You are on page 1of 36

http://www.nidambe11.net/ekonomiz/2007q3/2007july16p4.

htm

ทางสองแพร่ง "เรตติ้ง" โทรทัศน์ไทย ผลประโยชน์เพื่อ "เด็ก" หรือ "กลุ่มทุน"

โดย สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล มติชนรายวัน วันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 ปีที่ 30 ฉบับ
ที่ 10719

นับว่า "การจัดระดับความเหมาะสมของสื่อโทรทัศน์" หรือที่เรียกกันว่า "การจัดเรตติ้ง" กลายเป็นประเด็นร้อนที่สุดของคนบันเทิงในเวลา


นี้

เนื่องจากคณะรัฐมนตรี มีมติเห็นชอบให้มีการจัดระดับความเหมาะสมของสื่อโทรทัศน์ เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2550 โดยกำาหนดให้กรม


ประชาสัมพันธ์จัดทำาระบบการจำาแนกเนื้อหาตามช่วงอายุของรายการโทรทัศน์ การกำาหนดช่วงเวลาออกอากาศ การจัดทำากฎหมาย
และนโยบายรองรับ พร้อมกันนี้ยังกำาหนดให้กระทรวงวัฒนธรรม จัดตั้งคณะกรรมการร่วมระหว่างกระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงการ
พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงศึกษาธิการ และตัวแทนภาคประชาชน เพื่อเป็นกลไกสร้างการมีส่วนร่วมของภาค
ประชาชนในการติดตาม เฝ้าระวัง รวมถึงการสะท้อนความเห็นของรายการโทรทัศน์

มาตรการ "จัดเรตติ้งสื่อโทรทัศน์" จึงถือเป็นแรงกระเพื่อมครั้งใหญ่ในวงการธุรกิจบันเทิงไทย โดยเฉพาะรายการละคร ที่ได้รับผลกระทบ


โดยตรง

เนื่องจากเนื้อหาของละครโทรทัศน์ส่วนใหญ่จัดอยู่ในรายการประเภท น (รายการที่ผใู้ หญ่ควรให้คำาแนะนำาเด็กอายุระหว่าง 13-18 ปีใน


การรับชม) และ ฉ (รายการเฉพาะสำาหรับผู้ใหญ่) ที่ต้องถูกจำากัดช่วงเวลาออกอากาศ โดยกำาหนดให้รายการประเภท น สามารถออก
อากาศได้ในช่วงเวลา 09.00-16.00 น. และ 20.00-05.00 น. ส่วนรายการประเภท ฉ สามารถออกอากาศได้หลังจากเวลา 22.00 น.
เป็นต้นไป

นั่นคือ ในช่วงเวลาตั้งแต่ 16.00-20.00 น. ห้ามปรากฏรายการประเภท น และ ฉ บนหน้าจอโทรทัศน์ จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่กลุ่มธุรกิจ


บันเทิง โดยเฉพาะกลุ่มผู้ผลิตละครไทย ถึงต้องออกมาเพื่อปกป้องสิทธิประโยชน์ในการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้

หากดูจากตัวเลขโฆษณาในช่วงรายการละคร เริ่มจากรายการช่อง 7 ช่วงเวลาละครก่อนข่าว หรือ 18.45-19.40 น. พบว่ามีอัตราค่า


โฆษณาในราคานาทีละ 3 แสนบาท ซึ่งละครก่อนข่าวจะใช้เวลาออกอากาศ 1 ชั่วโมง ช่วงเวลาดังกล่าวจึงใช้เวลาโฆษณาประมาณ 15
นาที ทำาให้มีรายได้จากการโฆษณาเป็นเงิน 4.5 ล้านบาท/วัน หรือคิดเป็น 135 ล้านบาท/เดือน

ขณะที่รายการละครหลังข่าว ระหว่าง 20.25-22.25 น. ราคาค่าโฆษณาคิดเป็นนาทีละ 4.5 แสนบาท ซึ่งในช่วงละครหลังข่าวจะใช้เวลา


เผยแพร่ 2 ชัว่ โมง โดยมีช่วงเวลาโฆษณาประมาณ 30 นาที ทำาให้มีรายได้จากการโฆษณา 13.5 ล้านบาท/วัน หรือคิดเป็น 405 ล้าน
บาท/เดือน

หากรวมรายได้จากการโฆษณาในช่วงละครโทรทัศน์ก่อนข่าวและหลังข่าว ของสถานีโทรทัศน์ช่อง 7 จะมีรายได้เดือนละไม่ตำ่ากว่า 540


ล้านบาท

สำาหรับรายการละครโทรทัศน์ทางไทยทีวีสีช่อง 3 ในช่วงเวลาก่อนข่าว หรือ 19.00-20.00 น. พบว่ามีอัตราค่าโฆษณานาทีละ 2.9 แสน


บาท โดยละครก่อนข่าวจะใช้เวลาเผยแพร่ 1 ชัว่ โมง จะใช้เวลาโฆษณาประมาณ 15 นาที ทำาให้มีรายได้จากการโฆษณา 4.3 ล้านบาท/
วัน หรือคิดเป็น 130.5 ล้านบาท/เดือน

ขณะที่รายการละครหลังข่าว ระหว่าง 20.30-22.30 น. ราคาค่าโฆษณาคิดเป็นนาทีละ 4.2 แสนบาท ซึ่งในช่วงละครหลังข่าวจะใช้เวลา


เผยแพร่ 2 ชัว่ โมง จะใช้เวลาโฆษณาประมาณ 30 นาที ทำาให้มีรายได้จากการโฆษณาในช่วงดังกล่าว 12.6 ล้านบาท/วัน หรือคิดเป็น
378 ล้านบาท/เดือน

เมื่อรวมรายได้จากการโฆษณาในช่วงละครโทรทัศน์ก่อนข่าวและหลังข่าว สถานีโทรทัศน์ช่อง 7 จะมีรายได้เดือนละไม่ตำ่ากว่า 508.5


ล้านบาท

และหากรวมรายได้จากการโฆษณาในช่วงละครโทรทัศน์ เฉพาะสถานีโทรทัศน์ช่อง 3 และ 7 จะพบว่ามีรายได้จากการโฆษณา ไม่ตำ่า


กว่า 1,048.5 ล้านบาท ซึ่งถือเป็นมูลค่ามหาศาลที่ภาคธุรกิจต้องออกมาขับเคลื่อนในเวลานี้

อย่างไรก็ตาม เจตนารมณ์ของการจัดเรตติ้งรายการโทรทัศน์สาธารณะ ก็เพื่อคุ้มครองการรับชมรายการโทรทัศน์ ของเด็กและเยาวชน


อีกช่องทางหนึ่ง โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่เด็กและเยาวชนรับชมรายการมากที่สุด คือ ในช่วงเวลาระหว่าง 16.00-20.00 น. เพื่อให้เป็น 4
ชั่วโมง ของรายการสาระที่เหมาะสมแก่พัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชน

จากผลการศึกษาเรื่อง "สื่อโทรทัศน์กับการรับรู้ของเด็ก" สถาบันราชานุกูล พบว่าผลจากการชมรายการโทรทัศน์ของเด็ก อายุระหว่าง 0-


3 ปี โทรทัศน์จะดึงให้เด็กจ้องมองที่หน้าจอที่มีแสงสว่าง มีการเคลื่อนไหวภาพที่รวดเร็ว เด็กไม่มีโอกาสเรียนรู้แบบโต้ตอบกับสิ่งที่รับเข้า
มา

อายุระหว่าง 3-5 ปี เด็กเริ่มพัฒนาการเรียนรู้จากการเล่นแบบสมมุติ ชอบการทดลอง เลียนแบบระบบคิดยังไม่สามารถแยก ระหว่าง


ความจริงกับจินตนาการ การรับรู้ผ่านสื่อจะรับรู้ข้อมูลแบบซึมซับว่าเป็นจริง เลียนแบบพฤติกรรมที่เห็นไม่สามารถตัดสินใจแยกแยะได้
ด้วยตัวเองถึงอันตรายที่จะตามมา

เด็กอายุระหว่าง 6-12 ปี ยังเป็นช่วงที่เด็กมีการเลียนแบบสูง เนื่องจากระบบคิดยังอยู่ในช่วงการพัฒนาความเป็นเหตุเป็นผล จึงมีแนว


โน้มสูงที่จะทดลองด้วยการเลียนแบบพฤติกรรม โดยไม่เข้าใจความหมายของพฤติกรรมนั้น และยังสร้างค่านิยมต่อพฤติกรรมที่รับรู้ผ่าน
สื่อว่าเป็นค่านิยมที่ยอมรับทางสังคม

และเด็กอายุระหว่าง 13-18 ปี ซึ่งเป็นวัยที่มีการพัฒนาระบบคิด ต้องการการยอมรับและเลือกรับสิ่งที่เป็นตามกระแสหลักได้ง่าย เป็น


วัยที่มีการแสวงหาต้นแบบในอุดมคติ เช่น นักร้อง นักดนตรี หรือดาราในดวงใจ จะมีอิทธิพลมากต่อความคิดและพฤติกรรมของวัยรุ่น
รวมทั้งต้องการแสดงพฤติกรรมเลียนแบบผู้ใหญ่

หากเด็กมีการรับชมโทรทัศน์มากเกินไป โดยพบความถี่ในการเห็นภาพที่แสดงความรุนแรงพฤติกรรมทางเพศแบบผู้ใหญ่ การใช้ภาษา


และพฤติกกรรมที่ไม่เหมาะสม ส่งผลให้เด็กจะดูโทรทัศน์อย่างไม่มีที่สิ้นสุด อ่านหนังสือหรือทำากิจวัตรอื่นๆ น้อยลง และไม่คัดเลือก
รายการที่เหมาะสม โดยพฤติกรรมที่เกิดขึ้นในเด็กเล็กในการรับชมรายการที่เหมาะสม คือ เกิดความหวาดหวั่น ตกใจกลัวและในเด็กโต
นอกจากความตกใจแล้ว เด็กจะเริ่มคุ้มชินกับภาพที่ได้รับ มีความคิดอยากเลียนแบบพฤติกรรม เกิดค่านิยมและสร้างพฤติกรรมของ
ตนเอง

ผลสะท้อนจากการรับชมรายการที่มีเนื้อหาไม่เหมาะสมสำาหรับเด็ก ผ่านพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง จะมีส่วนกระตุ้นให้เกิดความเคยชิน


ขาดความรู้สึกเห็นอกเห็นใจผู้ที่ถูกกระทำา ขณะที่พฤติกรรมทางเพศผ่านสื่อโทรทัศน์ จะทำาให้การเข้าสู่พฤติกรรมทางเพศของเด็กเร็วขึ้น

โดยเฉพาะกับเพื่อนวัยเดียวเกิดความเข้าใจผิดในเรื่องเพศสัมพันธ์ มีการใช้ความรุนแรงทางเพศโดยไม่รับรูผ้ ลที่ตามมา และไม่รสู้ ึกต่อผู้


ถูกกระทำา

การจัดเรตติ้งจึงเป็นเครื่องมืออีกรูปแบบหนึ่งในการปกป้องการรับรู้ข้อมูลของเด็กและเยาวชน ซึ่งกว่า 30 ประเทศทั่วโลก ได้ใช้กันเป็น


เวลานาน
แม้แต่ประเทศที่ได้ชื่อว่าเป็นเสรีทางประชาธิปไตยอย่างสหรัฐอเมริกา ยังมีการจัดเรตติ้งรายการโทรทัศน์ที่ไม่เหมาะกับเด็ก อายุตำ่ากว่า
14 ปี หรือที่เรียกว่า รายการประเภท TV-14 สามารถออกอากาศได้หลัง 21.00 น.

