You are on page 1of 36

บ ท ที่ ๖ ...

คำสอนของสภาสังคายนาวาติกันที่ 2 เรื่องอนันตวิทยา


1. ความเป็นมาของเอกสารสภาสังคายนาวาติกันที่ 2 เรื่องอนันตวิทยา (Eschatology)
เมื่อสมเด็จพระสันตะปาปายอห์นที่ 23 ทรงได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพระสันตะปาปาเพียง
ไม่กี่สัปดาห์ พระองค์ตรัสกับเลขานุการว่า “เราควรจะทำอะไรดีเพื่อฟื้นฟูพระศาสนจักร” แล้ว
พระองค์ทรงมีความคิดขึ้นมาทันทีทันใดว่า จะทรงเรียกประชุมสภาสังคายนาสากล เลขานุการของ
พระองค์เห็นด้วยและสนับสนุนให้ทรงเรียกประชุม สภาสังคายนานี้เริ่มประชุมในวันที่ 11 ตุลาคม
1962 วันนั้น ตามปฏิทินเดิมของพระศาสนจักร เป็นวันสมโภชพระนางมารีย์ “พระมารดาของพระเจ้า”
ซึ่งปัจจุบันเลื่อนมาฉลองในวันที่1 มกราคมของทุกปี
ในการเตรียมประชุมสภาสังคายนาครั้งนี้ สมเด็จพระสันตะปาปาไม่ทรงกำหนดหลักการใด
แก่คณะกรรมการ แต่ทรงให้เขามีอิสระอย่างเต็มที่ ในการกำหนดหัวข้อและจุดมุ่งหมายของการ
ประชุม คณะกรรมการชุดนี้ประกอบด้วยพระคาร์ดินัล พระสังฆราชและผู้เชี่ยวชาญเทววิทยา
บางคน สมาชิกคณะกรรมการนี้ส่วนใหญ่เป็นบุคคลที่ทำงานในสมณกระทรวงต่างๆ เขาทำงานหนัก
เพือ่ เตรียมเรือ่ งต่างๆ ทีจ่ ะประชุมหารือกัน คณะกรรมการชุดนีจ้ งึ ช่วยกันพิจารณา และเตรียมเอกสาร

90
อ นั น ต วิ ท ย า
บ ท ที่ ๖ ... คำสอนของสภาสังคายนาวาติกันที่ 2 เรื่องอนันตวิทยา

ฉบับร่างในเรื่องที่เขาคิดว่า การประชุมสภาสังคายนาควรอภิปราย เขาได้ร่างเอกสารทั้งหมด 70


เรื่อง รวม 2,060 หน้า เอกสารทุกเรื่องล้วนน่าสนใจ แต่ไม่มีแนวคิดที่มุ่งไปในทิศทางเดียวกัน
ดังนั้น สิ่งแรกที่ผู้เข้าประชุมได้อภิปราย คือ พิจารณาตัดบางเรื่องและรวมบางเรื่องเข้าด้วยกัน ใน
ที่สุดเหลือเพียง 20 เรื่อง กระนั้นก็ดี ยังไม่พบแนวคิดที่มุ่งไปในทิศทางเดียวกัน
ต่อมา วันที่ 4 ธันวาคม 1962 พระคาร์ดินัลลีโอ โยเซฟ ซือเนนส์ (Leo Joseph Suenens)
พระสังฆราชประเทศเบลเยี่ยมเสนอให้มีแนวคิดที่มุ่งไปในทิศทางเดียวกันว่า เอกสารต่างๆ ของสภา-
สังคายนาครั้งนี้จะต้องแสดงชัดเจนว่า พระศาสนจักรเป็นแสงสว่างส่องโลก โดยพิจารณาจากมุมมอง
สองประการ คือ
• AD INTRA มองภายในพระศาสนจักร เพื่อเห็นว่าพระศาสนจักรจะต้องเป็นอย่างไร
• AD EXTRA มองโลกภายนอกพระศาสนจักร เพือ่ เห็นว่าพระศาสนจักรจะต้องมีบทบาท
ในการช่วยแก้ปัญหาของโลกได้อย่างไร เช่น ศักดิ์ศรีของมนุษย์ ความยุติธรรมในสังคม
สันติภาพในโลก ฯลฯ
พระคาร์ดินัลยอห์น บัปติสต์ มอนตินี (John Baptist Montini) ก่อนที่จะได้รับการแต่งตั้ง
เป็นพระสันตะปาปา เปาโลที่ 6 พร้อมกับพระสังฆราชหลายองค์ก็สนับสนุนข้อเสนอของพระคาร์ดินัล
ซือเนนส์ ในที่สุด คณะกรรมการจึงได้ร่างเอกสารหลัก 2 ฉบับ คือ
1. LUMEN GENTIUM : พระธรรมนูญว่าด้วยพระศาสนจักร (AD INTRA)
2. GAUDIUM ET SPES : พระธรรมนูญว่าด้วยพระศาสนจักรในโลกสมัยนี้ (AD EXTRA)
เมื่อที่ประชุมยอมรับหลักการนี้ จาก 20 เรื่องดั้งเดิมก็เหลือเพียง 16 เรื่อง ต่อมาบรรดา
พระสังฆราชได้สรุปว่า ลักษณะที่จำเป็นของพระศาสนจักรก็คือ การมุ่งไปสู่ความสมบูรณ์ หมายถึง
อนันตวิทยา (Eschatology) พระศาสนจักรจึงช่วยแก้ปัญหาของโลกปัจจุบันได้ (Gaudium et Spes)
เพราะเข้าใจความหมายของมนุษย์ทุกแง่ทุกมุม รวมทั้งแง่อนันตวิทยาที่ ได้อธิบายแล้วในเอกสาร
Lumen Gentium

91
อ นั น ต วิ ท ย า
บ ท ที่ ๖ ... คำสอนของสภาสังคายนาวาติกันที่ 2 เรื่องอนันตวิทยา

2. เนื้อหาสำคัญของพระธรรมนูญว่าด้วยพระศาสนจักร LUMEN GENTIUM


2.1 โครงสร้างของเอกสารฉบับร่าง แบ่งเนื้อหาสำคัญเป็น 4 บท คือ
บทที่ 1 ธรรมล้ำลึกเรื่องพระศาสนจักร
บทที่ 2 พระฐานานุกรมของพระศาสนจักร โดยเฉพาะตำแหน่งพระสังฆราช
บทที่ 3 ประชากรของพระเจ้าและฆราวาส
บทที่ 4 ทุกคนในพระศาสนจักรได้รับเชิญให้มุ่งสู่ความศักดิ์สิทธิ์
2.2 ต่อมา ที่ประชุมมีการเปลี่ยนแปลง ปรับปรุง เพิ่มเติมเนื้อหาสำคัญบางประการ
ดังต่อไปนี้
บทที่ 1 ธรรมล้ำลึกเรื่องพระศาสนจักร ยังคงบทที่ 1 ไว้เหมือนเดิม
บทที่ 2 ประชากรของพระเจ้า นำเนื้อหาบางส่วนมาจากบทที่ 3 ของฉบับร่าง
บทที่ 3 พระฐานานุกรมของพระศาสนจักร โดยเฉพาะตำแหน่งพระสังฆราช
ตรงกับบทที่ 2 ของฉบับร่าง
บทที่ 4 ฆราวาส นำเนื้อหาบางส่วนมาจากบทที่ 3 ของฉบับร่าง
บทที่ 5 ทุกคนในพระศาสนจักรได้รับเชิญให้มุ่งสู่ความศักดิ์สิทธิ์
ตรงกับบทที่ 4 ของฉบับร่าง
บทที่ 6 นักบวช นำเนื้อหาบางส่วนมาจากบทที่ 4 ของฉบับร่าง เพราะที่ประชุมเห็นว่า
การเป็นนักบวชเป็น วิธีหนึ่งที่เด่นในพระศาสนจักร เพื่อบรรลุความศักดิ์สิทธิ์
2.3 ความคิดเห็นของพระคาร์ดินัลโยเซฟ ฟรีงส์ (Joseph Frings) ชาวเยอรมัน
พระคาร์ดินัลฟรีงส์ ได้เสนอว่า เอกสารฉบับปรับปรุงดังกล่าวยังต้องเพิ่มอีก 2 เรื่อง
โดยให้เหตุผลว่า คำอธิบายเรื่อง “ทุกคนในพระศาสนจักรได้รับเชิญให้มุ่งสู่ความศักดิ์สิทธิ์” ในฉบับ
ปรับปรุงยังมีเนื้อหาไม่เพียงพอ เพราะพระศาสนจักรเป็นกลุ่มของทั้งผู้ที่มุ่งสู่ความศักดิ์สิทธิ์และผู้ที่
บรรลุความศักดิ์สิทธิ์แล้ว พระศาสนจักรในโลกนี้จึงยังมีความสัมพันธ์กับผู้ที่บรรลุความศักดิ์สิทธิ์แล้ว
ในสวรรค์ และในบรรดานักบุญทั้งหลาย เราจึงต้องพิจารณาเป็นพิเศษถึงบทบาทของพระนางมารีย์

92
อ นั น ต วิ ท ย า
บ ท ที่ ๖ ... คำสอนของสภาสังคายนาวาติกันที่ 2 เรื่องอนันตวิทยา

พระคาร์ดินัลฟรีงส์ จึงได้เสนอให้เพิ่มเติมอีก 2 บท คือ บทที่ 7 และบทที่ 8


บทที่ 7 ลักษณะอนันตกาลของพระศาสนจักรที่กำลังจาริกอยู่ในโลก และมีความ
สัมพันธ์เป็นหนึ่งเดียวกับพระศาสนจักรในสวรรค์
บทที่ 8 พระนางมารียพ์ รหมจารี พระมารดาของพระเจ้า ในธรรมล้ำลึกเรือ่ งพระคริสต-
เจ้าและธรรมล้ำลึกเรื่องพระศาสนจักร
เมื่อที่ประชุมรับข้อเสนอของพระคาร์ดินัลฟรีงส์ เขาจึงตั้งคณะกรรมการอีกชุดหนึ่ง ให้
ร่างข้อความเชื่อเกี่ยวกับสิ่งสุดท้ายอย่างสังเขป เนื้อหาของบทที่ 7 ประกอบด้วย มาตรา 48 เรื่อง
ลักษณะอนันตกาลของพระศาสนจักรที่กำลังจาริกอยู่ในโลก และมาตรา 49-51 เรื่องพระศาสนจักร
มีความสัมพันธ์เป็นหนึ่งเดียวกับพระศาสนจักรในสวรรค์
คำศัพท์ที่เอกสารนี้ใช้เมื่อพูดถึงพระศาสนจักร คือ “พระศาสนจักรที่กำลังจาริกแสวง
บุญ” (Pilgrim Church) แสดงว่าพระศาสนจักรในปัจจุบันกำลังมุ่งสู่อนาคต แต่เดิมมักจะใช้คำว่า
“พระศาสนจักรที่กำลังต่อสู้บนแผ่นดิน” (The Church Militant) ซึ่งเสนอภาพพจน์ที่ไม่ค่อยดีนัก
เพราะพระศาสนจักรไม่ต้องต่อสู้กับใครนอกจากบาป

3. ความคิดเรื่อง “ลักษณะอนันตวิทยาของพระศาสนจักร” (LG 48)


3.1 ตัวบทมาตรา 48
ก) ท่านทั้งหลายได้รับเชิญให้เข้าอยู่ในพระศาสนจักรโดยพระคริสตเยซู และเมื่ออยู่ใน
พระศาสนจักรแล้ว อาศัยพระหรรษทานของพระเจ้าเราจะบรรลุความศักดิ์สิทธิ์ พระศาสนจักรจะ
สมบูรณ์ ก็ต่อเมื่อได้รับพระสิริรุ่งโรจน์ในสวรรค์ “จนกระทั่งถึงเวลาที่จะทรงฟื้นฟูทุกสิ่งขึ้นใหม่”
(กจ 3:21) เวลานั้น พร้อมกับมนุษยชาติ โลกทั้งโลกซึ่งมีความสัมพันธ์แน่นแฟ้นกับมนุษย์ จะบรรลุ
จุดมุ่งหมายของตนโดยทางมนุษย์ และจะพบความสมบูรณ์ในพระคริสตเจ้า (เทียบ อฟ 1:10, คส
1:20, 2 ปต 3:10-13)

93
อ นั น ต วิ ท ย า
บ ท ที่ ๖ ... คำสอนของสภาสังคายนาวาติกันที่ 2 เรื่องอนันตวิทยา

ข) เมื่อพระคริสตเจ้าทรงถูกยกขึ้นจากแผ่นดิน ก็ทรงดึงดูดมนุษย์ทุกคนเข้ามาหา
พระองค์ (เทียบ ยน 12:32) เมื่อทรงกลับคืนพระชนมชีพจากบรรดาผู้ตาย (เทียบ รม 6:9) พระองค์
ทรงส่งพระจิตเจ้าผูท้ รงบันดาลชีวติ มายังบรรดาอัครสาวก และโดยพระจิตเจ้านี้ พระองค์ทรงสถาปนา
พระวรกายของพระองค์ขึ้น คือ พระศาสนจักร ที่ทรงแต่งตั้งให้เป็นดังเครื่องหมายและสื่อนำความ
รอดพ้นแก่มนุษย์ทุกคน เมื่อประทับอยู่เบื้องขวาพระบิดา พระองค์ก็ยังทรงปฏิบัติงานอยู่ในโลกอย่าง
เสมอมิ ไ ด้ ข าด เพื่ อ นำมวลมนุ ษ ย์ ไ ปสู่ พ ระศาสนจั ก ร และเพื่ อ ทรงทำให้ ม นุ ษ ย์ ใ กล้ ชิ ด สนิ ท กั บ
พระองค์มากยิ่งขึ้นโดยทางพระศาสนจักร พระองค์ทรงเลี้ยงมนุษย์ด้วยพระกายและพระโลหิต เพื่อ
ทรงบันดาลให้เขามีส่วนร่วมในพระชนมชีพรุ่งโรจน์ของพระองค์ ดังนั้น สภาพใหม่ที่เรารอคอยตาม
พระสัญญาเริ่มแล้วในพระคริสตเจ้า การส่งพระจิตเจ้าทำให้สภาพนี้ได้รับการผลักดันขึ้น และอาศัย
พระจิตเจ้าสภาพนี้คงดำรงอยู่ต่อไปในพระศาสนจักร ในพระศาสนจักร เราเรียนรู้ความหมายของ
ชีวิตบนแผ่นดินอาศัยความเชื่อ ขณะเราทำงานที่พระบิดาทรงมอบหมายให้ทำในโลกนี้ โดยหวังว่า
จะได้รับทรัพย์สมบัติในอนาคต เราจึงจะได้รับความรอดพ้น (เทียบ ฟป 2:12)
ค) ดังนั้น วาระสุดท้ายของยุคนี้ได้มาถึงเราแล้ว (เทียบ 1 คร 10:11) การฟื้นฟูขึ้น
ใหม่ของโลกก็ถูกกำหนดไว้แล้วโดยไม่มีการคืนคำ การฟื้นฟูนี้เป็นความจริงบ้างล่วงหน้าในโลกนี้
เพราะพระศาสนจักรมีความศักดิ์สิทธิ์แท้จริงแล้ว แม้ยังไม่สมบูรณ์บนแผ่นดินนี้ ถึงกระนั้น จนกว่า
จะถึงฟ้าใหม่และแผ่นดินใหม่ซึ่งเป็นที่อยู่ถาวรของความชอบธรรม (เทียบ 2 ปต 3:13) พระศาสน-
จักรผู้กำลังจาริกแสวงบุญโดยอาศัยศีลศักดิ์สิทธิ์และสถาบันของตนที่อยู่ในโลกนี้ ยังคงมีลักษณะ
ของโลกที่กำลังจะล่วงพ้นไป ทั้งยังคงอยู่ท่ามกลางสรรพสิ่งที่กำลังร้องไห้ครวญครางด้วยความเจ็บ
ปวดราวกับสตรีคลอดบุตร และกำลังรอคอยให้บรรดาบุตรของพระเจ้าปรากฏมา (เทียบ รม 8:19-
22)
ง) เรามีความสนิทสัมพันธ์กับพระคริสตเจ้าในพระศาสนจักรแล้ว และเราได้รับการ
ประทับตราของพระจิตเจ้าผู้ทรง “เป็นประกันมรดกที่เราจะได้รับ” (อฟ 1:14) เราได้ชื่อว่าเป็นบุตร
ของพระเจ้าโดยแท้จริง และเราก็เป็นเช่นนั้นจริง (เทียบ 1 ยน 3:1) แต่เรายังไม่ได้ปรากฏตัวร่วมกับ

