You are on page 1of 22

บ ท ที่ ๕ ...

อนันตวิทยาในเทววิทยาร่วมสมัย


เทววิทยาเรื่อง “อนันตกาล” ได้รับความสนใจเป็นพิเศษจากบรรดานักเทววิทยาร่วมสมัย
ผู้ขยายทรรศนะและความเข้าใจเนื้อหาในแง่ต่างๆ มากกว่าในอดีต นักเทววิทยาร่วมสมัยมีความ
สำนึกว่า หนังสือเทววิทยาว่าด้วยอนันตวิทยายังขาดลักษณะที่สมบูรณ์ เพราะขาดทรรศนะที่ว่า การ
เปิดเผยในพันธสัญญาเดิมและพันธสัญญาใหม่มีลักษณะเป็นประวัติศาสตร์ คือ พระเจ้าทรงพระ-
เมตตาเข้าแทรกแซงในชีวิตของมนุษย์ เพื่อมนุษย์จะได้รับความสุขสมบูรณ์ทั้งส่วนตัวและส่วนรวม
“เหตุการณ์สุดท้าย” เป็นทั้งจุดมุ่งหมายและวิถีทางที่พระเจ้าทรงเปิดเผยในประวัติศาสตร์
คือ เป็นเหตุการณ์ที่เริ่มต้นเมื่อพระคริสตเจ้าทรงรับธรรมชาติมนุษย์ ดังที่นักบุญเปาโลเรียกพระ-
คริสตเจ้าว่า “มนุษย์สมบูรณ์” (เทียบ อฟ 4:13) และจะสิ้นสุดบริบูรณ์เมื่อพระองค์เสด็จมาอย่าง
รุ่งโรจน์ เมื่อนั้น “ฟ้าใหม่และแผ่นดินใหม่” (2 ปต 3:13) จะปรากฏ พระเจ้ายังทรงเปิดเผย
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นระหว่างสองเหตุการณ์นี้ คือ วาระของพระศาสนจักร ดังนั้น อนันตวิทยาจึงศึกษา
ทั้งความจริงบางประการที่พระเจ้าทรงเปิดเผยเกี่ยวกับอนาคตและทรรศนะใหม่ในความเข้าใจของ
การเปิดเผยทั้งหมด

68
อ นั น ต วิ ท ย า
บ ท ที่ ๕ ... อนันตวิทยาในเทววิทยาร่วมสมัย

โดยแท้จริงแล้ว บรรดานักเทววิทยาร่วมสมัยเริ่มเข้าใจว่า อนันตวิทยาไม่เป็นเพียงวิชา


สำคัญแขนงหนึ่งที่มีเนื้อหาเฉพาะเจาะจง แต่เป็นวิชาที่มีความสัมพันธ์กับวิชาเทววิทยาเรื่องอื่นๆ
เพราะวิชาเทววิทยาทุกแขนงศึกษาเรื่องความรอดพ้นของมนุษย์ ความรอดพ้น คือ สภาพมนุษย์ที่
ได้รับการเปลี่ยนแปลงและได้รับการรื้อฟื้นใหม่ในชีวิตนี้ และยังเป็นสภาพของสังคมและโลกที่ได้รับ
การการพัฒนาจนสมบูรณ์ เราจึงต้องคำนึงถึงความหมายของความจริงต่างๆ ที่พระเจ้าทรงปิดเผย
ในแง่อนันตวิทยา เช่น การไถ่บาป พระศาสนจักร ศีลศักดิ์สิทธิ์ พระหรรษทาน คุณธรรมเหนือ
ธรรมชาติและจริยธรรม การเข้าใจความหมายของอนันตวิทยาในแง่นี้จะทำให้เราสามารถเข้าใจ
คำพูดของ โมลท์มาน (Moltmann) นักเทววิทยาโปรเตสแตนต์ที่กล่าว่า
“ตั้งแต่เริ่มแรกจนถึงสิ้นสุด คริสต์ศาสนาเป็นเรื่องของอนันตวิทยา เป็นเรื่อง
ของความหวังที่มุ่งสู่อนาคตและมุ่งไปข้างหน้า ดังนั้น คริสต์ศาสนาจึงปฏิรูป
และเปลี่ยนแปลงสภาพปัจจุบัน เรื่อง อนันตวิทยาไม่ใช่เป็นส่วนประกอบ
ส่วนหนึ่งของคริสต์ศาสนาแต่เป็นสื่อโยงความเชื่อของคริสตชน เป็นเหมือน
เครื่องมือที่ทำให้ทุกสิ่งทุกอย่างอยู่ในสภาพเรียบร้อย เป็นแสงที่ส่องสว่างให้กับ
ทุกสิ่งทุกอย่างในรุ่งอรุณของวันใหม่ เพราะว่าความเชื่อของคริสตชนมีตัวตน
เพราะการกลับคืนพระชนมชีพของพระคริสตเจ้า ผู้ทรงสัญญาว่ามนุษย์ทุกคน
จะได้มีประสบการณ์เช่นเดียวกันในอนาคต อนันตวิทยาเป็นการทนทุกข์ และ
การเฝ้าคอยที่เร่าร้อน ซึ่งเกิดขึ้นเพราะพระคริสตเจ้า ดังนั้น อนันตวิทยาจึง
ไม่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของวิชาพระสัจธรรมในคริสต์ศาสนา แต่ที่ถูกแล้ว การ
มองทุกสิง่ ในแง่ของอนันตวิทยา เป็นลักษณะของการประกาศคริสต์ศาสนา ของ
การเจริญชีวติ คริสตชน และของพระศาสนจักรทัง้ มวล” (Theology of Hope)
ลักษณะที่เด่นชัดของเทววิทยาร่วมสมัย (Contemporary Theology) ไม่ว่าจะเป็นเทววิทยา
ของคาทอลิกหรือโปรเตสแตนต์ก็ตาม คือ การศึกษาอนันตวิทยา ความก้าวหน้าในการค้นคว้าพระ
คัมภีร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การศึกษาพันธสัญญาใหม่ทำให้เกิดทั้งวิธีการใหม่ในการเข้าใจและอธิบาย

69
อ นั น ต วิ ท ย า
บ ท ที่ ๕ ... อนันตวิทยาในเทววิทยาร่วมสมัย

การเปิดเผยของพระเจ้า และการค้นหาความหมายแท้ของอนันตวิทยาในพระวาจาและพระชนมชีพ
ของพระคริสตเจ้าจากข้อเขียนของคริสตชนสมัยแรก ๆ
ในคริสต์ศตวรรษที่ 20 การค้นคว้าพระคัมภีร์เพื่อที่จะได้เข้าใจอนันตวิทยาอย่างถูกต้องตาม
ความหมายของพันธสัญญาใหม่ มีอิทธิพลต่อวิชาอนันตวิทยามากกว่าวิชาเทววิทยาอื่นๆ จึงก่อให้
เกิดแนวความคิดหลายกระแสที่ค่อนข้างสับสน เพราะพันธสัญญาใหม่ไม่ชี้ให้เห็นแนวความหมายที่
ชัดเจนของอนันตวิทยา บรรดาผู้เชี่ยวชาญจึงมีความเห็นแตกต่างกันออกไป
เราไม่สามารถอธิบายอย่างละเอียดถึงความคิดเห็นต่างๆ ในศตวรรษนี้เกี่ยวกับเรื่องอนันต-
วิทยา แต่เราจะบรรยายถึงแนวโน้มที่สำคัญในเรื่องอนันตวิทยา ดังต่อไปนี้
• อนันตวิทยาที่สมเหตุสมผล (Consequent Eschatology)
• อนันตวิทยาปฏิพัฒนาการ (Dialectical Eschatology)
• อนันตวิทยาเชิงอัตถิภาวนิยม (Existential Eschatology)
• อนันตวิทยาที่เป็นความจริงแล้ว (Realized Eschatology)
• อนันตวิทยาในแง่ความสำเร็จของคำสัญญา (Eschatology as Fulfillment and
Promise)
• การฟื้นฟูอนันตวิทยาของนักเทววิทยาคาทอลิก (Renewal in Catholic Eschato-
logy)
• อนันตวิทยาในแง่ของการวิวัฒนาการ, การเมืองและการปฏิรูปสังคม (Evolutionary,
Political and Revolutionary Perspectives of Eschatology)

1. อนันตวิทยาที่สมเหตุสมผล (Consequent Eschatology)


ในปี ค.ศ.1892 เจ.ไวส์ ( J. Weiss) ได้เขียนหนังสือเล่มหนึ่ง ซึ่งก่อให้เกิดการถกเถียงกัน
มาก หนังสือนี้มีชื่อว่า “การเทศน์สอนของพระคริสตเจ้าเกี่ยวกับพระอาณาจักรของพระเจ้า” (Die