เช่นเดียวกับประเทศอังกฤษ ทีม่ ีการจัดตั้งหน่วยงานเฉพาะเพื่อกำาหนดเวลามาตรฐานของรายการโทรทัศน์ที่ไม่เหมาะสม กับเด็กและ


เยาวชน ให้ออกอากาศได้หลัง 21.00 น. เท่านั้น

ถึงเวลาที่วันนี้ประเทศไทยต้องเลือก ระหว่าง "การปกป้องเด็ก" หรือ "ผลประโยชน์ทางธุรกิจ"

หน้า 7

--

‫ اَلنِّسآء‬... Annisaa forum -:: Basic to Muslimah ::-


ข่าวสาร computer วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี => วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีกับอิสลาม => ข้อความท่ีเริม
่ โดย: ‫ أم حمزة‬ท่ี พฤษภาคม 11,
2008, 07:33:46 PM

หัวข้อ: เรื่องของ โท-ระ-ทัด


เริ่มหัวข้อโดย: ‫ أم حمزة‬ที่ พฤษภาคม 11, 2008, 07:33:46 PM
วันนี้คุณดึงลูกออกจากหน้าจอทีวีหรือยัง?
เรื่อง : โยธิน อยู่จงด

นี่คือคำาถามใหม่ที่พ่อแม่ทั่วฟ้าเมืองไทยควรจะหันมา “ฮิต” ถามกัน แทนถามลูกว่า “วันนี้ดื่มนมหรือยัง?” เพราะแม้ว่าการชมโทรทัศน์ที่ช่วยให้เรา


รับรู้ข่าวสารและเรื่องราวต่างๆ ทีเ่ ป็นกระแสนิยมในสังคม อาจเป็นเรื่องดีสำาหรับผู้ใหญ่ แต่เชื่อหรือไม่?... สำาหรับเด็กๆ เนื้อหาบนหน้าจอโทรทัศน์
ทุกวันนี้ ไม่มีเรื่องซึ่งจำาเป็นสำาหรับพวกเขาเลยแม้แต่น้อย ซำ้ายังเป็นการทำาร้ายเด็กทางอ้อมอีกด้วย เมื่องานวิจัยหลายๆ ชิ้น ระบุออกมาแล้วว่า เด็กไม่
ควรดูโทรทัศน์ เพราะขัดขวางพัฒนาการในวัยที่ควรได้รับ
ปัญหาทีวีแรงกว่าที่คิด

เชื่อหรือไม่ว่าแค่เพียงเด็กติดการชมรายการโทรทัศน์ก็ทำาให้บุคลิกภาพของเด็กๆ เสียได้ เมื่อไม่นานมานี้มีผลการวิจัยเรื่องเด็กที่ชอบดูรายการ


โทรทัศน์เป็นเวลานานๆ จากประเทศเยอรมนี ซึ่งใช้เวลาในการวิจัยนานถึง 9 ปี ว่า เด็กๆ ทีด่ ูโทรทัศน์และเล่นคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ มักจะมี
ปัญหาด้านการควบคุมท่าทางร่างกาย ระบบประสาทถูกรบกวน เพราะไม่ได้รับการฝึกฝนให้ใช้งานอย่างที่ควรจะเป็น
ซาร์บรุคเคน-นักวิจัยเยอรมัน เตือน เด็กที่ดูโทรทัศน์และเล่นคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน เสี่ยงประสบปัญหาด้านการควบคุมท่าทางร่างกาย ระบบ
ประสาทถูกรบกวนเพราะไม่ได้รับการฝึกฝนใช้งานอย่างที่ควรจะเป็น

ผลวิจัยดังกล่าวเป็นผลวิจัยจากโครงการ “คิด เช็ค” โดยคณะแพทย์และนักวิทยาศาสตร์ได้ทำาการศึกษาวิจัยเด็กและเยาวชน ในเด็กหญิงและชาย


จำานวน 1,600 คน ที่มีอายุระหว่าง 7-16 ปี โดยกลุ่มตัวอย่างจะต้องยืนนิ่งๆ เป็นเวลา 1 นาที ช่วงแรกให้ลืมตา จากนั้นจึงให้หลับตา โดย
ทีมวิจัยจะคำานวณและสังเกตร่างกาย ลักษณะท่าทางของพวกเขา รวมถึงปัญหาบริเวณหลัง เช่น ความผิดปกติของกระดูกสันหลัง ไหล่ตก และขา
โก่ง พบว่า 40% ของกลุ่มตัวอย่าง ไม่สามารถยืดตัวตรงได้ในขณะที่ยืน โดยพวกเขามีศีรษะเอนไปข้างหน้า ไหล่ตก ศูนย์กลางของร่างกายเอนไป
ข้างหน้าหรือไม่ก็ข้างหลัง และจะยิ่งเด่นชัดมากขึ้นในกลุ่มตัวอย่างที่ใช้เวลาในการชมรายการโทรทัศน์เป็นเวลานานๆ คล้ายกับผลการวิจัยของ โร
เบิร์ต แฮนค็อก นักวิทยาศาสตร์นิวซีแลนด์ถึงปัญหาด้านร่างกาย จากมหาวิทยาลัยโอตาโก ซึ่งตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์ “แลนเซต” ระบุว่า ผู้ที่มี
พฤติกรรมใน “วัยเด็ก” ชอบดูโทรทัศน์ ใช้เวลาอยู่หน้าจอโทรทัศน์เป็นเวลาหลายชั่วโมง จะเป็นผู้ที่มีความเสี่ยงสูงในการเป็นโรคอ้วน รวมถึงปัญหาสุข
ภาพอื่นๆ โดยผลงานวิจัยดังกล่าวได้สุ่มตัวอย่างเด็กๆ ซึ่งเกิดในเมืองดูนดิน ช่วงปี 2515–2516 จำานวน 1,000 คน และเก็บข้อมูลมา
อย่างต่อเนื่อง พบว่าผู้ที่ดูโทรทัศน์เกินกว่า 2 ชัว่ โมงในช่วงวัยเด็กจนถึงอายุ 26 ปี พบว่ามีปริมาณดัชนีมวลร่างกาย หรือ “บีเอ็มไอ” รวมถึงระดับ
คอเลสเตอรอลสูงกว่าปกติ

ผลการศึกษาของ พญ.สุดา เย็นบำารุง กุมารแพทย์และอนุกรรมการโครงการพัฒนาคลินิกสุขภาพเด็กดี ที่ออกมาระบุว่า ปัญหาเด็กติดทีวี เป็น 1 ใน


10 ปัญหาเด็กและวัยรุ่น ซึ่งวัยเด็กถือว่าเป็นช่วงเวลาที่สำาคัญของการพัฒนาการในทุกๆ ด้านของชีวิต เด็กต้องการความรักความสัมพันธ์ใกล้ชิด
กับพ่อแม่ ต้องการคนที่จะเป็นแบบอย่างในการถ่ายทอดภาษา แนวคิด การกระทำา ต้องการการเรียนรู้ผ่านการสัมผัสของจริง โดยเฉพาะกิจกรรมและ
คนที่จะคอยช่วยกระตุน้ จินตนาการและความคิดสร้างสรรค์

หากพ่อแม่ปล่อยให้ลูกนั่งอยู่หน้าจอโทรทัศน์ติดต่อกันเป็นเวลานานๆ โอกาสที่ลูกจะได้ฝึกการเคลื่อนไหวร่างกาย พูดคุยโต้ตอบ มีปฏิสัมพันธ์กับคน


อื่นก็จะน้อย เพราะโทรทัศน์เป็นการสื่อสารทางเดียว ส่งผลการสื่อสารของลูก เช่น พูดช้า การเลียนแบบพฤติกรรมทีไ่ ม่เหมาะสม สิง่ ที่เด็กๆ ต้องการก็
คือ สิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้และการทำางานของสมอง ซึ่งสิ่งแวดล้อมที่ดีที่สุดคือ พ่อแม่นั่นเอง เพราะระหว่างที่พ่อแม่กอด พูดคุย หยอกล้อ หรือ
ทำากิจกรรมต่างๆ ไปพร้อมๆ กับลูก ประสาทสัมผัสของลูกถูกกระตุ้นให้ทำางาน ถ้าไม่มีการใช้งานเซลล์สมองเหล่านั้นก็จะหมดสภาพและลีบฝ่อไปใน
ที่สุด
เรตติ้งรายการโทรทัศน์กับเด็กไทย

หากเราแก้ปัญหาที่ต้นเหตุด้วยการจำากัดการชมรายการโทรทัศน์กับเด็ก ก็ช่วยแก้ปัญหาที่ต้นลมได้ในระดับหนึ่ง อย่างไรก็ตาม ยังมีเชื้อไฟซึ่งคุกรุ่นอยู่


ที่ต้องรอการแก้ไขจากภาครัฐ ซึ่งแนวทางในการแก้ไขที่ปลายเหตุ อย่างการจัดเรตติ้งรายการโทรทัศน์เหมือนหลายๆ ประเทศที่พัฒนาแล้วทำากัน
จนถึงทุกวันนี้การจัดเรตติ้งรายการโทรทัศน์ไม่ใช่เรื่องใหม่สำาหรับคนไทยอีกต่อไป แต่เรตติ้งรายการโทรทัศน์จำาเป็นต้องจัดการวางระเบียบเนื้อหาของ
รายการโทรทัศน์ให้ละเอียดและตรงจุดมากขึ้นในอนาคต

