You are on page 1of 249

“๔ กลไกหลักตามออทิสติกโรดแมป”

๔ กลไกหลักตามออทิสติกโรดแมป

ISBN:
พิมพ์ครั้งที่ ๑: กรกฎาคม ๒๕๕๙ จ�ำนวน ๑,๐๐๐ เล่ม

ที่ปรึกษา:
ดร.อาคม อึ้งพวง
นายชูศักดิ์ จันทยานนท์
ดร.สมพร หวานเสร็จ
ดร.ธีรากร มณีรัตน์
นายแพทย์สิทธิศักดิ์ ตันมณี
นายแพทย์ สมัย ศิริทองถาวร
นางหทัยพร คลังก�ำแหงเดช
ด.ร.กษมา อัจฉริยะศาสตร์
ดร.นพดล ธุลีจันทร์
ดร.ปิยะวรรณ ศรีสุรักษ์

บรรณาธิการด้านภาพรวมเนื้อหา:
นายชูศักดิ์ จันทยานนท์
นายกสมาคมผู้ปกครองบุคคลออทิสซึมไทย

ผู้ประมวลและเรียบเรียงเนื้อหา:
นางจีรพันธุ์ ตันมณี
ประธานกองทุนรัฐวัฒน์ตันมณีเพื่อสิทธิคนออทิสติก
ผูป้ ระสานงานเครือข่ายผูป้ กครองบุคคลออทิสติก (ประเทศไทย)
2
บรรณาธิการ เรียบเรียง พิสูจน์อักษร:
นางหทัยพร คลังก�ำแหงเดช
นักวิชาการอิสระด้านคนพิการ
ผู้ร่วมก่อตั้งสมาคมบุคคลออทิซึมไทย สมาคมเด็กออทิสติก
จังหวัดเชียงใหม่
อดีตประธานสภาคนพิการทุกประเภทภาคเหนือ (๒๕๔๒ -
๒๕๔๔)
กองบรรณาธิการ:
นางประภา อภิพัฒนา
นายหรรษา เอกลาภ
นางนฏชมน นิลอ่อน
นายชวลิต พฤกษจ�ำรูญ
นางสาวจุฑามาศ จักรรานุกุล
นายมฆวัตว์ อาตม์สกุล
นายศิรเมศวร์ เจริญสุข
นางสมคิด สุทธิพรม
นางสาวอัจฉรา อุดหนุน
นางสิริยากร โคตธนู (แม่แก้มนวล)
นางอารยา แดงแสง

วาดไดอะแกรมประกอบเนื้อหา และออกแบบปก / รูปเล่ม:


โดย WISDOM CONNECTION

3
“๔ กลไกหลักตามออทิสติกโรดแมป”

จัดพิมพ์โดย:
สมาคมผู้ปกครองบุคคลออทิสซึม (ไทย)
สมาคมผู้ปกครองบุคคลออทิสติก จังหวัดขอนแก่น
กองทุนรัฐวัฒน์ตันมณีเพื่อสิทธิบุคคลออทิสติก
เครือข่ายผู้ปกครองบุคคลออทิสติก (ประเทศไทย)

สนับสนุนการจัดพิมพ์:
กองทุนรัฐวัฒน์ตันมณีเพื่อสิทธิคนออทิสติก
กองทุนแทนคลังก�ำแหงเดช เพื่อคนออทิสติกและครอบครัว

พิมพ์ที่:

4
ค�ำน�ำ

“๔ กลไกหลักตามออทิสติกโรดแมป”
คนทุกคนมีความปรารถนามีความต้องการทีจ่ ะได้รบั ความรูส้ กึ ที่
มั่นคงปลอดภัยและได้รับการยอมรับในชุมชนสังคมท้องถิ่นของตน มี
ความปรารถนาทีจ่ ะสามารถเชือ่ มต่อกับผูอ้ นื่ ในฐานะจิตแพทย์กระผม
เห็นว่าเรื่องนี้เป็นความต้องการพื้นฐานที่ส�ำคัญของชีวิตมนุษย์ทุกคน
ซึ่งรวมถึงบุคคลออทิสติก

สิง่ ทีต่ อ้ งการให้เกิดขึน้ ในสังคมของบุคคลออทิสติก ตัง้ แต่การได้


รับการวินิจฉัยทันเวลา การได้รับการสนับสนุนตลอดกระบวนการของ
การมีชวี ติ ให้อยูใ่ นการบริหารจัดการของสังคมอย่างมีสว่ นร่วม ทัง้ ภาค
รัฐและเอกชน ตัง้ แต่เชิงกลยุทธ์ตลอดจนถึงการประเมินผล โดยเฉพาะ
อย่างยิง่ การเกิดมีขนึ้ จากการมีสว่ นร่วมของผูป้ กครองและความร่วมมือ
ในการท�ำงานของทุกภาคส่วนทีส่ อดคล้องกัน เพราะผลจากการศึกษา
ยืนยันว่าการมีสว่ นร่วมเป็นองค์ประกอบคุณภาพทีด่ ที สี่ ดุ อย่างหนึง่ ของ
ระบบการศึกษาที่ดีระดับโลก

ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา กระผมได้ติดตามความเคลื่อนไหว
และความพยายามอย่างยิ่งของกลุ่มบุคคลองค์กรที่รวมตัวกันท�ำงาน
เพื่อบุคคลออทิสติกในประเทศไทย กระผมเห็นความมุ่งมั่นตั้งใจที่จะ
ผลักดันให้เกิดแผนการท�ำงานอย่างเป็นรูปธรรมที่สามารถแสดงถึง
การปฏิบัติงานของหน่วยงานต่างๆ อย่างเกี่ยวข้องสอดคล้องกับชีวิต
5
“๔ กลไกหลักตามออทิสติกโรดแมป”

จริงของบุคคลออทิสติกที่เรียกได้ว่าเราไม่ต้องการทิ้งใครให้ต่อสู้ตาม
ล�ำพังได้ ทิศทางแผนการด�ำเนินงานการปฏิบัติงานใน “๔ กลไกหลัก
ตามออทิสติกโรดแมป” ที่ปรากฏในหนังสือเล่มนี้เป็นการวางกลไก
การท�ำงานเพื่อบุคคลออทิสติกตลอดเส้นทางอย่างชัดเจน กระผมขอ
ชืน่ ชมและมีความมัน่ ใจว่าการเกิดขึน้ ของปรากฏการณ์นคี้ งไม่ตา่ งจาก
การเริม่ ต้นเหมือนกับอีกหลายๆ ประเทศทีป่ ระสบความส�ำเร็จด้านการ
บริการเพือ่ บุคคลออทิสติก คือการรวมตัวกันของครอบครัวทีม่ คี วามรัก
หล่อเลี้ยงเป็นพื้นฐานซึ่งเป็นความยั่งยืนอย่างแท้จริง

ความตั้ ง ใจของการสร้ า งแผนความร่ ว มมื อ ทั้ ง หน่ ว ยงาน


ภาครัฐและภาคเอกชน ตั้งแต่ระดับชุมชน ท้องถิ่น ภูมิภาค ตลอด
จนระดับประเทศ โดยค�ำนึงถึงการท�ำงานอย่างมีส่วนร่วมระหว่าง
หน่วยงาน และรวมถึงการให้บุคคลออทิสติกเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของ
สังคมอย่างแท้จริงที่ส อดคล้องกับ การศึกษาวิจั ยและการวิ นิจฉั ย
บุคคลออทิสติก เป็นโอกาสอันดีที่จะได้ขยายความเข้าใจให้สังคมได้
มีโอกาสเรียนรู้การส่งเสริมพัฒนาทักษะต่างๆ สังคมทุกระดับจึงควรที่
จะศึกษาการมีส่วนร่วมในการให้บริการ การสนับสนุนส่งเสริม รวมถึง
การพัฒนาบริการต่างๆ ทีเ่ กีย่ วข้องทีเ่ ริม่ จากท้องถิน่ แนวโน้มในอนาคต
จึงมีโอกาสที่ชุมชนและท้องถิ่นสามารถเข้ามาสนับสนุนส่งเสริมความ
คิดในการบริการการพัฒนาการศึกษาและวิจัยพัฒนานวัตกรรมเพื่อ
ปรับปรุงคุณภาพชีวิตโดยรวม ซึ่งหากเป็นไปตามโรดแมปนี้กระผมคิด
ว่าประเทศของเราจะเกิดการสร้างความตระหนักและเพิ่มความเข้าใจ
ในบุคคลออทิสติกในสังคมเป็นอย่างมากซึ่งเป็นความจ�ำเป็นและเป็น
ความส�ำคัญอย่างยิง่ ในการอยูร่ ว่ มกันอย่างสันติสขุ และนัน่ หมายถึงเป้า
หมายของการจัดการศึกษาของชาติและของมนุษยชาติที่ควรจะเป็น

6
ประการส�ำคัญคือ ได้สะท้อนให้เห็นถึงความจริงทีว่ า่ คนทุกคนใน
สังคมมีความส�ำคัญและสังคมเราควรมีความตระหนักมากขึน้ ในการให้
ความส�ำคัญในการอยู่ร่วมกัน

ทั้งนี้ด้วยเพราะ “๔ กลไกหลักตามออทิสติกโรดแมป” หรือส่วน


ที่เป็น “หัวใจ” ของโรดแมปออทิสติกไทยเท่าที่กระผมได้ติดตามดูมา
ตลอดนั้น เป็นการท�ำงานของสมาคมผู้ปกครองบุคคลออทิสซึม (ไทย)
ร่วมกับภาคีเครือข่ายองค์กรผู้ปกครองบุคคลออทิสติกในประเทศไทย
ผู้แทนหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง อาทิ ส�ำนักบริหารงานการศึกษา
พิเศษมหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และอื่นๆ
ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการที่ต่างก็มีส่วนร่วมกัน
ทั้งทางตรงและทางอ้อมในการจัดท�ำให้เกิดมีข้ึนมีความเชื่อมโยงและ
สอดคล้องกับภารกิจการปฏิรูปการเรียนรู้และการจัดการศึกษาพิเศษ
ของกระทรวงศึกษาธิการ โดยเฉพาะข้อเสนอในการจัดตั้ง “สถาบัน
วิจัยออทิสซึมในชุมชนเมืองมหาวิทยาลัยที่มีโรงเรียนแพทย์” และ
ข้อเสนอในการพัฒนาระบบการจัดการศึกษาพิเศษด้วย “ห้องเรียน
๒ รูปแบบ: ห้องเรียนคู่ขนานออทิสติกและห้องเรียนสอนเสริมการ
ศึกษาพิเศษในโรงเรียนทั่วไปในชุมชน” ซึ่งเป็น ๒ ใน ๔ กลไกที่เป็น
ความรับผิดชอบของกระทรวงศึกษาธิการโดยตรงนั้น กระผมในฐานะ
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการจะร่วมด้วยช่วยขับเคลื่อน
ให้บรรลุผลในทางปฏิบัติอย่างเต็มที่เพื่อให้เกิดอานิสงส์แก่ประชากร
ออทิสติกทั้งประเทศอีกทั้งยังเป็นผลดีต่อประชาชนและประเทศชาติ
โดยรวมที่จะได้ประชากรมนุษย์ที่แทนที่จะเป็นภาระ แต่ให้กลับกลาย
เป็นทรัพยากรมนุษย์มีศักยภาพเพิ่มขึ้น

7
“๔ กลไกหลักตามออทิสติกโรดแมป”

ที่ส�ำคัญในท้ายที่สุด จากการที่กระผมท�ำงานด้านการศึกษา
มาเป็นเวลาเกือบ ๓๐ ปี ตั้งแต่การร่วมก่อตั้งโรงเรียนสัตยาไสให้เป็น
โรงเรียนตัวอย่างการพัฒนาจริยธรรมและศีลธรรม รวมทั้งงานใน
ต�ำเเหน่งผูอ้ ำ� นวยการศูนย์จติ วิทยาการศึกษา และหน้าทีร่ ฐั มนตรีชว่ ย
ว่าการกระทรวงศึกษาธิการในปัจจุบัน กระผมจึงขออัญเชิญกระแส
พระราชด� ำ รั ส ของพระบาทสมเด็จ พระเจ้า อยู ่ หั วภู มิ พลอดุ ลยเดช
มหาราชทรงรับสัง่ เกีย่ วกับการปฏิรปู การศึกษาว่า “...ให้ครูรกั เด็กและ
เด็กรักครู ให้ครูสอนเด็กให้มนี ำ�้ ใจต่อเพือ่ นไม่ให้แข่งขันกันแต่ให้
แข่งกับตัวเอง ให้เด็กที่เรียนเก่งกว่าช่วยสอนเพื่อนที่เรียนช้ากว่า
และให้ครูจดั กิจกรรมให้นกั เรียนท�ำร่วมกันเพือ่ ให้เห็นคุณค่าของ
ความสามัคคี” เพือ่ น้อมน�ำพระราชกระแสของพระองค์ทา่ นมาปฏิบตั ิ
งานเป็นกลยุทธ์สร้างชาติ “ครูรักเด็กเด็กรักครู” โดยเฉพาะการน�ำเด็ก
พิเศษเข้ามาเรียนร่วมในโรงเรียนทั่วไปนั้น ได้น�ำมาสู่การปฏิบัติอย่าง
เป็นรูปธรรมในเรือ่ งทีใ่ ห้ครูสอนเด็กให้มนี ำ�้ ใจต่อเพือ่ น ไม่ให้แข่งขันกัน
แต่ให้แข่งกับตัวเองให้เด็กเก่งกว่าช่วยสอนเพือ่ นทีเ่ รียนช้ากว่า กระผม
จึงหวังเป็นอย่างยิง่ ว่า “๔ กลไกหลักตามออทิสติกโรดแมป” หรือส่วนที่
เป็น “หัวใจ” ของโรดแมปออทิสติกไทยนีจ้ ะได้นำ� ไปสูก่ ารปฏิบตั โิ ดยทุก
ภาคส่วนของรัฐที่เกี่ยวข้องจะน�ำไปก�ำหนดเป็นแนวทางแผนงานและ
ภารกิจและถือเป็นแบบอย่างของความร่วมมืออย่างมีสว่ นร่วมของทุก
ภาคส่วน ในการปฏิรปู การศึกษาส�ำหรับกลุม่ บุคคลออทิสติกและกลุม่
คนพิการแต่ละประเภทต่อไป

นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

8
“๔ กลไกหลักตามออทิสติกโรดแมป เป็ินอินฟราสตรัคเจอร์
ที่จะดูแลบุคคลออทิสติกตั้งแต่เกิดจนตาย”
บุรี เสรีโยธิน
นายกสมาคมผู้ปกครองบุคคลออทิสติกจังหวัดขอนแก่น

9
“๔ กลไกหลักตามออทิสติกโรดแมป”

ค�ำนิยม
โดย ชูศักดิ์ จันทยานนท์
นายกสมาคมผู้ปกครองบุคคลออทิสซึม (ไทย)
กันยายน ๒๕๕๘

---------------------------------------------

“สมาคมขอขอบคุณคณะกรรมการบริหารสมาคมและชมรม
ผูป้ กครองบุคคลออทิสติกทุกจังหวัด ขอบคุณกัลยาณมิตรทีข่ บั เคลือ่ น
เรือ่ งนีม้ าอย่างต่อเนือ่ ง ขอบคุณคณะท�ำงานยกร่างโรดแมปทีร่ วมพลัง
ร่วมคิด ร่วมท�ำ มาอย่างต่อเนื่อง และหวังเป็นอย่างยิ่งว่า รัฐบาลจะมี
การปรับโครงสร้างและการบริหารทรัพยากรเพือ่ สนับสนุน สีก่ ลไกหลัก
ออทิสติกอย่างจริงจังและเป็นรูปธรรม”

สี่กลไกหลัก: การส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตบุคคล
ออทิสติก สมาคมผู้ปกครองบุคคลออทิสซึม (ไทย) ในฐานะองค์การ
คนพิการแห่งชาติ ด้านบุคคลออทิสติก ตามพระราชบัญญัติส่งเสริม
และพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ ร่วมกับภาคีเครือข่าย
องค์กรผู้ปกครองบุคคลออทิสติกในประเทศไทย ผู้แทนหน่วยงาน
ภาครัฐที่เกี่ยวข้อง อาทิ ผู้แทนจากส�ำนักงานส่งเสริมและพัฒนา
คุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ ส�ำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ
ส�ำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กรมสุขภาพจิต ส�ำนักงาน
คณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติ กลุ่มเครือข่ายศูนย์ส่งเสริมทักษะชีวิต
บุคคลออทิสติกจังหวัดต่างๆ กลุม่ ผูป้ กครองออทิสติกจังหวัดขอนแก่น

10
ผ่านเวทีเสวนาต่างๆ ทีร่ ว่ มจัดกับหน่วยงานดังกล่าวข้างต้น และจัดท�ำ
“แผนที่น�ำทาง” หรือ “ออทิสติกโรดแมป” มาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๕๕
และหน่วยงานได้น�ำบางประเด็นไปสู่การปฏิบัติ เช่น ส�ำนักบริหาร
งานการศึกษาพิเศษได้น�ำไปจัดท�ำโครงการจัดตั้งห้องเรียนคู่ขนาน
ส�ำหรับบุคคลออทิสติก คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
น�ำไปศึกษาวิจัยพัฒนาโครงการเรียนร่วมในคณะศึกษาศาสตร์ และ
โรงเรียนในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ
ได้จัดตั้งโครงการศูนย์บริการบุคคลออทิสติก จังหวัดขอนแก่น และ
จังหวัดนนทบุรี ส�ำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และกระทรวง
สาธารณสุขพัฒนาหลักสูตรการอบรมผู้ปกครอง และเตรียมจัดตั้ง
หน่วยบริการร่วมในระบบหลักประกันสุขภาพ มูลนิธอิ อทิสติกไทยและ
สมาคมผู้ปกครองบุคคลออทิสซึม (ไทย) ร่วมขับเคลื่อนศูนย์ส่งเสริม
ทักษะชีวิตบุคคลออทิสติกประจ�ำจังหวัด รวม ๒๐ แห่ง และพัฒนา
ระบบการพิทักษ์สิทธิ์ การพัฒนาอนุบัญญัติที่เกี่ยวข้องผ่านกลไกทั้ง
ระดับชาติและระดับจังหวัดอย่างต่อเนื่อง

ในปี พ.ศ.๒๕๕๘ สมาคมผู้ปกครองบุคคลออทิสซึม (ไทย) จัด


เวทีระดับชาติ ๒ ครั้ง คือ การประชุมสมัชชาเครือข่ายผู้ปกครองบุคคล
ออทิสติกระดับชาติ ระหว่างวันที่ ๒ ถึง ๕ เมษายน ๒๕๕๘ กับกรม
ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวติ คนพิการ เพือ่ พิจารณา ”ร่างออทิสติก
โรดแมป : สีก่ ลไกหลัก การส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวติ บุคคล
ออทิสติก” และได้น�ำเสนอในการเสวนาวิชาการกับส�ำนักงานคณะ
กรรมการวิจัยแห่งชาติ เมื่อ วันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ และสมาคม
ได้ประมวลจัดท�ำเป็น “แผนทีน่ ำ� ทางการพัฒนาระบบการส่งเสริมและ
พัฒนาคุณภาพชีวิตบุคคลออทิสติก” ต่อคณะกรรมการส่งเสริมและ

11
“๔ กลไกหลักตามออทิสติกโรดแมป”

พัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ ซึ่ง ฯพณฯนายกรัฐมนตรี เป็น


ประธาน พิจารณาให้ความเห็นชอบเมื่อวันที่ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๕๘
และส่งมอบให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องน�ำไปจัดท�ำแผนงานโครงการ
หรือกิจกรรม เพื่อให้การขับเคลื่อนโรดแมปออทิสติกไปสู่เป้าหมายที่
คาดหวัง คือ บุคคลออทิสติกได้รับการส่งเสริมและพัฒนาอย่างเต็ม
ศักยภาพ มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มีบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ
และประเทศมีการวิจยั และจัดการความรูด้ า้ นบุคคลออทิสติกอย่างเป็น
ระบบ เอกสารฉบับนี้เป็นการน�ำเสนอรายละเอียดการด�ำเนินงานตาม
โรดแมปสี่กลไกหลัก ซึ่งประมวลจากประสบการณ์การท�ำงานในพื้นที่
ของกลุ่มผู้ปกครองและหน่วยงานภาคปฏิบัติการต่างๆ จากองค์ความ
รู้และทฤษฎี บนฐานแนวคิดส�ำคัญคือ หลักการเคารพในศักดิ์ศรี
ของความเป็นมนุษย์ หลักความเสมอภาคเท่าเทียมในการจัดสรร
ทรั พ ยากรที่ เ ป็ น ธรรมเพื่ อ ประกั น การเข้ า ถึ ง บริ ก ารของประชากร
ออทิสติกทั่วประเทศ หลักการมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่ของทุกภาคส่วน
และหลักการบูรณาการทรัพยากรและการจัดการในระดับพื้นที่

12
ค�ำนิยม
โดย ดร.อาคม อึ้งพวง
อดีตผอ.ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษาแบบการเรียนรวม
โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น
อาจารย์ประจ�ำคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
๑๙ กันยายน ๒๕๕๘

---------------------------------------------

หนังสือ ๔ กลไกหลัก Autistic Roadmap เพื่อการพัฒนา


บุคคลออทิสติกเล่มนี้ ได้มาจากการศึกษาเอกสารข้อมูลทาง
วิชาการทั้งหลายที่เกี่ยวกับการแก้ปัญหาและการพัฒนาบุคคล
ที่มีภาวะออทิสติกเท่าทีมีนักวิชาการในแต่ละประเทศได้เขียน
ไว้ในโลกใบนี้ ประกอบกับประสบการณ์ตรงที่ผู้ประมวลเนื้อหา
ได้ลงมือปฏิบัติกับลูกของตัวเองมาเกือบ ๓๐ ปี ท�ำให้สามารถ
กลั่นกรองเป็นแนวทางที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการ
พัฒนาและการแก้ปัญหาบุคคลที่มีภาวะออทิสติกออกมาได้เป็น
๔ กลไก โดยอยู่บนพื้นฐานของการพัฒนาการตามช่วงอายุของ
บุคคลที่มีภาวะออทิสติก เริ่มตั้งแต่วัยเด็กจนถึงวัยผู้ใหญ่หรือ
วัยท�ำงาน ได้แก่

13
“๔ กลไกหลักตามออทิสติกโรดแมป”

๑) แผนกพิเศษออทิสติกในโรงพยาบาลทั่วๆ ไปในชุมชน
๒) ห้องเรียน ๒ รูปแบบ : ห้องเรียนคู่ขนานออทิสติก และ
ห้องเรียนสอนเสริมการศึกษาพิเศษในโรงเรียนทัว่ ไปในชุมชน
๓) บ้านพิทักษ์บุคคลออทิสติกในชุมชน
๔) สถาบันวิจยั ออทิสซึมในชุมชนเมืองมหาวิทยาลัยทีม่ โี รงเรียน
แพทย์
ในแต่ ล ะกลไกล้ ว นมี ค วามสั ม พั น ธ์ แ ละเกี่ ย วกั น อย่ า ง
เป็นระบบ โดยมีรายละเอียดดังที่ได้กล่าวไว้ในเนื้อหา หาก
ขาดกลไกใดกลไกหนึ่งไป จะท�ำให้การพัฒนาบุคคลที่มีภาวะ
ออทิสติกเกิดการขาดช่วงและไม่มีความต่อเนื่องยั่งยืน ดังนั้น
ภาครัฐจึงควรให้ความส�ำคัญกับการพัฒนาทั้ง ๔ กลไกนี้ให้เกิด
ขึ้นในชุมชนโดยเร็ว เพื่อจะได้แก้ไขและพัฒนาบุคคลที่มีภาวะ
ออทิสติกในประเทศได้อย่างตรงจุดและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

