You are on page 1of 14

บ ท ที่ ๔ ...

คำปราศรัยของพระเยซูเจ้าเรื่องอนันตกาล


ผูเ้ ชีย่ วชาญพระคัมภีรส์ ว่ นใหญ่เชือ่ ว่า นักบุญมาระโกเป็นผูเ้ ขียนพระวรสารก่อนนักบุญมัทธิว
และนักบุญลูกา เขาจึงบันทึกพระวาจาที่พระเยซูเจ้าตรัสและคริสตชนสมัยแรกจำได้ในสำนวนใกล้
เคียงกับสมัยของพระเยซูเจ้ามากที่สุด ส่วนนักบุญมัทธิวและนักบุญลูกาได้ปรับปรุงและเพิ่มเติมข้อ
เขียนของนักบุญมาระโก นักบุญลูกายังรักษาโครงสร้างเดียวกันกับที่นักบุญมาระโกใช้ เขาปรับปรุง
และเพิ่มเติมข้อเขียนนี้ ไม่มากนัก ส่วนนักบุญมั ทธิวได้เพิ่มเติมและดัดแปลงถ้อยคำของมาระโก
ทั้งเพิ่มอุปมาอีกหลายเรื่อง ทำให้คำปราศรัยเรื่องอนันตกาลยาวถึง 2 บท ถ้าเรามาศึกษาอย่าง
ละเอียดก็จะยืดยาวมากเกินไป เราจะพิจารณาเพียงพระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญมาระโก
เท่านั้น

1. บริบทของคำปราศรัยเรื่องอนันตกาล
คำปราศรัยของพระเยซูเจ้าเรื่องนี้เป็นประเด็นสำคัญมากในหนังสือพระวรสารตามคำบอก
เล่าของนักบุญมาระโก คือ อยู่ก่อนการเล่าเรื่องการรับทนทรมานของพระเยซูเจ้า (มก 14-15)

54
อ นั น ต วิ ท ย า
บ ท ที่ ๔ ... คำปราศรัยของพระเยซูเจ้าเรื่องอนันตกาล

นักบุญมาระโกบันทึกไว้ว่าพระเยซูเจ้าเสด็จออกจากพระวิหารพร้อมกับบรรดาอัครสาวก
และประทับนั่งบนภูเขามะกอกเทศตรงข้ามกับพระวิหาร พระองค์ตรัสคำปราศรัยนี้ให้กับบรรดาศิษย์
ฟังเท่านั้น ไม่ใช่สำหรับประชาชนทั่วไป เพราะทรงเลิกที่จะเทศน์สอนในที่สาธารณะแล้ว ดังนั้น
คำปราศรัยของพระเยซูเจ้ามีรูปแบบของคำอำลาที่พระองค์ตรัสก่อนจะทรงรับทรมาน

2. โครงสร้างของคำปราศรัย
นักบุญมาระโกบันทึกคำปราศรัยนี้โดยมีโครงสร้างดังนี้
13:1-4 บทนำ: พระเยซูเจ้าตรัสกับศิษย์ 4 คน
13:5-23 เครื่องหมาย
13:5a เกริ่นนำ
13:5b-6 จงระวังอย่าให้ใครหลอกลวงท่านได้
13:7-8 เมื่อท่านทั้งหลายได้ยินข่าวลือเรื่องสงคราม จงอย่าตกใจ ยังไม่ถึงวาระ
สุดท้าย จะเป็นเหมือนการเริ่มต้นของความทุกข์ในการคลอดบุตร
13:913 จงระวังให้ดี เขาจะมอบท่านให้ศาล จงพูดตามที่พระเจ้าทรงดลใจ
ผู้ใดยืนหยัดอยู่จนถึงวาระสุดท้ายผู้นั้นก็จะรอดพ้น
13:14-20 เมื่อใดที่ท่านทั้งหลายเห็นพระวิหารถูกทำลาย จงหนีไปยังภูเขา แต่พระองค์
ทรงให้วันแห่งความทุกข์เวทนาใหญ่หลวงของกรุงเยรูซาเล็มสั้นลง
13:21-23 อย่าเชื่อพระคริสต์เทียม จงระวังให้ดี เราได้กล่าวถึงเหตุการณ์ทั้งหมดนี้
ให้ฟังไว้ก่อนแล้ว
13:24-27 การเสด็จมาของบุตรแห่งมนุษย์
เมื่อความทุกข์เวทนาผ่านไปแล้ว พระองค์จะทรงรวบรวมบรรดาผู้ท่ีทรง
เลือกสรร
13:28-36 เวลาแห่งการเสด็จมาของบุตรแห่งมนุษย์