พรรณพิมล หล่อตระกูล จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น ระบุวา่ เรื่องการจัดเรตติ้งรายการโทรทัศน์ยังคงเป็นปัญหาที่เราต้องเรียกหลายๆ ฝ่ายเข้ามาจัดการ


ปัญหาตรงนี้ โดยเฉพาะผู้ผลิตรายการโทรทัศน์ต้องให้ความร่วมมือในการผลิตเนื้อหาสาระ “ปัจจุบันรายการโทรทัศน์สำาหรับเด็กนั้นจะแบ่งออกเป็น
3 ประเภท ก็คือ รายการสำาหรับเด็กอายุ 3-5 ขวบ แต่ปกติแล้วเราไม่ควรปล่อยให้เด็กได้ชมรายการโทรทัศน์นานกว่าครึ่งชั่วโมงในเด็กอายุไม่เกิน
3-5 ขวบ หากปล่อยให้ชมนานกว่านี้ แทบจะเรียกได้ว่าไม่มีประโยชน์อะไรเลยสำาหรับเด็กๆ เพราะเด็กในช่วงวัยนี้ต้องการทักษะกระบวนการคิด
การฝึกฝนทางด้านร่างกาย ประสาทสัมผัส และการปรับตัวเข้ากับคนอื่นๆ ในสังคม การปล่อยให้เด็กได้ดูโทรทัศน์ เป็นการบั่นทอนเวลาที่จะช่วยเสริม
พัฒนาการ และทีส่ ำาคัญก็คือ รายการสำาหรับเด็ก 3-5 ขวบนั้นแทบไม่มีเลย
รายการสำาหรับเด็กอายุไม่เกิน 13 (น.13) และรายการสำาหรับเยาวชนอายุไม่เกิน 18 ปี (น.18) ที่ผู้ปกครองควรให้คำาแนะนำา ซึ่ง
ปัจจุบันมีอยู่น้อยมาก ส่วนใหญ่มักจะเป็นรายการโทรทัศน์ประเภททั่วไป (ท.) ทีเ่ ด็กๆ จะดูร่วมกับผู้ใหญ่มากกว่า แต่เรื่องเนื้อหานั้นจำาเป็นต้องมี
การจัดเรตติ้งกันอีกครั้ง เพราะตอนนี้ต้องมีการปรับตัวของผู้ผลิตรายการโทรทัศน์ ที่มีเรื่องเวลาออกอากาศทำาให้รายได้ของเขาหดหายไป ซึ่งก็ทำาให้
เขาอยู่ไม่ได้ตรงนี้ รวมทั้งเนื้อหาที่คาบเกี่ยวไม่รู้จะไปจัดอยู่ในกลุ่มไหน ซึ่งเราอาจจะมีการจัดประเภทของเรตติ้งกันอีกครั้งเพื่อให้เนื้อหานั้นชัดเจน
มากยิ่งขึ้น” พรรณพิมล ให้คำาแนะนำาในฐานะผู้ร่วมศึกษาและวิจัยการจัดเรตติ้งรายการโทรทัศน์

แก้ปัญหาเด็กติดทีวี

แม้ว่าเด็กติดทีวีจะร้ายแรงพอๆ กับเด็กติดเกม แต่ยังนับว่าโชคดีกว่าที่ปัญหาเด็กติดทีวีนั้น สามารถแก้ไขได้ด้วยการทำากิจกรรมร่วมกันในครอบครัว


เพื่อดึงเด็กออกจากรายการโทรทัศน์
อิทธิพล ปรีติประสงค์ ผูเ้ ชี่ยวชาญเรื่องปัญหาเด็กและวัยรุ่น สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล เปรียบเทียบ
ระหว่างเด็กติดทีวีกับเด็กติดเกมว่าเหมือนกับเด็กที่กินขนมหวานกับเด็กกินยาพิษ

ทุกวันนี้ประเทศไทยประมาณ 17 ล้านครัวเรือน มีทวี ีอย่างน้อยหลังละ 1 เครื่อง และทุกคนในบ้านชมรายการโทรทัศน์ดว้ ยกันหมด แต่เด็กติดเกม


นั้น เครื่องคอมพิวเตอร์ไม่ได้มีกันทุกบ้าน
เด็กที่ติดรายการโทรทัศน์นั้นจะเหมือนเด็กที่ชอบกินขนมหวาน ผลเสียจะไม่ได้ออกฤทธิ์ในทันที แต่จะสะสมและส่งผลในตอนโต แต่เด็กติดเกมนั้น
เหมือนเด็กที่กินยาพิษ หากเกมนั้นเป็นเกมที่สอนให้ใช้ความรุนแรงสูง อย่าง GTA (เกมแนวอาชญากรรม) นั่นนับเป็นผลร้ายแรงกับเด็กๆ อย่าง
มาก

“การแก้ปัญหาสำาหรับเด็กทีต่ ิดรายการโทรทัศน์ ทางที่ดีที่สุดก็คือการดึงเด็กออกจากรายการโทรทัศน์ ไปหากิจกรรมอย่างอื่นที่ให้เด็กอยู่กับโลกของ


ความเป็นจริงมากกว่า แต่จะใช้เวลาเท่าไหร่นั้นก็ขึ้นอยู่กับความใส่ใจของพ่อแม่ที่มีต่อลูก แต่ปัญหาที่สำาคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือเรื่องของจริยธรรมของ
ผู้ผลิตรายการ ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ที่เราต้องช่วยกันแก้ไข รายการโทรทัศน์ รวมทั้งโฆษณาสินค้าหลายชนิดกำาลังนำาเสนอจริยธรรมที่ผิดไปโดยที่เขาเอง
อาจจะไม่รู้ตัว”
อิทธิพล ยกตัวอย่างละครสวรรค์เบี่ยง “พระเอกข่มขืนนางเอกซำ้าแล้วซำ้าเล่า แต่ในที่สุดก็กลายเป็นความรัก ตรงนี้เรากำาลังนำาเสนออะไรที่ผิดแผกออก
ไปหรือเปล่า เรากำาลังปลูกฝังค่านิยมว่าการข่มขืนผู้หญิงเป็นเรื่องทีท่ ำาไปเพราะความรัก ข่มขืนแล้วไม่ต้องติดคุก ไม่ต้องแจ้งตำารวจ เป็นเรื่องที่ให้อภัย
กันได้อย่างนั้นหรือ” เขาให้แง่คิดด้านเนื้อหาที่รายการโทรทัศน์ในปัจจุบันยัดเยียดให้กับสังคม
ขณะที่ พรรณพิมล ยังให้แนวทางในการแก้ปัญหาเด็กติดทีวี “ที่ดที ี่สุดก็คือผู้ปกครองต้องเข้ามาดูแลอย่างใกล้ชิด และหากิจกรรมอย่างอื่นให้เด็กๆ ทำา
ร่วมกันในครอบครัว หากมีกิจกรรมที่เด็กๆ สามารถทำากับพ่อแม่ได้แล้ว เชื่อเถอะว่าอย่างไรเด็กๆ ก็ต้องสนใจทำาร่วมกันกับผู้ปกครองมากกว่า เด็กอายุ
5 ขวบขึ้นไปนั้นจะต้องมีการจัดสรรเวลาในการดูรายการโทรทัศน์ตั้งแต่เด็กๆ โดยผู้ปกครองจะเป็นคนแบ่งเวลาให้ว่าลูกควรดูรายการโทรทัศน์
ทำาการบ้าน ออกไปวิ่งเล่น หรือทำากิจกรรมร่วมกันในครอบครัว กี่โมงถึงกี่โมง

ฝึกจนเด็กมีระเบียบวินัย โตขึ้นเขาก็จะรู้ตัวเองว่าควรแบ่งเวลาทำาอะไรบ้าง ซึ่งตรงนี้คงต้องปล่อยให้เป็นหน้าที่ของผู้ปกครองคำานึงถึงความเหมาะสม


กันเอง เวลาชมรายการโทรทัศน์กับเด็กนัน้ รายการบางอย่าง เช่น การ์ตูน เราก็ควรชี้แนะเขาว่านี่เป็นเรื่องในจินตนาการ ชีวิตจริงทำาไม่ได้เพราะอะไร
เพื่อให้ความรู้กับเด็กๆ ไปในตัว”

ปัญหาหนึ่งที่ต้องยอมรับคือ หลายครอบครัวที่มีปัญหาด้านการเงิน พ่อแม่ต้องแบ่งงานกันทำาเพื่อหาเงินมาเลี้ยงดูครอบครัว ทำาให้ไม่มีเวลาดูแลลูกได้


เต็มที่ พอเด็กเลิกเรียนกลับบ้าน ก็ไม่มีใครอยู่ด้วย ทำาให้เด็กๆ กลุ่มนี้ต้องอยู่ลำาพังกับรายการโทรทัศน์ที่ไม่มีการสกรีนเนื้อหาที่เหมาะสมสำาหรับเด็กๆ
การแก้ปัญหาตรงจุดนี้ ทางโรงเรียนเองน่าจะหากิจกรรมสำาหรับเด็กทำาหลังเลิกเรียน เพื่อที่เด็กๆ จะได้ไม่ต้องอยู่คนเดียว หรือแม้แต่ในชุมชนด้วย
กันเอง หากมีการจัดตั้งส่วนกลางสำาหรับเด็กๆ ในชุมชม ผู้ใหญ่ที่เป็นเพื่อนบ้านมีเวลาว่างๆ ในกลุ่มเข้ามาดูแลก็จะช่วยแก้ปัญหานี้ได้เช่นกัน

ท้ายสุดจะเห็นได้ว่าการแก้ปัญหาเด็กติดทีวีไม่ใช่เรื่องยาก หากพ่อแม่ให้ความสำาคัญกับลูก โดยไม่ปล่อยให้ทีวีทำาหน้าที่พี่เลี้ยงเด็กอย่างไร้การ


ควบคุม ผู้ผลิตรายการโทรทัศน์คำานึงถึงเนื้อหาและผู้ชมอย่างเด็กๆ เวลาออกอากาศ รัฐบาลให้ความสำาคัญด้านการศึกษาและสื่อเพื่อเด็กและ
เยาวชน
ที่พูดมานี่ไม่เห็นว่าจะยากเย็นตรงไหนถ้าร่วมมือร่วมใจกัน

