You are on page 1of 18

บ ท ที่ ๑๒ ...

การชำระตนให้บริสุทธิ์หลังความตาย

๑๒
1. บทนำ
เป็นเวลา 50 ปีมาแล้วที่ อีวส์ คองการ์ (Ives Congar 1904-1995) นักเทววิทยาชาว
ฝรั่งเศสเรืองนามผู้หนึ่ง ได้ขอร้องให้นักเทววิทยาและนักเทศน์คาทอลิกทั้งหลายให้ถ่ายทอดความคิด
เกี่ยวกับ “ไฟชำระ”อย่างถูกต้อง เพราะคำสอนข้อความเชื่อนี้ได้รับอิทธิพลจากความคิดไม่ถูกต้อง
หลายกระแสมาปะปนกัน จนบิดเบือนการเปิดเผยของพระเจ้า
ความเลื่อมใสศรัทธาของสัตบุรุษก็มีส่วนเป็นเหตุทำให้คำสอนข้อนี้ผิดเพี้ยนไปบ้าง เช่น
แทนทีจ่ ะมองไฟชำระในฐานะเป็นพระพรของพระเจ้า ทีป่ ระทานแก่มนุษย์เพือ่ เขาจะได้เจริญเติบโตขึน้
ในความรักของพระองค์ และมีชีวิตที่สมบูรณ์กับพระองค์ในอนาคต กลับมองว่า ไฟชำระเป็นการ
ลงโทษของพระเจ้าต่อมนุษย์ที่ทำบาปในอดีต และแทนที่จะมองไฟชำระเป็นการเตรียมตนเพื่อมี
ความสุขแท้จริงในสวรรค์และชื่นชมยินดีในพระเมตตาของพระเจ้า กลับมองไฟชำระเป็นเหมือนนรก
ชั่วคราว คือ เป็นสถานที่รับการทรมานอย่างสาหัส เปรียบเทียบกับคุกที่หนาวจัด หรือร้อนจัดที่สุด
ในศตวรรษที่แล้ว แม้ที่กรุงโรมเคยมีห้องพิพิธภัณฑ์เพื่อรวบรวมสิ่งของที่เป็นหลักฐาน
ร่องรอยของวิญญาณในไฟชำระ เช่น รอยมือที่บานประตู ฝาผนัง พรม ฯลฯ แต่ในภายหลัง
พระสันตะปาปาทรงสั่งให้ปิดห้องพิพิธภัณฑ์นั้น

240
อ นั น ต วิ ท ย า
บ ท ที่ ๑๒ ... การชำระตนให้บริสุทธิ์หลังความตาย

นิกายต่างๆ ในคริสตศาสนาเคยถกเถียงกันในเรือ่ งข้อความเชือ่ เกีย่ วกับ “ไฟชำระ” คริสตชน


ทั้งในยุโรปตะวันตกผู้ยึดมั่นนิกายคาทอลิกและคริสตชนในยุโรปตะวันออกผู้ยึดมั่นนิกายออร์โทด๊อกซ์
ต่างก็มีความเชื่อเดียวกันในแก่นแท้ แต่เน้นลักษณะบางอย่างแตกต่างกัน ส่วนนิกายโปรเตสแตนต์
โดยทั่วไปก็ปฏิเสธความจริงเรื่อง “ไฟชำระ” โดยสิ้นเชิง ดังนั้น จำเป็นและสำคัญมากที่คริสตชนจะ
มาทำความเข้าใจและรู้จักความจริงนี้อย่างละเอียดถูกต้อง เราต้องเข้าใจว่า “ไฟชำระ” ไม่เป็นสถาน
ที่ระหว่างสวรรค์กับนรก แต่เป็นสภาพของผู้ที่กำลังชำระตนให้สะอาดหมดจดเพื่อจะได้อยู่กับพระเจ้า
ในความสุขแท้จริงตลอดไป
เราจะมาศึกษาพระคัมภีร์เรื่อง “ไฟชำระ” เพื่อเข้าใจข้อความเชื่อนี้มากยิ่งขึ้น พระคัมภีร์
เสนอความคิดบางอย่างที่มีความสัมพันธ์กับเรื่อง “ไฟชำระ” แม้เราไม่พบคำสอนนี้อย่างตรงไปตรงมา
ต่อจากนัน้ เราจะศึกษาวิวฒั นาการของความเข้าใจเกีย่ วกับ “ไฟชำระ” ในประวัตศิ าสตร์ของเทววิทยา
รวมทัง้ คำสอนของพระศาสนจักร และในทีส่ ดุ เราจะเสนอความคิดของเทววิทยาสมัยปัจจุบนั ทีพ่ ยายาม
อธิบายความเชื่อข้อนี้ให้สอดคล้องกับคำสอนของพระศาสนจักร

2. คำสอนของพระคัมภีร์
แม้เราไม่พบคำสอนเรื่องการชำระให้บริสุทธิ์ ในหนังสือพระคัมภีร์อย่างกระจ่างเเจ้ง แต่
คำสอนนี้เป็นนัยอย่างเเน่นอนในการอธิษฐานภาวนอุทศิ แก่บรรดาผู้ตาย ตามธรรมประเพณีของพระ-
ศาสนจักรที่ปฏิบัติสืบกันมา ตั้งแต่ศตวรรษที่ 16 ผู้เชี่ยวชาญทางด้านพระคัมภีร์ของนิกายคาทอลิก
และนิกายโปรเตสแตนต์ถกเถียงกันในเรือ่ งทีว่ า่ ข้อความเชือ่ เรือ่ ง “ไฟชำระ” จะพิสจู น์จากพระคัมภีร์
ได้หรือไม่ แน่นอน ถ้าเราค้นหาข้อเขียนที่กล่าวถึงข้อความเชื่อเกี่ยวกับไฟชำระอย่างชัดเจนและตรง
ไปตรงมา เราจะไม่พบแน่ เราพบเพียงข้อความทีอ่ าจจะนำมาอธิบายแบบประยุกต์ใช้ เช่น พระวรสาร
โดยนักบุญมัทธิวบันทึกพระวาจาของพระเยซูเจ้าที่ตรัสว่า “ใครที่กล่าวร้ายต่อบุตรแห่งมนุษย์จะได้
รับการอภัย แต่ใครที่กล่าวร้ายต่อพระจิตเจ้าของพระเจ้าจะไม่ได้รับการอภัยเลยทั้งในโลกนี้และโลก
หน้า” (มธ 12:32)

241
อ นั น ต วิ ท ย า
บ ท ที่ ๑๒ ... การชำระตนให้บริสุทธิ์หลังความตาย

ในสมัยกลาง (ราว ค.ศ. 400-1500) นักเทววิทยาคาทอลิกมักจะอธิบายสำนวน “ทั้งในโลกนี้และ