70
อ นั น ต วิ ท ย า
บ ท ที่ ๕ ... อนันตวิทยาในเทววิทยาร่วมสมัย

Predigt Jesu Vom Reiche Gottes) เจ. ไวส์ไม่เห็นด้วยกับพ่อตาของเขา คือ เอ. ริทเชิล (A. Ritchl)
และกับผู้ส่งเสริมเทววิทยาแบบเสรีนิยม (Liberal Theology)
เจ.ไวส์เชื่อว่า พระเยซูเจ้าไม่มีพระประสงค์จะประกาศพระอาณาจักรของพระเจ้าที่อยู่ใน
จิตใจมนุษย์ แต่ทรงคิดว่า พระเจ้าจะเสด็จเข้ามาปกครองเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ของมนุษย์อย่าง
ฉับพลัน เพราะคำพยากาณ์ของบรรดาประกาศกและสัญลักษณ์ต่างๆ ในวรรณกรรมประเภทวิวรณ์
ที่พระเยซูเจ้าทรงใช้ในการเทศน์สอนนั้น ชี้ให้เห็นว่า พระองค์ทรงรอคอยพระอาณาจักรของพระเจ้า
ที่กำลังจะมาถึง พระอาณาจักรนี้ไม่มีลักษณะเจริญเติบโตภายในจิตใจมนุษย์และค่อยๆ พัฒนาขึ้น
แต่เป็นเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เพราะเป็นการกระทำของพระเจ้าเมื่อระบบของโลกนี้จะสูญ
หายไปและจะเริ่มโลกใหม่
ในตอนแรก พระเยซูเจ้าทรงหวังว่า พระอาณาจักรจะมาถึงในช่วงเวลาทีย่ งั ทรงพระชนมชีพ
แต่ต่อมา พระองค์ทรงผิดหวังที่บรรดาศิษย์ส่วนใหญ่ละทิ้งพระองค์เหลืออยู่เพียงไม่กี่คน และทรง
เห็นว่าบรรดาศัตรูต่อต้านพระองค์มากยิ่งขึ้น จึงทรงเปลี่ยนความคิดและทรงคาดว่า จะทรงต้องรับ
ทรมานและสิ้นพระชนม์ เพื่อพระอาณาจักรของพระเจ้าจะมาถึง
เจ.ไวส์ สันนิษฐานความคิดของพระเยซูเจ้าว่า บุตรแห่งมนุษย์จะทรงปรากฏมาในระหว่าง
คนร่วมสมัยของพระองค์ บุตรแห่งมนุษย์ไม่ใช่พระเยซูเจ้า แต่เป็นผู้หนึ่งที่จะทำให้พระอาณาจักร
ของพระเจ้ามาถึง เจ.ไวส์คิดว่า คนในสมัยใหม่จะนำคำสอนของพระวรสารเรื่องอนันตวิทยามาปฏิบัติ
ในสังคมไม่ได้ เพราะคำสอนนั้นปฏิบัติได้เฉพาะระยะเวลาสั้นๆ คือ ในช่วงเวลาตั้งแต่พระเยซูเจ้า
ทรงพระชนมชีพจนถึงวันที่บุตรแห่งมนุษย์จะเสด็จมาสถาปนาพระอาณาจักรของพระเจ้าเท่านั้น
ดังนั้น เจ.ไวส์เป็นคนแรกที่เน้นว่า คำสอนของพระเยซูเจ้าเป็นเรื่องเกี่ยวกับอนาคต เป็น
เรื่องการกระทำของพระเจ้าในอนาคตอันใกล้ เหตุการณ์นี้ยังไม่เกิดขึ้นและเป็นเพียงความเพ้อฝัน
คำสั่งสอนของพระเยซูเจ้าเรื่องอนันตวิทยาปฏิบัติไม่ได้ในปัจจุบัน แต่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการเทศน์
สอนทัง้ หมด คริสตชนจึงต้องศึกษาการเทศน์เรือ่ งอืน่ ๆ ในพระวรสาร เพือ่ ค้นพบคำสอนทางจริยธรรม
ที่ปฏิบัติได้ในสมัยของเรา คริสต์ศาสนาจึงไม่ตั้งอยู่บนความเชื่อเรื่องอนันตกาล แต่อยู่บนคำสั่งสอน

71
อ นั น ต วิ ท ย า
บ ท ที่ ๕ ... อนันตวิทยาในเทววิทยาร่วมสมัย

ทางจริยธรรมของพระเยซูเจ้า ในที่สุด ความคิดของเจ.ไวส์ ผู้ต้องการต่อต้านเทววิทยาแบบเสรีนิยม


ในเรื่องอนันตกาล กลับมีความคิดเช่นเดียวกับนักเทววิทยาแบบเสรีนิยมในเรื่องจริยธรรม
อัลเบิรท์ ชไวน์เซอร์ (Albert Schweitzer) ไม่เห็นด้วยกับความคิดของนักเทววิทยาแบบ
เสรีนิยม โดยสิ้นเชิง แต่เห็นด้วยกับ เจ.ไวส์ ในเรื่องแนวความคิดของพระเยซูเจ้าดังที่ปรากฏในคำ
เทศน์สอนของพระองค์ ชไวน์เซอร์ให้ความเห็นว่า เราไม่สามารถแยกคำสอนของพระคริสตเจ้าออก
เป็นสองส่วน คือ ส่วนอนันตวิทยา และส่วนจริยธรรม ความคิดของพระเยซูเจ้าจะสมเหตุสมผลถ้า
คำสอนของพระองค์เป็นไปในแง่อนันตวิทยาเท่านั้น
ในหนังสือเล็กๆ เล่มหนึ่งซึ่งตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1901 ชไวน์เซอร์ได้เสนอความเข้าใจที่สมบูรณ์
เกี่ยวกับเรื่องอนันตวิทยา และในหนังสือเล่มต่อไปที่มีชื่อว่า “การแสวงหาพระเยซูเจ้าทางประวัติ-
ศาสตร์” (The Quest of the Historical Jesus) เขาได้อธิบายคำสอนของพระเยซูเจ้าในแง่อนันต-
วิทยาเท่านั้น เขาได้ชี้แจงอย่างถูกต้องว่า เป็นไปไม่ได้ที่จะแยกจริยธรรมของพระเยซูเจ้าออกจาก
เรื่องอนันตวิทยาที่พบในคำเทศน์สอนของพระองค์ เขาพิสูจน์ว่า ความคิดของนักเทววิทยาแบบเสรี
นิยมที่ตัดมุมมองของอนันตวิทยาออกจากการเทศน์สอนของพระคริสตเจ้า แล้วสรุปว่าหลักคำสอน
ทางจริยธรรมของพระองค์ใช้ได้เสมอไปทุกสมัย ไม่มีพื้นฐานในคำสอนของพระเยซูเจ้าทางประวัติ-
ศาสตร์
ชไวน์เซอร์ยึดมั่นว่า จริยธรรมของพระเยซูเจ้าเป็นจริยธรรมชั่วคราว ซึ่งมีจุดประสงค์ให้
มนุษย์เตรียมตัวรับพระอาณาจักรของพระเจ้าที่กำลังมาถึง แต่เพราะพระอาณาจักรที่พระคริสตเจ้า
ทรงรอคอยอยู่ไม่ได้มาถึงตามที่พระองค์ทรงรอคอย ชไวน์เซอร์จึงสรุปว่า จริยธรรมของพระองค์ใช้
ไม่ได้สำหรับโลกปัจจุบัน อย่างไรก็ดี แบบฉบับของพระเยซูเจ้าผู้ทรงละทิ้งทุกสิ่งในโลก รวมทั้ง
คำสอนของพระองค์ผู้ทรงเรียกร้องให้ทุกคนปฏิบัติเช่นนี้และพยายามพัฒนาบุคลิกภาพของตนโดย
อุทิศตนแก่ผู้อื่น ยังคงมีคุณค่าสำหรับมนุษย์ทุกยุคทุกสมัย เราต้องการบุคคลมากมายที่เป็นเหมือน
พระเยซูเจ้า คือ บุคคลผู้มีความกระตือรือร้นและมีจิตใจเสียสละเยี่ยงพระองค์ เราต้องรู้จักเลือก

72
อ นั น ต วิ ท ย า
บ ท ที่ ๕ ... อนันตวิทยาในเทววิทยาร่วมสมัย

พระอาณาจักรของพระเจ้าเช่นเดียวกับพระองค์ ถ้าเราสามารถชนะอุปสรรคและความลำบากต่างๆ
ที่เราเผชิญในชีวิต ความเชื่อเรื่องพระอาณาจักรก็จะเข้มแข็งยิ่งขึ้น
ชไวน์เซอร์ ได้อธิบายอย่างชัดเจนอีกว่า แม้พันธสัญญาใหม่มีแนวความคิดหลากหลายทาง
เทววิทยา ก็มีมุมมองทางอนันตวิทยาอย่างสมเหตุสมผล อย่างไรก็ดี เทววิทยาของชไวน์เซอร์ไม่
ประสบผลสำเร็จ เพราะไม่ดำเนินตามมิติอนาคตทางอนันตวิทยาของพระเยซูเจ้า ดังที่เขาค้นพบใน
ประวัติศาสตร์ ดูเหมือนว่า ชไวน์เซอร์ไม่ปฏิบัติตามที่เขาสอน นักเทววิทยาบางวิพากษ์วิจารณ์ว่า
ชไวน์เซอร์ได้เสนอพระเยซูเจ้าทางประวัติศาสตร์ว่า ทรงเป็นเหมือนต้นไม้ที่โตขึ้นโดยมีรากฝังในดิน
ของอนันตวิทยา ถ้าย้ายต้นไม้มาปลูกในดินสมัยของเรา ต้นนั้นจะเหี่ยวแห้งไป เพราะเป็นไปไม่ได้ที่
ต้นไม้นี้จะเจริญเติบโตในดินสมัยของเราได้อีก
สรุปแล้ว ชไวน์เซอร์และศิษย์ของเขายืนยันว่า พระเยซูเจ้าทรงรอคอยอวสานของโลกเป็น
เหตุการณ์หนึ่งในอนาคตที่จะต้องเกิดขึ้นในพระชนมชีพของพระองค์ แต่ทรงคิดผิดในเรื่องนี้ ข้อดี
ในแนวความคิดของชไวน์เซอร์คือชวนเราให้มีความสนใจเรื่องอนันตวิทยาในคำสอนของพระเยซูเจ้า
แต่เขาอธิบายทัศนะคติของพระเยซูเจ้าเรื่องอนันตกาลไม่ถูกต้อง เพราะไม่สอดคล้องกับการเทศน์
สอนทั้งหมดของพระเยซูเจ้า ดังที่มีบันทึกไว้ในพระวรสาร