Post Today 30 เม.ย.51

หัวข้อ: Re: เรื่องของ โท-ระ-ทัด


เริ่มหัวข้อโดย: ‫ أم حمزة‬ที่ พฤษภาคม 11, 2008, 07:35:44 PM
อิทธิพลทีวี! เด็กไทยอยากเป็นพระเอกเพราะ “ข่มขืน” คนอื่นได้

เอแบคโพลล์ เปิดผลสำารวจทีวีไทย เจอแต่ภาพหวิว กอดจูบ ข่มขืน ใช้คำาหยาบคาย แทบทุกวัน เด็ก 2-19 นั่งเฝ้าหน้าจอถึงเที่ยงคืน ผงะเด็กบอก
อยากเป็นพระเอกจะได้ข่มขืนคนอื่นได้ แถมบางส่วนรับได้ขืนใจเรื่องธรรมดา ส่วนเด็กหญิงอยากแต่งตัวเซ็กซี่ เหมือน พี่อั้ม-หยาด-เป้ย เกือบครึ่ง
เชื่อทีวีมีส่วนสร้างปัญหาสังคม ร้องกรมประชา-นายกฯ แก้ดว่ น 72.5% มองไม่เห็นผลงานแก้ปัญหาเด็กของรัฐบาล หมอเด็กยันจอตู้ทำาร้าย
เยาวชน วอนผู้จัดผลิตสื่อดี วธ.ขอความร่วมมืออย่าฝ่าประกาศจัดเรตติ้ง

วานนี้ (29 เม.ย.) ที่โรงแรมเอเชีย มูลนิธิเครือข่ายครอบครัว จัดแถลง “เฝ้าระวังสื่อร้ายทำาลายเด็ก” โดย ดร.นพดล กรรณิกา หัวหน้าศูนย์เครือ
ข่ายวิชาการเพื่อสังเกตการณ์และวิจัยความสุขชุมชน มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (ศูนย์วิจัยความสุขชุมชน) กล่าวว่า การสำารวจ “ศึกษาอิทธิพลของ
การชมรายการโทรทัศน์กับพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ในกลุ่มคนดู ศึกษาเด็ก เยาวชน และประชาชน"อายุ 2 – 6 ขวบ 7- 12 ปี 13 –
19 ปี และอายุ 20 ปีขึ้นไปใน กทม.และจังหวัดหัวเมืองใหญ่ของประเทศ จำานวน 2,159 ตัวอย่าง วันที่ 24-28 เม.ย.2551 พบ
การดูโทรทัศน์เป็นกิจกรรมยามว่างที่คนส่วนใหญ่ทำามากที่สุด 55.4% รองลงมา 8.5% ดูซีดี/วิดีโอ โดย 72.4% บอกว่า 30 วันที่
ผ่านมาดูทีวีทุกวันหรือเกือบทุกวัน ซึ่งช่อง 3 เป็นช่องที่กลุ่มตัวอย่างดูมากที่สุด ทั้งรายการข่าว ละคร วาไรตี้

“การศึกษาพบวันจันทร์-ศุกร์ ช่วง 18.01-20.00 เป็นเวลาที่เด็ก 2-6 ปี ดูทวี ีมากที่สุด ซึ่งเด็ก 7-12 ก็ดูทีวีช่วงเดียวกันอยู่
34.6% เด็ก 13-19 ดูอยู่ 36.8% ขณะที่เวลา 20.01-22.00 เด็ก 2-6 ปี เกือบ 1 ใน 4 คือ 23.1 ยังดูทีวีอยู่ เด็ก
7-12 ปี ถึง 29.5% ก็ดูทีวีเวลานี้เช่นกัน และเด็ก 13-19 ปี เกินครึ่งก็ยังดูทีวีอยู่ ทัง้ นี้ เด็ก 2-6 ขวบ 3 ใน 100 คน เด็ก 7-
12 ปี 13.5% และเด็ก 13-19 ปี เกิน 1 ใน 4 ยังดูทีวีช่วง 22.00-24.00 น.โดยเด็ก 2-19 ปี ส่วนใหญ่ บอกว่าดูทีวีทุก
วัน หรือเกือบทุกวันด้วย กลุ่มตัวอย่างระบุว่า การแต่งตัวโป๊ วาบหวิว คือ สิ่งที่เห็นมากที่สุด 53.6% เห็นการกอดจูบถึง 42.8% การ
ทำาร้ายร่างกาย 39.2% เห็นพฤติกรรมข่มขืนในละครและข่าวข่มขืน 34.3% เกือบ 30% เจอการใช้คำาหยาบคายด่าว่ากัน และการ
โฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พบภาพสูบบุหรี่-ดื่มเหล้า ประมาณ 27.7% ซึ่ง 1 ใน 4 เจอแต่ภาพโฆษณาที่ใช้ความรุนแรง ช่องที่กลุ่ม
ตัวอย่างเห็นว่ามีรายการสร้างสรรค์มากกว่าไม่สร้างสรรค์ คือ ช่อง 9”ดร.นพดล กล่าว

ดร.นพดล กล่าวอีกว่า เมื่อถามถึงการจัดระดับรายการทีวี (เรตติ้ง) มีเพียง 23.8% ที่บอกว่าเชื่อถือได้ 67.8% บอกว่า เชื่อได้บาง
รายการ 66.4% จึงเห็นว่าควรแก้ไข กลุ่มตัวอย่าง 74.5% ไม่ชอบฉากข่มขืน 66.9% ไม่ชอบฉากกอด จูบ กัน 69.6% ไม่ชอบ
การใช้คำาด่ากันรุนแรง 68.9% ไม่ชอบภาพการทำาร้ายร่างกายกัน แต่ 3 เดือนที่ผ่านมาได้เห็นภาพที่ไม่ชอบถี่มาก เช่น ตบตี 38.8%
ข่มขืน ล่วงเกินทางเพศ 32.7% ซึ่ง 34.7% บอกว่าเห็นทุกวันหรือเกือบทุกวัน อีก 27.3% เห็น 3-4 วันต่อสัปดาห์
“ทีน่ ่าห่วง คือ เด็ก 2-6 ปี 10.3% เด็ก 7-12 ปี 6.4% เด็ก 13-19 ปี 21.1% ชอบฉากข่มขืนมากถึงมากที่สุด เด็ก 2-
6 ปี 10.9% เด็ก 7-12 ปี 19.9% เด็ก 13-19 ปี 20.2% รวมถึงคนอายุ 20 ขึ้นไป จึงบอกว่าการข่มขืนเป็นเรื่อง
ธรรมดาของสังคมที่ยอมรับได้ และเด็กๆบางส่วนบอกว่าอยากเป็นพระเอกจะได้ข่มขืนคนอื่นได้ ซึ่งเด็ก 2-19 ปี เกิน 1 ใน 4 อยากแต่งตัวเซ็กซี่
อย่าง พัชราภา ไชยเชื้อ หยาดทิพย์ ราชปาล ปานวาด เหมมณี ทัง้ นี้ 36.6% ยอมรับว่าภาพความรุนแรงจะทำาให้เยาวชนเลียนแบบ และการ
โฆษณาขนมกรุบกรอบที่มีของแจกของแถม 75.8% บอกว่าจะทำาให้เด็กซื้อขนมมากขึน้ โดย 58.2% คิดว่ามีโฆษณาขนมในรายการเด็ก
มากไป”ดร.นพดล กล่าว

ดร.นพดล กล่าวอีกว่า กลุ่มตัวอย่างเห็นว่าปัญหาสังคมส่วนหนึ่งมากจากโทรทัศน์ โดยเฉพาะการเลียนแบบของเด็กถึง 48.5% การใช้ความ


รุนแรง 24.3% ปัญหาอาชญากรรม ข่มขืน ฆ่า 15.3% ซึ่ง 67.5% ระบุว่า ทีวียังมีประโยชน์ต่อเด็กไม่มากพอ การศึกษายังพบว่า
หากเห็นภาพการดื่มเหล้า การข่มขืน ต่อเนื่องจะมีผลต่อพฤติกรรมของผู้ชมด้วย 56.7% เห็นควรให้มีหน่วยงานภาครัฐร่วมกับผู้บริหารสถานีมา
ควบคุมรายการ ซึ่ง 44.8% เห็นว่ากรมประชาสัมพันธ์ควรมาดูแลอย่างเร่งด่วน ตามด้วย 39.4% คือรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องมาจัดการ อีก
38.5 อยากให้นายกฯ มาดูแล โดย 72.5% ยังไม่เห็นผลงานการแก้ปัญหาเด็กและเยาวชนของรัฐบาล 80.3% จึงยังไม่พอใจ

นพ.สุริยเดว ทรีปาตี หัวหน้าคลินิกวัยรุ่น สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กล่าวว่า โทรทัศน์เป็นสื่อสำาคัญเข้าถึงคนทุกกลุ่ม และมีอิทธิพลสูง


ต่อเด็ก เด็กอายุน้อยกว่า 2 ปี ไม่ควรดูทีวีหรือคอมพิวเตอร์ เพราะมีผลต่อพัฒนาการทำาให้พูดช้า ก้าวร้าว หากเด็กได้รับสื่อไม่เหมาะสมต่อเนื่อง ผล
วิจัยจากกุมารแพทย์ทั่วโลก ชี้ชัดว่า เด็กจะมีพฤติกรรมดังนี้ 1.ชอบใช้ความรุนแรงโต้ตอบ 2.รู้สึกหวาดกลัวสังคม 3.รู้สึกเคยชินกับความรุนแรง
กับสิ่งที่ไม่เหมาะสมที่ได้เห็น 4.ความเมตตาอยากช่วยคนอื่นลดลง 5.เกิดพฤติกรรมเลียนแบบ ทั้งความคิดการกระทำา คำาพูด การแต่งกาย

นพ.สุริยเดว กล่าวอีกว่า การมีสื่อไม่เหมาะสมจำานวนมากในโทรทัศน์ ผิดในแง่คุ้มครองผู้บริโภค และผิดที่ไม่คุ้มครองสิทธิของเด็ก ปล่อยให้ถูก


