You are on page 1of 3

Technology

Production
Waterjet Cutting >>>
Technology
2010

วิบุญ ตั้งวโรดมนุกูล
PhD Candidate, School of Mechanical and
Manufacturing Engineering,

The University of New South Wales, Australia


e-mail : viboon@student.unsw.edu.au
น้ำที่ถูกอัดภายใต้แรงดันสูงให้ไหลผ่านท่อขนาดเล็ก
แรงกระแทกที่เกิดขึ้นต่อหนึ่งหน่วยพื้นที่มีค่ามหาศาล
และเพียงพอที่จะใช้ในการตัดวัสดุแทบทุกชนิดในโลก
ให้ขาดออกจากกัน

เทคโนโลยีน้ำแรงดันสูง หรือ Waterjet technology นั้น แรกเริ่มถูกนำ


มาใช้ในอุตสาหกรรมเหมืองแร่ เพื่อใช้ในการสกัดแร่หินและโลหะมีค่าทั้ง
หลายมาตั้งแต่ช่วง พ.ศ.2398 แต่การใช้งานยังอยู่ในวงจำกัด เนื่องจากการ
พัฒนาด้านเทคโนโลยีปั๊มน้ำแรงดันสูงในขณะนั้น ยังให้แรงดันได้ไม่มาก
พอ ต่ อ มาในช่ ว ง พ.ศ.2493 เทคโนโลยี น้ ำ แรงดั น สู ง สำหรั บ งาน
อุตสาหกรรมจึงก่อเป็นรูปเป็นร่างมากขึ้น โดยเริ่มจากการศึกษาของ
ดร.นอร์แมน ฟรานซ์ (Dr.Norman Franz) วิศวกรด้านป่าไม้ ผู้ซึ่งได้พัฒนา การใช้ปั๊มน้ำ
แรงดันสูงรวมกับหัวฉีด (nozzle) เพื่อใช้ในการตัดและสไลด์ท่อนไม้ ดร.นอร์แมน พบ
ว่า หากทำให้ลำน้ำที่ไหลผ่านหัวฉีดมีขนาดเล็กลงประกอบกับการใช้อัตราการไหล
ของน้ำที่สูง จะให้พลังงานในการตัดที่สูงอย่างมาก
น้ำที่ถูกอัดภายใต้แรงดันสูงราว 410 MPa หรือประมาณ 60,000 psi ให้ไหล
ผ่านหัวฉีดขนาดเล็ก ความเร็วของน้ำที่พุ่งออกมานั้น มีความเร็วมากกว่าความเร็วเสียงในอากาศกว่า 3 เท่า หรือราว 1,000 m/s
ซึ่งเพียงพอต่อการตัดวัสดุประเภทไม้ พลาสติก ยาง เป็นต้น อย่างไรก็ตามข้อจำกัดในด้านวัสดุก็ถูกทำลายลงในช่วง พ.ศ.2513
เมื่อ ดร.มูฮัมเหม็ด ฮาชิด (Dr.Mohamed Hashish) ได้ทำการวิจัยและศึกษาเทคโนโลยีการตัดด้วยน้ำแรงดันสูง รวมไปถึงการใส่
วัสดุผงที่มีความแข็ง หรือ Hard particle เข้าไปผสมกับน้ำ กลายมาเป็นกระบวนการตัดด้วยน้ำแรงดันสูงผสมผงกัด หรือ Abrasive
Waterjet Cutting ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน
การนำเอาน้ำแรงดันสูงมาใช้ในงานตัดวัสดุ หรือ Waterjet Cutting นั้น สามารถทำได้โดยปั๊มน้ำแรงดันสูงผ่านหัวฉีดที่มี
ขนาดประมาณ 0.1 ถึง 0.3 mm ที่ความดันราว 270 MPa ถึง 410 MPa (หรือ 40,000 psi ถึง 60,000 psi) ซึ่งแรงกระแทกของน้ำ
ที่กระทำต่อหนึ่งหน่วยพื้นที่มีปริมาณมหาศาล นำไปสู่การแตกหัก และการกัดเซาะเนื้อวัสดุงานตามลำดับ โดยการตัดด้วยน้ำแรง
ดันสูงนี้เหมาะกับการตัดวัสดุอ่อนทั่วไป ข้อดีของการตัดวัสดุด้วยน้ำ คือ เป็นกระบวนการตัดที่ปราศจากความร้อน รอยตัดที่ได้มี
คุณภาพดี สะอาด ไม่มีควัน หรือสารพิษที่เกิดขึ้นในระหว่างการตัด
นอกจากนี้ องค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา ได้อนุญาตให้ใช้กระบวนการตัดด้วยน้ำแรงดันสูง ในการตัดอาหาร
เช่น เค้ก มันฝรั่ง เนื้อสัตว์ อันเนื่องมาจากประสิทธิภาพและความสะอาดของกระบวนการ นอกจากนี้ในอุตสาหกรรมกระดาษ สิ่งทอ
และอากาศยาน ยังนิยมใช้ Waterjet เป็นหนึ่งในกระบวนการผลิตด้วย
สำหรับอุตสาหกรรมกระดาษและสิ่งทอนั้น การใช้น้ำในการตัดอาจจะดูขัดกับความรู้สึกโดยทั่ว ๆ ไป ที่ว่า เมื่อกระดาษ