94
อ นั น ต วิ ท ย า
บ ท ที่ ๖ ... คำสอนของสภาสังคายนาวาติกันที่ 2 เรื่องอนันตวิทยา

พระคริสตเจ้าในพระสิริรุ่งโรจน์ (เทียบ คส 3:4) ซึ่งจะบันดาลให้เราเป็นเหมือนพระเจ้า เพราะเรา


จะแลเห็นพระองค์อย่างที่ทรงเป็น (เทียบ 1 ยน 3:2) เพราะฉะนั้น “เมื่อเรามีชีวิตอยู่ในร่างกาย เรา
ก็ถูกเนรเทศห่างจากองค์พระผู้เป็นเจ้า (2 คร 5:6) แม้เราได้รับผลิตผลครั้งแรกของพระจิตเจ้าแล้ว
เราก็ยังคร่ำครวญอยู่ภายใน (เทียบ รม 8:23) และปรารถนาที่จะได้อยู่กับพระคริสตเจ้า (เทียบ ฟป
1:23) ความรักนี้กระตุ้นเราให้ดำรงชีวิตเพื่อพระองค์มากยิ่งขึ้น พระองค์ผู้สิ้นพระชนม์และทรงกลับ
คืนพระชนมชีพเพื่อเรา (เทียบ 2 คร 5:15) ฉะนั้น เราพยายามทำตนเป็นที่พอพระทัยขององค์
พระผู้เป็นเจ้าในทุกสิ่งทุกอย่าง (เทียบ 2 คร 5:9) และสวมใส่อาวุธครบชุดของพระเจ้า เพื่อยืนหยัด
ต่อต้านกลอุบายของปีศาจ และต้านทานในวันร้ายนั้น (เทียบ อฟ 6:11-13) เราไม่ทราบวันและ
เวลาดังที่องค์พระผู้เป็นเจ้าได้ทรงเตือนไว้ เราจึงต้องตื่นเฝ้าไม่หยุดหย่อนอยู่เรื่อยไป เพื่อว่าเมื่อ
วิถีชีวิตเดียวของเราบนแผ่นดินนี้จบลงแล้ว (เทียบ ฮบ 9:27) เราจะสมควรเข้าไปสู่งานวิวาหมงคล
และมีบุญนับเข้าอยู่ในจำนวนผู้ได้รับพระพร (เทียบ มธ 25:31-46) ไม่เป็นเหมือนคนใช้เลวและ
เกียจคร้าน (เทียบ มธ 25:26) ที่จะถูกบังคับให้ไปสู่ไฟนิรันดร (เทียบ มธ 25:31-41) ไปสู่ความ
มืดข้างนอก ที่นั่น “จะมีแต่การร่ำไห้ และขบฟันด้วยความขุ่นเคือง” (มธ 22:13; 25:30) ก่อนที่
เราจะได้ครองราชย์ร่วมกับพระคริสตเจ้าผู้ทรงรุ่งโรจน์ “เราทุกคนจะต้องปรากฏเฉพาะพระบัลลังก์
ของพระคริสตเจ้า เพื่อแต่ละคนจะได้รับสิ่งตอบแทนสมกับที่ ได้กระทำเมื่อยังมีชีวิตอยู่ในร่างกาย
ขึ้นอยู่กับการกระทำนั้นว่าจะดีหรือชั่ว” (2 คร 5:10) ในบั้นปลายของโลกทุกคนในหลุมศพจะออกมา
“ผู้ ที่ ไ ด้ ท ำความดี จ ะกลั บ คื น ชี วิ ต มารั บ ชี วิ ต นิ รั น ดร ส่ ว นผู้ ที่ ท ำความชั่ ว ก็ จ ะกลั บ คื น ชี วิ ต มารั บ
โทษทัณฑ์” (ยน 5:29, เทียบ มธ 25:4-6) เพราะเราคิดว่า “ความทุกข์ทรมานในปัจจุบันเปรียบ
ไม่ได้เลยกับพระสิริรุ่งโรจน์ที่จะทรงบันดาลให้ปรากฏแก่เรา” (รม 8:18, เทียบ 2 ทม 2:11-12)
เรามั่นคงในความเชื่อ “ขณะที่เรากำลังรอคอยการแสดงพระองค์ในพระสิริรุ่งโรจน์ของพระคริสต-
เยซู พระเจ้าผู้ยิ่งใหญ่ และพระผู้ไถ่ของเราเป็นความสุขที่เราหวังไว้” (ทต 2:13) “พระองค์จะ
ทรงเปลี่ยนรูปร่างอันต่ำต้อยของเราให้เหมือนพระกายอันรุ่งโรจน์ของพระองค์” (ฟป 3:21) และ
พระองค์จะ “เสด็จมาเพื่อรับพระสิริรุ่งโรจน์ในหมู่ผู้ศักดิ์สิทธิ์ของพระองค์ และเสด็จมาเพื่อให้ทุกคน
ที่มีความเชื่อ ได้ชมพระพักตร์ด้วยความพิศวง” (2 ธส 1:10)

95
อ นั น ต วิ ท ย า
บ ท ที่ ๖ ... คำสอนของสภาสังคายนาวาติกันที่ 2 เรื่องอนันตวิทยา

3.2 การวิเคราะห์คำสอนของพระศาสนจักรในมาตรา 48
คำสอนเรื่องอนันตกาลมีลักษณะเป็นปฏิทรรศน์ (Paradox) คือ เป็นเหตุการณ์อนาคตแต่
ได้เริ่มแล้วในปัจจุบัน และจะสมบูรณ์ในอนาคต ผู้เป็นคริสตชนได้รับพระหรรษทานและพระจิตเจ้า
แล้วจากธรรมล้ำลึกปัสกา มีความสนิทสัมพันธ์กับพระเจ้า แต่ความชิดสนิทนี้จะสมบูรณ์เพียงใน
พระสิริรุ่งโรจน์ของสวรรค์เท่านั้น ดังที่สภาสังคายนากล่าวว่า “ฉะนั้น วาระสุดท้ายของยุคนี้ได้มาถึง
เราแล้ว (เทียบ 1 คร 10:11) การฟื้นฟูขึ้นใหม่ของโลกก็ถูกกำหนดไว้แล้ว โดยไม่มีการคืนคำ การ
ฟื้นฟูนี้เป็นความจริงบ้างล่วงหน้าในโลกนี้ เพราะพระศาสนจักรมีความศักดิ์สิทธิ์แท้จริงแล้ว แม้ยังไม่
สมบูรณ์บนแผ่นดินนี้” (ค)
3.2.1 มุมมองต่างๆ ของคำสอนเรื่องอนันตวิทยา
ความคิดหลักในมุมมองต่างๆ ของคำสอนเรื่องอนันตวิทยาสรุปได้ดังนี้
1) มุมมองในมิติของพระคริสตเจ้า
อนันตวิทยามีรากฐานในธรรมล้ำลึกปัสกาของพระคริสตเจ้า ธรรมล้ำลึก
ปัสกาทำให้เรายืนยันได้ว่า “สภาพใหม่ที่เรารอคอยตามพระสัญญาเริ่มแล้วในพระคริสตเจ้า” (ข)
พระคริสตเจ้าทรงเป็นผลแรกของขบวนการที่จะต้องต่อเนื่องในเรา สิ่งที่เราหวังในอนาคตเป็นความ
จริงแล้วในพระองค์
• “เมื่อพระคริสตเจ้าทรงถูกยกขึ้นจากแผ่นดิน ก็ทรงดึงดูดมนุษย์
ทุกคนเข้ามาหาพระองค์ เมื่อทรงกลับคืนพระชนมชีพจากบรรดาผู้ตาย…ประทับอยู่เบื้องขวาพระบิดา
พระองค์ก็ยังทรงปฏิบัติงานอยู่ในโลกอย่างเสมอมิได้ขาด เพื่อนำมวลมนุษย์ไปสู่พระศาสนจักร และ
เพื่อทรงทำให้มนุษย์ใกล้ชิดสนิทกับพระองค์มากยิ่งขึ้นโดยทางพระศาสนจักร...เพื่อทรงบันดาลให้
เขามีส่วนร่วมในพระชนมชีพรุ่งโรจน์ของพระองค์” (ข)
• “ดังนั้น วาระสุดท้ายของยุคนี้ ได้มาถึงเราแล้ว การฟื้นฟูขึ้นใหม่
ของโลกก็ถูกกำหนดไว้แล้วโดยไม่มีการคืนคำ การฟื้นฟูนี้เป็นความจริงบ้างล่วงหน้าในโลกนี้...จนกว่า
จะถึงฟ้าใหม่และแผ่นดินใหม่ซึ่งเป็นที่อยู่ถาวรของความชอบธรรม” (ค)

96
อ นั น ต วิ ท ย า
บ ท ที่ ๖ ... คำสอนของสภาสังคายนาวาติกันที่ 2 เรื่องอนันตวิทยา

• “ความรักนีก้ ระตุน้ เราให้ดำรงชีวติ เพือ่ พระองค์มากยิง่ ขึน้ พระองค์


ผู้สิ้นพระชนม์และทรงกลับคืนพระชนมชีพเพื่อเรา” (ง)
2) มุมมองในมิติของพระจิตเจ้า
พระคริสตเจ้าทรงส่งพระจิตเจ้าเข้ามาดำเนินงานในพระศาสนจักรบนโลกนี้
พระจิตเจ้าทรงเป็นพลังกระตุ้นให้มนุษย์มุ่งสู่ความสมบูรณ์ในอนาคต สภาสังคายนากล่าวว่า “ดังนั้น
สภาพใหม่ที่เรารอคอยตามพระสัญญาเริ่มแล้วในพระคริสตเจ้า การส่งพระจิตเจ้าทำให้สภาพนี้ได้รับ
การผลักดันขึ้น และอาศัยพระจิตเจ้าสภาพนี้คงดำรงอยู่ในพระศาสนจักรต่อไป” (ข)
ผู้เสนอความคิดที่ว่า พระจิตเจ้าทรงปฏิบัติภารกิจอย่างถาวรในพระศาสน-
จักร คือ สังฆบิดรคาทอลิก จารีตมาโรไนต์ (Maronite) เซียเด Ziade ชาวเลบานอน เขาให้ความ
สำคัญต่อบทบาทของพระจิตเจ้ามากตามธรรมประเพณีของพระศาสนจักรตะวันออก สภาสังคายนา
ยืนยันว่า
• “เมื่อพระคริสตเจ้า...ทรงกลับคืนพระชนมชีพจากบรรดาผู้ตาย
พระองค์ทรงส่งพระจิตเจ้าผูท้ รงบันดาลชีวติ มายังบรรดาอัครสาวก และโดยพระจิตเจ้านี้ พระองค์ทรง
สถาปนาพระวรกายของพระองค์ขึ้นคือพระศาสนจักร” (ข)
• “สภาพใหม่ที่เรารอคอยตามพระสัญญาเริ่มแล้วในพระคริสตเจ้า
การส่งพระจิตเจ้าทำให้สภาพนี้ได้รับการผลักดันขึ้น และอาศัยพระจิตเจ้าสภาพนี้คงดำรงอยู่ต่อไป
ในพระศาสนจักร ในพระศาสนจักร เราเรียนรู้ความหมายของชีวิตบนแผ่นดินอาศัยความเชื่อ ขณะ
เราทำงานที่พระบิดาทรงมอบหมายให้ทำในโลกนี้ โดยหวังว่าจะได้รับทรัพย์สมบัติในอนาคต เราจึง
จะได้รับความรอดพ้น” (ข)
• “เรามีความสนิทสัมพันธ์กับพระคริสตเจ้าในพระศาสนจักรแล้ว
และเราได้รับการประทับตราของพระจิตเจ้าผู้ทรง “เป็นประกันมรดกที่เราจะได้รับ” เราได้ชื่อว่าเป็น
บุตรของพระเจ้าโดยแท้จริง และเราก็เป็นเช่นนั้นจริง แต่เรายังไม่ได้ปรากฏตัวร่วมกับพระคริสตเจ้า
ในพระสิริรุ่งโรจน์ ซึ่งจะบันดาลให้เราเป็นเหมือนพระเจ้า เพราะเราจะแลเห็นพระองค์อย่างที่ทรง
เป็น” (ง)

97
อ นั น ต วิ ท ย า
บ ท ที่ ๖ ... คำสอนของสภาสังคายนาวาติกันที่ 2 เรื่องอนันตวิทยา

