You are on page 1of 18

บ ท ที่ ๑๔ ...

เทววิทยาเรื่องสวรรค์

๑๔
ปัจจุบัน เรามักจะไม่ค่อยพูดถึงสวรรค์เท่าใดนัก ที่เป็นดังนี้อาจจะเป็นเพราะเหตุผลสอง
ประการ คือ ประการแรก เพราะความเชื่อของเราไม่เพียงพอและเราเองไม่แน่ใจว่าสวรรค์มีอยู่จริง
ประการที่สอง เพราะความรู้ทางเทววิทยาของเราไม่เพียงพอ
ผู้เขียนหนังสือวิวรณ์เสนอภาพสวยงามเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นเมื่อสิ้นพิภพว่า “แล้ว
ข้าพเจ้าเห็นฟ้าใหม่และแผ่นดินใหม่ เพราะฟ้าและแผ่นดินเดิมสูญหายไป ไม่มที ะเลอีกต่อไป ข้าพเจ้า
เห็นนครศักดิส์ ทิ ธิ์ คือ นครเยรูซาเล็มใหม่ลงมาจากสวรรค์ ลงมาจากพระเจ้า เตรียมพร้อมเหมือนกับ
เจ้าสาวที่แต่งตัวรอเจ้าบ่าว ข้าพเจ้าได้ยินเสียงดังจากพระบัลลังก์ว่า ‘นี่คือ ที่พำนักของพระเจ้าในหมู่
มนุษย์ พระองค์จะทรงพำนักอยู่ในหมู่เขา เขาจะเป็นประชากรของพระองค์และพระองค์จะทรงเป็น
พระเจ้าของเขา ทรงเป็น “พระเจ้าสถิตกับเขา” พระองค์จะทรงเช็ดน้ำตาทุกหยดจากนัยน์ตาของเขา
จะไม่มีความตายอีกต่อไป จะไม่มีการคร่ำครวญ การร้องไห้ และความทุกข์อีกต่อไป เพราะโลกเดิม
ผ่านพ้นไปแล้ว’” (วว 21:1-4)
ในวรรณคดีทง้ั หมด บางทีไม่มกี ารบรรยายทีช่ ดั เจนถึงความหวังลึกซึง้ ของใจมนุษย์ทป่ี รารถนา
จะได้ความสุขและความสมบูรณ์มากกว่าข้อความสี่ข้อนี้ ไม่เพียงความเลวร้าย (“ทะเล”) และ

274
อ นั น ต วิ ท ย า
บ ท ที่ ๑๔ ... เทววิทยาเรื่องสวรรค์

ความทุกข์ทรมาน (“น้ำตา ความตาย การคร่ำครวญ การร้องไห้ และความทุกข์”) เท่านั้นจะสูญ


หายตลอดไป แต่ จ ะมี ค วามสนิ ท สั ม พั น ธ์ อ ย่ า งลึ ก ซึ้ ง ระหว่ า งมนุ ษ ย์ กั บ พระเจ้ า (“ที่ พ ำนั ก ของ
พระเจ้าในหมู่มนุษย์”) และจักรวาลที่เป็นวัตถุทั้งหมดจะรวมความสนิทสัมพันธ์ระหว่างพระเจ้ากับ
มนุษย์นี้ (“ฟ้าใหม่และแผ่นดินใหม่”)
ความคิดทางวิทยาศาสตร์ทำให้เราเรียกร้องที่จะวัดและพิสูจน์ความเป็นจริง แต่เราควรใช้
จินตนาการ เพื่อจิตใจของเรามีความหวังที่จะเห็นสิ่งที่พระเจ้าทรงทำได้ และทรงพระประสงค์ที่จะ
ทำเพื่อเรา (“ลงมาจากสวรรค์ ลงมาจากพระเจ้า”) นี่เป็นวิธีเดียวเพื่อจะได้เข้าใจความสุขสมบูรณ์ที่
พระเจ้าทรงเตรียมไว้สำหรับมนุษยชาติและโลก
ภาพต่างๆ เกี่ยวกับสวรรค์ไม่บรรยายความเป็นจริงของชีวิตหลังความตาย แต่เป็นการแสดง
ออกถึงความปรารถนาของจิตใจมนุษย์ ที่ถูกสร้างเพื่อพระเจ้าและจะทุรนทุรายจนกว่าจะได้พักผ่อน
ในพระองค์ ถ้ามนุษย์ไม่มีความปรารถนาและความหวังนี้ ใจของเขาจะเหี่ยวแห้งและตายไป มนุษย์
จะสูญเสียศักดิ์ศรีของตน จิตใจมนุษย์ที่มีจินตนาการสิ่งน่าพิศวงนี้ มีความหวังว่าพระเจ้าจะทรงรักษา
ทุกสิ่งที่จริง ที่ดี ที่สวยงาม ที่เราได้กระทำสำเร็จในโลกนี้เพราะสิ่งเหล่านี้สะท้อนความจริง ความดี
และความงดงามของพระเจ้า แม้เราไม่รู้ว่าจะเกิดขึ้นเป็นอย่างไร

1. เรารู้จักสวรรค์ได้อย่างไร
เราคริสตชนมักมีปมด้อยเมื่อเอ่ยถึงเรื่องความเชื่อ เพราะดูเหมือนเป็นอะไรที่พิสูจน์ไม่ได้
แน่นอน อย่างไรก็ตาม น่าสังเกตว่า เมื่อพูดถึงชีวิตหลังความตาย นักวิทยาศาสตร์เองก็ไม่สามารถ
พิสูจน์หรืออธิบายอะไรได้ ดังนั้น ทั้งผู้ที่มีความเชื่อในชีวิตหน้าและผู้ที่ ไม่มีความเชื่อ ก็ยังมีท่าที
เดียวกัน คือ มนุษย์ทกุ คนต้องเลือกอย่างใดอย่างหนึง่ โดยหลีกเลีย่ งไม่ได้ ทุกคนมีความเชือ่ ของแต่ละ
คนและแบบที่ตรงข้ามกัน ทุกคนต้องตอบคำถามเดียวกันว่า “หลังจากชีวิตนี้มีอะไรบ้าง” และคำตอบ
จะออกมาใน 2 รูปแบบ บางคนบอกว่าไม่มีอะไรเลย บางคนบอกว่ายังมีชีวิตต่อไปอีกในรูปแบบใด
รูปแบบหนึ่ง