ส�ำหรับผู้ปกครองที่มีบุตรหลานซึ่งมีภาวะออทิสติก เมื่อได้อ่าน
หนังสือเล่มนีแ้ ล้ว ท่านจะเข้าใจอย่างถ่องแท้วา่ การแก้ปญ
ั หาและการ
พัฒนาบุคคลที่มีภาวะออทิสติกนั้นไม่ใช่เรื่องยากจนเกินไป หากทุก
ระบบและทุกกลไกมีการประสานสามัคคีกัน ในการแก้ปัญหาอย่าง
ถูกวิธแี ละมีขนั้ ตอนการพัฒนาทีเ่ หมาะสมตามช่วงวัย โดยเฉพาะอย่าง
ยิ่งบุคคลที่มีภาวะออทิสซึมในขั้นที่รุนแรง จะแก้ปัญหาโดยพ่อแม่ผู้
ปกครองและครอบครัวโดยล�ำพังนั้นเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ยาก จะต้อง
อาศัยกลไกทางสังคมและการบริการพืน้ ฐานทีส่ ำ� คัญจากภาครัฐ ทีจ่ ะ
ต้องยืน่ มือเข้ามาช่วยแก้ปญั หา อาทิ ต้องมีกลไกด้านสาธารณสุข ด้าน
14
การศึกษา ด้านแรงงานการพัฒนาอาชีพและการมีงานท�ำ และด้าน
การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ต้องเข้ามาช่วยจัดการ
อย่างใกล้ชิดและเป็นระบบ ที่ส�ำคัญที่สุดการพัฒนาเหล่านั้นจะต้องมี
ความเข้มข้นและต่อเนื่อง มิฉะนั้นความพยายามทั้งหลายที่ลงทุนไป
ในแต่ละกลไกอาจสูญเปล่า

จึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่า หนังสือเล่มนี้จะช่วยกระตุ้นให้ผู้มีหน้าที่
ทีเ่ กีย่ วข้องทัง้ ภาครัฐและเอกชน จะหันมาให้ความสนใจและเห็นความ
ส�ำคัญ ของการพัฒนาและการแก้ปญ ั หาบุคคลทีม่ ภี าวะออทิสติกอย่าง
จริงจัง โดยมีการพัฒนากลไกทัง้ ๔ ประการดังทีก่ ล่าวมาในข้างต้นนีใ้ ห้
เกิดขึ้นในสังคม และใคร่ขอความร่วมมือจากผู้ปกครองและครอบครัว
ที่มีบุตรหลานเป็นบุคคลที่มีภาวะออทิสติก ได้โปรดช่วยกันผลักดันให้
เกิดกลไกเหล่านี้ขึ้นโดยเร็ว เพื่อให้สังคมไทยมีกลไกในการแก้ปัญหา
และพัฒนาบุคคลที่มีภาวะออทิสติกที่ต่อเนื่องและยั่งยืน

15
“๔ กลไกหลักตามออทิสติกโรดแมป”

ค�ำนิยม
โดย นางหทัยพร คลังก�ำแหงเดช
นักวิชาการเพื่อคนพิการ
ผู้ก่อตั้งสมาคมผู้ปกครองเด็กออทิสติกจังหวัดเชียงใหม่
และสมาคมผู้ปกครองบุคคลออทิสซึม (ไทย)
อดีตประธานสภาคนพิการทุกประเภทภาคเหนือ(๒๕๔๒-๒๕๔๔)
๒๕ สิงหาคม ๒๕๕๘

---------------------------------------------

”เมื่อท่านผู้อ่านได้ศึกษาหนังสือ” ๔ กลไกหลักตามออทิสติก
โรดแมป” เล่มนี้ ซึง่ ผูป้ ระมวลได้นำ� เสนอรายละเอียดเป็นล�ำดับขัน้ ตอน
ถึงวิธกี ารด�ำเนินการผูม้ หี น้าทีร่ บั ผิดชอบหลักท่านจะมองเห็นภาพและ
เข้าใจได้อย่างถ่องแท้ว่า คนออทิสติกต้องการช่วยเหลืออย่างไร และ
แต่ละภาคส่วนทีม่ บี ทบาทหน้าทีก่ ารด�ำเนินงานสามารถน�ำไปเป็นแผน
ปฏิบัติการได้ทันที”

เมือ่ กล่าวถึง คนออทิสติก ซึง่ มีความผิดปกติทางโครงสร้างหน้าที่


การท�ำงานของสมองในระดับเซลล์ (cell) และสารสื่อประสาทบางตัว
ไม่อยู่ในระดับปกติ ท�ำให้พร่องด้านภาษาการสื่อสาร ด้านสังคม ด้าน
พฤติกรรม อารมณ์ ความสนใจ การเล่น การจินตนาการ จากความไม่
ปกติดงั กล่าว คนออทิสติกต้องได้รบั การพัฒนาช่วยเหลืออย่างทันท่วงที
อย่างถูกต้องเหมาะสม ต่อเนื่อง ยั่งยืน แบบบูรณาการ เป็นระบบและ

16
ครบวงจร จากผู้เชี่ยวชาญ และนักสหวิชาชีพและทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

โดยหลักธรรมชาติ “โครงสร้างพื้นฐานหลักของการพัฒนาช่วย
เหลือคนออทิสติก” ประกอบด้วย ๕ ฐานหลักคือ ๑) ฐานการเลี้ยงดู
จากครอบครัวและผู้ดูแล ๒) ฐานการช่วยเหลือในระยะแรกเริ่ม จาก
ระบบการสาธารณสุข ๓) ฐานการศึกษาพิเศษ จากระบบการศึกษา
๔) ฐานการฝึกอาชีพและการประกอบอาชีพ จากระบบการอาชีพ
๕) ฐานการด�ำรงชีวิต จากระบบสังคมและสิ่งแวดล้อม ทั้งหมดรวม
เรียกว่า ออทิสติกโรดแมป (Autistic Roadmap)

เมื่อเราทราบโครงสร้างพื้นฐานหลักของการพัฒนาช่วยเหลือ
คนออทิสติก (Autistic Roadmap) ตรงกันแล้ว เราต้องทราบว่า ต้อง
มีเครื่องมือที่จะมาช่วยในการขับเคลื่อนให้การพัฒนาช่วยเหลือคน
ออทิสติกเกิดผลสัมฤทธิ์อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล นั่นก็คือ
“๔กลไกหลักตามออทิสติกโรดแมป” ซึง่ เกิดจากการตกผลึก การสัง่ สม
ประสบการณ์ การประมวลความคิดจากนานาปัญหาและนานาของ
การหาหนทางช่วยเหลือคนออทิสติกของเครือข่ายคนออทิสติกและ
ครอบครัวประเทศไทยมาเป็นระยะเวลาอันยาวนานถึง ๒๐ ปี

ประโยชน์ จ าก ”๔ กลไกหลั ก ตามออทิ ส ติ ก โรดแมป” ที่ ค น


ออทิสติก ครอบครัว ผู้ปฏิบัติงาน สังคม และ ประเทศชาติจะได้รับมี
มากมายดังนี้คือ

๑) ประเทศไทยจะเป็นประเทศแรกๆ ของโลก ทีน่ ำ� เครือ่ งมือกลไก


เป็นองค์รวมทั้งหมด (Wholelistic Approach) มาจัดท�ำเป็นระบบของ
การพัฒนาช่วยเหลือคนออทิสติก ท�ำให้คนออทิสติกได้รบั บริการอย่าง
17
“๔ กลไกหลักตามออทิสติกโรดแมป”

ถูกต้อง เหมาะสม ต่อเนื่อง ยั่งยืน แบบบูรณาการ เป็นระบบและครบ


วงจร จากผู้เชี่ยวชาญและนักสหวิชาชีพ อย่างมืออาชีพ

๒) พ่อแม่ ผู้ปกครอง ได้รับสิทธิในฐานะประชากรอันชอบธรรม


แห่งรัฐ ทีจ่ ะมีเวลาไปประกอบอาชีพน�ำรายได้มาจุนเจือครอบครัว และ
อาชีพที่ถนัดของพ่อแม่ผู้ปกครองจะส่งผลผลิตมวลรวม (GDP) ให้กับ
สังคมและประเทศชาติ มิใช่ตอ้ งลาออกจากงาน ทิง้ ความรูค้ วามสารถ
ทีร่ ำ�่ เรียนมาหลายปี ทิง้ ลูกและคนในครอบครัวเพือ่ มาพัฒนาและเลีย้ ง
ลูกตามล�ำพัง บางคนเลีย้ งตามยถากรรม หรือบางคนต้องอาศัยองค์กร
ผูป้ กครองดูแลกันและกัน ซึง่ ไม่จรี งั ยัง่ ยืน หากพ่อแม่ผปู้ กครองล้มหาย
ตายจาก คนออทิสติกจะท�ำอย่างไร

๓) เกิดระบบองคาพยพ มีองค์กรหลัก หน่วยงานหลักทีร่ บั ผิดขอบ


เรื่องคนออทิสติกโดยเฉพาะ ท�ำให้ผู้เชี่ยวชาญ นักสหวิชาชีพมีความ
มั่นคงในสายต�ำแหน่งหน้าที่การงานเฉพาะทาง

๔) รัฐสนองตอบในเรื่องการดูแล ความมั่นคงประชากรทุกอย่าง
เท่าเทียมกัน เกิดภาพรวมของรัฐสวัสดิการทีย่ งั่ ยืนให้กบั กลุม่ คนพิการ
ด้านออทิสซึม ท�ำให้รัฐได้ประโยชน์ ในด้านการบริหารจัดงบประมาณ
เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายตรง อย่างคุ้มค่าเหมาะสม ไม่เป็นงบประมาณ
แผ่นดินที่กระจัดกระจาย สูญเปล่าในแต่ละปี

ขอขอบคุณทุกฝ่าย ตัง้ แต่บตุ รหลานออทิสติกและครอบครัว ผูน้ ำ�


ด้านออทิสซึมทุกท่าน เครือข่ายองค์กรคนออทิสติกและผู้ที่เกี่ยวข้อง
นักคิด นักวิเคราะห์ฝ่ายพ่อแม่และผู้ปกครอง ผู้รวบรวมเรียบเรียง รวม
ทัง้ ต้นแบบจากผูเ้ ชีย่ วชาญด้านต่างๆ ทัง้ ทางการแพทย์ การศึกษา การ
18
อาชีพ ระบบสังคม ในประเทศและต่างประเทศ ทีท่ ำ� ให้เกิดการประมวล
ผลความคิดรวบยอดและต่อยอดมาเป็น “๔ กลไกหลักตามออทิสติก
โรดแมป” ได้แก่

๑) แผนกพิเศษออทิสติก ในรพ.ทั่วไปในชุมชน

๒) ห้องเรียนสองรูปแบบ: ห้องเรียนคูข่ นานออทิสติก ในโรงเรียน


ทัว่ ไปในชุมชน กับห้องเรียนสอนเสริมพิเศษ ในโรงเรียนทัว่ ไปในชุมชน

๓) บ้านพิทักษ์บุคคลออทิสติกในชุมชน

๔) สถาบันวิจยั ออทิสซึมในขุมชนเมืองมหาวิทยาลัย ทีม่ โี รงเรียน


แพทย์

ท้ า ยสุ ด ที่ ต ้ อ งตระหนั ก ถึ ง คื อ กฎหมาย นโยบายและ


งบประมาณรัฐป้อน องค์กรและหน่วยงานรัฐสู้ องค์ความรู้น�ำ จัดท�ำ
บ�ำบัด จัดการศึกษา ฝึกหาอาชีพ จีบสังคมรับ จับมือกับพ่อแม่ ร่วม
แก้ไขกับเอ็นจีโอ และหวังเป็นอย่างยิง่ ว่า รัฐจะสถาปนา ”๔ กลไกหลัก
ตามออทิสติกโรดแมป” ให้กับประเทศไทย ให้พัฒนาถาวรตลอดไป

19
“๔ กลไกหลักตามออทิสติกโรดแมป”

ค�ำนิยม
โดย กลุ่มออทิสติกศักยภาพสูง
คณะ Special My family Home/ บ้านครอบครัวคนพิเศษ
นายชวลิต พฤกษจ�ำรูญ ครุศาสตร์ (คณิตศาสตร์)
นางสาวจุฑามาศ จักรรานุกุล
วิทยาศาสตร์บัณฑิต (อุตสาหกรรมอาหารและบริการ)
นายมฆวัตว์ อาตม์สกุล วิทยาศาสตร์บัณฑิต (ชีววิทยา)
นายศิรเมศวร์ เจริญสุข ปวช. (การตลาด)
---------------------------------------------
กลุ่มโรคออทิสติก (Autistic spectrum disorder) เป็นกลุ่มของ
โรคที่มีสาเหตุจากความผิดปกติของสมอง ท�ำให้มีความบกพร่องของ
พัฒนาการหลายด้าน ได้แก่ พัฒนาการด้านภาษาและสังคมล่าช้า
มีพฤติกรรม ความสนใจและการกระท�ำที่ซ�้ำๆ และจ�ำกัด โดยอาการ
ดังกล่าวเกิดก่อนอายุ ๓ ขวบ ซึ่งมีความรุนแรงของแต่ละโรคในกลุ่ม
แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับพัฒนาการทางภาษา ระดับสติปัญญา/ไอคิว
(IQ, Intelligence Quotient) และความผิดปกติอื่นๆ ที่พบร่วมด้วย
ทั้งนี้ ความบกพร่องยังคงมีต่อเนื่องตลอดชีวิต โดยเฉพาะทักษะด้าน
สังคม มีเพียง ๑- ๒% ที่สามารถด�ำเนินชีวิตได้เหมือนคนปกติ อย่างไร
ก็ตาม การวินจิ ฉัยและการรักษาตัง้ แต่อายุยงั น้อย จะท�ำให้เด็กมีโอกาส
พัฒนาได้มากกว่าการรักษาเมื่ออายุมากขึ้น

20
ออทิ ส ติ ก แบ่ ง เป็ น สามระดั บ คื อ ออทิ ส ติ ก ศั ก ยภาพต�่ ำ
ออทิสติกศักยภาพปานกลาง และออทิสติกศักยภาพสูง

อย่ า งไรก็ ต ามความเห็ น ของกลุ ่ ม ออทิ ส ติ ก ศั ก ยภาพสู ง ได้


วิเคราะห์สถานการณ์ออทิสติกในประเทศไทยยังเห็นว่า ออทิสติก
ส่วนใหญ่มีการด�ำรงชีวิตที่ล�ำบาก ส่วนใหญ่ต้องอยู่กับครอบครัว
จากรายงานผลการส� ำ รวจของโรงพยาบาลยุ ว ประสาทพบว่ า
ออทิ ส ติ ก ในวั ย ผู ้ ใ หญ่ ที่ จ บการศึ ก ษาระดั บ ปริ ญ ญา มี อั ต ราการ
ตกงานร้อยละ ๙๐ เพราะเหตุวา่ ยังไม่มหี น่วยงานภาครัฐและเอกชนที่
สนับสนุนให้บุคคลออทิสติกเข้าท�ำงาน เนื่องจากขาดความเข้าใจเรื่อง
โรคออทิสติกดังกล่าว แล้วยังไม่มีการสนับสนุนเตรียมพร้อมก่อนให้
บุคคลออทิสติกเข้าท�ำงาน ทางกลุม่ ออทิสติกศักยภาพสูงเห็นว่า ควรมี
หน่วยงานที่เกี่ยวของกับการเตรียมความพร้อมของออทิสติก อาทิเช่น
ศูนย์วิจัยออทิสติก ศูนย์การศึกษาพิเศษทุกจังหวัด ภาคสาธารณสุข
ทั่วประเทศ และกลุ่มเครือข่ายผู้ปกครองออทิสติก ช่วยกันพัฒนา
บุคคลออทิสติกให้มีคุณภาพ สามารถเป็นก�ำลังทั้งแรง ความคิด และ
ใช้ศักยภาพที่สามารถพัฒนาประเทศให้ก้าวไกล

กลุ่มออทิสติกศักยภาพสูงจึงได้สนับสนุน ๔ กลไกหลักตาม
โรดแมปออทิสติก เพราะเห็นว่าเป็นกลไกทีส่ ามารถพัฒนาบุคคล
ออทิสติกวัยเด็ก-วัยผูใ้ หญ่ อย่างแท้จริง ซึง่ เป็นกลไกทีต่ อบโจทย์
ให้ออทิสติกสามารถพัฒนาได้ในทุกระดับจนใกล้เคียงคนปกติ
ถ้าหาก ๔ กลไกโรดแมปออทิสติกได้ถูกบังคับใช้ทุกๆ พื้นที่ของ
ประเทศไทย จะท�ำให้สถานการณ์ออทิสติกในประเทศไทยดีขึ้น
ต่อไปในอนาคต

21
“๔ กลไกหลักตามออทิสติกโรดแมป”

สารบาญ

ภาพรวม “๔ สี่กลไกหลักตามออทิสติกโรดแมป” ๒๙

- ออทิสติก: ปัญหานี้ มีทางออก ๓๐


- จุดคานงัดที่ส�ำคัญของการแก้ปัญหา ๓๓
- ความจ�ำเป็นทีต่ อ้ งมีการจัดการอย่างเป็นระบบ ๓๗
- แล้ว ๔ กลไกหลักจะเริ่มต้นอย่างไร ๓๘
- เงื่อนไขส�ำคัญ อันจะน�ำไปสู่ผลส�ำเร็จ ๔๓
- ๔ กลไกหลั ก ตามออทิ ส ติ ก โรดแมป สร้ า ง ๔๗
คุณประโยชน์แก่ใครบ้าง

แผนกพิเศษออทิสติกในโรงพยาบาลทั่วๆไป ๕๑
ในชุมชน
- โครงสร้ า งของแผนกพิ เ ศษออทิ ส ติ ก ในโรง ๕๒
พยาบาลทั่วๆ ไปในชุมชน
- ภาระหน้าที่ของแผนกพิเศษออทิสติกในโรง ๕๓
พยาบาลทั่วๆ ไปในชุมชน
- การจัดวางพื้นที่  ๕๘

22
ห้ อ งเรี ย น ๒ รู ป แบบ: ห้ อ งเรี ย นคู ่ ข นาน ๖๓
ออทิ ส ติ ก และห้ อ งเรี ย นสอนเสริ ม การศึ ก ษา
พิเศษในโรงเรียนทั่วไปในชุมชน
- ท�ำไมต้อง “ห้องเรียน ๒ รูปแบบฯ” ๖๔
- ค�ำจ�ำกัดความของห้องเรียน ๒ รูปแบบฯ ๖๕
- องค์ประกอบของห้องเรียน ๒ รูปแบบฯ ๖๗
- เจ้าภาพผู้ด�ำเนินการ ๗๖
- บทสรุป ๗๗

บ้านพิทักษ์บุคคลออทิสติกในชุมชน ๘๓

- โครงสร้างของ “บ้านพิทักษ์บุคคลออทิสติกใน ๘๔
ชุมชน”
- ๔ หลั ก คิ ด ในการท� ำ บ้ า นพิ ทั ก ษ์ บุ ค คล ๘๖
ออทิสติกในชุมชน
- ๕ โครงการน�ำสู่ภาคปฏิบัติ ๘๙

23
“๔ กลไกหลักตามออทิสติกโรดแมป”

ส ถ า บั น วิ จั ย อ อ ทิ ส ซึ ม ใ น ชุ ม ช น เ มื อ ง ๑๐๙
มหาวิทยาลัยที่มีโรงเรียนแพทย์

- โครงสร้างและหน้าที่ของสถาบันวิจัยออทิสซึม ๑๑๐
ในชุมชนเมืองมหาวิทยาลัยที่มีโรงเรียนแพทย์
- โครงสร้างและหน้าที่ของศูนย์วิจัยและพัฒนา ๑๑๐
ด้ า นการแพทย์ ก ารบ� ำ บั ด เพื่ อ บุ ค คลที่ มี ก ลุ ่ ม
อาการออทิสซึม
- โครงสร้างและหน้าที่ของศูนย์วิจัยและพัฒนา ๑๑๓
ด้านการศึกษาเพือ่ บุคคลทีม่ กี ลุม่ อาการออทิสซึม
- โครงสร้ า งและหน้ า ที่ ข องศู น ย์ วิ จั ย ทาง ๑๑๕
ด้ า นสั ง คมและสวั ส ดิ ก ารส� ำ หรั บ บุ ค คลที่ มี
กลุ่มอาการออทิสซึม

24
สารบาญแผนภาพ
ภาพรวม ๔ กลไกหลักตามออทิสติกโรดแมป ๔๙

แผนกพิเศษออทิสติกในโรงพยาบาลทั่วๆไป
ในชุมชน
- ภาพรวมแผนกพิเศษออทิสติกในโรงพยาบาล ๖๐
ทั่วๆ ไปในชุมชน
- การให้ บ ริ ก ารตามช่ ว งวั ย ของแผนกพิ เ ศษ ๖๑
ออทิสติกในโรงพยาบาลทั่วๆ ไปในชุมชน

ห้องเรียน ๒ รูปแบบฯ
- ห้องเรียน ๒ รูปแบบฯ : การจัดการศึกษาที่ ๗๘
เหมาะสมส�ำหรับบุคคลออทิสติก
- การจัดการศึกษาส�ำหรับเด็กออทิสติกศักยภาพ ๗๙
ปานกลางถึงศักยภาพต่ำ รวมทั้งเด็กออทิสติก
ศักยภาพสูงที่ยังใช้ภาษาพูดสื่อสารไม่ได้
- การจัดการศึกษาส�ำหรับเด็กออทิสติกศักยภาพ ๘๐
่ ไ่ ด้รบั การพัฒนาศักยภาพให้
สูงถึงศักยภาพตำที
สูงขึ้นจนใช้หลักสูตรเด็กปกติได้

25
“๔ กลไกหลักตามออทิสติกโรดแมป”

บ้านพิทักษ์บุคคลออทิสติกในชุมชน
- ภาพรวมบ้านพิทกั ษ์บคุ คลออทิสติกในชุมชน ๑๐๕
- โครงการน�ำสู่ภาคปฏิบัติส�ำหรับบ้านพิทักษ์ ๑๐๖
บุคคลออทิสติกในชุมชน

