You are on page 1of 11

กฎกระทรวง

กําหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการดานความปลอดภัย
อาชีวอนามัย และสภาพแวดลอมในการทํางาน
เกี่ยวกับรังสีชนิดกอไอออน
พ.ศ. ๒๕๔๗

อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๖ และมาตรา ๑๐๓ แหงพระราชบัญญัติ


คุมครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ อันเปนพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับ
การจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๑ มาตรา ๓๕
มาตรา ๔๘ และมาตรา ๕๐ ของรัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทย บัญญัติใหกระทําได
โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแหงกฎหมาย รัฐมนตรีวาการกระทรวงแรงงานออก
กฎกระทรวงไวดังตอไปนี้

หมวด ๑
บททั่วไป

ขอ ๑ ในกฎกระทรวงนี้
“รังสี” หมายความวา รังสีชนิดกอไอออน
“รังสีชนิดกอไอออน (Ionizing radiation)” หมายความวา พลังงานในรูป
ของคลื่นแมเหล็กไฟฟาหรืออนุภาครังสีใด ๆ ที่สามารถกอใหเกิดการแตกตัวเปนไอออนได
ทั้งโดยทางตรงหรือโดยทางออมในตัวกลางที่ผานไป เชน รังสีแอลฟา รังสีบีตา รังสีแกมมา
รังสีเอกซ อนุภาคนิวตรอน อิเล็กตรอนที่มีความเร็วสูง โปรตอนที่มีความเร็วสูง เปนตน
“ตนกําเนิดรังสี (Source)” หมายความวา สิ่งหนึ่งสิ่งใดที่มีการแผรังสีออกมา
โดยการสลายตัวของนิวเคลียส หรือสามารถกอใหเกิดการแผรังสีออกมาโดยวิธีอื่น ทั้งนี้
ไมวาตนกําเนิดรังสีนั้นจะเปนชนิดชนิดปดผนึกหรือไมปดผนึกก็ตาม

“ตนกําเนิดรังสีชนิดไมปดผนึก (Unsealed source)” หมายความวา ตน


กําเนิดรังสีที่ไมไดมีการปดผนึก บรรจุ หรือหอหุมอยางถาวรในปลอกหุมหรือวัสดุหอหุมที่
มิดชิดและแข็งแรง ทนทานเพียงพอที่จะปองกันการรั่ว ไหล หก หลน หรือฟุงกระจายของสาร
กัมมันตรังสี
“กากกัมมันตรังสี (Radioactive waste)” หมายความวา สิง่ หนึ่งสิ่งใดที่
ประกอบหรือปนเปอนดวยสารกัมมันตรังสีและไมเปนประโยชนในการใชงาน
“ปริมาณรังสีสะสม” หมายความวา ผลรวมของปริมาณรังสีที่รางกายไดรับ
“พื้นที่ควบคุม” หมายความวา บริเวณที่กําหนดเปนบริเวณรังสีและบริเวณ
รังสีสูง
“บริเวณรังสี” หมายความวา บริเวณที่มีอัตราปริมาณรังสีเกิน ๒.๕ ไมโคร-
ซีเวอรต (micro Sievert) ตอชั่วโมง แตไมเกิน ๒๕ ไมโครซีเวอรต (micro Sievert) ตอชั่วโมง
“บริเวณรังสีสงู ” หมายความวา บริเวณที่มีอัตราปริมาณรังสีเกิน ๒๕ ไมโคร-
ซีเวอรต (micro Sievert) ตอชั่วโมงขึ้นไป
“อุปกรณบันทึกปริมาณรังสีประจําตัวบุคคล” หมายความวา อุปกรณบันทึก
ปริมาณรังสีที่ใชสวมใสหรือติดไวกับสวนตาง ๆ ของตัวลูกจาง เพื่อการบันทึกปริมาณรังสี
สะสมที่ลูกจางไดรับตามชวงเวลาของการปฏิบัติงานเกี่ยวกับรังสี ซึ่งสามารถอานคาไดโดย
ทันที หรือนําไปวิเคราะหผลในภายหลัง ไดแก ฟลม แบดจ (film badge) ฟลมริงก (film
ring) ที แอล ดี แบดจ (TLD badge) ที แอล ดี ริงก (TLD ring) ที แอล ดี แคปซูล (TLD
capsule) พอคเคท แชมเบอร (pocket chamber) พอคเคท โดสซิมิเตอร (pocket
dosimeter) เปนตน
“ผลิต” หมายความวา ทํา ผสม ปรุง ปรุงแตง แปรสภาพ เปลี่ยนรูป
และหมายความรวมถึงการบรรจุ เก็บ เคลื่นยาย และการติดฉลากหรือตราหรือสัญลักษณบน
หีบหอบรรจุ ภาชนะบรรจุ ปลอกหุม หรือสิง่ หอหุมสารกัมมันตรังสี
“มีไวในครอบครอง” หมายความวา การมีไวในครอบครอง ไมวาเพื่อตนเอง
หรือผูอื่น และไมวาจะเปนการมีไวเพื่อขาย เพือ่ ขนสง เพื่อใชหรือเพือ่ ประการอื่นใด และรวมถึง
การทิ้งอยูหรือปรากฏอยูในบริเวณที่อยูในความครอบครองดวย