2. อนันตวิทยาปฏิพัฒนาการ (Dialectical Eschatology)


ถ้า อัลเบิรท์ ชไวนเซอร์เป็นที่รู้จักกันมากในหมู่ผู้สนับสนุนความคิดที่ว่า คำสั่งสอนของ
พระเยซูเจ้าทั้งหมดมีลักษณะอนันตวิทยา คาร์ล บาร์ท (Karl Barth) ก็เป็นที่รู้จักกันมากในหมู่ผู้
สนับสนุนอนันตวิทยาปฏิพฒ ั นาการ เราสรุปความคิดของคาร์ล บาร์ทได้ในประโยคทีว่ า่ “คริสต์ศาสนา
ที่ไม่มีลักษณะอนันตวิทยาในทุกข้อ ย่อมไม่มีความสัมพันธ์อย่างสมบูรณ์กับพระเยซูเจ้าเลย”
ภาวะแย้ง (Antithesis) ระหว่างพระเจ้ากับมนุษย์ หรือนิรันดรภาพกับกาลเวลาในความคิด
ดังกล่าวดูเหมือนจะรุนแรงมากเกินไป นักเทววิทยาผู้เลื่อมใสอนันตวิทยาปฏิพัฒนาการนำความคิด
ของปฏิพัฒนาการเชิงจิตนิยม (Idealistic Dialectic) มาใช้ในการอธิบายอนันตวิทยา ข้อความ

73
อ นั น ต วิ ท ย า
บ ท ที่ ๕ ... อนันตวิทยาในเทววิทยาร่วมสมัย

ทั้งหมดในพระคัมภีร์ที่กล่าวถึงเหตุการณ์สุดท้ายได้รับการอธิบายว่า เป็นเพียงสัญลักษณ์แห่งความ
จริงที่พระเจ้าทรงอยู่เหนือทุกสิ่ง (อุตรภาพ Transcendence) ทรงอยู่เหนือสิ่งทั้งหลายที่อาจจะถูก
สร้างหรือไม่ถูกสร้าง (Contingence) และเป็นสัญลักษณ์แห่งความจริงที่พระเจ้า ผู้ทรงสรรพานุภาพ
ทรงมีความสัมพันธ์กับสิ่งสร้างทั้งหลาย ซึ่งมีขอบเขตจำกัด
คาร์ล บาร์ทคิดว่า อนันตวิทยาไม่ใช่เรื่องอนาคต แต่เป็นเรื่องปัจจุบันที่พระเจ้าผู้สถิตนิรันดร
เสด็จมาพบกับมนุษย์ผู้ขึ้นอยู่กับกาลเวลา ความรักเป็นปัจจัยสำคัญในการพบปะดังกล่าว เหตุการณ์
สุดท้ายซึ่งกล่าวไว้ในพันธสัญญาใหม่ จึงไม่เป็นเหตุการณ์ในกาลเวลา ไม่เป็นเรื่องเทพนิยาย
เกี่ยวกับอวสานของโลก ไม่เป็นเรื่องประวัติศาสตร์ที่เล่าถึงภัยพิบัติของโลกหรือของจักรวาลทั้งหมด
เหมือนกับว่าเป็นละครใหญ่ฉากหนึ่ง แต่ตรงกันข้าม เป็นวิธีเขียนเพื่อเน้นความใกล้ชิดระหว่าง
พระเจ้าในนิรันดรภาพกับมนุษย์ซึ่งอยู่ในกาลเวลา
ต่อมา เมื่อบาร์ทเขียนหนังสือ “พระสัจธรรมของพระศาสนจักร” (Church Dogmatics) เขา
ได้ปรับปรุงความเข้าใจเรื่องอนันตวิทยาของเทววิทยาปฏิพัฒนาการ (Dialectical Theology) และ
ยอมรับว่า ความคิดเดิมมีข้อบกพร่อง เพราะทำให้นิรันดรภาพของพระอาณาจักรอยู่ห่างไกลและพ้น
จากประวัติศาสตร์ของมนุษย์มากเกินไป ทำให้กาลเวลาที่มุ่งไปสู่อนาคตแท้จริงไร้ความหมาย บาร์ท
ยอมรับว่า ความคิดเดิมของตนทำให้นริ นั ดรภาพอยูใ่ นทุกขณะของชีวติ มนุษย์ เป็นความเข้าใจนิรนั ดร
ภาพตามความคิดเห็นของเพลโต (Plato) ไม่ใช่ตามความคิดในพระคัมภีร์
สรุปได้ว่า เทววิทยาปฏิพัฒนาการมีข้อบกพร่องในการเข้าใจประวัติศาสตร์ เพราะมีความ
หมายเพียงทางแนวตั้งอย่างเดียว คือ เป็นกิจการของมนุษย์ในความสัมพันธ์กับพระเจ้าเท่านั้น ไม่มี
ความหมายทางแนวนอน คือ ไม่พิจารณากิจการของมนุษย์ที่มุงไปสู่อนาคต ความคิดของบาร์ท
ถูกต้องในแง่ทเ่ี หตุการณ์สดุ ท้ายไม่เป็นเพียงภาคผนวกของประวัตศิ าสตร์ แต่ผดิ ในแง่ทเ่ี ป็นเหตุการณ์
ซึ่งเกิดขึ้นในพระเจ้าเบื้องบน ไม่ใช่ในประวัติศาสตร์ของมนุษย์ เพราะพระเจ้าสถิตเบื้องบนและโลก
อยู่เบื้องล่าง มนุษย์ในประวัติศาสตร์ต้องพิจารณาเพียงความต่ำต้อยของตน เพราะพระเจ้าไม่ทรง
เลือกเขาให้มีบทบาทสำคัญ พระเจ้าเพียงพระองค์เดียวทรงกระทำทุกอย่าง

74
อ นั น ต วิ ท ย า
บ ท ที่ ๕ ... อนันตวิทยาในเทววิทยาร่วมสมัย

เราเข้าใจได้ยากว่า ประวัติศาสตร์และกาลเวลาในเทววิทยาปฏิพัฒนาการมีความหมาย
แท้จริงอย่างไร เพราะพระอาณาจักรของพระเจ้าในอนันตวิทยาจะไม่แตกต่างไปจากเหตุการณ์ที่
เกิดขึ้นแล้วในอดีต กระนั้นก็ดี เทววิทยาปฏิพัฒนาการทำให้อนันตวิทยาเป็นอิสระจากแนวความคิด
แบบจักรวาลและกายภาพ (Cosmic and physical conception) และได้รับแนวความคิดจากพระ-
คัมภีร์มากยิ่งขึ้น เช่น ทำให้เรื่องพระอาณาจักรของพระเจ้าและอนันตวิทยามีความหมายชัดเจนใน
ปัจจุบัน

3. อนันตวิทยาเชิงอัตถิภาวนิยม (Existential Eschatology)


รูดอฟท์ บูลท์มาน (Rudolf Bultmann) ยึดแนวความคิดของอัลเบิร์ท ชไวน์เซอร์ว่า
พันธสัญญาใหม่ทั้งหมดมีทรรศนะอนันตวิทยา แต่บูลท์มานปรับปรุงแก้ไขความเข้าใจอนันตวิทยา
ปฏิพัฒนาการที่ตนสนับสนุนในตอนแรกๆ ทำให้อนันตวิทยากลับเป็นรหัสที่ใช้ตีความหมายของมนุษย์
ในการเผชิญหน้ากับความยิ่งใหญ่ของพระเจ้า เขายอมรับว่า ปัจจุบันของมนุษย์แต่ละคนเป็นเวลา
แห่งการตัดสินใจ อนาคตของอนันตวิทยาเป็นเพียงสัญลักษณ์แสดงความสำคัญของเวลาปัจจุบัน
เพราะเวลาปัจจุบันเรียกร้องให้เราตัดสินใจว่าจะเลือกพระเจ้าหรือไม่
บูลท์มานมีแนวคิดเรื่องประวัติศาสตร์เช่นเดียวกับไฮเดกเกอร์ (Heidegger) จึงเข้าใจว่า
อนาคตเป็นสัญลักษณ์ความสามารถของมนุษย์ที่จะปรับปรุงตนเอง มนุษย์มีโอกาสพัฒนาตนได้เสมอ
ไม่มีวันจะสมบูรณ์ มนุษย์ที่มีประสบการณ์ชีวิตใหม่ๆ เช่นนี้ ก็เห็นความจริงอยู่ต่อหน้าตนเอง แม้เขา
ไม่อาจจะบรรลุความสมบูรณ์ เพราะมนุษย์เป็นคนบาป ผูกพันกับอดีตและสูญเสียตนเอง เขาปิดตน
ต่ออนาคตเพราะคิดว่าไม่สามารถพัฒนาตนได้ เขาจึงขาดอิสรภาพ
เมื่อสภาพมนุษย์เป็นเช่นนี้ งานกอบกู้ของพระคริสตเจ้าเป็นเหตุการณ์ที่ช่วยมนุษย์ให้ออก
จากสภาพที่ปิดตนเองไปสู่สภาพที่เปิดตนต่ออนาคต เพื่อสามารถรักอย่างอิสระ ดังนั้น โดยแก่นแท้
แล้ว อนันตวิทยาจึงเป็นเรื่องของอิสรภาพ ซึ่งมีพื้นฐานในความเชื่อ อนาคตกลับเป็นปัจจุบันที่พระเจ้า
ทรงเรียกมนุษย์ให้ตอบสนองพระองค์ด้วยความเชื่อ

