You are on page 1of 19

คำนำ

รายงานฉบับนี้ จัดทาขึ้นเพื่อประกอบการเรียนการสอน วิชาคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา


หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
โดยเนื้อหาประกอบด้วย การประกันคุณภาพการศึกษา ความสาคัญของการประกันคุณภาพ
การศึกษา ความหม ายของการประกันคุณภาพ แนวทางการประกันคุณภาพ รูปแบบการประกัน
คุณภาพ การประกันคุณภาพรอบสอง เกณฑ์การประเมินคุณภาพ ร่างการประกันคุณภาพรอบสาม
ประโยชน์ของการประกันคุณภาพ
ผู้จัดทา มีจุดประสงค์เพื่อการอธิบาย ความหมา ยและความจาเป็นในการประกันคุณภาพ
เพื่อให้ผู้อ่านที่สนใจ รับทราบและเพื่อนาไปใช้ประโยชน์ต่อไป

สุดท้ายนี้ ผู้จัดทาหวังเป็นอย่างยิ่งว่า รายงานฉบับนี้คงเป็นประโยช น์กับผู้ที่สนใจ ไม่มากก็


น้อย หากผิดพลาด บกพร่องประการใด ขออภัย และพร้อมน้อมรับเพื่อแก้ไขในโอกาสต่อไป

สุทัศน์ มีมุข
สารบัญ

เรื่อง หน้า

คานา ก
สารบัญ ข
การประกันคุณภาพการศึกษา ๑
ความหมายและความสาคัญของการประกันคุณภาพการศึกษา ๑
ความหมายของการประกันคุณภาพการศึกษา ๑
ความสาคัญของการประกันคุณภาพการศึกษา ๑
การประกันคุณภาพการศึกษาเกี่ยวข้องกับ ๒
ระบบและกระบวนการประกันคุณภาพการศึกษา ๒
กระบวนการประกันคุณภาพภายใน ๒
ขั้นตอนการดาเนินงานตามกระบวนการประกันคุณภาพภายใน ๕
ขั้นตอนการดาเนินการประกันคุณภาพภายใน ๕
บทบาทหน้าที่ของครูในการประกันคุณภาพภายใน ๖
การประเมินคุณภาพภายนอก ๗
แนวคิดและหลักการของการประเมินคุณภาพภายนอก ๘
ความสาคัญของการประเมินคุณภาพภายนอก ๙
ประโยชน์ที่ได้จากการประกันคุณภาพการศึกษา ๑๐
เกณฑ์การประเมินคุณภาพภายนอกระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานรอบที่สอง
(พ.ศ. ๒๕๔๙ – ๒๕๕๓ ) ๑๐
วิธีการประเมินในแต่ละแบบ ๑๐
(ร่าง) การประเมินภายนอกรอบสาม (พ.ศ. ๒๕๕๔ – ๒๕๕๘) ๑๓
สรุป ๑๖
บรรณานุกรม ๑๗
ภาคผนวก ๑๘
การประกันคุณภาพการศึกษา
ความหมายและความสาคัญของการประกันคุณภาพการศึกษา
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ มาตรา ๘๑ ได้กาหนดให้รัฐต้องจัด
การศึกษาอบรมและสนับสนุนให้เอกชนจัดการศึกษาอบรมให้เกิด “ความรู้คู่คุณธรรม ” และจัดให้มี
กฎหมายเกี่ยวกับการศึกษาแห่งชาติ ซึ่งนาไปสู่พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ ก่อให้เกิด
การปฏิรูปการศึกษาครั้งใหญ่ที่มุ่งเน้นคุณภาพการศึกษา คือ ได้กาหนดให้มีระบบการประกันคุณภาพ
การศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาทุกระดับ (พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ .ศ.
๒๕๔๒: มาตรา ๔๗)

ความหมายของการประกันคุณภาพการศึกษา
หมายถึง การบริหารจัดการและการดาเนินกิจกรรมตามภารกิจปกติของสถานศึกษา เพื่อพัฒนา
คุณภาพของผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง สร้างความมั่นใจให้ผู้รับบริการทางการศึกษา ทั้งผู้รับบริการโดยตรง
ได้แก่ ผู้เรียน ผู้ปกครอง และผู้รับบริ การทางอ้อม ได้แก่ สถานประกอบการ ประชาชน และสังคม
โดยรวม

ความสาคัญของการประกันคุณภาพการศึกษา
มีความสาคัญ ๓ ประการ คือ
๑.ทาให้ประชาชนได้รับข้อมูลคุณภาพการศึกษาที่เชื่อถือได้ เกิดความเชื่อมั่นและสามารถ
ตัดสินใจเลือกใช้บริการที่มีคุณภาพมาตรฐาน
๒.ป้องกันการจัดการศึกษาที่ไม่มีคุณภาพ ซึ่งจะเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคและเกิดความเสมอภาค
ในโอกาสที่จะได้รับการบริการการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างทั่วถึง
๓.ทาให้ผู้รับผิดชอบในการจัดการศึกษามุ่งบริหารจัดการศึกษาสู่คุณภาพและมาตรฐานอย่าง
จริงจัง ซึ่งมีผลให้การศึกษามีพลังที่จะพัฒนาประชากรให้มีคุณภาพอย่างเป็นรูปธรรมและต่อเนื่อง
การประกันคุณภาพการศึกษาจึงเป็นการบริหารจัดการและการดาเนินกิจกรรมตามภารกิจปกติ
ของสถานศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะเป็นการสร้างความมั่นใจให้ผู้รับบริการ
การศึกษา ทั้งยังเป็นการป้องกันการจัด การศึกษาที่ด้อยคุณภาพและสร้างสรรค์การศึกษาให้เป็นกลไกที่มี
พลังในการพัฒนาประชากรให้มีคุณภาพสูงยิ่งขึ้น

