You are on page 1of 6

ใบความรู้

เรื่อง
ความรู้ เบือ้ งต้ นเกีย่ วกับเซต
1. เซต เป็ นคำที่ใช้บ่งบอกถึงกลุ่มของสิ่ งต่าง ๆ และเมื่อกล่าวถึงกลุ่มใดแล้ว สามารถทราบได้
แน่นอนว่าสิ่ งใดอยูใ่ นกลุ่มและสิ่ งใดไม่อยูใ่ นกลุ่ม เช่น
เซตของสระในภาษาอังกฤษ หมายถึง กลุ่มของอักษร a, e, i, o และ u
เซตของจำนวนนับที่นอ้ ยกว่า 10 หมายถึง กลุ่มของตัวเลข 1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8 และ 9
สิ่ งที่อยูใ่ นเซต เรี ยกว่า สมาชิก (element หรื อ members)
2. การเขียนเซต การเขียนเซตอาจเขียนได้สองแบบ คือ
2.1 การเขียนเซตแบบแจกแจงสมาชิก (Tabular From) โดยเขียนสมาชิกทุกตัวของเซตลงใน
เครื่ องหมายวงเล็บปี กกา และใช้เครื่ องหมายจุลภาค ( , ) คัน่ ระหว่างสมาชิกแต่ละตัว เช่น
เซตของจำนวนนับที่นอ้ ยกว่า 7 เขียนแทนด้วย {1, 2, 3, 4, 5, 6}
เซตของพยัญชนะไทย 5 ตัวแรก เขียนแทนด้วย {ก, ข, ฃ, ค, ฅ}
เซตของจำนวนคู่ต้ งั แต่ 2 ถึง 10 เขียนแทนด้วย {2, 4, 6, 8, 10}
2.2 เขียนเซตแบบบอกเงือ่ นไข (Builder Form) ใช้ตวั แปรเขียนแทนสมาชิกของเซต แล้ว
บรรยายสมบัติของสมาชิกที่อยูใ่ นรู ปของตัวแปร เช่น
{x | x เป็ นสระในภาษาอังกฤษ }
อ่านว่า เซตของ x โดยที่ x เป็ นสระในภาษาอังกฤษ
{x | x เป็ นเดือนแรกและเดือนสุ ดท้ายของปี }
อ่านว่า เซตของ x โดยที่ x เป็ นเดือนแรกและเดือนสุ ดท้ายของปี
เครื่ องหมาย “ | ” แทนคำว่า โดยที่
ในการเขียนเซตแบบแจกแจงสมาชิกนั้นจะใช้จุดสามจุด ( . . . ) เพื่อแสดงว่ามีสมาชิกอื่น ๆ ซึ่ ง
เป็ นที่เข้าใจกันทัว่ ไปว่ามีอะไรบ้างที่อยูใ่ นเซต เช่น
{1, 2, 3, . . ., 10} สัญลักษณ์ . . . แสดงว่ามี 4, 5, 6, 7, 8 และ 9 เป็ นสมาชิกของเซต
{วันจันทร์, อังคาร, พุธ, . . ., อาทิตย์ } สัญลักษณ์ . . . แสดงว่ามีวนั พฤหัสบดี วันศุกร์
และวันเสาร์ เป็ นสมาชิกของเซต

3. สั ญลักษณ์ แทนเซต
ในการเขียนเซตโดยทัว่ ไปจะแทนเซตด้วยอักษรภาษาอังกฤษตัวพิมพ์ใหญ่ เช่น A, B, C และ
แทนสมาชิกของเซตด้วยตัวพิมพ์เล็ก เช่น a, b, c เช่น
A = {1, 4, 9, 16, 25, 36} หมายถึง A เป็ นเซตของกำลังสองของจำนวนนับหกจำนวนแรก
4. สมาชิกของเซต
จะใช้สญั ลักษณ์ “  ” แทนคำว่าเป็ นสมาชิกหรื ออยูใ่ น เช่น
A = {1, 2, 3, 4}
จะได้วา่ 1 เป็ นสมาชิกของ A หรื ออยูใ่ น A เขียนแทนด้วย 1  A
3 เป็ นสมาชิกของ A หรื ออยูใ่ น A เขียนแทนด้วย 3  A
คำว่า “ไม่เป็ นสมาชิกของ” หรื อ “ไม่อยูใ่ น” เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ “  ” เช่น
5 ไม่เป็ นสมาชิกของ A หรื อไม่อยูใ่ น A เขียนแทนด้วย 5  A
7 ไม่เป็ นสมาชิกของ A หรื อไม่อยูใ่ น A เขียนแทนด้วย 7  A
สำหรับเซต A ซึ่ งมีสมาชิก 4 ตัว เราจะใช้ n(A) เพื่อบอกจำนวนสมาชิกของเซต A นัน่ คือ
n(A) = 4
ตัวอย่ างที่ 1จงเขียนเซตต่อไปนี้แบบแจกแจงสมาชิก
1. เซตของจังหวัดในประเทศไทยที่ลงท้ายด้วยบุรี
2. เซตของจำนวนเต็มลบ
3. เซตของพยัญชนะในภาษาไทย
วิธีทำ 1) ให้ A เป็ นเซตของจังหวัดในประเทศไทยที่ลงท้ายด้วยบุรี
 A = {สุ พรรณบุรี, ปราจีนบุรี, สิ งห์บุรี, ลพบุรี}
2) ให้ B เป็ นเซตของจำนวนเต็มลบ
 B = {-1, -2, -3, . . .}
3) ให้ C เป็ นเซตของพยัญชนะในภาษาไทย
 C = {ก, ข, ค, . . ., ฮ}