55
อ นั น ต วิ ท ย า
บ ท ที่ ๔ ... คำปราศรัยของพระเยซูเจ้าเรื่องอนันตกาล

13:28-29 อุปมาเรื่องต้นมะเดื่อเทศ พระองค์ทรงใกล้เข้ามา อยู่ที่ประตูแล้ว


13:30 คนในชั่วอายุนี้จะไม่ล่วงพ้นไปก่อนที่เหตุการณ์เหล่านี้จะเกิดขึ้น
13:31 ฟ้าดินจะล่วงพ้นไป แต่วาจาของเราจะไม่ล่วงพ้นไปเลย
13:32 ส่วนเรื่องวันและเวลานั้น ไม่มีใครรู้เลย
13:33-36 อุปมาเตือนให้ตื่นเฝ้า โดยเฉพาะคนเฝ้าประตูให้คอยตื่นเฝ้าไว้
13:37 ข้อสรุป สิ่งที่เราบอกแก่ท่าน เราก็บอกแก่ทุกคนด้วย จงตื่นเฝ้าเถิด
น่าสังเกตว่านักบุญมาระโกเขียนคำปราศรัยนี้โดยใช้สำนวน ภาษา และความคิดของวรรณ-
กรรมประเภทวิวรณ์ที่คัดมาจากหนังสือประกาศกดาเนียล (มก 13:7-8; 14-20; 24-27) มารวมกับ
พระวาจาของพระเยซูเจ้า (มก 13:5-6; 9-13; 21-23; 28-37)

3. วิเคราะห์คำปราศรัยเรื่องอนันตกาล
3.1 บทนำ (มก 13:1-4)
1ขณะที่พระเยซูเจ้าเสด็จออกจากพระวิหาร ศิษย์คนหนึ่งทูลพระองค์ว่า “ดูซิ
พระอาจารย์ ก้อนหินและอาคารเหล่านี้ช่างใหญ่โตจริงๆ 2พระเยซูเจ้าตรัส
กับเขาว่า “ท่านเห็นอาคารใหญ่เหล่านี้ ไหม จะไม่มีก้อนหินเหลือซ้อนกัน
อยู่เลย ทุกสิ่งจะถูกทำลาย” 3เมื่อพระองค์ประทับบนภูเขามะกอกเทศ ตรง
ข้ามกับพระวิหาร เปโตร ยากอบ ยอห์น และอันดรูวท์ ลู ถามพระองค์เป็นการ
ส่วนตัว ว่า 4“โปรดบอกเราเถิดว่า เหตุการณ์เหล่านี้จะเกิดขึ้นเมื่อใด และจะ
มีเครื่องหมายใดบอกว่าเหตุการณ์ทั้งหมดเหล่านี้กำลังจะเกิดขึ้น”
นักบุญมาระโกเขียนข้อความดังกล่าวหลังจากเรื่อง “เศษเงินของหญิงม่าย” (มก
12:41-44) โดยเล่าว่า “ขณะที่พระเยซูเจ้าเสด็จออกจากพระวิหาร ศิษย์คนหนึ่งทูลพระองค์” นักบุญ
มาระโกทำให้ศิษย์คนหนึ่งอุทานว่า “ดูสิ พระอาจารย์ ก้อนหินและอาคารเหล่านี้ช่างใหญ่โตจริงๆ
”เพราะเขามองพระวิหารแต่ไกลๆ เราจะเห็นว่า มุมมองของนักบุญมาระโกในบทนำนี้มีจุดประสงค์ที่

56
อ นั น ต วิ ท ย า
บ ท ที่ ๔ ... คำปราศรัยของพระเยซูเจ้าเรื่องอนันตกาล

จะถ่ายทอดพระวาจาสำคัญของพระคริสตเจ้าที่ว่า “จะไม่มีก้อนหินเหลือซ้อนกันอยู่เลย ทุกอย่างจะ


ถูกทำลาย” และเพื่อจะเข้าใจ
ความหมายของพระวาจานี้จำเป็นต้องตอบคำถามสองประการ คือ
• “เหตุการณ์เหล่านี้จะเกิดขึ้นเมื่อไร”
• “จะมีเครื่องหมายใดบอกว่า เหตุการณ์ทั้งหมดเหล่านี้กำลังจะเกิดขึ้น”
พูดอีกนัยหนึ่ง นักบุญมาระโกสนใจในความสัมพันธ์ระหว่างเหตุการณ์ที่พระวิหารกรุง
เยรูซาเล็มถูกทำลาย และเหตุการณ์เมื่อสิ้นพิภพ รายละเอียดอื่นๆ เป็นเพียงฉากที่เขาได้บรรยายใน
งานเขียน
3.2 เริ่มต้นคำปราศรัย (มก 13:5-8)
5พระเยซูเจ้าจึงตรัสตอบว่า “จงระวังอย่าให้ใครหลอกลวงท่านได้ 6หลายคน
จะอ้างนามของเราพูดว่า ‘เราเป็นพระคริสต์’ และจะหลอกลวงคนจำนวนมาก
ให้หลงผิดไป 7เมื่อท่านทั้งหลายได้ยินข่าวลือเรื่องสงครามทั้งใกล้และไกล
จงอย่าตกใจ เหตุการณ์เหล่านี้จำเป็นต้องเกิดขึ้น แต่ยังไม่ถึงวาระสุดท้าย
8
ชนชาติหนึ่งจะลุกขึ้นต่อสู้กับอีกชนชาติหนึ่ง อาณาจักรหนึ่งจะลุกขึ้นต่อสู้กับ
อีกอาณาจักรหนึ่ง แผ่นดินไหวและความอดอยากจะเกิดขึ้นหลายแห่ง จะเป็น
เหมือนการเริ่มต้นของความทุกข์ในการคลอดบุตร
มุมมองของนักบุญมาระโกต้องการเตือนคริสตชนให้ระวังผู้ที่อ้างว่า ตนเป็นพระคริสต์
คือ เป็นผู้ช่วยผู้อื่นให้รอดพ้น นักบุญมาระโกต้องการเน้นว่าพระนามพระคริสต์สงวนไว้สำหรับพระ-
เยซูเจ้าเท่านั้น พระองค์ผู้เดียวเป็นพระบุตรและพระผู้ไถ่มนุษย์
“ผู้หลอกลวงผู้อื่น” ในที่นี้ไม่หมายถึงชาวยิว แต่หมายถึงคริสตชนบางคนซึ่งมีชีวิตอยู่
หลังจากกรุงเยรูซาเล็มถูกทำลาย และอ้างว่าตนได้รับคำสอนอย่างลับๆ จากพระเยซูเจ้า ประกาศว่า
การสิ้นพิภพใกล้จะมาถึง นักบุญมาระโกจึงเตือนคริสตชนว่าอย่าเชื่อในบุคคลเหล่านี้