ถูกน้ำก็จะเปื่อยและขาดโดยง่าย แต่การใช้น้ำแรงดันสูงที่ลำน้ำมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเล็กมาก เช่น เส้นด้ายนั้น รอยตัดจึงมี


ขนาดเล็กมาก และความชื้นเพียงเล็กน้อยที่เกิดขึ้นบริเวณรอยตัดก็สามารถระเหยออกไปภายในระยะเวลาอันสั้น นอกจากนี้ ฝุ่นของ
เยื่อกระดาษหรือเส้นใยผ้าต่าง ๆ ที่เกิดจากการตัดก็ลดลงด้วย เพราะน้ำจะช่วยในการจับฝุ่นผงไม่ให้ฟุ้งกระจายในระหว่างการตัด
Technology Promotion Mag.. April-May 2010, Vol.37 No.210 ● 043
Technology
Production

ไม่ว่าจะเป็นอลูมิเนียม ทองเหลือง ทองแดง เหล็ก

สแตนเลส เกราะกันกระสุน กระจกกันกระสุน เซรามิก หินอ่อน


หินแกรนิต วัสดุในกลุ่มอากาศยานและอวกาศอย่างไทเทเนียม

>>> 2010
แมกนีเซียม เคฟล่า ไฟเบอร์กลาส ฯลฯ ก็สามารถตัดได้ด้วย
Abrasive Waterjet Cutting นี้ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ วัสดุ
แทบทุกชนิดในโลกสามารถถูกตัดได้ด้วยกระบวนการนี้อย่าง
ง่ายดาย อย่างไรก็ตาม ในการตัดวัสดุที่มีความแข็ง หรือมี
ความแข็งแรงสูง มีความจำเป็นที่ต้องใส่ผงกัด เช่น โกเมน
(garnet) หรือ อลูมิเนียมออกไซด์ (alumina) เป็นต้น สำหรับ
▲ รูปที่ 1 การใช้ Waterjet cutting ในอุตสาหกรรมอาหาร (รูปจาก JetEdge) เพิ่มความสามารถในการกัดเซาะเนื้อวัสดุ โดยความสามารถ
ในการตัดจะมากกว่าการใช้น้ำแรงดันสูงแต่เพียงอย่างเดียว
สำหรับเทคโนโลยีการตัดวัสดุด้วยน้ำผสมผงกัด หรือ ประมาณ 100 เท่า ประเด็นที่น่าสนใจอยู่ที่ว่า ในเมื่อการใช้น้ำ
Abrasive Waterjet Cutting นั้น เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีการตัด แรงดันสูงผสมผงกัดนั้น สามารถตัดวัสดุได้แทบทุกชนิดใน
วัสดุสมัยใหม่ที่มีการใช้กันอย่างกว้างขวาง เนื่องด้วยความเร็ว โลก มั น จึ ง กั ด เซาะชิ้ น ส่ ว นต่ า ง ๆ ของตั ว มั น เองด้ ว ย โดย
ความยืดหยุ่น และประสิทธิภาพของกระบวนการที่สามารถ เฉพาะหั ว ฉี ด ซึ่ ง เมื่ อ ใช้ ง านไปในระยะหนึ่ ง ขนาดเส้ น ผ่ า น