จงเขียนเซตต่อไปนี้แบบบอกเงื่อนไขของสมาชิก
ตัวอย่ างที่ 2
1. A = {2, 4, 6, 8, 10}
2. B = {1, 3, 5, 7}
วิธีทำ 1) A = {x | x เป็ นจำนวนคู่บวกที่นอ้ ยกว่า 12}
2) B = {x | x เป็ นจำนวนคี่บวกที่นอ้ ยกว่า 9}

1. เซตว่าง เซตจำกัด และเซตอนันต์

1.1 เซตว่าง (Empty set หรือ Null set)

บทนิยาม เซตว่าง คือ เซตที่ไม่มีสมาชิก สัญลักษณ์ที่ใช้แทนเซตว่าง


คือ { } หรื อ  (สัญลักษณ์  เป็ นอักษรกรี ก อ่านว่า ไฟ (phi))

ตัวอย่างของเซตว่าง ได้แก่
A = {x | x2 < 0}
B = {x | 2x2 + 3 = x – 3}
C = {x | x เป็ นจังหวัดในประเทศไทยที่ข้ ึนต้นด้วย “ ข ”}

1.2 เซตจำกัด (Finite set)

บทนิยาม เซตจำกัด คือ เซตซึ่ งมีจำนวนสมาชิกเป็ นจำนวนเต็มบวกหรื อศูนย์

ตัวอย่างเซตจำกัด ได้แก่
A = {0, 2, 4, . . . , 10} , n(A) = 11
B = {x  I+ | x < 5} , n(B) = 4
C = {x | x เป็ นพยัญชนะในคำว่า “ เซตว่าง ”} , n(C) = 4
1.3 เซตอนันต์ (Infinite set)

บทนิยาม เซตอนันต์ คือ เซตซึ่ งไม่ใช่เซตจำกัด

ตัวอย่างของเซตอนันต์ ได้แก่
A = {x | x เป็ นจำนวนเต็มบวก และ x  7}
B = {x | x เป็ นจำนวนเฉพาะที่มากกว่า 5}
C = {3, 7, 11, 15, . . .}
ข้ อตกลงที่เกีย่ วกับเซต
1) เซตว่างเป็ นเซตจำกัด
2) การเขียนเซตแบบแจกแจงสมาชิกนิยมเขียนสมาชิกแต่ละตัวเพียงครั้งเดียวเท่านั้น
เช่น เซตของเลขโดดที่อยูใ่ นจำนวน 232 คือ {2, 3}
3) เซตของจำนวนที่มกั จะกล่าวถึงเสมอและใช้กนั ทัว่ ๆ ไป มีดงั นี้
I เป็ นเซตของจำนวนเต็ม หรื อ I = {. . . , -2, -1, 0, 1, 2, . . .}
I+ เป็ นเซตของจำนวนเต็มบวก หรื อ I+ = {1, 2, 3, . . .}
I- เป็ นเซตของจำนวนเต็มลบ หรื อ I- = {-1, -2, -3, . . .}
N เป็ นเซตของจำนวนนับ หรื อ N = {1, 2, 3, . . .}
P เป็ นเซตของจำนวนเฉพาะ หรื อ P = {2, 3, 5, 7, . . .}

เซตที่เท่ ากัน (equal sets or identical sets)

บทนิยาม เซต A เท่ากับเซต B หมายถึง สมาชิกทุกตัวของเซต A เป็ นสมาชิก


ของเซต B และสมาชิกทุกตัวของเซต B เป็ นสมาชิกของเซต A
เซต A เท่ากับเซต B เขียนแทนด้วย A = B
จากบทนิยาม เซต A เท่ากับเซต B หมายความว่า เซต A และเซต B มีสมาชิกเหมือนกันทุกตัว
และเซต A ไม่เท่ากับเซต B หมายความว่า มีสมาชิกอย่างน้อยหนึ่งตัวของเซต A ที่ไม่ใช่สมาชิกของเซต
B หรื อมีสมาชิกอย่างน้อยหนึ่งตัวของเซต B ที่ไม่ใช้สมาชิกของเซต A เขียนแทนด้วย A  B
ตัวอย่ างที่ 1 กำหนด A = {2, 3} , B = {x | x2 – 5x + 6 = 0}
จงแสดงว่า เซต A เท่ากับเซต B
วิธีทำ ∵ A = {2, 3}
B = {x | x2 – 5x + 6 = 0}
 x2 – 5x + 6 = 0
(x – 2)(x – 3) = 0
x = 2 หรื อ x = 3
 B = {2, 3}
ดังนั้น A = B
ตัวอย่ างที่ 2 กำหนด A = {1, 1, 2, 4, 5, 6} , B = {2, 1, 2, 4, 5, 6} ,
C = {1, 2, 4, 5, 5, 6, 7, 6} จงหาว่ามีเซตใดบ้างที่เท่ากัน
วิธีทำ A = {1, 1, 2, 4, 5, 6} , B = {2, 1, 2, 4, 5, 6}
จะได้ A = B เพราะว่ามีสมาชิกเหมือนกันทุกตัว

