You are on page 1of 129

หน่วยท่ี 1

มนุษย์เป็ นสัตว์สังคม (social animal) หมายความว่า มนุษย์นิยมท่ีจะอยู่เป็ นหมู่


เป็ นพวก รวมกันเป็ นกลุ่มก้อน และการรวมตัวกันเป็ นสังคมมนุษย์นีเ้อง
เป็ นผลให้มนุษย์มีความแข็งแกร่งมีสติปัญญาร่วมกัน และมีพลังเป็ นปึ ก
แผ่นเพ่ ือฝ่ าพันอุปสรรคภยันตรายนานาประการมาได้โดยตลอดรอดฝั่ งเร่ ือย
มา
เม่ ือมนุษย์ได้มาอยู่รวมกันเป็ นสังคม ในแต่ละสังคมจึงมีความจำาเป็ นท่ีจะ
ต้องสร้างกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ขึ้น เพ่ ือควบคุมความประพฤติของสมาชิกใน
สังคมให้เป็ นไปในทำานองเดียวกัน และรักษาความเป็ นระเบียบตลอดจน
ความสงบเรียบร้อยของสังคมไว้
นอกจากตัวบทกฎหมายแล้ว มนุษย์ยังมีกฎเกณฑ์ความประพฤติในรูปอ่ ืน
ๆ อีกหลายประการ อาทิเช่น ศาสนา ศีลธรรม และจารีตประเพณี เป็ นต้น
ระเบียบสังคมเหล่านีต ้ ่างก็มีไว้เพ่ ือควบคุมและกำาหนดขอบเขตพฤติกรรม
ของมนุษย์เช่นเดียวกัน
ศาสนาเป็ นการกำาหนดความประพฤติโดยให้มีความเช่ ือ ศรัทธา และกำาหนด
แนวทางปฏิบัติไว้
ศีลธรรม คือ ความรู้สึกนึกคิดของมนุษย์ว่าการกระทำาอย่างไรเป็ นการ
กระทำาท่ีชอบ การกระทำาอย่างไรเป็ นการกระทำาท่ีไม่ชอบ
ความแตกต่างระหว่างกฎหมายกับศีลธรรมบางประการ คือ
1. กฎหมายเป็ นข้อบังคับท่ก ี ำาหนดพฤติกรรมภายนอกของมนุษย์ แต่ศีล
ธรรมเป็ นเร่ ืองความรู้สึกภายในใจของมนุษย์
2. ศีลธรรมมุ่งหมายให้มนุษย์พร้อมบริบูรณ์ไปด้วยความดีทัง้ทางร่างกายและ
จิตใจ แต่กฎหมายมุ่งหมายเพียงดำารงไว้ซ่ึงความเป็ นระเบียบเรียบร้อยของ
สังคม
3. กฎหมายนัน
้ การฝ่ าฝื นจะต้องได้รับผลร้ายโดยรัฐเป็ นผูก
้ ำาหนดสภาพ
บังคับ แต่การฝ่ าฝื นศีลธรรมย่อมมีผลสภาพบังคับเป็ นลักษณะการกระทบ
กระเทือนจิตใจของผู้ฝ่าฝื น
จารีตประเพณี หมายถึง ระเบียบแบบแผนของความประพฤติท่ีมนุษย์ปฏิบัติ
สืบต่อกันมา โดยมุ่งถึงส่ิงท่ีเป็ นการกระทำาภายนอกของมนุษย์เท่านัน

ข้อแตกต่างในสาระสำาคัญบางประการ คือ
1. กฎหมายนัน
้ รัฐจะเป็ นผู้มีอำานาจบัญญัติขึ้นใช้บังคับ แต่จารีตประเพณีนัน

ประชาชนอาจจะเป็ นชนชัน ้ ใดชัน
้ หน่ ึงเป็ นผู้กำาหนดขึ้นก็ได้
2. การกระทำาท่ีผิดกฎหมายย่อมรับผลร้าย คือ การลงโทษตามกฎหมาย แต่
ถ้ากระทำาผิดจารีตประเพณีผลร้ายท่ีได้รับคือ การถูกติเตียนจากสังคม
ความหมายของกฎหมายในปั จจุบัน – กฎแห่งความความประพฤติของ
มนุษย์ในสังคมซ่ ึงทำาหน้าท่ีควบคุมความประพฤติของมนุษย์ และเป็ น
บรรทัดฐานความประพฤติ
ความหมายในทรรศนะของสำานักความคิดกฎหมายธรรมชาติ (Natural Law)
กฎหมายธรรมชาติ – กฎท่ีสอดคล้องกับความเป็ นธรรม มโนธรรม ศีลธรรม
ของมนุษย์ มีอยู่เองตามธรรมชาติ เกิดขึ้นเองโดยมนุษย์ไม่ได้ทำาขึ้น
กฎหมายธรรมชาติมีท่ีมาด้วยกัน 3 ทาง คือ
1. เกิดจากธรรมชาติโดยตรง เหมือนปรากฏการณ์อ่ืน ๆ ของโลก
2. เกิดจากพระเจ้า โดยพระเจ้าเป็ นผู้กำาหนดให้มีขึ้น
3. เกิดจากความรู้สก
ึ ผิดชอบของมนุษย์เอง
กฎหมายธรรมชาติมีลักษณะพิเศษ 3 ประการ คือ
1. ใช้ได้โดยไม่จำากัดเวลา กล่าวคือ กฎหมายธรรมชาติย่อมใช้ไปได้เสมอ ไม่มี
วันยกเลิกหรือล่วงสมัย
2. ใช้ได้โดยไม่จำากัดสถานท่ี กล่าวคือ กฎหมายธรรมชาติใช้ได้ทุกแห่งไม่
จำากัดว่าจะต้องใช้ได้เฉพาะในรัฐใดหรือสถานท่ีใดเท่านัน

3. อยู่เหนือกฎหมายของรัฐ กล่าวคือ กฎหมายธรรมชาติย่อมมีความยุติธรรม
เป็ นท่ีสุด ฉะนัน
้ กฎหมายของรัฐจะขัดหรือแย้งต่อกฎหมายธรรมชาติไม่ได้
ความหมายในทรรศนะของสำานักความคิดทางกฎหมายฝ่ ายบ้านเมือง
(Positive Law)
กฎหมาย – คำาสัง่คำาบัญชาของรัฏฐาธิปัตย์ ซ่ ึงบังคับใช้กบ
ั กฎหมายทัง้หลาย
ถ้าผู้ใดไม่ปฏิบัติตาม โดยปกติแล้วผู้นัน
้ ต้องรับโทษ
ตามความเป็ นของออสติน กฎหมายท่ีแท้จริงและเป็ นกฎหมายในทาง
นิติศาสตร์ท่ีถูกต้องท่ีสุด คือ “กฎหมายฝ่ ายบ้านเมือง” (Positive Law) ซ่ ึงมีองค์
ประกอบเป็ นทฤษฎี 5 ประการ คือ
(1) ทฤษฎีคำาสัง่คำาบัญชา (The command theory)
(2) ทฤษฎีว่าด้วยรัฏฐาธิปัตย์ (The sovereign theory)
(3) ทฤษฏีว่าด้วยผลบังคับทัว่ไป (The general application theory)
(4) ทฤษฎีว่าด้วยการปฏิบัติตาม (The observance theory)
(5) ทฤษฎีว่าด้วยสภาพบังคับ (The sanction theory)
ลักษณะของกฎหมายโดยทัว่ไป แบ่งออกได้ 4 ประการ คือ
(1) กฎหมายมีลก
ั ษณะเป็ นคำาสัง่บังคับมิใช่คำาขอร้องวิงวอน หรือแถลงการณ์
(2) กฎหมายเป็ นคำาสัง่บังคับท่ีกำาหนดขึ้นโดยผู้มีอำานาจในสังคม ซ่ ึงเรียกว่า
รัฏฐาธิปัตย์
(3) กฎหมายเป็ นคำาสัง่บังคับท่ีใช้บังคับ หรือให้เป็ นท่ีทราบแก่คนทัว่ไป
(4) กฎหมายต้องมีสภาพบังคับแก่ผู้ฝ่าฝื น
ประโยชน์ของการศึกษากฎหมาย
1. ประโยชน์ในด้านการศึกษาทางสังคมศาสตร์ เก่ียวกับการกำาหนดบทบาท
และพฤติกรรมของมนุษย์ในสังคม
2. ประโยชน์อันเกิดจากการได้รู้สิทธิและหน้าท่ีตามกฎหมายเพราะเม่ ือเราอยู่
รวมกันเป็ นสังคม ทัง้นีเ้พ่ ือความสงบสุข และความเป็ นระเบียบเรียบร้อย
ของสังคม
3. ประโยชน์จากการระวังตัวเองท่ีไม่พลัง้พลาดกระทำาผิดอันเน่ ืองมาจากหลัก
ท่ีว่า “ความไม่รก
ู้ ฎหมายไม่เป็ นข้อแก้ตัว”
4. ประโยชน์ในทางวิชาชีพ
5. ประโยชน์ในทางการเมืองการปกครอง
คำาสัง่คำาบัญชา หมายความถึง การแสดงออกซ่ ึงความประสงค์ของผู้มีอำานาจ
ในลักษณะเป็ นการบังคับเพ่ ือให้บุคคลอีกคนหน่ ึงปฏิบัติหรืองดเว้นการ
ปฏิบัติ มิใช่ประกาศชวนเชิญเฉย ๆ
รัฏฐาธิปัตย์ คือ ผู้ซ่ึงประชาชนส่วนมากยอมรับนับถือว่า เป็ นผู้มีอำานาจ
สูงสุดในแผ่นดินหรือบ้านเมืองนัน ้ และผู้มีอำานาจนัน
้ ไม่ต้องรับฟั งอำานาจ
ของผู้ใดอีก โดยคำานึงถึงความรู้สก ึ นึกคิดหรือความเห็นชอบของประชาชน
เป็ นสำาคัญว่าผู้ใดเป็ นผู้มีอำานาจในขณะนัน ้
กฎหมายต้องเป็ นคำาสัง่หรือข้อห้ามท่ีใช้บังคับทัว่ไปนัน ้ หมายความว่า ต้อง
เป็ นเร่ ืองท่ีเม่ ือประกาศใช้ออกมาแล้วจะมีผลบังคับเป็ นการทัว่ไป ไม่ระบุ
เฉพาะเจาะจงว่าเพ่ ือประโยชน์ของบุคคลใดบุคคลหน่ ึงหรือว่ากำาหนดให้แต่
บุคคลใดบุคคลหน่ ึงต้องปฏิบัติตามเท่านัน้
ในข้อท่ีว่ากฎหมายต้องใช้บังคับได้เป็ นการทัว่ไปนัน ้ มีข้อควรสังเกตบาง
ประการ ดังนี้
(1) กฎหมายต่างกับคำาสัง่หรือกฎข้อบังคับ ท่ีคำาสัง่หรือกฎข้อบังคับเป็ นเร่ ือง
ใช้บังคับกับบุคคลท่ีเก่ียวข้องโดยตรงเท่านัน
้ มิได้ใช้บังคับทัว่ ๆ ไปดัง
กฎหมาย
(2) กฎหมายต่างกับคำาพิพากษาของศาล เพราะคำาพิพากษาของศาลจะใช้
บังคับได้ต่อเม่ ือมีคดีเกิดขึ้น และมีผลระหว่างคู่ความท่ีเก่ียวข้อง ส่วน
กฎหมายวางหลักเกณฑ์ไว้ทัว่ ๆ ไป สำาหรับทุกคนจะต้องปฏิบัติตาม
(3) กฎหมายต่างกับกฎหมายระหว่างประเทศ เพราะกฎหมายใช้บังคับแก่
พลเมืองของรัฐท่ีประกาศใช้กฎหมายนัน ้ ไม่เก่ียวข้องกับกิจการภายในประ
ของประเทศอ่ ืน ส่วนกฎหมายระหว่างประเทศเป็ นหลักความสัมพันธ์
ระหว่างประเทศหน่ ึงกับอีกประเทศหน่ ึง
(4) กฎหมายต่างกับคำาสัง่ของเจ้าพนักงาน เพราะกฎหมายนัน ้ เม่ ือประกาศ
แล้วต้องถือว่าคนทัว่ ๆ ไปได้ทราบแล้ว โดยไม่ต้องคำานึงถึงว่าบุคคลเหล่านัน ้
จะได้อา่ นกฎหมายนัน ้ หรือไม่ ส่วนคำาสัง่ของพนักงานเจ้าหน้าท่ีจะต้องเป็ น
เร่ ืองท่ีบุคคลผู้มห
ี น้าท่ีต้องปฏิบัติตามได้ทราบคำาสัง่นัน
้ แล้ว
กฎหมายเม่ ือประกาศมีผลบังคับใช้แล้วก็ใช้ได้ตลอดไป (continuity) จนกว่าจะ
ถูกแก้ไขเปล่ียนแปลงหรือยกเลิกโดยกระบวนการท่ีถูกต้องตามขัน ้ ตอนใน
ภายหลัง ทัง้นีเ้พราะถือว่ากฎหมายนัน ้ ก็ยังคงเป็ นกฎหมายอยู่แม้บางสมัยจะ
ไม่ได้นำามาใช้ หากไม่มีการยกเลิกไปแล้วจะหยิบยกขึ้นมาใช้เม่ ือใดก็ยังคงมี
ผลบังคับใช้ได้เสมอ
กฎหมายต้องมีสภาพบังคับ กล่าวคือ กฎหมายนัน ้ เม่ ือประกาศใช้แล้วถ้าผู้ใด
ไม่ปฏิบัติตาม คือฝ่ าฝื นและถือว่าเป็ นการละเมิดต่อกฎหมายแล้วผู้นัน ้ จะ
ต้องได้รับผลตามท่ีกฎหมายได้บัญญัติไว้
สภาพบังคับทางอาญา
ในทางอาญา กฎหมายกำาหนดวิธีการบังคับไว้ตามสภาพแห่งความผิดและ
กำาหนดโทษแต่ละอย่างไว้ชัดแจ้งตามบทกฎหมายเฉพาะอย่างท่ีวางไว้ วิธี
การบังคับท่กี ำาหนดไว้พึงแบ่งได้เป็ น 3 ประเภท
(1) ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา และตามพระราชบัญญัติอ่ืน มีการ
กำาหนดโทษไว้ตามหลักใหญ่ของมาตรา 18 แห่งประมวลกฎหมายอาญา คือ
ประหารชีวิต จำาคุก กักขัง ปรับ และริบทรัพย์สิน
(2) ในกฎหมายบางฉบับอาจจะกำาหนดวิธีการบังคับนอกเหนือไปจาก
ลักษณะแห่งโทษตามท่ีมาตรา 18 แห่งประมวลกฎหมายอาญาบัญญัติไว้ คือ
อาจจะกำาหนดวิธีการโดยเฉพาะสำาหรับปฏิบัติแก่ผู้ละเมิดกฎหมายท่ีมิได้อยู่
ในหลักเกณฑ์การลงโทษของกฎหมายอาญา ซ่ ึงเป็ นเร่ ืองอำานาจของฝ่ าย
บริหารท่ีจะดำาเนินการมิใช่ศาล
(3) เร่ ืองเด็กและเยาวชน
สภาพบังคับในทางแพ่ง
ในทางแพ่ง กฎหมายก็ได้กำาหนดวิธีการบังคับแก่ผู้ท่ีประพฤติในทางแพ่งไว้
ดังต่อไปนี้
(1) กำาหนดให้การกระทำาท่ีฝ่าฝื นกฎหมายนัน
้ ตกเป็ นโมฆะ - การใดซ่ ึงกระทำา
ขึ้นโดยขัดต่อบทบัญญัติของกฎหมาย การนัน ้ ย่อมไร้ผล
โมฆะ หมายความว่า ตกเป็ นอันเสียเปล่า ไร้ผล ไม่มีข้อผูกพันในทาง
กฎหมายต่อไป แต่ โมฆียะ ยังสมบูรณ์ใช้ได้เพียงแต่ว่าอาจมีการบอกล้าง
หรือยกเลิก หรือทำาให้ตกเป็ นโมฆะในภายหลังได้
(2) กำาหนดให้การกระทำาท่ีฝ่าฝื นกฎหมายนัน
้ ตกเป็ นโมฆียะ - คำาว่า โมฆียะ
หมายความว่า สมบูรณ์อยู่จนกว่าจะถูกฝ่ ายท่ีเสียเปรียบบอกล้างนิติกรรม
นัน้ เม่ ือบอกล้างแล้วก็ทำาให้การทำานิติกรรมนัน ้ ไร้ผล
(3) การบังคับชำาระหนี้ - ในกรณีท่ีบุคคลหน่ ึงเป็ นหนีอ ้ ก
ี บุคคลหน่ ึง เจ้าหนี้
ย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้ชำาระหนีไ้ด้เม่ ือถึงกำาหนด การชำาระหนีอ
้ าจจะเป็ นการ
ชำาระเงิน ส่งมอบทรัพย์สิน หรือการงดเว้นกระทำาการอย่างใดอย่างหน่ ึงได้
สุดแต่สภาพแห่งมูลหนีท ้ ่ีเกิดขึ้นนัน

การบังคับชำาระหนีต ้ ามหลักเกณฑ์ มี 2 วิธี คือ
(ก) เรียกให้ชำาระหนี้
(ข) เรียกให้งดเว้นกระทำาการ
(4) การบังคับเม่ ือสภาพแห่งหนีไ้ม่เปิ ดช่องให้
“สภาพแห่งหนีไ้ม่เปิ ดช่องให้บังคับชำาระหนีไ้ด้” หมายความถึง กรณีท่ีไม่
สามารถจะบังคับให้ลูกหนีก
้ ระทำาการหรืองดเว้นกระทำาการดังกล่าว
(5) ริบมัดจำา
ในบางกรณี เม่ ือคู่สัญญาเข้าทำานิติกรรมใด ๆ ไว้ต่อกัน และเพ่ ือท่ีจะให้
เป็ นการมัน่ ใจว่าคู่สัญญาจะต้องปฏิบัติตามสัญญาต่อกัน อาจมีการตกลงให้
วางเงินมัดจำากันไว้เท่ากับเป็ นการประกันความแน่นอนว่าจะไม่มก ี ารผิด
สัญญากัน เงินมัดจำานีถ ้ ้าผู้วางเป็ นฝ่ ายผิดสัญญา อีกฝ่ ายหน่ ึงมีสิทธิจะริบ
เสียได้
(6) เรียกเบีย
้ ปรับ
ในบางกรณีคู่สัญญาอาจกำาหนดเบีย ้ ปรับขึ้นไว้ สำาหรับให้ฝ่ายท่ีผิดสัญญา
ต้องใช้ให้แก่อีกฝ่ ายหน่ ึง เท่ากับเป็ นการลงโทษฝ่ ายท่ีผิด แต่มีหลักอยู่วา่ เบีย

ปรับนีจ้ะกำาหนดสูงกว่าค่าเสียหายท่ีแท้จริงไม่ได้ เพราะถ้ายอมให้กำาหนด
เบีย้ ปรับกันสูงเกินไปโดยไม่จำากัดแล้ว ก็จะกลายเป็ นการพนันขันต่อ ไม่ใช่
เป็ นการกำาหนดเบีย ้ ปรับ
(7) ใช้ค่าเสียหาย
การท่ีฝ่ายหน่ ึงผิดสัญญาต่ออีกฝ่ ายหน่ ึงนัน
้ นอกจากวิธีข้างต้นแล้ว
กฎหมายยังยอมให้เรียกค่าเสียหายอีกส่วนหน่ ึงด้วย หากพิสูจน์ได้วา่ การนัน

ก่อให้เกิดความเสียหายแก่อีกฝ่ ายหน่ ึง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและ
พาณิชย์ มาตรา 213
ยึดทรัพย์
ในการท่ีลูกหนีจ้ำาต้องใช้ทรัพย์ให้แก่เจ้าหนีต
้ ามคำาพิพากษานัน
้ หากยังไม่
ยอมใช้ หรืออ้างว่าไม่มีใช้ กฎหมายยังติดตามให้ชำาระหนีไ้ด้อกี โดยวิธีการยึด
ทรัพย์สินออกขายทอดตลาดและหนีต ้ ามคำาพิพากษา มีอายุความถึง 10 ปี ถ้า
คดีเข้าข่ายแห่งกฎหมายล้มละลาย เจ้าหน้าตามคำาพิพากษาอาจขอให้ศาลสัง่
ให้จำาเลยเป็ นบุคคลล้มละลาย
สภาพบังคับในด้านอ่ ืน ๆ
สภาพบังคับในด้านอ่ ืน ๆ เกิดจากการท่ีกฎหมายไม่รับรู้หรือไม่รับรองการก
ระทำาท่ีฝ่าฝื นกฎหมายนัน
้ ๆ
โครงร่างสำาคัญสองประการ คือ ส่วนท่ีเป็ นหลักการของกฎหมาย และส่วนท่ี
เป็ นเหตุผลของกฎหมาย
หลักการของกฎหมาย อาจหมายถึงสาระสำาคัญหรือข้อใหญ่ใจความของ
กฎหมายทัง้ฉบับ หลักการของกฎหมายก็คือตัวบทกฎหมาย
ส่วนเหตุผลของกฎหมาย เป็ นส่ิงท่ีอยู่เบ้ืองหลังตัวบทกฎหมายหรือหลักการ
ของกฎหมาย การทราบถึงเหตุผลของกฎหมายจะทำาให้เกิดประโยชน์ ดังนี้
1. จะทำาให้เข้าใจกฎหมายนัน
้ ได้ชด
ั เจนขึ้น
2. จะทำาให้ทราบประวัติวิวัฒนาการของกฎหมายนัน

3. จะทำาให้ตีความกฎหมายนัน
้ ได้ถูกต้อง

หน่วยท่ี 2

“ความเป็ นกฎหมาย” เป็ นศัพท์ในทางปรัชญากฎหมาย โดยนักปรัชญา


กฎหมายพยายามแยกกฎหมายท่ีเห็นกันอยู่ออกเป็ นสองส่วน คือ ส่วนท่ี
เป็ นเน้ือหา โดยถือว่าน่ีเป็ นกฎหมายท่ีแท้จริง และส่วนท่ีเป็ นรูปร่างหรือ
เปลือกนอกท่ีห่อหุ้มหรือรองรับกฎหมายท่ีแท้จริง บางคนแบ่งออกเป็ น
วิญญาณของกฎหมาย และร่างกายของกฎหมาย โดยถือว่าร่างกายหรือ
เปลือกนอกนัน ้ เปล่ียนได้ แต่วิญญาณหรือความเป็ นกฎหมายท่ีแท้จริงเป็ น
สัจธรรม เช่น กฎหมายอาญา นัน ้ ท่ีเรียกว่าประมวลกฎหมายอาญา คือ
ภาชนะหรือเปลือกนอกหรือร่างกาย แต่ความคิดท่ีว่าการฆ่าคนเป็ นความผิด
การข่มขืนกระทำาชำาเราเขาเป็ นความผิด เป็ นกฎหมายท่ีแท้จริง นักปรัชญา
กฎหมายสนใจว่าความคิดท่ีว่าการฆ่าคน การข่มขืนกระทำาชำาเราเป็ นความ
ผิด มีท่ีมาจากไหน ไม่ได้สนใจว่าประมวลกฎหมายอาญา หรือมาตรานีใ้คร
ร่างมาจากไหน
ก) สำานักความคิดทางกฎหมายธรรมชาติ
นักกฎหมายธรรมชาติ ถือว่ากฎหมายท่ีแท้จริงมีท่ีมาจากธรรมชาติ ซ่ ึง
ธรรมชาตินีอ ้ าจได้แก่พระผู้เป็ นเจ้า กฎเกณฑ์ทางศาสนา เหตุผล หรือความ
รู้สึกนึกคิดผิดชอบส่วนบุคคลก็ได้
ข) สำานักความคิดทางกฎหมายฝ่ ายบ้านเมือง
สำานักความคิดนี ถ ้ ื อว่ากฎหมายท่ีแท้จริง
(1) กฎหมายเกิดจากอำานาจฝ่ ายการเมือง
(2) กฎหมายเกิดจากความยุติธรรม ศีลธรรม มโนธรรม และกฎเกณฑ์ทาง
ศาสนา
(3) กฎหมายเกิดจากผู้รู้หรือเมธี
ค) สำานักความคิดทางกฎหมายฝ่ ายคอมมิวนิสต์
สำานักความคิดนีถ้ ือว่า เศรษฐกิจ สังคม และการเมือง เป็ นจักรกลสำาคัญท่ี
ทำาให้เกิดกฎหมายขึ้น ฉะนัน ้ ถ้าเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง
เปล่ียนแปลงไป กฎหมายย่อมเปล่ียนแปลงตามไปด้วย
ง) สำานักความคิดทางสังคมวิทยาทางกฎหมาย
สำานักความคิดนีถ ้ ือว่า สังคมเป็ นจักรกลท่ีทำาให้มก
ี ฎหมายขึ้น เหตุผลส่วน
ใหญ่ตรงกับทฤษฎีของสำานักความคิดทางกฎหมายธรรมชาติท่ีว่า กฎหมาย
เกิดจากการอยู่รว่ มกันของมนุษย์ในสังคมนัน ่ เอง
จ) สำานักความคิดทางสัจจนิยมทางกฎหมาย
สำานักความคิดนีถ
้ ือเอาปรากฏการณ์ท่ีเป็ นจริงและมีผลบังคับทันตาเห็นเป็ น
มาตรฐานวัดลักษณะของกฎหมาย
ฉ) สำานักความคิดทางกฎหมายฝ่ ายนิยมประวัติศาสตร์
สำานักความคิดนีถ ้ ือว่า กฎหมายเป็ นผลมาจากวิวฒ ั นาการในทาง
ประวัติศาสตร์
นักมานุษยวิทยาและนักสังคมวิทยาพบว่าในสมัยบรรพกาล มนุษย์นิยมการ
บังคับคดีหรือตัง้ศาลเตีย ้ จัดการกันเองมากกว่าการร้องเรียนหรือกล่าวโทษ
ในสมัยบรรพกาล กฎหมายเร่ิมจากส่ิงท่ีปฏิบัติกันต่อ ๆ มา และส่ิงท่ีฝ่าย
ปกครองกับฝ่ ายพิธีกรรมกำาหนดขึ้น เม่ ือมีสภาพบังคับก็กลายเป็ นกฎหมาย
ท่ีแน่ชัดขึ้น เป็ นระเบียบขึ้น โดยมีฝ่ายพิธีกรรมเป็ นผู้รบ
ั สืบทอดกฎหมายขึ้น
ประมวลกฎหมาย ได้ “กฎหมายท่ีได้บัญญัติขึ้นโดยรวบรวมบทบัญญัติเร่ ือง
เดียวกันท่ีกระจัดกระจายกันอยู่เอามาปรับปรุงให้เป็ นหมวดหมู่ วางหลัก
เกณฑ์ให้เป็ นระเบียบเรียบร้อย มีข้อความท้าวถึงซ่ ึงกันและกัน”
ก) ประมวลกฎหมายของฮัมมูราบี (Hammurabi Code)
พระเจ้าฮัมมูราบี เป็ นผู้ครองนครบาบีโลน (Babilon) แห่งดินแดนเมโสโปเตเมีย
เม่ ือประมาณ 1900 ปี ก่อนคริสตศักราช มีการจัดวางข้อกฎหมายอย่างเป็ น
ระเบียบ และมีระบบสะดวกแก่การใช้ มีความสมบูรณ์ถ้วนทัว่ในทุกแง่ทุก
มุม จึงได้รับการยกย่องว่าเป็ นประมวลและเป็ นท่ีรู้จักกันในนาม ประมวลกฎ
หมายฮัมมูราบี
ข) ประมวลกฎหมายจัสตีเนียน (Justinian Codification)
เม่ ือราว 753 ก่อนคริสตศักราช ได้เร่ิมมีร่องรอยแห่งกฎหมายเกิดขึ้นในสมัย
ของโรมูลูส (Romulus) ส่ิงเหล่านีร้จู้ ักกันในนามของกฎหมายจารีตประเพณี ซ่ ึง
กระจัดกระจายอยู่เป็ นอันมาก ดังนัน
้ ในปี 450 ก่อนคริสตกาล จึงได้มีการ
รวบรวมให้เป็ นหมู่เป็ นเหล่าจารึกลงบนแผ่นไม้ทัง้หมดสิบสองชิน ้ ด้วยกัน
การรวมรวบกฎหมายในครัง้นีน ้ ักนิติศาสตร์เรียกว่าในภาษาลาตินว่า “Lex
Duodecim Tabularum” ซ่ ึงภาษาอังกฤษใช้คำาว่า Law of The Twelve Tables และใน
ภาษาไทยแปลว่า “กฎหมายสิบสองโต๊ะ”
ค) ประมวลกฎหมายฮินดูของพระมนู (Hindu Code of Manu)
กฎหมายฮินดูและกฎหมายโรมัน มีอิทธิพลต่อกฎหมายไทย กฎหมายไทย
ซ่ ึงได้รับอิทธิพลจากกฎหมายฮินดู ได้ใช้กันมาจนถึงวาระท่ีเราจะต้องติดต่อ
กับชาวตะวันตก จึงได้เร่ิมมีประมวลกฎหมายของเราเองเกิดขึ้น
ระบบหรือสกุลกฎหมายในโลกปั จจุบันอาจแบ่งออกเป็ น 4 สายด้วยกัน คือ
ก) สกุลโรมาโน-เยอรมานิค (Romano-Germanic Family)
สกุลนีส้ นใจทางด้านการสร้างทฤษฎีมากกว่าจะคำานึงถึงกระบวนการบริหาร
หรือการนำากฎหมายมาใช้ในแง่ปฏิบัติ การวิเคราะห์ทฤษฎี ลักษณะพิเศษ
ของสกุลกฎหมายนี ค ้ ือ
1. สกุลกฎหมายนี ถ ้ ือว่ากฎหมายท่ีเป็ นลายลักษณ์อักษรมีความสำาคัญกว่า
อย่างอ่ ืน
2. ในสกุลกฎหมายนี ค ้ ำา พิพากษาของศาล
บรรทัดฐานแบบอย่างของการตีความหรือการใช้กฎหมายเท่านัน ้
3. ในการศึกษากฎหมาย ต้องเร่ิมต้นจากตัวบทกฎหมายเป็ นสำาคัญ จะถือเอา
คำาพิพากษาศาล หรือความเป็ นของนักกฎหมายเป็ นหลักไม่ได้
4. สกุลกฎหมายนี ถ
้ ือว่ากฎหมายเอกชนและกฎหมายมหาชนเป็ นคนละ
ส่วนกัน หลักกฎหมายและเกณฑ์ในการวินจิ ฉัยปั ญหาในกฎหมายทัง้สอง
จึงแตกต่างกัน

ข) สกุลคอมมอนลอว์ (The Family of Common Law)


คอมมอนลอว์ถือว่ากฎเกณฑ์นัน
้ มีอยู่แล้ว ผู้พิพากษาเพียงแต่มีหน้าท่ีค้นให้
พบและเอามาใช้ ส่วนพวกโรมาโน-เยอรมานิคเป็ นนักคิดท่ีจะต้องวางทฤษฎี
จากการสร้างแนวความคิด
คอมมอนลอว์ เกิดและวิวัฒนาการขึ้นในประเทศอังกฤษและเช่ ือว่ามีราก
เหง้ามาจากลัทธิศักดินา สกุลกฎหมายนีพ ้ ัฒนาจากกฎหมายไม่เป็ นลาย
ลักษณ์อักษร กล่าวคือ ได้นำาเอาจารีตประเพณี และคำาพิพากษาซ่ ึงเป็ น
บรรทัดฐานของศาลสมัยเก่ามาใช้ จนกระทัง่เกิดเป็ นระบบกฎหมายท่ี
สมบูรณ์ในตัวเองขึ้น เรียกว่า ระบบคอมมอนลอว์
ค) สกุลกฎหมายสังคมนิยม (Family of Socialist Laws)
สกุลกฎหมายนีม ้ ีลก
ั ษณะเป็ นการปฏิวัติจากต้นรากเดิม นักนิติศาสตร์
สังคมนิยมต้องการสร้างเง่ ือนไขสำาหรับระเบียบสังคมขึ้นใหม่ กฎหมายใน
สกุลนี ก ้ ็ คือกฎหมายลายลักษณ์อักษรอย่างเดียวกับกฎหมายในสกุลโร
มาโน-เยอรมานิค แต่ท่ีแตกต่างกันอย่างสำาคัญ ก็คือ
1. กฎหมายในสกุลโรมาโน-เยอรมานิค พัฒนามาเป็ นลำาดับโดยอาศัยระยะ
เวลาอันยาวนาน แต่กฎหมายในสกุลสังคมนิยมอาศัยการเมืองเป็ นจักรกล
สำาคัญในการออกกฎหมาย
2. การออกกฎหมายในสกุลสังคมนิยมคำานึงถึงเป้ าหมาย คือ การสร้างความ
ทัดเทียมกันในสังคมมากกว่าวิธก ี าร
3. สกุลสังคมนิยมมีความเห็นเร่ ืองกรรมสิทธิใ์นทรัพย์สินแตกต่างจากสกุล
กฎหมายอ่ ืน โดยถือว่ารัฐมีอำานาจจำากัดการมีกรรมสิทธิใ์นทรัพย์สินของ
เอกชนได้ โดยเฉพาะอย่างย่ิงกรรมสิทธิใ์นอสังหาริมทรัพย์
4. สกุลสังคมนิยมให้ความสำาคัญแก่กฎหมายมหาชนมากกว่ากฎหมาย
เอกชน และถือว่านิติสัมพันธ์ส่วนใหญ่อยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายมหาชน
5. สกุลกฎหมายนีย
้ ึดหลักให้สวัสดิการสังคมเป็ นใหญ่ และพยายามสร้าง
ความเป็ นธรรมในสังคม กฎหมายของสกุลนีจ้ึงมีลักษณะเป็ นกฎหมาย
สังคมเป็ นส่วนใหญ่ เช่น กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค กฎหมายแรงงาน
กฎหมายปฏิรป ู ท่ีดิน เป็ นต้น
ง) กฎแห่งศาสนา
ศาสนาอิสลามซ่ ึงมีอิทธิพลอย่างแพร่หลายท่ีสุดในบรรดาศาสนาทัง้หลายใน
แง่การยอมรับความสำาคัญของกฎเกณฑ์ นอกจากศาสนาอิสลามแล้ว
ศาสนาท่ีมีบทบาทต่อไปก็คือศาสนาฮินดู ประเทศไทยก็ได้รับอิทธิพลของ
ฮินดูทัง้ในด้านกฎหมาย และด้านวัฒนธรรมอ่ ืน ๆ
กฎหมายสมัยก่อนกรุงรัตนโกสินทร์
กฎหมายไทยสมัยสุโขทัยเป็ นของเราล้วน ๆ หรือได้รับอิทธิพลของชาวต่าง
ชาติในบางส่วน มีร่องรอยมาจากคัมภีร์พระธรรมศาสตร์ของฮินดู
ก) กฎหมายกับหลักศิลาจารึกพ่อขุนรามคำาแหง
การเสนอเร่ ืองราวร้องทุกข์ หรือท่ีเรียกเป็ นทางการว่า การทูลเกล้าฯ ถวาย
ฎีกา แม่แบบของการร้องทุกข์ และได้ปฏิบัติต่อกันเร่ ือยมาในสมัยอยุธยา-
ต้นรัตนโกสินทร์ จนถึงปั จจุบัน
ข) กฎหมายสมัยอยุธยา
ระบบกฎหมายในสมัยอยุธยาเก่ียวข้องอยู่กบ
ั ปั จจัยสำาคัญท่ีจะกล่าวต่อไปนี้
คือ
(1) คัมภีร์พระธรรมศาสตร์
ในทางทฤษฎีพระธรรมศาสตร์เป็ นแนวทางของการเมืองและกฎหมาย ระบุ
ถึงความสัมพันธ์ระหว่างรัฐและเอกชน มุ่งสร้างบรรทัดฐานแก่ผู้นำาท่ีจะใช้
ปกครองพลเมือง พระธรรมศาสตร์ได้เปล่ียนความสัมพันธ์แต่เดิมจากการท่ี
ผู้ปกครองคือพ่อปกครองลูกเป็ นพระเจ้าแผ่นดินในอุดมคติ ซ่ ึงจะต้อง
ปกครองไพร่ฟ้าประชาชนด้วยความยุติธรรมและการปรับปรุงวิธีการให้สม
กับสมัย
(2) พระราชศาสตร์
พระราชศาสตร์ถือว่าเป็ นส่วนหน่ ึงของระบบกฎหมายไทยโบราณ เน้ือเป็ น
เร่ ืองเก่ียวกับ กฎเกณฑ์แห่งการปฏิบัติราชการ กฎมนเฑียรบาล กฎเกณฑ์
เร่ ืองท่ีดินและสถานภาพของบุคคลในสังคม
พระราชศาสตร์ คือ กฎหมายซ่ ึงพระเจ้าแผ่นดินสร้างขึ้นจากการวินจิ ฉัย
อรรถคดีต่าง ๆ ส่วนพระธรรมศาสตร์เป็ นประกาศิตจากสวรรค์ซ่ึงผู้ใดจะล่วง
ละเมิดมิได้
(3) กฎหมายอ่ ืน ๆ ซ่ ึงพระเจ้าแผ่นดินตราขึ้นใช้บังคับ
กฎหมายซ่ ึงพระเจ้าแผ่นดินทรงตัง้หรือตราขึ้น เพ่ ือใช้ในอาณาจักรสมัย
อยุธยานัน
้ มีมากมาย เช่น กฎหมายลักษณะพยาน กฎหมายลักษณะอาญา
หลวง กำาหนดโทษสำาหรับการกระทำาความผิด ลักษณะผัวเมีย ลักษณะโจร
ฯลฯ กฎหมายเหล่านีเ้รียกช่ ือรวม ๆ ว่า “พระราชกำาหนดบทพระอัยการ
หรือพระราชกำาหนดกฎหมาย”
กฎหมายสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์
ก) ประวัติความเป็ นมาของกฎหมายตราสามดวง
มูลกำาเนิดของกฎหมายตราสามดวง ได้แก่ กฎหมายทัง้หลายท่ีมีมาอยูก ่ ่อน
พ.ศ. 2347 เป็ นกฎหมายสมัยอยุธยาหลังจากกรุงศรีอยุธยาแตกใน พ.ศ. 2310
ตัวบทกฎหมายต่าง ๆ ถูกเผาทิง้เสียเป็ นจำานวนมาก สันนิษฐานว่าเหลืออยู่
ไม่ถึงสิบส่วน ความพยายามท่ีจะรวบรวมส่วนท่ีเหลือได้กระทำาขึ้นครัง้แรก
ในสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช โดยการตามหาจากเมืองต่าง ๆ ท่ีมิได้
เสียแก่พม่า
ข) ช่ ือและความสำาคัญของกฎหมายตราสามดวง
ประการแรก คือ หลักการเร่ ืองการร้องทุกข์ของราษฎร พระเจ้าแผ่นดินทรง
ให้ความสนพระทัยอย่างจริงจัง พระราชภารกิจหลักประการหน่ ึง คือ ทำาให้
เกิดความสงบเรียบร้อยแก่ประชาชนโดยมัน ่ คงแน่นอนสม่ำาเสมอ จึงต้องทรง
คอยสอดส่องควบคุมระวังให้การอำานวยความยุติธรรมเป็ นไปโดยราบร่ ืน
พระองค์ทรงรับหน้าท่ีเป็ นผู้พิพากษาสูงสุด เพ่ ือชีข้าดในข้อพิพาทโต้เถียง
ระหว่างคู่ความ พระองค์ก็มีพระราชอำานาจท่ีจะวางข้อกำาหนดแก้ไขส่ิงซ่ ึงอาจ
ทำาลายความสงบของส่วนรวมได้
ประการท่ีสองท่ีว่าเป็ น “ตราสามดวง” นัน้ ได้แก่
1. ตราราชสีห์ เป็ นสัตว์ในวรรณคดีไทย เป็ นตราประจำาตำาแหน่งสมุหนายก
ต่อมาเป็ นตราของกระทรวงมหาดไทย
2. ตราคชสีห์ เป็ นสัตว์ในวรรณคดีไทยเช่นกัน ต่างจากราชสีห์ตรงท่ีมีงวง
ตรงกับคำาว่า “คช” ซ่ ึงแปลว่าช้าง เป็ นตราประจำาตำาแหน่งสมุหพระกลาโหม
ต่อมาเป็ นตราของกระทรวงกลาโหม
3. ตราบัวแก้ว คือเทวดาถือดอกบัว เป็ นตราประจำาตำาแหน่งโกษาธิบดี ต่อมา
เป็ นตราของกระทรวงต่างประเทศ
กฎหมายตราสามดวงท่ีได้ชำาระขึ้นใหม่นี ป
้ ระกอบด้วยพระธรรมศาสตร์และ
พระราชศาสตร์
ค) จุดเร่ิมต้นของการเปล่ียนแปลง
รัชสมัยของรัชกาลท่ี 4 การเปล่ียนแปลงเป็ นไปในรูปการปรับปรุงแก้ไข
เฉพาะส่วน แต่ในรัชกาลท่ี 5 เป็ นการเปล่ียนแปลงพร้อมกันไปในทุกส่วน
ครบถ้วนในเชิงนิติศาสตร์ ซ่ ึงทำาให้ยุคของกฎหมายเก่าหมดไป
กฎหมายสมัยเม่ ือใช้ระบบประมวลกฎหมาย
การเปล่ียนแปลงเข้าสู่ยุคแห่งประมวลกฎหมาย ได้เร่ิมมีเค้าโครงมาตัง้แต่
ปลายรัชกาลท่ี 4 ต่อมาในสมัยของรัชกาลท่ี 5 ชาวต่างประเทศเห็นว่า
กฎหมายไทยล้าสมัยไม่อาจให้ความยุติธรรมคนในบังคับของเขาได้ จึงตัง้
ศาลกงสุลเพ่ ือพิจารณาคดีพิพาทระหว่างคนในบังคับของเขากับคนไทย
การปฏิรูประบบกฎหมายอีกด้านหน่ ึง คือ การเปล่ียนแปลงกฎหมายไทยให้
เป็ นกฎหมายท่ีทันสมัย และยอมรับกันโดยทัว่ไปเช่นเดียวกับท่ีใช้ในยุโรป
ระบบกฎหมายอังกฤษเหมาะสมกับชาวอังกฤษมากกว่าประเทศอ่ ืน เพราะ
เป็ นกฎหมายท่ีใช้ขนบธรรมเนียมประเพณีและคำาพิพากษาของศาลเป็ นหลัก
ตัวบทกฎหมายก็มิได้รวบรวมไว้เป็ นหมวดหมู่ยากลำาบากแก่การศึกษา ส่วน
ระบบกฎหมายของประเทศท่ีใช้ประมวลกฎหมาย ซ่ ึงมีกฎหมายโรมันเป็ น
หลักนัน้ เป็ นกฎหมายท่ีแบ่งหมวดหมู่อย่างมีระเบียบ เข้าใจง่าย มีตัวบท
กฎหมายแน่นอนและเป็ นหลักฐานเหมาะสมกับประเทศไทยซ่ ึงกำาลังอยู่ใน
ระหว่างการพัฒนาประเทศในทุก ๆ ด้าน ส่ิงท่ีจำาเป็ นท่ีสุดในการบัญญัติ
กฎหมาย คือ ความชัดเจน เข้าใจง่าย ใช้สะดวก
ประมวลกฎหมายฉบับแรกท่ีพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้
ทรงประกาศใช้เป็ นประมวลกฎหมายฉบับแรกเม่ ือวันท่ี 1 มิถุนายน พ.ศ.
2451 เรียกว่า “กฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ. 127” ถือว่าเป็ นประมวลกฎหมาย
ท่ีแท้จริงฉบับแรกของไทย มีทัง้สิน
้ รวม 340 มาตรา ประมวลกฎหมายฉบับนี้
ได้ใช้บังคับมาจนถึง พ.ศ. 2486 จึงได้มก
ี ารปรับปรุงใหม่ ฉบับใหม่เรียกว่า “
กฎหมายลักษณะอาญา พ.ศ. 2486) และได้ใช้ต่อมาจนถึง พ.ศ. 2499 จึงได้มก
ี าร
ปรับปรุงใหม่อก
ี ครัง้ให้ทันสมัยย่ิงขึ้น และกฎหมายฉบับนีก ้ ค
็ ือประมวล
กฎหมายอาญา ฉบับท่ีใช้อยู่ในปั จจุบัน ซ่ ึงเร่ิมบังคับใช้ตัง้แต่วันท่ี 1 มกราคม
พ.ศ. 2500 เป็ นต้นมา
ส่วนการร่างประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ก็ได้เร่ิมต้นร่างในสมัยรัชกาล
ท่ี 6 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยูห
่ ัว มีความยาวมากถึง 1755 มาตรา
การท่ีไทยเราจะต้องมีการแก้ไขปรับปรุงเปล่ียนแปลงระบบกฎหมาย รวมทัง้
การท่ีจะต้องมีประมวลกฎหมายขึ้นก็เพราะ จากการท่ีเราได้คบหาสมาคมกับ
ชนต่างชาติจนเกิดมีความตกลงสนธิสัญญาเกิดขึ้น ทางฝ่ ายไทยค่อนข้างเสีย
เปรียบอยู่โดยเฉพาะต่างชาติได้สงวนสิทธิสภาพนอกอาณาเขตไว้ในราช
อาณาจักรไทย ดังนัน้ หนทางท่ีจะได้รบ
ั เสรีภาพทางการศาลกลับมา ก็คือจะ
ต้องปรุงแต่งระบบระบบให้เป็ นยอมรับ ในระยะเร่ิมต้นของการเปล่ียนแปลง
ไทยมีแนวทางท่ีจะดำาเนินตามระบบกฎหมายไม่เป็ นลายลักษณ์อักษรอยูบ ่ ้าง
ต่อมาภายหลัง เม่ ือมีการปรึกษาหารือกันจากหลายฝ่ ายแล้วก็ตัดสินใจท่ีจะ
ดำาเนินตามแนวทางของระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษรเช่นเดียวกับของ
ประเทศอ่ ืน ในสกุลโรมาโน-เยอรมานิค คือ การมีกฎหมายท่ีเป็ นระเบียบ
แน่ชัดเพ่ ือความเข้าใจง่ายในรูปของประมวลกฎหมาย
ศาสนา
ศีลธรรม ซ่ ึงได้แก่ความรู้สก ึ อันเกิดจากใจของบุคคล ทำาให้รู้ได้โดยลำาพัง
ตนเองว่า อะไรดีชัว่ ควรหรือไม่ควร ถูกผิดอย่างไร ศาสนา คือ แบบจรรยา
บรรณอย่างใหม่ เป็ นคำาสัง่สอนหรือลัทธิท่ีทำาให้เกิดความเช่ ือ มีหลักชวนให้
มนุษย์บังคับใจตนเอง
ท่ีว่าศาสนาเป็ นปั จจัยท่ีก่อให้เกิดกฎหมายขึ้นนัน
้ เราสามารถวิเคราะห์เทียบ
เคียงได้ โดยนำาข้อบัญญัติของทัง้สองมาเปรียบเทียบกัน เช่น หลักของศีลห้า
ในศาสนาพุทธ ซ่ ึงห้ามทำาลายชีวิต ลักทรัพย์ พูดปดมดเท็จ ก็มีปรากฏอยู่ใน
กฎหมายอาญาว่าด้วยความผิดเก่ียวกับชีวิต ความผิดเก่ียวกับการลักทรัพย์
และการแจ้งความเท็จ เป็ นอาทิ
จารีตประเพณี
จารีตประเพณี คือ การกระทำาท่ีฝูงชนนิยมนับถือ และถือประพฤติปฏิบัติสืบ
ต่อกันมา
ในกฎหมายไทย จารีตประเพณี ถือว่าเป็ นหลักรองจากกฎหมายลายลักษณ์
อักษร จะนำามาใช้บังคับเสมือเป็ นกฎหมายได้ในสองกรณีดังต่อไปนี้
ก. กฎหมายบัญญัติให้ใช้จารีตประเพณีในยามท่ีไม่มีตัวบทกฎหมาย จะยกมา
ปรับกับคดีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 4
ข. กฎหมายรับรองว่าให้ใช้ได้ในการตีความตามประสงค์ในทางสุจริตตาม
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 368
อน่ ึง ในสกุลกฎหมายคอมมอนลอว์ นัน
้ จารีตประเพณีถือว่าเป็ นต้นกำาเนิด
สำาคัญทางหน่ ึง (source of law)
ความเห็นของนักปราชญ์ทางกฎหมาย
นักปราชญ์ทางกฎหมาย คือ ผู้ท่ีสนใจใฝ่ รู้ ค้นคว้าวิจัย จนได้ข้อมูลอันเป็ นท่ี
ยอมรับนับถือได้ในเชิงของเหตุผล
สำาหรับในประเทศไทย พระบิดาแห่งกฎหมายไทย กรมหลวงราชบุรีดิเรก
ฤทธิ ไ์ด้ทรงเขียนความเห็นและคำาอธิบายเร่ ืองอาวุธในถนนหลวงไว้วา่
ควรมีข้อบัญญัติห้าม ต่อมาจึงได้มีประกาศเพ่ิมเติมแก้ไขกฎหมายลักษณะ
อาญาดังกล่าวไปตามท่ีได้ทรงทำาความเห็นไว้ ในปั จจุบันข้อห้ามดังกล่าว
ปรากฏอยู่ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 371 ซ่ ึงเป็ นเคร่ ืองยืนยันได้ว่า
ความเห็นของนักปราชญ์นัน ้ เป็ นปั จจัยกระตุ้นให้เกิดกฎหมายขึ้น
เหตุการณ์
เหตุการณ์แห่งความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วภายในระยะเวลา
ไม่ก่ีสิบปี เป็ นตัวกระตุ้นให้เกิดกฎหมายซ่ ึงวางหลักเกณฑ์ใหม่อันต่างไปจาก
แนวทางเดิม