ส ถ า บั น วิ จั ย อ อ ทิ ส ซึ ม ใ น ชุ ม ช น เ มื อ ง
มหาวิทยาลัยที่มีโรงเรียนแพทย์
- โครงสร้างของสถาบันวิจัยออทิสซึมในชุมชน ๑๑๙
เมืองมหาวิทยาลัยที่มีโรงเรียนแพทย์
- โครงสร้ า งและหน้ า ที่ ข องศู น ย์ วิ จั ย และ ๑๒๐
พัฒนาด้านการแพทย์การบ�ำบัดเพื่อบุคคลที่
มีกลุ่มอาการออทิสซึม
- โครงสร้ า งและหน้ า ที่ ข องศู น ย์ วิ จั ย และ ๑๒๑
พัฒนาด้านการศึกษาเพื่อบุคคลที่มีกลุ่มอา
การออทิสซึม
- โครงสร้ า งและหน้ า ที่ ข องศู น ย์ วิ จั ย ทาง ๑๒๒
ด้ านสั ง คมและสวัส ดิการส�ำหรับ บุคคลที่ มี
กลุ่มอาการออทิสซึม

26
สารบาญภาคผนวก
ภาคผนวก ๑ โครงสร้างหลักสูตรคู่ขนานเฉพาะ ๑๒๕
บุ ค คลออทิ ส ติ ก ศั ก ยภาพปานกลาง-ต่ ำ (วั ย รุ ่ น
วัยผู้ใหญ่)
ภาคผนวก ๒ โครงสร้างหลักสูตรนักพัฒนา ๑๕๑
ศักยภาพบุคคลออทิสติก
ภาคผนวก ๓ หลักสูตรคู่ขนานเฉพาะบุคคล ๑๕๗
ออทิสติก
ภาคผนวก ๔ โครงสร้างหลักสูตรคู่ขนานผู้ ๑๖๓
ปกครองบุคคลที่มีกลุ่มอาการออทิสซึม
ภาคผนวก ๕ ออทิสซึม คืออะไร ๑๗๕
ภาคผนวก ๖ เอกสารประกอบการประชุมที่ ๑๘๑
เกี่ยวข้อง
ภาคผนวก ๗ บุคคลออทิสติกยืนเด่นเป็นสง่า ๑๙๑
และมีศักดิ์ศรี

27
“๔ กลไกหลักตามออทิสติกโรดแมป”

28
ภาพรวม
“๔ กลไกหลักตาม
ออทิสติกโรดแมป”

29
“๔ กลไกหลักตามออทิสติกโรดแมป”

ออทิสติก: ปัญหานี้ มีทางออก

บุคคลออทิสติกต้องการความช่วยเหลืออย่างถูกต้องเหมาะสม
ทัง้ ในส่วนของการส่งเสริมพัฒนาการ การจัดรูปแบบการศึกษาทีเ่ หมาะ
สม การส่งเสริมอาชีพและการมีงานท�ำ ตลอดจนสวัสดิการทางสังคม
และการด�ำเนินชีวติ ในชุมชน โดยการดูแลเด็กและบุคคลออทิสติกทีจ่ ะ
น�ำไปสูผ่ ลส�ำเร็จอย่างยัง่ ยืนนัน้ จ�ำเป็นต้องมีการจัดการอย่างเป็นระบบ
และมีมาตรฐานทีเ่ หมาะสมกับภาวะออทิสซึมในระดับต่างๆ ซึง่ มีความ
เฉพาะและแตกต่างจากการดูแลบุคคลทั่วไป

บุคคลออทิสติก จัดอยูใ่ นกลุม่ คนพิการประเภทที่ ๗ ตามประกาศ


กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ พ.ศ. ๒๕๕๕
ซึ่งมีความบกพร่องด้านสังคม ภาษา การสื่อสาร และพฤติกรรม จาก
การส�ำรวจจ�ำนวนบุคคลออทิสติกทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทยพบ
ว่า มีจ�ำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ และมีแนวโน้มว่า ในอีก ๑๐
ปีข้างหน้านักเรียนที่เป็นเด็กออทิสติกจะมีจ�ำนวนมากที่สุดใน
บรรดานักเรียนที่มีความต้องการพิเศษในโรงเรียน จากอัตรา
ความชุกในการเกิดภาวะออทิสซึมต่อจ�ำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น
อย่างรวดเร็วในทุกประเทศทั่วโลก ชี้ให้เห็นแนวโน้มว่า บุคคล
ออทิสติกจะกลายเป็นกลุ่มผู้พิการที่มีจ�ำนวนมากที่สุดกลุ่มหนึ่ง
ซึ่งแต่ละประเทศจะต้องเตรียมพร้อมรับมือเพื่อแก้ปัญหาและ
พัฒนาบุคคลออทิสติกเหล่านี้ให้สามารถด�ำรงชีวิตในสังคมและ
สามารถช่วยเหลือตนเองได้

30
ภาวะออทิสซึมรักษาไม่หาย แต่กส็ ามารถพัฒนาได้ ทัง้ ด้าน
สังคมและการศึกษา หากได้รับการช่วยเหลือและพัฒนาอย่าง
เหมาะสม ภาวะออทิสซึมในแต่ละบุคคลจะแตกต่างกัน เริ่มตั้งแต่
กลุม่ ทีม่ ภี าวะออทิสซึมรุนแรง (Severe หรือ Low functioning autism)
จนถึงกลุ่มที่มีภาวะออทิสซึมน้อย (High functioning autism)

ส�ำหรับกลุ่มที่มีภาวะออทิสซึมรุนแรงถึงกลุ่มที่มีภาวะออทิสซึม
ปานกลาง (Moderate functioning autism) นั้น ส่วนใหญ่แล้วจะมี
ความผิดปกติด้านภาษาและการสื่อสารค่อนข้างมาก โดย ๕๐% ของ
เด็กออทิสติกจะไม่สามารถใช้ภาษาพูดเพื่อการสื่อสารได้ ซึ่งความผิด
ปกติด้านภาษาและการสื่อสารที่พบ มีตั้งแต่ปัญหาพัฒนาการด้าน
ภาษาล่าช้าหรือไม่สามารถพูดได้เลย รวมทั้งไม่สามารถใช้ภาษากาย
เพื่อการสื่อสาร ไม่เข้าใจค�ำสั่ง ไม่สนใจฟังเวลามีคนพูดด้วย ในรายที่
สามารถพูดได้ จะไม่สามารถด�ำเนินการสนทนาได้อย่างต่อเนื่องตรง
ตามวัตถุประสงค์ ตอบไม่ตรงค�ำถาม ใช้ภาษาผิดปกติ โดยใช้ค�ำที่
ตนเองเข้าใจความหมายเท่านั้น

ที่ผ่านมาเด็กกลุ่มนี้มักไม่ได้รับการบ�ำบัด การรักษา การ


พัฒนาศักยภาพ การศึกษา และการดูแลช่วยเหลือเท่าที่ควร
เพราะสังคมยังขาดความรู้ในการช่วยเหลือที่เหมาะสมและมี
ประสิทธิภาพ ส่งผลให้เด็กออทิสติกเหล่านี้ไม่สามารถพัฒนา
ศักยภาพด้านต่างๆ ได้อย่างเต็มที่ รวมทั้งเรื่องการศึกษา และ
เป็นเหตุให้เด็กต้องออกจากระบบโรงเรียนไปโดยปริยาย

31
“๔ กลไกหลักตามออทิสติกโรดแมป”

ข้อเท็จจริงที่ผ่านมาชี้ให้เห็นว่า แม้จะมีการพัฒนาเด็ก
ออทิสติกตามกระบวนการและขั้นตอนที่มีอยู่ แต่เด็กออทิสติก
ส่วนใหญ่ (ซึ่งมักมีปัญหาด้านการสื่อสาร ไม่สามารถพูดหรือใช้
ท่าทางในการสื่อสารได้) ยังเป็นกลุ่มที่ขาดทั้งกระบวนการและผู้
เชีย่ วชาญทีส่ ามารถดูแลช่วยเหลือได้อย่างเหมาะสมต่อเนือ่ งส่ง
ผลให้เด็กออทิสติกยังคงมีความบกพร่องติดตัวไปจนถึงวัยผูใ้ หญ่
และไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองหรือพัฒนาศักยภาพได้อย่างเต็ม
ที่ กลายเป็นภาระหนักของพ่อแม่ผู้ปกครองและสังคมสืบไป

ผลกระทบที่ตามมาคือ พ่อแม่ผู้ปกครองต้องใช้เวลาเกือบ
๒๔ ชัว่ โมงในการดูแลเด็กด้วยตนเองจนไม่สามารถน�ำความรูแ้ ละ
ศักยภาพที่มีอยู่ ไปหาเลี้ยงครอบครัวหรือสร้างคุณประโยชน์ต่อ
ชาติและสังคมได้อย่างเต็มที่ เป็นการสูญเสียทรัพยากรทีม่ คี า่ ทัง้
เด็กออทิสติกที่สามารถพัฒนาได้ และทั้งผู้ปกครองที่มีศักยภาพ
ในตนเอง

ปัญหาดังกล่าวสามารถแก้ไขได้ ด้วยการผลักดันให้เกิด ๔
กลไกหลักตามออทิสติกโรดแมป ซึ่งมีการออกแบบให้มีหน่วยงาน
บุคลากร และงบประมาณ ที่สามารถท�ำงานสอดประสานกันเพื่อดูแล
ช่วยเหลือและพัฒนาศักยภาพบุคคลออทิสติกได้อย่างมีประสิทธิภาพ
และยั่งยืน โดยโครงสร้างหลักๆ ประกอบด้วย

๑) สถาบันวิจยั ออทิสซึมในชุมชนเมืองมหาวิทยาลัยทีม่ โี รงเรียน


แพทย์ มีกระทรวงศึกษาธิการ เป็นผู้ดูแลและด�ำเนินการ

32
๒) แผนกพิเศษออทิสติกในโรงพยาบาลทั่วๆ ไปในชุมชน มี
กระทรวงสาธารณสุขเป็นผู้ดูแลและด�ำเนินการ

๓) ห้องเรียน ๒ รูปแบบ ได้แก่ ห้องเรียนคู่ขนานออทิสติก และ


ห้ อ งเรี ย นสอนเสริ ม การศึ ก ษาพิ เ ศษในโรงเรี ย นทั่ ว ไปใน
ชุมชน มีกระทรวงศึกษาธิการเป็นผู้ดูแลและด�ำเนินการ

๔) บ้านพิทักษ์บุคคลออทิสติกในชุมชน มีกระทรวงมหาดไทย และ


กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เป็นผู้ดูแลและ
ด�ำเนินการ

ทัง้ นีห้ น่วยงานภาครัฐทีเ่ กีย่ วข้องดังกล่าวล้วนมีศกั ยภาพในการ


สนับสนุนการด�ำเนินงานของ ๔ กลไกหลักให้เกิดขึน้ ได้จริง และด�ำเนิน
งานเพือ่ ดูแลช่วยเหลือ และพัฒนาศักยภาพบุคคลออทิสติกได้อย่างมี
ประสิทธิภาพและยั่งยืนสืบไป

จุดคานงัดที่ส�ำคัญของการแก้ปัญหาคือ
การสนับสนุนให้เกิด ๔ กลไกหลักตามออทิสติกโรดแมป

ท�ำไม ๔ กลไกหลักตามออทิสติกโรดแมป จึงเป็นจุดคานงัดที่


ส�ำคัญในการดูแลช่วยเหลือและพัฒนาบุคคลออทิสติก ก็เนื่องจากว่า
ความบกพร่องด้านออทิสติกสามารถบ�ำบัดรักษาให้ความรุนแรง

33
“๔ กลไกหลักตามออทิสติกโรดแมป”

ของอาการลดลงได้ ด้วยการให้การศึกษาและให้การบ�ำบัดแบบ
บูรณาการอย่างเข้มข้น เอาจริงเอาจัง และมีความต่อเนื่องอย่าง
เพียงพอ โดยอาศัยผู้ที่มีความรู้เฉพาะทางในหลายด้าน และมี
บุคลากรในจ�ำนวนที่เพียงพอเพื่อท�ำงานสอดประสานกัน

ดังนัน้ นอกจากความเอาใจใส่ของผูป้ กครองและครอบครัว


แล้ว บุคคลออทิสติกมีความจ�ำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องได้รับการ
บ�ำบัดจาก “นักวิชาชีพผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน” เช่น นักอรรถบ�ำบัด
หรือนักฝึกพูด นักกายภาพบ�ำบัด นักจิตวิทยา จิตแพทย์ และครูการ
ศึกษาพิเศษ เป็นต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่มีอาการรุนแรงจะต้อง
ได้รับการบ�ำบัดรักษาจากผู้เชี่ยวชาญในหลายด้านพร้อมๆ กัน
ซึ่งการบ�ำบัดและการพัฒนาทีเ่ ข้มข้นและต่อเนื่องอย่างเพียงพอ
จะช่วยลดอาการความบกพร่องเหล่านี้ลงได้ และท�ำให้บุคคล
ออทิสติกสามารถด�ำเนินชีวิตประจ�ำวันได้เช่นเดียวกับคนปกติ
ทั่วไป

ในทางกลับกัน หากไม่ได้รับการบ�ำบัดและพัฒนาอย่างต่อ
เนื่องและเข้มข้นเพียงพอ จะท�ำให้อาการหรือความบกพร่อง
นั้นรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ ยิ่งอายุมากขึ้นเท่าไร ความกดดัน
และความเครียดจะมากยิ่งขึ้นเท่านั้น จนไม่สามารถที่จะใช้
ชีวิตตามปกติได้ และกลายเป็นบุคคลที่มีปัญหาทางจิตที่เรียก
ว่า Schizophrenia เป็นภาระให้แก่ครอบครัวและสังคมอย่าง
หลีกเลี่ยงไม่ได้

34
ผลที่ตามมาคือ หลายครอบครัวเกิดปัญหาหย่าร้าง ท�ำให้
พ่อหรือแม่ต้องดูแลบุคคลออทิสติกโดยล�ำพัง ผู้ปกครองจ�ำนวน
หนึ่ ง ต้ อ งลาออกจากงานเพื่ อ มาดู แ ลลู ก บางครอบครั ว เกิ ด
ความเครียดจนไม่สามารถหาทางออกที่เหมาะสมได้ และมัก
จะระบายออกในรูปแบบของการใช้ความรุนแรงกับสมาชิกใน
ครอบครัว ยิ่งไปกว่านั้นบุคคลออทิสติกวัยรุ่นที่มีความบกพร่อง
ในขัน้ รุนแรงและมีปญั หาทางจิต มักจะท�ำร้ายพ่อแม่และสมาชิก
ในครอบครัว ซึ่งปัญหาเช่นนี้นับวันจะมีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ
หากไม่มหี น่วยงานหรือองค์การใดยืน่ มือเข้าไปให้ความช่วยเหลือ

ดังนั้นผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องจึงจ�ำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องหา
ทางแก้ปัญหาและเร่งป้องกันปัญหาไม่ให้ลุกลามไปสู่สถาบัน
ครอบครัวหรือสังคมโดยรวม

แม้ที่ผ่านมาจะมีระบบการให้ความช่วยเหลือ และพัฒนาแก่
บุคคลออทิสติกอย่างเต็มที่จากหลายหน่วยงานและหลายองค์กร ทั้ง
ภาครัฐและภาคเอกชนแล้วก็ตาม แต่ยังมีบุคคลออทิสติกจ�ำนวนไม่
น้อยที่ไม่สามารถพัฒนาได้เต็มที่ และยังมีความบกพร่องค่อนข้าง
รุนแรง เมื่อย่างเข้าสู่วัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่จะส่งผลให้เกิดปัญหาต่างๆ
ตามมา จนกระทั่งผู้ปกครองและครอบครัวไม่สามารถแก้ปัญหานั้น
ได้โดยล�ำพัง จึงมีความจ�ำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีองค์การหรือหน่วย
งานเข้ามาช่วยแก้ปัญหา และสร้างระบบหรือกลไกที่มีความเหมาะ
สมกับภาวะออทิสซึมซึ่งมีความเฉพาะเจาะจง โดยที่กลไกเหล่านี้จะ
ต้องน�ำไปสู่ความยั่งยืนในการพัฒนาและสร้างเสริมศักยภาพบุคคล
ออทิสติกต่อไปในระยะยาว
35
“๔ กลไกหลักตามออทิสติกโรดแมป”

ทั้งนี้ ๔ กลไกหลักที่จะต้องผลักดันให้เกิดขึ้น มีหน้าที่ส�ำคัญดังนี้

๑) สถาบันวิจัยออทิสซึมในชุมชนเมืองมาวิทยาลัยที่มีโรงเรียน
แพทย์ เป็นกลไกที่มีหน้าที่ท�ำงานวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้
ตลอดจนนวัตกรรมและเทคโนโลยีต่างๆ ด้านออทิสติก รวมทั้งส่ง
เสริมและสนับสนุนหน่วยงานที่วิจัยและพัฒนาหรือจัดการความ
รู้ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตบุคคลออทิสติกอย่างเป็น
ระบบ ซึ่งจะเป็นการดูแลทุกระดับอายุและทุกระดับกลุ่มอาการ
แต่ในปริมาณจ�ำกัด เพื่อการศึกษาวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้
และสังเคราะห์นวัตกรรมต่างๆ ที่ส�ำคัญสถาบันวิจัยออทิสซึมฯ จะ
มีหน้าทีน่ ำ� ส่งองค์ความรูแ้ ละนวัตกรรมต่างๆ ด้านออทิสติก ให้แก่
อีก ๓ กลไกหลัก ซึ่งสถาบันวิจัยออทิสซึมฯ จะต้องมี ๓ กลไกหลัก
สาธิตอยู่ด้วย

๒) แผนกพิเศษออทิสติกในโรงพยาบาลทั่วๆ ไปในชุมชน เป็น


กลไกที่ มี ห น้ า ที่ ดู แ ลด้ า นสุ ข ภาพและพั ฒ นาการของบุ ค คล
ออทิสติกตั้งแต่เกิดไปจนตลอดชีวิต ทั้งในเรื่องการดูแลสุขภาพ
เช่นเดียวกับที่ดูแลประชากรปกติ และให้ค�ำปรึกษาและออกแบบ
กิจกรรมบูรณการการบ�ำบัดแก่ชุมชนในบริบทต่างๆ เช่น ในบริบท
ของห้องเรียน ในบริบทของบ้านพิทักษ์ฯ เป็นต้น

๓) ห้องเรียน ๒ รูปแบบ ได้แก่ ห้องเรียนคู่ขนานออทิสติก และ


ห้ อ งเรี ย นสอนเสริ ม การศึ ก ษาพิ เ ศษในโรงเรี ย นทั่ ว ไปใน
ชุมชน เป็นกลไกที่มีหน้าที่ดูแลบุคคลออทิสติก ตั้งแต่ปฐมวัยไป
จนถึงก่อนการอาชีวศึกษา และก่อนการอุดมศึกษา

36
๔) บ้านพิทักษ์บุคคลออทิสติกในชุมชน เป็นกลไกที่มีหน้าที่ดูแล
บุคคลออทิสติกตั้งแต่วัยรุ่น วัยผู้ใหญ่ วัยท�ำงาน จนถึงวัยชรา

ความจ�ำเป็นที่ต้องมีการจัดการอย่างเป็นระบบ

“๔ กลไกหลักตามออทิสติกโรดแมป” เป็นกลไกส�ำคัญที่จะน�ำ
ไปสู่การช่วยเหลือและพัฒนาศักยภาพของบุคคลออทิสติกได้อย่าง
ยั่งยืน เพราะเด็กออทิสติกจะได้รับการวินิจฉัยและได้รับการรักษาที่
รวดเร็วและต่อเนื่อง ซึ่งเป้าหมายของการรักษาคือ การส่งเสริม
พัฒนาการ และลดพฤติกรรมทีไ่ ม่เหมาะสมให้ใกล้เคียงเด็กปกติ
มากที่สุด ซึ่งการได้รับการวินิจฉัยและรักษาตั้งแต่อายุยังน้อย
และต่อเนื่องจะท�ำให้การรักษาได้ผลดี ทั้งนี้กลไกส�ำคัญที่สามารถ
ช่วยให้เด็กและบุคคลออทิสติกให้ได้รับการตรวจวินิจฉัยตั้งแต่แรก
เกิดและได้รบั การดูแลด้านสุขภาพและพัฒนาอย่างต่อเนือ่ งคือ แผนก
พิเศษออทิสติกในโรงพยาบาลทั่วๆ ไปในชุมชน ซึ่งเป็นหนึ่งใน
๔ กลไกหลักฯ ที่จะต้องถูกจัดตั้งขึ้นตามออทิสติกโรดแมปเพื่อดูแล
ช่วยเหลือเด็กและบุคคลออทิสติกตั้งแต่แรกเกิด จนกระทั่งเติบใหญ่
และเข้าสู่วัยชรา

37
“๔ กลไกหลักตามออทิสติกโรดแมป”

ทั้งนี้ ๔ กลไกหลักตามออทิสติกโรดแมปแต่ละกลไกจะ
เป็นเหมือนห่วงโซ่ที่เชื่อมร้อยกัน โดยครอบคลุมทั้งทางด้าน
สาธารณสุข การศึกษา การอาชีพ สวัสดิการสังคม และการด�ำเนิน
ชีวิต ตลอดจนการพัฒนาองค์ความรู้ในด้านต่างๆ ควบคู่ไปด้วย
จึงเป็นการท�ำงานที่สอดประสานเชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบ
ในการดูแลช่วยเหลือเด็กและบุคคลออทิสติก หาก ๔ กลไกหลัก
ตามออทิสติกโรดแมป สามารถเกิดขึน้ จริงและด�ำเนินการเป็นไป
ดังนี้ ประชากรออทิสติกก็จะมีหน่วยงานหลักของรัฐ-สังคมไทย
ดูแลอย่างต่อเนือ่ ง และอยูใ่ นโครงสร้างปกติของรัฐ-สังคมไทย ทัง้
โครงสร้างงบประมาณปกติ และโครงสร้างบุคคลากรปกติ ตลอด
จนการมีกระบวนการบริหารจัดการด้านต่างๆ ทีแ่ น่นอนเป็นปกติ
เช่นเดียวกับทึ่รัฐ-สังคมไทยมีให้กับประชากรปกติทั่วไป

แล้ว ๔ กลไกหลักจะเริ่มต้นอย่างไร

การดูแลช่วยเหลือเด็กและบุคคลออทิสติกอย่างต่อเนื่องและมี
ประสิทธิภาพยั่งยืนด้วย ๔ กลไกหลักตามออทิสติกโรดแมปนั้น แม้
จะเป็นเรื่องดีที่ควรส่งเสริมและผลักดันให้เกิด แต่ก็ใช่ว่าจะท�ำได้
ทันที เพราะอะไรถึงไม่สามารถท�ำได้ทันทีนั้น ก็เนื่องจากว่าภาวะ
ออทิสซึมเป็นเรื่องที่ซับซ้อนและต้องอาศัยการรักษาดูแลที่ถูกต้องต่อ
เนื่อง รวมทั้งต้องใช้องค์ความรู้ที่เฉพาะเจาะจง ใช้บุคลากรที่มีความรู้
ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน และที่ส�ำคัญคือต้องมีระบบที่ต่อเนื่อง ซึ่ง