57
อ นั น ต วิ ท ย า
บ ท ที่ ๔ ... คำปราศรัยของพระเยซูเจ้าเรื่องอนันตกาล

3.3 บรรยายถึงการเบียดเบียนและอธิบายความหมาย (มก 13:9-13)


9
“จงระวังตัวให้ดี เขาจะมอบท่านให้ศาล ท่านจะถูกทุบตีในศาลาธรรม และ
ท่านจะยืนต่อหน้าผู้ว่าราชการและกษัตริย์เพราะเรา เพื่อเป็นพยานถึงเรา
ต่อหน้าพวกเขา 10แต่ก่อนหน้านั้นข่าวดีจะต้องได้รับการประกาศให้ชนทุกชาติ
แล้ว 11“เมื่อเขานำท่านไปส่งมอบนั้น จงอย่ากังวลเลยว่าจะต้องพูดอะไร แต่
จงพูดตามที่พระเจ้าทรงดลใจในเวลานั้นเถิด เพราะผู้พูดนั้นไม่ใช่ท่าน แต่
เป็นพระจิตเจ้า 12พี่น้องจะกล่าวโทษกัน พ่อจะกล่าวโทษลูก ลูกจะลุกขึ้นมา
กล่าวหาพ่อแม่เพื่อให้ถูกประหารชีวิต 13ท่านทั้งหลายจะเป็นที่จงเกลียดจงชัง
ของทุกคนเพราะนามของเรา แต่ผู้ใดยืนหยัดอยู่จนถึงวาระสุดท้าย ผู้นั้นก็จะ
รอดพ้น
ทัศนะของนักบุญมาระโกที่ปรากฏในข้อความตอนนี้ ก็คือ เขาต้องการให้คริสตชนเลิก
ทีจ่ ะแสวงหาเครือ่ งหมายของการสิน้ พิภพ แต่ตรงกันข้าม ให้คริสตชนเตรียมใจไว้ลว่ งหน้าทีจ่ ะประกาศ
ข่าวดีแม้ในกรณีที่ถูกเบียดเบียน นี่คือหน้าที่ของคริสตชนในเวลาปัจจุบัน คือ จะต้องประกาศข่าวดี
แก่ชนทุกชาติ โดยเป็นพยานถึงพระคริสตเจ้าแทนที่จะขบคิดคำนึงถึงเวลาสิ้นพิภพ เวลาปัจจุบันยัง
ไม่เป็นวาระสุดท้าย
เมื่อนักบุญมาระโกเตือนคริสตชนว่า “จงอย่าเป็นกังวลไปเลยว่าจะต้องพูดอะไร” เขา
ต้องการให้กำลังใจแก่คริสตชนเวลาที่จะถูกเบียดเบียน พระเจ้าทรงดลใจพระคริสตเจ้าให้ตรัสพระ
วาจาเมื่อทรงรับทรมานฉันใด พระองค์จะดลใจบรรดาศิษย์ให้พูดในเวลาที่ถูกเบียดเบียนฉันนั้น ดังนั้น
บรรดาศิษย์จะไม่พูดด้วยตนเองแต่จะเป็นคำพูดที่มาจากพระจิตเจ้า
“ท่านทั้งหลายจะเป็นที่จงเกลียดจงชังของทุกคนเพราะนามของเรา” (13:13ก) ประโยค
นี้เป็นพระวาจาเดียวกันของพระคริสตเจ้าที่อ้างถึงพระนามของพระองค์ “พระนามของพระเยซูเจ้า”
เป็นสำนวนสำคัญในหนังสือกิจการอัครสาวก เช่น เมื่อนักบุญเปโตรกล่าวว่า “ไม่มีผู้ใดช่วยให้เรา