หมวด ๒
การควบคุมและปองกันอันตราย

ขอ ๒ ใหนายจางซึ่งผลิตหรือมีไวในครอบครองซึ่งตนกําเนิดรังสี แจงจํานวน


และปริมาณความแรงรังสีของตนกําเนิดรังสีชนิดดังกลาวตออธิบดีหรือผูซึ่งอธิบดีมอบหมาย
ภายในเจ็ดวันนับแตวันที่ผลิตหรือมีไวในครอบครอง
ในกรณีนายจางผลิตหรือมีไวในครอบครองซึ่งตนกําเนิดรังสีกอนวันที่
กฎกระทรวงนี้ใชบังคับ ใหนายจางแจงจํานวนและปริมาณความแรงรังสีของตนกําเนิดรังสี
ดังกลาวตออธิบดีหรือผูซึ่งอธิบดีมอบหมายภายในเจ็ดวันนับแตวันที่กฎกระทรวงนี้ใชบังคับ
ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงจํานวนหรือปริมาณความแรงรังสีของตนกําเนิด
รังสีตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสองที่ไมใชการเปลี่ยนแปลงของสารกัมมันตรังสี โดยการสลายตัว
ตามธรรมชาติ ใหนายจางแจงการเปลี่ยนแปลงดังกลาวตออธิบดีหรือผูซึ่งอธิบดีมอบหมาย
ภายในสิบหาวันนับแตวันที่มีการเปลี่ยนแปลง
การแจงจํานวนและปริมาณความแรงรังสีของตนกําเนิดรังสีตามวรรคหนึ่ง
และวรรคสอง การแจงมีการเปลี่ยนแปลงของจํานวนหรือปริมาณความแรงรังสีของตนกําเนิด
รังสีตามวรรคสาม ใหเปนไปตามแบบที่อธิบดีกําหนด
ขอ ๓ ใหนายจางกําหนดพื้นที่ควบคุม โดยจัดทํารั้ว คอกกั้น หรือเสนแสดง
แนวเขต และจัดใหมีปายขอความ “ระวังอันตรายจากรังสี หามเขา” อยางนอยเปนภาษาไทย
ดวยตัวอักษรสีดําบนพื้นสีเหลือง แสดงไวใหเห็นโดยชัดเจนในบริเวณนั้น
ขอ ๔ หามลูกจางซึ่งไมมีหนาที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับรังสีหรือบุคคลภายนอก
เขาไปในพื้นที่ควบคุม เวนแตจะไดรับมอบหมายหรือไดรับอนุญาตจากนายจาง ทั้งนี้ ตองอยู
ภายใตการควบคุมดูแลของผูรับผิดชอบดําเนินการทางดานเทคนิคในเรื่องรังสีตามขอ ๙
หามมิใหนายจางอนุญาตใหหญิงมีครรภเขาไปในพื้นที่ควบคุม
ขอ ๕ ใหนายจางจัดเครื่องมือหรืออุปกรณชวยลดปริมาณรังสีที่ตนกําเนิด
รังสีหรือที่ทางผานของรังสี และกําหนดวิธีและเวลาการทํางานเพื่อปองกันมิใหลูกจางซึ่ง
ปฏิบัติงานในพื้นที่ควบคุมไดรับปริมาณรังสีสะสมเกินเกณฑกําหนดอยางใดอยางหนี่ง
ดังตอไปนี้