38
ที่ผ่านมาบุคลากรที่เป็นก�ำลังส�ำคัญในการท�ำงานเรื่องนี้นั้นประกอบ
ด้วยบุคลากรสหวิชาชีพต่างๆ ซึ่งมีทั้งผู้ที่มีประสบการณ์และไม่มี
ประสบการณ์ในการท�ำงานกับบุคคลออทิสติก ที่ส�ำคัญยังขาดองค์
ความรู้ที่จ�ำเป็นในการท�ำงานอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ รวม
ทั้งขาดการออกแบบหรือก�ำหนดแนวทางการท�ำงานของหน่วยงาน
ที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสม ๔ กลไกหลักตามออทิสติกโรดแมป ตาม
โครงสร้างที่ออกแบบไว้จะช่วยท�ำให้มั่นใจได้ว่าแนวทางนั้นๆ จะ
สามารถดูแลช่วยเหลือและพัฒนาศักยภาพของบุคคลออทิสติกได้
อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นก่อนจะจัดตั้งหน่วยงานที่เป็น ๔ กลไก
หลักตามออทิสติกโรดแมปอย่างถาวรขึน้ นัน้ จ�ำเป็นอย่างยิง่ ทีจ่ ะ
ต้องมีการเตรียมการอย่างดีให้เกิดความพร้อมแก่ทกุ ฝ่ายทุกด้าน
โดยต้องเตรียมความพร้อมในเรื่องต่างๆ ดังนี้

๑. ด� ำ เนิ น โครงการน� ำ ร่ อ งเพื่ อ บ่ ม เพาะและพั ฒ นาศั ก ยภาพ


บุคลากรด้านออทิสติกทีม่ คี วามเชีย่ วชาญและมีประสิทธิภาพ
เพื่อบ่มเพาะบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถเฉพาะทางในการ
ดู แ ลช่ วยเหลือและพัฒนาศักยภาพบุคลออทิ สติ ก เนื่ อ งจาก
บุคลากรที่มีความรู้ความเชี่ยญชาญเฉพาะนั้น ถือเป็นปัจจัย
ส�ำคัญที่จะส่งผลให้การดูแลช่วยเหลือและพัฒนาศักยภาพ
บุคคลออทิสติกประสบผลส�ำเร็จ

ซึง่ ในสถานการณ์ปจั จุบนั ประเทศไทยยังขาดบุคลากรทีม่ คี วาม


รูท้ างด้านนี้ ดังนัน้ จึงจ�ำเป็นต้องมีโครงการน�ำร่องเพือ่ เตรียมความ
พร้อมด้านบุคลากร ทั้งในด้านจ�ำนวนที่เพียงพอ และด้านความรู้
ความเชี่ยวชาญที่จ�ำเป็น

39
“๔ กลไกหลักตามออทิสติกโรดแมป”

ทีผ่ า่ นมาด้วยข้อจ�ำกัดด้านอัตราก�ำลังบุคลากรทีไ่ ม่สามารถจะ


บรรจุแต่งตั้งนักวิชาการที่มีความรู้และทักษะที่จ�ำเป็นเฉพาะด้าน
ได้ รวมทัง้ ขาดงบประมาณในการด�ำเนินงานทีเ่ หมาะสมและเพียง
พอ ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการพัฒนา
และการให้ความช่วยเหลือแก่บคุ คลออทิสติก ซึง่ การทีจ่ ะแก้ปญ ั หา
และพัฒนาบุคคลออทิสติกให้ได้ประสิทธิภาพนัน้ เป็นความจ�ำเป็น
อย่างยิ่งที่จะต้องอาศัยบุคลากรที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญและมี
ประสบการณ์เฉพาะด้านออทิสติกเข้ามาท�ำงานนี้อย่างต่อเนื่อง
จึงจะต้องมีการสร้างบุคลากรด้านออทิสซึมที่มีคุณภาพ เพราะ
คุณภาพของบุคลากรคือหัวใจส�ำคัญที่สามารถบ่งชี้ความ
ส�ำเร็จของงานต่างๆ ได้

ดั ง นั้ น การเริ่ ม ต้ น วางรากฐานที่ ดี ข อง ๔ กลไกหลั ก


ตามออทิสติกโรดแมปนัน้ ต้องเริม่ ต้นทีก่ ารสร้างบุคลากรทีจ่ ะ
เข้ามาท�ำงานภายใต้กลไกต่างๆ ซึง่ การสร้างและพัฒนาบุคลากร
ด้านออทิสติกต้องค�ำนึงถึง ๒ ด้านควบคู่กันไปเป็นส�ำคัญ คือ

๑.๑ ด้านปริมาณหรือจ�ำนวนก�ำลังคนที่ต้องเหมาะสมเพียง
พอ เพราะแม้บุคลากรจะมีความสามารถ แต่หากมีไม่เพียง
พอ ก็อาจเป็นผลให้การดูแลช่วยเหลือและพัฒนาบุคคล
ออทิสติกไม่ประสบผลส�ำเร็จเท่าที่ควร

๑.๒ ด้านคุณภาพหรือการพัฒนาความรู้ความสามารถด้าน
ออทิสติกหรือความสามารถเฉพาะทาง เพื่อให้การขับ
เคลื่อนงานของ ๔ กลไกหลัก มีบุคลากรที่มีความรู้ความ

40
เชี่ยวชาญเฉพาะในด้านต่างๆ เข้ามาท�ำงานอย่างมีคุณภาพ
โดยในเรื่องความรู้ความสามารถนั้น จะต้องมีการประมวล
องค์ความรู้เกี่ยวกับเรื่องออทิสติกเพื่อให้ความรู้แก่ทีม
สหวิชาชีพต่างๆ ที่รัฐ-สังคมไทยมีอยู่แล้ว (ดูภาคผนวก
๒: โครงสร้างหลักสูตรนักพัฒนาศักยภาพบุคคลออทิสติก)

๒. ด� ำ เนิ น โครงการน� ำ ร่ อ งเพื่ อ ถอดบทเรี ย นส� ำ หรั บ การวาง


แนวทางการขับเคลื่อนงานของ ๔ กลไกหลักตามออทิสติก
โรดแมป หลังจากที่มีการด�ำเนินโครงการน�ำร่องเพื่อเสริมสร้าง
และพัฒนาบุคลากรด้านออทิสติกแล้ว จ�ำเป็นต้องมีการถอด
บทเรียนการด�ำเนินงาน เพื่อร่วมกันวางแนวทางและก�ำหนดการ
ขับเคลือ่ น ๔ กลไกหลักให้มคี วามเหมาะสมกับกลุม่ บุคคลออทิสติก
และเพื่อให้การท�ำงานมีประสิทธิภาพ พร้อมที่จะเข้าสู่โครงสร้าง
งบประมาณปกติต่อไปภายในระยะเวลาที่ก�ำหนด

๓. ด� ำ เนิ น โครงการน� ำ ร่ อ งต้ อ งมี ก ารปรั บ โครงสร้ า งด้ า น


งบประมาณให้สามารถน�ำมาใช้หนุนเสริมให้เกิดบุคลากร
ภายใต้โครงการน�ำร่องฯ เพื่อก�ำหนดกรอบบุคลากรเมื่อเข้าสู่
โครงสร้างงบ ประมาณปกติต่อไปภายในระยะเวลาที่ก�ำหนด

เนื่องจากการด�ำเนินงานโครงการน�ำร่องมีเป้าหมายส�ำคัญใน
การสร้างและพัฒนาบุคลากรด้านออทิสติกที่มีประสิทธิภาพ ซึ่ง
จ�ำเป็นต้องมีงบประมาณเข้าไปสนับสนุนและส่งเสริมบุคลากร
ที่อยู่ภายใต้โครงการน�ำร่องฯ ดังกล่าว แต่อย่างไรก็ตาม การใช้
เงินนอกงบประมาณปกติเพือ่ สนับสนุนและส่งเสริมบุคลากร
41
“๔ กลไกหลักตามออทิสติกโรดแมป”

เหล่านี้กลับไม่สามารถท�ำได้ เนื่องจากติดระเบียบวิธีการงบ
ประมาณทั่วไปว่าไม่สามารถน�ำมาจ่ายเงินเดือนให้บุคลากร
ภายในโครงการน�ำร่องฯได้ ดังนั้นจึงมีความจ�ำเป็นอย่างยิ่ง
ที่จะต้องมีการแก้ไขกฎระเบียบวิธีการงบประมาณ เพื่อให้
โครงการน�ำร่องสามารถเกิดขึ้นได้จริง เพราะหากไม่มีงบ
ประมาณสนับสนุน โครงการก็ไม่สามารถเกิดได้

เมื่อโครงการน�ำร่องเกิดขึ้นไม่ได้ ก็จะไม่สามารถสร้างและ
พัฒนาบุคลากรด้านออทิสติกที่มีประสิทธิภาพได้ และไม่สามารถ
ถอดบทเรียนเพื่อน�ำข้อมูลมาใช้ออกแบบและวางโครงสร้างการ
ขับเคลื่อนงานของ ๔ กลไกหลักที่มีประสิทธิภาพ และสุดท้ายคือ
ไม่อาจน�ำไปสู่ผลลัพธ์ที่ทุกคนต้องการ นั่นคือการแก้ปัญหาและ
ดูแลช่วยเหลือบุคคลออทิสติกที่ส�ำเร็จผลยั่งยืน

จากที่กล่าวมาจะเห็นว่า การด�ำเนินงานทุกอย่างมีส่วนสอด
ประสานเชื่อมโยงกัน และน�ำไปสู่ผลลัพธ์ที่ส�ำคัญขึ้นเป็นล�ำดับ
ดังนั้นการปรับเปลี่ยนกฏระเบียบด้านวิธีการงบประมาณเพื่อ
สามารถสนับสนุนและส่งเสริมบุคลากรภายใต้โครงการน�ำร่องนี้
จึงเป็นเรื่องส�ำคัญและถือเป็นก้าวแรกๆ ที่จะน�ำไปสู่ผลส�ำเร็จที่
ยิ่งใหญ่ต่อไป

42
เงื่อนไขส�ำคัญ อันจะน�ำไปสู่ผลส�ำเร็จ

ปัจจัยหรือเงื่อนไขส�ำคัญอันจะน�ำไปสู่ผลส�ำเร็จมีดังนี้

๑. มีโครงการน�ำร่องและถอดบทเรียน
เนื่องจากภาวะออทิสซึมเป็นเรื่องที่ซับซ้อนและเข้าใจยาก
อี ก ทั้ ง ปั จ จุ บั น ยั ง ไม่ มี แ นวทางดู แ ลช่ ว ยเหลื อ ที่ เ หมาะสมและ
ชัดเจน ดังนั้นจึงจ�ำเป็นอย่างยิ่งที่ภาครัฐจะต้องสนับสนุนให้
เกิดโครงการน�ำร่องเพื่อเสริมสร้างและพัฒนาบุลากรด้าน
ออทิสติกที่มีความเชี่ยวชาญและมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้
ต้องมีการน�ำประสบการณ์และข้อมูลทีไ่ ด้ไปถอดบทเรียนเพือ่
วางแนวทางที่เหมาะสม ซึ่งจะเป็นการท�ำงานที่มีเป้าหมาย
และทิศทาง รวมทั้งวิธีการที่เหมาะสมและชัดเจน

๒. มีการปรับแก้กฎระเบียบเพื่อให้มีงบประมาณรองรับบุคลากร
ในโครงการฯ
ภาครัฐต้องมีการสนับสนุนงบประมาณเพื่อให้เกิดโครงการ
น�ำร่องฯ ดังกล่าว โดยจ�ำเป็นต้องมีการแก้ไขกฎระเบียบด้าน
งบประมาณบางประการเพื่อรองรับบุคลากรที่อยู่ภายใต้
โครงการฯ น�ำร่อง

43
“๔ กลไกหลักตามออทิสติกโรดแมป”

๓. รัฐเป็นผู้รับผิดชอบหลักในการบริหารจัดการ ๔ กลไกหลัก
ตามออทิสติกโรดแมป
เนื่ อ งจากการดู แ ลช่ ว ยเหลื อ และพั ฒ นาศั ก ยภาพบุ ค คล
ออทิ ส ติ ก เป็ น เรื่ อ งยากที่ มี ค วามซั บ ซ้ อ น และที่ ส� ำ คั ญ ต้ อ งใช้
บุคลากรที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญเฉพาะทางซึ่งส่วนใหญ่อยู่ใน
ภาครัฐ โดย ๔ กลไกหลักนี้ ประกอบด้วย

๓.๑ แผนกพิเศษออทิสติกในโรงพยาบาลทั่วๆ ไปในชุมชน


ต้องใช้บุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ทั้งทางการ
แพทย์ และการดูแลบ�ำบัด รวมทั้งการเสริมพัฒนาการที่ถูก
ต้องเหมาะสม ซึ่งหน่วยงานที่มีบทบาทหน้าที่ในเรื่องนี้
โดยตรงคือ กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งมีความพร้อมทั้งใน
ด้านการพัฒนาบุคลากร และองค์ความรู้ทางด้านนี้ 

๓.๒ ห้องเรียน ๒ รูปแบบ คือ ห้องเรียนคู่ขนานออทิสติก และ


ห้องเรียนสอนเสริมการศึกษาพิเศษในโรงเรียนทั่วไป
ในชุมชน ต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านซึ่งมีองค์ความ
รู้ทั้งในเรื่องการสอนที่เหมาะกับเด็กออทิสติก และมีความ
เชีย่ วชาญในการถ่ายทอดความรู้ ซึง่ ความเชีย่ วชาญเฉพาะ
ในลั ก ษณะนี้ ไ ม่ ส ามารถให้ บุ ค คลอื่ น มาท� ำ แทนได้
ดังนัน้ กลไกดังกล่าวควรจะอยูใ่ นความดูแลของกระทรวง
ศึกษาธิการ ซึ่งมีศักยภาพที่จะด�ำเนินการได้อย่างยั่งยืน 

44
๓.๓ บ้านพิทักษ์บุคคลออทิสติกในชุมชน ซึ่งต้องดูแลบุคคล
ออทิสติกที่มีความหลากหลายต่างกันตลอด ๒๔ ชม. ทั้ง
๓๖๕ วัน โดยเฉพาะระดับของภาวะออทิสซึมของแต่ละคน
รวมทัง้ กิจกรรมในบ้านพักทีต่ อ้ งดูแลรับผิดชอบทัง้ ด้านการฝึก
อาชีพ การท�ำงาน การดูแลสุขภาพทั้งกายและใจ การรักษา
พยาบาลในเบื้องต้นและการส่งต่อ การพัฒนาศักยภาพและ
พัฒนาการ ฯลฯ ซึ่งจะเห็นว่าระบบงานในบ้านพิทักษ์บุคคล
ออทิสติกนั้น มีความซับซ้อนและหลากหลาย

ตามปกติแล้ว มาตรฐานการบริหารจัดการบ้านพักภายใต้
ระเบียบของกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
นั้น ก�ำหนดให้บ้านพักต่างๆ ต้องมีมาตรฐานที่ส�ำคัญคือ การ
มีเจ้าหน้าที่หรือบุคลากรที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง
ซึ่งในกรณีของบ้านพิทักษ์บุคคลออทิสติกนั้น ก็น่าจะเทียบได้
กับการต้องมีบคุ ลากรทีม่ คี วามรูค้ วามเชีย่ วชาญด้านการพัฒนา
ศักยภาพบุคคลออทิสติกทั้งในวัยรุ่น วัยผู้ใหญ่ วัยท�ำงาน

กล่าวคือ มีการบริหารจัดการโดยทีมผู้เชี่ยวชาญที่ถูก
บ่มเพาะมาเพื่อเป็นบุคลากรของบ้านพิทักษ์ฯ โดยตรง
โดยผ่านการอบรมหลักสูตรเฉพาะอย่างเฉพาะเจาะจง (ดู
ภาคผนวก ๒: โครงสร้างหลักสูตรนักพัฒนาศักยภาพบุคคล
ออทิสติก) รวมทั้งมีการเชื่อมประสานกับบุคลากรทางการ
แพทย์ นักจิตวิทยา นักกายภาพบ�ำบัด นักการอาชีพบ�ำบัด และ
ผูเ้ ชีย่ วชาญในศาสตร์อนื่ ๆ ทีเ่ กีย่ วข้อง ซึง่ จะต้องร่วมกันท�ำงาน

45
“๔ กลไกหลักตามออทิสติกโรดแมป”

ในรูปแบบของสหวิชาชีพอย่างต่อเนือ่ ง ดังนัน้ จึงเห็นได้วา่ การ


บริหารงานในส่วนบ้านพิทกั ษ์ฯ นัน้ จะต้องประกอบด้วยผู้
เชีย่ วชาญในศาสตร์ตา่ งๆ ท�ำงานร่วมกันและต่อเนือ่ ง เพือ่
ให้บา้ นพิทกั ษ์ฯ สามารถให้การพัฒนาศักยภาพของบุคคล
ออทิสติกให้พวกเขาเหล่านั้นสามารถดูแลตัวเองได้ รวม
ทั้งอาจสร้างคุณประโยชน์แก่ชุมชนและประเทศชาติได้

๓.๔ สถาบันวิจัยออทิสซึมในชุมชนเมืองมหาวิทยาลัยที่มี
โรงเรียนแพทย์ก็เช่นเดียวกัน ที่รัฐจะต้องเข้ามาด�ำเนิน
การหนุนช่วยทุกด้าน เพราะนอกจากจะวิจัยและพัฒนา
นวัตกรรมด้านออทิสติกแล้ว ยังต้องเกี่ยวเนื่องกับการ
ผลิตบุคลากรสหวิชาชีพหลากหลายแขนง จึงต้องอยู่ใน
องคาพยพของมหาวิทยาลัยที่มีโรงเรียนแพทย์ ที่ต้อง
บริหารจัดการโดยทีมผู้เชี่ยวชาญโดยเฉพาะด้านจาก
คณะวิชาต่างๆ ทั้งทางด้านการแพทย์การบ�ำบัด ด้านการ
ศึกษา และด้านสังคม เช่น แพทย์ นักจิตวิทยา นักวิชาการ
ด้านออทิสซึม นักการศึกษา นักสังคมศาสตร์ ฯลฯ รวมทั้ง
การมี ส ่ ว นร่ ว มของบุ ค คลออทิ ส ติ ก ที่ มี ค วามสามารถ
(ออทิสติกศักยภาพสูง) ก็จะช่วยให้ประเทศไทยสามารถ
พัฒนาองค์ความรู้และนวัตกรรมใหม่ๆ ด้านออทิสติก
อันจะน�ำไปสู่การวางระบบ และการแก้ปัญหาที่ยั่งยืนได้

46
๔ กลไกหลักตามออทิสติกโรดแมป
สร้างคุณประโยชน์แก่ใครบ้าง

จากที่ ก ล่ า วมาข้ า งต้ น จะเห็ น ว่ า หาก “๔ กลไกหลั ก ตาม


ออทิสติกโรดแมป” สามารถด�ำเนินงานในการดูแลและพัฒนาศักยภาพ
บุคคลออทิสติกได้อย่างมีประสิทธิภาพและต่อเนือ่ งแล้ว กลไกหลักทัง้
๔ ดังกล่าว จะมีคุณประโยชน์อย่างยิ่งต่อทุกคนในสังคมไทย ไม่
ว่าจะเป็นบุคคลออทิสติกและครอบครัวเอง หรือสังคม ชุมชน
และประเทศชาติ

กล่าวคือ บุคคลออทิสติกจะสามารถเข้ารับการศึกษา พัฒนา


ความรู้และศักยภาพ จนสามารถดูแลตนเอง และท�ำงานหา
เลี้ยงตนเองและครอบครัว ในส่วนของพ่อแม่ผู้ปกครองก็ได้รับ
ประโยชน์จาก ๔ กลไกหลักดังกล่าว เนื่องจากพ่อแม่ผู้ปกครอง
สามารถมีเวลาประกอบอาชีพของตนเองได้ รวมทั้งสามารถ
ใช้ความรู้ความสามารถที่ตนร�่ำเรียนหรือเชี่ยวชาญเพื่อสร้าง
ประโยชน์ให้ตนเอง ชุมชน สังคม และประเทศชาติได้

ที่ส�ำคัญ ชุมชน สังคม และประเทศชาติ จะได้รับประโยชน์


จากโครงสร้างของ ๔ กลไกหลักดังกล่าว โดยบุคคลออทิสติก
ที่ได้รับการพัฒนาศักยภาพแล้วนั้น นอกจากจะไม่เป็นภาระ
ต่อครอบครัว ชุมชน และประเทศแล้ว พวกเขาเหล่านั้นยังถือ
เป็นพลเมืองที่มีศักยภาพของชุมชนด้วย ในส่วนของประเทศ

47
“๔ กลไกหลักตามออทิสติกโรดแมป”

ชาตินั้นแน่นอนว่าประเทศของเราย่อมสามารถสร้างประชากร
ที่มีคุณภาพหรือศักยภาพเพิ่มมากขึ้น แทนที่พวกเขาเหล่านั้น
จะเป็ น ภาระของผู ้ อ่ื น และในส่ว นของพ่อ แม่ ผู้ ปกครองบุ คคล
ออทิสติกจะมีเวลาส่วนตัวมากขึน้ เพราะไม่ตอ้ งผจญกับปัญหาเด็กหรือ
บุคคลออทิสติกในครอบครัวทีย่ ากเกินกว่าทีพ่ อ่ แม่ผปู้ กครองจะรับมือ
ได้เพียงล�ำพัง ก็จะท�ำให้พ่อแม่ผู้ปกครองมีความเครียดลดลง และมี
เวลาท�ำงานตามความสามารถของตนมากขึ้น ประเทศชาติก็จะได้
บุคลากรที่เป็นก�ำลังส�ำคัญในการพัฒนาประเทศเพิ่มขึ้น ซึ่งช่วย
ให้เกิดการพัฒนาทัง้ ในเชิงเศรษฐกิจ สังคม ครอบครัว และชุมชน
ตลอดจนศักยภาพของคนในชาติด้วย

48
49
“๔ กลไกหลักตามออทิสติกโรดแมป”

50
แผนกพิเศษออทิสติก
ในโรงพยาบาลทัว่ ๆ ไป
ในช ุมชน

51
“๔ กลไกหลักตามออทิสติกโรดแมป”

โครงสร้างของแผนกพิเศษออทิสติก
ในโรงพยาบาลทั่วๆ ไปในชุมชน

โครงสร้างของแผนกพิเศษออทิสติกในโรงพยาบาลทั่วๆ ไปใน
ชุมชน ประกอบด้วย ๒ ส่วน คือ

๑. ส่วนที่ต้องกระท�ำโดยผู้ประกอบวิชาชีพแพทย์และแพทย์
เท่านั้น ได้แก่ การวินิจฉัย การใช้ยา และหัตถการทางการแพทย์
เช่น อาจต้องได้รับยาเกี่ยวกับการปรับพฤติกรรม การเจาะเลือด
เป็นต้น

๒. ส่วนที่กระท�ำได้โดยบุคลากรทางการแพทย์การบ�ำบัดที่ไม่ใช่
ผู้ประกอบวิชาชีพแพทย์ ซึ่งส�ำหรับบุคคลออทิสติกที่ส�ำคัญ
คื อ การกระตุ ้ น พั ฒ นาการของประสาทการรั บ รู ้ ร ะบบต่ า งๆ
การกระตุ้น การเชื่อมโยงการท�ำงานของสมองพื้นที่ต่างๆ ด้วย
กิจกรรมการบ�ำบัดทางกายภาพด้านการแพทย์ที่กระท�ำต่อบุคคล
ออทิสติกโดยตรง

