักษณะ 2 ประการ คือ ประชากร
จะพบกับสภาพที่สัมบูรณ์ (Absolute) และถาวรตลอดไป (Definite) นี่คือความหวังใหม่

28
อ นั น ต วิ ท ย า
บ ท ที่ ๒ ... กำเนิดและวิวัฒนาการของความหวังในพันธสัญญาเดิม

ความคิดของบรรดาประกาศกที่แสดงออกในคำทำนายอาจสรุปได้ดังนี้
1) บรรดาประกาศกกล่าวถึงความหวังในอนาคต เป็นความหวังในเหตุการณ์ภายใน
ประวัติศาสตร์
2) การที่พระองค์ทรงเข้ามาในประวัติศาสตร์ของมนุษย์นั้นมีลักษณะช่วยให้รอดพ้น
(Salvation) ในอนาคต พระเจ้าจะทรงช่วยอิสราเอลให้รอดพ้นตลอดไป พระเจ้าจึงทรงเข้ามาใน
ประวัติศาสตร์แท้ของมนุษย์ พระองค์ทรงเคารพการตัดสินใจอิสระของมนุษย์ แม้มนุษย์ทำผิดและได้
รับการลงโทษจากพระเจ้า พระองค์ยังทรงอวยพรเขา และทรงบันดาลให้มนุษย์ได้รับความรอดพ้น
ในประวัติศาสตร์
3) พระเจ้าทรงเข้ามาในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ โดยทรงลงโทษเขา ทรงให้อภัย
และทรงช่วยเขาให้รอดพ้น
4) พระเจ้าทรงพระเมตตากรุณาประทานโอกาสแก่มนุษย์อยู่เสมอ เพื่อชาวอิสราเอล
ได้กลับใจ
5) คำประกาศเรื่องความหวังใหม่ เป็นเรื่องเฉพาะของชาวอิสราเอล คำสอนของบรรดา
ประกาศกจึงเน้นความแตกต่างระหว่างอิสราเอลกับชนชาติอื่นๆ แต่บางครั้งก็พูดถึงนานาชาติว่าจะมี
ส่วนร่วมในความหวังนี้
6) พระเจ้าทรงเรียกร้องให้มนุษย์รว่ มมือกับพระองค์ เพือ่ สร้างประวัตศิ าสตร์ในรูปแบบ
ใหม่

3. วรรณกรรมประเภทวิวรณ์ (APOCALYPTIC)
จากการศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับวรรณกรรมประเภทวิวรณ์ (Apocalyptic) เราพบว่า วรรณ-
กรรมดังกล่าวนี้เกิดขึ้นในระหว่างปี 200-100 ก่อนคริสตกาล วรรณกรรมประเภทวิวรณ์นี้ ได้รับ
ความนิยมชมชอบมากในหมู่ชาวยิว เราพบวรรณกรรมประเภทนี้ในหนังสือพระคัมภีร์บางฉบับ เช่น
หนังสือประกาศกดาเนียล และบางบทของหนังสือประกาศกอิสยาห์ในหนังสือพันธสัญญาเดิม และ