275
อ นั น ต วิ ท ย า
บ ท ที่ ๑๔ ... เทววิทยาเรื่องสวรรค์

คำถามสำคัญที่มนุษย์ทุกคนมักจะถามตนเอง ก็คือ มนุษย์เป็นใคร มาจากไหน และกำลัง


ไปที่ใด บางคนเปรียบเทียบสภาพชีวติ มนุษย์เหมือนกับผูท้ ตี่ นื่ ขึน้ บนรถไฟในเวลากลางคืน เขาไม่รวู้ า่
รถไฟขบวนนัน้ ออกจากสถานีไหน ไม่รวู้ า่ เขาขึน้ ทีส่ ถานีไหนและเมือ่ ไร และยังไม่รอู้ กี ว่ารถไฟขบวนนี้
กำลังแล่นไปไหน และทำไมเขาจึงต้องมาอยู่ในรถไฟขบวนนี้ไม่ใช่ขบวนอื่น ผู้โดยสารบางคนพอใจ
ที่จะมองไปรอบๆ ว่าในตู้รถไฟตู้นั้นมีอะไรบ้าง หรือพิจารณาความกว้างยาวของที่นั่ง หรือวัสดุที่
ประกอบเป็นโบกี้ขึ้นมา แล้วหลังจากนั้นไม่นาน เขาก็นอนหลับต่อไปอย่างสงบ ผู้โดยสารบางคนไม่
คิดว่าจะต้องค้นคว้าหาคำตอบอื่นๆ ถ้าบางคนยังรู้สึกกังวลเพราะไม่รู้ว่ากำลังไปไหน ก็ยังขจัดความ
กังวลเหล่านี้ได้ด้วยการคิดถึงสิ่งอื่นๆ แทน
ผูม้ ที รรศนะดังนีย้ งั แน่ใจว่ารถไฟขบวนนัน้ จะต้องผ่านเข้าอุโมงค์มดื มิด และไม่มีใครสามารถ
ลงจากขบวนรถนัน้ ก่อนทีจ่ ะเข้าอุโมงค์ แต่หลังจากทีเ่ ข้าไปในอุโมงค์นน้ั แล้วจะมีอะไรเกิดขึน้ กับรถไฟ
ขบวนนั้นไม่มี ใครรู้ บางคนบอกว่าไม่มีอะไรเลย มีแต่ความมืดมิด บ้างก็ว่ามีชีวิตหน้ากับพระเจ้า
มีนิรันดรภาพ แต่ขอให้สังเกตว่าคำตอบทั้งสองอย่างนี้เป็นเพียงความเชื่อของบุคคลนั้นเท่านั้น ไม่
สามารถพิสูจน์โดยใช้เหตุผลทางวิทยาศาสตร์ได้
ดังนั้น ทั้งผู้ที่ยอมรับและปฏิเสธชีวิตหน้าก็ยอมรับและปฏิเสธโดยอาศัยความเชื่อของตน
ไม่สามารถพิสูจน์หรือปฏิเสธโดยใช้เหตุผลทางวิทยาศาสตร์มาแสดงได้ กระนั้นก็ดี มนุษย์ส่วนใหญ่
ทุกชาติ ทุกภาษา และทุกสมัยก็เชื่อถึงชีวิตหน้าในรูปแบบต่างๆ คือ ผู้ล่วงหลับไปแล้วยังมีชีวิตอยู่ใน
รูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง ซึ่งหลายครั้งเป็นเพียงความคาดหวังว่า สิ่งที่ปรารถนาในโลกนี้จะได้อย่าง
สมบูรณ์ในโลกหน้า เช่น สวรรค์สำหรับชาวมุสลิมเป็นเพียงแต่จินตนาการของชาวอาหรับที่ยากจน
ในศตวรรษที่ 7 เท่าที่เขาจะกล้าวาดหวังไว้ว่า สวรรค์สำหรับเขา ก็คือ สถานที่ที่สวนผลไม้ใหญ่โตนำ
ความร่มเย็น มีหญ้าเขียวชอุ่ม มีน้ำนมไหลผ่านตามลำธาร มีเครื่องหอม มีม้าพ่วงพลีงดงาม และมี
งานเลี้ยงไม่มีสิ้นสุด แต่ไม่มีความเสมอภาคระหว่างชายกับหญิง เพราะคนที่เขียนเป็นผู้ชาย เขา
สัญญาว่าผู้ตายที่เคยติดตามคำสอนของโมหะหมัดเท่านั้นที่จะเข้าสวรรค์ได้ และถ้าเป็นผู้ชายก็ยังจะ
ได้รับคำสัญญาว่าจะได้หญิงพรหมจารี 4,000 คน ภรรยา 800 คน และหญิงรับใช้ที่มีนัยน์ตาดำ

276
อ นั น ต วิ ท ย า
บ ท ที่ ๑๔ ... เทววิทยาเรื่องสวรรค์

เหมือนนิล มีกลิ่นกายหอมดังดอกไม้อีก 500 คน นี่คือความปรารถนาของผู้อยู่ในทะเลทรายอันแห้ง


ผากและร้อนระอุ
คริสตชนอาจจะตกอยู่ในความบกพร่องเดียวกัน เมื่อตีความหมายพระคัมภีร์ตามตัวอักษร
มากเกินไปแม้จะพยายามประยุกต์ให้เข้ากับสภาพชีวิตในปัจจุบัน เช่น นิกาย “พยานของพระเย-
โฮวาห์ ผู้ตั้งนิกายนี้ คือ ชาร์ล รัสเชล ชาวอเมริกัน เขาได้สอนว่า อาณาจักรสวรรค์จะเป็นเหมือน
บ้านจัดสรรสวยงาม มีสนามหญ้า สระว่ายน้ำ ทุกครอบครัวจะอยู่พร้อมหน้ากันทั้งสามีภรรยา แต่ละ
คู่มีลูกเพียง 2 คน ลูกชายคนหนึ่งลูกสาวคนหนึ่ง พวกเขาและบรรดาเพื่อนบ้านสวมเสื้อผ้าสีสดใส
ขับร้องด้วยเสียงสดใสไพเราะและมีความสุขใจ อยู่กลางสนามหญ้าหน้าบ้านกลางวันที่มีอากาศแจ่ม
ใส มองไปเห็นลูกสิงโตเล่นกับลูกแกะ และเสือเล่นกับลูกกวางอยู่ทั่วไป ภาพเหล่านี้พบได้ในหนังสือ
คำสอนของพวกเขา ซึ่งไม่ต่างกับภาพโฆษณาที่เราเคยได้พบเห็นในจอโทรทัศน์
ดังนั้น ให้เรามาศึกษาสิ่งที่พระเยซูเจ้าได้ทรงเปิดเผยเกี่ยวกับสวรรค์ในหนังสือพันธสัญญา-
ใหม่

2. การเปิดเผยของพระเจ้า
พระเยซูเจ้าทรงใช้คำหลายคำและสัญลักษณ์หลายแบบ เพื่อเสนอความจริงเกี่ยวกับสวรรค์
เช่นคำว่า “อาณาจักร” “สวนสวรรค์” “พระสิริรุ่งโรจน์” “สวรรค์” “การเห็นพระเจ้า” ฯลฯ และ
ยังใช้สัญลักษณ์ต่างๆ “ไข่มุกประเสริฐ” “อวนที่เต็มด้วยปลา” “การเก็บเกี่ยวที่ได้ผลอุดมสมบูรณ์”
“วิวาหมงคล” และอื่นๆ
ถ้าเราจะสรุปคำสอนทั้งหมดที่มีอยู่ในพันธสัญญาใหม่ เราอาจจะสรุปได้ 3 หัวข้อที่แสดง
ลักษณะของสวรรค์ได้แก่
- การเห็นพระเจ้า
- ชีวิตนิรันดร
- การอยู่กับพระคริสตเจ้า