52
ภาระหน้าที่ของแผนกพิเศษออทิสติก
ในโรงพยาบาลทั่วๆ ไปในชุมชน

“แผนกพิเศษออทิสติกในโรงพยาบาลทั่วๆ ไปในชุมชน” มีภาระ


งาน/ภาระหน้าที่จะต้องให้บริการทางด้านการแพทย์การบ�ำบัดแก่
บุคคลออทิสติกทุกระดับอายุและทุกระดับกลุ่มอาการในทุกบริบท
ของการด�ำเนินชีวิตของบุคคลออทิสติก โดยสิ่งที่บุคคลออทิสติก
และครอบครัวจ�ำเป็นต้องได้รับจาก “แผนกพิเศษออทิสติกใน
โรงพยาบาลทัว่ ๆ ไปในชุมชน” คือ แผนการจัดกิจกรรมการบ�ำบัด
เพือ่ การกระตุน้ พัฒนาการของประสาทการรับรูร้ ะบบต่างๆ ทีเ่ ข้า
กันได้กับบริบทต่างๆ ของการด�ำเนินชีวิตประจ�ำวันของบุคคล
ออทิสติกในช่วงอายุระดับต่างๆ ดังนี้

- ช่วงอายุ ๐-๖ ปี
๑. การวินิจฉัยโรค/ การใช้ยา-หัตการทางการแพทย์ (โดยแพทย์)
๒. การประเมินระดับพัฒนาการของประสาทการรับรู้ระบบต่างๆ
(โดยนักบ�ำบัด)
๓. ได้รับข้อเสนอแนะว่า ควรกระตุ้นพัฒนาการของประสาทการรับ
รู้ในระบบใดก่อน และในระบบใดบ้าง
๔. แผนการจัดกิจกรรมกระตุ้นพัฒนาการในข้อ ๓

53
“๔ กลไกหลักตามออทิสติกโรดแมป”

- ช่วงอายุ ๓-๖ ปี
ในช่วงนีเ้ ด็กอาจเข้าสถานอนุบาลเด็กอ่อนหรือโรงเรียนอนุบาล
ซึ่งจะคาบเกี่ยวทับซ้อนกันระหว่างกิจกรรมการบ�ำบัดทางการ
แพทย์กับกิจกรรมการเรียนการสอนทางการศึกษา แต่น�้ำหนักจะ
เอียงมาทางด้านการบ�ำบัด ซึ่งแผนการจัดกิจกรรมการบ�ำบัดเพื่อ
กระตุ้นพัฒนาการของประสาทการรับรู้ระบบต่างๆ ที่เข้ากันได้กับ
บริบทต่างๆ ของการด�ำเนินชีวิตประจ�ำวันของบุคคลออทิสติกใน
ช่วงอายุระดับนี้ ได้แก่
๑. ในบริบทของบ้าน ของครอบครัวเด็กอ่อนออทิสติก
๒. ในบริบทของสถานอนุบาลเด็กอ่อน
๓. ในบริบทของ “ห้องเรียนคู่ขนานออทิสติกในโรงเรียนทั่วไป
ในชุมชนใกล้บ้าน (ระดับอนุบาล)”

- ช่วงอายุ ๖-๑๙ ปี
ช่วงนีบ้ คุ คลออทิสติกจะอยูใ่ นระบบโรงเรียนเป็นส่วนใหญ่ ช่วง
นีบ้ คุ คลออทิสติกก็จะเช่นเดียวกับบุคคลปกติ คือใช้ชวี ติ อยูร่ ะหว่าง
บ้าน/ โรงเรียน/ ชุมชน กิจกรรมเพื่อการยกระดับศักยภาพและ
คุณภาพชีวติ ของบุคคลออทิสติกในช่วงนีจ้ ะทวีความซับซ้อนยิง่ ขึน้
เพราะมีหลายบริบทเข้ามาเกี่ยวข้อง ดังนั้นจ�ำเป็นต้องมีแผนการ
จัดกิจกรรมบูรณาการการบ�ำบัดในบริบทของ “ห้องเรียน ๒ รูป
แบบ ได้แก่ ห้องเรียนคู่ขนานออทิสติก และห้องเรียนสอนเสริม
การศึกษาพิเศษในโรงเรียนทั่วไปในชุมชนใกล้บ้าน (ระดับประถม
ศึกษา-ระดับมัธยม)” (ถ้า “กลไก” ตามออทิสติกโรดแมปกลไกนี้
ได้ถูกบรรจุเข้าไปในโครงสร้างระบบการศึกษาของรัฐ-สังคมไทย)
54
- ช่วงอายุ ๑๙ ปี ขึ้นไป จนถึงวัยชรา
ช่วงอายุจาก ๑๙ ปีขึ้นไปจนถึงวัยชรานั้น จะเป็นเรื่องของการ
เป็นผู้ป่วยนอก ผู้ป่วยใน และหัตการทางการแพทย์ โดยเฉพาะ
การท�ำฟันที่จะต้องมีกระบวนการจัดการแบบพิเศษที่สอดคล้อง
กับความผิดปกติของกลุ่มอาการออทิสซึม และมี “จิตแพทย์”
เป็นที่ปรึกษาเป็นรายบุคคล และในเรื่องของการบ�ำบัดโดยนัก
บ�ำบัดที่ไม่ใช่แพทย์ก็จะเป็นเรื่องของการกระตุ้นประสาทการรับ
รู้ระบบต่างๆ ที่ยังไม่พัฒนา แต่ในทางร่างกายจะใหญ่โตขึ้นตาม
วัย กิจกรรมการบูรณาการการบ�ำบัดก็จะต้องประยุกต์ให้เหมาะกับ
ขนาดของร่างกาย รวมทัง้ อุปกรกณ์กต็ อ้ งเป็นแบบผูใ้ หญ่ ทีส่ ำ� คัญ
จะมีบุคคลออทิสติกทั้งวัยรุ่น วัยผู้ใหญ่ วัยท�ำงาน หรือกระทั่งวัย
ชราที่จะต้องใช้ชีวิตอยู่ในบ้านของส่วนรวมที่เป็นสวัสดิการสังคม
นั่นคือ “บ้านพิทักษ์บุคคลออทิสติกในชุมชน” ซึ่งบุคคลเหล่านี้
จ�ำเป็นต้องมีแผนการจัดกิจกรรมบูรณาการการบ�ำบัดในบริบท
ของ “บ้านพิทักษ์บุคคลออทิสติกในชุมชน” ซึ่งจะเกิดขึ้นได้ถ้า
“กลไก” ตามออทิสติกโรดแมปได้ถกู บรรจุเข้าไปในโครงสร้างระบบ
สวัสดิการสังคมของรัฐ-สังคมไทย

กล่าวโดยสรุป
สิ่ ง ที่ ผุ ้ ป กครองบุ ค คลออทิ ส ติ ก ต้ อ งการจาก “แผนกพิ เ ศษ
ออทิสติกฯ” คือ นวัตกรรมการบริหารจัดการทางการแพทย์ การ
บ�ำบัด ทัง้ ด้านการแพทย์โดยผูป้ ระกอบวิชาชีพแพทย์ และด้านการ
บ�ำบัดโดยผู้ประกอบวิชาชีพนักบ�ำบัด ดังนี้

55
“๔ กลไกหลักตามออทิสติกโรดแมป”

๑. ในส่วนของผู้ประกอบวิชาชีพแพทย์คือ การเป็นผู้ป่วยนอก
และการเป็นผู้ป่วยใน

• การเป็นผู้ป่วยนอก
- มีกระบวนการจัดการพิเศษ เช่น การไปรับยาประจ�ำ การตรวจ
เลือด ฯลฯ ต้องไม่ให้รอคิวนาน เพราะบ่อยครั้งที่เด็กหรือบุคคล
ออทิสติกจะมีพฤติกรรมซน อยู่ไม่นิ่ง หุนหันพลันแล่น และ
ร�ำคาญได้ง่าย จึงไม่เหมาะที่จะอยู่ในสถานการณ์ที่จะต้องรอ
นาน ถ้าจ�ำเป็นต้องรอนานจะต้องมีกิจกรรมให้ท�ำ เป็นต้น
- มีเจ้าหน้าที่เพียงพอในระหว่างการตรวจรักษาด้วยหัตถการ
ทางการแพทย์ เช่น การตรวจฟัน การท�ำฟัน การเจาะเลือดดู
ระดับยาบางตัว บางครั้งต้องใช้พนักงานเปลผู้ชายช่วยจับถึง ๖
คน จึงเจาะเลือดได้ การตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง การตรวจคลื่น
ไฟฟ้าหัวใจ การอัลตร้าซาวด์ การเอ็กเซร์ การท�ำ MRI การท�ำ
ซีทีสแกน TC-SCAN เป็นต้น

• การเข้าเป็นผู้ป่วยใน เมื่อป่วยหนัก
- มีกระบวนการจัดการที่มีความสอดคล้องกับความผิดปกติของ
บุคคลออทิสติก เช่น ต้องมีการจัดกิจกรรมระหว่างทีผ่ ปู้ ว่ ยพักฟืน้
อยู่ในสถานพยาบาล ต้องมีการจัดพยาบาลประจ�ำเพราะคลาด
สายตาไม่ได้ ผู้ดูแลหรือญาติเพียงคนเดียวไม่สามารถดูแลเด็ก
หรือบุคคลออทิสติกได้อย่างทั่วถึงตลอดเวลา เป็นต้น

56
- ในเรื่องของยาที่ช่วยปรับการนอนให้เป็นปกติ บุคคลออทิสติกมี
ปัญหาในเรือ่ งการนอนไม่หลับ จึงจ�ำเป็นต้องให้แพทย์เป็นผูจ้ า่ ย
และควบคุมปริมาณยาปรับการนอนให้เป็นปกติ ซึ่งเป็นเรื่อง
ละเอียดอ่อนมาก เพราะยาปรับการนอน (ยาช่วยให้หลับ) แต่ละ
ตัวมีผลข้างเคียงและมีผลต่อพฤติกรรมของบุคคลออทิสติกมา
กว่าคนปกติและมีการดื้อยาได้ ซึ่งอาจต้องมีการปรับเปลี่ยนยา
เป็นระยะๆ และต้องมีการติดตามผลของยาที่มีต่อพฤติกรรม
อย่างใกล้ชิด

๒. ในส่วนของบุคลากรที่ไม่ใช่ผู้ประกอบวิชาชีพแพทย์หรือนัก
บ� ำ บั ด เพื่อการกระตุ้นพัฒนาการของประสาทการรับรู้ระบบ
ต่างๆ และการปรับพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ จากประสบการณ์
ตรงของผู้ปกครองบุคคลออทิสติกโดยเฉพาะในกลุ่มออทิสติกเด็ก
โต วัยรุ่น วัยผู้ใหญ่ พบว่า ต้องการการประเมิน/ การวิเคราะห์
พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ทั้งทางด้านอารมณ์ที่ไม่ปกติ (หัวเราะ
โมโห อารณ์ทางเพศ ) และทางด้านร่างกายที่มักมีการเคลื่อนไหว
ด้วยท่าทางทีไ่ ม่ปกติ เพือ่ การออกแบบกิจกรรมบ�ำบัดในบริบทของ
ห้องเรียน/ โรงเรียน/ บ้าน/ ชุมชนที่สามารถจะเสริมหรือบูรณาการ
กิจกรรมด้านการเรียนการสอนทางการศึกษา ด้านทักษะที่จ�ำเป็น
ในด�ำรงชีวิตประจ�ำวันในบ้านและในชุมชน ด้งนี้

57
“๔ กลไกหลักตามออทิสติกโรดแมป”

• การเป็นผู้ป่วยนอก
ต้องการแผนการจัดกิจกรรมการบ�ำบัดเพื่อกระตุ้นพัฒนาการ
ของระบบประสาทการรับรู้ระบบต่างๆ ที่เข้ากันได้กับบริบทต่างๆ
ของการด�ำเนินชีวิตประจ�ำวันของบุคคลออทิสติก ดังกล่าวแล้ว
ข้างต้น

• การเข้าเป็นผู้ป่วยใน เมื่อป่วยหนัก
ต้องการกิจกรรมการบ�ำบัดเพื่อการกระตุ้นพัฒนาการของ
ประสาทการรับรูร้ ะบบต่างๆ ทีเ่ ข้ากันได้กบั บริบทของ “แผนกผูป้ ว่ ย
ในออทิสติก” ขณะนอนพักฟื้นอยู่ในโรงพยาบาล

การจัดวางพื้นที่

แผนกพิเศษออทิสติกในโรงพยาบาลทั่วๆ ไปในชุมชนจะต้อง
ประกอบด้วย ๓ พื้นที่ ดังนี้

๑. พื้นที่ส่วนของการตรวจรักษา ที่เป็นคลินิกตรวจผู้ป่วยนอก -
ผู้ป่วยใน รวมทั้งการท�ำฟัน และหัตถการทางการแพทย์อื่นๆ
โดยบุคลากรของพื้นที่ส่วนนี้ ได้แก่ จิตแพทย์ แพทย์ ทันตแพทย์
พยาบาล ผู้ช่วยพยาบาล

58
๒. พื้นที่ส่วนของการบ�ำบัด ที่ต้องมีกระบวนการประเมินระดับ
พั ฒ นาการของประสาทการรั บ รู ้ ร ะบบต่ า งๆ ของบุ ค คล
ออทิสติก เพื่อการออกแบบและจัดท�ำแผนกิจกรรมการบ�ำบัด
ให้แก่บุคคลออทิสติกเป็นรายบุคคล และมีพื้นที่รองรับการท�ำ
กิจกรรมเพื่อการบ�ำบัดตามแผน โดยบุคลากรของพื้นที่ส่วนนี้
ได้แก่ นักบ�ำบัดสาขาต่างๆ เช่น นักพฤติกรรมบ�ำบัด นักจิตวิทยา
คลินิก นักกายภาพบ�ำบัด นักกิจกรรมบ�ำบัด พยาบาลวิชาชีพ
นักโภชนาการบ�ำบัด เป็นต้น

๓. พื้นที่ของการเป็น “หอผู้ป่วยใน”/ ”หอผู้ป่วยพิเศษออทิสติก”


ส�ำหรับบุคคลออทิสติกที่ป่วยหนักต้องนอนโรงพยาบาล ซึ่ง
อาจเป็นการถาวรในโรงพยาบาลทั่วๆ ไปในระดับโรงพยาบาล
ศูนย์หรือโรงพยาบาลจังหวัด หรืออาจเป็นแบบเฉพาะกิจส�ำหรับ
โรงพยาบาลเล็กระดับอ�ำเภอหรือระดับชุมชน

ทั้ ง นี้ ใ นเบื้ อ งแรกของการลงภาคปฏิ บั ติ ที่ จ ะท� ำ ให้ “แผนก


พิเศษออทิสติกในโรงพยาบาลทั่วๆ ไปในชุมชน” เกิดขึ้นได้จริงนั้น
โรงพยาบาลศูนย์หรือโรงพยาบาลจังหวัดจะต้องมีการจัดวางพื้นที่ให้
ครบทั้ง ๓ พื้นที่ แล้วค่อยต่อยอดลงสู่โรงพยาบาลชุมชนระดับอ�ำเภอ
โดยจัดเป็นโครงการน�ำร่อง ใช้งบประมาณจาก สปสช.เพื่อบ่มเพาะ
บุคลากรและถอดบทเรียนกระบวนการบริหารจัดการด้านต่างๆ เพื่อ
น�ำไปวางกรอบระเบียบวิธปี ฏิบตั ดิ า้ นต่างๆ ส�ำหรับการเข้าสูโ่ ครงสร้าง
งบประมาณปกติต่อไป

59
“๔ กลไกหลักตามออทิสติกโรดแมป”

60
61
“๔ กลไกหลักตามออทิสติกโรดแมป”

62
ห้องเรียน ๒ ร ูปแบบ;
ห้องเรียนคขู่ นานออทิสติก และ
ห้องเรียนสอนเสริมการศึกษาพิเศษ
ในโรงเรียนทัว่ ไปในช ุมชน

63
“๔ กลไกหลักตามออทิสติกโรดแมป”

ท�ำไมต้องเป็น “ห้องเรียน ๒ รูปแบบ ;


ห้องเรียนคู่ขนานออทิสติก และห้องเรียนสอนเสริมการ
ศึกษาพิเศษในโรงเรียนทั่วไปในชุมชน”

ส�ำหรับเด็กออทิสติกที่มีความสามารถทางสติปัญญา (IQ)
อยู่ในระดับเกณฑ์เฉลี่ย (๘๐ - ๑๐๐) และไม่มีปัญหาทางพฤติกรรม
และอารมณ์ จะสามารถเรียนร่วมกับเด็กปกติ ในโรงเรียนทัว่ ไปได้จนถึง
ระดับวิทยาลัยหรือมหาวิทยาลัย โดยใช้หลักสูตรของเด็กหรือบุคคล
ปกติ แต่ต้องมี “ตัวช่วย” เรื่องทักษะทางสังคม

ส่วนเด็กออทิสติกที่มีความสามารถทางสติปัญญาอยู่ใน
ระดับต�่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ย (ต�่ำกว่า ๗๐) ที่มักพบปัญหาพฤติกรรม
และอารมณ์ร่วมด้วย ควรได้รับการช่วยเหลือโดยการเข้าเรียน
แบบการศึกษาพิเศษในโรงเรียนทั่วไป โดยจัดหลักสูตรการเรียน
ให้เป็นรายบุคคล และเน้นการพัฒนาศักยภาพทางด้านทักษะการ
ด�ำรงชีวิตและทางการฝึกอาชีพ

ด้วยเหตุที่มีความแตกต่างจากเด็กปกติทั้งทางด้านพฤติกรรม
และการเรี ย นรู ้ ขณะเดี ย วกั น ก็ ต ้ อ งได้ เ ด็ ก ปกติ ใ นวั ย เดี ย วกั น
เป็น “ตัวแบบ” และเป็นสิ่งแวดล้อมในการเรียนรู้ความสัมพันธ์ทาง
สังคม เพราะฉะนั้น ในวัยโรงเรียนเด็กออทิสติกจึงต้องทั้งแยก
เรียนและเรียนร่วมกับเด็กปกติในสิง่ แวดล้อมของโรงเรียนทัว่ ไป
(ไม่ใช่ในสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนเฉพาะทาง) โดยการแยกเรียน

64
นั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อละลายพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์กับสร้างเสริม
พฤติกรรมทีพ่ งึ ประสงค์ ส่วนการเรียนร่วมกับเด็กปกตินนั้ มีวตั ถุประสงค์
เพื่อการเรียนรู้และพัฒนาทักษะทางสังคมกับเด็กปกติในวัยเดียวกัน

ด้วยเหตุผลดังกล่าว “ห้องเรียน ๒ รูปแบบ; ห้องเรียนคู่ขนาน


ออทิสติก และห้องเรียนสอนเสริมการศึกษาพิเศษในโรงเรียนทั่วไป
ในชุมชน” จึงได้ถูกออกแบบมาเพื่อการขับเคลื่อนการบริหารจัดการ
ทางการศึกษาส�ำหรับเด็กหรือบุคคลออทิสติกในวัยโรงเรียนทุกระดับ
ความหนักเบาของกลุม่ อาการในช่วงระดับอายุปฐมวัย (อนุบาล) ไปถึง
ช่วงอายุระดับมัธยมศึกษา (๓ - ๑๘ หรือ ๑๙ ปี) ที่จะเป็นทั้งการแยก
เรียนและการเรียนร่วมกับเด็กปกติในโรงเรียนทั่วไป

ค�ำจ�ำกัดความ

๑. ห้องเเรียนคู่ขนานออทิสติกในโรงเรียนทั่วไปในชุมชน
คื อ ระบบจั ด การศึ ก ษาอย่ า งเป็ น ทางการ ส� ำ หรั บ บุ ค คล
ออทิสติกศักยภาพต�่ำ-ปานกลาง ทั้งในระดับปฐมวัย [อนุบาล]
และระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน [๑๒ เกรด] โดยอยู่ในสิ่งแวดล้อม
ของเด็กปกติในระดับอายุชว่ งชัน้ เดียวกัน ในชุมชนทีเ่ ด็กออทิสติกมี
ภูมิล�ำเนาอาศัยอยู่ โดยมีการบูรณาการกิจกรรมการบ�ำบัดด้าน
กายภาพทางการแพทย์และกิจกรรมด้านการเรียนการสอนทางการ
ศึกษาเข้าไว้ดว้ ยกัน อันเป็นกิจกรรมทีส่ ร้างและต่อยอดทุกทักษะที่

65
“๔ กลไกหลักตามออทิสติกโรดแมป”

จ�ำเป็นในการด�ำรงชีวติ อยูใ่ นสังคมคนปกติขนึ้ ไปจากฐานศักยภาพ


ของบุคคลออทิสติกแต่ละคนอย่างเฉพาะเจาะจงเป็นรายบุคคล

๒.ห้องเรียนสอนเสริมการศึกษาพิเศษในโรงเรียนทัว่ ไปในชุมชน
คื อ ระบบจั ด การศึ ก ษาอย่ า งเป็ น ทางการ ส� ำ หรั บ บุ ค คล
ออทิสติกศักยภาพสูง บุคคลแอลดี บุคคลสมาธิสั้น และบุคคลที่
มีความแตกต่างในโครงสร้างการท�ำงานของสมองแบบอื่นๆ อัน
ใกล้เคียงกัน ทั้งในระดับปฐมวัย [อนุบาล] และระดับการศึกษา
ขั้นพื้นฐาน [๑๒ เกรด] โดยอยู่ในสิ่งแวดล้อมของเด็กปกติที่มี
ระดับอายุช่วงชั้นเดียวกัน โดยมีการบูรณาการกิจกรรมการบ�ำบัด
ด้านกายภาพทางการแพทย์ และกิจกรรมด้านการเรียนการสอน
ทางการศึกษาเข้าไว้ด้วยกัน อันเป็นกิจกรรมที่สร้างและต่อยอด
ทุกทักษะที่จ�ำเป็นในการด�ำรงชีวิตอยู่ในสังคมคนปกติขึ้นไปจาก
ฐานศักยภาพของบุคคลออทิสติกแต่ละคนอย่างเฉพาะเจาะจง
เป็นรายบุคคล

ห้องเรียนทั้ง ๒ รูปแบบมีความแตกต่างกันดังนี้
- อัตราส่วนครูผู้สอน กับจ�ำนวนนักเรียน
- กระบวนการบริหารจัดการทางการศึกษา
- หลักสูตรที่ใช้

โดยห้องเรียนคู่ขนานออทิสติกฯ ใช้ “หลักสูตรคู่ขนาน


เฉพาะบุคคลออทิสติก” (ดูภาคผนวก ๓) ส่วน “ห้องเรียนสอน
เสริมการศึกษาพิเศษฯ” ใช้หลักสูตรเดียวกับนักเรียนปกติเป็น
66
หลัก แต่มี “หลักสูตรคู่ขนานเฉพาะบุคคล ออทิสติกฯ” ก�ำกับ
อยู่ในห้องเรียนสอนเสริมฯ ดังจะได้กล่าวต่อไป
[หมายเหตุ: ทีใ่ ช้คำ� ว่า “หลักสูตร” หมายถึง เมือ่ ผ่านหลักสูตรแล้ว
ศักยภาพของบุคคลออทิสติกต้องเปลี่ยนไปตรงตามหลักสูตร]