75
อ นั น ต วิ ท ย า
บ ท ที่ ๕ ... อนันตวิทยาในเทววิทยาร่วมสมัย

สำหรับบูลท์มาน อนันตวิทยาจึงสูญเสียความหมายในแง่ที่เป็นจุดมุ่งหมายของประวัติ-
ศาสตร์มนุษยชาติ แต่เป็นจุดมุ่งหมายของชีวิตแต่ละคน ประวัติศาสตร์ของโลกไม่มีความสำคัญ
อีกแล้ว แต่เป็นประวัติศาสตร์ของแต่ละคนที่มีความสำคัญอย่างแท้จริง การที่แต่ละคนพบกับ
พระคริสตเจ้าเป็นเหตุการณ์สำคัญที่สุดของประวัติศาสตร์มนุษย์แต่ละคน เพราะการเผชิญหน้ากับ
เหตุการณ์ในอนันตวิทยา ทำให้มนุษย์มีความเป็นอยู่อย่างแท้จริง อนันตวิทยาจึงหมายถึงการทำให้
ความเชื่อของเราเป็นจริงในปัจจุบัน เพื่อตอบสนองพระสุรเสียงของพระเจ้า ภาพต่างๆ ของพระ-
คัมภีร์เกี่ยวกับอนาคตในอนันตวิทยาของชาวยิว เป็นเพียงเทพนิยาย เราจึงจะต้องขจัดเรื่องเทพนิยาย
และตีความหมายในมิติเดียวของปัจจุบัน
บูลท์มานเสนอความคิดที่มีคุณค่าในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อกับชีวิตของแต่ละคน
แต่เขาไม่สามารถอธิบายอนาคตแท้จริงของโลกและประวัติศาสตร์ของมนุษย์ส่วนรวม เพราะเขานำ
ความคิดของไฮเดกเกอร์เรื่องประวัติศาสตร์ของมนุษย์มาใช้ในการตีความหมายข้อความในพระคัมภีร ์
นักเทววิทยาทั้งคาทอลิกและโปรเตสแตนต์เห็นพ้องต้องกันว่า ความคิดของบูลท์มานมีข้อบกพร่อง

4. อนันตวิทยาที่เป็นความจริงแล้ว (Realized Eschatology)


ชาลส์ ฮาโรลด์ ดอดด์ (Charles Harold Dodd) เป็นนักเทววิทยาที่มีชื่อเสียงอีกคนหนึ่ง
ซึ่งเน้นความสำคัญของอนันตวิทยาเชิงอัตถิภาวนิยม (Existential) เขาไม่ใช้คำว่าอัตถิภาวนิยม แต่
เรียกความคิดของตนว่า อนันตวิทยาที่เป็นจริงแล้ว (Realized Eschatology) พระอาณาจักรของ
พระเจ้าดังที่พระเยซูเจ้าทรงเทศน์สอนนั้นเป็นจริงอย่างสมบูรณ์แล้วในพระองค์ การเสด็จมาอย่าง
รุ่งโรจน์ของพระคริสตเจ้าในอนาคตจะไม่เป็นการเสด็จมาในประวัติศาสตร์มนุษย์ แต่เป็นเหตุการณ์
นอกประวัติศาสตร์ เพราะการเสด็จมาของพระองค์ในประวัติศาสตร์สำเร็จลุล่วงแล้วเมื่อทรงกลับคืน
พระชนมชีพ
ดอดด์พยายามให้ความคิดของตนมีความสมดุลโดยยืนยันว่า อนันตวิทยาเป็นเรือ่ งของอนาคต
นอกประวัติศาสตร์ แต่เขายังเน้นอนันตวิทยาในประวัติศาสตร์ซึ่งต้องตีความในปัจจุบันเชิงอัตถิภาว-

76
อ นั น ต วิ ท ย า
บ ท ที่ ๕ ... อนันตวิทยาในเทววิทยาร่วมสมัย

นิยม (Existential now) เราสามารถลิ้มรสพระอาณาจักรของพระเจ้าในปัจจุบัน แต่ประสบการณ์ใดๆ


ที่มีขอบเขตในสัมพันธ์มิติระหว่างสถานที่และเวลา (Space and Time) จะไม่มีวันสมบูรณ์ เมื่อใดที่
ประวัติศาสตร์ทั้งหมดจะถูกรวมเข้าอยู่ในแผนการนิรันดรภาพทั้งครบของพระเจ้าแล้ว เมื่อนั้นพระ-
คริสตเจ้าจะเสด็จมาบันดาลให้ทุกสิ่งบรรลุถึงความสมบูรณ์
แนวความคิดของดอดด์คล้ายกับความคิดของ ยอห์น เอ.ที. โรบินสัน กล่าวคือ เขาปฏิเสธ
ไม่ยอมรับว่า สวรรค์หรือนรกเป็นผลลัพท์ 2 ประการของประวัติศาสตร์มนุษย์ เขาคิดว่ามนุษย์ทุกคน
จะไปสวรรค์ (Universal Homecoming) เพราะความรักทรงพลานุภาพของพระเจ้าทำให้มนุษย์ตก
นรกไม่ได้ พระองค์จะไม่ทรงอนุญาตให้ผู้ใดต้องพินาศไป

5. อนันตวิทยาในแง่ความสำเร็จของคำสัญญา (Eschatology as Fulfillment and Promise)


นักเทววิทยาบางคนการเน้นอย่างดีถึงแนวทางอนาคตของอนันตวิทยา โดยชี้ให้เห็นถึงความ
ตึงเครียดระหว่างเหตุการณ์ทเ่ี ป็นความจริงแล้วกับเหตุการณ์ทจ่ี ะเกิดขึน้ ในอนาคต ออสการ์ คูลล์มาน
(Oscar Cullman) คิดว่า เหตุการณ์สุดท้ายจะเกิดขึ้นทันทีทันใด เพราะเป็นผลของความตึงเครียด
ระหว่างความรอดพ้นที่เกิดขึ้นแล้วในพระคริสตเจ้ากับความรอดพ้นที่จะสมบูรณ์เพียงแต่ในวาระ
สุดท้าย ความรอดพ้นเกิดขึ้นจริงแล้ว จึงรับรองว่าเหตุการณ์ในอนันตวิทยาที่ยังไม่เกิดขึ้นนั้น ไม่ช้า
จะต้องเป็นความจริงอย่างแน่นอน
ดังนั้น ความหวังของอนันตกาลที่จะมาถึงโดยฉับพลันจึงเป็นไปได้ การรอคอยเหตุการณ์
แห่งอนันตวิทยาในอนาคตมีรากฐานอยู่ในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้ว เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้วจึงมี
น้ำหนักเหนือกว่า แต่เหตุการณ์ท่เี กิดขึ้นแล้วกับเหตุการณ์ท่ยี ังไม่เกิดขึ้นต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน
หมายความว่า คำยืนยันเหตุการณ์ปัจจุบันมุ่งไปสู่ความสมบูรณ์ในอนาคต ขณะที่คำยืนยันเหตุการณ์
ในอนาคตมีพื้นฐานจากเหตุการณ์ที่เริ่มเกิดขึ้นในปัจจุบันและจะสมบูรณ์ในอนาคต
เวอร์เนอร์ เกโอค์ คึมเมล (Werner Georg Kuemmel 1905 - 1995) มีแนวความคิด
คล้ายกับคูลล์มาน เขาคิดว่าการเทศน์สอนของพระเยซูเจ้าและการประกาศข่าวดีของคริสตชนสมัย

77
อ นั น ต วิ ท ย า
บ ท ที่ ๕ ... อนันตวิทยาในเทววิทยาร่วมสมัย

แรกเรื่องการรอคอยอนันตกาลที่จะต้องเกิดขึ้นในไม่ช้า ต้องการเน้นว่า พระอาณาจักรของพระเจ้า


เริ่มต้นแล้วในปัจจุบัน พระเยซูเจ้าทรงใช้ภาษาเปรียบเทียบที่ใช้กันในสมัยของพระองค์ เพื่อสอนว่า
งานกอบกู้ของพระเจ้าที่เริ่มแล้วในพระชนมชีพของพระองค์มุ่งสู่ความสมบูรณ์ แต่ในสมัยของเรา
ไม่จำเป็นต้องประกาศว่า อนันตกาลเป็นเหตุการณ์ที่เรากำลังรอคอยจะเกิดขึ้นในไม่ช้า เพราะการ
อ้างถึง “ในไม่ช้า” เป็นเพียงวิธีพูดที่ล้าสมัย แต่การรอคอยความรอดพ้นที่สมบูรณ์ในอนาคต เป็น
คำสอนสำคัญของพระเยซูเจ้าที่จะละเลยไม่ได้ มิฉะนั้นแล้ว เราจะบิดเบือนคำสอนของพระองค์
พระสัญญาของพระคริสตเจ้าถึงเหตุการณ์ในอนาคต และการประกาศความรอดพ้นที่สำเร็จแล้วใน
อดีต ต้องอาศัยซึ่งกันและกัน เพราะพระสัญญาจะมีลักษณะเฉพาะและเชื่อถือได้โดยอาศัยความ
รอดพ้นที่สำเร็จแล้วในอดีต ความสำเร็จนี้เป็นทั้งความรอดพ้นในขั้นเริ่มต้นและเป็นมัดจำของพระ-
สัญญาที่จะต้องเป็นจริง

