เลขมาตรฐานสากลประจำ�หนังสือ
978-974-8233-73-4
ราคา 200 บาท
เขียน
สฤณี อาชวานันทกุล
บรรณาธิการบริหาร
ภิญโญ ไตรสุรยิ ธรรมา
บรรณาธิการ
สินนี าถ เศรษฐพิศาล
ออกแบบปกและรูปเล่ม
นุสรา ประกายพิสทุ ธิ์
สำ�นักพิมพ์ openbooks
286 ถนนพิชยั แขวงถนนนครไชยศรี
ดุสติ กรุงเทพฯ 10300
โทรศัพท์ 02 669 5145
โทรสาร 02 669 5146
www.onopen.com
email: pinyopen@yahoo.com
จัดจำ�หน่าย
บริษทั เคล็ดไทย จำ�กัด
117-119 ถนนเฟือ่ งนคร ตรงข้ามวัดราชบพิธ
กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 02 225 9536-40
โทรสาร 02 222 5188
ข้อมูลทางบรรณานุกรมของสํานักหอสมุดแห่งชาติ
National Library of Thailand Cataloging in Publication Data
สฤณี อาชวานันทกุล.
วิชา 50 เล่มเกวียน.-- กรุงเทพฯ : โอเพ่นบุก๊ ส์, 2552.
288 หน้า.
028.1
ISBN 978-974-8233-73-4
สารบัญ
12 : คำ�นำ�
48 : 008. Failure
An Autobiography
วิชา 50 เล่มเกวียน :: 12
ขยับเส้นชัยให้ห่างไกลออกไปเรื่อยๆ
ในสังคมที่ ‘ผู้ใหญ่’ หลายคนยังทําตัวแบบผูกขาดความ
ดี ความงาม และความจริง กล่าวหาคนหนุ่มสาวว่าเหลวไหล
เลื่อนลอยแต่ในขณะเดียวกันก็ทําตัวหน้าไหว้หลังหลอก ไม่เคย
สร้างแรงบันดาลใจที่แท้จริงอันใดให้กับคนหนุ่มสาว สื่อส่วนใหญ่ก็
นําเสนอแต่สิ่งที่จะทําให้เรตติ้งพุ่งกระฉูดโดยไม่สนใจผลกระทบที่
ตามมา คําถามจึงมีอยู่ว่า ‘ปัญญาใหม่’ ในคําคมของคิงซอลเวอร์
นั้นจะเกิดเป็นมรรคผลที่แท้จริงได้อย่างไร
จุดเริ่มต้นของคําตอบอาจอยู่ในหนังสือจํานวนหนึ่งที่มุ่ง
ถ่ายทอดความคิด ประสบการณ์ วิธีคิด และวิธีปฏิบัติที่ใช้การได้
จริงและสอดคล้องกับทิศทางใหม่ที่มนุษยชาติจะต้องเดิน
เป็นที่ชัดเจนต่อทุกคนที่ห่วงใยสังคมและมองการณ์ไกล
แล้วว่า วาระการพัฒนาในศตวรรษที่ 21 จะถูกกําหนดและตีกรอบ
ด้วยประเด็นสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ นับตั้งแต่ปัญหาสิ่งแวดล้อม
และทรัพยากรร่อยหรอลุกลามเป็นปัญหาระดับโลก ไม่ว่าจะเป็น
ภาวะโลกร้อน การขาดแคลนทรัพยากรน้ำ� ฯลฯ ซึ่งล้วนแต่ก่อให้
เกิ ด ปั ญ หาสุ ข ภาพและตอกลิ่ ม ความเหลื่ อ มล้ำ � ในสั ง คมให้ ถ่ า ง
กว้างกว่าเดิม เพราะผู้ด้อยโอกาสย่อมเผชิญกับความเสี่ยงในการ
ดํารงชีวิตมากกว่าผู้มีฐานะ
ลํ า พั ง ข้ อ เท็ จ จริ ง ที่ ว่ า หากคนทุ ก คนบนโลกนี้ ใ ช้ ชี วิ ต
เหมือนกับคนอเมริกัน เราจะต้องใช้โลกอีก 4 ใบ ก็เพียงพอแล้วที่
จะกระตุ้นให้เรามองเห็นว่า อารยธรรมมนุษย์ต้องปรับเปลี่ยนวิถี
และทิศทางการพัฒนาอย่างเร่งด่วน (ดังตัวอย่างในหนังสือเรื่อง
Plan B 3.0) ก่อนที่อารยธรรมจะเดินเข้าสู่จุดจบดังที่มีตัวอย่าง
มากมายให้เห็นในประวัติศาสตร์ (Collapse)
สฤณี อาชวานันทกุล :: 13
ถ้ามนุษย์ยังไม่เปลี่ยนแบบแผนการพัฒนา ภาวะโลก
ร้อนก็จะยิ่งทวีความรุนแรง อุณหภูมิโลกสูงขึ้นเพียงองศาเดียวก็
ก่ อ ให้ เ กิ ด ผลกระทบกว้ า งไกล มิ พั ก ต้ อ งพู ด ถึ ง หกองศา (Six
Degrees)
ในระดับที่ย่อลงมา ระบอบเศรษฐกิจแบบ ‘ทุนนิยม’ ที่
เราเคยรู้จักจะต้องเปลี่ยนแปลงจากหน้ามือเป็นหลังมือ เพราะ
สมมติฐานและวิธีคิดที่เคยใช้ในอดีตนั้นได้รับการพิสูจน์ให้เห็นแล้ว
ว่าใช้การไม่ได้ในยุคที่เรียกร้องความสัมพันธ์สอดคล้องระหว่างมิติ
ทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม หลายอย่างที่เรา
เคยเชื่อว่า ‘ดีไร้ที่ติ’ กําลังเผยขีดจํากัดและอันตรายให้เห็น ไม่ว่า
จะเป็นเรื่องกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคล (The Gridlock Economy) หรือ
ระบบทรั พ ย์ สิ น ทางปั ญ ญาที่ จ ะต้ อ งปรั บ แก้ ใ ห้ ห นุ น เสริ ม
“เศรษฐกิ จ ลู ก ผสม” ยุ ค อิ น เทอร์ เ น็ ต เพื่ อ ให้ ศิ ล ปะและธุ ร กิ จ
สามารถอยู่ร่วมโลกกันได้อย่างกลมกลืน (Remix) ซึ่งก่อนที่จะทํา
อย่ า งนั้ น ได้ เราต้ อ งมองเห็ น ศั ก ยภาพของอิ น เทอร์ เ น็ ต และ
เทคโนโลยีดิจิตัลอื่นๆ ในฐานะเครื่องมืออันทรงพลังที่จะส่งเสริม
ความหลากหลายและเศรษฐกิจภาคประชาชน ซึ่งอาจเรียกว่า
‘ทุนนิยมรากหญ้า’ (The Long Tail) และทําให้ ‘คนสมองขวานํา’
เป็นผู้นําในโลกธุรกิจ (A Whole New Mind)
ระบอบทุนนิยม โดยเฉพาะทุนนิยมแบบอุตสาหกรรมที่
เน้นการผลิตแบบแมส ได้ก่อให้เกิดปัญหามากมายต่อทั้งระบบ
นิ เ วศและสุ ข ภาพของผู้ บ ริ โ ภค (The End of Food, The
Omnivore’s Dilemma) ในขณะเดียวกัน นายทุนผู้ครองตลาดจํา
นวนมากก็อ้างว่านิยม ‘ตลาดเสรี’ แต่เพียงลมปาก ในความเป็น
จริงกลับวิ่งล็อบบี้นักการเมืองให้พิทักษ์อํานาจทางตลาดของตนไว้
วิชา 50 เล่มเกวียน :: 14
โดยทํ า กิ จ กรรม ‘ซี เ อสอาร์ ’ เล็ ก ๆน้ อ ยๆ บั ง หน้ า (Super-
capitalism) กีดกันคู่แข่งออกจากตลาด และกีดขวางการพัฒนา
นวั ต กรรมใหม่ ๆ ที่ จ ะทลายอํ า นาจผู ก ขาดและหนุ น เสริ ม การ
พัฒนาอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะการเปลี่ยนผ่านจากเศรษฐกิจที่ขับ
เคลื่ อ นด้ ว ยน้ำ � มั น ซึ่ ง เป็ น เชื้ อ เพลิ ง ฟอสซิ ล ที่ มี วั น หมด ไปสู่
เทคโนโลยีสะอาดและพลังงานทดแทน (Internal Combustion)
และอ้างวิทยาศาสตร์แบบผิดๆ เพื่อหลอกให้ผู้บริโภคหลงเชื่อใน
สรรพคุณที่ไม่มีจริง (Junk Science)
เมื่อหันมามองภาคการเงินที่ควรจะสนับสนุนการพัฒนา
อย่างยั่งยืน ด้วยบทบาทในการจัดสรรทุนนั้นจําเป็นอย่างยิ่งใน
เศรษฐกิจสมัยใหม่ แต่กลับกลายเป็นภาคส่วนที่โหมกระพือความ
โลภและความมักง่าย ซึ่งอันที่จริงประวัติศาสตร์ก็สอนเราแล้วว่า
ส่งผลมหาศาลเพียงใด (The Power of Gold) แทนที่ภาคการเงิน
จะหนุนเสริม ‘เศรษฐกิจจริง’ ที่ปรับปรุงคุณภาพชีวิตของผู้คน
กลับหนุนเสริมเศรษฐกิจฟองสบู่บนระบบความเชื่อมั่นที่ไร้ราก
(The Conspiracy of Fools)
นักการเงินที่ครั้งหนึ่งเคยคํานึงถึงผลประโยชน์ของลูกค้า
มากกว่าผลประโยชน์ของตัวเองเปลี่ยนสีกลับข้างเพราะความโลภ
บังตา (Infectious Greed, The Accidental Investment Banker)
จนนั ก คิ ด และนั ก การเงิ น อี ก หลายคนอดรนทนไม่ ไ หว ออกมา
ประกาศว่าเราจะต้องเปลี่ยนกระบวนทัศน์และออกแบบระบบเสีย
ใหม่ให้คํานึงถึง ‘ความไร้เหตุผล’ ของมนุษย์ว่าเป็นตัวแปรที่มอง
ข้ามไม่ได้ (The New Paradigm for Financial Markets, Animal
Spirits) และหวนคืนสู่หลักการเงินขั้นพื้นฐานที่เน้นการลงทุนใน
บริษัทที่มี ‘ความได้เปรียบอย่างยั่งยืน’ (Warren Buffett and the
สฤณี อาชวานันทกุล :: 15
Interpretation of Financial Statements)
แต่โลกยังไม่ไร้ซึ่งความหวัง ดังที่มันไม่เคยสิ้นไร้ในอดีต
เพี ย งแต่ เ ราอาจมองไม่ เ ห็ น หนทางที่ ส ร้ า งความหวั ง
เพราะมัวแต่ฟัง ‘ผู้ใหญ่’ ที่ชอบออกงานเสวนาและ ‘คนดัง’ ทั้ง
หลายที่ดังเพียงเพราะสื่อกระพือให้ดัง แทนที่จะเอาเวลาไปอ่าน
หนังสือ
หนังสือจึงเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในทุกสังคม เพราะเป็นสื่อที่
มีต้นทุนต่ำ�ที่สุดแล้วในการถ่ายทอดและเผยแผ่ปัญญาที่เป็นระบบ
โดยเฉพาะปัญญาใหม่ซึ่งกําลังเป็นที่ต้องการอย่างยิ่งยวด
หนังสือจํานวนมากขึ้นเรื่อยๆ ถ่ายทอดกระบวนทัศน์ วิธี
คิด วิธีแก้ปัญหา และโมเดลการพัฒนาใหม่ถอดด้ามที่กําลังอุบัติ
ขึ้นทั่วโลกอย่างน่าตื่นตาตื่นใจกว่าเนื้อหาในละครหลังข่าว
ไม่ว่าจะเป็นวิธีคิดใหม่ถอดด้ามเกี่ยวกับการออกแบบ
สินค้าและบริการเพื่อสร้างโลกวัตถุและบริการแบบใหม่ที่ไร้ขยะ
(In the Bubble, cradle to cradle) การส่งเสริมเทคโนโลยีแขนง
ใหม่ที่เคารพและผสานรวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับธรรมชาติ (The
Genesis Machines) การมองให้เห็นความมีเหตุมีผลในพฤติกรรม
ที่ เ ราเคยคิ ด ว่ า ไร้ เ หตุ ผ ล (The Undercover Economist)
พฤติ ก รรมไร้ เ หตุ ผ ลที่ ส ามารถพยากรณ์ ไ ด้ และสาเหตุ ข อง
ปรากฏการณ์ทางสังคมต่างๆ ที่หักล้างอคติดั้งเดิม (Outliers) เพื่อ
ที่เราจะได้ออกแบบนโยบายและกลไกแบบใหม่ ที่ “สะกิด” ให้คน
เปลี่ยนพฤติกรรมโดยไม่รู้สึกว่าถูกบังคับ (Nudge) โดยยอมรับข้อ
บกพร่ อ งในธรรมชาติ ม นุ ษ ย์ ที่ ทํ า ให้ เ รามั ก จะประเมิ น ความ
สามารถของตั ว เองไว้ สู ง เกิ น ไป คิ ด ว่ า สามารถพยากรณ์ เ หตุ
บังเอิญที่พยากรณ์ไม่ได้ (Fooled by Randomness)
วิชา 50 เล่มเกวียน :: 16
ถ้าเราอยากให้บริษัทมีความรับผิดชอบต่อสังคมจริงๆ
เราก็ จ ะต้ อ งเปลี่ ย นกฎหมายและกฎกติ ก าเสี ย ใหม่ ด้ ว ยความ
เข้ า ใจว่ า สิ ท ธิ ข องบริ ษั ท เอกชนนั้ น มิ ไ ด้ เ ป็ น สิ ท ธิ โ ดยธรรมชาติ
เฉกเช่ น สิ ท ธิ ม นุ ษ ยชน หากเป็ น ผลจากการตั ด สิ น ใจของผู้ ร่ า ง
กฎหมายและผู้พิพากษาในอดีต (Gangs of America) และดังนั้น
จึงย่อมเปลี่ยนแปลงได้เมื่อบริบทเปลี่ยนไป
ถ้าเราคิดว่าตัวเราแต่ละคนนั้น ‘เล็ก’ เกินกว่าที่จะมีส่วน
สร้ า งการเปลี่ ย นแปลงใดๆได้ เราก็ น่ า จะได้ แ รงบั น ดาลใจจาก
ความพยายามมากมายในระดับรากหญ้า (Blessed Unrest) ที่
สร้างความเปลี่ยนแปลงในระดับท้องถิ่น แต่ใช้ประโยชน์จากเครือ-
ข่ายอินเทอร์เน็ตในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกันและสร้างแรง
กดดันระดับประเทศ ตลอดจนเข้าใจว่าเรามีพลังเพียงใดในฐานะ
ผู้บริโภค (Ecological Intelligence)
ผู้เชี่ยวชาญจํานวนมากขึ้นเรื่อยๆ เสนอว่าอเมริกา ใน
ฐานะมหาอํานาจขนาดใหญ่ที่สุดในโลก จะต้องเปลี่ยนบทบาทของ
ตน จาก ‘ตํารวจโลก’ เป็น ‘นายหน้าโลก’ ผู้ทําหน้าที่เชื่อมโยง
สร้างเครือข่าย และหนุนวาระการพัฒนาอยู่เบื้องหลัง (The Post-
American World) ผู้เชี่ยวชาญด้านธุรกิจจํานวนมากขึ้นเรื่อยๆ กํา
ลังเสนอว่านักธุรกิจกระแสหลักควรขยายตลาดไปให้บริการกับ
คนจน (The Fortune at the Bottom of the Pyramid) มองเห็น
บทบาทที่ขาดไม่ได้ของ “แฟนพันธ์ุแท้” ในการผลักดันนวัตกรรมที่
เป็นประโยชน์ให้ได้รับความนิยมในวงกว้าง (Market Rebels)
และทํ า ธุ ร กิ จ อย่ า งมี ศั ก ดิ์ ศ รี แ ละด้ ว ยความจริ ง ใจ (Rules of
Thumb)
ในขณะเดียวกัน นักธุรกิจและนักพัฒนาเอกชนพันธุ์ใหม่
สฤณี อาชวานันทกุล :: 17
ที่ได้ชื่อว่า ‘ผู้ประกอบการเพื่อสังคม’ จํานวนหลายพันคนทั่วโลก
กําลังพิสูจน์ให้เห็นว่า กิจการแสวงหากําไรที่เอาเป้าหมายทาง
สังคมหรือสิ่งแวดล้อมเป็นตัวตั้ง ไม่ใช่เอากําไรสูงสุดเป็นตัวตั้งนั้น
สามารถอยู่ได้อย่างยั่งยืนในเชิงธุรกิจ (Creating a World Without
Poverty) หลายกิจการสามารถแย่งส่วนแบ่งตลาดมาจากผู้ครอง
ตลาดกระแสหลักและสร้างโมเดลความร่วมมือใหม่ๆ ที่ประสานผล
ประโยชน์ของธุรกิจ รัฐ และสังคมเข้าด้วยกันอย่างเป็นธรรมและ
ยั่งยืน (The Power of Unreasonable People) และนักธุรกิจ
จํานวนไม่น้อยก็กําลังพบความหมายของชีวิตในการทํากิจการ
เพื่อสังคมที่ตื่นเต้นและท้าทายไม่น้อยกว่าในโลกธุรกิจ (Leaving
Microsoft to Change the World)
หนังสือดีหลายเล่มเจาะลึกประเด็นใดประเด็นหนึ่งใน
ทางที่ทําให้เรามองความเชื่อมโยงระหว่างมนุษย์กับสังคม ยอมรับ
ความแตกต่ า งหลากหลายทางวั ฒ นธรรม (Kuhaku & Other
Accounts from Japan) และศาสนา (Under the Banner of
Heaven) และเข้าใจ ‘ความเป็นมนุษย์’ อย่างถ่องแท้กว่าเดิม ไม่
ว่าจะเป็นเรื่องราวของผู้พิพากษาศาลสูงอเมริกา (The Nine) หรือ
อัจฉริยะชื่อก้องโลก (Isaac Newton, Shakespeare) เรื่องราวไม่
ธรรมดาของสิ่งที่เราเคยคิดว่าธรรมดาไม่น่าสนใจ (Banana, The
Toothpick, Humble Masterpieces) ปรัชญาลึกซึ้งในกิจกรรม
ง่ายๆ อย่างเช่นการเดินทาง (The Art of Travel) หรือบทเรียน
จากความล้มเหลวที่ความสําเร็จสอนเราไม่ได้ (Failure)
หนังสือบางเล่มไม่ทําอะไรมากไปกว่าสร้างแรงบันดาลใจ
ในการใช้ชีวิต (The Last Lecture) ชี้ให้เห็นคุณค่าของการ ‘อยู่กับ
ปัจจุบัน’ (The Tao of Pooh) ถ่ายทอดความงามของภาพถ่ายลง
วิชา 50 เล่มเกวียน :: 18
สีด้วยมือ (Mind’s Eye) หรือจินตนาการถึงโลกที่ไร้มนุษย์ (The
World Without Us)
เพื่อเตือนสติเราให้ระลึกว่า ทุกสิ่งล้วนเป็นอนิจจัง และ
ไม่ว่าโลกจะหมุนเร็วเพียงใด เราก็ไม่จําเป็นจะต้องวิ่งตาม
และอันที่จริง การหยุดวิ่งตามโลกนั้น น่าจะเป็นก้าวแรก
ที่จําเป็นต่อการเปลี่ยนแปลงวิธีคิด ซึ่งจําเป็นต่อการเปลี่ยนแปลง
วิธีทํา
หยุดวิ่งเพื่ออ่านหนังสือดีๆ ที่ไม่โหนกระแส ไม่แห่ตาม
ใคร และไม่เห่อคนดัง
ท้ า ยนี้ ผู้ เ ขี ย นขอขอบคุ ณ คุ ณ บุ ญ ลาภ ภู สุ ว รรณ
บรรณาธิการบริหารหนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ ผู้เปิดพื้นที่ให้
กับคอลัมน์ ‘Dog-Ear’ ในเซคชั่น D-Life ทุกสองสัปดาห์ จนก่อ
เกิดเป็นหนังสือเล่มนี้ซึ่งรวบรวมห้าสิบตอนแรกที่ตีพิมพ์ระหว่าง
เดือนกรกฎาคม 2550 ถึงเดือนมิถุนายน 2552 คุณภิญโญ ไตร-
สุริยธรรมา และสมาชิกสํานักพิมพ์โอเพ่นบุ๊คส์ทุกท่าน หากเนื้อหา
ยั ง มี ที่ ผิ ด พลาดประการใด ย่ อ มเป็ น ความผิ ด ของผู้ เ ขี ย นเพี ย ง
ลําพัง ต้องขออภัยไว้ ณ ที่นี้
ขอให้ทุกท่านมีความสุขกับการอ่าน
สฤณี อาชวานันทกุล
“คนชายขอบ” | http://www.fringer.org/
28 พฤษภาคม 2552
สฤณี อาชวานันทกุล :: 19
001
The Long Tail
Chris Anderson
วิชา 50 เล่มเกวียน :: 20
ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องแปลกอันใด เพราะในเมื่อสินค้าขายดี
ที่สุด 20 เปอร์เซ็นต์ทํารายได้กว่า 80 เปอร์เซ็นต์ บริษัทไหนจะ
ยอมเสีย ‘พื้นที่’ ขายของอันมีค่า (ไม่ว่าจะเป็นหิ้งในร้านสะดวก
ซื้อ หรือรอบฉายภาพยนตร์) ไปกับการวางสินค้า ‘ไม่ฮิต’ 80
เปอร์เซ็นต์ที่ทํายอดขายได้น้อยมาก?
วิชา 50 เล่มเกวียน :: 22
ตลอดจน ‘จริต’ ต่างๆ ก็จะปรากฏออกมาให้เราได้ชื่นชมโดย
อัตโนมัติ
ไม่ว่าคุณจะสนใจเศรษฐศาสตร์ ธุรกิจ หรือสังคม ไม่
ควรพลาดหนังสือเล่มนี้ด้วยประการทั้งปวง.
สฤณี อาชวานันทกุล :: 23
002
Fooled by
Randomness
Nassim Taleb
ถ้าคุณมีความเชื่อดังต่อไปนี้ –
...ความสําเร็จในโลกธุรกิจและโลกการเงินเป็นเรื่อง
ของ ‘ฝีมือ’ มากกว่า ‘โชค’ แน่ๆ
...เป็ น เรื่ อ งธรรมดาที่ ใ ครๆ ก็ อ ยากเป็ น ดารา
เพราะเป็นอาชีพที่ทํารายได้มหาศาลทั้งๆ ที่มีความเสี่ยง
น้อยมาก
...ซีอีโอสมควรได้รับค่าตอบแทนสูงๆ เพราะความ
สําเร็จของบริษัทย่อมเป็นเครื่องสะท้อนความสามารถใน
การบริหารจัดการของพวกเขา
หนั ง สื อ ที่ ห นั ง สื อ พิ ม พ์ Wall Street Journal
ยกย่องว่า ‘ทําลายค่านิยมผิดๆ ของวอลล์สตรีทลงอย่าง
ราบคาบ’ และวารสาร Fortune ยกย่องให้เป็น ‘หนึ่งใน
วิชา 50 เล่มเกวียน :: 24
หนั ง สื อ ที่ ฉ ลาดที่ สุ ด ในประวั ติ ศ าสตร์ ’ ชื่ อ Fooled by
Randomness โดย นัสซิม ตาเลบ (Nassim Taleb) นัก
สถิติและนักค้าตราสารอนุพันธ์ อาจทําให้คุณเปลี่ยนความ
คิด หรืออย่างน้อยก็เข้าใจหลักการและข้อเท็จจริงเกี่ยวกับ
‘ความบังเอิญ’ ดีขึ้นกว่าเดิม
ในหนังสือเล่มไม่หนามากแต่อัดแน่นไปด้วยข้อมูล
และบทวิ เ คราะห์ แ สบๆ คั น ๆ เล่ ม นี้ ตาเลบชี้ ใ ห้ เ ห็ น ว่ า
ธรรมชาติของสมองมนุษย์ทําให้เราเกิดมาพร้อมกับความ
เข้ า ใจผิ ด เกี่ ย วกั บ สถิ ติ ห ลายประการ ซึ่ ง จะติ ด ตั ว เราไป
ตลอดชีวิตถ้าเราไม่ ‘ฝึกสมอง’ เสียใหม่ เขายกตัวอย่างเช่น
เรามักจะเข้าใจผิดว่าดารานั้นเป็นอาชีพที่ ‘น่าเป็น’ มาก
เพราะเรามี ‘อคติเกี่ยวกับผู้ชนะ’ (survivor bias) กล่าวคือ
เรามักจะมองเห็นแต่คนที่ประสบความสําเร็จจนโด่งดังเป็น
ดาราแล้ว แต่มองไม่เห็นคนอีกหลายแสนคนที่อยากเป็น
ดาราแต่ยังต้องทํางานรายได้ต่ำ� เช่น เป็นเด็กเสิร์ฟในร้าน
กาแฟ ระหว่างรับงานเล็กๆ น้อยๆ ในกองถ่าย รอคอย
โอกาสที่จะได้เป็นดารากับเขาบ้าง
ตาเลบแบ่งสถานการณ์ทั้งหมดในโลกนี้ออกเป็น
สองแบบ แบบแรกคือ ‘ภาวะแห่งความปานกลาง’ (Medio-
cristan) หมายถึงภาวะที่สถิติส่วนใหญ่มีค่าใกล้เคียงกับ
‘ค่าเฉลี่ย’ และดังนั้นจึงไม่มีทางที่ข้อมูลตัวใดตัวหนึ่งจะส่ง
ผลให้ค่าเฉลี่ยเปลี่ยนแปลงไปได้มาก (ยกตัวอย่างเช่น ถ้า
ข้อมูล 1,000 อันดับแรกมีค่าเท่ากับ 10 เท่ากันหมดทุกตัว
สฤณี อาชวานันทกุล :: 25
หากข้อมูลอันดับที่ 1,001 มีค่าเท่ากับ 100 ก็จะทําให้ค่า
เฉลี่ยเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเท่านั้น คือจาก 10 เป็น 10.0899)
ในขณะที่ ใ นภาวะแบบที่ ส องคื อ ‘ภาวะแห่ ง ความสุ ด ขั้ ว ’
(Extremistan) นั้น ข้อมูลส่วนใหญ่มีค่ากระจัดกระจาย และ
ดั ง นั้ น ข้ อ มู ล ตั ว หนึ่ ง จึ ง อาจส่ ง ผลกระทบต่ อ ค่ า รวมอย่ า ง
มีนัยสําคัญ ยกตัวอย่างเช่น โลกเรามีคนจนและคนรวยทุก
ระดับชั้นโดยไร้ขีดจํากัด ดังนั้น หากเราสุ่มเลือกคนหนึ่งพัน
คนตั้ ง แต่ ป ระเทศยากจนที่ สุ ด จนถึ ง ประเทศร่ำ � รวยที่ สุ ด
และบั ง เอิ ญ สุ่ ม ได้ บิ ล เกตส์ มารวมอยู่ ใ นนั้ น รายได้ อั น
มหาศาลของเขาก็จะทําให้ค่าเฉลี่ย ค่ามัธยฐาน และผลรวม
สูงขึ้นอย่างผิดปกติ
ตาเลบพิสูจน์ด้วยเหตุผลและข้อมูลมากมายให้เห็น
ว่า เรามักจะมองเหตุการณ์ต่างๆ ในโลกเราประหนึ่งว่ามัน
เป็นภาวะแห่งความปานกลาง ทั้งๆ ที่จริงๆ แล้วมันมักจะ
เป็ น เหตุ ก ารณ์ แ บบภาวะแห่ ง ความสุ ด ขั้ ว ที่ มั ก จะมี
‘ห่านสีดํา’ เกิดขึ้น (black swan คือชื่อที่ตาเลบใช้เรียก
เหตุการณ์ไม่คาดฝัน ซึ่งใช้เป็นชื่อหนังสือเล่มล่าสุดของเขา
ด้ ว ย) ในหมู่ ห่ า นสี ข าว ตั ว อย่ า งของ ‘ห่ า นสี ดํ า ’ เช่ น
ภาพยนตร์และอัลบั้มเพลงฮิตจํานวนน้อยนิดที่ทํายอดขาย
สูงมากๆ หรือล้มเหลวไม่เป็นท่า ตาเลบบอกว่า เนื่องจาก
เราไม่ มี ท างคาดเดาได้ ว่ า งานชิ้ น ใดหรื อ เหตุ ก ารณ์ ใ ดจะ
กลายเป็น ‘ห่านสีดํา’ บ้าง เราก็ควรจะเลิกคิดว่าเราสามารถ
พยากรณ์อนาคตจากอดีตได้ หันมายอมรับความไม่แน่นอน
วิชา 50 เล่มเกวียน :: 26
และความบั ง เอิ ญ ว่ า เป็ น ส่ ว นที่ ข าดไม่ ไ ด้ ใ นชี วิ ต และฟั ง
ความเห็นของ ‘ผู้เชี่ยวชาญ’ ให้น้อยลงเสียบ้าง
Fooled by Randomess เป็นหนังสือที่น่าอ่าน
อย่ า งยิ่ ง โดยเฉพาะในสั ง คมที่ ค นส่ ว นใหญ่ ยั ง บ้ า ดารา
นับถือ ‘ขาใหญ่’ ในตลาดหุ้นว่าเฉลียวฉลาดกว่าคนทั่วไป
และแยกแยะระหว่าง ‘ความเก่ง’ และ ‘ความเฮง’ ของนัก
ธุรกิจไม่ค่อยออก.
สฤณี อาชวานันทกุล :: 27
003
A Whole New Mind
Daniel Pink
“เด็กหัวกะทิต้องเอนท์ฯ คณะแพทยศาสตร์หรือวิศวกรรม-
ศาสตร์เท่านั้น เด็กหัวดีรองลงมาก็ไปเอนท์บัญชี เศรษฐ-
ศาสตร์ หรือนิติศาสตร์ ส่วนใครที่รู้ตัวว่า ‘หัวไม่ถึง’ ก็ต้อง
ไปเอนท์นิเทศศาสตร์ อักษรศาสตร์ ศิลปศาสตร์ ฯลฯ”
คํากล่าวข้างต้นเป็น ‘ค่านิยม’ เกี่ยวกับการศึกษาที่
ผู้เขียนได้ยินจนชินหูมาตั้งแต่เด็ก และในฐานะที่เป็น ‘เด็ก
หัวดีรองลงมา’ คนหนึ่ง ก็ไปเข้าคณะเศรษฐศาสตร์ตามค่า
นิยมนี้ด้วย ปัจจุบันแม้ว่าค่านิยมนี้จะเจือจางไปบ้างแล้ว
เวลาใครพูดถึง ‘เด็กหัวกะทิ’ ในสังคมไทย คนส่วนใหญ่ก็ยัง
นึกภาพเด็กเรียนหนังสือเก่ง คิดเลขเก่ง และมีความจําเป็น
เลิศ – คนแบบที่ศัพท์การแพทย์สมัยใหม่เรียกว่า ‘คนสมอง
ซ้ายนํา’ (left-brainers)
วิชา 50 เล่มเกวียน :: 28
ในทางกลับกัน ‘คนสมองขวานํา’ (right-brainers)
เช่น ศิลปิน หรือนักเขียนที่ไม่ชอบคิดเลข ก็มักจะถูกตรา
หน้าว่า ‘หัวไม่ดี’
แต่หนังสือยอดเยี่ยมเรื่อง A Whole New Mind –
Why Right-Brainers Will Rule the Future โดย แดเนียล
พิงค์ (Daniel Pink) ชี้ให้เห็นว่า ถึงเวลาแล้วที่สังคมจะต้อง
เปลี่ ย นนิ ย ามและทั ศ นคติ เ กี่ ย วกั บ ‘ความฉลาด’ และ
ค่ า นิ ย มจากหน้ า มื อ เป็ น หลั ง มื อ อย่ า งน้ อ ยก็ ใ นประเทศ
พัฒนาแล้ว
เพราะอนาคตอันใกล้นี้อยู่ในมือและสมองของคน
สมองขวานํา ไม่ใช่คนสมองซ้ายนําเหมือนที่ผ่านมา
พิงค์ชี้ว่า สังคมและเศรษฐกิจของโลกเราในรอบ
หลายสิบปีที่ผ่านมาถูกกําหนดและครอบงําโดย ‘คนสมอง
ซ้ า ยนํ า ’ ทั้ ง หลาย ไม่ ว่ า จะเป็ น นั ก ธุ ร กิ จ นั ก กฎหมาย
แพทย์ วิศวกร โปรแกรมเมอร์ ฯลฯ แต่โลกยุคโลกาภิวัตน์มี
ปรากฏการณ์สําคัญๆ สามเรื่องที่ทําให้ทักษะของสมองซีก
ซ้าย (เช่น ความจํา และทักษะด้านการคิดเลขและวิเคราะห์
ข้อมูล) เป็นเรื่องจําเป็นน้อยลงมาก ได้แก่ 1) Abundance
หมายถึ ง ความอุ ด มสมบู ร ณ์ ข องสั ง คมบริ โ ภคในประเทศ
พัฒนาแล้ว ที่ทําให้สินค้าและบริการใหม่ๆ ต้องสร้าง ‘จุด
ต่าง’ เพื่อดึงดูดผู้บริโภค ทําให้งานที่ใช้ทักษะของสมองซีก
ขวาเป็นหลัก เช่น ดีไซน์ และการโฆษณาสื่อสาร ทวีความ
สฤณี อาชวานันทกุล :: 29
สําคัญมากขึ้น, 2) Asia หมายถึงภาวะที่งานที่ใช้สมองซีก
ซ้ายเป็นหลัก เช่น การคีย์ข้อมูลเข้าคอมพิวเตอร์ และงาน
ธุรการอื่นๆ ถูกโยกย้าย (outsource) จากประเทศพัฒนา
แล้วไปยังประเทศเกิดใหม่ในเอเชีย โดยเฉพาะอินเดีย, และ
3) Automation หมายถึงความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี โดย
เฉพาะเครือข่ายอินเทอร์เน็ตและพลังการประมวลผลของ
คอมพิวเตอร์ ซึ่งลดความจําเป็นของการใช้ทักษะของสมอง
ซีกซ้ายลงอย่างมากจนเหลือเวลาให้เราเอาไปอุทิศให้กับ
การฝึกสมองซีกขวาได้
พิงค์บอกว่า ถึงเวลาแล้วที่คนสมองซ้ายนําทุกคน
จะหันมาให้ความสนใจกับการพัฒนาทักษะของสมองซีก
ขวา ซึ่ ง เขาแบ่ ง กว้ า งๆ ออกเป็ น 6 ชนิ ด ได้ แ ก่ การ
ออกแบบ (Design), การเล่าเรื่อง (Story), การมองเห็น
ความกลมกลืนของสิ่งต่างๆ (Symphony), การเอาใจเขามา
ใส่ใจเรา (Empathy), การเล่น (Play) และการค้นหาความ
หมายของชีวิต (Meaning) ซึ่งทักษะเหล่านี้ล้วนสอดคล้อง
กับแนวโน้มธุรกิจในปัจจุบัน ที่หันมาให้ความสําคัญกับ EQ
มากกว่ า IQ และให้ ค วามสํ า คั ญ กั บ การใช้ ค วามคิ ด
สร้างสรรค์มากกว่าทักษะที่เกี่ยวกับการคิดเลข
A Whole New Mind เป็นหนังสือที่เหมาะสําหรับ
ผู้ อ่ า นทุ ก ท่ า นในโลกหมุ น เร็ ว ยุ ค โลกาภิ วั ต น์ โดยเฉพาะ
ครูบาอาจารย์และใครก็ตามที่สนใจเรื่องวิธีปฏิรูปการศึกษา
วิชา 50 เล่มเกวียน :: 30
ให้ทันโลก คน ‘สมองซ้ายนํา’ ที่รู้สึกว่ามีอะไรบางอย่างขาด
หายไปในชี วิ ต และคน ‘สมองขวานํ า ’ ที่ มั ก จะถู ก คน
ประเภทแรกหาว่า ‘ไม่ฉลาด’ อยู่เนืองๆ นอกจากจะอ่าน
สนุ ก แล้ ว หนั ง สื อ เล่ ม นี้ ยั ง มี บ ททดสอบและแบบฝึ ก หั ด
ทักษะของสมองซีกขวา และลิ้งก์ไปยังเว็บไซต์ที่น่าสนใจ
มากมายอีกด้วย.
สฤณี อาชวานันทกุล :: 31
004
The Undercover
Economist
Tim Harford
ในโลกยุคเร่งรีบที่มนุษย์เงินเดือนมีเวลาทานข้าวในบ้าน
น้อยลงเรื่อยๆ จนอาหารแช่แข็งพร้อมรับประทานกลาย
เป็ น สิ น ค้ า คุ้ น ตาของชนชาติ ที่ ‘ชอบกิ น ’ เป็ น ชี วิ ต จิ ต ใจ
อย่างคนไทย จะมีสักกี่คนที่ฉุกคิดว่า อาหารที่ผลิตแบบเป็น
อุตสาหกรรมเต็มร้อยที่เรากินกันอยู่ทุกวันนี้นั้นมาจากไหน
กระบวนการผลิตอาหารกําลังส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมหรือ
สุขภาพของเรามากน้อยเพียงใด และเมื่อรู้ความจริงแล้ว
เราควรเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคหรือไม่?
หนังสือเล่มหนาเรื่อง The Omnivore’s Dilemma:
A Natural History of Four Meals โดย ไมเคิล พอลลัน
(Michael Pollan) พยายามตอบคําถามสั้นๆ ว่า “เราควร
กินอะไรเป็นข้าวเย็น?” ด้วยการสืบสาวที่มาของอาหารสี่มื้อ
วิชา 50 เล่มเกวียน :: 36
ในอเมริกาจากต้นตอสู่จาน ได้แก่ อาหารจากเคาน์เตอร์
drive-in ของแมคโดนัลด์, อาหารเพื่อสุขภาพจาก Whole
Foods (ซุปเปอร์มาร์เก็ตในอเมริกาที่โฆษณาว่าขายแต่
อาหารแบบ “เกษตรอินทรีย์” คือผลิตโดยกระบวนการทาง
ธรรมชาติล้วนๆ), อาหารจากฟาร์มธรรมชาติที่โฆษณาว่า
‘สดกว่าออร์แกนิก’ (beyond organic) ในรัฐเวอร์จิเนีย,
และอาหารที่พอลลันบอกว่าเป็น “มื้อที่สมบูรณ์แบบ” นั่นคือ
อาหารที่เขาหามาได้เองล้วนๆ จากป่า ไม่ต่างจากบรรพ-
บุรุษของมนุษย์ในสมัยโบราณ
ระหว่างการเดินทางไปสืบสาวต้นตอของอาหารทั้ง
สี่มื้อ พอลลันเล่าเรื่องที่เขาได้พบปะกับผู้คนมากหน้าหลาย
ตาที่มีความน่าสนใจและหลากหลายไม่แพ้ตัวละครในนิยาย
ขายดี ไม่ว่าจะเป็นชาวไร่ข้าวโพดในรัฐไอโอวา ผู้ดูแลที่ดิน
สําหรับขุนสัตว์ให้อ้วน (feedlot) ก่อนส่งเข้าโรงฆ่า นักวิจัย
ด้านโภชนาการ ชาวนาขบถผู้เชื่อมั่นในวิถีเกษตรธรรมชาติ
นักชิมอาหารอาชีพชาวซานฟรานซิสโก ชาวนาผู้เชี่ยวชาญ
ด้านการเก็บเห็ดป่า ฯลฯ สิ่งที่น่าทึ่งคือ พอลลันสามารถ
มองกลุ่ ม คนที่ มี ฐ านะ อาชี พ และความเห็ น เกี่ ย วกั บ
อุ ต สาหกรรมอาหารที่ ห ลากหลายขนาดนี้ จ ากมุ ม มองที่
เปี่ยมมนุษยธรรมและความเห็นอกเห็นใจ โดยไร้ซึ่งอคติ
ใดๆ กํากับ
สฤณี อาชวานันทกุล :: 37
ในมุมมองของพอลลัน ชาวไร่ที่ราดปุ๋ยไนโตรเจน
ปริมาณมหาศาลในแต่ละปีลงบนไร่ข้าวโพด สัตวแพทย์ที่
โด๊ปยาให้วัวที่ถูกขุนด้วยข้าวโพดปีละหลายตัน และชาวนา
ที่ต้องขลิบหางหมูทิ้งทุกปีเพื่อบรรเทาความเครียดของหมู
จากการอยู่อย่างแออัดในเล้าหมูแบบใหม่ ล้วนเผชิญกับแรง
กดดันชนิดเดียวกันที่ก่อโดยผู้กําหนดนโยบายภาครัฐ และ
นักธุรกิจใหญ่ในอุตสาหกรรมอาหารที่ขยันล็อบบี้นักการ
เมื อ งเพื่ อ ปกป้ อ งผลประโยชน์ ตั ว เองโดยไม่ คํ า นึ ง ถึ ง
อันตรายของอุตสาหกรรมอาหารในปัจจุบัน หนึ่งในตัวอย่าง
ที่ทําให้ผู้อ่านเห็นปัญหาของอุตสาหกรรมได้ดีที่สุดใน The
Omnivore’s Dilemma คื อ อุ ต สาหกรรมข้ า วโพด พื ช ที่
อเมริกาผลิตได้มากที่สุดในโลกและรัฐบาลให้เงินอุดหนุน
มากที่สุด พอลลันบอกว่า จากสินค้ากว่า 45,000 ชนิดโดย
เฉลี่ ย ที่ ซุ ป เปอร์ ม าร์ เ ก็ ต ในอเมริ ก าวางขาย กว่ า 25
เปอร์เซ็นต์ มีข้าวโพดเป็นส่วนผสมสําคัญ เพราะรัฐบาล
อเมริกาต้องหา ‘ที่ลง’ ใหม่ๆ ให้กับข้าวโพดตลอดเวลา
เพราะไม่ ต้ อ งการให้ ช าวไร่ เ ลิ ก ปลู ก จนแม้ ก ระทั่ ง ปลา
แซลมอนเลี้ยงในปัจจุบันก็ถูกดัดแปลงพันธุกรรมให้กินข้าว
โพดเป็นอาหารด้วย!