• “แม้เราได้รับผลิตผลครั้งแรกของพระจิตเจ้าแล้ว เราก็ยังคร่ำ-
ครวญอยู่ภายใน (เทียบ รม 8:23) และปรารถนาที่จะได้อยู่กับพระคริสตเจ้า” (ง)
3) มุมมองในมิติของพระศาสนจักร
พระศาสนจักรเป็นประชากรของพระเจ้าและเป็นเครื่องหมายความรอดพ้น
ที่พระเจ้าทรงนำแก่มนุษย์ทุกคน พระศาสนจักรในโลกนี้อยู่ในกาลเวลา จึงมีส่วนที่จะต้องเปลี่ยน-
แปลงเสมอตามกาลเวลา พระศาสนจักรมีไว้เพื่อช่วยมนุษย์ที่อยู่ในโลกนี้ ไม่จำเป็นต้องช่วยมนุษย์ที่
อยู่ในสภาพสมบูรณ์แล้ว สภาสังคายนาจึงยืนยันว่า ระบบศีลศักดิ์สิทธิ์ 7 ประการ และสถาบันอื่นๆ
เช่น การปกครองโดยพระสันตะปาปา พระสังฆราช พระสงฆ์ และสังฆานุกร ฯลฯ จะไม่มีในโลกหน้า
โดยกล่าวว่า
• “พระศาสนจักรผู้กำลังจาริกแสวงบุญ โดยอาศัยศีลศักดิ์สิทธิ์และ
สถาบันของตนที่อยู่ในโลกนี้ ยังคงมีลักษณะของโลกที่กำลังจะล่วงพ้นไป ทั้งยังคงอยู่ท่ามกลาง
สรรพสิง่ ทีก่ ำลังร้องไห้ครวญครางด้วยความเจ็บปวดราวกับสตรีคลอดบุตร และกำลังรอคอยให้บรรดา
บุตรของพระเจ้าปรากฏมา” (ค)
• “ท่านทั้งหลายได้รับเชิญให้เข้าอยู่ในพระศาสนจักรโดยพระคริสต-
เยซู และเมื่ออยู่ในพระศาสนจักรแล้ว อาศัยพระหรรษทานของพระเจ้า เราจะบรรลุความศักดิ์สิทธิ์
พระศาสนจักรจะสมบูรณ์ ก็ต่อเมื่อได้รับพระสิริรุ่งโรจน์ในสวรรค์ “จนกระทั่งถึงเวลาที่จะทรงฟื้นฟู
ทุกสิ่งขึ้นใหม่” (กจ 3:21)” (ก)
• พระคริสตเจ้า “ทรงสถาปนาพระวรกายของพระองค์ขึ้น คือ พระ-
ศาสนจักร ที่ทรงแต่งตั้งให้เป็นดังเครื่องหมายและสื่อนำความรอดพ้นแก่มนุษย์ทุกคน” (ข)
• “พระศาสนจักรมีความศักดิ์สิทธิ์แท้จริงแล้ว แม้ยังไม่สมบูรณ์บน
แผ่นดินนี้ ถึงกระนั้น จนกว่าจะถึงฟ้าใหม่และแผ่นดินใหม่ซึ่งเป็นที่อยู่ถาวรของความชอบธรรม พระ-
ศาสนจักรผู้กำลังจาริกแสวงบุญโดยอาศัยศีลศักดิ์สิทธิ์และสถาบันของตนที่อยู่ในโลกนี้ ยังคงมี
ลักษณะของโลกที่กำลังจะล่วงพ้นไป” (ค)

98
อ นั น ต วิ ท ย า
บ ท ที่ ๖ ... คำสอนของสภาสังคายนาวาติกันที่ 2 เรื่องอนันตวิทยา

4) มุมมองในมิติของโลกวัตถุ
อนันตวิทยายังเกี่ยวข้องกับโลกวัตถุ เพราะโลกวัตถุและมนุษย์มีความ
สัมพันธ์กันอย่างแน่นแฟ้น โลกวัตถุต้องอาศัยมนุษย์เพื่อบรรลุจุดหมายที่พระเจ้าทรงกำหนดไว้
มนุษย์ก็ต้องอาศัยโลกวัตถุด้วยเช่นกัน ดังนั้น สากลจักรวาลจะได้รับการสถาปนาขึ้นใหม่โดยสมบูรณ์
ในองค์พระคริสตเจ้า พร้อมกับมนุษยชาติด้วย (อฟ 1:10, คส 1:20, 2 ปต 3:10-13) ปัญหา
นิเวศวิทยา คือ การศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับถิ่นที่อยู่และสิ่งแวดล้อม ได้รับ
แสงสว่างจากอนันตวิทยา เพื่อหลีกเลี่ยงการใช้ทรัพยากรของโลกอย่างเห็นแก่ตัว แต่สอนมนุษย์ให้
รู้จักใช้สิ่งเหล่านี้ตามพระประสงค์ของพระเจ้า ผู้ทรงกำหนดให้เป็นเครื่องมือที่ช่วยมนุษย์ให้บรรลุวุฒิ
ภาวะและความศักดิ์สิทธิ์
• “โลกทั้งโลกซึ่งมีความสัมพันธ์แน่นแฟ้นกับมนุษย์ จะบรรลุจุดมุ่ง-
หมายของตนโดยทางมนุษย์ และจะพบความสมบูรณ์ในพระคริสตเจ้า” (ก)
• “ดังนั้น วาระสุดท้ายของยุคนี้ ได้มาถึงเราแล้ว การฟื้นฟูขึ้นใหม่
ของโลกก็ถูกกำหนดไว้แล้วโดยไม่มีการคืนคำ การฟื้นฟูนี้เป็นความจริงบ้างล่วงหน้าในโลกนี้” (ค)
• พระศาสนจักรยังคงอยู่ท่ามกลางสรรพสิ่งที่กำลังร้องไห้ครวญคราง
ด้วยความเจ็บปวดราวกับสตรีคลอดบุตร และกำลังรอคอยให้บรรดาบุตรของพระเจ้าปรากฏมา (ค)
กิจกรรมของมนุษย์ในโลกนี้มีคุณค่าสำหรับโลกหน้าด้วย คุณค่าของชีวิต
ในโลกนี้ คือ การสร้างสมรรถภาพที่จะรัก การกระทำทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นการเลี้ยงชีพ การค้นคว้า
ฯลฯ มุ่งเพื่อเป็นที่พอพระทัยพระเจ้า เป็นการทำให้โลกก้าวหน้ามุ่งสู่ความสมบูรณ์ ดังที่นักบุญ
เปาโลเขียนถึงชาวโครินธ์ว่า “พระองค์สิ้นพระชนม์แทนทุกคน เพื่อผู้ที่มีชีวิตจะได้ไม่มีชีวิตเพื่อตน
เองอีกต่อไป แต่มีชีวิตเพื่อพระองค์ผู้ได้สิ้นพระชนม์ และทรงกลับคืนพระชนมชีพเพื่อเขา” (2 คร
5:15) สภาสังคายนาสรุปว่า “เราพยายามทำตนเป็นที่พอพระทัยขององค์พระผู้เป็นเจ้าในทุกสิ่งทุก
อย่าง” (ง)

99
อ นั น ต วิ ท ย า
บ ท ที่ ๖ ... คำสอนของสภาสังคายนาวาติกันที่ 2 เรื่องอนันตวิทยา

5) มุมมองในมิติของความสนิทสัมพันธ์เป็นหนึ่งเดียว
สมาชิกของพระศาสนจักรทีย่ งั สาริกแสวงบุญในกาลเวลา มีความสัมพันธ์กนั
อย่างแน่นแฟ้นในพระคริสตเจ้า ได้รับชีวิตใหม่จากพระจิตเจ้า และถูกรวบรวมไว้รอบพระบิดาเจ้า
เพื่อก่อให้เกิดครอบครัวศักดิ์สิทธ์ของพระเจ้าร่วมกับบรรดาพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้ว ทั้งผู้มีความสุขแท้
จริงหรือผู้ที่กำลังรอคอยที่จะบรรลุความสุขนั้น นี่คือธรรมล้ำลึกของความรักที่รวบรวมสัตบุรุษทุกคน
ของพระศาสนจักร ทั้งผู้ที่มียังชีวิตบนแผ่นนดินนี้และผู้ที่อยู่ในสวรรค์ให้เป็นหนึ่งเดียว สภาสังคายนา
อธิบายความจริงนี้อย่างละเอียด ในมาตรา 49
6) มุมมองในมิติของพระตรีเอกภาพ
อนันตวิทยาเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจากพระตรีเอกภาพและเปิดเผยพระ-
ตรีเอกภาพ สมาชิกของพระศาสนจักรทุกคน ทั้งผู้ที่ดำเนินชีวิตในโลกนี้ ผู้ที่กำลังชำระตนให้บริสุทธิ์
หลังจากความตาย และผู้ที่อยู่ในสวรรค์ ต่างร่วมเป็นหนึ่งเดียวกับพระคริสตเจ้า ผู้ทรงเป็นศูนย์กลาง
และพื้นฐานของความสนิทสัมพันธ์เป็นหนึ่งเดียว ผู้มีความเชื่อทุกคนได้รับพระจิตเจ้าองค์เดียวกัน ผู้
เป็นวิญญาณและพละกำลังของความสนิทสัมพันธ์ และล้อมรอบพระบิดาเพียงพระองค์เดียว ผู้ทรง
เป็นบ่อเกิดและความสำเร็จสมบูรณ์ของความสนิทสัมพันธ์เป็นนึ่งเดียว
• “เรามีความสนิทสัมพันธ์กบั พระคริสตเจ้าในพระศาสนจักรแล้ว และ
เราได้รับการประทับตราของพระจิตเจ้า... เราได้ชื่อว่าเป็นบุตรของพระเจ้าโดยแท้จริง และเราก็เป็น
เช่นนั้นจริง แต่เรายังไม่ได้ปรากฏตัวร่วมกับพระคริสตเจ้าในพระสิริรุ่งโรจน์ ซึ่งจะบันดาลให้เราเป็น
เหมือนพระเจ้า เพราะเราจะแลเห็นพระองค์อย่างที่ทรงเป็น” (ง)
• “สภาพใหม่ที่เรารอคอยตามพระสัญญาเริ่มแล้วในพระคริสตเจ้า
การส่งพระจิตเจ้าทำให้สภาพนี้ได้รับการผลักดันขึ้น และอาศัยพระจิตเจ้าสภาพนี้คงดำรงอยู่ต่อไปใน
พระศาสนจักร ในพระศาสนจักรเราเรียนรู้ความหมายของชีวิตบนแผ่นดินอาศัยความเชื่อ ขณะ
เราทำงานที่พระบิดาทรงมอบหมายให้ทำในโลกนี้ โดยหวังว่าจะได้รับทรัพย์สมบัติในอนาคต เราจึง
จะได้รับความรอดพ้น” (ข)

100
อ นั น ต วิ ท ย า
บ ท ที่ ๖ ... คำสอนของสภาสังคายนาวาติกันที่ 2 เรื่องอนันตวิทยา

3.2.2 เหตุการณ์ต่างๆ ในอนันตกาล


1) การเสด็จมาอย่างรุ่งโรจน์ของพระคริสตเจ้า
• “เรามั่นคงในความเชื่อ ‘ขณะที่เรากำลังรอคอยการแสดงพระองค์ในพระ-
สิริรุ่งโรจน์ของพระคริสตเยซู พระเจ้าผู้ยิ่งใหญ่ และพระผู้ไถ่ของเราเป็นความสุขที่เราหวังไว้’ (ทต
2:13)” (ง)
• “พระองค์จะ ‘เสด็จมาเพื่อรับพระสิริรุ่งโรจน์ในหมู่ผู้ศักดิ์สิทธิ์ของพระองค์
และเสด็จมาเพื่อให้ทุกคนที่มีความเชื่อ ได้ชมพระพักตร์ด้วยความพิศวง’ (2 ธส 1:10)” (ง)
2) เวลาของการเสด็จมาอย่างรุ่งโรจน์ของพระคริสตเจ้า
“เราไม่ทราบวันและเวลาดังที่องค์พระผู้เป็นเจ้าได้ทรงเตือนไว้ เราจึงต้องตื่น
เฝ้าไม่หยุดหย่อนอยู่เรื่อยไป เพื่อว่าเมื่อวิถีชีวิตเดียวของเราบนแผ่นดินนี้จบลงแล้ว เราจะสมควรเข้า
ไปสู่งานวิวาหมงคล และมีบุญนับเข้าอยู่ในจำนวนผู้ได้รับพระพร” (ง)
3) การกลับคืนชีพของบรรดาผู้ตายจะเกิดขึ้นเมื่อสิ้นพิภพ
• “สภาสังคายนากล่าวว่า พระคริสตเจ้า ‘จะทรงเปลี่ยนรูปร่างอันต่ำต้อย
ของเราให้เหมือนพระกายอันรุ่งโรจน์ของพระองค์’” (ง)
• “ในบั้นปลายของโลกทุกคนในหลุมศพจะออกมา ‘ผู้ที่ได้ทำความดีจะกลับ
คืนชีวิตมารับชีวิตนิรันดร ส่วนผู้ที่ทำความชั่วก็จะกลับคืนชีวิตมารับโทษทัณฑ์’” (ง)
การกลับคืนชีพจึงเกิดขึ้นเมื่อสิ้นพิภพ ซึ่งขัดกับความคิดของนักเทววิทยาของ
โปรเตสแตนต์และคาทอลิกบางคนที่คิดว่า จะมีการกลับคืนชีพทันทีหลังจากความตาย พระศาสน-
จักรพูดถึงการกลับคืนชีพของบรรดาผู้ตายว่ามี 2 แบบ คือ 1.การกลับคืนชีพของผู้ที่รับความรอด
พ้น เรียกว่า การกลับคืนชีพเพื่อรับชีวิต 2.การกลับคืนชีพของผู้พินาศ เรียกว่า การกลับคืนชีพเพื่อรับ
การพิพากษาลงโทษ

101
อ นั น ต วิ ท ย า
บ ท ที่ ๖ ... คำสอนของสภาสังคายนาวาติกันที่ 2 เรื่องอนันตวิทยา

4) การพิพากษา
สภาสังคายนาสอนว่า
• “ก่อนที่เราจะได้ครองราชย์ร่วมกับพระคริสตเจ้าผู้ทรงรุ่งโรจน์ ‘เราทุกคน
จะต้องปรากฏเฉพาะพระบัลลังก์ของพระคริสตเจ้า เพื่อแต่ละคนจะได้รับสิ่งตอบแทนสมกับที่ ได้
กระทำเมื่อยังมีชีวิตอยู่ในร่างกาย ขึ้นอยู่กับการกระทำนั้นว่าจะดีหรือชั่ว’ (2 คร 5:10)” (ง)
• ในบั้นปลายของโลกทุกคนในหลุมศพจะออกมา “ผู้ที่ได้ทำความดีจะกลับ
คืนชีวิตมารับชีวิตนิรันดร ส่วนผู้ที่ทำความชั่วก็จะกลับคืนชีวิตมารับโทษทัณฑ์” (ง)
ข้อความนี้เป็นครั้งแรกที่พระศาสนจักรสอนโดยตรงอย่างเป็นทางการเรื่อง
การพิพากษาส่วนบุคคล (Individual Judgment) ก่อนหน้านี้ เรื่องการพิพากษาส่วนบุคคลเป็น
เพียงคำสอนโดยทั่วไปของพระศาสนจักร ไม่มีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร คำสอนทางการของ
พระศาสนจักรเคยยืนยันเพียงเรื่องการพิพากษาประมวลพร้อมเท่านั้น เช่น บทแสดงความเชื่อที่มี
ชื่อว่า “สัญลักษณ์ของอัครสาวก” ยืนยันว่า “แล้วจะเสด็จมาพิพากษาผู้เป็นและผู้ตาย”
5) สวรรค์ คือ การเห็นพระเจ้าอย่างมีความสุข
สภาพความรุ่งโรจน์หรือสวรรค์ หมายถึงมนุษย์จะเห็นพระเจ้าอย่างที่พระองค์
ทรงเป็นอยู่แบบหน้าต่อหน้า มนุษย์จะเข้าสู่สภาพแห่งความรุ่งโรจน์
• “แต่เรายังไม่ได้ปรากฏตัวร่วมกับพระคริสตเจ้าในพระสิริรุ่งโรจน์ ซึ่งจะ
บันดาลให้เราเป็นเหมือนพระเจ้า เพราะเราจะแลเห็นพระองค์อย่างที่ทรงเป็น” (ง)
• “เพราะฉะนั้น “เมื่อเรามีชีวิตอยู่ในร่างกาย เราก็ถูกเนรเทศห่างจากองค์
พระผู้เป็นเจ้า แม้เราได้รับผลิตผลครั้งแรกของพระจิตเจ้าแล้ว เราก็ยังคร่ำครวญอยู่ภายใน และ
ปรารถนาที่จะได้อยู่กับพระคริสตเจ้า” (ง)
การอธิบายว่าชีวิตนิรันดร คือ การชมพระพักตร์พระเจ้า เน้นลักษณะชีวิต
ลักษณะเดียว คือ ความรู้เท่านั้น สภาสังคายนาจึงใช้รูปแบบอื่นๆ อธิบายว่า ชีวิตนิรันดร คือชีวิต
ชิดสนิทกับพระคริสตเจ้าด้วยความยินดี