(๑) ๒๐ มิลลิซีเวอรต (milli Sievert) ตอป โดยเฉลี่ยในชวงหาปติดตอกัน


สําหรับศีรษะ ลําตัว อวัยวะที่เกี่ยวกับการสรางโลหิตและระบบอวัยวะสืบพันธุ ทั้งนี้ ในแตละ
ปจะรับปริมาณรังสีสะสมไดไมเกิน ๕๐ มิลลิซีเวอรต (milli Sievert)
(๒) ๑๕๐ มิลลิซีเวอรต (milli Sievert) ตอป สําหรับเลนสของดวงตา
(๓) ๕๐๐ มิลลิซีเวอรต (milli Sievert) ตอป สําหรับผิวหนัง หรือมือ และ
เทา
ขอ ๖ ใหนายจางจัดใหลูกจางซึ่งปฏิบัติงานเกี่ยวกับรังสี ใชอุปกรณบันทึก
ปริมาณรังสีประจําตัวบุคคลตลอดเวลาที่มีการปฏิบัติงาน
ขอ ๗ ใหนายจางจัดทําขอมูลเกี่ยวกับปริมาณรังสีสะสมที่ลูกจางไดรับเปน
ประจําทุกเดือนตามแบบที่อธิบดีกําหนด โดยนายจางตองแจงปริมาณรังสีสะสมดังกลาว
ใหลูกจางทราบทุกครั้งและเก็บหลักฐานไว ณ สถานที่ทํางานของลูกจาง พรอมที่จะให
พนักงานตรวจแรงงานตรวจสอบไดตลอดเวลาทําการ
ขอ ๘ ใหนายจางจัดใหมีลูกจางซึ่งมีคุณสมบัติตามขอ ๙ อยางนอยหนึ่งคน
เปนผูรับผิดชอบดําเนินการทางดานเทคนิคในเรื่องรังสีประจําสถานประกอบกิจการตลอด
ระยะเวลาที่มีการทํางานเกี่ยวกับรังสี เพื่อปองกันและระงับอันตรายจากรังสีที่อาจมีตอบุคคล
หรือทรัพยสิน โดยใหปฏิบัติหนาที่ดังตอไปนี้
(๑) ใหคําแนะนําหรือคําปรึกษาแกนายจางและลูกจางเกี่ยวกับความปลอดภัย
ในการทํางานเกี่ยวกับรังสี รวมทั้งใหคําแนะนําหรือคําปรึกษาแกนายจางในการจัดทําแนว
ปฏิบัติ ขอบังคับ กฎหรือระเบียบวาดวยความปลดภัยในการทํางานเกี่ยวกับรังสี เพื่อให
ลูกจางใชเปนคูมอื ในการปฏิบัติงานตามขอ ๒๘
(๒) ตรวจตราและควบคุมดูแลการปฏิบัติงาน สภาพการทํางาน การใชและ
การบํารุงรักษาวัสดุ อุปกรณ และเครื่องมือ รวมทั้งการทําความสะอาดและการกําจัดการ
เปรอะเปอนหรือปนเปอนทางรังสีตามขอ ๑๒ แลวรายงานนายจางใหดําเนินการปรับปรุง
แกไข
(๓) จัดทําบันทึก สถิติ และสืบหาสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุและโรคที่
เกิดขึ้นเกี่ยวเนื่องจากรังสี แลวรายงานใหนายจางดําเนินการปรับปรุงแกไข