หน่วยท่ี 3

ท่ีมาของกฎหมาย หมายถึง กฎหมายนัน


้ มีขึ้นได้อย่างไร โดยปกติท่ีมาของ
กฎหมายมี 2 อย่าง คือ
1. กฎหมายลายลักษณ์อักษร
2. จารีตประเพณี
ท่ีมาของกฎหมายในระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษร ประการสำาคัญ คือ
กฎหมายลายลักษณ์อักษรท่ีได้บัญญัติขึ้นมาใช้โดยถูกต้องตามกระบวนการ
บัญญัติกฎหมาย บางครัง้ก็ต้องยอมให้นำาเอาจารีตประเพณีมาเป็ นกฎหมาย
ด้วย นอกจากกฎหมายลายลักษณ์อักษรและจารีตประเพณี ระบบกฎหมาย
ลายลักษณ์อักษรยังยอมรับเอาหลักกฎหมายทัว่ไปมาเป็ นกฎหมายสำาหรับ
ปรับใช้แก่คดีความด้วย
ท่ีมาของกฎหมายในระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษรมี 3 ประการ คือ
ก. กฎหมายลายลักษณ์อักษร
ข. จารีตประเพณี
ค. หลักกฎหมายทัว่ไป
ท่ีมาของระบบกฎหมายไม่เป็ นลายลักษณ์อักษรมี 5 ประการ คือ
ก. จารีตประเพณี
ข. คำาพิพากษาของศาล
ค. กฎหมายลายลักษณ์อักษร
ง. ความเห็นของนักนิติศาสตร์
จ. หลักความยุติธรรมหรือมโนธรรมของผู้พิพากษา
ท่ีมาของกฎหมายในระบบกฎหมายสังคมนิยม
ระบบกฎหมายสังคมนิยม (socialist law system) เป็ นระบบกฎหมายท่ีแยกตัว
ออกมาจากระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษร
กฎหมายลายลักษณ์อักษรซ่ ึงหมายรวมถึงประมวลกฎหมายต่าง ๆ จึงเป็ น
ท่ีมาของกฎหมายในระบบกฎหมายสังคมนิยมแต่เพียงอย่างเดียว
การแบ่งกฎหมาย แบ่งได้หลายลักษณะ ขึ้นอยู่กับว่าจะยึดอะไรเป็ นเกณฑ์
แบ่งได้คร่าว ๆ เป็ น 2 ประเภท คือ
1. กฎหมายภายใน - บัญญัติขึ้นโดยองค์กรของรัฐท่ีมีอำานาจบัญญัติกฎหมาย
ขึ้นมาใช้ภายในประเทศ
2. กฎหมายภายนอก - บัญญัติขึ้นโดยองค์กรระหว่างประเทศ หรือเกิดขึ้น
จากความตกลงระหว่างประเทศภาคีท่ีเห็นพ้องต้องกันท่ีจะยอมรับกฎหมาย
หรือข้อตกลงระหว่างประเทศนัน้
กฎหมายภายในแบ่งแยกได้อีก
1. แบ่งโดยถือเน้ือหาของกฎหมายเป็ นหลัก
- กฎหมายลายลักษณ์อักษร
- กฎหมายท่ีไม่ได้บัญญัติเป็ นลายลักษณ์อักษร
2. แบ่งโดยถือสภาพบังคับในกฎหมายเป็ นหลัก
- กฎหมายอาญา
- กฎหมายแพ่ง
3. แบ่งโดยถือลักษณะการใช้เป็ นหลัก
- กฎหมายสารบัญญัติ
- กฎหมายวิธีสหบัญญัติ
4. แบ่งโดยถือฐานะและความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชนเป็ นหลัก
- กฎหมายมหาชน
- กฎหมายเอกชน
กฎหมายภายนอก แบ่งได้เป็ น
1. กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง - ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างรัฐ
ต่อรัฐ
2. กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล - ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่าง
บุคคลในรัฐหน่ ึงกับอีกรัฐหน่ ึง
3. กฎหมายระหว่างประเทศแผนกอาญา - ว่าด้วยข้อตกลงระหว่างรัฐในการ
ร่วมมืออย่างถ้อยทีถ้อยปฏิบัติในการปราบปราบอาชญากรรมระหว่าง
ประเทศและส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดนให้แก่กัน
ระดับชัน
้ ของกฎหมายลายลักษณ์อักษร
1. กฎหมายรัฐธรรมนูญ
2. กฎหมายท่ีออกโดยรัฐสภา
3. กฎหมายท่ีออกโดยรัฐบาล
4. กฎหมายท่ีออกโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถ่ิน
ศักดิข์องกฎหมายหรือลำาดับชัน
้ ของกฎหมาย
1. รัฐธรรมนูญ
2. พระราชบัญญัติ ประมวลกฎหมาย พระราชกำาหนด พระบรมราชโองการ (
ประกาศพระบรมราชโองการให้ใช้บังคับดังเช่นพระราชบัญญัติ)
3. พระราชกฤษฎีกา
4. กฎกระทรวง
5. เทศบัญญัติ

หน่วยท่ี 4

สำานักความคิดทางกฎหมาย (School of legal thought) หมายถึง แนวความคิดหรือ


ทฤษฎีทางกฎหมายของนักคิดทัง้หลาย ซ่ ึงมีความคิดเห็นตรงกัน แม้วา่
แต่ละคนหรือ แนวความคิดแต่ละอย่างเกิดขึ้นต่างสมัยก็ตาม ซ่ ึงจำาแนกได้
ดังนี้
1. สำานักความคิดในทางกฎหมายธรรมชาติ
2. สำานักความคิดในทางกฎหมายฝ่ ายบ้านเมือง
3. สำานักความคิดในทางกฎหมายฝ่ ายคอมมิวนิสต์
4. สำานักความคิดในทางกฎหมายฝ่ ายสังคมวิทยา
5. สำานักความคิดในทางกฎหมายฝ่ ายสัจจนิยม
6. สำานักความคิดในทางกฎหมายฝ่ ายประวัติศาสตร์
สำานักความคิดในทางกฎหมายธรรมชาติ (School of Natural Law)
กฎหมายธรรมชาติ หมายถึง กฎหมายซ่ ึงเกิดจากธรรมชาติมีอยู่แล้วใน
ธรรมชาติและมีอำานาจบังคับตามธรรมชาติ เช่ ือว่ากฎหมายธรรมชาติอยู่
เหนือกฎหมายของมนุษย์ และใช้ได้ไม่จำากัดเวลาและสถานท่ี แนวความคิด
เร่ ืองกฎหมายธรรมชาติเร่ิมเป็ นระเบียบแบะวางรากฐานเป็ นครัง้แรกใน
ปลายสมัยกรีก เม่ ือพวกสตออิค (Stoic) รุ่งเรืองขึ้นจนแผ่ขยายอิทธิพลเข้าไป
ในโรม
ลักษณะของกฎหมายธรรมชาติ
1. กฎหมายธรรมชาติใช้ได้โดยไม่จำากัดเวลา
2. กฎหมายธรรมชาติใช้ได้โดยไม่จำากัดสถานท่ี
3. กฎหมายธรรมชาติอยู่เหนือกฎหมายของรัฐ ถ้ารัฐออกกฎหมายขัดแย้งกับ
กฎหมายธรรมชาติ กฎหมายนัน้ ก็ใช้บังคับไม่ได้
สำานักความคิดในทางกฎหมายฝ่ ายบ้านเมือง (School of Positive Law)
“positive law” เรียกได้หลายอย่าง เช่น “กฎหมายปฏิฐาน” “กฎหมายท่ี
เคร่งครัด” “กฎหมายของรัฐท่ีบังคับใช้” “กฎหมายส่วนบัญญัติ” แต่รวม
แล้วมีความหมายอย่างเดียวกัน คือ กฎหมายท่ีทางการตราขึ้นบังคับใช้ใน
บ้านเมือง (“กฎหมายบ้านเมือง”)
สำานักความคิดทางกฎหมายบ้านเมืองมีความเห็นว่า การใช้กฎหมายต้องใช้
ตามตัวบทกฎหมายนัน ้ อย่างเคร่งครัด ด้วยเหตุนีน
้ ักกฎหมายฝ่ ายบ้านเมือง
จึงถือว่ากฎหมายของรัฐท่ีบังคับใช้เป็ นกฎหมายท่ีสมบูรณ์ใช้การได้จริง โดย
ไม่ต้องพิจารณาว่าขัดกับกฎหมายธรรมชาติหรือไม่
สำานักความคิดในทางกฎหมายฝ่ ายคอมมิวนิสต์ (School of Communist
Jurisprudence)
กฎหมาย คือ ปรากฏการณ์อันหน่ ึงซ่ ึงเป็ นผลสะท้อนมาจากการเมือง กล่าว
คือ เศรษฐกิจและการเมืองต้องการจะแสดงคำาสัง่คำาบัญชาอย่างไร ส่ิงท่ีถูก
แสดงออกมาคือ กฎหมาย “รัฏฐาธิปัตย์” ในทรรศนะของฝ่ ายคอมมิวนิสต์
คือ “รัฐ” หรือ “สังคม” ไม่ใช่องค์กรหรือบุคคลใดโดยเฉพาะเจาะจง
สำานักความคิดในทางกฎหมายฝ่ ายสังคมวิทยา (School of Sociological
Jurisprudence)
กฎหมาย คือ ระเบียบสังคม (social norm) แบ่งได้ 3 ยุค
1. ยุคเทววิทยา (Theological Stage) – ไม่มีความสำาคัญเท่าใดนัก เพราะปรัชญา
สมัยนีเ้ป็ นเร่ ืองของส่ิงนอกธรรมชาติ
2. ยุคอภิปรัชญา (Metaphysical Stage) – เร่ิมก่อตัง้เป็ นรูปร่าง เร่ิมแสดงทรรศนะ
เก่ียวกับบทบาทของกฎหมายในสังคมมากขึ้น
3. ยุคปฏิฐานนิยม (Positivistic Stage) – เร่ิมมีลักษณะในทางวิทยาศาสตร์มากขึ้น
การจัดทำา การตีความ ตลอดจนการใช้กฎหมายเร่ิมตรงต่อสภาพความเป็ น
จริงในสังคมมากขึ้น
สำานักความคิดนีส้ นใจความเป็ นจริงมากกว่าอุดมการณ์ นักปรัชญากฎหมาย
ฝ่ ายสัจจนิยมแบ่งออกเป็ น 2 กลุ่ม คือ
1. กลุ่มอเมริกัน (American Realists)
2. กลุ่มสแกนดิเนเวียน (Scandinavian Realists)
กลุ่มนักสัจจนิยมอเมริกัน พยายามมองกฎหมายในแง่ท่ีเป็ นจริง โดยเน้นให้
เห็นความไม่แน่นอนของกฎหมาย สำานักนีใ้ห้คำาจำากัดความของกฎหมายใน
แง่ของการกระทำาของผู้ตัดสินคดี โดยถือว่ากฎหมายคือส่ิงท่ีศาลทำาไม่ใช่ส่ิง
ท่ีศาลพูด จนกว่าศาลจะได้ตัดสิน
กลุ่มนักสัจจนิยมสแกนดิเนียน ไม่เช่ ือว่ากฎหมายมีอะไรเก่ียวข้องกับความ
ยุติธรรม หรือความดี ความชัว่
สำานักความคิดในทางกฎหมายฝ่ ายนิยมประวัติศาสตร์ (School of Historical
Jurisprudence)
สำานักความคิดนีม
้ ีความเห็นว่ากฎหมายจะต้องมีวิวัฒนาการอยู่เสมอ เพราะ
กฎหมายเป็ นผลของประวัติศาสตร์ ในปั จจุบันมีผู้นิยมเอาความคิดในสำานัก
นีม
้ าใช้อธิบายกฎหมายโดยเน้นให้เห็นความสำาคัญของประวัติศาสตร์
กฎหมาย
รัฏฐาธิปัตย์ คือ ผู้เป็ นใหญ่ในแผ่นดิน ส่วนจะเป็ นใครก็สุดแท้แต่ว่าเป็ นผู้
เป็ นใหญ่ในแผ่นดินหรือบ้านเมืองใด มีระบบการปกครองอย่างไร
- สมัยสมบูรณาญาสิทธิราช – พระมหากษัตริย์
- สมัยประชาธิปไตย – ประชาชนซ่ ึงแสดงออกถึงอำานาจของตนโดยผ่านทาง
รัฐสภา
จำาแนกออกเป็ นประเภทต่าง ๆ ดังนี้
1. รัฏฐาธิปัตย์ทางกฎหมายและทางการเมือง (Legal sovereign and political
sovereign)
2. รัฏฐาธิปัตย์ทางพฤตินัยและนิตินัย (De facto sovereign and de Jure sovereign)
การเป็ นรัฏฐาธิปัตย์ท่ีไม่ชอบด้วยกฎหมายแต่ต้องถือว่าเป็ นรัฏฐาธิปัตย์โดย
พฤตินัยจนกว่าเม่ ือใดเป็ นท่ียอมรับของราษฎรไม่วา่ โดยตรงหรือโดยปริยาย
แล้ว และได้ครอบครองประเทศอย่างมัน ่ คงแล้วก็จะกลายเป็ นรัฐบาลท่ีชอบ
ด้วยกฎหมาย นิตินัย และมีอธิปไตยในทางนิตินัย ระยะเวลาในการเปล่ียน
พฤตินัย อาจใช้เวลาสัน ้ หรือยาวนานก็ได้
“ความยุติธรรม” เป็ นคำาสำาคัญในทางนิติศาสตร์ เพราะแสดงให้เห็นถึงท่ีมา
ของกฎหมายและหน้าท่ีของกฎหมาย หรือบทบาทของกฎหมายในสังคม
กล่าวอีกนัยหน่ ึง ความยุติธรรมคือชีวิตของกฎหมาย
ในสมัยกรีก เปลโต้ อธิบาย ความยุติธรรม คือ การทำากรรมดี ฉะนัน
้ ความ
ยุติธรรม จึงเป็ นคุณธรรมประการหน่ ึง
โดยสรุป ความยุติธรรมก็คือความชอบธรรม ความถูกต้อง หรือความพอใจ
นัน
่ เอง

หน่วยท่ี 5

ความหมายโดยทัว่ไปของสิทธิ ได้แก่ อำานาจหรือประโยชน์ท่ีได้รับการรับรอง


และได้รับการคุ้มครอง
สิทธิตามกฎหมาย คือ อำานาจหรือประโยชน์ซ่ึงทางบ้านเมืองให้คำามัน ่ สัญญา
โดยกำาหนดเป็ นลายลักษณ์อักษร หรือกฎหมายจารีตประเพณี ว่าจะจัดการ
ดูแลให้เกิดมีขึ้นแก่บุคคลหน่ ึงบุคคลใดอย่างเต็มภาคภูมิเพ่ ือสมกับสถานะ
ของ “ผู้ทรงสิทธิ” หรือ “ผูท ้ ่ีเป็ นเจ้าของสิทธิ”
หน้าท่ีตามกฎหมาย
กรณีใดท่ีกฎหมายให้สิทธิแก่บุคคลหน่ ึง ก็ย่อมกำาหนดหน้าท่ีแก่บุคคลอ่ ืนท่ี
จะต้องกระทำาแก่ผู้มีสิทธินัน
้ ด้วย
สิทธิและหน้าท่ีตามกฎหมายแบ่งได้ 2 ระดับ คือ
1. สิทธิและหน้าท่ีตามกฎหมายโดยเฉพาะเจาะจง
2. สิทธิและหน้าท่ีตามกฎหมายอย่างกว้าง
สิทธิมนุษยชน มีการเพ่ิมเติมเสริมแต่งให้มนุษย์สามารถพัฒนาบุคลิกภาพ
และเพ่ ือให้มีความสมบูรณ์ย่ิงขึ้นในแง่เกียรติภูมิและคุณค่าของชีวิต และมี
กฎหมายสนับสนุนในรูปของกฎหมายภายใน เช่น รัฐธรรมนูญ หรือ
กฎหมายระหว่างประเทศ
การคุ้มครองสิทธิในสมัยโบราณ
สมัยสุโขทัย ปั จจุบัน
เศรษฐกิจ - เป็ นการให้เสรีภาพในการค้าขาย ไม่จำากัดสิทธิ ทัง้ยังส่งเสริมโดย
การไม่เก็บภาษีระหว่างทางผ่าน - รัฐบาลให้เสรีภาพอย่างเต็มท่ีในการค้า มี
การส่งเสริมการลงทุนในด้านเศรษฐกิจในรูปของพระราชบัญญัติและความ
ตกลงระหว่างประเทศ ทัง้ยังมีการยกเว้นภาษีหรือเก็บภาษีในอัตราต่ำา
สำาหรับสินค้าบางประเภทท่ีจำาเป็ นในการประกอบธุรกิจ
มรดก - เป็ นการประกันสิทธิในทรัพย์สินต่าง ๆ เช่น บ้านเรือน เส้ือผ้า ฉาง
ข้าว สวนหมากพลู ของบรรพบุรุษให้ตกทอดแก่ผู้สืบสันดาน - การคุ้มครอง
สิทธิดังกล่าวท่ีระบุไว้ในรัฐธรรมนูญฯ ฉบับ 2521 มาตรา 22 ประกอบมาตรา
30 วรรค 2 และประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 6 ว่าด้วย มรดก
ประสาทความยุติธรรม - เป็ นการให้ความเป็ นธรรมไม่วา่ คู่ความจะมีสถานะ
เช่นไรในสังคม หากเกิดถ้อยกระทงความกันขึ้นก็จะต้องไต่สวนความ ไม่เข้า
ข้างผู้ใด และไม่ลำาเอียง - ผู้พิพากษาและตุลาการมีหน้าท่ีในการพิจารณา
พิพากษาอรรถคดีให้เป็ นไปตามตัวบทกฎหมาย
การคุ้มครองเชลย - เป็ นการแสดงถึงความมีมนุษยธรรมต่อข้าศึก ซ่ ึงตรงกับ
หลักในอนุสัญญาเจนีวาเก่ียวกับการปฏิบัติต่อเชลยศึก อันเป็ นพันธะ
ระหว่างประเทศในปั จจุบันซ่ ึงนานาสมาชิกแห่งสหประชาชาติมีความผูกพัน
ต้องปฏิบัติ

สิทธิตามรัฐธรรมนูญ - สิทธิและเสรีภาพและหลักประกัน ซ่ ึงมีรัฐธรรมนูญ


รับรอง
สิทธิตามกฎหมายระหว่างประเทศหรือสิทธิมนุษยชนท่ีเข้ามาสู่กฎหมาย
ภายในสิทธิตามกฎหมายมหาชนอ่ ืน ๆ
กฎหมายเอกชนเป็ นกฎหมายท่ีจัดระบบความสัมพันธ์กันระหว่างเอกชนต่อ
เอกชนในฐานะท่ีเท่าเทียมกัน เป็ นเร่ ืองความสมัครใจระหว่างบุคคลท่ีจะ
เลือกสรรชนิดแห่งนิติสัมพันธ์ซ่ึงตนพึงประสงค์
การจัดให้สมดังสิทธิ เป็ นวิธีการแนวทางหรือเพ่ ือแก้ไขข้อขัดข้อง โดยมี
วัตถุประสงค์ท่ีจะให้ผู้ทรงสิทธิได้รับประโยชน์ตามท่ีตนควรจะมีด้วยอำานาจ
ของกฎหมายในฐานะผู้ทรงสิทธิ
เหตุผลท่ีกฎหมายถือการกระทำาเป็ นหลักกำาหนดความผิดหรือความรับผิดนี้
เพราะกฎหมายอาญาถือหลักว่า ลำาพังแต่ความคิดชัว่ร้ายยังไม่พอท่ีจะเป็ น
ความผิดอาญา จะต้องมีการกระทำาด้วย และแม้แต่ในกรณีการพยายาม
กระทำาความผิด แต่กฎหมายจะต้องคำานึงถึงสิทธิของบุคคลและจะต้องใช้
ความสมดุลกันระหว่างเสรีภาพของประชาชนกับความปลอดภัยของสังคม
การกระทำา หมายถึง การเคล่ ือนไหวร่างกายโดยสมัครใจ
การกระทำาโดยสมัครใช้จะมีนัยสำาคัญในทางกฎหมายและถือเป็ นมูลฐานของ
ความรับผิดได้ ความสมัครใจจึงเป็ นเกณฑ์ของความรับผิดและแสดงถึงความ
สามารถควบคุมการกระทำานัน ้ ๆ ด้วย
การกระทำาโดยไม่สมัครใจ จะต้องเป็ นการละเว้นการกระทำาโดยสมัครใจ
ปั ญหาความสัมพันธ์ระหว่างเหตุและผล ในปั จจุบันมีผู้เห็นว่าไม่ควรถือหลัก
ความสัมพันธ์ระหว่างเหตุและผลอีกต่อไป แต่ควรเน้นเฉพาะปั ญหาความรับ
ผิดมากกว่า คือ พิจารณาว่าการกระทำาของจำาเลยเป็ นเหตุให้เกิดความเสีย
หายแก่โจทก์หรือไม่ จำาเลยควรรับผิดหรือไม่ ปั ญหาอีกประการหน่ ึง คือ
กรณีท่ีมีเหตุอ่ืนแทรกแซงเข้ามาตัดความสัมพันธ์ระหว่างเหตุและผลไป ซ่ ึง
ปั จจัยท่ีถือเป็ นเหตุแทรกแซงตัดความสัมพันธ์ระหว่างเหตุและผล มี 2 ปั จจัย
คือ
1. การกระทำาของผู้อ่ืน
2. เหตุผิดปกติ

หน่วยท่ี 6

“การใช้กฎหมาย” (Application of law) มีความหมาย 2 ประการ คือ


1. การใช้กฎหมายในทางทฤษฎี
2. การใช้กฎหมายในทางปฏิบัติ
การใช้กฎหมายในทางทฤษฎี - การท่ีจะนำากฎหมายนัน
้ ๆ ไปใช้แก่บุคคลใน
เวลา และสถานท่ี หรือตามเหตุการณ์หรือเง่ ือนไข เง่ ือนเวลาหน่ ึง ๆ การใช้
กฎหมายในทางทฤษฎีนีส ้ ัมพันธ์กับการร่างกฎหมายเป็ นส่วนใหญ่ เพราะ
เม่ ือมีการยกร่างกฎหมายและลายลักษณ์อักษรขึ้น ผู้ร่างกฎหมายจะต้อง
ถามผู้ประสงค์จะจัดให้มีกฎหมายนัน ้ ขึ้นก่อนเสมอว่า กฎหมายนีจ้ะใช้กบั
ใคร กฎหมายนีจ้ะใช้ท่ีไหน กฎหมายนีจ้ะใช้เม่ ือไร
การใช้กฎหมายในทางปฏิบัติ - การนำาบทกฎหมายไปใช้ปรับแก่คดีหรือ
เหตุการณ์ท่ีเกิดขึ้นโดยเฉพาะเจาะจงเพ่ ือหาคำาตอบหรือเพ่ ือวินิจฉัย
พฤติกรรมของบุคคลหน่ ึงในเหตุการณ์หน่ ึง ดังท่ีเรียกว่า การปรับบท
กฎหมาย ผู้ใช้กฎหมายประเภทนีจ้ึงมิใช่ผู้ร่างกฎหมาย หรือผู้ปฏิบัติงานทาง
ฝ่ ายนิติบัญญัติ หากแต่อาจเป็ นใครก็ตามท่ีจะต้องเปิ ดดูตัวบทกฎหมายเพ่ ือ
ปรับบทกฎหมายนัน ้ ให้เข้ากับข้อเท็จจริงท่ีเกิดขึ้น
การใช้กฎหมายในส่วนท่ีเก่ียวกับบุคคล คือ หลักท่ีว่าจะใช้กฎหมายกับใคร
บ้าง ซ่ ึงมีหลักอยู่ว่ากฎหมายใช้ได้กบ ั บุคคลทัว่ไป ดังนัน
้ กฎหมายจึงใช้
บังคับกับทุกคนโดยไม่มีข้อยกเว้น ไม่วา่ เป็ นผู้มีสัญชาติไทยหรือไม่ก็ตาม
การใช้กฎหมายในส่วนท่ีเก่ียวกับสถานท่ี - สถานท่ีท่ีจะใช้กฎหมายนัน ้ ต้อง
อยู่ในบังคับแห่งอำานาจของรัฐนัน ้ สถานท่ีดังกล่าวได้แก่ดินแดนของรัฐ
ตัวอย่างเช่น กฎหมายไทยย่อมมีผลใช้บังคับตลอดทัง้ราชอาณาจักรไทย เรา
เรียกอำานาจนีว้่า อำานาจบังคับเหนือดินแดน
การใช้กฎหมายในส่วนท่ีเก่ียวกับเวลา คือ จะใช้กฎหมายนัน้ เม่ ือใด ซ่ ึงเป็ น
เร่ ืองของเวลา
การตีความกฎหมาย หมายถึง การค้นหาความหมายของกฎหมายท่ีมีถ้อยคำา
ไม่ชัดเจนหรืออาจแปลความได้หลายทาง เพ่ ือทราบว่าถ้อยคำาในกฎหมายมี
ความหมายอย่างไร การตีความกฎหมายเป็ นส่วนหน่ ึงของการใช้กฎหมายใน
ทางปฏิบัติ
การตีความกฎหมายต้องอาศัยความรู้โดยอาศัยหลักวิชา ซ่ ึงต้องตีความตาม
ตัวอักษร ซ่ ึงการตีความตามหลักวิชาในกรณีท่ีใช้ภาษาสามัญ ในกรณีท่ี
กฎหมายใช้ศัพท์วิชาการ หรือศัพท์เทคนิค ในกรณีท่ีกฎหมายประสงค์ให้ข้อ
บัญญัติใดมีความหมายพิเศษต่างไปจากท่ีเข้าใจกันตามธรรมดาสามัญ และ
ต้องคำานึงถึงหลักภาษาหรือไวยากรณ์ไทย
การใช้กฎหมายโดยการตีความต้องมุ่งให้เกิดประโยชน์แก่สังคมหรือความ
เป็ นธรรมในสังคมด้วย
การใช้กฎหมายโดยการใช้ดุลพินิจต้องมุ่งให้เกิดประโยชน์แก่สังคมหรือความ
เป็ นธรรมในสังคมด้วย

หน่วยท่ี 7

รัฐธรรมนูญเป็ นกฎหมายท่ีวางระเบียบในการปกครองประเทศ โดยกำาหนด


ความสัมพันธ์ระหว่างอำานาจต่าง ๆ เหล่านัน
้ เพ่ ือใช้เป็ นหลักเกณฑ์ในการ
ปกครองประเทศ
ระเบียบแห่งอำานาจอธิปไตยทัง้ 3 ประการ คือ
1. อำานาจนิติบัญญัติ
2. อำานาจบริหาร
3. อำานาจตุลาการ
อำานาจนิติบัญญัติ หมายถึง อำานาจในการพิจารณาร่างกฎหมายและออก
กฎหมาย ผู้ใช้อำานาจนิติบัญญัติ เรียกว่า ฝ่ ายนิติบัญญัติ
ฝ่ ายนิติบัญญัติ คือ ฝ่ ายท่ีมีหน้าท่ีออกกฎหมายใช้บังคับในรัฐ
อำานาจบริหาร หมายถึง อำานาจในการปกครองประเทศ ซ่ ึงในระบอบ
ประชาธิปไตยถือว่าการปกครองประเทศต้องเป็ นไปตามกฎหมาย อาจเรียก
อีกอย่างหน่ ึงว่า การบริหารราชการแผ่นดิน
อำานาจตุลาการ คือ อำานาจเก่ียวกับการวินิจฉัยชีข้าดอรรถคดี ซ่ ึงเป็ นอำานาจ
ของศาล ซ่ ึงจะต้องดำาเนินการตามกฎหมายและในพระปรมาภิไธยของพระ
มหากษัตริย์
หลักเกณฑ์ท่ีสำาคัญของกฎหมายรัฐธรรมนูญ มี 2 ประการ คือ
1. รูปแบบของรัฐธรรมนูญ
2. เน้ือหาสาระของรัฐธรรมนูญ
รูปแบบของรัฐธรรมนูญ ได้แก่
1. ช่ ือ
2. การตรา
3. จำานวนฉบับ
4. การจัดทำาและจัดให้มีขึ้น
5. ฐานะของรัฐธรรมนูญ
6. ความสัน
้ ยาวของรัฐธรรมนูญ
เน้ือหาสาระของรัฐธรรมนูญ ได้แก่
1. คำาปรารภ
2. กฎเกณฑ์การปกครองประเทศ
3. กฎการแก้ไขเพ่ิมเติม
4. ความเป็ นกฎหมายสูงสุด
5. บทบัญญัติเก่ียวกับสิทธิเสรีภาพของประชาชน
กฎหมายปกครอง คือ กฎหมายซ่ ึงว่าด้วยการจัดระเบียบองค์กรฝ่ ายปกครอง
อำานาจหน้าท่ีของเจ้าหน้าท่ีฝ่ายปกครอง และการควบคุมการดำาเนินงานของ
ฝ่ ายปกครอง กฎหมายปกครอง ก็คือ กฎหมายรัฐธรรมนูญนัน ่ เอง ในด้าน
ฐานะของกฎหมาย กฎหมายรัฐธรรมนูญมีความสำาคัญมากกว่ากฎหมาย
ปกครอง เพราะรัฐธรรมนูญโดยทัว่ไปแล้วถือว่าเป็ นกฎหมายสูงสุดของ
ประเทศ
การจัดระเบียบการปกครอง หรือ การจัดระเบียบองค์กรฝ่ ายปกครอง เป็ น
สาระสำาคัญประการหน่ ึงของกฎหมายปกครอง ซ่ ึงหลักการจัดระเบียบ
องค์กรฝ่ ายปกครองท่ีนิยมอยู่ทัว่ไปมี 2 แบบ คือ
1. หลักการรวมอำานาจปกครอง
2. หลักการกระจายอำานาจปกครอง
หลักการรวมอำานาจปกครอง เป็ นวิธีการจัดระเบียบการปกครองโดยรวม
อำานาจในการปกครองบังคับบัญชาเข้าไว้ในส่วนกลาง
หลักการกระจายอำานาจปกครอง เป็ นวิธีจด
ั ระเบียบการปกครองอีกแบบหน่ ึง
ซ่ ึงรัฐมอบอำานาจกากรปกครองบางส่วนให้องค์กรอ่ ืนมีอำานาจปกครองบังคับ
บัญชาเอง โดยมีความเป็ นอิสระตามสมควร
ระเบียบริหารราชการแผ่นดินของไทย แบ่งออกเป็ น 3 ส่วน ได้แก่
1. ระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง
2. ระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาค
3. ระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถ่ิน
ระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง ประกอบด้วย
1. สำานักนายกรัฐมนตรี
2. กระทรวง
3. ทบวง
4. กรม
ระเบียบบริหารราชการส่วนภูมภ
ิ าค
1. จังหวัด
2. อำาเภอ
ระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถ่ิน ประกอบด้วย
1. องค์การบริหารส่วนจังหวัด
2. เทศบาล
3. สุขาภิบาล
4. กรุงเทพมหานคร
5. เมืองพัทยา
ในการปฏิบัติหน้าท่ีจัดทำาบริการสาธารณะขึ้นสนองความต้องการของ
ประชาชน บางครัง้ประชาชนอาจกไม่ได้รับความเป็ นธรรมหรืออาจประสบ
ปั ญหาหลายประการจากการใช้ดุลพินิจสัง่การหรือการกระทำาของฝ่ าย
ปกครอง จึงเกิดความจำาเป็ นท่ีจะต้องมีการควบคุมดุลพินิจและการกระทำา
ของฝ่ ายปกครอง สำาหรับองค์กรท่ีเข้ามาทำาหน้าท่ีวินิจฉัยปั ญหาเหล่านีม
้ ีทัง้
ในรูปคณะกรรมการเฉพาะกิจ และในรูปของศาลปกครอง

หน่วยท่ี 8

บ่อเกิดของความรับผิดทางอาญา สืบเน่ ืองมาจากหลักพ้ืนฐานประการหน่ ึง


ในกฎหมายอาญา ท่ีว่า “ไม่มก ี ฎหมาย ไม่มีความรับผิด” กล่าวคือ บุคคล
ย่อมจะไม่ต้องรับผิดทางอาญา เว้นแต่กฎหมายจะได้กำาหนดโทษสำาหรับ
ความผิดนัน้ ไว้ หรือกล่าวอีกคือ หากไม่มีกฎหมายบัญญัติในการกระทำาใด
เป็ นความผิดอาญาแล้ว จะถือว่าการกระทำานัน ้ เป็ นความผิดอาญาไม่ได้
กฎหมายอาญาต้องตีความโดยเคร่งครัด และความหมายสำาคัญประการ
สุดท้ายของหลัก ก็คือ กฎหมายหมายไม่มีผลย้อนหลัง
ความรับผิดทางอาญาประกอบด้วยการกระทำาของกายและการกระทำาทางจิต
คือ จะต้องมีทัง้การกระทำาและความผิดของจิตประกอบกัน ซ่ ึงมี 3 ทฤษฎี
คือ
1. ความรับผิดท่ีต้องอาศัยทัง้การกระทำาและความผิดของจิต คือ การกำาหนด
ความรับผิดทางอาญาจะต้องคำานึงทัง้การกระทำาและความรู้สึกในจิตใจของผู้
กระทำา ลำาพังการกระทำาอย่างเดียวไม่ก่อให้เกิดความรับผิดทางอาญา
2. ความรับผิดท่ีอาศัยลำาพังการกระทำา คือ ไม่คำานึงถึงแก่ความรู้สึกในจิตใจ
ของผู้กระทำาด้วย โดยถือว่าลำาพังแต่การกระทำาก็เพียงพอท่ีจะกำาหนดให้ผู้
กระทำาต้องรับผิดทางอาญาได้ ทฤษฎีนีเ้รียกว่า ความรับผิดเคร่งครัด
3. ความรับผิดท่ีไม่ต้องอาศัยทัง้การกระทำาและสภาวะของจิต คือ ผู้ท่ีต้องรับ
ผิดทางอาญามิได้กระทำาความผิดนัน
้ เลย แต่ก็ต้องรับผิด เรียกว่า ความรับ
ผิดในการกระทำาของผู้อ่ืน
การกระทำาความผิดอาญาต้องประกอบขึ้นด้วยทัง้การกระทำาภายนอกและ
การกระทำาภายใน ความผิดอาญามีองค์ประกอบ 2 อย่าง
คือ
(1) องค์ประกอบภายนอก (external elements)
(2) องค์ประกอบภายใน (internal elements)
องค์ประกอบภายนอก ได้แก่ การกระทำาและข้อเท็จจริงท่ีเก่ียวเน่ ืองกับการก
ระทำาอันบุคคลสามารถได้เห็น ได้ยิน ได้รู้ หรือสัมผัสได้จากภายนอก คือ
เป็ นส่ิงท่ีมิได้อยู่ในจิตใจของผู้กระทำา
องค์ประกอบภายใน ได้แก่ สภาวะของจิตของผู้กระทำา โดยทัว่ไปสภาวะของ
จิตในการกระทำาความผิดมีลักษณะอย่างใดอย่างหน่ ึง คือ เจตนาหรือ
ประมาท และถือว่าเจตนาเป็ นหลักสำาคัญของความผิดอาญา
องค์ประกอบภายในมีสาระท่ีจะพิจารณา 3 ประการ คือ
(1) เจตนา
(2) เหตุจูงใจ
(3) ประมาท
เจตนา
เจตนาในแง่ของการกระทำา หมายถึง การกระทำาโดยรูส ้ ำานึก และรู้ถึงสภาวะ
แวดล้อมอันเป็ นองค์ประกอบของความผิดด้วย
เจตนาในแง่ของผลของการกระทำา โดยนัยนี เ ้ จตนาหมายถึงความ
ประสงค์ต่อผลท่ีจะเกิดจากการกระทำา มี 2 ลักษณะ คือ
เจตนาประสงค์ต่อผล คือ ประสงค์ต่อผลท่ีผู้กระทำามีอยู่ในขณะกระทำา
เจตนาย่อมเล็งเห็นผล คือ ผู้กระทำามิได้ประสงค์ต่อผลท่ีเกิดขึ้นโดยตรง แต่
ย่อมเล็งเห็นผลแห่งการกระทำานัน้ ได้
การกระทำาโดยพลาดมิใช่การกระทำาโดยประมาทหรือเป็ นอุบัติเหตุ แต่
เป็ นการกระทำาโดยเจตนา
เหตุจูงใจ
ความประสงค์อันมีอยู่ในใจก่อนการกระทำา คือ มูลเหตุหรือเหตุผลในการก
ระทำาความผิดในภาคกฎหมาย เรียกมูลเหตุนีว้่า “เหตุจูงใจ” (motive)
เหตุจูงใจเป็ นความประสงค์ต่อผลอย่างใดอย่างหน่ ึงและชักจูงให้ผู้กระทำา
ตกลงกระทำาความผิดขึ้น เหตุจูงใจจึงมีได้เฉพาะในการกระทำาความผิดโดย
เจตนาเท่านัน ้ การกระทำาโดยประมาทมีเหตุจูงใจไม่ได้ เหตุจูงใจบางทีเรียก
กว่า เจตนาพิเศษ (specific intent)
ประมาท
ประมาท หมายถึง สภาวะแห่งจิตใจท่ีเฉยเมยไม่นำาพาต่อการกระทำาและต่อ
ผลแห่งการกระทำา ประมาทกับเจตนาเป็ นสภาวะของจิตท่ีตรงข้ามกัน
เจตนา - ความประสงค์ต่อผลหรือย่อมเล็งเห็นผลของการกระทำา
ประมาท - ผูก
้ ระทำาไม่มีความประสงค์ต่อผลหรือเล็งเห็นผลของการกระทำา
แต่อย่างใด คือ เฉยเมยไม่นำามาต่อผลหรือไม่เอาใจใส่ หรือระมัดระวังว่าจะ
เกิดผลอย่างไรหรือไม่
การกระทำาความผิดโดยเจตนาย่อมมีขัน ้ ตอนของการกระทำาเป็ นลำาดับ ดังนี้
(1) คิดและตกลงใจกระทำาความผิด หรือเจตนากระทำาความผิด
(2) ตระเตรียมเพ่ ือกระทำาความผิดนัน

(3) พยายามกระทำาความผิด
(4) ความผิดสำาเร็จ
ในลำาดับแรก บุคคลยังไม่ต้องรับผิดทางอาญา เพราะยังเป็ นแต่ความคิด หรือ
เจตนาอย่างเดียวเท่านัน

ตระเตรียมการ
การตระเตรียมเป็ นกิริยาท่ีแสดงออกอันได้ถือว่ามีการกระทำาแล้ว
การตระเตรียม หมายถึง ผู้กระทำาได้กระทำาการต่าง ๆ เพ่ ือให้พร้อมท่ีจะ
กระทำาความผิดให้สำาเร็จต่อไปหรือเพ่ ือความสะดวกแก่การกระทำาผิด การก
ระทำาในขัน ้ ตระเตรียมเป็ นการกระทำาท่ีอยู่ในระหว่างสงสัย ยังห่างไกลจาก
การกระทำาความผิดอยู่มาก คือ ผูก ้ ระทำาอาจกลับใจ งดเว้นไม่กระทำาต่อไป
ก็ได้ ฉะนัน ้ การตระเตรียมยังไม่เป็ นความผิด การตระเตรียมเท่ากับเป็ นการ
ยัว่ยุให้ผท
ู้ ่ีได้ตระเตรียมการนัน ้ กระทำาการจนตลอด กฎหมายจึงยอมให้
โอกาสแก่ผก ู้ ระทำาท่ีจะกลับใจได้ อย่างไรก็ตาม ถ้าการกระทำาในขัน ้ ตระ
เตรียมนัน ้ เป็ นความผิดต่อกฎหมายอยู่ในตัวแล้ว ผู้นัน ้ ก็ต้องรับผิดทางอาญา
ในฐานะละเมิดต่อกฎหมายนัน ้ ต่างหาก
พยายามกระทำาความผิด
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 80 บัญญัติว่า “ผู้ใดลงมือกระทำาความผิดแต่
กระทำาไปไม่ตลอด หรือกระทำาไปตลอดแล้วแต่การกระทำานัน
้ ไม่บรรลุ ผู้นัน

พยายามกระทำาความผิด ผู้ใดพยายามกระทำาความผิด ผู้นัน ้ ต้องระวางโทษ
สองในสามส่วนของโทษท่ีกฎหมายกำาหนดไว้สำาหรับความผิดนัน ้ ”
หลักเกณฑ์ของการพยายามกระทำาความผิด มีดังนี้
(1) มีเจตนากระทำาความผิด - การวินิจฉัยต้องพิจารณาว่า ผูก
้ ระทำามีเจตนา
กระทำาความผิดฐานนัน ้ หรือไม่ ถ้าผูก
้ ระทำาได้มีเจตนากระทำาความผิดฐานใด
แล้ว จะถือว่ามีความผิดฐานพยายามกระทำาความผิดฐานนัน ้ ไม่ได้ คงมีความ
ผิดในฐานท่ีกระทำาโดยเจตนาเท่านัน ้
(2) ลงมือกระทำาความผิด - จะต้องปรากฏว่า การกระทำาท่ีแสดงออกภายนอก
ต้องถึงขัน้ ลงมือกระทำาความผิด กล่าวคือ ถ้าการกระทำาท่ีได้กระทำาลงไปแล้ว
นัน้ ใกล้ชิดกับผลสำาเร็จแล้วก็ถือว่าเป็ นการลงมือกระทำา
(3) กระทำาไปไม่ตลอด หรือการกระทำาไปตลอดแล้วแต่การกระทำาไม่บรรลุผล
- การกระทำาท่ียังอยู่ในขัน
้ พยายามนัน
้ จะต้องเป็ นการกระทำาท่ียังไม่บรรลุผล
ตามเจตนา เพราะถ้าบรรลุผลสมดังเจตนาก็เป็ นความผิดสำาเร็จ มิใช่พยายาม
กระทำาความผิด การกระทำาท่ียังไม่บรรลุผลสำาเร็จอาจเน่ ืองมาจากผูก ้ ระทำา
กระทำาไปไม่ตลอด
การกระทำาท่ีผ่านพ้นขัน้ พยายามก็จะเป็ นความผิดสำาเร็จ
การกระทำาท่ีผ่านพ้นขัน ้ ตระเตรียมก็เป็ นการพยายามกระทำาความผิด
การกระทำาจะเป็ นความผิดสำาเร็จ ก็คือ เม่ ือการกระทำานัน
้ ได้บรรลุผลครบ
ถ้วนตามท่ีกฎหมายบัญญัติไว้
บุคคลผู้เก่ียวข้องในการกระทำาความผิด จำาแนกออกเป็ น 3 ประเภท
1. ตัวการ - ผู้ท่ีร่วมมือกระทำาความผิดด้วย กรณีท่ีการกระทำาความผิดราย
หน่ ึงมีบุคคลตัง้แต่สองคนขึ้นไปเจตนาร่วมกระทำาความผิดด้วยกัน
2. ผู้ใช้ให้กระทำาความผิด - ผู้ท่ีก่อให้บุคคลอ่ ืนกระทำาความผิดขึ้น ไม่ว่าด้วย
การใช้บังคับ ขู่เข็ญ จ้าง วาน ยุยงส่งเสริม หรือด้วยวิธีอ่ืนใด
3. ผู้สนับสนุน - ผู้ท่ีให้ความช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกในการท่ีผู้อ่ืน
กระทำาความผิด ก่อนหรือขณะกระทำาความผิด
ความผิดต่อชีวิต แยกได้ 3 ความผิด คือ
1. ฆ่าคนโดยเจตนา
2. ฆ่าคนโดยไม่เจตนา
3. ทำาให้คนตายโดยประมาท
การฆ่าหรือทำาให้ผอ ู้ ่ ืนถึงแก่ความตาย ผูก
้ ระทำาจะมีความผิดฐานใดนัน
้ ขึ้นอยู่
กับองค์ประกอบภายในของความผิด กล่าวคือ
- ถ้าผู้กระทำามีเจตนาฆ่าคือทำาให้ตาย ก็ผด ิ ฐานฆ่าคนตายโดยเจตนา
- ถ้าผู้กระทำามิได้มีเจตนาท่ีจะทำาให้ตาย มีเพียงเจตนาจะทำาร้ายร่างกาย แต่
การทำาร้ายนัน ้ เป็ นเหตุผู้ถูกทำาร้ายตาย ก็ผด
ิ ฐานฆ่าคนตายโดยไม่เจตนา
- ถ้าผู้กระทำามิได้มีเจตนาฆ่าหรือเจตนาทำาร้าย แต่กระทำาโดยประมาทเป็ นเหตุ
ให้ผอู้ ่ ืนตาย ก็ผิดฐานะทำาให้คนตายโดยประมาท
ความผิดต่อร่างกาย เป็ นการกระทำาไม่วา่ ด้วยวิธีใด ๆ จนเป็ นเหตุให้เกิด
อันตรายแก่กายหรือจิตใจของผู้อ่ืน ประกอบด้วย
1. ความผิดฐานทำาร้ายร่างกาย
2. ความผิดฐานทำาร้ายร่างกายสาหัส
3. ความผิดฐานประมาททำาให้ผอ
ู้ ่ ืนได้รบ
ั อันตรายสาหัส
การทำาร้ายร่างกายผู้อ่ืน ผู้กระทำาต้องรับผิดทัง้ในกรณีกระทำาโดยเจตนาและ
ประมาท
- ถ้าเป็ นอันตรายแก่กายหรือจิตใจ ก็ผิดฐานทำาร้ายร่างกาย
- ถ้าเป็ นอันตรายสาหัส ก็ผิดฐานทำาร้ายร่างกายสาหัส และถ้าไม่เป็ นอันตราย
แก่กายหรือจิตใจ ก็เป็ นความผิดลหุโทษ
อันตรายสาหัส คือ
(1) ตาบอด หูหนวก ลิน้ ขาด หรือเสียฆานประสาท
(2) เสียอวัยวะสืบพันธุ์ หรือความสามารถสืบพันธุ์
(3) เสียแขน ขา มือ เท้า นิว้ หรืออวัยวะอ่ ืนใด
(4) หน้าเสียโฉมอย่างติดตัว
(5) แท้งลูก
(6) จิตพิการอย่างติดตัว
(7) ทุพพลภาพ หรือป่ วยเจ็บเร้ือรังซ่ ึงอาจถึงตลอดชีวิต
ทุพพลภาพ หรือป่ วยเจ็บด้วยอาการทุกขเวทนาเกิดกว่าย่ีสิบวัน หรือจน
ประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้เกินกว่าย่ีสิบวัน
- กรณีประมาท ถ้าผลท่ีเกิดขึ้นเป็ นอันตรายสาหัส ก็ผิดฐานประมาททำาให้ผู้
อ่ ืนรับอันตรายสาหัส ถ้าเป็ นอันตรายแก่กายหรือจิตใจก็เป็ นความผิด
ลหุโทษ แต่ถ้าไม่ถึงอันตรายแก่กายหรือจิตใจแล้วก็ไม่เป็ นความผิด
ความผิดเก่ียวกับทรัพย์ มี 12 ฐานความผิด คือ
1. ลักทรัพย์
2. ว่ิงราวทรัพย์
3. กรรโชก
4. รีดเอาทรัพย์
5. ชิงทรัพย์
6. ปล้นทรัพย์
7. ฉ้อโกง
8. โกงเจ้าหนี้
9. ยักยอก
10. รับของโจร
11. ทำาให้เสียทรัพย์
12. บุกรุก
ความผิดเหล่านีแ
้ บ่งได้ 2 กลุ่มใหญ่ ๆ
1. ความผิดท่ีมีความสัมพันธ์กัน ได้แก่ ความผิดฐานลักทรัพย์ ว่ิงราวทรัพย์
ชิงทรัพย์ และปล้นทรัพย์
2. ความผิดท่ีไม่มีความสัมพันธ์กัน ได้แก่ ความผิดฐานกรรโชก รีดเอาทรัพย์
ฉ้อโกง โกงเจ้าหนี ย ้ ั กยอกรับของโจรทำาให้เสียทรัพย
ความผิดฐานลักทรัพย์เป็ นองค์ประกอบของความผิดฐานว่ิงราวทรัพย์ ชิง
ทรัพย์ และปล้นทรัพย์ ฉะนัน ้ ถ้าการกระทำาไม่เป็ นการลักทรัพย์แล้ว ก็จะไม่
ผิดฐานว่ิงราว ชิงทรัพย์ หรือปล้นทรัพย์
ว่ิงราวทรัพย์ เป็ นการลักทรัพย์โดยฉกฉวยเอาซ่ ึงหน้า ความสำาคัญอยู่ท่ีกิริยา
ฉกฉวยทรัพย์ ถ้าฉกฉวยแล้วแม้เดินไป ไม่ว่ิง ก็เป็ นว่ิงราวทรัพย์ได้
“ฉกฉวยเอาซ่ ึงหน้า” หมายความว่า การเอาทรัพย์ไปจากการครอบครองของ
ผู้อ่ืนได้กระทำาโดยฉกฉวยเอาซ่ ึงหน้า คือ ต้องเอาไปต่อหน้าผู้ครอบครอง
ทรัพย์นัน ้ โดยทรัพย์อาจจะติดตัวผู้ครอบครอง
“ฉกฉวย” เป็ นกิริยาของการเอาทรัพย์ไปด้วยการหยิบ คว้า จับ กระชาก
แย่งในลักษณะท่ีรวดเร็ว
ชิงทรัพย์ เป็ นการลักทรัพย์โดยใช้กำาลังประทุษร้ายหรือขู่เข็ญว่าในทันใดนัน

จะใช้กำาลังประทุษร้าย เพ่ ือ
1. ให้ความสะดวกแก่การลักทรัพย์หรือการพาทรัพย์นัน ้ ไป
2. ให้ย่ืนให้ซ่ึงทรัพย์นัน

3. ยึดถือเอาทรัพย์นัน
้ ไว้
4. ปกปิ ดการกระทำาความผิดนัน
้ หรือ
5. ให้พ้นจากการจับกุม
ปล้นทรัพย์เป็ นการชิงทรัพย์ โดยมีการร่วมกระทำาความผิดตัง้แต่สามคนขึ้น
ไป จะต้องร่วมในฐานะตัวการ คือ ทัง้สามคนจะต้องเป็ นตัวการในการชิง
ทรัพย์ มิใช่ร่วมในฐานะเป็ นผู้สนับสนุนหรือผู้ใช้ให้กระทำาความผิด ถ้าใน 3
คนนัน
้ เป็ นตัวการชิงทรัพย์เพียง 2 คน และเป็ นผู้สนับสนุน 1 คน ก็ไม่เป็ น
ความผิดฐานปล้นทรัพย์
ยักยอกทรัพย์ เป็ นกรณีท่ีผู้กระทำาครอบครองทรัพย์ของผู้อ่ืนหรือท่ีผู้อ่ืนเป็ น
เจ้าของรวมอยู่ด้วยแล้วเบียดบังเอาทรัพย์นัน
้ เสียโดยเจตนาทุจริต
การป้ องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย เป็ นเหตุยกเว้นความผิดอย่างหน่ ึง คือ
ทำาให้ผก
ู้ ระทำาไม่มีความผิดอย่างใด ๆ เลย แม้ทัง้ท่ีได้กระทำาการอันกฎหมาย
บัญญัติเป็ นความผิดก็ตาม (ไม่มีความผิดเอาเลยทีเดียว เม่ ือกฎหมายถือว่า
ไม่มีความผิด ก็ไม่มีโทษไม่มีอะไรทัง้สิน
้ )
องค์ประกอบของการป้ องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย แยกได้ดังนี้
1. ผูก
้ ระทำาจำาต้องกระทำา
2. เป็ นการกระทำาเพ่ ือป้ องกันสิทธิของตนหรือของผู้อ่ืน
3. ให้พ้นภยันตรายซ่ ึงเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมาย
4. เป็ นภยันตรายท่ีใกล้จะถึง
5. ได้กระทำาพอสมควรแก่เหตุ
การท่ีผู้กระทำาจะอ้างเหตุป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายได้การกระทำานัน
้ จะ
ต้องเข้าตามหลักเกณฑ์ทัง้ 5 ประการโดยครบถ้วน หากขาดไปข้อใดข้อหน่ ึงก็
ไม่ถือว่าเป็ นการป้ องกัน
การกระทำาความผิดด้วยความจำาเป็ น หมายความว่า ความจำาเป็ นบังคับให้
ต้องกระทำาความผิดขึ้น คือ เป็ นกรณีท่ีจำาต้องกระทำานัน ่ เอง กฎหมายจะ
ยกเว้นโทษให้เฉพาะเม่ ือมีความจำาเป็ นต้องกระทำาเท่านัน ้ ผู้กระทำายังมีความ
ผิดอยู่แต่กฎหมายไม่ลงทา การกระทำาความผิดด้วยความจำาเป็ นจะต้อง
กระทำาไปพอสมควรแก่เหตุ หากกระทำาเกินสมควรแก่เหตุแล้ว กฎหมายก็
ไม่ยกเว้นโทษเพียงแต่ลดหย่อนโทษให้
การกระทำาความผิดในขณะไม่สามารถรู้ผิดชอบหรือไม่สามารถบังคับตนเอง
ได้ เพราะมีจิตบกพร่องโรคจิต หรือจิตฟั่ นเฟื อน ไม่ต้องรับโทษสำาหรับความ
ผิดนัน ้ แต่ถ้าผู้กระทำาความผิดยังสามารถรู้ผิดชอบอยู่แล้ว หรือยังสามารถ
บังคับตนเองได้บ้าง ผู้นัน้ ต้องรับโทษสำาหรับความผิดนัน ้ แต่ศาลจะลงโทษ
น้อยกว่าท่ีกฎหมายกำาหนดไว้สำาหรับความผิดนัน ้ เพียงใดก็ได้
การกระทำาตามคำาสัง่ท่ีมิชอบของเจ้าพนักงานโดยมีหน้าท่ีหรือเช่ ือโดยสุจริต
ว่ามีหน้าท่ีต้องปฏิบัติตาม ถ้าผู้กระทำามีหน้าท่ีหรือเช่ ือโดยสุจริตว่ามีหน้าท่ี
ต้องปฏิบัติตาม ผู้นัน้ ไม่ต้องรับโทษ เว้นแต่จะรู้วา่ คำาสัง่นัน้ เป็ นคำาสัง่ซ่ ึงมิ
ชอบด้วยกฎหมาย
การท่ีสามี ภริยา กระทำาความผิดต่อกันในความผิดเก่ียวกับทรัพย์สินบาง
ความผิด มีหลักเกณฑ์หรือองค์ประกอบท่ีจะได้รบ ั การยกเว้นโทษ คือ
(1) ต้องเป็ นการกระทำาความผิดท่ีสามีกระทำาต่อภริยา หรือภริยากระทำาต่อ
สามี
(2) ความผิดนัน
้ ต้องเป็ นความผิดท่ีบัญญัติไว้ในมาตรา 334 ถึงมาตรา 336
วรรคแรก และมาตรา 341 ถึงมาตรา 364
กรณีท่ีเด็กอายุไม่เกิน 14 ปี กระทำาความผิด กฎหมายก็ถือเป็ นเหตุยกเว้น
โทษ เพราะความผิดในทางกฎหมายท่ีจะยกเว้นให้แก่เด็กท่ีกระทำาความผิด
ได้มีมานมนานแล้ว โดยเห็นว่าเด็กยังปราศจากความรู้สึกผิดชอบชัว่ดี การ
ลงโทษเด็กย่อไม่ก่อให้เกิดประโยชน์อย่างใดต่อเด็กหรือต่อสังคมส่วนรวม
ประมวลกฎหมายอาญาได้แบ่งการกระทำาความผิดของเด็กออกเป็ น 4 ช่วง
อายุ คือ
(1) เด็กอายุไม่เกิน 7 ปี
(2) เด็กอายุกว่า 7 ปี แต่ไม่เกิน 14 ปี
(3) เด็กอายุเกินกว่า 14 ปี แต่ไม่เกิน 17 ปี
(4) เด็กอายุเกินกว่า 17 ปี แต่ไม่เกิน 20 ปี
เหตุลดหย่อนโทษ เป็ นเหตุท่ีผู้กระทำาความผิดได้รับโทษน้อยลงหรือลดโทษ
ลง ผู้กระทำาความผิดยังคงมีความผิดและต้องรับโทษ เพียงแต่รบ ั การลด
หย่อนโทษเท่านัน ้
เหตุลดหย่อนโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มีดังนี้
(1) บุพการีกบ
ั ผู้สืบสันดาน หรือพ่ีกับน้องกระทำาความผิดกันในความผิดบาง
ฐาน
(2) กระทำาความผิดโดยบันดาลโทสะ
(3) บุคคลอายุกว่า 14 ปี แต่ไม่เกิน 20 ปี กระทำาความผิด
การท่ีบุคคลอายุกว่า 17 ปี แต่ไม่เกิน 20 ปี กระทำาความผิดกฎหมายให้อยู่ใน
ดุลพินิจของศาลว่าสมควรจะลดหย่อนผ่อนโทษให้หรือไม่