โลกหน้า” ว่าเป็นคำสั่งสอนของพระเยซูเจ้า คือ มีบาปที่ไม่อาจจะได้รับการอภัยทั้งในโลกนี้และโลก
หน้า พระองค์จึงทรงแสดงเป็นนัยๆ ว่า มีบาปที่อาจจะได้รับการอภัยในชีวิตหน้า แล้วนักเทววิทยาก็
มาพิจารณาถึงสถานที่ที่จะได้รับการอภัยบาปในโลกหน้า คือ สถานที่นั้นเขาเรียกว่า “ไฟชำระ”
แต่การตีความหมายเช่นนี้ ไม่คำนึงถึงความหมายของสำนวนนี้ ในสมัยของผู้เขียน พระ-
เยซูเจ้าทรงใช้สำนวน “ทั้งในโลกนี้และโลกหน้า” ในความหมายที่ว่า “เขาจะไม่ได้รับการอภัยเลย”
ถ้าเราเปรียบเทียบพระวาจาของพระเยซูเจ้าในบริบทเดียวกันตามคำบอกเล่าของนักบุญลูกา เขาก็
จะพบประโยคที่ว่า “ทุกคนที่กล่าวร้ายต่อบุตรแห่งมนุษย์ จะได้รับการอภัย แต่ผู้ที่กล่าวร้ายต่อพระ-
จิตเจ้าจะไม่ได้รับการอภัยเลย” (ลก 12:10)
จะเห็นอย่างชัดเจน ว่าบาปดังกล่าวนี้จะไม่ได้รับการอภัยเลย เราจึงยอมรับว่า ข้อความตาม
คำบอกเล่าของนักบุญมัทธิวนั้นไม่มีคำสอนโดยตรงหรือทางอ้อมในเรื่อง “ไฟชำระ” เหมือนกับคำสั่ง
สอนของพระเยซูเจ้าที่ว่า มีการอภัยบาปในโลกหน้า
ทำไมเราจึงเชือ่ ว่ามนุษย์อาจได้รบั การอภัยบาปหลังจากความตาย คำตอบ ก็คอื ในพระคัมภีร์
มีข้อเสนอแนะที่เป็นเหมือนกับจุดเริ่มหรือพื้นฐานของข้อความเชื่อเรื่อง “ไฟชำระ” แม้ไม่มีคำสอน
โดยตรง เรายังพบ 2 ความคิดที่เป็นแหล่งที่มาของความเชื่อเรื่อง “ไฟชำระ” คือ 1) ผู้มีใจบริสุทธิ์
จะได้เห็นพระเจ้า และ 2) มนุษย์ต้องรับผิดชอบต่อความประพฤติของตน
2.1 ผู้มีใจบริสุทธิ์จะได้เห็นพระเจ้า
ในพระคัมภีร์เราพบความมั่นใจที่ว่า เพียงผู้บริสุทธิ์หมดจดปราศจากบาปเท่านั้น จะได้
เห็นพระเจ้า พิธีกรรมทางศาสนาของชาวยิวสลับซับซ้อนและละเอียดมาก เพื่อป้องกันมิให้ผู้ที่ ไม่
เหมาะสมเข้าเฝ้าเฉพาะพระพักตร์พระเจ้าในพระวิหาร ดังที่มีบันทึกไว้ในหนังสืออพยพว่า
“เมือ่ ประชากรได้ยนิ เสียงฟ้าร้อง เสียงเป่าเขาสัตว์เห็นฟ้าแลบและควันปกคลุม
ภูเขา ก็กลัวตัวสั่น ยืนอยู่แต่ไกล เขาจึงขอร้องโมเสสว่า ‘ขอท่านเป็นคนพูด
กับพวกเราเถิด พวกเราจะฟัง แต่อย่าให้พระเจ้าตรัสกับพวกเราเลย มิฉะนั้น
เราจะต้องตาย’” (อพย 20:18-19)

242
อ นั น ต วิ ท ย า
บ ท ที่ ๑๒ ... การชำระตนให้บริสุทธิ์หลังความตาย

เราจะเห็นได้ว่า เป็นความเกรงกลัวในการที่จะเห็นพระเจ้า เป็นความรู้สึกที่


เกิดจากมโนธรรมที่รู้ว่าตนไม่พร้อมที่จะพบกับพระองค์ ทำนองเดียวกัน ประ-
กาศกอิสยาห์ กล่าวว่า “ที่นั่นจะมีทางหลวงซึ่งจะเรียกว่า “มรรคาศักดิ์สิทธิ์”
ผู้มีมลทินจะไม่เดินตามทางนี้” (อสย 35:8) และ “ศิโยนเอ๋ย จงตื่นเถิด
จงตื่นเถิด จงสวมกำลังของเจ้า กรุงเยรูซาเล็ม นครศักดิ์สิทธิ์เอ๋ย จงสวมเสื้อ
ผ้างามที่สุดของเจ้าเถิด เพราะผู้ไม่เข้าสุหนัตและมีมลทิน จะไม่เข้ามาในเจ้า
อีกเลย” (อสย 52:1) ข้อความนี้กล่าวถึงนครเยรูซาเล็มอันรุ่งโรจน์ในอนาคต
ซึ่งจะมีพลเมืองเฉพาะผู้ที่ ไม่มีมลทินโดยสิ้นเชิงเท่านั้น หนังสือพันธสัญญา
ใหม่กส็ นับสนุนและรับรองความคิดนี ้ คือ ต้องเป็นผูบ้ ริสทุ ธิเ์ พือ่ เข้าสูช่ วี ติ นิรนั ดร
เช่น “ผู้มีใจบริสุทธิ์ ย่อมเป็นสุข เพราะเขาจะได้เห็นพระเจ้า” (มธ 5:8)
“ฉะนัน้ ท่านจงเป็นคนดีบริบรู ณ์ ดังทีพ่ ระบิดาเจ้าสวรรค์ของท่าน ทรงความดี
บริบูรณ์เถิด” (มธ 5:48) “สิ่งที่เป็นมลทินหรือผู้ที่มีความประพฤติน่ารังเกียจ
หรือผู้พูดเท็จจะไม่เข้าในนครนี้เลย” (วว 21:27)
2.2 มนุษย์ต้องรับผิดชอบต่อความประพฤติของตน
อีกความคิดหนึ่งซึ่งยังคงเป็นพื้นฐานของคำสอนเรื่อง “ไฟชำระ” คือ มนุษย์ต้องเป็นผู้
รับผิดชอบต่อความประพฤติของตน แม้เมื่อยอมคืนดีกับพระเจ้าแล้ว เขายังต้องยอมรับผลของการ
กระทำของตนซึ่งสร้างความวุ่นวายทำลายระเบียบทั้งในตนเองและในโลก เขาจึงต้องสร้างระเบียบ
ใหม่โดยชดใช้การกระทำผิดของตน เช่น เราอ่านในหนังสือกันดารวิถีเรื่องบาปของมีเรียม พี่สาว
ของโมเสส ซึ่งได้กล่าวขัดขวางน้องชาย พระเจ้าทรงลงโทษนางด้วยโรคเรื้อน แต่โมเสสได้ทูลขอ
พระเมตตา พระเจ้าทรงให้อภัยแก่นาง แต่มีเรียมยังต้องใช้โทษบาปบ้างโดยเป็นโรคเรื้อนอยู่เป็น
เวลา 7 วัน (เทียบ กดว 12:9-15) ในหนังสือกันดารวิถียังเล่าอีกว่า โมเสสและอารอนไม่ได้แสดง
ความไว้วางใจในพระเจ้าต่อหน้าประชากรอย่างเต็มเปี่ยม แม้เขาทั้งสองได้รับการอภัยจากพระเจ้า
เขาก็ยังต้องรับโทษไม่ได้เข้าแผ่นดินศักดิ์สิทธิ์ (เทียบ กดว 20:12)

243
อ นั น ต วิ ท ย า
บ ท ที่ ๑๒ ... การชำระตนให้บริสุทธิ์หลังความตาย

ตัวอย่างชัดเจนที่สุด ก็คือ เรื่องกษัตริย์ดาวิด ดังที่มีบันทึกไว้ในหนังสือซามูแอล ฉบับที่ 2 เมื่อ