(๔) ประเมินอันตรายจากรังสีในสถานที่ทํางานของลูกจางตามหลักวิธี
ทางดานรังสีและบันทึกเปนหลักฐานอยางนอยเดือนละหนึ่งครั้ง และนํามาวางแผนหรือกําหนด
แนวทางปองกันและระงับอันตราย
(๕) ใหคําแนะนําและขอมูลแกนายจางเพื่อการแจงเหตุตามขอ ๒๑
ในกรณีที่ผูรับผิดชอบดําเนินการทางดานเทคนิคในเรื่องรังสีพนจากหนาที่
นายจางตองจัดใหมีผูรับผิดชอบดําเนินการทางดานเทคนิคในเรื่องรังสีคนใหมแทนนับแตวันที่
ผูรับผิดชอบเดิมพนหนาที่
ใหนายจางแจงชื่อและคุณสมบัติของผูรับผิดชอบดําเนินการทางดานเทคนิค
ในเรื่องรังสีตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสองตออธิบดีหรือผูซึ่งอธิบดีมอบหมาย ตามแบบที่อธิบดี
กําหนดภายในเจ็ดวันนับแตวันที่จัดใหมีผูรับผิดชอบดําเนินการทางดานเทคนิคในเรื่องรังสี
แลวแตกรณี
ขอ ๙ ผูรับผิดชอบดําเนินการทางดานเทคนิคในเรื่องรังสี ตองมีคุณสมบัติ
อยางใดอยางหนึ่ง ดังตอไปนี้
(๑) สําเร็จการศึกษาไมต่ํากวาปริญญาตรีหรือเทียบเทาทางดานวิทยาศาสตร
โดยไดศึกษาและสอบผานวิชาเกี่ยวกับการปองกันอันตรายจากรังสีอยางนอยสามหนวยกิต
(๒) เปนผูซึ่งผานการฝกอบรมและผานการทดสอบ ตามหลักสูตรการปองกัน
อันตรายทางรังสี จากสํานักงานปรมาณูเพื่อสันติ กระทรวงวิทยาศาสตรและเทคโนโลยี หรือ
สถาบันอื่นที่กรมสวัสดิการและคุมครองแรงงาน กระทรวงแรงงานรับรอง
ขอ ๑๐ หามมิใหนายจางยินยอมหรือปลอยปละละเลยใหลูกจางเขาพักอาศัย
พักผอน นําอาหาร เครื่องดืม่ หรือบุหรี่เขาไปในพื้นที่ควบคุม
ขอ ๑๑ ใหนายจางจัดใหมีที่ลางมือ ที่ลางหนาและที่อาบน้ํา เพื่อใหลูกจาง
ซึ่งปฏิบัติงานเกี่ยวกับรังสีใชหลังจากปฏิบัติงานหรือกอนออกจากที่ทํางาน และตองใหลูกจาง
ถอดชุดทํางานที่ใชปฏิบัติงานเกี่ยวกับรังสีออก และเก็บไวในสถานที่ที่เหมาะสมเปนสัดสวน
โดยเฉพาะ