รองรับงานตัดได้ในวงกว้าง โดยแทบไม่ต้องคำนึงถึงชนิดของ ศูนย์กลางของหัวฉีดก็จะค่อย ๆ เพิ่มมากขึ้น อันเนื่องมาจาก
วั ส ดุ ที่ ถู ก ตั ด แต่ อ ย่ า งใด เนื่ อ งจากกลไกการตั ด วั ส ดุ ข อง การกัดเซาะของน้ำผสมผงกัดภายในหัวฉีดนั่นเอง
Abrasive Waterjet นั้น ไม่ได้อาศัยการตัดเฉือนวัสดุอย่าง สำหรับหัวฉีดเฉพาะในส่วนของ Waterjet นั้น หรือ
กระบวนการตัดวัสดุด้วยเครื่องมือกลแบบดั้งเดิม เช่น กระบวน- เรียกว่า Orifice ส่วนมากผลิตจากวัสดุที่มีความแข็งและมี
การกลึง การเจาะ การกัด หรือ การไส เป็นต้น ที่ต้องใช้แรงใน คุ ณ สมบั ติ ต้ า นทานการสึ ก หรอสู ง เช่ น เพชร (diamond)
การตัดให้เกินกว่าความแข็งแรงทางกลของวัสดุชนิดนั้น ๆ แต่ แซฟไฟร์ (sapphire) หรือ ทับทิม (ruby) ต่างกันไปตามราคา
การตัดด้วยน้ำแรงดันสูงผสมผงกัดนั้น จะเป็นกระบวนการตัด คุ ณ ภาพ และชั่ ว โมงการใช้ ง าน โดย Sapphire จะอยู่ ที่
แบบการกัดเซาะ หรือ Erosion ซึ่งอาศัยการกระแทกของวัสดุ ประมาณ 100 ชั่วโมง สำหรับการตัดด้วยน้ำเพียงอย่างเดียว
ผงที่มีความแข็งลงบนผิวของชิ้นงาน เพื่อให้วัสดุงานเกิดการ (pure waterjet cutting) และจะน้อยลงกว่าครึ่ง เมื่อใช้ในการ
แตกและหลุดออกไป ดังนั้นผลของคุณสมบัติทางกลของวัสดุ ตั ด แบบที่ ผ สมผงกั ด ด้ ว ย (abrasive waterjet cutting)
จึงไม่ส่งผลอย่างมีนัยสำคัญต่อความสามารถในการตัด ดังเช่น สำหรั บ หั ว ฉี ด ที่ ท ำจากเพชร จะมี ชั่ ว โมงการตั ด ที่ สู ง กว่ า
กระบวนการตัดเฉือนแบบดั้งเดิม หากแต่จะขึ้นอยู่กับความ ประมาณ 1,000 ชั่วโมง แต่ราคาจะแพงกว่าหัวฉีดชนิดอื่น
หนาของชิ้นงานเป็นหลัก ตราบใดที่พลังงานของการกระแทก ประมาณ 10-20 เท่า
ยังสูงในระดับที่ก่อให้เกิดความเสียหายแบบการกัดเซาะได้ Air Inlet
การกัดเอาเนื้อวัสดุงานออกก็สามารถดำเนินต่อไปได้ โดย
เหล็ก Mild Steel หนา 12 นิ้ว หรือ สแตนเลสหนา 10 นิ้ว
สามารถตัดทะลุได้โดยเคลื่อนหัวตัดผ่านเพียงครั้งเดียว ดังนั้น
การตั ด วั ส ดุ ใ ห้ ข าดออกจากกั น จึ ง ไม่ ใ ช่ เ รื่ อ งยากสำหรั บ
กระบวนการตัดด้วย Abrasive Waterjet Cutting