29
อ นั น ต วิ ท ย า
บ ท ที่ ๒ ... กำเนิดและวิวัฒนาการของความหวังในพันธสัญญาเดิม

พบข้อบางตอนในพระวรสารสหทรรศน์ (Synoptic) ในจดหมายของนักบุญเปาโลถึงชาวเธสะโลนิกา


และหนังสือวิวรณ์ทั้งเล่มในหนังสือพันธสัญญาใหม่
3.1 พิจารณาลักษณะวรรณกรรมประเภทวิวรณ์
วรรณกรรมประเภทวิวรณ์เกิดขึ้นในบริบทการเมืองและศาสนา เพราะเวลานั้นมีการ
เบียดเบียนผู้นับถือศาสนาอย่างเคร่งครัด เช่น ในปี 175-164 ก่อน ค.ศ. เมื่อกษัตริย์อันติโอกัสที่ 4
ทรงยึดกรุงเยรูซาเล็ม ทรงทำลายกำแพงเมือง และทรงใช้พระวิหารของพระยาห์เวห์เป็นสถานที่
นมัสการเทพเจ้าเซอุส ทั้งทรงสั่งชาวยิวไม่ให้ปฏิบัติศาสนาของตน และในปี ค.ศ. 66-73 เมื่อผู้มี
อำนาจปกครองจักรวรรดิโรม คือ จักรพรรดิเนโรห์ และต่อมาจักรพรรดิเวสปาสเซียนกับพระโอรส
ทิตัสทรงยกทัพไปตีปาเลสไตน์ ทรงยึดและทำลายกรุงเยรูซาเล็มพร้อมกับพระวิหาร และทรงเบียด
เบียนชาวยิว ทำให้ชาวยิวผิดหวัง มองทุกอย่างในแง่ร้าย (Pessimism) แม้เขาดูเหมือนหมดความ
หวังในโลกนี้ แต่ยังไม่ละทิ้งความเชื่อในพระเจ้าผู้จะทรงสร้างใหม่ เขายังมีความคิดและความหวังว่า
การถูกเบียดเบียนอยู่ในแผนการของพระเจ้า พระองค์ทรงพระประสงค์ให้ถึงเวลาของการพิพากษา
โลกอย่างรวดเร็ว และหลังจากการพิพากษาแล้ว พระองค์จะทรงบันดาลให้เกิดอิสราเอลใหม่ทซี่ อื่ สัตย์
ต่อพระองค์ พระเจ้าทรงเลือกสรรบางคนที่จะต้องแจ้งเรื่องนี้แก่คนอื่นๆ ต่อไป เช่น ประกาศก
ดาเนียล นักบุญยอห์นผู้นิพนธ์พระวรสาร เป็นต้น
เราจึงเห็นว่า ผู้ได้รับการเปิดเผยและเขียนวรรณกรรมประเภทวิวรณ์ มักอ้างถึงชื่อ
ของบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์ เช่น อ้างเป็นโมเสส ประกาศกดาเนียล ฯลฯ เพื่อให้ผู้อ่านเกิด
ความเชื่อถือเรื่องราวที่พระองค์ทรงเปิดเผยให้รู้ เรื่องราวที่พระองค์ทรงเปิดเผยเป็นความลับที่
พระเจ้าทรงต้องการแจ้งแก่เขา พระองค์ทรงส่งบุคคลสำคัญมาแจ้งความลับเกีย่ วกับระยะเวลาสุดท้าย
ก่อนสิน้ พิภพ เป็นช่วงเวลาของยุคเก่า วรรณกรรมประเภทวิวรณ์จงึ แบ่งประวัตศิ าสตร์ของมนุษยชาติ
ออกเป็น 2 ยุค คือ
ยุคเก่า เป็นช่วงเวลาที่ต้องได้รับการทรมาน ความทุกข์ยากต่างๆ และในที่สุด
ยุคนี้จะถูกทำลายจนหมดสิ้น เมื่อสภาพของยุคเก่าสิ้นสุดจะเกิดการเปลี่ยนแปลงไปสู่ยุคใหม่