6. การฟื้นฟูอนันตวิทยาของนักเทววิทยาคาทอลิก (Renewal in Catholic Eschatology)


เมื่อต้นศตวรรษที่ 19 นักเทววิทยาของมหาวิทยาลัยตือบินเกน (Tuebingen) เป็นผู้ริเริ่ม
แนวโน้มใหม่เรื่องอนันตวิทยาในวงการคาทอลิก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เป็นผู้พัฒนาความคิดเกี่ยวกับ
พระอาณาจักรของพระเจ้า เช่น จอห์นบัปติสต์ ฟอน ฮีรเชอร์ (J.B. Von Hirscher) เขานำความคิด
เกี่ยวกับพระอาณาจักรมาประยุกต์ใช้กับวิชาคำสอน พระสัจธรรมและจริยธรรม แต่เมื่อนักเทววิทยา
คาทอลิกพิจารณาปัญหาเรื่องอนันตวิทยาของบรรดาโปรเตสแตนต์อย่างละเอียด เขาได้รับแรง
บันดาลใจให้ศึกษาอนันตวิทยาอย่างลึกซึ้งมากกว่าเดิม เช่น ไมเกิ้ล ชเมาส์ (Michael Schmaus)
คองการ์ (Congar) ดานีเอลู (Danielou) ฟอน บัลทาซาร์ (Von Balthasar) และคาร์ล ราห์เนอร์
(K. Rahner) เป็นนักเทววิทยาคาทอลิกร่วมสมัยที่ได้พัฒนาความคิดทางอนันตวิทยา
ไมเกิ้ล ชเมาส์ (Michael Schmaus) ศึกษาเนื้อหาอนันตวิทยาผิดแปลกไปจากเดิมเล็กน้อย
เขาสลับภาค คือ ศึกษาอนันตวิทยาเมื่อสิ้นพิภพ (Universal Eschatology) ก่อนที่จะศึกษาอนันต-
วิทยาเฉพาะบุคคล (Individual Eschatology) เขาเป็นคนแรกที่พยายามอธิบายความหมายของ

78
อ นั น ต วิ ท ย า
บ ท ที่ ๕ ... อนันตวิทยาในเทววิทยาร่วมสมัย

อนันตวิทยาว่า ไม่ศึกษา “สิ่งสุดท้าย” (Last things) หรือ “สภาพถาวร” (Definite States) แต่
ศึกษาเหตุการณ์ที่จะเป็นจริงในอนาคต ดังที่พระเจ้าทรงเปิดเผย แก่นแท้ของอนันตวิทยาคือ ความ
สนิทสัมพันธ์กับพระคริสตเจ้าผู้ทรงกลับคืนพระชนมชีพ เพราะพระคริสตเจ้าทรงเป็นทั้งจุดเริ่มต้น
และจุดสุดท้ายของหนทางที่นำมนุษย์ไปอยู่กับพระเจ้า พระคริสตเจ้าทรงกำหนดอนาคตของมนุษย์
และของโลก เพราะพระองค์ทรงดำรงอยู่ตั้งแต่แรกเริ่มแล้ว
อีฟ มารี คองการ์ (Yves – Marie Congar) วิจารณ์ตำราการอธิบายเรื่อง “สิ่งสุดท้าย” ที่
นักเทววิทยาคาทอลิกมักได้สอนมาเป็นเวลานาน ตำราวิชาอนันตวิทยาเหล่านี้เขียนเป็นภาษาลาติน
(De Novissimis) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คองการ์ท้วงติง 3 หัวข้อคือ
ก) ตำรานี้อธิบายสิ่งสุดท้ายในแง่กายภาพและวัตถุมากเกินไป (Excessive Physicism)
เพราะเขาพิจารณาอนันตวิทยาโดยไม่สัมพันธ์กับเรื่องความรอดพ้น
ข) ตำรานี้ลดความสำนึกในธรรมล้ำลึกและในการริเริ่มอย่างอิสระของพระเจ้า ทำให้
“สิ่งสุดท้าย” เป็นข้อมูลที่ต้องอธิบายโดยการตั้งสมมุติฐานตามกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
ค) ตำรานี้อธิบายสิ่งสุดท้ายในข้อปลีกย่อยต่างๆ อย่างละเอียดมากเกินไป แต่คำสอน
ของพระศาสนจักรเรื่องอนันตกาลมีเพียงไม่กี่ข้อ
คองการ์จึงได้เสนออนันตวิทยาที่ ให้ความสนใจและยึดธรรมล้ำลึกเรื่องพระคริสตเจ้าเป็น
หลัก คือ ธรรมล้ำลึกปัสกาและธรรมล้ำลึกเรื่องการเสด็จมาอย่างรุ่งโรจน์ของพระคริสตเจ้า
ยาง ดานีเอลู (Jean Danielou) เน้นความสัมพันธ์ระหว่างธรรมล้ำลึกเรื่องพระคริสตเจ้า
กับอนันตวิทยามากกว่าคองการ์ ดานีเอลูศึกษาพระสัจธรรมที่สภาสังคายนาเมืองคาลเซดอนได้
ประกาศและแสดงว่า พระคริสตเจ้าทรงเป็นเหตุการณ์สุดท้าย (Eschaton) ที่เปิดยุคปลายของ
ประวัติศาสตร์มนุษย์ เพราะพระองค์ทรงรวมทั้งธรรมชาติมนุษย์และธรรมชาติพระเจ้าในพระบุคคล
เดียว ทรงเป็นจุดมุ่งหมายสุดท้ายของมนุษยชาติ ทรงเป็นอวสานของทุกสิ่งทุกอย่าง ทรงควบคุม
ทั้งช่วงเวลาแห่งพระสัญญาและเวลาแห่งความสำเร็จบริบูรณ์ และในฐานะที่พระองค์เป็นพระเจ้าก็
จะเสด็จมาอย่างรุ่งโรจน์เพื่อทำให้ทุกสิ่งสำเร็จบริบูรณ์ ดังนั้น อวสานของสรรพสิ่ง (Eschaton) ไม่
เป็นเพียงอวสานของกาลเวลา แต่เป็นจุดมุ่งหมายสมบูรณ์ของการพัฒนามนุษย์และโลก

79
อ นั น ต วิ ท ย า
บ ท ที่ ๕ ... อนันตวิทยาในเทววิทยาร่วมสมัย

โดยแท้จริงแล้ว อวสานไม่เป็นเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้น (Eschaton) แต่เป็นพระบุคคลของ


พระคริสตเจ้า (Eschatos) ผู้เป็นทั้งพระเจ้าแท้และมนุษย์แท้ในเวลาเดียวกัน ไม่มีผู้ใดหรือสิ่งใดที่จะ
สูงกว่าและยิ่งใหญ่กว่าพระองค์ เพราะพระองค์ทรงเป็นปลายทางที่สัมบูรณ์แห่งแผนการของพระเจ้า
ดูเหมือนว่า เวลาและประวัติศาสตร์ที่ยังคงอยู่หลังพระชนมชีพของพระคริสตเจ้าและธรรมล้ำลึก
ปัสกาขัดแย้งกับความเชื่อที่พระองค์ทรงเป็นปลายทางที่สัมบูรณ์ของทุกสิ่ง
ปัญหานี้แก้ไขได้ถ้ามีทรรศนะดังต่อไปนี้ คือ ความสมบูรณ์สุดท้ายของทุกสิ่งเป็นความ
สมบูรณ์ในพระคริสตเจ้าเสมอไป เพราะไม่มีผู้ใดหรือสิ่งใดที่สูงกว่าหรือยิ่งใหญ่กว่าพระองค์ เป็น
ความสมบูรณ์ที่จะสำเร็จไปโดยพระคริสตเจ้าเมื่อจะเสด็จมาอย่างรุ่งโรจน์ และเป็นความสมบูรณ์
ตามพระฉบับของพระคริสตเจ้า เพราะพระองค์ทรงรักษาความแตกต่างระหว่างธรรมชาติมนุษย์
และธรรมชาติพระเจ้าในการเป็นพระบุคคลเดียว จึงแสดงว่ามนุษย์จะไม่ถูกกลืนเข้าไปในพระเจ้า
และประวัติศาสตร์ของมนุษย์จะไม่สูญสลายไป เมื่อเหตุการณ์สุดท้ายจะสำเร็จสมบูรณ์
ฮันส์ อูรส์ ฟอน บัลทาซาร์ (Hans Urs Von Balthasar) พัฒนาความคิดของตนตามแนวของ
คองการ์ และดานีเอลู ข้อเขียนของบัลทาซาร์มีความชัดเจนและเปิดรับคำเสนอแนะของนักเทววิทยา
โปรเตสแตนต์มากกว่าเขาทั้งสองคน บัลทาซาร์คิดว่า พระชนมชีพของพระเยซูเจ้าซึ่งแสดงความ
นอบน้อมเชื่อฟังอย่างไม่มีเงื่อนไขต่อพระบิดาจนสิ้นพระชนม์บนไม้กางเขน เป็นความสำเร็จบริบูรณ์
ของกาลเวลา ดังนั้น ความคิดทางอนันตวิทยาซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญของวิชาเทววิทยา จึงเกี่ยว
ข้องกับธรรมล้ำลึกเรื่องพระคริสตเจ้า
บัลทาซาร์ยังเชิญชวนนักเทววิทยาให้สอนเหตุการณ์สุดท้ายโดยขจัดความคิดเกี่ยวกับโลก
วัตถุหรือกาลเวลา และต้องการให้อธิบายเหตุการณ์สุดท้ายในแง่ที่เป็นความสัมพันธ์ของมนุษย์กับ
พระเจ้า ดังนั้น ความสัมพันธ์กับพระคริสตเจ้าผู้ทรงกลับคืนพระชนมชีพ กำหนดการตัดสินใจของ
มนุษย์ในกาลเวลาและเป็นพื้นฐานนิรันดรภาพของมนุษย์ เพราะพระคริสตเจ้าผู้ทรงผ่านจากวันศุกร์
ศักดิ์สิทธิ์ ไปถึงวันปัสกาเป็นเหตุการณ์สุดท้ายที่เปิดเผยชีวิตของพระตรีเอกภาพแก่มนุษย์ ทำให้
ประวัติศาสตร์มนุษย์มีคุณค่าในพระองค์