หนั ง สื อ เล่ ม นี้ อั ด แน่ น ไปด้ ว ยข้ อ มู ล น่ า สนใจ
มากมายเกี่ยวกับความ ‘เละเทะ’ ของอุตสาหกรรมอาหาร
ในอเมริกา (เช่น วัวส่วนใหญ่ในอเมริกาถูกบังคับให้กินเนื้อ
ของพวกเดียวกันเป็นอาหาร!) โดยพอลลันเล่าเรื่องประเด็น
วิชา 50 เล่มเกวียน :: 38
ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งในเชิงศีลธรรม การเมือง ธุรกิจและ
วิ ท ยาศาสตร์ ตลอดจนผลกระทบด้ า นสิ่ ง แวดล้ อ มและ
สุ ข ภาพของอาหารแต่ ล ะชนิ ด ถ้ า คุ ณ เคยอยากรู้ ว่ า
บิ๊ ก แมคมาจากไหนกั น แน่ อุ ต สาหกรรมอาหารมี ส่ ว นใน
ปัญหา ‘โลกร้อน’ ได้อย่างไร และสลัดที่โฆษณาว่า “ผลิต
โดยกระบวนการธรรมชาติล้วนๆ” นั้นดีจริงอย่างที่พูดหรือ
ไม่ ไม่ควรพลาด The Omnivore’s Dilemma หนังสือที่
TIME ยกย่องให้เป็นหนึ่งใน “หนังสือ 10 เล่มที่ดีที่สุดในปี
2006” ด้วยประการทั้งปวง.
สฤณี อาชวานันทกุล :: 39
006
Gangs of America
Ted Nace
สฤณี อาชวานันทกุล :: 43
007
In the Bubble
John Thackara
ในโลกที่เต็มไปด้วยสินค้านานาชนิดและเทคโนโลยีทันสมัย
มากมายที่ต่างโอ้อวดสรรพคุณว่าทําให้ชีวิตคนเราสะดวก
สบายกว่าทุกยุคที่ผ่านมาในอดีต แต่ผู้บริโภคสินค้าเหล่า-
นั้นจํานวนมากกลับรู้สึกแปลกแยกและเปลี่ยวเหงากว่าเดิม
เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น?
คําตอบของ จอห์น แธ็คคารา (John Thackara)
ในหนังสือยอดเยี่ยมเรื่อง In the Bubble: Designing in a
Complex World คือ นั่นเป็นเพราะที่ผ่านมา เราให้ความ
สําคัญกับ ‘ของ’ มากกว่า ‘คน’ และทางแก้ที่เขาเสนอคือ
เราต้องเปลี่ยนวิธีออกแบบสินค้าและบริการต่างๆ เสียใหม่
ให้คํานึงถึง ‘คน’ มากกว่า ‘ของ’
วิชา 50 เล่มเกวียน :: 44
แธ็คคาราชี้ให้เห็นในหนังสือเล่มนี้ว่า ปัญหาหลาย
ข้อของเราตอนนี้ เช่น โฆษณาไร้สาระมากมาย เป็นผลจาก
การตั ด สิ น ใจออกแบบที่ ผิ ด พลาดหรื อ รู้ เ ท่ า ไม่ ถึ ง การณ์
ไม่ใช่เกิดขึ้นโดยบังเอิญ กว่าร้อยละ 80 ของผลกระทบด้าน
สิ่งแวดล้อมที่เกิดจากสินค้า บริการ และโครงสร้างพื้นฐาน
ต่างๆ ที่มนุษย์เป็นผู้สร้างนั้น ล้วนเป็นผลพวงจากขั้นตอน
การออกแบบ เช่น การเติบโตแบบดูเหมือนไร้ทิศทางของ
ชุมชนเมือง เป็นผลจากกฎหมายโซนนิ่ง โครงสร้างภาษี
การตั ด สิ น ใจปล่ อ ยกู้ ข องธนาคาร การออกแบบรถยนต์
ฯลฯ ที่ล้วนแต่มีคนออกแบบทั้งสิ้น แธ็คคาราบอกว่า สังคม
เราปัจจุบันนี้คิดเก่งแต่เรื่อง ‘กระบวนการ’ แต่แทบไม่เคย
คิดเรื่อง ‘เป้าหมาย’ เลย นักออกแบบทุกวงการไม่เคยตั้งคํา
ถามว่า ของที่กําลังออกแบบอยู่นี้มี ‘คุณค่า’ ใดบ้างต่อชีวิต
มนุษย์ เพราะมัวแต่มุ่งเน้นการใส่เทคโนโลยีใหม่ๆ เข้าไป
ราวกับว่า ‘ความใหม่’ ของเทคโนโลยีเพียงอย่างเดียวก็
‘ขายได้’ และเพียงพอแล้ว ทั้งๆ ที่ฟังก์ชั่นใหม่เอี่ยมของมือ
ถือแต่ละรุ่นไม่สามารถช่วยให้เรามีเวลาอยู่กับคนรักมากขึ้น
หรือพูดความจริงต่อกันมากกว่าเดิม
แธ็ ค คาราเชื่ อ ว่ า ถึ ง เวลาแล้ ว ที่ เ ราจะหั น มาให้
ความสําคัญกับคุณค่าต่างๆ ของความเป็นมนุษย์ มากกว่า
ประสิทธิภาพหรือความใหม่ของเทคโนโลยี เขายกตัวอย่าง
งานออกแบบมากมายในโลกปัจจุบันที่แสดงให้เราเห็นว่า
โลกที่มี ‘คน’ ไม่ใช่ ‘ของ’ เป็นศูนย์กลางนั้น จะมีหน้าตาเป็น
สฤณี อาชวานันทกุล :: 45
อย่างไร แธ็คคาราบอกว่า เราสามารถผสมผสานเทคโนโลยี
การสื่อสารแบบไร้สาย (wireless) ระบบบอกตําแหน่งบ
นพื้นผิวโลก เช่น จีพีเอส (GPS) และเทคโนโลยีในการ
จัดสรรทรัพยากรเข้าด้วยกัน เพื่อลดปริมาณ ‘ของ’ ที่เรา
ต้องครอบครองเป็นเจ้าของเพื่อใช้มัน เช่น รถยนต์ ถนน
คอมพิวเตอร์ หรือสํานักงาน ถ้าเราคิดเรื่องการออกแบบ
อย่างบูรณาการและเป็นระบบ โดยเอาวิถีชีวิตของคนเป็น
ตั ว ตั้ ง เราก็ จ ะค้ น พบว่ า เราไม่ จํ า เป็ น ต้ อ ง ‘เป็ น เจ้ า ของ’
หลายสิ่งหลายอย่างอีกต่อไป เราเพียงแต่ต้องรู้ว่ามันอยู่
ที่ไหน และเราจะใช้มันอย่างไรได้บ้าง แธ็คคาราย้ำ�ด้วยว่า
ในโลกใหม่ที่ ‘คน’ สําคัญกว่า ‘ของ’ นั้น ดีไซเนอร์จะต้อง
เปลี่ ย นจากคนที่ อ อกแบบ ‘ของ’ มาเป็ น คนที่ อ อกแบบ
‘ระบบซับซ้อน’ ที่มีระบบด้านสิ่งแวดล้อม อุตสาหกรรม
และวัฒนธรรม ซ้อนทับกันอยู่ และระบบซับซ้อนนั้นควร
ส่งเสริมให้ผู้ใช้มีส่วนร่วมในการออกแบบระบบที่พวกเขา
เป็นสมาชิก คํานึงถึงประสิทธิภาพและต้นทุน (ทั้งในรูปตัว
เงิน และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิต) ของ
การไหลเวียน (flow) ของทั้งวัสดุก่อสร้างและพลังงานที่ใช้
ในระบบที่เราออกแบบ คํานึงถึง ‘คุณค่า’ ที่ผู้ใช้จะได้รับ
และมุ่งเน้นการออกแบบไปที่ ‘บริการ’ ที่มอบให้กับผู้ใช้
ไม่ใช่ออกแบบ ‘ของ’ ที่ในที่สุดจะเป็นเพียงขยะรกโลกโดย
ไม่จําเป็นเท่านั้น
ถ้าคุณอยากรู้ว่า โลกใหม่ในโลกทัศน์ของแธ็คคารา
วิชา 50 เล่มเกวียน :: 46
มีหน้าตาเป็นเช่นใด ‘ความรู้หนังสือ’ (literacy) ของเราจะ
เปลี่ยนจากการรับสาร (ที่ส่วนใหญ่ “ไร้สาระ”) จากโฆษณา
กว่ า 200 ชิ้ น ในแต่ ล ะวั น มาเป็ น การรั บ ข้ อ มู ล ที่ สํ า คั ญ
เกี่ ย วกั บ สุ ข ภาพของโลกและสุ ข ภาพส่ ว นตั ว ของเราได้
อย่างไร ‘ความฉลาด’ ของคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็กลง
เรื่อยๆ จนอยู่ได้ทุกหนทุกแห่ง ไม่เว้นแม้แต่ในเนื้อผ้าที่เรา
สวมใส่นั้น ควรเป็นความฉลาดแบบไหนกันแน่ และเหตุใด
แธ็คคาราจึงเชื่อว่า “เมื่อคุณใส่เทคโนโลยีฉลาดๆ เข้าไปใน
สินค้าที่ไร้จุดหมาย ผลที่เกิดขึ้นคือสินค้าปัญญานิ่ม” คุณก็
ไม่ควรพลาด In the Bubble – หนังสือที่นักออกแบบอ่าน
ได้ ผู้บริโภคอ่านดี และทุกคนที่หลงใหลในเทคโนโลยีใหม่ๆ
เพราะ ‘ความใหม่’ มากกว่า ‘คุณค่า’ ยิ่งต้องอ่าน.
สฤณี อาชวานันทกุล :: 47
008
Failure
Josh Gidding
สฤณี อาชวานันทกุล :: 51
009
Conspiracy of Fools
Kurt Eichenwald
ในประวัติศาสตร์ทุนนิยมสมัยใหม่ ยากที่ใครจะหาเรื่องราว
ของบริษัทเอกชนที่มีสีสัน ความหลากหลายของตัวละคร
ความซั บ ซ้ อ นยอกย้ อ นของธุ ร กิ จ ที่ ใ ห้ บ ทเรี ย นต่ อ ภาค
สังคม ธุรกิจ และการเมือง ได้ดีไปกว่าประวัติความรุ่งเรือง
และล่ ม สลายของเอ็ น รอน บริ ษั ท พลั ง งานยั ก ษ์ ใ หญ่ ข อง
อเมริกาที่กลายเป็นคดีล้มละลายที่ใหญ่ที่สุดในโลก ทําให้
อาร์เธอร์ แอนเดอร์สัน หนึ่งในบริษัทที่ปรึกษาทางการเงิน
และผู้สอบบัญชีรายใหญ่ที่สุดในโลกต้องล่มสลายไปด้วย
ผู้บริหารถูกศาลตัดสินจําคุกในข้อหาฉ้อโกง และทําให้ทั่ว
โลกกังขาในธรรมาภิบาลของภาคธุรกิจและการเงินอเมริกัน
ทั้งระบบ
วิชา 50 เล่มเกวียน :: 52
ในหนังสือ ‘สารคดีเชิงนิยาย’ เรื่อง Conspiracy of
Fools: A True Story นักข่าวหัวเห็ดประจําหนังสือพิมพ์
The New York Times นาม เคิร์ท ไอเคนวอลด์ (Kurt
Eichenwald) ใช้ข้อมูลหลักฐานมากมายและบทสัมภาษณ์
ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต่างๆ ในคดีเอ็นรอนที่กินเวลารวมกันนับ
พันชั่วโมง พร้อมความช่วยเหลือจากทีมผู้ช่วยวิจัย มาเรียง
ร้อยเป็นเรื่องราวที่หนาหนักแต่อ่านสนุกจนวางไม่ลงราวกับ
นิยายนักสืบชั้นดี ตัวละครหลักในหนังสือเล่มนี้คือ แอนดรูว์
ฟาสทาว (Andrew Fastow) อดีต Chief Financial Officer
(CFO) ของเอ็นรอน ซึ่งถูกศาลตัดสินว่าเป็น ‘ตัวการ’ หลัก
ในคดีเอ็นรอน ไอเคนวอลด์วาดภาพฟาสทาวให้เราเห็น
อย่างชัดเจนว่าเป็นผู้บริหารที่ ‘เลว’ ที่สุดในเอ็นรอน เป็น
คนคิ ด สารพั ด วิ ธี โ กงบริ ษั ท ที่ ห ลากหลายอย่ า งไม่ น่ า เชื่ อ
ถึ ง แม้ ว่ า กลโกงของเขาจะไม่ ใ ช่ เ รื่ อ งใหม่ ใ นโลกของ
อาชญากรรมธุ ร กิ จ – ฟาสทาวก่ อ ตั้ ง บริ ษั ท กล่ อ งที่ ไ ม่ มี
ตัวตนอยู่จริง เพื่อหลอกให้บริษัทจ่าย ‘ค่าที่ปรึกษา’ และ
‘ค่าบริหารเงิน’ แพงๆ ให้กับตัวเองในฐานะ ‘คนนอก’ และ
สมคบคิดกับผู้สอบบัญชีจากอาร์เธอร์ แอนเดอร์สัน ตกแต่ง
บั ญ ชี เ พื่ อ ปกปิ ด ผลขาดทุ น จากสายตาของผู้ ถื อ หุ้ น และ
สร้ า งผลกํ า ไรที่ ไ ม่ มี อ ยู่ จ ริ ง ไอเคนวอลด์ พิ สู จ น์ ด้ ว ยบท
สนทนาและเอกสารหลักฐานมากมายให้เราเห็นว่า แรงจูง
ใจของฟาสทาวคือความโลภ และ ‘ปมเด่น’ ที่โหยหาการ
ยอมรับจากเพื่อนร่วมงานและโลกธุรกิจตลอดเวลา ถึงแม้ว่า
สฤณี อาชวานันทกุล :: 53
เรื่ อ งราวของเอ็ น รอนในหนั ง สื อ เล่ ม นี้ จ ะถอยกลั บ ไปถึ ง
ทศวรรษ 1980 เพื่อแสดงให้เห็นว่าบริษัทนี้มีพฤติกรรม
ไม่ชอบมาพากลมานานแล้ว เนื้อหาส่วนใหญ่ในหนังสือเน้น
หนักไปที่เหตุการณ์หลังปี 1997 เมื่อเอ็นรอนเริ่มประสบผล
ขาดทุน กดดันให้ฟาสทาวและลูกน้องเริ่มตกแต่งบัญชีอย่าง
น่าเกลียดขึ้นเรื่อยๆ จนความแตก
นั ก วิ จ ารณ์ ห นั ง สื อ บางรายมองว่ า การเดิ น เรื่ อ ง
ของไอเคนวอลด์ทําให้ เคน เลย์ (Ken Lay - CEO ของเอ็น
รอน) และ เจฟฟ์ สกิลลิ่ง (Jeff Skilling - President ของ
เอ็นรอน) ดูเป็นผู้บริสุทธิ์เกินไป ดุจเป็นผู้บริหารที่รู้เท่าไม่
ถึงการณ์จนถูกฟาสทาวหลอก แต่ผู้เขียนคิดว่า ‘ความเลว’
ของเลย์และสกิลลิ่งก็ปรากฏค่อนข้างชัดเจนในหนังสือแล้ว
เพี ย งแต่ ค วามเลวของเลย์ เ ป็ น ความเลวแบบซั บ ซ้ อ นที่
สะท้อนในการไม่ยอมทําสิ่งที่ถูกต้อง (เช่น ไม่บอกคณะ
กรรมการเมื่อรู้ว่าบริษัทมีปัญหาร้ายแรง) และการเข้าข้าง
ลูกน้อง ไม่ใช่ความเลวแบบตรงไปตรงมาอย่างในกรณีของ
ฟาสทาว
เหตุผลอีกข้อหนึ่งที่ผู้เขียนคิดว่าทําให้หนังสือเล่ม
นี้ทั้งอ่านสนุกและน่าอ่าน คือรายละเอียดมากมายที่ไอเคน-
วอลด์ เ ก็ บ มาใส่ เ ป็ น สี สั น ทํ า ให้ ตั ว ละครทั้ ง หมดดู เ ป็ น
คนจริงๆ ที่มีชีวิต มีปัญหา ปมเด่น ปมด้อย อุปนิสัย ข้อดี
และข้อเสียไม่ต่างจากคนอื่นๆ ไอเคนวอลด์ไม่เคยบอกเรา
ว่าใครเป็น ‘คนดี’ และใครเป็น ‘คนเลว’ หากปล่อยให้เรา
วิชา 50 เล่มเกวียน :: 54
ตัดสินเอาเองจากพฤติกรรมของตัวละครหลายร้อยชีวิตที่
เกี่ยวโยงกับเอ็นรอนจวบจนวาระสุดท้ายของบริษัท
นอกจากจะเป็ น หนั ง สื อ ที่ มี คุ ณ ค่ า อย่ า งยิ่ ง ทาง
ประวัติศาสตร์ รายละเอียดใน Conspiracy of Fools ยังทํา
ให้เรารับรู้บทบาทของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องบางคนที่สมควรได้
รับการยกย่องว่าได้ทําหน้าที่ของตนอย่างมีจรรยาบรรณ
ที่สุดแล้ว ไม่ว่าจะเป็น คาร์ล บาส (Carl Bass) นักบัญชี
ที่พยายามเกลี้ยกล่อมเพื่อนร่วมงานของเขาให้เลิกตบแต่ง
บั ญ ชี , วิ น ซ์ คามิ น สกี (Vince Kaminski) และ เควิ น
คินดาล (Kevin Kindall) นักวิเคราะห์ชั้นผู้น้อยของเอ็นรอน
ที่ พ ยายามอธิ บ ายอั น ตรายจากกลวิ ธี ข องฟาสทาวให้ ผู้
บริหารฟัง ต้องขอขอบคุณไอเคนวอลด์ที่ทําให้คุณความดี
ของพวกเขาปรากฏชัดต่อชาวโลก.
สฤณี อาชวานันทกุล :: 55
010
Blessed Unrest
Paul Hawken
สฤณี อาชวานันทกุล :: 59
011
Infectious Greed
Frank Partnoy
สฤณี อาชวานันทกุล :: 63
012
The World Without Us
Alan Weisman
ในบรรดาปัญหาระดับโลกทั้งหลาย คงไม่มีปัญหาใดที่เร่ง
ด่ ว นที่ สุ ด และเป็ น อั น ตรายต่ อ ความอยู่ ร อดของสิ่ ง มี ชี วิ ต
เท่ากับปัญหาสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมด้วยน้ำ�มือมนุษย์ แต่
ถึงแม้ว่าปัญหาสิ่งแวดล้อมหลายประการ เช่น โลกร้อน
กําลังกลายเป็น ‘กระแส’ ที่กระตุ้นให้หลายฝ่ายหันหน้ามา
หาวิธีแก้ไข หนังสือที่เกี่ยวกับปัญหาสิ่งแวดล้อมส่วนใหญ่ก็
ยั ง ใช้ ภ าษาวิ ช าการน่ า เบื่ อ และเข้ า ใจยาก หรื อ ไม่ ก็ เ ป็ น
ภาษาของนักเคลื่อนไหวที่พยายามปลุกระดมมวลชนให้ต่อ
ต้านบริษัทต่างๆ โดยปราศจากหลักฐานทางวิชาการที่หนัก
แน่นพอ
ในภาวะแบบนี้ หนังสือเรื่อง The World Without
Us ของ อลัน ไวส์แมน (Alan Weisman) ผู้สื่อข่าวและ
วิชา 50 เล่มเกวียน :: 64
นักเขียนผู้ได้รับรางวัลมากมาย จึงนับเป็นหนังสือส่วนน้อย
ที่ ไ ม่ เ พี ย งแต่ อ่ า นสนุ ก น่ า ติ ด ตามตลอดทั้ ง เล่ ม แต่ ยั ง ให้
ความรู้ใหม่ๆ มากมายและช่วยกระตุ้นจิตสํานึกอนุรักษ์สิ่ง
แวดล้อมได้ดีกว่าตําราเรียนนับไม่ถ้วน ยังไม่นับว่าการเก็บ
รายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ จากการเดินทางไปทั่วทุกมุมโลก
มาใส่ในหนังสือ ทําให้หนังสือเล่มนี้เป็น “บันทึกการเดิน
ทาง” ชั้นเยี่ยมอีกด้วย
หนังสือเล่มนี้พยายามตอบคําถามว่า โลกจะเป็น
เช่นใดถ้าอยู่ดีๆ มนุษยชาติเกิดหายไปจากโลกในวันพรุ่งนี้?
ในเมื่ อ คํ า ถามนี้ เ ป็ น เพี ย งเหตุ ก ารณ์ ส มมติ คํ า ตอบของ
ไวส์แมนจึงต้องเป็นการ “รายงานข่าวจากจินตนาการ” อัน
บรรเจิดที่ตั้งอยู่บนข้อมูลและข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์
ถ้าไม่มีมนุษย์ ธรรมชาติปรับตัวกลายสภาพกลับไปเป็นโลก
โบราณที่บริสุทธิ์ราวกับว่ามนุษย์ไม่เคยถือกําเนิดขึ้นเลย
ได้หรือไม่? หรือว่ามนุษย์จะทิ้งร่องรอยบางอย่างเอาไว้ที่
ธรรมชาติไม่มีวันลบเลือนได้? สิ่งปลูกสร้างของมนุษย์แบบ
ไหนและแห่งใดบ้างในโลกที่อาจดํารงอยู่ได้นานนับแสนปี?
สิ่งประดิษฐ์ของมนุษย์บางอย่างที่ทนทานมากๆ ต่อลมฟ้า
อากาศ เช่ น พลาสติ ก มี ผ ลกระทบทางลบใดบ้ า งต่ อ
ธรรมชาติ และจะมีวันย่อยสลายได้หรือไม่ อย่างไร? เหล่านี้
เป็นเพียงส่วนเสี้ยวของคําถามที่ไวส์แมนบรรจงตอบอย่าง
น่าติดตามและน่าทึ่งอย่างยิ่ง
สฤณี อาชวานันทกุล :: 65
บางตอนจากบทนําของหนังสือเล่มนี้อาจทําให้ทุก
ท่านพอเห็นว่าเหตุใด The World Without Us จึงเป็น
มากกว่ า สารคดี ธ รรมดา: ไวส์ แ มนพาเราไปเยื อ นป่ า ลึ ก
ในอเมซอน ณ ดิ น แดนที่ ช าวอิ น เดี ย นแดงเผ่ า ซาปารา
(Zapara) ดื่ม ชิคา (chica) เบียร์ที่ทําจากมันสําปะหลังหมัก
และกิ น เนื้ อ ลิ ง เป็ น อาหาร เมื่ อ หลายชั่ ว คนที่ แ ล้ ว ชาว
อินเดียนแดงเผ่านี้มีสมาชิกกว่าสองแสนคน ดํารงชีพด้วย
การล่าสัตว์ป่า ชีวิตของพวกเขาเปลี่ยนไปจากหน้ามือเป็น
หลังมือเมื่อเฮนรี ฟอร์ด (Henry Ford) เริ่มผลิตรถยนต์
ป้อนตลาดด้วยระบบสายพานในโรงงาน ความต้องการยาง
อันมหาศาลนําไปสู่การฆ่าล้างเผ่าพันธ์ุชาวซาปาราและชน
พื้ น เมื อ งเผ่ า อื่ น ๆ และทํ า ลายล้ า งป่ า ไม้ ซึ่ ง เคยเป็ น ที่ อ ยู่
อาศัยของพวกเขา ปัจจุบันชาวซาปาราเหลือเพียงไม่กี่ร้อย
คน วิถีชีวิตดั้งเดิมของพวกเขาสูญหายอย่างไม่มีวันหวนคืน
พวกเขาโค่นป่าไม้และเผาเพื่อทําไร่มันสําปะหลัง และถึงแม้
พวกเขาจะเชื่อว่าเผ่าพันธ์ุสืบเชื้อสายมาจากลิง ป่าไม้ที่ไม่
อุดมสมบูรณ์ก็บีบบังคับพวกเขาให้กินเนื้อลิงเป็นอาหาร
อานา มาเรีย (Ana Maria) หญิงชราคนเดียวในเผ่าประท้วง
เรื่องนี้ เธอถามว่า “เมื่อเราต้องกินบรรพบุรุษเป็นอาหาร
เราจะเหลืออะไรอีกเล่า?”
ไวส์แมนใช้เรื่องราวอันน่าหดหู่เรื่องนี้เป็นจุดเริ่ม-
ต้นของการเดินทางทั้งทางกายภาพและทางความคิดใน
หนังสือเล่มนี้ เขาบอกว่า ถึงแม้ว่าเราอาจไม่ถูกสถานการณ์
วิชา 50 เล่มเกวียน :: 66
บีบบังคับให้กินเนื้อตัวเอง เราก็อาจจะต้องเลือกทําอะไรที่
เกือบจะเลวร้ายพอกัน เมื่อเรากําลังเดินอย่างคนตาบอด
งุ่มง่ามไปสู่อนาคตที่มองไม่เห็น ต่อคําถามที่ว่าจะเกิดอะไร
ขึ้นกับโลกถ้ามนุษยชาติหายตัวไป ไวส์แมนจะพาเราไป
เยือน ไบอาโลวีจา พุสก์จา (Bialowieza Puszcza) ป่า
ดงดิบโบราณผืนเดียวที่เหลืออยู่ในยุโรป เมืองใต้ดินหลาย
เมื อ งที่ มี พ รมแดนติ ด กั น เป็ น คอมเพล็ ก ซ์ อั น น่ า ทึ่ ง
ชื่อ Cappadocia ในตุรกี ข้ามทวีปไปยังเขตปลอดทหาร
(DMZ) ระหว่างเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ (ซึ่งกลายเป็น
บ้ า นของสั ต ว์ น านาชนิ ด ที่ อ าจจะสู ญ พั น ธ์ุ ไ ปแล้ ว ถ้ า ไม่ มี
DMZ) ไปทั ว ร์ อ าณาจั ก รใต้ ดิ น ของมหานครนิ ว ยอร์ ก
ข้ า มทวี ป กลั บ ไปเยื อ นโรงแรมร้ า งในไซปรั ส ทุ่ ง หญ้ า
Serengheti ในแอฟริกา และสถานที่อันน่าพิศวงอื่นๆ อีก
มากมาย ผู้เขียนเชื่อว่าเมื่ออ่านหนังสือเล่มนี้จบลง ท่าน
ผู้อ่านจะเห็นความเชื่อมโยงระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติดี
ขึ้น และรักโลกนี้มากกว่าเดิมหลายเท่า.
สฤณี อาชวานันทกุล :: 67
013
The Power of Gold
Peter Bernstein
ในบรรดาหนังสือภาษาอังกฤษด้านประวัติศาสตร์การเงิน มี
น้อยคนที่ทําเรื่อง ‘น่าเบื่อ’ อย่างการเงินให้เป็นเรื่องสนุกน่า
ติดตามเท่ากับ ปีเตอร์ เบิร์นสตีน (Peter Bernstein) อดีตผู้
จัดการกองทุนที่ขายกิจการของเขาให้กับกลุ่ม Citigroup
ของอเมริกาตั้งแต่ปี 1967 และนับจากนั้นก็ทํางานเป็นที่
ปรึ ก ษาด้ า นการลงทุ น ให้ กั บ บริ ษั ท ชั้ น นํ า และเอ็ น จี โ อ
มากมาย ในโลกปัจจุบันที่นักวิเคราะห์หลักทรัพย์จํานวนนับ
ไม่ถ้วนสูญสิ้น ‘ความเป็นอิสระ’ อย่างสิ้นเชิงเมื่อยอมเป็น
ลูกไล่ของเหล่าวาณิชธนกรและบริษัทลูกค้าของพวกเขา
เบิร์นสตีนเป็นนักการเงินส่วนน้อยที่ยังดํารงความเป็นอิสระ
อยู่ได้อย่างน่าชื่นชม และสามารถมอง ‘ภาพกว้าง’ ของโลก
การเงิ น ซึ่ ง มี ป ระวั ติ ย าวนานนั บ พั น ปี ในขณะที่ เ พื่ อ น
วิชา 50 เล่มเกวียน :: 68
ร่วมอาชีพจํานวนมากสนใจแต่อนาคตไม่กี่วันข้างหน้าของ
เงินในกระเป๋าตัวเองเท่านั้น
ประสบการณ์ อั น โชกโชนของเบิ ร์ น สตี น (เขาใช้
ชีวิตผ่านช่วงเศรษฐกิจถดถอยรุนแรงที่สุดของอเมริกา ที่
เรียกว่า Great Depression เคยทํางานให้กับหน่วยข้อมูล
เศรษฐกิจของ OSS ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ที่ต่อมา
กลายเป็น CIA และเห็นตลาดหุ้นบูมและดิ่งเหวมานับครั้ง
ไม่ถ้วน) ความรู้และความสนใจกว้างขวาง ความเป็นอิสระ
อย่างหาตัวจับยาก และความสามารถในการทําเรื่องยาก
ให้ เ ข้ า ใจง่ า ย ทํ า ให้ เ ขาเป็ น นั ก เขี ย นที่ มี ผ ลงานโด่ ง ดั ง
มากมาย อาทิเช่น Against the Gods เรื่องราวเกี่ยวกับ
ประวัติศาสตร์ความเสี่ยง และ Capital Ideas เรื่องราวเกี่ยว
กับพัฒนาการสําคัญๆ ในโลกการเงิน แต่หนังสือของเบิร์น-
สตีนที่ผู้เขียนอยากแนะนําคือเรื่องราวที่อาจใกล้ตัวพวกเรา
คนไทยมากกว่า นั่นคือ The Power of Gold หนังสือที่
ถ่ายทอดประวัติศาสตร์ความหลงใหลหมกมุ่นของมนุษย์ที่มี
ต่ อ แร่ ธ าตุ ที่ ชื่ อ ‘ทองคํ า ’ ตั้ ง แต่ อ ารยธรรมเริ่ ม แรกของ
มนุษย์ จนถึงบทบาทของเงินดอลลาร์สหรัฐในฐานะ ‘มาตร-
ฐานทองคํา’ ในปัจจุบัน และแนวโน้มในอนาคต
เบิร์นสตีนอธิบายให้เราเห็นภาพอย่างละเอียดว่า
ทองคํ า เป็ น โลหะที่ ใ ช้ แ ทนเงิ น กั น แพร่ ห ลายในแทบทุ ก
วัฒนธรรมที่มีแหล่งทองคํา โดยเฉพาะในสมัยโบราณที่การ
ใช้แรงงานทาสยังแพร่หลายในสังคมมนุษย์ การที่ทองคําไม่
สฤณี อาชวานันทกุล :: 69
ทําปฏิกิริยากับออกซิเจน ทําให้มันแวววาวอยู่เสมอเมื่อ
สัมผัสกับอากาศและไม่มีวันขึ้นสนิม ทําให้คนรู้สึกว่าทอง
เป็นสัญลักษณ์ของนิรันดรและความปลอดภัยในโลกที่เต็ม
ไปด้วยความไม่ยั่งยืน นอกจากนี้ ทองยังเป็นโลหะที่มีความ
อ่ อ นตั ว มากที่ สุ ด คุ ณ สมบั ติ ทั้ ง หมดนี้ ทํ า ให้ โ ครเอซั ส
กษัตริย์แห่งอาณาจักรลีเดีย นําทองจากแม่น้ำ�ในตุรกีมา
ผลิ ต เหรี ย ญกษาปณ์ ขึ้ น ใช้ เ ป็ น ครั้ ง แรกในโลก เมื่ อ 550
ปีก่อนคริสตกาล กระทั่งมาถึงยุคกลาง ระบบการเงินโลกก็
พัฒนาไปเป็นระบบ ‘สองสกุลเงิน’ โดยใช้ธาตุเงินในการ
ทําธุรกรรมขนาดเล็ก และธาตุทองในการทําธุรกรรมขนาด
ใหญ่ เนื่ อ งจากทองคํ า แพงกว่ า และมี มู ล ค่ า สู ง กว่ า เงิ น
(ประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจในประวัติศาสตร์ทองคําคือ ชาวจีน
ใช้เงินกระดาษแทนทองคํามานานกว่าชาวยุโรป คือตั้งแต่
ราวศตวรรษที่ 13 เพราะคิดว่าเป็นเรื่องไร้สาระที่จะใช้ธาตุ
ที่ มี ค่ า สู ง ขนาดนั้ น เป็ น เงิ น ตรา เนื่ อ งจากการพิ ม พ์ เ งิ น
กระดาษนั้นง่ายกว่าการขุดหรือร่อนทองในธรรมชาติ การที่
เมืองจีนใช้ระบบเงินกระดาษได้นานโดยไม่มีปัญหาเงินเฟ้อ
รุนแรง เป็นเครื่องพิสูจน์ว่าผู้นําสามารถต้านทานแรงเย้า
ยวนของการพิมพ์เงินกระดาษแบบไม่บันยะบันยังได้อย่าง
น่าชื่นชม)
เบิร์นสตีนพาเราเดินทางผ่านประวัติศาสตร์อันน่า
ตื่นเต้นของทอง จากยุคที่มันถูกใช้แทนเงินตรา มาถึงยุคที่
กลายเป็น ‘เงินสํารอง’ รองรับเงินกระดาษ ซึ่งถูกใช้เป็นเงิน
วิชา 50 เล่มเกวียน :: 70
ตราแทนที่ทองคําประมาณปลายศตวรรษที่ 17 เนื่องจาก
การค้าและการเงินเติบโตอย่างรวดเร็วเกินอัตราที่คนจะ
สามารถขุ ด ทองและเงิ น ขึ้ น มาทํ า เงิ น ตราได้ ทั น ต่ อ ความ
ต้ อ งการ ถ้ า คุ ณ อยากรู้ ว่ า เหตุ ใ ดเบิ ร์ น สตี น จึ ง บอกว่ า
‘มาตรฐานทองคํา’ เป็นผลผลิตของความบังเอิญหลายเรื่อง
ติดต่อกัน ทองคํามีบทบาทในการเก็งกําไรแบบไร้ความ
เสี่ยง (arbitrage) ที่ลือลั่นยุคหนึ่งในประวัติศาสตร์อย่างไร
เหตุการณ์นี้เกี่ยวข้องอย่างไรกับ ไอแซค นิวตัน นักวิทยา-
ศาสตร์ผู้ค้นพบกฎแรงโน้มถ่วง เหตุใดเราจึงควรเป็นกังวล
กับแนวโน้มที่เงินดอลลาร์สหรัฐจะอ่อนค่าอย่างเฉียบพลัน
และในกรณีนั้นการหวนกลับไปสู่ทองคําอาจเป็นทางออก
ของระบบการเงิ น โลกได้ อ ย่ า งไร หาคํ า ตอบได้ ใ น The
Power of Gold – หนังสือการเงินชั้นยอดที่อ่านง่ายและ
อ่านสนุกกว่านิยายนักสืบหลายเล่ม.
สฤณี อาชวานันทกุล :: 71
014
The Art of Travel
Alain de Botton
สฤณี อาชวานันทกุล :: 75
015
The Accidental
Investment Banker
Jonathan Knee
ในบรรดาอาชีพทั้งหมด การทําหน้าที่เป็นที่ปรึกษาทางการ
เงิ น ของบริ ษั ท เอกชนหรื อ หน่ ว ยงานรั ฐ หรื อ ที่ เ รี ย กเป็ น
ศัพท์สวยหรูว่า ‘วาณิชธนกร’ (investment banker และ
ธุรกิจของพวกเขาก็เรียกว่า ‘วาณิชธนกิจ’ หรือ invest-
ment banking) อาจเป็ น หนึ่ ง ในอาชี พ ที่ ‘ลึ ก ลั บ ’ ที่ สุ ด
ในโลก เนื่องจากการเก็บรักษาความลับของลูกค้าเป็นหนึ่ง
ในหัวใจสําคัญของการเป็นที่ปรึกษาทางการเงิน (ถึงแม้ว่า
ลูกค้าอาจมีพ ฤติกรรมคดโกงจนสมควรจะถูกเปิดโปงให้
สาธารณชนได้ รั บ รู้ ก็ ต าม) ประกอบกั บ วาณิ ช ธนกร
จํ า นวนมากก็ ไ ม่ ส นใจที่ จ ะถ่ า ยทอดเรื่ อ งราวในวงการให้
‘คนนอก’ ฟัง หนังสือเกี่ยวกับวงการวาณิชธนกิจที่เขียน
โดย ‘คนใน’ จึ ง มี เ พี ย งประปราย เบสต์ เ ซลเลอร์ ภ าษา
วิชา 50 เล่มเกวียน :: 76
อังกฤษเกี่ยวกับวงการนี้คือ Monkey Business โดย จอห์น
รอล์ฟ (John Rolfe) และ ปีเตอร์ ทรูบ (Peter Troob) และ
Liar’s Poker โดย ไมเคิล ลูวิส (Michael Lewis) แต่ถึง
แม้ว่าหนังสือทั้งสองเล่มจะเป็นเรื่องเล่าของคน ‘วงใน’ ที่
อ่านสนุกจนวางไม่ลง (และใน Monkey Business ผู้เขียน
ทั้ ง สองก็ ส รรหาสารพั ด วิ ธี ม าแดกดั น ความไร้ ส าระของ
อาชี พ นี้ แ บบเรี ย กเสี ย งหั ว เราะได้ ต ลอดเล่ ม ) ก็ ยั ง ไม่ ใ ช่
หนังสือที่จะสรุปภาพรวมของวงการให้เราได้เห็น ‘ปัญหา
เชิงโครงสร้าง’ ของธุรกิจนี้ เพราะผู้เขียนล้วนมีประสบ-
การณ์ ใ นวงการเพี ย งไม่ กี่ ปี เ ท่ า นั้ น ก่ อ นที่ จ ะผั น ตั ว ไป
ประกอบอาชีพอื่น
หนังสือเกี่ยวกับวาณิชธนกิจที่ผู้เขียนชอบมากกว่า
Liar’s Poker และ Monkey Business เพราะคิดว่าเป็น
หนังสือที่ถ่ายทอด ‘ภาพรวม’ ได้ดีกว่า คือ The Accidental
Investment Banker เขียนโดย โจนาธาน นี (Jonathan
Knee) วาณิ ช ธนกรผู้ มี ป ระสบการณ์ โ ชกโชนในวงการ
ทํางานในบริษัทวาณิชธนกิจที่มีชื่อเสียงที่สุดสองแห่งในโลก
คือ Goldman Sachs และ Morgan Stanley นานกว่าหนึ่ง
ทศวรรษ จนได้ เ ป็ น ถึ ง กรรมการผู้ จั ด การ (managing
director) และหัวหน้าทีม Media Group (ดูแลลูกค้าบริษัท
ในธุรกิจสื่อ) ของวาณิชธนกิจทั้งสองบริษัท ก่อนที่จะลา
ออกมาตั้ ง บริ ษั ท วาณิ ช ธนกิ จ ขนาดเล็ ก ชื่ อ Evercore
Partners ในปี 2003 และเป็นอาจารย์พิเศษ สอนวิชาควบ
สฤณี อาชวานันทกุล :: 77
รวมกิจการให้กับมหาวิทยาลัยโคลัมเบียในกรุงนิวยอร์ก
โจนาธาน นี ถ่ายทอดประสบการณ์ตรงของเขา
ระหว่างช่วงทศวรรษ 1990 ที่ตลาดหุ้นอเมริกาเฟื่องฟูจาก
กระแสดอทคอมบูม (dot com boom) เรื่อยมาจนถึงจุด
‘ฟองสบู่แตก’ ในต้นทศวรรษ 2000 อย่างตรงไปตรงมาด้วย
ความซื่อสัตย์และกล้าหาญอย่างน่าทึ่ง (นีอธิบายพฤติกรรม
ในที่ ป ระชุ ม ของเจ้ า นายคื อ โจเซฟ เปเรลลา (Joseph
Perella) หนึ่งในวาณิชธนกรที่มีชื่อเสียงที่สุดในอเมริกา ว่า
ส่วนใหญ่เปเรลลาจะ ‘นั่งสัปหงกและตดบ้างเป็นบางครั้ง’)
นีแนะนําให้ผู้อ่านรู้จักกับวาณิชธนกรอีโก้จัดจํานวนมากที่
หลงระเริงกับความสามารถของตัวเองในการทํารายได้สูงๆ
ให้กับบริษัท จนไม่แยแสคนรอบข้างและดูถูกคนอื่นว่า ‘โง่’
กว่าตัวเองด้วยความหยิ่งยโส ในความเห็นของนี ธุรกิจ
วาณิชธนกิจได้เดินทางมาถึง ‘จุดเสื่อม’ ภายในเวลาไม่ถึง
สองทศวรรษ เมื่อการแข่งขันที่รุนแรงขึ้นเรื่อยๆ (จากทั้ง
คู่ แ ข่ ง ดั้ ง เดิ ม และผู้ เ ล่ น รายใหม่ ใ นธุ ร กิ จ เช่ น ธนาคาร
พาณิชย์) และตลาดการเงินที่หมุนเร็วกว่าเดิมและไร้ซึ่งการ
กํากับดูแลอย่างเคร่งครัด ได้ปรับเปลี่ยนแรงจูงใจของวาณิช
ธนกร จากที่เคยทําหน้าที่เป็น ‘ที่ปรึกษาผู้ได้รับความไว้
วางใจ’ ที่คํานึงถึงประโยชน์ของลูกค้าและปกป้องประโยชน์
ส่วนรวม กลายเป็นเพียง ‘มือปืนรับจ้าง’ ที่หมกมุ่นอยู่กับ
การหารายได้งามๆ ให้กับตัวเองและบริษัท โดยไม่สนใจว่า
จะได้เงินนั้นมาโดยวิธีใด และวิธีนั้นเป็นประโยชน์ต่อลูกค้า
วิชา 50 เล่มเกวียน :: 78
จริงหรือไม่ นีชี้ให้เห็นว่าการเปลี่ยนแปลงทางทัศนคติของ
วาณิชธนกรจํานวนมากในทางที่ ‘มักง่าย’ และเห็นแก่
ประโยชน์ส่วนตัวมากกว่าประโยชน์ของลูกค้า เป็นเหตุผล
หลักที่อธิบายว่าเหตุใดวาณิชธนกรหลายคนในปัจจุบันจึง
ทํ า งานอย่ า งหดหู่ ไร้ ซึ่ ง ความภาคภู มิ ใ จในวิ ช าชี พ ของ
ตัวเอง และเหตุใดลูกค้าของพวกเขาจึงมองวาณิชธนกร
ด้วยสายตาที่ไม่ไว้วางใจมากขึ้นเรื่อยๆ
ถ้าคุณอยากรู้ว่าวาณิชธนกิจ วงการที่อยู่บน ‘ยอด
คลื่น’ สูงสุดของระบอบทุนนิยม มีความเป็นมาอย่างไร และ
เหตุใดผู้สังเกตการณ์จํานวนไม่น้อยจึงเป็นห่วงว่าวงการนี้
กําลังอยู่ในภาวะวิกฤตอันยากแก่การคลี่คลาย ยกเว้นด้วย
การปฏิรูประบบครั้งใหญ่ เพื่อกําจัดผลประโยชน์ทับซ้อน
ของวาณิชธนกรและปลูกฝังแรงจูงใจที่ดีกว่าเดิม ผู้เขียนขอ
แนะนํา The Accidental Investment Banker – หนังสือชั้น
ยอดที่วาณิชธนกรและทุกคนที่สนใจอาชีพนี้ควรอ่านอย่าง
ยิ่ง.