กษัตริยด์ าวิดทรงทำบาปกับนางบัทเชบา ภรรยาของอูรอี าห์ ประกาศกนาธานมาเข้าเฝ้ากษัตริยด์ าวิด
ทูลว่ากษัตริย์ทรงทำผิด พระองค์ก็ทรงยอมรับผิดและทรงได้รับการอภัยจากพระเจ้า ถึงกระนั้น
กษัตริย์ดาวิดทรงได้รับผลของการกระทำของพระองค์ คือ โอรสที่จะเกิดมาต้องตาย (เทียบ 2 ซมอ
11-12) ข้อความทั้งหมดนี้แสดงว่า ผู้ที่ ได้รับการอภัยบาปยังต้องชดใช้ความผิดของตนด้วยวิธี ใด
วิธีหนึ่ง
สรุป ความคิดทัง้ สองตามพระคัมภีรแ์ สดงว่า มนุษย์ทมี่ ีใจบริสทุ ธิจ์ ะได้เห็นพระเจ้า และ
ผู้ทำบาปจะต้องรับผิดชอบต่อการกระทำของตน โดยทำให้ความวุ่นวายที่บาปได้ก่อให้เกิดกลับเป็น
ระเบียบอีกครั้งหนึ่ง นักเทววิทยาจึงสันนิษฐานว่า ในกรณีผู้ใดตายเมื่อเขายังไม่บริสุทธิ์หมดจด
ปราศจากบาปหรือได้ใช้โทษบาปยังไม่สมบูรณ์ ผู้นั้นยังมีโอกาสที่จะชำระตนให้บริสุทธิ์ ได้หลังจาก
ความตาย และความคิดนี้ก็มีพื้นฐานในพระคัมภีร์จริงๆ เช่น ชาวยิวในสมัย 200 ปีก่อนคริสต์ศักราช
เคยภาวนาสำหรับบรรดาผู้ตาย ดังที่เราอ่านในหนังสือมัคคาบี ฉบับที่ 2 ว่า
“วันรุ่งขึ้น เพราะความจำเป็นเร่งด่วน ยูดาสกับทหารไปเก็บศพของผู้ที่ถูกฆ่า
ในการรบ เพื่อนำไปฝังไว้กับญาติพี่น้องในที่ฝังศพของบรรพบุรุษ แต่ในเสื้อ
ของผู้ตายแต่ละคนเขาพบเครื่องรางรูปเคารพที่นับถือกันที่เมืองยัมเนีย ซึ่ง
ธรรมบัญญัติห้ามชาวยิวสวม จึงเห็นได้ชัดว่า เพราะเหตุนี้เองทหารเหล่านี้จึง
ถูกฆ่า ดังนั้น ทุกคนถวายพระพรแด่องค์พระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงตัดสินอย่างยุติ-
ธรรม และทรงเปิดเผยสิ่งที่ซ่อนไว้ เขาอธิษฐานภาวนาวอนขอพระเจ้าให้ทรง
ลบล้างบาปให้หมดสิ้น ยูดาสผู้ทรงศักดิ์เตือนบรรดาทหารให้รักษาตนให้พ้น
จากบาป เพราะเขาทั้งหลายได้เห็นกับตาแล้วว่าเกิดอะไรขึ้นแก่ผู้ที่ตายเพราะ
ทำบาป ยูดาสเรีย่ ไรเงินจากทหารแต่ละคน ได้เงินจำนวนสองพันเหรียญดรักมา
ส่งไปกรุงเยรูซาเล็มเพือ่ จัดให้มกี ารถวายบูชาชดเชยบาป นับว่าเป็นการกระทำ
ที่งดงามและน่ายกย่อง โดยคำนึงถึงการกลับคืนชีพของผู้ตาย เพราะถ้าเขาไม่

244
อ นั น ต วิ ท ย า
บ ท ที่ ๑๒ ... การชำระตนให้บริสุทธิ์หลังความตาย

มีความหวังว่าผู้ตายจะกลับคืนชีพ การอธิษฐานภาวนาเพื่อผู้ตายคงไม่มีประ-
โยชน์และไร้ความหมาย แต่ถ้าเขาทำไปเพราะคิดว่าผู้ที่ตายขณะที่ยังเลื่อมใส
ต่อพระเจ้าจะได้รบั บำเหน็จรางวัลงดงาม ก็เป็นความคิดทีด่ แี ละศักดิส์ ทิ ธิ์ เขา
สั่งให้ถวายเครื่องบูชาชดเชยบาปของผู้ตาย เพื่อจะได้พ้นจากบาป” (2 มคบ
12 :39-45) ถึงแม้ว่าข้อความนี้ไม่ได้อ้างถึงไฟชำระโดยตรง แต่ก็ยืนยันความ
เชื่อที่ว่า บรรดาผู้ตายรอคอยการกลับคืนชีพ นอกนั้นยังสอนอย่างชัดเจน
อีกว่า ผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่สามารถถวายเครื่องบูชาชดเชยบาปแทนบรรดาผู้ตาย
ที่สิ้นใจในสภาพบาป
ยังมีหลักฐานในตำนานของธรรมจารย์ชาวยิวคนหนึ่ง เขามีชีวิตอยู่ร่วมสมัยกับพระ-
เยซูเจ้า และบันทึกไว้ว่า “ในวันพิพากษา มนุษย์จะถูกแบ่งเป็น 3 ประเภทคือ บางคนจะได้รับชีวิต
นิรันดรอีกบางคนซึ่งเป็นคนบาปโดยสิ้นเชิงก็จะได้รับความอับอายชั่วนิรันดร ส่วนผู้ที่อยู่ตรงกลางคือ
ไม่เป็นคนดีทั้งหมดหรือชั่วทั้งหมด จะต้องลงใต้บาดาลเพื่อรับการลงโทษและชำระตน เมื่อเขาบริสุทธิ์
ก็จะได้รับชีวิตนนิรันดร”
2.3 ความคิดของนักบุญเปาโล
นักบุญเปาโลคงคิดเช่นนี้เหมือนกัน จากหลักฐานที่เรามี พบว่าเมื่อเขาเขียนจดหมาย
ฉบับที่ 1 ถึงชาวโครินธ์ บทที่ 15:29 เขาอ้างถึงขบนธรรมเนียมประเพณีที่ชาวโครินธ์เคยทำพิธีล้าง
สำหรับบรรดาผู้ตาย โดยที่ญาติของผู้ตายเป็นผู้ทำพิธีแทน เพราะเขาเหล่านี้คิดว่า พิธีกรรมนี้ช่วย
ผู้ตายได้ นักเทววิทยามักจะอ้างข้อความจากจดหมายฉบับที่ 1 ถึงชาวโครินธ์ บทที่ 3:11-15 เป็น
หลักฐานที่พูดถึงไฟชำระ แต่คงไม่ค่อยตรงประเด็นเท่าใดนัก เราจงพิจารณาข้อความที่นักบุญเปาโล
เขียนไว้ เพื่อเราจะเข้าใจความคิดของเขากระจ่างชัดยิ่งขึ้น
“10พระเจ้าประทานพระหรรษทานแก่ข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจึงได้วางรากฐานไว้ประหนึ่ง
เป็นสถาปนิกผูเ้ ชีย่ วชาญ และผูอ้ นื่ ก็สร้างขึน้ บนรากฐานนัน้ แต่ละคนจะต้องระมัด-
ระวังว่าเขาก่อสร้างอย่างไร 11รากฐานทีว่ างไว้แล้วนีค้ อื พระเยซูคริสตเจ้าและไม่มีใคร