ขอ ๑๒ ใหนายจางจัดใหมีการทําความสะอาดชุดทํางาน สิ่งของ อุปกรณ


เครื่องใช รวมทั้งสถานที่ที่มีการเปรอะเปอนหรือปนเปอนสารกัมมันตรังสี ภายในเวลา
ที่เหมาะสมและโดยวิธีที่ปลอดภัย
ขอ ๑๓ ใหนายจางซึ่งผลิตหรือมีไวในครอบครองซึ่งตนกําเนิดรังสี จัดใหมี
แผนปองกันและระงับอันตรายจากรังสีในภาวะการทํางานปกติและเหตุฉุกเฉินทางรังสี หรือ
อุบัติเหตุรายแรง และสงแผนดังกลาวตออธิบดีหรือผูซึ่งอธิบดีมอบหมายเพื่อใหความเห็นชอบ
ภายในสามสิบวันนับแตวันที่ผลิตหรือมีไวในครอบครอบซึ่งตนกําเนิดรังสี
ในกรณีที่นายจางผลิต หรือมีไวในครอบครองซึ่งตนกําเนิดรังสีอยูกอนวันที่
กฎกระทรวงนี้ใชบังคับ ใหนายจางจัดใหมีและสงแผนปองกันและระงับอันตรายจากรังสีใน
ภาวะการทํางานปกติและเหตุฉุกเฉินทางรังสี หรืออุบัติเหตุรายแรงตออธิบดีหรือผูซึ่งอธิบดี
มอบหมาย เพื่อใหความเห็นชอบภายในสามสิบวันนับแตวันที่กฎกระทรวงนี้ใชบังคับ
ในกรณีที่นายจางมีแผนปองกันและระงับอันตรายจากรังสีในภาวะการ
ทํางานปกติและเหตุฉุกเฉินทางรังสี หรืออุบัติเหตุรายแรงตามกฎหมายวาดวยพลังงาน
ปรมาณูเพื่อสันติหรือกฎหมายอื่น ใหนายจางจัดสงแผนดังกลาวตออธิบดีหรือผูซึ่งอธิบดี
มอบหมายในกําหนดเวลาตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง แลวแตกรณี
ใหนายจางจัดใหมีการฝกซอมตามแผนปองกันและระงับอันตรายจากรังสีใน
ภาวะการทํางานปกติและเหตุฉุกเฉินทางรังสี หรืออุบัติเหตุรายแรง อยางนอยปละหนึ่งครั้ง
ขอ ๑๔ ในกรณีที่มีสารกัมมันตรังสีรั่ว ไหล หก หลน หรือฟุงกระจาย เกิด
อัคคีภัย เกิดเหตุฉุกเฉินทางรังสีหรืออุบัติเหตุรายแรง อันอาจเปนเหตุใหลูกจางประสบอันตราย
เจ็บปวยหรือตาย ใหนายจางสั่งใหลูกจางทุกคนหยุดการทํางานและออกไปยังสถานที่ที่
ปลอดภัยทันที และใหนายจางดําเนินการใหมีความปลอดภัยตามแผนปองกันและระงับ
อันตรายจากรังสีในเหตุฉุกเฉินทางรังสีโดยมิชักชา
ขอ ๑๕ ใหนายจางเก็บรักษา เคลื่อนยาย และขนสงตนกําเนิดรังสี รวมทั้ง
การจัดการกากกัมมันตรังสีเพื่อใหเกิดความปลอดภัยแกลูกจางตามเงื่อนไขและวิธีการที่
อธิบดีกําหนด