การประกันคุณภาพการศึกษาเกี่ยวข้องกับ
การดาเนินการที่สาคัญ ๒ เรื่องดังนี้
๑. การกาหนดมาตรฐานคุณภาพการศึกษา ซึ่งหลักปฏิบัติทั่วไปจะกาหนดโดยองค์คณะบุคคล
ผู้เชี่ยวชาญ หรือ ผู้มีประสบการณ์ (Murgatroyd,Stephen and Morgan,Colin ๑๙๙๔ : ๔๕) ในระบบ
การศึกษาไทยตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ กาหนดให้กระทรวงการศึกษา ศาสนา
และวัฒนธรรม เป็นผู้กาหนดมาตรฐานการศึกษา (พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ .ศ. ๒๕๔๒ :
มาตรา ๓๑) โดยมีสภาการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมแห่งชาติ คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานและ
คณะกรรมการการอุดมศึกษาเป็นผู้พิจารณาเสนอตามลาดับสายงาน (พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
พ.ศ. ๒๕๔๒: มาตรา ๓๔)
๒. กระบวนการตรวจสอบและประเมิน การดาเนินการจัดการศึกษาว่าเป็นไปตามมา ตรฐาน
คุณภาพการศึกษามากน้อยเพียงไร พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ .ศ. ๒๕๔๒ ได้กาหนดให้
หน่วยงานต้นสังกัดและสถานศึกษา จัดให้มีระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาและให้ถือว่า
การประกันคุณภาพภายใน เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารการศึกษาที่ต้องดาเนินการอย่า ง
ต่อเนื่อง (พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ .ศ. ๒๕๔๒ : มาตรา ๔๘) และให้มีการประเมินคุณภาพ
ภายนอก ของสถานศึกษาทุกแห่งอย่างน้อยหนึ่งครั้งในทุก ๕ ปี โดยสานักงานรับรองมาตรฐานและ
ประเมินคุณภาพการศึกษาเป็นผู้ดาเนินการ (พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ .ศ. ๒๕๔๒ : มาตรา
๔๙)

ระบบและกระบวนการประกันคุณภาพการศึกษา
ระบบการประกันคุณภาพการศึกษาไทยตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ .ศ. ๒๕๔๒
มาตรา ๔๗ ประกอบด้วย ๒ ระบบคือ ๑.ระบบการประกันคุณภาพภายในและ ๒. ระบบการประกัน
คุณภาพภายนอก

กระบวนการประกันคุณภาพภายใน
ระบบการประกันคุณภ าพภายใน หมายถึง ระบบการประเมินผล และการติดตามตรวจสอบ
คุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาจากภายในโดยบุคลากรของสถานศึกษานั้นเองหรือโดย
หน่วยงานต้นสังกัดที่มีหน้าที่กากับดูแลสถานศึกษานั้น (พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ .ศ. ๒๕๔๒
: มาตรา ๔)
สถานศึกษาจะต้องพัฒน าระบบการประกันคุณภาพภายในให้เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการ
บริหารและการปฏิบัติงาน โดยคานึงถึงหลักการและกระบวนการดังต่อไปนี้

๑. หลักการสาคัญของการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษามี ๓ ประการ คือ


(สานักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ ๒๕๔๓ : ๑๑)
๑.๑ จุดมุ่งหมายของการป ระกันคุณภาพภายใน คือ การที่สถานศึกษาร่วมกันพัฒนาปรับปรุง
คุณภาพให้เป็นไปตามมาตรฐานการศึกษา ไม่ใช่การจับผิดหรือทาให้บุคลากรเสียหน้า โดยเป้าหมาย
สาคัญอยู่ที่ การพัฒนาคุณภาพให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน
๑.๒ การที่จะดาเนินการให้บรรลุเป้าหมายตามข้อ ๑.๑ ต้องทาให้การประกั นคุณภาพการศึกษา
เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารจัดการและการทางานของบุคลากรทุกคนในสถานศึกษาไม่ใช่เป็น
กระบวนการที่แยกส่วนมาจากการดาเนินงานตามปกติของสถานศึกษาโดยสถานศึกษาจะต้องวางแผน
พัฒนาและแผนปฏิบัติการที่มีเป้าหมายชัดเจน ทาตามแผนตรวจสอบประเมินผลและพัฒนาปรับ ปรุงอย่าง
ต่อเนื่อง เป็นระบบที่มีความโปร่งใสและมีจิตสานึกในการพัฒนาคุณภาพการทางาน
๑.๓ การประกันคุณภาพเป็นหน้าที่ของบุคลากรทุกคนในสถานศึกษา ไม่ว่าจะเป็นผู้บริหาร ครู
อาจารย์และบุคลากรอื่นๆ ในสถานศึกษาโดยในการดาเนินงานจะต้องให้ผู้เกี่ยวข้อง เช่น ผู้เรียน ชุม ชน
เขตพื้นที่การศึกษา หรือหน่วยงานที่กากับดูแลเข้ามามีส่วนร่วมในการกาหนดเป้าหมาย วางแผน ติดตาม
ประเมินผลพัฒนาปรับปรุง ช่วยกันคิด ช่วยกันทา ช่วยกันผลักดันให้สถานศึกษามีคุณภาพ เพื่อให้ผู้เรียน
ได้รับการศึกษาที่ดีมีคุณภาพ เป็นไปตามความต้องการของผู้ปกครอง สังคม และประเทศชาติ

๒. กระบวนการการประกันคุณภาพภายในตามแนวคิดของการประกันคุณภาพ มี ๓ ขั้นตอนคือ
(สานักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ ๒๕๔๓ :๗)
๒.๑ การควบคุมคุณภาพ เป็นการกาหนดมาตรฐานคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาเพื่อพัฒนา
สถานศึกษาให้เข้าสู่มาตรฐาน
๒.๒ การตรวจสอบคุณภาพ เป็นการตรวจสอบ และติดตามผลการดาเนินงานของสถานศึกษาให้
เป็นไปตามมาตรฐานที่กาหนด
๒.๓ การประเมินคุณภาพ เป็นการประเมินคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาโดยสถานศึกษา
และหน่วยงานต้นสังกัดในระดับเขตพื้นที่การศึกษาฯ และระดับกระทรวง