58
อ นั น ต วิ ท ย า
บ ท ที่ ๔ ... คำปราศรัยของพระเยซูเจ้าเรื่องอนันตกาล

รอดพ้น เพราะใต้ฟ้านี้พระเจ้ามิได้ประทานนามอื่นแก่มนุษย์นอกจากนามนี้ที่ช่วยเราให้รอดพ้นได้”
(กจ 4:12) พระนาม “เยซู” แปลว่า “พระเจ้าทรงช่วยให้รอดพ้น” (มธ 1:21)
คำพังเพยที่ว่าญาติพี่น้องจะเป็นศัตรูของผู้ชอบธรรม เป็นคำสอนที่เราพบบ่อยๆ ใน
วรรณกรรมประเภทวิวรณ์ของชาวยิว นักบุญมาระโกใช้ความคิดนี้แต่เสริมว่า “แต่ผู้ใดยืนหยัดอยู่จน
ถึงวาระสุดท้าย ผู้นั้นก็จะรอดพ้น” ประโยคนี้ดูเหมือนหมายความว่า คริสตชนที่ยืนหยัดทนการเบียด
เบียนโดยคำนึงถึงชะตากรรมสุดท้ายของมนุษย์ก็แน่ใจว่าเขาจะได้รับความรอดพ้น ดังนั้น วาระ
สุดท้ายในที่นี้เป็นคำคลุมเครือ อาจจะหมายถึงทั้งความตายของแต่ละคน หรือหมายถึงการสิ้นพิภพ
ก็เป็นได้
นักบุญมาระโกบรรยายสภาพแท้จริงของคริสตชนทีถ่ กู เบียดเบียนว่า เขาจะต้องใช้ความ
ทุกข์ทรมานของตนให้เป็นโอกาสที่จะเป็นพยานถึงพระคริสตเจ้า และประกาศข่าวดีแห่งความรอด
ตามพระประสงค์ของพระเจ้า ผู้ทรงต้องการให้บรรดาศิษย์ประกาศข่าวดีแห่งความรอดนี้แก่มนุษย์
ทุกชาติก่อนที่จะสิ้นพิภพ เขาให้กำลังใจแก่คริสตชนและสัญญาว่าเขาจะได้รับพระจิตเจ้าผู้ช่วยเขาให้
ทำการนี้ ผู้ที่เกลียดชังพระคริสตเจ้าจะประหารชีวิตเขา แต่เขาจะได้รับความรอดพ้นเพราะความ
หวังที่พระคริสตเจ้าทรงเป็นผู้นำความรอดพ้นอย่างสมบูรณ์
3.4 การทำลายพระวิหารที่กรุงเยรูซาเล็มเป็นการตัดสินลงโทษของพระเจ้า (มก 13:14-
23)
14“เมือ่ ใดทีท่ า่ นทัง้ หลายเห็นผูท้ ำลายทีน่ า่ รังเกียจยืนอยูใ่ นที่ไม่สมควร ให้ผอู้ า่ น
จงเข้าใจเองเถิดว่าหมายถึงอะไร เมือ่ นัน้ ให้ผทู้ อี่ ยูใ่ นแคว้นยูเดียหนีไปยังภูเขา
15
ผู้ที่อยู่บนดาดฟ้าก็อย่าลงมาเก็บข้าวของในบ้าน 16ผู้ที่อยู่ในทุ่งนา จงอย่า
กลับไปเอาเสื้อคลุมที่บ้าน 17น่าสงสารหญิงมีครรภ์และแม่ลูกอ่อนในวันนั้น
18
จงอธิ ษ ฐานภาวนาอย่ าให้ เ หตุ การณ์ นี้ เ กิ ด ขึ้ น ในฤดู ห นาว 19เพราะใน
เวลานั้น จะมีความทุกขเวทนาอย่างที่ ไม่เคยมีตั้งแต่พระเจ้าทรงสร้างโลก
มาจนถึ ง บั ด นี้ และจะไม่ มี ต่ อไปอี ก เลย 20ถ้ า องค์ พ ระผู้ เ ป็ น เจ้ า มิ ไ ด้ ท รง