ทำาร้ายทางจิตใจและอารมณ์ ต้องเสพแต่สื่อรุนแรง ฉากการแสดงความรักโจ่งแจ้งเปิดเผย หากปล่อยให้สื่อร้ายรังแกสังคมไปเรื่อยๆ โลกยุคต่อไป จะ
กลายเป็นโลกของเซ็กส์และความรุนแรง สังคมทุกวันนี้ที่เด็กชอบใช้ความรุนแรง มีเด็กอายุน้อยๆ ลงเรื่อยๆ เป็นผูต้ ้องหาคดีข่มขืน ก็อย่าโทษเด็ก
เพราะผู้ใหญ่หล่อหลอมพวกเขาให้เป็นแบบนี้เอง ต้องยอมรับว่าพ่อแม่จำานวนมากที่เลี้ยงลูกหรือปล่อยลูกไว้หน้าจอทีวี ขณะทีท่ ักษะการเลี้ยงลูกของ
พ่อแม่ในปัจจุบันอ่อนแอ ต่างคนต่างดู ไม่พูดคุย สอนกัน

“ผมอยากวอนให้ ผู้ผลิต ผูจ้ ัดรายการ ช่วยเหลือสังคมด้วย รายการหรือละคร ทีม่ ีความรุนแรง ควรออกอากาศหลัง 4 ทุ่ม และควรทำาละครนำ้าเน่าที่
มีคุณค่า ด้วยการบอกว่าสิ่งใดถูกสิ่งใด ทันทีเมื่อจบละครในตอนนั้นๆ ไม่ใช่รอจนอวสาน แล้วมาบอกว่าสุดท้ายคนไม่ดีต้องรับโทษ เพราะเด็กเลียน
แบบความไม่ดีนั้นไปจนหมดแล้ว” นพ.สุริยเดว กล่าว

น.ส.ลัดดา ตั้งสุภาชัย ผอ.ศูนย์เฝ้าระวังทางวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่าประกาศการจัดระดับความเหมาะสมของรายการโทรทัศน์ (


เรตติ้ง) กำาหนดให้ 16.00-20.30 น.เป็นรายการ ป.สำาหรับเด็กปฐมวัย และ ด.สำาหรับเด็ก 6-12 ปี ส่วน น.13 ออกได้ชว่ ง
20.30 น.เป็นต้นไป น.18 ออกได้หลัง 21.00 น.แต่เมื่อ พ.ร.บ.การประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ.2551
บังคับใช้วันที่ 5 มี.ค.ทีผ่ ่านมา โดยให้ยกเลิก พ.ร.บ.วิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ พ.ศ.2498 กรมประชาสัมพันธ์จึงทำาหนังสือ
สอบถามไปยังคณะกรรมการกฤษฎีกาว่า ประกาศฉบับดังกล่าว รวมถึงประกาศอื่นๆ ของกรมประชาสัมพันธ์ ที่เกี่ยวกับทีวี การโฆษณา การจัดเรต
ติ้ง มีผลบังคับใช้อยู่หรือไม่
“ช่วงนี้เป็นเหมือนช่วงสุญญากาศ แต่อยากขอให้สถานีปฏิบัติตามประกาศ เพราะประกาศฉบับนี้เกิดจากการประชุมร่วมกับผู้ผลิต ผู้แทนสถานี ผ่าน
การพิจารณาหลายครั้ง สังคมยังไม่เข้มแข็ง เยาวชนยังขาดภูมิคุ้มกัน ต้องมีกติการ่วมกัน จริงอยู่ทีวีไม่ใช่สื่อเดียว ที่ทำาให้เด็กมีปัญหา แต่ถ้าเราไม่คิด
สร้างสังคมที่ดีร่วมกัน ไม่มีใครอยากทำาอะไร อนาคตของชาติจะมีแต่แย่ลง” น.ส.ลัดดา กล่าว

นางอัญญาอร พานิชพึ่งรัถ เครือข่ายครอบครัวเฝ้าระวังและสร้างสรรค์สื่อ กล่าวว่า เครือข่ายฯ ติดตามการจัดเรตติ้งของโทรทัศน์ พบ ช่อง 3 และ


ช่อง 7 ไม่ปฏิบัติตามประกาศออกอากาศละคร น.18 คือ ก่อน 21.00 น.อาทิ สวรรค์เบี่ยง พริกไทยกับใบข้าว นางทาส ที่น่าห่วง คือ
เนื้อหาละครแต่ละเรื่อง รุนแรงขึ้นเรื่อยๆ พระเอกข่มขืนนางเอกได้ไม่ผิด มีฉากตบตีรุนแรงในละครแทบทุกเรื่อง บางคนอาจว่าไม่ใช่ปัญหา แต่เคย
สังเกตบุตรหลานของตนเองหรือไม่ ว่า พวกเขามีพฤติกรรมอย่างไร จริงอยู่พ่อ แม่ ต้องดูแลลูก แต่สังคมจะไม่มีสว่ นร่วมรับผิดชอบเลยหรือ ละครสมัย
ก่อน แค่พระ-นาง โน้มศีรษะเข้าหากัน ก็ตัดภาพไปที่อื่น สมัยนี้ต้องพยายามให้เล่นจริง จูบจริง
ประเภทข่าว : ข่าวอาชญากรรม
สำานักข่าว : ผู้จัดการออนไลน์

หนังสือพิมพ์ประชาชาติอิสลามออนไลน์
People Islamic News Onlines (www.PINOnlines.com)
รายงานข่าวประจำาวัน พุธที่ 30 เมษายน พ.ศ.2551

หัวข้อ: Re: เรื่องของ โท-ระ-ทัด


เริ่มหัวข้อโดย: ‫ أم حمزة‬ที่ พฤษภาคม 11, 2008, 07:39:25 PM
แวะเก็บมาให้ดูแค่สองข่าว ก็พอแล้วที่พ่อแม่นา่ จะตื่นตัว

‫إنّا لِ وَإِنّ ِإلَيْهِ رَاجِعُون‬

เศร้าอ่ะ Emo287

Powered by SMF 1.1.4 | SMF © 2006, Simple Machines LLC


http://www.annisaa.com/forum/index.php?action=printpage;topic=485.0

--
"คนบันเทิง" ประกาศ"สัตยาบัน" ค้านจัดเรตติง้ทีวี
'คนบันเทิง' ร่วมกล่าวสัตยาบัน ยืนยันคัดค้านการจัดเรตทีวีของรัฐบาล
เตรียมย่ ืนหนังสือเรียกร้องความเหมาะสมให้วงการบันเทิงไทยต่อนายก
รัฐมนตรี ท่ีทำาเนียบรัฐบาล

ยังหาข้อสรุปท่ีแน่นอนไม่ได้สำาหรับการจัดเรตการออกอากาศของวงการทีวี
เมืองไทย ท่ีรัฐบาลชุดนีท้ ำาเอาป่ วนไปทัง้วงการ งานนีเ้หล่า ผู้จัดรายการ,
ดารา, นักร้อง, นักแสดง จึงรวมตัวกับสมาพันธ์สมาคนวิทยุโทรทัศน์ มีการ
จัดสัมมนาเพ่ ือระดมความคิดเห็นจากบรรดานักวิชาชีพ ท่ีโรงแรมรามา
การ์เดน เพ่ ือหาข้อสรุปเก่ียวกับผลกระทบของการจัดเรตติง้รายการโทรทัศน์
โดยคาดว่าจะเห็นการประกาศสัตยาบันร่วมกันของบรรดาผู้ประกอบวิชาชีพ
โทรทัศน์ เพ่ ือคัดค้านการจัดเรตติง้รายการโทรทัศน์ รวมทัง้ร่าง พ.ร.บ.การ
ประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ทัง้นี ม ้ ีผู้เข้าร่วมการ
สัมมนากว่า 1,000 คน อาทิ "นายประวิทย์ มาลีนนท์" กรรมการผู้จัดการ
บริษัท บางกอก เอ็นเตอร์เทนเมนท์ จำากัด "นายถกลเกียรติ วีรวรรณ" หรือ
"บอย-ถกลเกียรติ" กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ็กแซ็กท์ จำากัด "นายวิทวัส
ชัยปาณี" ประธานเจ้าหน้าท่ีบริหาร บริษัท ครีเอทีฟ จูซจีวัน จำากัด และนายก
สมาคมโฆษณาธุรกิจแห่งประเทศไทย รวมถึงนักวิชาการจากคณะนิเทศน์
ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ภาพรวมของการสัมมนาในครัง้นี โ้ดยส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยกับรัฐบาลเก่ียว
กับมาตรการท่ีออกมา เพราะกฎเกณฑ์ท่ีออกมาไม่สามารถนำามาปฏิบัติได้จริง
รวมไปถึงดูแล้วไม่สอดคล้องกับพฤติกรรมของคนดูรายการโทรทัศน์ โดย "
นายประวิทย์ มาลีนนท์"กล่าวสัน ้ ได้ใจความว่า "พวกเราทำางานในอาชีพของ
เรา เรามีต้นทุน เราต้องทำางานแข่งขันกัน ต้องคำานึงถึงคุณภาพและความอยู่
รอด ขณะท่ีคนท่ีบังคับเรา เขาไม่มีต้นทุน เขาอยู่ในโลกท่ีบริสุทธิ อ์ยู่ใน
โลกของความฝั น คำานึงอย่างเดียวคือ ภาพท่ีออกมาจะดูดีได้อย่างไร สุดท้าย
ความรับผิดชอบทัง้หมดก็ตกเป็ นของเรา ไม่ต้องมารับผิดชอบผลท่ีตามมา"
ส่วนดาราดังๆ หลายคน อาทิ "อัม ้ -พัชราภา"ยอมรับว่าการจัดเรตติง้เป็ นส่ิงท่ี
ดี แต่ควรให้อยู่ในความเหมาะ ยืนยันว่าเรตท่ีจัดอยู่ก็ดอ
ี ยู่แล้วไม่ควร
เปล่ียนแปลง เพราะการเล่นละคร
อย่างไรก็ตาม เม่ ือเวลา 15.00 น. ทางสมาชิกสมาพันธ์สมาคมผู้ประกอบ
การวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ก็จะเดินทางไปย่ ืนหนังสือคัดค้านการ
จัดเรตติง้รายการโทรทัศน์ รวมทัง้ร่าง พ.ร.บ.การประกอบกิจการวิทยุกระจาย
เสียงและวิทยุโทรทัศน์ ต่อพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ท่ีทำาเนียบ
รัฐบาล แล้ว

innnews.co.th

http://dara.hunsa.com/detail.php?id=4156
--
'คนบันเทิง' ร่วมกล่าวสัตยาบัน ยืนยันคัดค้านการจัดเรตทีวีของรัฐบาลเตรียมย่ ืนหนังสือเรียกร้องความเหมาะสมให้วงการ
บันเทิงไทยต่อนายกรัฐมนตรี ทีท่ ำาเนียบรัฐบาล