๓. กระบวนการประกันคุณภาพภายในตามแนว คิดของหลักการบริหารที่เป็นกระบวนการครบ
วงจร (PDCA) ประกอบด้วย ๔ ขั้นตอน คือ
๓.๑ การร่วมกันวางแผน (Planning)
๓.๒ การร่วมกันปฏิบัติตามแผน (Doing)
๓.๓ การร่วมกันตรวจสอบ (Checking)
๓.๔ การร่วมกันปรับปรุง (Action)

เมื่อพิจารณากระบวนการการประกันคุณภาพภายในตาม แนวคิดของการประเมินคุณภาพและ
แนวคิดของการบริหารแบบครบวงจรจะเห็นว่ามีความสอดคล้องกัน ดังนี้ (สานักงานคณะกรรมการ
การศึกษาแห่งชาติ ๒๕๔๓ :๑๐)

ที่มา : (สมคิด พรมจุ้ย และสุพักตร์ พิบูลย์, ๒๕๔๔)

จากภาพ การควบคุมคุณภาพและการตรวจสอบคุณภาพก็คือกระบว นการบริหารเพื่อพัฒนา


คุณภาพตามหลักการบริหารนั่นเอง โดยการควบคุมคุณภาพ คือ การที่สถานศึกษาต้องร่วมกันวางแผน
และดาเนินการตามแผน เพื่อพัฒนาสถานศึกษาให้มีคุณภาพตามเป้าหมายและมาตรฐานการศึกษา ส่วน
การตรวจสอบคุณภาพ คือ การที่สถานศึกษาต้องร่วมกันตรวจสอบเพื่อพัฒนาปรับ ปรุงคุณภาพให้เป็นไป
ตามเป้าหมายและมาตรฐานการศึกษาเมื่อสถานศึกษามีการตรวจสอบตนเองแล้วหน่วยงานในเขตพื้นที่
การศึกษาและต้นสังกัดก็เข้ามาช่วยติดตามและประเมินคุณภาพเพื่อให้ความช่วยเหลือในการพัฒนา
ปรับปรุงสถานศึกษา ซึ่งจะทาให้สถานศึกษามีความอุ่นใจ และเกิดความตื่นตั วในการพัฒนาคุณภาพอยู่
เสมอ

ขั้นตอนการดาเนินงานตามกระบวนการประกันคุณภาพภายใน
การดาเนินการประกันคุณภาพภายในตามกระบวนการที่กล่าวมาแล้ว มีแนวทางและขั้นตอน
ดังแผนภาพต่อไปนี้

ที่มา : (สมคิด พรมจุ้ย และสุพักตร์ พิบูลย์, ๒๕๔๔)

ขัน้ ตอนการดาเนินการประกันคุณภาพภายใน
๑. ขั้นการเตรียมการ ซึ่งการเตรียมการที่มีความสาคัญ คือ
๑.๑ การเตรียมความพร้อมของบุคลากร โดยต้องสร้างความตระหนักถึงคุณค่าของการประกัน
คุณภาพภายในและการทางานเป็นทีม ซึ่งจะจัดทาการชี้แจงทาความเข้าใจโดยใช้บุคลากรภายใน

สถานศึ กษาหรือวิทยากรมืออาชีพจากภายนอก โดยบุคลากรทุกคนในสถานศึกษาได้มีโอกาสเข้าร่วม


ประชุมรับทราบพร้อมกัน และต้องพัฒนาความรู้ ทักษะเกี่ยวกับการประกันคุณภาพภายในให้บุคลากรทุก
คนเกิดความมั่นใจในการดาเนินงานประกันคุณภาพด้วยการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ โดยเน้นเนื้อหา
เกี่ ยวกับการจัดทาแผนพัฒนาสถานศึกษาและแผนปฏิบัติการในแต่ละปี ต่อมาเน้นเนื้อหาการกาหนด
กรอบและแผนการประเมิน การสร้างเครื่องมือประเมินและการรวบรวมข้อมูล ในช่วงท้ายเน้นเรื่อง
เกี่ยวกับการวิเคราะห์ข้อมูล การนาเสนอผลการประเมินและการเขียนรายงานผลการประเมินตนเอง (Self
Study Report)
๑.๒ การแต่งตั้งคณะกรรมการผู้รับผิดชอบในการประสานงาน กากับดูแล ช่วยเหลือสนับสนุน
ให้ทุกฝ่ายทางานร่วมกันและเชื่อมโยงเป็นทีม โดยการตั้งคณะกรรมการควรพิจารณาตามแผนภูมิ
โครงสร้างการบริหารซึ่งฝ่ายที่รับผิดชอบงานใดควรเป็นกรรมการรับผิดชอบการพัฒนาและป ระเมิน
คุณภาพงานนั้น

๒. ขั้นการดาเนินงานประกันคุณภาพภายใน ประกอบด้วยขั้นตอน
หลัก ๔ ขั้นตอน
๒.๑ การวางแผน จะต้องมีการกาหนดเป้าหมาย แนวทางการดาเนินงาน ผู้รับผิดชอบงาน
ระยะเวลาและทรัพยากรที่ต้องใช้ สาหรับแผนต่างๆ ที่ควรจัดทาคือ แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของ
สถานศึ กษา แผนปฏิบัติการประจาปี แผนการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรซึ่งสอดคล้องกับ
เป้าหมายของสถานศึกษา แผนการประเมินคุณภาพและแผนงบประมาณ เป็นต้น
๒.๒ การปฏิบัติตามแผน ซึ่งในขณะดาเนินการต้องมีการเรียนรู้เพิ่มเติมตลอดเวลาและผู้บริหาร
ควรให้การส่งเสริมและสนับสนุนให้บุ คลากรทุกคนทางานอย่างมีความสุข จัดสิ่งอานวยความสะดวก
สนับสนุนทรัพยากรเพื่อการปฏิบัติ กากับ ติดตามการทางานทั้งระดับบุคลากร รายกลุ่ม รายหมวด และให้
การนิเทศ
๒.๓ การตรวจสอบประเมินผล ซึ่งเป็นกลไกสาคัญที่จะกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาเพราะจะทาให้
ได้ข้อมูลย้อนกลับที่แสด งว่าการดาเนินงานที่ผ่านมาบรรลุเป้าหมายเพียงใด โดยการประเมินต้องจัดวาง
กรอบการประเมิน จัดหาหรือจัดทาเครื่องมือ จัดเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล แปลความข้อมูล และ
การตรวจสอบ ปรับปรุงคุณภาพการประเมิน
๒.๔ การนาผลการประเมินมาปรับปรุงงาน เมื่อแต่ละฝ่ายประเมินผล เสร็จแล้วจะส่งผลให้
คณะกรรมการรับผิดชอบนาไปวิเคราะห์ สังเคราะห์และแปลผลแล้วนาเสนอผลต่อผู้เกี่ยวข้องเพื่อนาไป
ปรับปรุงการปฏิบัติงานของผู้บริหารและบุคลากร นาไปวางแผนในระยะต่อไป และจัดทาเป็นข้อมูล
สารสนเทศหรือการเขียนรายงานประเมินตนเอง