หน่วยท่ี 9

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หมายถึง ช่ ือของกฎหมายซ่ ึงรวมเอา


บทบัญญัติเก่ียวกับเร่ ืองในทางแพ่ง และในทางพาณิชย์มาไว้ด้วยกันเป็ น
หมวดหมู่ จัดระเบียบให้เข้ากัน การจัดทำาประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
เร่ิมตัง้แต่ พ.ศ. 2451 ในสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูห
่ ัว
โดยได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตัง้กรรมการขึ้นเพ่ ือชำาระประมวล
กฎหมาย
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แบ่งออกเป็ น 6 บรรพ ซ่ ึงหมายถึง 6
หมวดหมู่ใหญ่ ๆ คือ
บรรพ 1 หลักทัว่ไป
- หลักกฎหมายเก่ียวกับบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล
บรรพ 2 หนี้
- หนีซ
้ ่ ึงเป็ นความผูกพันท่ีบุคคลฝ่ ายหน่ ึงเรียกว่า “ลูกหนี” จ้ะต้องปฏิบัติ
การตอบแทนต่อบุคคลอีกฝ่ ายหน่ ึงเรียกว่า “เจ้าหนี้”
บรรพ 3 เอกเทศสัญญา
- สัญญาประเภทต่าง ๆ
เอกเทศสัญญา มี 23 ลักษณะ คือ
1. สัญญาซ้ือขาย (รวมทัง้ขายฝาก)
2. สัญญาแลกเปล่ียน
3. สัญญาให้
4. สัญญาเช่าทรัพย์
5. สัญญาเช่าซ้ือ
6. สัญญาจ้างแรงงาน
7. สัญญาจ้างทำาของ
8. สัญญารับขน
9. สัญญายืม (รวมทัง้กู้ยืม)
10. สัญญาฝากทรัพย์
11. สัญญาค้ำาประกัน
12. สัญญาจำานอง
13. สัญญาจำานำา
14. สัญญาเก็บของในคลังสินค้า
15. สัญญาตัวแทน (รวมทัง้ตัวแทนค้าต่าง)
16. สัญญานายหน้า
17. สัญญาประนีประนอมยอมความ
18. สัญญาการพนันและขันต่อ
19. สัญญาบัญชีเดินสะพัด
20. สัญญาประกันภัย (รวมทัง้ประกันชีวิต)
21. สัญญาตัว๋เงิน (รวมทัง้เช็ค)
22. สัญญาหุ้นส่วนและบริษัท
23. สัญญาสมาคม
บรรพ 4 ทรัพย์สิน
- การได้มาและสิน
้ ไปซ่ ึงทรัพยสิทธิอันเป็ นสิทธิเหนือทรัพย์สิน
ทรัพยสิทธิตามบรรพนี ไ้ด้แก่
1. กรรมสิทธิ ์
2. สิทธิครอบครอง
3. ภารจำายอม
4. สิทธิอาศัย
5. สิทธิเหนือพ้ืนดิน
6. สิทธิเก็บกิน
7. การติดพันในอสังหาริมทรัพย์
บรรพ 5 ครอบครัว
- กล่าวถึง การหมัน
้ การสมรส การเพิกถอน และการขาดจากการสมรส
ความสัมพันธ์ระหว่างสามีและภริยา และความสัมพันธ์ระหว่างบิดามารดากับ
บุตร ตลอดจนบุตรบุญธรรม
บรรพ 6 มรดก
- กล่าวถึง การตกทอดแห่งทรัพย์มรดกโดยพินัยกรรม และไม่มีพินัยกรรม
หลักเกณฑ์การทำาพินัยกรรม ลำาดับแห่งทายาท การแบ่งมรดก และการ
จัดการทรัพย์มรดก
“บรรพ” หมายถึง หมวดหมู่ใหญ่ของกฎหมาย หมวดหมู่ท่ีย่อยลงมาจาก
บรรพ คือ ลักษณะ
“บุคคล” ตามภาษาท่ีใช้อยู่ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หมายถึง
ส่ิงซ่ ึงมีสิทธิและหน้าท่ีตามกฎหมาย โดยแบ่งบุคคลออกเป็ น 2 ประเภท คือ
1. บุคคลธรรมดา - มนุษย์ซ่ึงมีสภาพบุคคลและสิน
้ สุดสภาพบุคคลโดยการ
ตาย
2. นิติบุคคล - ส่ิงท่ีกฎหมายสมมุติว่าเป็ นบุคคลหรือยกขึ้นเป็ นบุคคล เพ่ ือให้
มีสิทธิและหน้าท่ีต่าง ๆ ได้ตามกฎหมาย
บุคคลธรรมดาต้องมีส่ิงซ่ ึงประกอบ หรือทำาให้ความเป็ นบุคคลปรากฏชัดเจน
คือ “ส่ิงซ่ ึงประกอบสภาพบุคคล” หรือ “ส่ิงซ่ ึงจำาแนกตัวบุคคล” ได้แก่
1. ช่ ือ - ส่ิงท่ีใช้เรียกขานบุคคล
2. ภูมล
ิ ำาเนา - สถานซ่ ึงเป็ นท่ีอยู่ของบุคคลตามกฎหมาย
สภาพบุคคลย่อมสิน
้ สุดลงด้วยความตาย ซ่ ึงมีความหมายพิเศษในทาง
กฎหมาย คือ
1. ตายโดยธรรมชาติ ได้แก่ การสิน
้ ชีวิต ซ่ ึงต้องอาศัยวิธีการทางวิชาแพทย์เข้า
ช่วยในการวินิจฉัย
2. ตายโดยกฎหมาย หรือท่ีเรียกว่า “สาบสูญ” ซ่ ึงหมายถึง การท่ีบุคคลใดไป
เสียจากภูมิลำาเนาหรือถ่ินท่ีอยู่นานถึง 7 ปี โดยไม่มีใครทราบว่าเป็ นตายร้ายดี
อย่างไร รวมถึงกรณีท่ีบุคคลซ่ ึงได้ในถึงสมรภูมิแห่งสงคราม หรือไปตกอยู่
ในเรืออับปาง หรือตกไปอยู่ในภยันตรายแก่ชีวิตด้วยประการอ่ ืน นับแต่เม่ ือ
สงครามสิน ้ สุด หรือนับแต่เม่ ือเรืออับปาง หรือนับแต่ภยันตรายได้ผ่านไป
แล้วเป็ นเวลา 3 ปี ผลทางกฎหมายของการท่ีศาลมีคำาสัง่ว่าบุคคลใดเป็ นคน
สาบสูญถือว่าบุคคลนัน
้ ตาย
“ความสามารถ” หมายถึง ความสามารถในการมีสิทธิ หรือใช้สิทธิตาม
กฎหมาย ปกติแล้วบุคคลทุกคนย่อมมีสิทธิตามกฎหมายทัดเทียมกัน แต่
อาจแตกต่างกันออกไปได้ คือ ความสามารถในการใช้สิทธิเหล่านัน ้
กฎหมายได้วางข้อจำากัดความสามารถของบุคคลบางประเภทไว้ทำาให้บุคคล
อาจใช้สิทธิแตกต่างกัน ทัง้นีก ้ ็เพ่ ือคุ้มครองผู้ท่ีอาจมีโอกาสพลาดพลัง้เสีย
เปรียบได้ง่าย จึงปรากฏว่าบุคคลใดท่ีกฎหมายถือว่าหย่อนความสามารถก็ย่ิง
แสดงว่ากฎหมายต้องการคุ้มครองมาก บุคคลดังกล่าว ได้แก่
1. ผู้เยาว์ - ผู้ท่ียังไม่บรรลุนิติภาวะ บุคคลธรรมดาย่อมบรรลุนิติภาวะเม่ ือ
มีอายุได้ 20 ปี บริบูรณ์ แต่อาจบรรลุนิติภาวะก่อนนัน
้ ได้ ถ้าได้ทำาการสมรส
กันเม่ ือชายและหญิงนัน
้ มีอายุได้ 17 ปี บริบรู ณ์
การท่ีกฎหมายถือว่าผู้เยาว์เป็ นผู้หย่อนความสามารถก็เพ่ ือจะได้คุ้มครองให้
มากเป็ นพิเศษ โดยกำาหนดให้มีผู้แทนโดยชอบธรรมเข้ามาใช้สิทธิต่าง ๆ
แทนหรือให้ความเห็นชอบในการผู้เยาว์นัน ้ จะใช้สิทธิเพ่ ือว่าจะได้ไม่เกิด
ความเสียหายขึ้นแก่ทรัพย์สินของผู้เยาว์หรือตัวผู้เยาว์เอง
“ผู้แทนโดยชอบธรรม” - ผู้ท่ีมีอำานาจทำานิติกรรมต่าง ๆ แทนผู้เยาว์หรือให้
ความยินยอมแก่ผู้เยาว์ในการทำานิติกรรม ได้แก่
(1) ผู้ใช้อำานาจปกครอง คือ บิดามารดา หรือ
(2) ผูป
้ กครอง คือ บุคคลอ่ ืนท่ีมีอำานาจหน้าท่ีตามกฎหมายในการปกครอง
ดูแลผู้เยาว์ ซ่ ึงไม่ใช่บด
ิ ามารดาของผู้เยาว์นัน

2. บุคคลวิกลจริต - ผู้มีอาการวิกลจริต ซ่ ึงศาลยังมิได้สัง่ให้เป็ นคนไร้ความ
สามารถ หากบุคคลเช่นนีไ้ด้ทำานิติกรรมใดลงในเวลาซ่ ึงบุคคลนัน ้ วิกลจริต
และคู่กรณีอีกฝ่ ายหน่ ึงได้รวู้ ่าผู้ทำานัน
้ เป็ นคนวิกลจริต นิติกรรมท่ีบุคคลนัน ้
ทำาจะตกเป็ นโมฆียะ
3. คนไร้ความสามารถ - คนวิกลจริตท่ีศาลได้มค ี ำาสัง่แล้วว่าเป็ นคนไร้ความ
สามารถและให้อยู่ในความอนุบาลหรือความดูแลของผู้อนุบาล คนไร้ความ
สามารถไม่อาจทำานิติกรรมได้เองเลยต้องให้ผู้อนุบาลทำาแทนทัง้สิน
้ ถ้า
ทำาการใด ๆ การนัน้ ตกเป็ นโมฆียะ
4. คนเสมือนไร้ความสามารถ - บุคคลผูไ้ ม่สามารถจัดทำาการงานของตนเอง
ได้เพราะพิการ จิตฟั่ นเฟื อน ไม่สมประกอบ ความประพฤติสุรุ่ยสุรา่ ยเสเพล
หรือเพราะเป็ นคนติดสุรายาเมา บุคคลดังกล่าวได้ถูกศาลสัง่ให้เป็ นคน
เสมือนไร้ความสามารถโดยให้อยู่ในความพิทักษ์ของผู้พิทักษ์
คนเสมือนไร้ความสามารถทำานิติกรรมต่าง ๆ ได้อย่างสมบูรณ์ เว้นแต่
นิติกรรมบางประเภทตามท่ีกฎหมายกำาหนดจึงต้องได้รับความยินยอมจากผู้
พิทักษ์เสียก่อน
นิติบุคคล มีหลักกฎหมายท่ีเก่ียวข้อง คือ นิติบุคคลนัน
้ จะตัง้ขึ้นได้ก็แต่โดย
กฎหมายให้อำานาจไว้ นิติบุคคลจะมีสภาพนิติบุคคลได้ก็โดยกฎหมายและ
การสิน ้ สุดสภาพนิติบุคคลก็เป็ นไปตามท่ีกฎหมายกำาหนด ตัวอย่างนิติบุคคล
เช่น บริษัทจำากัด วัดวาอาราม เป็ นต้น
นิติบุคคลจะตัง้ขึ้นได้ก็เฉพาะเม่ ือมีกฎหมายอนุญาตเท่านัน
้ จึงอาจแบ่ง
ประเภทนิติบุคคลออกได้ดังนี ค ้ ือ
1. นิติบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซ่ ึงหมายความว่า
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์รบ ั รองแล้วว่าเป็ นนิติบุคคล ได้แก่
ก. ทบวงการเมือง หมายถึง กระทรวงและกรมในรัฐบาล ราชการบริหารส่วน
ภูมิภาค และราชการบริหารส่วนท้องถ่ิน
ข. วัดวาอาราม
ค. ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล และ ห้างหุ้นส่วนจำากัด
ง. บริษัทจำากัด
จ. สมาคม
ฉ. มูลนิธิ
2. นิติบุคคลตามกฎหมายอ่ ืน ซ่ ึงหมายถึง นิติบุคคลท่ีมีกฎหมายพิเศษ
รับรองสถานะ เช่น พรรคการเมือง รัฐวิสาหกิจ เป็ นต้น
“นิติกรรม” เป็ นศัพท์พิเศษใช้กันในภาษากฎหมายบางครัง้เรียกรวม ๆ กัน
ว่า นิติกรรมสัญญา แต่ในทางกฎหมายถือว่า นิติกรรมอย่างหน่ ึง สัญญา
อย่างหน่ ึง
นิติกรรม หมายถึง การกระทำาของบุคคลท่ีชอบด้วยกฎหมายและโดยใจ
สมัคร มุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคล เพ่ ือจะก่อให้เกิด
การเคล่ ือนไหวแห่งสิทธิตามเจตนาของบุคคลนัน ้ กล่าวโดยสรุป นิติกรรม ก็
คือ การกระทำาท่ีหวังผลตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์นัน ่ เอง
นิติเหตุ คือ การกระทำาของบุคคลซ่ ึงก่อให้เกิดการเคล่ ือนไหวแห่งสิทธิ โดย
เหตุซ่ึงเกิดจากกฎหมายบังคับหรือกำาหนดไว้ และผู้กระทำามิได้สมัครใจจะก่อ
ให้เกิดความผูกพันเช่นนัน ้ มาแต่ต้น
การกระทำาใด ๆ ก็ตามท่ีชอบด้วยกฎหมาย และผู้ทำาได้ยอมทำาการนัน ้ ด้วยใจ
สมัครโดยตรงต่อการผูกความสัมพันธ์ตามกฎหมายระหว่างบุคคลเพ่ ือให้เกิด
ความเคล่ ือนไหวแห่งสิทธิอย่างหน่ ึงอย่างใดนัน ้ การนัน ้ เรียกว่านิติกรรมทัง้
สิน

สัญญา ตามกฎหมายถือว่าคือความตกลงหรือการแสดงเจตนาตกลงระหว่าง
บุคคลสองฝ่ ายท่ีต่างก็มุ่งจะผูกนิติสัมพันธ์หรือมุ่งหวังให้เกิดผลในทาง
กฎหมายระหว่างกันและกัน
นิติกรรมและสัญญาต่างกัน ดังนี้
1) นิติกรรม อาจสำาเร็จหรือเกิดขึ้นได้โดยบุคคลเพียงคนเดียวหรือฝ่ ายเดียว
ก็ได้
สัญญาจะเกิดขึ้นหรือสำาเร็จได้โดยบุคคลสองฝ่ าย คือ ฝ่ ายหน่ ึงส่งคำาเสนอ
อีกฝ่ ายหน่ ึงส่งคำาสนอง
2) สัญญาทุกประเภทเป็ นนิติกรรม แต่นิติกรรมทุกประเภทไม่ใช่สัญญา
นิติกรรมท่ีสมบูรณ์มีผลผูกพันใช้บังคับได้ต้องเข้าหลักเกณฑ์เร่ ืองความ
สมบูรณ์ของนิติกรรม หลักเกณฑ์ดังกล่าว ได้แก่
1. หลักเกณฑ์เร่ ืองวัตถุประสงค์ของนิติกรรม
2. หลักเกณฑ์เร่ ืองแบบของนิติกรรม
3. หลักเกณฑ์เร่ ืองความสามารถของบุคคล
ถ้านิติกรรมใดไม่ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ นิติกรรมนัน
้ ย่อมไม่สมบูรณ์ คือ
อาจตกเป็ นโมฆะ หรือ โมฆียะ ได้
“โมฆกรรม” หรือ “โมฆะ” เป็ นศัพท์กฎหมาย หมายถึง การตกเป็ นอันเสีย
เปล่าใช้บังคับไม่ได้และจะทำาให้กลับคืนอีกไม่ได้
“โมฆียกรรม” หรือ “โมฆียะ” เป็ นศัพท์กฎหมาย หมายถึง นิติกรรมนัน

สมบูรณ์แต่อยู่ในบังคับว่าอาจตกเป็ นอันเสียเปล่าในภายหลังได้ ถ้ามีการ
บอกล้าง ซ่ ึงถ้ามีการบอกล้างเม่ ือใด นิติกรรมท่ีดูว่าสมบูรณ์นัน
้ จะตกเป็ นอัน
โมฆะ คือเสียเปล่า เว้นแต่จะมีการให้สัตยาบันก่อนจะมีการบอกล้าง
นิติกรรมนัน ้ จึงจะมีผลสมบูรณ์อย่างแท้จริงต่อไป
การบอกล้าง คือ การแสดงเจตนาทำาลายนิติกรรมท่ีเป็ นโมฆียะเพ่ ือให้ตก
เป็ นโมฆะ
การให้สัตยาบัน คือ การแสดงเจตนาสนับสนุนหรือยอมรับนิติกรรมท่ีทำาไป
แล้วว่ามีผลสมบูรณ์ใช้ได้
ในเร่ ืองความสมบูรณ์ของนิติกรรม
- ถ้าทำาผิดหลักเกณฑ์ว่าด้วยวัตถุประสงค์ของนิติกรรม นิติกรรมนัน ้ จะตก
เป็ นโมฆะ
- ถ้าทำาผิดหลักเกณฑ์ว่าด้วยแบบของนิติกรรม นิติกรรมจะตกเป็ นโมฆะ
- แต่ถ้าทำาผิดหลักเกณฑ์ว่าด้วยความสามารถของบุคคล นิติกรรมจะตกเป็ น
โมฆียะ
วัตถุประสงค์ของนิติกรรม คือ ประโยชน์สด
ุ ท้ายหรือความมุ่งหมายสุดท้าย
ในการทำานิติกรรมนัน้
ขอบเขตท่ีกฎหมายกำาหนดไว้สำาหรับวัตถุท่ีประสงค์มี 3 ประการ คือ
1. นิติกรรมต้องไม่มีวัตถุท่ีประสงค์เป็ นการขัดต่อกฎหมาย
2. นิติกรรมต้องไม่มีวัตถุประสงค์เป็ นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีล
ธรรมอันดีของประชาชน
3. นิติกรรมต้องไม่มีวัตถุท่ีประสงค์เป็ นการพ้นวิสัย คือ นิติกรรมท่ีมี
วัตถุประสงค์เป็ นไปไม่ได้ หรือไม่อาจสำาเร็จสมประสงค์ได้
วิธีการท่ีกฎหมายกำาหนดนิติกรรม เรียกว่า “แบบ” หากนิติกรรมใดไม่ทำา
ตามแบบ นิติกรรมนัน ้ ย่อมตกเป็ นโมฆะ แบบของนิติกรรม มี 4 ประเภท คือ
1. แบบท่ีต้องทำาเป็ นหนังสือ
2. แบบท่ีต้องทำาเป็ นหนังสือต่อพนักงานเจ้าหน้าท่ี - แบบประเภทนีจ้ะทำา
หนังสือกันตามลำาพังมิได้ ต้องไปทำาเป็ นหนังสือต่อพนักงานเจ้าหน้าท่ีจึงจะ
สมบูรณ์
3. แบบท่ีต้องจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าท่ี - ไม่จำาเป็ นต้องทำาเป็ นหนังสือ
เพียงแต่จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าท่ีก็เพียงพอ
4. แบบท่ีต้องทำาเป็ นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าท่ี - เป็ น
นิติกรรมท่ีสำาคัญมากจำาต้องได้รับความควบคุมจากกฎหมายและเจ้าหน้าท่ี
โดยเคร่งครัด
พนักงานเจ้าหน้าท่ีท่ีจะไปทำาเป็ นหนังสือและจดทะเบียนนัน ้ ต้องมีอำานาจ
หน้าท่ีตามกฎหมายด้วย
การเรียกร้องใด ๆ ต้องทำาภายในกำาหนดเวลาท่ีเรียกว่า อายุความ หากไป
เรียกร้องกันเม่ ือสิน
้ อายุความแล้วย่อมไม่อาจเรียกร้องได้ ถ้ากฎหมายไม่ได้
กำาหนดอายุความเร่ ืองใดไว้โดยเฉพาะก็ให้ถือว่ามีอายุความ 10 ปี
“อายุความ” หมายถึง กำาหนดเวลาท่ีกฎหมายต้องการให้ใช้สิทธิเรียกร้อง
หรือฟ้ องร้องเสียหายภายในกำาหนด
“สิทธิเรียกร้อง” หมายถึง การท่ีบุคคลหน่ ึงจะเรียกร้องเอาส่ิงใดจากอีก
บุคคลหน่ ึงโดยมีกฎหมายยอมรับหรือสนับสนุนให้ใช้สิทธิน์ ัน้ ได้
“หนี” เ้ป็ นความผูกพันทางกฎหมายระหว่างบุคคล2 ฝ่ าย ซ่ ึงฝ่ ายหน่ ึงเรียกว่า
เจ้าหนี ซ
้ ่ ึงจะได้รบั ประโยชน์จากการกระทำาการอย่างใดอย่างหน่ ึงของอีก
ฝ่ ายหน่ ึงซ่ ึงเรียกว่า ลูกหนี้
การกระทำาท่ีลูกหนีต ้ ้องกระทำานัน
้ ก็คือ
1. กระทำาการอย่างใดอย่างหน่ ึง
2. งดเว้นกระทำาการอย่างใดอย่างหน่ ึง
3. ทำาการโอนทรัพย์สิน
คำาว่า “หนี” ใ ้ นประมวลกฎหมายแพ่
233 เรียกช่ ืออีก งและพาณิช
อย่างหน่ ึงว่า “สิทธิเรียกร้อง” หรือนักกฎหมายเรียกหนีว้า่ เป็ นบุคคลสิทธิ
คือ สิทธิท่ีมีผลระหว่างบุคคล
หนีเ้กิดจากนิติกรรมและนิติเหตุ
นิติเหตุ เป็ นเหตุการณ์ธรรมชาติหรือโดยการกระทำาของบุคคลซ่ ึงมิได้มุ่งผล
ในกฎหมาย แต่กฎหมายก็บัญญัติให้การนัน ้ ๆ มีผลทำาในกฎหมายได้ ซ่ ึง
ได้แก่ จัดการงานนอกสัง่ ลาภมิควรได้ ละเมิด และอ่ ืน ๆ ท่ีกฎหมายกำาหนด
ไว้เป็ นเร่ ือง ๆ
ความระงับแห่งหนี ห ้ มายความว่าหนีไ้ด้สิน
้ ส
หนีจ้ะระงับลงได้นัน
้ มี 5 กรณี คือ
1. การชำาระหนี้
2. การปลดหนี้
3. หักกลบลบหนี้
4. แปลงหนีใ้หม่
5. หนีเ้กล่ ือนกลืนกัน
การชำาระหนี้ - เม่ ือลูกหนีไ้ด้ชำาระหนีถ
้ ูกต้องตามวัตถุแห่งหนีแ
้ ก่เจ้าหนีแ
้ ล้ว
หนีย
้ ่อมระงับ
ปลดหนี้ - การปลดหนี ค ้ ื อทำาให้หนีส
้ ิน
้ สุดลงเพราะเจ้าหนีไ้ด้ยินย
หนีใ้ห้แก่ลูกหนีโ้ดยไม่เรียกร้องค่าตอบแทนอย่างใด ถ้าหนีม้ ีหนังสือเป็ น
หลักฐาน การปลดหนีก ้ ็ต้องทำาเป็ นหนังสือด้วย
หักกลบลบหนี้ - เม่ ือบุคคล 2 คนมีความผูกพันซ่ ึงกันและกันโดยความ
ผูกพัน คือ หนีซ
้ ่ ึงบุคคลทัง้ 2 ฝ่ ายต่างก็เป็ นเจ้าหนี แ
้ ละลูกหนีซ
้ ่ ึงกันและกัน
และหนีน
้ ัน
้ มีวัตถุเป็ นอย่างเดียวกัน และถึงกำาหนดชำาระฝ่ ายใดฝ่ ายหน่ ึงจะ
หักกลบลบหนีเ้พ่ ือให้หนีร้ะงับเพียงเท่าจำานวนท่ีตรงกันในมูลหนีท ้ ัง้ 2 ฝ่ าย
นัน
้ ก็ได้ เว้นแต่สภาพแห่งหนีฝ
้ ่ ายหน่ ึงจะไม่เปิ ดช่องให้หักกลบลบหนีก
้ น
ั ได้
แปลงหนีใ้หม่ - ได้แก่ การระงับหนีเ้ก่า แต่มีหนีใ้หม่ขึ้นมาแทน (ทำางานหัก
ค่าจ้างแทน)
หนีเ้กล่ ือนกลืนกัน - ได้แก่ กรณีซ่ึงสิทธิและหน้าท่ีของเจ้าหน้าและลูกหนีไ้ด้
มารวมกันอยู่ในตัวบุคคลเดียวกัน
“ทรัพย์” หมายถึง วัตถุท่ีมีรป
ู ร่าง เช่น รถยนต์ วิทยุ บ้าน ท่ีดิน ช้าง ม้า
ธนบัตร โลหะ เป็ นต้น มนุษย์หรือบุคคลมิใช่ทรัพย์เพราะไม่ใช่วัตถุแม้
อวัยวะของมนุษย์ท่ีแยกออกมาแล้ว เช่น ฟั น นิว้ หัวใจ ตับ จะเป็ นทรัพย์
ก็ตาม ส่วนส่ิงอ่ ืนท่ีไม่มีรป
ู ร่าง เช่น สิทธิต่าง ๆ ถือว่าไม่ใช่ทรัพย์
“ทรัพย์สิน” หมายความรวมทัง้ทรัพย์และทัง้วัตถุไม่มีรป ู ร่างซ่ ึงอาจมีราคาได้
และถือเอาได้ วัตถุไม่มีรป
ู ร่างนัน
้ ไม่ใช่ทรัพย์แน่ เช่น สิทธิต่าง ๆ แต่ถือว่า
เป็ นทรัพย์สินอย่างหน่ ึง
ทรัพย์ แบ่งออกเป็ น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
1. อสังหาริมทรัพย์ ได้แก่ ทรัพย์อันติดอยูก
่ ับท่ีดิน นอกจากนีย
้ ังหมายถึง
สิทธิได้
2. สังหาริมทรัพย์ ได้แก่ ทรัพย์ทัง้หลายอันอาจขนเคล่ ือนจากท่ีแห่งหน่ ึงไป
แห่งอ่ ืนได้ ไม่ว่าเคล่ ือนด้วยแรงเดินแห่งตัวทรัพย์เอง
ทรัพย์ ประกอบด้วยส่วนต่อเน่ ืองกับตัวทรัพย์อีก 3 ส่วน คือ
1. ส่วนควบ
2. เคร่ ืองอุปกรณ์
3. ดอกผล
ส่วนควบ หมาย ถึงส่วนซ่ ึงว่าโดยสภาพแห่งทรัพย์หรือโดยจารีตประเพณี
แห่งท้องถ่ินย่อมเป็ นสาระสำาคัญในความเป็ นอยู่ของทรัพย์นัน ้ และไม่อาจจะ
แยกจากกันได้นอกจากจะทำาลาย ทำาบุบสลาย หรือทำาให้ทรัพย์นัน ้
เปล่ียนแปลงรูปทรง เช่น ห้องท่ีต่อเติมจากตัวบ้านย่อมเป็ นส่วนควบของตัว
บ้าน ผู้ใดเป็ นเจ้าของทรัพย์อันใดย่อมเป็ นเจ้าของในบรรดาส่วนควบของ
ทรัพย์นัน้ ด้วย
ส่วนเคร่ ืองอุปกรณ์ หมายถึง สังหาริมทรัพย์ซ่ึงโดยปกตินิยมเฉพาะถ่ินหรือ
โดยเจตนาชัดแจ้งแห่งผู้เป็ นเจ้าของทรัพย์อันเป็ นประธาน ย่อมเป็ นของใช้
ประจำาอยู่กับทรัพย์เป็ นประธานนัน้ เป็ นอาจิณ เคร่ ืองอุปกรณ์ถึงจะแยกออก
จากทรัพย์เป็ นประธานชัว่คราวก็ยังไม่ขาดจากการเป็ นเคร่ ืองอุปกรณ์ของ
ทรัพย์อันเป็ นประธาน
ดอกผล หมายถึง ส่ิงท่ีงอกเงยเพ่ิมเติมจากตัวทรัพย์ ได้แก่
1. ดอกผลธรรมดา - บรรดาส่ิงทัง้ปวงซ่ ึงได้มาเพราะใช้ของนัน ้ อันเกิดขึ้นโดย
ธรรมชาติ
ของมัน
2. ดอกผลนิตินัย - ดอกเบีย
้ กำาไร ค่าเช่า ค่าปั นผล หรือลาภอ่ ืน ๆ ท่ีได้เป็ น
ครัง้คราวแก่
เจ้าของทรัพย์
ทรัพยสิทธิ หมายถึง สิทธิเหนือทรัพย์สินโดยไม่คำานึงถึงตัวบุคคลว่าเข้ามา
เก่ียวข้องหรือไม่อย่างไร ทรัพยสิทธิท่ีกฎหมายอนุญาตให้มีได้ ได้แก่
1. กรรมสิทธิ ห ์ มายถึงความเป็ นเจ้าของเป็ นทรัพยสิทธิท่ีสำาคัญ
2. สิทธิครอบครอง หมายถึง สิทธิในการครอบครองทรัพย์สิน
3. ภารจำายอม หมายถึง การท่ีเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ต้องรับภาระบางอย่าง
อันกระทบถึงทรัพย์สินของตน หรือต้องงดเว้นการใช้สิทธิบางอย่างซ่ ึงตน
ควรจะมีสิทธินัน้ อยู่ แต่ต้องงดเว้นไปเพ่ ือประโยชน์แก่อสังหาริมทรัพย์อ่ืน
4. สิทธิอาศัย หมายถึง สิทธิท่ีบุคคลจะอาศัยอยู่ในโรงเรือนของผู้อ่ืนโดยไม่
ต้องเสียค่าเช่า
5. สิทธิเหนือพ้ืนดิน หมายถึง การท่ีบุคคลหน่ ึงมีสิทธิเป็ นเจ้าของโรงเรือนส่ิง
ปลูกสร้าง หรือส่ิงเพาะปลูกบนดินหรือใต้ดินนัน ้ โดยไม่ได้เป็ นเจ้าของท่ีดิน
นัน้
6. สิทธิเก็บกิน หมายถึง การท่ีบุคคลหน่ ึงมีสิทธิใช้สอยถือประโยชน์ จัดการ
และเอาประโยชน์ทุกอย่างจากทรัพย์สินของบุคคลอ่ ืนโดยท่ีไม่ได้เข้าเป็ น
เจ้าของทรัพย์สินนัน
้ เอง
7. ภารติดพันในอสังหาริมทรัพย์ หมายถึง การท่ีบุคคลหน่ ึงซ่ ึงไม่ได้เป็ น
เจ้าของอสังหาริมทรัพย์แต่มีสิทธิได้รับชำาระหนีเ้ป็ นคราว ๆ จากทรัพย์สิน
นัน
้ หรือได้ใช้ตลอดจนถือเอาซ่ ึงประโยชน์แห่งทรัพย์สินนัน ้ ตามท่ีระบุไว้
การสิน ้ ไปซ่ ึงกรรมสิทธิ ค ์ ื อสิน ้ ไปโดยอำานาจข
ขายไป หรือส่งมอบไปโดยเสน่หา และสิน ้ ไปโดยอำานาจกฎหมาย เช่น การท่ี
ถูกคนอ่ ืนครอบครองปรปั กษ์จนเขาแย่งกรรมสิทธิใ์นทรัพย์ไปจากเราได้
“ผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน” หมายความว่า ในกรณีท่ีบุคคลหน่ ึงไม่มีสิทธิ
หรือไม่มีอำานาจโอนกรรมสิทธิใ์นทรัพย์สินให้แก่ผู้อ่ืน บุคคลผู้รับโอน
ทรัพย์สินนัน้ มาย่อมไม่มีสิทธิหรืออำานาจในทรัพย์สินนัน ้ กล่าวคือ เม่ ือผู้
โอนให้ยังไม่มีอำานาจแล้วผู้รับโอนจะมีสิทธิมีอำานาจดีไปกว่าผู้โอนได้อย่างไร
ชายและหญิงจะทำาการหมัน ้ กันได้ต่อเม่ ือต่างมีอายุสิบเจ็ดปี บริบูรณ์แล้ว แต่
ยังต้องรับความยินยอมจากบิดามารดาเสียก่อนจนกว่าจะบรรลุนิติภาวะ
การสมรสจะทำาได้ต่อเม่ ือชายและหญิงมีอายุสิบเจ็ดปี บริบูรณ์
ชายหรือหญิงท่ีเป็ นคนวิกลจริตหรือเป็ นญาติสืบสายโลหิตโดยตรงขึ้นไปหรือ
ลงมาหรือเป็ นพ่ีน้องกันจะสมรสกันไม่ได้
การสมรสจะถือว่าชอบด้วยกฎหมายก็ต่อเม่ ือมีการจดทะเบียนสมรสแล้ว
สินส่วนตัว ได้แก่ ทรัพย์สินท่ี
1. ฝ่ ายใดฝ่ ายหน่ ึงมีอยู่ก่อนสมรส
2. เป็ นเคร่ ืองใช้สอยส่วนตัว เคร่ ืองแต่งกาย หรือเคร่ ืองประดับกาย หรือ
เคร่ ืองมือเคร่ ืองใช้ท่ีจำาเป็ นการประกอบอาชีพหรือวิชาชีพ
3. ฝ่ ายใดฝ่ ายหน่ ึงได้มาระหว่างสมรสโดยการรับมรดกหรือโดยการให้โดย
เสน่หา
4. ของหมัน

สินสมรส ได้แก่ ทรัพย์สินท่ี
1. คู่สมรสได้มาในระหว่างสมรส
2. ฝ่ ายใดฝ่ ายหน่ ึงได้มาระหว่างสมรสโดยพินัยกรรม หรือโดยการให้เป็ น
หนังสือเม่ ือพินัยกรรมหรือหนังสือยกให้ระบุว่าเป็ นสินสมรส
3. เป็ นดอกผลของสินส่วนตัว
การรับบุตรบุญธรรมนัน
้ ผู้รับบุตรบุญธรรมต้องมีอายุไม่น้อยกว่า 30 ปี และ
จะต้องมีอายุมากกว่าผู้ท่ีจะเป็ นบุตรบุญธรรมไม่น้อยกว่า 15 ปี
ทรัพย์สมบัติท่ีจะตกทอดไปยังทายาท เรียกว่า “มรดก”
ทายาท หมายถึง ผู้มีสิทธิรับทรัพย์มรดก ซ่ ึงมีอยู่ 2 ประเภท คือ
1. ทายาทซ่ ึงมีสิทธิตามกฎหมาย - มีสิทธิในฐานะท่ีเป็ นทายาทตามความเป็ น
จริง ถึงแม้ว่าจะไม่ได้ทำาพินัยกรรมยกทรัพย์มรดก ทายาทประเภทนี เ้รียก
ว่า “ทายาทโดยธรรม”
2. ทายาทซ่ ึงมีสิทธิเพราะเจ้ามรดกทำาพินัยกรรมยกทรัพย์มรดกให้ เรียกว่า “
ผู้รับพินัยกรรม” ซ่ ึงอาจเป็ นใครก็ได้ แต่ต้องเป็ นบุคคลโดยจะเป็ นบุคคล
ธรรมดาหรือนิติบุคคลก็ได้
ทายาทโดยธรรม มี 6 ลำาดับ แต่ละลำาดับมีสิทธิรับมรดกก่อนหลังกัน ดังนี้
1. ผู้สบ
ื สันดาน ได้แก่ ลูก หลาน เหลน ของผู้ตาย
2. บิดามารดาของผู้ตาย
3. พ่ีน้องร่วมบิดามารดาเก่ียวกับผู้ตาย
4. พ่ีน้องร่วมบิดาหรือเฉพาะมารดาเดียวกับผู้ตาย
5. ป่ ู ย่า ตา ยาย ของผู้ตาย
6. ลุง ป้ า น้า อา ของผู้ตาย
ทายาทโดยธรรมจะหมดสิทธิ ถ้าหากว่า เจ้ามรดกหรือผู้ตายได้ทำาพินัยกรรม
ยกทรัพย์มรดกทัง้หมดหรือบางส่วนให้ผู้อ่ืนซ่ ึงเรียกว่า ผู้รับพินัยกรรม
พินัยกรรม หมายถึง เอกสารซ่ ึงเจ้ามรดกแสดงเจตนากำาหนดการเผ่ ือตาย
พินัยกรรมท่ีจะมีผลใช้บังคับได้ต้องทำาตามแบบท่ีกฎหมายกำาหนด ซ่ ึงมีดว้ ย
กัน 6 แบบ คือ
1. พินัยกรรมแบบเขียนทัง้ฉบับ - ต้องทำาเป็ นหนังสือลงวัน เดือน ปี ท่ีทำา
และเขียนข้อความกำาหนดรายละเอียดต่าง ๆ ทัง้หมดด้วยลายมือของผู้ทำา
พินัยกรรมเอง และลงช่ ือของตนไว้ด้วย
2. พินัยกรรมแบบมีพยาน - ต้องทำาเป็ นหนังสือลงวัน เดือน ปี ท่ีทำา ส่วน
ข้อความจะให้ใครเขียนหรือพิมพ์ก็ได้ แล้วให้ผู้ทำาพินัยกรรมลงลายมือช่ ือ
รับรอง
3. พินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ ายเมือง - ผู้ทำาพินัยกรรมต้องไปแจ้งข้อความท่ีตน
ประสงค์จะให้ปรากฏในพินัยกรรมต่อเจ้าหน้าท่ีอำาเภอ ต่อหน้าพยานอีก
อย่างน้อยสองคน เจ้าหน้าท่ีจะจดข้อความนัน้ แล้วอ่านให้ผู้ทำาพินัยกรรมและ
พยานฟั งแล้วจึงให้ผู้ทำาพินัยกรรมและพยานลงช่ ือไว้ เจ้าห
น้าท่ีเองก็ลงช่ ือ และวัน เดือน ปี กำากับไว้ด้วย
4. พินัยกรรมแบบเอกสารลับ - พินัยกรรมแบบนีค ้ ล้ายกับแบบแรกและแบบ
ท่ีสอง แต่เม่ ือทำาเสร็จแล้วให้ผท
ู้ ำาพินัยกรรมลงลายมือช่ ือในพินัยกรรม และ
ผนึกพินัยกรรมแล้วลงลายมือช่ ือคาบรอยผนึก ต่อจากนัน ้ ให้นำาพินัยกรรม
นัน้ ไปแสดงต่อเจ้าหน้าท่ีอำาเภอพร้อมด้วยพยานอีกสองคน และให้ถ้อยคำาว่า
เป็ นพินัยกรรมของตน ใครเป็ นผู้เขียน อยู่ท่ีไหน เจ้าหน้าท่ีอำาเภอจะจด
ถ้อยคำาไว้แล้วลงวัน เดือน ปี และประทับตราเป็ นสำาคัญ
5. พินัยกรรมแบบทำาด้วยวาจา - ปกติแล้วพินัยกรรมต้องทำาเป็ นหนังสือ จะ
ทำาด้วยวาจาไม่ได้ แต่ถ้าปรากฏว่ามีพฤติการณ์พิเศษซ่ ึงบุคคลใดไม่สามารถ
จะทำาพินัยกรรมตามแบบอ่ ืนได้ บุคคลนัน ้ จะทำาพินัยกรรมด้วยวาจาก็ได้ โดย
แสดงเจตนากำาหนดข้อความในพินัยกรรมต่อหน้าพยานอย่างน้อยสองคน
หลังจากนัน้ พยานจะต้องแสดงตนต่อเจ้าหน้าท่ีอำาเภอโดยไม่ชักช้าและแจ้ง
ข้อความท่ีผู้ทำาพินัยกรรมได้สัง่ไว้ด้วยวาจานัน
้ ทัง้ต้องแจ้งวัน เดือน ปี
สถานท่ีท่ีทำาพินัยกรรมและพฤติการณ์พิเศษนัน ้ ด้วย
6. พินัยกรรมตามแบบกฎหมายต่างประเทศ - เม่ ือผู้มีสัญชาติไทยอยู่ในต่าง
ประเทศ พินัยกรรมอาจทำาตามแบบซ่ ึงกฎหมายของประเทศท่ีทำาพินัยกรรม
บัญญัติไว้ก็ได้
ผู้ท่ีจะเป็ นพยานในพินัยกรรมนัน
้ จะต้องเข้าหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
1) ต้องบรรลุนิติภาวะแล้ว
2) ต้องไม่เป็ นคนวิกลจริต หรือบุคคลซ่ ึงศาลสัง่ให้เป็ นผู้เสมือนไร้ความ
สามารถ
3) ต้องไม่เป็ นคนหูหนวก เป็ นใบ้ หรือตาบอดทัง้สองข้าง
4) พยานและคู่สมรสของพยานจะเป็ นผู้รับทรัพย์ตามพินัยกรรมไม่ได้
กฎหมายว่าด้วยกู้ยืม ค้ำาประกัน จำานอง และจำานำา เป็ นกฎหมายคนละฉบับ
กัน แต่ปรากฏอยู่ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 ด้วยกัน
ยืมใช้คงรูป หมายความว่า ยืมส่ิงใดไปต้องใช้ส่ิงนัน้ คืน
การกู้เงินเกินกว่า 50 บาทขึ้นไปต้องทำาเป็ นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็ น
หนังสือลงลายมือช่ ือผู้ยืมไว้เป็ นสำาคัญ
หากเป็ นการกู้เงินน้อยกว่า 50 บาท ไม่ต้องทำาหลักฐานแห่งการกู้ยืม ก็ฟ้อง
ร้องบังคับคดีได้ โดยนำาพยานบุคคลมานำาสืบประกอบได้
สัญญากู้ยืมเงิน ต้องปิ ดอากรแสตมป์ ทุก 200 บาท หรือเศษของ 200 บาทต่อ
10 สตางค์
ในการกู้ยืมเงิน ห้ามเรียกดอกเบีย้ เกินอัตราท่ีกฎหมายกำาหนด คือ ห้าม
เรียกเกินร้อยละ 15 ต่อปี หากเรียกเกินอัตราดังกล่าว ผู้ให้กู้อาจมีความผิดใน
ทางอาญาฐานเรียกดอกเบีย ้ เกินอัตรา และจะเรียกดอกเบีย
้ ไม่ได้เลย เรียก
คืนได้เฉพาะต้นเงินท่ีให้ยืมเท่านัน้
ถ้ามิได้กำาหนดดอกเบีย้ ไว้ในสัญญาเงินกู้และตามเจตนาของคู่สัญญา ผู้ให้กู้
มีสิทธิเรียกดอกเบีย
้ ได้ในอัตราร้อยละ 7 คร่ ึงต่อไป
สัญญาค้ำาประกัน หมายถึง สัญญาซ่ ึงบุคคลภายนอกคนหน่ ึงเรียกว่า ผู้ค้ำา
ประกัน ผูกพันตนต่อเจ้าหนีค ้ นหน่ ึงเพ่ ือชำาระหนีใ้นเม่ ือลูกหนีไ้ม่ชำาระหนี้
นัน