277
อ นั น ต วิ ท ย า
บ ท ที่ ๑๔ ... เทววิทยาเรื่องสวรรค์

2.1 การเห็นพระเจ้า
“ผู้มีใจบริสุทธิ์ ย่อมเป็นสุข เพราะเขาจะได้เห็นพระเจ้า” (มธ 5:8) ในพันธสัญญาใหม่
เราเห็นความปรารถนาของคริสตชนที่จะเห็นพระเจ้าดังที่ ในพันธสัญญาเดิมผู้ที่มีความเชื่อมักจะ
แสวงหาพระพักตร์พระเจ้า และวอนขอให้พระองค์สำแดงพระพักตร์ให้มนุษย์เห็น
สำหรับชาวยิว การเห็นพระเจ้าไม่หมายความถึงความรูท้ างสติปญ ั ญาเท่านัน้ แต่รวมถึง
การเข้าสัมผัสชีวิตของเขากับพระเจ้าด้วย เมื่อชาวยิวพูดว่าเขาได้ “เห็นพระเจ้า” ก็ไม่เพียงแต่
หมายความว่าเขารูว้ า่ พระเจ้าองค์นนั้ เป็นใคร และเมือ่ พระองค์เดินผ่านไปเขาก็ยงั รูว้ า่ ผูน้ นั้ เป็นกษัตริย ์
แต่หมายความรวมถึงว่าเขาได้รับเชิญเข้าในราชวัง นั่งโต๊ะเดียวกัน สนทนาเป็นกันเองกับกษัตริย์
และข้าบริพารของพระองค์ ดังนั้น เมื่อนักบุญเปาโลเขียนจดหมายถึงชาวโครินธ์ก็ได้แยกแยะความรู้
เกี่ยวกับพระเจ้าที่เราสามารถมีอยู่ในโลกนี้ คือ เป็นความรู้ที่ยังต้องใช้สื่อกลางระหว่างมนุษย์กับ
พระเจ้า เราเห็นในกระจก และการเห็นพระเจ้าแบบหน้าต่อหน้า ซึ่งหมายถึงการมีชีวิตสนิทกับ
พระองค์โดยตรงปราศจากสื่อกลาง
“ความรักไม่มีสิ้นสุด แม้การประกาศพระวาจาจะถูกยกเลิก แม้การพูดภาษา
ที่ไม่มีใครเข้าใจจะยุติ แม้ความรู้จะหมดสิ้น เพราะเรารู้อย่างไม่สมบูรณ์ และ
ประกาศพระวาจาอย่างไม่สมบูรณ์ แต่เมือ่ สิง่ ทีส่ มบูรณ์มาถึง ความไม่สมบูรณ์
จะสูญสิ้นไป เมื่อข้าพเจ้ายังเป็นเด็ก ข้าพเจ้าก็พูดจาเหมือนเด็กๆ คิดเหมือน
เด็กๆ ใช้เหตุผลเหมือนเด็กๆ แต่เมือ่ ข้าพเจ้าเป็นผูใ้ หญ่ ข้าพเจ้าก็เลิกประพฤติ
เหมือนเด็ก ในเวลานี้ เราเห็นพระเจ้าเพียงรางๆ เหมือนเห็นในกระจกเงา แต่
เมื่อถึงเวลานั้น เราจะเห็นพระองค์เหมือนพระองค์ทรงอยู่ต่อหน้าเรา เวลานี้
ข้าพเจ้ารู้อย่างไม่สมบูรณ์ แต่เมื่อถึงเวลานั้น ข้าพเจ้าจะรู้แจ้งเหมือนที่พระองค์
ทรงรูจ้ กั ข้าพเจ้า ขณะนีย้ งั มีความเชือ่ ความหวัง และความรักอยูท่ ง้ั สามประการ
แต่ที่ยิ่งใหญ่กว่าสิ่งใดทั้งหมด คือ ความรัก” (1 คร 13:8-13)

278
อ นั น ต วิ ท ย า
บ ท ที่ ๑๔ ... เทววิทยาเรื่องสวรรค์

ทำนองเดียวกัน นักบุญเปาโลยังกล่าวเพิม่ เติมอีกว่า “เรามีความมัน่ ใจอยูเ่ สมอและรูว้ า่


เมื่อเรามีชีวิตอยู่ในร่างกาย เราก็ถูกเนรเทศห่างจากองค์พระผู้เป็นเจ้า เราดำเนินชีวิตด้วยความเชื่อ
มิใช่ตามที่มองเห็น เรามีความมั่นใจและปรารถนาที่จะถูกเนรเทศจากร่างกายมากกว่า เพื่อไปอยู่กับ
องค์พระผู้เป็นเจ้า” (2 คร 5:6-8) ดังนั้น นักบุญเปาโลจึงได้แยกแยะความรู้ทางสติปัญญาที่เรามี
อยู่ในโลกนี้ และความรู้เมื่อเราจะอยู่กับพระเจ้า ส่วนนักบุญยอห์นก็ได้เขียนไว้ว่า “ท่านที่รักทั้งหลาย
บัดนี้ เราเป็นบุตรของพระเจ้าแล้ว แต่เราจะเป็นอย่างไรในอนาคตนั้น ยังไม่ปรากฏชัดแจ้ง เรา
ตระหนักดีว่า เมื่อพระองค์ทรงปรากฏ เราจะเป็นเหมือนพระองค์ เพราะเราจะได้เห็นพระองค์อย่าง
ที่พระองค์ทรงเป็น” (1 ยน 3:2) หมายความว่าในโลกหน้าเราจะเห็นพระคริสตเจ้าดังที่พระองค์ทรง
เป็น คือ ในฐานะที่เป็นบุตรของพระเจ้า และการเห็นพระองค์ดังกล่าวนี้ จะทำให้เราละม้ายคล้า
ยกับพระองค์ เราจะมีส่วนในพระธรรมชาติของพระเจ้านั่นเอง ความคิดนี้นักบุญยอห์นได้เสนอโดย
ใช้คำ “ชีวิตนิรันดร”
2.2 ชีวิตนิรันดร
ผูน้ พิ นธ์พระวรสารฉบับอืน่ ๆ ได้ใช้คำ “ชีวติ นิรนั ดร” บ้าง แต่นกั บุญยอห์นใช้คำนีม้ ากกว่า
ผู้อื่นและในความหมายพิเศษ ตัวอย่างที่หนังสือพระวรสารสหทรรศน์ ใช้คำนี้คือ “ถ้ามือข้าง
หนึ่งของท่านเป็นเหตุให้ท่านทำบาป จงตัดมันทิ้งเสีย ท่านจะเข้าสู่ชีวิตนิรันดรโดยมีมือข้างเดียว ยังดี
กว่ามีมือทั้งสองข้างแต่ต้องตกนรกในไฟที่ไม่รู้ดับ” (มก 9:43) “ขณะที่พระองค์กำลังทรงพระดำเนิน
อยู่ระหว่างทาง ชายคนหนึ่งรีบเข้ามาคุกเข่าลง ทูลถามว่า พระอาจารย์ผู้ทรงความดี ข้าพเจ้าต้องทำ
อะไรเพือ่ จะได้ชวี ติ นิรนั ดร” (มก10:17) และเมือ่ บรรดาศิษย์ถามพระเยซูเจ้าว่า ผูท้ ตี่ ดิ ตามพระองค์
จะได้รางวัลอะไร พระองค์ตรัสตอบว่า เขาจะได้รับ “การตอบแทนร้อยเท่าในโลกนี้ เขาจะได้บ้าน
เรือน พี่น้องชายหญิง มารดา บุตร ไร่นา พร้อมกับการเบียดเบียนและในโลกหน้าจะได้ชีวิตนิรันดร”
(มก 10:30)
ในพระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญมัทธิว พระเยซูเจ้าทรงสรุปคำสอนเรื่องคำ
พิพากษาครั้งสุดท้ายด้วยพระวาจาว่า “แล้วพวกนี้ก็จะไปรับโทษนิรันดร ส่วนผู้ชอบธรรมจะไปรับชีวิต

279
อ นั น ต วิ ท ย า
บ ท ที่ ๑๔ ... เทววิทยาเรื่องสวรรค์

นิรันดร” (มธ 25:46) นักบุญยอห์นใช้คำว่า “ชีวิตนิรันดร” มากเป็นพิเศษ สำหรับเขา ชีวิตนิรันดร