๓. ขั้นการจัดทารายงานประเมินตนเองหรือรายงานประจาปี
เมื่อสถานศึกษาดาเนินการประเมินผลภายในเสร็จแล้วจะจัดทารายงาน โดยเริ่มจากรวบรวมผล
การดาเนินงานและผลการประเมินมาวิเคราะห์จาแนกตามมาตรฐานการศึกษาและเขียนรายงาน

บทบาทหน้าที่ของครูในการประกันคุณภาพภายใน
๑. มีการเตรียมความพร้อมขอ งตนเอง โดยทาการศึกษาให้เกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ
หลักการ วิธีการ ขั้นตอนในการประเมินผลภายใน รวมทั้งพยายามสร้างเจตคติที่ดีต่อการประเมินภายใน
๒. ให้ความร่วมมือกับสถานศึกษาในการให้ข้อมูลพื้นฐานทั่วไปที่คณะกรรมการประเมินผล
ภายในต้องการ
๓. ให้ความร่วมมื อกับสถานศึกษาเมื่อได้รับการแต่งตั้งให้เป็นคณะกรรมการในกิจกรรมใด
กิจกรรมหนึ่งของการประเมินผลภายใน เช่น เข้าร่วมพิจารณาจัดทาปฏิทินการปฏิบัติงานด้านการ
ประเมินผลภายในสถานศึกษา ร่วมกันพิจารณาจัดสร้างเครื่องมือในการจัดเก็บข้อมูลลักษณะต่างๆ ใน
กระบวนการประเมินผลภา ยใน ร่วมกันทาการสารวจเก็บข้อมูลที่คณะกรรมการสารวจ ร่วมกันทาการ
วิเคราะห์ข้อมูล (หากมีความรู้ด้านการวิเคราะห์) ร่วมกันสรุปผลการประเมิน เป็นต้น
๔. ให้ความร่วมมือกับสถานศึกษา ในการร่วมกันกาหนดจุดประสงค์ กาหนดมาตรฐานและตัว
บ่งชี้ในการประเมินด้านต่าง ๆ ของสถานศึกษาเอง และร่วมกันกาหนดเกณฑ์การตัดสินมาตรฐานและตัว
บ่งชี้ในด้านต่าง ๆ
๕. ปฏิบัติหน้าที่หลักหรือหน้าที่ประจาที่รับผิดชอบอย่างมีระบบ ตามกระบวนการและ
สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษา เช่น ในหน้าที่การสอนต้องมีการพัฒนาหลักสูตรและแผนการสอนที่
เน้นนักเรียนเป็นสาคัญ จั ดเตรียมเนื้อหาสาระที่ถูกต้องเหมาะสมกับจุดประสงค์การเรียนการสอน จัดทา
สื่อการสอนที่มีประสิทธิภาพตรงตามจุดประสงค์การเรียนการสอน จัดกิจกรรม วิธีการเรียนรู้ที่สร้างให้
ผู้เรียนเกิดการค้นคว้าหาความรู้สร้างความรู้ด้วยตนเอง เลือกวิธีการประเมินผลการเรียนหลากหลายและ
เหมาะสมรวบรวมผลสรุปผล ประเมินการเรียนการสอน พฤติกรรมของผู้เรียน นาผลการประเมินมา
ปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง เป็นต้น

การประเมินคุณภาพภายนอก

ความหมายของการประเมินคุณภาพภายนอก
การประเมินคุณภาพภายนอก คือ การประเมินคุณภาพการจัดการศึกษา การติดต าม การ
ตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา โดยผู้ประเมินภายนอกที่ได้รับการรับรองจาก
สานักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา โดยผู้ประเมินภายนอกที่ได้รับการรับรองจาก
สานักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน ) หรือ สมศ . เพื่อมุ่ง ให้มี

คุณภาพดียิ่งขึ้น ผู้ประเมินภายนอกหรือคุณหมอโรงเรียนมีความเป็นอิสระ และเป็นกลาง ไม่มี


ผลประโยชน์ขัดแย้งกับการประเมินคุณภาพภายนอกจะนาไปสู่การเข้าถึงคุณภาพการศึกษาด้วยความเป็น
กลาง เพื่อสร้างสรรค์พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาอย่างแท้จริง

สกศ.
สานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา

คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้นามาตรฐาน
การศึกษาของชาติไปสู่การปฏิบัติ เมื่อวันที่ ๒๖
ตุลาคม ๒๕๔๗

มาตรฐานการศึกษาของชาติ

สพฐ. สอศ. สกอ. - กระทรวงที่เกี่ยวข้อง


สานักงาน สานักงาน สานักงาน - ภาคเอกชน
คณะกรรมการ คณะกรรมการ คณะกรรมการ - องค์กรปกครองส่วน
การศึกษาขั้นพื้นฐาน การอาชีวศึกษา การอุดมศึกษา ท้องถิ่น
ฯลฯ

ประเมินคุณภาพภายนอก
สมศ. ประเมินคุณภาพภายนอก
สานักงานรับรองมาตรฐานและ
ประเมินคุณภาพการศึกษา