สฤณี อาชวานันทกุล :: 79
016
The Tao of Pooh
Benjamin Hoff
“แร็บบิตนี่ฉลาดนะ” พูห์พูดอย่างครุ่นคิด
“ใช่” พิกเล็ตตอบ “แร็บบิตฉลาด”
“และเขาก็มีสมอง”
“ใช่” พิกเล็ตตอบ “แร็บบิตมีสมอง”
ทั้งคู่เงียบไปพักใหญ่
“ฉั น ว่ า นะ” พู ห์ เ อ่ ย “นั่ น คื อ เหตุ ผ ลที่ เ ขาไม่ เ คย
เข้าใจอะไรเลย”
ในบรรดาวรรณกรรมสําหรับเยาวชนที่โด่งดังระดับ
โลก วรรณกรรมชุด Winnie the Pooh ของ เอ.เอ. มิลน์
เป็นหนึ่งในวรรณกรรมจํานวนน้อยที่เด็กอ่านได้ ผู้ใหญ่อ่าน
ดี ผู้เขียนเองอ่านหนังสือชุดนี้กี่ครั้งก็ได้แง่คิดใหม่ๆ แทบ
วิชา 50 เล่มเกวียน :: 80
ทุกครั้ง ตามอายุและประสบการณ์ที่มากขึ้น (แต่ไม่ได้แปล
ว่าจะฉลาดขึ้นตามไปด้วยโดยอัตโนมัติ)
นอกจากจะเป็น ‘หนังสือในดวงใจ’ ของเด็กและ
ผู้ใหญ่หลายล้านคนทั่วโลกแล้ว Winnie the Pooh ยังเป็น
แรงบันดาลใจของนักเขียนและนักคิดจํานวนมาก หนึ่งใน
หนังสือเกี่ยวกับ Winnie the Pooh ที่ตีความวรรณกรรม
เรื่องนี้ได้อย่างลึกซึ้งและน่าประทับใจที่สุด คือ The Tao of
Pooh โดย เบนจามิน ฮอฟฟ์ (Benjamin Hoff) หนังสือเล่ม
นี้ใช้ตัวละครต่างๆ และเนื้อเรื่องใน Winnie the Pooh เป็น
อุบายในการสอนหลักคําสอนในลัทธิเต๋า แรงบันดาลใจของ
ฮอฟฟ์อาจมาจากข้อเท็จจริงที่ว่า ชื่อของตัวละครเอกคือหมี
‘พูห์’ ออกเสียงพ้องกับคําว่า ‘P’u’ ในภาษาจีน ซึ่งแปลว่า
‘ก้อนหินที่ยังไม่ได้แกะ’ และพฤติกรรมของหมีพูห์ก็สะท้อน
หลักคิดของเต๋าที่ว่า ภาวะตามธรรมชาติที่เรียบง่ายและ
กลมกลืนกับสิ่งต่างๆ รอบตัว คือวิถีการดํารงชีวิตที่ดีที่สุด
คําว่า ‘P’u’ แปลว่า ธรรมชาติ เรียบง่าย พื้นๆ และ ซื่อสัตย์
ซึ่งล้วนแต่เป็นอุปนิสัยหลักของหมีพูห์
หากมองอย่ า งผิ ว เผิ น ดู เ หมื อ นว่ า หมี พู ห์ ใ น
Winnie the Pooh จะเป็นตัวละครที่ไม่น่าจะมีใครอยาก
เลียนแบบ เพราะเขาหมดเวลาในแต่ละวันไปกับการถาม
คําถามบ้องตื้นกับเพื่อนๆ แต่งเพลงที่สะกดผิดๆ ถูกๆ ขึ้น
มาร้ อ งเอง และผ่ า นการผจญภั ย มากมายโดยที่ ไ ม่ เ คย
สะสมความรู้ทางวิชาการใดๆ แต่ในขณะเดียวกัน ก็ไม่เคย
สฤณี อาชวานันทกุล :: 81
สูญเสียความสามารถในการมีความสุขอย่างเรียบง่าย (ซึ่ง
วนเวียนอยู่กับการหาน้ำ�ผึ้งกินเป็นหลัก)
ฮอฟฟ์ชี้ให้เห็นว่า หมีพูห์มีความสุขเพราะเขาไม่
เคย ‘ทําอะไร’ นั่นเอง เขาเพียงแต่รอให้ตัวเองประสบกับ
เหตุการณ์ต่างๆ แล้วก็ผ่านประสบการณ์มากมายไปแบบ
‘ไหลตามน้ำ�’ คือไม่ฝืนธรรมชาติ ลัทธิเต๋าเรียกวิถีชีวิตแบบ
นี้ว่า ‘หวู เหว่ย’ ซึ่งหมายถึงการ ‘ไม่ทําอะไร ไม่ก่อให้เกิด
อะไร และไม่สร้างอะไร’ เต๋าบอกเราว่า วิธีใช้ชีวิตที่ดีที่สุด
คือการใช้ชีวิตโดยคํานึงถึงธรรมชาติของเรา ธรรมชาติของ
สรรพสิ่งต่างๆ รอบตัวเรา และความเกี่ยวโยงซึ่งกันและกัน
หนังสือเรื่อง The Tao of Pooh ยกตัวอย่างมากมายใน
เรื่อง Winnie the Pooh มาโน้มน้าวอย่างน่าคิดว่า ในขณะ
ที่อียอร์มัวแต่กังวล พิกเล็ตมัวแต่ลังเล แร็บบิตมัวแต่คิดเลข
และอาวล์มัวแต่เทศนาเพื่อนๆ อยู่นั้น หมีพูห์กลับไม่คิด
หรือกังวลอะไรทั้งสิ้น และการที่เขา ‘ไม่เป็น’ อะไรเลย ก็ทํา
ให้ เ ขาเป็ น ตั ว ละครที่ ใ ช้ ชี วิ ต อย่ า งมี ค วามสุ ข ที่ สุ ด ในป่ า
จริงๆ แล้ว การดํารงชีวิตของหมีพูห์อาจไม่ต่างจากแนวคิด
เรื่องการ ‘อยู่กับปัจจุบัน’ ในศาสนาพุทธก็เป็นได้ เพราะคํา
ว่า ‘เต๋า’ ซึ่งแปลว่า ‘หนทาง’ นั้น น่าจะมีความหมายเดียว
กันกับคําว่า ‘ธรรม’ ในหลักศาสนาพุทธ
หลักคําสอนหลักๆ ของลัทธิเต๋า ซึ่งมุ่งหวังให้คน
ใฝ่ ห าทางธรรม ดํ า รงชี วิ ต อย่ า งเรี ย บง่ า ยกลมกลื น กั บ
ธรรมชาติ และเปี่ ย มความเมตตากรุ ณ า ล้ ว นสะท้ อ นใน
วิชา 50 เล่มเกวียน :: 82
พฤติกรรมของหมีพูห์ ที่เบนจามิน ฮอฟฟ์นํามาเรียบเรียง
และตีความใหม่ โดยใช้ภาษาเรียบง่ายน่าอ่านเช่นเดียวกับ
เอ.เอ. มิลน์ ผู้ประพันธ์วรรณกรรมต้นแบบ ในโลกที่คนเรา
ดูเหมือนจะเหินห่างธรรมชาติขึ้นทุกที หนังสือเรื่อง The
Tao of Pooh และหนังสือ ‘ตอนต่อ’ คือ The Te of Piglet
โดยผู้เขียนคนเดียวกัน อาจจะทําให้คุณอยากกลับไปอ่าน
Winnie the Pooh อีกรอบ และอาจจะอยากออกไปเดินเล่น
กลางป่าเขาลําเนาไพร เผื่อหูจะแว่วเสียงทักทายจากหมีพูห์
ว่า บางที ‘หนทาง’ ที่เราแสวงหา อาจเป็นทางที่เราเดินอยู่
แล้ว เพียงแต่ยังไม่เคยก้มลงไปมองเท่านั้น.
สฤณี อาชวานันทกุล :: 83
017
Junk Science
Dan Agin
วิชา 50 เล่มเกวียน :: 84
ถึ ง แม้ ว่ า เครื อ ข่ า ยอิ น เทอร์ เ น็ ต จะสร้ า งโลกแห่ ง
ข้อมูลปริมาณมหาศาลที่อยู่เพียงปลายนิ้ว ก็มิได้แปลว่าเรา
จะสามารถแยกแยะระหว่าง ‘ข้อมูลเท็จ’ กับ ‘ข้อมูลจริง’ ได้
โดยอัตโนมัติ และถึงแม้ว่าเราอาจจะแยกแยะได้ การจะเข้า
ถึง ‘ความรู้’ ที่แท้จริงว่าข้อมูลเหล่านั้นหมายความว่าอะไร
สํ า หรั บ ชี วิ ต เรา ก็ ไ ม่ ใ ช่ เ รื่ อ งง่ า ย โดยเฉพาะความรู้ ท าง
วิทยาศาสตร์ที่ดูยากเกินความเข้าใจ ครั้นจะไปหาความรู้
จากหนังสือพิมพ์หรือจากทีวี เราก็ต้องเผชิญกับความเสี่ยง
ที่นักข่าวจะไม่รู้เรื่องวิทยาศาสตร์เสียยิ่งกว่าเรา และความ
เสี่ยงที่พื้นที่เหล่านั้นจะถูกยึดครองโดยกลุ่มผลประโยชน์
ต่างๆ ที่บิดเบือนวิทยาศาสตร์เพื่อประโยชน์ของตัวเอง
ในสถานการณ์ เ ช่ น นี้ ผู้ เ ขี ย นคิ ด ว่ า หนั ง สื อ เรื่ อ ง
Junk Science โดย แดน เอจิน (Dan Agin) นักชีววิทยา
สมองและบรรณาธิ ก ารนิ ต ยสาร Science Week เป็ น
หนังสือดีระดับ ‘ต้องอ่าน’ สําหรับทุกคนที่อยากรู้ว่า ผลการ
ค้นคว้าของนักวิทยาศาสตร์จวบจนปัจจุบัน ยืนยันอะไรกับ
เราได้กันแน่
สร้ อ ยของชื่ อ หนั ง สื อ เล่ ม นี้ คื อ ‘An Overdue
Indictment of Government, Industry, and Faith Groups
That Twist Science for Their Own Gain’ (ซึ่งอาจแปล
เป็นไทยว่า “ข้อกล่าวหาที่ช้าเกินไปแล้วว่า ภาครัฐ ภาค
ธุ ร กิ จ และกลุ่ ม ที่ เ ชื่ อ เรื่ อ งงมงายต่ า งๆ บิ ด เบื อ นวิ ท ยา-
ศาสตร์เพื่อประโยชน์ของตัวเองอย่างไร”) บอกเราได้ดีว่า
สฤณี อาชวานันทกุล :: 85
หนังสือเล่มนี้มีเนื้อหาดุเดือดเผ็ดร้อนเพียงใด เพราะเอจิน
บอกว่าเขารู้สึกเหลืออดมานานแล้วกับการกระทําชําเรา
วิทยาศาสตร์ของฝ่ายต่างๆ ที่อวดอ้างว่าเป็น ‘วิทยาศาสตร์
แท้’ แต่เป็นได้เพียง ‘วิทยาศาสตร์ขยะ’ เท่านั้น เขาบอกว่า
ถึงเวลาแล้วที่ประชาชนจะมองเห็นความแตกต่าง
ในบทนํ า ของหนั ง สื อ เล่ ม นี้ เ อจิ น อธิ บ ายว่ า
‘วิทยาศาสตร์ขยะ’ ในความหมายของเขามีลักษณะอย่างไร
(คุ ณ สมบั ติ สํ า คั ญ คื อ ‘การปกปิ ด สิ่ ง ที่ คุ ณ จํ า เป็ น ต้ อ งรู้ ’ )
หลังจากนั้น เขาพาผู้อ่านเดินทางท่องโลกของวิทยาศาสตร์
ขยะ ที่จะทําให้เราตกใจกับระดับความเห็นแก่ตัวของคน
สร้าง แต่ได้รับประโยชน์มากมายจากสิ่งที่เอจินเล่า เพราะ
ความที่เขาเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านชีววิทยา เนื้อหาในหนังสือ
จึงเน้นหนักประเด็นสุขภาพเป็นหลัก เอจินแบ่งหนังสือเล่ม
นี้ตามหัวข้อที่มี ‘วิทยาศาสตร์ขยะ’ และความเข้าใจผิดแพร่
หลาย ได้แก่ อาหาร (รวมทั้งประเด็นอาหารดัดแปลงพันธุ
กรรมหรือ GMO), ผลิตภัณฑ์ชะลอความแก่, บุหรี่, ยา,
มลพิษ, ภาวะโลกร้อน, การรักษาด้วยสเต็มเซลล์ (stem
cell), โคลนนิ่ง, ยีน และความเกี่ยวโยงระหว่างเชื้อชาติและ
ระดับสติปัญญา ผู้เขียนเชื่อว่า ทุกคนที่อ่านหนังสือเล่มนี้
จบลงจะไม่เพียงแต่เป็นผู้บริโภคที่รู้เท่าทันผู้ผลิตมากขึ้น
เท่านั้น โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับสุขภาพ แต่จะมี
ความรู้ความเข้าใจในวิทยาศาสตร์ดีขึ้น และอาจจะตระหนัก
ด้วยว่า บางเรื่องที่เคยเชื่อว่าเป็นความจริง ที่แท้แล้วเป็น
วิชา 50 เล่มเกวียน :: 86
เพียงอคติหรือความเข้าใจผิดแบบฉาบฉวย ที่ไม่เคยจะตั้ง
ใจหาคําตอบว่าจริงหรือไม่
Junk Science เป็นหนังสือเล่มใหญ่ที่เขียนอย่าง
‘ระบายอารมณ์’ ตลอดเล่ม และดังนั้นจึงอาจทําให้ผู้อ่าน
บางคนรู้สึกไม่พอใจหรือรําคาญคนเขียน แต่ข้อมูลหลักฐาน
และเหตุ ผ ลหนั ก แน่ น มากมายที่ เ อจิ น ยกขึ้ น มาอธิ บ าย
ประเด็ น ของเขา สมกั บ เป็ น นั ก วิ ท ยาศาสตร์ น่ า จะช่ ว ย
บรรเทาและในที่สุดก็หักล้างความรู้สึกรําคาญใดๆ ที่อาจ
เกิดขึ้นเมื่ออ่านบทนําจบลง นอกจากนี้ นอกจากจะเป็น
หนังสือที่ให้ประโยชน์มากมายกับผู้อ่านแล้ว Junk Science
ยังตีแผ่ ‘วิชามาร’ ของฝ่ายต่างๆ ที่พยายามสร้างและค้ำ�จุน
‘วิทยาศาสตร์ขยะ’ อย่างต่อเนื่อง เพื่อฉวยโอกาสแสวงหา
ประโยชน์ ส่ ว นตนจากประชาชนที่ ไ ม่ รู้ เ ท่ า ทั น ได้ อ ย่ า ง
น่าสนใจและสนุกสนานอย่างยิ่ง.
สฤณี อาชวานันทกุล :: 87
018
The Fortune at the
Bottom of
the Pyramid
C.K. Prahalad
ถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่เชื่อว่าข้อความต่อไปนี้เป็นความจริง:
“คนจน” (ซึ่งในนิยามของธนาคารโลกหมายถึงคนที่มีรายได้
ต่ำ�กว่า $1 ต่อวัน) ไม่มีกําลังซื้อพอที่จะเป็น ‘ลูกค้า’ ใน
ระบอบทุนนิยม สาธารณูปโภคที่ไม่ค่อยดีในประเทศกําลัง
พั ฒ นาแปลว่ า การกระจายสิ น ค้ า และบริ ก ารไปสู่ ช นบทมี
ต้นทุนสูงเกินไปจนไม่คุ้มค่าที่จะผลิต คนจนไม่สนใจยี่ห้อ
คนจนใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ ไม่เป็น ดังนั้นตลาดคนจนจึงไม่
สามารถกระตุ้นให้เกิดการพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ ได้
ถ้ า คุ ณ เชื่ อ แบบนี้ หนั ง สื อ อ่ า นสนุ ก เรื่ อ ง The
Fortune at the Bottom of the Pyramid โดย ซี.เค.
พราฮาลัด (C.K. Prahalad) อาจารย์สอนบริหารธุรกิจที่
มหาวิทยาลัยมิชิแกนและที่ปรึกษาบริษัทข้ามชาติชั้นนํา
วิชา 50 เล่มเกวียน :: 88
อาจทําให้คุณเข้าใจว่าความเชื่อทั้งหมดที่กล่าวมานั้นเป็น
‘มายาคติ’ อย่างไร และเหตุใดพราฮาลัดจึงสรุปว่า ‘ตลาด
ล่ า งสุ ด ของปิ ร ะมิ ด ความรวย’ (‘Bottom-of-Pyramid
market’ หรือย่อว่า ตลาด BOP) ซึ่งในนิยามของเขาหมาย
ถึงคนกว่า 4 พันล้านคนทั่วโลกที่มีรายได้ไม่ถึง $2 ต่อวัน
จึ ง เป็ น ตลาดที่ โ ตเร็ ว ที่ สุ ด ในโลก และที่ น่ า สนใจที่ สุ ด คื อ
หนังสือเล่มนี้พยายามตอบคําถามว่า การผลิตสินค้าและ
บริการเพื่อสนองความต้องการของลูกค้าในตลาดนี้ จะช่วย
สร้าง ‘ทุนนิยมครอบคลุม’ (inclusive capitalism) ที่กําจัด
ความยากจนให้หมดไปจากโลกได้อย่างไร
เนื้อหาหลักใน The Fortune at the Bottom of
the Pyramid คื อ กรณี ศึ ก ษา 11 กรณี เกี่ ย วกั บ
ประสบการณ์ของบริษัทที่ประสบความสําเร็จในตลาด BOP
11 บริษัท ครอบคลุมสินค้าและบริการที่หลากหลาย นับ
ตั้งแต่สบู่ เกลือ โทรศัพท์มือถือ บริการธนาคาร การรักษา
พยาบาล และวั ส ดุ ก่ อ สร้ า ง จากประเทศทั่ ว โลกที่ ห ลาก
หลายไม่แพ้กัน เช่น เปรู เม็กซิโก บราซิล และอินเดีย
ประเด็นหลักประเด็นหนึ่งในหนังสือที่ผู้เขียนคิดว่า
น่าสนใจและเป็นประโยชน์มากต่อนักธุรกิจไทยที่สนใจจะ
ขายสินค้าหรือบริการให้ ‘ตลาดล่าง’ ในประเทศของเราเอง
คือประเด็นที่พราฮาลัดย้ำ�ไม่โดยตรงก็โดยอ้อมในหนังสือว่า
บริ ษั ท ที่ ป ระสบความสํ า เร็ จ ในการทํ า ธุ ร กิ จ กั บ คนจนนั้ น
ไม่ใช่บริษัทที่มองคนจนเป็น ‘ผู้บริโภค’ ที่เป็น ‘เป้าหมาย’
สฤณี อาชวานันทกุล :: 89
ของสินค้าหรือบริการ หรือไม่ก็มองว่าเป็น ‘ชนชั้นต่ำ�’ ที่คิด
อะไรเองไม่เป็น ต้องพึ่งพานักธุรกิจร่ำ�รวยที่ ‘ใจดี’ มาขาย
สินค้าให้ แต่บริษัทที่ประสบความสําเร็จล้วนนับถือคนจนใน
ฐานะ ‘ปัจเจกชน’ ที่มีความชอบ รสนิยมส่วนตัว และศักดิ์-
ศรีไม่ต่างจากคนที่มีฐานะดีกว่าพวกเขา ด้วยเหตุนี้ บริษัท
เหล่านี้จึงทุ่มเททั้งเงินและเวลาให้กับการศึกษาวิเคราะห์
ความต้องการของคนจน และนําผลการศึกษาไปผลิตสินค้า
หรือบริการที่ตรงต่อความต้องการ ตลอดจนคิดค้นนวัต-
กรรมใหม่ ๆ ที่ ช่ ว ยลดต้ น ทุ น จนถึ ง จุ ด ที่ ค นจนสามารถมี
กําลังซื้อได้
ความที่กรณีศึกษาต่างๆ ในหนังสือเล่มนี้เป็นผล
จากการรวบรวมข้ อ มู ล ของนั ก ศึ ก ษาปริ ญ ญาโทด้ า น
บริหารธุรกิจ (โดยมีพราฮาลัดเป็นผู้เขียนบทนําของแต่ละ
กรณี) เนื้อหาในหนังสือบางช่วงจึงอาจดูซ้ำ�ซ้อนกับตอน
ก่อนหน้า และเต็มไปด้วยศัพท์สวยหรูทางธุรกิจที่ไม่จําเป็น
ต่ อ ความเข้ า ใจ แต่ อ ย่ า งไรก็ ต าม ปฏิ เ สธไม่ ไ ด้ ว่ า The
Fortune at the Bottom of the Pyramid เป็นหนังสือชั้น
ยอดที่สมควรอยู่บนหิ้งของนักธุรกิจ เอ็นจีโอ และคนทั่วไป
ที่อาจมี ‘มายาคติ’ หรืออคติต่อคนจน และเพื่อให้ท่านมอง
เห็นตัวอย่างเนื้อหาดีๆ ที่ทําให้ผู้เขียนชอบหนังสือเล่มนี้
มากกว่า The World is Flat ของโทมัส ฟรีดแมน (Thomas
Friedman) หลายเท่า ผู้เขียนขอแปล ‘หลักการ 12 ข้อ ใน
การสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ในตลาด BOP’ จากบทนําใน
วิชา 50 เล่มเกวียน :: 90
หนังสือมาเล่าสู่กันฟังดังนี้:
หลักการข้อ
1. เน้น ‘ผลิตภาพ’ (productivity) ของราคา ไม่ใช่
เน้นเฉพาะ ‘ราคาต่ำ�’ อย่างเดียว
2. ปรับใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ากับเทคโนโลยีเก่า
อย่างเหมาะสม เพราะปัญหาของลูกค้าในตลาด BOP ไม่
สามารถแก้ได้โดยใช้เทคโนโลยีเก่าเพียงอย่างเดียว
3. ธุรกิจต้องขยายขนาดได้ (scalable) และปรับ
ใช้ได้ข้ามประเทศ วัฒนธรรม และภาษา
4. ต้องใช้ทรัพยากรอย่างประหยัด คุ้มค่า และยั่ง
ยืน (sustainable)
5. การออกแบบสินค้าต้องใช้ความเข้าใจอย่างลึก
ซึ้งในประโยชน์การใช้สอย (functionality)
6. นวั ต กรรมด้ า นกระบวนการผลิ ต (process
innovations) มี ค วามสํ า คั ญ พอๆกั บ นวั ต กรรมด้ า น
ผลิตภัณฑ์ (product innovations)
7. สิ น ค้ า และบริ ก ารต้ อ งใช้ ง่ า ย และใช้ ไ ด้ ใ น
ประเทศที่สาธารณูปโภคพื้นฐานยังไม่ดี
8. การให้การศึกษาแก่ลูกค้าเกี่ยวกับวิธีใช้สินค้า
หรื อ ความจํ า เป็ น ของสิ น ค้ า เป็ น ปั จ จั ย สํ า คั ญ บริ ษั ท ควร
ร่วมมือกับเอ็นจีโอ รัฐบาล และฝ่ายอื่นๆ ในด้านนี้ และใช้
วิธีสื่อสารใหม่ๆ
สฤณี อาชวานันทกุล :: 91
9. สินค้าต้องใช้การได้ดีในสภาพแวดล้อมไม่เป็น
มิ ต ร เช่ น ฝุ่ น เยอะ ปราศจากสุ ข อนามั ย ไฟดั บ บ่ อ ย
มลภาวะทางเสียง มลภาวะทางน้ำ� ฯลฯ
10. การออกแบบ user interface จะต้องคํานึง
ความแตกต่างของฐานลูกค้าในด้านภาษา วัฒนธรรม ระดับ
ทักษะ และระดับความคุ้นเคยต่อฟังก์ชั่นหรือรูปแบบต่างๆ
11. ต้องออกแบบวิธีการกระจายสินค้าให้สามารถ
เข้าถึงตลาดในชนบทที่มีการกระจายตัวสูง ด้วยต้นทุนต่ำ�
นวั ต กรรมด้ า นการกระจายสิ น ค้ า (distribution inno-
vations) ในตลาด BOP สําคัญพอๆ กับนวัตกรรมด้าน
กระบวนการผลิต และนวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์
12. ท้ า ทายความเชื่ อ เดิ ม ๆ (conventional
wisdom) เน้ น การออกแบบโครงสร้ า งกว้ า งๆ (broad
architecture) เพื่อให้สามารถเพิ่มเติมรูปแบบและฟังก์ชั่น
ลงไปในผลิตภัณฑ์ตัวเดิมได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย
วิชา 50 เล่มเกวียน :: 92
สฤณี อาชวานันทกุล :: 93
019
Under the Banner
of Heaven
Jon Krakauer
ในบรรดาหนังสือประเภทสารคดี หนังสือสารคดีที่ทั้งสนุก
และมีสาระเข้าข่าย ‘สารคดีคลาสสิก’ มักจะเป็นหนังสือที่
เขียนถ่ายทอดเรื่องจริงที่น่าทึ่งไม่แพ้นิยายชั้นยอดอย่าง
ละเอียดถี่ถ้วนจากหลากหลายแง่มุม อัดแน่นไปด้วยข้อมูล
หลักฐาน แต่ในขณะเดียวกันก็เขียนด้วยภาษาสละสลวยที่
ทั้งอ่านง่ายและอ่านสนุกจนวางไม่ลง
ในบรรดานักเขียนต่างประเทศทั้งหมดที่สามารถ
ผลิตหนังสือสารคดีระดับ ‘คลาสสิก’ ได้อย่างต่อเนื่อง มีไม่กี่
คนที่ผู้เขียนคิดว่ามีความเชี่ยวชาญมากกว่า จอน คราเคา-
เออร์ (Jon Krakauer) ผู้โด่งดังจากหนังสือเรื่อง Into Thin
Air (เกี่ ย วกั บ โศกนาฏกรรมครั้ ง ใหญ่ ที่ สุ ด บนยอดเขา
เอเวอร์ เ รสต์ ที่ ค ราเคาเออร์ บั ง เอิ ญ เป็ น ส่ ว นหนึ่ ง ใน
วิชา 50 เล่มเกวียน :: 94
เหตุการณ์) และ Into The Wild (เรื่องราวของบัณฑิต
ปริ ญ ญาตรี ช าวอเมริ กั น ผู้ ทิ้ ง ทุ ก สิ่ ง ทุ ก อย่ า งไว้ เ บื้ อ งหลั ง
ตายอย่างโดดเดี่ยวในป่าลึกกลางรัฐอลาสกา)
ผู้เขียนขอแนะนํา Under the Banner of Heaven
ผลงานของคราเคาเออร์อีกเล่มหนึ่งที่อาจไม่โด่งดังเท่ากับ
สองเล่ ม ที่ ก ล่ า วถึ ง ข้ า งต้ น แต่ ผู้ เ ขี ย นคิ ด ว่ า ให้ ข้ อ คิ ด และ
มุมมองดีๆ ไม่แพ้กัน โดยเฉพาะในประเด็นความเกี่ยวพัน
ระหว่างศาสนาและความเชื่อของกลุ่มคนที่เรามักจะมองว่า
เป็นพวก ‘เคร่งศาสนาหัวรุนแรง’ และเมื่อเราติด ‘ป้าย’ นั้น
ให้กับพวกเขาแล้ว เราก็มักจะไม่สนใจที่จะวิเคราะห์แรง
จูงใจให้ลึกไปกว่าการปรามาสด้วยคําสั้นๆ ว่า “บ้า” หรือไม่
ก็ “เพี้ยน”
ซึ่ ง เป็ น เรื่ อ งน่ า เสี ย ดาย เพราะการพยายามทํ า
ความเข้าใจพฤติกรรม วิเคราะห์เจาะลึกไปถึงแก่นความ
เชื่อของคนต่างศาสนากับเราที่ติดป้ายว่า ‘หัวรุนแรง’ นั้น
นอกจากจะทําให้เราสามารถแยกแก่นสารออกจากกระพี้
และแยกหลักธรรมออกจากความเชื่อ แยกสิ่งที่เป็นภววิสัย
ออกจากสิ่งที่เป็นอัตตวิสัยแล้ว ยังทําให้เราเข้าใจศาสนา
อื่นๆ มากขึ้น และมองเห็นอคติของตัวเราเอง
การวิเคราะห์เจาะลึกในทํานองเช่นว่าของคราเคา-
เออร์ใน Under the Banner of Heaven คือเหตุผลที่ทําให้
หนังสือเล่มนี้เป็นมากกว่าสารคดีธรรมดา เขาเริ่มต้นด้วย
การเล่าเรื่องราวของพี่น้องเคร่งศาสนานามสกุลลาฟเฟอร์ตี
สฤณี อาชวานันทกุล :: 95
(Lafferty) สองคนที่ฆ่าพี่สะใภ้และลูกสาวตัวน้อยของเธอ
อย่างเหี้ยมโหด โดยอ้างว่าเป็นพระประสงค์ของพระผู้เป็น
เจ้า แต่ในความพยายามที่จะตอบคําถามว่า เหตุใดพี่น้องคู่
นี้ จึ ง กระทํ า การอุ ก อาจเช่ น นี้ ไ ด้ โ ดยเชื่ อ ว่ า เป็ น เสี ย งจาก
สวรรค์ คราเคาเออร์พาเราไปทําความรู้จักกับลัทธิมอร์มอน
นิกายหนึ่งในศาสนาคริสต์ที่มีสมาชิกกว่า 12 ล้านคนทั่ว
โลกในชื่อ ‘The Church of Jesus Christ of Latter-day
Saints’ หรื อ เรี ย กย่ อ ว่ า LDS ตั้ ง แต่ ต้ น ตอจวบจนยุ ค
ปัจจุบัน และอธิบายความแตกต่างระหว่างนิกายมอร์มอน
ต้นตอและนิกายย่อยต่างๆ ที่แตกแขนงออกมาเป็นความ
เชื่อแบบ ‘สุดขั้ว’ (fundamentalist) ของลัทธินี้ รวมทั้ง
นิกายที่พี่น้องฆาตกรเป็นสมาชิก ได้อย่างละเอียดถี่ถ้วน
และน่าติดตามตลอดเล่ม
หนังสือเล่มนี้เต็มไปด้วยข้อมูลเบื้องหน้า เบื้องหลัง
และเบื้ อ งลึ ก ของทั้ ง เหตุ ฆ าตกรรมและลั ท ธิ ม อร์ ม อน
มากมาย กลั่นกรองจากบทสัมภาษณ์ระหว่างคราเคาเออร์
กั บ แดน ลาฟเฟอร์ ตี (Dan Lafferty) หนึ่ ง ในฆาตกร
สมาชิ ก นิ ก ายย่ อ ย ‘หั ว รุ น แรง’ ที่ เ ขาสั ง กั ด อยู่ และอดี ต
สมาชิกนิกายนี้หลายคน รวมทั้งข้อมูลประกอบจากหนังสือ
ประวัติศาสตร์หลายเล่ม ทั้งหมดนี้ร้อยเรียงเข้าด้วยกันเป็น
หนังสือดีที่เขียนอย่างเปี่ยมความเข้าใจ เขียนอย่างรู้จริง
เขียนอย่างเป็นกลาง และสะท้อนให้เห็นอย่างชัดแจ้งถึง
วิชา 50 เล่มเกวียน :: 96
ความแตกต่างระหว่าง ‘ศาสนา’ และ ‘การบิดเบือนศาสนา’
ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่าย เมื่อคํานึงว่าประเด็น ‘คนเคร่งศาสนาหัว
รุนแรง’ ทําให้นักเขียนเขียนแบบมักง่าย (เช่น ด่าอย่าง
เดียว) ได้ง่ายดายเพียงใด ถ้าคราเคาเออร์ เลือกที่จะเขียน
แบบมั ก ง่ า ย เขาก็ ไ ม่ ต้ อ งทํ า อะไรมาก เพราะความโหด
เหี้ยมของฆาตกรรมครั้งนี้ ก็ทําให้คนอ่านมีแนวโน้มอยู่แล้ว
ที่จะประณามสองพี่น้อง แต่ถ้าเขาเขียนแบบนั้น เราก็จะได้
แต่หนังสือสารคดีแบบ ‘สะเก็ดข่าว’ ระดับธรรมดาๆ เล่ม
หนึ่ ง ที่ อ าจทํ า ให้ เ รามี อ คติ กั บ ศาสนามากขึ้ น แทนที่ จ ะ
แยกแยะระหว่าง ‘หลักคําสอน’ กับ ‘คน’ ได้ดีกว่าเดิม
เป็นเรื่องน่าเศร้าที่สองสัปดาห์ก่อนที่หนังสือเล่มนี้
จะวางขาย ผู้นําระดับสูงคนหนึ่งในนิกาย LDS คือ ริชาร์ด
อี. เทอร์ลีย์ (Richard E. Turley) เขียนจดหมายเปิดผนึก
โจมตีคราเคาเออร์อย่างรุนแรง โดยกล่าวหาว่า Under the
Banner of Heaven เป็นหนังสือที่ “ลําเอียงและนําเสนอแง่
มุมลบเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของมอร์มอนเท่านั้น” ทั้งยัง
กล่ า วหาว่ า เป็ น หนั ง สื อ ที่ โ จมตี ศ าสนาโดยทั่ ว ไปอี ก ด้ ว ย
คราเคาเออร์เขียนจดหมายตอบข้อกล่าวหาของ LDS ไว้
อย่างน่าคิดดังต่อไปนี้:
“ผมรู้สึกเสียใจที่ท่านเทอร์ลีย์ ซึ่งพูดในฐานะตัว
แทนผู้นํานิกาย LDS เลือกที่จะมองหนังสือของผมแบบ
ตัดตอนเหมารวม ...กล่าวโดยข้อเท็จจริงแล้ว เป็นไปไม่ได้
เลยที่เราจะเข้าใจพฤติกรรมของพี่น้องลาฟเฟอร์ตีหรือผู้
สฤณี อาชวานันทกุล :: 97
นับถือนิกายมอร์มอนแบบสุดขั้วทุกคน ถ้าเราไม่พยายาม
สืบค้นความเชื่อของพวกเขาก่อน ซึ่งนั่นก็หมายความว่า
เราจะต้องทําความเข้าใจกับประวัติของ LDS และคําสอน
ที่ ซั บ ซ้ อ นและยื ด หยุ่ น ได้ อ ย่ า งน่ า ทึ่ ง ของ โจเซฟ สมิ ธ
(Joseph Smith) ผู้ก่อตั้งนิกายนี้ แน่นอน เราอาจพิจารณา
ประวั ติ ข องสมิ ธ และโบสถ์ ข องเขาจากหลากหลายแง่ มุ ม
และนั่ น คื อ ต้ น ตอของความไม่ พ อใจที่ ผู้ นํ า มอร์ ม อนมี ต่ อ
หนังสือของผม
วิชา 50 เล่มเกวียน :: 98
สฤณี อาชวานันทกุล :: 99
020
Internal Combustion
Edwin Black
ในภาวะที่ขอบเขตการรับรู้ข่าวสารของคนทั่วไปถูกครอบงํา
แน่นหนาขึ้นเรื่อยๆ อย่างไม่รู้ตัวโดยสื่อมวลชนและบริษัท
ขนาดยักษ์ ในขณะที่การแยกแยะระหว่าง ‘ความจริง’ กับ
‘ความเท็จ’ ในโลกอินเทอร์เน็ต ก็ยังต้องอาศัยวิจารณญาณ
และความอดทนมากกว่าเวลาที่คนส่วนใหญ่ยอมเจียดให้กับ
การแสวงหาความจริง (แต่ยอมทุ่มอย่างไม่จํากัดให้กับการ
เสพสิ่งบันเทิง) คงไม่มีอะไรที่ทรงคุณค่าไปกว่าหนังสือดีที่
ตีแผ่ความจริงที่ผู้ทรงอิทธิพลไม่อยากให้เรารับรู้
ไม่ ว่ า เทคโนโลยี สื่ อ จะรุ ด หน้ า ไปเร็ ว เพี ย งใด
เทคโนโลยีโบราณอย่าง ‘หนังสือ’ ก็ยังเป็นสื่อที่ดีที่สุดในการ
นํ า เสนอข้ อ เท็ จ จริ ง ที่ ล ะเอี ย ดและรอบด้ า นในประเด็ น
ซั บ ซ้ อ นที่ ต้ อ งอาศั ย การ ‘คิ ด ตาม’ ผู้ เ ขี ย นเพื่ อ ทํ า ความ
วิชา 50 เล่มเกวียน :: 100
เข้ า ใจ ธรรมชาติ ข องสื่ อ ที่ เ น้ น ความฉั บ ไวและสี สั น เพื่ อ
ดึงดูดความสนใจคนดูอย่างทีวี ไม่สามารถกระตุ้นให้คนเรา
‘คิดตาม’ ทํานองนี้ได้ มีแต่สื่อที่นําเสนอ ‘ห่วงโซ่ตรรกะ’ ที่
ร้อยเรียงอย่างเป็นระบบ ต้องค่อยๆ ละเลียดอย่างหนังสือ
เท่านั้นที่ทําได้
หนึ่ ง ในประเด็ น ที่ ซั บ ซ้ อ นที่ สุ ด ในโลกยุ ค โลกา-
ภิวัตน์ คงหนีไม่พ้นเรื่องของ ‘น้ำ�มัน’ ทรัพยากรธรรมชาติที่
มนุษย์เคยเข้าใจผิดว่าไม่มีวันหมดไปจากโลก ในประเด็นนี้
Internal Combustion โดย เอ็ดวิน แบล็ค (Edwin Black)
คือหนังสือที่เปิดโปงคอร์รัปชั่นและกระบวนการปิดหูปิดตา
ประชาชนของบริ ษั ท น้ำ � มั น ยั ก ษ์ ใ หญ่ ที่ จั บ มื อ กั บ รั ฐ บาล
หลายประเทศที่ดีที่สุดเล่มหนึ่ง
แบล็คได้รับการยกย่องว่าเป็นหนึ่งใน ‘นักข่าวเจาะ’
มือดีที่สุดในโลก เคยได้รับการเสนอชื่อชิงรางวัลพูลิตเซอร์
มาแล้วหลายครั้ง โด่งดังในฐานะนักข่าวที่ชอบ ‘แฉ’ การใช้
อํานาจผูกขาดของบริษัทยักษ์ใหญ่ ก่อนหน้านี้ หนังสือขาย
ดีที่สุดของแบล็ค คือ IBM and the Holocaust (2001)
เปิ ด โปง ‘ความสั ม พั น ธ์ เ ชิ ง กลยุ ท ธ์ ’ ระหว่ า งบริ ษั ท
คอมพิวเตอร์ยักษ์ใหญ่ IBM กับ ‘อาณาจักรไรค์ที่สาม’ ของ
อดอล์ฟ์ ฮิตเลอร์ (Adolf Hitler) ที่กินเวลากว่าสิบสองปี
หนังสือเรื่องนี้ทําให้คนทั่วไปได้รับรู้เป็นครั้งแรกว่า IBM มี
บทบาทสําคัญในกระบวนการฆ่าล้างเผ่าพันธ์ุยิวอย่างเป็น
ระบบ
สฤณี อาชวานันทกุล :: 101
คำ�โปรยใต้ชื่อของ Internal Combustion ซึ่งอาจ
แปลเป็นไทยได้ว่า “วิธีที่บริษัทและรัฐบาลทําให้โลกเสพติด
น้ำ�มันและทําลายทางเลือก” สื่อประเด็นหลักของหนังสือ
เล่ ม นี้ อ ย่ า งรวบรั ด ชั ด เจน หนั ง สื อ เล่ ม นี้ เ ต็ ม ไปด้ ว ยราย
ละเอียดไม่ต่างจากเล่มก่อนๆ ของแบล็ค (ข้อมูลหลายชิ้น
ได้รับการเปิดเผยสู่สายตาสาธารณชนเป็นครั้งแรก) แต่ผู้
เขียนคิดว่าเล่มนี้เป็นเล่มที่น่าสนใจ เป็นประโยชน์ และสนุก
ที่สุดของเขา
แบล็คเริ่มด้วยการย้อนประวัติศาสตร์การใช้เชื้อ-
เพลิงกลับไปถึง 5,000 ปีก่อน สมัยที่มนุษย์ยังใช้ไม้เป็น
เชื้อเพลิง สืบสาววิวัฒนาการมาเรื่อยๆ จนเข้าสู่ยุคพึ่งพิง
น้ำ�มันในปัจจุบัน ระหว่างทาง เขาแจกแจง ‘ประวัติศาสตร์ที่
ถูกลืม’ หลายตอนที่น่าสนใจอย่างยิ่ง ตอนที่ผู้เขียนชอบ
ที่สุดคือตอนที่แบล็คอธิบายว่า ‘พลังงานสะอาด’ นั้นไม่ใช่
เรื่องใหม่ อเมริกาเคยมี ‘กลุ่มผู้ผูกขาด’ (cartel) ธุรกิจ
แบตเตอรี่ไฟฟ้าในทศวรรษ 1890 และรถยนต์พลังไฟฟ้า
ก็ได้รับความนิยมอย่างสูงในยุคนั้น แต่กลุ่มผลประโยชน์ที่
ประกอบด้ ว ยบริ ษั ท น้ำ � มั น และบริ ษั ท ผู้ ผ ลิ ต รถยนต์ ที่ ใ ช้
น้ำ�มันเป็นหลัก นําโดย General Motors (GM) ทําทุกวิถี
ทางที่จะขัดขวางการเติบโตของรถยนต์ไฟฟ้า โดยเฉพาะ
ความพยายามของบุคคลสําคัญผู้มีอิทธิพลสูงมากสองคน
คือโทมัส เอดิสัน (Thomas Edison) ผู้ประดิษฐ์หลอดไฟฟ้า
และเฮนรี ฟอร์ด (Henry Ford) บิดาแห่งระบบการผลิต
วิชา 50 เล่มเกวียน :: 102
แบบสายพานและผู้ผลิตรถยนต์ยี่ห้อ Ford ที่จับมือกันผลิต
รถยนต์ไฟฟ้าราคาย่อมเยาสําหรับทุกครัวเรือน แบล็คชี้
หลักฐานว่า แบตเตอรี่ไฟฟ้าของเอดิสันถูก ‘มือดี’ ทําลาย
จนใช้การไม่ได้เมื่อเดินทางไปถึงโรงงานผลิตรถยนต์ของ
Ford ที่ดีทรอยต์ และเมื่อนักประดิษฐ์ผู้ยิ่งใหญ่ประกาศว่า
เขากําลังออกแบบแบตเตอรี่ชนิดใหม่ที่ไม่มีใครก่อกวนได้
ห้องทดลองของเขาก็ถูกวางเพลิงจนวอดวายและจับมือใคร
ดมไม่ได้จนถึงทุกวันนี้ ปิดฉากอนาคตรถยนต์ไฟฟ้ายุคแรก
ไปอย่างน่าเสียดาย
ตั ว อย่ า งพฤติ ก รรมที่ น่ า รั ง เกี ย จอี ก กรณี ห นึ่ ง ที่
แบล็คอธิบายให้เห็นชัดคือ กรณี GM และพรรคพวกจงใจ
กีดขวางโครงการพัฒนาระบบรถรางไฟฟ้าในอเมริกา แม้ว่า
จะเป็ น ระบบยอดนิ ย มที่ มี ผู้ โ ดยสารรวมทุ ก เที่ ย วกว่ า
15,000 ล้านคนต่อปี เริ่มตั้งแต่ประมาณปี 1935 GM ก่อตั้ง
บริษัทชื่อ National City Lines ร่วมกับบริษัทอื่นที่ต่างก็มี
ผลประโยชน์ในธุรกิจน้ำ�มัน ได้แก่ Mack Truck, Firestone
Tires, Standard Oil, และ Phillips Petroleum โดยบริษัท
National City Lines จะเที่ยวไล่ซื้อกิจการรถรางไฟฟ้า รื้อ
ถอนรางออก ทําถนนทับแนวเดิม เผารถรางทิ้งไม่ให้เหลือ
ซาก แล้ ว ก็ เ ปลี่ ย นรู ป แบบการให้ บ ริ ก ารเป็ น รถเมล์ ที่ ใ ช้
น้ำ�มันแทน พวกเขาสมคบคิดกันทําแบบนี้ในเมืองใหญ่ 40
เมืองทั่วประเทศอเมริกา จนกระทั่งถูกรัฐบาลกลางสั่งฟ้อง
ศาลในคดีอาญา และถูกศาลพิพากษาว่ามีความผิด
สฤณี อาชวานันทกุล :: 103
หลังจากที่พาเราทัวร์ประวัติศาสตร์คอร์รัปชั่นอัน
น่าตื่นตระหนกของธุรกิจน้ำ�มัน แบล็คก็ปิดท้ายหนังสือด้วย
ความหวัง ด้วยการอธิบายสินค้าและบริการที่ใช้พลังงาน
ทางเลือกมากมายที่มีผู้ผลิตแล้ว แต่คนทั่วไปอาจมองข้าม
ไม่ว่าจะเป็นรถยนต์ไฟฟ้ารุ่นใหม่ หรือ “ศูนย์พลังงานประจํา
บ้ า น” ที่ ช่ ว ยลดระดั บ การพึ่ ง พิ ง น้ำ � มั น ได้ แบล็ ค ยกย่ อ ง
ฮอนด้ า บริ ษั ท รถยนต์ ญี่ ปุ่ น ว่ า เป็ น ผู้ นํ า ในด้ า นนี้ และ
อธิบายว่า เหตุใดเราจึงควรมองบริษัทที่ทําธุรกิจเอทานอล
(Ethanol) ด้วยความไม่ไว้วางใจมากกว่าความชื่นชม และ
เหตุใดเขาจึงบอกว่า ไฮโดรเจนคือ “เชื้อเพลิงขนส่งแห่ง
อนาคต”
ถึ ง แม้ จ ะปฏิ เ สธไม่ ไ ด้ ว่ า พฤติ ก รรมสิ้ น เปลื อ ง
พลังงานของคนธรรมดาอย่างเราๆท่านๆ ยังเป็นเหตุผล
สํ า คั ญ ที่ ทํ า ให้ ก ลุ่ ม ผลประโยชน์ น้ำ � มั น ทั้ ง หลายยั ง เจริ ญ
รุ่งเรืองอยู่ได้ หนังสือเรื่อง Internal Combustion ก็อธิบาย
อย่างชัดแจ้งให้เราเข้าใจว่า ปัญหาการพึ่งพิงน้ำ�มันของโลก
นั้นเป็นปัญหาที่ ‘ไม่จําเป็น’ ต้องเกิดขึ้นเลย หากเป็นเรื่องที่
‘หลีกเลี่ยงได้’ ในอดีต และด้วยเหตุนั้น มันจึงเป็นเรื่องที่
หลีกเลี่ยงได้อย่างแน่นอน ณ บัดนี้ ไม่ต้องรอห้าปีหรือสิบปี
ในอนาคต.