อยู่ในพระวจนาตถ์ (เทียบ ยน 1:4) และพระวจนาตถ์ทรงบังเกิดเป็นมนุษย์ เพื่อเราจะได้มีส่วนใน
ชีวิตนี้ อาศัยการบังเกิดใหม่จากเบื้องบน (เทียบ ยน 3:36) ชีวิตนิรันดรจึงอยู่ในเราตั้งแต่เราอยู่ใน
โลกนี้ “เราบอกความจริงแก่ท่านทั้งหลายว่า ผู้ที่ฟังวาจาของเรา และมีความเชื่อในพระองค์ผู้ทรงส่ง
เรามา ก็ย่อมมีชีวิตนิรันดรและไม่ต้องถูกพิพากษา” (ยน 5:24) “เราบอกความจริงแก่ท่านทั้งหลาย
ว่า ผู้ที่เชื่อในเรา ก็มีชีวิตนิรันดร” (ยน 6:47)
ดังนัน้ ถ้าเรามีชวี ติ นิรนั ดรตัง้ แต่อยูใ่ นโลกนีแ้ ล้ว ในอนาคตเราก็จะได้รบั การกลับคืนชีพ
อย่างรุ่งโรจน์ “พระประสงค์ของพระบิดาของเรา ก็คือ ทุกคนที่เห็นพระบุตรแล้วเชื่อในพระบุตรจะ
มีชีวิตนิรันดร และเราจะให้เขากลับคืนชีพในวันสุดท้าย” (ยน 6:40) “ผู้ที่กินเนื้อของเรา และดื่ม
โลหิตของเรา ก็มีชีวิตนิรันดร เราจะทำให้เขากลับคืนชีพในวันสุดท้ายเพราะเนื้อของเราเป็นอาหาร
แท้ และโลหิตของเราเป็นเครื่องดื่มแท้” (ยน 6:54-55) “ชีวิตนิรันดรคือ การรู้จักพระองค์ พระเจ้า
แท้จริงแต่พระองค์เดียว และรู้จักผู้ที่พระองค์ทรงส่งมาคือพระเยซูคริสตเจ้า” (ยน 17:3) ขอย้ำ
อีกครั้งว่า ความรู้นี้มิใช่เป็นเพียงแต่ความรู้ทางสติปัญญา แต่หมายถึง การมีความสัมพันธ์สนิทกับ
พระเจ้าและพระเยซูคริสตเจ้า
2.3 การอยู่กับพระคริสตเจ้า
ดังที่ได้อธิบายมาแล้ว การมีชีวิตนิรันดรก็คือ การเข้าสัมผัสกับพระคริสตเจ้าเพราะได้
เชื่อในพระองค์ ได้ยินพระวาจาของพระองค์ ได้กินเนื้อของพระองค์ แม้แต่ในพระวรสารสหทรรศน์
การร่วมชีวิตกับพระคริสตเจ้าก็จะนำความสุขแก่เรา เช่น อุปมาเรื่องการร่วมงานวิวาหมงคลของ
พระราชโอรส (เทียบ มธ 22:1-14) อุปมาเรื่องหญิงสาวสิบคน ซึ่งเล่าว่าหญิงสาวที่ฉลาดจะเข้าใน
บ้าน เพื่อร่วมงานวิวาหมงคลกับพระองค์ (เทียบ มธ 25:1-13) อุปมาเรื่องการเตรียมพร้อมเมื่อนาย
กลับมา (เทียบ ลก 12:35-38) อุปมาเรื่องเงินตะลันต์ ซึ่งเล่าว่า คนใช้ที่ดีและสัตย์ซื่อ จะได้ร่วมสุข
กับนายของตน (เทียบ มธ 25:21)

280
อ นั น ต วิ ท ย า
บ ท ที่ ๑๔ ... เทววิทยาเรื่องสวรรค์

ในการสนทนาระหว่างพระเยซูเจ้ากับโจรที่กลับใจบนไม้กางเขน เราพบประโยคสำคัญ
ที่ช่วยเราเข้าใจว่าสวรรค์คืออะไร “แล้วเขาทูลว่า ‘ข้าแต่พระเยซู โปรดระลึกถึงข้าพเจ้าด้วย เมื่อ
พระองค์จะเสด็จสู่พระอาณาจักรของพระองค์’ พระองค์ตรัสตอบเขาว่า ‘เราบอกความจริงกับท่านว่า
วันนี้ ท่านจะอยู่กับเราในสวรรค์” (ลก 23:42-43) สวรรค์ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงสถานที่ที่พระองค์จะ
พาไป แต่หมายถึงการอยู่ร่วมชีวิตกับพระคริสตเจ้า นักบุญเปาโลก็อธิบายเช่นกันว่า “เราจะได้อยู่กับ
องค์พระผู้เป็นเจ้าตลอดไป” (1 ธส 4:17) “เรามีความมั่นใจและปรารถนาที่จะถูกเนรเทศจากร่างกาย
มากกว่า เพื่อไปอยู่กับองค์พระผู้เป็นเจ้า” (2 คร 5:8) “ข้าพเจ้ารู้สึกลังเล คือปรารถนาจะพ้นจากชีวิต
นี้ไป เพื่ออยู่กับพระคริสตเจ้า ซึ่งจะเป็นการดีกว่ามาก” (ฟป 1:23)
น่าสังเกตว่าคำพูดของนักบุญเปาโลตรงกับพระวาจาของพระเยซูเจ้าในพระวรสารตาม
คำบอกเล่าของนักบุญยอห์นว่า “และเมื่อเราไป และเตรียมที่ให้ท่านแล้ว เราจะกลับมารับท่านไปอยู่
กับเราด้วย เพื่อว่าเราอยู่ที่ใด ท่านทั้งหลายจะอยู่ที่นั่นด้วย” (ยน 14:3)

3. ธรรมประเพณีและความเชื่อของพระศาสนจักรเรื่องสวรรค์
ในทีน่ จี้ ะอ้างถึงคำสอนของปิตาจารย์เพียงบางคน และจะมาพิจารณาคำสอนของพระศาสน-
จักรอย่างเป็นทางการ
3.1 คำสอนของบรรดาปิตาจารย์
คำสอนของบรรดาปิตาจารย์มีลักษณะที่เด่นในความคิดมที่ว่า ชีวิตหน้ามีมิติทางด้าน
สังคมมากกว่าเรื่องความสุขของปัจเจกบุคคล เขามักจะใช้คำว่า “กรุงเยรูซาเล็ม” เป็นสัญลักษณ์
ของสวรรค์ เช่น พระสันตะปาปาเกรโกรีผู้ยิ่งใหญ่บอกว่า “สวรรค์ประกอบด้วยชุมชนของพลเมืองผู้
ศักดิ์สิทธิ์” ท่านไม่มองความบรมสุขในสวรรค์เป็นเรื่องส่วนตัว แต่เป็นเรื่องส่วนรวม
อีกความคิดหนึ่งที่เราพบในข้อเขียนตั้งแต่สมัยนักบุญอีเรเนโอเป็นต้นมา คือ บรรดา
ปิตาจารย์มองชีวิตนิรันดรในแง่ที่เป็นการเห็นพระเจ้า ซึ่งเป็นไปไม่ได้ที่มนุษย์จะเห็นพระเจ้าด้วยกำลัง
ตนเอง แต่พระเจ้าได้ประทานสมรรถภาพนี้ซึ่งเปลี่ยนแปลงมนุษย์ให้มีส่วนในธรรมชาติพระเจ้า เช่น
นักบุญซีเปรียนก็อุทานว่า “จะมีความชื่นชมและเกียรติสักเพียงไรที่เราจะได้รับเชิญให้เห็นพระเจ้า”