102
อ นั น ต วิ ท ย า
บ ท ที่ ๖ ... คำสอนของสภาสังคายนาวาติกันที่ 2 เรื่องอนันตวิทยา

• “เราจะสมควรเข้าไปสู่งานวิวาหมงคล และมีบุญนับเข้าอยู่ในจำนวนผู้ได้
รับพระพร” (ง)
6) นรก คือ สภาพของมนุษย์ที่ล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง
นรกเป็นสภาพที่เป็นไปได้อย่างแท้จริงของมนุษย์ (Real Possibility) ไม่
เป็นเพียงคำขู่หรือข้อสมมติฐานเท่านั้น เพราะพระคริสตเจ้าทรงสอนเรื่องนรกอย่างชัดเจน และ
สภาสังคายนาก็ได้อ้างพระวาจาของพระองค์เพื่อยืนยันความจริงนี้
• “เราไม่เป็นเหมือนคนใช้เลวและเกียจคร้าน ทีจ่ ะถูกบังคับให้ไปสูไ่ ฟนิรนั ดร
ไปสู่ความมืดข้างนอก ที่นั่นจะมีแต่การร่ำไห้ และขบฟันด้วยความขุ่นเคือง” (ง)
น่าสังเกต ประโยคเหล่านี้ใช้คำว่า “จะ” เพื่อแสดงเหตุการณ์ในอนาคตที่อาจ
จะเกิดขึ้นจริง
7) ความตายเป็นจุดจบครั้งเดียวของชีวิตมนุษย์
มนุษย์ไม่มกี ารเวียนว่ายตายเกิด เพราะฉะนัน้ ในเมือ่ วิถชี วี ติ ของเราในโลกนี้
มีเพียงครั้งเดียว เราจึงจำเป็นต้องจริงจังกับชีวิต เพราะความรอดพ้นในอนาคตขึ้นอยู่กับการกระทำ
ในชีวิตปัจจุบันเท่านั้น สภาสังคายนากล่าวว่า “เมื่อวิถีชีวิตเดียวของเราบนแผ่นดินนี้จบลงแล้ว” (ง)
หมายความว่า มีข้อกำหนดสำหรับมนุษย์ไว้แล้วว่าจะตายครั้งเดียว และหลังจากนั้นก็จะมีการ
พิพากษาส่วนบุคคล พระศาสนจักรสอนเช่นนี้ เพื่อต่อต้านความคิดของผู้เชื่อว่า มีการเกิดใหม่ใน
ชาติหน้า หรือการเวียนว่ายตายเกิด (Reincarnation)
3.3 สรุป
พระศาสนจักรปัจจุบัน คือ พระศาสนจักรในฐานะผู้กำลังจาริกแสวงบุญอยู่ในโลก
(Pilgrim Church) เพื่อมุ่งสู่ความสมบูรณ์ในอนาคต โดยมีองค์พระจิตเจ้าเป็นพลังผลักดันให้
ก้าวหน้า พัฒนาให้บรรลุถึงความสมบูรณ์ ดังนั้น พระศาสนจักรจึงไม่หยุดนิ่ง (Static) แต่เป็นพลวัตร
(Dynamic)

103
อ นั น ต วิ ท ย า
บ ท ที่ ๖ ... คำสอนของสภาสังคายนาวาติกันที่ 2 เรื่องอนันตวิทยา

4. คำสอนเรื่องสหพันธ์นักบุญใน (LG 49-51)


4.1 อธิบายคำว่า “สหพันธ์นักบุญ” (The Communion of Saints)
Koinonia Agion ในภาษากรีกแปลเป็นภาษาลาตินว่า Communio Sanctorum ใน
ภาษาไทยเรานิยมใช้คำว่า สหพันธ์นักบุญ แต่นักเทววิทยายังถกเถียงกันว่า ความหมายที่แท้จริง
ของวลีภาษากรีกและภาษาลาตินคืออะไร เพราะคำว่า Sanctorum เป็นสัมพันธการในรูปพหูพจน์
(Genitive Plural Case) แสดงความเป็นเจ้าของทั้ง “บรรดานักบุญเพศชาย” (Sancti) และ “สิ่ง
ศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย” ซึ่งเป็นคำนามที่ไม่มีเพศ (Sancta) ดังนั้น สำนวนนี้อาจหมายถึง “ความสัมพันธ์
ของบรรดานักบุญ” (Communion of Saints) หรือ “ความสัมพันธ์ในสิ่งศักดิ์สิทธิ์” ซึ่งบางทีเป็น
ความหมายแรกเริ่ม โดยเน้นความสัมพันธ์ที่พระหรรษทานที่ทุกคนได้รับทำให้เป็นหนึ่งเดียว
4.2 ความสัมพันธ์ระหว่างพระศาสนจักรในสวรรค์กับพระศาสนจักรบนแผ่นดิน (LG 49)
4.2.1 ตัวบทมาตรา 49
ก. องค์พระผูเ้ ป็นเจ้าจะเสด็จมาด้วยพระมหิทธิศกั ดิ์ ทูตสวรรค์ทง้ั หลายเป็นบริวาร
ห้อมล้อมพระองค์ (เทียบ มธ 25:31) เมื่อนั้นความตายจะถูกทำลาย และสรรพสิ่งจะอยู่ใต้อำนาจ
ของพระองค์ (เทียบ 1 คร 15:26-27) แต่ก่อนที่จะถึงเวลานี้ บรรดาศิษย์ของพระองค์บ้างกำลัง
เดินทางจาริกแสวงบุญอยู่บนแผ่นดิน บ้างก็ถึงแก่กรรมแล้ว และกำลังชำระล้างตนให้บริสุทธิ์ผุดผ่อง
และบ้างกำลังอยู่ในพระสิริรุ่งโรจน์ พิศเพ่งพระเจ้าอย่างกระจ่างชัด แลเห็นสามพระบุคคลใน
พระเจ้าหนึ่งเดียวอย่างที่ทรงเป็น แม้เราแต่ละคนใช้วิธีการและรูปแบบต่างกัน เรามีความรักเดียวกัน
ต่อพระเจ้าและต่อเพื่อนมนุษย์ เราขับร้องเพลงสดุดีบทเดียวกันเพื่อถวายพระสิริรุ่งโรจน์แด่พระเจ้า
ของเรา เราทุกคนที่เป็นของพระคริสตเจ้า ต่างก็มีพระจิตเจ้าของพระองค์ และต่างก็ผนึกแน่นติด
กับพระองค์เป็นพระศาสนจักรหนึ่งเดียว” (เทียบ อฟ 4:16) ดังนั้น ความสัมพันธ์ของผู้ที่กำลังเดินทาง
กับบรรดาพีน่ อ้ งที่ได้สน้ิ ใจหลับอยูใ่ นสันติสขุ ของพระคริสตเจ้ามิได้ขาดตอนไปแม้แต่นอ้ ย ตรงกันข้าม
ตามความเชื่อที่พระศาสนจักรยึดมั่นเสมอมา ความสัมพันธ์นี้กลับแน่นแฟ้นยิ่งขึ้นอีก โดยแลก
เปลี่ยนทรัพยากรที่พระจิตเจ้าประทานให้

104
อ นั น ต วิ ท ย า
บ ท ที่ ๖ ... คำสอนของสภาสังคายนาวาติกันที่ 2 เรื่องอนันตวิทยา

ข. การที่ชาวสวรรค์มีความสนิทสัมพันธ์กับพระคริสตเจ้ามากขึ้น จึงเป็นการ
บันดาลให้พระศาสนจักรทั้งหมดมั่นคงอยู่ความศักดิ์สิทธิ์ยิ่งขึ้น คารวะกิจที่พระศาสนจักรถวายแด่
พระเจ้าในโลกนี้ บรรดาชาวสวรรค์ก็ช่วยเพิ่มศักดิ์ศรีขึ้น และสนับสนุนด้วยวิธีการหลายอย่าง เสริม-
สร้างพระศาสนจักรให้เจริญยิ่งๆ ขึ้น (เทียบ 1 คร 12:12-27) เมื่อบรรดาชาวสวรรค์ได้บรรลุถึง
ที่พำนักในสวรรค์ และอยู่เฉพาะพระพักตร์องค์พระผู้เป็นเจ้า (เทียบ 2 คร 5:8) อาศัยพระองค์
พร้อมกับพระองค์และในพระองค์ เขาทั้งหลายไม่หยุดหย่อนที่จะวอนขอพระบิดาเจ้าแทนเรา เขาทูล
ถวายบุญกุศลที่ ได้สะสมบนแผ่นดินโดยอาศัยพระคริสตเจ้า คนกลางแต่ผู้เดียวระหว่างพระเจ้ากับ
มนุษย์ (เทียบ 1 ทธ 2:5) เขาทั้งหลายรับใช้องค์พระผู้เป็นเจ้าในทุกสิ่ง และเสริมสร้างสิ่งที่ยังขาดใน
พระทรมานของพระคริสตเจ้า เพื่อพระวรกายของพระองค์ คือ พระศาสนจักร (เทียบ คส 1:24)
ดังนั้น ความห่วงใยเอื้ออาทรฉันพี่น้องของบรรดาชาวสวรรค์ช่วยเหลือความอ่อนแอของเราเป็นอัน
มาก”
4.2.2 สรุปคำสอนในมาตรา LG 49
1. ผู้มีความเชื่อทุกคนที่อยู่ในโลกนี้ ในสวรรค์และกำลังชำระตนให้บริสุทธิ์
รวมเป็นหนึ่งเดียวกัน คือ สหพันธ์นักบุญโดยมี“ความรัก” เป็นตัวเชื่อม เพราะทุกคนได้รับพระจิต
ของพระคริสตเจ้าและเป็นของพระคริสตเจ้า ยกเว้นผู้ที่มีบาปหนัก
• “แม้เราแต่ละคนใช้วิธีการและรูปแบบต่างกัน เรามีความรักเดียวกันต่อ
พระเจ้าและต่อเพื่อนมนุษย์ เราขับร้องเพลงสดุดีบทเดียวกันเพื่อถวายพระสิริรุ่งโรจน์แด่พระเจ้าของ
เรา เราทุกคนที่เป็นของพระคริสตเจ้า ต่างก็มีพระจิตเจ้าของพระองค์ และต่างก็ผนึกแน่นติดกับ
พระองค์เป็นพระศาสนจักรหนึ่งเดียว” (เทียบ อฟ 4:16) ดังนั้น ความสัมพันธ์ของผู้ที่กำลังเดินทาง
กับบรรดาพี่น้องที่ได้สิ้นใจหลับอยู่ในสันติสุขของพระคริสตเจ้ามิได้ขาดตอนไปแม้แต่น้อย ตรงกันข้าม
ตามความเชื่อที่พระศาสนจักรยึดมั่นเสมอมา ความสัมพันธ์นี้กลับแน่นแฟ้นยิ่งขึ้นอีก โดยแลกเปลี่ยน
ทรัพยากรที่พระจิตเจ้าประทานให้” (ก)

105
อ นั น ต วิ ท ย า
บ ท ที่ ๖ ... คำสอนของสภาสังคายนาวาติกันที่ 2 เรื่องอนันตวิทยา

2. ผู้ที่อยู่ในสวรรค์ได้รับความสุขแท้จากพระเจ้า ในแง่ที่เห็นพระเจ้าอย่างที่
พระองค์ทรงเป็น (essential retribution) แม้ร่างกายของเขาเหล่านั้นยังไม่ได้กลับคืนชีพจากบรรดา
ผู้ตาย เขาได้รับสิริรุ่งโรจน์แล้ว และเห็นพระเจ้าอย่างสมบูรณ์ทั้งสามพระบุคคลในพระเจ้าหนึ่งเดียว
เราเรียกบรรดาชาวสวรรค์เหล่านี้ว่า “นักบุญ” เขากำลัง “พิศเพ่งพระเจ้าอย่างกระจ่างชัด แลเห็น
สามพระบุคคลในพระเจ้าหนึ่งเดียวอย่างที่ทรงเป็น” (ก)
3. ผู้ตายไปแล้วแต่ยังต้องชำระตนให้บริสุทธิ์ ก็เป็นพระศาสนจักรขั้นรองลงมา
จากพระศาสนจักรในสวรรค์ เรามักจะเรียกบุคคลเหล่านี้ว่า “วิญญาณในไฟชำระ” แต่สภาสังคายนา
เรียกเขาว่า “ผู้ถึงแก่กรรมแล้ว และกำลังชำระล้างตนให้บริสุทธิ์ผุดผ่อง” (ก) ส่วนผู้ที่อยู่ในโลกนี้ก็
เป็นพระศาสนจักรที่กำลังจาริกแสวงบุญเพื่อบรรลุถึงความศักดิ์สิทธิ์สมบูรณ์ในสวรรค์ คือ “บรรดา
ศิษย์ของพระองค์บ้างกำลังเดินทางจาริกแสวงบุญอยู่บนแผ่นดิน” (ก)
4. พระศาสนจักรรวมสมาชิกทั้งสามสภาพนี้ให้มีความสนิทสัมพันธ์ “การที่ชาว
สวรรค์มีความสนิทสัมพันธ์กับพระคริสตเจ้ามากขึ้น จึงเป็นการบันดาลให้พระศาสนจักรทั้งหมดมั่นคง
อยู่ความศักดิ์สิทธิ์ยิ่งขึ้น” (ก) สภาสังคายนาเรียกการกระทำของชาวสวรรค์ต่อเราที่ผู้บนแผ่นดินว่า
“การวอนขอแทนเรา” คือ
“เมื่อบรรดาชาวสวรรค์ได้บรรลุถึงที่พำนักในสวรรค์ และอยู่เฉพาะพระพักตร์
องค์พระผู้เป็นเจ้า (เทียบ 2 คร 5:8) อาศัยพระองค์ พร้อมกับพระองค์และในพระองค์ เขาทั้งหลาย
ไม่หยุดหย่อนที่จะวอนขอพระบิดาเจ้าแทนเรา เขาทูลถวายบุญกุศลที่ได้สะสมบนแผ่นดินโดยอาศัย
พระคริสตเจ้า คนกลางแต่ผู้เดียวระหว่างพระเจ้ากับมนุษย์ (เทียบ 1 ทธ 2:5)” (ข)
5. คำภาวนาวอนขอของบรรดานักบุญเป็นส่วนหนึ่งของพิธีกรรมในสวรรค์ ซึ่ง
ร่วมกับพระศาสนจักรที่กำลังจาริกแสวงบุญบนแผ่นดิน ทำให้ “คารวะกิจที่พระศาสนจักรถวายแด่
พระเจ้าในโลกนี้” (ข) เพิ่มศักดิ์ศรีมากยิ่งขึ้น