Needle
Water
Inlet
Seat

Water
Chamber

Water
Orifice Orifice
Mount Retainer Abrasive

Chamber
Mixing
Chamber
Inlet


Nozzle
Orifice
Retainer
Waterjet Abrasive-Waterjet
Stram Stream

▲ รูปที่ 2 Abrasive Waterjet Cutting ใช้สำหรับการตัดวัสดุที่มีความแข็ง ▲ รูปที่ 3 ชุดหัวตัดของ Waterjet และ Abrasive waterjet (รูปจาก JetEdge)
หรือความแข็งแรงสูง

044 ● April-May 2010, Vol.37 No.210 Technology Promotion Mag..
Technology

สำหรับขนาดหัวฉีด หรือ Nozzle ของการตัดด้วยน้ำ มาใช้ในกระบวนการตัด ทำให้ Waterjet/Abrasive Waterjet

Production
ผสมผงกัด (abrasive waterjet cutting) นั้นจะใหญ่กว่า Pure Cutting ในปัจจุบัน สามารถตัดชิ้นงานที่มีความซับซ้อนได้
Waterjet Cutting อยู่ เ ล็ ก น้ อ ย โดยมี เ ส้ น ผ่ า นศู น ย์ ก ลาง โดยให้คุณภาพรอยตัดที่ดี นอกจากนี้การพัฒนาในด้านปั๊มน้ำ
ประมาณ 0.5 ถึง 1.5 mm เนื่องจากมีการผสมกันของน้ำและ
ผงกัด หรือ Hard Particle โดยขนาดของ Hard Particle ที่ใช้
โดยทั่วไปมีขนาดประมาณ 50 (หยาบ) ถึง 120 (ละเอียด)
แรงดันสูงยังสามารถให้แรงดันน้ำได้เกินกว่า 680 MPa หรือ
ประมาณ 100,000 psi ทำให้เพิ่มประสิทธิภาพในตัดได้สูงขึ้น
ทั้งในแง่ของความหนาและความหลากหลายของชนิดวัสดุ
>>>
2010