281
อ นั น ต วิ ท ย า
บ ท ที่ ๑๔ ... เทววิทยาเรื่องสวรรค์

3.2 ความเชื่อของพระศาสนจักร
บทข้าพเจ้าเชื่อฯ ต่างๆ ในศตวรรษแรกๆ มักจะลงท้ายโดยคำยืนยันว่า “ข้าพเจ้าเชื่อ
ถึงชีวิตนิรันดร” ต่อมาภายหลังก็มีการอธิบายว่า เราจะมีความสุขแท้จริง เพราะเราจะ “ครองราชย์
พร้อมกับพระคริสตเจ้า” แต่เอกสารที่สำคัญที่สุดในอดีต คือ พระธรรมนูญ Benedictus Deus
ของพระสันตะปาปาเบเนดิกที่ 12 ในศตวรรษที่ 14 มีคำยืนยันว่า ผู้รับความสุขในสวรรค์จะเห็น
คุณลักษณะต่างๆ ของธรรมชาติพระเจ้าดังที่พระองค์ทรงเป็น และการเห็นดังกล่าวนี้เป็นการเห็น
โดยตรงปราศจากสือ่ ทีถ่ กู สร้างใดๆ และไม่ใช่การเห็นโดยการเปรียบเทียบหรือใช้เหตุผลอืน่ มาอธิบาย
แต่เป็นการหยั่งเห็นชัดเจน ผลตามมาของการเห็นนี้ ก็คือ ความสุขแท้จริงและชีวิตนิรันดรซึ่งจะไม่มี
วันสิ้นสุด
น่าสังเกตว่า เอกสารนี้ไม่พูดถึงความรักโดยตรง แต่อ้างเพียงครั้งเดียวว่าสวรรค์คือการ
อยู่กับพระคริสตเจ้า ดังนั้น เอกสารนี้ยังไม่ได้รวบรวมข้อมูลทั้งหมดจากพระคัมภีร์ เพียงแต่เน้น
ความรู้ส่วนตัวโดยไม่คำนึงถึงลักษณะทางสังคมเลย
สภาสังคายนาวาติกนั ที่ 2 ในเอกสารพระธรรมนูญเรือ่ งพระศาสนจักรยังสอนว่า สวรรค์
คือ การเห็นพระเจ้า เราจะ “ปรากฏร่วมกับพระคริสตเจ้าในพระเกียรติมงคล ซึ่งในที่นั่นเราจะ
เหมือนพระองค์ เพราะเราจะเห็นพระองค์อย่างที่ทรงเป็น” (LG.48) อีกลักษณะหนึ่งที่เอสารนี้เน้น
ก็คือ สวรรค์คือการได้อยู่กับพระคริสตเจ้า เช่น “เราปรารถนาใฝ่ฝันจะได้อยู่กับพระคริสตเจ้า” “เรา
จะได้เข้าร่วมงานวิวาหมงคล” และเราจะ “เสวยราชย์ร่วมกับพระคริสตเจ้า” และชาวสวรรค์ “ต่างก็
ผนึกแน่นติดกับพระคริสตเจ้า” (LG.49)
นอกนั้น เอกสารนี้ยังเน้นลักษณะทางสังคมของสวรรค์เมื่อพูดถึงสหพันธ์นักบุญในข้อ
49-51 โดยลงท้ายว่า “เรารวมตัวเป็น ครอบครัวเดียวในพระคริสตเจ้า” และ “เมื่อนั้นพระศาสนจักร
ทั้งครบที่ประกอบด้วยบรรดานักบุญผู้บรรลุถึงความสุขขั้นสุดยอดแห่งความรักจะพากันกราบนมัสการ
พระเจ้าและลูกแกะของพระเจ้าที่ถูกประหาร”

282
อ นั น ต วิ ท ย า
บ ท ที่ ๑๔ ... เทววิทยาเรื่องสวรรค์

4. การไตร่ตรองทางเทววิทยา
ข้อมูลทีเ่ ราได้คน้ พบจนถึงเวลานีย้ งั ต้องการคำอธิบายต่อไป เราควรจะมาไตร่ตรองถึงบทบาท
ของพระคริสตเจ้าในชีวิตของชาวสวรรค์ เพราะอาจจะเกิดความคิดผิดๆ ว่าธรรมชาติมนุษย์ของ
พระเยซู เ จ้า เป็นสื่อที่จะรู้จักพระเจ้าแต่เพียงในโลกนี้ มิใช่ในชีวิตหน้า นอกจากนี้สิ่งที่เราควร
พิจารณา ก็คือ ทำไมการเห็นพระเจ้าจึงทำให้เรามีส่วนในธรรมชาติพระเจ้าได้ ชีวิตนิรันดรเป็น
คุณลักษณะเฉพาะของพระเจ้า ทำไมการมีสว่ นในชีวติ พระเจ้าจึงเป็นสิง่ ทีเ่ ป็นไปได้กบั มนุษย์ผถู้ กู สร้าง
หรือชาวสวรรค์ จะมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันและกับโลกวัตถุได้อย่างไรและสวรรค์อยู่ที่ไหน
4.1 บทบาทของพระคริสตเจ้าในชีวิตหน้า
ทั้งข้อเขียนในพันธสัญญาใหม่และเอกสารของพระศาสนจักรต่างก็สอนว่า สวรรค์ คือ
การอยู่กับพระคริสตเจ้า แต่เราจะเข้าใจบทบาทของธรรมชาติมนุษย์อันรุ่งเรืองของพระคริสตเจ้าได้
อย่างไร ถ้าหากว่าเราจะสามารถเห็นคุณลักษณะของธรรมชาติพระเจ้าโดยตรงได้ การสนทนา
ระหว่างพระคริสตเจ้ากับฟิลิปคงจะเป็นคำตอบของปัญหาข้อนี้ “พระเจ้าข้า โปรดทำให้พวกเราได้
เห็นพระบิดาเถิด เท่านี้ก็พอแล้ว” พระเยซูเจ้าตรัสว่า “ฟิลิปเอ๋ย เราอยู่กับท่านมานานเพียงนี้แล้ว
ท่านยังไม่รู้จักเราอีกหรือ” ‘ผู้ที่เห็นเรา ก็เห็นพระบิดาด้วย ท่านพูดได้อย่างไรว่า “โปรดทำให้พวกเรา
ได้เห็นพระบิดาเถิด” (ยน 14:8-9)
วิธีเดียวสำหรับมนุษย์เพื่อจะเห็นพระบิดา คือ การเห็นพระคริสตเจ้า คุณลักษณะของ
ธรรมชาติพระเจ้านั้นเราสามารถจะเห็นเพียงแต่ทางพระวจนาตถ์ผู้ทรงรับธรรมชาติมนุษย์ หรือดังที่
นักบุญเปาโลบอกว่า พระเทวภาพบริบูรณ์สถิตอยู่ในสภาพมนุษย์ที่สัมผัสได้ของพระคริสตเจ้าผู้ทรง
กลับคืนพระชนมชีพ” (เทียบ คส 2:9) ธรรมชาติมนุษย์ของพระบุตรนั้นไม่ได้เป็นอีกอย่างหนึ่งระหว่าง
การเป็นพระเจ้ากับการเป็นมนุษย์ในพระองค์ เช่นเดียวกับร่างกายของมนุษย์ผู้ใดไม่เป็นอีกอย่างหนึ่ง
ระหว่างมนุษย์ผู้นั้นกับคนอื่นๆ แต่ธรรมชาติมนุษย์ของพระบุตรเป็นสถานที่ที่มนุษย์พบกับพระเจ้า
ดังทีพ่ ระเยซูเจ้าตรัสว่า ”ผูท้ เี่ ห็นเรา ก็เห็นพระบิดาด้วย” การร่วมเป็นหนึง่ เดียวกับพระคริสตเจ้า ก็คอื
การร่วมเป็นหนึ่งเดียวระหว่างความเป็นบุคคลของเรากับพระบุคคลขององค์พระบุตร ซึ่งมีความ
สัมพันธ์เป็นหนึ่งเดียวอันลึกซึ้งกับพระบิดาและพระจิต

283
อ นั น ต วิ ท ย า
บ ท ที่ ๑๔ ... เทววิทยาเรื่องสวรรค์

ดังนั้น พระเยซูเจ้ามิได้ทรงเป็นมนุษย์เมื่ออยู่ในโลกนี้เท่านั้น แต่ยังทรงเป็นมนุษย์ใน