ในบรรดานักประพันธ์งานภาษาอังกฤษทั้งหมดในบรรณ
พิ ภ พ มี นั ก ประพั น ธ์ น้ อ ยรายที่ จ ะคงความเป็ น อมตะ
ทัดเทียม วิลเลียม เช็คสเปียร์ (William Shakespeare)
มหากวีชาวอังกฤษ บทละครของเช็คสเปียร์นอกจากจะ
สร้างบรรทัดฐานใหม่ให้กับวงการละครแล้ว ยังเป็นแหล่ง
สํานวนใหม่ คําคม และประโยคกินใจนับไม่ถ้วนที่ใช้กัน
อย่างแพร่หลายจวบจนปัจจุบัน อาทิเช่น “remembrance
of things past” (อนุสรณ์แด่วันวาร), “this mortal coil”
(โกลาหลแห่งการดํารงอยู่) รวมทั้งวาทะยอดนิยม – “to die
or not to die, that is the question” (จะตายหรือจะอยู่ นั่น
คือคําถาม) ที่เจ้าชาย Hamlet รําพึงขณะถือหัวกะโหลก
ของ Yorick เป็นประโยคเริ่มบทมรณานุสติยาวหนึ่งย่อหน้า
วิชา 50 เล่มเกวียน :: 106
ซึ่ ง ได้ รั บ การยกย่ อ งให้ เ ป็ น ย่ อ หน้ า ที่ โ ด่ ง ดั ง ที่ สุ ด ใน
ประวัติศาสตร์วรรณกรรมอังกฤษ
ความโด่งดังของเช็คสเปียร์และความซับซ้อนของ
บทละครของเขา ทํ า ให้ เ ราไม่ ค วรแปลกใจที่ แ ต่ ล ะปี จ ะมี
หนังสือ งานวิจัย และบทความเกี่ยวกับเช็คสเปียร์ออกใหม่
กว่าสี่พันเรื่องและเล่ม มีนักประวัติศาสตร์ นักภาษาศาสตร์
นักเขียน และนักอื่นๆ อีกหลายสาขานับพันคนทั่วโลกที่
‘หากิน’ กับมหากวีผู้นี้เท่านั้นในอาชีพการงาน บทละคร
ของเขาได้รับการวิเคราะห์อย่างละเอียดถี่ถ้วนแทบทุกแง่
ทุกมุม ดูจากชื่อหนังสือเกี่ยวกับเช็กสเปียร์อย่างเดียวก็พอ
จะเดาได้ถึงระดับความเป็นอมตะของเขา – “Ear Disease
and Murder in Hamlet”, “Shakespeare and the
Quebec Nation”, “Was Hamlet a Man or a Woman?”
ฯลฯ
ในบริบทเช่นนี้ นักอ่านหลายคนที่รู้จักและชื่นชอบ
บิล ไบรสัน (Bill Bryson) นักเขียนชาวอเมริกัน (ผู้เริ่มมีชื่อ
เสียงจากงานเขียนแนวท่องเที่ยว อาทิ A Walk in the
Woods ซึ่งเป็นเล่มโปรดของผู้เขียน แต่มาโด่งดังเป็นพลุ
แตกตอนเขียนหนังสือเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์เรื่อง A Short
History of Nearly Everything ซึ่งมีฉบับแปลไทยแล้วในชื่อ
“ประวัติย่อของเกือบทุกสิ่ง”) อาจแปลกใจที่เขาตัดสินใจ
เขียนหนังสือเกี่ยวกับเช็คสเปียร์ และเมื่อเห็นความบางของ
หนังสือ นักอ่านก็อาจจะยิ่งสงสัยหนักเข้าไปอีกว่า หนังสือ
สฤณี อาชวานันทกุล :: 107
เล่มเล็กๆ เล่มนี้มีอะไรดี และมีอะไรใหม่?
หนังสือเล่มบางเล่มนี้อาจไม่มีอะไร ‘ใหม่’ สําหรับ
แฟนพันธ์ุแท้ แต่ผู้เขียนเชื่อว่ามันจะจุดประกายให้นักอ่านที่
ไม่รู้จักเช็คสเปียร์ไปหางานของเขามาอ่าน ทําให้แฟนพันธ์ุ
แท้ของมหากวีดีใจได้ปลื้มกับการย่อยงานศึกษาเกี่ยวกับ
ประวัติชีวิตของเช็คสเปียร์ให้รวบรัดและอ่านง่าย และมอบ
ความบันเทิงตลอดเล่มสําหรับนักอ่านทุกเพศทุกวัยจนทุก
คนจะรู้สึกเสียดายเมื่ออ่านจบ เพราะไบรสันใช้พรสวรรค์
ของเขาในฐานะนักเขียนแนวท่องเที่ยวมือหนึ่ง จําลองภาพ
‘บรรยากาศ’ ของชีวิตในยุคสมัยของเช็คสเปียร นั่นคือกรุง
ลอนดอนยุคปลายศตวรรษที่ 17 มาให้เราเห็นอย่างแจ่มชัด
เหมือนตาเห็น สนุกสนาน และน่าติดตามไม่แพ้ตอนที่เขา
พาเราท่ อ งชี วิ ต ของนั ก วิ ท ยาศาสตร์ ใ นเรื่ อ ง A Short
History of Nearly Everything
หนั ง สื อ เล่ ม บางเล่ ม นี้ เ ต็ ม ไปด้ ว ยเกร็ ด ประวั ติ -
ศาสตร์ ที่ น่ า สนใจมากมาย ทั้ ง ที่ เ กี่ ย วกั บ เช็ ค สเปี ย ร์ แ ละ
เหตุการณ์แวดล้อม ไบรสันอธิบายว่า ถึงแม้ว่าเช็คสเปียร์จะ
โด่ ง ดั ง เป็ น พลุ แ ตกตั้ ง แต่ ส มั ย ที่ เ ขายั ง มี ชี วิ ต อยู่ เรากลั บ
แทบไม่รู้อะไรเลยเกี่ยวกับชีวิตส่วนตัวของกวีเอกผู้นี้ ไม่รู้
แม้กระทั่งหน้าตาของเขา (รูปเหมือนที่ ‘เชื่อกันว่า’ เป็นรูป
ของเช็คสเปียร์นั้นไม่มีหลักฐานยืนยันแน่ชัด อาจเป็นรูป
ของคนอื่นก็ได้) ไบรสันอธิบายต่อว่า การที่เราแทบไม่รู้
อะไรเลยนั้นไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะชีวิตของคนยุคปลาย
วิชา 50 เล่มเกวียน :: 108
ศตวรรษที่ 17 (ห้าร้อยปีที่แล้ว) ปกติก็ไม่มีทางเหลือร่อง
รอยอะไรให้เราเห็น ยกเว้นในกรณีสุดวิสัยจริงๆ เช่น มีเรื่อง
มี ร าวจนต้ อ งลงนามในเอกสารทางการอย่ า งบั น ทึ ก ของ
ตํารวจ (และอันที่จริง หนึ่งในลายเซ็นของเช็คสเปียร์จํานวน
น้อยที่เรายืนยันได้ว่าเป็นของเขาจริงๆ คือลายเซ็นที่เขาลง
นามในฐานะพยานในคดีเรื่องหนึ่ง)
ยกตัวอย่างเกร็ดน่าสนใจที่ไบรสันเล่าให้ฟัง – ใน
รูปเหมือนของชายที่ “เชื่อกันว่า” เป็นเช็คสเปียร์นั้น การที่
ชายผู้นี้ใส่ชุดดําในภาพ ทําให้นักประวัติศาสตร์ตั้งข้อสังเกต
ว่าเช็กสเปียร์น่าจะมีรายได้ดีจากการแต่งบทละครตั้งแต่ยัง
หนุ่ม เพราะสมัยนั้นต้องใช้สีย้อมผ้าปริมาณมาก (แปลว่า
แพงมาก) ในการย้อมผ้าให้เป็นสีดําทั้งชุด ผู้มีฐานะจึงนิยม
แต่งชุดดําเวลานั่งให้จิตรกรวาดภาพเหมือนเพื่อประกาศ
ฐานะให้คนรับรู้
หนังสือเล่มนี้มีเรื่องสนุกแทบทุกหน้า เช่น ไบรสัน
บอกเราว่ า อย่ า ว่ า แต่ ห น้ า ตาของเขาเลย ขนาดชื่ อ ของ
เช็กสเปียร์ก็ยังยืดหยุ่นได้อย่างน่าอัศจรรย์ เพราะเป็นเรื่อง
ธรรมดาของคนยุคนั้นที่จะไม่เคร่งครัดกับการสะกดคําให้
ถูกต้องตามไวยากรณ์ ไม่ว่าจะเขียนอะไรก็ตาม ในบรรดา
ลายเซ็นจํานวนน้อยนิดของเช็คสเปียร์ในเอกสารต่างๆ ที่
ตกทอดมาถึงเรานั้น ไม่มีลายเซ็นสองอันที่เหมือนกันเลย
มหากวี เ ซ็ น ชื่ อ เขาว่ า “Wm Shakspe”, “Willm Shak-
spere”, “William Shakspeare” ฯลฯ ข้อเท็จจริงที่น่าทึ่ง
สฤณี อาชวานันทกุล :: 109
ที่สุดคือ เราไม่เคยเห็นลายเซ็นของเช็คสเปียร์ที่สะกดแบบ
เดียวกับที่เราสะกดชื่อเขาทุกวันนี้ คือ “William Shake-
speare”!
ไบรสันต้องใช้ทั้งความวิริยะอุตสาหะและพรสวรรค์
ในการย่อยงานวิจัยหลายร้อยชิ้นของนักประวัติศาสตร์และ
ผู้ เ ชี่ ย วชาญด้ า นเช็ ค สเปี ย ร์ ล งในหนั ง สื อ หนาไม่ ถึ ง 200
หน้า ที่แจกแจงความแตกต่างระหว่าง ‘ข้อเท็จจริง’ เกี่ยว
กับชีวิตของมหากวีที่เรามีพยานหลักฐานยืนยันแน่ชัด กับ
‘ข้อสันนิษฐาน’ ที่มีหลักฐานแวดล้อมน่าเชื่อถือจนอาจเป็น
ไปได้ และ ‘ข้อมั่ว’ หรือ ‘ข้อยกเมฆ’ ที่ฟังดูน่าตื่นเต้นแต่ไร้
หลักฐานหรือเหตุผลใดๆ รองรับ แถมยังสนุกจนวางไม่ลง
อีกด้วย
ไบรสั น ไม่ เ พี ย งแต่ ฉ ายภาพชี วิ ต ส่ ว นตั ว ของ
เช็คสเปียร์และชีวิตสังคมในยุคของเขาออกมาโลดแล่นให้
เราดูผ่านตัวอักษรเท่านั้น หากยังถ่ายทอดความหมกมุ่น
ความมุ่ ง มั่ น และความรั ก ในบทละครของแฟนพั น ธ์ุ แ ท้
เช็คสเปียร์มากมาย รวมทั้งหลายคนที่เชื่อว่าเช็คสเปียร์ไม่
ได้แต่งบทละครทั้งหลายที่ทําให้เขามีชื่อเสียง หนังสือเล่มนี้
สนุกเสียจนกระตุ้นให้ผู้เขียน ซึ่งมีความสนใจน้อยถึงปาน
กลางในงานของกวีเอก (เพราะเคยถูกครูบังคับให้อ่านตอน
ที่ภาษาอังกฤษของตัวเองยังอ่อนปวกเปียก) ลงทุนขุดบท
ละครเรื่องแฮมเล็ทจากกล่องเก็บหนังสือออกมาอ่านใหม่
ในโลกที่คนจํานวนมากยังถกเถียงกันเรื่องระบอบทุนนิยม
จากมุ ม มองฉาบฉวยว่ า เราควรจะ ‘เอา’ หรื อ ‘ไม่ เ อา’
ระบอบนี้ดี นักคิดหลายคนได้ ‘ข้ามพ้น’ จุดนั้นมานานแล้ว
พวกเขามองว่ า เนื่ อ งจากทุ น นิ ย มมี ป ระโยชน์ ม ากมายที่
พิสูจน์ได้ ประเด็นจึงไม่ควรอยู่ที่ว่าเราควรจะใช้ระบอบอะไร
แทนที่ทุนนิยม แต่อยู่ที่ว่าเราจะหาวิธีพัฒนา ควบคุม และ
ปรับเปลี่ยนแรงจูงใจในระบอบนี้อย่างไรให้สอดคล้องและ
ส่ ง เสริ ม คุ ณ ค่ า อื่ น ๆที่ สํ า คั ญ ไม่ ยิ่ ง หย่ อ นไปกว่ า ดั ช นี ท าง
เศรษฐกิจ อาทิเช่น คุณภาพชีวิต และสิ่งแวดล้อม
โรเบิร์ต ไรช์ (Robert Reich) อดีตรัฐมนตรีว่าการ
กระทรวงแรงงานสมัยประธานาธิบดี บิล คลินตัน ตกผลึก
ประสบการณ์และความคิดของเขาใน Supercapitalism
วิชา 50 เล่มเกวียน :: 118
หนังสือชั้นยอดที่ผู้เขียนคิดว่าทุกคนควรอ่าน และอาจารย์
ควรใช้สอนในห้องเรียน
Supercapitalism สรุปวิวัฒนาการของระบอบทุน
นิยมในอเมริกาในรอบศตวรรษที่ผ่านมาอย่างรวบรัดชัดเจน
และน่าสนใจอย่างยิ่ง ในฐานะที่เขาเป็นนักเศรษฐศาสตร์
การเมืองผู้ทํางานจากมุมมองของ ‘ประโยชน์สาธารณะ’
ตลอดมา ไรช์ไม่เพียงแต่มองเห็นความเชื่อมโยงที่แน่นแฟ้น
ขึ้นเรื่อยๆ ระหว่างภาคธุรกิจกับภาครัฐเท่านั้น แต่เขายัง
‘มองทะลุ’ ไปถึงการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างของความ
สัมพันธ์นี้ในทางที่คนทั่วไปมองไม่เห็นและนักเศรษฐศาสตร์
กระแสหลักไม่สนใจเท่าที่ควร
ไรช์มองว่า ทุนนิยมในอเมริการะหว่างทศวรรษ
1945-1975 ซึ่งเขาเรียกว่า “Not Quite Golden Age”
(NQGA) มีลักษณะเป็น “democratic capitalism” (ทุนนิยม
ประชาธิ ป ไตย) นั่ น คื อ ยุ ค ที่ ก ารแข่ ง ขั น ยั ง ไม่ รุ น แรงมาก
บริษัทมีจํานวนน้อยและส่วนใหญ่มีขนาดใหญ่ เทคโนโลยี
การผลิตและการสื่อสารที่ยังแพงมากเป็นปัจจัยที่กีดกันคู่
แข่ง (barriers to entry) ไม่ให้เข้ามาแข่งขันโดยง่าย ภาวะ
ที่มีผู้แข่งขันน้อยรายนี้ทําให้บริษัทมีกําไรสูงและพยากรณ์
ได้ค่อนข้างแน่นอน การสมรู้ร่วมคิดกันตรึงราคาทําได้ง่าย
ภาวะ ‘สบายๆ’ เช่นนี้ทําให้บริษัทส่วนใหญ่สามารถมอบ
เงินเดือนและสวัสดิการสูงๆ ให้กับพนักงาน และอ่อนข้อให้
กับรัฐบาลที่บังคับให้เจียดกําไรส่วนหนึ่งไปทําประโยชน์
สฤณี อาชวานันทกุล :: 119
สาธารณะ (เช่น ให้บริษัทโทรคมนาคมต่อสายโทรศัพท์ไป
ยังพื้นที่ห่างไกลที่ไม่คุ้มค่าการลงทุน แต่ช่วยให้ผู้ยากไร้ได้
เข้าถึงบริการโทรศัพท์) แลกกับกฎหมายหรือกฎเกณฑ์ที่
กีดกันผู้เล่นรายใหม่ๆ
ไรช์ อ ธิ บ ายว่ า หลั ง จากที่ อ เมริ ก าออกจากยุ ค
NQGA ก็ ไ ด้ เ ข้ า สู่ ยุ ค ปั จ จุ บั น ที่ เ ขาเรี ย กว่ า ‘Super-
capitalism’ อย่างเต็มตัว ยุคนี้เป็นยุคแห่งการแข่งขันอย่าง
รุนแรงในภาคธุรกิจ ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลจากกระแสการเปิด
เสรี (deregulation) และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี โดย
เฉพาะอินเทอร์เน็ต ที่ช่วยลดต้นทุนในการแข่งขันลงอย่าง
ฮวบฮาบ เปิดโอกาสให้คู่แข่งรายใหม่ๆ สามารถแข่งขันกับ
ผู้ ค รองตลาดรายเดิ ม ได้ อ ย่ า งมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพ ภาวะการ
แข่งขันที่รุนแรงขึ้นบีบบังคับให้บริษัทต่างๆ ต้องเอาใจผู้
บริโภคมากกว่าเดิม และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่ง
ขัน ในขณะเดียวกัน พัฒนาการของตลาดเงินและตลาดทุน
ที่ทําให้นักลงทุนสามารถโยกย้ายเงินลงทุนไปทั่วโลกในชั่ว
พริบตา ก็ช่วยให้นักลงทุนมีอํานาจเรียกร้องผลตอบแทนสูง
กว่าเดิม แรงกดดันทั้งหลายนี้ก็ผลักดันให้บริษัทต้องหาวิธี
‘ลดต้นทุน’ อย่างสม่ำ�เสมอ เช่น ด้วยการปลดพนักงานออก
ลดเงินเดือนหรือสวัสดิการ และวิ่งล็อบบี้นักการเมืองและ
ภาครัฐให้ดําเนินนโยบายที่จะช่วยกีดกันคู่แข่งหรือรักษา
ระดับกําไรเอาไว้
จําได้ไหม ประสบการณ์ครั้งสุดท้ายที่คุณอ่านหนังสือด้วย
ความปลาบปลื้มกับเนื้อหาอันโดดเด่นและเรียบเรียงด้วย
ภาษาสละสลวย ภาพประกอบและบทความแบบ ‘เล่าเรื่อง
จากภาพ’ ที่เข้ากันกับตัวอักษรอย่างกลมกลืน รูปเล่มที่
เหมาะมือและการออกแบบอันประณีตจนสมควรเรียกว่า
‘ศิลปวัตถุ’ มากกว่าหนังสือธรรมดา
ถ้าคุณนึกไม่ออก นานเกินกว่าจะจําได้ หรือไม่เคย
มีประสบการณ์ดังว่า ผู้เขียนขอแนะนําหนังสือของสํานัก-
พิมพ์อิสระนาม Chin Music Press
ความรั ก ในการทํ า หนั ง สื อ ของสํ า นั ก พิ ม พ์ เ ล็ ก ๆ
แห่งนี้รู้สึกได้ตั้งแต่อ่านคําอธิบายเป้าหมายของพวกเขาบน
เว็บไซต์ (http://www.chinmusicpress.com/): “พวกเราไม่
วิชา 50 เล่มเกวียน :: 124
อยากทําหนังสือธรรมดาๆ แต่อยากทํา ‘วัตถุ’ ที่เกิดจาก
การวางแผนใคร่ครวญรูปแบบ เนื้อหา และเป้าหมายอย่าง
ถี่ถ้วนและทําด้วยความรัก เราอยากผลิตวรรณกรรมดีๆ ที่
ห่อหุ้มด้วยปกแข็งและกระดาษและกลิ่นจางๆ ที่เชื่อมโยง
กับเนื้อหาในทางที่เราหวังว่าทุกคนที่ชื่นชมวัตถุทุกชนิดที่มี
คุ ณ ภาพดี จะเอาใจใส่ แ ละดู แ ลมั น – เราอยากสร้ า ง
‘วรรณกรรมวัตถุ’ (literary objects)”
ผลงานชิ้ น แรกของ Chin Music Press คื อ
Kuhaku & Other Accounts from Japan หนังสือสุดสวย
ที่รวบรวมเรื่องสั้น บทความ ภาพวาด และส่วนผสมของ
ตัวอักษรและรูปภาพเกี่ยวกับญี่ปุ่น 16 ชิ้น จากมุมมองของ
คนที่ ใ ช้ ชี วิ ต อยู่ ใ นญี่ ปุ่ น โดยมี บรู ซ รั ท เลดจ์ (Bruce
Rutledge) เป็นบรรณาธิการ
ความที่ มี เ อกลั ก ษณ์ เ ฉพาะตั ว หลายอย่ า งทํา ให้
Kuhaku เป็นหนังสือที่ยากแก่การจัดประเภท ถ้าจะเรียกว่า
‘หนังสือแนวท่องเที่ยว’ คนอ่านก็อาจประหลาดใจที่ไม่พบ
รายละเอียดร้านอาหารหรือแผนที่โรงแรมใดๆ ในหนังสือ
เล่มนี้ แต่จะได้รับความรู้อย่างมากมายเกี่ยวกับชีวิตประจํา-
วันของคนญี่ปุ่น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องงานศพแบบญี่ปุ่น ขยะ
พักเที่ยง และกาแฟกระป๋องที่มีร้านขายและเครื่องกดลาน
ตาแทบทุกหัวมุมเมืองในญี่ปุ่น บทความเรื่องท้ายนี้ที่นํา
เสนอแบบ ‘เล่าเรื่องจากภาพ’ ผ่านรูปวาดกาแฟกระป๋อง
ยี่ ห้ อ ต่ า งๆ พร้ อ มคํ า อธิ บ าย เป็ น หนึ่ ง ในบทโปรดของผู้
สฤณี อาชวานันทกุล :: 125
เขียน (กอง บ.ก. ของสํานักพิมพ์ชอบเรื่องนี้มากจนไปสร้าง
เว็บไซต์ชื่อ http://www.cannedcoffee.com/ เชิญชวนให้
คนเขียนบทวิจารณ์กาแฟกระป๋องที่ตัวเองชอบ)
ครั้ น จะเรี ย ก Kuhaku ว่ า ‘หนั ง สื อ เกี่ ย วกั บ
วัฒนธรรมญี่ปุ่น’ ข้อเขียน หลายชิ้นใน Kuhaku ก็แสดง
ความ ‘เหมือน’ ระหว่างคนญี่ปุ่นกับคนชาติอื่นๆ ในทางที่
อาจลบภาพลักษณ์ของ ‘คนญี่ปุ่น’ ที่เราเคยเชื่อฝังใจ เช่น
เทรนด์ใหม่ที่น่าตกใจของการแสวงหา ‘เพื่อน’ เพื่อนัดแนะ
ไปฆ่าตัวตายพร้อมกันบนอินเทอร์เน็ต (นําเสนอในรูปเรื่อง
สั้น) และพฤติกรรมนอกใจสามี ซึ่งบทสัมภาษณ์บรรดา
หญิงมีชู้ของ สุมิเอะ คาวากามิ ที่ผู้เขียนชอบมาก แสดงให้
เห็นว่าความล้มเหลวของชีวิตคู่นั้นเป็น ‘ปัญหาสากล’ เพียง
ใด
Kuhaku นําเสนอเรื่องราวอีกมากมายที่สะท้อน
ความรู้สึกที่มีต่อญี่ปุ่นของคนที่ใช้ชีวิตอยู่ในญี่ปุ่นจริงๆ โดย
ปราศจากการเสแสร้งแกล้งชมหรือก่นด่าอย่างมีอคติ
หนั ง สื อ ภาษาอั ง กฤษเกี่ ย วกั บ ประเทศนอกโลก
ตะวันตกมักจะเน้นหนักไปที่สิ่งต่างๆ ที่นักเขียนต่างชาติ
มองว่าเป็น ‘อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม’ ซึ่งสําหรับญี่ปุ่นก็มัก
จะหมายถึงประเด็นอย่าง ยากูซ่า เกอิชา วัฒนธรรมธุรกิจ
และจริยธรรมของซามูไร ที่แตกต่างจากวัฒนธรรมอื่นๆ จน
ไม่ ส ามารถเปรี ย บเที ย บกั น ได้ ดั ง นั้ น การหยิ บ เอาชี วิ ต
ประจําวันขึ้นมาเป็นโฟกัสของหนังสือ ทําให้ Kuhaku เป็น
วิชา 50 เล่มเกวียน :: 126
หนังสือหายากที่ทําให้เรารับรู้จริงๆ ว่า ‘ความเหมือน’ และ
‘ความต่ า ง’ ระหว่ า งสั ง คมญี่ ปุ่ น กั บ สั ง คมอื่ น ๆ นั้ น มี
ขอบเขตหน้าตาเป็นอย่างไร แม้จะเป็นเพียงส่วนเสี้ยวเดียว
ของวัฒนธรรมก็ตาม
นอกจากจะอั ด แน่ น ไปด้ ว ยเนื้ อ หาที่ ทั้ ง ให้ ส าระ
ความบันเทิง และทําให้ผู้อ่าน ‘เปิดใจ’ ต่อวัฒนธรรมต่าง
แดนให้กว้างขึ้นชนิดที่มีหนังสือน้อยเล่มจะทําได้ Kuhaku
ยังบรรลุความเป็น ‘วรรณกรรมวัตถุ’ สมกับความตั้งใจของ
สํานักพิมพ์ หนังสือหนา 224 หน้าเล่มนี้ห่อด้วยปกผ้าสีสวย
รูปเล่มขนาดกะทัดรัดเหมาะสําหรับการพกติดกระเป๋า เต็ม
ไปด้วยรูปประกอบสวยงามจากศิลปินฝีมือดีสามคน ทําให้
แม้ ก ระทั่ ง อภิ ธ านศั พ ท์ (glossary) ก็ ยั ง สนุ ก สนานและ
เข้าใจชีวิตในญี่ปุ่นอย่างลึกซึ้ง ผู้เขียนคิดว่าหนังสือเกี่ยวกับ
ญี่ปุ่นที่อธิบายคําว่า ‘โทรศัพท์มือถือ’ (เคอิไต เด็นวะ) และ
‘มนุษย์เงินเดือน’ (ซาลารีแมน) ด้วยรูปอย่างนี้ย่อมควรค่า
แก่การซื้อเก็บ:
หลังจากที่เขียนแนะนําหนังสือภาษาอังกฤษมายี่สิบสี่เล่ม
ติดต่อกัน ขอเปลี่ยนบรรยากาศเล็กน้อยด้วยการแนะนํา
หนังสือภาษาไทยบ้าง ไม่ใช่หนังสือธรรมดา แต่เป็นหนึ่งใน
หนังสือศิลปะที่น่าสะสมและซื้อฝากเพื่อนที่สุด (เพื่อนฝรั่งก็
ยิ่งดี เพราะมีคําแปลภาษาอังกฤษตลอดทั้งเล่ม)
หนั ง สื อ เล่ ม นี้ ชื่ อ Mind’s Eye เป็ น หนั ง สื อ ปก
ผ้ า พิ ม พ์ สี่ สี ทั้ ง เล่ ม จั ด พิ ม พ์ โ ดยสํ า นั ก พิ ม พ์ โ อเพ่ น บุ๊ ค ส์
รวบรวมภาพถ่ายขาว-ดําลงสีด้วยมือกว่า 70 ภาพ ของ
ชัยพงษ์ กิตตินราดร ช่างภาพอาชีพผู้ผสานศาสตร์และศิลป์
เข้าด้วยกันอย่างลงตัว ก่อเกิดเป็นงานศิลปะที่เชื้อเชิญให้
ผู้ชมมองด้วย ‘หัวใจ’ ดังชื่อของหนังสือ
ในบรรดาหนังสือธุรกิจทั้งหลาย มีน้อยเล่มที่จะสร้างแรง
บันดาลใจสําหรับคนทํางานที่กําลังสงสัยว่า “ชีวิตมีเท่านี้เอง
หรือ?” ได้ดีเท่ากับเรื่องราวของนักธุรกิจที่ตัดสินใจทิ้งอาชีพ
การงานไว้ เ บื้ อ งหลั ง เพื่ อ อุ ทิ ศ ชี วิ ต ที่ เ หลื อ ให้ กั บ การช่ ว ย
ผู้ด้อยโอกาสในสังคม
หนังสือแนวนี้ที่ประทับใจผู้เขียนที่สุดคือ Leaving
Microsoft to Change the World โดย จอห์น วูด (John
Wood) นั ก การตลาดผู้ ทิ้ ง ตํ า แหน่ ง ผู้ จั ด การฝ่ า ยพั ฒ นา
ธุ ร กิ จ ในไมโครซอฟท์ ใ นวั ย เพี ย ง 35 ปี เพื่ อ ไปก่ อ ตั้ ง
องค์ ก รพั ฒ นาเอกชนชื่ อ Room to Read (http://
www.roomtoread.org/) จั ด ส่ ง หนั ง สื อ เด็ ก และสร้ า ง
โรงเรียนให้กับเด็กยากจนในประเทศกําลังพัฒนา เว็บไซต์
วิชา 50 เล่มเกวียน :: 136
Room to Read ระบุว่า ตั้งแต่ก่อตั้งในปี 2000 องค์กรนี้ได้
มีส่วนช่วยเหลือเด็กไปแล้วกว่า 1.7 ล้านคนทั่วโลก ด้วย
การสร้างโรงเรียน 442 แห่งและห้องสมุด 5,160 แห่ง จัด
พิมพ์หนังสือเด็ก 226 เล่มในภาษาท้องถิ่น รวบรวมและ
จั ด สรรหนั ง สื อ เด็ ก ภาษาอั ง กฤษที่ ไ ด้ รั บ บริ จ าคกว่ า 2.2
ล้านเล่ม มอบทุนการศึกษาให้กับเด็กผู้หญิงยากจนจํานวน
4,036 ทุน (ผู้หญิงในประเทศยากจนมักถูกกีดกันไม่ให้เข้า
ถึงการศึกษา ทั้งๆ ที่ระดับการศึกษาของมารดา เป็นดัชนีที่
ใช้พยากรณ์อัตราการเข้าถึงการศึกษาของลูกๆ ได้ดีที่สุด
เพราะแม่ที่มีการศึกษาก็ย่อมอยากให้ลูกได้รับการศึกษา
ด้ ว ย) ตลอดจนก่ อ ตั้ ง ห้ อ งแล็ บ สอนภาษาและห้ อ งแล็ บ
คอมพิวเตอร์จํานวน 155 แห่ง ปัจจุบัน Room to Read ทํา
งานในประเทศเนปาล เวียดนาม กัมพูชา อินเดีย ศรีลังกา
ลาว และแอฟริกาใต้
เป้าหมายระยะยาวของ Room to Read คือ สร้าง
โรงเรียนและห้องสมุดรวม 20,000 แห่งทั่วโลก เพื่อช่วยให้
เด็กจํานวน 10 ล้านคนในประเทศกําลังพัฒนาได้รับการ
ศึกษา
เมื่อคํานึงว่า Room to Read เป็นองค์กรพัฒนา
เอกชนที่ประสบความสําเร็จอย่างสูง ได้รับรางวัลและเงิน
บริ จ าคมากมายในแต่ ล ะปี ถ้ า วู ด เพี ย งแต่ จ ะถ่ า ยทอด
ประสบการณ์ของเขาในการก่อตั้งองค์กร ก็เพียงพอแล้วที่
จะทําให้ Leaving Microsoft to Change the World เป็น
สฤณี อาชวานันทกุล :: 137
หนังสือที่นักธุรกิจ นักพัฒนาเอกชน และคนทั่วไปจะสนใจ
อ่าน แต่ผู้เขียนคิดว่าสิ่งที่ทําให้หนังสือเล่มนี้ ‘ยอดเยี่ยม’
และเป็นประโยชน์กว่านั้นมาก คือความที่วูดไม่ได้เขียนเล่า
เฉพาะตอนที่เขาหรือองค์กรประสบความสําเร็จเป็นขั้นๆ
หากรวมถึงตอนที่เผชิญกับอุปสรรคและปัญหาต่างๆ ด้วย
เช่ น ตอนที่ เ ขาบอกเลิ ก กั บ แฟนที่ ค บหาดู ใ จกั น มานาน
ตอนที่ ต้ อ งปรั บ วิ ถี ก ารดํ า รงชี วิ ต เสี ย ใหม่ ใ ห้ เ ข้ า กั บ การ
เปลี่ยนสถานภาพจาก ‘ผู้บริหาร’ มาเป็น ‘เอ็นจีโอ’ ปัญหา
ในการหว่านล้อมผู้มีจิตศรัทธาให้เชื่อมั่นในตัวเขา (Room
to Read เป็นองค์กรการกุศล อยู่ได้ด้วยเงินบริจาคล้วนๆ)
และหลายต่อหลายตอนที่เขาพบกับคนฐานะดีที่เชิญเขาไป
พูดในงานหาเงิน แต่ไม่มีความตั้งใจจะช่วยเขาจริงๆ เพียง
แต่ต้องการอวดให้ใครต่อใครเห็นว่า เห็นไหม ฉันก็มีจิต
สํานึกสาธารณะเหมือนกันนะ!