หมวด ๓
เครื่องหมาย ฉลาก และสัญญาณเตือนภัย

ขอ ๑๖ ใหนายจางจัดใหมีเครื่องหมายเตือนภัยติดไวใหเห็นโดยชัดเจนใน
บริเวณรังสี บริเวณรังสีสูง บริเวณที่มีการฟุงกระจายของสารกัมมันตรังสี หรือบริเวณหรือ
หองใด ๆ ที่มีการเก็บรักษาสารกัมมันตรังสี ทั้งนี้ ใหเปนไปตามแบบที่อธิบดีกําหนด
ขอ ๑๗ ใหนายจางจัดทําฉลากที่มีเครื่องหมายและขอความเตือนภัย ติดไว
ที่ภาชนะที่ใชบรรจุหรือหอหุมสารกัมมันตรังสีตามแบบที่อธิบดีกําหนด
ขอ ๑๘ ใหนายจางจัดใหมีปายหามนําภาชนะหรือวัสดุซึ่งเปรอะเปอนหรือ
ปนเปอนสารกัมมันตรังสีออกไปนอกบริเวณที่ปฏิบัติการ
ขอ ๑๙ ใหนายจางติดตั้งสัญญาณไฟกระพริบสีแดงเพื่อเตือนภัยในบริเวณ
รังสีสูงใหเห็นไดชัดเจน
ขอ ๒๐ ใหนายจางจัดใหมีระบบสัญญาณฉุกเฉินในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินทาง
รังสีขึ้น เพื่อใหลูกจางออกไปยังสถานที่ที่ปลอดภัย โดยสัญญาณฉุกเฉินตองมีลักษณะ ดังนี้
(๑) ระบบสัญญาณฉุกเฉิน ตองเปลงเสียงใหลูกจางที่ทํางานภายในอาคาร
ไดยินอยางทั่วถึง โดยมีระดับความดังของเสียงไมนอยกวา ๑๐๐ เดซิเบล (เอ) วัดหางจากจุด
กําเนิดของเสียงหนึ่งเมตรโดยรอบ
(๒) อุปกรณที่ทําใหเสียงของสัญญาณฉุกเฉินทํางาน ตองอยูใ นที่เดนชัด
เขาไปถึงไดงาย
(๓) สัญญาณฉุกเฉินจะตองมีเสียงที่แตกตางไปจากเสียงที่ใชในสถาน
ประกอบกิจการทั่วไป และหามใชเสียงดังกลาวในกรณีอื่นที่ไมเกี่ยวของกัน
(๔) ตองจัดใหมีการทดสอบประสิทธิภาพในการทํางานของระบบสัญญาณ
ฉุกเฉิน อยางนอยเดือนละหนึ่งครั้ง
สําหรับกิจการสถานพยาบาลหรือสถานที่ที่ไมตองการใชเสียง ตองจัดใหมี
อุปกรณหรือมาตรการอื่นใด เชน สัญญาณไฟ รหัส ที่สามารถแจงเหตุไดอยางมีประสิทธิภาพ