245
อ นั น ต วิ ท ย า
บ ท ที่ ๑๒ ... การชำระตนให้บริสุทธิ์หลังความตาย

วางรากฐานอื่นได้อีก 12บนรากฐานนี้ ใครก่อสร้างโดยใช้ทองคำ เงิน เพชร นิล


จินดา ไม้ หญ้าหรือฟาง 13ผลงานของแต่ละคนก็จะปรากฏให้เห็น วันพิพากษาซึ่ง
จะลุกเป็นไฟจะบอกให้รู้ เพราะไฟจะทดสอบผลงานของแต่ละคนและจะเปิดเผยให้
เห็นว่าผลงานนั้นเป็นอย่างไร 14ผลงานที่ผู้ใดสร้างไว้ผ่านการทดสอบนี้ เขาก็จะได้รับ
เงินค่าจ้าง 15แต่ถา้ ผลงานของผูใ้ ดถูกไฟผลาญ เขาก็ไม่มผี ลงานใดเหลือ เขารอดพ้น
ได้ก็จริง แต่ก็เหมือนกับคนที่หนีไฟรอดมาได้เท่านั้น 16ท่านทั้งหลายไม่รู้หรือว่าท่าน
เป็นพระวิหารของพระเจ้า และพระจิตของพระเจ้าทรงพำนักอยู่ในท่าน 17ถ้าใคร
ทำลายพระวิหารของพระเจ้า พระเจ้าจะทรงทำลายเขา เพราะพระวิหารของพระเจ้า
นั้นศักดิ์สิทธิ์ และท่านก็คือพระวิหารนั้น” (1 คร 3:11-15) ข้อความนี้ไม่ได้กล่าวถึง
บรรดาผู้ตาย แต่อ้างถึงผลงานของผู้ประกาศข่าวดี ซึ่งเปรียบเทียบกับช่างก่อสร้าง
เขาต้องเลือกวัสดุอย่างฉลาดเพื่องานก่อสร้างของพระศาสนจักร เพราะ “ผลงาน
ของแต่ละคนก็จะปรากฏให้เห็น วันพิพากษาซึ่งจะลุกเป็นไฟ” (13) ผู้มีผลงานที่
ทนทานต่อไฟ ก็จะได้รับการตอบแทน แต่ผู้มีผลงานที่ถูกไฟผลาญ ก็จะถูกลงโทษ
กระนั้นก็ดี “เขารอดพ้นได้ก็จริง แต่ก็เหมือนกับคนที่หนีไฟรอดมาได้เท่านั้น” (15)
สุดท้าย “ใครทำลายพระวิหารของพระเจ้า พระเจ้าจะทรงทำลายเขา” (17)
ข้อความนี้แบ่งผู้ประกาศเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มแรกเป็นผู้ใช้วัสดุคงทนในการก่อสร้าง เขา
จะได้รับการตอบแทน (14) กลุ่มที่สองเป็นผู้ที่ทำลายพระศาสนจักรแทนที่จะก่อสร้าง เขาก็จะถูก
ทำลายเช่นกัน (17) กลุ่มที่สามเป็นผู้ก่อสร้างก็จริง แต่ไม่ได้เอาใจใส่อย่างละเอียดในการใช้วัสดุที่คง
ทน (15) บางคนตีความหมายว่าผู้ประกาศข่าวดีแต่ละกลุ่มจะได้รับการตอบแทนที่ต่างกัน
กลุ่มแรกจะได้ชีวิตรันดรเป็นค่าตอบแทน กลุ่มที่สองจะได้รับความตายนิรันดร ส่วน
กลุ่มที่สามจะต้องปรับปรุงแก้ไขอย่างทุกข์ทรมาน “เขารอดพ้นได้ก็จริง แต่ก็เหมือนกับคนที่หนีไฟ
รอดมาได้เท่านั้น” (15) ซึ่งเป็นคำสอนเรื่อง “ไฟชำระ” อย่างเป็นนัยๆ

246
อ นั น ต วิ ท ย า
บ ท ที่ ๑๒ ... การชำระตนให้บริสุทธิ์หลังความตาย

โดยแท้จริงแล้ว “ไฟ” ในที่นี้หมายถึงการพิพากษาของพระเจ้า คือ พระเจ้าจะทรง


ตอบแทนผู้ประกาศข่าวดีตามความประพฤติของเขา ผู้ประกาศข่าวดีกลุ่มที่สามเป็นผู้เสี่ยงที่จะถูกลง
โทษ เพราะไม่มีความกระตือรือร้นและจะได้ค่าตอบแทนน้อยกว่าผู้ประกาศข่าวดีด้วยความกระตือ-
รือร้น
อีกข้อความหนึ่งที่นักบุญเปาโลกล่าวเกี่ยวกับการอธิษฐานภาวนาอุทิศแก่ผู้ตายอย่าง
ชัดเจน คือ จดหมายฉบับที่ 2 ถึงชาวทิโมธี บทที่ 1:16-18 นักบุญเปาโลได้ภาวนาสำหรับโอเนสิ-
โฟรัส วอนขอให้พระเจ้าทรงสำแดงพระเมตตาแก่เขา เพราะเห็นแก่สงิ่ ดีที่โอเนสิโฟรัสได้ทำกับนักบุญ
เปาโล
การอธิษฐานภาวนาอุทศิ แก่ผตู้ ายเป็นธรรมประเพณีทมี่ าจากศาสนายูดาย และคริสตชน
สมัยต่อๆ มาก็ปฏิบัติตาม จึงเป็นสาเหตุของความคิดที่ว่า มนุษย์จะร่วมความบริบูรณ์กับพระเจ้าได้
ก็ต่อเมื่อเขามีความบริสุทธิ์และได้ชดใช้หรือรับผิดชอบต่อบาปของตน

3. วิวัฒนาการของความเข้าใจเรื่องความเชื่อในพระศาสนจักร
3.1 สมัยปิตาจารย์
ตั้งแต่ศตวรรษแรกๆ ธรรมประเพณีของพระศาสนจักรมีหลักฐานมากมายที่อ้างอิงถึง
การอธิษฐานภาวนาอุทิศแก่ผู้ล่วงหลับ เช่น เราพบบทภาวนาจารึกไว้บนหลุมฝังศพในสุสานของ
คริสตชน ในหนังสือของ แตร์ตูลเลี่ยน (Tertullian 155-230) ผู้เขียนประมาณกลางศตวรรษที่ 3
เราพบข้อความชื่นชมธรรมประเพณีการถวายพิธีบูชาขอบพระคุณในวันระลึกถึงผู้ล่วงหลับรวมทั้ง
ในหนังสือของนักบุญเอเฟรม (Ephrem 306-373) เขาได้เตือนสัตบุรุษให้ระลึกถึงผู้ล่วงหลับใน
โอกาส 30 วันหลังจากความตายและได้ให้เหตุผลว่า ผู้มีชีวิตอยู่ที่ร่วมถวายบูชาขอบพระคุณสำหรับ
ผู้ตาย ก็จะช่วยผู้ตายได้ เขาอ้าง 2 มัคคาบี 12:39-46 สนับสนุนความคิดนี้
เรายังพบคำยืนยันข้อความเชือ่ นี้ในหนังสือทีน่ กั บุญซีรลิ พระสังฆราชแห่งกรุงเยรูซาเล็ม
ได้เขียนเพื่ออบรมผู้เตรียมตัวรับศีลล้างบาปว่า “คริสตชนมีความเชื่อว่า การอธิษฐานภาวนาของกลุ่ม

247
อ นั น ต วิ ท ย า
บ ท ที่ ๑๒ ... การชำระตนให้บริสุทธิ์หลังความตาย

คริสตชนและการถวายพิธีบูชาขอบพระคุณอุทิศแก่ผู้ตาย มีประโยชน์สำหรับผู้ล่วงหลับ” นักบุญซีริล