สัญญาค้ำาประกันต้องมีหลักฐานเป็ นหนังสือ ลงลายมือช่ ือผู้ค้ำาประกันไว้เป็ น
สำาคัญ มิฉะนัน
้ จะฟ้ องร้องบังคับคดีเอาแก่ผู้ค้ำาประกันมิได้ ผู้ค้ำาประกันอาจมี
หลายคนในหนีร้ายเดียวกันได้ ซ่ ึงผูค ้ ้ำาประกันเหล่านัน้ ต้องรับผิดร่วมกัน
สัญญาค้ำาประกันโดยมิได้จำากัดจำานวนวงเงินค้ำาประกันหรือไม่เกิน 1,000 บาท
ต้องปิ ดอากรแสตมป์ 1 บาท ถ้าไม่เกิน 10,000 บาท ปิ ดอากรแสตมป์ 5 บาท
และถ้าเงินเกิน 10,000 บาท ปิ ดอากรแสตมป์ 10 บาท
ผู้ค้ำาประกันต้องรับผิดชำาระหนีต ้ ามสัญญาค้ำาประกันต่อเม่ ือลูกหนีท ้ ่ีตนรับ
ประกันผิดนัดชำาระหนีเ้สียก่อน เม่ ือเจ้าหนีท ้ วงถามให้ผค
ู้ ้ำาประกันชำาระหนี้
ผู้ค้ำาประกันอาจขอให้เจ้าหนีเ้รียกให้ลูกหนีช้ำาระก่อนก็ได้ โดยผู้ค้ำาประกันไม่
จำาเป็ นต้องชำาระหนีใ้ห้ทันทีเม่ ือถูกเจ้าหนีท
้ วงถาม คดีฟ้องให้ผู้ค้ำาประกันรับ
ผิดชำาระหนีม ้ ีอายุความ 10 ปี
สัญญาจำานอง หมายถึง สัญญาท่ีบุคคลหน่ ึงเรียกว่า ผู้จำานองเอาทรัพย์สิน
ตราไว้แก่บุคคลอีกคนหน่ ึง เรียกว่า ผู้รับจำานอง เป็ นประกันการชำาระหนี้
โดยไม่ส่งมอบทรัพย์สินนัน้ ให้แก่ผู้รับจำานอง การจำานองไม่ต้องมีการส่งมอบ
ทรัพย์สิน
“ตรา” หมายถึง การนำาไปจดทะเบียน สัญญาจำานองต้องทำาเป็ นหนังสือและ
จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหนีผ้ ู้มีอำานาจ มิฉะนัน
้ จะเป็ นโมฆะ
“เป็ นประกันการชำาระหนี” ห ้ มายถึงเป็ นประกันสำาหรับหนีป
้ ระธาน
การจำานองต้องมีการทำาเป็ นหนังสือ และจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าท่ีจะ
ส่งมอบโฉนดให้ยด ึ ไว้อย่างเดียว ไม่เรียกว่าจำานอง
ผู้มีสิทธิจำานองจะต้องเป็ นเจ้าของทรัพย์สินท่ีจำานองในขณะจำานอง
สัญญาจำานำา หมายถึง สัญญาท่ีบุคคลคนหน่ ึงเรียกว่า ผู้จำานำา ส่งมอบ
สังหาริมทรัพย์ส่ิงหน่ ึงให้แก่บุคคลอีกคนหน่ ึงเรียกว่า ผูร้ ับจำานำา เพ่ ือเป็ น
ประกันการชำาระหนี้
“ส่งมอบ” แสดงว่า จำานำาต้องมีการส่งมอบทรัพย์สิน
“เป็ นประกันการชำาระหนี” แ ้ สดงว่าจำานำาเป็ นสัญญาอุป
หนีป้ ระธานเช่นเดียวกับค้ำาประกันและจำานอง
สัญญาจำานำาไม่ต้องมีหลักฐานเป็ นหนังสือ เพียงแต่ส่งมอบทรัพย์สินท่ีจำานำา
ก็ถือว่าสมบูรณ์
การบังคับจำานำา - ถ้าหากลูกหน้าไม่ชำาระหนี ผ
้ ู้รับจำานำามีสิทธินำาทรัพย์สินท่ี
จำานำาออกขายทอดตลาดได้
ซ้ือขาย คือ สัญญาซ่ ึงบุคคลฝ่ ายหน่ ึงเรียกว่า ผู้ขาย โอนกรรมสิทธิใ์น
ทรัพย์สินให้แก่บุคคลอีกฝ่ ายหน่ ึงเรียกว่า ผูซ้ ้ือ โดยผู้ซ้ือจะต้องใช้ราคา
ทรัพย์สินนัน้
สัญญาขายฝาก หมายถึง สัญญาซ้ือขายท่ีมีข้อตกลงเพ่ิมเติมว่าให้ผู้ขายมี
สิทธิมาไถ่ทรัพย์นัน
้ คืนได้ภายในกำาหนด แต่มีข้อตกลงเพ่ิมคือ ให้มาไถ่ใน
เวลาท่ีตกลงกัน เช่น ให้มาไถ่ในเวลา 2 ปี
จำานวนเงินท่ีขายกันครัง้แรก เรียกว่า “ราคาซ้ือขาย”
จำานวนเงินท่ีจะต้องชำาระในการซ้ือคืน เรียกว่า “สินไถ่”
กำาหนดเวลาท่ีจะต้องใช้สิทธิไถ่ เรียกว่า “กำาหนดเวลาไถ่”
ขายฝากอาจกระทำาได้ทัง้สังหาริมทรัพย์ หรือ อสังหาริมทรัพย์
ห้ามใช้สิทธิไถ่ทรัพย์สินซ่ ึงขายฝาก เม่ ือพ้นเวลาดังนี้
ก. ถ้าเป็ นอสังหาริมทรัพย์ กำาหนด 10 ปี นับแต่วันซ้ือขาย
ข. ถ้าเป็ นสังหาริมทรัพย์ กำาหนด 3 ปี นับแต่วันซ้ือขาย
ผู้มีสิทธิไถ่ทรัพย์สินคืน ได้แก่ ผู้ขายฝากเดิม หรือทายาท หรือผู้รับโอนสิทธิ
หรือบุคคลท่ีได้ตกลงกันไว้
การเช่า เป็ นการให้บุคคลอีกฝ่ ายหน่ ึงมีสิทธิครอบครองใช้สอยได้ประโยชน์
ในทรัพย์นัน ้ เป็ นการชัว่คราว โดยท่ีเจ้าของยังมีกรรมสิทธิอ์ย่างเดิม
การซ้ือขาย เป็ นการโอนกรรมสิทธิห ์ รือโอนความเป็ นเจ้าของให้
การเช่าอสังหาริมทรัพย์ หากมีกำาหนดไม่เกิน 3 ปี ต้องมีหลักฐานเป็ น
หนังสืออย่างใดอย่างหน่ ึง ลงลายมือช่ ือฝ่ ายท่ีต้องรับผิดไว้เป็ นสำาคัญ ถ้าเกิน
3 ปี หรือมีกำาหนดตลอดอายุของผู้เช่นหรือผู้ให้เช่า ต้องทำาเป็ นหนังสือและ
จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าท่ี
การเช่าอสังหาริมทรัพย์ห้ามเช่าเกิน 30 ปี ถ้าทำาสัญญาเกิน 30 ปี กฎหมายให้
ลดลงมาเป็ น 30 ปี ซ่ ึงถ้าหมดสัญญา 30 ปี แล้ว ก็อาจต่อสัญญาได้อีกแต่ต้อง
ไม่เกิน 30 ปี
ผู้เช่าจะทำาการดัดแปลงหรือต่อเติมอย่างใดอย่างหน่ ึงเก่ียวกับทรัพย์สินท่ีเช่า
โดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้ให้เช่าก่อนไม่ได้
สัญญาเช่าซ้ือ คือ สัญญาซ่ ึงเจ้าของเอาทรัพย์สินออกให้เช่าและให้คำามัน ่ ว่า
จะขายทรัพย์สินนัน ้ หรือจะให้ทรัพย์สินนัน้ ตกเป็ นสิทธิแก่ผู้เช่า
สัญญาเช่าซ้ือต้องทำาเป็ นหนังสือ ลงลายมือช่ ือผู้เช่าซ้ือและผู้ให้เช่าซ้ือ มิ
ฉะนัน ้ จะตกเป็ นโมฆะ หากผิดนัดไม่ใช่เงิน 2 คราวติด ๆ กันหรือกระทำาผิด
สัญญา เจ้าของทรัพย์สินท่ีให้เช่าซ้ืออาจบอกเลิกสัญญาได้
การตัง้ตัวแทนหรือการมอบฉันทะเป็ นนิติกรรมสัญญาอีกประเภทหน่ ึง
เพราะปกติแล้วในการทำานิติกรรมสัญญาใด คู่สัญญาควรเข้าทำานิติกรรม
สัญญานัน ้ เอง แต่บางกรณีอาจมีเหตุจำาเป็ นไม่อาจทำานิติกรรมสัญญาเองได้
จึงจำาเป็ นต้องมีการตัง้ตัวแทนไปทำานิติกรรมเรียกว่า “มอบฉันทะให้ผู้อ่ืนไป
ทำาแทน”
สัญญาตัวแทน คือ สัญญาซ่ ึงบุคคลคนหน่ ึง เรียกว่า ตัวการมอบให้บุคคล
อีกคนหน่ ึงมีอำานาจทำาการแทนตน และตัวแทนก็รับว่าจะทำาการแทนการ
มอบอำานาจเช่นนีจ้ะทำาโดยชัดแจ้ง
กิจการใดก็ตามท่ีกฎหมายให้ต้องทำาเป็ นหนังสือ การตัง้ตัวแทนเพ่ ือกิจการ
อันนัน ้ ต้องทำาเป็ นหนังสือด้วย แต่หากกิจการใดไม่มก ี ฎหมายบังคับไว้ว่า
ต้องทำาเป็ นหนังสือ หรือหลักฐานเป็ นหนังสือแล้ว การตัง้ตัวแทนก็ไม่ต้อง
ทำาเป็ นหนังสือ
สัญญานายหน้า เป็ นสัญญาซ่ ึงบุคคลซ่ ึงเรียกค่านายหน้าตกลงกับบุคคลใด
ในอันท่ีจะชีช้่องหรือจัดการให้บุคคลนัน ้ ได้เข้าทำาสัญญากับบุคคลอ่ ืน
นายหน้าไม่มีสิทธิจะได้รับชดใช้คา่ ใช้จ่ายท่ีได้เสียไป เว้นแต่จะได้ตกลงกัน
สัญญานายหน้า กฎหมายไม่ได้บังคับให้ทำาเป็ นหนังสือ หรือหลักฐานเป็ น
หนังสือ เพียงผูกพันด้วยวาจาก็ถือเป็ นนายหน้าได้ มีผลบังคับได้ตาม
กฎหมาย แต่เพ่ ือป้ องกันปั ญหาการตกลงเป็ นนายหน้าควรจะทำาเป็ นหลัก
ฐานอย่างหน่ ึงอย่างใดไว้
ตัว๋เงิน เป็ นสัญญาอันมีผลบังคับโดยอาศัยหนังสือ มีอยู่ได้เฉพาะ 3 ชนิดตาม
ท่ีกฎหมายกำาหนด ได้แก่ ตัว๋แลกเงิน, ตัว๋สัญญาใช้เงิน และเช็ค
1. ตัว๋แลกเงิน คือ หนังสือตราสารซ่ ึงบุคคลหน่ ึงเรียกว่า ผู้สัง่จ่าย สัง่บุคคล
อีกคนหน่ ึงเรียกว่า ผู้จา่ ย ให้ใช้เงินจำานวนหน่ ึงแก่บุคคลหน่ ึง หรือให้ใช้ตาม
คำาสัง่ของบุคคลคนหน่ ึงซ่ ึงเรียกว่า ผูร้ ับเงิน
ตัว๋แลกเงินสามารถโอนกันได้ โดยการสลักหลังและส่งมอบ หรือโดยการส่ง
มอบ การสลักหลังโอนนัน ้ ต้องโอนทัง้หมดในจำานวนเงินตามท่ีระบุไว้ในตัว๋
แลกเงิน จะโอนเพียงบางส่วนไม่ได้ มิฉะนัน ้ จะเป็ นโมฆะ
การลงลายมือช่ ือในตัว๋แลกเงิน ต้องเขียนลงลายมือของผู้เป็ นลูกหนี้ (ผู้สัง่
จ่าย, ผู้สลักหลัง) จริง ๆ จะใช้เคร่ ืองหมายอ่ ืน ๆ เช่น แกงได ลายพิมพ์นิว้มือ
ไม่ได้ แม้จะมีพยานรับรองก็ตาม
2. ตัว๋สัญญาใช้เงิน คือ หนังสือตราสารซ่ ึงบุคคลหน่ ึงเรียกว่า ผู้ออกตัว๋ ให้
คำามัน
่ สัญญาว่าจะใช้เงินจำานวนหน่ ึงให้แก่บุคคลอีกคนหน่ ึงหรือให้ใช้ตามคำา
สัง่ของบุคคลอีกคนหน่ ึงเรียกว่า ผู้รับเงิน
ความแตกต่างระหว่างตัว๋แลกเงินกับตัว๋สัญญาใช้เงิน
ตัว๋แลกเงิน เป็ นเร่ ืองซ่ ึงผู้ออกตัว๋สัง่ให้บุคคลอ่ ืนให้จ่ายเงินให้แก่บุคคลอีก
คนหน่ ึง
ตัว๋สัญญาใช้เงิน เป็ นเร่ ืองซ่ ึงตัวผู้ออกตัว๋นัน้ เองให้คำามัน
่ สัญญาว่าตนเองจะ
เป็ นผู้ใช้เงิน
3. เช็ค คือ หนังสือตราสารซ่ ึงบุคคลหน่ ึงเรียกว่า ผู้สัง่จ่าย สัง่ธนาคารให้ใช้
เงินจำานวนหน่ ึงเม่ ือทวงถามให้แก่บุคคลอีกคนหน่ ึง หรือให้ใช้ตามคำาสัง่ของ
บุคคลอีกคนหน่ ึงอันเรียกว่า ผู้รับเงิน
สัญญาประกันภัย คือ สัญญาซ่ ึงบุคคลหน่ ึงตกลงจะใช้ค่าสินไหมทดแทน
หรือใช้เงินจำานวนหน่ ึงให้ในกรณีวินาศภัยหากมีขึ้นหรือในเหตุอย่างอ่ ืนใน
อนาคตซ่ ึงได้ระบุไว้ในสัญญา ซ่ ึงบุคคลอีกคนหน่ ึงตกลงจะส่งเงิน เรียกว่า
เบีย้ ประกันภัย
ผู้รับประกันภัย ซ่ ึงเป็ นคู่สัญญาฝ่ ายซ่ ึงตกลงจะใช้ค่าสินไหมทดแทน
ผู้เอาประกันภัย คือ คู่สัญญาฝ่ ายซ่ ึงตกลงจะส่งเบีย ้ ประกันภัย
ผู้รับประโยชน์ คือ บุคคลจะพึงได้รับค่าสินไหมทดแทน
สัญญาประกันภัยต้องทำาเป็ นหลักฐาน เป็ นหนังสืออย่างใดอย่างหน่ ึงลง
ลายมือช่ ือฝ่ ายท่ีต้องรับผิด
วินาศภัยกฎหมายได้อธิบายหมายรวมเอาความเสียหายต่างอย่างใด ๆ
บรรดาซ่ ึงจะพึงประเมินเป็ นเงินได้ ดังนัน ้ ส่ิงใดเม่ ือเกิดความเสียหายแล้วไม่
อาจจะประมาณเป็ นเงินได้ก็ย่อมนำาเอามาประกันวินาศภัยไม่ได้
สัญญาประกันชีวิต คือ การใช้จำานวนเงินโดยอาศัยความทรงชีพหรือมรณะ
ของบุคคลหน่ ึง
บุคคลใดทำาให้บุคคลอ่ ืนเสียหาย บุคคลนัน ้ ต้องรับผิดโดยใช้คา่ สินไหม
ทดแทนแก่ผู้ท่ีเสียหายเพราะการทำาละเมิด รวมไปถึงความเสียหายอันเกิด
จากสัตว์และทรัพย์ท่ีเรามีไว้ในครอบครองหรือในความดูแลด้วย
ความรับผิดในการทำาละเมิดของบุคคลอ่ ืน กฎหมายบัญญัติไว้เป็ น 3 กรณี
คือ
1. รับผิดในการกระทำาละเมิดของลูกจ้าง
2. รับผิดในการทำาละเมิดของตัวแทน
3. รับผิดในการทำาละเมิดของผู้ไร้ความสามารถ
1. รับผิดในการกระทำาละเมิดของลูกจ้าง - กฎหมายบัญญัติให้นายจ้างต้อง
ร่วมกันรับผิดกับลูกจ้างในผลแห่งละเมิดซ่ ึงลูกจ้างได้กระทำาไปในการท่ีจ้าง
2. รับผิดในการทำาละเมิดของตัวแทน - ตัวการต้องร่วมรับผิดกับตัวแทนใน
ผลแห่งละเมิด ซ่ ึงตัวแทนได้กระทำาภายในขอบอำานาจจะแต่งการเป็ นตัวแทน
เท่านัน

3. รับผิดในการทำาละเมิดของผู้ไร้ความสามารถ - บิดามารดาหรือผู้อนุบาล
ของผู้ไร้ความสามารถหรือผู้เยาว์หรือคนวิกลจริตย่อมต้องรับผิดร่วมกับ
บุคคลดังกล่าวด้วย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนได้ใช้ความระมัดระวังตาม
สมควรแก่หน้าท่ีดูและซ่ ึงทำาอยู่นัน ้
รับผิดในความเสียหายท่ีเกิดจากสัตว์และทรัพย์ กฎหมายบัญญัติให้ผู้เป็ น
เจ้าของสัตว์หรือบุคคลผู้รับเลีย ้ งรักษาไว้แทนเจ้าของต้องรับผิดชดใช้ค่า
สินไหมทดแทนให้แก่ฝ่ายท่ีต้องเสียหายอันเกิดจากสัตว์นัน ้ เว้นแต่จะพิสูจน์
ได้ว่าตนได้ใช้ความระมัดระวังอันสมควรแก่การเลีย ้ งการรักษาตามชนิดและ
วิสัยสัตว์ แต่ถ้ามีผู้อ่ืนมายัว่ยุสัตว์จนเป็ นเหตุให้เกิดความเสียหาย ผู้เป็ น
เจ้าของสัตว์หรือผูร้ ับเลีย้ งรักษาไว้แทนก็จะใช้สิทธิไล่เบีย้ เอาแก่บุคคลท่ีเร้า
หรือยัว่ยุสัตว์นัน
้ โดยละเมิดได้
ส่วนความเสียหายอันเกิดจากทรัพย์, เพราะตกหล่นจากโรงเรือนหรือเพราะ
ทิง้ขว้างไปตก, ยานพาหนะ ทรัพย์อันตราย ผู้ครอบครองต้องรับผิดชอบใช้คา่
สินไหมทดแทน ยกเว้นว่าผู้ครอบครองได้ใช้ความระมัดระวังตามควรเพ่ ือ
ป้ องกันมิให้เกิดความเสียหาย
แต่อย่างไรก็ตาม การกระทำาให้ผู้อ่ืนต้องเสียหายนัน ้ ผูก
้ ระทำานัน
้ จะไม่ต้องรับ
ผิดใช้ค่าสินไหมทดแทน เพราะกฎหมายยกเว้นให้ไม่ต้องรับผิด ซ่ ึงเรียกว่า
นิรโทษกรรม คือ การกระทำาตามคำาสัง่อันชอบด้วยกฎหมาย แต่การกระทำา
เพ่ ือป้ องกันท่ีจะได้รับยกเว้นความรับผิดต้องได้กระทำาไปพอสมควรแก่เหตุ

หน่วยท่ี 10

กฎหมายมีขึ้นเพ่ ือกำาหนดระเบียบแห่งสังคม ให้ทก


ุ คนอยู่ภายใต้ระเบียบ
หรือบรรทัดฐานความประพฤติเดียวกัน
ทะเบียนราษฎร หมายถึง ทะเบียนคนเกิด ทะเบียนคนตาย และทะเบียน
บ้าน
1. คนเกิด
เม่ ือมีคนเกิดในบ้าน ไม่ว่าบ้านนัน
้ จะเป็ นของผู้ใด (บ้านตามความมาตรา 4
แห่งพระราชบัญญัตินี ห ้ ม ายความรวมถึงโรงพยาบา
และสถานท่ีอ่ืนท่ีใช้อยู่อาศัยด้วย) เจ้าบ้านต้องแจ้งต่อนายทะเบียนท้องท่ี
ภายใน 15 วัน นับแต่วันท่ีเด็กเกิด แต่ถ้าเด็กเกิดนอกบ้านให้มารดาแจ้งต่อ
นายทะเบียนแห่งท้องท่ีท่ีเด็กเกิด หรือท้องท่ีท่ีจะพึงแจ้งได้ในโอกาสแรก
ภายใน 15 วัน นับแต่วันท่ีเด็กเกิด หรือกรณีไม่อาจแจ้งได้ตามกำาหนด ก็ให้
แจ้งภายใน 15 วัน นับแต่วันท่ีอาจแจ้งได้ เช่น เด็กคลอดระหว่างเดินทาง บน
เรือ บนเคร่ ืองบิน เป็ นต้น
2. คนตาย
เม่ ือมีคนตายในบ้าน ไม่ว่าบ้านนัน
้ จะเป็ นของผู้ใด เจ้าบ้านต้องแจ้งต่อนาย
ทะเบียนท้องท่ีท่ีมีคนตายภายใน 24 ชัว่โมง นับแต่เวลาตาย กรณีไม่มีเจ้าบ้าน
ผู้ท่ีพบศพต้องแจ้งภายใน 24 ชัว่โมงนับ แต่พบศพ แต่ถ้าเป็ นการตายนอก
บ้าน ผู้ท่ีพบศพต้องแจ้งต่อนายทะเบียนภายใน 24 ชัว่โมงนับแต่เวลาตาย
หรือพบศพ หรือจะแจ้งต่อตำารวจก็ได้ ถ้าผู้ตายได้รับการรักษาพยาบาลจาก
แพทย์ต้องให้แพทย์ออกหนังสือรับรองการตายให้
3. ลูกตายในท้อง
ลูกตายในท้อง หมายถึง ทารกในครรภ์มารดาท่ีมีอายุเกินกว่า 28 สัปดาห์
และคลอดออกมาโดยไม่มีชีวิต
ลูกตายในท้องในบ้าน เจ้าบ้านต้องแจ้งนายทะเบียนท้องท่ีท่ีลูกตายในท้อง
คลอดออกมาภายใน 24 ชัว่โมง นับแต่เวลาคลอด ถ้าลูกตายในท้องคลอด
นอกบ้าน ให้มารดาเป็ นผู้แจ้งนายทะเบียนท้องท่ีท่ีลูกตายในท้องคลอด หรือ
ท้องท่ีท่ีจะพึงสะดวกในการแจ้งในโอกาสแรกภายในเวลา 24 ชัว่โมง นับแต่
เวลาคลอด
ทะเบียนบ้าน คือ เอกสารของทางราชการ ซ่ ึงบรรจุรายละเอียดเก่ียวกับ
สถานะ เพศ อายุ ของผู้ท่ีอยู่ในบ้านหลังหน่ ึง ๆ โดยเจ้าบ้านไม่จำาเป็ นต้อง
เป็ นเจ้าของกรรมสิทธิใ์นบ้านหลังนัน

การตัง้ช่ ือสกุล สามารถทำาได้โดยการไปขอจดทะเบียนตัง้ช่ ือสกุล โดยย่ ืน
คำาขอต่อนายทะเบียนท้องท่ีท่ีตนมีช่ืออยู่ในทะเบียนบ้านตามกฎหมายว่า
ด้วยทะเบียนราษฎร
ผู้จดทะเบียนตัง้ช่ ือสกุล จะอนุญาตให้ผู้มีสัญชาติไทยผู้ใดร่วมใช้ช่ือสกุลของ
ตนก็ได้ โดยย่ ืนเป็ นคำาขอต่อนายทะเบียนท้องท่ีท่ีตนมีช่ืออยู่ในทะเบียนบ้าน
ตามกฎหมายว่าด้วยทะเบียนราษฎร
นอกจากนี ย ้ ั งมีกรณีต่างๆในเร่ ืองการใช้นามสก
1. หญิงมีสามี ให้ใช้ช่ือสกุลของสามี
2. หญิงหม้ายโดยการหย่า ให้กลับใช้ช่ือสกุลเดิมของตน
3. หญิงหม้ายโดยการตายของสามี ให้ใช้ช่ือสกุลของสามี
4. ผู้อุปการะเลีย
้ งดูเด็ก หรือเจ้าของสถานพยาบาล สถานสงเคราะห์ หรือ
สถานอุปการะเลีย ้ งดูเด็ก ประสงค์จะจดทะเบียนตัง้ช่ ือสกุลของเด็ก ซ่ ึงตน
อุปการะเลีย ้ งดู หรือเด็กแห่งสถานดังกล่าว ซ่ ึงมีสัญชาติไทยแต่ไม่ปรากฏช่ ือ
สกุลใช้ร่วมกันหรือแยกกัน ให้ย่ืนคำาขอต่อนายทะเบียนท้องท่ีท่ีอุปการะ
เลีย
้ งดูมีช่ืออยู่ในทะเบียนบ้านตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร หรือ
ท่ีสถานดังกล่าวอยู่
ผู้มีช่ือตัว ช่ ือรอง ประสงค์จะเปล่ียนช่ ือตัว หรือช่ ือรอง และผู้ท่ีมีช่ือสกุลอยู่
แล้ว ประสงค์จะขอตัง้ช่ ือสกุลใหม่ ให้ย่ืนคำาขอต่อนายทะเบียนท้องท่ีท่ีตน
มีช่ืออยู่ในทะเบียนบ้าน
กรณีท่ีนายทะเบียนสัง่ไม่รับจดทะเบียนช่ ือสกุล ผู้ขอจดทะเบียนช่ ือสกุลมี
สิทธิอุทธรณ์คำาสัง่ของนายทะเบียนต่อรัฐมนตรี (หมายถึง รัฐมนตรีผู้รก ั ษา
การตาม พ.ร.บ.ช่ ือสกุล ปี 2505 ซ่ ึงได้แก่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย)
ภายในกำาหนดสามสิบวันนับแต่วันทราบคำาสัง่
การดำาเนินการขอจดทะเบียนสมรสต้องไปทำากัน ณ ท่ีว่าการอำาเภอ หรือก่ิง
อำาเภอ ซ่ ึงนายทะเบียนท่ีรับจดทะเบียนสมรส ได้แก่ นายอำาเภอหรือปลัด
อำาเภอ ผู้เป็ นหัวหน้าประจำาก่ิงอำาเภอนัน
้ ๆ หากเป็ นกรณีท่ีมีการสมรสกัน
ในต่างประเทศก็ต้องไปดำาเนินการ ณ สถานทูตหรือกงสุลไทยประจำา
ประเทศนัน ้ ๆ
ผู้รับบุตรบุญธรรมต้องมีอายุไม่ต่ำากว่า 30 ปี และต้องมีอายุแก่กว่าผู้ท่ีจะเป็ น
บุตรบุญธรรมอย่างน้อย 15 ปี
ผู้มีสัญชาติไทย ซ่ ึงมีอายุตัง้แต่สิบเจ็ดปี บริบูรณ์ขึ้นไป แต่ไม่เกินเจ็ดสิบปี บริ
บูรณ์ ต้องมีบัตรประชาชน
การเปล่ียนบัตรประชาชน
1. กรณีท่ีบัตรประชาชนหมดอายุ
2. กรณีผู้ถือบัตรเปล่ียนช่ ือตัว หรือ ช่ ือสกุล
3. กรณีบัตรหาย ถูกทำาลาย หรือชำารุดในสารสำาคัญ
สัญชาติเป็ นเคร่ ืองบ่งบอกถึงการท่ีบุคคลนัน
้ เป็ นประชาชนของประเทศนัน้
ๆ และสัญชาติมีส่วนช่วยในการกำาหนดสถานะทางกฎหมายของบุคคลนัน ้
เอง ผู้ท่ีให้สัญชาติ คือ รัฐหรือประเทศ
หลักการได้สัญชาติไทย มี 2 กรณี คือ
ก. การได้สัญชาติโดยการเกิด
บุคคลดังต่อไปนี ย ้ ่อมได้สัญชาติโดยการเกิด
1. ผู้เกิดโดยบิดาเป็ นผู้มีสัญชาติไทย ไม่ว่าจะเกิดในหรือนอกราชอาณาจักร
ไทย
2. ผู้เกิดนอกราชอาณาจักรไทยโดยมารดาเป็ นผู้มีสัญชาติไทย แต่ไม่ปรากฏ
บิดาท่ีชอบด้วยกฎหมาย หรือบิดาไม่มีสัญชาติ
3. ผู้ท่ีเกิดในราชอาณาจักรไทย
ข. การได้สัญชาติภายหลังการเกิด
การได้สัญชาติภายหลังการเกิดอาจมีได้ 4 กรณี
1. การแปลงสัญชาติ (naturalization)
2. การสมรส (marriage)
3. การได้สัญชาติเดิมคืน (recovery of nationality)
4. การเปล่ียนแปลงอธิปไตย (cession of territory of subjugation)
การเสียสัญชาติ ตาม พ.ร.บ.สัญชาติ ปี 2508 มี 5 กรณี คือ
1. การแปลงสัญชาติไปถือสัญชาติอ่ืน คือ แปลงสัญชาติเป็ นคนต่างด้าว
2. การสละสัญชาติ โดยการสมรสกับชายต่างด้าว
3. การสละสัญชาติ ซ่ ึงหมายถึง การท่ีผู้มีสัญชาติไทย ขอสละความเป็ นความ
เป็ นคนไทยของตนตามกฎหมายไปถือสัญชาติต่างประเทศ หรือผู้ท่ีมี
สัญชาติของต่างประเทศด้วยแล้ว ในขณะขอสละสัญชาติไทย โดยได้แสดง
ความประสงค์ขอสละสัญชาติไทยต่อพนักงานเจ้าหน้าท่ี
4. การถอนสัญชาติ
5. การเสียสัญชาติโดยการรับใบสำาคัญประจำาตัวคนต่างด้าว
พระราชบัญญัติประถมศึกษา
เกณฑ์การศึกษาภาคบังคับไว้โดยให้ผป ู้ กครองของเด็กซ่ ึงมีอายุย่างเข้าปี ท่ี
แปด ส่งเด็กเข้าเรียนในโรงเรียนประถมศึกษาจนกว่าจะมีอายุย่างเข้าปี ท่ีสิบ
ห้า
การยกเว้นให้เด็กไม่ต้องเข้าเรียนในโรงเรียนประถมศึกษา ให้ผู้ปกครอง
ร้องขอต่อคณะกรรมการศึกษาอำาเภอและคณะกรรมการประถมศึกษาก่ิง
อำาเภอ เพ่ ือขอยกเว้นได้ หากเด็กผู้นัน
้ มีลักษณะ ดังนี้
(1) มีความบกพร่องในทางร่างกายหรือจิตใจ
(2) เป็ นโรคติดต่อตามท่ีกำาหนดในกฎกระทรวง
(3) ต้องหาเลีย
้ งผู้ปกครองซ่ ึงทุพพลภาพ ไม่มห
ี นทางเลีย
้ งชีพและไม่มีผู้อ่ืน
เลีย
้ งดูแทน
(4) มีความจำาเป็ นอย่างอ่ ืนตามท่ก
ี ำาหนดในกฎกระทรวง
กฎหมายว่าด้วยอุดมศึกษา
ในระดับอุดมศึกษา มีกฎหมายบัญญัติถึงสถาบันอุดมศึกษาทัง้ของรัฐและ
ของเอกชน
ก. กฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษา
เม่ ือมีการจัดตัง้สถาบันอุดมศึกษาแห่งหน่ ึง ก็ตราพระราชบัญญัติขึ้นมาฉบับ
หน่ ึง โดยเฉพาะกฎหมายท่ีเก่ียวสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ จึงมีดังต่อไปนี้
1. พระราชบัญญัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2486
2. พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. 2495
3. พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พ.ศ. 2511
4. พระราชบัญญัติมหาวิทยาศิลปากร พ.ศ. 2511
5. พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2512
6. พระราชบัญญัติสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ พ.ศ. 2509
7. พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ. 2512
8. พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยขอนแก่น พ.ศ. 2508
9. พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พ.ศ. 2511
10. พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยรามคำาแหง พ.ศ. 2514
11. พระราชบัญญัติสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า พ.ศ. 2514
12. พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พ.ศ. 25156
13. พระราชบัญญัติสถาบันเทคโนโลยีการเกษตร พ.ศ. 2518
14. พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช พ.ศ. 2521
ในพระราชบัญญัติแต่ละฉบับ ได้กำาหนดโครงสร้างของงานบริหารและงาน
วิชาการ การแบ่งส่วนราชการ การดำาเนินการ ฐานะตำาแหน่งของผู้สอน
ตลอดจนการให้อำานาจแก่มหาวิทยาลัยแต่ละแห่งในการประสาทปริญญา
บัตรต่าง ๆ และให้ประดับเคร่ ืองหมายวิทยฐานะได้ตามศักดิแ์ละสิทธิด์้วย
ข. พระราชบัญญัติวิทยาลัยเอกชน
วิทยาลัยเอกชน คือ สถาบัน สถานศึกษา หรือ สถานท่ีมีบุคคลจัดการศึกษา
ขัน
้ อุดมศึกษาแก่นก ั ศึกษาเกินกว่าเจ็ดคนขึ้นไป
การจัดตัง้วิทยาลัยเอกชน จะจัดตัง้ได้ต่อเม่ ือได้รบ
ั ใบอนุญาตจากรัฐมนตรี
โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการวิทยาลัยเอกชน
การอนุญาตและการไม่อนุญาตให้เป็ นไปตามหลักเกณฑ์ เง่ ือนไข และวิธี
การท่ีกำาหนดในกฎกระทรวง
วิทยาลัยเอกชนต้องมีข้อกำาหนด ซ่ ึงต้องมีรายการดังต่อไปนี้
1. ช่ ือ
2. วัตถุประสงค์เพ่ ือให้การศึกษาขัน
้ อุดมศึกษาในสาขาวิชาใดบ้าง
3. ท่ีตัง้และแผนผังแสดงบริเวณและอาคาร
4. จำานวนเงินทุนประเดิมและทรัพย์สินท่ีจะใช้ในการจัดตัง้
5. โครงการจัดการศึกษา
6. หลักสูตรวิชาท่ีจะสอนในวิทยาลัย อุปกรณ์การศึกษาและวิธีการวัดผลการ
ศึกษา
7. ระยะเวลาการศึกษา
8. วิธีการรับนักศึกษาและให้นักศึกษาออก อัตราค่าเรียน ค่าบำารุง และค่า
ธรรมเนียม
9. การกำาหนดเคร่ ืองแบบ การแต่งเคร่ ืองแบบของนักศึกษา และการกำาหนด
เคร่ ืองหมายของวิทยาลัยเอกชน
10. ช่ ือและอักษรย่อและหลักเกณฑ์การให้ประกาศนียบัตร อนุปริญญา
ประกาศนียบัตรชัน้ สูง หรือปริญญา
11. โครงการจัดหาผู้สอน
12. การกำาหนดตำาแหน่งและคุณสมบัติทางวิชาการของผู้สอน อัตราค่าสอน
เงินเดือนผู้สอน หลักเกณฑ์การจ้างและเลิกจ้างผู้สอน และการสงเคราะห์ผู้
สอน
13. โครงการใช้จ่ายเงินทุนหรือทรัพย์สินเพ่ ือจัดตัง้
14. โครงการขอความช่วยเหลือทางวิชาการหรือทางการเงินจากสถาบันใน
ประเทศหรือต่างประเทศ ถ้ามี
15. รายการอ่ ืนตามท่ก
ี ำาหนดในกระทรวง
พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
อ่านเองใน 10.2.3
กฎหมายเก่ียวกับการจัดสรรท่ีดิน
กฎหมายเก่ียวกับการจัดสรรท่ีดิน เป็ นกฎหมายท่ีใช้ควบคุมการจัดสรรท่ีดิน
โดยมีหลักการสำาคัญ ดังนี้
1. เพ่ ือควบคุมการจัดสรรท่ีดินให้ถูกต้องตามหลักวิชาการผังเมือง
2. เพ่ ือควบคุมการจัดสรรท่ีดินของเอกชนให้เป็ นไปด้วยความเรียบร้อย ไม่
เกิดข้อพิพาทและเพ่ ือประโยชน์ของผู้ซ้ือท่ีจัดสรร ตลอดจนเพ่ ือผลในทาง
เศรษฐกิจสังคม
สาระและวิธีดำาเนินการควบคุมการจัดสรร
1) กำาหนดลักษณะการจัดการเก่ียวกับท่ีดิน ถือว่าเป็ นการจัดสรรท่ีดิน
2) กำาหนดให้มีคณะกรรมการควบคุมการจัดสรรท่ีดิน
3) กำาหนดอำานาจหน้าท่ีของคณะกรรมการควบคุมการจัดสรรท่ีดิน ดังนี้
3.1 วางข้อกำาหนดเก่ียวกับการจัดสรรท่ีดิน
3.2 พิจารณาคำาขออนุญาตและการออกหรือโอนใบอนุญาตให้จด
ั สรรท่ีดิน
3.3 ตรวจสอบการจัดสรรท่ีดินเพ่ ือให้การดำาเนินไปตามท่ีได้ออกใบอนุญาต
บุคคลดังกล่าวส่งเอกสารท่ีเก่ียวข้องตามความจำาเป็ นภายในเวลาท่ีคณะ
กรรมการกำาหนด
4) กำาหนดว่าการจัดสรรท่ีสุด ต้องได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการ โดย
ปฏิบัติตามข้อกำาหนดในประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับท่ี 286
5) เง่ ือนไขในการให้มีผู้ค้ำาประกันการจัดสรรท่ีดิน
6) กำาหนดวิธีการจดทะเบียนการซ้ือขายท่ีดินจัดสรรเป็ นพิเศษ
7) กำาหนดว่าผูจ้ ัดสรรท่ีดินอาจโอนใบอนุญาตจัดสรรท่ีดินต่อไปได้ ภายใต้
การพิจารณาเห็นชอบของคณะกรรมการจัดสรรท่ีดิน
8) กำาหนดเง่ ือนไขในกรณีผู้จัดสรรท่ีดินตายไว้วา่
8.1 ทายาทหรือผู้จัดการมรดกมีสิทธิรบ
ั โอนใบอนุญาตต่อไปได้ภายใต้การ
พิจารณาของคณะกรรมการ
8.2 ธนาคารหรือสถาบันการเงิน แล้วแต่กรณียังคงผูกพันตามสัญญาค้ำา
ประกันท่ีทำาต่อคณะกรรมการ แม้วา่ ผู้จัดสรรท่ีดินจะตายก็ตาม
9) การบังคับใช้ประกาศคณะปฏิวัติฉบับนี ใ้นกรณีท่ีมีการดำาเนินการจัดสรร
ท่ีดินอยู่ก่อนฉบับท่ีประกาศใช้
10) การกำาหนดโทษทางอาญาแก่ผู้ฝ่าฝื นข้อกำาหนดในประกาศคณะปฏิวัติ
กฎหมายเก่ียวกับการควบคุมอาคาร 2522
กำาหนดให้มีการขออนุญาตทำาการก่อสร้าง ดัดแปลง ร้ือถอน และใช้หรือ
เปล่ียนการใช้อาคารต่อเจ้าพนักงานท้องถ่ิน
การขออนุญาตต้องระบุช่ือผู้ควบคุมงาน และหนังสือแสดงความยินยอมของ
ผู้ควบคุมงาน
หากทำาการก่อสร้างอาคารโดยไม่ขออนุญาต และอาคารมีแบบผิดไปจากท่ีกฎ
กระทรวงบังคับไว้ นอกจากเจ้าพนักงานจะสัง่ให้ระงับการก่อสร้างแล้ว ยัง
ต้องสัง่ให้ร้ือถอนอาคารท่ีสร้างนัน
้ ด้วย เจ้าพนักงานท้องถ่ินมีอำานาจสัง่ให้
ร้ือถอนอาคารนัน ้ ทัง้หมด หรือบางส่วนภายในเวลากำาหนด แต่ต้องไม่น้อย
กว่า 30 วัน
กฎหมายเก่ียวกับอาคารชุด 2522
อาคารชุด หมายถึง ส่ิงก่อสร้างท่ีประกอบด้วยส่วนท่ีแยกออกเป็ นห้องชุด
ซ่ ึงเป็ นสิทธิเฉพาะของแต่ละบุคคล ซ่ ึงอาศัยอยู่ในอาคารชุดนัน

ประเภททรัพย์สินในอาคารชุด
1. ทรัพย์ส่วนบุคคล ได้แก่ ห้องชุด, บริเวณท่ีเป็ นเฉลียง, ระเบียงติดกับตัว
ห้องชุด เป็ นต้น
2. ทรัพย์ส่วนกลาง ได้แก่ ท่ีดินตัง้อาคารชุด หรือท่ีดิน หรือทรัพย์สินอ่ ืนท่ีมี
ไว้เพ่ ือใช้ หรือเพ่ ือประโยชน์ร่วมกัน
การกำาหนดให้จัดการดูแลรักษาทรัพย์ส่วนกลางในอาคารชุดให้เป็ นหน้าท่ี
ของนิติบุคคลอาคารชุด
การจดทะเบียนเก่ียวกับกรรมสิทธิใ์นห้องชุด เช่น การโอนกรรมสิทธิใ์นห้อง
ชุดจะกระทำาได้ต่อเม่ ือมีการขอจดทะเบียนนิติบุคคลอาคารชุดแล้ว

กฎหมายว่าด้วยส่ิงแวดล้อม
เพ่ ือรักษาสภาวะแวดล้อมให้อยู่ในดุลย์ การลงโทษในทางเศรษฐกิจ คือ การ
ลงโทษโดยการถอนใบอนุญาตในการประกอบกิจการ
กฎหมายป่ าไม้
กฎหมายกำาหนดให้กระทรวงเกษตรเป็ นผูก ้ ำาหนดไม้หวงห้าม โดยออกเป็ น
พระราชกฤษฎีกาและให้มีผลบังคับนับแต่วันท่ีประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ผู้ใดจะทำาไม้หรือทำาไม้ให้เป็ นอันตรายไม่ว่าโดยวิธีใด ๆ ไม่ได้ เช่น เผาเป็ น
ถ่าน สับเป็ นไม้ฟืน หรือปลูกบ้าน เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้า
หน้าท่ีหรือได้รับสัมปทาน
การทำาไม้ท่ีมิใช่ไม้หวงห้ามไม่ต้องขออนุญาต แต่เม่ ือนำาเข้าเขตด่านป่ าไม้ต้อง
เสียค่าธรรมเนียม เว้นแต่จะนำาไปใช้สอยส่วนตัว
ของป่ าใดในท้องท่ีใดเป็ นของป่ าหวงห้ามจะประกาศเป็ นพระราชกฤษฎีกา ผู้
ใดเก็บของป่ าหวงห้ามหรือทำาอันตรายด้วยประการใด ๆ แก่ของป่ าหวงห้าม
จะต้องได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าท่ีและเสียค่าภาคหลวง การผูกขาด
อาจทำาได้เฉพาะกรณีของป่ าหวงห้ามท่ีเป็ นของมีค่าหรือหายาก
กฎหมายได้กำาหนดให้ผู้นำาไม้หรือของป่ าเคล่ ือนท่ี ต้องมีใบเบิกทางของ
พนักงานเจ้าหน้าท่ีกำากับไปด้วย
ผู้ท่ีไม่ใช่เจ้าของไม้จะเก็บไม้ไหลลอยตามน้ำาได้ต้องเป็ นผู้ท่ีได้รับอนุญาตจาก
พนักงานเจ้าหน้าท่ี
การแผ้วถางป่ า หมายถึง การกระทำาใด ๆ ท่ีทำาให้ป่าหมดสภาพ
กฎหมายแร่
ผู้ ท่ีจะทำาการขอสำารวจแร่หรือการผูกขาดสำารวจแร่ ต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
1. อายุไม่ต่ำากว่า 20 ปี บริบูรณ์
2. มีภูมล
ิ ำาเนาในราชอาณาจักร
3. ไม่เป็ นคนวิกลจริตหรือถูกศาลสัง่เป็ นคนไร้ความสามารถ หรือเสมือนไร้
ความสามารถ หรือเคยถูกศาลลงโทษในความผิดเก่ียวกับแร่
ผู้ท่ีจะทำาเหมืองแร่ต้องขอประทานบัตร ประทานบัตรเป็ นสิทธิเฉพาะตัว ช่วง
ให้ผอ ู้ ่ ืนไม่ได้ เว้นแต่จะได้รบ
ั อนุญาตจากรัฐมนตรี หรือผู้ท่ีรัฐมนตรีมอบ
หมาย
บุคคลท่ีสามารถเป็ นคนขายแร่ได้
1. ผู้ถือประทานบัตรชัว่คราว หรือ ผู้ถือประทานบัตร หรือ ตัวแทนของบุคคล
ดังกล่าว ซ่ ึงได้จดทะเบียนไว้ต่อทรัพยกรธรณีประจำาท้องท่ี
2. ผู้รบ
ั ใบอนุญาตซ้ือแร่ หรือ ตัวแทน ซ่ ึงได้จดทะเบียนไว้ต่อทรัพยากรธร
ประจำาท้องท่ี
3. ผู้รบ
ั ใบอนุญาตขุดหาแร่รายย่อย หรือ เป็ นเจ้าของแร่ ซ่ ึงแร่นัน
้ ได้มาจาก
ผู้รับใบอนุญาตขุดหาแร่รายย่อย
4. ผู้รบ
ั ใบอนุญาตร่อนแร่
5. ผู้รบ
ั อนุญาตจากอธิบดีในกรณีพิเศษเฉพาะครัง้ท่ีขายนัน
้ หรือ
6. ผู้ขายโลหะท่ีได้จากโลหกรรม
ผู้ท่ีประสงค์จะมีแร่ไว้ในครอบครองต้องย่ ืนคำาขอต่อทรัพยากรท้องท่ี มิ
ฉะนัน ้ จะมีแร่ในครอบครองแต่ละชนิดเกิน 2 กิโลกรัมไม่ได้
การแต่งแร่ หมายถึง การกระทำาใด ๆ เพ่ ือให้แร่สะอาด หรือเพ่ ือให้แร่อ่ืนท่ี
ปะปนอยู่ตัง้แต่สองชนิดขึ้นไปแยกออกจากกัน หมายความรวมถึง การบด
แร่ และคัดขนาดแร่
การประกอบโลหกรรม หมายถึง การถลุงแร่
กฎหมายปิ โตรเลียม
ปิ โตรเลียม หมายความว่า น้ำามันดิบ ก๊าซธรรมชาติ ก๊าซธรรมชาติเหลว สาร
พลอยได้ และสารประกอบไฮโดรคาร์บอนอ่ ืน ๆ ท่ีเกิดขึ้นโดยธรรมชาติ และ
อยู่ในสภาพอิสระ
ปิ โตรเลียมเป็ นของรัฐ ผู้ใดจะสำารวจหรือผลิตไม่ว่าท่ีนัน
้ เป็ นของตนหรือของ
บุคคล ผู้ขอสัมปทานต้องเป็ นบริษัท และมีทุน เคร่ ืองจักร เคร่ ืองมืออุปกรณ์
และผู้เช่ียวชาญเพียงพอท่ีจะสำารวจ ผลิต ขาย และจำาหน่ายปิ โตรเลียม ระยะ
เวลาสำารวจปิ โตรเลียมตามสัมปทานจะกำาหนดไว้ไม่เกิน 8 ปี นับแต่วันได้
สัมปทาน แต่อาจขอต่ออายุสัมปทานได้อีกครัง้หน่ ึงไม่เกิน 4 ปี ระยะเวลา
ผลิตปิ โตรเลียมตามสัมปทานกำาหนดไม่เกิน 10 ปี นับจากวันถัดจากวันสิน

ระยะเวลาสำารวจปิ โตรเลียม แต่อาจขอต่อเวลาผลิตได้อก
ี 1 ครัง้ ไม่เกิน 10 ปี
โดยหลักรัฐมนตรีจะอนุญาตให้ผู้ขอสัมปทานได้สัมปทานรายละไม่เกิน 4
แปลง เว้นแต่จะเห็นควรเพ่ิมให้เป็ นพิเศษอีก 1 แปลง แต่เม่ ือรวมพ้ืนท่ีแล้ว
ต้องไม่เกิน 50,000 ตารางกิโลเมตร การสำารวจแบ่งระยะการสำารวจออกไปเป็ น
3 ช่วง เม่ ือสิน
้ ช่วงสำารวจช่วงหน่ ึง ๆ ผู้รบ
ั สัมปทานจะต้องคืนพ้ืนท่ีแปลง
สำารวจ แต่ถ้าในการสำารวจไม่พบปิ โตรเลียมเลยและหมดเวลาตามสัมปทาน
แล้วให้ถือว่าสัมปทานได้สิน ้ สุดลง
รัฐจะได้คา่ ภาคหลวงเป็ นค่าตอบแทนในการให้สัมปทานปิ โตรเลียม ค่าภาค
หลวงจะคำานวณจากปิ โตรเลียมท่ีผู้รับสัมปทานได้ขายหรือจำาหน่ายเท่านัน ้
กรณีจา่ ยเป็ นเงินให้เสียในอัตราร้อยละ 12.5 ของมูลค่าปิ โตรเลียมท่ีขายหรือ
จำาหน่าย กรณีจ่ายเป็ นปิ โตรเลียมให้จ่ายเท่ากับ 1/7 ของมูลค่าปิ โตรเลียมท่ี
ขายหรือจำาหน่าย ถ้าเป็ นน้ำามันดิบท่ีส่งออกให้จา่ ย 1/2 ของปริมาณท่ีส่งออก
คูณด้วยราคาประกาศ และหารด้วยราคามาตรฐานตามกฎหมายว่าด้วยภาษี
เงินได้ปิโตรเลียม

กฎหมายผังเมือง พ.ศ. 2518


“การผังเมือง” หมายความว่า การวาง จัดทำา และดำาเนินการให้เป็ นไปตาม
ผังเมืองรวมและผังเมืองเฉพาะในบริเวณเมืองและบริเวณท่ีเก่ียวข้องหรือ
ชนบท
การผังเมืองนอกจากเพ่ ือประโยชน์ในทางเศรษฐกิจแล้ว ยังคำานึงถึงสภาวะ
แวดล้อมท่ีจะกระทบต่อชีวิตของประชาชนด้วย
“ผังเมืองรวม” หมายความว่า แผนผัง นโยบาย และโครงการรวมทัง้
มาตรการควบคุมโดยทัว่ไปเพ่ ือใช้เป็ นแนวทางในการพัฒนา และการดำารง
รักษาเมืองและบริเวณท่ีเก่ียวข้อง หรือชนบทในด้านการใช้ประโยชน์ใน
ทรัพย์สิน การคมนาคมและการขนส่ง การสาธารณูปโภค บริการสาธารณะ
และสภาวะแวดล้อม เพ่ ือบรรลุวัตถุประสงค์ของการผังเมือง
“ผังเมืองเฉพาะ” หมายความว่า แผนผังและโครงการ ดำาเนินการเพ่ ือพัฒนา
หรือเพ่ ือดำารงรักษาบริเวณเฉพาะแห่ง หรือกิจการท่ีเก่ียวข้องในเมืองและ
บริเวณท่ีเก่ียวข้องหรือชนบทเพ่ ือประโยชน์แก่การผังเมือง
กฎหมายสงวนอาชีพสำาหรับคนไทย
เน่ ืองจากคนต่างด้าวประกอบธุรกิจในประเทศไทยเป็ นจำานวนมาก ประกอบ
กับประชาชนชาวไทยมีความรู้ความสามารถทัง้ในด้านวิทยาการและกำาลังเงิน
จึงสมควรกำาหนดหลักเกณฑ์การท่ีคนต่างด้าวประกอบธุรกิจในประเทศไทย
เพ่ ือรักษาดุลแห่งอำานาจในทางการค้าและเศรษฐกิจของประเทศ
กฎหมายเก่ียวกับการควบคุมมาตรฐานกากรประกอบวิชาชีพ
พระราชบัญญัติมีความมุ่งหมายจะควบคุมการประกอบวิชาชีพนัน ้ ๆ ให้อยู่
ในมาตรฐาน
ก) พระราชบัญญัติวิชาชีพวิศวกรรม พ.ศ. 2505
ข) พระราชบัญญัติวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2505
ค) พระราชบัญญัติวิชาชีพสถาปั ตยกรรม พ.ศ. 2508
ง) กฎหมายและระเบียบเก่ียวกับการควบคุมวิชาชีพสอบบัญชี
กฎหมายข้าราชการพลเรือน
ข้าราชการพลเรือน มี 5 ประเภท คือ
1. ข้าราชการพลเรือนสามัญ
2. ข้าราชการพลเรือนในพระองค์
3. ข้าราชการพลเรือนรัฐพาณิชย์
4. ข้าราชการครู
5. ข้าราชการประจำาต่างประเทศพิเศษ
โทษทางวินัย มี 6 สถาน คือ
(1) ภาคทัณฑ์
(2) ตัดเงินเดือน
(3) ลดขัน
้ เงินเดือน
(4) ให้ออก
(5) ปลดออก
(6) ไล่ออก
การออกจากราชการ
(1) ตาย
(2) พ้นจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยบำาเหน็จบำานาญข้าราชการ
(3) ได้รบ
ั อนุญาตให้ออกได้ตามความประสงค์
(4) ถูกสัง่ให้ออกจากราชการ
(5) ถูกสัง่โทษให้ออก ปลดออก หรือไล่ออก
กฎหมายเก่ียวกับการจดทะเบียนท่ีดินและอสังหาริมทรัพย์อ่ืน
การทำานิติกรรมเก่ียวกับการโอนกรรมสิทธิ ห ์ รือสิทธิอ่ืนท่ีเก่ียวข้องกับ
ท่ีดิน ต้องทำาเป็ นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าท่ี ซ่ ึงโดยปกติ
ก็คือ เจ้าพนักงานของสำานักงานท่ีดินเขตซ่ ึงท่ีดินนัน
้ ตัง้อยู่
กฎหมายเก่ียวกับการจดทะเบียนสัตว์พาหะ
การซ้ือขายเรือขนาดใหญ่ท่ีมีระวางห้าหกตันขึ้นไป การซ้ือขายแพ ท่ีอยู่อาศัย
และการซ้ือขายสัตว์พาหนะ ต้องทำาเป็ นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงาน
เจ้าหน้าท่ี
การจดทะเบียนสัตว์พาหนะต้องไปจดทะเบียนท่ีอำาเภอ
“สัตว์พาหนะ” หมายความถึง ช้าง ม้า โค กระบือ ล่อ ลา ซ่ ึงได้ทำาหรือต้อง
ทำาตัว๋รูปพรรณ
ลักษณะของสัตว์พาหนะท่ีต้องทำาตัว๋รูปพรรณ
1. ช้างมีอายุยา่ งเข้าปี ท่ี 8
2. สัตว์อ่ืนนอกจากโคตัวเมียมีอายุย่างเข้าปี ท่ี 6
3. สัตว์ใดท่ีใช้ขับข่ีลากเข็นหรือใช้งานแล้ว
4. สัตว์ใดท่ีมีอายุย่างเข้าปี ท่ี 4 เม่ ือจะนำาออกนอกราชอาณาจัก i
5. โคตัวเมียเม่ ืออายุย่างเข้าปี ท่ี 6 เม่ ือจะทำาการโอนกรรมสิทธิ เ์ว้นแต่ในกรณี
รับมรดก (มาตรา 8)
กฎหมายเก่ียวกับการจดทะเบียนเคร่ ืองจักร
เคร่ ืองจักรบางชิน
้ มีมูลค่าสูงย่ิงกว่าท่ีดินหรือทรัพย์สินอ่ ืนเป็ นอย่างมาก จึง
ควรเปิ ดโอกาสให้ผู้ประกอบอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมนำาเคร่ ืองจักรท่ีได้จด
ทะเบียนแล้วไปจำานองเพ่ ือเป็ นประกันหนีต ้ ามสัญญากู้เงิน เพ่ ือจะให้เป็ นทุน
ดำาเนินกิจการท่ีเพ่ิมมากขึ้น
สำานักทะเบียนเคร่ ืองจักรกลางในกระทรวงอุตสาหกรรม มีอำานาจหน้าท่ีใน
การจดทะเบียนเคร่ ืองจักรทุกจังหวัด และมีหน้าท่ีควบคุมสำานักงานทะเบียน
เคร่ ืองจักประจำาจังหวัดท่ีจะได้จัดตัง้ขึ้นต่อไป