วูดถ่ายทอดประสบการณ์และความรู้สึกของเขา
เมื่อเผชิญหน้ากับปัญหาและอุปสรรคต่างๆ ในชีวิตหนึ่ง
ทศวรรษแรกหลังออกจากไมโครซอฟต์อย่างตรงไปตรงมา
จริงใจ และไร้การคุยโวโอ้อวด หนังสือเล่มนี้แสดงให้เห็น
อย่ า งชั ด เจนว่ า การบริ ห ารจั ด การเอ็ น จี โ อให้ อ ยู่ ไ ด้ แ ละ
ขยายกิ จ การได้ นั้ น ไม่ ใ ช่ เ รื่ อ งง่ า ย หากต้ อ งอาศั ย ความ
สามารถในการหว่ า นล้ อ มผู้ ค น ทั ก ษะในการคิ ด โมเดล
องค์กรที่ ‘วัดผล’ ได้จริง และขนาดของหัวใจที่ใหญ่กว่า
นักธุรกิจทั่วไป เป็นโชคดีของโลกและเด็กๆ ในประเทศ
วิชา 50 เล่มเกวียน :: 138
ยากจน ที่วูดมีคุณสมบัติทั้งหมดนี้พร้อมมูล
สิ่งที่ทําให้ Leaving Microsoft to Change the
World เข้าข่าย ‘หนังสือธุรกิจ’ ได้อย่างไม่ขัดเขิน คือการที่
วูดแจกแจงอย่างชัดเจนว่า เขาใช้ความรู้และทักษะที่ได้รับ
จากการทํางานในไมโครซอฟต์กว่า 8 ปี มาพัฒนา Room
to Read อย่างไรบ้าง วูดยกย่อง สตีฟ บาลล์เมอร์ (Steve
Ballmer) ซีอีโอของบริษัท ว่าเป็นเจ้านายที่ ‘โหด’ มาก แต่
มอบบทเรี ย นอั น มี ค่ า ต่ อ เขามากมาย วู ด บอกว่ า ความ
หมกมุ่ น ของบาลล์ เ มอร์ ใ น ‘ผลลั พ ธ์ ’ (results, results,
results) ทําให้เขารู้ดีว่า ความสําเร็จของ Room to Read
จะต้ อ งมาจากผลลั พ ธ์ ที่ วั ด ได้ ซึ่ ง ในแง่ นี้ คื อ จํ า นวนเด็ ก
ยากจนที่ได้รับการศึกษา
Room to Read ประสบความสํ า เร็ จ ในการหา
สปอนเซอร์อย่างต่อเนื่องเพราะวูดพัฒนาโมเดลการดําเนิน
งานที่เข้าใจง่ายและเห็นภาพ คนที่บริจาคหนังสือเด็กให้กับ
องค์กรนี้ทุกคนจะได้รับทราบว่าหนังสือของพวกเขาได้ไป
ถึงมือเด็กๆ ที่ไหน และคนที่บริจาคเงินก็จะรู้อย่างแน่นอน
ว่า เงินจํานวน X จะช่วยสร้างโรงเรียนในประเทศ Y ได้
หนึ่ ง หลั ง ทํ า ให้ เ ด็ ก Z คนได้ รั บ การศึ ก ษา วู ด ให้ ค วาม
สํ า คั ญ ต่ อ การรายงานผลการดํ า เนิ น งานเป็ น ระยะๆ ต่ อ
ผู้สนับสนุน Room to Read ไม่ต่างจากที่เขาเคยทําสมัย
เป็นผู้บริหารบริษัท
Randy Pausch
ในบรรดาหนังสืออัตชีวประวัติทั้งหมด (ซึ่งตามนิยามหมาย
ถึงเรื่องราวที่เจ้าของชีวิตเป็นผู้ถ่ายทอดเอง แต่สมัยนี้ก็เห็น
คนอื่นเขียนให้แบบไม่ออกนามกันเกร่อ) ผู้เขียนคิดว่าอาจ
แบ่งได้เป็นสองประเภทใหญ่ๆ คือ 1) เรื่องราวที่คนอ่าน
ทั่วไปทําตามไม่ได้ และ 2) เรื่องราวที่คนอ่านทําตามได้
หรืออย่างน้อยก็สร้างแรงบันดาลใจให้พยายามเจริญรอย
ตาม
เหตุ ผ ลประการหนึ่ ง ที่ ค นทั่ ว ไปทํ า ตามเจ้ า ของ
อัตชีวประวัติประเภทแรกไม่ได้ คือความที่มันมักจะเป็น
อัตชีวประวัติของ ‘คนดัง’ หรือ ‘คนสําคัญ’ ผู้เป็นที่รู้จัก
อย่ า งแพร่ ห ลายและประสบความสํ า เร็ จ อย่ า งสู ง ในชี วิ ต
ดังนั้น ถึงแม้ว่าจะมีประโยชน์ในแง่ที่ถ่ายทอดประสบการณ์
วิชา 50 เล่มเกวียน :: 142
อันล้ำ�ค่าที่น้อยคนนักจะพานพบ อัตชีวประวัติประเภทนี้ก็
ทําได้อย่างมากเพียงสร้างแรงบันดาลใจและให้แง่คิดต่อคน
อ่านที่เป็นคนธรรมดาๆ ผู้มีพรแสวงมากกว่าพรสวรรค์ และ
ไม่ได้เกิดมาเป็นลูกเศรษฐีพันล้านที่อาจจะใช้เงินซื้อความ
เด่นดังได้อย่างมักง่าย
อัตชีวประวัติประเภทที่สอง ประเภทที่คนทั่วไปทํา
ตามได้ มักจะเขียนโดยคนที่มีภูมิหลังไม่ต่างจากคนอ่าน
ทั่วไปมากนัก เป็นคนธรรมดาที่ไม่ได้ประสบความสําเร็จ
อะไรใหญ่โตในชีวิต หากเป็นคนที่ใช้ชีวิตธรรมดาอย่างมีสติ
อย่างมีศักดิ์ศรี และด้วยความรักในงานที่ทํา ซึ่งทั้งหมดนี้
ทําให้ชีวิตที่อาจดูธรรมดาไม่น่าสนใจ แท้จริงแล้วเป็นชีวิตที่
เปี่ยมคุณค่าและความหมายสําหรับเจ้าของ
อัตชีวประวัติประเภทที่สองอาจมีประโยชน์กับคน
อ่านมากกว่าประเภทแรก เพราะถ้าผู้เขียนมีความสุขกับ
การใช้ชีวิต หนังสือของเขาก็อาจจะช่วยให้คนอ่านมองเห็น
ความสู ง ส่ ง ในสิ่ ง สามั ญ และเรี ย นรู้ ที่ จ ะรวมความฝั น กั บ
ความจริงเข้าเป็นสิ่งเดียวกันให้ได้ ไม่ว่าจะด้วยการลดทอน
ปรับแต่งความฝันให้เข้ากับโลกแห่งความจริง หรือด้วยการ
แสวงหาทางเลือกในโลกจริงที่สอดคล้องกับความฝันมาก
กว่าทางที่กําลังเดินอยู่
ในบรรดาอัตชีวประวัติประเภทที่สอง หนังสือเรื่อง
The Last Lecture โดย แรนดี เพาช์ (Randy Pausch)
อาจารย์ วิ ช าคอมพิ ว เตอร์ ป ระจํ า มหาวิ ท ยาลั ย คาร์ เ นกี
สฤณี อาชวานันทกุล :: 143
เมลลอน เป็นอัตชีวประวัติอันยอดเยี่ยมเล่มหนึ่งที่ทุกคน
ควรเสาะหามาตั้งไว้ใกล้มือ หรือซื้อแจกเพื่อนๆ ที่กําลัง
ท้อแท้หมดหวังในชีวิต
หนังสือเล่มนี้ ซึ่งเพาช์เขียนร่วมกับผู้สื่อข่าว Wall
Street Journal ชื่อ เจฟฟรีย์ ซาสโลว์ (Jeffrey Zaslow)
เป็นการถอดเทปและขยายความเล็คเชอร์ยาว 76 นาทีใน
หัวข้อ “Really Achieving Your Childhood Dreams” (ทํา
ความฝั น วั ย เด็ ก ของคุ ณ ให้ เ ป็ น จริ ง จริ ง ๆ) ที่ เ พาช์ ไ ป
บรรยายที่คาร์เนกี เมลลอน วันที่ 18 กันยายน 2007 (ดู
วิดีโอเล็คเชอร์และอ่านเรื่องราวเกี่ยวกับวาระสุดท้ายของ
เพาช์ ไ ด้ จ ากเว็ บ ไซต์ ข องเขา - http://download.srv.
cs.cmu.edu/~pausch/)
เพาช์ในวัยเพียง 47 ปี ป่วยเป็นมะเร็งตับอ่อนขั้น
สุดท้าย เขาเล็คเชอร์เพื่อลูกๆ สามคนที่จะเติบโตขึ้นโดย
ไม่มีพ่อ แต่เนื้อหาในเล็คเชอร์รวมทั้งทัศนคติเชิงบวกของ
เพาช์ที่ไม่เคยสมเพชตัวเอง หากมองโรคร้ายอย่างเปี่ยม
อารมณ์ขันและถึงพร้อมด้วยมรณานุสติ (ก่อนจะเล็คเชอร์
เพาช์วิดพื้นหลายครั้งบนเวทีเพื่อโชว์คนดูว่าเขา ‘รู้สึกดี’
ขนาดไหน) ได้สร้างแรงบันดาลใจให้คนนับล้านที่คลิกเข้า
ไปดู วิ ดี โ อในยู ทู บ ได้ รั บ ความนิ ย มจนเอามาต่ อ ยอดทํ า
หนังสือ
เนื้อหาส่วนใหญ่ในเล็คเชอร์ของเพาช์และหนังสือ
เล่มนี้เล่าเรื่องเกี่ยวกับความฝันในวัยเด็กของเขา และวิธีที่
วิชา 50 เล่มเกวียน :: 144
เขาพยายามบรรลุความฝันเหล่านั้นตอนโต บางคนอาจจะ
มองว่าเพาช์โชคดีมากๆ ที่ความฝันของเขาหลายข้อกลาย
เป็นความจริง ตั้งแต่ประสบการณ์ลอยตัวในภาวะไร้น้ำ�หนัก
ในเครื่องฝึกสอนนักบินอวกาศของนาซ่า การได้เป็นส่วน
หนึ่ ง ของที ม ‘Imagineer’ ของดิ ส นี ย์ และการได้ เ ขี ย น
บทความลง World Book Encyclopedia (เพาช์เขียนเรื่อง
Virtual Reality ในฐานะหนึ่งในผู้บุกเบิกสาขานี้) แต่ The
Last Lecture แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า โชคไม่ได้ช่วยให้
เพาช์บรรลุความฝันวัยเด็กของเขา เท่ากับความมุ่งมั่นไม่
ยอมแพ้ ความรักในความรู้ ความจริงใจ และการยึดมั่นใน
คุณธรรมเรียบง่ายที่หลายคนลืมไปนานแล้ว โดยเฉพาะ
ความซื่อสัตย์ และความโอบอ้อมอารีต่อเพื่อนมนุษย์
ถึ ง แม้ ว่ า เนื้ อ หาในเล็ ค เชอร์ แ ละหนั ง สื อ เล่ ม นี้ จ ะ
ไม่มีอะไร “ใหม่” ทัศนคติเชิงบวกอันน่าทึ่งของเพาช์และ
ความจริงใจของเขาในการถ่ายทอดแง่คิดและประสบการณ์
ทํ า ให้ The Last Lecture เป็ น มากกว่ า อั ต ชี ว ประวั ติ
ธรรมดา ตอนหนึ่งในเลกเชอร์และหนังสือที่ผู้เขียนชอบมาก
คือตอนที่เพาช์บอกว่า ให้มองกําแพงที่กั้นขวางระหว่างเรา
กับความฝันว่าเป็น ‘โอกาส’ ที่จะแสดงให้ทุกคนเห็นว่าเรา
ต้องการทําความฝันให้เป็นจริงเพียงใด เขาบอกว่า “เหตุผล
ที่มีกําแพง ก็เพื่อจะแยกแยะคุณออกจากคนอื่นๆ ที่ไม่ได้
อยากบรรลุความฝันนั้นเท่ากับคุณ” เพาช์บอกด้วยความ
ถ่อมตัวด้วยว่า หลังจากที่เขาทําความฝันให้เป็นความจริง
สฤณี อาชวานันทกุล :: 145
ได้แล้ว เขาก็อยากจะช่วยทําให้ความฝันของคนอื่นๆ เป็น
จริงได้ด้วย ผู้เขียนคิดว่านั่นเป็นเหตุผลหนึ่งที่เขาเลือกเป็น
อาจารย์ และแน่นอนว่าเป็นเหตุผลหนึ่งที่เขาเป็นหนึ่งใน
อาจารย์ที่นักเรียนรักที่สุดในมหาวิทยาลัย
นอกจากจะให้แง่คิดดีๆ เกี่ยวกับการมองโลก การ
บริหารจัดการเวลา และการล่าฝันแล้ว The Last Lecture
ยั ง เป็ น หนั ง สื อ ที่ พ่ อ แม่ ผู้ ป กครองควรอ่ า นอย่ า งยิ่ ง โดย
เฉพาะพ่อแม่ที่จดจําความคาดหวังที่ตัวเองตั้งไว้กับลูกได้
แม่นยํากว่าความฝันของลูกเอง ตอนหนึ่งในหนังสือ เพาช์
บอกว่าต้องขอบคุณพ่อแม่ของเขาที่ยอมให้ระบายสีผนัง
ในห้ อ งนอนของตั ว เอง (เขาวาดจรวด ลิ ฟ ท์ สมการ
คณิตศาสตร์ และกล่องแพนโดรา ฉายแววเนิร์ดตั้งแต่เด็ก)
เพาช์บอกคนดูอย่างกระตือรือร้นว่า “ใครก็ตามที่นี่ที่เป็นพ่อ
แม่นะครับ ถ้าลูกของคุณอยากระบายผนังห้องนอน ให้เขา
ทําเถอะครับ ถือว่าทําให้ผม มันไม่เป็นไรหรอก อย่าห่วง
เรื่องราคาบ้านตอนเอาไปขายเลย”
The Last Lecture มีข้อความที่กินใจหลายตอน
แต่ ต อนที่ ป ระทั บ ใจผู้ เ ขี ย นที่ สุ ด คื อ ตอนที่ เ พาช์ บ อกว่ า
“ประสบการณ์คือสิ่งที่คุณได้เมื่อคุณไม่ได้สิ่งที่คุณอยากได้”
และตอนที่เขาอธิบายความหมายที่แท้จริงของ The Last
Lecture – “ประเด็นไม่ได้อยู่ที่การบรรลุความฝันของคุณ
หากอยู่ที่การใช้ชีวิต ถ้าคุณใช้ชีวิตอย่างถูกต้อง กรรมจะทํา
งานของมัน และความฝันก็จะมาหาคุณเอง”
วิชา 50 เล่มเกวียน :: 146
ฉบับภาษาไทย: เดอะ ลาสต์เลกเชอร์ สำ�นวนแปล วนิษา เรซ, สำ�นักพิมพ์
อมรินทร์, 2551
William McDonough
& Michael Braungart
ถึงเวลาแล้วที่อารยธรรมของเราจะคิดใหม่เกี่ยวกับ
วิ ธี ที่ เ ราใช้ ชี วิ ต ทํ า งาน เดิ น ทาง ออกแบบ สร้ า ง และ
บริโภค ความคิดที่ว่าเรากําลังทําสิ่งที่เราทําได้ด้วยการขับ
รถไฮบริดและรีไซเคิลกระดาษ ขวด และกระป๋องก็พอแล้ว
นั้ น เป็ น มายาคติ ที่ อั น ตราย เป็ น เวลานานหลายปี แ ล้ ว
ที่ นั ก สิ่ ง แวดล้ อ มพยายามบอกเราให้ ทํ า งานมากขึ้ น
ด้ ว ยทรั พ ยากรน้ อ ยลง เรื่ อ งนั้ น ไม่ เ พี ย งพอ เราจะต้ อ ง
เปลี่ยนแปลงวิธีที่เราออกแบบสินค้า อุตสาหกรรม และ
ผังเมืองต่างๆ อย่างหน้ามือเป็นหลังมือ วิธีรีไซเคิลของเรา
ในปัจจุบันนั้นไร้ประสิทธิภาพ และรังแต่จะสนับสนุนโมเดล
การผลิตแบบ ‘จากครรภ์สู่หลุมศพ’ (cradle-to-grave) ที่เรา
ใช้ต่อเนื่องมาหลายร้อยปีแล้ว
หนังสือเล่มนี้เต็มไปด้วยไอเดียที่มีประโยชน์และ
สร้างแรงบันดาลใจมากมาย ไอเดียที่สนับสนุนความหลาก-
หลายและใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ หลักการใหญ่ๆ
ห้าข้อได้แก่ 1) การทุ่มเทพลังงานให้กับกระบวนทัศน์ใหม่ๆ
2) การตั้งเป้าที่ ‘การเติบโตที่ดี’ แทนที่ ‘การเติบโตทาง
เศรษฐกิจ’ 3) การใช้นวัตกรรมและพยายามทําให้สมบูรณ์
แบบอย่างต่อเนื่อง 4) ความเข้าใจที่จําเป็นต่อการเรียนรู้
และ 5) การปลู ก ฝั ง ความรั บ ผิ ด ชอบข้ า มรุ่ น (inter
generational) ผู้เขียนทั้งสองบอกว่า “เราจะต้องถามตัวเอง
ว่า เราจะสนับสนุนและธํารงไว้ซึ่งสิทธิของสิ่งมีชีวิตทั้งมวล
ในการมีส่วนแบ่งในโลกแห่งความอุดมสมบูรณ์ได้อย่างไร?
สฤณี อาชวานันทกุล :: 151
เราจะรักลูกหลานของสัตว์ทุกเผ่าพันธ์ุ ไม่เพียงแต่เผ่าพันธ์ุ
ของเราเท่านั้น ไปชั่วนิรันดร์ได้อย่างไรบ้าง?”
ในยุคโลกาภิวัตน์ที่โลกดูจะหมุนเร็วกว่าเคย โดยเฉพาะภาค
ธุ ร กิ จ ที่ มี เ ทรนด์ ใ หม่ ๆ เกิ ด ขึ้ น อย่ า งรวดเร็ ว จนทํ า ให้ เ รา
แยกแยะไม่ค่อยออกระหว่างเทรนด์ที่เป็น ‘นวัตกรรม’ หรือ
‘ปรากฏการณ์’ ที่ใหม่จริงๆ กับเทรนด์ที่ไม่มีอะไรมากกว่า
ชุดคําศัพท์เท่ๆ หรือ ‘buzzwords’ ที่อธิบายแฟชั่นวูบวาบ
ผ่านมาแล้วก็ผ่านไปเมื่อซีอีโอหมดความสนใจ
โชคดีที่ในบรรดาเทรนด์ต่างๆ มีเทรนด์หนึ่งซึ่งยัง
เป็นเพียง ‘กระแสรอง’ ในปัจจุบัน แต่หลายฝ่ายกําลังลุ้นให้
เป็น ‘กระแสหลัก’ ในอนาคต โดยเฉพาะในภาวะที่กลไก
ภาครัฐในแทบทุกประเทศใช้การไม่ค่อยได้ กระแสดังกล่าว
คือธุรกิจที่มีเป้าหมายทางสังคมเป็นเป้าหมายหลักในการ
ดํ า เนิ น ธุ ร กิ จ ไม่ ไ ด้ แ สวงหากํ า ไรสู ง สุ ด เหมื อ นกั บ ธุ ร กิ จ
ทัวิช่วา ไป
50 เล่มเกวียน :: 154
‘ธุรกิจเพื่อสังคม’ (social enterprise หรือ social
business) ดังกล่าว นับเป็น ‘องค์กรพันธ์ุใหม่’ ที่อยู่ระหว่าง
องค์ ก รที่ มี เ ป้ า หมายทางสั ง คม 100 เปอร์ เ ซ็ น ต์ เช่ น
เอ็นจีโอ องค์กรการกุศล ฯลฯ ขั้วหนึ่ง และบริษัทปกติที่มุ่ง
ทํากําไรสูงสุด 100 เปอร์เซ็นต์อีกขั้วหนึ่ง และในบรรดา
ธุรกิจเพื่อสังคมทั้งหมดทั่วโลก มีน้อยรายที่จะมีชื่อเสียง
โด่ ง ดั ง เท่ า กั บ ธนาคารกรามี น (Grameen Bank) –
‘ธนาคารเพื่อคนจน’ แห่งแรกของโลกที่ปล่อยกู้ให้กับคนจน
โดยไม่มีหลักประกัน
ในบริบทของตลาด โซรอสพยายามพิสูจน์ให้เห็น
ว่ า แนวคิ ด เรื่ อ งดุ ล ยภาพเป็ น แนวคิ ด แบบวิ ท ยาศาสตร์
ธรรมชาติที่ใช้กับเศรษฐศาสตร์ไม่ได้ เขาใช้ความพยายาม
อย่างมากในการอธิบายแนวคิดเรื่อง ‘ปฏิกิริยาสะท้อนกลับ’
(reflexivity) ซึ่งหมายความว่า เมื่อปัจเจกชนทําธุรกรรมใน
ตลาด มุมมองของพวกเขาส่งผลต่อสภาพความเป็นจริง
และสร้างจุด ‘อดุลยภาพ’ (disequilibrium) แทนที่จะเป็น
ดุ ล ยภาพ และอดุ ล ยภาพนี้ ก็ ก่ อ ให้ เ กิ ด ความไม่ แ น่ น อน
โซรอสบอกว่า ปฏิกิริยาสะท้อนกลับทําให้ตลาดการเงินมี
ผลลัพธ์ที่กระจายตัว (distribution) แบบ ‘หางอ้วน’ (thick
tail) แทนที่จะเป็นรูประฆังคว่ำ� (normal distribution) ดังที่
สมมุติฐานทางสถิติบอกเรา
โซรอสยกตัวอย่างหลักฐานมากมายตั้งแต่อดีตจวบ
จนปัจจุบันที่ทําให้แนวคิดของเขามีน้ำ�หนักและน่าคิดอย่าง
ยิ่ง เช่น เขายกตัวอย่างทศวรรษ 1980 เมื่อรัฐบาลอเมริกัน
และอังกฤษภายใต้เรแกนและแธทเชอร์ตามลําดับ ผ่อนปรน
กฎเกณฑ์การดูแลธนาคาร ปล่อยให้เป็นเรื่องของ ‘กลไก
ตลาด’ โซรอสชี้ให้เห็นว่า การขยายตัวของสินเชื่อไปสู่ภาวะ
วิชา 50 เล่มเกวียน :: 162
ฟองสบู่ นั้ น ถู ก ส่ ง เสริ ม ด้ ว ยความเชื่ อ ผิ ด ๆ ว่ า ตลาดจะ
‘แก้ไขตัวเอง’ (self-correct) ซึ่งความเชื่อผิดๆ นี้ก็ยิ่งทําให้
เจ้าหนี้ย่ามใจเร่งปล่อยกู้ เพิ่มแนวโน้มที่จะเกิดภาวะฟอง
สบู่ ยิ่ ง กว่ า เดิ ม นอกจากปั ญ หานี้ แ ล้ ว โซรอสยั ง อธิ บ าย
ปัญหา ‘จริยวิบัติ’ หรือ moral hazard ที่เกิดขึ้นในภาคการ
เงินอย่างชัดเจน เพราะสถาบันการเงินเป็นตัวการสร้าง
ความเสี่ ย งทางการเงิ น ไม่ ใ ช่ ฝ่ า ยที่ จ ะรั บ ความเสี่ ย ง
(เนื่องจากสามารถ ‘ส่งต่อ’ ความเสี่ยงนั้นไปให้คนที่ไม่มี
ความรู้เรื่องสินเชื่อดีเท่ากับเจ้าหนี้ เช่น นักลงทุน เพราะ
สามารถแปลงสิ น เชื่ อ ซั บ ไพรม์์ เ ป็ น หลั ก ทรั พ ย์ ไ ปขายใน
ตลาดทุนได้)
โซรอสบอกว่า วิกฤตซับไพรม์์เป็นกรณีตัวอย่าง
ชั้นดีที่สนับสนุนไอเดียที่ว่า ถึงเวลาแล้วที่ทุกคน โดยเฉพาะ
รัฐบาลใหญ่ๆ จะ ‘เปลี่ยนกระบวนทัศน์’ (paradigm shift)
ออกจากลัทธิ market fundamentalism ที่ล้มเหลวและ
อธิบายโลกไม่ได้ ไปสู่กระบวนทัศน์ใหม่ที่มองว่าตลาดแก้
ปัญหาด้วยตัวเองไม่ได้ทั้งหมด และดังนั้นรัฐจึงต้องกํากับ
ดู แ ลภาคการเงิ น มากกว่ า เดิ ม โซรอสมองว่ า ข้ อ ตกลง
ระหว่างประเทศในเรื่องนี้ เช่น มาตรฐาน Basel III เป็นสิ่ง
ที่เหมาะสม เขาเสนอให้รัฐกํากับดูแลทุกมิติของตลาดการ
เงิน ตั้งแต่หลักทรัพย์ ตราสารอนุพันธ์ จนถึงตลาดค้าเงิน
นอกจาก The New Paradigm for Financial
Markets จะอธิบายและสรุปความล้มเหลวของมุมมองแบบ
สฤณี อาชวานันทกุล :: 163
market fundamentalism เป็นอย่างดี หนังสือเล่มนี้ยังรวม
มุมมองของโซรอสเกี่ยวกับผลพวงที่เขาคาดว่าจะเกิดขึ้น
จากวิกฤตซับไพรม์ พ่อมดการเงินผู้นี้บอกว่า เขาไม่คิดว่า
รัฐบาลอเมริกันเข้าใจความจําเป็นของการเปลี่ยนกระบวน-
ทัศน์ และดังนั้นจึงไม่ยอมรับว่าต้องแสดงความรับผิดชอบ
ใดๆ ทั้ ง สิ้ น ต่ อ วิ ก ฤตในครั้ ง นี้ ยั ง ใช้ มุ ม มองแบบ “รอให้
สถานการณ์คลี่คลายไปเอง” ต่อไป (ไม่นับการใช้เงินภาษี
ประชาชนไป ‘อุ้ม’ เจ้าหนี้ซับไพรม์ที่มีปัญหา)
James Gleick
คนยุคนี้อาจรู้จักนิวตันในฐานะบิดาแห่งแรงโน้ม-
ถ่ ว งที่ ค้ น พบมั น หลั ง จากที่ แ อปเปิ ล ตกใส่ หั ว กลี ก เล่ า ใน
หนั ง สื อ เล่ ม นี้ อ ย่ า งสนุ ก สนานว่ า ตํ า นานนี้ มี ข้ อ บกพร่ อ ง
หลายประการ โดยเฉพาะประเด็นที่ว่าเหตุการณ์นี้ไม่น่าจะ
เกิดขึ้นจริง กลีกบอกเราว่า “นิวตันไม่ต้องใช้แอปเปิลเตือน
ความจํ า ของเขาว่ า สิ่ ง ของต่ า งๆ ตกลงสู่ พื้ น ดิ น ” เพราะ
กาลิเลโอเพิ่งแสดงข้อเท็จจริงนี้ให้เห็นก่อนหน้านั้นไม่นาน
กลีกย้ำ�ว่า ปัญหาที่ใหญ่กว่านั้นของตํานานนี้คือ มัน ‘ยุบ’
การศึ ก ษาการเคลื่ อ นไหวของสิ่ ง ต่ า งๆ ที่ นิ ว ตั น ใช้ เ วลา
ศึกษาตลอดชั่วชีวิตของเขา ลงในชั่วขณะ “ฉันคิดออกแล้ว!”
เพียงเสี้ยววินาทีที่ตํานานบอกว่า อยู่ดีๆ เขาก็เปลี่ยนวิธี
มองโลกอย่างไม่มีปี่ไม่มีขลุ่ย
ถ้าตํานานนี้ฟังดูไม่น่าเชื่อถือและไม่บอกอะไรเรา
เลยเกี่ยวกับวิธีคิดและวิธีทํางานที่แท้จริงของนิวตัน คุณก็
อาจยกโทษให้คนโบราณที่แต่งตํานานหลอกเราได้เมื่ออ่าน
หนังสือเล่มนี้จบลง เพราะกลีกอธิบายให้เข้าใจอย่างแจ่มชัด
ว่าไอแซค นิวตันไม่เพียงแต่เป็นอัจฉริยะบันลือโลกเท่านั้น
แต่เขายังเป็นคนแปลกที่ชอบเก็บตัวเงียบอยู่กับบ้าน เห็น
แก่ตัวและไร้ความสามารถในการเข้าสังคมพอๆ กับที่เขา
วิชา 50 เล่มเกวียน :: 168
ฉลาดปราดเปรื่อง กลีกอธิบายกฎทางฟิสิกส์ที่นิวตันค้นพบ
ได้ อ ย่ า งเข้ า ใจง่ า ยและน่ า ติ ด ตาม สมกั บ ที่ เ ป็ น นั ก เขี ย น
สารคดีวิทยาศาสตร์มือหนึ่ง (อย่างน้อยก็ในความเห็นของผู้
เขียน) และยังอธิบายสภาพสังคมในสมัยนั้นให้เราเห็นภาพ
อย่างน่าทึ่งว่า ช่วงเวลาที่นิวตันมีชีวิตอยู่นั้น (1643-1727)
เป็นช่วงเวลาแห่งการปฏิวัติครั้งยิ่งใหญ่ของวงการวิทยา-
ศาสตร์ จากวงการที่ตั้งอยู่บนการกล่าวอ้างแบบโคมลอย
ไปสู่วงการที่เรียกร้องหลักฐานและการตรวจทานจากเพื่อน
นักวิทยาศาสตร์ด้วยกันเพื่อยืนยันว่าทฤษฎีใช้การได้จริง
หรือไม่
กลี ก บอกว่ า นิ ว ตั น อาจเป็ น นั ก วิ ท ยาศาสตร์ ส มั ย
ใหม่คนแรกในแง่ที่เ ขาเข้มงวดเคร่งครัดกับกระบวนการ
ค้นหาและยืนยันความจริง และวิเคราะห์อะไรต่างๆ อย่าง
ละเอียดและเป็นระบบ แต่ในขณะเดียวกัน กลีกก็ชี้ให้เห็น
ความขัดแย้งในตัวเอง เพราะนอกจากเขาจะเป็นนักวิทยา-
ศาสตร์แล้วนิวตันยังเป็นนักเล่นแร่แปรธาตุตัวยงผู้อ้างว่า
มองเห็นวิญญาณในสสารต่างๆ ที่ไร้ชีวิต เชื่อว่าสารเคมี
หายใจและตายได้ นอกจากนี้ นิ ว ตั น ยั ง เป็ น ชาวคริ ส ต์
ผู้เคร่งครัด เขาตั้งใจอย่างแน่วแน่ว่าจะทําให้ศาสนามีความ
เที่ ย งตรงระดั บ เดี ย วกั บ ที่ เ ขาทํ า ให้ วิ ท ยาศาสตร์ มี ค วาม
เที่ยงตรง เช่น ด้วยการตั้งคําถามว่าความเชื่อในพระบิดา
พระบุตร และพระจิตนั้นอธิบายได้ด้วยตรรกะทางวิทยา-
ศาสตร์หรือไม่
สฤณี อาชวานันทกุล :: 169
ต้ อ งชื่ น ชมความพยายามของกลี ก ที่ ส ามารถ
ถ่ายทอดความหมกมุ่นและ ‘การครุ่นคิดคนเดียวอย่างเดียว
ดาย’ ทั้งมวลของนิวตันออกมาเป็นหนังสือเล่มกะทัดรัดที่ผู้
เขียนอ่านรวดเดียวจบ หนังสือเล่มเล็กๆ เพียงเล่มเดียว
อาจไม่ทําให้คนอ่านเข้าใจว่าแรงผลักดันของนิวตันคืออะไร
และเขาค้นพบกฎอันยิ่งใหญ่ในธรรมชาติด้วยวิธีใดกันแน่
แต่อย่างน้อยผู้เขียนเชื่อว่า Isaac Newton ก็เป็นจุดเริ่มต้น
ที่ยอดเยี่ยมสําหรับใครก็ตามที่อยากทําความรู้จักกับ ‘คน’
ที่อยู่เบื้องหลังกฎวิทยาศาสตร์อมตะที่นักเรียนทุกคนต้อง
เรียน
ไม่ว่าท่านจะเป็นนักวิทยาศาสตร์อาชีพ หรือคน
ทั่วไปที่เอาสมการฟิสิกส์คืนครูไปหมดแล้ว (เหลือแต่เรื่อง
แอปเปิลหล่นตกค้างอยู่ในหัว) ผู้เขียนเชื่อว่าท่านจะได้รับ
ทั้งสาระ ความบันเทิง และความเข้าใจใน ‘ความเป็นมนุษย์’
ของนักวิทยาศาสตร์จาก Isaac Newton หนังสือสารคดี
วิทยาศาสตร์ยอดเยี่ยมที่เขียนดีกว่านิยายหลายเรื่อง.