องค์ประกอบของห้องเรียน

องค์ประกอบของห้องเรียนคู่ขนานออทิสติกในโรงเรียน
ทั่วไปในชุมชน มีรายละเอียดอย่างสังเขปดังนี้:-

๑. สถานที่
ห้องเรียนคู่ขนานออทิสติกฯ จะต้องมีสถานที่อย่างเฉพาะ
เจาะจง เป็นห้องเรียนอยู่ในอาคารหรือสิ่งแวดล้อมเดียวกัน
กับห้องเรียนของนักเรียนปกติในระดับอายุชว่ งชัน้ เดียวกันกับ
นักเรียนออทิสติกกลุ่มเป้าหมาย โดยมีการจัดสิ่งแวดล้อมทาง
กายภาพ ให้สอดคล้องกับธรรมชาติของคนออทิสติกที่สามารถจะ
เชื่อมต่อกับธรรมชาติของคนปกติได้

๒. บุคลากร
ทีมบุคลากรที่เกี่ยวข้องในการบริหารจัดการห้องเรียนคู่ขนาน
ออทิสติก จะต้องประกอบด้วย

67
“๔ กลไกหลักตามออทิสติกโรดแมป”

๒.๑ บุคลากรครูผู้อ�ำนวยการ
ห้องเรียนคู่ขนานฯ จากทีมบุคลากรครูผู้บริหารของโรงเรียน ที่
จะเป็นกลไกการเชือ่ มต่อระหว่างระบบบริหารจัดการของห้องเรียน
คู่ขนานฯ กับระบบบริหารจัดการของโรงเรียนทั้งโรงเรียน

๒.๒ บุคลากรครูผู้สอนบุคคลออทิสติก
บุคลากรครูผู้สอนบุคคลออทิสติกต้องเป็นทีมเท่านั้น การ
จัดกิจกรรมการเรียนการสอนส�ำหรับนักเรียนออทิสติกจึงจะ
เป็นไปได้ โดยทีมครูประจ�ำชั้นห้องเรียนคู่ขนานฯ จะต้องอยู่ใน
อัตราส่วน นักเรียนออทิสติก ๓ คนต่อบุคลากรครูผู้สอนบุคคล
ออทิสติก ๒ คน หรือ นักเรียนทิสติก ๕ คนต่อบุคลากรครูผู้สอน
บุคคลออทิสติก ๓ คน การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนส�ำหรับ
นักเรียนออทิสติกอย่างได้ประสิทธิผลจึงจะเป็นไปได้

๒.๓ บุคลากรครูผู้สอนร่วม
บุคลากรครูผสู้ อนร่วมเป็นบุคลากรครูผสู้ อนนักเรียนปกติอยู่
แล้ว แต่เพิม่ การสอนนักเรียนออทิสติกเข้าไปด้วย เช่น บุคลากร
ครูประจ�ำชั้นห้องเรียนของนักเรียนปกติ บุคลากรครูผู้สอน
ประจ�ำรายวิชา ฯลฯ ที่นักเรียนออทิสติกเข้าไปเรียนรวมด้วย

๒.๔ นักเรียนปกติ
ประกอบด้วย “ห้องเรียนคู่หู” [ห้องเรียนบัดดี้ของนักเรียน
ออทิสติกแต่ละคน] “กลุ่มเพื่อนคู่หู” [กลุ่มเพื่อนบัดดี้ในห้องเรียน
บัดดี้] “เพื่อนคู่หู” [บัดดี้ของนักเรียนออทิสติกแต่ละคน] 

68
๓. นักเรียนออทิสติกกลุม่ เป้าหมายในห้องเรียนคูข่ นาน มีจ�ำนวน
๓ คน หรือต้องไม่เกินห้องละ ๕ คน 

๔. กระบวนการบริหารจัดการห้องเรียนคูข่ นานออทิสติกฯ จะต้อง


ประกอบด้วยกระบวนการดังต่อไปนี้
๔.๑ กระบวนการจัดเตรียมสถานที่ที่จะใช้เป็น “ห้องเรียนคู่ขนานฯ
๔.๒ กระบวนการจัดท�ำหลักสูตรคู่ขนานเฉพาะบุคคล
๔.๓ กระบวนการบริหารหลักสูตรคู่ขนานเฉพาะบุคคล
๔.๔ กระบวนการจัดท�ำแผนการศึกษาเฉพาะบุคคลภายใต้หลักสูตร
๔.๕ กระบวนการจัดท�ำแผนการสอนเฉพาะบุคคลตามแผนการ
ศึกษาเฉพาะบุคคล
๔.๖ กระบวนการวัดผลประเมินผลและประกันคุณภาพ
๔.๗ กระบวนการจัดตัง้ และอบรมบ่มเพาะบุคลากรทีเ่ กีย่ วข้อง โดย
เฉพาะบุคลากรครูผู้สอนและเพื่อนคู่หู
๔.๘ กระบวนการจัดวางระบบ ๓ ระบบ ดังต่อไปนี้

- ระบบเชื่อมต่อ;
เชื่อมต่อกิจกรรมการเรียนการสอนของห้องเรียนคู่ขนานฯ
เข้ากับกิจกรรมการเรียนการสอนหรือปฏิทินกิจกรรมตลอดทั้ง
ปีของระบบใหญ่ทั้งระบบของโรงเรียน

69
“๔ กลไกหลักตามออทิสติกโรดแมป”

- ระบบส่งต่อ;
ส่งต่อนักเรียนออทิสติกไปเรียนรวมหรือท�ำกิจกรรมร่วมกับ
นักเรียนปกติ
- ระบบถ่ายโอน;
ถ่ายโอนนักเรียนออทิสติกทีร่ ะดับศักยภาพทางวิชาการ และ
ศักยภาพทางพฤติกรรมสามารถจะเรียนร่วมกับนักเรียนปกติ
ได้มากกว่าร้อยละแปดสิบของเวลาเรียนทั้งหมด โดยถ่ายโอน
จากห้องเรียนคู่ขนานฯ ไปยัง “ห้องเรียนสอนเสริมการศึกษา
พิเศษฯ” ส�ำหรับนักเรียนออทิสติกศักยภาพสูง นักเรียนแอลดี
และนักเรียนสมาธิสนั้ [ประกอบด้วยระบบการถ่ายโอนระยะต้น
ระยะกลาง และระยะสุดท้าย ทีจ่ ะเป็นการถ่ายไปอย่างเด็ดขาด]

๕. หลักสูตรและกิจกรรม
ทั้งนี้เพราะใช้หลักสูตรคู่ขนานเฉพาะบุคคลออทิสติก ดังนั้น
กิจกรรมการเรียนการสอนในห้องเรียนคู่ขนานออทิสติกฯ จึงจะ
ต้องเป็นกิจกรรมที่บูรณาการเอากิจกรรมการบ�ำบัดทางกายภาพ
ด้านการแพทย์ กับกิจกรรมการเรียนการสอนทางด้านการศึกษา
เข้าไว้ด้วยกัน แล้วเชื่อมต่อกับกิจกรรมการเรียนการสอนของ
นักเรียนปกติทเี่ กีย่ วข้องด้วย “ใบงาน” ทีท่ มี บุคลากรครูผสู้ อนบุคคล
ออทิสติกประจ�ำห้องเรียนคู่ขนานฯ ต้องจัดท�ำขึ้นในขั้นตอนของ
ระบบ “ส่งต่อ” และ “ถ่ายโอน” นักเรียนออทิสติกไปเรียนรวมหรือไป
ท�ำกิจกรรมร่วมกับนักเรียนปกติ [เกีย่ วกับหลักสูตรและกิจกรรมดัง
กล่าว ดู ภาคผนวก ๓ “หลักสูตรคู่ขนานเฉพาะบุคคลออทิสติกฯ”]

70
องค์ ป ระกอบของห้ อ งเรี ย นสอนเสริ ม การศึ ก ษาพิ เ ศษใน
โรงเรียนทั่วไป มีรายละเอียดอย่างสังเขปดังนี้

๑. สถานที่
ห้องเรียนสอนเสริมการศึกษาพิเศษฯ จะต้องมีสถานที่อย่าง
เฉพาะเจาะจง เป็นห้องเรียนอยู่ในอาคารหรือสิ่งแวดล้อม
เดี ย วกั น กั บ ห้ อ งเรี ย นของนั ก เรี ย นปกติ ใ นระดั บ อายุ ช ่ ว ง
ชั้นเดียวกันกับนักเรียนออทิสติกศักยภาพสูง และนักเรียนกลุ่ม
เป้าหมายอื่นๆ เพื่อที่สามารถจะเชื่อมต่อกับธรรมชาติและระบบ
ปกติของนักเรียนปกติได้

๒. บุคลากร
ทีมบุคลากรทีเ่ กีย่ วข้องกะการบริหารจัดการห้องเรียนสอนเสริม
การศึกษาพิเศษฯ จะต้องประกอบด้วย

๒.๑ บุคลากรครูผู้อ�ำนวยการ
ทีมบุคลากรครูผู้บริหารของโรงเรียนจะเป็นกลไกเชื่อมต่อ
ระหว่างระบบบริหารจัดการของห้องเรียนสอนเสริมการศึกษา
พิเศษฯ กับระบบบริหารจัดการของโรงเรียนทัง้ โรงเรียน [อาจ
เป็นคนหรือทีมเดียวกับห้องเรียนคู่ขนานออทิสติก หรืออาจเป็น
หัวหน้าฝ่ายห้องเรียน “นักเรียนพิเศษ” หรือ “ฝ่ายการศึกษาพิเศษ”
ของทั้งโรงเรียนก็ได้]

71
“๔ กลไกหลักตามออทิสติกโรดแมป”

๒.๒ บุคลากรครูผู้สอนเสริมกลุ่มสาระต่างๆ ซึ่งต้องเป็นทีม


เท่านัน้ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนส�ำหรับนักเรียน
ออทิสติกจึงจะเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ทีมครูประจ�ำชัน้ ห้องเรียนสอนเสริมการศึกษาพิเศษฯ จะต้องอยู่
ในอัตราส่วนคือ นักเรียนออทิสติกศักยภาพสูงและเพื่อนๆ (แอลดี
สมาธิสั้น ฯลฯ) ๓-๕ คน ต่อครูผู้สอนบุคคลออทิสติกศักยภาพ
สู ง ๒ คน หรื อ นั ก เรี ย นออทิ ส ติ ก ศั ก ยภาพสู ง และเพื่ อ นๆ
(แอลดี สมาธิสั้น ฯลฯ) ๕-๑๐ คน ต่อครูผู้สอนบุคคลออทิสติก
ศักยภาพสูง ๓ คน ทั้งนี้การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนส�ำหรับ
นักเรียนออทิสติกศักยภาพสูงและเพื่อนๆ (แอลดี สมาธิสั้น ฯลฯ)
จึงจะเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิผล

๒.๓ บุคลากรครูผู้สอนร่วม
เป็นบุคลากรครูผู้สอนนักเรียนปกติอยู่แล้ว แต่เพิ่มการสอน
นักเรียนออทิสติกศักยภาพสูงเข้าไปด้วย เช่น บุคลากรครูประจ�ำ
ชั้นของนักเรียนปกติ บุคลากรครูผู้สอนประจ�ำรายวิชา ฯลฯ ที่
นักเรียนออทิสติกศักยภาพสูงและเพื่อนๆ (แอลดี สมาธิสั้น ฯลฯ)
จะต้องเข้าไปเรียนรวมด้วย

๒.๔ นักเรียนปกติ ประกอบด้วย

- “ห้องเรียนคู่หู” [ห้องเรียนบัดดี้ของนักเรียนออทิสติกศักยภาพ
สูงและเพื่อนๆ (แอลดี สมาธิสั้น ฯลฯ) ของเขาแต่ละคน]

72
- “กลุ่มเพื่อนคู่หู” [กลุ่มเพื่อนบัดดี้ในห้องเรียนบัดดี้]
- “เพือ่ นคูห่ ”ู [บัดดีข้ องนักเรียน ออทิสติกศักยภาพสูงและเพือ่ นๆ
(แอลดี สมาธิสั้น ฯลฯ) ของเขา แต่ละคน]

๓. นักเรียนออทิสติกกลุ่มเป้าหมายในห้องเรียนสอนเสริมการ
ศึกษาพิเศษฯ มีจ�ำนวน ๕ คน หรือต้องไม่เกินห้องละ ๑๐ คน 

๔. กระบวนการบริหารจัดการ ห้องเรียนสอนเสริมฯ จะต้องประกอบ


ด้วยกระบวนการดังต่อไปนี้

๔.๑ กระบวนการจัดเตรียมสถานที่ที่จะใช้เป็นห้องเรียนสอน
เสริมการศึกษาพิเศษฯ

๔.๒ กระบวนการจั ด ท� ำ หลั ก สู ต รคู ่ ข นานเฉพาะบุ ค คล


ออทิสติกศักยภาพสูง 
โดยอาจะเน้นที่ทักษะทางสังคมและการใช้ภาษาเพื่อการ
สือ่ สาร และกลุม่ สาระทีต่ อ้ งสอนเสริมของหลักสูตรปกติทบี่ คุ คล
ออทิสติกศักยภาพสูงตามไม่ทนั เพือ่ นๆ ในห้องเรียนเรียนบัดดี/้
ห้องเรียนปกติ

๔.๓ กระบวนการจัดท�ำแผนการศึกษาเฉพาะบุคคลภายใต้
หลักสูตร

๔.๔ กระบวนการวัดผล ประเมินผล และประกันคุณภาพ


นักเรียนออทิสติกศักยภาพสูง นักเรียนแอลดี นักเรียนสมาธิสนั้

73
“๔ กลไกหลักตามออทิสติกโรดแมป”

และอืน่ ๆ ของห้องเรียนสอนเสริมฯ อาจจะต้องมี “ตัวช่วย” ตาม


ความต้องการจ�ำเป็นพิเศษของแต่ละคนที่จะแตกต่างกันไป

๔.๕ กระบวนการจัดตั้งและอบรมบ่มเพาะบุคลากรทีเ่ กี่ยวข้อง


โดยเฉพาะบุคลากรครูผู้สอน ครูผู้สอนร่วม ครูผู้สอนเสริมฯ
และเพื่อนคู่หู

๔.๖ กระบวนการจัดวางระบบ ๓ ระบบ ซึ่งส�ำคัญมากดังต่อไปนี้


- ระบบเชื่อมต่อ;
เชือ่ มต่อกิจกรรมการเรียนการสอนของห้องเรียนสอน
เสริมการศึกษาพิเศษฯ เข้ากับกิจกรรมการเรียนการสอนหรือ
ปฏิทินกิจกรรมตลอดทั้งปีของระบบใหญ่ทั้งระบบของโรงเรียน
- ระบบส่งต่อ;
ส่ ง ต่ อ นั ก เรี ย นออทิ ส ติ ก ศั ก ยภาพสู ง และเพื่ อ นๆ
(แอลดี สมาธิสั้น ฯลฯ) ไปเรียนรวมหรือท�ำกิจกรรมร่วมกับ
นักเรียนปกติ
- ระบบถ่ายโอน;
ถ่ายโอนนักเรียนออทิสติกศักยภาพสูงและเพื่อนๆ
(แอลดี สมาธิสั้น ฯลฯ) ที่ระดับศักยภาพทางวิชาการ และ
ศักภาพทางพฤติกรรมสามารถจะเรียนร่วมกับนักเรียนปกติได้
มากกว่าร้อยละแปดสิบของเวลาเรียนทั้งหมด โดยถ่ายโอน
จากห้องเรียนสอนเสริมการศึกษาพิเศษฯ ไปยังห้องเรียน
บัดดี้ของนักเรียนออทิสติกศักยภาพสูงและเพื่อนๆ (แอลดี

74
สมาธิสั้น ฯลฯ) ของเขาแต่ละคน [ประกอบด้วยระบบการถ่าย
โอนระยะต้น ระยะกลาง และระยะสุดท้าย ทีจ่ ะเป็นการถ่ายไป
อย่างเด็ดขาด แต่ระบบช่วยเหลือยังคงอยู่เพื่อพวกเขาเสมอ]

๕. หลักสูตรและกิจกรรม
ในเรื่ อ งของหลั ก สู ต รและกิ จ กรรมนั้ น นั ก เรี ย นออทิ ส ติ ก
ศักยภาพสูงและเพื่อนๆ (แอลดี สมาธิสั้น ฯลฯ) ในห้องสอนเสริม
การศึกษาพิเศษฯ จะมีเงื่อนไขส�ำคัญอยู่ ๒ ประการคือ

๕.๑ ใช้หลักสูตรเดียวกับนักเรียนปกติในห้องเรียนปกติ/ ห้องเรียน


บัดดี้ แต่นักเรียนของห้องเรียนคู่ขนานฯ จะใช้หลักสูตรคู่
ขนานฯ แม้อยู่ในห้องเรียนปกติ/ ห้องเรียนบัดดี้

๕.๒ ใช้เวลาในการเรียนรวมกับนักเรียนปกติมากกว่าร้อยละ ๘๐
ของเวลาโรงเรียนทั้งหมด 

ดังนั้น กิจกรรมการเรียนการสอนในห้องเรียนสอนเสริม
การศึกษาพิเศษฯ จึงเป็นกิจกรรมชี้แนะหรือกระตุ้นเตือน
เรือ่ งท�ำการบ้าน หรือกิจกรรมวิชาการตามแผนการสอนเสริม
เฉพาะบุคคลในรายวิชาทีต่ ามไม่ทนั เพือ่ นหรือเรียนอ่อน กับ
กิจกรรมเสริมทักษะทางสังคมที่นักเรียนออทิสติกศักยภาพ
สูงและเพื่อนๆ (แอลดี สมาธิสั้น ฯลฯ) จะต้องใช้ในการ
ปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนนักเรียนปกติและบุคลากรครูผู้สอน

75
“๔ กลไกหลักตามออทิสติกโรดแมป”

เจ้าภาพผู้ด�ำเนินการ

เจ้าภาพด�ำเนินการ “ห้องเรียน ๒ รูปแบบ; ห้องเรียนคู่ขนาน


ออทิสติก และห้องเรียนสอนเสริมการศึกษาพิเศษในโรงเรียนทั่วไปใน
ชุมชน” มีดังนี้

๑) เจ้าภาพระดับพื้นที่
คือ โรงเรียนปกติทุกโรงเรียนที่มีนักเรียนออทิสติกและ
เพื่อนๆ (แอลดี สมาธิสั้น ฯลฯ) อยู่ในเขตพื้นที่รับผิดชอบ

๒) เจ้าภาพระดับกระทรวง
คือ ส�ำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขัน้ พืน้ ฐาน-สพฐ.ที่
จะต้องตัง้ คณะอนุกรรมการขึน้ มาเพือ่ การพัฒนาห้องเรียนทัง้
สองรูปแบบนี้ให้ได้มาตรฐาน [โดยถ้าจะให้มีผลในทางปฏิบัติ
เลขาธิการส�ำนักงานคณะกรรมการขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ควรเป็น
ประธานคณะอนุกรรมการชุดนี้ และผอ.ส�ำนักบริหารการศึกษา
พิเศษเป็นกรรมการเลขานุการคนที่หนึ่ง และเลขาฯ (หน้าห้อง)
ของเลขาธิการส�ำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็น
กรรมการเลขานุการคนที่สอง]

๓) เจ้าภาพระดับรัฐบาล
คือ รมต./รมช. กระทรวงศึกษาธิการ

76
บทสรุป

ห้องเรียนคู่ขนานออทิสติก และห้องเรียนสอนเสริมการศึกษา
พิเศษในโรงเรียนทัว่ ไปในชุมชนใกล้บา้ น เป็นรูปแบบและกระบวนการ
บริหารจัดการทางการศึกษาพิเศษส�ำหรับประชากรออทิสติก แอลดี
และสมาธิสั้น ที่จะท�ำให้วิบากกรรมของพวกเขาและครอบครัวเปลี่ยน
โฉมหน้าไปอย่างแทบจะสิ้นเชิง โดยเฉพาะวิบากกรรมในการที่จะต้อง
สาระวนเฮโรสาระพาทุลกั ทุเล “หอบหิว้ ” ลูกหลานไปบ�ำบัดกับนักบ�ำบัด
ต่างๆ บรรดามี ชั่วโมงละสามร้อยบ้าง ห้าร้อยบ้าง ฯลฯ จนแทบสิ้นเนื้อ
ประดาตัว เพราะไม่มแี ม้กระทัง่ เวลาจะท�ำมาหากิน ถ้าไม่ผกู ขาล่ามโซ่
ลูกไว้ใต้ถุนบ้าน แล้วก็ลงท้ายด้วยการเป็นโรคประสาทกันไปทั้งบ้าน
เพราะแบกรับภาระไม่ไหว หรือไม่ก็ครอบครัวแตกสลายเอาลูกหลาน
ไปปล่อยทิ้งไว้กับตายายในชนบท ซึ่งมีน้อยมากที่ออทิสติกที่ถูกทอด
ทิ้งจะแก่ตาย มักป่วยตาย ตกน�้ำตาย รถชนตาย ฯลฯ ส�ำหรับออทิสติก
ส�ำหรับแอลดีก็อาจฆ่าตัวตาย [ซึมเศร้า] หรือถูกฆ่าตาย [เป็นแพะรับ
บาป] พวกสมาธิสั้นก็อาจตีกนั ตาย [หุนหันพลันแล่น] ติดคุกติดตาราง
[เป็นผูร้ า้ ย] ฯลฯ วิบากกรรมต่างๆ ใดๆ เหล่านีข้ องประชากรกลุม่ นีแ้ ละ
ครอบครัวจะหมดไป หรืออย่างน้อยก็บรรเทาเบาบางลง หากระบบการ
ศึกษาไทยสามารถจะสถาปนาและพัฒนาห้องเรียนทั้งสองรูปแบบ
ดังกล่าวนี้เข้าไปในโครงสร้างของโรงเรียนปกติในขอบเขตทั่วประเทศ
ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และอย่างได้ประสิทธิผล

77
“๔ กลไกหลักตามออทิสติกโรดแมป”

78
79
“๔ กลไกหลักตามออทิสติกโรดแมป”

80
81
“๔ กลไกหลักตามออทิสติกโรดแมป”

82
บ้านพิทกั ษ์
บ ุคคลออทิสติกในช ุมชน

83
“๔ กลไกหลักตามออทิสติกโรดแมป”

ความน�ำ

ในด้านการประกอบอาชีพนั้น เด็กหรือบุคคลออทิสติกส่วนหนึ่ง
จะสามารถเรียนรู้ได้ เช่นเดียวกับเด็กปกติทั่วไป จนถึงระดับปริญญา
ท�ำงาน มีคู่ครอง มีความรับผิดชอบ และเลี้ยงดูครอบครัวได้ แต่อาจ
จะยังมีปัญหาบางอย่างหลงเหลืออยู่ เช่น การปรับตัวในสังคม ความ
นึกคิด ความเข้าใจ และการแสดงออกทางอารมณ์ ติดตัวไปจนตลอด
ชีวิต เด็กออทิสติกบางคนอาจจะประกอบอาชีพได้โดยมีผู้คอยดูแล
แนะน�ำ ส่วนในกรณีที่มีอาการรุนแรงจนช่วยเหลือตนเองไม่ได้ก็ต้อง
มีผู้รับผิดชอบช่วยเหลือใกล้ชิดตลอดไป ดังนั้น “บ้านพิทักษ์บุคคล
ออทิสติกในชุมชน” จึงเป็นสวัสดิการสังคมที่ส�ำคัญยิ่งที่รัฐ-สังคมไทย
ต้องจัดให้แก่ประชากรออทิสติก