เอกภพสั มพัทธ์ (Relative Universe)

ในการเขียนเซตแบบบอกเงื่อนไขของสมาชิก จะต้องกำหนดเซตขึ้นมาหนึ่งเซตเรี ยกว่า เอกภพ


สั มพัทธ์ เขียนแทนด้วย U โดยมีขอ้ ตกลงว่า เมื่อกล่าวถึงสมาชิกของเซตใด ๆ จะไม่กล่าวถึงสิ่ งอื่นที่นอก
เหนือจากสมาชิกในเอกภพสัมพัทธ์

ตัวอย่ างที่ 1 กำหนด U = {x | x เป็ นพยัญชนะในภาษาไทย} และ


A = {x | x เป็ นพยัญชนะในภาษาไทย 3 ตัวแรก}
จงเขียนเซต A แบบแจกแจงสมาชิก
วิธีทำ U = {ก, ข, ค, . . ., ฮ}
 A = {ก, ข, ค}
ตัวอย่ างที่ 2 กำหนด U = {1, 2, 3, . . . } และ B = {x | x เป็ นจำนวนนับที่นอ้ ยกว่า 5}
จงเขียนเซต B แบบแจกแจงสมาชิก
วิธีทำ ∵ U = {1, 2, 3, . . . }
 B = {1, 2, 3, 4}
แผนภาพเวนน์ -ออยเลอร์ (Venn-Euler Diagram)
แผนภาพของเวนน์-ออยเลอร์ เป็ นแผนภาพที่ใช้แสดงความเกี่ยวข้องของเซต เพื่อช่วยในการคิด
คำนวณหรื อแก้ปัญหา ซึ่ งตัวชื่อแผนภาพตามชื่อของนักคณิ ตศาสตร์คือ เวนน์และออยเลอร์ การเขียนแผน
ภาพเวนน์-ออยเลอร์ มีวิธีการเขียนดังนี้
ให้ เอกภพสัมพทธ์ U แทนด้วยรู ปสี่ เหลี่ยมผืนผ้าหรื อรู ปปิ ดใด ๆ
เซต A, B, C, . . . ซึ่ งเป็ นสับเซตของ U แทนด้วยวงกลม วงรี หรื อรู ปปิ ดอื่น ๆ โดยให้เซต
A, B, C, . . . อยูใ่ น U ดังตัวอย่าง

ตัวอย่ างที่ 3 กำหนด U = {1, 2, 3, . . .} , A = {1, 2, 3, 4, 5} และ B = {2, 4, 6, 8}


จงเขียนแผนภาพของเวนน์-ออยเลอร์แทนเซต
วิธีทำ ∵ เซต A และเซต B มีสมาชิกร่ วมกันคือ 2 และ 4 ซึ่ งสามารถเขียนแผนภาพ
แทนเซต A และ B ได้ดงั นี้

U
A 1 6
3 2
5 4 8 B

กำหนด U = {a, b, c, . . . , z} , A = {a, b, c, d} , B = {e, f, g}


ตัวอย่ างที่ 4
และ C = {h, i, j, k} จงเขียนแผนภาพเวนน์-ออยเลอร์
วิธีทำ เขียนแผนภาพเวนน์-ออยเลอร์ แทน A, B และ C ได้ดงั นี้

A a b U
c d B
e f C
g h i
j k
ตัวอย่ างที่ 5 กำหนด U = {x | x เป็ นจำนวนนับที่นอ้ ยกว่า 20}
A = {x | x เป็ นจำนวนนับที่นอ้ ยกว่า 10}
B = {x | x เป็ นจำนวนคี่บวกที่นอ้ ยกว่า 7}
จงเขียนแผนภาพเวนน์-ออยเลอร์
วิธีทำ U = {x | x เป็ นจำนวนนับที่นอ้ ยกว่า 20}
 U = {1, 2, 3, . . . , 19}
A = {x | x เป็ นจำนวนนับที่นอ้ ยกว่า 10}
 A = {1, 2, 3, . . . , 9}
B = {x | x เป็ นจำนวนคี่บวกที่นอ้ ยกว่า 7}
 B = {1, 3, 5}
เขียนแผนภาพแทน A และ B ได้ดงั นี้
U
A 2 4 6
7 1 3 B
8 5 9

You might also like