59
อ นั น ต วิ ท ย า
บ ท ที่ ๔ ... คำปราศรัยของพระเยซูเจ้าเรื่องอนันตกาล

ให้ วั น เหล่ า นั้ น สั้ น ลงแล้ ว มนุ ษ ย์ ทุ ก คนก็ จ ะพิ น าศ แต่ พ ระองค์ ท รงให้ วั น
เหล่านั้นสั้นลงเพราะทรงเห็นแก่ผู้ที่พระองค์ทรงเลือกสรรไว้ 21“เวลานั้น
ถ้าผู้ใดบอกท่านว่า ‘พระคริสต์อยู่ที่นี่’ หรือ ‘พระคริสต์อยู่ที่นั่น ’จงอย่าเชื่อ
22
เพราะจะมีพระคริสต์เทียมและประกาศกเทียมหลายคนเกิดขึ้น จะทำเครื่อง
หมายอัศจรรย์และปาฏิหาริย์ ถ้าเป็นไปได้จะหลอกลวงผู้ที่พระเจ้าทรงเลือก
สรรไว้ 23ท่านทั้งหลายจงระวังให้ดี เราได้กล่าวถึงเหตุการณ์ทั้งหมดนี้ ให้
ฟังไว้ก่อนแล้ว
นักบุญมาระโกกล่าวถึง “ผู้ทำลายที่น่ารังเกียจยืนอยู่ในที่ ไม่ส มควร” “ผู้ทำลายที่
น่ารังเกียจ” เป็นวลีที่เราพบในหนังสือ ดนล 9:27 ; 11:31 ; 12:11 หมายถึงรูปปั้นของเทพเจ้าซีอุส
ซึ่งกษัตริย์อันตี โอคัสแห่งซีเรียทรงบัญชาให้สร้างบนพระแท่นบูชาที่ชาวยิวใช้ถวายเครื่องบูชาแด่
พระยาห์เวห์ ในพระวิหารที่กรุงเยรูซาเล็ม ในปี 168 ก่อน ค.ศ นักบุญมาระโกใช้วลีนี้ โดยไม่
ต้องการหมายความถึงรูปปั้น แต่หมายถึงบุคคล “ผู้ทำลาย” จึงคงจะหมายถึงชาวโรมันที่จะมาทำลาย
พระวิหาร ส่วนวลี “ยืนอยู่ในที่ไม่สมควร” หมายถึงพระวิหารนั่นเอง
นักบุญมาระโกอ้างถึงคำตักเตือนของพระเยซูเจ้าว่า “เมื่อนั้นให้ผู้ที่อยู่ในแคว้นยูเดียหนี
ไปยังภูเขา” เหตุผลที่จะต้องหนีคือ “ผู้ที่อยู่บนดาดฟ้าก็อย่าลงมาเก็บข้าวของในบ้าน ผู้ที่อยู่ในทุ่งนา
จงอย่ากลับไปเอาเสื้อคลุมที่บ้าน” พระเยซูเจ้าตรัสถึงเหตุการณ์ในอนันตกาลซึ่งจะเกิดขึ้นทันทีทันใด
อาจจะเป็นภัยพิบัติคล้ายกับเมื่อเมืองโซดมถูกทำลาย (ปฐก 19:17, 26)
นักบุญมาระโกเสริมว่า “น่าสงสารหญิงมีครรภ์และหญิงแม่ลูกอ่อนในวันนั้น” (มก
13:17) เพราะหญิงเหล่านี้จะต้องหนีไปด้วยความลำบากมาก เป็นภาพเปรียบเทียบที่เราพบใน ฮชย
13:16 ; อมส 1:3,13 เป็นต้น นักบุญมาระโกเชิญชวนให้ “อธิษฐานภาวนาอย่าให้เหตุการณ์นเี้ กิดขึน้
ในฤดูหนาว” เพราะในประเทศปาเลสไตน์ฤดูหนาวเป็นหน้าฝน ถนนกลับเป็นแม่น้ำ การหนีจึงเป็นไป
ได้ยากมาก