(Cyril of Jerusalem 315-386) โต้ตอบผู้ที่คัดค้านความจริงข้อนี้ โดยยกตัวอย่างของกษัตริย์พระองค์
หนึ่ง ผู้ประทานอภัยแก่ผู้ที่ล่วงเกินพระองค์ เพราะเห็นแก่คำวอนขอของผู้ที่พระองค์พอพระทัย
เราเห็นได้ว่าใน 4 ศตวรรษแรกของพระศาสนจักร การอธิษฐานภาวนาอุทิศแก่บรรดา
ผู้ตายเป็นการปฏิบัติธรรมดา ทั้งในกลุ่มคริสตชนที่ใช้ภาษาลาตินในยุโรปตะวันตก และอัฟริกาเหนือ
และในกลุ่มที่ ใช้ภาษากรีกในกรุงเยรูซาเล็ม แคว้นซีเรีย และแคว้นกรีซ คริสตชนอธิษฐานภาวนา
อุทิศแก่บรรดาผู้ตายทั้งในพิธีกรรมและในการระลึกถึงเขา แต่ในสมัยนั้นยังไม่มีคำสอนเรื่องไฟชำระ
โดยตรง มีแต่เพียงนัยๆ เท่านั้น ปิตาจารย์คนแรกที่เริ่มสอนเรื่อง “ไฟชำระ” อย่างตรงไปตรงมาคือ
นักบุญซีเปรียน (Cyprian 210-258) พระสังฆราช เขาเขียนจดหมายฉบับหนึ่งอธิบายสภาพของผู้
ที่ไม่ซอื่ สัตย์ตอ่ พระคริสตเจ้า โดยถวายบูชาแด่เทพเจ้าและรูปเคารพเพราะกลัวการลงโทษจากรัฐบาล
โรม
เมื่อการเบียดเบียนผ่านพ้นไป คนไม่ซื่อสัตย์ต่อพระคริสตเจ้ากลับมาขอขมา นักบุญ
ซีเปรียนพร้อมที่จะให้อภัยตามธรรมเนียมปฏิบัติ คือ ผู้ทำบาปต้องใช้โทษบาปก่อนจึงจะได้รับการ
อภัยบาป การปฏิเสธความเชื่อเป็นบาปหนักมาก จึงต้องใช้โทษบาปเป็นเวลานาน ต่อมา เกิดการ
เบียดเบียนขึ้นอีก สถานการณ์นี้เรียกร้องการปฏิบัติใหม่ นักบุญซีเปรียนจึงคิดว่า ผู้ทำผิดควรจะได้
รับศีลศักดิส์ ทิ ธิแ์ ม้ยงั ไม่ได้ใช้โทษบาปให้หมด เพือ่ เป็นกำลังใจสำหรับการต่อสูก้ บั การประจญทีอ่ าจจะ
ทำให้หมดความพยายาม นักบุญซีเปรียนคิดเช่นนี้ เพราะผู้ที่ยังไม่ได้ใช้โทษบาปจนหมดสิ้น ยังมี
โอกาสที่จะชำระตนในชีวิตหน้า
หลังจากสมัยนักบุญซีเปรียนจะเห็นว่า การอ้างถึง “ไฟชำระ” เป็นเรื่องธรรมดา สังเกตุ
ได้จากการที่นักบุญออกัสติน ได้เขียนข้อความเกี่ยวกับ “ไฟชำระ” ไว้มาก
ในศตวรรษที่ 11 แม้พระศาสนจักรแตกแยกเป็นนิกายคาทอลิกและนิกายออร์โทด็อกซ์
แต่ข้อความเชื่อเรื่องการชำระตนให้บริสุทธิ์ตามคำสอนของบรรดาปิตาจารย์ก็ยังเป็นเรื่องเดียวกัน

248
อ นั น ต วิ ท ย า
บ ท ที่ ๑๒ ... การชำระตนให้บริสุทธิ์หลังความตาย

3.2 ความเข้าใจต่างกันระหว่างนิกายคาทอลิกกับนิกายออร์โทด็อกซ์
ในปี ค.ศ. 1254 เมือ่ สมเด็จพระสันตะปาปาอินโนเซนต์ท่ี 4 (Innocent IV, 1195-1254)
ทรงพยายามเรียกร้องให้ชาวกรีก และชาวลาตินรวมตัวกัน และเพื่อสร้างความเข้าใจอันดีต่อกัน
อีกครัง้ หนึง่ ปรากฏว่าความเชือ่ ของชาวกรีกและชาวลาตินยังคงยึดถือหลักคำสอนทีเ่ หมือนกัน แต่วา่
ชาวกรีกไม่ชอบที่จะใช้คำว่า “ไฟชำระ” ซึ่งชาวลาตินนิยมใช้ ความแตกต่างไม่เพียงอยู่ในคำศัพท์ที่
ใช้ แต่เป็นความแตกต่างในความคิดซึ่งปรากฏชัดเจนในปี 1274 เมื่อทั้งสองนิกายเข้าประชุมสภา-
สังคายนาที่เมืองลีออง ในการอภิปรายที่ประชุม ชาวกรีกแสดงความเชื่อที่ว่า วิญญาณของบรรดา
ผู้ตายที่ยังมีบาปติดอยู่ จะต้องชำระตนให้บริสุทธิ์ ซึ่งอาจเรียกได้ว่า “การชำระ” แต่ไม่ใช่ “ไฟ
ชำระ” เพราะการชำระดังกล่าวเป็นเพียงสภาพของวิญญาณมิใช่สถานที่แห่งหนึ่งและไม่เป็นสถานที่
ที่มีไฟอยู่ นักเทววิทยาชาวกรีกยังอ้างเหตุผลอีกประการหนึ่งเพื่อปฏิเสธว่า การชำระไม่เกี่ยวข้องกับ
“ไฟ” ก็เพื่อเน้นลักษณะที่แตกต่างจากนรก เขาสอนว่า การชำระนี้เป็นการเจริญเติบโตของวิญญาณ
ในชีวิตพระเจ้า ไม่เป็นการใช้โทษใดๆ เขามองการชำระนี้ในแง่บวกเท่านั้น
ส่วนของนักเทววิทยาลาตินยอมรับเช่นเดียวกันว่า “ไฟชำระ” ไม่เป็นสถานที่ เป็นพียง
สภาพของวิญญาณที่กำลังชำระตนให้บริสุทธิ์ และยอมรับว่า “ไฟ” เป็นเพียงคำเปรียบเทียบเท่านั้น
แต่เขาไม่เห็นด้วยกับนักเทววิทยาออร์โทด็อกซ์ในเรือ่ งทีจ่ ะต้องมองการชำระนี้ในแง่บวกเท่านัน้ เพราะ
ต้องคำนึงถึงแง่ลบอีกด้วย คือ การชำระนีย้ งั มีลกั ษณะเป็นการใช้โทษบาป เพือ่ ทำให้สงิ่ ที่ไม่เรียบร้อย
กลับสมบูรณ์ หลังจากที่ได้อภิปรายกันเป็นเวลานาน ในที่สุดที่ ประชุมก็ลงมติยอมรับความคิดนี้
3.3 ความขัดแย้งระหว่างนิกายคาทอลิกและนิกายโปรเตสแตนต์
ในช่วงแรกของการปฏิรูป มาร์ติน ลูเธอร์ (Martin Luther 1483-1546) ไม่ได้ปฏิเสธ
คำสอนของคาทอลิกเกี่ยวกับ “ไฟชำระ” เขาเพียงชี้แจงว่า ไม่มีคำสอนเรื่อง “ไฟชำระ” โดยตรงใน
หนังสือพระคัมภีร์ เขาไม่ยอมรับหนังสือมัคคาบีที่อยู่ในสารบบที่สอง และคิดว่าข้อความอื่นๆ ที่
คาทอลิกมักจะอ้างถึงเพื่อสนับสนุนความเชื่อในไฟชำระก็จะใช้เป็นหลักฐานไม่ได้ แต่เขายอมรับ
คำสอนนี้ เพราะได้พบในหนังสือของบรรดาปิตาจารย์