80
อ นั น ต วิ ท ย า
บ ท ที่ ๕ ... อนันตวิทยาในเทววิทยาร่วมสมัย

คาร์ล ราห์เนอร์ (Karl Rahner) ยึดหลักการ “ผู้ฟังพระวาจา” (Hearers of the word)


อย่างมั่นคงในเทววิทยาของตน เขาบรรลุข้อสรุปเดียวกันกับบัลทาซาร์ โดยเสนอวิธีเข้าใจมนุษย์
แบบใหม่ เป็นการเข้าใจความตึงเครียดระหว่างสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วกับสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น ดังที่ คูลท์มาน
ได้อธิบายไว้ ราห์เนอร์เขียนว่า “ความรู้เกี่ยวกับอวสานของสรรพสิ่งไม่เพิ่มความรู้พระสัจธรรมเรื่อง
มนุษย์และพระคริสตเจ้า แต่เป็นการมองมนุษย์และพระคริสตเจ้าในสภาพที่สมบูรณ์” มนุษย์ที่ฟัง
พระวาจาของพระเจ้า ก็เข้าใจจุดหมายปลายทางที่พระเจ้าทรงกำหนดไว้ คือ มนุษย์เห็นแจ้งถึง
อนาคตของตน
พระวาจาของพระคริสตเจ้าเปิดเผยอนาคตในปัจจุบัน และความเชื่อทำให้มนุษย์ได้รับความ
รอดพ้นในปัจจุบนั ความรอดพ้นนีเ้ ป็นจริงแล้วแต่ยงั ไม่สมบูรณ์ จะสมบูรณ์ในอนาคตเท่านัน้ อนันต-
วิทยาจึงยืดขยายความรอดพ้นที่มนุษย์ได้พบแล้วด้วยความเชื่อ ความรู้ถึงอนาคตจะเป็นความรู้ถึง
อนาคตของปัจจุบัน ในแง่หนึ่ง ราห์เนอร์เน้นเหตุการณ์ชีวิตปัจจุบันตามความคิดของบูลท์มาน แต่ใน
อีกแง่หนึ่ง ราห์เนอร์ยังต้องการเน้นว่าอนันตวิทยาเป็นเรื่องเกี่ยวกับปัจจุบันที่จะสำเร็จบริบูรณ์ใน
อนาคต ความคิดของราห์เนอร์ต่างจากความคิดของลัทธิปัจเจกนิยมของบูลท์มาน (Individualism)
และครอบคลุมชีวิตมนุษย์ทั้งหมดในทุกแง่ ทั้งในความสัมพันธ์กับโลกและประวัติศาสตร์ที่มุ่งสู่การ
พัฒนาเกินขอบเขตของกาลเวลา

7. มุมมองทางวิวัฒนาการ การเมืองและปฏิรูปสังคมของอนันตวิทยา (Evolutionary, Political


and Revolutionary Perspectives of Eschatology)
7.1 อนันตวิทยาในมุมมองของวิวัฒนาการ
ปีแอร์ เทยาร์ด เดอ ชาร์แดง (Pierre Teilhard de Chardin) เป็นคนแรกที่ได้
พยายามเชื่อมวิวัฒนาการแห่งมนุษยชาติกับความรอดพ้นของมนุษย์ให้เป็นกระบวนการเดียวกัน เขา
เชื่อมโยงความหวังของมนุษย์ที่จะได้สวรรค์กับความหวังของโลกที่จะบรรลุสภาพสมบูรณ์, การ
กระทำของพระเจ้า และการร่วมมือของมนุษย์เป็นกระบวนการเดียวกันแห่งการวิวัฒนาการที่มุ่งสู่

81
อ นั น ต วิ ท ย า
บ ท ที่ ๕ ... อนันตวิทยาในเทววิทยาร่วมสมัย

อนาคต,สัมบูรณ์ (Absolute future) คือ จุดจบของอนันตกาล (Omega point) เมื่อทุกสิ่งจะเข้า


รวมอยู่ในพระคริสตเจ้า
เทยาร์ดคิดว่า ความหวังคือความเชื่อในอนาคต แต่ความคิดของเขาในเรื่องอนันตวิทยา
ค่อนข้างคลุมเครือ จึงไม่ค่อยมีประโยชน์ต่อเทววิทยาว่าด้วยเรื่องอนันตวิทยา ความคิดของเขามี
พื้นฐานในทฤษฎีที่ทุกสิ่งมุ่งไปสู่จุดมุ่งหมายในอนาคต (Teleological) ไม่มีพื้นฐานในพระวาจาที่
สัญญาว่า พระเจ้าจะทรงบันดาลความรอดพ้นสมบูรณ์แก่มนุษย์และโลก สำหรับเทยาร์ด วิธีคิด
เกี่ยวกับอนาคตกาลคือวิธีการทางวิทยาศาสตร์ที่คำนวณคร่าวๆ จากข้อเท็จจริงที่มีอยู่ (Scientific
extrapolation) ในฐานะนักวิทยาศาสตร์ เขาศึกษาเหตุการณ์ในอดีตและใช้ข้อมูลที่ได้ มาทำเส้น
กราฟ แล้วเขาคำนวณเส้นโค้งของกราฟเลยข้อเท็จจริงที่ได้มา โดยแท้จริงแล้ว เราไม่สามารถทำ
กราฟของเส้นโค้งในชีวิตของมนุษย์และโลก เพราะสรรพสิ่งไม่เจริญก้าวหน้าอย่างต่อเนื่องสู่จุดจบ
ของอวสานอย่างที่เทยาร์ดคิด เพราะประวัติศาสตร์ของมนุษย์มีความพ่ายแพ้ ความเศร้าโศกและ
ความผิดหวังอยู่เสมอ
7.2 อนันตวิทยาในมุมมองความหวังที่เปลี่ยนแปลงโลกปัจจุบัน
มอลท์มาน (Moltmann) ต้องการทำให้อนันตวิทยาเป็นเรื่องเดียวกันกับข้อความเชื่อ
คริสตชนเรื่องความหวัง เพราะคริสต์ศาสนาเป็นอนันตวิทยาตั้งแต่ต้นจนจบ คริสตชนมุ่งไปข้างหน้า
หวังว่าปัจจุบันจะเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ อนันตวิทยามีหลักการในองค์พระคริสตเจ้าและประกาศ
อนาคตแห่งพระสัญญาดังปรากฏในการกลับคืนพระชนมชีพของพระองค์ พระสัญญาขัดแย้งกับ
ประสบการณ์ปัจจุบันของมนุษย์ที่มีบาป มีความทรมานและความตายอย่างเต็มเปี่ยม
แต่ผู้มีความเชื่อจะพบกับความแน่นอนของอนาคตในพระคริสตเจ้า อนันตวิทยาของ
คริสตชนไม่พยายามที่จะนำประสบการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในประวัติศาสตร์ของมนุษย์
ผนวกเข้าเป็นหนึ่งเดียวกับแผนการของพระเจ้า แต่เป็นความสำนึกของธรรมทูตที่ถูกส่งไปประกาศ
ข่าวดีเรื่องความหวัง คือ พระสัญญาที่ว่า พระเยซูเจ้าจะเป็นองค์พระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงปกครองสรรพสิ่ง
แม้เหตุการณ์ต่างๆ ในโลกดูเหมือนขัดแย้งกับความหวังนี้