60
อ นั น ต วิ ท ย า
บ ท ที่ ๔ ... คำปราศรัยของพระเยซูเจ้าเรื่องอนันตกาล

ประโยค “ถ้าองค์พระผู้เป็นเจ้ามิได้ทรงให้วันเหล่านั้นสั้นลงแล้วมนุษย์ทุกคนก็จะพินาศ
แต่พระองค์ทรงให้วันเหล่านั้นสั้นลง” ทำให้เราเข้าใจว่า นักบุญมาระโกคงจะคิดถึงความทุกขเวทนา
นี้เป็นเหตุการณ์สุดท้ายก่อนสิ้นพิภพ หรือพูดอีกนัยหนึ่ง นักบุญมาระโกทราบว่า หลังจากพระวิหาร
กรุงเยรูซาเล็มถูกทำลาย ประวัติศาสตร์มนุษย์ก็ยังมีต่อ แต่ไม่นานนัก และจะไม่มีวันทนทุกขเวทนา
มากกว่าที่ได้ประสบในโอกาสนั้น เพราะการสิ้นพิภพจะมาถึงโดยเร็ว วลีที่ว่า “เพราะทรงเห็นแก่ผู้
ที่พระองค์ทรงเลือกสรรไว้” หมายถึง พระเจ้าทรงเมตตากลุ่มคริสตชน จึงทรงบันดาลให้เวลาแห่ง
ความทุกขเวทนาสั้นลง
ข้อความ 13:21-23 ดูเหมือนซ้ำข้อความใน 13:5-6, 9ก นักบุญมาระโกต้องการ
เน้นว่า ทุกขเวทนา “ในวันเหล่านั้น” จะมากขึ้นจนถึงจุดที่ประกาศกเทียมจะปรากฏมาหลอกว่า
พระคริสต์จะมาถึง ประกาศกเทียมจะพยายามหลอกลวงผู้มีความเชื่อ ตามความคิดของประกาศก
เศคาริยาห์ (ศคย 13:2) และหนังสือเฉลยธรรมบัญญัติ (ฉธบ 13:1-3) การทำอัศจรรย์ไม่เป็น
ข้อพิสูจน์ว่า ผู้ทำอัศจรรย์มาจากพระเจ้า นักบุญมาระโกจึงสอนว่า ถ้าพระเจ้าไม่ประทานพระ-
หรรษทานมาช่วยเหลือ บรรดาคริสตชนจะหลงทาง นักบุญมาระโกคงจะได้เขียนในช่วงเวลาที่ทหาร
โรมันกำลังล้อมกรุงเยรูซาเล็ม หรือหลังจากกรุงเยรูซาเล็มถูกทำลายไม่นาน เขาคงจะคิดว่า การ
ทำลายพระวิหารเป็นการทุรจารต่อพระเจ้า ซึ่งจะนำไปสู่การสิ้นพิภพ นักบุญมาระโกเตือนคริสตชน
ให้หนีออกจากรุงเยรูซาเล็มเพื่อจะแยกตัวจากลัทธิยูดาย เตรียมตัวจะเผชิญกับการสิ้นพิภพ
3.5 การเสด็จมาอย่างรุ่งโรจน์ของบุตรแห่งมนุษย์ (มก 13:24-27)
24
“ในวันเหล่านั้นเมื่อทุกขเวทนาผ่านไปแล้ว ดวงอาทิตย์จะมืดไป ดวงจันทร์
จะไม่ทอแสง 25ดวงดาวจะตกจากท้องฟ้า และอานุภาพบนท้องฟ้าจะสั่น
สะเทือน 26เมื่อนั้นประชาชนทั้งหลายจะเห็นบุตรแห่งมนุษย์เสด็จมาในก้อน
เมฆ ทรงพระอานุภาพและพระสิริรุ่งโรจน์ยิ่งใหญ่ 27เมื่อนั้นพระองค์จะทรงใช้
ทูตสวรรค์ไปรวบรวมผู้ที่ทรงเลือกสรรจากทั้งสี่ทิศ จากปลายแผ่นดินจนสุด
ขอบฟ้า

61
อ นั น ต วิ ท ย า
บ ท ที่ ๔ ... คำปราศรัยของพระเยซูเจ้าเรื่องอนันตกาล

นักบุญมาระโกกล่าวชัดเจนว่า การที่กรุงเยรูซาเล็มถูกทำลายและการเสด็จมาของบุตร
แห่งมนุษย์เกิดขึ้นในเวลาที่ห่างกัน กล่าวคือ การเสด็จมาของพระบุตรจะเกิดขึ้นหลังจากเหตุการณ์
สองประการ ประการแรก คือ พระวิหารที่กรุงเยรูซาเล็มจะถูกทำลาย และต่อมาประการที่สองจะ
เกิดความทุกขเวทนา และหลังจากที่เหตุการณ์ทั้งสองเสร็จสิ้นแล้วบุตรแห่งมนุษย์จึงจะเสด็จมา
นักบุญมาระโกกล่าวถึงเครื่องหมายที่จะเกิดขึ้นก่อนที่บุตรแห่งมนุษย์จะเสด็จมา โดย
ใช้ภาพที่คัดมาจากพันธสัญญาเดิมเกี่ยวกับภัยพิบัติที่จะเกิดขึ้นในท้องฟ้า “ดวงอาทิตย์จะมืดไป
ดวงจันทร์จะไม่ส่องแสง ดวงดาวจะตกจากท้องฟ้า” (เทียบ อสย 13:10; 34:4)
เราพบคำว่า “บุตรแห่งมนุษย์” ผู้เสด็จมาในหมู่เมฆในหนังสือประกาศกดาเนียล 7:13
หมายถึง พระเมสสิยาห์ ผู้แทนคนชอบธรรมแห่งอิสราเอล แต่ในหนังสือพระวรสารผู้ได้รับพระสิริ
รุ่งโรจน์ไม่เป็นเพียง “เหมือนบุตรแห่งมนุษย์” (ดนล 7:13) แต่เป็น “บุตรแห่งมนุษย์” คือพระเยซู-
คริสตเจ้าดังที่ทรงเรียกพระองค์เองเมื่อทรงดำรงพระชนมชีพบนแผ่นดิน
ทัศนะของนักบุญมาระโก คือ ทุกขเวทนาทีจ่ ะเกิดขึน้ หลังจากพระวิหารทีก่ รุงเยรูซาเล็ม
จะถูกทำลายยังไม่เป็นเครื่องหมายของวาระสุดท้าย ซึ่งจะเกิดขึ้นเพียงหลังจากทุกขเวทนาเท่านั้น
เครื่องหมายของดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดวงดาวจะต้องตีความหมายตามข้อความในหนังสือของ
ประกาศกอิสยาห์ (อสย 13:10 และ 34:4) หมายถึง การที่พระเจ้าจะทรงสร้างโลกใหม่ พระองค์
จะทรงขจัดอำนาจของปีศาจที่ปกครองดวงดาวต่างๆ ตามความเชื่อของคนสมัยนั้นอย่างสิ้นเชิง
นักบุญมาระโกเข้าใจว่า การเสด็จมาอย่างรุ่งโรจน์ของพระคริสตเจ้าจะเป็นเหตุการ์ที่มนุษย์ทุกคนได้
เห็น “ประชาชนทั้งหลายจะเห็นบุตรแห่งมนุษย์เสด็จมา” นั่นคือ มนุษย์ทุกคนจะต้องเผชิญกับการ
พิพากษา นักบุญมาระโกไม่ตอ้ งการเน้นชะตากรรมของคนอธรรม เพียงต้องการให้กำลังใจแก่คริสตชน
ในสมัยของตนโดยกล่าวว่า “ผู้ที่พระองค์ทรงเลือกสรรจะได้รับความบรรเทา”