249
อ นั น ต วิ ท ย า
บ ท ที่ ๑๒ ... การชำระตนให้บริสุทธิ์หลังความตาย

ต่อมา ลูเธอร์ได้ปฏิเสธข้อความเชื่อนี้ เพื่อยกย่องและเทิดทูนการกระทำของพระเจ้า


ในการอภัยบาป คือ ความคิดของลูเธอร์และนักปฏิรูปทั้งหลายมั่นใจว่า ความเชื่อของคาทอลิกใน
เรื่องบรรดาผู้ตายอาจจะต้องทำกิจใช้โทษบาป จะก่อให้เกิดความคิดที่ผิดว่า การกระทำของพระเยซู-
คริสตเจ้าในการช่วยมนุษย์ให้รอดพ้นนั้นไม่เพียงพอ เป็นการดูถูกความศักดิ์สิทธิ์ของพระคริสตเจ้า
เหมือนกับว่าพระองค์ไม่มีพระอานุภาพเพียงพอที่จะทำให้มนุษย์ผ่านจากสภาพคนบาปเข้าสู่สภาพของ
ผู้ชอบธรรม จึงต้องการการกระทำของมนุษย์อีกด้วย นิกายโปรเตสแตนต์เชื่อว่า การช่วยให้รอดพ้น
เป็นการกระทำทั้งหมดของพระเจ้าเพียงพระองค์เดียว มนุษย์ทำอะไรไม่ได้ ร่วมส่วนก็ไม่ได้ ผู้คิดว่า
มนุษย์ใช้โทษบาปของตนได้ ก็ยกย่องมนุษย์เอง และดูหมิ่นพระคริสตเจ้าผู้ทรงใช้โทษบาปของมนุษย์
ส่วนนักเทววิทยาโปรเตสแตนต์ต้องการเน้นกระทำของพระคริสตเจ้าเพียงพระองค์เดียว
สภาสังคายนาเมืองเตรนท์ได้ยืนยันข้อความเชื่อเกี่ยวกับ “ไฟชำระ” ในสังฆพระธรรม-
นูญ “การทำให้มนุษย์เป็นผู้ชอบธรรม” โดยสอนว่าการกระทำของพระเจ้าที่ช่วยให้รอดพ้น ไม่ได้ทำ
ลายความเป็นอิสระของมนุษย์ แต่ตรงกันข้าม ให้สมรรถภาพแก่มนุษย์ที่จะช่วยตนเองให้รอดพ้นได้
ในแง่ที่พระเจ้าประทานสมรรถภาพแก่มนุษย์ ความรอดพ้นเป็นการกระทำของพระเจ้าทั้งหมด แต่
เรียกร้องความร่วมมือของมนุษย์อย่างเต็มกำลัง น่าสังเกตว่า สภาสังคายนาเมืองเตรนท์ยังได้เขียน
เอกสารสั้นๆ ในด้านอภิบาลเพื่อเตือนบรรดาสังฆราชให้เอาใจใส่ต่อบรรดานักเทศน์ทั้งหลายให้สอน
เรื่อง “ไฟชำระ” อย่างชัดเจนพอสมควร
ใน ค.ศ.1563 สภาสังคายนาเมืองเตรนท์ (Council of Trent 1545-1563) ออก
กฤษฎีกาเรื่อง “ไฟชำระ” ซึ่งเป็นคำสอนที่สมดุลย์และมีความสุขุมรอบคอบในการอภิบาล ข้อความ
ตอนหนึ่งในเอกสารนี้สอนว่า
“พระศาสนจักรคาทอลิกได้รบั การสัง่ สอนจากพระจิตเจ้า จึงสัง่ สอนตามข้อความ
ในพระคัมภีร์ และตามธรรมประเพณีเก่าแก่ของบรรดาปิตาจารย์ ทั้งในสภา-
สังคายนาศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ และเมื่อเร็วๆ นี้ ในสภาสังคายนาสากลครั้งนี้ว่า มี
“ไฟชำระ” และวิญญาณทีก่ ำลังชำระตนให้บริสทุ ธิ์ได้รบั ความช่วยเหลือจากการ

250
อ นั น ต วิ ท ย า
บ ท ที่ ๑๒ ... การชำระตนให้บริสุทธิ์หลังความตาย

วอนขอแทนของสัตบุรุษ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จากพิธีบูชาขอบพระคุณซึ่งเป็น


ที่พอพระทัยของพระเจ้า ดังนั้น สภาสังคายนาศักดิ์สิทธิ์ครั้งนี้สั่งให้บรรดา
พระสังฆราชพยายามอย่างขมักเขม้น ให้สตั บุรษุ มีความเชือ่ ในคำสอนเรือ่ ง “ไฟ
ชำระ” ที่ถูกถ่ายทอดจากบรรดาปิตาจารย์ผู้ศักดิ์สิทธิ์ และจากสภาสังคายนา
ศักดิส์ ทิ ธิต์ า่ งๆ รวมทัง้ ให้ทกุ คนยึดมัน่ สัง่ สอนและประกาศข้อความเชือ่ นีท้ กุ แห่ง
แต่ขอให้คำถามเรื่องที่ลำบากและเข้าใจยาก ซึ่งไม่เป็นการอบรม และไม่ช่วย
ส่งเสริมความเลื่อมใสศรัทธา กีดกันจากการเทศน์แก่ประชาชนที่ไม่ได้รับการ
ศึกษานิยมชมชอบในทำนองเดียวกัน บรรดาพระสังฆราชไม่ควรอนุญาตให้
ความคิดเห็นที่คลุมเครือและผิด เผยแผ่ออกไปส่วนเรื่องที่เป็นเพียงความอยาก
รู้อยากเห็นและไสยศาสตร์ หรือมีลักษณะแสวงหาผลประโยชน์ที่น่าอับอาย
บรรดาพระสังฆราชต้องห้ามเป็นอันขาด เพราะเป็นทีส่ ะดุด และเป็นอันตรายต่อ
คริสตชน” (The Christian Faith ,687)
3.4 สภาสังคายนาวาติกันที่ 2
พระธรรมนูญเรื่องพระศาสนจักร (Lumen Gentium, 1964) ของสภาสังคายนาวาติกัน
ที่ 2 ได้พูดถึงเรื่องไฟชำระอย่างสั้นๆ ดังต่อไปนี้ “เมื่อองค์พระผู้เป็นเจ้าจะเสด็จมาประกอบด้วย
พระสิริรุ่งโรจน์ พร้อมกับทูตสวรค์ทั้งหลายของพระองค์ (เทียบ มธ 25:31) ความตายจะถูกทะลาย
โดยสิ้นเชิง และสรรพสิ่งจะอยู่ใต้อำนาจของพระองค์ (เทียบ 1 คร 15:26-27) แต่ก่อนจะถึงเวลาที่
กล่าวนี้ บรรดาศิษย์ของพระองค์บางคนกำลังเดินทางระเหระหนอยู่บนแผ่นดิน บางคนก็ถึงแก่กรรม
แล้วกำลังชำระล้างตนให้บริสุทธิ์ผุดผ่อง บางคนกำลังเสวยพระสิริรุ่งโรจน์ กำลังเพ่งดูพระเจ้าอย่าง
กระจ่างชัด แลเห็นสามพระบุคคลของพระเจ้าอย่างที่ทรงเป็น” (ข้อ 49)
พระธรรมนูญเรื่องพระศาสนจักรจึงกล่าวถึง 3 สภาพของผู้มีความเชื่อในพระเยซูเจ้า
พระผูไ้ ถ่มนุษย์ คือ ศิษย์ทย่ี งั มีชวี ติ อยู”่ บนแผ่นดิน” ศิษย์ทอ่ี ยูใ่ น “ไฟชำระ” และศิษย์ทอ่ี ยูใ่ น “สวรรค์”
ในข้อ 50 ยังพูดถึงสหพันธ์นักบุญ บรรดาศิษย์ที่มีชีวิตอยู่ในโลกนี้ ภาวนาสำหรับผู้ล่วงหลับได้