106
อ นั น ต วิ ท ย า
บ ท ที่ ๖ ... คำสอนของสภาสังคายนาวาติกันที่ 2 เรื่องอนันตวิทยา

4.3. ความสัมพันธ์ระหว่างพระศาสนจักรบนแผ่นดินกับพระศาสนจักรในสวรรค์ (LG 50)


4.3.1 ตัวบทมาตรา 50
ก) พระศาสนจักรที่กำลังจาริกแสวงบุญ มีความสำนึกในความสนิทสัมพันธ์ของ
พระกายทิพย์ท้ังหมดของพระคริสตเจ้าตั้งแต่แรกเริ่มของพระคริสต์ศาสนาและได้ปลูกฝังธรรมเนียม
การระลึกถึงผู้ตายด้วยความเลื่อมใสศรัทธายิ่งนัก “เพราะคิดว่าผู้ที่ตายขณะที่ยังเลื่อมใสต่อพระเจ้า
จะได้รับบำเหน็จรางวัลงดงาม ก็เป็นความคิดที่ดีและศักดิ์สิทธิ์ เขาสั่งให้ถวายเครื่องบูชาชดเชยบาป
ของผู้ตาย เพื่อจะได้พ้นจากบาป” (มคบ 12:45) ตลอดจนการถวายคำภาวนาและบุญกุศลอุทิศแก่
เขาด้วย ส่วนบรรดาอัครสาวกและบรรดามรณสักขีของพระคริสตเจ้า ผู้ได้หลั่งโลหิตเป็นประจักษ์
พยานสูงส่งยืนยันความเชื่อและความรัก พระศาสนจักรได้เชื่อถือเสมอมาว่า เขาทั้งหลายมีความ
สนิมสัมพันธ์แน่นแฟ้นกับเราในพระคริสตเจ้า ดังนั้น พระศาสนจักรจึงแสดงความเคารพต่อเขาด้วย
ความเสื่อมใสศรัทธาเป็นพิเศษ พร้อมกันนี้ พระศาสนจักรเคารพภักดีต่อพระนางมารีย์ พรหมจารี
และทูตสวรรค์ศักดิ์สิทธิ์ พระศาสนจักรยังวอนขอความช่วยเหลืออย่างเสื่อมใสศรัทธาจากบุคคล
เหล่านี้ให้ช่วยวอนขอแทน พระศาสนจักรยังเสริมจำนวนของผู้ที่เคารพนับถือเพิ่มขึ้น คือ ผู้ได้เจริญ
รอยตามพระคริสตเจ้าอย่างใกล้ชิดในชีวิตพรหมจรรย์และความยากจน และที่สุด ยังเสริมจำนวน
ของผู้ได้บำเพ็ญคุณธรรมเยี่ยงคริสตชนอย่างดีเลิศและได้รับพระพรพิเศษจากพระเจ้า พระศาสนจักร
แนะนำสัตบุรุษให้เคารพนับถือบุคคลเหล่านี้ด้วยความเสื่อมใสศรัทธา และปฏิบัติตามแบบอย่างของ
เขา
ข) เมื่อเรามองดูชีวิตของบุคคลผู้ได้ดำเนินตามพระคริสตเจ้าอย่างซื่อสัตย์ เรา
ได้รับแรงบันดาลใจใหม่ให้แสวงหานครที่จะมาถึงในอนาคต (เทียบ ฮบ 13:14 ; 11:10) และพร้อม
กันนี้ เราได้รับรู้หนทางปลอดภัยอย่างยิ่ง ที่จะนำเราผ่านความผันผวนต่างๆ ของโลก สอดคล้องกับ
สภาพชีวิตและฐานะเฉพาะของเราแต่ละคน จนบรรลุความสัมพันธ์สมบูรณ์กับพระคริสตเจ้า คือ
ความศักดิ์สิทธิ์สมบูรณ์ พระเจ้าทรงแสดงการประทับอยู่และพระพักตร์พระองค์อย่างแจ่มแจ้งแก่
มนุษย์ ในชีวติ ของผูท้ รี่ ว่ มธรรมชาติมนุษย์กบั เรา และได้เปลีย่ นแปลงเป็นภาพลักษณ์ของพระคริสตเจ้า

107
อ นั น ต วิ ท ย า
บ ท ที่ ๖ ... คำสอนของสภาสังคายนาวาติกันที่ 2 เรื่องอนันตวิทยา

อย่างสมบูรณ์กว่าเรา (เทียบ 2 คร 3:18) พระเจ้าตรัสกับเราในบุคคลเหล่านั้น และประทานเครื่อง-


หมายของพระอาณาจักรนี้ พร้อมกับทรงดึงดูดเราด้วยกำลังแรงให้เข้ามาสู่พระอาณาจักร เพราะ
เรามีพยานจำนวนมากห้อมล้อมตัวเราเหมือนกับเมฆหมอก (เทียบ ฮบ 12:1) เป็นประจักษ์พยาน
ยืนยันความจริงของพระวรสาร
ค) เราทะนุถนอมการระลึกถึงชาวสวรรค์ ไม่เพียงเพราะเขาบำเพ็ญตนเป็น
แบบอย่างที่ดีแก่เราเท่านั้น แต่โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพราะเขาบันดาลให้ความสัมพันธ์กลมเกลียวของ
พระศาสนจักรทั้งหมดแข็งแกร่งแน่นแฟ้นขึ้นในพระจิตเจ้า ด้วยการปฏิบัติความรักฉันพี่น้อง (เทียบ
อฟ 4:1-6) ความสนิทสัมพันธ์ของคริสตชนระหว่างผู้ที่กำลังเดินทางจาริกแสวงบุญในโลกนี้ นำ
เราให้ใกล้ชิดกับพระคริสตเจ้ามากยิ่งฉันใด การเป็นเพื่อนร่วมทางกับบรรดานักบุญ ก็ทำให้เราเป็น
หนึ่งเดียวกับพระคริสตเจ้าฉันนั้น พระหรรษทานต่างๆ และชีวิตประชากรของพระเจ้าไหลออกมา
จากพระคริสตเจ้าผู้ทรงเป็นต้นธารและศีรษะ ดังนั้น จึงเป็นการสมควรอย่างยิ่ง ที่เราจะรักผู้ที่เป็น
เพื่อนและผู้ร่วมมรดกของพระคริสตเจ้า ทั้งเป็นพี่น้องของเรา และผู้มีพระคุณต่อเราเป็นอย่างยิ่ง
เราจึงต้องขอบพระคุณพระเจ้าตามสมควรแทนเขาด้วย ต้องวิงวอนต่อเขาอย่างถ่อมตน วอนขอพึ่ง
คำภาวนาของเขา ขออำนาจและความช่วยเหลือจากเขา เพื่อจะได้รับคุณประโยชน์จากพระเจ้าโดย
ทางพระเยซูคริสต์ องค์พระผู้เป็นเจ้าของเรา พระผู้ไถ่และพระผู้ช่วยมนุษย์ให้รอดพ้นแต่พระองค์
เดียว การเป็นพยานแท้จริงของความรักที่เราแสดงต่อชาวสวรรค์ โดยธรรมชาติมุ่งไปและจบลงที่
พระคริสตเจ้า “ผู้ทรงเป็นมงกุฏรางวัลของนักบุญทั้งหลาย” และผ่านทางพระคริสตเจ้าก็ไปจบลงที่
พระเจ้า พระองค์ทรงเป็นที่น่าพิศวงของบรรดานักบุญ ทั้งทรงได้รับพระสิริรุ่งโรจน์ในเขาด้วย
ง) วิธีการสูงส่งที่เราแสดงให้เห็นเอกภาพของเรากับพระศาสนจักรสวรรค์ คือ
การประกอบพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ เพราะพระอานุภาพของพระจิตเจ้าทรงทำงานในเรา โดยอาศัย
เครื่องหมายของศีลศักดิ์สิทธิ์ในพิธีกรรม เราร่วมชื่นชมยินดีพร้อมกันเฉลิมฉลองการสรรเสริญพระ-
มหิทธิศักดิ์ของพระเจ้า เมื่อมนุษย์ทุกคนไม่ว่ามาจากตระกูล ภาษา ประเทศ และเชื้อชาติใด (เทียบ
วว 5:9) ต่างก็ได้รับการไถ่กู้ด้วยพระโลหิตของพระคริสตเจ้า และร่วมชุมนุมกันเป็นพระศาสนจักร

108
อ นั น ต วิ ท ย า
บ ท ที่ ๖ ... คำสอนของสภาสังคายนาวาติกันที่ 2 เรื่องอนันตวิทยา

หนึ่งเดียว ร้องเพลงบทเดียวกัน สรรเสริญและประกาศความยิ่งใหญ่ของพระเจ้าหนึ่งเดียวซึ่งมีสาม


พระบุคคล การประกอบพิธีบูชาขอบพระคุณเป็นวิธีการยอดเยี่ยม แสดงให้เห็นความเป็นหนึ่งเดียว
อย่างแน่นแฟ้นของเรากับพระศาสนจักรในสวรรค์ เราร่วมเป็นหนึ่งเดียวเฉลิมฉลองการระลึกถึงพระ
นางมารีย์ผู้ทรงศรี พรหมจารีเสมอ รวมทั้งนักบุญโยเซฟ บรรดาอัครสาวกศักดิ์สิทธิ์ บรรดามรณสักขี
และบรรดานักบุญทั้งหลาย
4.3.2 สรุปคำสอนในมาตรา LG 50
1. ความสัมพันธ์ของชีวิตบนแผ่นดินกับวิญญาณในไฟชำระ
ความสัมพันธ์ของผู้มีความเชื่อบนแผ่นดินนี้กับผู้ล่วงลับไปแล้ว เป็นความคิด
และธรรมประเพณีที่มีตั้งแต่สมัยแรกๆ ของพระศาสนจักร สภาสังคายนายืนยันว่า ตั้งแต่แรกเริ่ม
พระศาสนจักร “ได้ปลูกฝังธรรมเนียมการระลึกถึงผู้ตายด้วยความเลื่อมใสศรัทธายิ่งนัก “เพราะคิดว่า
ผู้ที่ตายขณะที่ยังเลื่อมใสต่อพระเจ้าจะได้รับบำเหน็จรางวัลงดงาม ก็เป็นความคิดที่ดีและศักดิ์สิทธิ์
เขาสั่งให้ถวายเครื่องบูชาชดเชยบาปของผู้ตาย เพื่อจะได้พ้นจากบาป” (มคบ 12:45)” (ก)
2. การติดต่อของมนุษย์บนโลกกับบรรดานักบุญผู้อยู่ในสวรรค์
พระศาสนจักรยังมีความเชื่อว่า เราต้องถวายคารวะกิจเคารพบรรดานักบุญ
(Veneration) มิใช่กราบนมัสการ (Adoration) และขอคำเสนอวิงวอนจากเขาทั้งหลาย เพราะ
“บรรดาอัครสาวกและบรรดามรณสักขีของพระคริสตเจ้า ผู้ได้หลั่งโลหิตเป็นประจักษ์พยานสูงส่ง
ยืนยันความเชื่อและความรัก พระศาสนจักรได้เชื่อถือเสมอมาว่า เขาทั้งหลายมีความสนิทสัมพันธ์
แน่นแฟ้นกับเราในพระคริสตเจ้า ดังนั้น พระศาสนจักรจึงแสดงความเคารพต่อเขาด้วยความเสื่อมใส
ศรัทธาเป็นพิเศษ พร้อมกันนี้ พระศาสนจักรเคารพภักดีต่อพระนางมารีย์ พรหมจารี และทูตสวรรค์
ศักดิ์สิทธิ์” (ก)
ต่อมา การแสดงความเคารพนี้รวมถึงบรรดาผู้ถือพรหมจรรย์และความยาก
จนตามแบบอย่างพระคริสตเจ้า ดังนั้น ตั้งแต่สมัยแรกๆ จนถึงศตวรรษที่ 3 ตามประวัติศาสตร์
คริสตชนให้ความเคารพบรรดานักบุญตามลำดับดังนี้ คือ บรรดาอัครสาวก มรณสักขี พระนางมารีย์
พรหมจารี ทูตสวรรค์ บรรดาผู้ถือพรหมจรรย์และความยากจน

109
อ นั น ต วิ ท ย า
บ ท ที่ ๖ ... คำสอนของสภาสังคายนาวาติกันที่ 2 เรื่องอนันตวิทยา

พระศาสนจักรยังให้ความสำคัญแก่บรรดา “ผูไ้ ด้บำเพ็ญคุณธรรมเยีย่ งคริสตชน


อย่างดีเลิศและได้รับพระพรพิเศษจากพระเจ้า พระศาสนจักรแนะนำสัตบุรุษให้เคารพนับถือบุคคล
เหล่านี้ด้วยความเสื่อมใสศรัทธา และปฏิบัติตามแบบอย่างของเขา” (ก) เพราะพระเจ้าทรงรับรอง
และพระศาสนจักรก็รับรองโดยการพิสูจน์ก่อนที่จะประกาศแต่งตั้งให้เป็นนักบุญ หลักเกณฑ์ในการ
พิจารณาแต่งตั้งให้เป็นนักบุญของพระศาสนจักรมีองค์ประกอบสองประการ คือ
• เป็นผู้ได้บำเพ็ญคุณธรรมเยี่ยงคริสตชนอย่างดีเลิศ
• ได้รับพระพรพิเศษจากพระเจ้า คริสตชนเคารพและปฏิบัติตามแบบ
อย่างของเขา และมีอัศจรรย์เพื่อเป็นเครื่องรับรองยืนยันว่า สมควรเป็นนักบุญ
3. เราไม่เพียงวอนขอบรรดานักบุญ แต่เรายังต้องเลียนแบบ
เราไม่เพียงแสดงคารวะกิจต่อบรรดานักบุญและวอนขอความช่วยเหลือจาก
เรา แต่เราต้องปฏิบัติตามแบบอย่างของเขาด้วย เพราะ “เราได้รับรู้หนทางปลอดภัยอย่างยิ่ง ที่จะนำ
เราผ่านความผันผวนต่างๆ ของโลก” (ข)
ปัญหามีอยู่ว่า เราเลียนแบบอย่างพระคริสตเจ้าเท่านี้ไม่เพียงพอหรือ ทำไม
ต้องเลียนแบบอย่างของนักบุญอีก ไม่เป็นการฟุ่มเฟือยหรือ คำตอบคือ พระคริสตเจ้าทรงเป็นแบบ
อย่างที่สมบูรณ์สำหรับมนุษย์ทุกชาติทุกภาษา แต่การเลียนแบบนักบุญไม่ฟุ่มเฟือยเพราะ
• เรามีนักบุญในทุกรูปแบบของชีวิต ผู้ได้ “สอดคล้องกับสภาพชีวิตและ
ฐานะเฉพาะของเราแต่ละคน จนบรรลุความสัมพันธ์สมบูรณ์กับพระคริสตเจ้า คือ ความศักดิ์สิทธิ์
สมบูรณ์” (ข)
• นักบุญ “เป็นมนุษย์เหมือนกับเรา” มีชีวิตใกล้ชิดกับเรา มีความอ่อนแอ
เป็นคนบาป มีอายุและอาชีพเหมือนกับเรา แม้มีข้อบกพร่องแต่ก็เป็นนักบุญได้
พระคริสตเจ้าจึงทรงเป็นรูปแบบแรกของหนทางนำไปสู่สวรรค์ และบรรดา
นักบุญเป็นรูปแบบรองลงมา