82
อ นั น ต วิ ท ย า
บ ท ที่ ๕ ... อนันตวิทยาในเทววิทยาร่วมสมัย

“พระสัญญาทั้งปวงของพระเจ้าสำเร็จลงในพระองค์ด้วยคำว่า ‘จริง’ “(2 คร 1:20) พระ-


สัญญานี้ได้รับการยืนยันด้วยการกลับคืนพระชนมชีพของพระองค์แล้ว แต่ประวัติศาสตร์ของมนุษย์
ยังรวมความขัดแย้งของไม้กางเขน ซึ่งทำให้การปกครองพระคริสตเจ้าซ่อนอยู่ในเหตุการณ์ต่างๆ
คริสตชนมุ่งหวังโลกใหม่ที่มีชัยชนะเหนือความขัดแย้งดังกล่าว ความขัดแย้งอาจหมดสิ้นไปถ้าเรา
เข้าใจว่า ประวัติศาสตร์แห่งความรอดพ้น เป็นการเปิดเผยต่อเนื่องอย่างค่อยเป็นค่อยไปตลอด
ประวัติศาสตร์พระศาสนจักร
อนันตวิทยาเป็นเรื่องของการวิจารณ์หรือวินิจฉัยประวัติศาสตร์เพื่อให้ผู้ที่มีความเชื่อพร้อม
ที่จะรับสิ่งที่เขามองไม่เห็นหรือคิดว่าเป็นไปไม่ได้ หน้าที่และพันธกิจของพระศาสนจักรขึ้นอยู่กับ
การรอคอยพระอาณาจักรของพระเจ้าในอนันตกาล เมื่อความชอบธรรมและสันติสุข เสรีภาพและ
ศักดิ์ศรีของมนุษย์จะมาถึง คือความหวังในความยุติธรรม ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ มนุษย์ที่มีความ
สัมพันธ์ที่ดีต่อกัน และสันติสุขของสิ่งสร้างทั้งมวลจะเป็นจริง
โวล์ฟาร์ท ปันเนนแบร์ก (Wolfart Pannenberg) ได้อธิบายความหมายของอนันตวิทยาในแนว
เดียวกันกับมอลท์มาน เขาได้ตีความหมายของอนันตวิทยาว่า การทำนายถึงอนาคตวางกฎเกณฑ์
ของสภาพของมนุษย์ที่จะเป็นไปในวาระสุดท้าย เพราะพระเจ้าจะทรงสถาปนาความชอบธรรม ที่
มนุษย์จำเป็นต้องได้รับเพื่อบรรลุความบริบูรณ์ จุดมุ่งหมายของความรอดพ้นในมุมมองอนันตวิทยา
คือ ธรรมชาติสมบูรณ์ของมนุษย์จะเป็นจริงอย่างถาวร แต่ลำพังมนุษย์ไม่สามารถบรรลุสภาพเช่นนี้
เพราะเขามีบาป โดยแท้จริงแล้ว พระอาณาจักรของพระเจ้าหมายถึง ทั้งมนุษย์แต่ละคนจะเข้ารวม
เป็นหนึ่งเดียวในสังคมของตนและมนุษย์ทุกคนทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคตจะเข้ารวมเป็นหนึ่ง
เดียวในสังคมที่ไม่มีวันสลาย เป็นสังคมแห่งอิสรภาพและความสมบูรณ์ในเอกภาพและสันติสุขของ
พระจิตเจ้า โดยอาศัยการกลับคืนชีพของบรรดาผู้ตาย
ปั น เนนแบร์ ก คิ ด ว่ า อนาคตแห่ ง อนั น ตกาลเป็ น สิ่ ง เดี ย วกั บ สารั ต ถะนิ รั น ดร (Eternal
essence) ของสรรพสิ่ง ตราบใดที่สารัตถะของสรรพสิ่งยังไม่สำเร็จ พระอาณาจักรก็ยังมาถึง ปัน-
เนนแบร์กพิจารณาสารัตถะของสรรพสิ่งอยู่ในกาลเวลา เพราะสารัตถะขึ้นอยู่กับกระบวนการทาง

83
อ นั น ต วิ ท ย า
บ ท ที่ ๕ ... อนันตวิทยาในเทววิทยาร่วมสมัย

กาลเวลาและจะกำหนดโดยผลลัพท์สุดท้ายเท่านั้น ความคิดเช่นนี้ทำให้ความหวังที่ว่า สมรรถภาพ


ของมนุษย์ที่จะเป็นหนึ่งเดียวทั้งส่วนตัวและส่วนรวมจะเป็นจริงในวาระสุดท้าย มีความสำคัญมาก
ต่อมนุษย์ที่กำลังแสวงหาความหมายของชีวิต
ปันเนนแบร์ก พิจารณาเหตุการณ์ต่างๆ ตามที่ โลแนร์กัน (Lonergan) พิจารณาความ
หมายของคำในประโยค ความหมายของคำแต่ละคำขึ้นกับประโยคฉันใด ความหมายของเหตุการณ์
ก็ขึ้นอยู่กับบริบทในสภาพชีวิตฉันนั้น เราเชื่อมโยงประสบการณ์ที่ ได้รับเข้ากับชีวิตทั้งหมดของเรา
โดยการพินิจพิจารณาและการคาดหวัง ชีวิตของเรายังคงก้าวไปข้างหน้าเป็นกระบวนการที่ยังไม่จบ
เราจึงจำเป็นต้องคาดคะเนล่วงหน้าถึงชีวิตทั้งหมดในวาระสุดท้ายซึ่งยังไม่เป็นจริง ความหมายของ
เหตุการณ์จงึ ผูกพันกับประวัตศิ าสตร์ ชีวติ ทัง้ หมดเกีย่ วข้องกับกระบวนการทางประวัตศิ าสตร์ อนาคต
โดยเฉพาะอนาคตในวาระสุดท้าย เกี่ยวข้องเพื่อตัดสินความหมายของชีวิตทั้งหมดและประสบการณ์
แต่ละอย่าง คุณภาพชีวิตหลังจากความตายโดยอำนาจของการกลับคืนชีพ จะมีผลย้อนหลังในปัจจุบัน
เพื่อประสบการณ์ต่างๆ ในชีวิตจะมีพื้นฐานในความหมายที่มีโครงสร้างโดยรวม
7.3 อนันตวิทยาในมุมมองการเมือง
ยอห์น บัปติส เมทซ์ (Johannes Baptist Metz) เข้าใจว่า โลกตามความเชื่อคริสตชน
ต้องมุ่งไปสู่อนาคต เพื่อเป็นพื้นฐานของความหวัง การมุ่งสู่อนาคตตามความคิดแนวใหม่และตาม
ความเข้าใจโลกในแง่ประวัติศาสตร์ ที่เป็นผลของมุมมองนี้มีพื้นฐานบนความเชื่อในพระสัญญาของ
พระเจ้าที่บันทึกไว้ในพระคัมภีร์ ดังนั้น ความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อคริสตชนกับโลกเข้าใจได้จาก
มุมมองของเทววิทยาว่าเป็นอนันตวิทยาที่มุ่งสร้างสรรค์และวิพากษ์วิจารณ์ เพราะความหวังของ
ความเชื่อคริสตชนมุ่งไปสู่อนาคตและสำเร็จเป็นความจริงไม่ได้ ถ้ามองข้ามโลกและอนาคตของโลก
เมทซ์ อธิบายวิชาเทววิทยาทางการเมือง (Political Theology) ดังต่อไปนี้ “ก่อนอื่น
ข้าพเจ้าเข้าใจเทววิทยาการทางเมืองว่าเป็นการแก้ไขปรับปรุงเทววิทยาปัจจุบันในแบบวิจารณ์ เพราะ
เทววิทยาปัจจุบันมีความโน้มเอียงสู่ชีวิตบุคคลส่วนตัวมากเกินไป เป็นความโน้มเอียงที่มุ่งสนใจมนุษย์

84
อ นั น ต วิ ท ย า
บ ท ที่ ๕ ... อนันตวิทยาในเทววิทยาร่วมสมัย

ส่วนบุคคลมากกว่าสังคมสาธารณะและทางการเมือง เวลานี้ ข้าพเจ้าเข้าใจเทววิทยาการทางเมือง


ว่าเป็นความพยายามในแง่บวกที่จะตีความหมายของอนันตวิทยาในสภาพของสังคมปัจจุบัน”
พระศาสนจักรในฐานะที่เป็นสถาบัน ไม่ได้เป็นอะไรที่อยู่เหนือหรือเคียงข้างสังคมมนุษย์
แต่อยู่ภายในสังคม และมีหน้าที่วิพากย์วิจารณ์สังคมเพื่อปลดปล่อยสังคมให้เป็นอิสระ
หน้าที่วิพากษ์วิจารณ์ของพระศาสนจักรอยู่ในการประกาศข้อกำหนดของอนันตวิทยาแก่ผู้มี
ความคิดนามธรรมเรื่องความก้าวหน้าและมนุษยชาติ และมองปัจเจกบุคคลที่นี่และเวลานี้ว่า เป็น
เพียงเครื่องมือที่ใช้สร้างอนาคตของเทคโนโลยีโดยใช้เพียงเหตุผลเท่านั้น คริสตชนต้องประกาศให้
ระบบการเมือง ในปัจจุบันรู้ว่า ประวัติศาสตร์ทั้งหมดขึ้นกับเงื่อนไขแห่งอนันตวิทยาที่พระเจ้าทรง
กำหนดไว้ คริสตชนต้องพยายามให้สงั คมต่างๆ ทีแ่ ตกแยกให้คนื ดีกนั และต้องส่งเสริมความปรารถนา
ดีทางสังคมและการเมืองเพื่อให้ทุกฝ่ายได้ร่วมมือกันแก้ไขความขัดแย้ง และร่วมมือกันสร้างโลกแห่ง
สันติภาพถาวร เป็นโลกที่ปราศจากสงครามโดยสิ้นเชิง บรรดาคริสตชน ต้องระวังอย่าให้สันติภาพ
เป็นเรื่องของความรู้สึกเท่านั้น และต้องวิพากษ์วิจารณ์ความคิดเพ้อฝันของสันติภาพปราศจากความ
ขัดแย้งเป็นความคิดทางจินตนาการหรืออุดมรัฐ (Utopia)
เมทซ์ได้ให้ความสมดุลที่ดีระหว่างความหมายของอนันตวิทยาในมุมมองทางสังคมและการ
เมืองปัจจุบันกับความหมายในอนาคต ความสมดุลดังกล่าวแตกต่างอย่างเห็นได้ชัดเจนจากความคิด
อีกแนวหนึ่ง ซึ่งใช้หลักของเทววิทยาการปฏิรูป (Theology of Revolution) การปฏิรูปสำหรับเทว-
วิทยาทางการเมืองเป็นปัญหาทางจริยธรรม เป็นวิธีหนึ่งในหลายวิธีสำหรับนำความเชื่อแบบอนันต-
วิทยาไปสู่การปฏิบัติ เช่น เทววิทยาเรื่องการปลดปล่อยให้เป็นอิสระ ทำให้พระเจ้าประทับอยู่ใน
ประวัติศาสตร์ของมนุษย์ โดยเฉพาะเวลาสำคัญที่ความหวังทางอนันตวิทยาสำเร็จเป็นจริง เทววิทยา
การปฏิรูปมีกำเนิดในทวีปยุโรปและอเมริกาเหนือ ซึ่งเป็นแหล่งที่มีความเจริญก้าวหน้าทางอุตสาห-
กรรม เทววิทยาการปลดปล่อย (Theology of Liberation) ของทวีปทั้งสองนี้แตกต่างจากเทววิทยา
ในทวีปอเมริกาใต้ที่เริ่มขึ้นโดยพิจารณาสภาพของประชาชนที่มีความทุกข์ทรมานและถูกกดขี่ข่มเหง