251
อ นั น ต วิ ท ย า
บ ท ที่ ๑๒ ... การชำระตนให้บริสุทธิ์หลังความตาย

“พระศาสนจักรของบรรดาผู้กำลังเดินทางได้สำนึกรู้ถึงความสัมพันธ์ของพระกายทิพย์ทั้งหมดของ
พระคริสตเจ้าแต่แรกเริ่มมาแล้ว ฉะนั้น นับแต่เริ่มต้นคริสตศาสนา พระศาสนจักรได้ปลูกฝังธรรม-
เนียมการระลึกถึงบรรดาผู้ตายด้วยความเลื่อมใสศรัทธายิ่งนัก “เพราะคิดว่าผู้ที่ตายขณะที่ยังเลื่อมใส
ต่อพระเจ้าจะได้รับบำเหน็จรางวัลงดงาม ก็เป็นความคิดที่ดีและศักดิ์สิทธิ์ เขาสั่งให้ถวายเครื่องบูชา
ชดเชยบาปของผู้ตาย เพื่อจะได้พ้นจากบาป” (มคบ. 12:45) ตลอดจนถวายบูชาอุทิศแก่เขาด้วย” (ข้อ
50)
พระธรรมนูญเรื่องพระศาสนจักรยังให้คำแนะนำด้านอภิบาล โดยรื้อฟื้นคำเตือนของ
สภาสังคายนาเมืองเตรนท์ว่า “ความเชื่ออันน่าเคารพของบรรดาบรรพบุรุษของเรา เรื่องการร่วมโชค
ชะตาทางชีวติ กับบรรดาญาติพนี่ อ้ งผูบ้ รรลุถงึ เกียรติมงคลในสวรรค์แล้วก็ด,ี ผูท้ หี่ ลังจากจบอายุขยั แล้ว
และกำลังชำระล้างตนอยู่ก็ดี ขอตักเตือนบรรดาผู้รับผิดชอบทุกๆ คน, ในกรณีที่มีการออกนอกลู่
นอกทาง เกินไปบ้าง ขาดตกไปบ้าง ในที่นี่ที่นั้นก็ขอให้กำจัดออกไปเสีย หรือแก้ไขให้ทุกๆ สิ่ง
ดำเนินไปเพือ่ แก้ไขให้ทกุ ๆ สิง่ ดำเนินไปเพือ่ เกียรติมงคลของพระคริสตเจ้า และพระเจ้าจะได้บริบรู ณ์
ถูกต้อง” (ข้อ 51) สภาสังคายนาวาติกันที่ 2 มีเจตนาหลีกเลี่ยงใช้คำว่า “ไฟ” แต่กลับใช้คำว่า
“การชำระ” และคำว่า “ใช้โทษ” แทน
หนังสือ “คำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก” อธิบายว่า “ทุกคนที่ตายในพระหรรษทานและใน
มิตรภาพกับพระเจ้า แต่ชำระตนให้บริสุทธิ์ยังไม่เพียงพอ เขามั่นใจว่า จะได้รับความรอดพ้นนิรันดร
แต่เมื่อตายแล้ว เขายังต้องชำระตนให้บริสุทธิ์ เพื่อจะบรรลุความศักดิ์สิทธิ์ ที่จำเป็นเพื่อเข้าสู่ความ
ชื่นชมยินดีในสวรรค์ พระศาสนจักรเรียกการชำระตนให้บริสุทธิ์ครั้งสุดท้ายของผู้ได้รับเลือกสรรว่า
“ไฟชำระ” ซึ่งแตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับการลงโทษผู้ตกนรก” (Catechism of the Catholic Church
ข้อ 1030-31)

252
อ นั น ต วิ ท ย า
บ ท ที่ ๑๒ ... การชำระตนให้บริสุทธิ์หลังความตาย

4. คำสอนในปัจจุบันเรื่อง “การชำระ”
ในสมัยปัจจุบันนี้ เราต้องคิดอย่างไรเกี่ยวกับ “ไฟชำระ” ขอซ้ำอีกครั้งหนึ่งว่า จำเป็นที่จะ
ต้องเลิกคิดถึง “ไฟชำระ” ว่าเป็นนรกชั่วคราวหรือเป็นสถานที่เพื่อรับการทรมานอันน่าสะพึงกลัว แต่
จงคิดว่าเป็นสภาพของวิญญาณที่กำลังชำระตนให้บริสุทธิ์
ในพิธีกรรมสำหรับผู้ล่วงหลับเราเรียกผู้ตาย “เป็นผู้นอนหลับในสันติ” หมายความว่า ผู้ตาย
คืนดีกับพระเจ้าแล้ว มีพระหรรษทานของพระองค์ แต่ยังมีบางส่วนในชีวิตของเขาที่ติดกับบาป หรือ
เป็นผลตามมาของความบกพร่อง ในแง่นี้วิญญาณก็รู้ว่ามีชีวิตพระอยู่ในตนเอง ชีวิตนี้ต้องเจริญ
เติบโตให้สมบูรณ์ยงิ่ ขึน้ วิญญาณดีใจเป็นล้นพ้นทีร่ วู้ า่ พระเจ้าทรงรักตนและประทานพระพรนี้ แต่ใน
เวลาเดียวกัน พระหรรษทานของพระเจ้ายังทำให้เขาได้เห็นสภาพที่แท้จริงของตน สภาพที่เป็น
อุปสรรคในการเข้าสู่ความสุขแท้จริงกับพระองค์ เขาเห็นว่าต้องสละความเห็นแก่ตัว ต้องออกจาก
ตนเอง ต้องตัดใจจากสิ่งที่ไม่ใช่พระเจ้า การตัดใจเช่นนี้จะก่อให้เกิดความเจ็บปวดและความทรมาน
ซึ่งเขาต้องยอมรับจนพ้นจากสิ่งเหล่านี้ การใช้โทษบาปจึงเป็นการตัดใจจากสิ่งต่างๆ เราต้องยอมรับ
การเปลี่ยนแปลงนี้อาศัยพระหรรษทานของพระเจ้า จนกระทั่งเราสามารถมอบตนเองทั้งครบแด่
พระองค์ และผลที่ได้รับคือจะมีความสุขแท้จริงกับพระเจ้า
ก) “ความชื่นชมยินดี”
เราต้องเข้าใจว่า วิญญาณใน “ไฟชำระ” มีความชืน่ ชมยินดีเพราะรักพระเจ้า เป็น
ขบวนการของความรัก และความยินดีที่พระเจ้าก่อให้เกิดในวิญญาณของผู้กำลังชำระตนให้บริสุทธิ์
ในเวลาเดียวกัน วิญญาณมีความเสียใจที่ยังไม่พบกับพระองค์ เพราะโทษของตนเอง นักบุญ
คาธารีนา ชาวเยโนวา (Caterina da Genova 1447-1510) ได้เขียนคำเปรียบเทียบไว้อย่างลึกซึ้ง
ว่า ความรักของพระเจ้าเป็นดั่งไฟที่จะต้องช่วยเราให้ชนะสิ่งที่เป็นอุปสรรคต่อความรักของพระองค์
ความสุขของวิญญาณในไฟชำระเป็นความสุขยิ่งใหญ่มากกว่าความสุขล้นพ้นในโลก เพราะผู้ตายรู้ว่า
พระเจ้าทรงรักเขาและเขาก็รักพระองค์ เขาแน่ใจว่า จะรักพระองค์อย่างไม่มีวันที่สูญเสียพระองค์
ไปได้ เขาเพียงแต่ยังมีความทุกข์ใจที่ยังไม่สามารถพบพระองค์เฉพาะพระพักตร์ การรอคอยนี้จึงเป็น
ความทรมานของเขา