หน่วยท่ี 11

กฎหมายเก่ียวกับรถยนต์
รถ หมายถึง รถยนต์ รถจักรยานยนต์ รถพ่วง รถบดถนน รถแทรกเตอร์
และ รถอ่ ืนตามท่ีกำาหนดในกฎกระทรวง
รถยนต์ หมายถึง รถยนต์สาธารณะ รถยนต์บริการ และ รถยนต์ส่วนบุคคล
รถยนต์สาธารณะ หมายถึง
1. รถยนต์รับจ้างระหว่างจังหวัด ซ่ ึงได้แก่ รถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารไม่
เกินเจ็ดคนท่ีใช้รับจ้างระหว่างจังหวัด เช่น รถแท็กซ่ี ซ่ ึงว่ิงระหว่าง
กรุงเทพมหานครกับชลบุรี
2. รถยนต์รับจ้าง ซ่ ึงได้แก่ รถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารไม่เกินเจ็ดคน
หรือรถยนต์สาธารณะอ่ ืนนอกจากรถยนต์โดยสารประจำาทาง เช่น รถแท็กซ่ี
ส่วนมากซ่ ึงรับจ้างอยู่ในกรุงเทพมหานคร
รถยนต์บริการ หมายถึง รถยนต์บรรทุกคนโดยสารหรือให้เช่าซ่ ึงบรรทุกคน
โดยสารไม่เกินเจ็ดคน ซ่ ึงแบ่งเป็ น 3 ประเท คือ
1. รถยนต์บริการธุรกิจ เช่น รถลีมูซีน
2. รถยนต์บริการทัศนาจร - รถยนต์ซ่ึงให้บริการส่วนมากแก่นักท่องเท่ียว
3. รถยนต์บริการให้เช่า - รถยนต์ซ่ึงสำานักงานบริการให้เช่ารถจัดไว้เพ่ ือ
บริการแก่บุคคลซ่ ึงประสงค์จะเช่าไปใช้ในเร่ ืองส่วนตัว ไม่ว่าจะท่องเท่ียวหรือ
ติดต่อธุรกิจ
รถยนต์ส่วนบุคคล หมายถึง รถยนต์นัง่ส่วนบุคคลเกินเจ็ดคน หรือรถยนต์
บรรทุกส่วนบุคคล ส่วนใหญ่มักจะได้แก่รถท่ีใช้ตามบ้าน
การจดทะเบียนรถ หมายถึง วิธีการซ่ ึงกฎหมายกำาหนดขึ้น เพ่ ือเก็บและ
รักษาข้อมูลต่าง ๆ เก่ียวกับรถ
ใบอนุญาตขับรถ มีอยู่ 9 ประเภท คือ
(1) ใบอนุญาตขับรถยนต์ส่วนบุคคล รถยนต์สามล้อส่วนบุคคล หรือรถ
จักรยานยนต์ชัว่คราว
(2) ใบอนุญาตขับรถยนต์ส่วนบุคคล
(3) ใบอนุญาตขับรถยนต์สามล้อส่วนบุคคล
(4) ใบอนุญาตขับรถยนต์สาธารณะ
(5) ใบอนุญาตขับรถยนต์สามล้อสาธารณะ
(6) ใบอนุญาตขับรถจักรยานยนต์
(7) ใบอนุญาตขับรถบดถนน
ใบอนุญาตขับรถแทรกเตอร์
(9) ใบอนุญาตขับรถชนิดอ่ ืนนอกจาก (1) ถึง
กฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบก
รถ หมายถึง ยานพาหนะทางบกทุกชนิด เว้นแต่รถไฟและรถราง
รถยนต์ หมายถึง รถท่ีมีล้อตัง้แต่สามล้อและเดินด้วยกำาลังเคร่ ืองยนต์ กำาลัง
ไฟฟ้ า หรือพลังงานอ่ ืน ยกเว้นรถท่ีเดินบนราง
รถบรรทุกคนโดยสาร หมายถึง รถยนต์ท่ีสร้างขึ้นเพ่ ือใช้บรรทุกคนโดยสาร
เกินเจ็ดคน
การจราจร หมายถึง การใช้ทางของผู้ขับข่ี คนเดินเท้า หรือคนท่ีจูง ข่ี หรือไล่
ต้อนสัตว์
ทาง หมายถึง ทางเดินรถ ช่องเดินรถ ช่องเดินรถประจำาทาง ไหล่ทางข้าม
ทางร่วม ทางแยก ทางลาด ทางโค้ง สะพาน และลานท่ีประชาชนใช้ในการ
จราจร และหมายความรวมถึงทางส่วนบุคคลท่ีเจ้าของยินยอมให้ประชาชนใช้
ในการจราจร
ทางเดินรถ หมายถึง พ้ืนท่ีท่ีทำาไว้สำาหรับการเดินรถไม่วา่ ในระดับพ้ืนดิน ใต้
หรือเหนือพ้ืนดิน (ทางด่วนพิเศษ)
ช่องเดินรถ หมายถึง ทางเดินท่ีจด ั แบ่งเป็ นช่องสำาหรับเดินรถ โดยทำา
เคร่ ืองหมายเป็ นเส้นหรือแนวเป็ นช่องไว้
กฎหมายว่าด้วยเรือไทย
กฎหมายว่าด้วยเรือไทย เดิมเรียกว่า พระราชบัญญัติว่าด้วยการจดทะเบียน
และออกใบอนุญาตสำาหรับเรือจับสัตว์น้ำาสยาม
น่านน้ำาไทย หมายถึง บรรดาน่านน้ำาท่ีอยู่ภายใต้อธิปไตยของประเทศ
เมืองท่า หมายถึง ทำาเลหรือถ่ินท่ีทอดจอดเรือเพ่ ือขนถ่ายคนโดยสารหรือ
ของ
เรือ หมายถึง ยานพาหนะทางน้ำาทุกชนิด
การค้าในน่านน้ำาสยาม หมายถึง การขนส่งคนโดยสารหรือของหรือลากจูง
เพ่ ือหากำาไรจากเมืองท่าหรือถ่ินท่ีแห่งหน่ ึงภายในน่านน้ำาสยามไปยังเมือง
หรือถ่ินท่ีอีกแห่งหน่ ึง หรือหลายแห่งในน่านน้ำาสยาม
เจ้าท่า หมายถึง อธิบดีกรมเจ้าท่าหรือผูท ้ ำาการแทนอธิบดีกรมเจ้าท่า และรวม
ถึงผู้ท่ีรัฐมนตรีแต่งตัง้ให้เป็ นเจ้าท่าหรือรักษาการแทนเจ้าท่า
นายทะเบียนเรือ หมายถึง ผู้ท่ีรัฐมนตรีแต่งตัง้ให้เป็ นนายทะเบียนเรือ หรือ
ให้รก ั ษาการแทนนายทะเบียนเรือ
เร่ ือท่ีได้จดทะเบียนแล้ว ในระหว่างท่ีคงใช้เรือต้องมีเอกสารดังต่อไปนีป ้ ระจำา
เรือ
1. ใบทะเบียนเรือหรือใบทะเบียนชัว่คราว
2. สัญญาณประจำาเรือ
3. สัญญาเช่าเรือ (ถ้ามี)
4. ใบตราส่ง
5. บัญชีสินค้าสำาหรับเรือ
6. สมุดปูมเรือ
7. ใบปล่อยเรือและใบอนุญาตออกจากท่า (ถ้ามี)
กฎหมายว่าด้วยการเดินเรือในประเทศไทย
เรือกำาปั่ น หมายถึง เรือทุกอย่างท่ีเดินด้วยเคร่ ืองจักรหรือด้วยใบและไม่ได้ใช้
กรรเชียง แจว หรือพาย
เรือยนต์ หมายถึง เรือยนต์ทุกชนิดท่ีมีขนาดต่ำากว่าสามสิบตันท่ีใช้เดินด้วย
เคร่ ืองจักรท่ีไม่ใช่กำาลังเกิดจากไอน้ำา
เรือเดินทะเล หมายความตลอดถึงเรือทุกอย่างท่ีมีขนาดบรรทุกของได้กว่า
พันหาบ (หน่ ึงหาบหลวงเท่ากับหกสิบกิโลกรัม) และมีดาดฟ้ าทำาอย่างมัน ่ คง
กันรัว่ได้ตลอดลำาตัวตัง้แต่หัวเรือถึงท้ายเรือ
เรือเล็ก หมายถึง เรือทุกอย่างท่ีใช้ในการเดินด้วยกรรเชียง แจว หรือพาย
แพ หมายความรวมถึง โป๊ ะ อู่ลอย หรือส่ิงลอยน้ำาอ่ ืนท่ีมีลักษณะคล้ายคลึง
กันด้วย
แพคนอยู่ หมายถึง เรือนทุกอย่างท่ีจอดอยู่บนไม้ไผ่ไม้รวก หรือบนเรือทุ่น
และลอยอยู่ในน้ำาหรือลำาคลอง
พนักงานออกใบอนุญาต หมายความว่า อธิบดีกรมเจ้าท่าหรือผู้ซ่ึงอธิบดีกรม
เจ้าท่ามอบหมายให้ทำาการออกใบอนุญาต
กฎหมายว่าด้วยการเดินอากาศ
อากาศยานต่างประเทศ หมายความว่า อากาศยานซ่ ึงจดทะเบียนและมี
สัญชาติตามกฎหมายต่างประเทศ
สนามบิน หมายความว่า พ้ืนท่ีทก ่ี ำาหนดไว้บนพ้ืนดินหรือน้ำา สำาหรับใช้
ทัง้หมด หรือบางส่วน เพ่ ือการขึ้นลงหรือเคล่ ือนไหวของอากาศยาน รวม
ตลอดถึงอาคาร ส่ิงติดตัง้ หรือบริษัทซ่ ึงตัง้อยู่ภายในสนามบินนัน ้
สนามบินอนุญาต หมายความว่า สนามบินท่ีบุคคลได้รบ ั อนุญาตให้จัดขึ้น
ตามพระราชบัญญัตินี แ ้ ละสนามบินท่ีรัฐมนตรีประกาศกำาหนด
ท่ีขึ้นลงของอากาศยาน หมายความว่า พ้ืนท่ีจัดไว้บนพ้ืนดินหรือน้ำาสำาหรับ
ใช้ทัง้หมดหรือบางส่วน เพ่ ือการขึ้นลงหรือเคล่ ือนไหวของอากาศยาน
เป็ นการชัว่คราว รวมตลอดถึงพ้ืนดินท่ีบุคคลซ่ ึงไม่มีสิทธิ ในท่ีดินนัน้ ได้หัก
ร้าง ตัด ฟั นต้นไม้ หรือทำาด้วยประการใด ๆ ให้เป็ นท่ีเรียบซ่ ึงอากาศยานขึ้น
ลงได้ และเป็ นพ้ืนท่ีกว้างตัง้แต่ 30 เมตรขึ้นไป และยาวตัง้แต่ 300 เมตรขึ้นไป
ด้วย
ผู้ประจำาหน้าท่ี หมายความว่า นักบินต้นหน นายช่าง พนักงานวิทยุ
พนักงานควบคุมการจราจรทางอากาศ พนักงานอำานวยการบินและผู้ท่ีทำา
หน้าท่ีอ่ืนตามท่กี ำาหนดในกฎกระทรวง
การนำาอากาศยานทำาการบิน ต้องมีส่ิงเหล่านีอ
้ ยู่กบ
ั อากาศยานด้วย คือ
- ใบสำาคัญการจดทะเบียน
- เคร่ ืองหมายสัญชาติและทะเบียน
- ใบสำาคัญสมควรเดินอากาศ
- สมุดปูมเดินทาง
- ใบอนุญาตผู้ประจำาหน้าท่ีแต่ละคน
- ใบอนุญาตเคร่ ืองวิทยุส่ือสาร ถ้ามีเคร่ ืองวิทยุส่ือสาร
กฎหมายว่าด้วยความผิดอันได้กระทำาต่อการเดินอากาศ
อากาศยานในระหว่างการบิน หมายถึง อากาศยานท่ีประตูดา้ นนอกทุกบาน
ของอากาศยานปิ ดภายหลังท่ีผู้โดยสารและหรือเจ้าหน้าท่ีประจำาอากาศยาน
ขึ้นจนถึงขณะท่ีประตูด้านนอกบานใดบานหน่ ึงของอากาศยานนัน ้ เปิ ดออก
เพ่ ือให้ผู้โดยสารและหรือเจ้าหน้าท่ีประจำาอากาศยานลงตามปกติ
อากาศยานในระหว่างบริการ หมายถึง อากาศยานซ่ ึงอยู่ในระหว่างเวลาท่ีผู้
ประจำาหน้าท่ีภาคพ้ืนหรือเจ้าหน้าท่ีประจำาอากาศยานเร่ิมเตรียมก่อนการบิน
สำาหรับเท่ียวบินใดโดยเฉพาะจนถึงเวลาครบย่ีสิบส่ีชัว่โมง หลังจาก
อากาศยานลงสู่พ้ืน และไม่ว่ากรณีใด ๆ
กฎหมายแรงงาน
กฎหมายแรงงาน หมายถึง กฎหมายทัง้หลายท่ีเก่ียวกับสัญญาจ้างแรงงาน
กฎหมายคุ้มครองแรงงาน การแรงงานสัมพันธ์ ในปั จจุบันนี ไ้ด้แก่
กฎหมายดังต่อไปนี ค ้ ือ
1. กฎหมายลักษณะจ้างแรงงานในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ
3
2. พระราชบัญญัติสงเคราะห์อาชีพแก่คนไทย พ.ศ. 2499
3. พระราชบัญญัติการทำางานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2521
4. พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2521
5. ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับท่ี 103 ลงวันท่ี 16 มีนาคม พ.ศ. 2515 และ
ประกาศกระทรวงมหาดไทยท่ีเก่ียวข้อง กฎหมายเหล่านีเ้รียกว่า “กฎหมาย
คุ้มครองแรงงาน”
การกำาหนดเวลาทำางานปกติ
งานพาณิชยกรรม - ลูกจ้างทำางานเกินกว่าสัปดาห์ละ 54 ชัว่โมงไม่ได้
งานอุตสาหกรรม - ลูกจ้างทำางานเกินกว่าสัปดาห์ละ 48 ชัว่โมงไม่ได้
งานขนส่ง - ลูกจ้างทำางานเกินกว่าวันละ 8 ชัว่โมงไม่ได้
งานท่ีเป็ นอันตรายต่อสุขภาพหรือร่างกายของลูกจ้าง เช่น ทำาใต้ดิน ใต้น้ำา -
ลูกจ้างทำางานเกินกว่าสัปดาห์ละ 42 ชัว่โมงไม่ได้
งานอ่ ืน ๆ นอกจากท่ีกล่าวมานี้ - ลูกจ้างทำางานเกินกว่าสัปดาห์ละ 54 ชัว่โมง
ไม่ได้
แต่ทัง้นีห
้ มายความว่าสัปดาห์หน่ ึงให้ทำางาน 6 วัน
6. พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
7. พระราชบัญญัติจัดตัง้ศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522
กฎหมายเก่ียวกับการค้าประเวณี
การค้าประเวณี หมายถึง การยอมรับการกระทำาชำาเรา หรือการยอมรับการก
ระทำาอ่ ืนใด หรือการกระทำาอ่ ืนใดเพ่ ือสำาเร็จความใคร่ในทางกามารมณ์ของผู้
อ่ ืนอันเป็ นการสำาส่อนเพ่ ือสินจ้าง ทัง้นีไ้ม่ว่าผูย
้ อมรับการกระทำาและผู้
กระทำาจะเป็ นบุคคลเพศเดียวกันหรือคนละเพศ
สถานการค้าประเวณี หมายถึง สถานท่ีใด ๆ ท่ีจัดไว้เพ่ ือให้บุคคลอ่ ืนทำาการ
ค้าประเวณี โดยจัดให้มีผู้ทำาการค้าประเวณีไว้เพ่ ือการนัน ้ ด้วย
กฎหมายเก่ียวกับเด็กและเยาวชน
พระราชบัญญัติจัดตัง้ศาลคดีเด็กและเยาวชน พ.ศ. 2494 อธิบายว่า
เด็ก คือ บุคคลอายุเกินกว่า 7 ปี แต่ไม่เกิน 14 ปี บริบูรณ์
เยาวชน คือ ผู้มีอายุเกินกว่า 14 ปี บริบรู ณ์ แต่ไม่ถึง 18 ปี บริบรู ณ์
ปั จจุบันมีศาลคดีเด็กและเยาวชนตัง้อยู่ในท้องท่ีต่าง ๆ กัน ดังนี ค
้ ือ
1. ศาลคดีเด็กและเยาวชนกลาง ตัง้อยู่ในกรุงเทพมหานคร
2. ศาลคดีเด็กและเยาวชนจังหวัดเชียงใหม่
3. ศาลคดีเด็กและเยาวชนจังหวัดสงขลา
4. ศาลคดีเด็กและเยาวชนจังหวัดนครราชสีมา
5. ศาลคดีเด็กและเยาวชนจังหวัดอุบลราชธานี
การจัดตัง้ศาลคดีเด็กและเยาวชน มีวัตถุประสงค์ต้องการคุ้มครองเด็กและ
เยาวชนเม่ ือเกิดคดีแพ่งหรือคดีอาญาขึ้น แทนท่ีจะต้องไปพิจารณาในศาลทัว่
ๆ ไปซ่ ึงมีระเบียบวิธีพิจารณาความท่ีเข้มงวด และอาจเกิดผลเสียแก่เด็กและ
เยาวชนได้ ในศาลคดีเด็กจะมีบุคคลภายนอกซ่ ึงมิใช่ผู้พิพากษาอาชีพมาทำา
หน้าท่ีเป็ นผู้พิพากษาสมทบร่วมกับผู้พิพากษาอาชีพในการพิจารณา
พิพากษาคดีเก่ียวกับเด็กและเยาวชน
ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและประสานงานเยาวชนแห่งชาติ พ.ศ. 2521 “เยา
วชน” หมายถึง บุคคลซ่ ึงอายุไม่เกิน 25 ปี แสดงว่า ขยายเกณฑ์อายุของผู้ท่ี
จะได้รับความคุ้มครอง หรืออยู่ในข่ายการส่งเสริมตามกฎหมายนีใ้ห้กว้าง
ขวางขึ้นกว่ากฎหมายอ่ ืน ๆ ซ่ ึงเก่ียวกับเยาวชน
กฎหมายเก่ียวกับการรับเด็กเป็ นบุตรบุญธรรม
บุตรบุญธรรม หมายถึง ผู้ซ่ึงมิใช่บุตรอันแท้จริง หรือผู้สืบสายโลหิตของบิดา
มารดา แต่ได้ดำาเนินการตามกฎหมายจนกระทัง่ผู้นัน ้ เป็ นบุตรท่ีชอบด้วย
กฎหมาย
ผู้รับบุตรบุญธรรมจะต้องมีอายุไม่ต่ำากว่า 30 ปี บริบรู ณ์ และจะต้องมีอายุ
มากกว่าผูท
้ ่ีจะเป็ นบุตรบุญธรรมอย่างน้อย 15 ปี
สำาหรับผู้ท่ีจะรับบุตรบุญธรรมหรือผู้ท่ีเป็ นบุตรบุญธรรม ถ้ามีคู่สมรสต้องได้
รับความยินยอมของคู่สมรสก่อน
การทดลองเลีย ้ งดูต้องมีระยะเวลาไม่น้อยกว่า 6 เดือน ในระหว่างนีพ ้ นักงาน
เจ้าหน้าท่ีอาจตรวจสอบข้อเท็จจริงเก่ียวกับสภาพความเป็ นอยู่ และการเลีย
้ ง
ดูเด็กได้
กฎหมายเก่ียวกับการปกครองคณะสงฆ์
มหาเถรสมาคมมีอำานาจหน้าท่ีปกครองคณะสงฆ์ให้เป็ นไปโดยเรียบร้อย
รวมทัง้มีอำานาจตรากฎมหาเถรสมาคม ซ่ ึงมีผลบังคับเป็ นกฎหมายอีกด้วย
นอกจากมหาเถรสมาคมเป็ นศูนย์กลางการปกครองคณะสงฆ์ ออกกฎหรือ
ระเบียบต่าง ๆ เป็ นส่วนรวมแล้ว ยังมีการแบ่งสายบังคับบัญชา หรือสายงาน
กากรปกครองอีกดังนี ค ้ ือ
ในแต่ละวัดจะมีเจ้าอาวาสเป็ นผู้ปกครองดูแลกิจการของวัด
ในแต่ละตำาบลจะมีพระภิกษุรป ู หน่ ึงเป็ นเจ้าคณะตำาบล
ในแต่ละอำาเภอจะมีเจ้าคณะอำาเภอปกครองดูแล
ในแต่ละจังหวัดจะมีเจ้าคณะจังหวัด
ท้องท่ีหลาย ๆ จังหวัดจะรวมกันเป็ นภาค มีเจ้าคณะภาคปกครองดูแล
สายงานการปกครอง แยกเป็ นสองสาย คือ
- ฝ่ ายมหานิกาย
- ฝ่ ายธรรมยุต
กฎหมายเก่ียวกับศาสนาอิสลาม
จุฬาราชมนตรี ให้คำาปรึกษาแก่กรรมการศาสนาในกระทรวงศึกษาธิการ
เก่ียวกับการศาสนูปถัมภ์ฝ่ายอิสลาม โดยให้จุฬาราชมนตรีมีเงินอุดหนุน
ฐานะได้ตามสมควร
คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย - ให้คำาปรึกษาแก่กระทรวง
มหาดไทยและกระทรวงศึกษาธิการท่ีเก่ียวกับศาสนาอิสลามจังหวัดใดท่ีมี
ประชาชนนับถือศาสนาอิสลาม
“มัสยิด” หมายถึง สถานท่ีซ่ึงอิสลามมิกชนมีสิทธิใช้เป็ นท่ีประกอบพิธีกรรม
ตามลัทธิศาสนาอิสลามในวันศุกร์เป็ นปกติ
มัสยิดใดซ่ ึงได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าท่ีแล้วเป็ นนิติบุคคล
การขอจดทะเบียนมัสยิดต้องใช้อีหม่าม คอเต็บ บิหลัน ่ เป็ นผู้ขอโดยความ
เห็นชอบของคณะกรรมการอิสลามประจำาจังหวัด คณะกรรมการชุดนีจ้ะแต่ง
ตัง้และถอดถอนคณะกรรมการมัสยิดซ่ ึงทำาหน้าท่ีจัดการทัว่ไปในกิจการและ
ทรัพย์สินของมัสยิด
กฎหมายท่ีสำาคัญอีกเร่ ืองหน่ ึงเก่ียวกับศาสนาอิสลาม คือ พระราชบัญญัติว่า
ด้วยการใช้กฎหมายอิสลามในเขตจังหวัดปั ตตานี นราธิวาส ยะลา และสตูล
พ.ศ. 2481 หลักการสำาคัญของกฎหมายฉบับนี ค ้ ื อในการวินิจฉัยชีข้าดคดี
แพ่งเก่ียวด้วยเร่ ืองครอบครัวและมรดกอิสลาม ศาสนิกในจังหวัดปั ตตานี
นราธิวาส ยะลา และสตูล ให้ใช้กฎหมายอิสลามว่าด้วยครอบครัวและมรดก
บังคับแทนบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยการนัน ้
เว้นแต่บทบัญญัติว่าด้วยอายุความมรดก
การพิจารณาคดีเช่นว่านีใ้นศาลชัน ้ ต้น ให้ดะโต๊ะยุติธรรมนายหน่ ึงพร้อมด้วย
ผู้พิพากษา ดะโต๊ะยุติธรรมมีอำานาจหน้าท่ีในการวินิจฉัยชีข้าดข้อกฎหมาย
อิสลาม และลายมือช่ ือในคำาพิพากษา คำาวินิจฉัยของดะโต๊ะยุติธรรมเป็ นอัน
เด็ดขาดในคดีนัน ้
กฎหมายเก่ียวกับศาสนาคริสต์
กฎหมายเก่ียวกับคริสต์ศาสนาท่ีมีอยู่เป็ นเร่ ืองของการจัดตัง้วัดและการใช้
ท่ีดินมากกว่าจะเป็ นเร่ ืองของการบริหารศาสนา
กฎหมายอ่ ืน ๆ ท่ีเก่ียวข้องกับศาสนา
ในการปฏิบัติพิธีกรรมตามความเช่ ือถือ เช่น การเซ่นไหว้ การบวงสรวงบูชา
เป็ นเร่ ืองท่ีรัฐอาจเข้าแทรกแซงได้ ถ้าเห็นว่าการปฏิบัติพิธีกรรมนัน
้ ถึงขัน

เป็ นปฏิปักษ์ต่อหน้าท่ีพลเมือง หรือขัดขวางต่อความสงบเรียบร้อย หรือศีล
ธรรมอันดีของประชาน
ส่ ือมวลชนกับการใช้กฎหมาย
ส่ ือมวลชน หมายถึง กระบวนการส่ ือสารท่ีเก่ียวข้องกับประชาชนเป็ น
จำานวนมาก โดยมีองค์กรหรือสถาบันเป็ นผู้ส่งสาร มีระบบส่ ือสาร มีอุปกรณ์
เคร่ ืองมือท่ีมากพอจะส่งสารไปยังผู้รับสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
หนังสือพิมพ์เป็ นส่ ือมวลชนแรก โดยมีขึ้นในปี 2387
มีการนำาภาพยนตร์ต่างประเทศเข้ามาฉาย โดยมีขึ้นในปี 2447
ภาพยนตร์ไทยท่ีทำาขึ้นเองเป็ นเร่ ืองแรก “นางสาวสุวรรณ” โดยมีขึ้นในปี
2465
มีการส่งโทรทัศน์ขาวดำาเป็ นครัง้แรก โดยมีขึ้นในปี 2496
มีการส่งโทรทัศน์สีเป็ นครัง้แรก โดยมีขึ้นในปี 2510
กฎหมายการพิมพ์
กฎหมายการพิมพ์ท่ีสำาคัญและใช้อยู่ในปั จจุบัน คือ พระราชบัญญัติการพิมพ์
พุทธศักราช 2484 และคำาสัง่ของคณะปฏิรป ู การปกครองแผ่นดิน ฉบับท่ี 42
ลงวันท่ี 21 ตุลาคม 2519 (ปร.42)
กฎหมายดังกล่าวใช้บังคับแก่ส่ิงพิมพ์ และหนังสือพิมพ์
ส่ิงพิมพ์ หมายความว่า สมุดแผ่นกระดาษ หรือวัตถุใด ๆ ท่ีพิมพ์ขึ้นรวม
ตลอดทัง้ บทเพลง แผนท่ี แผนผัง ภาพวาด ภาพระบายสี ใบประกาศ แผ่น
เสียง หรือส่ิงอ่ ืนใดอันมีลักษณะเช่นเดียวกัน
หนังสือพิมพ์ หมายถึง ส่ิงพิมพ์ซ่ึงมีช่ือจ่าหน้าเช่นเดียวกัน และออกหรือ
เจตนาจะออกตามลำาดับเร่ ือยไป มีกำาหนดระยะเวลาหรือไม่ก็ตาม มีข้อความ
ต่อเน่ ืองกันหรือไม่ก็ตาม
ผู้พิมพ์ผู้โฆษณาหรือเจ้าของหนังสือพิมพ์จะเป็ นนิติบุคคลก็ได้ แต่
บรรณาธิการต้องเป็ นบุคคลธรรมดาเสมอ
เจ้าพนักงานการพิมพ์ ทำาหน้าท่ีพิจารณาคำาขออนุญาตเป็ นผู้พิมพ์ ผู้โฆษณา
บรรณาธิการ หรือเจ้าของหนังสือพิมพ์ ตลอดจนคำาขออนุญาตออก
หนังสือพิมพ์ขึ้นในราชอาณาจักร ต้องแสดงช่ ือและท่ีตัง้สำานักงานของผู้
พิมพ์ ผู้โฆษณา บรรณาธิการ เจ้าของ ช่ ือและท่ีตัง้สำานักงานของ
หนังสือพิมพ์ ช่ ือและท่ีตัง้โรงพิมพ์ท่ีพิมพ์หนังสือไว้ในหน้าแรกหรือหน้าหลัง
ในกรณีมีการฝ่ าฝื นกฎหมายเก่ียวด้วยข้อความในหนังสือพิมพ์ ผู้ประพันธ์
และบรรณาธิการต้องรับผิดเป็ นตัวการ และถ้าไม่ได้ตัวผู้ประพันธ์ ผู้พิมพ์ก็
ต้องรับผิดเป็ นตัวการร่วมกับบรรณาธิการ
บรรณาธิการต้องรับผิดในทุกกรณี เพราะเป็ นผู้รับผิดชอบในการตรวจหรือ
ควบคุมบทประพันธ์
กฎหมายวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์
วิทยุกระจายเสียง หมายถึง การส่งหรือการรับเสียงด้วยคล่ ืนแฮรตเซียน
วิทยุโทรทัศน์ หมายถึง การส่งหรือการรับภาพน่ิง หรือภาพเคล่ ือนไหวใน
ลักษณะไม่ถาวรด้วยคล่ ืนแฮรตเซียน
คล่ ืนแฮรตเซียน หมายถึง คล่ ืนแม่เหล็กไฟฟ้ าท่ีมีความถ่ีระหว่าง 10
กิโลไซเกิลต่อวินาที และ 3,000,000 เมกกาไซเกิลต่อวินาที
คณะกรรมการบริหารวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ (กบว.) มีอำานาจ
หน้าท่ีดังต่อไปนี้
(1) กำาหนดเง่ ือนไขและวิธีการในการจัดตัง้หรือย้ายสถานี
(2) พิจารณาและอนุญาตให้จด
ั ตัง้หรือย้ายสถานี
(3) กำาหนดหลักเกณฑ์ในการดำาเนินการโฆษณาและบริการธุรกิจ
(4) กำาหนดหลักเกณฑ์ในการดำาเนินงานด้านรายการ
(5) กำาหนดหลักเกณฑ์เก่ียวกับลักษณะพึงประสงค์ทางเทคนิค
(6) กำาหนดเง่ ือนไข ข้อบังคับหรือระเบียบเก่ียวกับกิจการท่ีต้องปฏิบัติตามท่ี
กำาหนด
(7) กำาหนดเวลาให้สถานีทำาการถ่ายทอดหรือออกอากาศรายการท่ีกำาหนด
ให้คำาแนะนำา ควบคุม ดูแล และตรวจสอบความเรียบร้อยเพ่ ือให้สถานี
ปฏิบัติตามระเบียบ
ในกรณีมีการฝ่ าฝื นระเบียบของ กบว. อาจมีการลงโทษดังต่อไปนีไ้ด้ คือ
(1) ตักเตือนเป็ นลายลักษณ์อักษร
(2) ระงับการออกอากาศรายการท่ีฝ่าฝื น
(3) เพิกถอนใบอนุญาตหรือใบรับรองท่ีได้ออกให้ตามระเบียบนี้
(4) ปิ ดสถานี
กฎหมายภาพยนตร์
“ภาพยนตร์” หมายถึง ฟิ ล์ม ไม่วา่ จะเป็ นชนิดเนกาติฟ หรือ โพซิติฟ ซ่ ึงได้
ถูกถ่าย อัด หรือกระทำาการด้วยวิธีใด ๆ ให้ปรากฏรูปหรือเสียง หรือทัง้รูป
และเสียงเป็ นเร่ ือง หรือเหตุการณ์ หรือข้อความอันจักถ่ายทอดรูปหรือเสียง
หรือทัง้รูปและเสียงได้ด้วยเคร่ ืองฉายภาพยนตร์ หรือเคร่ ืองอย่างอ่ ืนทำานอง
เดียวกัน และให้หมายความตลอดถึงฟิ ล์มซ่ ึงได้ถูกถ่าย อัด หรือทำาด้วยวิธี
การใด ๆ ให้ปรากฏสี เพ่ ืออัดลงในฟิ ล์มชนิดท่ีกล่าวข้างต้นด้วย
อธิบดีกรมตำารวจเป็ นผู้มีอำานาจตัง้นายตรวจ เจ้าพนักงานผู้พิจารณา และ
สภาพิจารณาภาพยนตร์
การฉายภาพยนตร์ต้องมีใบอนุญาต ผู้อนุญาตคือ เจ้าพนักงานผู้พิจารณา
ภาพยนตร์ การฉายภาพยนตร์ในกรณีต่อไปนีไ้ม่ต้องมีใบอนุญาต
1. กรมใดในรัฐบาลฉายภาพยนตร์เพ่ ือการศึกษา หรือสาธารณประโยชน์
อย่างอ่ ืน หรือกรมใดในรัฐบาลส่งภาพยนตร์ซ่ึงทำาในราชอาณาจักรออกนอก
ราชอาณาจักร
2. ฉายให้ญาติมิตรดูเป็ นการส่วนตัว หรือภายในสมาคมหรือสโมสร ซ่ ึง
ภาพยนตร์อันได้ทำาขึ้นมิได้หวังผลในการค้าหรือนำาหรือส่งภาพยนตร์เช่นว่า
นีซ
้ ่ ึงทำาขึ้นในราชอาณาจักรออกนอกราชอาณาจักร
กฎหมายว่าด้วยการเลือกตัง้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
กฎหมายว่าด้วยการเลือกตัง้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในปั จจุบัน คือ พระ
ราชบัญญัติการเลือกตัง้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2522 และฉบับแก้ไข
เพ่ิมเติม พ.ศ. 2523
การเลือกตัง้มี 2 ประเภท คือ
1. การเลือกตัง้ทัว่ไป ซ่ ึงหมายถึง การเลือกตัง้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทัง้
สภา และ
2. การเลือกตัง้ซ่อม ซ่ ึงหมายถึง การเลือกตัง้แทนตำาแหน่งสมาชิกสภาผู้แทน
ราษฎรท่ีว่างลงบางตำาแหน่ง
เม่ ือจะมีการเลือกตัง้แต่ละครัง้ไม่ว่าประเภทใด จะต้องมีพระราชกฤษฎีกาให้
มีการเลือกตัง้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
กฎหมายพรรคการเมือง
กฎหมายพรรคการเมืองท่ีใช้บังคับอยู่ในปั จจุบัน คือ พระราชบัญญัติ
พรรคการเมือง พ.ศ. 2524 ซ่ ึงถือว่าเป็ นกฎหมายท่ีออกโดยขยายความ
บทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ มาตรา 38
พรรคการเมือง หมายถึง คณะบุคคลซ่ ึงรวมกันโดยมีอุดมการณ์ทางการเมือง
ร่วมกัน และต้องการจะทำากิจกรรมทางการเมืองร่วมกัน เช่น เผยแพร่
อุดมการณ์ของตน จัดตัง้รัฐบาล ส่งสมาชิกเข้าสมัครรับการเลือกตัง้เป็ น
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เป็ นต้น พรรคการเมืองท่ีจดทะเบียนแล้วมีฐานะ
เป็ นนิติบุคคล
หลักการสำาคัญของพรรคการเมือง คือ การรวมพลังกันอย่างเหนียวแน่น
เพ่ ืออุดมการณ์ทางการเมืองร่วมกัน แม้พรรคการเมืองจะมีเพ่ ือส่งเสริมผล
ประโยชน์ของชาติ แต่พรรคการเมืองแต่ละพรรคอาจมีวิธีการเพ่ ือส่งเสริมผล
ประโยชน์ของชาติแตกต่างกัน เช่น บางพรรคอาจใช้วิธีเสรีนิยม บางพรรค
อาจใช้วิธีสังคมนิยม
ในประเทศท่ีพัฒนาแล้วในทางการเมือง พรรคการเมืองจะมีอิทธิพลมาก
และมีบทบาทสำาคัญในสังคม
พรรคการเมืองเกิดจากการท่ีบุคคลหลายคนมารวมกัน การท่ีอยู่รวมกันได้จำา
ต้องอาศัยหลักเกณฑ์ต่อไปนี้
(1) นโยบายร่วมกัน
(2) วิธีการร่วมกัน
(3) อุดมการณ์หรือเป้ าหมายทางการเมืองร่วมกัน
(4) การรักษาระเบียบวินัยของพรรค
หลักเกณฑ์เก่ียวกับวิธีจด ั ตัง้และดำาเนินงานของพรรคการเมือง
1. การริเร่ิมจัดตัง้พรรคการเมือง
ตามพระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. 2524 พรรคการเมืองจัดตัง้โดยการท่ีผู้
มีสัญชาติไทยโดยการเกิดซ่ ึงมีอายุไม่ต่ำากว่า 20 ปี บริบูรณ์ และไม่เป็ นภิกษุ
สามเณร นักพรต หรือ นักบวช จำานวนตัง้แต่ 15 คนขึ้นไป รวมกันเป็ นคณะ
ผู้เร่ิมจัดตัง้พรรคการเมือง ดำาเนินการออกหนังสือเชิญชวนผู้อ่ืนให้สมัคร
เป็ นสมาชิก เม่ ือมีจำานวนผู้สมัครรวมกับผู้เร่ิมจัดตัง้ไม่น้อยกว่า 5,000 คนแล้ว
ให้จดทะเบียนตัง้พรรคการเมืองต่อนายทะเบียนกระทรวงมหาดไทย
สมาชิก 5,000 คน ต้องประกอบด้วยสมาชิกท่ีมีอยู่ในแต่ละภาคไม่น้อยกว่า
ภาคละ 5 จังหวัด และแต่ละจังหวัดมีสมาชิกไม่น้อยกว่า 50 คน
2. การดำาเนินการออกหนังสือเชิญชวน
หนังสือเชิญชวนต้องมีรายการ ดังต่อไปนี้
(1) ช่ ือพรรคการเมือง
(2) ภาพเคร่ ืองหมายพรรคการเมือง
(3) แนวนโยบายพรรคการเมือง
(4) ช่ ือ อาชีพ และท่ีอยู่ของผู้เร่ิมจัดตัง้พรรคการเมือง
3. การประชุมจัดตัง้พรรคการเมือง
เม่ ือเชิญชวนจนมีผู้สมัครเป็ นสมาชิกครบ 5,000 คนแล้ว ก็ให้เรียกประชุม
สมาชิกเพ่ ือจัดตัง้พรรคการเมือง
กิจการอันจะพึงทำาในท่ีประชุม คือ
(1) กำาหนดนโยบายของพรรคการเมืองพร้อมด้วยเป้ าหมายและวิธีดำาเนินการ
(2) กำาหนดข้อบังคับของพรรคการเมือง
(3) เลือกตัง้กรรมการบริหารของพรรคการเมือง อันได้แก่ หัวหน้าพรรค รอง
หัวหน้าพรรค เลขาธิการพรรค และกรรมการบริหารอีกไม่น้อยกว่า 7 คน
4. การจดทะเบียนตัง้พรรค
เม่ ือประชุมเสร็จ ให้หวั หน้าพรรคย่ ืนคำาขอจดทะเบียนพรรคการเมืองภายใน
1 ปี นับแต่วันท่ีได้รบ
ั หนังสือรับรองจากนายทะเบียน การจดทะเบียน
พรรคการเมืองให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
5. กิจการพรรคการเมือง
พรรคการเมืองท่ีสมาชิก 100 คนขึ้นไปในจังหวัดจะจัดตัง้สาขาพรรคการเมือง
ขึ้นในจังหวัดนัน้ ก็ได้
หัวหน้าพรรคการเมือง และผูด ้ ำาเนินกิจการสาขาของพรรคการเมือง ต้องจัด
ทำาบัญชีแสดงรายรับ รายจ่าย บัญชีทรัพย์สินและหนีส ้ ิน ตลอดจนบัญชี
งบดุลต่าง ๆ
รายได้และทรัพย์สินของพรรคการเมืองไม่ต้องเสียภาษีตามประมวลรัษฎากร
ห้ามมิให้ผู้ใดเป็ นสมาชิกของพรรคการเมืองในขณะเดียวกันเกินกว่า 1
พรรคการเมือง
6. การเลิกพรรคการเมือง
พรรคการเมืองย่อมเลิกเม่ ือ
(1) เลิกตามข้อบังคับของพรรคการเมือง
(2) สมาชิกเหลือไม่ถึง 5,000 คน หรือลดน้อยลงกว่าเกณฑ์ท่ีกฎหมายกำาหนด
ติดต่อกัน 6 เดือน
(3) ไม่ส่งหรือส่งสมาชิกสมัครรับการเลือกตัง้เป็ นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรใน
การเลือกตัง้ทัว่ไปไม่ถึงก่ ึงหน่ ึงของจำานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรท่ีจะพึง
มี
(4) ศาลสัง่ยุบเลิกพรรคการเมือง
(5) ไม่ดำาเนินการตามกฎหมายว่าด้วยประชุมใหญ่
7. บทกำาหนดโทษ
กฎหมายพรรคการเมืองมีโทษทางอาญาหลายประการสำาหรับผู้ฝ่าฝื น อาทิ
เช่น การจัดตัง้สาขาฝ่ าฝื นกฎหมาย การไม่ทำาบัญชีรายรับรายจ่าย การจัดตัง้
พรรคการเมืองผิดขัน ้ ตอน การใช้ช่ือพรรคการเมืองโดยไม่มีอำานาจ เป็ นต้น
กฎหมายว่าด้วยการป้ องกันและปราบปราบการทุจริตและประพฤติมิชอบใน
วงราชการ
คณะกรรมการ ป.ป.ป. มีหน้าท่ี ดังนี้
1. เสนอมาตรการป้ องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวง
ราชการต่อคณะรัฐมนตรี
2. เสนอคณะรัฐมนตรีเพ่ ือพิจารณาสัง่ให้ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือ
รัฐวิสาหกิจใด ๆ จัดการให้เจ้าหน้าท่ีของรัฐท่ีอยู่ในสังกัดท่ีอยู่ในข่ายสงสัยว่า
จะทุจริตแสดงสินทรัพย์และหนีส ้ ินของตนตามรายการ วิธีการ และกำาหนด
เวลาท่ีเห็นสมควร
3. สืบสวนและสอบสวนเพ่ ือทราบข้อเท็จจริงเม่ ือมีผู้กล่าวหาร้องเรียนหรือมี
เหตุอันควรสงสัยว่าเจ้าหน้าของรัฐทุจริตหรือประพฤติมิชอบในวงราชการ
4. เสนอความเห็นต่อคณะรัฐมนตรีเพ่ ือให้มก ี ารปรับปรุงการปฏิบัติราชการ
หรือวางแผน โครงการของส่วนราชการต่าง ๆ เพ่ ือป้ องกันและปราบปราม
การทุจริต และประพฤติมิชอบในวงราชการ
5. รายงานผลการปฏิบัติราชการตามอำานาจหน้าท่ีพร้อมทัง้ข้อสังเกตต่อนายก
รัฐมนตรี ประธานวุฒิสภา และประธานสภาผู้แทนราษฎรภายในเดือน
ตุลาคมทุกปี แล้วพิมพ์เผยแพร่รายงานประจำานัน ้ ต่อไป
ในการปฏิบัติหน้าท่ีเหล่านี ค ้ ณ ะ กรรมการมีอำานาจ
หนังสือสอบถามรายละเอียดไปยังหน่วยราชการต่าง ๆ มีหนังสือเรียกบุคคล
มาให้ถ้อยคำาสอบสวนฐานะข้าราชการท่ีร่ำารวยผิดปกติ หรือสัง่ให้ผู้นัน ้ แสดง
ทรัพย์สินและหนีส้ ินของตน หากผู้นัน ้ ไม่สามารถแสดงได้ว่าร่ำารวยขึ้นใน
ทางท่ีชอบ ให้ถือว่าผู้นัน
้ ใช้อำานาจหน้าท่ีโดยมิชอบ ซ่ ึงอาจมีผลให้ถูกไล่ออก
และทรัพย์นัน้ ตกเป็ นของแผ่นดินได้
กฎหมายว่าด้วยยาเสพติด
พระราชบัญญัติยาเสพติดฉบับใหม่ แบ่งยาเสพติดออกเป็ น 5 ประเภท คือ
(1) ประเภท 1 ยาเสพติดให้โทษชนิดร้ายแรง เช่น เฮโรอีน (heroin)
(2) ประเภท 2 ยาเสพติดให้โทษทัว่ไป เช่น มอร์ฟีน (morphine) โคคาอีน
(cocaine) โคเดอีน (codeine) ฝ่ินยา (medicinal opium)
(3) ประเภท 3 ยาเสพติดให้โทษท่ีมียาเสพติดให้โทษประเภท 2 เป็ นส่วนผสม
อยู่ด้วย ตามท่ีได้ขึ้นทะเบียนตำารับยาไว้ตามมาตรา 43 เช่น ยาแก้ไขผสมโคเด
อีน (codeine cough syrup)
(4) ประเภท 4 สารเคมีท่ีใช้ในการผลิตยาเสพติดให้โทษประเภท 1 หรือ
ประเภท 2 เช่น อาเซติคแอนไฮโดรต์ (acetic anhydride) อาเซติลคลอไร้ (acetyl
ghloride)
(5) ประเภท 5 ยาเสพติดให้โทษท่ีมิได้เข้าอยู่ในประเภท 1 ถึงประเภท 4 เช่น
กัญชา พืชกระท่อม
การผลิต จำาหน่าย หรือมีไว้ในครอบครองซ่ ึงยาเสพติดบางประเภท เช่น
มอร์ฟีน ย่อมทำาได้หากได้รับอนุญาตจากกระทรวงสาธารณสุข