โครงสร้างของ “บ้านพิทักษ์บุคคลออทิสติกในชุมชน”

ในเรื่องของ “บ้านพิทักษ์บุคคลออทิสติกในชุมชน” มี ๒ เรื่อง ที่


จะต้องท�ำความเข้าใจร่วมกัน คือ เรื่องหลักคิดในการท�ำบ้านพิทักษ์ฯ
และเรื่องโครงการน�ำสู่ภาคปฏิบัติ โดยมีรายละเอียดดังนี้

84
๑. หลักคิดในการท�ำบ้านพิทักษ์ ฯ มี ๔ หลักคิด ได้แก่
- หลักคุณภาพคู่คุณธรรม
- หลักการประสานใช้ทรัพยากรท้องถิน่ ในพืน้ ทีเ่ พือ่ ประโยชน์สงู สุด
ของบุคคลออทิสติก
- หลักการพัฒนาแบบคู่ขนานเพื่อบุคคลออทิสติก
- หลักการพิทักษ์สิทธิและการเคารพซึ่งศักดิ์ศรีแห่งความเป็น
มนุษย์

๒. โครงการน�ำสู่ภาคปฏิบัติ มี ๕ โครงการ ดังนี้:-


- โครงการพัฒนาด้านอาคารสถานที่
- โครงการพัฒนาด้า นศักยภาพ และคุ ณ ภาพชี วิตของบุ คคล
ออทิสติก
- โครงการพัฒนาด้านศักยภาพบุคลากร
- โครงการพัฒนาด้านระบบบริหารจัดการ “บ้านพิทกั ษ์ฯ” เพือ่ การ
เป็น “กลไก”และ”หน่วยงาน” ปกติในโครงสร้างของรัฐ
- โครงการพัฒนากฎเกณฑ์ ระเบียบวิธีปฏิบัติ และวิธีการงบ
ประมาณส� ำ หรั บ บ้ า นพิ ทั ก ษ์ ฯ เพื่ อ เป็ น กฎหมายระดั บ ต่ า งๆ
รองรับการเป็น “หน่วยงาน” ในโครงสร้างของรัฐเพื่อเข้าสู่ระบบ
งบประมาณปกติ ซี่งทั้ง ๒ เรื่องมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

85
“๔ กลไกหลักตามออทิสติกโรดแมป”

๔ หลักคิดในการท�ำบ้านพิทักษ์บุคคลออทิสติกในชุมชน

๑. หลักคุณภาพคู่คุณธรรม

คุณภาพของสังคมมนุษย์กค็ อื “คุณธรรม” และความมัน่ คงของ


มนุษย์ก็คือ “บ้าน” และเนื่องจากลักษณะเฉพาะหรือธรรมชาติ
ของบุคคลออทิสติกท�ำให้บุคคลออทิสติกจะต้องมี ๒ บ้าน
ได้แก่ บ้านส่วนตัวของครอบครัวของพวกเขา และบ้านส่วน
รวมของกลุม่ ของพวกเขาในชุมชนเรียกว่า “บ้านพิทกั ษ์บคุ คล
ออทิสติกในชุมชน (๒๔ ชม. ๓๖๕ วัน)” อันเป็น “สวัสดิการ
สังคม” ซึ่งรัฐจะต้องจัดให้อย่างมี “คุณภาพ” ที่สามารถตอบ
สนองต่อความต้องการจ�ำเป็นพิเศษ (special needs) ของ
บุคคลออทิสติกได้ ซึ่งคุณภาพที่ว่าก็คือ “คุณภาพ” ของการ
บูรณาการการบริหารจัดการแบบ “บ้าน+ศูนย์การเรียนรูต้ ลอด
ชีวิต+ศูนย์การฝึกอาชีพ+ศูนย์การบ�ำบัด” เข้าไว้ด้วยกัน กล่าว
คือ “บ้านพิทักษ์บุคคลออทิสติกในชุมชน” จะเป็นศูนย์การเรียนรู้
ตลอดชีวติ ส�ำหรับบุคคลออทิสติก โดยมีการฝึกอาชีพทีส่ ามารถใช้
ประกอบอาชีพพึง่ พาตนเองได้จริง และเป็นศูนย์การบ�ำบัดส�ำหรับ
บุคคลออทิสติกโดยมีการบริหารจัดการแบบบูรณาการสิ่งเหล่านี้
เข้าไว้ด้วยกันอย่างเหมาะสมส�ำหรับบุคคลออทิสติก”

86
๒. หลักการประสานใช้ทรัพยากรท้องถิน่ / ในพืน้ ที่ เพือ่ ประโยชน์
สูงสุดของบุคคลออทิสติก

กระบวนการบริหารจัดการบ้านพิทกั ษ์ฯ จะต้องมีการประสาน


ใช้ ท รั พ ยากรในท้ อ งถิ่ น ในทุ ก มิ ติ ที่ มี ทั้ ง นี้ เ พื่ อ ใช้ ใ ห้ เ กิ ด
ประโยชน์สูงสุดต่อการพัฒนาศักยภาพ และคุณภาพชีวิต
ของบุคคลออทิสติก เช่น การประสานกับกองทัพในพื้นที่เพื่อจัด
กิจกรรมอาชาบ�ำบัด กิจกรรมพัฒนาบุคลิกภาพการเคลือ่ นไหวของ
บุคคลออทิสติกด้วยการฝึกท่ากายบุคคลของนักศึกษาวิชาทหาร
การประสานกับการศึกษานอกโรงเรียน (ก.ศ.น.) เพื่อการจัดการ
ศึกษานอกระบบโดยเอาบ้านพิทักษ์ฯ เป็นศูนย์การเรียนรู้ส�ำหรับ
บุคคลออทิสติกที่ต้องการวุฒิการศึกษาเพื่อใช้ในการสมัครเข้า
ท�ำงาน เป็นต้น

๓. หลักการพัฒนาแบบคู่ขนาน

ภายใต้หลักคิดการพัฒนาแบบคู่ขนานนั้นจะต้องพัฒนา
ระบบ ระเบียบ วิธีการด้านต่างๆ ที่ยังไม่มีอย่างเฉพาะ
เจาะจงส�ำหรับกลุ่มบุคคลออทิสติกให้เกิดมีขึ้น คู่ขนานล้อ
กันไปกับทีร่ ฐั และสังคมมีให้กบั กลุม่ บุคคลปกติ เช่น รัฐมีกรอบ
อัตราบุคลากรด้านต่างๆ ให้กับกลุ่มคนปกติ รัฐก็ต้องมีกรอบ
บุคลากรด้านต่างๆ ให้กับกลุ่มคนออทิสติกด้วย ซึ่งในกรณีนี้ก็
คือ กรอบอัตราบุคคลากรที่เฉพาะเจาะจงของ “บ้านพิทักษ์
บุคคลออทิสติกในชุมชน (๒๔ ชม. ๓๖๕ วัน)” รวมทั้งต้อง
มีกระบวนการพัฒนาบุคลากรที่มีวิธีการงบประมาณรองรับ

87
“๔ กลไกหลักตามออทิสติกโรดแมป”

อย่างเฉพาะเจาะจง มีกระบวนการพัฒนาบุคคลออทิสติกอย่าง
รอบด้านเป็นรายบุคคลโดยมีระเบียบปฏิบัติและงบประมาณของ
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรองรับ ฯลฯ

๔. หลักการพิทักษ์สิทธิ และการเคารพซึ่งศักดิ์ศรีแห่งความเป็น
มนุษย์
กระบวนการบริหารจัดการทุกด้านของ “บ้านพิทกั ษ์บคุ คล
ออทิสติกในชุมชน (๒๔ ชม. ๓๖๕ วัน)” จะต้องไม่ละเมิดซึ่ง
ศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์ของบุคคลออทิสติก และต้อง
พิทักษ์ไว้ซึ่งสิทธิประโยชน์สูงสุดของบุคคลออทิสติกผู้เป็น
สมาชิก เช่น มีกระบวนการเฝ้าระวังการล่วงละเมิดทางเพศและ
การถูกกระท�ำด้วยความรุนแรง ทั้งจากบุคลากรจากสมาชิกที่
เป็นบุคคลออทิสติกด้วยกัน และจากการท�ำร้ายตัวเองของบุคคล
ออทิสติกเอง โดยการติดกล้องโทรทัศน์วงจรปิด มีเวรตรวจตรา
การจัดกิจกรรมทั้งกลางวันและกลางคืนเป็นระยะๆ มีการบริหาร
จัดการชีวิตความเป็นอยู่ภายในบ้านที่ “เคารพความเป็นส่วนตัว”
ของบุคคลออทิสติก มีกระบวนการก�ำกับมาตรฐานคุณภาพชีวิต
ของบุคคลออทิสติกทีเ่ ป็นสมาชิกอยูป่ ระจ�ำของบ้าน ทัง้ ด้านความ
สะอาด และปัจจัย ๔ เป็นต้น

88
๕ โครงการน�ำสู่ภาคปฏิบัติ

มีรายละเอียดอย่างสังเขป ดังนี้:-

๑. โครงการพัฒนาด้านอาคารสถานที่

ควรออกแบบให้ตัวอาคารเดินติดต่อถึงกันได้ทุกอาคารเพื่อ
สะดวกในการดูแล และปิดล็อกได้เป็นส่วนๆ เพื่อความปลอดภัย
ระเบียง รั้ว และวัสดุที่ใช้จะค�ำนึงถึงความปลอดภัย เน้นความ
แข็งแรงของโครงสร้างและความทนทานของวัสดุที่เลือกใช้จะ
ต้องสอดคล้องกับธรรมชาติของออทิสติกเป็นอย่างดี ไม่ตดิ ตัง้ ด้วย
กระจกหรือวัสดุที่แตกเปราะง่ายเป็นอันตราย มีพื้นที่สันทนาการ
ออกก�ำลัง เล่นกีฬา เรียนรู้ มีห้องปรับพฤติกรรม ห้องส่วนตัว บาง
ห้องอาจมีห้องน�้ำในตัวเพราะออทิสติกบางคนอาจต้องฝึกการเข้า
ห้องน�้ำ การท�ำความสะอาดห้องน�้ำ ฯลฯ 

หมายเหตุ : ต้ อ งมี บ ้ า นพั ก ของ “ผู ้ ป กครองบ้ า น” หรื อ


ผอ.บ้านพิทักษ์ฯ อยู่ในบริเวณเดียวกับบ้านพิทักษ์ฯ คล้ายกับรูป
แบบของโรงพยาบาลชุมชนที่บ้านพัก ผอ.โรงพยาบาลอยู่ในรั้ว
เดียวกับโรงพยาบาล เพื่อมีผู้รับผิดชอบตลอด ๒๔ ชม. ๓๖๕ วัน

89
“๔ กลไกหลักตามออทิสติกโรดแมป”

๒. โครงการพัฒนาด้านศักยภาพและคุณภาพชีวิตของบุคคล
ออทิสติก  มีเรื่องที่จะต้องท�ำความเข้าใจ ดังนี้:-
๒.๑ ประเภทของสมาชิ ก บุคคลออทิส ติ ก ที่ เป็ น สมาชิ ก ของ
บ้านพิทักษ์ฯ จะมีอยู่ ๒ ประเภท คือ สมาชิกประจ�ำ และ
สมาชิกแบบไป-กลับ
- สมาชิกประจ�ำ คือ สมาชิกทีบ่ า้ นพิทกั ษ์ฯ จะต้องรับผิดชอบ
ตลอด ๒๔ ช.ม./จ�ำนวน ๑-๕ คน (เพราะยังเป็นโครงการ
ทดลอง/ วิจัย/ น�ำร่อง)
- สมาชิกแบบไป-กลับ คือ สมาชิกทีม่ ารับบริการแบบไปกลับ
ซึ่งบ้านพิทักษ์ฯ จะรับผิดชอบตามโปรแกรมที่เข้ารับบริการ
๒.๒ การดูแลบุคคลออทิสติก
บุคคลออทิสติกที่เป็นสมาชิกของบ้านพิทักษ์ฯ ทั้งที่อยู่ประจ�ำ
และไป-กลับ จะต้องมีเจ้าหน้าทีจ่ ดั ท�ำข้อมูลติดตามความก้าวหน้า
ด้านต่างๆ ทุกด้าน มีการรับผิดชอบอย่างเฉพาะเจาะจง โดยแบ่ง
เป็นทีม คือ ทีมรับผิดชอบสมาชิที่ไป-กลับ, ทีมรับผิดชอบสมาชิก
ที่อยู่ประจ�ำ โดยในทีมก็มีการรับผิดชอบเป็นรายบุคคลอีกชั้นหนึ่ง

๒.๓ คุณสมบัตขิ องสมาชิกทัง้ ๒ ประเภท จะต้องมีคณ ุ สมบัตดิ งั นี้


- อายุ ๑๒ ปีขึ้นไป
- ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าเป็นบุคคลออทิสติกหรือใกล้
เคียง
- ส�ำหรับสมาชิกประจ�ำมีความจ�ำเป็นที่ผู้ปกครองดูแลไม่ได้
หรือไม่มีผู้ปกครองดูแล/ ป่วย-ตาย-สาบสูญ-ยากจน
90
- อยู่ในเขตพื้นที่การให้บริการของบ้านพิทักษ์ฯ บนหลักการที่
ว่า “พิจารณารับผู้ที่อยู่ในเขตพื้นที่ขององค์กรปกครองส่วน
ท้องถิ่นนั้นๆ ก่อน เช่น “บ้านพิทักษ์บุคคลออทิสติกในชุมชน
เทศบาลนครขอนแก่น” ก็พจิ ารณาผูท้ อี่ ยูใ่ นเขตเทศบาลนคร
ขอนแก่นก่อน หากไม่มีหรือมีไม่พอกับจ�ำนวนที่ต้องการรับ
จึงพิจารณารับผูท้ อี่ ยูน่ อกเขตเทศบาลนครขอนแก่น เป็นต้น
- พิจารณารับจ�ำนวนไม่เกินกว่าศักยภาพของบ้านพิทักษ์ฯ
ที่ จ ะให้ ก ารดู แ ลได้ อ ย่ า งมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพ หากมี ป ริ ม าณ
บุคคลออทิสติกเพิ่มขึ้นในเขตให้บริการ ต้องพิจารณาสร้าง
บ้านพิทักษ์ฯ เพิ่ม
๒.๔ กระบวนการจัดการกับสมาชิก มีดังนี้
๑) จัดท�ำประวัติบุคคล
๒) จัดท�ำการประเมินศักยภาพรายบุคคลด้านต่างๆ
- ด้านภาษาและการสื่อสาร เช่น พูดได้/ ไม่ได้ สื่อสาร
ได้/ ไม่ได้ รู้หรือพูดได้กี่ค�ำ/ กี่ประโยค เข้าใจภาษา
นามธรรมได้/ ไม่ได้ ได้มาก/ ได้น้อย
- ด้านประสาทการรับรู้และประสานสัมพันธ์กัน - แสงสี
รส สัมผัส กลิ่น การทรงตัว การเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อ
มัดเล็กมัดใหญ่ ความดึงเกร็งแข็ง ความยืดหยุ่นของ
กล้ามเนื้อ ท่าทางการเคลื่อนไหว ท่าทางหยิบจับ การ
มอง การกวาดสายตา ฯลฯ
- ด้านการช่วยเหลือตัวเองในชีวติ ประจ�ำวัน เช่น การกิน

91
“๔ กลไกหลักตามออทิสติกโรดแมป”

นอน อาบน�้ำ แปรงฟัน ขับถ่าย การแต่งตัว หวีผม ตัด


เล็บ ท�ำงานบ้าน ฯลฯ
- ด้านการรับรูค้ วามสัมพันธ์ทางสังคม เช่น รูจ้ กั พ่อแม่ รู้
ว่าใครเป็นใครหรือไม่ ฯลฯ
- ด้านวิชาการ เช่น การพูด การเขียน การอ่าน การคิด
ค�ำนวณ การเข้าใจธรรมชาติรอบตัว/ วิทยาศาสตร์
ความแตกต่างของสรรพสิ่ง/ เป็นอย่างไร อยู่ในระดับ
ช่วงชั้นไหน/ อยู่ในระดับใด

๓) จัดท�ำหลักสูตรคูข่ นานเฉพาะบุคคลออทิสติกในบริบท
ของการพัฒนาศักยภาพบุคคลออทิสติกบ้านพิทักษ์ฯ
[หลักสูตรเวลาราชการ คู่ขนานกับ หลักสูตรนอกเวลา
ราชการ, หลักสูตรบ้านพิทักษ์ฯ คู่ขนานกับ หลักสูตรบ้าน
บุคคลออทิสติก ] ตามโครงสร้างหลักสูตรคู่ขนานเฉพาะ
บุคคลออทิสติกศักยภาพปานกลาง-ต�่ำ วันรุ่นวัยผู้ใหญ่
(ดูที่ภาคผนวก ๑)

๔) จัดท�ำแผนพัฒนาศักยภาพเฉพาะบุคคล (Individual
Developmental Potential Plan/ IDP) และแผน
ปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพเฉพาะบุคคล (Individual
Implementation Developmental potential Plan/
IIDP) ของบุคคลออทิสติก ตามหลักสูตรคู่ขนานเฉพาะ
บุคคลออทิสติกในบริบทของการพัฒนาศักยภาพบุคคล
ออทิสติกบ้านพิทักษ์

92
หมายเหตุ; โครงสร้างหลักสูตรคู่ขนานเฉพาะบุคคล
ออทิสติกศักยภาพปานกลาง-ต�่ำ วัยรุ่น วัยผู้ใหญ่ (ดู
ที่ภาคผนวก ๑)

๓. โครงการพัฒนาด้านศักยภาพบุคลากร
บุคลากรหรือเจ้ า หน้ า ที่ บ ้ า นพิ ทั ก ษ์ บุ ค คลออทิ ส ติ ก ใน
ชุมชนที่ท�ำงานกับบุคคลออทิสติกจ�ำเป็นต้องมีคุณสมบัติที่
ส�ำคัญดังนี้

๓.๑.ด้านองค์ความรู้
บุคลากรที่ท�ำงานกับบุคคลออทิสติกและเจ้าหน้าที่บ้าน
พิทกั ษ์บคุ คลออทิสติกในชุมชนจะต้องมีความรูแ้ ละความเข้าใจ
(ไม่รู้ไม่เข้าใจไม่ได้) ในองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้อง ดังต่อไปนี้
- ธรรมชาติของบุคคลออทิสติก
- หลักการพื้นฐานในการสอนบุคคลออทิสติก “สอนตัวต่อ
ตัว สอนอย่างเข้มข้น สอนภาษา สอนภาษานามธรรม และ
สอนเป็นทีม”
- กระบวนการบูรณาการกิจกรรมการบ�ำบัดทางกายภาพด้าน
การแพทย์เข้ากับกิจกรรมการฝึกทักษะในการใช้ชวี ติ ประจ�ำ
วัน
- เทคนิคการสอนในบุคคลออทิสติก เช่น เทคนิคการสอนเชิง
พฤติกรรมหรือทฤษฎี ABA-พฤติกรรมบ�ำบัด, ทฤษฎีฟลอร์
ไทม์, ทฤษฎี SI, ฯลฯ
93
“๔ กลไกหลักตามออทิสติกโรดแมป”

- หลักสูตรคูข่ นานเฉพาะบุคคลออทิสติก (Autistic Individual


Parallel Curriculum), แผนพัฒนาศักยภาพเฉพาะบุคคล
(Individual Developmental Potential Plan / IDP),
แผนปฏิ บั ติ ก ารพั ฒ นาศั ก ยภาพเฉพาะบุ ค คลออทิ ส ติ ก
(Individual Implementation Developmental Potential
Plan (IIDP))
- สิทธิประโยชน์ของบุคคลออทิสติกและครอบครัว
- จรรยาบรรณบุ ค ลากรที่ ท� ำ งานกั บ บุ ค คลออทิ ส ติ ก /
จรรยาบรรณเจ้าที่บ้านพิทักษ์บุคคลออทิสติกในชุมชน
- การฝึกอาชีพในบุคคลออทิสติกในบริบทของบ้านพิทักษ์
บุคคลออทิสติกในชุมชน

๓.๒ ด้านสุขภาพ
ด้านร่างกายต้องมีสขุ ภาพแข็งแรงส่วนทางด้านจิตใจก็ตอ้ ง
มีความอดทนอดกลั้นสูงต่อการท�ำงานที่ยืดเยื้อยาวนานกับ
บุคคลออทิสติกระดับอายุวัยรุ่นวัยผู้ใหญ่ที่มีปัญหาทางด้าน
พฤติกรรมอย่างรอบด้าน

๓.๓ ด้านทักษะการท�ำงาน
การท�ำงานกับบุคคลออทิสติกต้องการทักษะการท�ำงาน
ดังต่อไปนี้เป็นพิเศษ

94
- การประสานใช้ทรัพยากรท้องถิน่ ทีอ่ ยูใ่ นพืน้ ทีใ่ ห้บคุ คล
ออทิสติกได้ประโยชน์สูงสุด
เช่น การประสานให้การศึกษานอกโรงเรียนมาจัดการ
ศึกษาให้บุคคลออทิสติกที่มีภาษาพูดพอใช้การได้ บุคคล
สมาธิสนั้ หรือบุคคลทีม่ คี วามบกพร่องทางการเรียนรู้ (แอลดี)
ที่สามารถใช้หลักสูตร ก.ศ.น.ได้ หรือประสานฝ่ายกิจการ
พลเรือนของกองทัพบกในพื้นที่มาช่วยจัดกิจกรรมพัฒนา
ทักษะการเคลื่อนไหวด้วยท่าฝึกของนักศึกษาวิชาทหาร
รวมทั้งประสานหน่วยงานด้านสาธารณสุขในพื้นที่มาดูแล
และเป็นปรึกษาทางด้านสุขภาพของบ้านพิทักษ์ฯ เป็นต้น
- การมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และการประยุกต์ใช้
เพื่อการจัดกิจกรรมฝึกฝนทักษะด้านต่างๆ แก่บุคคล
ออทิสติก 
- มีจติ วิทยาและมุง่ มัน่ อดทนมากเป็นพิเศษในการด�ำเนิน
กิ จ กรรมเพื่ อ จู ง ใจบุ ค คลออทิ ส ติ ก ให้ ท� ำ กิ จ กรรมที่
ต้องการ
เพราะออทิ ส ติ ก วั ย รุ ่ น วั ย ผู ้ ใ หญ่ จะมี ป ั ญ หาเรื่ อ ง
พฤติกรรมที่ไม่ค่อยชอบจะท�ำกิจกรรมอะไรใหม่ๆ และ
ส่วนใหญ่จะถูกกระตุ้นให้ท�ำกิจกรรมที่พึงประสงค์ยาก
มาก มีอารมณ์หงุดหงิดโมโหอาละวาดง่าย และทั้งตัว
บุคคลออทิสติกและบุคลากรทีท่ ำ� งานกับพวกเขามักจะต้อง
เจ็บตัว บาดเจ็บกันบ่อยๆ

95
“๔ กลไกหลักตามออทิสติกโรดแมป”