62
อ นั น ต วิ ท ย า
บ ท ที่ ๔ ... คำปราศรัยของพระเยซูเจ้าเรื่องอนันตกาล

3.6 อุปมาเรื่องต้นมะเดื่อเทศ (มก 13:28-29)


28“จงเรียนคำอุปมาเรื่องต้น มะเดื่อเทศเถิด เมื่อมันแตกกิ่งอ่อนและผลิใบ
ท่านทั้งหลายย่อมรู้ว่าฤดูร้อนใกล้เข้ามาแล้ว 29ท่านก็เช่นเดียวกัน เมื่อเห็น
สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้น ก็จงรู้เถิดว่าพระองค์ทรงใกล้เข้ามา อยู่ที่ประตูแล้ว
นักบุญมาระโกคงจะดัดแปลงอุปมาที่พระเยซูเจ้าตรัสอธิบายเรื่องพระอาณาจักรของ
พระเจ้า ในอุปมานี้พระองค์ทรงต้องการสอนว่า ฤดูร้อนที่ใกล้จะมาถึงเป็นสาเหตุให้ต้นไม้ผลิใบอ่อน
ฉันใด เวลาที่พระองค์ทรงพระชนมชีพก็แสดงว่า พระอาณาจักรของพระเจ้าอยู่ใกล้อย่างแน่นอน
ฉันนั้น นักบุญมาระโกจึงใช้อุปมาเรื่องนี้เพื่อแสดงว่า การที่พระวิหารที่กรุงเยรูซาเล็มถูกทำลายนั้น
ชี้ให้เห็นว่าการสิ้นพิภพที่จะนำความรอดที่สมบูรณ์นั้นใกล้เข้ามาถึงแล้ว
3.7 พระวาจาเพิ่มเติม (มก13:30-32)
30เราบอกความจริงแก่ท่านว่า คนในชั่วอายุนี้จะไม่ล่วงพ้นไปก่อนที่เหตุการณ์
เหล่านี้จะเกิดขึ้น 31ฟ้าดินจะสูญสิ้นไป แต่วาจาของเราจะไม่สูญสิ้นไปเลย
32“ส่วนเรื่องวันและเวลานั้น ไม่มีใครรู้เลย ทั้งบรรดาทูตสวรรค์ และแม้แต่
พระบุตร นอกจากพระบิดาเพียงพระองค์เดียว
นักบุญมาระโกรวบรวมพระวาจาบางคำของพระเยซูเจ้า เพื่อรับรองคำสอนของอุปมา
เรื่องต้นมะเดื่อเทศ สำหรับนักบุญมาระโก “คนในชั่วอายุนี้” หมายถึง คนร่วมสมัยกับพระเยซูเจ้า
และในเวลาเดียวกัน หมายถึง ทุกคนที่อ่านหนังสือพระวรสารที่เขาเขียน นักบุญมาระโกยืนยันว่า
การสิ้นพิภพจะเกิดขึ้นในไม่ช้า เพราะพระคริสตเจ้าได้ตรัสว่า “เราบอกความจริงแก่ท่านว่า คนใน
ชั่วอายุนี้จะไม่ล่วงพ้นไปก่อนที่เหตุการณ์เหล่านี้จะเกิดขึ้น” พระวาจานี้เป็นความจริงแน่นอน เพราะ
พระองค์ทรงเสริมว่า “ฟ้าดินจะล่วงพ้นไป แต่วาจาของเราจะไม่ล่วงพ้นไปเลย”
นักบุญมาระโกยังต้องการย้ำเตือนคริสตชนมิให้สาละวนแสวงหา หรือค้นคว้าในเรื่อง
เวลาการสิ้นพิภพ ตามแนวโน้มของชาวยิวในสมัยนั้น เพราะพระเยซูเจ้าตรัสว่า “ส่วนเรื่องวันและ
เวลานัน้ ไม่มีใครรูเ้ ลย ทัง้ บรรดาทูตสวรรค์ และแม้แต่พระบุตร นอกจากพระบิดาเพียงพระองค์เดียว”

63
อ นั น ต วิ ท ย า
บ ท ที่ ๔ ... คำปราศรัยของพระเยซูเจ้าเรื่องอนันตกาล

3.8 ข้อสรุป การเตือนให้เตรียมพร้อม (มก 13:33-37)