หมายเหตุ: หนังสือแนวคล้ายกันอีกเล่มที่ผู้เขียนอยากแนะนําคือเรื่อง
Einstein’s Dreams โดยนักฟิสิกส์-นักเขียนนาม อลัน ไลท์แมน (Alan
Lightman) ซึ่ ง ได้ รั บ การแปลเป็ น ภาษาไทยแล้ ว ในชื่ อ “ความฝั น ของ
ไอน์สไตน์” สํานวนแปลของ ศิริพงษ์ วิทยวิโรจน์ สํานักพิมพ์มติชนจัด
พิมพ์ นอกจากนี้ หนังสือเล่มอื่นๆ ของกลีกก็สนุกไม่แพ้กัน โดยเฉพาะ
Chaos และ Genius ที่กล่าวถึงไปแล้ว และ Faster: The Acceleration of
Just About Everything หนังสือที่ออกหลัง Isaac Newton
วิชา 50 เล่มเกวียน :: 170
สฤณี อาชวานันทกุล :: 171
032
The Gridlock Economy
Michael Heller
ปัจจุบันคงไม่มีใครปฏิเสธได้ว่า ความสับสนอลหม่านของ
“โลกแบน” ยุคโลกาภิวัตน์ได้ขับเน้นปัญหาทุกอย่างให้ทวี
ความรุนแรงและคาดการณ์ได้ยากกว่าทุกยุคที่ผ่านมา โดย
เฉพาะในโลกการเงินของอเมริกาซึ่งหมุนเร็วกว่าโลกจริง
หลายเท่า เต็มไปด้วยนักการเงินเห็นแก่ตัว มักง่าย และ
สายตาสั้น ผู้ฉวยโอกาสจากการปล่อยปละละเลยของภาค-
รัฐ หลอกลวงลูกหนี้ที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์และกอบโกยกําไร
มหาศาลอย่ า งไม่ รั บ ผิ ด ชอบ จนนํ า ไปสู่ วิ ก ฤตการเงิ น ปี
2008 ที่เลวร้ายที่สุดในรอบเจ็ดสิบปีที่ผ่านมา
ผู้เขียนคิดว่าวิกฤตการเงินครั้งล่าสุดนี้น่าจะกระตุ้น
ให้ทุกคนหันกลับมาคิดกันใหม่ให้รอบคอบว่า ‘ตลาดเสรี’ ที่
ดู แ ลตั ว เองได้ โ ดยไม่ ต้ อ งให้ รั ฐ แทรกแซง ปรั บ ตั ว เข้ า สู่
วิชา 50 เล่มเกวียน :: 172
ดุลยภาพได้อย่างรวดเร็ว และจัดสรรทรัพยากรได้อย่างมี
ประสิทธิภาพสูงสุดนั้น เคยมีอยู่จริงหรือแม้แต่เป็นไปได้จริง
หรือไม่ หรือว่าไอเดียนี้เป็นเพียงมายาคติที่ถูกใช้เป็นข้อ
อ้างโดยนักเสรีนิยมใหม่เพื่อสร้างความชอบธรรมที่จะดํารง
ภาวะไม่เป็นธรรมในตลาด ภาวะที่เอกชนได้ประโยชน์ไป
เต็มๆ เวลามีกําไร แต่ภาครัฐ (และประชาชนผู้เสียภาษี)
ต้องเป็นผู้รับภาระเวลาขาดทุน
เมื่อคํานึงว่าตอนนี้เราได้เห็นผลดีและผลเสียของ
ทั้งสอง ‘ขั้ว’ แล้ว นั่นคือ การปล่อยปละละเลยให้ตลาดเสรี
ดูแลตัวเอง กับการควบคุมอย่างเคร่งครัดเกินไป (over-
regulation) ดั ง ที่ เ คยเกิ ด ขึ้ น หลายครั้ ง ในประวั ติ ศ าสตร์
ทุนนิยม ตอนนี้เราก็น่าจะหา ‘ทางสายกลาง’ ที่ไม่ตึงเกินไป
หรือหย่อนเกินไปได้ง่ายกว่าเดิม
ในบรรดาหนั ง สื อ ที่ จ ะช่ ว ยให้ เ ราหา “ทางสาย
กลาง” ในระบอบทุนนิยมเจอ ผู้เขียนคิดว่าหนังสือชั้นยอด
เรื่อง The Gridlock Economy โดยอดีตนักเศรษฐศาสตร์
ประจําธนาคารโลก ไมเคิล เฮลเลอร์ (Michael Heller) เป็น
หนึ่งในหนังสือน้อยเล่มที่จะเปิดหูเปิดตาให้เราได้มองเห็น
ลักษณะใหม่ๆ ของเศรษฐกิจสมัยใหม่ที่ทฤษฎีกระแสหลัก
ยั ง ตามไม่ ทั น และผู้ เ ขี ย นเชื่ อ ว่ า แนวคิ ด และข้ อ เสนอใน
หนังสือเล่มนี้จะส่งอิทธิพลต่อการดําเนินนโยบายเศรษฐกิจ
ไปอีกอย่างน้อยหนึ่งชั่วอายุคนเลยทีเดียว
Paul Roberts
นับวันเราก็ยิ่งมีพยานหลักฐานมากขึ้นเรื่อยๆ ที่บ่งชี้ว่าโลก
ได้เคลื่อนเข้าสู่ยุคที่ธรรมชาติอาจจะไม่สามารถรองรับความ
ต้ อ งการของมนุ ษ ย์ ไ ด้ อี ก ต่ อ ไป โดยเฉพาะเมื่ อ คํ า นึ ง ถึ ง
การเติ บ โตทางเศรษฐกิ จ ของประเทศ ‘มหาอํ า นาจใหม่ ’
ประชากรหลายร้อยล้านคนอย่างจีน อินเดีย และบราซิล
ข้อมูลหลักฐานเหล่านี้บ่งบอกว่า อารยธรรมมนุษย์
อาจถึ ง กาลล่ ม สลายในเวลาอี ก ไม่ ถึ ง หนึ่ ง ชั่ ว อายุ ค นหาก
มนุษย์ไม่ปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์และวิธีทําธุรกิจเสียใหม่
จากหน้ามือเป็นหลังมือ ในวงการที่ตั้งอยู่บน ‘ขีดจํากัดทาง
ทรัพยากรธรรมชาติ’ ที่ไม่มีทางข้ามพ้นได้ เช่น พลังงาน
และอาหาร และขีดจํากัดเหล่านี้ก็กําลังปรากฏชัดเจนขึ้น
เรื่อยๆ
วิชา 50 เล่มเกวียน :: 178
พอล โรเบิร์ต (Paul Roberts) นักเขียนผู้โด่งดัง
จากหนังสือเรื่อง The End of Oil ตีพิมพ์ในปี 2005 ซึ่ง
อธิบายจุดจบของยุคน้ำ�มันราคาถูก เขียนอธิบายจุดจบของ
อาหารที่เราคุ้นเคยในหนังสือที่น่าตกใจยิ่งกว่าชื่อ The End
of Food
โรเบิ ร์ ต นํ า ผลการศึ ก ษาวิ จั ย มากมายจากหลาก
หลายสาขาวิ ช ามาร้ อ ยเรี ย งเป็ น เรื่ อ งราวที่ อ่ า นสนุ ก แต่
น่าตระหนกตกใจเกี่ยวกับความล้มเหลวของระบบอาหาร
ในปัจจุบัน ประเด็นหลักที่โรเบิร์ตพิสูจน์ให้เห็นในหนังสือ
เล่มนี้คือ ระบบการผลิต การตลาด และขนส่งอาหารที่เรา
รับประทานในปัจจุบันกําลังเดินผิดจังหวะขึ้นเรื่อยๆ กับ
ผู้บริโภคหลายพันล้านคนบนโลกที่มันรับใช้
ถึงแม้ว่ามันจะชื่อ The End of Food หนังสือเล่มนี้
ก็ ไ ม่ ไ ด้ บ อกว่ า มนุ ษ ย์ จ ะถึ ง วั น ที่ ไ ม่ มี อ าหารรั บ ประทาน
และก็ไม่ได้เน้นที่ประเด็นว่าอาหารจะกลายเป็น ‘ของเทียม’
ที่ไร้รสชาติ จืดชืด และไร้คุณค่าทางโภชนาการ ถึงแม้ว่ามัน
ก็เป็นประเด็นหนึ่งในหนังสือเช่นเดียวกัน แต่ขอบเขตของ
โรเบิ ร์ ต กว้ า งกว่ า นั้ น มาก เขาวาดภาพให้ เ ราเห็ น อย่ า ง
ชัดเจนถึง ‘ข่าวร้าย’ ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับอาหาร ตั้งแต่
ไวรัสในไก่ แบคทีเรียในผักโขม อุตสาหกรรมอาหารที่นํา
ระบบสายพานมาใช้อย่างผิดที่ผิดทางและผิดกาลเทศะขึ้น
เรื่อยๆ ตลอดจนปัญหาต่างๆ นานาที่กําลังกดดันให้มนุษย์
เปลี่ยนวิธีการผลิตอาหารอย่างเร่งด่วน ตั้งแต่ปัญหาโลก
สฤณี อาชวานันทกุล :: 179
ร้อน ภัยแล้งที่รุนแรงกว่าเดิม ราคาปุ๋ยที่พุ่งสูงขึ้นมาก ไป
จนถึงราคาน้ำ�มันที่ปรับตัวสูงขึ้นเรื่อยๆ โรเบิร์ตตั้งคําถาม
ว่า ถ้าน้ำ�มันราคา 200 เหรียญต่อบาร์เรล จะส่งผลกระทบ
ต่ออุตสาหกรรมเกษตรอย่างไรบ้าง? เขาสรุปว่าอุตสาห-
กรรมการผลิตอาหารและน้ำ�มันปัจจุบันเชื่อมโยงกันอย่าง
แนบแน่นเสียจนถ้าน้ำ�มันพุ่งเลยจุดสูงสุดของอุปทานในโลก
ไปแล้ว (peak oil) ซึ่งแปลว่าหลังจากนั้นอุปทานจะมีแต่ลด
ลงและราคาพุ่งสูงขึ้น อาจส่งผลให้ประชากรโลกลดลงหลาย
พันล้านคนในเวลาเพียงสองทศวรรษเท่านั้น โรเบิร์ตบอกว่า
ภาวะความอดอยากกว้างขวางที่กําลังคร่าชีวิตคนหลาย
ล้านคนในแอฟริกานั้น มิได้เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ในทวีป
อื่นๆ แต่อย่างใด
ในภาวะที่สังคมการเมืองไทยยังข้ามไม่พ้นภาวะ ‘แบ่งฝ่าย’
อย่างรุนแรงระหว่างสองขั้วตรงข้ามที่เดินออกห่างจากกัน
เรื่อยๆ ด้วยตัณหา ทิฐิ และมานะที่ฝังรากลึกจนคนที่ ‘เลือก
ข้าง’ ไปแล้วไม่แยแสที่จะค้นหาข้อเท็จจริงในประเด็นต่างๆ
อย่างครบถ้วนรอบด้าน หรือกระทั่งจะคํานึงถึงหลักการ
อะไรที่ไม่สอดคล้องกับ ‘ธง’ ที่ตัวเองตั้ง
ปรากฏการณ์ ‘ตุลาการภิวัตน์’ ในไทย ที่เราอาจให้
คํ า จํ า กั ด ความสั้ น ๆ ว่ า ภาวะที่ ส ถาบั น ยุ ติ ธ รรมกํ า ลั ง
พิจารณาคดีที่เกี่ยวข้องกับนักการเมืองแบบ ‘เชิงรุก’ และ
แข็งขันกว่าที่แล้วมา กําลังถูกฝ่ายหนึ่งมองว่า ‘ดี’ อย่างไม่มี
ข้อแม้ เพราะช่วย ‘เอาคนเลวเข้าคุก’ ในขณะที่ฝ่ายตรงข้าม
ก็เพ่งเล็งว่ากระบวนการนี้มี ‘เลว’ มากกว่า ‘ดี’ อย่างน้อยก็
วิชา 50 เล่มเกวียน :: 184
ในคําตัดสินบางคดีที่สะท้อนว่าสถาบันตุลาการอาจกําลัง
ก้ า วล่ ว งขอบเขตอํ า นาจของตั ว เองไปแทรกแซงฝ่ า ย
นิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร และทําเช่นนั้นตาม ‘ธง’ ทางการ
เมืองของตัวเองหรือของคนอื่นอยู่หรือไม่
ในสถานการณ์ เ ช่ น นี้ ผู้ เ ขี ย นคิ ด ว่ า หนั ง สื อ เรื่ อ ง
The Nine โดย เจฟฟรี ย์ ทู บิ น (Jeffrey Toobin)
นักวิเคราะห์กฎหมายอาวุโสประจําซีเอ็นเอ็นและอดีตผู้ช่วย
อัยการ ซึ่งได้รับการกล่าวขานว่าถ่ายทอดทั้งแนวคิดและ
วิธีทํางานของผู้พิพากษาศาลฎีกาเก้าคนของอเมริกาได้ดี
ที่สุดเท่าที่เคยมีมา น่าจะเป็นประสบการณ์อ่านอันมีค่าที่
จะทํ า ให้ ค นธรรมดาอย่ า งเราๆ ท่ า นๆ ที่ อ ยู่ น อกแวดวง
กฎหมาย ได้ เ ข้ า ใจมากขึ้ น ว่ า ทั้ ง ตั ว บทกฎหมายและ
สถาบันตุลาการเองนั้น เป็นสถาบันที่มีทั้งความหลากหลาย
ทางความคิดและพลวัตตามยุคสมัยอย่างไรบ้าง (ถึงแม้ว่า
จะเปลี่ยนแปลงอย่างเชื่องช้าเมื่อเทียบกับภาคธุรกิจเสียจน
เราอาจเข้าใจผิดว่าหยุดนิ่งอยู่กับที่)
The Nine อธิบายมุมมองเกี่ยวกับกฎหมายและวิธี
พิจารณาคดีของผู้พิพากษาศาลฎีกาแต่ละคนอย่างชัดเจน
อ่ า นง่ า ย และทํ า ให้ เ ราเข้ า ใจว่ า พรรคการเมื อ งใหญ่ ส อง
พรรคในอเมริกามีมุมมองต่อกฎหมายแตกต่างกันอย่างไร
และสองพรรคที่ว่านั้นคือรีพับลิกัน (ซึ่งชูธงอนุรักษ์นิยมทาง
สังคม (conservative) เช่น มองว่าการทําแท้งและรักร่วม
เพศเป็นบาป บวกกับแนวคิดเสรีนิยมใหม่ทางเศรษฐกิจ คือ
สฤณี อาชวานันทกุล :: 185
เชื่อว่ารัฐไม่ควรแทรกแซงตลาด) กับเดโมแครต (ซึ่งชูธง
เสรีนิยมทางสังคม (liberal) และเชื่อว่ารัฐควรแทรกแซง
ตลาด) โดย ‘เนื้อแท้’ แล้วแตกต่างกันตรงไหน ประเด็น
อะไรบ้างที่ถือเป็นเรื่อง ‘คอขาดบาดตาย’ ยอมไม่ได้ของทั้ง
สองฝั่ง ทูบินชี้ให้เห็นว่ามุมมองที่แตกต่างกันนั้นบ่อยครั้ง
เป็นเรื่องยากที่จะตีตราอย่างเหมารวมว่า ‘ถูก’ หรือ ‘ผิด’
ยกตัวอย่างเช่น ทูบินอธิบายความขัดแย้งที่เกิดจากการ
‘มองต่ า งมุ ม ’ ระหว่ า งผู้ พิ พ ากษาที่ เ ชื่ อ ว่ า ศาลฎี ก าควร
ตั ด สิ น ตามเจตจํ า นงดั้ ง เดิ ม ของรั ฐ บุ รุ ษ ผู้ ร่ า งรั ฐ ธรรมนู ญ
อเมริกันเป็นหลัก (ค่ายนี้มีชื่อเรียกเฉพาะในวงการตุลาการ
ว่า ‘originalist’ ไม่ใช่ conservative ซึ่งหมายถึงอุดมการณ์
อนุ รั ก ษ์ นิ ย มทางการเมื อ งทั่ ว ไป) กั บ ผู้ พิ พ ากษาค่ า ย
เสรีนิยม (liberal) ที่มองว่าศาลฎีกาควรตัดสินโดยใช้คํา
ตัดสินของศาลฎีกาในคดีก่อนๆ ที่คล้ายคลึงกันเป็นหลัก
(หลักการนี้มีชื่อเป็นภาษาละตินว่า stare decisis ซึ่งแปล
ว่า ‘let the decision stands’)
การ ‘มองต่างมุม’ ในแง่นี้หมายความว่า ผู้พิพาก-
ษาค่าย originalist มักจะต้องการ ‘กลับ’ คําตัดสินต่างๆ
ที่ พ วกเขามองว่ า ตี ค วามรั ฐ ธรรมนู ญ ผิ ด พลาดไปจาก
เจตจํานงดั้งเดิมของผู้ร่าง ซึ่งนั่นก็หมายความว่าผู้พิพาก-
ษาค่ายนี้ไม่เห็นด้วยกับการใช้อํานาจศาลตีความประเด็น
ต่างๆ ที่ไม่เคย ‘เป็นประเด็น’ ในสังคมสมัยที่อเมริกาเริ่มมี
รัฐธรรมนูญเมื่อสองศตวรรษที่แล้ว อาทิเช่น การทําแท้ง
วิชา 50 เล่มเกวียน :: 186
หรื อ การกํ า หนดโควตาผู้ ด้ อ ยโอกาสในการรั บ สมั ค รนั ก
ศึกษาหรือคนทํางาน (affirmative action) ในทางกลับกัน
ผู้พิพากษาค่าย liberal ยึดมั่นในหลัก stare decisis มาก
กว่าเจตจํานงของผู้ร่างรัฐธรรมนูญ เนื่องจากมองว่าศาล
ฎีกาเป็นสถาบันที่ต้องปรับตัวตามสภาพสังคม เศรษฐกิจ
และการเมื อ งที่ เ ปลี่ ย นไปตามกาลเวลา ซึ่ ง ก็ แ ปลว่ า การ
ตีความรัฐธรรมนูญจึงย่อมจะต้องยืดหยุ่นและตอบสนอง
‘กระแสสังคม’ ที่เปลี่ยนไปด้วย ดังนั้นถึงที่สุดแล้ว มุมมอง
ต่อกฎหมายและวิธีพิจารณาคดีของผู้พิพากษาทั้งสองค่าย
นี้จึงสะท้อนอุดมการณ์ทางการเมืองหลักของพรรครีพับลิ-
กันและเดโมแครตได้อย่างน่าทึ่ง
แต่ถึงกระนั้นก็ตาม ประเด็นที่ทูบินแสดงให้เห็น
อย่างชัดเจนและสนุกสนานที่สุดใน The Nine คือ ‘ความ
เป็นมนุษย์’ ของผู้พิพากษาศาลฎีกาแต่ละคน ซึ่งภายใต้เสื้อ
ครุยขรึมขลังบนบัลลังก์ก็ล้วนแต่เป็นผู้มีรัก โลภ โกรธ หลง
อุปนิสัยและรสนิยมส่วนตัว ตลอดจนมุมมองซึ่งอาจจะไม่
สอดคล้องกับอุดมการณ์ของพรรคการเมืองที่เสนอชื่อเขา
หรือเธอเข้ามาก็ได้ ความเป็นตัวของตัวเองของผู้พิพากษา
ดั ง กล่ า วเป็ น เหตุ ผ ลหนึ่ ง ที่ อ ธิ บ ายว่ า เหตุ ใ ดศาลสู ง สุ ด
ในแผ่นดินที่เต็มไปด้วยผู้พิพากษาที่ได้รับการแต่งตั้งจาก
พรรครีพับลิกันเกือบสองทศวรรษเต็ม จึงได้ทําให้นักการ-
เมื อ งพรรคนี้ แ ละผู้ ส นั บ สนุ น แนวคิ ด อนุ รั ก ษ์ นิ ย มผิ ด หวั ง
ตลอดมา The Nine ทําให้คนทั่วไปได้รับรู้ว่า ผู้พิพากษา
สฤณี อาชวานันทกุล :: 187
ศาลสู ง บางคนได้ รั บ อิ ท ธิ พ ลจากแนวคิ ด บางอย่ า งที่ ไ ม่
สามารถจัดว่าเป็น ‘ขวา’ หรือ ‘ซ้าย’ ได้ เช่น วิลเลียม
เรนควิสท์ (William Rehnquist) อดีตประธานศาลฎีกาให้
ความสนใจกั บ การบริ ห ารจั ด การศาลมากกว่ า คนอื่ น
แอนโธนี เคนเนดี (Anthony Kennedy) ให้ความสําคัญ
อย่างยิ่งกับการเดินทางท่องโลก เปิดรับกระแสสังคมในต่าง
แดนและศึกษากฎหมายต่างประเทศ (ซึ่งเป็นปัจจัยสําคัญที่
อธิบายว่าเหตุใดหลายครั้ง เคนเนดีจึงโหวตในทางที่ตรงกัน
ข้ามกับความประสงค์ของพรรครีพับลิกันซึ่งแต่งตั้งเขาเข้า
มา แถมยังชอบอ้างกฎหมายต่างประเทศในการเขียนความ
เห็น ซึ่งย่อมทําให้ค่าย originalist ไม่พอใจอย่างยิ่ง) ทูบิน
อธิบายด้วยว่า แซนดรา โอคอนเนอร์ (Sandra O’Connor)
ซึ่งเป็นผู้พิพากษาที่ ‘กลาง’ ที่สุดในทั้งเก้าคน ตัดสินในทาง
‘อะลุ้มอล่วย’ ที่สะท้อนกระแสสังคมได้ตรงจนน่าทึ่งอย่างไร
บ้าง
ไม่ว่าท่านจะสนใจกฎหมายอย่างผิวเผินเพียงใด
สไตล์ ก ารเล่ า เรื่ อ งที่ เ ต็ ม ไปด้ ว ยเหตุ ก ารณ์ ตื่ น เต้ น ไม่ แ พ้
นิยายชั้นดี (โดยเฉพาะบทที่บรรยายการทํางานของศาล
ฎีกาในคดี Bush v. Gore ซึ่งทําให้จอร์จ บุชได้รับเลือกตั้ง
เป็นประธานาธิบดีในปี 2000) และตัวละครที่มีเอกลักษณ์
เป็ น ตั ว ของตั ว เอง มี ทั้ ง ความเป็ น เทวดาและความเป็ น
มนุษย์ในคราวเดียว ทําให้ The Nine เป็นหนึ่งในหนังสือ
สารคดีที่ดีที่สุดเท่าที่ผู้เขียนเคยอ่านมา ซึ่งนอกจากจะมอบ
วิชา 50 เล่มเกวียน :: 188
ทั้งสาระและความบันเทิง ยังสอนให้รู้ว่า บางที ‘ความศักดิ์
สิทธิ์’ ของสถาบันที่เรายกย่องว่า ‘สูงส่ง’ อย่างตุลาการนั้น
อาจไม่ ไ ด้ ขึ้ น อยู่ กั บ การรั ก ษากฎหมายอายุ ส องร้ อ ยปี
เท่ากับความพยายามอันละเอียดอ่อนของตุลาการทั้งหลาย
ในการดํารงไว้ซึ่งหลักการพื้นฐาน และในขณะเดียวกันก็ไม่
ปฏิ เ สธการเปลี่ ย นแปลงต่ า งๆ ทางสั ง คม ที่ ทํา ให้ คํ า ว่ า
‘ความยุติธรรม’ เปลี่ยนไปตามยุคสมัยด้วย (เราไม่ควรลืม
ว่ า หลายสิ่ ง หลายอย่ า งที่ ต อนนี้ ถู ก สั ง คมตี ต ราว่ า ‘เลว’
อย่างการค้าทาสหรือมาตรการกีดกันทางผิวนั้น ครั้งหนึ่งก็
เคยเป็นเรื่องถูกกฎหมาย)
ถึงแม้จะอธิบายเหตุการณ์ในอเมริกา The Nine ก็
นําเสนอแง่คิดที่น่าคิดไม่น้อยต่อคนไทยว่า ‘ตุลาการภิวัตน์’
อาจไม่ใช่กระบวนการที่ผิดธรรมชาติแต่อย่างใด หากเป็น
กระบวนการที่เกิดขึ้นเป็นปกติในการทํางานของสถาบัน
ตุลาการ ประเด็นจึงอยู่ที่ว่า กระบวนการดังกล่าว ‘น่าเชื่อ
ถือ’ มากน้อยเพียงใด ก่อให้เกิดต้นทุนที่มองไม่เห็นที่สังคม
อาจจะต้องจ่ายในระยะยาวหรือไม่.
หลังจากที่นักวิทยาศาสตร์เห็นพ้องต้องกันแล้วว่าปัญหา
โลกร้อนเป็นปัญหาระดับโลกที่เราทุกคนควรตระหนักและ
ใส่ ใ จ และรางวั ล โนเบลที่ อั ล กอร์ ได้ รั บ ร่ ว มกั บ คณะ
กรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิ-
อากาศ (IPCC) ในปี 2007 ได้ตอกย้ำ�ความเร่งด่วนของ
ปัญหา นักเขียนสารคดีหลายคนก็พยายามคิดวิธีการใหม่ๆ
ในการนําเสนอประเด็นนี้แบบสร้างสรรค์ เพื่อกระตุ้นให้คน
มองเห็นปัญหาและผลกระทบมากกว่าถ้าจะอธิบายข้อมูล
แบบตรงไปตรงมา
ผู้ เ ขี ย นเคยแนะนํ า หนั ง สื อ เรื่ อ ง The World
Without Us ของ อลัน ไวซ์แมน ไปแล้ว ถึงคราวที่ผู้เขียน
จะแนะนําหนังสือที่อธิบายภาพอนาคตแบบ “จะเกิดอะไร
วิชา 50 เล่มเกวียน :: 190
ขึ้น ถ้า...?” ได้อย่างสนุกสนานไม่แพ้กัน คือ Six Degrees
โดย มาร์ค ไลนัส (Mark Lynas)
Six Degrees อ่านง่ายและน่าติดตามแต่เคร่งขรึม
กว่า The World Without Us เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของ
อุณหภูมิโลกหกองศา (ซึ่งเป็นระดับที่ IPCC พยากรณ์ว่า
จะเกิดภายในสิ้นศตวรรษนี้ถ้ามนุษย์ยังทําให้โลกร้อนขึ้นใน
อัตราเดียวกันกับปัจจุบัน) มีโอกาสเกิดมากกว่าโลกที่ไม่มี
มนุษย์อาศัยอยู่แล้วในจินตภาพของหนังสือเล่มหลัง และดัง
นั้น Six Degrees จึงน่าจะกระตุ้นให้เราสนใจและเข้าใจผล
กระทบจากภาวะโลกร้อนได้ดีกว่า
ไลนั ส กลั่ น กรองและสั ง เคราะห์ ง านวิ จั ย ทาง
วิทยาศาสตร์หลายพันชิ้นเพื่อนํามาประกอบเป็น ‘ภาพ’ ให้
เราเห็นอย่างชัดเจน ไล่ตามอุณหภูมิที่สูงขึ้น ตั้งแต่หนึ่ง
องศาเซลเซียสในบทที่หนึ่ง ไปจนถึงหกองศาในบทที่หก
Six Degrees อธิบายเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่ายและแยกแยะ
ประเด็นต่างๆ ที่คนมักจะสับสนออกจากกันอย่างชัดเจน
เช่น ถึงแม้ว่าคนหัวแข็งที่ไม่เชื่อว่าโลกร้อนขึ้นจะได้รับการ
พิสูจน์ว่าคิดถูก เราก็ยังต้องเป็นห่วงเรื่องการปล่อยก๊าซ
คาร์บอนไดออกไซด์ระดับมโหฬารของมนุษย์ (ซึ่งเป็นข้อ
เท็จจริงที่ไร้ข้อโต้แย้ง) อยู่ดี เพราะมันทําให้ทะเลเป็นกรด
และทะเลที่ เ ป็ น กรดในอี ก ไม่ กี่ สิ บ ปี ก็ จ ะทํ า ให้ แ พลงตอน
สัตว์ที่อยู่ล่างสุดของห่วงโซ่อาหารในทะเล ต้องสูญพันธ์ุไป
จากทะเล และอาจจะทําให้ปะการังที่เหลืออยู่ล้มตายไปด้วย
สฤณี อาชวานันทกุล :: 191
ทําให้สัตว์น้ำ�ล้มตายไปเป็นทอดๆ ตามห่วงโซ่อาหารจาก
ล่างขึ้นบน จนสุดท้าย ทะเลทั่วโลกอาจกลายเป็น ‘ทะเล
ทรายใต้น้ำ�’ – ทั้งหมดนี้จะเกิดขึ้นถ้าอุณหภูมิเฉลี่ยของโลก
สูงขึ้นเพียงสององศาเซลเซียสเท่านั้น ไม่นับว่าธารน้ำ�แข็ง
ในกรีนแลนด์และเปรูจะละลายจนหมด พันธ์ุสัตว์จํานวน
หนึ่งในสามทั่วโลกอาจสูญพันธ์ุเนื่องจากสภาพที่อยู่อาศัย
เปลี่ยนแปลงจากภาวะโลกร้อนจนอยู่ไม่ได้ และระดับน้ำ�
ทะเลทั่วโลกจะสูงขึ้นถึงเจ็ดเมตร
สององศาว่ า แย่ แ ล้ ว แต่ ส ามองศาอาจเป็ น ‘จุ ด
ระเบิด’ ที่ทําให้ปัญหาโลกร้อนทวีความรุนแรงจนมนุษย์ไม่
สามารถควบคุมได้อีกต่อไป ภัยแล้งและความร้อนระอุจะทํา
ให้พื้นที่หลายแห่งในโลกอาศัยอยู่ไม่ได้อีกต่อไป โดยเฉพาะ
ในแอฟริกา กดดันให้คนนับสิบนับร้อยล้านอพยพออกนอก
ประเทศ ป่ า แอมะซอนจะถู ก ไฟป่ า ประลั ย กั ล ป์ เ ผาจน
วายวอด และระบบนิ เ วศของป่ า ไม้ ใ นเขตร้ อ นทั่ ว โลกก็
เผชิญกับอันตรายเดียวกัน หลังจากที่ต้นไม้ไม่มีเหลือ ทะเล
ทรายบนดิ น ก็ จ ะเกิ ด ขึ้ น แทนที่ ความร้ อ นจากไฟป่ า และ
ทะเลทรายจะเพิ่มอุณหภูมิโลกอีก 1.5 องศาเซลเซียสโดยที่
เรายับยั้งมันไม่ได้เลย พายุเฮอริเคนจะทวีความรุนแรงขึ้น
อีก และอากาศจะผันผวนอย่างสุดขั้วจนกระทบต่อการเพาะ
ปลูกทั่วโลก ทําให้ปัญหาอาหารขาดแคลนรุนแรงกว่าเดิม
ถ้าโลกร้อนขึ้นอีกหนึ่งองศาเป็นสี่องศา หลายประเทศจะจม
อยู่ใต้น้ำ� สวิสเซอร์แลนด์จะร้อนเท่ากับอิรัก
วิชา 50 เล่มเกวียน :: 192
เมื่อโลกร้อนขึ้นอีกหนึ่งองศาเป็นห้าองศา เราก็ไม่
สามารถพยากรณ์ว่าโลกจะเป็นอย่างไรด้วยโมเดลปัจจุบัน
ได้อีกต่อไป ต้องย้อนกลับไปในอดีตถึงห้าสิบล้านปีก่อน
(ยุคอีโอซีน) เพื่อหาสถานการณ์ที่พอจะเทียบเคียงได้กับ
ภาวะดังกล่าว ไลนัสอธิบายว่าโลก ณ จุดนั้นจะสุ่มเสี่ยงต่อ
ภาวะ ‘ก๊าซเรือนกระจกแบบอีโอซีน’ ซึ่งเกิดจากการ ‘เรอ
ครั้งใหญ่’ ของทะเล ปล่อยมีเทนไฮเดรต สารคล้ายน้ำ�แข็งที่
เกิดจากการรวมตัวกันระหว่างมีเทนกับน้ำ� จากพื้นทะเลขึ้น
สู่ ชั้ น บรรยากาศโลก ทํ า ให้ อุ ณ หภู มิ ทั่ ว โลกสู ง ขึ้ น ทั น ที
(มีเทนเป็นก๊าซเรือนกระจกที่อันตรายกว่าคาร์บอนไดออก-
ไซด์) หลังจากที่ทะเลทั่วโลก ‘เรอ’ มีเทนไฮเดรตออกมา
แล้ว ความรุนแรงของการเรอนั้นก็อาจทําให้พื้นทะเลยุบ
ตัวลง ก่อพายุสึนามิขนาดมโหฬารพัดเข้าทําลายชายฝั่งอีก
หลายระลอก
การจะวาดภาพโลกที่ ร้ อ นขึ้ น ห้ า องศาต้ อ งย้ อ น
เวลากลั บ ไปห้ า สิ บ ล้ า นปี แต่ ก ารจะวาดภาพระดั บ หก
องศาไม่ใช่ต้องย้อนกลับหกสิบล้านปี แต่ 251 ล้านปีเลยที
เดี ย ว สมั ย ที่ โ ลกเกิ ด การสู ญ พั น ธ์ุ อ ย่ า งรุ น แรงที่ สุ ด ใน
ประวัติศาสตร์ คือกว่า 95 เปอร์เซ็นต์ของสัตว์ทุกชนิด นั่น
คือจุดที่ใกล้ที่สุดที่โลกวิ่งเฉียดการเป็นเพียงก้อนหินที่ไร้
ชี วิ ต นั ก วิ ท ยาศาสตร์ ยั ง ไม่ แ น่ ใ จว่ า เหตุ ค รั้ ง นั้ น เกิ ด ขึ้ น
อย่างไรแน่ แต่สิ่งที่ทุกคนเห็นพ้องต้องกันคือ ปรากฏการณ์
ปล่ อ ยก๊ า ซเรื อ นกระจกอย่ า งรุ น แรงเป็ น สาเหตุ สํ า คั ญ
สฤณี อาชวานันทกุล :: 193
ประการหนึ่ง การศึกษาหินโบราณจากยุคนั้นชี้ว่าอุณหภูมิ
โลกสูงขึ้นหกองศา อาจจะเป็นผลมาจากการ ‘เรอมีเทน’
ของทะเลที่ รุ น แรงกว่ า ในยุ ค อี โ อซี น นั ก วิ ท ยาศาสตร์
คํ า นวณว่ า การเรอมี เ ทนอย่ า งรุ น แรงอาจปลดปล่ อ ย
พลังงานที่สูงกว่าอาวุธนิวเคลียร์ของทั้งโลกถึง 10,000 เท่า
ไม่ว่าโลกจะร้อนขึ้นอีกกี่องศากันแน่ในอนาคต และ
ถึงแม้เราจะรู้ว่าอดีตไม่เคยเดินเป็นเส้นตรงเสมอไป เราก็
ควรจะเรียนรู้บทเรียนจากอดีตด้วยถ่อมตัว โดยเฉพาะใน
เมื่อการละเลยอาจนําไปสู่จุดจบของเผ่าพันธ์ุ ไม่ว่าคุณจะ
เคยสนใจเรื่องภาวะโลกร้อนหรือไม่ Six Degrees ก็เป็น
หนังสือชั้นเยี่ยมที่ทุกคนควรมีไว้เตือนสติตัวเองและคนรอบ
ข้างให้รักและรักษ์โลกกันมากขึ้น อ่านแล้วถ้ายังคิดว่าโลก
ร้อนเป็นเรื่องไกลตัว ขับรถไปทุกแห่งรวมทั้งปากซอยที่อยู่
ห่างจากบ้านไม่ถึง 200 เมตร และนอนตากแอร์ 18 องศา-
เซลเซียสต่อไปโดยไร้เสียงกวนใจจากมโนธรรม ก็ให้มันรู้
ไป.
ในบรรดาศาสตร์ทั้งหลายในโลก วิทยาศาสตร์เป็นแขนงที่
เราคุ้ น เคยกั บ ความคื บ หน้ า มากที่ สุ ด เพราะสื่ อ มั ก จะ
ประโคมข่าวการค้นพบหรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ แทบไม่เว้น
สัปดาห์ ข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีครองพื้นที่สื่ออย่าง
หนาแน่นต่อเนื่องยาวนานเสียจนเราอาจหลงลืมไปว่า งาน
วิจัยในศาสตร์อื่นๆ ก็มีความสําคัญและรุดหน้าไปไม่แพ้กัน
โดยเฉพาะสาขา ‘วิทยาศาสตร์สังคม’ อย่างเศรษฐศาสตร์
ประวั ติ ศ าสตร์ มานุ ษ ยวิ ท ยา และจิ ต วิ ท ยา ซึ่ ง ปั จ จุ บั น
ผู้เชี่ยวชาญกําลังทํางานร่วมกันและสอดคล้องกันอย่างใกล้
ชิดกว่าที่แล้วมาในอดีต ไขกุญแจสู่เบื้องหลังปรากฏการณ์ที่
หลายคนกล่าวว่าลึกลับซับซ้อนกว่าสิ่งอื่นใดในธรรมชาติ
นั่นคือ พฤติกรรมของมนุษย์
วิชา 50 เล่มเกวียน :: 196
อานิ ส งส์ ข องการค้ น พบใหม่ ๆ ในวิ ท ยาศาสตร์
สังคมกําลังไหลผ่านมาถึงมือเราในรูปหนังสือ ‘สารคดีแนว
ป๊ อ ป’ หลายเล่ ม ที่ อ ธิ บ ายเรื่ อ งยากด้ ว ยภาษาที่ อ่ า นง่ า ย
อ่านสนุก และอธิบายเรื่องใกล้ตัวที่ใกล้จนเราอาจคิดไม่ถึง
และในบรรดานั ก สั ง คมศาสตร์ ยุ ค ใหม่ ที่ ส ามารถเขี ย น
อธิบายตรรกะที่อยู่เบื้องหลังชีวิตประจําวันของเราได้ดีที่สุด
ชื่อของนักเศรษฐศาสตร์สองคน คือทิม ฮาร์ฟอร์ด และ
ริชาร์ด เธเลอร์ คงต้องติดอันดับต้นๆ อย่างไม่ต้องสงสัย
แต่พวกเขาไม่ได้มาจาก ‘สํานักคิด’ เดียวกันทีเดียว กล่าว
คือ ทิม ฮาร์ฟอร์ด (ซึ่งผู้เขียนเคยแนะนําหนังสือของเขา
เรื่อง The Undercover Economist ในคอลัมน์นี้ไปแล้ว
หนังสือตอนต่อคือ The Logic of Life ก็อ่านสนุกเหมือน
กั น ) เป็ น ‘นั ก เศรษฐศาสตร์ ก ระแสหลั ก ’ ในแง่ ที่ เ ขามุ่ ง
ค้นหาความมีเหตุมีผลในพฤติกรรมที่ดูจะไร้เหตุผลและคาด
เดาไม่ ไ ด้ (rational unpredictability) ขณะที่ ริ ช าร์ ด
เธเลอร์ นั ก เศรษฐศาสตร์ แ ขนงใหม่ คื อ เศรษฐศาสตร์
พฤติกรรม (behavioral economics) ซึ่งยังเป็น ‘กระแส
รอง’ ในแวดวงเศรษฐศาสตร์อยู่ กําลังทําในสิ่งตรงกันข้าม
นั่นคือ ศึกษาพฤติกรรมไร้เหตุผลที่คาดเดาได้ (predictable
irrationality) อย่างขะมักเขม้นไม่แพ้กัน
หนั ง สื อ เรื่ อ ง Nudge: Improving Decisions
About Health, Wealth, and Happiness ซึ่ ง ริ ช าร์ ด
เธเลอร์ (Richard Thaler) เขี ย นร่ ว มกั บ แคส ซั น สตี น
(Cass Sunstein) เป็นหนังสือยอดเยี่ยมที่ ‘ย่อย’ ผลการค้น
สฤณี อาชวานันทกุล :: 197
พบชิ้นสําคัญๆ ในสาขาเศรษฐศาสตร์พฤติกรรม ลงมาเป็น
หนังสือเล่มกะทัดรัดที่อ่านสนุก น่าสนใจ และมีความสําคัญ
เชิ ง นโยบายสู ง มาก ผู้ เ ขี ย นอธิ บ ายว่ า ชื่ อ ของหนั ง สื อ คื อ
‘Nudge’ (‘สะกิด’) นั้น หมายถึงอะไรก็ตามที่ส่งอิทธิพลต่อ
การตัดสินใจของมนุษย์ เช่น โรงอาหารในโรงเรียนอาจ
พยายามสะกิดให้เด็กนักเรียนเลือกรับประทานอาหารที่ตรง
ตามหลักโภชนาการ ด้วยการวางอาหารสุขภาพไว้หน้าสุด
ถ้าโรงเรียนทําเรื่องนี้ด้วยความเข้าใจในหลักเศรษฐศาสตร์
พฤติกรรม วิธีที่แยบยลทํานองนี้ก็ย่อมส่งผลดีกว่าการออก
กฎเกณฑ์มาบังคับให้เด็กทําตามอย่างเคร่งครัด
เทลเลอร์ แ ละซั น สตี น หยิ บ ยกกรณี ตั ว อย่ า ง
มากมายในโลกจริงที่ใช้หลักการสะกิดได้อย่างยอดเยี่ยมจน
ประสบความสํา เร็ จ เป็ น ที่ ย อมรั บ เช่ น โครงการ ‘Save
More Tomorrow’ (ออมมากขึ้นในวันพรุ่ง) ซึ่งได้รับความ
นิยมสูงมากจนปัจจุบันใช้ในบริษัทเอกชนหลายพันแห่งทั่ว
อเมริกา เป็นโครงการช่วยเหลือพนักงานที่มีปัญหาด้านการ
ออม โดยบริษัทจะเสนอขึ้นอัตราการออมให้กับพนักงาน
โดยอัตโนมัติทุกครั้งที่พวกเขาได้ขึ้นเงินเดือน หลายบริษัท
รายงานว่าพนักงานของพวกเขาออมเงินได้มากกว่าเดิมถึง
สามเท่าหลังจากที่เข้าร่วมโครงการนี้ ผู้เขียนทั้งสองอธิบาย
ว่า ความสําเร็จของโครงการ ‘สะกิด’ ทํานองนี้มาจากการ
ออกแบบ ‘สถาปัตยกรรมทางเลือก’ (choice architecture)
ที่ เ หมาะสม สอดคล้ อ งกั บ พฤติ ก รรมของคนจนสามารถ
สร้างแรงจูงใจให้พวกเขาทําในสิ่งที่เราต้องการ เธเลอร์และ
วิชา 50 เล่มเกวียน :: 198
ซันสตีนย้ำ�ว่าในเมื่อสภาพแวดล้อม (หรือ ‘บริบท’ ในการ
ตั ด สิ น ใจ) มี ค วามสํ า คั ญ ในการตั ด สิ น ใจของเราทุ ก คน
เพราะเราไม่ได้อาศัยอยู่ในสุญญากาศ ก็แปลว่าแทบทุกคน
และแทบทุกบริษัท เช่น แพทย์ นายจ้าง ธนาคาร บริษัท
บัตรเครดิต และผู้ปกครอง สามารถเป็น ‘สถาปนิกทาง
เลือก’ ผู้เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของคนได้ ถ้าสะกิดอย่าง
เหมาะสมและแยบยลเพียงพอ
เธเลอร์ แ ละซั น สตี น อธิ บ ายผลการค้ น พบจาก
เศรษฐศาสตร์ พ ฤติ ก รรมว่ า มี ปั จ จั ย หลั ก สามประการที่
อธิ บ ายว่ า ทํ า ไมคนเราจึ ง มั ก จะทํ า ตั ว ‘เอื่ อ ยเฉื่ อ ย’ และ
‘สายตาสั้ น ’ ไม่ ค่ อ ยคิ ด ถึ ง ผลกระทบระยะยาวต่ อ ตั ว เอง
กล่าวคือ
ปั จ จั ย แรก เราชอบยื้ อ หรื อ ผั ด ผ่ อ นการตั ด สิ น ใจ
ออกไปก่อน โดยเฉพาะเวลาที่เราต้องตัดสินใจในเรื่องยากๆ
นอกจากนี้ การมีทางเลือกมากมายให้ตัดสินใจก็อาจก่อให้
เกิดปัญหาข้อมูลล้นสมอง (information overload) ทําให้
เรารู้สึกปวดหัว เครียด และดังนั้นจึงเลือกทางออกที่ง่าย
ที่สุดเพื่อตัดรําคาญ ทั้งๆ ที่มันอาจไม่ใช่การตัดสินใจที่ดี
ที่สุดในระยะยาวก็ได้
ปัจจัยที่สอง โลกเราปัจจุบันนี้มีความยุ่งยากและ
สลับซับซ้อนกว่าสมัยก่อนมาก เช่น สินเชื่อบ้านปัจจุบันมี
หลายสิบรูปแบบที่มีเงื่อนไขแตกต่างกัน จนกระทั่งเธเลอร์
และซันสตีนบอกว่าศาสตราจารย์ด้านการเงินก็อาจจะคิดไม่
สฤณี อาชวานันทกุล :: 199
ถูกว่าแบบไหน ‘ดีที่สุด’ ในเมื่อผู้บริโภคมีต้นทุนสูงมากใน
การพยายามหาคําตอบว่าอะไร ‘ดีที่สุด’ ผู้ขายจึงสามารถ
หลอกล่อให้ผู้บริโภคซื้อสินค้าหรือบริการได้อย่างง่ายดาย
ปัจจัยสุดท้าย เดิมพันที่สูงมากในการตัดสินใจอาจ
ทําให้คนเครียดจนปฏิเสธที่จะตัดสินใจเรื่องนั้นๆ ไปเลย
หันไปทําอย่างอื่นที่มีเดิมพันและต้นทุนของความผิดพลาด
ค่อนข้างต่ำ�
เธเลอร์และซันสตีนอธิบายอย่างชัดเจนและอ่าน
สนุกว่า ในเมื่อมนุษย์มีพฤติกรรมแบบนี้ ถ้าเรา (หมายถึง
‘สถาปนิกทางเลือก’ ทั้งหลาย เช่น รัฐบาล บริษัท หรือพ่อ
แม่) ออกแบบสถาปัตยกรรมทางเลือกและรูปแบบ ‘การ
สะกิด’ อย่างรอบคอบ เราก็จะสามารถปรับปรุงการตัดสินใจ
ของคนได้อย่างมหาศาล โดยไม่ต้องบังคับขืนใจให้ใครทํา
อะไรเลย เช่น เราสามารถช่วยให้คนออมเงินมากกว่าเดิม
ลงทุนอย่างระมัดระวังกว่าเดิม ตัดสินใจดีกว่าเดิมเวลาเลือก
ชุ ด สิ น เชื่ อ ที่ อ ยู่ อ าศั ย ประหยั ด ค่ า ไฟฟ้ า และน้ำ � ประปา
บริโภคอย่างมีสุขภาพดีมากขึ้น บริจาคเพื่อช่วยเหลือสังคม
มากกว่าเดิม ปรับปรุงระบบการศึกษา และฟื้นฟูปรับปรุง
สิ่งแวดล้อมไปด้วยในเวลาเดียวกัน
ในยุ ค ที่ ค นเราโหยหาและหวงแหนสิ ท ธิ เ สรี ภ าพ
ส่วนบุคคลมากกว่าที่แล้วมาในอดีตและระแวงต่อทุกอย่างที่
ดู เ หมื อ นเป็ น การบั ง คั บ Nudge เป็ น หนั ง สื อ ชั้ น ยอดที่
ผู้ดําเนินนโยบาย นักธุรกิจ ผู้ปกครอง และทุกคนที่อยากรู้
วิชา 50 เล่มเกวียน :: 200
ว่าจะทําอะไรกับ ‘ความไร้เหตุผล’ ของมนุษย์ได้บ้างในทาง
ที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม ‘ต้องอ่าน’ ด้วยประการทั้งปวง.