หมวด ๔
การแจงเหตุและการรายงาน

ขอ ๒๑ ในกรณีที่ตนกําเนิดรังสี อุปกรณ เครื่องมือ เครื่องจักรที่เกี่ยวเนื่องกับ


การใชรังสีเกิดความเสียหาย ชํารุด แตกราว หรือสูญหาย ซึ่งอาจทําใหสารกัมมันตรังสี
รั่วไหล หกหลน หรือฟุงกระจาย สูญหาย เกิดอัคคีภัย เกิดเหตุฉุกเฉินทางรังสีหรืออุบัติเหตุ
รายแรง อันอาจเปนเหตุใหลูกจางประสบอันตราย เจ็บปวยหรือตาย ใหนายจางแจงเหตุ
ดังกลาวโดยทันทีตออธิบดีหรือผูซึ่งอธิบดีมอบหมาย
การแจงเหตุตามวรรคหนึ่ง ใหนายจางแจงโดยการสงขอความทางโทรสารหรือ
โทรศัพท ในกรณีมีเหตุขัดของไมสามารถกระทําได ใหแจงโดยวิธีอื่นที่ทําใหทราบเหตุโดยเร็ว
ขอ ๒๒ ใหนายจางจัดทํารายงานเหตุการณที่เกิดขึ้นตามขอ ๒๑ ซึ่งอยางนอย
ตองมีรายละเอียดเกี่ยวกับสาเหตุ ขอบเขตของการสัมผัสรังสีหรือสารกัมมันตรังสี ปริมาณ
ความแรงของรังสี สาเหตุที่ลูกจางไดรับรังสี การแกไขปญหาที่เกิดขึ้นและขั้นตอนที่จะปองกัน
การเกิดเหตุซ้ําอีก เพื่อรายงานตออธิบดีหรือผูซึ่งอธิบดีมอบหมายภายในสามสิบวันนับแต
วันที่เกิดเหตุ
ขอ ๒๓ ในกรณีที่มีการตาย การเจ็บปวย การประสบอันตราย หรือการเกิดโรค
เนื่องจากการทํางานเกี่ยวกับรังสี ไมวาจะเปนกรณีที่เกิดจากเหตุตามขอ ๒๑ หรือกรณี ให
นายจางรายงานตออธิบดีหรือผูซึ่งอธิบดีมอบหมายภายในสิบหาวันนับแตวันที่ลูกจางตาย
หรือไดรับอันตรายเนื่องจากการทํางานเกี่ยวกับรังสี
ขอ ๒๔ ใหนายจางรายงานการปฏิบัติงานของผูร ับผิดชอบดําเนินการทางดาน
เทคนิคในเรื่องรังสีตออธิบดีหรือผูซึ่งอธิบดีมอบหมาย ตามกําหนดเวลา ดังนี้
(๑) การปฏิบัติงานระหวางเดือนมกราคมถึงเดือนมิถุนายน ใหรายงานภายใน
เดือนกรกฎาคมของปเดียวกัน
(๒) การปฏิบัติงานระหวางเดือนกรกฎาคมถึงเดือนธันวาคม ใหรายงานภายใน
เดือนมกราคมของปถัดไป
การรายงานตามวรรคหนึ่ง ใหเปนไปตามแบบที่อธิบดีกําหนด

หมวด ๕
การคุมครองความปลอดภัยสวนบุคคล

ขอ ๒๕ ใหนายจางจัดอุปกรณคุมครองความปลอดภัยสวนบุคคล เชน


หมวกพลาสติก ถุงมือผาหรือยาง รองเทา เสื้อคลุมที่ทําดวยฝายหรือยาง แวนตา ที่กรอง
อากาศ เครื่องชวยหายใจ หรืออุปกรณอื่นที่จําเปน ซึ่งมีคุณสมบัติที่สามารถปองกันหรือลด
อันตรายจากรังสีที่จะเขาสูรางกาย เพื่อใหลูกจางซึ่งทํางานเกี่ยวกับตนกําเนิดรังสีชนิดไมปด
ผนึก ใชหรือสวมใสตลอดเวลาขณะปฏิบัติงาน ทั้งนี้ ใหเปนไปตามสภาพและลักษณะของ
งาน
ในกรณีที่ลูกจางไมใชหรือไมสวมใสอุปกรณคุมครองความปลอดภัยสวนบุคคล
ใหนายจางสั่งลูกจางหยุดการทํางานทันทีจนกวาลูกจางจะไดใชหรือสวมใสอุปกรณดังกลาว
อุปกรณคุมครองความปลอดภัยสวนบุคคลที่นายจางจัดใหลูกจางใชหรือ
สวมใสขณะปฏิบัติงานเกี่ยวกับตนกําเนิดรังสีชนิดไมปดผนึก ใหเปนไปตามมาตรฐานที่
อธิบดีกําหนด
ขอ ๒๖ ใหนายจางปฏิบัติดังตอไปนี้
(๑) จัดทําคูมือหรือเอกสารเกี่ยวกับประโยชน วิธีการใช และวิธีการบํารุง
รักษาอุปกรณคุมครองความปลอดภัยสวนบุคคล พรอมทั้งแจกจายใหแกลูกจางซึ่งทํางาน
เกี่ยวกับตนกําเนิดรังสีชนิดไมปดผนึกทุกคน คูมือและเอกสารนี้อยางนอยตองมีขอความ
เปนภาษาไทย
(๒) สาธิตเกี่ยวกับวิธีการใชและวิธีการบํารุงรักษาอุปกรณคุมครองความ-
ปลอดภัยสวนบุคคลใหผูเกี่ยวของทราบ
(๓) กําหนดมาตรการหรือขอบังคับเกี่ยวกับการใชและการบํารุงรักษาอุปกรณ
คุมครองความปลอดภัยสวนบุคคลเปนลายลักษณอักษร พรอมทั้งแจงใหลูกจางทราบ
๑๐