253
อ นั น ต วิ ท ย า
บ ท ที่ ๑๒ ... การชำระตนให้บริสุทธิ์หลังความตาย

ประสบการณ์ในโลกนี้ที่ช่วยเราให้เข้าใจสภาพของผู้ที่กำลังชำระตนให้บริสุทธิ์
คือ ประสบการณ์ของผู้เข้าฌาน บรรดานักบุญผู้มีประสบการณ์เข้าฌานสามารถที่จะเข้าใกล้ชิดกับ
พระเจ้า เพราะพระองค์ทรงช่วยให้เขาตัดใจออกจากตนเอง ดังที่ นักบุญยอห์นแห่งไม้กางเขน
(Juan de la Cruz 1542-1591) ได้เปรียบเทียบไว้ว่า “ไม้ที่อยู่ในกองไฟ แรกเริ่มก็มีปฏิกิริยาต่างๆ
แต่สุดท้ายก็กลับเป็นเหมือนไฟฉันใด ถ้าเราอยากจะเป็นเหมือนกับพระองค์ เราก็ต้องผ่านการพลี-
กรรมและการทรมานฉันนั้น”
ข) “สหพันธ์นักบุญ”
เมื่อเราพูดถึงผู้ตายที่กำลังชำระตนให้บริสุทธิ์ เราต้องคิดอยู่เสมอว่า ไม่มีผู้ใดอยู่
ลำพังคนเดียวได้ ผู้ร่วมมีความเชื่อตามพระศาสนจักรก็ร่วมเป็นพระศาสนจักรหนึ่งเดียว ร่วมในพระ-
กายทิพย์ของพระคริสตเจ้า การร่วมกันในความรักของพระเจ้าจึงมีพลังแน่นแฟ้นมากกว่าความตาย
เพราะความรักของพระเจ้าช่วยหล่อเลี้ยงความรักซึ่งกันและกัน ด้วยเหตุนี้ การอธิษฐานภาวนาอุทิศ
แก่ผู้ที่กำลังชำระตนให้บริสุทธิ์จึงมีความหมาย

5. สรุป
คำสอนเกี่ยวกับ “ไฟชำระ” เตือนเราในชีวิตนี้ให้เอาจริงเอาจังเรื่องความเชื่อ ความรักและ
ความหวังในพระเมตตากรุณาของพระเจ้า เราไม่ควรนิ่งเฉย ตรงกันข้าม เราต้องปลุกเร้าความ
ปรารถนาที่จะให้พระเจ้าพอพระทัย เพราะพระองค์ทรงพระทัยดีต่อเรามากที่สุด เราทุกคนมีแนวโน้ม
ที่จะปล่อยตัวครึ่งๆ กลางๆ และไม่เอาจริงเอาจังที่จะมุ่งสู่ความบริบูรณ์ อิสรภาพของเราไม่ได้
หมายความว่า เราเลือกหรือละทิ้งพระเจ้าเพียงครั้งเดียว โดยแท้จริงแล้ว แม้ผู้ยอมรับพระเจ้าและ
มอบตนเองแด่พระองค์ด้วยความเชื่อก็อาจสงวนส่วนหนึ่งของจิตวิญาณไว้เป็นกรรมสิทธิ์ของตน และ
จะใช้สว่ นนัน้ เพือ่ ตนเอง แม้เรายอมฟืน้ ฟูจติ ใจและกลับใจ แต่เรากลัวว่าพระเจ้าจะทรงเรียกร้องทัง้ หมด
จากเรา เรายังสงวนบางส่วนเผื่อไว้ในภายหลัง นี่คือประสบการณ์ประจำวันของเราแต่ละคน

254
อ นั น ต วิ ท ย า
บ ท ที่ ๑๒ ... การชำระตนให้บริสุทธิ์หลังความตาย

เราเรียกบาปนี้ว่าเป็น “บาปเบา” คือ ความรักของเราอ่อนกำลังลง เปรียบเหมือนผู้ขึ้นไป


จับไม้กางเขนด้วยมือเพียงข้างเดียว ซึ่งเป็นไปไม่ได้ โดยปกติพระเจ้าทรงใช้พระเมตตากรุณา
สร้างสรรค์วิธีการเพื่อซ่อมแซมตัวเราที่จะเปลี่ยนตนเองให้ออกจากสภาพเช่นนี้ และบรรลุถึงความ
บริบูรณ์ ฉะนั้น การชำระตนให้บริสุทธิ์จึงเป็นกระบวนการที่ต้องเริ่มต้นในโลกนี้ด้วยความกล้าหาญ
และด้วยความไว้ใจว่า งานที่เราอาจจะทำไม่สำเร็จในโลกนี้ พระองค์จะทรงช่วยเราให้สามารถทำต่อ
ได้ในโลกหน้าด้วย เราทุกคนควรจะตั้งคำถามดังที่ จูเลี่ยน กรีน (Julian Green 1900-1998)
นักเขียนนวนิยายผู้เรืองนาม ได้ถามตนเองว่า “ความกังวลที่ใหญ่หลวงในชีวิตของฉันคือการเข้าใจ
ว่า ฉันเป็นใคร และฉันได้ใช้เวลาที่พระเจ้าประทานให้อย่างไร
บนหลุมฝังศพอันเก่าแก่แห่งหนึ่งมีคำจารึกไว้ว่า “ความตายไม่เป็นอะไร จงเอาใจใส่และ
คิดถึงชีวิตนิรันดร” ความคิดนี้ดูเหมือนเป็นไปไม่ได้ แต่โดยแท้จริงแล้ว เป็นความเชื่อในธรรมล้ำลึก
ปัสกา ความรักของพระเจ้าคือความรอดพ้นสำหรับมนุษย์ แต่ตอ้ งผ่านการทนทุกข์ทรมาน “ไฟชำระ”
คือ ขั้นตอนสุดท้ายของธรรมล้ำลึกปัสกาของคริสตชน ดังนั้น “ไฟชำระ” จึงเป็นผลตามมาของ
ธรรมล้ำลึกปัสกาซึ่งเป็นหัวใจของคริสตชน

255
อ นั น ต วิ ท ย า
บ ท ที่ ๑๒ ... การชำระตนให้บริสุทธิ์หลังความตาย

256
อ นั น ต วิ ท ย า

You might also like