ยังหาข้อสรุปที่แน่นอนไม่ได้สำาหรับการจัดเรตการออกอากาศของวงการทีวีเมืองไทย ที่รัฐบาลชุดนี้ทำาเอาป่วน
ไปทั้งวงการ งานนี้เหล่า ผู้จัดรายการ, ดารา, นักร้อง, นักแสดง จึงรวมตัวกับสมาพันธ์สมาคนวิทยุโทรทัศน์ มีการ
จัดสัมมนาเพื่อระดมความคิดเห็นจากบรรดานักวิชาชีพ ที่โรงแรมรามา การ์เดน เพื่อหาข้อสรุปเกี่ยวกับผลกระ
ทบของการจัดเรตติ้งรายการโทรทัศน์ โดยคาดว่าจะเห็นการประกาศสัตยาบันร่วมกันของบรรดาผู้ประกอบ
วิชาชีพโทรทัศน์ เพื่อคัดค้านการจัดเรตติ้งรายการโทรทัศน์ รวมทั้งร่าง พ.ร.บ.การประกอบกิจการวิทยุกระจาย
เสียงและวิทยุโทรทัศน์ ทั้งนี้ มีผู้เข้าร่วมการสัมมนากว่า 1,000 คน อาทิ "นายประวิทย์ มาลีนนท์" กรรมการผู้
จัดการ บริษัท บางกอก เอ็นเตอร์เทนเมนท์ จำากัด "นายถกลเกียรติ วีรวรรณ" หรือ "บอย-ถกลเกียรติ" กรรมการผู้
จัดการ บริษัท เอ็กแซ็กท์ จำากัด "นายวิทวัส ชัยปาณี" ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ครีเอทีฟ จูซจีวัน จำากัด
และนายกสมาคมโฆษณาธุรกิจแห่งประเทศไทย รวมถึงนักวิชาการจากคณะนิเทศน์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย

ภาพรวมของการสัมมนาในครั้งนี้ โดยส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยกับรัฐบาลเกี่ยวกับมาตรการที่ออกมา เพราะกฎเกณฑ์


ที่ออกมาไม่สามารถนำามาปฏิบัติได้จริง รวมไปถึงดูแล้วไม่สอดคล้องกับพฤติกรรมของคนดูรายการโทรทัศน์ โดย
จำานวนผู้อ่าน 194 คน จำานวนผู้ตอบ 1 คน

ความเห็นที่ 0001 : azq ( 2007-07-06 23:07:03 ) แจ้งลบความเห็นนี้

เห็นใจรัฐบาลแก่ ๆ คิดอะไรออกมาก็หน่อมแน้มอย่างนี้แหละ....

กลับไปหน้าแรก หน้า << 1 >>

http://72.14.235.104/search?q=cache:IZO8pt-
fJTAJ:www.innnews.co.th/entertain.php%3Fnid%3D47151+%22%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B9%80
%E0%B8%97%E0%B8%B4%E0%B8%87%22+%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A8%22%E0%B8%
AA%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%99%22+%E0%B8%84%E0%B9%89%E0%B8%B2
%E0%B8%99%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%95%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B9%89%E0%B8
%87%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B5+site:http://www.innnews.co.th&hl=th&ct=clnk&cd=1&gl=th

--
เอกชนย้ำาจัดเรตติง้-ลด AD ผลเสีย เด็กแห่ใช้อินเทอร์เน็ตย่ิงคุมยาก
Last update:2007-09-06 Source :Blog
เสวนา "เรตติง้เพ่ ือใคร?" ตอกย้ำาทุกฝ่ ายให้ความสำาคัญแก่เด็กและเยาวชน ผู้จด
ั รายการเอ่ยปากทำาได้ ส่วนโฆษณา แนะปั ญหาอ่ ืนอาจขึ้นได้ภายหลัง ปิ ดท้ายด้วยผู้จัดรายการเก่ียวกับ
เด็ก อยากให้ภาครัฐร่วมกันทำางาน จากข้อห้ามท่ีให้ลดเวลาโฆษณาในรายการเด็กจาก 12 นาที เหลือ 10 นาที อาจทำาให้การส่งเสริมให้มีรายการเด็กต้องพังไป

จากการเสวนาเร่ ือง"เรตติง้เพ่ ือใคร?" โดยสมาคมนิสิตเก่านิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจัดขึ้นในวันท่ี 5 ก.ย.ท่ีผ่านมา ถือเป็ นการเสวนาในลักษณะการประชาสัมพันธ์ให้


ประชาชนได้รับทราบถึงเหตุผลและขัน ้ ตอนการจัดเรตติง้รายการโทรทัศน์ขน ึ้ โดยมีนางลัดดา ตัง้สุภาชัย ผู้อำานวยการกลุ่มเฝ้ าระวังทางวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม และนางรัตนากร ทอง
สำาราญ เจ้าหน้าท่ต
ี ัวแทนจากกรมประชาสัมพันธ์ ได้ร่วมกล่าวว่า เหตุผลท่ีต้องมีการจัดเรตติง้โทรทัศน์ขึ้น เน่ ืองพบว่าส่ ือเป็ นสาเหตุหลักทำาให้เกิดปั ญหาเยาวชน จึงทำาให้เกิดเป็ นมติของคณะ
รัฐมนตรี ให้มีการจัดเรตติง้ขึ้น เพ่ ือช่วยแก้ปัญหาดังกล่าว ให้มีรายการสำาหรับเด็กมากขึ้น
ทัง้นีใ้นงานได้มีตัวแทนจากทางผู้จด
ั รายการ คือ นายมารุต สาโรวาท ได้ร่วมเสวนาด้วย โดยกล่าวว่า ทางผู้จัดรายการพร้อมท่ีจะปฏิบัติตามคู่มือเรตติง้ แต่อยากให้มีการรณรงค์ต่อไป
ให้พ่อแม่ผู้ปกครองได้มีเวลาอยู่กับลูกมากขึ้น เพราะในความเป็ นจริงเร่ ืองนีถ
้ ือเป็ นความรับผิดชอบของทุกฝ่ าย

ส่วนทางนายวิทวัส ชัยปราณี นายกสมาคมโฆษณาธุรกิจแห่งประเทศไทย ได้ร่วมการเสวนาว่า ยอมรับว่าการจัดเรตติง้รายการโทรทัศน์ ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อวงการธุรกิจโฆษณาแต่


อย่างไร แต่อยากร่วมแสดงความคิดเห็นของการแก้ปัญหาดังกล่าวว่า อาจจะทำาให้ส่ืออ่ ืนมาสร้างปั ญหาเยาวชนแทน เพราะปั จจุบันมีอีกหลายส่ ือท่ีเด็กและเยาวชนให้ความสนใจ โดยเฉพาะ
อินเทอร์เน็ตถือเป็ นส่ ือท่ีควบคุมได้ยาก จึงอยากให้ทุกฝ่ ายร่วมกันแก้ไขปั ญหาท่เี กิดขึ้น ขณะเดียวกันอยากให้ผู้ปกครองดูแลลูกหลานมากขึน
้ เช่น ไม่ควรให้มีคอมพิวเตอร์ไว้ในห้องนอน
ของเด็กๆ

อย่างไรก็ตามได้มีตัวแทนจากผู้ผลิตรายการเก่ียวกับเด็ก อย่าง รายการ "4 ANGIES" ของทางช่อง 3 โดย นางสาวโสภิตา ธรรมสังคีติ ผู้จัดการฝ่ ายพัฒนาทางธุรกิจ บริษัท โฮมรัน
เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำากัด ได้แสดงความคิดเห็นว่า เช่ ือว่าการท่ีมีการจัดเรตติง้รายการโทรทัศน์ขึ้น เป็ นเร่ ืองท่ด
ี ีท่ีต้องการสนับสนุนให้รายการเก่ียวกับเด็กมีมากขึ้น แต่ขณะเดียวกัน ยังมีอีก
หน่วยงานของทางภาครัฐ กลับต้องการให้ลดโฆษณาของรายการเก่ียวกับเด็กจาก 12 นาที เหลือ 10 นาที ในหน่งึ ชัว่โมง เพราะต้องการให้มีการโฆษณาขนมเด็กลดลง อาจจะทำาให้ผลของ
การจัดเรตติง้ครัง้นีไ้ม่ประสบความสำาเร็จก็ได้ เพราะผู้จัดรายการเก่ียวกับเด็กคงต้องอยู่ในภาวะขาดทุนและล้มละลายกันหมด จึงอยากมีให้การประสานงานแก้ไขปั ญหาดังกล่าวด้วย

http://www.blogth.com/blog/Financial/Marketing/7537.html

--
สารคดีสร้างสรรค์สังคมไทยตอน การจัดเรตติง้รายการโทรทัศน์ในต่างประเทศ
โดย กรมประชาสัมพันธ์ วัน พฤหัสบดี ท่ี 6 กันยายน พ.ศ. 2550 07:01 น.
เม่ ือวันท่ี 1 กันยายนท่ผี ่านมาถือเป็ นวันเร่ิมต้นของการใช้คู่มือใหม่ในการจัดระดับความเหมาะสมของรายการโทรทัศน์ ท่ีมาจากผู้ประกอบการ
สถานีโทรทัศน์ ผูผ ้ ลิตรายการโทรทัศน์ นักวิชาการ และผู้ปกครอง ร่วมกันร่างขึ้น

เร่ ืองนีอ
้ าจเป็ นเร่ ืองใหม่ในประเทศไทย ขณะท่ีกว่า 30 ประเทศทั่วโลกได้มีการจัดระดับความเหมาะสมของรายการโทรทัศน์ หรือ การจัดเรตติง้
รายการโทรทัศน์ มาเป็ นเวลานาน ไม่ว่าจะเป็ นประเทศแคนาดา เยอรมัน สวีเดน ออสเตรีย แอฟริกาใต้ อิตาลี ญ่ป ี ่ ุน สวิสเซอร์แลนด์ สาธารณรัฐ
เชค สาธารณรัฐสโลวัค มัลตาร์ ลัตเวียร์ ไอร์แลนด์ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และเวียดนาม แม้แต่ประเทศท่ีได้ช่ือว่าเป็ นเสรีทางประชาธิปไตย
อย่างสหรัฐอเมริกา ยังมีการจัดเรตติง้รายการโทรทัศน์ท่ีไม่เหมาะกับเด็กอายุต่ำากว่า 14 ปี หรือท่ีเรียกว่า รายการประเภท TV-14 สามารถออก
อากาศได้หลัง 21.00 น.