สภาพรุ่งโรจน์เพื่อนำความรอดพ้นแก่เราชั่วนิรันดร คือ เพื่อเราซึ่งเป็นผู้มีขีดจำกัดสามารถร่วมเป็น
หนึ่งเดียวกับพระเจ้าผู้ไม่มีขีดจำกัดและทรงชีวิตอันเป็นนิรันดร ฉะนั้น แม้แต่ในสวรรค์มนุษย์ก็
สามารถเพ่งพิศพระเจ้าโดยผ่านทางพระบุตรเท่านัน้ และนี่ไม่หมายความว่า เราไม่สามารถเห็นพระเจ้า
โดยตรง เพราะการเห็นพระเยซูเจ้าในสภาพรุง่ โรจน์กเ็ ท่ากับเห็นพระเจ้าโดยตรง เพราะพระคริสตเจ้า
เป็นพระเจ้าในพระองค์เอง
4.2 ทำไมการเห็นพระเจ้าทำให้เรามีส่วนในธรรมชาติของพระองค์
สิ่งที่เราได้อธิบายไปแล้วก็ทำให้เราเข้าใจคำยืนยันของนักบุญยอห์นที่ว่า “เราจะละม้าย
คล้ายกับพระคริสตเจ้า เพราะเราจะเห็นพระองค์ดังที่พระองค์ทรงเป็น” เพียงแต่มนุษย์ที่มีส่วนใน
ความเป็นอยู่ของพระเจ้าเท่านั้นที่สามารถมีส่วนร่วมในชีวิตของพระองค์ คือ การรู้จักพระเจ้าในภาษา
พระคัมภีร์ ในทางตรงข้ามผู้ที่สามารถเห็นคุณลักษณะของพระเจ้าก็ต้องมีส่วนในชีวิตของพระองค์
เพราะ “การเห็น” ตามภาษาพระคัมภีร์หมายถึงการร่วมชีวิตกับบุคคลที่ได้เห็น
ดังนัน้ การอยูก่ บั พระคริสตเจ้าหรือการเห็นพระคริสตเจ้า ก็คอื การมีสว่ นในธรรมชาติ
พระเจ้าขององค์พระบุตรนั่นเอง และการร่วมเป็นหนึ่งเดียวกับพระเจ้าก็ไม่ได้ทำลายเอกลักษณ์ของ
ตนเอง เพราะพระตรีเอกภาพ ก็คือ สามพระบุคคลที่ร่วมเป็นหนึ่งเดียวอย่างแน่นแฟ้นโดยยังคง
เอกลักษณ์ของแต่ละพระบุคคล ความรักทำลายช่องว่างระหว่างบุคคลแต่ไม่ได้ทำลายเอกลักษณ์ของ
แต่ละบุคคล ความคิดนีเ้ ป็นพืน้ ฐานของคำสอนทีว่ า่ ความสุขของชาวสวรรค์จะไม่เท่ากันทีเดียว ฉะนัน้
แต่ละคนก็จะมองพระเจ้าคนละแง่คนละมุมตามที่เขาสามารถมีความสัมพันธ์กับพระเจ้าได้เท่านั้น
4.3 การมีส่วนในนิรันดรภาพ
การเห็นพระเจ้าก็คือชีวิตนิรันดร และการมีส่วนในชีวิตนิรันดร หมายความว่า เรามีส่วน
ในคุณลักษณะของพระเจ้าอีกด้วย เรายังต้องรักษาความแตกต่างระหว่างนิรันดรภาพของพระเจ้ากับ
การมีส่วนในนิรันดรภาพของพระเจ้า นั่นคือ หลังจากความตายมนุษย์ไม่อยู่ในกาลเวลาดังที่เรามี
ประสบการณ์ในโลกนี้ก็จริง แต่การคงอยู่ชั่วนิรันดรนั้นยังแตกต่างกับคุณลักษณะอันเป็นนิรันดรของ

284
อ นั น ต วิ ท ย า
บ ท ที่ ๑๔ ... เทววิทยาเรื่องสวรรค์

พระเจ้าผู้เป็นเจ้าของกาลเวลา พระองค์ทรงมีชีวิตทั้งหมดอยู่ในเวลาเดียวกัน โดยไม่มีความเป็นอยู่


เรื่อยๆ จากเวลาในอดีตไปสู่เวลาในอนาคต แต่ชีวิตนิรันดรของชาวสวรรค์หมายถึงชีวิตที่จะคงอยู่ต่อ
ไปโดยไม่มีสิ้นสุด เพียงแต่อยู่ในกาลเวลาซึ่งไม่เหมือนกาลเวลาในโลกนี้ เราไม่รู้จะเรียกสภาพเช่นนี้
ว่าอะไร จึงใช้คำว่า “คงอยู่ต่อไป” ทั้งๆ ที่เราจะอธิบายสภาพความเป็นอยู่นี้ไม่ได้
การคงอยู่ชั่วนิรันดรอาจสร้างภาพพจน์ผิดๆ ว่าเป็นสิ่งที่น่าเบื่อหน่าย โทมัส มันท์
นักเขียนนวนิยายผู้เรืองนามคนหนึ่งเคยกล่าวว่า “สวรรค์หรือ ขอพระช่วยให้หลีกพ้นเสียเถอะ เพราะ
คงจะน่าเบื่อที่สุดเลย” หรือดังที่ ฮอร์เก บอร์เกส นักเขียนชาวอาร์เจนตินาได้เขียนไว้ว่า “ฉันหวังว่า
สิ่งที่คริสตชนสอนนั้นผิด สิ่งที่ฉันกลัวมากที่สุดก็คือการขู่ของเขาที่จะบังคับให้เรามีชีวิตนิรันดร”
ผู้พูดเช่นนี้ไม่เข้าใจว่าชีวิตนิรันดร หมายถึง ชีวิตอย่างสมบูรณ์ เป็นชีวิตที่เต็มไปด้วย
ความรู้ ความเข้าใจ ความรัก ความพิศวง การสรรเสริญ ความชื่นชมยินดี ความสงบสุข เพราะใน
สวรรค์เราเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ เกี่ยวกับพระเจ้าอยู่เสมอ ซึ่งสติปัญญาของเราไม่สามารถเข้าใจได้อย่าง
ทั่วถึง เราจะมีความสุขจนอิ่มใจและไม่มีทางที่จะเกิดความเบื่อหน่ายเลย
ในสมัยกลางมีเรื่องหนึ่งเล่าว่า ฤษีตนหนึ่งมักจะถามตนเองบ่อยๆ ว่า เป็นไปได้หรือที่
ในสวรรค์เราจะไม่เกิดความรู้สึกเบื่อหน่ายตลอดชั่วนิรันดร วันหนึ่งขณะกำลังครุ่นคิดดังนี้เขาก็ได้เดิน
เข้าไปในป่า พลันหูของเขาก็ได้ยินเสียงอันไพเราะของนก เขาหยุดฟังด้วยความพิศวงในความไพเราะ
นั้น เขาฟังและฟังต่อไปเรื่อยๆ เมื่อเขากลับมาที่อารามของตนปรากฏว่าไม่มีผู้ใดจำเขาได้ เขาบอก
ชื่อของเขา ชื่อของคุณพ่ออธิการ น่าแปลกที่ไม่มีใครรู้จักชื่อที่เขาพูดมาเลย ที่สุด เขาไปค้นดูประวัติ
ของอารามและเข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้น คือตั้งแต่วันที่ออกจากอารามนั้นไป จนถึงวันที่เขากลับมารวมเวลา
ได้ 1,000 ปี ขณะที่เขาตั้งใจฟังเสียงนกร้องนั้น เวลาได้หยุดชะงักลง และนี่แหละสิ่งจะเกิดขึ้นใน
สวรรค์
4.4 ความสัมพันธ์กันของชาวสวรรค์และความสัมพันธ์ของชาวสวรรค์กับโลก
ขณะที่เรามีชีวิตอยู่บนแผ่นดินนี้ ความสัมพันธ์กับพระเจ้าไม่ได้ทำลายความสัมพันธ์ที่
เรามีกับมนุษย์อื่นๆ และกับโลกวัตถุ ตรงข้ามยังส่งเสริมความสัมพันธ์ดังกล่าวนี้ให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น