85
อ นั น ต วิ ท ย า
บ ท ที่ ๕ ... อนันตวิทยาในเทววิทยาร่วมสมัย

7.4 อนันตวิทยาในแง่ปฏิรูปสังคม
ริชาร์ด ชาอูลล์ (Richard Shaull) เป็นผู้หนึ่งในทวีปยุโรปที่สนับสนุนเทววิทยาการปฏิรูป
เขายืนยันว่า การขยายตัวของการปฏิรูปขึ้นอยู่กับมาตรการที่ฝ่ายต่างๆ ต่อสู้กันตอบสนองแรง
กระตุ้นที่ต้องการให้มีสังคมมีสภาพดีกว่าเดิม เทววิทยาการปฏิรูปขึ้นอยู่ว่าสังคมดังกล่าวจะต้องมี
ลักษณะอย่างไรในพระญาณเอื้ออาทรของพระเจ้าและในความวุ่นวายของมนุษย์ สังคมในระบบใหม่
จะได้รับการสถาปนาขึ้นโดยการฟื้นฟูเปลี่ยนแปลงระบบปัจจุบัน แม้ว่าการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว
อาจจะทำให้สภาพของมนุษย์ตกต่ำลงไปอีก การปฏิรูปจะบรรลุเป้าหมายเท่าที่ทำได้ ก็ต่อเมื่อพัฒนา
สังคมให้รู้จักวิพากษ์วิจารณ์ตนเอง และมีความรู้สึกไวต่อสิ่งที่ทำให้เกิดความไม่พอใจ
กลุ่มคริสตชนมีแนวทางสร้างสรรค์สังคม ซึ่งตรงกับกิจการของพระเจ้าในการสร้างสรรค์
มนุษย์ กลุ่มคริสตชนแสดงความสัมพันธ์เป็นหนึ่งเดียว (Koinonia) ที่ทำให้บุคคลมีโอกาสร่วมเป็น
หนึ่งในชีวิตของหมู่คณะและในการตัดสินต่างๆ ที่มีผลต่อจุดหมายของกลุ่ม เพราะเหตุนี้ บุคคลดัง
กล่าวจึงเป็นมนุษย์อย่างแท้จริง กลุ่มคริสตชนมีพระอาณาจักรของพระเจ้าเป็นเป้าหมาย
ในมุมมองพระอาณาจักรของพระเจ้า การเลือกวิธีการปฏิรูปก่อให้เกิดความตึงเครียดซึ่งจะ
เป็นพลังสร้างสรรค์ ความตึงเครียดนี้เป็นกำลังที่ใช้เพื่อสร้างสรรค์ระบบใหม่ของสังคม ระบบนี้ไม่
เป็นผลของการกระทำของเราแต่เป็นของประทาน ซึ่งเราได้รับจากพระเจ้า แม้ว่าเราจะมีขอบเขต
และความล้มเหลวก็ตาม ความหมายก็คือเรามีความวางใจว่า ทุกๆ ขณะในประวัติศาสตร์ได้รับการ
เสริมแต่งอาศัยการกระทำของพระเจ้า และเรารอคอยให้พระเจ้าทรงสำแดงกิจการของพระองค์ขณะ
ที่เราเดินทางไปสู่อนาคต
กุสตาโว กูเตียเรซ (Gustavo Gutierrez) นักเขียนชาวลาตินอเมริกา ผู้แต่งหนังสือ
“เทววิทยาแห่งการปลดปล่อย” ได้นำแนวคิดทางปฏิบัติเข้าในคำนิยามของเทววิทยา เขากล่าวว่า
เทววิทยาเป็นการไตร่ตรองทีว่ พิ ากษ์วจิ ารณ์ การกระทำของพระศาสนจักรในประวัตศิ าสตร์ของมนุษย์
เพราะพระศาสนจักรเกี่ยวข้องกับกระบวนการปลดปล่อย ซึ่งนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงของโลก การ
ปฏิบัติในประวัติศาสตร์เป็นแหล่งข้อมูลอันดับแรกของการศึกษาเทววิทยา

86
อ นั น ต วิ ท ย า
บ ท ที่ ๕ ... อนันตวิทยาในเทววิทยาร่วมสมัย

เทววิทยาไม่มีจุดเริ่มจากแหล่งข้อมูลที่เคยยึดถือกันมา คือ พระคัมภีร์ ธรรมประเพณี และ


อำนาจการสอนของพระศาสนจักร แต่เริ่มจากการประท้วงผู้ที่เหยียดหยามศักดิ์ศรีของมนุษย์ โดย
พยายามต่อสู้กับวิธีการที่ใช้เพื่อกดขี่มนุษย์เป็นจำนวนมาก เพื่อปลดปล่อยความรักและสร้างสังคม
ใหม่ที่ยุติธรรม และมีความรักปรองดองกัน
ความคิดเกี่ยวกับอุดมรัฐ (Utopia) คือ สังคมที่ดีตามอุดมคติ ถูกนำมาเป็นเครื่องมือเพื่อ
เชื่อมความหวังของคริสตชนกับการกระทำในประวัติศาสตร์ สำหรับกูเตียเรซ อุดมรัฐเป็นการ
ประณามระบบสังคมปัจจุบันพร้อมกับประณามข้อบกพร่องที่เกิดจากระบบนี้ เป็นการปฏิเสธสถาน-
การณ์มนุษย์ที่ตกต่ำอย่างสิ้นเชิง เป็นการปฏิเสธเพื่อค้นพบรากแท้ของความชั่ว อีกแง่หนึ่ง อุดมรัฐ
ยังเป็นการประกาศสิ่งที่ยังไม่เป็นแต่จะเกิดขึ้น เป็นการลิ้มรสระบบใหม่ของสรรพสิ่งและของสังคม
ใหม่ อุดมรัฐผลักดัน มนุษย์ให้ก้าวไปข้างหน้า เป็นแผนการที่มุ่งสู่อนาคต เป็นความจริงที่ทำให้
ประวัติศาสตร์กลับมีพลวัตร
อุดมรัฐป้องกันไม่ให้แผนการใดในประวัติศาสตร์กลับเป็นเรื่องสัมบูรณ์ ซึ่งจะเป็นสถานภาพ
ที่จะไม่เปลี่ยนแปลงอีก (Status quo) และป้องกันไม่ให้ความเชื่อคริสตชนถูกจำกัดจากวิธีการของ
มนุษย์ วิธีการนี้อาจจะดีกว่าวิธีการเดิม แต่ยังปรับปรุงให้ดีขึ้นอยู่เสมอ ดังนั้น แนวคิดของกูเตียเรซ
จึงเป็นเรื่องของการสร้างสรรค์มนุษย์ใหม่อย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการพบปะระหว่างการปลดปล่อย
ทางการเมืองกับความสนิทสัมพันธ์ของมนุษย์กับพระเจ้า

8. ข้อสรุป
นักเทววิทยาร่วมสมัยจึงถกเถียงกันเกี่ยวกับอนันตวิทยา ฟอน บัลทาซาร์กล่าวว่า “การ
ค้นคว้าของนักเทววิทยาเรื่องอนันตวิทยาไม่ได้นำไปสู่การอธิบายปัญหาอย่างมีระบบ “สิ่งสุดท้าย” ก่อ
ให้เกิดปัญหาอย่างแท้จริง เรายังไม่สามารถบรรลุถึงความเข้าใจในเรื่องอนันตวิทยาได้อย่างชัดเจน
เมื่อใดสิ่งสุดท้ายกลายเป็นเรื่องที่นักเทววิทยาให้ความสนใจ เมื่อนั้นแนวความคิดต่างๆ จะปรากฏ
ออกมา”

87
อ นั น ต วิ ท ย า
บ ท ที่ ๕ ... อนันตวิทยาในเทววิทยาร่วมสมัย

88
อ นั น ต วิ ท ย า

You might also like