สานักงานเลขาธิการสภาการศึกษาประเมินผลการจัดการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาของชาติ

ที่มา : (สานักงานปฏิรูปการศึกษา, ๒๕๔๓)

แนวคิดและหลักการของการประเมินคุณภาพภายนอก
การประเมินภายนอกของ สมศ. เป็นการประเมินโดยใช้รูปแบบ "กัลยาณมิตรประเมิน" โดยมี
วัตถุประสงค์เพื่อ

๑. เพื่อตรวจสอบ ยืนยันสภาพจริงในการดาเนิน งานของสถานศึกษาและประเมินคุณภาพ


การศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาที่กาหนด
๒. เพื่อให้ได้ข้อมูลซึ่งช่วยสะท้อนให้เห็นจุดเด่น -จุดด้อยของสถานศึกษา เงื่อนไขของ
ความสาเร็จ และสาเหตุของปัญหา
๓. เพื่อช่วยเสนอแนะแนวทางปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพการศึ กษาแก่สถานศึกษาและ
หน่วยงานต้นสังกัด
๔. เพื่อส่งเสริมให้สถานศึกษามีการพัฒนาคุณภาพและประกันคุณภาพภายในอย่างต่อเนื่อง
๕. เพื่อรายงานผลการประเมินคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาต่อหน่วยงานที่
เกี่ยวข้องและสาธารณชน

ความสาคัญของการประเมินคุณภาพภายนอก
การประเมินคุณภาพภายนอก มีความสาคัญและมีความหมายต่อสถานศึกษาหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
และสาธารณชน ดังต่อไปนี้
ประการที่ ๑ เป็นการส่งเสริมให้สถานศึกษาพัฒนาเข้าสู่เกณฑ์มาตรฐานและพัฒนาตนเองให้เต็ม
ตามศักยภาพอย่างต่อเนื่อง
ประการที่ ๒ เพิ่มความมั่นใจและคุ้มครองประโยชน์ให้ผู้รับบริการทางการศึกษาว่าสถานศึกษา
ได้จัดการศึกษามุ่งสู่คุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาที่เน้นให้ผู้เรียนเป็นคนดี มีความสามารถ และมี
ความสุขเพื่อเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม
ประการที่ ๓ สถานศึกษาและหน่วยงานที่กากับดูแล เช่น คณะกรรมการสถานศึกษา หน่วยงาน
ต้นสังกัด สานักงานเขตพื้นที่การศึกษา รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและชุมชนท้องถิ่นมีข้อมูลที่จะช่วย
ตัดสินใจในการวางแผนและดาเนินการเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาให้เป็นไปในทิศทาง
ที่ต้องการและบรรลุเป้าหมายตามที่กาหนด
ประการที่ ๔ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระดับนโยบายมีข้อมูลสาคัญในภาพรวมเกี่ยวกับคุณภาพ
และมาตรฐานของสถานศึกษาทุกระดับทุกสังกัด เพื่อใช้เป็นแนวทางในการกาหนดแนวนโยบายทางการ
ศึกษาและการจัดสรรงบประมาณเพื่อการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ
๑๐

ความแตกต่างระหว่างการประกันคุณภาพภายในและภายนอก

การประกันคุณภาพภายใน การประกันคุณภาพภายนอก
ผู้รับผิดชอบ :โรงเรียน สถานศึกษา ผู้รับผิดชอบ : สานักงานรับรองมาตรฐาน และประเมิน
สานักงานเขตพื้นที่การศึกษา คุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) (สมศ.)
กระบวนการ กระบวนการ
 การควบคุมคุณภาพ  การตรวจสอบคุณภาพ
 การตรวจสอบคุณภาพ  การประเมินคุณภาพ

 ประเมินคุณภาพ  การให้การรับรอง

ประโยชน์ที่ได้จากการประกันคุณภาพการศึกษา
๑. เกิดการพัฒนาคุณภาพของสถาบันการศึกษาอย่างต่อเนื่องเข้าสู่มาตรฐานสากล
๒. การใช้ทรัพยากรในการบริหารจัดการของสถาบันอุดมศึกษาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
๓. การบริหารจัดการสถาบันการศึกษาเป็นไปอย่างมีประสิทธิผล อันจะทาให้การผลิตผู้สาเร็จ
การศึกษาทุกระดับ การสร้างผลงานวิจัย และการให้บริการวิชาการ เกิดประโยชน์สูงสุด และตรงกับ
ความต้องการของสังคมและประเทศ
๔. ผู้เรียน/นักศึกษา ผู้ปกครอง ผู้จ้างงาน และสาธารณชนมีข้อมูลสาหรับการตัดสินใจที่
ถูกต้องและเป็นระบบ
๕. สถาบันการศึกษา หน่วยงานบริหารการศึกษา และรัฐบาลมีข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นระบบใน
การกาหนดนโยบาย วางแผน และบริหารจัดการศึกษา

ในระดับสถานศึกษาการประกันคุณภาพจะครอบคลุมถึงการสร้างความมั่นใจโดยการใช้ข้อมูล
สารสนเทศและองค์ความรู้และการวางแผนป้องกันปัญหาที่จะเกิดตั้งแต่ในขั้นการออกแบบกระบวนการ
เรียนการสอนให้สอดคล้องกับมาตรฐา นการเรียนรู้ตาม หลักสูตร การบริหารหลักสูตร การติดตาม
ตรวจสอบและทบทวนเป็นระยะๆ เพื่อให้มีการแก้ไข ปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่อง การประเมินคุณภาพ
ผลผลิต การจัดทารายงาน และนาเสนอข้อมูลการประเมินสาหรับ การตัดสินใจในระดับต่างๆ และ
สาหรับการวางแผนพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษาในระยะต่อไป
หลักการสาคัญของการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาระบบการศึการประกั
กษา น
คุณภาพการศึกษาครอบคลุมถึงมวลกิจกรรมและภารกิจทางวิชาการและทางการบริหารการจัดการที่มี
การวางแผนล่วงหน้า และมีการประสานสัมพันธ์อย่างเป็นระบบ เพื่อที่จะสร้างความมั่นใจทีสมเหตุสมผล
ว่าผู้เรียน จะมีความรู้ ความสามารถ และ คุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามมาตรฐานการศึกษาที่ได้กาหนดไว้
๑๑