หมวด ๖
เบ็ดเตล็ด

ขอ ๒๗ ใหนายจางจัดใหลูกจางซึ่งปฏิบัติงานเกี่ยวกับรังสี ไดรับการอบรม


ใหเขาใจและทราบถึงอันตราย และวิธีการปองกันอันตรายจากรังสีกอนเขารับหนาที่ ตาม
หลักเกณฑและวิธีการที่อธิบดีกําหนด
ขอ ๒๘ ใหนายจางจัดทําแนวปฏิบัติ ขอบังคับ กฎหรือระเบียบวาดวย
ความปลอดภัยในการทํางานเกี่ยวกับรังสีซึ่งอยางนอยตองมีขอความเปนภาษาไทย เพื่อให
ลูกจางใชเปนคูมือปฏิบัติงาน พรอมทั้งปดประกาศโดยเปดเผย ณ สถานที่ทํางานของลูกจาง
เพื่อใหลูกจางไดทราบและดูไดโดยสะดวก
ขอ ๒๙ ใหนายจางจัดใหลูกจางซึ่งปฏิบัติงานเกี่ยวกับรังสี ไดรับการตรวจ
สุขภาพรางกายอยางนอยปละหนึ่งครั้ง และเก็บผลการตรวจไว ณ สถานที่ทํางานของลูกจาง
พรอมที่จะใหพนักงานตรวจแรงงานตรวจสอบไดตลอดเวลาทําการ
ขอ ๓๐ ในกรณีที่พบความผิดปกติของรางกายหรือความเจ็บปวยเนื่องจาก
การทํางานเกี่ยวกับรังสีของลูกจางหรือมีใบรับรองของแพทยแผนปจจุบันชั้นหนึ่ง ที่แสดงวา
ลูกจางไมอาจทํางานในหนาที่เดิมตอไปได นายจางตองจัดใหลูกจางไดรับการรักษาพยาบาล
ในทันที และเปลี่ยนงานที่เหมาะสมใหลูกจางนั้นเปนการชั่วคราวตามคําแนะนําของแพทย
หรือตามที่เห็นสมควร จนกวาจะไดรับการยืนยันจากแพทยใหสามารถกลับเขาทํางานใน
หนาที่เดิมได
ขอ ๓๑ ใหนายจางจัดเก็บหลักฐานตามขอ ๗ และขอ ๒๙ ไว ณ สถาน-
ประกอบกิจการหรือสํานักงานของนายจางเปนเวลาไมนอยกวาสองป นับแตวันสิ้นสุดการ
จางงานของลูกจางแตละราย เวนแตในกรณีที่มีคํารองของลูกจางตอพนักงานตรวจแรงงาน
หรือมีการฟองคดีตอศาลเกี่ยวกับโรคหรืออันตรายอยางใดตอสุขภาพของลูกจาง ใหนายจาง
เก็บหลักฐานดังกลาวไวจนกวาจะมีคําสั่งของพนักงานตรวจแรงงานหรือคําพิพากษาถึงที่สุด
แลวแตกรณี
๑๑

ขอ ๓๒ กฎกระทรวงนี้ใหใชบังคับเมื่อพนกําหนดหนึ่งรอยแปดสิบวันนับแตวัน
ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเปนตนไป

ใหไว ณ วันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๗

อุไรวรรณ เทียนทอง
(นางอุไรวรรณ เทียนทอง)
รัฐมนตรีวาการกระทรวงแรงงาน

_____________________________________________
ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา เลมที่ ๑๒๑ ตอนที่ ๕๒ ก วันที่ ๒๐ สิงหาคม ๒๕๔๗

You might also like