ในชีวิตคนเราทุกคน คงมีมากกว่าหนึ่งครั้งที่จะอดคิดไม่ได้
ว่า เพื่อนหรือคนใกล้ตัวที่ประสบความสําเร็จอย่างสูงคนนั้น
ช่ า งโชคดี เ หลื อ เกิ น ที่ เ กิ ด มาพร้ อ มกั บ พรสวรรค์ ห รื อ มั น
สมองเหนือมนุษย์ที่ฟ้าประทานมาให้ เราคงต้องตายแล้ว
เกิดใหม่ถ้าอยากจะทําได้อย่างนั้นบ้าง
Outliers ผลงานล่าสุดของ มัลคอล์ม แกลดเวลล์
(Malcolm Gladwell) นักเขียนหนังสือเบสต์เซลเลอร์เรื่อง
The Tipping Point (และเล่มต่อชื่อ Blink ซึ่งสนุกน้อยกว่า
กันมาก) จะทําให้ ‘คนธรรมดา’ อย่างเราๆ ท่านๆ ทุกคน
รู้สึกมีกําลังใจขึ้นบ้างว่า จริงๆ แล้ว ความสําเร็จในชีวิตไม่
จําเป็นต้องใช้อะไรมากไปกว่าระดับสติปัญญาที่ ‘สูงพอ’
ระดับหนึ่ง บวกด้วยความขยันหมั่นเพียรแบบเดียวกับที่พ่อ
วิชา 50 เล่มเกวียน :: 202
แม่ทุกคนพร่ำ�สอนลูก ประกอบกับสถานการณ์ ‘เป็นใจ’ ที่
ทําให้ความขยันนั้นส่งผลดีเป็นทวีคูณ
Outliers เป็ น หนั ง สื อ อ่ า นสนุ ก ที่ เ ต็ ม ไปด้ ว ย
ตัวอย่างน่าสนใจและสรุปงานวิจัยล่าสุดในสาขาสังคมวิทยา
และจิตวิทยาสังคม ในทํานองเดียวกับที่ทําให้ The Tipping
Point ได้รับความนิยมอย่างสูง ใน Outliers แกลดเวลล์ชี้
ให้เห็นว่าชีวิตของมนุษย์ทุกคนเป็น ‘ผลผลิต’ ของบริบท
ทางสั ง คม ภู มิ ศ าสตร์ และสถานการณ์ พอๆ กั บ ที่ มั น
เป็นผลผลิตของเจตจํานงและอิสรภาพในฐานะปัจเจกชน
กระทั่ ง ปี เ กิ ด และเดื อ นเกิ ด ของเราก็ มี ค วามหมาย
แกลดเวลล์แสดงให้เห็นว่า ‘พรสวรรค์’ นั้นสําคัญน้อยกว่า
‘พรแสวง’ ในการกําหนดว่าเราจะประสบความสําเร็จหรือ
ล้มเหลวในที่สุด ยกตัวอย่างเช่น แม้กระทั่งอัจฉริยะอย่าง
วูลฟ์กัง อมาดิอุส โมซาร์ท หรือโปรแกรมเมอร์ระดับ ‘เทพ’
อย่าง บิล จอย ก็ต้องใช้เวลาเท่ากันกับคนธรรมดา คือกว่า
10,000 ชั่วโมงโดยเฉลี่ย ในการฝึกซ้อมสิ่งที่พวกเขาถนัด
ก่อนที่จะได้รับการยกย่องว่าเป็น ‘ผู้เชี่ยวชาญ’ ในสาขา
นั้นๆ
ตัวอย่างที่ผู้เขียนชอบเป็นพิเศษคือเรื่องราวของ
The Beatles วงดนตรีร็อคในตํานานของอังกฤษ แกลด-
เวลล์อธิบายว่า จุดเปลี่ยนที่ทําให้ The Beatles เล่นเข้าขา
กันได้อย่างน่าทึ่งคือตอนที่พวกเขาถูกส่งไปแสดงในบาร์
ในบรรดานักออกแบบและวิศวกรที่ชอบเขียนหนังสือด้วย
ภาษาง่ายๆ ให้คนทั่วไปเข้าใจและอ่านสนุกจนวางไม่ลง ชื่อ
ของ เฮนรี เปโตรสกี (Henry Petroski) อาจารย์ วิ ช า
วิศวกรรมโยธาชาวอเมริกัน ติดอยู่ในอันดับต้นๆ ติดต่อกัน
นานกว่ า สองทศวรรษ ตั้ ง แต่ เ ขาเขี ย นหนั ง สื อ เรื่ อ ง To
Engineer is Human ในปี 1985 ว่าด้วยบทบาทของความ
ล้มเหลวในการออกแบบ
หนังสือที่ทําให้เปโตรสกีเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย
คือ The Pencil: A History of Design and Circumstance
(ตีพิมพ์ปี 1990) ว่าด้วยประวัติไม่ธรรมดาของดินสอ ของที่
ธรรมดาเสี ย จนเรานึ ก ไม่ ถึ ง ว่ า จะผ่ า นการออกแบบและ
ปรับปรุงอย่างซับซ้อนหลายตลบ ก่อนมาถึงรูปร่างที่เราชิน
วิชา 50 เล่มเกวียน :: 208
ตาในปัจจุบัน ในปี 2007 เกือบยี่สิบปีหลังจาก The Pencil
ออกวางตลาด และหลังจากที่เขาออกหนังสือ 10 เล่มเกี่ยว
กับวิศวกรรมศาสตร์และหลักการออกแบบ เปโตรสกีก็อุทิศ
หนังสือทั้งเล่มให้กับสิ่งประดิษฐ์ชิ้นเดียวอีกครั้ง เที่ยวนี้เขา
เลือกไม้จิ้มฟัน “ที่สุดของความธรรมดา” ที่ประวัติเต็มไป
ด้วยเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยอันน่าทึ่งและสีสันเกินกว่าใครจะ
คาดคิด
ใครที่ ส งสั ย ว่ า เรื่ อ งราวของไม้ จิ้ ม ฟั น จะกิ น เนื้ อ ที่
กว่า 440 หน้าได้อย่างไรจะพบกับคําตอบที่วางไม่ลงใน
The Toothpick ซึ่งย้อนเวลากลับไปถึงยุคของนีอันเดอร์ธัล
มนุษย์ถ้ำ�ผู้เป็นบรรพบุรุษของมนุษย์ในปัจจุบัน เพราะหลัก
ฐานจากฟอสซิลยืนยันว่านีอันเดอร์ธัลแคะฟันด้วยไม้จิ้มฟัน
และดังนั้น เปโตรสกีจึงประกาศว่า การแคะฟันน่าจะเป็น
นิ สั ย ที่ เ ก่ า แก่ ที่ สุ ด ของมนุ ษ ย์ เขาอธิ บ ายความต่ า งและ
ความเหมือนของการใช้ไม้จิ้มฟันระหว่างวัฒนธรรมต่างๆ
อย่างสนุกสนาน เช่น เขาอธิบายว่าการใช้ไม้จิ้มฟันไม่ต่าง
จากเรื่องอื่นๆ ของสังคมที่มีชนชั้น กล่าวคือ ไม้จิ้มฟันของ
คนจนมักเป็นวัสดุที่หาง่ายและไม่ต้องใช้เงินซื้ออย่างเศษ
หญ้าหรือเศษไม้ ในขณะที่ไม้จิ้มฟันของคนรวยมักทําจาก
วั ส ดุ มี ค่ า เช่ น ทองคํ า หรื อ งาช้ า ง และแกะสลั ก อย่ า ง
สวยงาม ชนชั้นนําในอาณาจักรโรมันโบราณถึงขนาดฝึก
ทาสให้ทําหน้าที่แคะฟันให้พวกเขาโดยเฉพาะ
ในบรรดาหนังสือทั้งหมดเกี่ยวกับวิกฤตสิ่งแวดล้อม อาหาร
และพลั ง งาน สามวิ ก ฤตระดั บ โลกที่ เ กี่ ย วโยงกั น อย่ า ง
แนบแน่น มีหนังสือเพียงไม่กี่เล่มเท่านั้นที่ให้น้ำ�หนักกับ
‘ทางออก’ ที่ทําได้จริง พอๆ กับที่สรุปทั้งที่มาและที่ไปของ
วิกฤตเหล่านี้อย่างสมบูรณ์ ชัดเจน และใช้คําเท่าที่จําเป็น
ต้องใช้ในการสื่อสารความเร่งด่วนของปัญหา และกระตุ้น
ความสนใจให้ผู้ดําเนินนโยบายนําทางออกไปปฏิบัติ
หนังสือเข้าข่ายนี้ที่ดีที่สุดเท่าที่ผู้เขียนรู้จักคือ Plan
B 3.0 โดย เลสเตอร์ บราวน์ (Lester Brown) ผู้ก่อตั้ง
World Watch สถาบันวิจัยแห่งแรกของโลกที่มุ่งเน้นการ
ศึกษาวิเคราะห์แนวโน้มสิ่งแวดล้อมระดับโลก ปัจจุบันเขา
เป็นผู้อํานวยการ Earth Policy Institute สถาบันที่เขาก่อ
วิชา 50 เล่มเกวียน :: 214
ตั้งขึ้นในปี 2001 เพื่อค้นคว้าหาทางออกจากโลกปัจจุบันที่
เข้าขั้นวิกฤต สู่โลกอนาคตที่ระบอบเศรษฐกิจมีความยั่งยืน
เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและเพื่อนร่วมโลกของมนุษย์
Plan B 3.0 เปรียบเสมือน ‘คัมภีร์’ เล่มไม่หนามาก
ที่สังเคราะห์ความคิดของบราวน์และผลงานวิจัยของ Earth
Policy Institute ลงมาเป็นภาษาที่เข้าใจง่าย เนื่องจากงาน
วิ จั ย ด้ า นสิ่ ง แวดล้ อ มย่ อ มดํ า เนิ น ไปอย่ า งไม่ ห ยุ ด ยั้ ง เพื่ อ
ติดตามสถานการณ์และคิดหาวิธีใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ ในการ
แก้ปัญหา Plan B 3.0 จึงเป็นหนังสือที่มีอัพเดทออกมา
เรื่อยๆ ฉบับที่ผู้เขียนแนะนําวันนี้คือเวอร์ชั่น 3.0 ตีพิมพ์ปี
2007 สามารถอ่ า นออนไลน์ ห รื อ ดาวน์ โ หลดทั้ ง เล่ ม ได้ ที่
http://www.earth-policy.org/Books/PB3/ แต่ผู้เขียนขอ
แนะนําให้ซื้อฉบับที่เป็นหนังสือ เพราะอ่านง่ายกว่าและ
เหมาะสําหรับใช้อ้างอิง ผู้เขียนเองใช้ฉบับออนไลน์เฉพาะ
เวลาต้องการหาข้อมูลแต่จําไม่ได้ว่าอยู่หน้าไหน
บราวน์อธิบายเป้าหมายของหนังสือสําคัญเล่มนี้
อย่างรวบรัดว่า “Plan B 3.0 นําเสนอแผนที่เป็นรูปธรรม
และครบถ้วนในการทวนกระแสที่กําลังทําให้อนาคตของเรา
อยู่ในอันตราย เป้าหมายหลักสี่ข้อของแผนการนี้คือ การทํา
ให้สภาพภูมิอากาศเข้าสู่เสถียรภาพ ประชากรโลกเข้าสู่
เสถียรภาพ กําจัดความยากจน และฟื้นฟูระบบนิเวศของ
โลกที่เสียหาย” เขาย้ำ�ว่าความล้มเหลวของเราที่จะบรรลุ
เป้ า หมายใดเป้ า หมายหนึ่ ง ในสี่ อ ย่ า งนี้ ค งทํ า ให้ เ ราไม่
สฤณี อาชวานันทกุล :: 215
สามารถบรรลุเป้าหมายอื่นๆ ด้วย เพราะประเด็นเหล่านี้
เชื่อมโยงถึงกันทั้งหมด
Plan B 3.0 สรุปปัญหาของมนุษยชาติไว้ว่า การ
เติบโตของประชากรที่ยังอยู่ในอัตราสูงในประเทศยากจน
กําลังทําให้รัฐบาลอ่อนแอ สมาชิกใหม่ของโลกปีละ 70 ล้าน
คนเกิดในประเทศที่น้ำ�และป่าไม้กําลังร่อยหรอ ดินกําลัง
เสื่อมคุณภาพ และทุ่งหญ้ากําลังกลายเป็นทะเลทราย ยิ่ง
ปัญหาทับถมหมักหมมขึ้นเท่าไร ความตึงเครียดในสังคมก็
จะยิ่งถีบตัวสูงขึ้น และรัฐบาลที่อ่อนแอก็จะเริ่มพังทลาย
คุณสมบัติของ ‘รัฐล้มเหลว’ ที่ชัดเจนที่สุดคือการที่รัฐบาล
ไม่สามารถมอบความปลอดภัยให้กับประชาชนได้ บราวน์
ตั้ ง ข้ อ สั ง เกตว่ า รั ฐ ล้ ม เหลวคื อ สั ญ ญาณแรกๆ ที่ บ่ ง ชี้ ว่ า
อารยธรรมกําลังล่มสลาย ประเทศโซมาเลีย ซูดาน คองโก
ไฮติ และปากีสถานเป็นเพียงตัวอย่างที่คนทั่วไปรู้จักดีที่สุด
แต่อาจนึกไม่ถึงว่ารากของปัญหาความรุนแรงในประเทศ
เหล่านี้คือปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม
บราวน์ชี้ให้เห็นว่าลําพังปัญหาที่หมักหมมเหล่านี้ก็
เลวร้ายมากพอแล้ว แต่ถูกซ้ำ�เติมให้แย่ลงกว่าเดิมอีกด้วย
ปั ญ หาใหม่ ๆ เช่ น สถานการณ์ ที่ น้ำ � มั น กํ า ลั ง จะเข้ า สู่ จุ ด
สูงสุด ที่เรียกว่า peak oil (ซึ่งเมื่อผ่านจุดนั้นไปแล้วก็มีแต่
จะลดลงเรื่อยๆ เพราะน้ำ�มันเป็นเชื้อเพลิงฟอสซิล หมดแล้ว
หมดเลย ไม่ใช่พลังงานทดแทนอย่างพลังงานแสงอาทิตย์)
ปัญหาราคาอาหารสูงขึ้นเรื่อยๆ ขณะที่พื้นที่การเกษตรถูก
วิชา 50 เล่มเกวียน :: 216
เปลี่ ย นไปปลู ก พื ช เพื่ อ ผลิ ต พลั ง งานทดแทน (ซึ่ ง เป็ น
‘แฟชั่น’ ที่บราวน์แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนในหนังสือเล่มนี้
ว่ า ไร้ ส าระเพี ย งใด เพราะถั ง ก๊ า ซเอทานอลขนาด 25
แกลลอนหนึ่งถังต้องใช้ธัญพืชในปริมาณที่เลี้ยงคนได้หนึ่ง
คนเป็นเวลาหนึ่งปี ซึ่งหมายความว่าระหว่างที่รถยนต์กําลัง
แย่ ง ชิ ง พื้ น ที่ ก ารเพาะปลู ก ไปจากท้ อ งมนุ ษ ย์ จํ า นวน
ผู้หิวโหยในโลกก็มีแนวโน้มว่าจะเพิ่มขึ้นถึงสองเท่า จาก
600 ล้านเป็น 1.2 พันล้านคน) และที่ไม่พูดถึงไม่ได้เลยคือ
ผลพวงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยเฉพาะ
ภาวะโลกร้ อ น ซึ่ ง กํ า ลั ง ขยายใหญ่ เ ป็ น ปั ญ หาระดั บ โลก
มากมาย เช่น ปัญหาการขาดแคลนน้ำ�
สิ่งที่ทําให้ Plan B 3.0 มีความสําคัญและน่าสนใจ
กว่าเป็นหนังสืออีกหนึ่งเล่มที่สรุปปัญหาระดับโลก คือการ
ที่บราวน์อธิบายหนทางแก้ไขปัญหาเหล่านี้อย่างชัดเจนและ
เป็ น รู ป ธรรมสมกั บ ชื่ อ ของหนั ง สื อ ซึ่ ง สื่ อ ความหมายว่ า
มนุษย์ต้องเปลี่ยนแปลงวิถีการพัฒนาไปใช้ ‘แผนสอง’ โดย
ด่ ว น ในเมื่ อ ‘แผนหนึ่ ง ’ หรื อ Plan A ที่ เ ป็ น อยู่ นั้ น ไม่
สามารถรับประกันอนาคตที่ดีให้กับลูกหลานเราได้อีกต่อไป
บราวน์ เ ห็ น ด้ ว ยกั บ เสี ย งที่ ดั ง ขึ้ น เรื่ อ ยๆ ของนั ก วิ ท ยา-
ศาสตร์ ห ลายคนที่ ย้ำ � ว่ า ทั้ ง โลกต้ อ งลดการปล่ อ ยก๊ า ซ
คาร์บอนไดออกไซด์ร้อยละ 80 ภายในปี 2020 เพื่อจํากัด
การเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิให้เหลือน้อยที่สุด
ในบรรดาหนังสือสารคดีทั้งหมด ผู้เขียนสังเกตว่าหนังสือที่
อ่านสนุกและวางไม่ลงสําหรับตัวเองมักจะเป็นหนังสือที่เข้า
ข่าย ‘เรื่องเล็กในประเด็นใหญ่’ หรือ ‘เรื่องใหญ่ในประเด็น
เล็ก’ คือถ้าไม่ใช่หนังสือที่เล่าเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยของเรื่อง
ซีเรียสให้ฟังอย่างสนุกสนาน ก็เป็นหนังสือที่ชี้ให้เห็นความ
เชื่อมโยงระหว่างปัจจัยต่างๆ ที่ส่งผลกระทบข้ามพรมแดน
ด้วยการวิเคราะห์เจาะลึกทุกมิติของสิ่งเล็กๆ ในชีวิตประจํา-
วันที่เราไม่เคยคิดว่ามีอะไรน่าสนใจหรือให้แง่คิด
Banana: The Fate of the Fruit that Changed
the World โดย แดน ค็อปเปล (Dan Koeppel) เป็นหนึ่งใน
หนังสือประเภทหลังที่อ่านสนุกที่สุดในรอบหลายปี หนังสือ
ขนาดเหมาะมือเล่มนี้เล่าเรื่องราวของกล้วย ผลไม้ที่ได้รับ
วิชา 50 เล่มเกวียน :: 222
ความนิยมมากที่สุดในโลก ตั้งแต่มนุษย์ยุคหินเริ่มบริโภค
มันเมื่อประมาณ 7,000 ปีก่อน ค็อปเปลศึกษาค้นคว้าเรื่อง
ราวอันน่าเวียนหัวอย่างไม่น่าเชื่อของกล้วย ปะติดปะต่อ
เป็นเรื่องที่ทําให้คนอ่านทั้งทึ่งและกังวลในคราวเดียวกัน
เมื่อเขายกข้อมูลหลักฐานมากมายมาชี้ให้เห็นว่า เหตุใด
กล้วยจึงเป็นผลไม้ที่เปราะบางอ่อนแอ ทั้งๆ ที่เราพบเห็น
มันได้แทบทุกแห่งในโลก เหตุใดกล้วยพันธ์ุที่ชาวอเมริกัน
นิยมบริโภคที่สุดคือ Cavendish จึงกําลังตกอยู่ในอันตราย
จากโรคร้ายที่ไม่มีทางรักษา นักวิทยาศาสตร์กําลังทําอะไร
อยู่และจะต้องทําอะไรอีกบ้างเพื่อช่วยให้มันมีชีวิตรอด และ
เหนือสิ่งอื่นใด หนังสือเล่มนี้จะตอบคําถามว่า กล้วยเป็น
ผลไม้ที่ ‘เปลี่ยนโลก’ อย่างไร และเหตุใดโมเดลธุรกิจของ
บริ ษั ท ผู้ ป ลู ก กล้ ว ยรายใหญ่ ข องโลกจึ ง จะใช้ ก ารไม่ ไ ด้ ใ น
อนาคตอันใกล้
ประวั ติ ศ าสตร์ ก ารบริ โ ภคและธุ ร กิ จ การส่ ง ออก
กล้วยจากประเทศโลกที่สามมายังอเมริกา ที่ค็อปเปลเล่า
อย่างสนุกสนาน จะทําให้ทุกคนที่ได้อ่าน Banana ทึ่งไป
ตามๆ กั น ว่ า ผลไม้ ที่ เ คยเป็ น ของหรู ห ราหายากจาก
ประเทศโลกที่สาม ต้องเดินทางหลายพันกิโลเมตรจากถิ่น
กํ า เนิ ด แช่ แ ข็ ง ตลอดช่ ว งขนส่ ง และอยู่ ไ ด้ ไ ม่ เ กิ น สอง
สัปดาห์หลังถูกปลิดออกจากต้น กลับกลายเป็นผลไม้ที่มี
ราคาถูกที่สุดในซุปเปอร์มาร์เก็ตในอเมริกาได้อย่างไร โดย
เฉพาะเมื่อเทียบกับแอปเปิล ผลไม้ท้องถิ่นของอเมริกาที่อยู่
สฤณี อาชวานันทกุล :: 223
ได้นานหลายเดือนและมักจะปลูกในไร่ที่อยู่ห่างร้านขายของ
ชําไม่กี่ร้อยกิโลเมตร แต่กลับมีราคาแพงกว่ากล้วยนําเข้าไม่
ต่ำ�กว่าสองเท่า
ที่ผ่านมา ราคาที่ถูกแสนถูกของกล้วยในอเมริกา
เป็นเหตุผลหลักที่ทําให้มันเป็นผลไม้ที่ชาวอเมริกันบริโภค
มากที่ สุ ด ในแต่ ล ะปี มากกว่ า แอปเปิ ล และส้ ม รวมกั น
ปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นในเวลาไม่ถึงหนึ่งศตวรรษ หลังจาก
ที่บริษัท United Fruit (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น Chiquita)
ค้นพบวิธีขายกล้วยราคาถูก ซึ่งมีทั้งกลยุทธ์การทําธุรกิจ
ตามปกติ แ ละวิ ธี ‘สกปรก’ ที่ น่ า ประณามเป็ น อย่ า งยิ่ ง
กลยุทธ์ปกติประกอบด้วยการถางป่าไม้ในทวีปอเมริกาใต้
ทําไร่กล้วย สร้างรถไฟและเครือข่ายโทรคมนาคมเพื่อลด
ต้นทุนการขนส่งและสื่อสารในระยะยาว คิดค้นเทคนิคการ
แช่ แ ข็ ง ที่ ทํ า ให้ ค วบคุ ม เวลาสุ ก ของกล้ ว ยได้ และส่ ว นที่
ผู้เขียนคิดว่าสนุกที่สุดคือ กลยุทธ์การตลาดที่ได้ผลอย่าง
มหาศาล โดยเฉพาะการจ้ า งนั ก แต่ ง เพลงให้ เ ขี ย นเพลง
โฆษณาที่ติดหูติดปากคนทั้งประเทศ จ้างนักการศึกษาให้
ใส่ข้อมูลเรื่องประโยชน์ของกล้วยไว้ในหนังสือเรียน และจ้าง
แพทย์ให้หว่านล้อมบรรดาแม่ๆ ทั้งหลายให้เชื่อว่ากล้วยนั้น
ดีต่อสุขภาพเด็กเพียงใด
แต่ สิ่ ง ที่ ทํ า ให้ ก ล้ ว ยไม่ ไ ด้ เ ป็ น ธุ ร กิ จ พื้ น ๆ น่ า เบื่ อ
และทําให้ Banana ไม่ได้เป็นแค่หนังสือประวัติศาสตร์ธุรกิจ
ชั้นดี หาใช่กลยุทธ์ทางธุรกิจที่บางอย่างสมควรถูกเรียกว่า
วิชา 50 เล่มเกวียน :: 224
เป็น “นวัตกรรม” ในสมัยนั้น หากเป็นกลยุทธ์ “สกปรก”
มากมายที่บริษัทกล้วยยักษ์ใหญ่ใช้ และค็อปเปลเล่าอย่าง
น่าติดตามตลอดเล่ม กลยุทธ์อย่างเช่นการไม่ให้สวัสดิการ
ขั้ น พื้ น ฐานอย่ า งค่ า รั ก ษาพยาบาล และกดค่ า แรงของ
ลู ก จ้ า ง (ซึ่ ง ส่ ว นใหญ่ เ ป็ น ชาวบ้ า นท้ อ งถิ่ น ในอเมริ ก าใต้ )
ไว้ต่ำ�เตี้ยติดดิน ล้วนเป็นปัจจัยสําคัญที่ช่วยให้บริษัทกล้วย
สามารถกดต้นทุนให้ต่ำ�จนชาวอเมริกันซื้อกล้วยได้ในราคา
ถู ก กว่ า ผลไม้ ช นิ ด อื่ น ฝ่ า ยรั ฐ บาลของประเทศต่ า งๆ ที่
บริษัทกล้วยเข้าไปทําธุรกิจแบบผูกขาดหรือเกือบผูกขาด
ก็เอาอกเอาใจนายทุนต่างชาติจนออกนอกหน้าและกระทั่ง
ทํ า ร้ า ยประชาชนของตั ว เอง เช่ น กรณี ท หารของรั ฐ บาล
โคลัมเบียยิงปืนใส่กลุ่มชาวบ้านซึ่งมีทั้งผู้หญิงและเด็ก ในปี
1929 เพื่อสลายการชุมนุม ทั้งๆ ที่พวกเขาเพียงแต่เกาะ
กลุ่มสังสรรค์กันหลังไปโบสถ์วันอาทิตย์เท่านั้น ไม่ได้ชุมนุม
ประท้ ว งอะไร บริ ษั ท กล้ ว ยบางแห่ ง มี ก องทั พ อเมริ ก า
หนุนหลัง มีอิทธิพลสูงจนสามารถแทรกแซงการเมืองใน
อเมริกาใต้ โค่นล้มรัฐบาลที่ไม่ให้ความร่วมมือกับพวกเขาใน
การขยายกิจการ ตัวอย่างที่โด่งดังที่สุดจวบจนทุกวันนี้คือ
กรณีบริษัท United Fruit มีส่วนสําคัญในการล้มล้างรัฐบาล
ที่มาจากการเลือกตั้งของกัวเตมาลาในปี 1954
ประเด็นน่าสนใจอีกประเด็นหนึ่งที่เกี่ยวกับกล้วย
คือพันธุกรรม ค็อปเปลบอกว่ากล้วยที่ชาวอเมริกัน (และทุก
ประเทศที่นําเข้ากล้วยจากอเมริกาใต้ อาทิ จีน เยอรมนี
สฤณี อาชวานันทกุล :: 225
และรั ส เซี ย ) ทุ ก คนรั บ ประทานนั้ น มี พั น ธ์ุ เ ดี ย ว คื อ
Cavendish ทั้งๆ ที่ทั่วโลกมีกล้วยกว่า 1,000 พันธ์ุ ทั้งนี้
เนื่ อ งจากบริ ษั ท กล้ ว ยค้ น พบว่ า การปลู ก และขายกล้ ว ย
เพียงพันธ์ุเดียวเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการยืนยันว่ากล้วยทุกใบ
ในการขนส่งแต่ละครั้งจะสุกในเวลาเดียวกัน ซึ่งทําให้บริษัท
ได้ประโยชน์จากขนาด (economies of scale) มหาศาล
และช่วยให้บริษัทขายกล้วยในราคาถูกได้ อย่างไรก็ตาม
การปลู ก กล้ ว ยพั น ธ์ุ เ ดี ย วมี ค วามเสี่ ย งสู ง มาก เพราะมั น
หมายความว่าไวรัสที่ร้ายแรงอาจทําลายกล้วยที่ปลูกเชิง
พาณิชย์ทุกแปลงทั่วโลกลงอย่างราบคาบภายในเวลาไม่กี่ปี
เท่านั้น ซึ่งนั่นก็เป็นข่าวร้ายที่เคยเกิดขึ้นในอดีต สมัยต้น
ศตวรรษที่ 20 เมื่ อ โรคร้ า ยเริ่ ม ทํ า ลายกล้ ว ยที่ ป ลู ก เชิ ง
พาณิชย์พันธ์ุแรกคือ Gros Michel จนสูญพันธ์ุไปอย่างสิ้น
เชิงในทศวรรษ 1960 และทําให้บริษัทกล้วยแทบล้มหาย
ตายจากไปหมด หากไม่ได้กล้วยพันธ์ุ Cavendish (ซึ่ง
ค็อปเปลบอกว่ารสชาติแย่กว่า ลูกเล็กกว่า และอ่อนแอกว่า
Gros Michel มาก) มาช่วยต่อลมหายใจจนรุ่งเรืองรอบใหม่
ช่วงท้ายๆ ของ Banana เล่าปัญหาของอุตสาห-
กรรมกล้วยในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นโรคระบาดรุนแรงรอบ
ใหม่ที่อาจทําให้กล้วยพันธ์ุ Cavendish ต้องสูญพันธ์ุไป
เหมือนกับ Gros Michel นอกจากนี้ ราคาน้ำ�มันที่ถีบตัวสูง
ขึ้นเรื่อยๆ และผลผลิตกล้วยที่ตกต่ำ�ลงอย่างมากจากปัญหา
น้ำ�ท่วมในเอกวาดอร์ ผู้ส่งออกกล้วยรายใหญ่ที่สุดของโลก
วิชา 50 เล่มเกวียน :: 226
ก็น่าจะทําให้กล้วยมีราคาสูงขึ้นจนชาวอเมริกันเลิกคิดว่ามัน
ถูกพอที่จะซื้อคราวละหลายหวีมาหั่นใส่ซีเรียลหรือไอศกรีม
อีกต่อไป และเมื่อถึงตอนนั้น แน่นอนว่าบริษัทกล้วยจะต้อง
เปลี่ยนโมเดลธุรกิจจากหน้ามือเป็นหลังมือ
นอกจากจะเล่าประวัติเปี่ยมสีสันของอุตสาหกรรม
กล้วยตั้งแต่อดีตจนปัจจุบัน และวาดภาพอนาคตทั้งที่น่าจะ
เป็ น และควรจะเป็ น ให้ เ ราเห็ น อย่ า งแจ่ ม ชั ด ค็ อ ปเปลยั ง
สอดแทรกเกร็ดน่าสนใจต่างๆ เกี่ยวกับกล้วยเอาไว้ตลอด
เล่มอย่างแนบเนียนและอ่านสนุกมาก ทําให้ Banana เป็น
ทั้ ง หนั ง สื อ ธุ ร กิ จ และเศรษฐศาสตร์ อรรถาธิ บ ายทาง
วิ ท ยาศาสตร์ แ ละพั น ธุ ก รรม และกระทั่ ง ประวั ติ ศ าสตร์
วัฒนธรรม (หนึ่งในตอนที่สนุกที่สุดในหนังสือ คือตอนที่
ค็อปเปลอธิบายว่าเหตุใด “ผลไม้ต้องห้าม” ในสวนสวรรค์
อี เ ดนตามพระคั ม ภี ร์ ไ บเบิ ล จึ ง น่ า จะเป็ น กล้ ว ย ไม่ ใ ช่
แอปเปิ ล ตามที่ ค นส่ ว นใหญ่ เ ชื่ อ ) ทั้ ง หมดนี้ อ่ า นได้ ใ น
Banana – หนังสือไม่ธรรมดาเกี่ยวกับผลไม้ธรรมดา.
John Elkington
& Pamela Hartigan
ในบรรดาสมมุติฐานทั้งหมดในโลกเศรษฐศาสตร์และธุรกิจ
ตั้งแต่ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมเป็นต้นมา หนึ่งในสมมติฐานที่
ยื น ยงคงกระพั น ที่ สุ ด คื อ ความเชื่ อ ที่ ว่ า กรรมสิ ท ธิ์ ส่ ว น
บุคคลเป็นเงื่อนไขหลักที่จําเป็นต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจ
รัฐมีหน้าที่ส่งเสริมและปกป้องกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคลอย่างสุด
ความสามารถ ด้วยกลไกกฎหมายและการปราบปราม
แต่บัดนี้โลกได้เปลี่ยนแปลงไปจนแทบไม่เหลือเค้า
เดิมโดยเฉพาะสําหรับ ‘คนเมือง’ ผู้มีการศึกษา อินเทอร์-
เน็ตและเทคโนโลยีการสื่อสารทําให้คนสร้างและแปลงงาน
สร้างสรรค์ให้เป็น ‘ข้อมูลดิจิตัล’ ได้อย่างรวดเร็ว ทําซ้ำ�และ
เผยแพร่ ง านนั้ น ได้ ไ ม่ สิ้ น สุ ด ด้ ว ยค่ า ใช้ จ่ า ยน้ อ ยมากหรื อ
ไม่มีเลย โดยไม่ทําให้งานดั้งเดิมขาดตกหรือบกพร่องไป
วิชา 50 เล่มเกวียน :: 234
พฤติกรรมของผู้บริโภคที่ใช้ชีวิตในโลกดิจิตัลมากขึ้นเรื่อยๆ
เปลี่ ย นแปลงอย่ า งรวดเร็ ว เกิ น กว่ า ที่ ร ะบบกฎหมายและ
ทั ศ นคติ ข องบริ ษั ท หวงลิ ข สิ ท ธิ์ จํ า นวนมากจะตามทั น
‘ผู้ใหญ่’ หลายคนที่ไม่คุ้นเคยกับโลกดิจิตัลเชื่ออย่างหดหู่ว่า
การละเมิดลิขสิทธิ์ที่แพร่หลายในโลกนั้น เป็นเพียงตัวอย่าง
ล่าสุดของภาวะศีลธรรมเสื่อมโทรมในสังคมสมัยใหม่
ถ้าคุณเป็นหนึ่งใน ‘ผู้ใหญ่’ ที่มองสังคมดิจิตัลในแง่
ร้ า ยอย่ า งนั้ น Remix หนั ง สื อ เล่ ม ล่ า สุ ด ของ ลอว์ เ รนซ์
เลสสิก (Lawrence Lessig) หนึ่งในนักคิดในดวงใจของ
ผู้เขียน จะทําให้คุณเปลี่ยนใจหรืออย่างน้อยก็มองเห็นมิติ
อันหลากหลายซับซ้อนของวิถีชีวิตยุคดิจิตัล ที่จะทําลาย
มายาคติเกี่ยวกับการละเมิดลิขสิทธิ์ พร้อมทั้งสร้างความ
เข้าใจต่อกระบวนทัศน์ใหม่ที่กําลังเปลี่ยนโลกขึ้นมาแทนที่
Remix คื อ คํ า ตอบของเลสสิ ก ต่ อ คํ า ถามใหญ่ ว่ า
“การที่คนทั้งรุ่นถูกประณามว่าเป็นอาชญากรไซเบอร์นั้น
หมายความว่าอะไรต่อสังคม?” หนังสือเล่มนี้ต่อยอดความ
คิดหลักของเลสสิกที่อธิบายตั้งแต่เรื่อง Free Culture นั่น
คือ ถ้าเราอยาก “ประกาศสงครามกับการละเมิดลิขสิทธิ์”
อย่างที่รัฐบาลหลายประเทศชอบทํา เราก็ต้องเตรียมพร้อม
ที่จะรับมือกับความเสียหายนานัปการที่จะเกิดขึ้น ความ
เสียหายที่ผู้ประกาศสงครามอาจไม่ตั้งใจ แต่อาจมีมูลค่าสูง
กว่าประโยชน์ที่สังคมคิดว่าจะได้รับจากการปราบปรามผู้
ละเมิดลิขสิทธิ์ นั่นเป็นเพราะพฤติกรรมของคนรุ่นใหม่ โดย
สฤณี อาชวานันทกุล :: 235
เฉพาะเด็กๆ ที่เติบโตมากับคอมพิวเตอร์ ได้เปลี่ยนไปใน
ทางที่กฎหมายตามไม่ทันหรือมองไม่เห็น และบริษัทที่เห็น
แก่ตัวก็อยากให้กฎหมายลิขสิทธิ์เป็นอย่างเดิมต่อไป ตัวเอง
จะได้ ฉ วยโอกาสทํ า เงิ น จากงานที่ ส ร้ า งเมื่ อ นานมาแล้ ว
แทนที่จะทุ่มเทพลังงานให้กับการสร้างงานใหม่
เลสสิกอธิบายว่า การนํางานเก่าในรูปดิจิตัลมาดัด
แปลง ผสมผสาน และต่อยอดเป็นงานใหม่นั้น เป็นส่วน
สําคัญของกิจกรรมสร้างสรรค์ของคนหนุ่มสาวในปัจจุบัน
แต่การใช้ประโยชน์จากงานเก่า ที่เรียกว่า ‘remix’ หรือ
‘mashup’ รวมทั้งการแบ่งปันไฟล์ดิจิตัลระหว่างกัน (file-
sharing) ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่ธรรมดามากสําหรับผู้บริโภค
ยุ ค ใหม่ กลั บ เป็ น กิ จ กรรมที่ ผิ ด กฎหมายลิ ข สิ ท ธิ์ ปั จ จุ บั น
และแทนที่มาตรการปราบปรามการละเมิดลิขสิทธิ์ของภาค
รัฐจะส่งผลให้คนทําผิดกฎหมายน้อยลง มันกลับทําให้คน
จํานวนมากขึ้นเรื่อยๆ รู้สึกว่ากฎหมายไม่ยุติธรรม เข้าข้าง
บริ ษั ท ยั ก ษ์ ใ หญ่ และเป็ น อุ ป สรรคต่ อ การใช้ เ ทคโนโลยี
ใหม่ๆ ในทางที่สร้างสรรค์และเพื่อการศึกษา ประเด็นหลัก
ของเลสสิกที่เขาพยายามพิสูจน์ใน Remix คือ ถึงเวลาแล้ว
ที่ทุกฝ่ายจะมาร่วมกันพิจารณาว่า ‘สงคราม’ ที่ประกาศต่อ
ผู้ละเมิดลิขสิทธิ์นี้มีต้นทุนที่สูงเกินไปหรือไม่
เลสสิกเริ่มต้นหนังสือเล่มนี้ด้วยวิธีเดียวกับที่เขา
ชอบใช้ขึ้นต้นหนังสือเล่มก่อนๆ นั่นคือ ด้วยการวาดภาพ
อดีตให้เห็นว่า งานสร้างสรรค์ก่อนยุคดิจิตัลมักเป็นผลผลิต
วิชา 50 เล่มเกวียน :: 236
ของ ‘วัฒนธรรมเสรี’ ที่ส่งเสริมให้คนซึ่งล้วนเป็น ‘มือสมัคร
เล่น’ สร้าง แบ่งปัน และแลกเปลี่ยนงานของตัวเองกับคน
อื่นๆ ในชุมชน ในทางที่เป็นประชาธิปไตยอย่างยิ่ง เมื่อ
ดนตรีกลายเป็นอุตสาหกรรม วัฒนธรรมมือสมัครเล่นถูก
แทนที่ด้วยวัฒนธรรมมืออาชีพ เปลี่ยนประชากรส่วนใหญ่
จากผู้ผลิตให้กลายเป็นผู้บริโภค และในกระบวนการนั้นก็
ทําให้งานสร้างสรรค์ตกเป็นเป้าของแนวคิดที่ว่างานทุกชิ้น
จะต้องมีใครครอบครอง ‘เป็นเจ้าของ’ มากขึ้น และดังนั้น
การใช้งานสร้างสรรค์ที่เป็นผลผลิตของกระบวนการผลิต
แบบอุตสาหกรรมจึงมีข้อจํากัดมากขึ้นเรื่อยๆ
ตลอดระยะเวลาส่วนใหญ่ของศตวรรษที่ 20 เป็น
โชคดีของผู้บริโภคที่ข้อจํากัดการใช้ผลผลิตของวัฒนธรรม
มืออาชีพมิใช่ข้อจํากัดทางกฎหมาย แต่เป็นข้อจํากัดโดย
ธรรมชาติที่เป็นผลจากข้อเท็จจริงที่ว่า การใช้ ทําซ้ำ� หรือ
ดัดแปลงงานสร้างสรรค์ของผู้อื่นนั้นทําได้ยากและมีต้นทุน
สูง ยกตัวอย่างเช่น คนที่อยากผลิตซ้ำ�งานดนตรีจะต้อง
หาทางเข้าไปใช้สตูดิโออัดเสียงของมืออาชีพ การทําซ้ำ�
ข้อเขียนก็เช่นเดียวกัน ด้วยเหตุนี้ เป้าหมายของกฎหมาย
ลิขสิทธิ์ในยุคแรกเริ่มจึงอยู่ที่การป้องกันไม่ให้หลายสํานัก-
พิมพ์แข่งกันออกเวอร์ชั่นต่างๆ ของข้อเขียนเดียวกัน ไม่ได้
อยู่ที่การจํากัดผู้บริโภคไม่ให้ใช้ข้อเขียนเหล่านั้น
Martyn Amos
Mary Buffett
& David Clark
หลังจากที่ฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์ในสหรัฐอเมริกาแตกในปี
2007 ฉุดตลาดหลักทรัพย์ที่อิงสินเชื่อซับไพรม์ให้ดิ่งเหว
ลากตลาดหุ้นทั่วโลกให้ดิ่งลงไปด้วยเพราะนักลงทุนที่ซื้อ
หลั ก ทรั พ ย์ เ หล่ า นั้ น ต้ อ งเทขายหุ้ น เพื่ อ หาเงิ น คื น เจ้ า หนี้
และผลักโลกเข้าสู่วิกฤตการเงินครั้งใหญ่ที่สุดตั้งแต่ทศวรรษ
1930 เป็นต้นมา บัดนี้ก็ได้เวลาที่นักลงทุนระยะยาว หรือที่
เรียกแบบเข้าข้างตัวเองหน่อยๆ ว่า ‘นักลงทุนเน้นคุณค่า’
(value investors) จะได้เวลา ‘ซื้อของถูก’ และป่าวร้องให้
ก้องโลกอีกคราว่า เหตุใดการลงทุนแบบเก็งกําไรจึงไม่คุ้ม
ค่าความเสี่ยงในระยะยาว และไม่น่าจะทําให้ใครสะสมกําไร
อย่างสม่ำ�เสมอจนพอใช้ในวัยเกษียณได้ ถึงแม้ว่าอาจได้
กําไรมหาศาลในช่วงสั้นๆ
วิชา 50 เล่มเกวียน :: 246
ใครก็ตามที่อยากซื้อหุ้นแบบ ‘เน้นคุณค่า’ และถือ
ระยะยาวย่อมจะต้องทําความเข้าใจกับ ‘ปัจจัยพื้นฐาน’ ของ
บริษัทต่างๆ ก่อน เช่น ความหมายและความสําคัญของ
รายการต่างๆ ในงบการเงิน แต่ที่ผ่านมาไม่ค่อยมีหนังสือที่
อธิบายหลักคิดและความหมายของรายการบัญชีหลักๆ ใน
ทางที่เข้าใจง่ายและไม่น่าเบื่อสําหรับคนไม่เคยเรียนบัญชี
หรือธุรกิจ อยากอ่านงบการเงินแค่เท่าที่จําเป็นต้องรู้เพื่อ
เลือกหุ้นที่น่าลงทุนแบบเน้นคุณค่าเท่านั้น
โชคดี ที่ เ รามี Warren Buffett and the
Interpretation of Financial Statements หนั ง สื อ เล่ ม
กะทัดรัด (ขนาดประมาณครึ่งหน้ากระดาษ A4 และหนา
เพียง 175 หน้า) ที่ไม่เพียงแต่อธิบายหลักการลงทุนของ
วอร์เรน บุฟเฟ็ตต์ (Warren Buffett) นักลงทุนที่เก่งที่สุดใน
โลกได้อย่างกระชับและไม่น่าเบื่อเท่านั้น แต่ยังไล่รายการ
บั ญ ชี สํ า คั ญ ๆ ไปที ล ะรายการ ให้ ค นไม่ เ คยเรี ย นบั ญ ชี
สามารถ ‘อ่ าน’ บั ญชีไ ด้ ไม่ ใช่ แค่อ่า นได้ เ หมื อ นกั บอ่า น