เกณฑ์การประเมินคุณภาพภายนอกระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
รอบที่สอง (พ.ศ. ๒๕๔๙ – ๒๕๕๓ )
ตามมาตรา ๕๑ แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ .ศ. ๒๕๔๒ แก้ไขเพิ่มเติม ๒๕๔๕
กาหนดให้ สมศ . ต้องจัดทาข้อเสนอแนะต่อต้นสังกัดในกรณีที่ผลการประเมินภายนอกของสถานศึกษา
ไม่ได้มาตรฐานที่กาหนด คณะกรรมการ พัฒนาระบบการประเมินคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน จึง
พิจารณาวิธีการและเกณฑ์การประเมินคุณภาพภายนอกสถานศึกษาขั้นพื้นฐานปี ๒๕๔๙ – ๒๕๕๓
เพื่อการจาแนกผลการจัดการศึกษาของสถานศึกษาว่าได้มาตรฐานหรือไม่ โดยได้รับอนุมัติจากคณะ
กรรมการบริหาร สมศ. โดยให้พิจารณาจากเกณฑ์ต่อไปนี้
๑. การประเมินอิงเกณฑ์ ให้พิจารณาตามมาตรฐาน ตัวบ่งชี้ และเกณฑ์การพิจารณา ที่ สมศ.
กาหนด โดยจะมีการสรุปผลทั้งในระดับตัวบ่งชี้และระดับมาตรฐาน
๒. การประเมินอิ งสถานศึกษา ให้พิจารณา จากการที่สถานศึกษาดาเนินการตาม ข้อเสนอของ
สมศ . และพัฒนาการของคุณภาพของสถานศึกษา ต ลอดจนมีผลการดาเนินงานบรรลุ
มาตรฐาน / เป้าหมายตามแผนงานของสถานศึกษา รวมทั้งการมีความตระหนักใน
ความสาคัญและความพยายามในการพัฒนาสู่มาตรฐานของสถานศึกษา

วิธีการประเมินในแต่ละแบบ
๑. การประเมินแบบอิงเกณฑ์ มีการประเมิน ๒ ระดับ คือ การประเมินในระดับตัวบ่งชี้และการ
ประเมินในระดับมาตรฐาน ได้แก่
๑.๑ การประเมินในระดับตัวบ่งชี้ ให้พิจารณาจากร้อยละเฉลี่ยตามเกณฑ์พิจารณาในแต่ละตัว
บ่งชี้เป็น ๔ ระดับ คือ

เกณฑ์การพิจารณา ระดับคุณภาพ
ร้อยละเฉลี่ยตามเกณฑ์พิจารณาต่ากว่า ร้อยละ ๕๐ ปรับปรุง
ร้อยละเฉลี่ยตามเกณฑ์พิจารณาระหว่าง ร้อยละ ๕๐ – ๗๕ พอใช้
ร้อยละเฉลี่ยตามเกณฑ์พิจารณาระหว่าง ร้อยละ ๗๕ – ๘๙ ดี
ร้อยละเฉลี่ยตามเกณฑ์พิจารณาตั้งแต่ ร้อยละ ๙๐ ขึ้นไป ดีมาก

๑.๒ การประเมินในระดับมาตรฐาน ให้พิจารณาจากค่าเฉลี่ยของระดับคุณภาพตัวบ่งชี้ในแต่ละ


มาตรฐานเป็น ๔ ระดับคือ
๑๒

เกณฑ์การพิจารณา ระดับคุณภาพ
ค่าเฉลี่ยของระดับคุณภาพตัวบ่งชี้ ต่ากว่าหรือเท่ากับ ๑.๗๔ ปรับปรุง
ค่าเฉลี่ยของระดับคุณภาพตัวบ่งชี้ ระหว่าง ๑.๗๕ – ๒.๗๔ พอใช้
ค่าเฉลี่ยของระดับคุณภาพตัวบ่งชี้ ระหว่าง ๒.๗๕ – ๓.๔๙ ดี
ค่าเฉลี่ยของระดับคุณภาพตัวบ่งชี้ ระหว่าง ๓.๕๐ – ๔.๐๐ ดีมาก

๒. การประเมินอิงสถานศึกษา ประกอบด้วยการพิจารณาพัฒนาการของคุณภาพการศึกษาของ
สถานศึกษาและการบรรลุมาตรฐาน / เป้าหมายของสถานศึกษา โดยมีมิติในการพิจารณาและการ
สรุปผลการพิจารณาดังนี้
๒.๑ มิติในการพิจารณา พัฒนาการของคุณภาพการศึกษาและการบรรลุมาตรฐาน/เป้าหมายตาม
แผนของสถานศึกษาดังนี้

พัฒนาการของคุณภาพ บรรลุมาตรฐาน/เป้าหมายตามแผนของสถานศึกษา
การศึกษา บรรลุ ไม่บรรลุ
ดี (๓)+
มีความตระหนักและความ
พยายาม
มี ดีมาก (๔)
พอใช้ (๒)
ไม่มีความตระหนัก/ความ
พยายาม
ไม่มี พอใช้ (๒) ปรับปรุง (๑)

๒.๒ วิธีการพิจารณา ได้ให้ความหมายของพัฒนาการ และการบรรลุมาตรฐาน/เป้าหมายตาม


แผนของสถานศึกษา ดังนี้
มีพัฒนาการของคุณภาพการศึกษา หมายถึง การที่สถานศึกษาได้ดาเนินการตามข้อเสนอแนะ
ของ สมศ. และผลการประเมินในรอบที่สอง (เฉพาะผลการประเมินแบบอิงเกณฑ์ ) สูงกว่าการประเมิน
รอบแรก หรือมีผลประเมินทั้งในรอบแรกและรอบสองไม่ต่ากว่าระดับดี
ไม่มีพัฒนาการของคุณภาพการศึกษา หมายถึง การที่สถานศึกษาไม่ได้ดาเนินการตาม
ข้อเสนอแนะของ สมศ. และผลการประเมินในรอบที่สอง(เฉพาะผลการประเมินแบบอิงเกณฑ์ ) ต่ากว่าผล
ประเมินรอบแรก หรือผลประเมินในรอบแรกและรอบที่สองซึ่งต่ากว่าระดับดีและไม่แตกต่างกัน
๑๓