30
อ นั น ต วิ ท ย า
บ ท ที่ ๒ ... กำเนิดและวิวัฒนาการของความหวังในพันธสัญญาเดิม

ยุคใหม่ เป็นช่วงเวลาที่ ไม่มีความทุกข์ในโลกใหม่ มีแต่ความสุขสมบูรณ์ เป็น


อนาคตสัมบูรณ์ ที่แตกต่างจากยุคเก่าอย่างสิ้นเชิง
ข้อสังเกต
• ลักษณะวรรณกรรมประเภทวิวรณ์เป็นรูปแบบของการบรรเทาใจ ใช้ภาษา
สัญลักษณ์ ชาวยิวในสมัยนั้นเข้าใจภาษาสัญลักษณ์ที่ใช้ในวรรณกรรมประเภทวิวรณ์เป็นอย่างดี
• เมื่อเราอ่านวรรณกรรมประเภทนี้ เราอาจมีความคิดสับสน เพราะไม่เข้าใจภาษา
สัญลักษณ์เท่าที่ควร
3.2 เปรียบเทียบลักษณะคำประกาศแบบ Apocalyptic กับ Prophetic
APOCALYPTIC PROPHETIC
1. เป็นความหวังถึงยุคใหม่ซึ่งจะเกิดขึ้นหลังจาก 1. เป็นความหวังในอนาคต เป็นความหวังใน
ประวัติศาสตร์มนุษย์สิ้นสุดไปแล้ว (Dualism) เหตุการณ์ภายในประวัติศาสตร์
2. ประวัติศาสตร์ของมนุษย์จะต้องดำเนินไปสู่ 2. การทีพ่ ระเจ้าทรงเข้ามาในประวัตศิ าสตร์ของ
ความพินาศอย่างช่วยไม่ได้ตามแผนการของ มนุษย์มีลักษณะช่วยให้รอดพ้น (Salvation)
พระเจ้า (Determinism) โลกนี้จะต้องพินาศโดย • เป็นประวัติศาสตร์แท้ของมนุษย์ทตี่ ัดสิน
สิ้นเชิงอย่างแน่นอน (Pessimism) ใจโดยอิสระ
3. พระเจ้าทรงอยู่นอกเหนือยุคนี้ที่ชั่วช้า เมื่อ • แม้ว่ามนุษย์ทำผิด และถูกพระเจ้าทรงลง
ยุคเก่าสิ้นสุดจะเกิดการเปลี่ยนแปลงไปสู่ยุคใหม่ โทษ เขาจะต้องรับคำอวยพรในประวัติศาสตร์นี้
4. พระเจ้าทรงพระเมตตากรุณาทำให้เวลาสิ้น 3. พระเจ้ า ทรงเข้ า มาในประวั ติ ศ าสตร์ ข อง
พิภพจะมาถึงอย่างรวดเร็ว เพื่อทำให้ช่วงเวลา มนุษยชาติ โดยทรงลงโทษเขา
แห่งความทุกข์ยากลำบากสั้นลง 4. ช่วยให้เขารอดพ้น ให้อภัยเขา

31
อ นั น ต วิ ท ย า
บ ท ที่ ๒ ... กำเนิดและวิวัฒนาการของความหวังในพันธสัญญาเดิม

APOCALYPTIC PROPHETIC
5. คำประกาศเรื่องความหวังใหม่ มีไว้สำหรับ 5. พระเมตตากรุณาของพระเจ้าประทานโอกาส
ผู้ชอบธรรม ซึ่งแตกต่างจากคนบาป ความหวัง ใหม่อยู่เสมอ เพื่อชาวอิสราเอลได้กลับใจ
ที่จะได้สู่สภาพใหม่เกี่ยวข้องกับปัจเจกบุคคล 6. คำประกาศเรือ่ งความหวังใหม่ เป็นเรือ่ งเฉพาะ
(Individualism) ผู้ประพฤติดีเป็นคนชอบธรรม ของชาวอิสราเอล เน้นความแตกต่างระหว่าง
เท่านัน้ จะได้รบั ยุคใหม่ ซึง่ มีไว้ไม่ใช่ชาวอิสราเอล อิ ส ราเอลกั บ นานาชาติ แต่ บ างครั้ ง ก็ พู ด ถึ ง
เท่านั้น แต่สำหรับมนุษย์ทุกชาติทุกภาษา (Uni- นานาชาติด้วยที่จะมีส่วนในความหวังนั้น
versalism) 7. พระเจ้ า ทรงเรี ย กร้ อ งให้ ม นุ ษ ย์ ร่ ว มมื อ กั บ
6. พระเจ้าทรงเตือนให้มนุษย์ซอ่ื สัตย์ตอ่ พระองค์ พระองค์ เพือ่ สร้างประวัตศิ าสตร์ในรูปแบบใหม่
ด้วยความอดทนจนถึงวาระสุดท้าย

32
อ นั น ต วิ ท ย า

You might also like