หนังสือออก แต่ยังได้เข้าใจตรรกะที่อยู่เบื้องหลังด้วย (ซึ่ง
ซึ่ ง เป็ น ระดั บ การ ‘อ่ า น’ ที่ จํา เป็ น ต่ อ การลงทุ น แบบเน้ น
คุณค่า)
หนั ง สื อ เล่ ม นี้ เ ขี ย นโดย แมรี่ บุ ฟ เฟ็ ต ต์ (Mary
Buffett ลูกสะใภ้ของวอร์เรน) และ เดวิด คลาร์ก (David
Clark คู่หูนักลงทุนของวอร์เรน ตั้งแต่เขายังหนุ่ม) คู่หูที่
เขี ย นหนั ง สื อ ร่ ว มกั น เกี่ ย วกั บ วอร์ เ รน บุ ฟ เฟ็ ต ต์ ม าแล้ ว
สฤณี อาชวานันทกุล :: 247
หลายเล่ม อาทิ Buffettology, The New Buffettology และ
The Tao of Warren Buffett (เล่มหลังเป็นอีกเล่มหนึ่งที่ผู้
เขียนขอแนะนํา แต่สําหรับใครที่ไม่เคยซื้อหุ้นอาจ ‘อ่าน
ยาก’ เล็กน้อย)
โครงสร้างของหนังสือเล่มนี้เลียนแบบหนังสือเก่า
ชื่อคล้ายกันที่เขียนโดย เบนจามิน เกรแฮม (Benjamin
Graham) ‘เซี ย นลงทุ น ’ ยุ ค แรกผู้ เ ป็ น ปรมาจารย์ ข อง
วอร์เรน บุฟเฟ็ตต์ แบ่งออกเป็นบทสั้นๆ 57 บท แต่ละบท
ว่ า ด้ ว ยรายการสํ า คั ญ หนึ่ ง หรื อ สองรายการเท่ า นั้ น
จากงบดุล งบกําไรขาดทุน หรืองบกระแสเงินสดของบริษัท
พร้ อ มตั ว อย่ า งจากบริ ษั ท จริ ง ในตลาดหุ้ น และข้ อ คิ ด
จากบุฟเฟ็ตต์ที่อธิบายว่ารายการเหล่านี้จะบ่งบอก ‘ความ
ได้เปรียบในการแข่งขันที่มั่นคง’ (durable competitive
advantage) ซึ่งเป็นหัวใจของการลงทุนแบบบุฟเฟ็ตต์ เช่น
บริษัทที่มีหนี้สินค่อนข้างสูง (บุฟเฟ็ตต์บอกว่าอัตราส่วนหนี้
ต่อทุนไม่ควรเกิน 0.8) หรือมีอัตรากําไรลดลงเรื่อยๆ ทุกปี
(บุฟเฟ็ตต์ชอบบริษัทที่มีอัตรากําไรขั้นต้นไม่ต่ำ�กว่าร้อยละ
40) เปรียบเสมือนเปิดไฟหวอเตือนบุฟเฟ็ตต์ว่าน่าจะกําลัง
มี ปั ญ หา ไม่ ส ามารถนํ า ส่ ง ผลตอบแทนที่ เ ติ บ โตอย่ า ง
สม่ำ�เสมอทุกปีได้
หนั ง สื อ เล่ ม นี้ ส อนหลั ก การลงทุ น ของบุ ฟ เฟ็ ต ต์
หลายข้อที่แฟนๆ ของบุฟเฟ็ตต์รู้ดีอยู่แล้ว แต่ผู้มาใหม่จะ
พบว่าน่าสนใจไม่น้อย เช่น บุฟเฟ็ตต์ไม่ค่อยชอบบริษัทที่มี
วิชา 50 เล่มเกวียน :: 248
ค่าใช้จ่ายวิจัยและพัฒนาก้อนโตทุกปี (ซึ่งนั่นก็อธิบายว่า
เหตุใดเขาจึงแทบไม่เคยซื้อหุ้นของบริษัทผู้ผลิตซอฟต์แวร์
หรือบริษัทยา) เพราะแปลว่าเป็นบริษัทที่ผลิตสินค้าหรือ
บริ ก ารที่ พึ่ ง พิ ง นวั ต กรรมเป็ น หลั ก ต้ อ งคิ ด ค้ น วิ จั ย อะไร
ใหม่ๆ ตลอดเวลาเพื่อรักษาอัตรากําไร ถ้าปีไหนงานวิจัย
และพั ฒ นาล้ ม เหลวก็ แ ปลว่ า อั ต รากํ า ไรอาจจะตกต่ำ � ลง
ความเสี่ ย งทํ า นองนี้ ทํ า ให้ บ ริ ษั ท แบบนี้ ไ ม่ ใ ช่ บ ริ ษั ท ที่ มี
‘ความได้ เ ปรี ย บในการแข่ ง ขั น ที่ มั่ น คง’ ในแนวคิ ด ของ
บุฟเฟ็ตต์
Warren Buffett and the Interpretation of
Financial Statements เต็มไปด้วยตัวอย่างจากตลาดหุ้น
จริ ง ทั้ ง บริ ษั ท ที่ บุ ฟ เฟ็ ต ต์ โ ปรดปราน เช่ น Coca-Cola,
Wrigley’s (ผู้ ผ ลิ ต หมากฝรั่ ง รายใหญ่ ใ นอเมริ ก า) และ
Moody’s (บริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือในภาคการเงิน)
และบริษัทที่เขาไม่ชอบลงทุน (ซึ่งก็มักจะเป็นบริษัทที่นัก
ลงทุนคนอื่นๆ ไม่ค่อยโปรดด้วย ไม่ว่าจะเป็นนักลงทุนแบบ
ไหน) เช่น General Motors และ Goodyear
กล่ า วโดยสรุ ป Warren Buffett and the
Interpretation of Financial Statements เป็นหนังสืออ่าน
สนุกที่ตอบคําถามพื้นฐานเกี่ยวกับ ‘ปัจจัยพื้นฐาน’ ของ
บริษัทอย่างสนุกสนานและกระชับ รวมถึงหลายปัจจัยที่ฟัง
ดูง่าย ทว่าแม้แต่นักการเงินมืออาชีพหลายคนก็อาจหลงลืม
ไปแล้ว เช่น ตอนที่ผู้เขียนทั้งสองอธิบายว่าค่าเสื่อมราคามี
สฤณี อาชวานันทกุล :: 249
ความหมายที่แท้จริงต่อบริษัทและนักลงทุน ถึงแม้ว่ามันจะ
ไม่ใช่รายการที่บริษัทจ่ายจริงเป็นเงินสดออกไปทุกปี เพราะ
ค่าเสื่อมเป็นสัญญาณบ่งบอกว่าสินทรัพย์ของบริษัทที่ใช้ใน
การทํารายได้ เช่น เครื่องจักร ย่อมเสื่อมสภาพลงเรื่อยๆ
ทุกปี เมื่อถึงจุดหนึ่งบริษัทก็จะต้องลงทุนซื้อสินทรัพย์ใหม่
มาทดแทน
นักลงทุนระยะสั้นที่ซื้อขายหุ้นทุกรอบหกเดือนอาจ
ไม่ จํ า เป็ น ต้ อ งสนใจค่ า เสื่ อ มที่ ใ ช้ เ วลาสิ บ ปี ก ว่ า จะตั ด จ่ า ย
ครบ แต่รายการนี้เป็นสิ่งสําคัญที่มองข้ามไม่ได้สําหรับนัก
ลงทุนระยะยาวที่ ‘ถือยาว’ จริงๆ อย่างบุฟเฟ็ตต์
Jared Diamond
ถึงแม้ว่าภัยธรรมชาติที่มาพร้อมกับภาวะโลกร้อนกําลังทวี
ความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ และมิใยที่นักวิทยาศาสตร์จะผนึก
กํ า ลั ง ประสานเสี ย งป่ า วร้ อ งอั น ตรายแทบจะเป็ น เสี ย ง
เดียวกัน ประเทศส่วนใหญ่ก็ยังไม่ยอมเปลี่ยนกระบวนทัศน์
การพัฒนาออกจากเส้นทางที่จะนํามนุษยชาติไปสู่หายนะ
โดยเฉพาะประเทศกํ า ลั ง พั ฒ นาขนาดยั ก ษ์ อ ย่ า งจี น และ
อินเดีย ที่กําลังเจริญรอยตามวิถีการพัฒนาของอเมริกากับ
ยุโรป ซึ่งอาจสรุปเป็นประโยคสั้นๆ ว่า “เศรษฐกิจต้องมา
ก่อน เอาไว้เรารวยแล้วค่อยว่ากันเรื่องอื่น”
ในภาวะที่คนส่วนใหญ่ยังติดอยู่ใน ‘จุดบอด’ ที่ส่วน
ใหญ่ประกอบสร้างจากความเคยชินกับความสะดวกสบาย
ที่มาพร้อมกับมหกรรมบริโภคนิยมที่ใช้ทรัพยากรธรรมชาติ
วิชา 50 เล่มเกวียน :: 252
อย่างสิ้นเปลืองและทําลายสิ่งแวดล้อม การได้อ่านหนังสือที่
ทําให้เรารู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่นักการเมืองและ
นักธุรกิจกระแสหลักยังมองไม่เห็นหรือไม่ยอมปรับตัวตาม
น่าจะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่สุดที่คนธรรมดาอย่างเราสามารถ
ทําได้
วั น นี้ ผู้ เ ขี ย นขอแนะนํ า หนั ง สื อ ชั้ น ยอดเรื่ อ ง
Collapse: How Societies Choose to Fail or Succeed
โดย จาเร็ด ไดมอนด์ (Jared Diamond) นักภูมิศาสตร์จาก
มหาวิ ท ยาลั ย แคลิ ฟ อร์ เ นี ย ลอสแองเจลิ ส ผู้ โ ด่ ง ดั ง จาก
Guns, Germs, and Steel หนังสือที่ ‘พลิกความคิด’ คนทั่ว
โลกด้วยการนําเสนอหลักฐานว่า ประชากรที่อาศัยอยู่ใน
ทวีปยูเรเซีย (ยุโรป+เอเชีย) ซึ่งมีแกนตะวันออก-ตะวันตก
พาดผ่าน สามารถพัฒนาอารยธรรมได้รวดเร็วกว่าทวีปที่มี
แกนเหนื อ -ใต้ อ ย่ า งทวี ป อเมริ ก าและแอฟริ ก า เพราะมี
สภาพภูมิอากาศคงที่กว่า ซึ่งเอื้ออํานวยต่อการสร้างสังคม
เกษตรและสังคมอุตสาหกรรมตามลําดับ มิได้เป็นเพราะ
ชาวยูเรเซียมีสติปัญญาเลิศเลอกว่าคนทวีปอื่นแต่อย่างใด
หนังสือเล่มนี้ชนะรางวัลพูลิตเซอร์ปี 1997 และปัจจุบันใช้
สอนในโรงเรียนทั่วโลก
ในขณะที่ Guns, Germs, and Steel ถ่ายทอด
อิทธิพลของธรรมชาติ (โดยเฉพาะปัจจัยทางภูมิศาสตร์) ที่
มีต่อการพัฒนาของมนุษย์ Collapse ถ่ายทอดเรื่องกลับ
ข้างกัน นั่นคือ อิทธิพลของมนุษย์ที่มีต่อธรรมชาติ ประเด็น
สฤณี อาชวานันทกุล :: 253
หลักที่ไดมอนด์วิเคราะห์คือ ปัจจัยสําคัญที่ทําให้อารยธรรม
ซึ่งเคยเกรียงไกรหลายอารยธรรมต้องล่มสลายไปในอดีต
อาทิ อารยธรรมมายา เกาะอี ส เตอร์ และชาวนอร์ ส ใน
กรีนแลนด์ โดยเขาวิเคราะห์เจาะลึกอารยธรรมเหล่านี้อย่าง
ละเอียด อธิบายวิธีที่ปัจจัยเหล่านั้นกําลังคุกคามอารยธรรม
หลายแห่งในปัจจุบัน อาทิ รวันดา ไฮติ จีน และมลรัฐมอน-
ทานาในอเมริกา ปิดท้ายด้วยตัวอย่างของการร่วมมือกันที่
น่ายินดีระหว่างนักสิ่งแวดล้อมและนักธุรกิจ และข้อเสนอ
แนะว่าคนทั่วไปทําอะไรได้บ้างในโลกที่ธุรกิจยังมีหน้าที่ตาม
กฎหมายที่จะทํากําไรสูงสุด เพื่อให้การทําลายสิ่งแวดล้อม
เป็นเรื่อง ‘ไม่คุ้ม’ สําหรับธุรกิจ
Collapse อัดแน่นไปด้วยบทพิสูจน์ความสามารถ
พิ เ ศษของไดมอนด์ ที่ โ ด่ ง ดั ง ตั้ ง แต่ Guns, Germs, and
Steel นั่นคือ การขมวดรายละเอียดที่สลับซับซ้อนเกี่ยวกับ
อารยธรรมต่างๆ ที่แตกต่างกันมาก ให้อยู่ในรูปของ ‘เรื่อง
เล่า’ ที่เข้าใจง่ายและน่าติดตาม โดยไม่ใช้วิธีเหมารวมหรือ
อ้าง ‘สูตรสําเร็จ’ ใดๆ ที่นักเขียนสารคดีจํานวนมากชอบใช้
(และทําให้คนอ่านเข้าใจผิดอย่างไม่น่าให้อภัย) ไดมอนด์
ฉายภาพให้เราเห็นปฏิกิริยาระหว่างปัจจัยหลักห้าประการที่
นําอารยธรรมไปสู่หายนะ อันได้แก่ การเปลี่ยนแปลงของ
สภาพภูมิอากาศ เพื่อนบ้านที่ไม่เป็นมิตร การมีคู่ค้า (แปล
ว่ า สั ง คมมี ท างเลื อ กในการบริ โ ภคสิ น ค้ า จํา เป็ น ) ปั ญ หา
สิ่ ง แวดล้ อ ม และการตอบสนองที่ ผิ ด พลาดของสั ง คมต่ อ
วิชา 50 เล่มเกวียน :: 254
ปั ญ หาสิ่ ง แวดล้ อ มไดมอนด์ ชี้ ใ ห้ เ ห็ น ว่ า ถึ ง แม้ ว่ า ปั จ จั ย สี่
ประการแรกอาจอยู่ น อกเหนื อ การควบคุ ม ของมนุ ษ ย์
มนุษย์ ‘เลือกได้’ เสมอว่าจะตอบสนองต่อปัญหาเหล่านั้น
อย่างไร ดังที่ไดมอนด์พยายามชี้ให้เห็นตั้งแต่ชื่อรองของ
หนังสือเล่มนี้ – “วิธีที่สังคมเลือกว่าจะประสบความสําเร็จ
หรือล้มเหลว”
สิ่ ง ที่ ไ ดมอนด์ ทํ า ได้ ดี ม ากใน Collapse คื อ การ
เปรี ย บเที ย บระหว่ า งสั ง คมที่ ร่ ว มยุ ค กั น และตั้ ง รกรากอยู่
ในบริ เ วณใกล้ เ คี ย งกั น เพื่ อ ขั บ เน้ น ความสํ า คั ญ ของ
ปฏิ กิ ริ ย าของมนุ ษ ย์ ใ ห้ เ ด่ น ชั ด ยิ่ ง ขึ้ น บทที่ ดี ม ากในแง่ นี้
(และเป็นบทที่ผู้เขียนคิดว่าสนุกที่สุดในหนังสือเล่มนี้ด้วย)
คือตอนที่เขาเปรียบเทียบระหว่างประสบการณ์ของชาว
นอร์ส (ไวกิ้ง) และชาวอินูอิตบนทวีปกรีนแลนด์ไดมอนด์
อธิบายให้เห็นว่า สาเหตุหลักที่ชาวนอร์สต้องประสบกับ
ความอดอยากหิวโหยจนล้มหายตายจากไปหมดทวีป คือ
การทําลายสิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรง (หลายครั้งอย่างไม่รู้ตัว
ด้วยซ้ำ�) และไม่ยอมปรับตัวให้เข้ากับธรรมชาติไดมอนด์
สรุปว่า ชาวนอร์สมี ‘ทัศนคดีไม่ดี’ ต่อธรรมชาติ และด้วย
เหตุนั้นจึงประสบหายนะ ในขณะที่ชาวอีนูอิต ผู้มีวิถีชีวิตที่
เคารพนบนอบและอ่ อ นน้ อ มต่ อ ธรรมชาติ ถู ก ชาวนอร์ ส
ค่อนแคะดูถูกว่า ‘ป่าเถื่อน’ และ ‘ประหลาด’ กลับสามารถ
เอาตัวรอดในสภาพแวดล้อมอันเหน็บหนาวของกรีนแลนด์
ต่อเนื่องสืบมาจวบจนปัจจุบัน
สฤณี อาชวานันทกุล :: 255
กรณีเปรียบเทียบแบบนี้มีอีกมากมายใน Collapse
แต่ละกรณีเขียนด้วยสํานวนอ่านง่ายและน่าติดตามอย่างที่
นักวิชาการน้อยคนจะทําได้ อีกตัวอย่างหนึ่งที่ผู้เขียนชอบ
คือตอนที่ไดมอนด์เปรียบเทียบระหว่างสาธารณรัฐโดมินิกัน
และไฮติ สองประเทศร่วมเกาะฮิสปานีโอลา ในเมื่อทั้งสอง
ประเทศนี้ มี ร ะดั บ ทรั พ ยากร ศาสนา วั ฒ นธรรม และ
ประวัติศาสตร์ที่คล้ายคลึงกัน เราจึงน่าจะมั่นใจได้ว่า ความ
แตกต่างของสถานการณ์ปัจจุบันมาจาก “ทัศนคติ” ต่อสิ่ง-
แวดล้ อ มที่ แ ตกต่ า งกั น ปั จ จุ บั น ไฮติ ก ลายเป็ น หนึ่ ง ใน
ประเทศที่ยากจนข้นแค้นที่สุดในซีกโลกตะวันตก มีผืนป่า
ปกคลุมประเทศเพียงร้อยละ 1 เทียบกับร้อยละ 28 ใน
สาธารณรัฐโดมินิกัน ประเทศที่แม้จะไม่ร่ำ�รวยอะไรมาก แต่
เศรษฐกิจก็เติบโตอย่างต่อเนื่อง ดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมเป็น
อย่างดี และประชากรรายงานว่า ‘มีความสุข’ เป็นอันดับ
ต้นๆ ของโลก (กรณีที่คล้ายกันอีกตัวอย่างหนึ่งที่ไดมอนด์
ไม่ได้ยก คือความแตกต่างระหว่างเนปาลและภูฏาน สอง
ประเทศเพื่อนบ้านเชิงเขาหิมาลัย)
ไดมอนด์ พิ สู จ น์ ใ ห้ เ ราเห็ น ด้ ว ยข้ อ มู ล หลั ก ฐาน
มากมายว่า การพัฒนาทางเศรษฐกิจไม่ได้อยู่ ‘ตรงข้าม’ กับ
การอนุ รั ก ษ์ สิ่ ง แวดล้ อ มอย่ า งที่ ค นส่ ว นใหญ่ ยั ง เข้ า ใจผิ ด
ไดมอนด์ตอกย้ำ�ด้วยข้อเท็จจริงว่า ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม
นั้ น มี ค วามสํ า คั ญ ทั ด เที ย มกั บ มิ ติ อื่ น ๆ ที่ เ รามั ก จะใช้ วั ด
‘ความสําเร็จ’ ของสังคม หรืออาจจะสําคัญกว่าด้วยซ้ำ�
วิชา 50 เล่มเกวียน :: 256
เพราะถ้าสิ่งแวดล้อมทรุดโทรมลงเรื่อยๆ ถึงจุดหนึ่งสังคม
มนุ ษ ย์ ก็ ไ ม่ อ าจจะอยู่ ไ ด้ สิ่ ง ที่ น่ า ทึ่ ง ไม่ น้ อ ยคื อ ไดมอนด์
สามารถถ่ายทอดเรื่อง ‘หนักๆ’ เหล่านี้ได้อย่างน่าสนใจ
เปี่ ย มอารมณ์ ขั น และตลกร้ า ย ผ่ า นวิ ธี ก ารเขี ย นแบบตั้ ง
คํ า ถามที่ ทํ า ให้ ฉุ ก คิ ด ก่ อ นจะหาคํ า ตอบ เช่ น “ชาวเกาะ
อีสเตอร์ที่ตัดต้นปาล์มต้นสุดท้ายพูดว่าอะไรระหว่างที่เขา
ตัดไม้ต้นนั้น? เขาร้องว่า ‘เราต้องการงานทํา ไม่ใช่ต้นไม้!’
หรือเปล่า?” หรือ “เป็นไปได้อย่างไรที่สังคมจํานวนมากจะ
ทําผิดพลาดอย่างรุนแรงซ้ำ�แล้วซ้ำ�เล่า?”
ถ้าคุณสงสัยว่าเหตุใดไดมอนด์จึงบอกว่า “แก่นแท้
ที่จะกําหนดว่าสังคมจะสําเร็จหรือล้มเหลว คือการมีปัญญา
พอที่จะรู้ว่าคุณค่าใดที่สําคัญจริงๆ และคุณค่าใดที่สมควร
ทิ้งและทดแทน” ปัญหาสิ่งแวดล้อม 12 ปัญหาที่ไดมอนด์
มองว่าเป็นสัญญาณบ่งบอกว่าหายนะกําลังคืบคลานเข้า
ใกล้มีอะไรบ้าง และเหตุใดเขาจึงเชื่อว่าการบริหารจัดการ
สิ่งแวดล้อมที่ล้มเหลวจะนําไปสู่ความขัดแย้งทางการเมือง
และหายนะของทุ ก สั ง คม คุ ณ ก็ ต้ อ งอ่ า น Collapse –
หนังสือดีที่จะไม่มีวันล้าสมัย เพราะถ่ายทอดสัจธรรมจาก
อดีตที่คนปัจจุบันจะต้องสําเหนียกอย่างเร่งด่วน.
George Akerlof
& Robert Shiller
Fareed Zakaria
Hayagreeva Rao
ในห้วงยามที่สังคมไทยดูจะตื่นเต้นแกมแตกตื่นกับแนวคิด
‘เศรษฐกิ จ สร้ า งสรรค์ ’ (ทั้ ง ที่ น่ า จะตื่ น เต้ น กั บ ‘ทุ น นิ ย ม
สร้างสรรค์’ ของ บิล เกตส์ มากกว่า) ผู้เขียนคิดว่าเราน่าจะ
ครุ่นคิดกันให้ลึกซึ้งว่า ลักษณะของกลุ่มคนที่สามารถผลัก
ดันนวัตกรรมดีๆ ให้ทําประโยชน์ต่อสังคมได้จริงนั้นมีอะไร
บ้าง สภาพเศรษฐกิจและสังคมไทยปัจจุบันเอื้อให้เกิดคน
แบบนี้มากน้อยเพียงใด
หนังสือเล่มหนึ่งที่ผู้เขียนเชื่อว่าจะช่วยกระตุ้นให้
เราครุ่ น คิ ด เรื่ อ งนี้ กั น อย่ า งจริ ง จั ง และตรงประเด็ น คื อ
Market Rebels โดย ฮายากรีวา ราว (Hayagreeva Rao)
อาจารย์ประจําคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด
ประเด็นหลักของหนังสือเล่มนี้คือ การเปลี่ยนแปลงจําเป็น
วิชา 50 เล่มเกวียน :: 270
ต่อการพัฒนาสังคมให้ก้าวไปข้างหน้า การเปลี่ยนแปลง
ต้องเกิดจากนวัตกรรม และนวัตกรรมจําเป็นต้องใช้ ‘กบฏ
ตลาด’ ซึ่งในนิยามของราวหมายถึงนักเคลื่อนไหวที่ท้าทาย
สถานภาพเดิม (status quo) และต่อต้านปัญญาสาธารณ์
(conventional wisdom)
ราวยกตัวอย่างมากมายมาชี้ให้เห็นว่า กบฏตลาด
มี บ ทบาทที่ ข าดไม่ ไ ด้ ใ นสั ง คมเพราะพวกเขาจุ ด ประกาย
หรือกระตุ้นให้ปัจเจกชนเคลื่อนไหวทางสังคมร่วมกัน ซึ่ง
การเคลื่อนไหวดังกล่าวอาจหนุนเสริมหรือกีดกันนวัตกรรม
ใหม่ๆ ในสังคมก็ได้ ประเด็นที่สําคัญคือ กบฏตลาดสามารถ
ดึงดูดความสนใจของผู้คนในยุคที่ความรู้สึกแปลกแยกและ
เบื่อหน่ายเป็นเรื่องธรรมดา ด้วยการใช้เทคนิคนานาชนิดที่
คนมองว่า ‘เท่’ ในการผลักดันประเด็น ‘ร้อน’ ที่พวกเขาลุ่ม
หลง ยกตัวอย่างเช่น บรรดากบฏตลาดที่บุกเบิกอุตสาห-
กรรมคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ ทลายอํานาจผูกขาดและความ
ชอบธรรมของกลุ่ ม กี๊ ก (geek) อี โ ก้ จั ด ใจแคบที่ ม อง
คอมพิวเตอร์ว่าเป็นเทคโนโลยีชั้นสูงที่คนธรรมดาโง่เกิน
กว่าจะเข้าใจ กบฏตลาดกลุ่มนี้มีบทบาทสําคัญในกําเนิด
ของบริษัทใหม่ๆ ที่สร้างอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ
และทําให้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เป็นประชาธิปไตยมากขึ้น
เรื่อยๆ คือคนทั่วไปสามารถเข้าถึงได้
Alan Webber
ในบรรดาหนังสือสารคดีทั้งหมด ฮาวทูเป็นหนังสือประเภท
ที่ผู้เขียนอ่านน้อยที่สุด สาเหตุครึ่งหนึ่งคือผู้เขียนเชื่อว่า
ชีวิตนั้นซับซ้อนและมีเหตุการณ์ที่เราควบคุมไม่ได้บ่อยเกิน
กว่าที่ใครจะสามารถตัดทอนและสรุปออกมาเป็นขั้นตอนว่า
ถ้าทุกคนทํา 1-2-3 แล้วชีวิตจะประสบความสําเร็จ สาเหตุ
อี ก ครึ่ ง หนึ่ ง คื อ ผู้ เ ขี ย นรู้ สึ ก ว่ า ผู้ เ ขี ย นหนั ง สื อ แนวนี้ มั ก จะ
เขียนอย่างฉาบฉวย ไม่พยายามแยกแยะบทบาทของความ
บังเอิญและโชค(ดี)ออกจากความสามารถของคน ทําให้
มนุษย์ในหนังสือดูเก่งกว่ามนุษย์ในโลกจริงหลายเท่า
ปัญหานี้เข้มข้นอย่างยิ่งในฮาวทูเชิงธุรกิจ ประเภท
‘เคล็ดลับเศรษฐี’ หรือ ‘รวยหุ้นร้อยล้านก่อนอายุ 35’ เพราะ
‘จุดขาย’ ของฮาวทูแนวนี้ย่อมอยู่ที่การหว่านล้อมคนอ่านให้
วิชา 50 เล่มเกวียน :: 276
เชื่อว่าจะประสบ ‘ความสําเร็จ’ ในชีวิตอย่างแน่นอนถ้าทํา
ตามเคล็ดลับทุกข้อที่ระบุในหนังสือ และในเมื่อหนังสือฮาว
ทูส่วนใหญ่อยากขายดี ‘เคล็ดลับ’ เหล่านั้นจึงมักจะย่อยง่าย
จําง่าย และมักง่าย เป็นปัญญาสาธารณ์ (conventional
wisdom) เดิมๆ ที่เอามาจัดแพ็คเกจใหม่ ไม่นับการใส่ ‘น้ำ�’
แบบท่วมทุ่ง ทําให้ ‘เนื้อ’ ยิ่งจมหายในหนังสือ
ด้วยเหตุผลเหล่านี้ ฮาวทูจึงไม่ใช่หนังสือประเภทที่
ผู้เขียนติดตามหรือลองอ่านเอง จะได้อ่านฮาวทูดีๆ ก็ต่อ
เมื่อมีเพื่อนแนะนําเท่านั้น
วั น นี้ จึ ง ต้ อ งขอบคุ ณ เพื่ อ นที่ แ นะนํ า Rules of
Thumb หนังสือฮาวทูธุรกิจที่ดีที่สุดที่ผู้เขียนเคยอ่าน
Rules of Thumb เป็นผลงานของ อลัน เว็บเบอร์
(Alan Webber) ผู้ร่วมก่อตั้ง Fast Company นิตยสาร
ธุ ร กิ จ ที่ ดี ที่ สุ ด ในความเห็ น ของผู้ เ ขี ย น เขากลั่ น ประสบ-
การณ์กว่า 40 ปีในฐานะสื่อมวลชนที่ได้พบปะและทําข่าว
นักธุรกิจชั้นนําหลายร้อยคนทั่วโลก ออกมาเป็นหลักจําง่าย
ที่ฝรั่งเรียกว่า rules of thumb จํานวน 52 ข้อ ที่น่าคิดและ
เป็นประโยชน์ต่อนักธุรกิจและคนทั่วไป
สิ่งที่ทําให้ Rules of Thumb เป็นมากกว่าหนังสือ
ฮาวทูทั่วไป คือการที่เว็บเบอร์เข้าใจว่าชีวิตที่ ‘ดี’ นั้น น่าจะ
มีอะไรมากกว่าการประสบความสําเร็จในที่ทํางาน คําโปรย
หนั ง สื อ คื อ “52 principles for winning at business
without losing your self” ซึ่งอาจแปลเป็นไทยว่า “หลักการ
สฤณี อาชวานันทกุล :: 277
52 ข้อสําหรับการเอาชนะในธุรกิจโดยไม่ต้องสูญเสียตัวตน”
สรุปหัวใจของหนังสือเล่มนี้ได้อย่างดีเยี่ยม
หลักการใน Rules of Thumb มีทั้งหลักที่นักธุรกิจ
ทั่วไปรู้ดีอยู่แล้ว และที่ยังไม่ค่อยรู้ แต่เว็บเบอร์สามารถทํา
ให้ทั้งหมดนั้นเป็นเรื่อง ‘ใหม่’ หรือ ‘เหมือนใหม่’ ด้วยการ
ยกตัวอย่างจากโลกธุรกิจที่แสดงให้เห็นบทบาทและวิธีใช้
หลักการเหล่านั้นในสภาพความเป็นจริง เขาทําให้เรามอง
เห็นความสําคัญของหลักการที่รู้ๆ กันอยู่แต่อาจมองข้ามไป
และที่ สํ า คั ญ กว่ า นั้ น คื อ ตอกย้ำ � ให้ เ ห็ น ความสํ า คั ญ ของ
ความเปลี่ยนแปลง ความกล้าหาญที่จะเปลี่ยนความคิดเมื่อ
ความคิดเก่าใช้ไม่ได้แล้ว และการเอาใจเขามาใส่ใจเรา ซึ่ง
ล้วนเป็นลักษณะของผู้นําที่ดีในทุกภาคส่วน ไม่ใช่แค่ภาค
ธุรกิจเท่านั้น
หลั ก การที่ ผู้ เ ขี ย นชอบที่ สุ ด ในหนั ง สื อ เล่ ม นี้ คื อ
สมการคณิ ต ศาสตร์ สั้ น ๆ แต่ จํ า ง่ า ยที่ เ ว็ บ เบอร์ เ รี ย กว่ า
“สมการการเปลี่ยนแปลง” –
C(SQ) > R(C)
ในสมการนี้ C ตัวแรกหมายถึงต้นทุน, SQ หมาย
ถึงสภาพที่เป็นอยู่ (status quo), R หมายถึงความเสี่ยง
และ C ในวงเล็บหมายถึงการเปลี่ยนแปลง ดังนั้นสมการนี้
จึงบอกว่า การเปลี่ยนแปลงจําเป็นจะต้องเกิดถ้าสภาพที่
เป็นอยู่นั้นมีต้นทุนสูงกว่าความเสี่ยงของการเปลี่ยนแปลง
ยุคนี้เป็นยุคที่เราต้องเปลี่ยนวิธีคิดอย่างเร่งด่วนเกี่ยวกับ
การดํารงชีวิตของมนุษย์ในทุกมิติ ตั้งแต่แนวทางการพัฒนา
ระดั บ ชาติ โมเดลธุ ร กิ จ ระดั บ อุ ต สาหกรรม และวิ ถี ชี วิ ต
ประจําวันระดับคนธรรมดา ให้สอดคล้อง ยึดโยง และรับใช้
สังคมและสิ่งแวดล้อมมากกว่าที่แล้วมาทุกสมัย เพราะวิธี
คิดแบบ ‘แยกส่วน’ ที่ผ่านมานั้นได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า ก่อ
ให้เกิด ‘ต้นทุนที่มองไม่เห็น’ ด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม
นานัปการที่เรามองเห็นชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ ไม่ว่าจะในรูปของ
ความเดือดร้อนของผู้ด้อยโอกาสที่ตลาดไม่ให้บริการ ความ
สุขที่หดหายของชนชั้นกลางในเมืองที่มีเวลาน้อยลงทั้งๆ ที่
มีเครื่องมืออํานวยความสะดวกนับไม่ถ้วน และที่เห็นชัดเจน
ที่สุดคือปัญหาสิ่งแวดล้อมถูกทําลาย ระบบนิเวศเสื่อมโทรม
วิชา 50 เล่มเกวียน :: 282
ทรัพยากรธรรมชาติที่เราเคยเชื่อว่าไม่มีวันหมดกําลังจะ
หมดลงจริงๆ ไม่ว่าจะเป็นปลาในทะเล น้ำ�มันในผืนดิน หรือ
แร่โลหะหลายชนิดที่ใช้ในภาคอุตสาหกรรม
การเปลี่ ย นวิ ธี คิ ด ย่ อ มทํ า ได้ ห ลายวิ ธี แ ละหลาก
หลายรูปแบบ แล้วแต่ระดับและลักษณะเฉพาะของแต่ละ
สังคมหรือปัจเจกบุคคล ในระดับประเทศ รัฐบาลที่มีวิสัย-
ทัศน์อาจรณรงค์เรื่อง ‘การพัฒนาอย่างยั่งยืน’ และออกกฎ
กติ ก าใหม่ เ พื่ อ สร้ า งแรงจู ง ใจที่ พึ ง ประสงค์ ส่ ว นในระดั บ
ธุรกิจ บริษัทที่มองการณ์ไกลอาจเปลี่ยนโมเดลธุรกิจให้เป็น
‘ทุ น นิ ย มที่ มี หั ว ใจ’ หรื อ ‘ทุ น นิ ย มสร้ า งสรรค์ ’ สร้ า ง
บรรทัดฐานใหม่ให้คู่แข่งและผู้เล่นรายอื่นทําตาม
การเปลี่ยนวิธีคิดในระดับปัจเจกชนอาจเป็นเรื่อง
‘ง่าย’ ที่ทํา ‘ยาก’ ที่สุด แต่ก็จําเป็นที่สุดต่อการสร้างความ
เปลี่ยนแปลง เพราะ ‘คน’ เป็นหน่วยที่ขับเคลื่อนและส่งผล
กระทบต่อทุกอณูของธุรกิจ ในฐานะพนักงาน ผู้บริโภค ผู้
ถือหุ้น หรือคนในชุมชนผู้แบกรับมลพิษ
ในบรรดาสถานภาพทั้งหมดที่เราๆ ท่านๆ เป็นกัน
ได้ ผู้บริโภคน่าจะเป็นหมวกใบสําคัญที่สุดในการกดดันหรือ
ผลักดันให้บริษัททําธุรกิจอย่างยั่งยืน การตัดสินใจของผู้
บริโภคว่าจะซื้ออะไรบ้างนั้น เปรียบเสมือนการ ‘ลงคะแนน
เสียง’ เลือกบริษัทที่อยากให้อยู่รอด เพราะทุกบริษัทล้วน
อยู่ได้ด้วยการขายสินค้าและบริการ ถ้าคนไม่ซื้อเพราะไม่
พอใจ บริษัทก็จะต้องเปลี่ยนวิธีคิดเสียใหม่
สฤณี อาชวานันทกุล :: 283
แต่ ถ้ า จะให้ พ ลั ง ของผู้ บ ริ โ ภคสั ม ฤทธิ์ ผ ลอย่ า ง
แท้จริง ผู้บริโภคก็จะต้องตระหนักและรับรู้ทั้ง ‘สาเหตุของ
สิ่งที่เราทํา และผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น’ ในคําพูดของ แดเนียล
โกลแมน (Daniel Goleman) นักจิตวิทยาชั้นแนวหน้าผู้โด่ง
ดังจากหนังสือเรื่อง Emotional Intelligence กับ Social
Intelligence
โกลแมนเปิ ด หนั ง สื อ เล่ ม ล่ า สุ ด ของเขาคื อ Eco-
logical Intelligence อย่างน่าคิด ด้วยการอ้างปริศนาธรรม
จากคัมภีร์วิสุทธิมรรคว่า สิ่งที่เราเรียกว่า ‘รถม้า’ นั้นแท้จริง
อยู่ที่ใด อยู่ที่เพลาล้อ ล้อ ตัวรถ หรือไม้คานที่ผูกตัวม้าเข้า
กับรถ? คําตอบคือไม่อยู่ที่ไหนเลย เพราะสิ่งที่เราเรียกว่า
‘รถม้า’ นั้นหมายถึงแบบแผนที่ส่วนประกอบเหล่านี้มารวม
ตัวกันชั่วคราว ‘รถม้า’ จึงเป็นเพียงภาพมายาไม่ต่างจาก
‘ตัวตน’ ของมนุษย์
โกลแมนเสนอว่าเรามองสินค้าทุกชนิดแบบนี้ได้
เหมื อ นกั น เพราะเราสามารถซอยมั น ออกเป็ น ชิ้ น ส่ ว น
ประกอบยิบย่อยและกระบวนการผลิตของแต่ละชิ้น ในช่วง
เวลาไม่ ถึง สามทศวรรษที่ ผ่ านมา นั กนิเ วศอุ ต สาหกรรม
(industrial ecologist) – นั ก นิ เ วศพั น ธ์ุ ใ หม่ ที่ เ ข้ า ใจ
ทั้ ง วิ ศ วกรรมและนิ เ วศวิ ท ยา – ได้ คิ ด ค้ น และพั ฒ นา
กระบวนการประเมินที่เรียกว่า life-cycle assessment
(LCA) เพื่อย่อยใยแมงมุมแห่งความเชื่อมโยงระหว่างชิ้น
ส่วนและกระบวนการผลิตต่างๆ ให้เราเห็นผลกระทบที่แท้
วิชา 50 เล่มเกวียน :: 284
จริ ง ต่ อ สิ่ ง แวดล้ อ มในแต่ ล ะช่ ว งเวลาในชี วิ ต ของชิ้ น ส่ ว น
อย่างละเอียด แต่ถึงแม้ว่า LCA จะวิวัฒนาการไปมากเพียง
ใด โกลแมนก็บอกว่าเรายังมีสิ่งที่ต้องทําอีกมาก ก่อนที่ผู้
บริโภคจะมองเห็นและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้สอดคล้อง
กับข้อมูลทํานองนี้
โกลแมนยกตัวอย่างมากมายที่ชี้ให้เห็นความ ซับ
ซ้อนของประเด็นนี้ เช่น สมมุติว่าเราตัดสินใจจะซื้อเสื้อยืดที่
โฆษณาว่าทําจากฝ้ายออร์แกนิก 100 เปอร์เซ็นต์ เพราะ
เราอ่านเจอว่าอะไรก็ตามที่เป็น ‘ออร์แกนิก’ นั้นเป็นมิตรกับ
สิ่งแวดล้อม แต่ในความเป็นจริง ฝ้ายออร์แกนิกนั้น ‘เขียว’
เพียงบางเรื่องเท่านั้น เช่น ไม่ใช้ปุ๋ยเคมีและยาฆ่าแมลง แต่
‘ไม่เขียว’ ในอีกหลายเรื่อง เช่น ต้องใช้น้ำ�ถึง 10,000 ลิตร
ในการปลูกฝ้ายพอที่จะทําเสื้อยืดเพียงตัวเดียว และการใช้
สารเคมีอุตสาหกรรมบางประเภทในการย้อมสีฝ้ายนั้นก็อาจ
ทําให้น้ำ�ใต้ดินเป็นพิษ ประเด็นของโกลแมนคือ เราจําเป็น
จะต้องได้รับรู้ข้อมูลทั้งหมดก่อนที่จะตัดสินใจได้ว่า เสื้อยืด
ตัวนี้ ‘เขียวจริง’ หรือไม่เพียงใด
นอกจากนี้ การวั ด และประเมิ น ผลกระทบต่ อ
สิ่งแวดล้อมในตัวมันเองก็เป็นเรื่องยากที่ขึ้นอยู่กับเงื่อนไข
มากมาย ยกตัวอย่างเช่น ระหว่างเห็ดนำ�เข้าจากญี่ปุ่นกับ
เห็ดที่ปลูกในเชียงใหม่ คนกรุงเทพฯ ที่เป็นห่วงเรื่องสิ่ง
แวดล้อมอาจจะอยากซื้อเห็ดเชียงใหม่มากกว่า เพราะระยะ
ทางจากเชียงใหม่มาถึงกรุงเทพนั้นสั้นกว่าจากญี่ปุ่นมาก
สฤณี อาชวานันทกุล :: 285
แต่ในความเป็นจริง เราจะต้องรู้ประเภทของวิธีขนส่งด้วย
เพราะการขนส่งทางเรือนั้นปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
น้อยกว่าการขนส่งทางอากาศหลายเท่า ดังนั้นถ้าเห็ดญี่ปุ่น
เดินทางมาทางเรือ ก็อาจ ‘เขียว’ กว่าเห็ดเชียงใหม่ที่บินมา
ส่งร้านที่กรุงเทพฯ
โกลแมนอธิบายอย่างแจ่มชัดว่า มนุษย์วิวัฒนา-
การมาพร้อมกับสมองที่ช่วยให้เราตอบสนองต่ออันตรายที่
ชั ด เจนและเร่ ง ด่ ว น เช่ น ทํ า ให้ เ รารู้ สึ ก คลื่ น ไส้ เ มื่ อ รั บ
ประทานอาหารบูด หรือหลับตาโดยอัตโนมัติเมื่อเจอแสงจ้า
แต่ ธ รรมชาติ ไ ม่ อ าจเตรี ย มความพร้ อ มให้ เ ราเข้ า ใจผล
กระทบของสารเคมีอุตสาหกรรมต่อสุขภาพของลูกหลาน
ของเรา หรืออันตรายของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
เพราะผลกระทบเหล่านี้สะสมทีละเล็กทีละน้อยและธุรกิจยุค
โลกาภิวัตน์นั้นซับซ้อนเกินกว่าที่สมองมนุษย์จะมองเห็น
หรือตามทัน
ด้วยเหตุนี้ โกลแมนจึงเสนอว่าเราจะต้องร่วมกัน
สร้าง ‘ความฉลาดเชิงนิเวศ’ หรือที่เขาเรียกว่า Ecological
Intelligence ซึ่งอาจแปลสั้นๆ ได้ว่า “ความเข้าใจในผล
กระทบด้านสิ่งแวดล้อมระดับโลก ของการตัดสินใจประจํา-
วันของคนธรรมดา” ด้วยการช่วยกันต่อยอดและขยับขยาย
งานของนักนิเวศอุตสาหกรรมออกไปในวงกว้าง โกลแมน
เชื่อว่า ความฉลาดเชิงนิเวศจะส่งผลกระทบอันยิ่งใหญ่ต่อ
ภาคธุ ร กิ จ และชี วิ ต ประจํ า วั น ไม่ ต่ า งจากที่ แ นวคิ ด เรื่ อ ง
วิชา 50 เล่มเกวียน :: 286
Emotional Intelligence เคยเปลี่ยนวิธีทําธุรกิจและวิถีชีวิต
มาแล้วในศตวรรษก่อนหน้านี้