บรรลุมาตรฐานหรือเป้าหมายตามแผน หมายถึง สถานศึกษามีความสาเร็จในการปฏิบัติสามารถ


บรรลุมาตรฐานหรือเป้าหมายของแผนพัฒนาสถานศึกษาในการพัฒนาผู้เรียนหรือครู หรือคุณภาพการจัด
การศึกษาในแต่ละมาตรฐาน โดยนาผลประเมินคุณภาพภายนอกรอบแรกไปใ ช้วางแผนพัฒนาการจัด
การศึกษาของสถานศึกษา และมีหลักฐานแสดงความตระหนักในความสาคัญและความพยายามในการ
ปฏิบัติเพื่อการพัฒนาสู่มาตรฐานของสถานศึกษา
ไม่บรรลุมาตรฐานหรือเป้าหมายตามแผน หมายถึง สถานศึกษายังไม่ประสบความสาเร็จในการ
ปฏิบัติ ไม่สามารถบรรลุมาตรฐานหรือเป้าหมา ยของแผนพัฒนาสถานศึกษาในการพัฒนาผู้เรียนหรือครู
หรือคุณภาพการจัดการศึกษาในแต่ละมาตรฐาน โดยไม่คานึงถึงความตระหนักในความสาคัญ และความ
พยายามในการปฏิบัติเพื่อการพัฒนาสู่มาตรฐานของสถานศึกษา

๒.๓ การสรุปผลการประเมินอิงสถานศึกษา มีระดับของมาตรฐานและคะแนนดังนี้


คาอธิบาย ระดับ คะแนน
ไม่มีพัฒนาการของคุณภาพการศึกษาและไม่
ปรับปรุง ๑ คะแนน
บรรลุมาตรฐาน/เป้าหมายตามแผน
ไม่มีพัฒนาการของคุณภาพการศึกษาแต่บรรลุ
มาตรฐาน/เป้าหมายตามแผน หรือ มีพัฒนาการ
ของคุณภาพการศึกษาแต่ไม่บรรลุมาตรฐาน/
พอใช้ ๒ คะแนน
เป้าหมายตามแผน และหลักฐานแสดงความ
ตระหนักในความสาคัญและความพยายามใน
การปฏิบัติอย่างไม่เด่นชัด
มีพัฒนาการของคุณภาพการศึกษาและมี
หลักฐานแสดงความตระหนักในความสาคัญ
ดี ๓ คะแนน
และความพยายามในการปฏิบัติอย่างเด่นชัด แต่
ไม่บรรลุมาตรฐาน/เป้าหมายตามแผน
มีพัฒนาการของคุณภาพการศึกษา และบรรลุ
ดีมาก ๔ คะแนน
มาตรฐาน/เป้าหมายตามแผน
๑๔

(ร่าง) การประเมินภายนอกรอบสาม (พ.ศ. ๒๕๕๔ – ๒๕๕๘)

ตามกฎกระทรวงว่าด้วยระบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ.๒๕๕๓ มี


๔ มาตรฐาน ประกอบด้วยตัวบ่งชี้พื้นฐาน ตัวบ่งชี้อัตลักษณ์ และตัวบ่งชี้มาตรการส่งเสริม
มาตรฐานที่ ๑) ผลการจัดการศึกษา
มาตรฐานที่ ๒) การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสาคัญ
มาตรฐานที่ ๓) การบริหารจัดการศึกษา
มาตรฐานที่ ๔) การประกันคุณภาพภายใน

ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วย ๑๑ ตัวบ่งชี้


๑. ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์
๒. ผู้เรียนมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี
๓. ผู้เรียนมีความใฝ่รู้ และเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง
๔. ผู้เรียนคิดเป็น ทาเป็น และปรับตัวเข้ากับสังคมได้
๕. ผลสัมฤทธ์ทางการเรียนของผู้เรียน และผู้เรียนมีการศึกษาต่อหรือประกอบอาชีพตาม
ศักยภาพของผู้เรียนและบริบทของสถานศึกษา
๖. ประสิทธิผลของการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสาคัญ
๗ ประสิทธิภาพของการบริหารจัดการและการพัฒนาสถานศึกษา
๘. การประกันคุณภาพภายในโดยสถานศึกษาและต้นสังกัดเป็นไปตามกฎกระทรวง
๙. การพัฒนาสถานศึกษาให้บรรลุเป้าหมายตามวัตถุประสงค์ ของการจัดตั้ง หรือจุดเด่น หรือ
ลักษณะพิเศษของประเภทโรงเรียน
๑๐. มาตรการส่งเสริมเพื่อพัฒนาสถานศึกษาเข้าสู่มาตรฐาน รักษามาตรฐาน และยกระดับ
มาตรฐานโดยการกาหนดมาตรการร่วมกันกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตามข้อตกลงในการ
ดาเนินงานและการใช้ทรัพยากรกับรัฐบาล เพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางการปฏิรูปการศึกษา
๑๑. มาตรการส่งเสริมการพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะชีวิตที่ดี มีภูมิคุ้มกัน เพื่อการเป็นพลเมืองที่มี
คุณค่าของสังคม สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่ยั่งยืน

ระดับอาชีวศึกษา ประกอบด้วย ๑๘ ตัวบ่งชี้


๑. ผู้สาเร็จการศึกษาได้งานทาหรือประกอบอาชีพอิสระในสาขาที่เกี่ยวข้องภายใน ๑ ปี
๒. ผู้เรียนมีความรู้และทักษะ ที่จาเป็นในการทางาน
๓. ผู้เรียนผ่านการทดสอบมาตรฐานทางวิชาชีพจากองค์กรที่เป็นที่ยอมรับ
๑๕