33“จงระวัง จงตื่นเฝ้าเถิด เพราะท่านทั้งหลายไม่รู้ว่าวันเวลานั้นจะมาถึงเมื่อไร
34
เหมือนกับชายคนหนึ่งที่ก่อนจะเดินทางออกจากบ้านได้มอบอำนาจให้กับ
ผู้รับใช้ ให้แต่ละคนมีงานของตนและยังสั่งคนเฝ้าประตูให้คอยตื่นเฝ้าไว้
35
ดังนั้น ท่านทั้งหลายจงตื่นเฝ้าเถิด เพราะท่านไม่รู้ว่าเจ้าของบ้านจะมาเมื่อไร
อาจจะมาเวลาค่ำ เวลาเที่ยงคืน เวลาไก่ขัน หรือเวลารุ่งเช้า 36ถ้าเขากลับมา
โดยไม่คาดคิด อย่าให้เขาพบท่านกำลังหลับอยู่ 37สิ่งที่เราบอกท่าน เราก็บอก
ทุกคนด้วยว่า จงตื่นเฝ้าเถิด”
บทสรุปของนักบุญมาระโกให้ข้อเตือนใจคริสตชนในสมัยของเขา โดยบันทึกพระวาจา
ที่พระเยซูเจ้าทรงเตือนคริสตชนว่า “จงระวัง จงตื่นเฝ้าเถิด เพราะท่านไม่รู้ว่าวันเวลานั้นจะมาถึง
เมื่อไร” “วันเวลา” ในที่นี้หมายถึงการสิ้นพิภพและการเสด็จมาอย่างรุ่งโรจน์ของพระคริสตเจ้าและ
คริสตชนจะต้องรอคอยวันนั้นด้วยการเฝ้าระวัง การรอคอยนี้คริสตชนไม่ต้องรอคอยด้วยความกังวล
หรือตื่นเต้นเกินไป เพราะทุกคนยังต้องทำภารกิจที่พระองค์ทรงมอบหมายให้ไว้ในขณะที่รอคอยอยู่
เหมือนกับคนเฝ้าประตูที่รอรับเจ้านายตลอดวันตลอดคืน
คำที่ว่า “อย่าให้เขาพบท่านกำลังหลับอยู่” ชวนให้เราระลึกถึงคำเตือนที่พระเยซูเจ้าทรง
ให้ไว้แก่อัครสาวกทั้งสามคน เมื่อพระองค์ทรงอธิษฐานภาวนาในสวนเกทเสมนีและพบว่าเขานอนหลับ
อยู่ (เทียบ มก 14:37, 40, 41) คริสตชนทุกคนจะถูกทดสอบเหมือนกับอัครสาวกทั้งสามคนนั้น ท่าน
ทั้งสามไม่ได้ตื่นเฝ้าจึงพ่ายแพ้ ส่วนคริสตชนจะต้องปฏิบัติตามพระฉบับของพระเยซูคริสตเจ้าผู้ทรง
ตื่นเฝ้าอธิษฐานภาวนา

64
อ นั น ต วิ ท ย า
บ ท ที่ ๔ ... คำปราศรัยของพระเยซูเจ้าเรื่องอนันตกาล

4. สรุปทัศนะของนักบุญมาระโก
นักบุญมาระโกมีแนวความคิดว่า ความรอดพ้นที่ส มบูรณ์ซึ่งพระเยซูเจ้าทรงสัญญาไว้จะ
เกิดขึ้นเพียงในอนาคต แต่ไม่มีใครสามารถคำนวณวันเวลานั้นได้ สิ่งสำคัญก็คือ ต้องดำเนินชีวิตใน
ปัจจุบันตามคำสั่งสอนของพระคริสตเจ้า และเป็นพยานถึงพระองค์ นักบุญมาระโกต้องการเน้นว่า
ช่วงระยะเวลานี้จะสั้น แต่คริสตชนต้องตื่นเฝ้าอธิษฐานภาวนาอยู่เสมอ
คริสตชนจะสามารถคงความซื่อสัตย์ต่อพระคริสตเจ้าถ้าได้รับความช่วยเหลือจากพระองค์
อาศัยการภาวนา พระคริสตเจ้าทรงให้พระฉบับของพระองค์แก่เราเมื่อพระองค์ทรงอธิษฐานภาวนา
ในสวนเกทเสมนีก่อนที่จะทรงรับทนทรมาน การภาวนาเป็นพลังสำหรับคริสตชนในสมัยนี้ด้วยเช่นกัน
เพราะคนในปัจจุบันมักจะยกย่องอำนาจของวิทยาศาตร์และเทคโนโลยีในการเปลี่ยนแปลงโลก แต่
คริสตชนทราบว่าพระเจ้าเพียงพระองค์เดียวทรงทำให้โลกบรรลุถึงความสมบูรณ์ได้ตามพระประสงค์

65
อ นั น ต วิ ท ย า
บ ท ที่ ๔ ... คำปราศรัยของพระเยซูเจ้าเรื่องอนันตกาล

66
อ นั น ต วิ ท ย า

You might also like