เช่นเดียวกับประเทศอังกฤษ ท่ีมีการจัดตัง้หน่วยงานเฉพาะหรือ ออฟคอม เพ่ ือกำาหนดเวลามาตรฐานของรายการโทรทัศน์ ท่ีไม่เหมาะสมกับเด็ก


และเยาวชน ให้ออกอากาศได้หลัง 21.00 น. เท่านัน ้ และผลจากการจัดเรตติง้รายการโทรทัศน์ในต่างประเทศ ทำาให้เกิดการผลิตรายการท่ี
สร้างสรรค์มากย่ิงขึ้น และยังส่งผลต่อเด็กและเยาวชนในประเทศนัน
้ ๆ สามารถรับเน้ือหาของรายการท่ีเหมาะสมกับวัย

การจัดเรตติง้รายการโทรทัศน์ในประเทศไทย จึงไม่ใช่เร่ ืองใหม่ท่ีเพ่ิงเกิดเคยขึ้นในโลก

หน้านีถ
้ ูกเปิ ดอ่านแล้ว 153 ครัง้
อ่านข่าวทัง้หมดของ กรมประชาสัมพันธ์ ได้ท่ีน่ี

http://news.sanook.com/scoop/scoop_178697.php
--

จัดเรตติง้รายการทีวี ประโยชน์ท่ี(ยัง)มองไม่เห็น?
โดย หัวปิ งปอง 24 พฤศจิกายน 2549 15:25
น.
น่าสนใจทีเดียวกับข่าวกรณีท่ีกรมประชาสัมพันธ์ฯ ได้ขอความร่วมมือไปยังทีวีทุกช่องในการ "จัดเรตติง้" รายการทีวีด้วยการขึน

สัญลักษณ์ก่อนแพร่ภาพออกไป

โดยจะมีการแบ่งประเภทรายการให้เหมาะสมกับกลุ่มผู้ชมเป็ น 4 ระดับด้วยกัน ไล่ไปตัง้แต่ ตัว "ด." หมายถึง รายการสำาหรับเด็ก


อายุ 2-12 ปี , "ท." รายการทัว่ไปท่ีชมได้ทุกเพศทุกวัย, "น." รายการท่ีผู้ปกครองควรให้คำาแนะนำา และ "ฉ." รายการเฉพาะท่ีไม่เหมาะ
สมกับเด็กและเยาวชน

"น่ีเป็ นข้อตกลงท่ีพูดกันมาตัง้นานแล้วระหว่างสถานีโทรทัศน์ เพราะว่าท่ีผ่านมารายการโทรทัศน์มักจะถูกร้องเรียนถึงความไม่


เหมาะสมของรายการท่ีออกอากาศว่ารายการแบบไหนเป็ นระดับอายุเท่าไหร่ถึงควรจะดู ซ่ึงผู้ผลิตก็อยากรู้ว่าเขาจะต้องทำาอย่างไรเลยมีการ
กำาหนดกันเพ่ ือให้เป็ นมาตรฐาน"

"ส่วนเร่ ืองการกำาหนดประเภทว่ารายการไหนควรจะอยู่ในระดับใดจะเป็ นการหารือกันระหว่างช่องและกลุ่มนักวิชาการท่ีมีความ


เช่ียวชาญ" นายปราโมช รัฐวินิจ รักษาการอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ ให้สัมภาษณ์ไว้ในหนังสือพิมพ์มติชน ฉบับวันท่ี 24 พ.ย.

สัญลักษณ์ท่ีว่าจะปรากฏขึ้นก่อนรายการจะแพร่ภาพตัง้แต่วันท่ี 1 ธันวาคมนีเ้ป็ นต้นไป ทัง้นีร้ักษาการอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์


ยังบอกด้วยว่าการจัดเรตติง้ครัง้นีย
้ ังต้องฟั งเสียงประชาชน หากรายการใดจัดเรตติง้ไปแบบหน่ึงแล้วประชาชนเห็นว่าไม่เหมาะสมก็อาจจะ
มีการปรับเปล่ียนได้...
ต้องยอมรับครับว่า ทุกวันนีส ้ ังคมไทยเราค่อนข้างจะ "อ่อนแอ" ทีเดียวในเร่ ืองของระดับ "จิตสำานึกท่ีดี" เสียจนกระทัง่ต้องพ่ึงพา
เร่ ืองของตัวบทกฏหมาย กฎเกณฑ์ ท่ีเป็ นลายลักษณ์อักษรเพ่ ือเป็ นตัววัดว่าอะไรสมควร "จะถูก" สมควร "จะทำา" ท่ามกลางคนอีก
จำานวนไม่น้อยทีเดียวท่ีอาศัย "ความหมาย" ท่ีหลากหลายของตัวอักษรท่ีว่ามาตีความเพ่ ือจะหาผลประโยชน์ใส่ตัว

ความพยายามในการจัดเรตติง้ครัง้นีต้ ้องถือว่าเป็ นเจตนาท่ีดีครับ และก็สามารถกระทำาได้ไม่ยุ่งยากอะไร แต่คำาถามหน่ึงท่ีน่าสนใจก็


คือ ต่อให้มีการจัดเรตติง้กันออกมาจริงๆ อย่างท่ีว่าแล้วสังคมไทยเราจะได้อะไรจากการกระทำานีห ้ รือ?

เร่ิมกันตัง้แต่คำาถามท่ีว่า แล้วใครกันล่ะท่ีเป็ นคนกำาหนดว่ารายการไหนจะเป็ นรายการประเภท ด. ท. น. ฉ. จะเป็ นกองเซ็นเซอร์


หรือว่าเจ้าหน้าท่ข ี องแต่ละช่อง หรือนักวิชาการ? มีข้อกำาหนดหรือไม่ว่าแต่ละช่องจะต้องมีรายการในแต่ละประเภทท่ีว่าเป็ นจำานวน
http://www.manager.co.th/Entertainment/ViewNews.aspx?NewsID=9490000145282
--

VTR การจัดระดับความเหมาะสมของสื่อ ปัญหาร้านเกมส์ปมที่แก้ไม่ถูกจุด ตอนที่ ปัญหาร้านเกมส์ปมที่แก้ไม่ถูกจุด ตอนที่

โทรทัศน์ 2 1

คลิป มารูจ้ ักศูนย์เฝ้า


คลิปเด็กไทย 1 คลิปเด็กไทย 2
ระวังทางวัฒนธรรม

กันเถอะ

คลิป ปัจจัย 1 คลิป ปัจจัย 2

พม.รณรงค์เวลาดีเพื่อลูก-ครอบครัวอ. ถลุงงบประมาณ เพือ่ เด็กและเยาวชน ศธ.ร่วมกับสสส.จัดทำาชุดความรู้การใช้


จุฬาฯชี้คุณภาพชีวิตเด็กล้มเหลว อินเทอร์เน็ตของเยาวชนให้ดาวน์โหลดฟรี

คลิกดูรายละเอียดขอเชิญประชุมวิชาการเรื่อง"กระบวนทัศน์ใหม่เพื่อพัฒนาศักยภาพเด็กไทยในทศวรรษหน้้า"

ขอเชิญเข้าฟังการบรรยายพิเศษ เรือ่ ง "พัฒนาสมองด้วยเทคนิค BRAINGYM และ MIND MAP"

ขอเชิญร่วมฟังการบรรยายพิเศษ เรื่อง"ทีวีกับสมองและชีวิตคนไทย"
ผู้ทรงคุณวุฒิหลายท่านให้ทรรศนะไว้ใน e-book เล่มนี้ อ่านก็ได้ ฟังก็ได้

แบบประเมินเรตติ้งรายการโทรทัศน์... / ITTIPOL ทำาไมการนำาเสนอข่าวไม่เป็นกลาง?... / automotions@gmail.com


ข้อเสนอในการจัดทำามติคณะรัฐมนตรีในกา... / ITTIPOL ใช้ firefox ดูไม่ได้ครับ ... / osuntero
รายงานวิจัยเรื่อง การจัดระดับความเห... / ITTIPOL ขอดูรายการบางรายการย้อนหลังเกิน 3 เ... / yupinpop
เชิงอรรถ ๖ ประการในการจัดเรตติ้งราย... / ITTIPOL ดูไม่ได้ ทางเว็บกรุณาชี้แจงด้วยครับ... / tootam1@hotmail.com
ข้อเสนอเชิงยุทธศาสตร์ในการทำางานของร... / ITTIPOL สีเพี้ยน... / panuwat_1993@hotmail.com
รหัสเรตติ้งโทรทัศน์ตามข้อเสนอทางวิช... / ITTIPOL ทำาไมไม่มีสัญญาณเลย ... / nikkinoi
รหัสกวน... / iiimaji วิธีการดูอย่างหลังทำาอย่างไร ใครทราบ... / wanna4
นิทานติงต๊อง... / iiimaji ต้องการดูละครย้อนหลัง... / pranomdao@hotmail.com
ถ้า...พรุ่งนี้โลกแตก?... / iiimaji มืดแปดด้านครับ ไม่ทราบทุกท่านดูได้อ... / pongbp

การดูรายการย้อนหลังของช่อง 5... / noiwallop

http://www.me.in.th/
--

<< Home
ผลสรุปการสำารวจความคิดเห็นการจัดเรตติง้เปรียบเทียบกับสัญลักษณ์ทางรายการ ประจำาวันท่ี 1-15
พฤศจิกายน 2550
ช่วงเวลา จำานวณรายการท่ี
ช่อง (%) จำานวณรายการท่ีต่าง (%) จำานวณรายการทัง้หมด
กันยายน 2550 เหมือน
ตุลาคม 2550 3 240 86.64 37 13.36 277
พฤศจิกายน 2550 5 84 91.3 8 8.7 92
ธันวาคม 2550 7 56 42.42 76 57.58 132
9 68 87.18 10 12.82 78
11 65 48.15 70 51.85 135
TITV 137 82.53 29 17.47 166

จากจำานวนข้อมูลทัง้หมด 6,101 / 24,729 records


จัดทำาโดยเครือข่ายนิเทศศาสตร์ และเครือข่ายครอบครัว
http://www.me.in.th/get_rating.php

http://www.me.in.th/vote/

--
คำาถามท่ีได้รับคำาตอบแล้ว
ดูคำาถามอื่น »