110
อ นั น ต วิ ท ย า
บ ท ที่ ๖ ... คำสอนของสภาสังคายนาวาติกันที่ 2 เรื่องอนันตวิทยา

4. ความสัมพันธ์กับบรรดานักบุญ
ความสัมพันธ์ของเรากับนักบุญจะต้องเป็นแบบบุคคลต่อบุคคล (Personal
relation) “เราทะนุถนอมการระลึกถึงชาวสวรรค์ ไม่เพียงเพราะเขาบำเพ็ญตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่
เราเท่านั้น แต่โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพราะเขาบันดาลให้ความสัมพันธ์กลมเกลียวของพระศาสนจักร
ทั้งหมดแข็งแกร่งแน่นแฟ้นขึ้นในพระจิตเจ้า ด้วยการปฏิบัติความรักฉันพี่น้อง (เทียบ อฟ 4:1-6)
ความสนิทสัมพันธ์ของคริสตชนระหว่างผู้ที่กำลังเดินทางจาริกแสวงบุญในโลกนี้ นำเราให้ใกล้ชิดกับ
พระคริสตเจ้ามากยิ่งฉันใด การเป็นเพื่อนร่วมทางกับบรรดานักบุญ ก็ทำให้เราเป็นหนึ่งเดียวกับพระ-
คริสตเจ้าฉันนั้น” (ค) เพราะพระคริสตเจ้าทรงเป็นความรัก
ดังนั้น เราจึงสมควรที่จะรักบรรดานักบุญ ตามเหตุผลที่สภาสังคายนาเสนอ
2 ประการ คือ
• บรรดานักบุญ “เป็นเพื่อนและผู้ร่วมมรดกของพระคริสตเจ้า” (ค)
• “ทั้งเป็นพี่น้องของเราและผู้มีพระคุณต่อเราเป็นอย่างยิ่ง เราจึงต้อง
ขอบพระคุณพระเจ้าตามสมควรแทนเขาด้วย ต้องวิงวอนต่อเขาอย่างถ่อมตน วอนขอพึ่งคำภาวนา
ของเขา ขออำนาจและความช่วยเหลือจากเขา เพื่อจะได้รับคุณประโยชน์จากพระเจ้าโดยทางพระ-
เยซูคริสต์” (ค)
5. เน้นความรักต่อนักบุญ
การแสดงความรักต่อชาวสวรรค์อย่างถูกต้อง ทุกครั้งเราต้องมุ่งไปและจบลง
ที่พระคริสตเจ้า “ผู้ทรงเป็นมงกุฏรางวัลของนักบุญทั้งหลาย และผ่านทางพระคริสตเจ้าก็ไปจบลงที่
พระเจ้า” (ค)
6. ความสัมพันธ์ทางพิธีกรรมระหว่างเรากับชาวสวรรค์
ความสัมพันธ์ระหว่างเรากับพระศาสนจักรในสวรรค์นี้สำเร็จไปด้วยวิธีสูงส่ง
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ พระจิตเจ้าทรงแผ่พระอานุภาพเหนือเราโดยเครื่องหมาย
ของศีลศักดิ์สิทธิ์

111
อ นั น ต วิ ท ย า
บ ท ที่ ๖ ... คำสอนของสภาสังคายนาวาติกันที่ 2 เรื่องอนันตวิทยา

ดังนั้น “การประกอบพิธีบูชาขอบพระคุณเป็นวิธีการยอดเยี่ยม แสดงให้เห็น


ความเป็นหนึง่ เดียวอย่างแน่นแฟ้นของเรากับพระศาสนจักรในสวรรค์ เราร่วมเป็นหนึง่ เดียวเฉลิมฉลอง
การระลึกถึงพระนางมารีย์ผู้ทรงศรี พรหมจารีเสมอ รวมทั้งนักบุญโยเซฟ บรรดาอัครสาวกศักดิ์สิทธิ์
บรรดามรณสักขี และบรรดานักบุญทั้งหลาย” (ง)
4.4 คำแนะนำแนวทางในการอภิบาล LG.51
4.4.1 ตัวบทมาตรา 51
ก. ความเชื่อน่าเคารพของบรรดาบรรพบุรุษ เรื่องความสนิทสัมพันธ์ทางชีวิตกับ
บรรดาพี่น้องผู้บรรลุถึงพระสิริรุ่งโรจน์ในสวรรค์ หรือผู้ที่ล่วงลับไปแล้วกำลังชำระตนให้บริสุทธิ์
สภาสังคายนานี้ขอต้อนรับด้วยความศรัทธาภักดี ทั้งเสนอให้นำกฤษฎีกาของสภาสังคายนานิเชอา
ที่ 2 สภาสังคายนาฟลอเรนซ์ และสภาสังคายนาเตรนท์มาใช้อีกครั้งหนึ่ง เวลาเดียวกัน เพราะสภา-
สังคายนานี้สาละวนงานอภิบาล จึงขอตักเตือนทุกคนที่เกี่ยวข้อง ในกรณีที่มีการออกนอกลู่นอกทาง
เกินไปบ้าง ขาดตกไปบ้าง ก็ขอให้ขจัดออกไป หรือแก้ไข เพื่อรื้อฟื้นทุกสิ่งให้พระคริสตเจ้าและ
พระเจ้าจะได้รับการสรรเสริญอย่างเต็มเปี่ยม ขอให้สั่งสอนสัตบุรุษว่า คารวะกิจแท้จริงต่อบรรดา
นักบุญไม่ใช่อยู่ที่การเพิ่มพูนกิจการภายนอก แต่อยู่ในการปฏิบัติความรักอย่างกระรือรือร้นมาก
ยิ่งขึ้น เราพยายามแสวงหาคุณประโยชน์สำหรับตนเองและสำหรับพระศาสนจักร จากบรรดานักบุญ
เราแสวงหาตัวอย่างในการดำเนินชีวิต ภราดรภาพในความสนิทสัมพันธ์กับเขา และความช่วยเหลือ
จากการวอนขอแทนเรา อีกแง่หนึ่ง ขอให้สั่งสอนสัตบุรุษว่า ความสนิทสัมพันธ์ของเรากับชาวสวรรค์
ในเมื่อเข้าใจตามแสงสว่างอย่างเต็มเปี่ยมของความเชื่อ ย่อมไม่ลดคารวะกิจนมัสการถวายแด่
พระเจ้าพระบิดา โดยทางพระคริสตเจ้าในพระจิตเจ้า ดังนั้น ความสนิทสัมพันธ์ของเรากับชาวสวรรค์
จึงบันดาลให้คารวะกิจต่อพระเจ้ามั่งคั่งยิ่งขึ้น
ข. เราทุกคนเป็นบุตรของพระเจ้า เรารวมกันเป็นครอบครัวเดียวในพระคริสต-
เจ้า (เทียบ ฮบ 3:6) ตราบใดที่เรารักษาความสนิทสัมพันธ์ซึ่งกันและกันด้วยความรัก เราพร้อมกัน
สรรเสริญพระตรีเอกภาพผู้ศักดิ์สิทธิ์ยิ่ง เราตอบสนองกระแสเรียกฝ่ายจิตของพระศาสนจักร และเรา

112
อ นั น ต วิ ท ย า
บ ท ที่ ๖ ... คำสอนของสภาสังคายนาวาติกันที่ 2 เรื่องอนันตวิทยา

มีส่วนร่วมในการลิ้มรสพิธีกรรมที่ประกอบขึ้นด้วยพระสิริรุ่งโรจน์บริบูรณ์ เมื่อพระคริสตเจ้าจะทรง
แสดงพระองค์และการกลับคืนชีพอย่างรุง่ โรจน์ของบรรดาผูต้ ายจะเกิดขึน้ เมือ่ นัน้ ความกระจ่างเจิดจ้า
ของพระเจ้าจะฉายแสงในสวรรค์ และลูกแกะของพระเจ้าจะเป็นดวงประทีบ (เทียบ วว 21:24)
เมื่อนั้นพระศาสนจักรทั้งหมดที่ประกอบด้วยบรรดานักบุญ ผู้บรรลุถึงความสุขขั้นสุดยอดแห่งความ
รักแล้ว จะพากันกราบนมัสการพระเจ้า และ ”ลูกแกะที่ถูกประหารแล้ว” (วว 5:12) ทุกคนจะโห่ร้อง
เป็นเสียงเดียวกันว่า “พระองค์ผู้ประทับบนพระบัลลังก์ และลูกแกะ จงได้รับคำถวายพระพร พระ-
เกียรติยศ พระสิริรุ่งโรจน์ และพระอำนาจปกครองตลอดนิรันดรเทอญ” (วว 5:13)
4.4.2 ข้อปฏิบัติของเรากับบรรดานักบุญและผู้ที่กำลังชำระตนให้บริสุทธิ์
1. สภาสังคายนาวาติกันที่ 2 ยังยึดมั่นความเชื่อเดิมในเรื่องนี้ คือ “ความเชื่อน่า
เคารพของบรรดาบรรพบุรุษ เรื่องความสนิทสัมพันธ์ทางชีวิตกับบรรดาพี่น้องผู้บรรลุถึงพระสิริรุ่ง-
โรจน์ในสวรรค์ หรือผู้ที่ล่วงลับไปแล้วกำลังชำระตนให้บริสุทธิ์ สภาสังคายนานี้ขอต้อนรับด้วยความ
ศรัทธาภักดี ทั้งเสนอให้นำกฤษฎีกาของสภาสังคายนานิเชอา ที่ 2 สภาสังคายนาฟลอเรนซ์ และ
สภาสังคายนาเตรนท์มาใช้อีกครั้งหนึ่ง” (ก)
สภาสังคายนาวาติกันที่ 2 สอนย้ำเตือนให้คริสตชนแสดงความเคารพ กระทำ
คารวะกิจและวอนขอต่อรูปและพระธาตุของบรรดานักบุญ ยิ่งกว่านี้ สภาสังคายนาเตรนท์ และ
สภาสังคายนาฟลอเรนซ์ยังสอนให้เราภาวนาอุทิศแก่ผู้กำลังชำระตนให้บริสุทธิ์
ขณะเดียวกัน สภาสังคายนาวาติกันที่ 2 ได้แสดงความเป็นห่วงถึงการปฏิบัติที่
ไม่สมควร เช่น สอนว่าถ้าสวดภาวนาหรือขอมิสซาจำนวนที่กำหนดไว้จะได้ไปสวรรค์ หรืออีกแง่หนึ่ง
นำรูปทั้งหมดของนักบุญออกจากวัดเหลือไว้เพียงไม้กางเขนเท่านั้น เป็นต้น จึง “ตักเตือนทุกคนที่
เกี่ยวข้อง ในกรณีที่มีการออกนอกลู่นอกทางเกินไปบ้าง ขาดตกไปบ้าง ก็ขอให้ขจัดออกไป หรือ
แก้ไข เพื่อรื้อฟื้นทุกสิ่งให้พระคริสตเจ้าและพระเจ้าจะได้รับการสรรเสริญอย่างเต็มเปี่ยม” (ก)
2. พระสงฆ์หรือศาสนบริกรจะต้อง “ขอให้สั่งสอนสัตบุรุษว่า คารวะกิจแท้จริง
ต่อบรรดานักบุญไม่ใช่อยู่ที่การเพิ่มพูนกิจการภายนอก แต่อยู่ในการปฏิบัติความรักอย่างกระตือรือร้น

113
อ นั น ต วิ ท ย า
บ ท ที่ ๖ ... คำสอนของสภาสังคายนาวาติกันที่ 2 เรื่องอนันตวิทยา

มากยิ่งขึ้น เราพยายามแสวงหาคุณประโยชน์สำหรับตนเองและสำหรับพระศาสนจักร” (ก) เราจึง


ต้องเคารพรักและปฏิบัติตามแบบอย่างนักบุญเหล่านั้นใชีวิตประจำวัน
3. ในขณะเดียวกัน ศาสนบริการต้อง “สั่งสอนสัตบุรุษว่า ความสนิทสัมพันธ์
ของเรากับชาวสวรรค์ ในเมื่อเข้าใจตามแสงสว่างอย่างเต็มเปี่ยมของความเชื่อ ย่อมไม่ลดคารวะกิจ
นมัสการถวายแด่พระเจ้าพระบิดา โดยทางพระคริสตเจ้าในพระจิตเจ้า ดังนั้น ความสนิทสัมพันธ์
ของเรากับชาวสวรรค์จึงบันดาลให้คารวะกิจต่อพระเจ้ามั่งคั่งยิ่งขึ้น” (ก) ดังนั้น เราไม่ควรกลัวหรือ
ระแวงว่า การเคารพบรรดานักบุญเป็นการลดหย่อนคารวะกิจแด่พระเจ้า
4.5 สรุป
พระศาสนจักรในโลกยังมีสัมพันธ์กับผู้ที่กำลังชำระตนให้บริสุทธิ์และผู้ที่อยู่ในสวรรค์
ทั้งสามสภาพนี้มีความสัมพันธ์เป็นหนึ่งเดียวกันเรียกว่า “สหพันธ์นักบุญ” เป็นความรักจากพระจิต
ของพระคริสตเจ้าที่ทำให้เราร่วมกันสรรเสริญถวายพระพรแด่พระบิดา
มาตราที่ 2 ของพระธรรมนูญว่าด้วยพระศาสนจักร กล่าวถึงความเป็นหนึ่งเดียวกันของ
มนุษยชาติตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันและในอนาคตว่า “บรรดาผู้ชอบธรรมตั้งแต่สมัยของอาดัม จาก
อาแบล ผู้ชอบธรรม จนกระทั่งถึงผู้ได้รับเลือกสรรคนสุดท้าย จะได้รวมอยู่กับพระบิดาเจ้าในพระ-
ศาสนจักรสากล”
มาตราที่ 9 ของพระธรรมนูญว่าด้วยพระศาสนจักร กล่าวในทำนองเดียวกันอีกว่า
“ชาวอิสราเอลตามประวัติศาสตร์ซึ่งเร่ร่อนในถิ่นทุรกันดาร ได้ชื่อว่าพระศาสนจักรของพระเจ้าฉันใด
(เทียบ 2 อสร 13:1, กดว 20:4, ฉธบ 23:1ฯ) อิสราเอลใหม่ซึ่งเดินไปข้างหน้าในยุคปัจจุบันกำลัง
แสวงหาอนาคตและนครถาวรได้ชื่อว่าพระศาสนจักรของพระคริสตเจ้าฉันนั้น (มธ 16:18) พระ
คริสตเจ้าทรงสละพระโลหิตซื้อพระศาสนจักรมาเป็นกรรมสิทธิ์” นี่คือมิติใหม่ของอนันตวิทยาของ
พระศาสนจักร