mesh ตามแต่ วั ส ดุ ง าน ความเร็ ว ในการตั ด และคุ ณ ภาพ


งาน
ผิวตัดที่ต้องการ Hard Particle จะถูกป้อนเข้าไปผสมกับน้ำที่
วิ่งผ่านในห้องผสม หรือ Mixing Chamber ซึ่งน้ำจะพาผงกัด
วิ่งผ่านไปยังท่อผสม หรือ Mixing Tube เพื่อให้เกิดเป็นลำของ
น้ำขนาดเล็ก ก่อนที่จะวิ่งออกมากระแทก และกัดเซาะชิ้นงาน
ต่อไป โดยท่อผสมนี้จะทำจาก Tungsten Carbide (WC) เพื่อ
ต้านทานการสึกหรอที่เกิดขึ้นภายในท่อผสม สำหรับระยะห่าง
ระหว่างปลายท่อผสมกับผิวงาน หรือที่เรียกว่า Stand-Off
Distance นั้น โดยปกติจะอยู่ที่ประมาณ 2.5 ถึง 4.0 mm
ขนาดความกว้ า งของรอยตั ด หรื อ Kerf Width นั้ น
ถื อ ตั ว แปรสำคั ญ ตั ว หนึ่ ง โดยเฉพาะการตั ด วั ส ดุ ร าคาแพง
อย่าง Titanium Alloy Inconel Alloy หรือ Hastalloy ขนาด
รอยตัดที่เล็ก หมายถึง ชิ้นงานที่ได้มีขนาดที่ใกล้เคียงกับขนาด
ที่ต้องการ และยังประหยัดเนื้อวัสดุงานอีกด้วย นอกจากนี้
▲ รูปที่ 4 Multi-Axis Waterjet Cutting (รูปจาก Flow Corp)
แรงที่เกิดจากการตัดวัสดุด้วยน้ำนั้น ถือว่าน้อยกว่ากระบวน-
การตัดด้วยเครื่องมือกลอื่น ๆ นั่นหมายถึง การจับยึดชิ้นงาน
ในระหว่างการตัดไม่มีความจำเป็น หรือมีเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
เพื่อความปลอดภัย ในกระบวนการตัดด้วยเครื่องมือกลแบบ
ดั้งเดิมนั้น แรงที่กระทำกับตัววัสดุมีมากเมื่อเทียบกับส่วนที่ถูก
ยึดจับเอาไว้ ผลที่ตามมาคือ แรงกด ความเค้น และการบิดตัว
ของชิ้นงาน ซึ่งส่งผลต่อความถูกต้องในการตัดพอสมควร
คุณภาพงานตัดที่ได้จากกระบวนการตัดด้วยน้ำ หรือ
น้ำผสมผงกัด (waterjet/abrasive waterjet cutting) นั้น ถือว่า
อยู่ในระดับที่ดี โดยผิวงานที่ได้จะเรียบ ปราศจากคม ชิ้นงาน
ส่วนใหญ่จึงสามารถนำไปใช้ได้ทันที โดยไม่จำเป็นต้องผ่าน
กระบวนการใด ๆ เพิ่มเติม นอกจากนี้ ยังเป็นกระบวนการตัด
ที่ปราศจากความร้อนและความเค้นตกค้างภายในเนื้อวัสดุ ▲ รูปที่ 5 ชิ้นงานที่ ได้จากการตัดแบบ Multi-Axis Machining
ดังนั้นการตัดวัสดุด้วยน้ำจึงเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจสำหรับวัสดุ
(รูปจาก http://news.thomasnet.com/)
หรืองานตัดที่ไม่ต้องการให้เกิดความร้อนซึ่งอาจนำไปสู่การ
เปลี่ยนโครงสร้างของวัสดุ หรือการบิดตัวอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้น
ภายหลังการตัด เอกสารอ้างอิง
ในด้านสิ่งแวดล้อม การตัดวัสดุที่มีฝุ่นผงหรือควันต่าง ๆ 1. Summers, D.A. (1995). “Waterjetting Technology”.
ที่เกิดขึ้นในระหว่างการตัด ซึ่งมีอันตรายต่อผู้ปฏิบัติงาน อย่าง London: E&FN SPON.
Asbestos และ Fiberglass นั้น ยังถูกลดลงอีกด้วย ผงกัดที่ 2. Flow International Corporation. (2002). “Waterjet
ใช้แล้วยังสามารถนำกลับมาใช้ได้ใหม่ หรืออาจนำไปฝั่งกลบ Seminar: Waterjet White Paper” Washington: FlowCorp.
ได้โดยไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในดิน 3. Wang, J. (2003). “Abrasive Waterjet Machining of
จากการพัฒนาเทคโนโลยี Waterjet/Abrasive Waterjet Engineering Materials”, Switzerland: Trans Tech Publications.
Cutting มาอย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลากว่า 40 ปี ส่งผลให้
มีการเพิ่มคุณสมบัติในการต้านการสึกหรอของอุปกรณ์ต่าง ๆ
รวมไปถึงใช้เทคโนโลยี CNC และ Multi-Axis Technology เข้า

Technology Promotion Mag.. April-May 2010, Vol.37 No.210 ● 045

You might also like