วัดเรตติง้รายการทีวีเขาทำากันยังงัย และข้อมูลท่ีได้ถูกต้องเท่ียงตรงแม่นยำาแค่
ไหน ทดสอบได้อย่างไร
ดูผลการสำารวจเรตติ้งทีไรก็มีแต่ช่อง 7 นำาโด่ง
ทั้งที่หลายๆ รายการอย่างช่้ิอง 3 ช่อง 9 หรือช่อง 5 น่าจะดีกว่า
และพวกรายการละครนำ้าเน่า ทำาไมเรตติ้งสูงมากๆ กว่ารายการ
สาระคดีเสียอีก

• 7 เดือน ผ่านไป

แจ้งลบ

by yuttipun...
เป็นสมาชิกตั้งแต่:
12 ตุลาคม 2007
คะแนนรวม:
138 (ระดับ 1)

• เพิ่มเข้าไปยังรายชื่อเพื่อนของฉัน
• บล็อคผู้ใช้

คำาตอบท่ีดีท่ีสุด - เลือกโดยเจ้าของคำาถาม
มีทั้งสองแบบครับ คือสุ่มตัวอย่าง กับใช้เครื่องติดเพื่อวัดเรตติ้ง

กรณีของเครื่องวัดนั้น เมืองไทยจะติดตั้งโดยบริษัท AC Nielsen ครับ ซึ่งก็โดนวิจารณ์จากช่องอื่นที่เรตติ้งไม่ดีครับว่าส่วนใหญ่เครื่องเหล่านี้ติดกับบ้านของคนที่ฐานะ


ไม่ค่อยดี(เนื่องจากคนมีรายได้มักจะไม่ยอมให้ติดตั้งเครื่องแบบนี้ในบ้าน) ซึ่งส่งผลให้เรตติ้งของละครนำ้าเน่าดีกว่ารายการคุณภาพ ทีใ่ ห้ความรู้

อันนี้ก็ไม่ได้ดูถูกใครนะครับ แต่ต้องลองนึกสถานภาพของคนว่าคนส่วนใหญ่ที่หาเช้ากินคำ่า หรือแม้แต่คนทำางานออฟฟิศจนดึก ส่วนใหญ่ก็ไม่ค่อยอยากดูรายการที่


เคร่งเครียดครับ มักเลือกดูรายการบันเทิงเป็นหลัก ซึ่งละครโทรทัศน์เหล่านี้ก็คลายเครียดได้ทางหนึ่ง

ทางช่องโทรทัศน์ต่างๆ เองก็ทำาเรตติ้งรายการของตนเองเช่นกันครับ ซึ่งเมื่อทำาการสำารวจมาก็ปรากฎว่าละครนำ้าเน่าทั้งหลายได้รับความนิยมจริงๆ ในช่วงเวลาทอง


อย่างช่วงหลังข่าว ซึ่งรายการประเภทอื่นจะได้รับความสนใจน้อยกว่าเมื่อเทียบกับรายการประเภทนี้ ซึ่งก็เลยทำาให้ช่องโทรทัศน์คู่แข่งต้องทำารายการประเภทนี้ตามไป
ด้วยครับ
• 7 เดือน ผ่านไป

• 2 คะแนน: คำาตอบที่ดี
• 0 คะแนน: คำาตอบทีไ่ ม่ดี
• แจ้งลบ

เรตติ้งจากผู้ถาม:
ความคิดเห็นจากเจ้าของคำาถาม
ขอบคุณสำาหรับทุกๆ คำาตอบครับ

• 1 ให้เครื่องหมายดาวเพราะ น่าสนใจ
• อีเมล
• ความคิดเห็น (0)
• บันทึก
o บันทึกไปยังเว็บของฉัน

o RSS

ยังไม่มีความคิดเห็นในคำาถามนี้
เพ่ิมข้อคิดเห็น

กรุณาจำากัดคำาไว้ท่ี 300 ตัวอักษร

คำาตอบอ่ ืนๆ (6)

แสดง:

• by Perks L

เป็นสมาชิกตั้งแต่:
05 กรกฎาคม 2006
คะแนนรวม:
226 (ระดับ 1)

o เพิ่มเข้าไปยังรายชื่อเพื่อนของฉัน
o บล็อคผู้ใช้
http://en.wikipedia.org/wiki/Nielsen_Ratings

o 7 เดือน ผ่านไป
o 1 คะแนน: คำาตอบที่ดี
o 0 คะแนน: คำาตอบทีไ่ ม่ดี
o แจ้งลบ

• by OzY!

เป็นสมาชิกตั้งแต่:
12 สิงหาคม 2006
คะแนนรวม:
990 (ระดับ 2)

o เพิ่มเข้าไปยังรายชื่อเพื่อนของฉัน
o บล็อคผู้ใช้

ไม่รู้เมืองไทยทำาเหมือนกันรึเปล่า แต่ที่เมืองนอกทำาสองวิธีครับ
-แบบสอบถาม ไปนั่งสุ่มถามคนดูว่าดูอะไรกันบ้าง
- ใช้เครื่อง ก็เอาเครื่องไปสุ่มขอติดตามบ้าน แล้วก็ได้ข้อมูลโดยตรงจากเครื่องเวลาเราเปลี่ยนช่องครับ
เมืองไทยคงใช้การสุ่มถามนะ

o 7 เดือน ผ่านไป

ท่ีมา:

http://en.wikipedia.org/wiki/Nielsen_Ratings

o 1 คะแนน: คำาตอบที่ดี
o 0 คะแนน: คำาตอบทีไ่ ม่ดี
o แจ้งลบ

• by Nat

เป็นสมาชิกตั้งแต่:
19 มีนาคม 2007
คะแนนรวม:
38958 (ระดับ 7)

o ลบผู้ติดต่อ
ละครที่เขาชอบดูก็เพราะมันไม่เครียดเหมือนการเมืองค่ะ ทำางานเหนื่อย คงไม่อยากมานั่งดูอะไรที่มันต้องคิดมากไงค่ะ ผูห้ ญิงจะชอบแบบนี้แหละค่ะ เรื่อง
ไหนหวานแหววล่ะก็ฮิตติดลมบนได้ง่ายๆค่ะ ชีวิตจริงชองคนเราบางทีร้ายยิ่งกว่าในละครอีกนะ ดูแล้วจะได้รู้ทันมารยาคนกันบ้างค่ะ

o 7 เดือน ผ่านไป
o 1 คะแนน: คำาตอบที่ดี
o 0 คะแนน: คำาตอบทีไ่ ม่ดี
o แจ้งลบ

• by Pornchai M

เป็นสมาชิกตั้งแต่:
06 ธันวาคม 2007
คะแนนรวม:
151 (ระดับ 1)

o เพิ่มเข้าไปยังรายชื่อเพื่อนของฉัน
o บล็อคผู้ใช้

เพิ่มเติมจาก คำาตอบคนอื่นครับ
สำาหรับ rating ในไทยเค้าจะมีตัวคูณ (Multiply) เป็นค่าความครอบคลุมพื้นที่ หรือค่าสัณญานชัด ซึ่งช่อง 7 มีคา่ ตัวคูณนี้สูงที่สุด ดังนั้น แม้ rating วัดมาค่า
ใกล้เคียงกัน แต่ช่อง 7 ซึ่งมีตัวคูณนี้สูงกว่าช่องอื่น ก็ยังชนะอยู่ดี
ดูได้จาก การถ่ายทอดฟุตบอลโลกสมัยที่ ญี่ปุ่น กับ เกาหลีเป็นเจ้าภาพ ถ่ายทอดที่ช่อง 9 ซึ่งความครอบคลุมสัณญานน้อยกว่า การวัด Rating รายการเย็น
ตอนนั้น ฟุตบอลโลกแพ้ดาวพระศุกร์รายการจากช่อง 7 ครับ งง ล่ะซิ
ตอนช่อง 3 เปลี่ยนช่วงความถี่ในการส่ง ตอนนั้นก็ปรับราคาค่าโฆษณาขึ้น เพราะมั่นใจว่า บริษัทวัด rating จะปรับค่าตัวคูณตาม แต่สุดท้าย ช่อง 7 ก็ชนะ
อยู่ดี อันนี้ก็ไม่ทราบได้ว่าเป็นเพราะอะไร แต่สำาหรับคนซื้อมีเดีย ถ้าไม่เชื่อ rating ก็ไม่รู้จะทำาอย่างไรเช่นกันครับ

o 7 เดือน ผ่านไป
o 2 คะแนน: คำาตอบที่ดี
o 0 คะแนน: คำาตอบทีไ่ ม่ดี
o แจ้งลบ

• by surachai...

เป็นสมาชิกตั้งแต่:
02 พฤศจิกายน 2007
คะแนนรวม:
510 (ระดับ 2)

o เพิ่มเข้าไปยังรายชื่อเพื่อนของฉัน
o บล็อคผู้ใช้

ผมว่า การวัดเรตติ้งของบ้านเราน่าจะอยู่ที่สปอนเซอร์มากกว่า+กับการไปสุ่มข้อมูล เคยดูจากรายการทีวี ช่องหนึ่ง จำาไม่ได้ บอกที่มาของการวัดเรตติ้งเขาทำา


อย่างไร แน่นอนรายการละคร มีผู้ชมดูมากกว่า สารคดีหรือข่าว เหตุเพราะ ประเทศไทย ไม่ใช่มีแค่กรุงเทพและเมืองใหญ่เท่านั้น ในชนบท เขาไม่ดูข่าว และ
สารคดี

o 7 เดือน ผ่านไป
o 1 คะแนน: คำาตอบที่ดี
o 0 คะแนน: คำาตอบทีไ่ ม่ดี
o แจ้งลบ

• by pai ^-^

เป็นสมาชิกตั้งแต่:
28 ตุลาคม 2007
คะแนนรวม:
2027 (ระดับ 3)

o เพิ่มเข้าไปยังรายชื่อเพื่อนของฉัน
o บล็อคผู้ใช้
วัดจากการสุ่มส่งแบบสอบถามหรือการโวตทางโทรศัพท์
และจากนิตยสารทีวีบันเทิงที่มีขายเป็นประจำาทุกอาทิตย์
ถ้าช่องไหนขายสปอนต์เซอร์ได้เยอะอาจวัดค่าจากการขายก็ได้ค่ะ

http://search.spyhatyai.com/result.php?t=Yahoo!%20 รู้รอบ%20-%20 วัดเรตติ้งรายการทีวีเขาทำากันยังงัย%20 และข้อมูลที่


ได้%20...&u=http://th.answers.yahoo.com/question/index?qid=20071205110826AAQuBHt

You might also like