114
อ นั น ต วิ ท ย า
บ ท ที่ ๖ ... คำสอนของสภาสังคายนาวาติกันที่ 2 เรื่องอนันตวิทยา

5. อนันตวิทยา (Eschatology) ในพระธรรมนูญว่าด้วยพระศาสนจักรในยุคปัจจุบัน (GS)


5.1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเอกสารนี้
น่าสังเกตว่าบุคคลเป้าหมายของเอกสารนี้ไม่ใช่เฉพาะคริสตชน แต่สภาสังคายนาเขียน
สำหรับมนุษย์ทุกคน พระศาสนจักรมีจิตสำนึกในความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับมนุษยชาติและประวัติ-
ศาสตร์ของมนุษย์
• “ความชื่นชมและความหวัง ความโศกเศร้าและความกังวลของมนุษย์
ในสมัยนี้ โดยเฉพาะของคนยากจนและผู้มีความทุกข์เข็ญทั่วไป ย่อม
ถือว่าเป็นความชื่นชมและความหวัง เป็นความโศกเศร้าและความ
กังวลของผู้เป็นศิษย์ของพระคริสตเจ้าด้วย และไม่มีสิ่งใดที่เป็นของ
มนุษย์อย่างแท้จริงจะไม่ส่งเสียงสะท้อนขึ้นในดวงใจของเขา ด้วยว่า
คริสตชนนั้นประกอบด้วย มนุษย์ซึ่งรวมเป็นหนึ่งเดียวในพระคริสตเจ้า
ถูกพระจิตเจ้าชักจูงให้เดินไปยังพระอาณาจักรของพระบิดา และเป็น
ผู้ ถื อ สารแห่ ง ความรอดพ้ น ซึ่ ง จะต้ อ งแจ้ ง ให้ ม นุ ษ ย์ ทุ ก คนทราบ
เพราะเหตุนี้ จึงเห็นได้ชัดว่าคริสตชนทะนุถนอมความรู้สึกลึกซึ้งใน
ความสมานฉันท์กับมนุษยชาติและประวัติศาสตร์ของมนุษย์” (GS 1)
พระศาสนจักรจึงจะต้องรับใช้มนุษยชาติโดยประกาศข่าวดีแก่มนุษย์ทุกคน “มีหน้าที่
สอดส่อง เฝ้าสังเกต ดูแล ตีความเครื่องหมายสำคัญของกาลเวลา จึงจะสามารถตอบได้อย่าง
เหมาะสมแก่มนุษย์แต่ละยุคแต่ละสมัย คือ ตอบคำถามที่มนุษย์ถามครั้งแล้วครั้งเล่าว่า ชีวิตใน
ปัจจุบันและชีวิตในอนาคตมีความหมายอะไรและเกี่ยวข้องกันอย่างไร เราต้องรู้จักและเข้าใจโลกที่
เราดำรงชีวิตอยู่ ตลอดจนความหวัง ความใฝ่ฝัน และเหตุการณ์ซึ่งนำความโศกเศร้าของโลก” (GS
4)
พระศาสนจักรแสดงความเห็นอกเห็นใจและความรักต่อมนุษย์ โดยใช้แสงสว่างจากข่าวดี
ของพระคริสตเจ้าช่วยแก้ปัญหา เพราะมนุษย์ที่พระศาสนจักรต้องช่วยให้รอดพ้นไม่เป็นนามธรรม

115
อ นั น ต วิ ท ย า
บ ท ที่ ๖ ... คำสอนของสภาสังคายนาวาติกันที่ 2 เรื่องอนันตวิทยา

แต่เป็นรูปธรรม คือ เป็นมนุษย์ที่อยู่ในสมัยของเรา มีทั้งพรสวรรค์และข้อบกพร่อง ความกังวลใจ


และความหวัง พระศาสนจักรมีมนุษยนิยมเฉพาะแบบคริสตชน (Christian Humanism) คือ
พระศาสนจักรต้อง “ช่วยมนุษย์ให้รอดพ้นและต้องช่วยรื้อฟื้นปรับปรุงสังคมมนุษยชาติขึ้นใหม่ ดังนั้น
มนุษย์นี้แหละ ซึ่งถ้าพิจารณาอย่างครบถ้วน ก็มีกายกับวิญญาณ ใจกับมโนธรรม มีความคิดกับ
เจตจำนงนั้น จะเป็นหัวใจของคำอธิบายของเราทั้งหมดต่อไปนี้” (GS 3)
สภาสังคายนาค้นพบเอกลักษณ์ของโลกปัจจุบันว่า “ทุกวันนี้ มนุษยชาติกำลังอยู่ในยุค
ใหม่ของประวัติศาสตร์ เป็นยุคซึ่งมักมีการเปลี่ยนแปลงอย่างลึกซึ้งรวดเร็ว และค่อยๆ ขยายไปทั่ว
พิภพ” (GS) การพัฒนารวดเร็วมากยิ่งขึ้นเสมอของโลกทำให้เกิด “วิกฤตการณ์ของการเติบโต ขณะ
ที่มนุษย์ขยายอำนาจออกไปอย่างกว้างขวางนั้น มนุษย์ไม่สามารถบังคับอำนาจให้รับใช้ตนได้เสมอไป
มนุษย์จะพยายามรู้จักจิตใจของตนให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น แต่บ่อยๆ ก็ปรากฏว่า กลับสงสัยตนเองมาก
ยิ่งขึ้น…. ที่สุด มีคนเอาใจใส่แสวงหาโลกวัตถุที่ดีพร้อมกว่านี้ แต่เขาไม่คิดจะเจริญก้าวหน้าทาง
ธรรมในทำนองเดียวกันด้วย เมื่อเห็นภาวะยุ่งยากสลับซับซ้อน คนสมัยนี้….ถามตนเองว่า สภาพ-
การณ์ในปัจจุบันจะเป็นไปในรูปใด และย่อมต้องรู้สึกกังวลใจ” GS 4)
สภาสังคายนาได้สังเกตว่า คนในสมัยนี้จำนวนมากมักจะตั้งคำถามพื้นฐานว่า “มนุษย์
คืออะไร ความทุกข์ทรมาน ความชั่วร้ายและความตายซึ่งยังคงอยู่ แม้ได้มีความเจริญถึงขนาดนี้แล้ว
มีความหมายประการใด ชัยชนะที่ได้มาด้วยความเหนื่อยยากถึงเพียงนี้มีประโยชน์ใด มนุษย์จะให้
อะไรแก่สังคมได้ และจะหวังอะไรได้จากสังคม อะไรจะเกิดขึ้นหลังจากที่ชีวิตนี้จบลง” (GS 10)
คำถามดังกล่าวนี้ส่วนใหญ่เป็นเรื่องอนันตวิทยา (Eschatology)
5.2 ธรรมล้ำลึกเรื่องความตาย (GS 18)
สภาสังคายนาได้สรุปคำสอนเรื่องความหมายของความตายในมาตรา 18 ซึ่งมีความ
สำคัญมากเพราะสรุปแนวความคิดต่างๆ ในสมัยนี้เรื่องความหมายของความตายอย่างชัดเจน เรา
ไม่ต้องรู้สึกแปลกที่สภาสังคายนาจะเริ่มต้นโดยอ้างแนวความคิดต่างๆ ของคนสมัยนี้ เพราะจุด
ประสงค์ของพระธรรมนูญว่าด้วยพระศาสนจักรในโลกปัจจุบัน คือ ช่วยมนุษย์ให้ตอบปัญหาของตน

116
อ นั น ต วิ ท ย า
บ ท ที่ ๖ ... คำสอนของสภาสังคายนาวาติกันที่ 2 เรื่องอนันตวิทยา

นำแสงสว่างจากข่าวดีของพระคริสตเจ้ามาช่วยอธิบายปัญหาต่างๆ วิธีตั้งปัญหาเรื่องความตายก็เป็น
ไปตามแนวของปรัชญาแบบอัตถิภาวะนิยม (Existentialism) เช่น
• “ปัญหาเรื่องสภาพความเป็นอยู่ของมนุษย์ที่สงสัยมากที่สุดคือเรื่อง
ความตาย มนุษย์ได้รับความทรมานมิใช่เพราะความเจ็บปวดหรือเพราะ
ร่างกายเสื่อมถอยไปตามอายุขัยเท่านั้น แต่เฉพาะอย่างยิ่ง เพราะกลัว
ว่าตนจะดับสูญหายไปตลอดกาล” (GS 18)
วิธีพูดนี้เป็นปัญหาที่ตรงกับปรัชญาแบบอัตถิภาวะนิยม (Existentialism) เช่น ความคิด
ของไฮเดกเกอร์ ส่วนซารตร์คิดว่า ความตายของมนุษย์เปรียบได้กับการอับปางของเรือซึ่งล่มใน
ทะเล เกิดความเสียหายและสูญหาย ความคิดแบบอัตถิภาวะนิยมเป็นปรัชญาที่เอาจริงเอาจังเรื่อง
ความตาย ไม่เหมือนปรัชญาของเอปีคูรุสผู้สอนว่า “ความตายสำหรับเราไม่เป็นอะไรเลย เพราะว่า
เมื่อเรายังมีชีวิตอยู่ความตายก็ไม่มี และเมื่อมีความตายเราก็ไม่เป็นอยู่แล้ว” เพราะฉะนั้นความตาย
ไม่สามารถทำอะไรแก่เรา ไม่ต้องไปกังวลใจเรื่องความตาย แต่ตรงกันข้าม ปรัชญาแบบอัตถิภาวะ-
นิยมเอาจริงเอาจังเรื่องความตาย เพราะคิดว่าความตายอยู่กับเราตลอดเวลา เป็นเพื่อนเดินทางใน
ชีวิตของเรา
มนุษย์ไม่เพียงจะต้องตายแต่เป็นผู้กำลังตายอยู่ทุกเวลา คือ เขาต้องสละทุกสิ่งทุกอย่าง
ยกเว้นสิ่งที่เขาเลือกในเวลานั้น สภาพเช่นนี้ ทำให้มนุษย์กังวลใจต่างจากสัตว์ซึ่งไม่มีความคิด
ไฮเดกเกอร์คิดว่ามนุษย์มีจิตสำนึกในชีวิตของตนที่กำลังจะตาย จึงเกิด “ความกังวลใจ” หรือ ตาม
ความคิดของซารตร์ มนุษย์มี “ความเอือมระอาต่อชีวิต” นักปรัชญาอัตถิภาวะนิยมมักจะสอนว่า
เราสามาถเอาชนะความกังวลใจหรือความเอือมระอาชีวิตเช่นนี้ถ้าเรายอมรับว่า นี่คือชะตากรรมของ
มนุษย์ ที่จะต้องสิ้นสุดเหมือนกับเรือจะต้องอับปาง คือจะไม่มีชีวิตหน้า ชีวิตของมนุษย์จะจบลงโดย
สิ้นเชิง นักปรัชญาเหล่านี้ทราบดีว่า จิตวิทยาของมนุษย์ต่อต้านความคิดดังกล่าว มนุษย์โดยสัญชาติ-
ญาณต้องการมีชีวิตตลอดไป และกลัวที่จะต้องสูญหายไปโดยสิ้นเชิง นี่เป็นบ่อเกิดของความกังวลใจ
จำเป็นต้องควบคุมความรู้สึกนี้โดยใช้เหตุผลว่า ไม่มีใครช่วยมนุษย์ได้ จำเป็นต้องยอมรับการอับปาง

117
อ นั น ต วิ ท ย า
บ ท ที่ ๖ ... คำสอนของสภาสังคายนาวาติกันที่ 2 เรื่องอนันตวิทยา

มีเกล เด อูนามูโน (Miguel de Unamuno) นักปรัชญาอัตถิภาวะนิยมชาวสเปนสอน


ตรงกันข้ามว่า มนุษย์ต้องต่อสู้กับชะตากรรมที่จะต้องสูญเสียชีวิตเช่นนี้ สัญชาติญาณของมนุษย์ที่
ไม่ยอมรับความตายต้องช่วยมนุษย์ให้เป็นกบฏต่อชะตากรรมของตน แม้สติปัญญาของเราบอกว่า
ชีวิตของเราจะต้องเผชิญความสูญหายไปโดยสิ้นเชิงก็จริง แต่ใจของเราไม่จำเป็นต้องยินยอม ตรง
กันข้ามจะต้องต่อสู้แม้ไม่มีหวังที่จะชนะ ถ้าคิดตามเหตุผล การต่อสู้เช่นนี้เป็นเรื่องไร้สาระ แต่เป็น
ความจำเป็นของใจของมนุษย์ เหมือนกับอัศวิน ดอน คีฮอตเต (Don Quijote) พระเอกในวรรณคดี
สเปน เขาต่อสู้กับโรงสีลมเพราะคิดว่าเป็นยักษ์ที่กินมนุษย์ อูนามูโนจึงสรุปว่า มนุษย์ไม่มีเหตุผล
ทางสติปัญญาเพื่อพิสูจน์ว่าจะมีโลกหน้าหรือชีวิตหน้า แต่ใจมนุษย์ทำให้เขามีความเชื่อมั่นว่าเขาจะ
ไม่ต้องตาย
สภาสังคายนาอธิบายความรู้สึกที่มีอยู่ในใจมนุษย์เช่นนี้อีกแนวหนึ่งว่า ไมใช่ความรู้สึกที่
ทำให้ใจขัดกับเหตุผลดังที่อูนามูโนอธิบาย แต่เป็นสัญชาติญาณที่สนับสนุนความคิดที่มีเหตุผลว่า
มนุษย์จะมีชีวิตอยู่ต่อไปหลังจากความตาย
• “การที่มนุษย์รู้สึกรังเกียจและไม่ยอมรับว่าตนจะถูกทำลายและสูญ
สลายตลอดไป นับว่าเป็นความเข้าใจถูกต้องที่เกิดจากสัญชาตญาณ
ในใจของเขา มนุษย์มีเมล็ดนิรันดรภาพอยู่ในตน ซึ่งจะลดลงเป็นเพียง
วัตถุไม่ได้ เขาจึงเป็นกบฏต่อความตาย ความพยายามทุกอย่างของ
เทคโนโลยีแม้จะมีประโยชน์สักเพียงใด ย่อมไม่สามารถจะระงับความ
กังวลใจของมนุษย์ได้ ความพยายามดังกล่าวอาจทำให้ชีวิตของมนุษย์
ยืนยาวขึ้น แต่ไม่สามารถดับความปรารถนาที่จะมีชีวิตในภายหน้า ที่
ฝังอยู่ในใจของเขาอย่างถอนไม่ขึ้น” (GS 18)
สภาสังคายนาจึงส่งเสริมความคิดทางปรัชญาของอูนามูโนที่ว่า มนุษย์มีสัญชาตญาณที่
เชื่อมั่นว่าจะไม่ต้องตาย แต่ในเวลาเดียวกันมีทรรศนะเกี่ยวกับมานุษยวิทยาไม่เหมือนกัน สัญชาต-
ญาณนี้สะท้อนให้เห็นความมั่นใจว่ามนุษย์มีวิญญาณที่ไม่รู้จักตาย