๔. ผลงานที่เป็นโครงงานทางวิชาชีพหรือสิ่งประดิษฐ์ของผู้เรียน ที่ได้นาไปใช้
๕. ผลงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ของครูที่ได้นาไปใช้ประโยชน์
๖. ความสาเร็จในการให้บริการวิชาการ/วิชาชีพที่ส่งเสริมการพัฒนาทักษะของผู้เรียน
๗. ผู้เรียนได้เรียนรู้และฝึกทักษะจากประสบการณ์จริง
๘. ความสาเร็จในการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการและผู้บริหารสถานศึกษา
๙. ความสาเร็จในการพัฒนาและใช้ระบบฐานข้อมูลสารสนเทศในการบริหารจัดการ
๑๐. ความสาเร็จในการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา
๑๑. ความสาเร็จในการบริหารความเสี่ยง
๑๒. ความสาเร็จในการสร้างการมีส่วนร่วมในการประกันคุณภาพ
๑๓. การพัฒนาสถานศึกษาจากผลการประเมินคุณภาพภายใน
๑๔. ความสาเร็จในการดาเนินงานตามปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจและตามจุดเน้นของ
สถานศึกษา
๑๕. การพัฒนาคุณภาพผู้เรียน
๑๖. การพัฒนาคุณภาพครู (เลือกจุดเน้นอย่างน้อย ๑ กิจกรรม)
๑๗. การพัฒนาสถานศึกษา ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ (เลือกจุดเน้นอย่างน้อย ๑ กิจกรรม)
๑๘. การสร้างการมีส่วนร่วมและการขยายโอกาสทางการศึกษา (เลือกจุดเน้นอย่างน้อย ๑
กิจกรรม)

ระดับอุดมศึกษา ประกอบด้วย ๑๘ ตัวบ่งชี้


๑. บัณฑิตปริญญาตรีที่ได้งานทาหรือประกอบอาชีพอิสระภายใน ๑ ปี
๒. คุณภาพของบัณฑิตปริญญาตรี โทและเอกตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิอุดมศึกษาแห่งชาติ
๓. ผลงานของผู้สาเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทที่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่
๔. ผลงานของผู้สาเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกที่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่
๕. งานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ที่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่
๖. งานวิจัยที่นาไปใช้ประโยชน์
๗. ผลงานวิชาการที่ได้รับการรับรองคุณภาพ
๘. การนาความรู้และประสบการณ์จากการให้บริการวิชาการมาใช้ในการพัฒนาการเรียนการ
สอนหรือการวิจัย
๙. การเรียนรู้และเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนหรือองค์กรภายนอก
๑๐. การส่งเสริมและสนับสนุนด้านศิลปะและวัฒนธรรม
๑๑. การพัฒนาสุนทรียภาพในมิติทางศิลปะและวัฒนธรรม
๑๒. การปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ของสภาสถาบัน
๑๖

๑๓. การปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ของผู้บริหารสถาบัน
๑๔. การพัฒนาคณาจารย์
๑๖. การพัฒนาให้บรรลุตามปรัชญาและวัตถุประสงค์ของการจัดตั้ งสถาบัน
๑๗. การพัฒนาตามจุดเน้นและจุดเด่นของสถาบัน
๑๘. การชี้นาและ/หรือแก้ปัญหาสังคมในด้านต่างๆ ของสถาบัน

สรุป
ระบบการประกันคุณภาพภายในกับระบบการประกันคุณภาพภายนอก มีความแตกต่างและมี
ความสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน การประกันคุณภาพภายในเป็นกระบวนการที่สถานศึกษาและหน่วยงานต้น
สังกัดจะต้องดาเนินการให้เป็นส่วนหนึ่งของการบริหาร โดยบุคลากรทุกคนในสถานศึกษา เพื่อพัฒน า
คุณภาพการศึกษาเข้าสู่มาตรฐานการศึกษาแล้วจัดทารายงานประจาปีเสนอผู้เกี่ยวข้อง ส่วนการประกัน
คุณภาพภายนอกเป็นงานที่ต่อเนื่องและสัมพันธ์กับการประกันคุณภาพภายใน เป็นการตรวจสอบผลการ
ประเมินตนเองของสถานศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาโดยหน่วยงานภายนอกเพื่อให้ข้อเสนอแนะในการ
ปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่อง การประกันคุณภาพภายในกับการประกันคุณภายนอกจึงสัมพันธ์เชื่อมโยง
กันด้วยมาตรฐานการศึกษาโดยคานึงถึงหลักการสาคัญ คือ เอกภาพเชิงนโยบาย ความหลากหลายในทาง
ปฏิบัติและมุ่งส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพการศึกษามากกว่าการควบคุมหรือการให้คุณให้โทษ
๑๗

บรรณานุกรม

รุ่ง แก้วแดง ประกันคุณภาพการศึกษา ทุกคนทาได้ ไม่ยาก กรุงเทพมหานคร สานักพิมพ์วัฒนาพาณิช จากัด ๒๕๔๔


สมคิด พรมจุ้ย และสุพักตร์ พิบูลย์ การประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา นนทบุรี สานักพิมพ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ๒๕๔๔
สานักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ มาตรฐานการศึกษาเพื่อการประเมินคุณภาพภายนอก
ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน กรุงเทพมหานคร บริษัทพิมพ์ดี จากัด ๒๕๔๔
. แนวทางการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา : เพื่อพร้อมรับการประเมินภายนอก
กรุงเทพมหานคร บริษัทพิมพ์ดี จากัด ๒๕๔๓
สานักงานปฏิรูปการศึกษา พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ กรุงเทพมหานคร โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว
๒๕๔๓
สานักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา กรอบการประเมินคุณภาพภายนอกระดับการศึกษาขั้น
พื้นฐาน กรุงเทพมหานคร สานักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา ๒๕๔๔
http://www.sobkroo.com/detail_room_index.php?nid=3110, 2553.

You might also like