กฎหมายว่าด้วยอาวุธปื นและวัตถุระเบิด
คณะกรรมการป้ องกันและปราบปราบยาเสพติด (ป.ป.ส.) มีหน้าท่ีวางแผน
ประสานงาน และสอบสวนเก่ียวกับความผิดตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติด
กฎหมายนีม ้ ีช่ือเต็มว่า “พระราชบัญญัติอาวุธปื น เคร่ ืองกระสุน ปื น วัตถุ
ระเบิด ดอกไม้เพลิง และส่ิงเทียมอาวุธปื น”
อาวุธปื น หมายรวมตลอดถึง อาวุธทุกชนิดซ่ ึงใช้ส่งเคร่ ืองกระสุนปื นโดยวิธี
ระเบิดหรือกำาลังดันของแก๊ส หรืออัดลม หรือเคร่ ืองกลไกอย่างใดซ่ ึงต้อง
อาศัยอำานาจของพลังงานและส่วนหน่ ึงส่วนใดของอาวุธนัน ้ ๆ ซ่ ึงมีระบุไว้ใน
กฎหมาย
ส่ิงเทียมอาวุธปื น หมายถึง ส่ิงซ่ ึงมีรูปและลักษณะอันน่าจะทำาให้หลงเช่ ือว่า
เป็ นอาวุธปื น
การอนุญาตมีและใช้อาวุธปื นติดตัวต้องขอต่ออธิบดีกรมตำารวจสำาหรับในเขต
กรุงเทพมหานครและทัว่ราชอาณาจักร หรือผู้ว่าราชการจังหวัดภายในเขต
จังหวัดของตนและเฉพาะผู้มีถ่ินท่ีอยู่ในเขตจังหวัดนัน ้
กฎหมายว่าด้วยการป้ องกันการกระทำาอันเป็ นคอมมิวนิสต์
กฎหมายว่าด้วยการป้ องกันการกระทำาอันเป็ นคอมมิวนิสต์ในขณะนี ค ้ ือ
พระราชบัญญัติป้องกันการกระทำาอันเป็ นคอมมิวนิสต์ พ.ศ. 2495 และ ฉบับ
แก้ไขเพ่ิมเติม
“องค์การอันเป็ นคอมมิวนิสต์” หมายความถึง
(1) กลุ่มบุคคลหรือคณะบุคคลใด ๆ ซ่ ึงมีความมุ่งหมายท่ีจะกระทำาการอัน
เป็ นคอมมิวนิสต์ไม่ว่าโดยทางตรงหรือไม่
(2) พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.) หรือองค์การระดับต่าง ๆ ของ
พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยตัง้แต่ระดับสูงสุดจนถึงระดับต่ำาสุด
(3) องค์การท่ีใช้ช่ืออย่างอ่ ืนของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย
(4) กองกำาลังท่ีมีอาวุธของผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์
ผู้ใดกระทำาการอันเป็ นคอมมิวนิสต์ ยุยง แนะนำา เสีย ้ มสอน
โฆษณาชวนเช่ ือ มัว่สุม สมทบ ยินยอมตกลงกับผู้อ่ืน เป็ นสมาชิกของ
องค์การอันเป็ นคอมมิวนิสต์ ตลอดจนกระทำาการอ่ ืน ๆ อันเก่ียวกับองค์การ
อันเป็ นคอมมิวนิสต์ ผู้นัน ้ มีความผิด ต้องรับโทษตามกฎหมาย
กฎหมายว่าด้วยการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน
การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการบริหาร
ราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินนีจ้ะประกาศทัว่ราชอาณาจักรหรือเฉพาะท้อง
ท่ีก็ได้ ตามท่ีรัฐมนตรีวา่ การกระทรวงมหาดไทยเป็ นผู้เสนอในการประกาศ
ใช้นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็ นผู้ลงนามร่วม
กัน วิธีประกาศทำาเช่นเดียวกับการประกาศใช้กฎอัยการศึก คือ ต้องระบุวัน
เวลาประกาศ ท้องท่ีท่ีประกาศ และสาเหตุท่ีประกาศ
พระราชบัญญัติฉบับนี ใ ้ ห้อำานาจพิเศษแก
ไปนี้
1. นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมีอำานาจห้ามบุคคล
ใดออกนอกเคหะสถานภายในระยะเวลาซ่ ึงกำาหนด (curfew) เว้นแต่จะได้รับ
อนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าท่ี
2. ประกาศห้ามมิให้มก
ี ารชุมนุมหรือมัว่สุม ณ ท่ีใด เว้นแต่จะได้รับอนุญาต
3. ประกาศห้ามมิให้ผู้ใดทำาการโฆษณา หรือพิมพ์เอกสาร ซ่ ึงเห็นว่าจะ
กระทบกระเทือนต่อความมัน
่ คงหรือความปลอดภัยแห่งราชอาณาจักร หรือ
เป็ นการก่อกวนความสงบเรียบร้อยของประชาชน
4. ประกาศห้ามบุคคลออกนอกราชอาณาจักร ในเม่ ือมีเหตุอันควรเช่ ือได้วา่ จะ
กระทบกระเทือนต่อความมัน ่ คงหรือความปลอดภัยของประเทศ
5. ประกาศสัง่ให้ตรวจจดหมายหรือเอกสารของบุคคลท่ีมีพฤติการณ์สงสัยว่า
ได้คบคิดกับคนในต่างประเทศ เพ่ ือกระทำาการใด ๆ อันเป็ นการเสียหายแก่
ประเทศ
6. ประกาศห้ามบุคคลต่างด้าวเข้าไป หรืออยู่ในเขตท้องท่ีท่ีมีความสำาคัญทาง
ด้านการรักษาความมัน ่ คง ตลอดจนห้ามบุคคลต่างด้าวประกอบการใด ๆ
เพ่ ือประโยชน์แก่การรักษาความมัน่ คงหรือปลอดภัย หรือสวัสดิภาพของ
ประชาชน
7. ประกาศให้พนักงานเจ้าหน้าท่ีมีอำานาจเข้าไปในเคหะสถานหรือสถานท่ีใด
ระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก เพ่ ือตรวจค้น ตลอดจนมีอำานาจ
จับกุมบุคคลท่ีสงสัยว่าได้กระทำาการหรือพยายามกระทำาการใด ๆ อันเป็ นภัย
ต่อความมัน ่ คงและมีอำานาจจับกุมคุมขังบุคคลดังกล่าว เพ่ ือทำาการสอบสวน
ได้ไม่เกิน 7 วัน
ความมัน่ คงของชาติทางทหาร
ภาคกิจด้านการรักษาความมัน
่ คงของชาติไม่ว่าเพ่ ือความสงบเรียบร้อย
ภายใน หรือการรักษาความมัน่ คงภายนอกราชอาณาจักรโดยใช้กำาลังทหาร
ยังคงเป็ นของกระทรวงกลาโหมตลอดมา
การรักษาความมัน่ คงของชาติโดยใช้กำาลังทางทหาร มี 2 ขัน
้ ตอน คือ
1. การกำาหนดนโยบาย
2. การปฏิบัติการ
การกำาหนดนโยบายเป็ นเร่ ืองท่ีต้องคำานึงถึงผลกระทบทางการเมือง
เศรษฐกิจ และสังคมประกอบกัน
การปฏิบัติการเพ่ ือรักษาความมัน่ คงของชาติทางทหาร เป็ นอำานาจหน้าท่ี
โดยตรงของกระทรวงกลาโหม มีรัฐมนตรีวา่ การกระทรวงกลาโหมเป็ นผู้รบ ั
ผิดชอบบังคับบัญชา
กระทรวงกลาโหมมีฐานะเป็ นนิติบุคคล แต่มีการแบ่งส่วนราชการผิดไปจาก
การแบ่งส่วนราชการในกระทรวงอ่ ืน ๆ ดังนี้
1. สำานักงานเลขานุการรัฐมนตรี
2. สำานักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ซ่ ึงแบ่งส่วนราชการออกเป็ นกรมต่าง ๆ
หลายกรม อาทิเช่น กรมเสมียนตรา กรมพระธรรมนูญ กรมการเงิน
กลาโหม เป็ นต้น
3. กองบัญชาการทหารสูงสุด มีผู้บัญชาการทหารสูงสุดเป็ นผู้บังคับบัญชา
และแบ่งส่วนราชการออกเป็ น กองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ
สำานักผูบ
้ ัญชาการทหารสูงสุด กรมต่าง ๆ และหน่วยราชการซ่ ึงมีฐานะเทียบ
เท่ากรม เช่น วิทยาลัยป้ องกันราชอาณาจักร โรงเรียนเสนาธิการทหาร
เป็ นต้น กองทัพบก กองทัพเรือ และกองทัพอากาศ ซ่ ึงเป็ นหน่วยงานใน
กองบัญชาการตามลำาดับ แต่ละกองทัพแบ่งส่วนราชการออกเป็ น กรม หรือ
หน่วยงานท่ีมีฐานะเทียบเท่ากรม
เฉพาะแต่กระทรวงกลาโหม กองบัญชาการทหารสูงสุด กองทัพบก กองทัพ
เรือ และกองทัพอากาศเท่านัน ้ ท่ีมีฐานะเป็ นนิติบุคคล
กฎหมายเก่ียวกับการรับราชการทหาร
การรับราชการทหารมี 4 ประเภท คือ
1. การรับราชการทหารกองเกิน
2. การรับราชการทหารกองประจำาการ
3. การรับราชการทหารกองหนุน
4. การรับราชการทหารประจำาการ
1. ทหารกองเกิน คือ ชายไทยซ่ ึงมีอายุตัง้แต่ 18 ปี บริบูรณ์และยังไม่ถึง 30 ปี บ
ริบรู ณ์ ซ่ ึงได้ไปลงบัญชีทหารกองเกินท่ีเขตหรืออำาเภอท่ีตนมีภูมิลำาเนาอยู่
2. ทหารกองประจำาการ คือ ผูท ้ ่ีได้รับการตรวจเลือกเข้ารับราชการทหาร และ
เข้ารับราชการทหารในกรมกองใดตามท่ีทางราชการทหารกำาหนด
การเกณฑ์ทหาร หัวหน้าเขตหรือนายอำาเภอจะประกาศให้ทหารกองเกินท่ี
มีอายุย่างเข้า 21 ปี ในพ.ศ. นัน
้ ไปแสดงตนเพ่ ือรับหมายเรียก ณ เขตหรือ
อำาเภอท่ีมีภูมิลำาเนาทหาร
สำาหรับบุคคลซ่ ึงได้รบ
ั การยกเว้นไม่ต้องไปตรวจเลือกเข้ารับราชการทหาร
กองประจำาการ ได้แก่
1) พระภิกษุ สามเณร และนักบวชในพระพุทธศาสนาแห่งนิกายจีน หรือ
ญวน ซ่ ึงสอบได้เป็ นนักธรรมตามท่ีกระทรวงศึกษาธิการรับรอง
2) นักบวชในศาสนาอ่ ืนตามท่กี ำาหนดในกฎกระทรวง
3) บุคคลซ่ ึงอยู่ในระหว่างการฝึ กวิชาทหารตามหลักสูตรท่ีกระทรวงกลาโหม
กำาหนด
4) นักเรียนโรงเรียนเตรียมทหารของกระทรวงกลาโหม
5) ครูประจำาการสอนหนังสือในความควบคุมของกระทรวง ทบวง กรม หรือ
ราชการส่วนท้องถ่ินตามท่ก
ี ำาหนดในกฎกระทรวง
6) นักศึกษาของศูนย์กลางอบรมการศึกษาผู้ใหญ่ของกระทรวงศึกษาธิการ
7) นักศึกษาของศูนย์ฝึกการบินพลเรือนของกระทรวงคมนาคม
8) บุคคลซ่ ึงได้สัญชาติไทยโดยการแปลงสัญชาติ และ
9) บุคคลซ่ ึงได้รับโทษจำาคุกโดยพิพากษาถึงท่ีสุดให้จำาคุกครัง้เดียวตัง้แต่สิบปี
ขึ้นไป หรือเคยได้รบ ั โทษจำาคุกโดยคำาพิพากษาถึงท่ีสุดให้จำาคุกหลายครัง้รวม
กันตัง้แต่สิบปี ขึ้นไป หรือเคยถูกศาลพิพากษาให้กักกัน
ส่วนบุคคลต่อไปนี ไ้ด้รับการยกเว้นไม่ต้องรับราชการทหารกองประจำาการ
เลย คือ
1) พระภิกษุท่ีสมณศักดิห ์ รือท่ีเป็ นเปรียญ และนักบวชในพระพุทธศาสนา
แห่งนิกายจีนและญวน
2) คนทุพพลภาพซ่ ึงไม่สามารถรับราชการได้
3) บุคคลซ่ ึงไม่มีคุณวุฒิพอท่ีจะเป็ นทหารได้ เฉพาะบางท้องท่ีตามท่ีมีกฎ
กระทรวงกำาหนด เช่น กะเหร่ียง เงาะ เป็ นต้น
3. ทหารกองหนุน คือ ทหารท่ีปลดจากกองประจำาการโดยได้รับราชการมาจน
ครบกำาหนด หรือทหารกองเกินซ่ ึงสำาเร็จการฝึ กวิชาทหารตามกฎหมายว่า
ด้วยการฝึ กวิชาทหาร และได้ลงทะเบียนกองประจำาการแล้วปลดเป็ นทหาร
กองหนุน หรือผู้ท่ีลงทะเบียนกองเกินไว้แล้วแต่ยังไม่ได้รับราชการทหารเป็ น
ทหารกองประจำาการ เพราะได้รับการยกเว้นหรือได้รบ ั ผ่อนผัน หรือเพราะไม่
ได้ถูกตรวจเลือก
ทหารกองเกินหรือทหารกองประจำาการจะเป็ นทหารกองหนุนไปจนถึงอายุ
46 ปี บริบูรณ์ ในระหว่างนัน
้ ทหารกองหนุนมีหน้าท่ีต้องเข้ารับการระดมพล
ฝึ กวิชาทหาร หรือเข้ารับการทดสอบความพร้อมตามท่ีทางราชการทหาร
กำาหนด
4. ทหารประจำาการ คือ ทหารซ่ ึงเข้ารับราชการตามท่ีกระทรวงกลาโหม
กำาหนด ซ่ ึงไม่ใช่ทหารกองประจำาการ กล่าวอีกนัยหน่ ึงก็คือทหารอาชีพ
นัน่ เอง
กฎหมายเก่ียวกับทหาร
บุคคลทัง้หลายเม่ ือเป็ นทหารแล้ว ย่อมอยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายทหาร
อันได้แก่ พระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร ประมวลกฎหมายอาญาทหาร
และ พระราชบัญญัติว่าด้วยวินัยทหาร ตลอดจนระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ
กฎหมายเหล่านีม ้ ุ่งจะสร้างระเบียบวินัยและความมัน
่ คงในกองทัพเป็ นสำาคัญ
1. พระราชบัญญัติว่าด้วยวินัยทหาร
วินัยทหาร คือ การท่ีทหารต้องประพฤติตามแบบธรรมเนียมของทหาร ซ่ ึง
ทหารต้องรักษาโดยเคร่งครัดอยู่เสมอ ผู้ใดฝ่ าฝื นถือว่าผู้นัน
้ กระทำาผิด
ผู้กระทำาผิดวินัยทหาร จะต้องรับทัณฑ์ ดังนี้
ภาคทัณฑ์ - ผู้กระทำาผิดต้องรับทัณฑ์ แต่มีเหตุควรปรานี จึงให้แสดงความ
ผิด (สารภาพผิด) เท่านัน
้ หรือให้ทำาทัณฑ์บนไว้
ทัณฑกรรม - ให้กระทำาการสุขาโยธาจัดให้อยู่เวรยาม หรืออ่ ืน ๆ เพ่ิมขึ้นจาก
หน้าท่ีประจำา
กัก - ให้กักตัวไว้ในบริเวณใดบริเวณหน่ ึงท่ีกำาหนด
ขัง - ให้ขังไว้ในท่ีควบคุมแต่เฉพาะคนเดียว หรือรวมกันหลายคนแล้วแต่จะ
ได้มคี ำาสัง่
จำาขัง - ให้ขังโดยส่งไปฝากให้อยู่ในความควบคุมของเรือนจำาทหาร
2. ประมวลกฎหมายอาญาทหาร
ประมวลกฎหมายอาญาทหารเป็ นกฎหมายพิเศษ มิได้ใช้บังคับแก่ทหารใน
กองทัพเท่านัน
้ แต่พลเรือนบางประเภทก็อาจต้องรับโทษตามกฎหมายนี้
ด้วย
ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาทหารท่ีสำาคัญ อาทิเช่น
- ความผิดฐานเชลยศึกเสียสัตย์
- ความผิดฐานเป็ นราชศัตรูมาลักลอบสอดแนม
- ความผิดฐานช่วยเหลือผู้ลักลอบสอดแนม
- ความผิดฐานเป็ นทหารบังอาจเกลีย
้ กล่อมคนให้เข้าเป็ นพวกราชศัตรู
- ความผิดฐานยอมแพ้แก่ราชศัตรู
- ความผิดฐานทำาลายทรัพย์ท่ีใช้ในการยุทธ
- ความผิดฐานสบประมาทธง
- ความผิดฐานเป็ นทหารละทิง้หน้าท่ี หรือขัดขืน หรือไม่ทำาตามคำาสัง่
- ความผิดฐานเป็ นทหารหลับยาม หรือเมาสุราในหน้าท่ี
- ความผิดฐานทำาร้ายทหารยาม หม่ินประมาทอาฆาตทหารยาม
- ความผิดฐานเป็ นทหารทำาร้ายหรือหม่ินประมาทผู้บังคับบัญชา
- ความผิดฐานเป็ นทหารกำาเริบ
- ความผิดฐานเป็ นทหารหนีราชการ เจือปน ส่ิงของใช้ในราชการทหาร
- ความผิดฐานปราศจากความเมตตาแก่คนป่ วยในกองทัพอีกฝ่ ายหน่ ึง
- ความผิดฐานใช้ธงหรือเคร่ ืองหมายกาชาดผิดข้อบังคับ
- ความผิดฐานเป็ นทหารทำาผิดตามประมวลกฎหมายอาญาบางฐานในเวลา
ยามหรือมีศาสตราวุธประจำาตัว
3. พระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร
ศาลทหารแบ่งออกเป็ นสามชัน
้ เช่นเดียวกับศาลพลเรือน คือ
(1) ศาลทหารชัน
้ ต้น
(2) ศาลทหารกลาง
(3) ศาลทหารสูงสุด
ศาลทหารมีอำานาจพิจารณาพิพากษาวางบทลงโทษผูก ้ ระทำาผิดต่อกฎหมาย
ทหาร หรือกฎหมายอ่ ืนใดในทางอาญาในคดีซ่ึงผู้กระทำาผิดเป็ นบุคคลท่ีอยู่
ในอำานาจศาลทหารในขณะกระทำาผิด นอกจากนี ศ ้ าลทหารมีอำานาจสัง่
ลงโทษบุคคลใด ๆ ท่ีกระทำาผิดฐานละเมิดอำานาจศาลตามท่ีบัญญัติใน
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งด้วย
กฎอัยการศึก
การใช้กฎอัยการศึกก็เพ่ ืองดใช้กฎหมายบางฉบับและดำาเนินการปกครอง
ประเทศหรือดินแดนบางส่วนโดยทหาร และให้อำานาจหน้าท่ีทางทหารเหนือ
พลเรือน
การประกาศใช้กฎอัยการศึกอาจทำาได้สองกรณี คือ
1. การประกาศใช้ทัว่ราชอาณาจักร
2. การประกาศใช้ในบางท้องท่ี
ผู้มีอำานาจประกาศใช้กฎอัยการศึก คือ พระมหากษัตริย์ และผู้บังคับบัญชา
ทหาร ซ่ ึงอยู่ในป้ อมหรือท่ีมัน
่ อย่างใด ๆ ของทหาร หรือ มีกำาลังไม่น้อยกว่า
1 กองพัน ได้แก่ ผู้บัญชาการทหารบก แม่ทัพ ผู้บัญชาการกองพล ผู้
บังคับการกรม ผู้บังคับกองพัน เป็ นต้น
การประกาศใช้กฎอัยการศึกต้องทำาเป็ นลายลักษณ์อักษร และต้องประกาศ
ให้ประชาชนทราบทัว่กัน การเลิกใช้กฎอัยการศึกต้องทำาเป็ นประกาศ
พระบรมราชโองการเสมอไม่ว่าผู้ประกาศใช้จะเป็ นใครก็ตาม
กฎอัยการศึกให้อำานาจทหารเหนือพลเรือน ผลของการประกาศใช้กฎอัยการ
ศึก จึงมีดังต่อไปนี้
1. ในท้องท่ีซ่ึงมีการประกาศใช้กฎอัยการศึก บรรดากฎหมายใดซ่ ึงขัดกับกฎ
อัยการศึกต้องระงับและใช้กฎอัยการศึกแทน
2. เจ้าหน้าท่ีฝ่ายทหารมีอำานาจเหนือเจ้าหน้าท่ีฝ่ายพลเรือนทุกตำาแหน่ง ฝ่ าย
พลเรือนต้องปฏิบัติตามคำาเรียกร้องของทหารตามความจำาเป็ นในการยุทธ
3. ในเขตท่ีประกาศใช้กฎอัยการศึก ศาลพลเรือนยังคงมีอำานาจพิจารณา
พิพากษาคดีอย่างปกติ แต่ผู้มีอำานาจประกาศใช้กฎอัยการศึกมีอำานาจให้ศาล
ทหารพิจารณาพิพากษาคดีอาญาบางประเภทเพ่ิมขึ้นได้เป็ นกรณีพิเศษ
อย่างไรก็ตามจะสัง่ให้ศาลทหารมีอำานาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งด้วยมิได้
4. ในเขตท่ีประกาศใช้กฎอัยการศึก ทหารมีอำานาจเต็มท่ีท่ีจะเกณฑ์แรงงาน
ยวดยาน สัตว์ อาหาร อาวุธ และอ่ ืน ๆ มีอำานาจหน้าท่ีจะห้ามมิให้มัว่สุม
ประชุมกัน ห้ามการโฆษณา การสัญจรไปมา มีอำานาจท่ีจะเข้าอาศัย ตรวจค้น
ยึด ทำาลาย เปล่ียนแปลงสถานท่ี และขับไล่ผู้ใดออกจากสถานท่ีกไ็ ด้
เม่ ือมีความเสียหายใด ๆ เกิดขึ้นจากการใช้อำานาจตามกฎอัยการศึก ทหารไม่
ต้องใช้ค่าเสียหาย

หน่วยท่ี 12

กฎหมายกำาหนดราคาสินค้าและป้ องกันการผูกขาด
รัฐจำาเป็ นต้องออกกฎหมายเพ่ ือป้ องกันไม่ให้ผู้ประกอบการค้าเอาเปรียบผู้
บริโภค และไม่ให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างผู้ประกอบการค้าด้วย
กัน
กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค
สิทธิของผู้บริโภค กฎหมายกำาหนดไว้ 4 ประการ กล่าวคือ
1. สิทธิท่ีจะได้รับข่าวสารรวมทัง้คำาพรรณนาคุณภาพท่ีถูกต้องและเพียงพอ
เก่ียวกับสินค้าหรือบริการ
2. สิทธิท่ีจะมีอิสระในการเลือกหาสินค้าหรือบริการ
3. สิทธิท่ีจะได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้าหรือบริการ
4. สิทธิท่ีจะได้รับการพิจารณาและชดเชยความเสียหาย
คณะกรรมการว่าด้วยการโฆษณา มีหน้าท่ีรับผิดชอบในการควบคุมการ
โฆษณาให้เป็ นไปตามกฎหมาย
คณะกรรมการว่าด้วยฉลาก กำาหนดว่าสินค้าใดเป็ นสินค้าควบคุมฉลาก
ได้แก่
(1) สินค้าท่ีอาจก่อให้เกิดอันตรายแก่สุขภาพร่างกาย หรือจิตใจ เน่ ืองในการ
ใช้สินค้านัน
้ หรือโดยสภาพของสินค้า
(2) สินค้าท่ีประชาชนทัว่ไปใช้เป็ นประจำาซ่ ึงการกำาหนดฉลากจะเป็ นประโยชน์
แก่ผู้บริโภคในการท่ีจะทราบข้อเท็จจริงในสาระสำาคัญเก่ียวกับสินค้านัน

ลักษณะท่ีถูกต้องของฉลากสินค้าควบคุม
1. ใช้ข้อความท่ีตรงต่อความจริง และไม่มีข้อความท่ีอาจก่อให้เกิดความเข้าใจ
ผิดในสาระสำาคัญเก่ียวกับสินค้า
2. ระบุข้อความอันจำาเป็ น เช่น ระบุวิธีใช้ ขนาดหรือปริมาณท่ีจะใช้ได้โดยไม่
เป็ นอันตราย ส่วนผสม ผลข้างเคียงเม่ ือใช้และวิธีแก้ไขเม่ ือเกิดผลเสียหาย
เป็ นต้น
กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคมุ่งคุ้มครองผู้บริโภคมิให้ถูกหลอกลวง และเอา
เปรียบในเร่ ืองคุณภาพ ปริมาณ และความปลอดภัยของสินค้า
กฎหมายเก่ียวกับอาหาร
ยา หมายความถึง วัตถุท่ีรับรองไว้ในตำารายาท่ีใช้สำาหรับการวิเคราะห์โรค
บำาบัด บรรเทา รักษาหรือป้ องกันโรคหรือความเจ็บป่ วยของมนุษย์ หรือสัตว์
เช่น ยาแก้ไข้ แก้ปวดท่ีใช้กันอยู่ทัว่ไป หรือวัตถุท่ีมุ่งหมายจะใช้ให้เกิดผลแก่
สุขภาพ
อาหาร อาจหมายถึง วัตถุท่ีมุ่งหมายจะใช้หรือมใช้เป็ นส่วนผสมในการผลิต
อาหาร เช่น เคร่ ืองปรุงต่าง ๆ ท่ีมุ่งหมายจะใช้หรือใช้เป็ นส่วนผสมอาหารซ่ ึง
แต่ละชนิดถือว่าเป็ นอาหาร
วัตถุท่ีเจือปนในอาหาร เช่น สี หรือเคร่ ืองแต่งกล่ินรส ได้แก่ ผงชูรส น้ำาปลา
น้ำาส้ม เคร่ ืองเทศทัง้หลายเหล่านี ถ ้ ือได้ว่าเป็ นอาหารด้วย
ผู้ท่ีทำาหน้าท่ีควบคุณภาพอาหาร คือ คณะกรรมการอาหาร ทำาหน้าท่ีให้คำา
ปรึกษาแก่รัฐมนตรีวา่ การกระทรวงสาธารณสุขในเร่ ืองการควบคุณภาพ
อาหาร
อำานาจและหน้าท่ีของคณะกรรมการอาหาร
1. การออกประกาศ กำาหนดให้อาหารใดเป็ นอาหารควบคุมเฉพาะ
2. กำาหนดคุณภาพอาหาร มาตรฐานอาหารควบคุมเฉพาะ
3. กำาหนดคุณภาพมาตรฐานอาหารทัว่ไป
4. อัตราส่วนของวัตถุท่ีใช้ในการผสมอาหาร หลักเกณฑ์ เง่ ือนไข วิธีใช้วัตถุ
ดังกล่าว
5. วิธีผลิต วิธีการตรวจ เก็บตัวอย่าง การยึด อายัด วิเคราะห์ทางวิชาการ ฯลฯ
กฎหมายเก่ียวกับยา
คณะกรรมการยา มีอำานาจหน้าท่ีให้คำาแนะนำาหรือความเห็นต่อรัฐมนตรี
ว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในเร่ ืองเก่ียวกับการอนุญาตผลิตยา ขายยา
หรือนำาหรือสัง่ยาเข้ามาในราชอาณาจักร การขึ้นทะเบียนตำารับยา การพัก
ใช้ใบอนุญาต การเพิกถอนใบอนุญาตหรือการเพิกถอนทะเบียนตำารับยา
การกำาหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเง่ ือนไขเก่ียวกับการผลิตยา การขายยา
การนำาหรือสัง่ยาเข้ามาในราชอาณาจักร และเร่ ืองอ่ ืน ๆ ตามท่ีรัฐมนตรีมอบ
หมาย
ยาแผนปั จจุบัน หมายถึง ยาท่ีมุ่งหมายสำาหรับใช้ในการประกอบวิชาชีพ
เวชกรรม การประกอบโรคศิลปะแผนปั จจุบัน หรือบำาบัดโรคสัตว์
ยาแผนโบราณ ผู้รับอนุญาตให้ผลิต ต้องจัดให้มีผู้ประกอบโรคศิลปแผน
โบราณประจำาอยู่ตลอดเวลาท่ีเปิ ดทำาการ
กฎหมายว่าด้วยการควบคุมกิจการค้าขายอันเป็ นสาธารณูปโภค
รัฐออกกฎหมายควบคุมกิจการค้าขายอันเป็ นสาธารณูปโภคเพ่ ือให้หลัก
ประกันการบริการแก่ประชาชนโดยทัว่ถึงด้วยราคายุติธรรม ซ่ ึงความหมาย
ของกิจการดังกล่าว ได้แก่
1. การรถไฟ
2. การรถราง
3. การขุดคลอง
4. การเดินอากาศ
5. การประปา
6. การชลประทาน
7. การไฟฟ้ า
8. การผลิตเพ่ ือจำาหน่ายหรือจำาน่ายก๊าซโดยระบบเส้นท่อไปยังอาคารต่าง ๆ
9. บรรดากิจการอ่ ืนอันกระทบกระเทือนถึงความปลอดภัย หรือผาสุกของ
ประชาชน
กฎหมายลิขสิทธิ ์
กฎหมายลิขสิทธิม ์ ุ่งคุ้มครองสิทธิของผู้สร้างสรรค์ในงานท่ีสร้างสรรค์ขึ้น
เช่น งานแต่ง งานแปล งานจิตกรรมและประติมากรรม เพ่ ือมิให้มก ี ารลอก
เลียน ดัดแปลงนำาไปใช้อันเป็ นการหาประโยชน์ในทางการค้า
ลิขสิทธิ ค ์ ื อสิทธิท่ีห้ามมิให้คนอ่ ืนนำาส่ิงท่ีตนประดิษฐ์ขึ้นไปทำาเลียนแบบ
ดัดแปลง หรือต่อเติม
ส่ิงท่ีกฎหมายนีค ้ ุ้มครอง คือ “งาน” ของผู้สร้างสรรค์ “งาน” หมายถึง ส่ิงท่ี
เป็ นผลจากการริเร่ิมของผู้สร้างสรรค์ ต้องเป็ นส่ิงท่ีต้องใช้ความพยายามใน
การทำาขึ้น เช่น การประพันธ์ งานขีดเขียน งานประติมากรรม และงาน
จิตรกรรม
งานท่ีอยู่ภายใต้การคุ้มครองของกฎหมายลิขสิทธิไ์ด้ มีดังนี้
1. งานท่ีผู้สร้างสรรค์ได้คิดค้นขึ้นเอง
2. งานดัดแปลงของผู้อ่ืนโดยได้รบ
ั อนุญาต
3. การนำางานของคนอ่ ืนมารวบรวมไว้ด้วยกันโดยเจ้าของอนุญาต เช่น
รวบรวมเน้ือเพลงเก่า ๆ
4. งานท่ีไม่มีใครมีลิขสิทธิ เ ์ พราะเหตุท่ีอายุแห
เพราะเหตุท่ีงานนัน้ ไม่มีลิขสิทธิม
์ าก่อน
งานท่ีไม่อยู่ภายใต้การคุ้มครองของกฎหมายลิขสิทธิ ไ์ด้แก่
1. ข่าวประจำาวัน และข้อเท็จจริงต่าง ๆ ท่ีมีลักษณะเป็ นเพียงข่าวสาร
2. รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย
3. ระเบียบบังคับ ประกาศคำาสัง่ คำาชีแ
้ จง และหนังสือโต้ตอบของกระทรวง
ทบวง กรม หรือหน่วยงานอ่ ืนใดของรัฐ หรือของท้องถ่ินจัดทำาขึ้น
4. คำาพิพากษา คำาสัง่ คำาวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ
5. คำาแปล และการรวบรวมส่ิงต่าง ๆ ตามข้อ (1) ถึง (4) ท่ีกระทรวง ทบวง
กรม หรือหน่วยงานอ่ ืนใดของรัฐ หรือของท้องถ่ินจัดทำาขึ้น
6. การแสดงบางอย่างท่ีไม่ต้องมีใครกำาหนดวิธีแสดง เช่น ชกมวย ประกวด
นางงาม
7. ช่ ือเร่ ือง ช่ ือหนังสือ เช่น ช่ ือนวนิยาย
การกระทำาท่ีไม่ถือเป็ นการละเมิดลิขสิทธิ ห
์ ากมีวัตถุประสงค์เป็ นการใช้ผล
งานโดยไม่แสวงหาประโยชน์ โดยไม่ค้ากำาไรและเป็ นการช่วยสังคม ดังนี้
1. วิจัยหรือศึกษา
2. ใช้เพ่ ือประโยชน์ของตนเองหรือคนในครอบครัว
3. ติชมหรือวิจารณ์ผลงานโดยรับรู้ถึงความเป็ นเจ้าของลิขสิทธิใ์นงานนัน

4. เสนอรายงานข่าวทางส่ ือสารมวลชนโดยรับรู้ถึงความเป็ นเจ้าของลิขสิทธิ ์
นัน้ ทำาซ้ำา หรือดัดแปลงเพ่ ือประโยชน์ในการพิจารราของศาลหรือเพ่ ือการ
สอน หรือเพ่ ือแจกจ่ายในสถาบันศึกษา หรือในการถามหรือตอบในการ
สอบ
5. ทำาซ้ำาเพ่ ือใช้ในห้องสมุดโดยบรรณารักษ์ของห้องสมุด
กฎหมายสิทธิบัตร
สิทธิบัตรเป็ นหนังสือท่ีออกให้เพ่ ือคุ้มครองการประดิษฐ์ หรือกรรมวิธี หรือ
การออกแบบผลิตภัณฑ์
กฎหมายสิทธิบัตรมุ่งส่งเสริมและคุ้มครองให้ผป ู้ ระดิษฐ์คด
ิ ค้นส่ิงประดิษฐ์
ใหม่ ๆ มิให้ถูกลอกเลียนและนำาไปใช้เพ่ ือประโยชน์ส่วนบุคคล
สิทธิบัตรในการประดิษฐ์มีอายุ 15 ปี นับแต่วันออกสิทธิบัตร
กฎหมายเคร่ ืองหมายการค้า
เคร่ ืองหมายการค้า หมายถึง เคร่ ืองหมายท่ีใช้เก่ียวข้องกับสินค้าเพ่ ือแสดงว่า
สินค้านัน้ เป็ นเจ้าของเคร่ ืองหมายการค้า
การจดทะเบียนเคร่ ืองหมายการค้าสมบูรณ์เพียงสิบปี ถ้าหากครบสิบปี แล้ว
เจ้าของไม่ไปต่ออายุ นายทะเบียนก็จะเพิกถอนทะเบียนเคร่ ืองหมายการค้า
กฎหมายท่ีดิน
กฎหมายท่ีดินฉบับท่ีเป็ นหลัก คือ ประมวลกฎหมายท่ีดิน กฎหมายท่ีดิน
เป็ นกฎหมายท่ีเพ่ ือให้ประชาชนอยู่อาศัยและทำากิน และกำาหนดสิทธิในท่ีดิน
การแสดงออกซ่ ึงสิทธิในท่ีดินตลอดจนการจดทะเบียนสิทธิ และนิติกรรม
อันเก่ียวกับท่ีดิน
กฎหมายจัดรูปท่ีดิน มีวัตถุประสงค์ท่ีจะจัดให้ท่ีดินทุกแปลงได้รับประโยชน์
จากโครงการชลประทานและสาธารณูปโภค ต้องการช่วยให้เกษตรกรโดย
เฉพาะ อย่างย่ิงชาวนามีท่ีดินทำากินจะโดยเป็ นของตนหรือมีเพียงแต่สิทธิ
ครอบครองก็ตาม
การปฏ
ิรูปท่ีดินเพ่ ือเกษตรกรรมเน้นหนักการถือครองหรือการมีสิทธิในท่ีดินเพ่ ือ
เกษตรกรรม โดยนำาเอาท่ีดินของรัฐ หรือท่ีรัฐได้มาโดยวิธีต่าง ๆ มาจัดให้
เกษตรกรผูไ้ ม่มีท่ีดินของตนเอง หรือเกษตรกรท่ีมีท่ีดินแต่เล็กน้อยได้มี
โอกาสทำามาหากินในท่ีดินนัน ้ ซ่ ึงต่างจากการจัดรูปท่ีดิน ซ่ ึงเป็ นการ
พัฒนาท่ีดินนัน ้ เพ่ ือประโยชน์ทางการเกษตร
การเช่านาจะเช่ากันน้อยกว่าหกปี ไม่ได้ การเช่านาท่ีไม่มีกำาหนดเวลาหรือมี
แต่ต่ำากว่าหกปี ก็ถือว่าเช่ากันหกปี เม่ ือสิน
้ สุดการเช่าแล้วหากผู้ให้เช่านาไม่
บอกเลิกการให้เช่า ให้ถือว่าเช่ากันต่อไปอีกคราวละหกปี
“ค่าเช่านา” หมายถึง เงิน ทรัพย์สินอ่ ืนใด หรือผลผลิตของข้าวหรือพืชไร่ ซ่ ึง
ให้เป็ นค่าตอบแทนการเช่านา และให้หมายรวมถึงประโยชน์อ่ืนใดอันอาจ
คำานวณเป็ นเงินได้ท่ีผู้ให้เช่านาหรือบุคคลอ่ ืนได้รบ
ั เพ่ ือตอบแทนการให้เช่า
นาทัง้โดยทางตรงหรือทางอ้อม
กฎหมายภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
รัฐกำาหนดให้มีการเก็บภาษีอากร เพ่ ือนำาไปใช้จ่ายในการบริหารประเทศ ให้
บริการท่ีดีแก่ประชาชน และทำาให้สภาพในทางเศรษฐกิจเข้าสู่เสถียรภาพ
หรือทำาให้เกิดการพัฒนาในทางเศรษฐกิจ
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเป็ นภาษีทางตรงท่ีรัฐจัดเก็บจากบริษัท ห้างร้านท่ี
เป็ นนิติบุคคล องค์การของรัฐต่างประเทศ รัฐบาลต่างประเทศ กิจการร่วมค้า
มูลนิธิ และสมาคม ซ่ ึงจัดเก็บตามประมวลรัษฎากรเป็ นรายปี จากผู้มีเงินได้
พึงประเมินโดยให้หก ั ค่าใช้จ่าย ค่าลดหย่อน และเงินบริจาคออกเสียก่อน
แล้วจึงนำาเงินท่ีคงเหลือซ่ ึงเรียกว่าเงินได้สุทธิมาคำานวณเพ่ ือเสียภาษี
ผู้มีหน้าท่ีเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ก. บุคคลธรรมดาทุกคนไม่มีข้อยกเว้นแม้จะเป็ นผู้เยาว์ ผูไ้ ร้ความสามารถ
หรือเหมือนไร้ความสามารถ
ข. บุคคลธรรมดาท่ีถึงแก่ความตายก่อนยืนแบบแสดงรายการเสียภาษี
ค. กองมรดกของผู้ตายท่ียังไม่ได้แบ่ง
ง. ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลท่ีมิใช่นิติบุคคล
จ. องค์การของรัฐบาล
การหักลดหย่อนสำาหรับบุตร ให้หักได้เฉพาะบุตรซ่ ึงมีอายุไม่เกิน 25 ปี และ
ยังศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยหรือชัน ้ อุดมศึกษา
กฎหมายภาษีเงินได้นิติบุคคล
ภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็ นภาษีทางตรงท่ีรัฐจัดเก็บจากประชาชน กองมรดก
ห้างหุ้นส่วนท่ีไม่จดทะเบียนและคณะบุคคล และมีการกำาหนดฐานภาษีไว้
ต่าง ๆ เช่น เก็บจากกำาไรสุทธิ เก็บจากเงินได้ก่อนหักรายจ่าย เป็ นต้น
การให้โดยเสน่หา ได้แก่ การให้โดยไม่มก ี ารตอบแทน
รายจ่ายอันมีลักษณะเป็ นการลงทุน คือ รายจ่ายท่ีจา่ ยไปแล้วได้ทรัพย์สิน
หรือสิทธิตอบแทนและทรัพย์สินหรือสิทธินัน ้
กฎหมายภาษีการค้า
ภาษีการค้าเป็ นภาษีทางอ้อมซ่ ึงจัดเก็บจากผู้ประกอบการค้า และผู้ท่ีถือว่า
ประกอบการค้าตามอัตราท่ก ี ำาหนดไว้ ภาษีการค้าเป็ นภาษีท่ีผู้ประกอบการ
ค้าสามารถผลักภาระให้ผู้บริโภครับภาระภาษีโดยไม่รู้ตัวเพราะนำาเอาไปรวม
เป็ นราคาสินค้าได้
ก. ผู้มีหน้าท่ีเสียภาษีการค้า
(ก) ผู้ท่ีเป็ นผู้ประกอบการค้าตามบัญชีอัตราภาษีการค้า ดังต่อไปนี้
1. การขายของ
2. โรงสีและโรงเล่ ือย
3. การขายหลักทรัพย์
4. การรับจ้างทำาของ
5. การให้เช่าทรัพย์สิน
6. คลังสินค้า
7. โรงแรมและภัตตาคาร
8. การขนส่ง
9. โรงรับจำานำา
10. นายหน้าและตัวแทน
11. ธนาคาร
12. ประกันภัย
ในการพิจารณายกเว้นภาษีการค้าและลดอัตราภาษีการค้าอาศัยเหตุผลหลาย
ประการซ่ ึงมีทัง้เหตุผลทางเศรษฐกิจ เหตุผลทางการเมือง และสังคม
รายรับ หมายความถึงเงิน ทรัพย์สิน ค่าตอบแทนหรือประโยชน์ใด ๆ อันมี
มูลค่าท่ีได้รับหรือพึงได้รับ ไม่ว่าในหรือนอกราชอาณาจักร เน่ ืองจากการ
ประกอบการค้า
มูลค่า หมายความว่า ราคาตลาดของทรัพย์สินของบริการ หรือของประโยชน์
ใด ๆ และในกรณีท่ีไม่มรี าคาตลาดหมายความว่า ราคาอันผู้ประกอบการค้า
พึงได้รับจากทรัพย์สินจากบริการหรือจากประโยชน์นัน ้
ภาษีการค้าเป็ นภาษีท่ีจะต้องคำานวณและชำาระทุกเดือน ในทางปฏิบัติจะต้อง
ย่ ืนไม่เกินวันท่ี 15 ของเดือนถัดไป
กฎหมายเก่ียวกับอากรแสตมป์
การกำาหนดให้มีการปิ ดอากรแสตมป์ ในตราสาร เป็ นการเก็บภาษีอีกรูปแบบ
หน่ ึง ซ่ ึงอาจจะกำาหนดฐานภาษี คือมูลค่าของส่ิงท่ีปรากฏในตราสารนัน

ก. ส่ิงท่ีต้องปิ ดอากรแสตมป์
กฎหมายได้กำาหนดไว้ คือ ตราสารต่อไปนี้
1. เช่าท่ีดิน โรงเรือน ส่ิงปลูกสร้างอย่างอ่ ืน หรือ แพ (10 สตางค์)
2. โอนใบหุ้น ใบหุ้นกู้ พันธบัตร และใบรับรองหนีซ
้ ่ ึงบริษัท สมาคม คณะ
บุคคลหรือองค์การใด ๆ เป็ นผู้ออก (1 บาท)
3. เช่าซ้ือทรัพย์สิน (1 บาท)
4. จ้างทำาของ (1 บาท)
5 กูย
้ ืมเงินหรือทำาการตกลงให้เบิกเงินเกินบัญชีจากธนาคาร (1 บาท)
6. กรมธรรม์ประกันภัย
(ก) กรมธรรม์ประกันวินาศภัย (1 บาท)
(ข) กรมธรรม์ประกันชีวิต (1 บาท)
(ค) กรมธรรม์ประกันภัยอ่ ืน ๆ (1 บาท)
(ง) กรมธรรม์เงินปี (1 บาท)
(จ) กรมธรรม์ประกันภัยซ่ ึงผู้รับประกันภัยนำาไปให้แก่ผอ
ู้ ่ ืนประกันอีกต่อ
หน่ ึง
(ฉ) บันทึกการต่ออายุกรมธรรม์ประกันภัยเดิม (ก่ ึงอัตราซ่ ึงเรียกเก็บสำาหรับ
กรมธรรม์เดิม)
ข. เง่ ือนไขการเสียอากร
(1) ถ้าตราสารทำาหลายลักษณะในกระดาษแผ่นเดียวกัน ต้องปิ ดแสตมป์
บริบูรณ์เป็ นรายการแยกไว้ให้ปรากฏว่าตราสารอยู่ท่ีใด
(2) สัญญาใดเกิดขึ้นโดยหนังสือโต้ตอบและมิได้ปิดอากรแสตมป์ บริบูรณ์ ถ้า
พิจารณาว่าหนังสือฉบับหน่ ึงฉบับใดจำาเป็ นในการทำาให้เกิดสัญญาให้ปิด
แสตมป์ บริบูรณ์ท่ีหนังสือฉบับนัน

(3) คู่ฉบับของตราสารใดห้ามมิให้ถือว่าปิ ดแสตมป์ บริบรู ณ์แล้ว เว้นแต่จะได้
นำาเอาต้นฉบับมาพิสูจน์ว่าได้ปิดแสตมป์ บริบรู ณ์และปิ ดมาแล้ว
(4) ตราสารท่ีต้องเสียอากรได้ทำาขึ้นนอกสยาม ผู้ทรงคนแรกในสยามต้องเสีย
อากรโดยปิ ดแสตมป์ ให้ครบและขีดฆ่าภายใน 30 วัน นับแต่วันท่ีได้รับ
ตราสารนัน้ ถ้าผู้ทรงคนแรกมิได้ทำา ผู้ทรงคนอ่ ืน ๆ อาจปิ ดแสตมป์ ให้ครบ
ถ้วนได้โดยมีสิทธิไล่เบีย
้ จากผู้ทรงคนก่อน ๆ
ค. ผลของการมิได้ปิดแสตมป์ บริบรู ณ์
(1) ใช้ตราสารนัน
้ เป็ นพยานในคดีแพ่งไม่ได้
(2) ห้ามเจ้าพนักงานของรัฐบาลหรือเทศบาลรับรู้
(3) ระวางโทษปรับไม่เกิน 500 บาท
(4) ผู้ถือเอาประโยชน์ต้องย่ ืนขอปิ ดแสตมป์ บริบูรณ์โดยยอม
ง. ใบรับเงิน
การกำาหนดให้สถานประกอบการค้าต้องออกใบรับเงินเพ่ ือประโยชน์ในการ
ควบคุม 2 ประการ คือ
1. ควบคุมการประกอบการค้า และ
2. ควบคุมการลงบัญชีของผู้ซ้ือ
ลักษณะของใบรับท่ีชอบด้วยกฎหมายต้องประกอบด้วยข้อความต่อไปนี้
ใบรับและต้นขัว้ หรือสำาเนาใบรับ อย่างน้อยต้องมีตัวเลขไทยหรืออารบิค
และอักษรไทยให้ปรากฏข้อความต่อไปนี้
(1) เลขท่ีการค้าตามประมวลรัษฎากรของผู้ออกใบรับ ถ้าผู้ออกใบรับเป็ นผู้
ประกอบการค้า
(2) ช่ ือหรือย่ีห้อของผู้ออกใบรับ
(3) เลขลำาดับของเล่มและของใบรับ
(4) วัน เดือน ปี ท่ีออกใบรับ
(5) จำานวนเงินท่ีรับ
(6) ชนิด ช่ ือ จำานวนและราคาสินค้าในกรณีการขายหรือให้เช่าซ้ือสินค้า
เฉพาะชนิดท่ีมีราคาตัง้แต่หน่ ึงร้อยบาทขึ้นไป
ในกรณีผู้ผลิต ผู้นำาเข้าหรือผู้ขายส่ง ขายสินค้าให้แก่ผู้ซ่ึงทำาการค้าสินค้า
ประเภทเดียวกับสินค้าท่ีขายนัน ้ ให้แสดงช่ ือหรือย่ีห้องและท่ีอยู่ของผู้ซ้ือไว้
ในใบรับท่ีต้องออกตามวรรคหน่ ึงด้วยทุกคราวท่ีได้รับชำาระเงินหรือรับชำาระ
ราคา ข้อความในใบรับเงินเช่นว่านี ถ ้ ้าทำาเป็ นภาษาต่างประเทศมให้มีภาษา
ไทยกำากับ
กฎหมายภาษีศุลกากร
ภาษีศุลกากรเป็ นภาษีท่ีจด ั เก็บจากการนำาเข้าและส่งออกซ่ ึงของนัน ้ ไม่ว่าจะ
เป็ นสินค้าหรือไม่ก็ตาม
1. เวลาท่ีความรับผิดในอันท่ีจะเสียภาษีเกิดขึ้น เวลาดังกล่าวแยกพิจารณา
เป็ น 2 กรณี
ก. กรณีนำาเข้า กฎหมายกำาหนดให้เวลาท่ีความรับผิดในอันท่ีจะเสียภาษีเกิด
ในเวลาท่ีนำาของเข้าสำาเร็จ คือ เม่ ือเรือท่ีนำาของนัน
้ ได้เข้ามาในเขตท่าท่ีจะถ่าย
ของลงจากเรือหรือท่าท่ีมีช่ือส่งของถึงอันเป็ นท่าจุดหมายปลายทาง
ข. กรณีส่งออก กฎหมายกำาหนดให้เวลาท่ีความรับผิดในอันท่ีจะเสียภาษีเกิด
ในเวลาท่ีส่งของออกสำาเร็จ คือ ขณะท่ีเรือซ่ ึงบรรทุกของท่ีส่งออกได้จากเขต
ท่าซ่ ึงได้ออกเรือเป็ นขัน
้ สุดท้าย คือ ท่าสุดท้ายเพ่ ือออกไปจากราชอาณาจักร
2. การคำานวณภาษี
ก. องค์ประกอบในการคำานวณภาษี ได้แก่ สภาพของ ราคาของ และพิกัด
อัตราศุลกากร องค์ประกอบทัง้ 3 ประการล้วนแต่เปล่ียนแปลงได้ตามกาล
เวลา สถานท่ี กฎหมายได้กำาหนดการพิจารณาแตกต่างไว้ 2 กรณี คือ
(1) กรณีนำาเข้า กฎหมายให้คำานวณค่าภาษีตามสภาพของ ราคาของ และ
พิกัดอัตราศุลกากรท่ีเป็ นอยู่ในเวลาท่ีความรับผิดในอันจะต้องเสียภาษีเกิด
ยกเว้นกรณีเก็บของไว้ในคลังสินค้าทัณฑ์บน ให้คำานวณตามพิกัดอัตรา
ศุลกากรท่ีใช้ในเวลาซ่ ึงได้ปล่อยของจากคลัง
(2) กรณีส่งออก กฎหมายให้คำานวณค่าภาษีตามสภาพของ ราคาของ และ
พิกัดอัตราศุลกากรในเวลาท่ีออกใบขนสินค้าให้
ข. เน่ ืองจากกฎหมายระบุให้ผู้นำาเข้าและส่งออกต้องแสดงราคา และราคาอัน
พึงจะถือเป็ นเกณฑ์ในการประเมินอากร คือ
(1) ราคาขายส่งเป็ นเงินสดไม่รวมค่าอากร หรือราคาอันแท้จริงในท้องตลาด
(2) ราคาในท้องตลาดเป็ นรายเฉล่ีย
3. การเสียภาษี
โดยหลักทัง้การนำาเข้าและส่งออก ผู้นำาเข้าหรือผู้ส่งออกจะต้องชำาระภาษี
อากรให้ครบถ้วนเสียก่อน อย่างไรก็ดีหลักดังกล่าวมีข้อยกเว้น เพ่ ือความ
สะดวกโดยยอมให้มก ี ารวางประกันแทนการชำาระภาษีได้ การวางประกันอาจ
ทำาได้ 3 วิธีดว้ ยกัน คือ
(ก) วางประกันด้วยเงินสด ได้แก่ การนำาเงินมาวางไว้เป็ นหลักประกันต่อกรม
ศุลกากร
(ข) ให้ธนาคารหรือกระทรวงการคลังค้ำาประกันในกรณีนีไ้ม่ต้องใช้เงินสด แต่
ต้องให้ธนาคารหรือกระทรวงการคลังรับรองว่าจะใช้เงินแทนภายในวงเงินท่ี
กำาหนด
(ค) หลักประกันอย่างอ่ ืน ซ่ ึงอธิบดีมีอำานาจกำาหนดได้เฉพาะในกรณีมีความ
จำาเป็ นรีบด่วน
การวางประกันแทนการชำาระภาษี จะมีได้ในกรณีต่อไปนี้
(1) เม่ ือผู้นำาเข้าหรือส่งออกร้องขอ และอธิบดีได้พิจารณาแล้วเห็นว่ามีความ
จำาเป็ นรีบด่วน
(2) เม่ ือผู้นำาเข้าแสดงความจำานงว่าของท่ีนำาเข้ามาจะใช้เฉพาะในการผลิต
หรือผสม หรือประกอบ หรือบรรจุเพ่ ือการส่งออกไปยังเมืองต่างประเทศ
หรือส่งไปเป็ นของใช้ชนิดท่ีใช้แล้วหมดไปในเรือเดินทางไปเมืองต่างประเทศ
การวางประกันตามข้อนีจ้ะต้องใช้กระทรวงการคลังหรือธนาคารค้ำาประกัน
เท่านัน ้
(3) เม่ ือมีปัญหาค่าภาษี
(4) เม่ ือมีการวางประกันแล้ว อาจจะมีการผิดสัญญาประกันได้ ซ่ ึงเม่ ือผิด
สัญญาแล้ว จะทำาให้ต้องชำาระเงินเพ่ิมและดอกเบีย
้ ด้วย
4. เงินเพ่ิมและดอกเบีย

เงินเพ่ิม คือ เงินซ่ ึงกำาหนดให้เก็บเพ่ิมจากค่าภาษีอากรท่ีพึงต้องเสียตาม
พิกัดอัตราศุลกากรสำาหรับของท่ีนำาเข้าหรือส่งออก
ดอกเบีย ้ คือ เงินซ่ ึงศุลกากรให้แก่ผน
ู้ ำาของเข้าหรือผู้ส่งออกเพ่ ือชดเชยให้แก่
ภาระท่ีต้องรับเน่ ืองจากศุลกากรได้เรียกเงินอากรหรือเงินประกันไว้เกินกว่า
จำานวนท่ีพึงต้องเสียเม่ ือปรากฏภายหลังว่าเรียกไว้เกิน ผู้นำาของเข้าหรือผู้ส่ง
ของออกจึงได้รับส่วนท่ีเกินนัน ้ คืนพร้อมทัง้ดอกเบีย ้
(1) กรณีท่ีต้องเสียเงินเพ่ิม ได้แก่
(ก) กรณีท่ีพนักงานเจ้าหน้าท่ีได้ประเมินเงินอากร อันพึงต้องเสียสำาหรับของ
ท่ีปัญหาเก่ียวกับจำานวนค่าอากร และได้ออกของไปก่อนโดยวางประกัน เม่ ือ
พนักงานเจ้าหน้าท่ีได้แจ้งให้ผู้นำาเข้าหรือส่งออกทราบแล้ว ผูน้ ำาเข้าหรือส่ง
ออกไม่ได้ชำาระเงินค่าอากรตามท่ีได้รบ ั แล้วภายใน 30 วันนับแต่วันท่ีได้รับ
แจ้ง
(ข) ผูน
้ ำาเข้าหรือส่งออกนำาของออกไปจากอารักขาของศุลกากร หรือส่งออก
ไปนอกราชอาณาจักรโดยรีบด่วนตามมาตรา 40 หรือ 45 และมิได้ปฏิบัติตาม
เง่ ือนไขท่ีกำาหนดโดยอธิบดี
เงินเพ่ิมทัง้ 2 กรณี ไม่เกินร้อยละ 20 ของจำานวนค่าอากรทัง้หมด โดยไม่มี
การหักเงินประกันออกเสียก่อน และเงินเพ่ิมนีถ ้ ือว่าเป็ นเงินอากร
(ง) นอกจากเงินเพ่ิมทัง้ 2 กรณีแล้ว เม่ ือผู้นำาเข้าหรือส่งออกนำาเงินเพ่ิมมา
ชำาระให้เก็บเงินเพ่ิมอีกร้อยละ 1 ต่อเดือนของอากรโดยไม่คิดทบต้น โดยนับ
แต่วันท่ีส่งมอบหรือส่งของออก กรณีท่ีมีการเปล่ียนการค้ำาประกันเป็ นการ
วางเงินประกันหลังการส่งมอบหรือส่งของออก ให้เรียกเก็บเงินเพ่ิมร้อยละ
1 ต่อเดือนของค่าอากร โดยไม่คด
ิ ทบต้น นับแต่วันท่ีส่งมอบหรือส่งออก
จนถึงวันวางเงินประกัน แต่ถ้าเงินประกันท่ีวางไม่คุ้มกับค่าอากรจะต้องเสีย
เงินเพ่ิมอีกตามหลักเกณฑ์เดียวกัน และเงินเพ่ิมดังกล่าวถือว่าเป็ นเงินอากร
(2) กรณีท่ีผู้เสียอากรได้รับดอกเบีย