118
อ นั น ต วิ ท ย า
บ ท ที่ ๖ ... คำสอนของสภาสังคายนาวาติกันที่ 2 เรื่องอนันตวิทยา

• “มนุษย์ประกอบด้วยกายและวิญญาณ แต่รวมเป็นบุคคลเดียว…. เมื่อ


สำนึกว่าในตนมีวิญญาณที่เป็นจิตและไม่รู้จักตาย เขาก็ไม่ถูกหลอก
ให้หลงไปตามเรื่องคิดประดิษฐ์หลอกลวงที่เกิดจากสภาพทางกายและ
สังคมเท่านั้น แต่ตรงกันข้าม กลับรู้ความตื้นลึกหนาบางของความจริง
อย่างถูกต้องทีเดียว” (GS14)
นอกจากเหตุผลทางปรัชญา สภาสังคายนายังให้เหตุผลทางเทววิทยาเพื่อตอบปัญหา
เรื่องความตาย
• “ขณะทีม่ นุษย์แก้ปญ
ั หาธรรมล้ำลึกเรือ่ งความตายไม่ตก พระศาสนจักร
ซึ่งได้รับการสอนจากการเปิดเผยของพระเจ้าก็ยืนยันว่า พระองค์ได้
ทรงสร้างมนุษย์มาสำหรับมีความสุขในบั้นปลายหลังจากความทุกข-
เวทนาในโลกนี้ นอกจากนั้น ความเชื่อของคริสตชนยังสอนว่า ความ
ตายฝ่ายร่างกายซึ่งถ้ามนุษย์ไม่ได้ทำบาปก็หลุดพ้นได้ วันหนึ่งจะถูก
ปราบให้พ่ายแพ้ เมื่อพระผู้ไถ่ผู้ทรงพระเมตตาและทรงสรรพานุภาพ
จะประทานความครบครันที่ ได้สูญเสียไปเพราะความผิดของมนุษย์
พระเจ้าทรงได้เรียกและยังเรียกอยู่ให้มาจงรักภักดีต่อพระองค์ด้วย
สิ้นสุดจิตใจ โดยร่วมมีส่วนในชีวิตที่ ไม่รู้จักเสื่อมสลายของพระเจ้า
พระคริสตเจ้าทรงชัยชนะเช่นนี้ เมื่อทรงกลับคืนพระชนมชีพ โดยช่วย
มนุษย์ให้พ้นจากความตายด้วยการสิ้นพระชนม์ของพระองค์ มนุษย์
ทุกคนที่ไตร่ตรองพิจารณาถึงความเชือ่ ทีม่ หี ลักคำสอนแข็งแรง สามารถ
ให้คำตอบเกี่ยวกับอนาคตของตนที่เขากังวลอยู่ได้ และในขณะเดียวกัน
ความเชื่อสามารถช่วยให้เขาชิดสนิทในพระคริสตเจ้ากับพี่น้องที่เขารัก
ผู้ล่วงลับไปแล้ว โดยความหวังว่าเขาเหล่านั้นได้พบชีวิตที่แท้จริงใกล้
พระเจ้าแล้ว” (GS 18)

119
อ นั น ต วิ ท ย า
บ ท ที่ ๖ ... คำสอนของสภาสังคายนาวาติกันที่ 2 เรื่องอนันตวิทยา

ข้อความนี้เป็นคำตอบของความเชื่อเกี่ยวกับปัญหาเรื่องความตาย โดยสรุปความคิด 3
ประการ
1. มนุษย์มีชะตากรรมจะบรรลุถึงความสุขเพียงหลังจากความตาย มนุษย์จึงมีชีวิต
อยู่ต่ออย่างแน่นอน
2. พระเจ้าไม่ทรงมีพระประสงค์ให้มนุษย์ต้องตาย และพระองค์ทรงพิชิตความตาย
โดยทรงบันดาลให้มนุษย์กลับคืนชีพ พระคริสตเจ้าทรงชัยชนะความตายโดยการสิ้นพระชนม์และการ
กลับคืนพระชนมชีพ มนุษย์จะกลับคืนชีพในความเป็นอยู่ทั้งหมดของตน คือ จะเป็นหนึ่งเดียวกับ
พระเจ้าด้วยธรรมชาติทั้งหมดของตน
3. มนุษย์สามารถมีความสนิทสัมพันธ์กับพี่น้องผู้ล่วงลับไปแล้วตั้งแต่อยู่ในโลกนี้
อาศัยความสนิทสัมพันธ์กับพระคริสตเจ้า
5.3 อเทวนิยมและปัญหาเกี่ยวกับชีวิตหน้า (GS 21)
สภาสังคายนาเน้นความจริงที่ว่า ผู้ที่ปฏิเสธไม่ยอมรับพระเจ้าและไม่มีความหวังในชีวิต
นิรันดร ไม่สามารถให้คำตอบปัญหาสำคัญของชีวิตมนุษย์ เช่น ความหมายของชีวิต ความตาย ความ
ทุกข์ทรมาน หลายครั้งผู้ที่ไม่สามารถหาตอบปัญหาดังกล่าวอาจจะสิ้นหวังในชีวิต
• “เมื่อขาดการค้ำจุนของพระเจ้าและไม่มีหวังจะได้ชีวิตนิรันดรในสวรรค์
ศักดิ์ศรีของมนุษย์ก็หมดไปอย่างน่าใจหาย ตามที่เราเห็นอยู่บ่อยๆ ใน
ทุกวันนี้ แล้วปริศนาเรื่องชีวิตกับความตาย เรื่องความผิดกับความทุกข์
ทรมาน ก็แก้ไม่ตก เช่นนี้แหละมนุษย์จึงมักพากันเสียใจสิ้นหวัง” (GS
21)
กระนั้นก็ดี มนุษย์ทุกคนไม่ว่าผู้ที่มีความเชื่อในพระเจ้าหรือไม่ก็ตาม จะต้องพยายามแก้
ปัญหาดังกล่าวนี้
• “มนุษย์ทุกคนยังคงเห็นตนเป็นปัญหาที่ขบคิดไม่ตก และมองเห็นแต่
เลือนลาง บางเวลา เฉพาะอย่างยิง่ เมือ่ มีเหตุการณ์สำคัญในชีวติ ไม่มี

120
อ นั น ต วิ ท ย า
บ ท ที่ ๖ ... คำสอนของสภาสังคายนาวาติกันที่ 2 เรื่องอนันตวิทยา

ใครที่จะหลบเลี่ยงคำถามเหล่านี้ได้เสียทีเดียว พระเจ้าองค์ทรงสามารถ
ตอบคำถามเหล่านั้นได้โดยสมบูรณ์ ไม่มีทางแย้งได้ พระองค์ทรงเชิญ
ชวนเราให้คิดลึกซึ้งยิ่งขึ้น และให้แสวงหาโดยถ่อมตัวยิ่งขึ้น” (GS 21)
คำยืนยันนี้ของสภาสังคายนามีความสำคัญมาก เพราะชี้แจงแนวปฏิบัติเชิงอภิบาลว่า
มนุษย์มักจะต้องการศาสนาเพื่อแก้ปัญหาพื้นฐานของชีวิตของตน ผู้ประกาศข่าวดีเรื่องพระเจ้าจึงจะ
ต้องแสดงให้เห็นว่า คำสอนนี้ช่วยอธิบายปัญหาเรื่องความหมายของชีวิตและความตาย ซึ่งเป็น
ปัญหาพื้นฐานของมนุษย์
5.4 ความหวังถึงโลกหน้าทำให้คริสตชนต้องรับผิดชอบต่อความเจริญของโลกนี้ (GS 20)
ลัทธิอเทวนิยมของมาร์กสอนว่า “ศาสนาขัดขวางการหลุดพ้นที่ทำให้มนุษย์เป็นอิสระใน
ทางเศรษฐกิจและสังคม โดยหลอกให้มนุษย์หวังจะได้รับชีวิตหน้า มนุษย์ไม่คิดจะสร้างความเจริญ
ในโลก” พูดอีกนัยหนึ่ง ศาสนาเปรียบเหมือนฝิ่นมอมเมาประชาชน เพราะฉะนั้นลัทธิอเทวนิยมมาร์ก
ซิสต์ “ถ้ามีอำนาจอยู่ที่ใด ก็โจมตีศาสนาอย่างรุนแรง ใช้เครื่องมือบีบคั้นทุกอย่างที่เจ้าหน้าที่บ้าน
เมืองมีอำนาจใช้ เพื่อเผยแพร่อเทวนิยม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการอบรม
เยาวชน” (GS 20)
สภาสังคายนาปฏิเสธไม่ยอมรับคำกล่าวหาของลัทธิอเทวนิยม ที่สอนว่า ผู้ที่คิดถึงโลก
หน้าย่อมไม่สนใจที่กับพัฒนาโลกนี้ ศาสนาจึงก่อให้เกิดความห่างเหินทางจิตใจ (alianation) แต่สภา
สังคายนายืนยันตรงกันข้ามว่า “ความหวังของเราในโลกหน้าไม่ได้ทำให้การงานต่างๆ ของเราในโลก
นี้มีความสำคัญน้อยลงเลย แต่กลับมีเหตุผลใหม่ๆ ช่วยให้การงานนั้นลุล่วงสำเร็จไปด้วยดี” (GS 21)
หน้าที่พัฒนาโลกนี้เป็นหน้าที่โดยเฉพาะของบรรดาฆราวาส (เทียบ LG 31)
5.5 แผ่นดินใหม่และฟ้าใหม่ (GS 39)
อนันตวิทยา (Eschatology) เกี่ยวกับโลกที่เราได้พบในพระธรรมนูญว่าด้วยพระศาสน-
จักร (LG 48) ยังมีกล่าวไว้ในเอกสารนี้ด้วย โลกปัจจุบันจะต้องเปลี่ยนแปลงเมื่อพระคริสตเจ้าจะ
เสด็จอย่างรุ่งโรจน์

121
อ นั น ต วิ ท ย า
บ ท ที่ ๖ ... คำสอนของสภาสังคายนาวาติกันที่ 2 เรื่องอนันตวิทยา

• “เราไม่รู้ว่าเมื่อไรจะถึงเวลาสิ้นสุดของโลกและของมนุษยชาติ เราไม่
ทราบว่าจักรวาลจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร โลกแบบที่เรารู้จักนี้ซึ่งเสีย
โฉมไปเพราะบาปจะล่วงพ้นไปแน่ แต่เรารู้ว่าพระเจ้าทรงเตรียมที่อยู่
ใหม่และแผ่นดินใหม่ให้เรา ในแผ่นดินใหม่นั้นความยุติธรรมจะสถิตอยู่
และความสุขจะมีเกินกว่าที่ใจมนุษย์จะนึกคิดปรารถนาได้ เวลานัน้ แหละ
ความตายจะพ่ายแพ้ ผู้ที่เป็นบุตรของพระเจ้าจะกลับคืนชีพเดชะพระ-
คริสตเจ้า และสิ่งที่หว่านลงไปดูอ่อนแอและเน่าเปื่อยก็จะกลับไม่รู้จัก
เน่าเปื่อย ความรักและกิจการของความรักจะดำรงอยู่ และสรรพสิ่งทุก
อย่างที่พระเจ้าได้ทรงสร้างมาสำหรับมนุษย์จะหลุดพ้นจากการเป็นทาส
ของการโอ้อวด” (GS 39)
สภาสังคายนายังสอนต่อไปว่า กิจการของมนุษย์บนแผ่นดินนี้สามารถช่วยสร้างอนาคต
ซึ่งเรากำลังหวัง คำยืนยันดังกล่าวนี้สำคัญ ถึงกระนั้น สภาสังคายนาไม่ได้อธิบายอย่างชัดเจนว่า
กิจการงานของมนุษย์ในโลกนี้สามารถช่วยสร้างโลกหน้าโดยตรงหรือทางอ้อมอย่างไร เพียงแต่ยืนยัน
ว่ากิจการในโลกนี้มีความสัมพันธ์กับโลกหน้า ดังที่มีเขียนไว้ต่อไปนี้
• “เรารู้ว่าไม่มีประโยชน์อันใดแก่มนุษย์ที่จะได้จักรวาลเป็นกรรมสิทธิ์
ถ้าหากตนเองต้องพินาศ ถึงกระนั้น ความหวังที่จะได้แผ่นดินใหม่ไม่
ควรจะดับ แต่ควรจะปลุกความห่วงใยของเราที่จะบำรุงแผ่นดินปัจจุบัน
เพราะสังคมมนุษย์กำลังเจริญเติบโตบนแผ่นดินนี้ และพอจะทำให้เรา
เห็นลางๆ ว่า เวลาในชีวิตภายหน้าจะเป็นอย่างไร เพราะฉะนั้น ถึงแม้
ต้องระมัดระวังแยกความเจริญในโลกนี้กับการแพร่ขยายพระอาณาจักร
แห่งพระคริสตเจ้า ความเจริญก็มคี วามสำคัญสำหรับพระอาณาจักรของ
พระเจ้ามาก ตามส่วนที่สามารถจะช่วยจัดระเบียบของสังคมมนุษย์ให้
ดี ขึ้ น ศั ก ดิ์ ศ รี ข องมนุ ษ ย์ การร่ ว มสนิ ท กั น ฉั น พี่ น้ อ งและเสรี ภ าพ

122
อ นั น ต วิ ท ย า
บ ท ที่ ๖ ... คำสอนของสภาสังคายนาวาติกันที่ 2 เรื่องอนันตวิทยา

คุณลักษณะเหล่านี้ล้วนเป็นผลดีที่เกิดจากธรรมชาติและความขยัน
หมั่นเพียรของเรา เมื่อเราเผยแผ่คุณลักษณะเหล่านี้ ในโลกตามพระ-
บัญชาของพระคริสตเจ้า และโดยอาศัยพระจิตเจ้า เราจะพบคุณลักษณะ
เช่นนี้ในรูปแบบใหม่ แต่ในสภาพสะอาดหมดจดไม่มีตำหนิ เปล่งปลั่ง
และเปลี่ยนแปลง เมื่อพระคริสตเจ้าจะทรงมอบแด่พระบิดา ‘ซึ่งอาณา-
จักรชั่วนิรันดรและสากล เป็นอาณาจักรแห่งความจริงและชีวิต เป็น
อาณาจักรแห่งความศักดิ์สิทธิ์และพระหรรษทาน เป็นอาณาจักรแห่ง
ความยุตธิ รรม ความรักและสันติสขุ ’ อาณาจักรดังกล่าวอยูใ่ นโลกนีอ้ ย่าง
ลึกลับแล้ว และบรรลุถึงความดีพร้อมเมื่อพระคริสตเจ้าจะเสด็จกลับมา
อย่างรุ่งโรจน์” (GS 39)

123
อ นั น ต วิ ท ย า
บ ท ที่ ๖ ... คำสอนของสภาสังคายนาวาติกันที่ 2 เรื่องอนันตวิทยา

124
อ นั น ต วิ ท ย า

You might also like