285
อ นั น ต วิ ท ย า
บ ท ที่ ๑๔ ... เทววิทยาเรื่องสวรรค์

ชีวิตนิรันดรก็จะส่งเสริมและทำให้ความสัมพันธ์ที่เรามีซึ่งกันและกันนี้สมบูรณ์ไป ความสุขของชาว
สวรรค์ไม่อยู่ในการที่ต่างคนต่างอยู่ แต่อยู่ในการเป็นประชากรของพระเจ้า เป็นพระศาสนจักรใน
รูปแบบที่สมบูรณ์ ชีวิตนิรันดร คือ การร่วมเป็นหนึ่งเดียวกับพระคริสตเจ้า เราทุกคนจึงมีประสบ-
การณ์การเป็นพี่น้องกันอย่างแท้จริง ไม่เป็นเพียงอุดมคติอันสูงส่งเท่านั้น
ขอย้ำอีกครั้งว่า ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลต่อบุคคลเช่นนี้ไม่ได้ทำลายเอกลักษณ์ของ
แต่ละคน ตรงข้ามจะส่งเสริมให้เห็นเอกลักษณ์ของแต่ละคนได้ชัดขึ้น ลักษณะสำคัญของบุคลิกภาพ
ก็คือ การติดต่อสื่อสารกัน และเราจะสามารถพัฒนาสมรรถภาพดังกล่าวนี้อย่างสมบูรณ์ เมื่อเรามี
ส่วนในชีวิตของพระตรีเอกภาพ เมื่อเราเข้าอยู่ในความสัมพันธ์กับสามพระบุคคล
ส่วนความสัมพันธ์ของชาวสวรรค์กับโลกวัตถุที่ถูกสร้างใหม่ก็อธิบายยากกว่า แต่จำเป็น
ต้องมีมิฉะนั้นแล้วร่างกายอันรุ่งเรืองของเราจะไม่ได้รับบรรยากาศ เหมาะสมกับธรรมชาติมนุษย์ของ
ตน พระเจ้าไม่เพียงแต่สร้างร่างกายมนุษย์ใหม่ แต่ยังทรงประทานแผ่นดินใหม่ คือ สถานที่ที่มนุษย์
สามารถกระทำการริเริ่มต่าง ๆ ได้
การกระทำของมนุษย์ในสวรรค์ก็เท่ากับว่าเป็นการพักผ่อน และการพักผ่อนจะเป็นการ
กระทำ เพราะจะเป็นการกระทำที่มาจากความรัก มาจากความชื่นชมยินดีที่เรามีอยู่ ที่จะถ่ายทอด
ความร่ำรวยของชีวิตที่เต็มเปี่ยม จึงเรียกร้องการริเริ่มหรือสมรรถภาพที่จะทำให้วัตถุเป็นการแสดงสิ่ง
ที่อยู่ในส่วนลึกของ จิตใจ เราไม่สามารถบอกรายละเอียดมากกว่านี้ แต่ต้องยึดคำสอนของนักบุญ
เปาโลที่ว่า “แต่ตามที่มีเขียนไว้ในพระคัมภีร์ว่า “สิ่งที่ตาไม่เคยเห็น และหูไม่เคยได้ยิน และจิตใจ
ของมนุษย์คิดไม่ถึง คือสิ่งที่พระเจ้าทรงเตรียมไว้สำหรับผู้ที่รักพระองค์” (1 คร 2:9) พูดอีกนัยหนึ่ง
ชีวิตนิรันดรคือพระเจ้าทรงมอบพระองค์เองแก่เรา
4.5 สวรรค์อยู่ที่ไหน
พระคัมภีร์ได้พรรณนาว่าสวรรค์เป็นเหมือนซีกโลกที่เหนือชั้นดวงดาว ซึ่งเป็นที่อยู่ของ
บรรดาทูตสวรรค์และบรรดานักบุญ และเป็นสถานที่ที่พระเจ้าทรงสำแดงพระองค์ในพระสิริรุ่งโรจน์
แก่เขา แต่สวรรค์มิใช่ที่พำนักของพระเจ้า เพราะไม่สามารถบรรจุพระองค์ได้ ตัวอย่างในพระคัมภีร์

286
อ นั น ต วิ ท ย า
บ ท ที่ ๑๔ ... เทววิทยาเรื่องสวรรค์

ที่พูดถึงสวรรค์ในลักษณะที่เป็นสถานที่พำนักของทูตสวรรค์และผู้ชอบธรรม คือ
“ข้ า พเจ้ า เห็ น นครศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ คื อ นครเยรู ซ าเล็ ม ใหม่ ล งมาจากสวรรค์ ลงมาจาก
พระเจ้า เตรียมพร้อมเหมือนกับเจ้าสาวที่แต่งตัวรอเจ้าบ่าว” (วว 21:2) “จงระวังให้ดี อย่าดูหมิ่น
คนธรรมดาๆ เหล่านี้คนใดเลย เราบอกท่านทั้งหลายว่า ตลอดเวลาในสวรรค์ ทูตสวรรค์ของเขาเฝ้า
ชมพระพักตร์พระบิดาของเราผู้สถิตในสวรรค์” (มธ 18:10) “อย่าชื่นชมยินดีที่ปีศาจอ่อนน้อมต่อ
ท่าน แต่จงชืน่ ชมยินดีมากกว่าทีช่ อ่ื ของท่านจารึกไว้ในสวรรค์แล้ว” (ลก 10:20) “ เรารูว้ า่ เมือ่ กระโจม
ที่เราอาศัยอยู่ในโลกนี้ถูกเก็บไปแล้ว เรายังมีบ้านซึ่งพระเจ้าทรงสร้างไว้สำหรับเรา เป็นบ้านที่ไม่ได้
สร้างด้วยมือมนุษย์ แต่เป็นบ้านถาวรนิรนั ดรอยูใ่ นสวรรค์” (2 คร5:1) “เพือ่ เทพนิกรเจ้าและเทพนิกร
อำนาจในสวรรค์ได้รู้ พระปรีชาญาณของพระเจ้าในรูปแบบต่างๆ ณ บัดนี้โดยทางพระศาสนจักร”
(อฟ 3:10) “โดยมีความหวังคอยท่านอยู่ในสวรรค์แล้ว ความหวังนี้ท่านรู้มาก่อนจากการประกาศ
พระวาจาแห่งความจริงคือข่าวดี” (คส 1:5) “แล้วข้าพเจ้าเห็นฟ้าใหม่และแผ่นดินใหม่ เพราะฟ้าและ
แผ่นดินเดิมสูญหายไป ไม่มีทะเลอีกต่อไป” (วว 21:1) “เรากำลังรอคอยฟ้าใหม่และแผ่นดินใหม่ ซึ่ง
เป็นที่อยู่ถาวรของความชอบธรรมตามพระสัญญา” (2 ปต 3:13)
แม้กระนั้น เราไม่ควรคิดว่าสวรรค์เป็นสถานที่เหมือนอย่างในโลกนี้ แน่นอน เวลานี้
และเฉพาะอย่างยิ่งหลังการกลับคืนชีพของร่างกาย ผู้ที่ได้รับความรอดพ้นจะอยู่ในสถานที่ที่ต่างจาก
ผู้พินาศไป แต่ต้องเป็นสถานที่นอกเหนือมิติของโลกเรา เขาจะอยู่ทั่วไปในเวลาเดียวกันก็เป็นไปได้
ร่างกายที่กลับคืนชีพแล้วจะมีสภาวะเหมือนจิต เช่นเดียวกันสถานที่ของผู้ที่ได้รับความรอดพ้นนั้นจะมี
สภาวะเหมือนจิตด้วย ต่างกับมิติของสถานที่และเวลาในโลกเรา เราไม่สามารถบอกได้ว่าสวรรค์อยู่
ที่ไหนนอกจากจะบอกว่าอยู่กับพระคริสตเจ้า เหมือนกับว่าพระองค์ทรงเป็นสถานที่ที่อาศัยสำหรับเรา
ยังคงเป็นประโยชน์ที่จะถามว่าสวรรค์อยู่ที่ไหน เพื่อจะเข้าใจธรรมชาติของสวรรค์บ้าง
ในโลกนี้เราไม่สามารถให้คำตอบใดๆ ข้อความต่างๆ ของพระคัมภีร์และของบรรดาปิตาจารย์ เมื่อ
พูดถึงสวรรค์เขายังใช้ทรรศนะของโลกซึง่ เก่าแก่และปัจจุบนั เราไม่ใช้แล้ว เราได้กา้ วหน้าจากความคิด
ที่ว่าโลกเป็นแผ่นกลมแบนเข้าสู่ความคิดที่ว่าโลกเป็นรูปทรงกลม และจากความคิดที่ว่าดวงอาทิตย์