เพราะเหตุท่ีได้เรียกไว้เกินจำานวนอันพึงต้องเสียโดยคิดดอกเบีย
้ ให้ในอัตรา
ร้อยละ 0.625 ต่อเดือนของจำานวนท่ีต้องคืนโดยไม่คด ิ ทบต้น
5. การยกเว้นและลดอัตราอากร
การยกเว้นและลดอัตราอากรเป็ นไปตามเหตุผลทางการเมือง สังคม และ
เศรษฐกิจของประเทศ เช่นเดียวกับภาษีอากรอ่ ืน ๆ
6. คลังสินค้า
คลังสินค้า คือ โรงพักสินค้าท่ีมัน่ คงและคลังสินค้าทัณฑ์บน ผู้สร้างคลัง
สินค้าจะต้องได้รบ ั อนุมัติจากอธิบดีกรมศุลกากรเพ่ ือสร้างคลังสินค้า
ลักษณะสำาคัญของคลังสินค้า คือ
ก. ต้องจัดให้มีท่ีอันสมควรไว้เป็ นท่ีทำาการ (คือ ท่ีทำาการของศุลกากร)
ข. ต้องมีรัว้และประตูให้สมควรจนเป็ นท่ีพอใจอธิบดี
ค. ประตูนอกและในต้องลัน
่ กุยแจของรัฐบาล และลูกกุญแจต้องเก็บไว้ท่ี
ศุลกากรสถาน
ง. เม่ ืออนุมัติแล้วจะต้องคงรูปอยู่ตามแบบท่ีอนุมัติไว้ไม่เปล่ียนแปลงการ
ก่อสร้าง
จ. จะต้องมีประกันไว้ จะเป็ นท่ีพอใจอธิบดี
ฉ. เจ้าของหรือผู้ปกครองจะต้องเสียค่าธรรมเนียมใบอนุญาตสำาหรับโรงพัก
สินค้าประจำาปี ตามท่ีรัฐมนตรีกำาหนดไว้ในกระทรวง
6.1 คลังสินค้าทัณฑ์บน
6.2 ร้านค้าปลอดอากร
6.3 โรงผลิตสินค้า
7. การคืนภาษีศุลกากร
7.1 การคืนภาษีของส่งกลับไปต่างประเทศ หากระหว่างของอยู่ในราช
อาณาจักรไม่ได้ใช้และไม่ได้เปล่ียนแปลงรูปลักษณะใด ๆ เม่ ือมีการส่งออก
ได้ส่งออกไปจากท่าท่ีนำาเข้าเดิมภายใน 1 ปี นับแต่นำาเข้า หากมีการย่ ืนขอคืน
อากรภายใน 6 เดือน นับแต่ได้ส่งของออกไป อธิบดีมอ
ี ำานาจอนุมัติคืนเงิน
ภาษีอากรท่ีได้ชำาระไว้แล้วทัง้หมด
7.2 การคืนภาษีของท่ีใช้ในการผลิต ผสม ประกอบ หรือบรรจุแล้วส่งออกไป
ต่างประเทศ ถ้าของท่ีนำาเข้าไม่ใช่ของท่ีกฎกระทรวงระบุห้ามคืนเงินอากร
และปริมาณท่ีใช้ในการผสม ประกอบ หรือบรรจุเป็ นไปตามเกณฑ์ท่ีอธิบดี
เห็นชอบหรือกำาหนด เม่ ือผลิตเป็ นสินค้าใหม่แล้วส่งออกไปจากท่าท่ีนำาเข้า
เดิมภายใน 1 ปี นับแต่นำาเข้าและผู้ขอคืนได้ย่ืนขอคืนภายใน 6 เดือน นับแต่
วันส่งออก อธิบดีมอี ำานาจคืนเงินอากรให้
8. ความผิดในคดีศุลกากร
8.1 ความผิดฐานลักลอบหนีภาษีศุลกากร, ความผิดฐานนำาของต้องห้ามเข้ามา
ในหรือส่งออกนอกราชอาณาจักร, ความผิดฐานหลีกเล่ียงค่าภาษีอากร
8.2 ความผิดฐานรับของผิดศุลกากร เช่น รับจำานำา ซ้ือ ฯลฯ ของหนีภาษี
8.3 ความผิดฐานสำาแดงเท็จ
8.4 ความผิดในเขตควบคุมศุลกากรและบริเวณพิเศษเขตควบคุมศุลกากร คือ
บริเวณท่ีมีสภาพทางภูมิศาสตร์เปิ ดโอกาสให้มีการลักลอบขนของหนีภาษี
ศุลกากร เช่น ชายแดน เป็ นต้น
8.5 ความผิดฐานฝ่ าฝื นพิธีศุลกากร การฝ่ าฝื นพิธีศุลกากรไม่ใช่เร่ ืองหนีภาษี
แต่เป็ นการฝ่ าฝื นระเบียบวิธีปฏิบัติท่ีกรมศุลกากรได้วางไว้
ของกลาง คือ สินค้าหรือเคร่ ืองไม้เคร่ ืองมือท่ีใช้ในการกระทำาผิด เช่น รถ
หรือเรือปกติจะถูกริบ และของนัน ้ จะตกแก่แผ่นดิน ถ้าเป็ นของท่ีเสียง่าย
หรือเก็บไว้เสียค่าใช้จา่ ยสูง อธิบดีจะให้ขายทอดตลาดหรือขายโดยวิธีอ่ืนแล้ว
แต่จะเห็นควร
9. สินบนและรางวัล
สินบนเป็ นเงินจ่ายตอบแทนแก่บุคคลภายนอก เน่ ืองจากคำาแจ้งความนำาจับ
นัน
้ ได้รางวัลเป็ นเงินท่ีจ่ายตอบแทนแก่เจ้าพนักงานผู้มีหน้าท่ีจับกุม
กฎหมายภาษีสรรพสามิต
ภาษีสรรพสามิต คือ ภาษีท่ีจัดเก็บจากผู้ผลิตหรือผูน้ ำาเข้า สุรา ยาสูบ น้ำามัน
เคร่ ืองด่ ืม ซีเมนต์ ไม้ขีดไฟ ยานัตถุ์ และไพ่
ก. ภาษีสรรพสามิตท่ีเก็บจากสุรา
ผู้ท่ีได้รับอนุญาตทำาสุราหรือผู้นำาสุราเข้ามาในราชอาณาจักร มีหน้าท่ีเสีย
ภาษีสรรพสามิตสำาหรับสุรา 2 ชนิด คือ
(ก) สุราแช่ - ไม่เกิน 15 ดีกรี ได้แก่ เบียร์บางย่ีห้อ สุราผลไม้ท่ียังไม่ได้กลัน

เป็ นต้น
(ข) สุรากลัน
่ - ไม่เกิน 15 ดีกรี ได้แก่ สุราขาว สุราสามทับ สุราผสม สุราปรุง
พิเศษ และสุราพิเศษ
ข. ภาษีสรรพาสามิตท่ีเก็บจากยาสูบ
ผู้ท่ีประกอบอุตสาหกรรมยาสูบภายในประเทศและผู้นำาเข้าเป็ นผู้เสียภาษี
สรรพสามิตสำาหรับบุหร่ีซิกาแรต บุหร่ีซิการ์ บุหร่ีอ่ืน ยาเส้น ยาเส้นปรุง และ
ยาเคีย ้ ว
ค. ภาษีสรรพสามิตท่ีเก็บจากน้ำามันและผลิตภัณฑ์น้ำามัน
น้ำามันและผลิตภัณฑ์น้ำามันท่ีต้องเสียภาษีสรรพสามิต ได้แก่ น้ำามันเบนซิน
น้ำามันก๊าด น้ำามันเช้ือเพลิงสำาหรับเคร่ ืองบินไอพ่น น้ำามันเตา น้ำามันดีเซล
และน้ำามันอ่ ืน ๆ ท่ีคล้ายกับน้ำามันท่ีได้ออกช่ ือมาแล้ว น้ำามันหล่อล่ ืน ก๊าซปิ
โตรเล่ียม ปิ โตรเล่ียมปิ ตูเมน (ยางมะตอย) ปิ โตรเล่ียมโค๊ก และกากอ่ ืน ๆ ท่ี
ได้จากน้ำามันปิ โตรเล่ียม และให้รวมถึงน้ำามันอ่ ืนหรือผลิตภัณฑ์อ่ืนท่ีได้จาก
การกลัน่ น้ำามันตามท่ีกำาหนดในกฎกระทรวง
ง. ภาษีสรรพสามิตท่ีเก็บจากเคร่ ืองด่ ืม
เคร่ ืองด่ ืมท่ีต้องเสียภาษีสรรพสามิต ได้แก่ ส่ิงท่ีตามปกติใช้เป็ นเคร่ ืองด่ ืมได้
โดยไม่ต้องเจือปนและไม่มีแอลกอฮอล์ โดยจะมีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อยู่
ด้วยหรือไม่ก็ตามอันบรรจุในภาชนะและผนึกไว้ และให้หมายถึง เคร่ ืองด่ ืมท่ี
ทำาหรือบรรจุ หรือได้จากเคร่ ืองขายเคร่ ืองด่ ืม ไม่ว่าจะขายด้วยวิธีใด แม้จะไม่
ได้บรรจุภาชนะและผนึกไว้ แต่ไม่รวมถึง
(1) น้ำา หรือ น้ำาแร่ตามธรรมชาติ
(2) เคร่ ืองด่ ืมซ่ ึงผู้ผลิตได้ผลิตขึ้นเพ่ ือขายปลีกโดยเฉพาะ อันมิได้มก
ี ๊าซ CO2
อยู่ด้วย
(3) น้ำานมท่ีไม่มีส่ิงเจือปน
(4) เคร่ ืองด่ ืมท่ีรัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา เช่น น้ำาสับปะรดท่ีผลิต
จากสับปะรดในประเทศไทย เป็ นต้น
จ. การเสียภาษีสรรพสามิตจากซีเมนต์
ซีเมนต์ท่ีต้องเสียภาษีสรรพสามิต ได้แก่ วัตถุอย่างหน่ ึงอย่างใดซ่ ึงทำาขึ้นด้วย
การเผาหินปูนและดินเหนียวอันผสมกันอยู่แล้วตามธรรมดาหรือนำามาผสม
ขึ้น อาจใช้ได้เพ่ ือประโยชน์ดัง่ใช้ซีเมนต์กันตามปกติ และรวมทัง้ปอนแลนด์
ซีเมนต์ และวัสดุอ่ืนซ่ ึงเสนาบดีเห็นว่าทำาขึ้นหรือขายเป็ นซีเมนต์ชนิดหน่ ึง
หรือเพ่ ือให้ใช้แทนซีเมนต์
ฉ. การเสียภาษีสรรพาสามิตจากไพ่
ไพ่ท่ีต้องเสียภาษีสรรพสามิต คือ ไพ่ท่ีทำาด้วยกระดาษหรือหนังหรือวัตถุอ่ืน
ซ่ ึงกำาหนดไว้ในกฎกระทรวง
ช. การเก็บภาษีสรรพสามิตจากไม้ขีดไฟ
ไม้ขีดไฟท่ีต้องเสียภาษีสรรพสามิตไม่ได้มค
ี ำาจำากัดความไว้ ดังนัน
้ ในทาง
ปฏิบัติจึงจัดเก็บจากไม้ขีดไฟตามความหมายทัว่ไป
ซ. การเก็บภาษีสรรพสามิตจากเคร่ ืองขีดไฟ
เคร่ ืองขีดไฟท่ีต้องเสียภาษีสรรพสามิต คือ เคร่ ืองกล หรือ เคร่ ืองเคมี ซ่ ึง
หยิบถือไปได้ และประสงค์ทำาให้เกิดไฟ
ฌ. การเก็บภาษีสรรพสามิตจากยานัตถุ์
ยานัตถุ์ท่ีต้องเสียภาษีสรรพสามิต ได้แก่ ผงปรุงขึ้นจากวัตถุใด ๆ ซ่ ึงโดย
ปกติใช้เป่ าหรือสูดเข้าจมูก นอกจากท่ีรัฐมนตรีประกาศยกเว้นในพระราชกิจ
จานุเบกษา
กฎหมายภาษีโรงเรือนและท่ีดิน
(ก) ภาษีโรงเรือน
เป็ นภาษีทางตรงซ่ ึงเก็บจากฐานภาษี ค่ารายปี โรงเรือนหรือส่ิงปลูกสร้าง
อย่างอ่ ืน ๆ กับท่ีดินซ่ ึงใบต่อเน่ ืองกับโรงเรือนหรือส่ิงปลูกสร้างอย่างอ่ ืน ๆ
นัน
้ อัตราภาษีโรงเรือน คือ ร้อยละ 12.5 ของจำานวนเงินซ่ ึงทรัพย์สินนัน ้ ๆ
ทรัพย์สินต่อไปนีย้ กเว้นไม่ต้องเสียภาษีโรงเรือน
(1) พระราชวังอันเป็ นส่วนของแผ่นดิน
(2) ทรัพย์สินของรัฐบาลซ่ ึงใช้ในกิจการของรัฐบาลหรือสาธารณะ
(3) ทรัพย์สินของโรงพยาบาลสาธารณะและโรงเรียนสาธารณะ
(4) ทรัพย์สินซ่ ึงเป็ นศาสนสมบัติอันใช้เฉพาะในศาสนกิจอย่างเดียว หรือเป็ น
ท่ีอยู่ของสงฆ์
(5) โรงเรือนหรือส่ิงปลูกสร้างอย่างอ่ ืน ๆ ซ่ ึงปิ ดไว้ตลอดปี และเจ้าของมิได้อยู่
เองหรือให้ผู้อ่ืนอยู่ นอกจากคนเฝ้ า
(6) โรงเรือนหรือส่ิงปลูกสร้างอย่างอ่ ืน ๆ ซ่ ึงเจ้าของออยู่เอง หรือให้ผู้แทน
เฝ้ ารักษาและซ่ ึงมิได้ใช้เป็ นท่ีไว้สินค้าหรือประกอบอุตสาหกรรม
(ข) ภาษีท่ีดิน
ภาษีท่ีดินเป็ นภาษีทางตรง ซ่ ึงมีฐานภาษีถือค่ารายปี ของทรัพย์สิน คือท่ีดิน
ซ่ ึงมิได้ใช้ต่อเน่ ืองกับโรงเรือนหรือส่ิงปลูกสร้าง อัตราภาษีถือร้อยละ 7 แห่ง
ค่ารายปี นัน้ และค่ารายปี คือส่วนย่ีสิบแห่งราคาของทรัพย์สิน
ท่ีดินต่อไปนีย ้ กเว้นไม่เสียภาษีท่ีดิน
(1) ท่ีดินของรัฐบาลซ่ ึงใช้ในกิจการของรัฐบาลหรือสาธารณะ
(2) ท่ีดินของโรงพยาบาลสาธารณะและโรงเรียนสาธารณะ
(3) ท่ีดินซ่ ึงเป็ นศาสนสมบัติอันใช้เฉพาะกิจในศาสนาอย่างเดียว
(4) สุสานสาธารณะ
(ค) การประเมินภาษีโรงเรือนและภาษีท่ีดิน
ภายใน 4 เดือน นับแต่วันท่ี 1 มกราคม ทุก ๆ ปี ให้พนักงานเจ้าหน้าท่ี
ประกาศให้ผู้รับประเมินซ่ ึงเป็ นเจ้าของกรรมสิทธิใ์นทรัพย์สินท่ีตัง้อยู่ในท้อง
ท่ีไปรับแบบพิมพ์จากกรรมการอำาเภอหรือพนักงานเทศบาลภายในกำาหนด
30 วัน ให้กรอกข้อความตามท่ีตนทราบในแบบพิมพ์ และรับรองว่าข้อความ
เป็ นจริง แล้วลงวันท่ี ช่ ือ ส่งคืนไปยังกรมการอำาเภอภายในกำาหนด เม่ ือ
พนักงานเจ้าหน้าท่ีตรวจทรัพย์สินแล้ว พนักงานเจ้าหน้าท่ีจะกำาหนดประเภท
แห่งหนีส ้ ิน ค่ารายปี และค่าภาษี
ค่าภาษีค้าง – ถ้าค่าภาษีมไิ ด้ชำาระภายในเวลากำาหนดถือว่าเป็ นค่าภาษีค้าง
กฎหมายภาษีป้าย
ภาษีป้าย คือ ภาษีทางตรงซ่ ึงมีฐานภาษีและวัตถุแห่งภาษีคือ ป้ าย ป้ ายท่ี
ต้องเสียภาษี ได้แก่ ป้ ายแสดงช่ ือ ย่ีห้อหรือเคร่ ืองหายท่ีใช้ในการประกอบ
การค้า หรือประกอบกิจการอ่ ืนเพ่ ือหารายได้หรือโฆษณาการค้าหรือกิจการ
อ่ ืนเพ่ ือหารายได้ ไม่วา่ จะแสดงหรือโฆษณาไว้ท่ีวัตถุใด ๆ ด้วยอักษร ภาพ
หรือเคร่ ืองหายท่ีเขียน แกะสลักจารึก หรือทำาให้ปรากฏด้วยวิธอ่ ืน
หน่วยท่ี 13

กฎหมายอาญาและกฎหมายแพ่งเป็ นกฎหมายสารบัญญัติซ่ึงมุ่งท่ีจะรักษา
ความเป็ นระเบียบและความสงบเรียบร้อยของสังคม
กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งเป็ นกฎ
หมายวิธิสบัญญัติซ่ึงกำาหนดวิธีพิจารณาความอาญาและกฎหมายวิธีพิจารณา
ความแพ่ง เป็ นกฎหมายวิธีสบัญญัติซ่ึงกำาหนดวิธด ี ำาเนินการแก่ผก
ู้ ระทำาผิด
ขัน
้ ตอนวิธีดำาเนินการนีเ้รียกว่า กระบวนการยุติธรรม
“กระบวนการยุติธรรม” หมายถึง วิธีดำาเนินการแก่ผู้ท่ีประพฤติฝ่าฝื น
กฎหมาย กระบวนการยุติธรรมท่ีสำาคัญในปั จจุบัน ได้แก่
- กระบวนการยุติธรรมทางอาญา
- กระบวนการยุติธรรมทางแพ่ง
- กระบวนการยุติธรรมทางแรงงาน
- กระบวนการยุติธรรมในศาลเด็ก และ
- กระบวนการยุติธรรมในศาลทหาร
กระบวนการยุติธรรมหลักจะจำากัดเพียงกระบวนการยุติธรรมทางอาญา และ
กระบวนการยุติธรรมทางแพ่งเท่านัน ้
กระบวนการยุติธรรมทางอาญา เป็ นกระบวนการสำาหรับดำาเนินคดีอาญา
บทบัญญัติท่ีกำาหนดวิธีดำาเนินคดีอาญามีอยู่ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา
ความอาญา ส่วนกระบวนการยุติธรรมทางแพ่งก็เป็ นกระบวนการสำาหรับ
ดำาเนินคดีแพ่ง ซ่ ึงมีบทบัญญัติอยู่ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
บุคคลผู้เก่ียวข้องในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา คือ ผู้กระทำาความผิด ผู้
เสียหาย พนักงานฝ่ ายปกครองหรือตำารวจ พนักงานอัยการ ศาลและเจ้า
หน้าท่ีฝ่ายราชทัณฑ์
ผู้กระทำาความผิด
หมายถึง ผู้กระทำาความผิดอาญาอย่างใดอย่างหน่ ึง ฐานะของผู้กระทำาความ
ผิดย่อมเปล่ียนแปลงไปตามขัน ้ ตอนของการดำาเนินการ กล่าวคือ ตกอยู่ใน
ฐานะผู้ต้องหา หรือในฐานะจำาเลย
(1) ผู้ต้องหา หมายถึง บุคคลผู้ถูกกล่าวหาว่าได้กระทำาความผิด แต่ยังมิได้ถูก
ฟ้ องต่อศาล ผูก
้ ระทำาความผิดจะตกอยู่ในฐานะผู้ต้องหาต่อเม่ ือถูกกล่าวหา
ต่อเจ้าพนักงาน (ตำารวจ) ว่าได้กระทำาความผิด หากยังไม่มีการกล่าวหาเช่น
นัน้ ก็ยังไม่ตกเป็ นผู้ต้องหา ฐานะความเป็ นผู้ต้องหาจะเกิดขึ้นเม่ ือมีการกล่า
วหาต่อเจ้าพนักงาน แม้ผู้กระทำาผิดนัน ้ จะยังไม่ถูกจับกุมก็ตาม
การตกอยู่ในฐานะผู้ต้องหา ไม่ก่อให้ผู้ต้องหามีสิทธิแต่ประการใด เช่น สิทธิ
ในการแต่งทนาย หรือสิทธิในการปรึกษากับทนาย เป็ นต้น
(2) จำาเลย หมายถึง บุคคลซ่ ึงถูกฟ้ องยังศาลแล้วโดยข้อหาว่าได้กระทำาผิด ผู้
กระทำาความผิดย่อมตกอยู่ในฐานะจำาเลยเม่ ือถูกฟ้ องยังศาลแล้ว แต่คำาจำากัด
ความนีใ้ช้ได้เฉพาะกรณีพนักงานอัยการเป็ นโจทก์ฟ้องเท่านัน ้ กล่าวคือ เม่ ือ
พนักงานอัยการย่ ืนฟ้ องคดีต่อศาล ผู้ถูกฟ้ องก็ตกอยู่ในฐานะจำาเลยทันที
โดยไม่ต้องรอให้ศาลสัง่รับฟ้ องเสียก่อน อย่างไรก็ตาม ในคดีท่ีราษฎรเป็ น
โจทก์ฟ้องเอง ผู้ถูกฟ้ องยังไม่ตกอยู่ในฐานะจำาเลย จนกว่าศาลจะสัง่ได้มค ี ำา
สัง่ให้รับฟ้ องไว้
เม่ ือตกอยู่ในฐานะจำาเลยแล้ว จำาเลยย่อมมีสิทธิต่าง ๆ ดังนี้
1. แต่งทนายแก้ต่างในชัน ้ ไต่สวนมูลฟ้ อง หรือพิจารณาในศาลชัน ้ ต้น ตลอด
จนชัน ้ ศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกา
2. พูดจากับทนายหรือผูท
้ ่ีจะเป็ นทนายสองต่อสอง
3. ตรวจดูสำานวนการกไต่สวนมูลฟ้ องหรือพิจารณาของศาล และคัดสำาเนา
หรือขอสำาเนาท่ีรับรองว่าถูกต้องโดยเสียค่าธรรมเนียม
4. ตรวจดูส่ิงท่ีย่ืนเป็ นพยานหลักฐาน และคัดสำาเนาหรือถ่ายรูปส่ิงนัน
้ ๆ
ถ้าจำาเลยมีทนาย ทนายย่อมมีสิทธิทำานองเดียวกับจำาเลยดังกล่าวมาแล้วนัน

ด้วย
ผู้เสียหาย
หมายถึง บุคคลผูไ้ ด้รบ ั ความเสียหายเน่ ืองจากการกระทำาผิดฐานใดฐานหน่ ึง
รวมทัง้บุคคลอ่ ืนท่ีมีอำานาจจัดการแทนได้ และหมายถึงบุคคล 2 ประเภท คือ
1. ผู้เสียหายท่ีแท้จริง
2. ผู้มีอำานาจจัดการแทนผู้เสียหายท่ีแท้จริง
(1) ผู้เสียหายท่ีแท้จริง จะต้องประกอบด้วยหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
เป็ นบุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคล
มีการกระทำาผิดอาญาเกิดแก่บุคคลนัน้
บุคคลนัน้ ได้รบ
ั ความเสียหายจากการกระทำาผิดนัน
้ คือ เสียหายโดย
พฤตินัย
บุคคลนัน ้ ต้องเสียหายโดยนิตินัย
ผู้เสียหายท่ีแท้จริงจะต้องเป็ นทัง้ผู้เสียหายตามความเป็ นจริง (พฤตินัย) และ
ตามกฎหมาย (นิตินัย) ลำาพังแค่เป็ นผู้เสียหายโดยพฤตินัย แต่มิใช่ผู้เสียหาย
โดยนิตินัย กฎหมายไม่ถือว่า ผู้นัน
้ เป็ นผู้เสียหาย
“เสียหายโดยนิตินัย” หมายความว่า บุคคลนัน ้ ต้องไม่เป็ นผู้มาส่วนร่วมใน
การกระทำาผิดด้วย หรือต้องไม่ยินยอมให้กระทำาผิดต่อตน หรือการกระทำา
ผิดนัน ้ ต้องมิได้มีมูลมาจากการท่ีตนเองมีเจตนาฝ่ าฝื นกฎหมาย ความสงบ
เรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
(2) ผู้มีอำานาจจัดการแทนผู้เสียหายท่ีแท้จริง
ผู้มีอำานาจจัดการแทนนีอ ้ าจจะเรียกว่าเป็ นผู้เสียหายอุปกรณ์กไ็ ด้ คือ ต้อง
อาศัยผู้เสียหายท่ีแท้จริง เพราะถ้าหากไม่มีผู้เสียหายท่ีแท้จริงตามหลักเกณฑ์
ก็ไม่ถือว่าผู้มอ
ี ำานาจจัดการแทนเป็ นผู้เสียหาย
ผู้มีอำานาจจัดการแทนตามมาตรา 4 ได้แก่ สามี ตามมาตรา 4 ผู้เสียหายท่ีแท้
จริงคือภริยา และผู้มีอำานาจจัดการแทน คือ สามี
ผู้มีอำานาจจัดการแทนตามมาตรา 5 บุคคลเหล่านีจ้ัดการแทนผู้เสียหายได้
1. ผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้อนุบาล เฉพาะแต่ในความผิดซ่ ึงได้กระทำาต่อผู้
เยาว์ หรือผู้ไร้ความสามารถซ่ ึงอยู่ในความดูแล
2. ผูบ
้ ุพการี ผู้สบ
ื สันดาน สามีหรือภริยา เฉพาะแต่ในความผิดอาญาซ่ ึงผู้เสีย
หายถูกทำาร้ายถึงตาย หรือบาดเจ็บจนไม่สามารถจะจัดการเองได้
3. ผู้จด
ั การหรือผู้แทนอ่ ืน ๆ ของนิติบุคคล เฉพาะความผิดซ่ ึงกระทำาลงแก่
นิติบุคคลนัน ้
ผู้มีอำานาจจัดการแทนตามมาตรานี ไ ้ ด้แก่ผู้แทนโดยชอบธรรม
ผู้บุพการี ผู้สืบสันดาน สามี หรือภริยา ผู้จดั การหรือผู้แทนนิติบุคคล
ผู้มีอำานาจจัดการแทนตามมาตรา 6 กรณีนีก ้ ฎหมายเรียกว่า “ผู้แทนเฉพาะ
คดี” ผู้แทนเฉพาะคดีตัง้ได้เฉพาะในคดีท่ีความผิดได้กระทำาแก่ผู้เยาว์ หรือผู้
ไร้ความสามารถ ซ่ ึงอยู่ในความดูและตามมาตรา 5 (1) เท่านัน
้ แต่งจะตัง้ผู้
แทนเฉพาะคดีตามมาตรา 5 (2) ไม่ได้ เพราะในคดีอาญาท่ีผู้เสียหายถูกทำาร้าย
ถึงตายหรือบาดเจ็บจนไม่สามารถจัดการเองได้นัน
้ ปวอ. มาตรา 5 (2) ให้
บุพการี ผู้สืบสันดาน สามีหรือภริยา เป็ นผู้จัดการแทน แม้บุคคลเหล่านีจ้ะ
ไม่มีตัวตนอยู่ก็ดี ก็จะตัง้ผู้แทนเฉพาะคดีไม่ได้
ผู้เสียหายไม่ว่าผู้เสียหายท่ีแท้จริงหรือผู้มีอำานาจจัดการแทนก็ตาม ย่อมมี
อำานาจตามท่ี ปวอ. มาตรา 3 บัญญัติไว้ กล่าวคือ
1. ร้องทุกข์
2. เป็ นโจทก์ฟ้องคดีอาญา หรือเข้าร่วมเป็ นโจทก์กับพนักงานอัยการ
3. เป็ นโจทก์ฟ้องคดีแพ่งเก่ียวเน่ ืองกับคดีอาญา
4. ถอนฟ้ องคดีอาญาหรือคดีแพ่งท่ีเก่ียวเน่ ืองกับคดีอาญา
5. ยอมความในคดีความผิดต่อส่วนตัว
พนักงานฝ่ ายปกครองหรือตำารวจ
เจ้าหน้าท่ีของรัฐซ่ ึงมีหน้าท่ีจบ
ั กุมและปราบปรามผู้กระทำาผิดก็จะเข้าไป
เก่ียวข้อง ในชัน
้ แรกพนักงานฝ่ ายปกครองหรือตำารวจจะเข้าไปเก่ียวข้องก่อน
เพ่ ือจับกุมและสอบสวนผู้กระทำาผิด
พนักงานฝ่ ายปกครองกับตำารวจ ซ่ ึงแต่ละประเภทแบ่งออกเป็ น 2 ระดับ คือ
ระดับผู้ใหญ่กับระดับผู้น้อย
พนักงานฝ่ ายปกครองหรือตำารวจชัน ้ ผู้ใหญ่ กฎหมายก็อาจจับกุมได้โดยไม่
ต้องมีหมายจับ
ส่วนพนักงานฝ่ ายปกครองหรือตำารวจชัน ้ ผู้น้อยจะจับโดยไม่มห ี มายจับไม่ได้
พนักงานฝ่ ายปกครองชัน ้ อยู่ใหญ่ ได้แก่ ปลัดกระทรวงมหาดไทยลงไปถึง
ปลัดอำาเภอ ผู้เป็ นหัวหน้าประจำาก่ิงอำาเภอ ผู้ท่ีตำาแหน่งต่ำากว่านีก ้ ็เป็ น
พนักงานฝ่ ายปกครองชัน ้ ผู้น้อย เช่น ปลัดอำาเภอท่ีมิใช่หัวหน้าก่ิงอำาเภอ
กำานัน ผู้ใหญ่บา้ น เป็ นต้น และตำารวจชัน ้ ผู้ใหญ่ ได้แก่ อธิบดีกรมตำารวจลง
ไปจนถึงหัวหน้าก่ิงสถานีอำาเภอซ่ ึงมียศตัง้แต่ร้อยตำารวจตรีหรือเทียบเท่าขึ้น
ไป ผู้ท่ีมีตำาแหน่งต่ำากว่านีก ้ ็เป็ นตำารวจชัน ้ ผู้น้อย เช่น ร้อยตำารวจตรีหรือโท
ท่ีมิใช่หัวหน้า ก่ิงสถานีตำารวจ จ่านายสิบตำารวจ เป็ นต้น
ในการดำาเนินคดีกับผูก ้ ระทำาผิด จะมีการสืบสวนและการสอบสวนก่อน การ
สืบสวนเป็ นอำานาจหน้าท่ีของพนักงานฝ่ ายปกครองหรือตำารวจทุกคน จะ
เป็ นชัน ้ ผู้ใหญ่หรือชัน
้ ผู้น้อยก็สามารถสืบสวนคดีอาญาได้ แต่การสอบสวน
ผู้ท่ีมีอำานาจสอบสวน คือ พนักงานสอบสวนเท่านัน ้ หากมิใช่พนักงาน
สอบสวนก็จะสอบสวนไม่ได้
เจ้าหน้าท่ีต่อไปนีเ้ป็ นพนักงานสอบสวน
1. ในกรุงเทพมหานคร ได้แก่ ข้าราชการตำารวจซ่ ึงมียศตัง้แต่ร้อยตำารวจตรี
หรือเทียบเท่า
2. ในจังหวัดอ่ ืน ได้แก่ พนักงานฝ่ ายปกครองหรือตำารวจชัน
้ ผู้ใหญ่ ปลัด
อำาเภอ ข้าราชการตำารวจซ่ ึงมียศตัง้แต่ร้อยตำารวจตรีหรือเทียบเท่า
ในปั จจุบัน พนักงานสอบสวนทัง้ในกรุงเทพฯ และจังหวัดอ่ ืน ๆ ก็คือ
ข้าราชการตำารวจตัง้แต่ระดับร้อยตำารวจตรีหรือเทียบเท่าขึ้นไป
พนักงานอัยการ
พนักงานอัยการเป็ นเจ้าหน้าท่ีของรัฐ ซ่ ึงดำาเนินคดีต่อจากพนักงานสอบสวน
คือ เม่ ือพนักงานสอบสวนได้สอบสวนคดีเสร็จแล้วก็จะส่งสำานวนการ
สอบสวนให้พนักงานอัยการเพ่ ือฟ้ องผู้ต้องหาต่อศาล
พนักงานอัยการเป็ นข้าราชการสังกัดกรมอัยการ กระทรวงมหาดไทย ซ่ ึงใน
ศาลชัน้ ต้นทุกศาลจะมีพนักงานอัยการประจำาอยู่ เพ่ ือเป็ นโจทก์ฟ้องคดีอาญา
ในศาลนัน ้ ๆ ไม่วา่ จะเป็ นศาลแขวง ศาลจังหวัด ศาลคดีเด็กและเยาวชน
หรือศาลอาญา
ศาล
ศาลมีอำานาจเก่ียวกับคดีอาญามีบัญญัติไว้ในพระธรรมนูญศาลยุติธรรม ซ่ ึง
แบ่งศาลออกเป็ น 3 ชัน ้ คือ
1. ศาลชัน
้ ต้น
2. ศาลอุทธรณ์ และ
3. ศาลฎีกา
ศาลชัน ้ ต้นท่ีมีอำานาจดำาเนินการคดีอาญาสำาหรับกรุงเทพมหานคร ได้แก่
ศาลแขวงพระนครเหนือ ศาลแขวงพระนครใต้ ศาลแขวงธนบุรี ศาลคดีเด็ก
และเยาชนกลาง ศาลอาญาธนบุรี และศาลอาญาในจังหวัดอ่ ืน ได้แก่ ศาล
แขวง ศาลจังหวัด และศาลคดีเด็กและเยาวชน
ศาลอุทธรณ์ มีอำานาจพิพากษาเฉพาะคดีท่ีอุทธรณ์ คัดค้าน และพิพากษา
ของศาลชัน ้ ต้น
ศาลฎีกา ซ่ ึงเป็ นศาลสูงสุด มีอำานาจพิจารณาพิพากษาเฉพาะคดีท่ีฎีกา
คัดค้านคำาพิพากษาของศาลอุทธรณ์
คดีอาญาจะต้องฟ้ องท่ีศาลชัน ้ ต้นเป็ นลำาดับแรก ปั ญหาในการฟ้ องคดีอาญา
คือ จะย่ ืนฟ้ องต่อศาลชัน ้ ต้นศาลใด เพราะถ้าฟ้ องผิดศาล ก็อาจถูกยกฟ้ อง
ซ่ ึงทำาให้เสียหายแก่การดำาเนินคดีได้ การท่ีจะฟ้ องคดีอาญาต่อศาลชัน ้ ต้น
ศาลใดนัน ้ จะต้องพิจารณาถึงเขตอำานาจศาลของศาลท่ีจะฟ้ อง คือ คดีอาญา
จะต้องอยู่ในเขตอำานาจของศาลนัน ้ ๆ หากไม่อยู่ในเขตอำานาจศาลแล้ว ศาล
ก็ไม่มอ
ี ำานาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญาท่ีฟ้องได้
เขตอำานาจศาล มีความหมาย 2 ประการ คือ
1. เขตศาล
2. อำานาจพิจารณาพิพากษาคดีของศาล
(1) เขตศาล หมายถึง เขตท้องท่ีทางปกครองท่ีอยู่ใต้อำานาจของศาลนัน

(2) อำานาจพิจารณาพิพากษาคดีของศาล ศาลชัน
้ ต้นจะมีอำานาจพิจารณา
พิพากษาคดีใดนัน ้ ต้องเป็ นไปตามบทบัญญัติในพระธรรมนูญศาลยุติธรรม
กล่าวคือ
1. ศาลแขวง เป็ นศาลพิจารณาคดีเล็ก ๆ น้อย ๆ มีอำานาจพิจารณาพิพากษา
คดีอาญา
2. ศาลจังหวัด ศาลอาญาธนบุรี และศาลอายา มีอำานาจพิจารณาพิพากษาคดี
อาญาทัง้ปวง
3. ศาลคดีเด็กและเยาวชน มีอำานาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญาท่ีเด็กหรือ
เยาวชนกระทำาผิด ยกเว้นคดีร้ายแรงบางคดีท่ีเยาวชนกระทำาผิด
การพิจารณาตัดสินคดีนัน ้ กระทำาโดยผู้พิพากษา คำาว่า ศาล จึงมีความหมาย
ถึง ผู้พิพากษาด้วย ในการพิจารณาพิพากษาคดีผู้พิพากษาก็ทำาหน้าท่ีเป็ น
คนกลางท่ีจะต้องให้ความยุติธรรมแก่ทุกฝ่ ายในคดี และกฎหมายก็ประสงค์
ให้ผู้พิพากษาวางตัวเป็ นกลางจริง ๆ
หากผู้ใดทำาการขัดขวางการพิจารณามิให้ดำาเนินไปโดยเท่ียงธรรม กฎหมายก็
ถือว่า ผู้นัน
้ ละเมิดอำานาจศาล ซ่ ึงศาลมีอำานาจลงโทษได้โดยไม่ต้องฟ้ องร้อง
การกระทำาอันเป็ นการละเมิดอำานาจศาล เช่น ประพฤติตนไม่เรียบร้อยใน
บริเวณศาล จงใจไม่รับคำาคูค ่ วามหรือเอกสารท่ีศาลมีคำาสัง่ให้ส่งถึงตนหรือ
หลีกเล่ียงไม่รบ ั คำาคู่ความนัน ้ ขัดขืนไม่มาศาลเม่ ือศาลสัง่หรือมีหมายเรียกให้
มาศาล เป็ นต้น
เจ้าหน้าท่ีฝ่ายราชทัณฑ์
เจ้าหน้าท่ีฝ่ายราชทัณฑ์จะเข้ามาเก่ียวข้องในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา
เกือบทุกขัน ้ ตอน ทัง้ก่อนศาลพิจารณา ระหว่างการพิจารณา และภายหลังท่ี
ศาลพิพากษาคดีแล้ว และในทุกชัน ้ ศาล ทัง้ศาลชัน้ ต้น ศาลอุทธรณ์ ตลอด
จนศาลฎีกา กล่าวคือ เจ้าหน้าท่ีฝ่ายราชทัณฑ์จะทำาหน้าท่ีควบคุมผู้ต้องหา
หรือจำาเลยไว้ในระหว่างดำาเนินคดี
ในกรณีท่ีศาลพิพากษาจำาคุกหรือประหารชีวิตจำาเลย เจ้าหน้าท่ีฝ่ายราชทัณฑ์
ก็จะต้องดำาเนินการให้เป็ นไปตามคำาพิพากษาของศาล และเม่ ือศาลสัง่ปล่อย
ผู้ต้องหาหรือจำาเลยท่ีถูกควบคุมตัวอยู่ ก็จะต้องปฏิบัติตามคำาสัง่นัน ้ ด้วย
อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าท่ีฝ่ายราชทัณฑ์หาได้มีความรับผิดชอบเฉพาะแต่การ
ควบคุมหรือปล่อยผู้ต้องหาหรือจำาเลยตามคำาสัง่เท่านัน ้ ไม่ แต่ยังมีความรับ
ผิดชอบสำาคัญอ่ ืน คือ การฝึ กอบรมและแก้ไขผู้ถูกคุมขังให้กลับตนเป็ นคนดี
ด้วยการให้การศึกษาอบรมทัง้ในด้านศีลธรรมและอาชีพ เพ่ ือให้ผู้ต้องขัง
สามารถปรับตัวเข้ากับสังคมภายนอกได้ภายหลังปลดปล่อยตัวไป
วิธีพิจารณาก่อนคดีขึ้นสู่ศาล
ในการจัดการกับผูก ้ ระทำาผิด รัฐได้ก่อตัง้สถาบันต่าง ๆ ขึ้นเพ่ ือดำาเนินการ
ได้แก่
พนักงานฝ่ ายปกครองและตำารวจ เป็ นผู้มีหน้าท่ีสอบสวนความผิด
อัยการเป็ นโจทก์ ฟ้ องผู้ต้องหา ศาลเป็ นผู้พิจารณาพิพากษาคดี และ
เจ้าหน้าท่ีฝ่ายราชทัณฑ์ ซ่ ึงจะจัดการให้เป็ นไปตามคำาพิพากษาของศาล
กระบวนการยุติธรรมทางอาญา อาจแบ่งได้เป็ น 3 ขัน ้ ตอนใหญ่ ๆ คือ
1. ขัน
้ ตอนก่อนคดีขึ้นสู่ศาล
2. ขึ้นตอนในชัน
้ ศาล และ
3. ขัน
้ ตอนภายหลังศาลพิพากษาคดี
ในขัน้ ตอนวิธีพิจารณาก่อนคดีขึ้นสู่ศาล เป็ นขัน
้ ตอนเก่ียวกับการดำาเนินงาน
ของพนักงานฝ่ ายปกครองหรือตำารวจ กับขัน ้ ตอนการดำาเนินงานของอัยการ
กล่าวอีกนัยหน่ ึงก็คือ การสืบสวนสอบสวนและการฟ้ องคดีอาญา
(ก) การสืบสวนสอบสวน
การสืบสวนเป็ นการแสวงหาข้อเท็จจริงและหลักฐาน เป็ นอำานาจของ
พนักงานฝ่ ายปกครองหรือตำารวจทุกคน และสามารถสืบสวนคดีอาญาทัง้
มวลในทุกท้องท่ีทัว่ราชอาณาจักร โดยท่ีพนักงานสอบสวนก็เป็ นพนักงาน
ฝ่ ายปกครองหรือตำารวจ ฉะนัน ้ พนักงานสอบสวนจึงมีอำานาจสืบสวนด้วย
คดีอาญาแม้ไม่มีการสืบสวนเลยอัยการก็ฟ้องได้
การสอบสวนเป็ นการกระทำาของพนักงานสอบสวน ภายหลังท่ีความผิด
อาญาได้เกิดขึ้นแล้ว อันได้แก่ การรวบรวมพยานหลักฐานต่าง ๆ อาจเป็ น
พยานบุคคล พยานวัตถุ พยานเอกสาร และการดำาเนินการอ่ ืน ๆ เช่น การ
ควบคุมผู้ต้องหา การฝากขังผู้ต้องหาต่อศาล เป็ นต้น ทัง้นีเ้พ่ ือทราบข้อเท็จ
จริงหรือพิสูจน์ความผิด และเพ่ ือจะเอาตัวผู้กระทำาความผิดมาฟ้ องลงโทษ
(ข) การฟ้ องคดีอาญา
ในการสืบสวนสอบสวนกฎมายได้ให้อำานาจสำาคัญแก่พนักงานฝ่ ายปกครอง
หรือตำารวจหลายประการ รวมทัง้พนักงานสอบสวนด้วย ได้แก่ อำานาจใน
การจับ ควบคุม ค้น และปล่อยชัว่คราว
การจับ เป็ นการจำากัดเสรีภาพในร่างกายของผู้ถูกจับ ในลักษณะท่ีทำาให้
เสรีภาพในการเคล่ ือนท่ีสิน ้ สุดลง
การควบคุมตัวผู้ถูกจับ กฎหมายห้ามมิให้ใช้วิธีควบคุมผู้ถูกจับเกินกว่าท่ี
จำาเป็ น เพ่ ือป้ องกันมิให้หนี วิธีควบคุมในท่ีนี เ ้ ช่นการใส่กุญแจมือล
การใช้กำาลังจับยืดตัว เป็ นต้น
การค้น กฎหมายให้อำานาจเฉพาะพนักงานฝ่ ายปกครองหรือตำารวจเป็ นผู้ค้น
ราษฎรจะค้นไม่ได้เลย ซ่ ึงต่างกับเร่ ืองการจับ
การปล่อยตัวคราว เน่ ืองจากระหว่างการดำาเนินคดี กฎหมายสันนิษฐานว่า
บุคคลนัน ้ ยังเป็ นผู้บริสุทธิอ์ยู่ ด้วยเหตุนีจ้ึงให้โอกาสแก่บุคคลนัน
้ ท่ีจะได้รับ
อิสรภาพชัว่คราวในระหว่างดำาเนินคดี โดยวิธีนีเ้รียกว่า “ปล่อยชัว่คราว”
หรือตามภาษาสามัญเรียกว่า “การประกันตัว”
ผู้มีอำานาจฟ้ องคดีอาญาต่อศาล คือ
(1) พนักงานอัยการ
(2) ผู้เสียหาย
ในกรณีท่ีผู้เสียหายฟ้ องคดีอาญาเอง ก็ฟ้องได้เลยโดยไม่ต้องมีการสอบสวน
ก่อน และเม่ ือย่ ืนฟ้ องแล้ว ผู้เสียหายตายลง กฎหมายก็ให้อำานาจแก่ผู้
บุพการี ผู้สืบสันดาน สามี หรือภริยาท่ีจะดำาเนินคดีต่างผู้ตายต่อไปได้
ส่วนกรณีท่ีพนักงานอัยการฟ้ องคดีอาญา การสอบสวนเป็ นเง่ ือนไขจำาเป็ น
หากยังไม่มีการสอบสวนในความผิดนัน ้ พนักงานอัยการจะย่ ืนฟ้ องคดีไม่ได้
◊ส่งสำานวนการสอบสวน + เสนอความเห็น สอบสวน อัยการ (สัง่ฟ้ อง
หรือไม่สัง่ฟ้ องผู้ต้องหา)
กฎหมายให้อำานาจแก่พนักงานอัยการท่ีจะสัง่ตามท่ีเห็นสมควรให้พนักงาน
สอบสวนทำาการสอบสวนเพ่ิมเติม และวินิจฉัยว่าควรปล่อยผู้ต้องหา ปล่อย
ชัว่คราว ควบคุมไว้ หรือขอให้ศาลขังแล้วแต่กรณี
ในกรณีความผิดเกิดขึ้นในราชอาณาจักร ให้ย่ืนฟ้ องท่ีศาลชัน ้ ต้นศาลใดศาล
หน่ ึง ดังนี้
1. ศาลแห่งท้องท่ีท่ีความผิดได้เกิด อ้าง หรือเช่ ือว่าได้เกิดขึ้นในเขตอำานาจ
2. ศาลแห่งท้องท่ีท่ีจำาเลยมีท่ีอยู่หรือถูกจับในเขตอำานาจ
3. ศาลแห่งท้องท่ีท่ีพนักงานสอบสวนได้สอบสวนความผิดนัน

สำาหรับกรณีความผิดเกิดขึ้นนอกราชอาณาจักร โจทก์จะต้องย่ ืนฟ้ องต่อศาล
ใดศาลหน่ ึง คือ
1. ศาลอาญา หรือ
2. ศาลแห่งท้องท่ีท่ีพนักงานสอบสวนได้สอบสวนความผิดนัน

สิทธิฟ้องคดีอาญาระงับไปในกรณี ต่อไปนี้
(1) โดยความตายของผู้กระทำาผิด
(2) ในคดีความผิดต่อส่วนตัว เม่ ือได้ถอนคำาร้องทุกข์ ถอนฟ้ อง หรือยอม
ความกันโดยถูกต้องตามกฎหมาย
(3) เม่ ือคดีเลิกกันตามมาตรา 37
(4) เม่ ือมีคำาพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดท่ีได้ฟ้อง
(5) เม่ ือมีกฎหมายออกใช้ภายหลังการกระทำาผิด ยกเลิกความผิดเช่นนัน