287
อ นั น ต วิ ท ย า
บ ท ที่ ๑๔ ... เทววิทยาเรื่องสวรรค์

เป็นศูนย์กลางของจักรวาลเข้าสูค่ วามคิดทีว่ า่ ดวงอาทิตย์ และดาวพระเคราะห์เป็นเพียงส่วนเล็กๆ ของ


กาแลกซีหนึ่ง และกาแลกซีนั้นก็เป็นเพียงส่วนน้อยนิดของกาแลกซีทั้งหมด แต่ความรู้ทั้งหมดนี้ไม่ได้
ให้ความสว่างว่าสวรรค์อยู่ที่ไหน และเป็นการไร้ประโยชน์ที่จะคาดคะเนว่าสวรรค์คงอยู่บนดาวดวงใด
ดวงหนึ่ง หรืออยู่ห่างจากโลกเป็นระยะทางเท่าใด เราต้องพอใจในความรู้ดังที่นักบุญออกัสตินได้
แสดงโดยมีความปรารถนาว่า “ขอให้พระเจ้าทรงเป็นสถานที่อยู่ของพวกเราหลังจากชีวิตนี้ (ipse
post hanc vitam sit locus noster)
เมื่อเราอยู่ในพระเจ้าและพระองค์อยู่ในเรา เวลานั้นแหละ เราอยู่ในสวรรค์ พระวรสาร
สหทรรศน์ใช้คำ “สวรรค์” แทนคำ “พระเจ้า” เมื่อเราพูดว่าพระเจ้าอยู่ในสวรรค์นั่นหมายความว่า
พระองค์อยู่ในพระองค์ พระองค์ไม่สามารถอยู่ที่ไหนนอกจากในพระองค์เอง เพราะสถานที่ก็เล็กกว่า
พระองค์ ดังนั้นคำถามที่ว่า สวรรค์อยู่ที่ไหนนำเราให้เข้าถึงธรรมชาติอันแท้จริงว่า สวรรค์เป็นสังคม
ของสิ่งสร้างซึ่งร่วมกับพระเจ้าในการนมัสการ ในความรัก และในความสุขแท้จริง วิญญาณซึ่งมี
พระเจ้าประทับอยู่อย่างลึกซึ้งจนกระทั่งมีชีวิตในพระองค์ ก็คือ สวรรค์นั่นเอง และที่ใดเล่าที่พระเจ้า
ไม่ได้ประทับอยู่ จักรวาลขยายตัวอย่างรวดเร็วด้วยความเร็วของแสง แต่พระเจ้าก็ยังทรงครอบคลุม
จักรวาลนี้ ที่ไหนมีวิญญาณที่เต็มด้วยความรักของพระเจ้าที่นั่นก็คือสวรรค์ ดังนั้น สวรรค์ คือ สภาพ
ของมนุษย์มากกว่าจะคิดว่าเป็นสถานที่

5. สรุป
ในหนังสือพิธีโปรดศีลล้างบาปในศตวรรษแรกๆ ของพระศาสนจักร มีบันทึกคำถามของ
พระสงฆ์ผู้ประกอบพิธีที่ว่า “ท่านขออะไรจากพระศาสนจักร” และผู้รับศีลล้างบาปหรือพ่อแม่ทูลหัว
จะตอบว่า “ความเชื่อ” พระสงฆ์จึงถามต่อไปอีกว่า “และผลแห่งความเชื่อคืออะไร” เขาก็ต้องตอบว่า
“ชีวิตนิรันดร” ดังนั้น ผลแห่งความเชื่อคือชีวิตนิรันดร และสิ่งอื่นๆ ก็เพียงแต่ส่วนประกอบเท่านั้น
เราต้องไม่หยุดที่จะประกาศข่าวดีนี้ การประกาศคำสอนเรื่องสวรรค์เป็นข่าวดีที่นำความชื่นชมยินดี

288
อ นั น ต วิ ท ย า
บ ท ที่ ๑๔ ... เทววิทยาเรื่องสวรรค์

อันเดร โฟร์ชาร์ด นักเขียนชาวฝรั่งเศสได้เขียนไว้ว่า “เป็นเวลา 40 ปี ตั้งแต่วันที่ได้กลับใจ


เป็นคาทอลิกทีข่ า้ พเจ้าชักชวนให้พนี่ อ้ งทีม่ คี วามเชือ่ เดียวกัน โดยเฉพาะอย่างยิง่ พระสงฆ์ นักเทววิทยา
และพระสังฆราชให้ประกาศความจริงพื้นฐานของคำสอนของเราที่ว่า ชีวิตยังมีต่อในนิรันดรภาพ เรา
ต้องประกาศความจริงนี้เพราะเรารู้ว่าไม่มีความหวังอื่นๆ สำหรับมนุษย์นอกจากความหวังที่จะได้
สวรรค์”
และเมื่อเรามีความเชื่อเช่นนี้แล้ว เราอาจจะมีอารมณ์ขันทุกวัน แม้แต่ในวันใกล้จะตาย
ดังที่เราอ่านในประวัติของนักบุญโทมัส มัวร์ ผู้ถูกประหารในประเทศอังกฤษเพราะความซื่อสัตย์ต่อ
ความเชื่อคาทอลิก ก่อนที่จะขึ้นไปยังแท่นประหาร เขาให้เหรียญทอง 1 เหรียญแก่เพชฌฆาต เป็น
รางวัลที่ช่วยพยุงขึ้นไป เขายังสวมกอดเพชฌฆาต ให้กำลังใจและพูดคุยอย่างสนุกสนานจนถึงวาระ
สุดท้าย - ขณะที่เพชฌฆาตกำลังเงื้อดาบฟันคอของเขา เขาก็ยังมีใจสงบและพูดเล่นว่า “ระวังให้ดี
นะ หนวดนี่ก็ดูสวยงามดี อย่าไปตัดโดนเข้าล่ะ เพราะมันเป็นผู้บริสุทธิ์ ไม่ได้ทรยศต่อผู้ใดเลย”

289
อ นั น ต วิ ท ย า
บ ท ที่ ๑๔ ... เทววิทยาเรื่องสวรรค์

290
อ นั น ต วิ ท ย า

You might also like