(6) เม่ ือคดีขาดอายุความ
(7) เม่ ือมีกฎหมายยกเว้นโทษ
การฟ้ องคดีอาญาจะต้องย่ ืนฟ้ องต่อศาลท่ีมีอำานาจพิจารณาพิพากษาคดีนัน้
ได้ ส่วนการฟ้ องคดีอาญาต้องทำาเป็ นหนังสือ จะฟ้ องด้วยวาจาไม่ได้ และต้อง
มีรายละเอียดต่อไปนี้
(1) ช่ ือศาล และวัน เดือน ปี
(2) คดีระหว่างผู้ใดโจทก์ ผู้ใดจำาเลย และฐานความผิด
(3) ตำาแหน่งพนักงานอัยการผู้เป็ นโจทก์ ถ้าราษฎรเป็ นโจทก์ให้ใส่ช่ือตัว
นามสกุล อายุ ท่ีอยู่ ชาติ และบังคับ
(4) ช่ ือตัว นามสกุล ท่ีอยู่ ชาติ และบังคับของจำาเลย
(5) การกระทำาทัง้หลายท่ีอ้างว่าจำาเลยได้กระทำาผิด ข้อเท็จจริงและรายละเอียด
ท่ีเก่ียวกับเวลาและสถานท่ีซ่ึงเกิดการกระทำานัน้ ๆ อีกทัง้บุคคลหรือส่ิงของ
ท่ีเก่ียวข้องด้วยพอสมควรเท่าท่ีจะให้จำาเลยเข้าใจข้อหาได้ดี
ในคดีหม่ินประมาท ถ้อยคำาพูด หนังสือ ภาพขีดเขียน หรือส่ิงอ่ ืนอันเก่ียว
กับข้อหม่ินประมาท ให้กล่าวไว้โดยบริบรู ณ์หรือติดมาท้ายฟ้ อง
(6) อ้างมาตราในกฎหมายซ่ ึงบัญญัติว่าการกระทำาเช่นนัน
้ เป็ นความผิด
(7) ลายมือช่ ือโจทก์ ผู้เรียง ผู้เขียนหรือพิมพ์ฟ้อง
วิธีพิจารณาในชัน
้ ศาล
ตามกระบวนการพิจารณาในชัน
้ ศาล แบ่งเป็ น 3 หัวข้อ คือ
1. วิธีพิจารณาในศาลชัน
้ ต้น
2. วิธีพิจารณาในศาลอุทธรณ์
3. วิธีพิจารณาในศาลฎีกา
(ก) วิธีพิจารณาในศาลชัน
้ ต้น
การพิจารณาและสืบพยานในศาลนัน ้ กฎหมายให้ทำาโดยเปิ ดเผย และจะต้อง
ทำาต่อหน้าจำาเลย จะทำาลับหลังจำาเลยไม่ได้ ในชัน้ ศาลจำาเลยจะไม่ยอมให้การ
อย่างใด ๆ ก็ได้เหมือนกัน และการน่ิงไม่ยอมให้การถือว่าจำาเลยให้การ
ปฏิเสธฟ้ องของโจทก์
สำาหรับคดีอุกฉกรรจ์ซ่ึงมีโทษจำาคุกอย่างสูงตัง้แต่ 10 ปี ขึ้นไป และในคดีท่ีเด็ก
อายุต่ำากว่า 7 ปี แต่ไม่เกิน 14 ปี หรือเยาวชนอายุกว่า 14 ปี แต่ไม่เกิน 17 ปี
เป็ นจำาเลย ก่อนเร่ิมพิจารณา ศาลต้องถามจำาเลยว่า มีทนายหรือไม่ ถ้าไม่มี
และจำาเลยต้องการก็ให้ศาลตัง้ทนายให้
นอกจากศาลจะมีอำานาจพิจารณาและสืบพยานลับหลังจำาเลย ในบางกรณี
กฎหมายก็ให้อำานาจแก่ศาลท่ีจะสัง่ให้มีการพิจารณาลับก็ได้ คือ ไม่กระทำา
โดยเปิ ดเผย ประชาชนจะเข้าฟั งการพิจารณาไม่ได้
คำาพิพากษาจะต้องอ่านโดยเปิ ดเผยในศาลต่อหน้าคู่ความ และต้องให้คู่ความ
ลงช่ ือด้วย ถ้าเป็ นความผิดของโจทก์ท่ีไม่มา จะอ่านลับหลังโจทก์ก็ได้ แต่ถ้า
จำาเลยไม่มา หรือลงใจไม่มาฟั งจะต้องเล่ ือนการอ่านไปจนกว่าจำาเลยจะมาศาล
แต่ถ้าจำาเลยจะหลบหนีหรือจงใจไม่มาฟั งศาลต้องขอหมายจับจำาเลย และเม่ ือ
ได้ออกหมายจับไปแล้ว 1 เดือนยังไม่ได้ตัวจำาเลยมา จึงจะอ่านคำาพิพากษาลับ
หลังจำาเลยได้
(ข) วิธีพิจารณาในศาลอุทธรณ์
การอุทธรณ์เป็ นการโต้แย้งหรือคัดค้านคำาวินิจฉัยของศาลชัน ้ ต้น ซ่ ึงคู่ความ
ฝ่ ายใดฝ่ ายหน่ ึงหรือทัง้สองฝ่ ายไม่เห็นด้วยกับการวินิจฉัยนัน
้ ไม่ว่าในปั ญหา
ข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมาย ถ้าเห็นด้วยกับคำาวินจิ ฉัยของศาลชัน ้ ต้นแล้ว ก็
จะอุทธรณ์ไม่ได้
การอุทธรณ์จะต้องทำาเป็ นหนังสือ และต้องระบุข้อเท็จจริงโดยย่อหรือข้อ
กฎหมายท่ียกขึ้นอ้างอิง การย่ ืนอุทธรณ์จะต้องย่ ืนต่อศาลชัน
้ ต้นท่ีพิจารณา
คดีนัน
้ ภายในกำาหนด 15 วัน นับแต่วันอ่านคำาพิพากษาของศาลชัน ้ ต้น และ
ศาลชัน ้ ต้นจะตรวจรับอุทธรณ์ส่งไปยังศาลอุทธรณ์ต่อไป
ศาลอุทธรณ์มีอำานาจพิพากษา ยืนตามคำาพิพากษาของศาลชัน ้ ต้น หรือยกคำา
พิพากษาของศาลชัน ้ ต้น โดยให้ศาลชัน
้ ต้นพิจารณาพิพากษาใหม่ หรือแก่คำา
พิพากษาของศาลชัน ้ ต้น
(ค) วิธีพิจารณาในศาลฎีกา
การฎีกาก็เป็ นไปเช่นเดียวกับการอุทธรณ์ คือ โดยหลักคู่ความมีสิทธิฎีกา
คัดค้านคำาพิพากษาศาลอุทธรณ์ได้เสมอ ทัง้ในปั ญหาข้อกฎหมายและข้อเท็จ
จริง เว้นแต่ต้องห้ามฎีกาตามกฎหมาย และการห้ามฎีกาก็ห้ามได้เฉพาะใน
ปั ญหาข้อเท็จจริงเท่านัน
้ ปั ญหากฎหมายคู่ความย่อมฎีกาได้ทุกปั ญหา
การย่ ืนฎีกาจะต้องย่ ืนต่อศาลชัน
้ ต้นท่ีพิพากษาคดีนัน
้ ภายในกำาหนด 1 เดือน
นับแต่วันอ่านคำาพิพากษาให้คู่ความฝ่ ายฎีกาฟั ง และศาลชัน ้ ต้นจะต้องตรวจ
รับฎีกาเพ่ ือส่งไปยังศาลฎีกา เม่ ือรับฎีกาแล้ว ศาลชัน
้ ต้นก็ต้องส่งสำาเนาฎีกา
ให้แก่อก
ี ฝ่ าย เพ่ ือให้ฝ่ายนัน
้ แก้ฎีกาภายใน 7 วัน นับแต่วันรับสำาเนาฎีกา
คดีใดท่ีศาลฎีกาได้พิจารณาพิพากษาเสร็จเด็ดขาดแล้วย่อมถึงท่ีสุด จะร้อง
เรียนให้เปล่ียนแปลงข้อวินิจฉัยนัน ้ ต่อไปยังผู้ใดหรือศาลใดอีกไม่ได้
การบังคับคดีอาญา
คดีถึงท่ีสุด หมายความว่า จะดำาเนินการตามประมวลพิจารณาใด ๆ ต่อไปอีก
ไม่ได้
(1) เม่ ือศาลชัน
้ ต้นพิพากษาแล้ว ถ้าไม่มีการอุทธรณ์ภายในอายุอุทธรณ์ คดีก็
ถึงท่ีสุดนับแต่วันพ้นกำาหนดอุทธรณ์
(2) เม่ ือศาลอุทธรณ์พิพากษาแล้ว ถ้าไม่มีการกฎีกาภายในอายุฎีกา คดีถึงท่ี
สุดเม่ ือพ้นกำาหนดฎีกา
(3) คดีท่ีศาลฎีกาพิพากษาจะถึงท่ีสุดนับแต่วันอ่านคำาพิพากษาฎีกา
อายุอุทธรณ์หรือกำาหนดอุทธรณ์ คือ 15 วัน นับแต่วันอ่านหรือถือว่าได้อ่าน
คำาพิพากษาศาลชัน
้ ต้นให้ฝ่ายท่ีอุทธรณ์ฟัง
อายุฎีกาหรือกำาหนดฎีกา คือ 30 วัน นับแต่วันอ่านหรือถือว่าได้อา่ นคำา
พิพากษาศาลอุทธรณ์ให้ฝ่ายฎีกาฟั ง
(4 ป ในกรณีคดีถึงท่ีสุดโดยศาลพิพากษายกฟ้ องปล่อยจำาเลย ศาลจะออก
หมายปล่อยแจ้งให้เจ้าหน้าท่ีราชทัณฑ์ปล่อยตัวจำาเลยทันที เว้นแต่ถ้าจำาเลยมี
ประกันอยู่แล้ว ก็ไม่จำาต้องออกหมายปล่อย ศาลเพียงแต่อ่านคำาพิพากษาให้
คู่ความฟั งเท่านัน

ผลของการพระราชทานอภัยโทษ ก็คือ ถ้าอภัยโทษเด็ดขาดโดยไม่มีเง่ ือนไข
กฎหมายห้ามมิให้บังคับโทษนัน ้ ถ้าบังคับโทษไปแล้วให้หยุดทันที ถ้าเป็ น
โทษปรับท่ีชำาระแล้วให้คืนค่าปรับทัง้หมด
บุคคลผู้เก่ียวข้องในกระบวนการยุติธรรมทางแพ่ง
กฎหมายอาญาเป็ นกฎหมายท่ีวา่ ด้วยความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับเอกชน การ
ฝ่ าฝื นกฎหมายอาญาถือว่าเป็ นความผิดต่อส่วนรวม ส่วนกฎหมายแพ่งเป็ น
เร่ ืองสิทธิหน้าท่ีระหว่างเอกชนต่อเอกชน การฝ่ าฝื นกฎหมายแพ่งถือ
เป็ นการละเมิดต่อสิทธิของเอกชน
(ก) คู่ความ
โดยปกติ หมายถึง โจทก์และจำาเลยในคดี ผู้ร้องสำาหรับคดีไม่มีข้อพิพาท และ
รวมถึงบุคคลผู้มีสิทธิกระทำาแทนบุคคลนัน
้ ๆ ตามกฎหมาย หรือในฐานะ
ทนายความด้วย นอกจากนี ต ้ ามปวพ
. มาตรา 57 บุคคลภายนอกท่ีศาล
อนุญาตให้ร้องสอดเข้ามาเป็ นโจทก์หรือจำาเลยในภายหลังก็ถือว่าเป็ นคู่ความ
เช่นกัน
ผู้มีประโยชน์ส่วนได้เสียซ่ ึงสามารถเสนอคำาฟ้ องได้ หมายถึง
(1) ผู้ท่ีสิทธิหรือหน้าท่ีตามกฎหมายส่วนแพ่งถูกโต้แย้ง
(2) ผู้ทจ่ี ำาเป็ นต้องใช้สิทธิทางศาล
(1) ผู้ท่ีสิทธิหรือหน้าท่ีตามกฎหมายส่วนแพ่งถูกโต้แย้ง
หมายความว่า สิทธิของผู้ท่ีจะเสนอคำาฟ้ องถูกโต้แย้งหรือถูกกระทบกระทัง่
โดยการกระทำาหรือละเว้นกระทำาของบุคคลใดบุคคลหน่ ึง จึงจำาต้องขอความ
คุ้มครองจากศาลด้วยการฟ้ องบุคคลท่ีโต้แย้งหรือกระทบกระทัง่สิทธินัน
้ เป็ น
จำาเลยต่อศาล
(2) ผู้ทจ่ี ำาเป็ นต้องใช้ศาล
หมายความว่า ผู้นัน
้ มีสิทธิอยู่แล้วตามกฎหมาย และจำาเป็ นจะต้องใช้สิทธิ
ทางศาล เพ่ ือขอความรับรองคุ้มครองหรือบังคับตามสิทธิท่ีตนมีอยู่ หรือจะ
กระทำาการอย่างใดอย่างหน่ ึงได้ต่อเม่ ือบุคคลนัน ้ ได้ขออนุญาตหรือให้ศาล
แสดงหรือรับรองสิทธิของตนเสียก่อน เช่น การร้องขอเป็ นผู้จัดการมรดก
ของผู้ตาย
คู่ความในคดีแพ่ง อาจจะเป็ นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลก็ได้ บุคคลท่ีจะ
เป็ นคู่ความจึงต้องมีความสามารถบริบรู ณ์ ผูท ้ ่ีไร้หรือหย่อนความสามารถจะ
เข้ามาเป็ นคู่ความไม่ได้ ไม่ว่าในฐานะโจทก์ จำาเลย หรือผู้ร้องก็ตาม แต่จะ
ต้องแก้ไขข้อบกพร่องก่อนเข้ามาเป็ นคู่ความในคดีหรือแก้ไขความสามารถให้
ถูกต้องเสียก่อน กล่าวคือ ต้องให้บุคคลอ่ ืนท่ีมีอำานาจตามกฎหมายเป็ นผู้
กระทำาการแทน หรือให้คำาอนุญาต หรือให้ความยินยอมเสียก่อน
ถ้าบุคคลเป็ นผู้เยาว์แล้ว การฟ้ องคดีหรือต่อสู้คดีเม่ ือถูกฟ้ อง จะต้องให้ผู้
แทนโดยชอบธรรมกระทำาแทน ผู้เยาว์จะกระทำาเองได้ต่อเม่ ือได้รับความ
ยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรม
สำาหรับคนวิกลจริตท่ีมีผู้อนุบาล ก็ต้องให้ผู้อนุบาลเข้าดำาเนินคดีแทน ส่วน
คนเสมือนไร้ความสามารถจะต้องได้รับความยินยอมของผู้พิทักษ์ก่อนท่ีจะ
ดำาเนินคดีในศาลได้ ผู้พิทักษ์มห ี น้าท่ีให้ความยินยอมเท่านัน ้ จะเข้าดำาเนิน
คดีเองไม่ได้
สำาหรับกรณีท่ีคู่ความเป็ นนิติบุคคลก็ต้องมีผู้จัดการแทน ซ่ ึงได้แก่ผจู้ ัดการ
หรือผู้แทนอ่ ืน ๆ ของนิติบุคคลนัน ้
การท่ีบุคคลภายนอกร้องสอดเข้ามาเป็ นคู่ความ 3 ประการ คือ
(1) ด้วยความสมัครใจเองเพราะเห็นว่าเป็ นการจำาเป็ นเพ่ ือให้ได้รับความ
รับรองคุ้มครองหรือบังคับตามสิทธิของตนท่ีมีอยู่
(2) ด้วยความสมัครใจเองเพราะตนมีส่วนได้เสียตามกฎหมายในผลแห่งคดี
นัน้
(3) ด้วยถูกหมายเรียกให้เข้ามาในคดี
(ก) ตามคำาขอของคู่ความฝ่ ายใดฝ่ ายหน่ ึง
(ข) โดยคำาสัง่ศาล
คู่ความนอกจากนีย ้ ังหมายถึง ผู้มีสิทธิกระทำาแทนตัวความ และหมายถึง
ทนายความด้วย
ผู้มีสิทธิกระทำาแทนตัวความ ได้แก่ ผู้ท่ีตัวความแต่งตัง้ให้ดำาเนินคดีแทน
ทนายความ คือ บุคคลท่ีตัวความหรือผู้ได้รับมอบอำานาจจากตัวความแต่งตัง้
ขึ้นเพ่ ือให้ฟ้องหรือต่อสู้ในศาล
(ข) ศาล
“เขตอำานาจศาล” หมายถึง เขตศาล และอำานาจพิจารณาพิพากษาคดีของ
ศาล
อำานาจพิจารณาพิพากษาของศาลชัน ้ ต้นจะต้องเป็ นไปตามพระธรรมนูญศาล
ยุติธรรม กล่าวคือ
ศาลแขวง มีอำานาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งซ่ ึงทุนทรัพย์ในฟ้ องไม่เกินหน่ ึง
หม่ ืนบาท
ศาลจังหวัด ศาลแพ่งธนบุรี และศาลแพ่ง มีอำานาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่ง
ทัง้ปวง
ศาลคดีเด็กและเยาชน มีอำานาจพิจารณาพิพากษาคดีเช่นเดียวกับศาลจังหวัด
แต่เฉพาะคดีบางประเภทท่ีเก่ียวกับผู้เยาว์
(ค) เจ้าพนักงานบังคับคดี
เจ้าพนักงานบังคับคดี หมายถึง เจ้าพนักงานของศาล หรือพนักงานอ่ ืนผู้มี
อำานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายท่ีใช้อยู่ในอันท่ีจะปฏิบัติตามวิธีการท่ี
บัญญัติไว้ในภาค 4 แห่งประมวลกฎหมายนี เ้พ่ ือคุ้มครองสิทธิของคู่ความ
ในระหว่างการพิจารณา หรือเพ่ ือบังคับตามคำาพิพากษา หรือคำาสัง่
ผู้พิพากษามิใช่เจ้าพนักงานบังคับคดี และตำารวจก็ไม่ใช่เจ้าพนักงานบังคับคดี
การท่ีศาลจะให้ผู้ใดเป็ นเจ้าพนักงานบังคับคดี ศาลจะต้องออกหมายบังคับ
คดีตัง้ผู้นัน้ เป็ นเจ้าพนักงานบังคับคดี เจ้าพนักงานบังคับคดีกฎหมายถือว่า
เป็ นเจ้าพนักงานของศาล จึงมีหน้าท่ีต้องปฏิบัติตามคำาสัง่ของศาล
เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำานาจดังต่อไปนี้
(1) เป็ นผู้แทนเจ้าหนีใ้นอันท่ีจะรับชำาระหนีห ้ รือทรัพย์สินท่ีลูกหนีน
้ ำามาวาง
(2) ยึดหรืออายัด และยึดถือทรัพย์สินของลูกหนีต
้ ามคำาพิพากษาไว้
(3) เอาทรัพย์สินท่ียึดหรืออายัดออกขายทอดตลาด
(4) จำาหน่ายทรัพย์สินหรือเงินรายได้ของลูกหนีต
้ ามคำาพิพากษา
(5) ดำาเนินวิธีการบังคับทัว่ ๆ ไปตามท่ีศาลได้กำาหนดไว้ในหมายบังคับคดี
กรณีท่ีเจ้าพนักงานบังคับคดีจะต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่เจ้าหน้า คือ
(1) ถ้าเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ยึดทรัพย์อันจะต้องยึดภายในเวลาอันควรต้อง
ทำาโดยปราศจากความระมัดระวัง
(2) ไม่ยึดทรัพย์โดยสมรู้เป็ นใจกับลูกหนีต
้ ามคำาพิพากษา หรือบุคคลใดซ่ ึง
เป็ นเจ้าของทรัพย์ท่ีจะต้องยึด
(3) เพิกเฉยไม่กระทำาการโดยเร็วตามสมควร
วิธีพิจารณาในชัน
้ ศาล
การพิจารณาคดีไม่ว่าในศาลชัน
้ ใด อาจแบ่งได้เป็ น 3 ระบบ คือ
(1) ชัน
้ เตรียมคดี สำาหรับศาลชัน
้ ต้นนับตัง้แต่โจทก์ย่ืนคำาฟ้ องจำาเลยย่ ืนคำา
ให้การสำาหรับศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกา ก็นับตัง้แต่ย่ืนฟ้ องอุทธรณ์หรือฟ้ อง
ฎีกา และย่ ืนคำาแก้อุทธรณ์หรือฎีกา
(2) ชัน
้ นัง่พิจารณาคดี คือ การชีส
้ องสถาน การสืบพยาน และการ
แถลงการณ์
(3) ชัน
้ ชีข้าดตัดสินคดี คือ พิพากษาหรือมีคำาสัง่ โดยแยกตามชัน
้ ศาล คือ วิธี
พิจารณาในศาลชัน ้ ต้น วิธีพิจารณาในศาลอุทธรณ์ และวิธีพิจารณาในศาล
ฎีกา
(ก) วิธีพิจารณาในศาลชัน้ ต้น
คดีแพ่ง แบ่งได้เป็ น 2 ประเภท
1. คดีมีข้อพิพาท คือ คดีท่ีจะต้องมีจำาเลยเข้ามาเป็ นคู่ความด้วย
2. คดีไม่มีข้อพิพาท ได้แก่ คดีท่ีไม่มีจำาเลย
การเสนอข้อหาต่อศาลต้องทำาให้ถูกต้องตามประเภทของคดี คือ ถ้าเป็ นคดีมี
ข้อพิพาท กฎหมายบัญญัติให้ทำาเป็ นคำาฟ้ อง แต่ถ้าเป็ นคดีไม่มีข้อพิพาทก็ทำา
เป็ นคำาร้องขอ
การดำาเนินคดีแพ่งจะต้องเสียค่าธรรมเนียมตามอัตราท่ีกฎหมายกำาหนดไว้
และต้องเสียทุกชัน ้ ศาลท่ดี ำาเนินกระบวนการพิจารณา
ค่าธรรมเนียม หมายถึง เงินท่ีคู่ความจะต้องเสียให้แก่ศาลและแก่เจ้าพนัก
ศาลตามท่ีกฎหมายบังคับไว้ให้จำาต้องเสียเน่ ืองในการดำาเนินคดีในศาลนัน ้ ๆ
หรือในการดำาเนินการบังคับคดี เช่น ค่าขึ้นศาล ค่าย่ ืนคำาขอให้ออกหมาย
เรียก ค่าคำาร้อง ค่าส่งเอกสาร ค่าธรรมเนียมในการบังคับคดี เป็ นต้น ค่า
ธรรมเนียมแบ่งได้เป็ น 2 ชนิด คือ
1. ค่าธรรมเนียมศาล เช่น ค่าขึ้นศาล ค่าย่ ืนคำาขอให้ออกหมายเรียก เป็ นต้น
2. ค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดี ซ่ ึงจะเสียเม่ ือขอให้ดำาเนินการบังคับ
คดี
ค่าฤชาธรรมเนียม หมายถึง จำานวนเงินท่ีศาลสัง่ให้คู่ความฝ่ ายท่ีแพ้คดีชำาระ
แก่คู่ความฝ่ ายท่ีชนะคดี เป็ นการชดใช้ค่าใช้จา่ ยท่ีคู่ความฝ่ ายชนะคดีได้เสียไป
ในการเป็ นความกัน
กฎหมายได้ให้สิทธิแก่คนยากคนในอันท่ีจะดำาเนินคดีแพ่งโดยไม่ต้องเสีย
เงินได้ ทัง้นีด
้ ้วยการขอดำาเนินคดีอย่างคนอนาถา
การขอดำาเนินคดีอย่างคนอนาถาสามารถขอได้ทุกชัน ้ ศาล จะขอตัง้แต่เร่ิม
ฟ้ องหรือต่อสู้คดี หรือขอมให้ภายหลังขณะคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของ
ศาลก็ได้
เม่ ือศาลอนุญาตให้บุคคลใดดำาเนินคดีอย่างคนอนาถาแล้ว บุคคลนัน ้ ไม่ต้อง
เสียค่าธรรมเนียมในการดำาเนินกระบวนการพิจารณาในศาลนัน ้ ค่า
ธรรมเนียมศาลท่ีจะได้รบ ั ยกเว้นหมายเฉพาะค่าธรรมเนียมซ่ ึงต้องชำาระโดย
วิธีปิดแสตมป์ ตามจำานวนท่ีจะต้องปิ ดลงในคำาคู่ความ คำาร้องใบรับ หรือ
เอกสารอ่ ืน ๆ เท่านัน ้ เช่น ค่าขึ้นศาล ค่าคำาร้อง ค่าส่งประเด็นไปสืบ ค่าย่ ืน
คำาขอให้ออกหมายเรียก เป็ นต้น แต่ไม่กินความถึงค่าธรรมเนียมอ่ ืน ๆ เช่น
ค่าป่ วยการพยาน ค่าพาหนะพยาน ค่าทนายความ ค่าธรรมเนียมในการส่ง
เอกสาร ค่าธรรมเนียมในการบังคับคดี ค่าล่าม ค่าสืบพยานนอกศาล ค่า
พิสูจน์เอกสาร ค่ารังวัดทำาแผนท่ี ค่ารักษาทรัพย์ เป็ นต้น เพราะค่า
ธรรมเนียมเหล่านีม ้ ิใช่ค่าธรรมเนียมท่ีต้องชำาระด้วยการปิ ดแสตมป์ ตาม
จำานวนท่ีต้องชำาระ
การชีส ้ องสถาน คือ การกำาหนดประเด็นข้อพิพาทในคดี และการกำาหนดให้
คู่ความฝ่ ายใดนำาพยานมาสืบในประเด็นข้อใดก่อนหรือหลัง
รายงานกระบวนการพิจารณา คือ รายงานการปฏิบัติหน้าท่ีของผู้พิพากษา
เม่ ือทำาการพิจารณาคดีวา่ ได้กระทำาอะไรไปบ้าง และจะรวมไว้ในสำานวน
(ข) วิธีพิจารณาในศาลอุทธรณ์
คดีท่ีต้องห้ามอุทธรณ์ในปั ญหาข้อเท็จจริง คือ คดีท่ีราคาทรัพย์สินหรือ
จำานวนทุนทรัพย์ท่ีพิพาทไม่เกิน 20,000 บาท
1. ผู้อุทธรณ์จะต้องนำาหนังสืออุทธรณ์ไปย่ ืนต่อศาลชัน
้ ต้นท่ีมีคำาพิพากษา
ภายในกำาหนด 1 เดือนนับแต่วันท่ีได้อ่านคำาพิพากษาหรือคำาสัง่ของศาลชัน

ต้น
2. ศาลชัน
้ ต้นตรวจดูอุทธรณ์ว่าถูกต้องหรือไม่ และตรวจดูวา่ ต้องห้ามอุทธรณ์
หรือไม่ แล้วจึงมีคำาสัง่ให้รบ ั หรือไม่รับอุทธรณ์
3. เม่ ือศาลชัน
้ ต้นมีคำาสัง่ให้รับอุทธรณ์ไว้แล้ว ต้องส่งสำาเนาอุทธรณ์ไปให้
จำาเลยอุทธรณ์
4. เม่ ือศาลอุทธรณ์ได้พิจารณาคดีเสร็จแล้ว ก็ต้องชีข้าดตัดสินคดีโดยทำาเป็ น
คำาพิพากษาหรือคำาสัง่ในการชีข้าด
เม่ ือทำาการพิพากษาเสร็จแล้ว ศาลอุทธรณ์จะอ่านคำาพิพากษานัน
้ เอง หรือจะ
ส่งไปใช้ศาลชัน ้ ต้นอ่านก็ได้
(ค) วิธีพิจารณาในศาลฎีกา
ฟ้ องฎีกาจะต้องทำาเป็ นหนังสือย่ ืนต่อศาลชัน
้ ต้นท่ีพิจารณาคดีภายในกำาหนด
1 เดือนนับแต่วันท่ีได้อา่ นคำาพิพากษาของศาลอุทธรณ์และศาลชัน ้ ต้น ต้อง
ทำาหน้าท่ีเช่นเดียวกับกรณีมีการอุทธรณ์ คือ ต้องตรวจฟ้ องฎีกา และมีคำาสัง่
ให้รบ ั หรือไม่ให้รบ
ั ฎีกานัน
้ ต้องส่งสำาเนาให้คู่ความอีกฝ่ ายแก้ ซ่ ึงคู่ความฝ่ าย
ท่ีรับสำาเนาฎีกาก็ต้องแก้ ย่ ืนคำาแก้ฎก
ี าต่อศาลชัน้ ต้นภายใน 15 วันนับแต่วัน
รับสำาเนาฎีกา แล้วศาลชัน ้ ตนก็จะส่งสำานวนทัง้หมดไปยังศาลฎีกาเพ่ ือ
วินิจฉัย
การบังคับคดีแพ่ง
วิธีการท่ีจะบังคับให้เป็ นไปตามคำาพิพากษาหรือคำาสัง่นัน้ เรียกว่า การบังคับ
คดีตามคำาพิพากษาหรือคำาสัง่
การบังคับคดีจะทำาต่อเม่ ือลูกหนีต ้ ามคำาพิพากษาหรือผู้แพ้คดีไม่ปฏิบัติตาม
คำาพิพากษาหรือคำาสัง่ของศาลไม่ว่าทัง้หมดหรือแต่บางส่วน เจ้าหนีต ้ ามคำา
พิพากษาหรือผู้ชนะคดีมีอำานาจขอให้บังคับคดีได้ภายในกำาหนด 10 ปี นับแต่
วันมีคำาพิพากษาหรือคำาสัง่
หมายบังคับคดี เป็ นหมายของศาลถึงเจ้าพนักงานบังคับคดี (ข้าราชการกรม
บังคับคดีหรือจ่าศาล) เพ่ ือให้จด
ั การบังคับคดีเร่ ืองนัน
้ ให้เป็ นไปตามคำา
พิพากษาโดยการยึดหรืออายัดทรัพย์สิน และนำาออกขายทอดตลาดเอาเงิน
มาชำาระหนีใ้ห้แก่เจ้าหนีต ้ ามคำาพิพากษาหมายบังคับคดีนัน

(ก) กรณีท่ีบังคับให้ผู้แพ้คดีชำาระเงิน
เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำานาจจัดการบังคับคดี โดยการยึดทรัพย์ของลูกหนี้
ตามคำาพิพากษา
การยึดทรัพย์สิน หมายถึง การเอาทรัพย์สินของลูกหนีต ้ ามคำาพิพากษา เพ่ ือ
ขายทอดตลาดเอาเงินชำาระหนีแ ้ ก่เจ้าหนีต
้ ามคำาพิพากษา ทรัพย์ท่ีจะยึดได้คือ
สังหาริมทรัพย์มีรป
ู ร่างและอสังหาริมทรัพย์
การอายัด คือ การสัง่บุคคลภายนอกมิให้ทำาการโอนหรือชำาระหนีแ ้ ก่ลูกหนี้
ตามคำาพิพากษา แต่ให้ชำาระแก่เจ้าพนักงานบังคับคดี การอายัดต้องให้ศาลมี
คำาสัง่อายัด เจ้าพนักงานบังคับคดีไม่มีอำานาจออกคำาสัง่อายัดได้
กฎหมายได้บัญญัติให้ความคุ้มครองแก่ลก ู หนี เ้พ่ ือให้สามารถดำารงชีพอยู่
ได้ตามสมควรแก่อัตภาพแม้จะอยู่ในฐานะลูกหนีต ้ ามคำาพิพากษาก็ตาม
ทรัพย์สินของลูกหนีต ้ าคำาพิพากษาต่อไปนีย ้ ่อมไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการ
บังคับคดี
(1) เคร่ ืองนุ่งห่มหลับนอน หรือเคร่ ืองใช้ในครัวเรือนโดยประมาณรวมกัน
ราคาไม่เกินห้าพันบาท
(2) เคร่ ืองมือ หรือเคร่ ืองใช้ท่ีจำาเป็ นในการเลีย
้ งชีพหรือประกอบวิชาชีพโดย
ประมาณรวมกันราคาไม่เกินหน่ ึงหม่ ืนบาท
(3) วัตถุ เคร่ ืองใช้ และอุปกรณ์ทจ่ี ำาเป็ นต้องใช้ทำาหน้าท่ีแทนหรือช่วยอวัยวะ
ของลูกหนีต ้ ามคำาพิพากษา
(4) ทรัพย์สินอย่างใดท่ีโอนกันไม่ได้ตามกฎหมาย หรือตามกฎหมายย่อมไม่
อยู่ในความรับผิดชอบแห่งการบังคับคดี
(ข) กรณีบังคับให้ผู้แพ้คดีกระทำาการหรือละเว้นกระทำาการ
เจ้าพนักงานบังคับคดีต้องจัดทำาโดยการบังคับให้ผู้แพ้คดีปฏิบัติตามคำา
พิพากษา เช่น ในกรณีท่ีศาลพิพากษาให้ผู้แพ้คดีส่งมอบทรัพย์สิน อาจ
บังคับโดยให้เจ้าพนักงานไปยึดทรัพย์นัน ้ จากผู้แพ้คดีแล้วส่งมอบให้แก่ผู้ชนะ
คดีไป
ในกรณีท่ีผู้แพ้คดีจงใจไม่ปฏิบัติตามคำาพิพากษา ผู้ชนะคดีอาจร้องขอต่อศาล
ให้มคี ำาสัง่จับกุมและกักขังผู้แพ้คดีไว้ได้ แต่การกักขังผู้แพ้คดี กฎหมายห้าม
มิให้กักขังเกินกว่า 1 ปี นับแต่วันจับ

หน่วยท่ี 14

ความสัมพันธ์ระหว่างวิชานิติศาสตร์กับวิชาเศรษฐศาสตร์
วิชานิติศาสตร์และวิชาเศรษฐศาสตร์ต่างก็เป็ นสาขาวิชาทางสังคมด้วยกัน
เศรษฐศาสตร์ (Economics) เป็ นวิชาทางสังคมศาสตร์ท่ีศึกษาเก่ียวกับ
พฤติกรรมของมนุษย์ในเร่ ือง
1. ความต้องการ
2. การทำางานเพ่ ือให้ได้สินค้าและบริการมาสนองความต้องการ
3. ทรัพย์สินและความมัน
่ คงท่ีเกิดจากการทำางาน ให้มีเพียงพอและสะสม
เพ่ิมพูนขึ้นและอยากมีมาก ๆ
4. สวัสดิการหรือความอยู่ดก
ี ินดีของประชากรท่ีอยู่ในสังคม
กฎหมายกับเศรษฐศาสตร์มีความเก่ียวข้องกัน เพราะ
1. กฎหมายและเศรษฐศาสตร์เป็ นวิชาทางสังคมศาสตร์ด้วยกัน
2. กฎหมายและเศรษฐศาสตร์เก่ียวเน่ ืองกัน
3. นักศึกษานิติศาสตร์ต้องเรียนหลักเศรษฐศาสตร์
4. ผู้รา่ งและพิจารณาร่างกฎหมาย
5. กฎหมายช่วยในการพัฒนาเศรษฐกิจ
กฎหมายท่ีใช้กำากับเศรษฐกิจและสังคม แบ่งออกเป็ น
1. กฎหมายกำากับกากรพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
2. กฎหมายกำากับการจ้างงานและการว่างงาน
3. กฎหมายกำากับการเงินและการธนาคาร
4. กฎหมายกำากับธุรกิจและการค้า
5. กฎหมายกำากับแรงงานและค่าจ้าง
ความสัมพันธ์ระหว่าวิชานิติศาสตร์กบ ั วิชารัฐศาสตร์
วิชารัฐศาสตร์ (Political Science) เป็ นวิชาท่ีศึกษาถึงเร่ ืองการเมือง การปกครอง
และอำานาจของรัฐ
ความหมายของรัฐศาสตร์สามารถแบ่งแยกได้ 2 แนวทาง คือ ศาสตร์แห่งรัฐ
และศาสตร์แห่งอำานาจ
1. ศาสตร์แห่งรัฐ ซ่ ึงเป็ นเร่ ืองของการเมือง การปกครอง โดยอาศัยกฎเกณฑ์
ของกฎหมายเป็ นเคร่ ืองกำาหนด
2. ศาสตร์แห่งอำานาจ มีสภาพไม่หยุดน่ิง ต้องเปล่ียนแปลงไปเร่ ือย เน้นท่ีการ
ศึกษาพฤติกรรมหรือการกระทำาทางการเมือง
บทบาทของวิชารัฐศาสตร์ คือ การเสริมสร้างให้ประชาชนมีความรู้ความ
เข้าใจและมีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์ประเทศทางด้านการเมือง การ
ปกครอง การบริหาร และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
1. การเมือง
- เพ่ ือประกอบวิชาชีพในฐานะทางการเมือง
- เพ่ ือประดับความรู้สำาหรับและส่งเสริมสภาพการอยู่ร่วมกันในสังคม
2. การปกครอง
- ทราบถึงกฎเกณฑ์ท่ีกำาหนดรูปแบบการปกครองประเทศทัง้ในส่วนกลาง
ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถ่ิน
- เพ่ ือจะได้ทราบถึงขอบเขตอำานาจหน้าท่ีการแบ่งส่วนงาน การจัดองค์กร
และสายการบังคับบัญชาท่ีปรากฏอยู่ในหน่วยงานต่างระดับกัน (สำาหรับผู้ท่ี
ประกอบอาชีพข้าราชการ)
- เพ่ ือทราบถึงความเป็ นไปของการปกครองในระดับต่าง ๆ เพ่ ือจะได้ทราบว่า
สิทธิและหน้าท่ีของแต่ละบุคคลในฐานะประชาชนมีอย่างไร และควรปฏิบัติ
ตนอย่างไร (สำาหรับผู้ท่ีศึกษาเพ่ ือเสริมทักษะ)
3. การบริหาร
- ทำาให้ทราบถึงโครงสร้างของหน่วยงานและบุคลากร
- เข้าใจถึงกระบวนการบริหารทัง้ในภาครัฐบาลและภาคเอกชน
4. ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
- ทำาให้ผู้สนใจได้รับข่าวสารและส่ิงท่ีเกิดขึ้นจากพฤติกรรมของผู้นำาประเทศ
- การติดตามความเป็ นไปได้ในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ จะมีประโยชน์
ต่อการพัฒนาสังคมในระดับประเทศ
โดยสรุปวิชารัฐศาสตร์เป็ นวิชาท่ีจำาเป็ นและสำาคัญในการเสริมสร้างให้
ประชากรให้มบ ี ทบาทและมีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์ประเทศชาติและสังคม
วิชานิติศาสตร์กับวิชารัฐศาสตร์มีความสัมพันธ์กันอย่างมาก ด้วยเหตุผลท่ีว่า
รัฐและกฎหมายเป็ นเร่ ืองท่ีไม่อาจแยกจากกันได้ วิชานิติศาสตร์เป็ นวิชาท่ี
เน้นการศึกษาตัวบทกฎหมาย แต่วิชารัฐศาสตร์เป็ นวิชาท่ีศึกษาถึงเร่ ืองราว
ของความเป็ นรัฐและอำานาจภายในรัฐ วิชาทัง้สองนัน ้ มีกำาเนิดและ
วิวัฒนาการร่วมกันมา ควบคู่กับความเจริญเติบโตของสังคม
สังคมได้สร้างกฎหมายขึ้นมาด้วยเจตนาท่ีว่าจะสร้างกฎหมายขึ้นมาเพ่ ือทำา
สังคมนัน้ มีความเป็ นระเบียบเรียบร้อยมากขึ้น
วิชานิติศาสตร์เป็ นกรอบและกฎเกณฑ์ในการศึกษาความเป็ นไปทางการ
เมือง และในบางกรณีเป็ นตัวกำาหนดความเป็ นไปทางการเมือง เพราะโดย
หลักการและวัตถุประสงค์ของกฎหมายจะเป็ นตัวกำาหนดพฤติกรรมของ
คนในสังคม
การศึกษาวิชารัฐศาสตร์เป็ นการศึกษาถึงกระบวนการทางการเมืองและการ
ปกครอง ซ่ ึงเป็ นตัวกำาหนดประการหน่ ึงท่ีมีอิทธิพลกระทบถึงการออก
กฎหมายและการบังคับใช้กฎหมาย
ความสัมพันธ์ระหว่างวิชานิติศาสตร์กับวิชารัฐประศาสนศาสตร์
วิชารัฐประศาสนศาสตร์ (Public Administration) คือ วิชาท่ีวา่ ด้วยการบริหารงาน
ของรัฐ หรือการบริหารราชการ
คุณค่าของวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มี 3 ประการ คือ
1. ช่วยให้แต่ละคนมีความเข้าใจในเหตุผลของการปฏิบัติงานและข้อจำากัดต่าง
ๆ ในการบริหารงาน ซ่ ึงจะช่วยส่งเสริมให้แต่ละคนสามารถแก้ไขปั ญหาต่าง
ๆ เก่ียวกับการบริหารงาน
2. ช่วยส่งเสริมให้ข้าราชการมีความสามารถและตระหนักในภารกิจท่ีจะต้อง
ปฏิบัติ และตระหนักปั ญหาของส่วนรวมท่ีจะต้องร่วมกันทำาให้รูปของกลุ่ม
หรือแผนก กอง กรม จนถึงระดับกระทรวง และราชการในส่วนรวมของชาติ
ได้ดีย่ิงขึ้น
3. เป็ นประโยชน์ แก่การบริหารงานพัฒนาของประเทศหรือกำาลังพัฒนา
โดยตรง
การบริหาร หมายถึง การดำาเนินงานหรือการจัดการให้งานสำาเร็จผลตาม
วัตถุประสงค์ทก
่ี ำาหนดไว้ โดยอาศัยปั จจัย 4 อย่าง คือ คน เงิน วัสดุ และ
เทคนิค
การบริหารงานมีลก
ั ษณะการดำาเนินงานเป็ นกระบวนการ ซ่ ึงนักวิชาการได้
จัดกระบวนการบริหารไว้ทัง้สิน
้ 7 กระบวนการ ซ่ ึงเรียกว่า กระบวนการใน
การบริหารงาน เรียกย่อเป็ นภาษาอังกฤษว่า Posdcorb ซ่ ึงแต่ละกระบวนการมี
ความหมาย ดังนี้
1. การวางแผน P. (planning) หมายถึง การตัดสินใจไว้เก่ียวกับงานท่ีจะทำาใน
อนาคตว่าจะทำาอะไร ทำาท่ีไหน ทำาเม่ ือไร ใครเป็ นผูน
้ ำาและจะทำาอย่างไร และ
การวางแผนนัน ้ จะสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ และนโยบายเก่ียวกับงานนัน ้
ๆ ด้วย
2. การจัดองค์การ O. (organizing) หมายถึง การจัดหน่วยงานหรือองค์กรท่ีจะรับ
ภาระงานท่ีจะทำา โดยจะต้องจัดแยกงานท่ีมีลักษณะต่างกันไว้คนละหมวด
หมู่ และจัดรวมงานท่ีมีลักษณะเหมือนกันหรือคล้ายคลึงกันไว้ในหมวดหมู่
เดียวกัน
3. การจัดการเก่ียวกับบุคคล S. (staffing) หรือท่ีเรียกกันทัว่ไปว่า การบริหารงาน
บุคคล หมายถึง กระบวนการจัดสรรหาคนท่ีมีความรู้ความสามารถท่ีเหมาะ
สมกับงานท่ีจะทำารวมตลอดถึงการอบรมพัฒนาให้บุคคลมีความรู้ความ
สามารถทันกับการเปล่ียนในด้านเทคโนโลยีและสภาพแวดล้อมต่าง ๆ อยู่
เสมอ
4. การอำานวยการ D. (direction) หมายถึง การชีแ
้ นะหรือกำาหนดทิศทางของงาน
เพ่ ือให้ไปสู่เป้ าหมายท่ีกำาหนดไว้ รวมตลอดถึงการใช้ศิลปะในการบริหารงาน
เพ่ ือสร้างแรงจูงใจ (motivation) ภาวะผู้นำา (leadership) มนุษย์สัมพันธ์ (human
relation) เป็ นต้น
5. การประสานงาน Co. (co-ordination) มีความหมายได้ 2 นัย คือ
(1) หมายถึง การจัดระบบงานและจังหวะเวลาในการทำางานของฝ่ ายหรือ
หน่วยงานต่าง ๆ ให้รับผลสืบเน่ ืองต่อกันได้ เพ่ ือให้งานเก้ือกูลซ่ ึงกันและกัน
(2) หมายถึง การติดต่องาน หรือการร่วมมือร่วมใจกันทำางานในลักษณะเป็ น
หมู่คณะ เพ่ ือทำาให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพ
6. การรายงานผลการปฏิบัติงาน R. (reporting) หมายถึง การจัดให้ผู้รบ
ั ผิดชอบ
รายงบานผลงานท่ีได้รับมอบหมายให้ทราบ
7. การจัดทำางบประมาณ B. (budgeting) หมายถึง การศึกษาวิเคราะห์จัดทำางบ
ประมาณค่าใช้จ่ายสำาหรับงานท่ีจะทำาทุกประเภทรายจ่าย รวมตลอดถึงการ
กำาหนดว่าจะหาเงินนัน
้ มาจากแหล่งใด วิธีการใด นอกจากนัน ้ การจัดหางบ
ประมาณประมาณยังรวมถึงการกำาหนดวิธีการท่ีจะจัดสรรเงินและจ่ายเงิน
อย่างมีประสิทธิภาพและประหยัดด้วย
ในสังคมทุกรูปแบบไม่ว่าจะเป็ นในรูปแบบของเอกชนท่ีจด ั เป็ นองค์การและ
ไม่เป็ นองค์การ และในรูปแบบของรัฐบาล ล้วนอาศัยวิชาการ
รัฐประศาสนศาสตร์เข้าไปช่วยในการจัดรูปแบบ จัดองค์การ และจัดให้เกิด
ความเก่ียวข้องสัมพันธ์กันอย่างมีระบบและเป็ นระเบียบ และวิชา
รัฐประศาสนศาสตร์ช่วยให้เกิดประสิทธิภาพของสังคมในทุกรูปแบบ
กฎหมายเป็ นองค์ประกอบสำาคัญประการหน่ ึงของรัฐ การบริหารของรัฐหรือ
การบริหารงานราชการเพ่ ือให้บรรลุวัตถุประสงค์ของรัฐคือความอยู่ดก ี ินดี
ความสงบเรียบร้อย ความยุติธรรม หรือความร่มเย็นเป็ นสุขของประชาชน
อำานาจตามกฎหมายใช้บังคับได้ในหลายรูปแบบด้วยกัน ท่ีสำาคัญท่ีสุดในทาง
รัฐประศาสนศาสตร์ ได้แก่ การใช้อำานาจตามกฎหมายปกครองเพ่ ือปฏิบัติ
งานให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด เพ่ ือควบคุมบุคคลในองค์การให้มีระเบียบวินัย
ให้มกี ารประสานงานกันอย่างใกล้ชิด และเพ่ ือนำาความรู้ทางเทคนิคมาใช้ให้
เป็ นประโยชน์ในการปฏิบัติงานในส่วนท่ีเก่ียวกับตัวข้าราชการ
รัฐ คือ ราษฎรท่ีรวบรวมอยู่ในอาณาเขตอันแน่นอน ภายใต้อำานาจอธิปไตย
ของตนเอง รัฐมีสภาพเป็ นนิติบุคคล การท่ีรัฐจะกระทำาการใด ๆ เพ่ ือให้เกิด
ผลตามวัตถุประสงค์จะต้องมีกลุ่มคนกลุ่มหน่ ึงเป็ นตัวกระทำาการ ซ่ ึงกลุ่มคน
ดังกล่าวนีเ้รียกว่า “รัฐบาล”
คำาว่า “รัฐบาล” มี 2 ความหมาย คือ
(1) ตามความหมายอย่างกว้าง “รัฐบาล” หมายถึง ตัวแทนในการใช้อำานาจ
ของผู้ทรงอำานาจอธิปไตยในรัฐ
(2) ตามความหมายอย่างแคบ “รัฐบาล” หมายถึง คณะรัฐมนตรีซ่ึงมีนายก
รัฐมนตรีหรือหัวหน้ารัฐบาลท่ีเรียกช่ ืออย่างอ่ ืน ประกอบกันเป็ นคณะทำา
หน้าท่ีเป็ นฝ่ ายบริหารงานของรัฐ
“กฎหมาย” คือ กฎเกณฑ์หรือแบบแผนความประพฤติของมนุษย์ในสังคมท่ี
มีลักษณะบังคับ ซ่ ึงรัฐยอมรับและนำาไปใช้เพ่ ือความเป็ นธรรมและเพ่ ือความ
สงบสุขของสังคม
วัฒนธรรม สภาวะของเศรษฐกิจ และการเมืองก็เป็ นส่ิงท่ีจะมีบทบาทเป็ นตัว
ช่วยกำาหนดรูปแบบหรือลักษณะของกฎหมายท่ีจะตราขึ้นภายในรัฐนัน ้ ด้วย
เม่ ือรัฐประกอบด้วยรัฐบาลซ่ ึงเป็ นคณะบุคคลทำาหน้าท่ีบริหารงานของรัฐ
รัฐบาลก็ต้องถูกบังคับกำากับโดยกฎหมายในการปฏิบัติหน้าท่ีของตนไปด้วย
ในการใช้กฎหมายกำากับการบริหารงานของรัฐบาลนัน ้ ย่อมต้องใช้โดยองค์กร
สูงสุดท่ีมีอำานาจตรากฎหมาย คือ รัฐสภา
กฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ถือได้ว่าเป็ นกฎหมายฉบับ
หน่ ึงท่ีมุ่งต่อการกำากับการบริหารงานของรัฐ ซ่ ึงได้กำาหนดให้ใช้หลักการรวม
อำานาจการปกครองผสมกับการกระจายอำานาจการปกครอง

หน่วยท่ี 15

หลักการของวิชาชีพกฎหมายโดยทัว่ไป คือ การอำานวยความยุติธรรม และ


เป็ นผู้นำามติมหาชน นอกจากนี ผ ้ ู้ท่ีประกอบวิชาชีพกฎหมายยังต้องมีหลัก
ธรรมเฉพาะอาชีพของตน เพ่ ือทำาหน้าท่ีบริการประชาชนให้ดีท่ีสุดและช่วยให้
เกิดความเป็ นธรรมในสังคมให้จงได้
“วิชาชีพ” (profession) คือ วิชาท่ีต้องมีการศึกษาชัน ้ สูง และมีการฝึ กอบรมเป็ น
พิเศษ
การประกอบวิชาชีพกฎหมายแบ่งออกได้เป็ นการประกอบวิชาชีพกฎหมาย
โดยตรง ได้แก่ การเป็ นผู้พิพากษา อัยการ หรือทนายความ ซ่ ึงอยู่ภายใต้การ
ควบคุมของเนติบัณฑิตยสภา ส่วนการประกอบอาชีพกฎหมายโดยทัว่ไป
อาจทำาได้โดยเป็ นพนักงานเจ้าหน้าท่ีในหน่วยงานของรัฐ หรือเอกชน
ทนายความผู้ท่ีทำาหน้าท่ีเป็ นท่ีปรึกษากฎหมาย (เรียกว่า solicitor) จะมีหน้าท่ี
ในการให้คำาปรึกษา ร่างนิติกรรมสัญญา จัดเตรียมคดีเพ่ ือส่งต่อให้
ทนายความผู้ท่ีว่างต่างแก้คดีในศาล (เรียกว่า barrister หรือ advocate)
การประกอบวิชาชีพกฎหมาย อาจแยกเป็ นการประกอบวิชาชีพกฎหมายใน
ภาครัฐบาลและการประกอบวิชาชีพกฎหมายในภาคเอกชน
1) การประกอบวิชาชีพกฎหมายในภาครัฐบาล – นอกจากการประกอบอาชีพ
เป็ นผู้พิพากษาและอัยการแล้ว อาจประกอบอาชีพต่อไปนีไ้ด้ คือ
(1) อาจารย์สอนวิชากฎหมาย
(2) นิติกร
(3) นายทหารพระธรรมนูญ
(4) เจ้าพนักงานอ่ ืน ๆ เช่น เจ้าหน้าท่ีบริหารงานทัว่ไป พนักงานตำารวจ ปลัด
อำาเภอ พนักงานศุลกากร พนักงานสรรพากร และเจ้าหน้าท่ีสืบสวนของ
สำานักงานป้ องกันและปราบปรามยาเสพติดให้โทษ เป็ นต้น
2) การประกอบวิชาชีพกฎหมายในภาคเอกชน
(1) ท่ีปรึกษากฎหมาย
(2) นิติกร
หลักการของวิชาชีพทางกฎหมาย คือ การอำานวยความยุติธรรมและการเป็ น
ผู้นำามติชน
ภารกิจของนักกฎหมายทัว่ไป มี 5 ประการ คือ
1. ให้คำาปรึกษาแนะนำา (counseling) รวมทัง้การร่างเอกสารทางกฎหมาย
(draftman) เป็ นผู้พูดแทนตัวความ (spokesman) ในการเจรจาประนีประนอม
2. ดำาเนินคดีและว่าความแทน (advocacy) ในศาล
3. ส่งเสริมปรับปรุงการประกอบวิชาชีพทางกฎหมายให้ดย
ี ่ิง ๆ ขึ้น รวมถึง
กิจการศาลยุติธรรม ตลอดจนหลักและตัวบทกฎหมาย
4. เป็ นผู้นำาในการก่อมติมหาชนให้เข้ารูป และ
5. เตรียมตัวให้พร้อม ไม่ใช่เพ่ ือเสาะหาตำาแหน่ง แต่ให้พร้อมท่ีจะปฏิบัติ
หน้าท่ีเม่ ือต้องดำารงตำาแหน่งหน้าท่ีเพ่ ือประชาชน
หน้าท่ีของนักกฎหมาย ซ่ ึงสรุปได้ 5 ประการ ดังนี ค ้ ือ
1. หน้าท่ีต้องซ่ ือตรงต่อตัวเอง ให้มก
ี ารครองชีพสมแก่ฐานะท่ีประกอบวิชาชีพ
และในฐานะประชาชนคนหน่ ึง มีความจริงใจต่อตัวเอง และไม่หลอกลวงผู้
2. หน้าท่ีต้องซ่ ือตรงต่อลูกความ
3. หน้าท่ีต้องซ่ ือตรงต่อกิจการอำานวยความยุติธรรม ได้แก่ ผู้พิพากษาหรือ
ศาลต่อคู่ความอีกฝ่ ายหน่ ึง มีทนายความ ตัวความและพยานของเขา และต่อ
วิชาชีพทางกฎหมาย คือ ส่งเสริมาปรับปรุงไม่นำาความเส่ ือมเสียมาสู่ โดย
รักษาระดับมาตรฐานทางจิตใจและวิชาชีพไว้
4. หน้าท่ีซ่ือตรงต่อชุมชน โดยส่งเสริมความยุติธรรมทัง้ในการดำาเนินงานใน
ศาลและในสำานักงาน และโดยเป็ นผู้นำามติมหาชนในการอำานวยความ
ยุติธรรม
5. หน้าท่ีซ่ือตรงต่อเพ่ ือร่วมวิชาชีพ ได้แก่ ผู้ร่วมสำานักงาน ผู้มีอาวุโสกว่า
และอาวุโสรอง ผู้ช่วยเหลือ เช่น เสมียนพนักงานของตน
ผู้พิพากษาต้องไม่มีฉันทาคติ โทสาคติ โมหาคติ และภยาคติ และยังต้องมีใจ
เป็ นธรรม อิสระ เปิ ดเผย เห็นใจผูอ
้ ่ ืน และสำานึกในภาวะของสังคม
อัยการเป็ นทนายของแผ่นดินทัง้ในคดีอาญาและคดีแพ่ง เป็ นส่วนหน่ ึงของ
ราชการอำานวยความยุติธรรม มีอิสระในการดำาเนินคดีความแทนรัฐ เพ่ ือให้
เกิดความยุติธรรมแก่ประชาชน

You might also like