การพั ฒ นาศั ก ยภาพบุ ค ลากรที่ ท� ำ งานกั บ บุ ค คลออทิ ส ติ ก /


เจ้าหน้าที่บ้านพิทักษ์บุคคลออทิสติกในชุมชน
สิ่งหนึ่งที่ทางหน่วยงานต่างๆ ของรัฐทั้งในระดับพื้นที่และใน
ระดั บ กระทรวง-ระดั บ รั ฐ บาลควรเข้ า ใจก็ คื อ ประชากรออทิ ส ติ ก
ต้องการนวัตกรรมทางด้านบุคลากรที่ต้องสร้างขึ้นมาใหม่ โดยต้อง
เสริมคุณสมบัติที่ต้องการเข้าไปให้กับบุคลากรที่รับเข้ามาหรือมีอยู่
แล้ว ส�ำหรับกรณีบ้านพิทักษ์ฯ ซึ่งยังไม่มีอยู่ในกรอบงานของกระทรวง
พัฒนาสังคมและความมัน่ คงของมนุษย์ จึงต้องมีแบบเสริมคุณสมบัติ
ที่พึงประสงค์เข้าไปให้กับบุคลากรที่รับเข้ามาใหม่หรือมีอยู่แล้ว โดย
การจัดท�ำโครงการอบรม ซึ่งต้องมีการเสนอของบประมาณหรือเม็ด
เงินเพือ่ การนี้ ซึง่ ต่อไปบุคลากรบ้านพิทกั ษ์ฯ จะต้องต้องผ่าน “หลักสูตร
นักพัฒนาศักยภาพบุคคลออทิสติก” (ดูภาคผนวก ๒)

การคงไว้ซงึ่ บุคลากรทีม่ คี ณ
ุ สมบัตอิ นั พึงประสงค์ให้คงอยูท่ ำ� งาน
กับบุคคลออทิสติกอย่างคงทนถาวร 
โดยจะขอกล่าวเฉพาะ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคง
ของมนุษย์ที่รับผิดชอบศูนย์บริการบุคคลออทิสติกจังหวัดขอนแก่น
ที่ทางเครือข่ายผู้ปกครองบุคคลออทิสติกทั้งประเทศหวังจะให้พัฒนา
และน�ำร่อง “บ้านพิทักษ์บุคคลออทิสติกในชุมชนเมืองเทศบาลนคร
ขอนแก่น” ให้ ก็คือ กระทรวงนี้จะต้องเสนอให้มีกรอบอัตราก�ำลัง
บุคลากรทีท่ ำ� งานกับบุคคลออทิสติก/ เจ้าหน้าทีบ่ า้ นพิทกั ษ์บคุ คล
ออทิสติกในชุมชนที่มีระเบียบวิธีการงบประมาณรองรับอย่าง
เฉพาะเจาะจงโดยอยู่ในโครงสร้างงบประมาณปกติ ไม่ใช่อยู่ใน

96
รูปของเงินอุดหนุนที่ทางส�ำนักงบประมาณก�ำหนดให้เป็นการจ้าง
เหมาชั่วคราวอย่างในปัจจุบัน ที่ไม่จูงใจบุคลากรที่มี “คุณภาพ” ให้อยู่
ท�ำงานอย่างยั่งยืนแต่ท�ำงานในแบบรอไปสู่งานอื่นที่มีเงื่อนไขมั่นคง
และดีกว่า ท�ำให้การพัฒนาบุคลากรสูญเปล่าและไม่สามารถพัฒนา
ในระดับที่สูงขึ้นไปได้

๔. โครงการพัฒนาด้านระบบบริหารจัดการ “บ้านพิทักษ์ฯ” เพื่อ


การเป็น “กลไก”/ ”หน่วยงาน” ปกติในโครงสร้างของรัฐ
ทั้งนี้เพื่อให้เป็นหน่วยงาน “ต้นแบบ” ของภาครัฐเพื่อเข้าสู่
โครงสร้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น / เทศบาล อบจ. อบต.

๔.๑ บุคลากร-เจ้าหน้าที่ “บ้านพิทักษ์ฯ”


๔.๑.๑ เจ้าหน้าที่หัวหน้าบ้าน ๑ คน;
ดูแลงานของบ้านพิทกั ษ์ฯ ในภาพรวมและประสานงาน
กับส่วนงานอืน่ ทีเ่ กีย่ วข้อง รูง้ านรูข้ อ้ มูลอย่างละเอียด มี
อ�ำนาจสัง่ งานเจ้าหน้าทีท่ กุ คนในส่วนของบ้านพิทกั ษ์ฯ
๔.๑.๒ เจ้าหน้าที่รองหัวหน้าบ้านพิทักษ์ฯ ๑ คน;
ช่วยงานหัวหน้าบ้านพิทักษ์ฯ โดยเน้นด้านสถานที่และ
แผนการจัดกิจกรรม
๔.๑.๓ แม่บ้าน ๑-๓ คน;
งานบ้าน งานความสะอาด งานครัว งานซักรีดเสื้อผ้า
บุคคลออทิสติก

97
“๔ กลไกหลักตามออทิสติกโรดแมป”

๔.๑.๔ เจ้ า หน้ า ที่ “ฝ่ า ยกิ จ กรรมพั ฒ นาทั ก ษะบุ ค คล


ออทิสติกบ้านพิทักษ์ฯ” ๔ คน รวมเจ้าหน้าที่ และ
บุคลากรตาม “โครงสร้างหลักสูตรคู่ขนานเฉพาะ
บุคคลออทิสติกศักยภาพปานกลาง-ต�่ำ (วัยรุ่น วัย
ผู้ใหญ่) อีกอย่างต�่ำ ๑๕ คน/๑๕ อัตรา [นักพัฒนา
สังคม, นักสังคมสงเคราะห์, นักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์,
นักพัฒนาศักยภาพบุคคลทีม่ คี วามต้องการจ�ำเป็นพิเศษ
(ออทิสติก), นักพัฒนาศักยภาพของมนุษย์ (ออทิสติก) /
เจ้าหน้าทีฝ่ า่ ยงานบ้านพิทกั ษ์ฯ จะเป็นนักอะไรดี?] รวม
บุคลากรของฝ่ายบ้านพิทักษ์ฯ จ�ำนวน ๗-๑๐ คน [เป็น
เจ้าหน้าที่ ๖ คน แม่บ้าน ๑-๓ คน] (ยืดหยุ่นตามความ
เหมาะสม)

๔.๒ ภาระหน้าที่ของบุคลากร/ เจ้าหน้าที่ “บ้านพิทักษ์ฯ”


๔.๒.๑ ดูแลบุคคลออทิสติกทีอ่ ยูต่ ลอด ๒๔ ชม. ทัง้ แบบชัว่ คราว
และแบบประจ�ำ
๔.๒.๒ ลงทะเบียนรับและจ�ำหน่ายบุคคลออทิสติกที่มาใช้
บริการของฝ่ายบ้านพิทักษ์ฯ
๔.๒.๓ วางแผนกิจกรรมพัฒนาศักยภาพบุคคลออทิสติกนอก
เวลาท� ำ การและจั ด กิ จ กรรมพั ฒ นาศั ก ยภาพบุ ค คล
ออทิ ส ติ ก นอกเวลาท� ำ การตามแผนส� ำ หรั บ บุ ค คล
ออทิสติกที่มาใช้บริการที่อยู่ตลอด ๒๔ ชั่วโมงทั้งแบบ
ชั่วคราว และแบบถาวร

98
๔.๒.๔ จัดท�ำหลักสูตรคู่ขนานเฉพาะบุคคลออทิสติก (Autistic
Individual Parallel Curriculum) [หลักสูตรนอกเวลา
ราชการ คู่ขนานกับ หลักสูตรในเวลาราชการ], แผน
พัฒนาศักยภาพเฉพาะบุคคล (Individual Develop-
Mental Potential Plan/ IDP) และแผนปฏิบัติการ
พัฒนาศักยภาพเฉพาะบุคคลออทิสติก (Individual
Implementation Developmental Potential Plan/
IIDP) ส�ำหรับบุคคลออทิสติกที่มาใช้บริการอยู่ตลอด
๒๔ ชั่วโมงแบบประจ�ำ
๔.๒.๕ รับผิดชอบดูแลเรือ่ งสุขอนามัยทัง้ ทางร่างกายและ จิตใจ
รวมทัง้ การใช้ยาของบุคคลออทิสติกทีม่ าใช้ บริการ ๒๔
ชั่วโมง 
๔.๒.๖ ดูแลรักษาทรัพย์สินของฝ่ายทั้งที่เป็นวัสดุและครุภัณฑ์
๔.๒.๗ ดูแลอ�ำนวยการเรื่องความสะอาดและความปลอดภัย
ของสถานที่
๔.๒.๘ ดูแลอ�ำนวยการเรื่องความสะอาดของเสื้อผ้า ที่นอน
ข้าวของเครื่องใช้ของบุคคลออทิสติก และของ
เจ้าหน้าที่เอง
๔.๒.๙ ดูแลเรื่องอาหารการกินของบุคคลออทิสติก และของ
เจ้าหน้าที่ที่อยู่เวร โดยการอยู่เวรให้อยู่เป็นทีมตั้งแต่
๒ คนขึ้นไป

99
“๔ กลไกหลักตามออทิสติกโรดแมป”

หมายเหตุ; ข้อ ๗-๙ ถือเป็นกิจกรรมการฝึกประจ�ำ อยู่ในแผนการจัด


กิจกรรมพัฒนาศักยภาพหรือหลักสูตรคู่ขนานของบุคคล
ออทิสติกด้วย

๔.๓ เวลาท�ำการของบ้านพิทักษ์ฯ
- เปิดท�ำการทุกวันตลอด ๒๔ ชั่วโมง ๓๖๕ วันไม่มีวันหยุด
- เจ้ า หน้ า ที่ ทุ ก คนยกเว้ น แม่ บ ้ า นต้ อ งอยู ่ เ วรทุ ก คน โดย
เจ้าหน้าที่ ๖-๑๐ คน อาจแบ่งออกเป็น ๒ ทีม ผลัดกันอยู่
เวรกลางคืนและวันหยุด การหยุดของเจ้าหน้าที่ให้เวียนกัน
หยุดให้เหมาะสมโดยไม่รบกวนหรือเป็นอุปสรรคกับงานของ
บ้านพิทักษ์ฯ
๔.๔ คณะกรรมการอ�ำนวยการบ้านพิทักษ์ฯ
มีหวั หน้าบ้านเป็นประธาน มีผปู้ กครองบุคคลออทิสติกจาก
“กลุ่มผู้ปกครองบุคคลออทิสติกเพื่อบ้านพิทักษ์ฯ ๒๔ ชั่ว ๓๖๕
วัน” จ�ำนวน ๓-๕ คนเป็นกรรมการร่วม มีเจ้าหน้าที่รองหัวหน้า
บ้ า นพิ ทั ก ษ์ ฯ เป็ น กรรมการและเลขานุ ก าร และบุ ค ลากร
บ้านพิทักษ์ฯ อีกจ�ำนวนหนึ่งเป็นกรรมการ มีผู้เชี่ยวชาญจาก
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นที่ปรึกษา คณะกรรมการชุดนี้มีหน้า
ที่ช่วยเหลือประเมินและก�ำหนดมาตรการขับเคลื่อนต่างๆ ของ
“บ้านพิทักษ์ฯ”

100
ค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่ฝ่ายบ้านพิทักษ์ฯ
เจ้าหน้าที่บ้านพิทักษ์ฯ มีภาระงานแตกต่างจากเจ้าหน้าที่ทั่วไป
คือ เปิดท�ำการทุกวันไม่มีวันหยุด จึงต้องมีค่าตอบแทนและวิธีการ
งบประมาณที่เฉพาะเจาะจงรองรับ ดังนี้:-

๑. ต้องมีงบหมุนเวียน-งบด�ำเนินการ; ค่าอาหารบุคคลออทิสติก
และเจ้าหน้าที่, ค่าวัสดุสิ้นเปลือง (เช่น วัสดุท�ำความสะอาด น�้ำยา
ผงซักฟอก วัสดุส�ำนักงาน ฯลฯ)

๒. ต้องมีงบประมาณส�ำหรับการจัดกิจกรรมนอกเวลาท�ำการ

๓. ต้องมีค่าตอบแทนพิเศษ เช่น “ค่าอยู่เวร”/ อาจจะจ่ายแบบเหมา


เป็นเดือน (?), ค่าตอบแทนพิเศษ “หัวหน้าฝ่าย” และรอง ที่ต้องรับ
ภาระงานมากกว่าเจ้าหน้าที่ปกติ

๔. ค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่ต้องไม่เป็นการจ้างเหมาต้องเป็น “เงิน
เดือน” ที่จะต้องได้รับเป็นประจ�ำทุกเดือนและตรงเวลา เช่นเดียว
กับเงินเดือนของข้าราชการ” และ “ลูกจ้างประจ�ำ” และ “พนักงาน
ของรัฐ” ฯลฯ

๕. ต้องมีงบประมาณส�ำหรับการพัฒนายกระดับศักยภาพของ
เจ้าหน้าที่ รวมทั้งงบประมาณให้เจ้าหน้าท�ำวิจัยภาคสนามร่วม
กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

๖. มีงบประมาณด้านสถานที่ ทั้งการดัดแปลงสถานที่ และการจัด


สถานที่ให้เหมาะกับการจัดกิจกรรมนอกเวลา
101
“๔ กลไกหลักตามออทิสติกโรดแมป”

หมายเหตุ:
๑) ขณะนี้ส�ำนักงบประมาณ/ กรมบัญชีกลาง-กระทรวงการคลัง และ
กระทรวงพัฒนาสังคมและความมัน่ คงของมนุษย์ (พ.ม.) ใช้วธี กี าร
งบประมาณแบบ “จ้างเหมาจ่าย” เหมือนจ้าง “บริษัทเอกชนมา
ท�ำงานความสะอาด” ฯลฯ ซึ่งท�ำให้บุคคลออทิสติกไม่ได้บุคลากร
ทีม่ ี “คุณภาพ” มาท�ำงานด้วย และไม่อาจพัฒนายกระดับศักยภาพ
ของบุคลากรได้ และไม่เป็นขวัญก�ำลังใจแก่บุคลากรที่ท�ำงานกับ
บุคคลออทิสติก ซึง่ วิธกี ารงบประมาณเช่นนีท้ กุ ภาคส่วนทีเ่ กีย่ วข้อง
ต้องเสนอให้ทางส�ำนักงบประมาณ/ กรมบัญชีกลาง-กระทรวง
การคลังด�ำเนินการแก้ไข

๒) ต้องเร่งให้มีการตั้งคณะกรรมการร่วมระหว่างภาคผู้ปกครองฯ
กับภาครัฐ/ ร่างค�ำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาระบบการจัด
สวัสดิการแก่บุคคลออทิสติก เพื่อวางกรอบอัตราบุคลากรที่จะ
ท�ำงานทางด้านประชากรออทิสติกของกระทรวงพัฒนาสังคม
และความมั่นคงของมนุษย์ (พ.ม.) เพราะขณะนี้กระทรวงพัฒนา
สังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พ.ม.) ซึ่งมีฐานมาจากกรม
ประชาสงเคราะห์ กระทรวงมหาดไทย มีแต่ต�ำแหน่งนักพัฒนา
สังคม, นักประชาสงเคราะห์ เท่านั้น และการจะเอานักจิตวิทยา,
นักกิจกรรมบ�ำบัด, ครูการศึกษาพิเศษ ซึ่งเป็นบุคลากรในบริบท
กระทรวงอืน่ น่าจะไม่สอดคล้องกับบริบทของกระทรวงพัฒนาสังคม
และความมั่นคงของมนุษย์ (พ.ม.) น่าจะเป็น นักพัฒนาศักยภาพ
มนุษย์, นักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์, นักพัฒนาหลักสูตรการฝึก
อาชีพส�ำหรับประชากรทีม่ ีความต้องการจ�ำเป็นพิเศษ เช่นนี้ น่าจะ

102
เหมาะสมและตรงกับภาระงานจริงในบริบทของกระทรวงพัฒนา
สังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พ.ม.) มากกว่า

๕. โครงการพัฒนากฎเกณฑ์/ระเบียบวิธีปฏิบัติ และวิธีการงบ
ประมาณส�ำหรับบ้านพิทักษ์ฯ เพื่อเป็นกฎหมายระดับต่างๆ
รองรับการเป็น “หน่วยงาน” ในโครงสร้างของรัฐเพื่อเข้าสู่ระบบ
งบประมาณปกติ

เรือ่ งระเบียบวิธกี ารงบประมาณเกีย่ วกับบ้านพิทกั ษ์บคุ คล


ออทิสติกในชุมชน มีเรื่องที่ต้องปรับใหม่ให้เข้ากับภาระงานที่
ต้องเพือ่ บุคคลออทิสติกในบริบทของกระทรวงพัฒนาสังคมฯ ดังนี้

๕.๑ เรือ่ งค่าอาหารกลางวัน ส�ำหรับบุคคลออทิสติกทีม่ ารับบริการ


แบบไป-กลับ และค่าอาหารครบทั้ง ๓ มื้อ ส�ำหรับบุคคล
ออทิสติกที่มารับบริการ ๒๔ ชั่วโมง

๕.๒ ค่าตอบแทนบุคลากร เจ้าหน้าที่ที่ท�ำงานกับบุคคลออทิสติก


ควรปรับให้ยุติธรรมกับความยากล�ำบากของภาระงานที่ท�ำ
กับบุคคลออทิสติก เช่น อาจมีค่าตอบแทนพิเศษเพิ่มจากค่า
ตอบแทนปกติ

๕.๓. ค่าตอบแทนการท�ำงานนอกเวลาท�ำการ เช่น การอยู่เวรวัน


หยุด หรือ กลางคืน เป็นต้น

103
“๔ กลไกหลักตามออทิสติกโรดแมป”

เรื่องระเบียบวิธีปฏิบัติภาระหน้าที่ของบุคลากร-เจ้าหน้าที่บ้าน
พิทักษ์บุคคลออทิสติกในชุมชน
๑. ต้องมีการก�ำหนดกรอบอัตราส่วนระหว่างบุคลากรหรือเจ้า
หน้าทีท่ เี่ ป็นผูท้ ำ� การฝึกฝนพัฒนาศักยภาพบุคคลออทิสติกกับ
บุคคลออทิสติกให้อยูใ่ นสัดส่วนทีจ่ ะสามารถพัฒนาศักยภาพ
บุคคลออทิสติกได้อย่างเต็มตามศักยภาพของเขา ซึ่งอาจล้อ
กับที่กระทรวงศึกษาธิการใช้ คือ บุคลากรหรือเจ้าหน้าที่ ๒ คน ต่อ
บุคคลออทิสติก ๓ คน หรือบุคลากรหรือเจ้าหน้าที่ ๒ คนต่อบุคคล
ที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ (LD) บุคคลสมาธิสั้น และอื่นๆ
๕-๗ คน เป็นต้น

๒. ต้องมีการ ก�ำหนดกรอบคุณสมบัติ ของ บุคลากรหรือเจ้าหน้าที่


ที่เป็นผู้พัฒนาศักยภาพบุคคลออทิสติก ทั้งด้านองค์ความรู้
ที่จ�ำเป็นต้องรู้ และด้านคุณธรรมจริยธรรม (ดูภาคผนวก ๒
“โครงสร้างหลักสูตรนักพัฒนาศักยภาพบุคคลออทิสติก”)

๓. ต้องมีการก�ำหนดอัตราต�ำแหน่งทีเ่ ฉพาะเจาะส�ำหรับบุคลากร
หรือเจ้าหน้าที่ที่เป็นผู้พัฒนาศักยภาพบุคคลออทิสติกใน
บริ บ ทของกระทรวงพั ฒ นาสั ง คมฯ อยู ่ ใ นโครงสร้ า งของ
ระเบียบข้าราชการพลเรือน (ก.พ) เช่น นักพัฒนาศักยภาพ
มนุษย์ (ออทิสติก) นักพัฒนาศักยภาพบุคคลออทิสติก นักพัฒนา
ทรัพยากรมนุษย์ ฯลฯ

104
105
“๔ กลไกหลักตามออทิสติกโรดแมป”

106
107
“๔ กลไกหลักตามออทิสติกโรดแมป”

108
สถาบันวิจยั ออทิสซึม
ในช ุมชนเมืองมหาวิทยาลัย
ที่มีโรงเรียนแพทย์

109
“๔ กลไกหลักตามออทิสติกโรดแมป”

โครงสร้างและหน้าที่ของ “สถาบันวิจัยออทิสซึม
ในชุมชนเมืองมหาวิทยาลัยที่มีโรงเรียนแพทย์”

สถาบันวิจัยออทิสซึมในชุมชนเมืองมหาวิทยาลัยที่มีโรงเรียน
แพทย์ มีโครงสร้างประกอบด้วย ๓ ศูนย์วิจัย ได้แก่ ๑) ศูนย์วิจัย
และพั ฒ นาด้ า นการแพทย์ ก ารบ� ำ บั ด เพื่ อ บุ ค คลที่ มี ก ลุ ่ ม
อาการออทิสซึม ๒) ศูนย์วิจัยและพัฒนาทางด้านการศึกษาเพื่อ
บุคคลที่มีกลุ่มอาการออทิสซึม และ ๓) ศูนย์วิจัยและพัฒนาด้าน
สังคมและสวัสดิการเพือ่ บุคคลทีม่ กี ลุม่ อาการออทิสซึม ซึง่ สถาบัน
วิจัยออทิสซึมในชุมชนเมืองมหาวิทยาลัยที่มีโรงเรียนแพทย์ มีหน้าที่
หลักคือ การวิจยั และพัฒนาองค์ความรูแ้ ละนวัตกรรมเพือ่ บุคคล
ทีม่ กี ลุม่ อาการออทิสซึมอย่างครบถ้วนทุกด้าน ทัง้ ด้านการแพทย์
การบ�ำบัด ด้านการศึกษา และด้านสังคม โดยแต่ละศูนย์วจิ ยั ฯ มีราย
ละเอียดอย่างสังเขป ดังนี้

๑. ศูนย์วิจัยและพัฒนาด้านการแพทย์การบ�ำบัดเพื่อบุคคลที่มี
กลุ่มอาการออทิสซึม [โครงสร้าง/หน้าที่]

๑.๑ โครงสร้าง ประกอบด้วย ๒ ส่วน คือ


๑.๑.๑ ส่วนที่เกี่ยวกับยา-สารเคมี-หัตถการทางการแพทย์ ที่
กระท�ำโดยผู้ประกอบวิชาชีพแพทย์เท่านั้น
๑.๑.๒ ส่วนที่เกี่ยวกับการบ�ำบัดทางกายภาพที่กระท�ำโดย
นักบ�ำบัดและบุคลากรด้านการแพทย์การบ�ำบัดอื่นๆ
ที่ไม่ใช่แพทย์
110
ซึ่งทั้ง ๒ ส่วน จะมี “แผนกพิเศษออทิสติกฯ สาธิต” ในโรง
พยาบาลของโรงเรียนแพทย์ เป็นภาคสนามหลักของการวิจัย

๑.๒ ศูนย์วิจัยและพัฒนาด้านการแพทย์การบ�ำบัดเพื่อบุคคล
ที่มีกลุ่มอาการออทิสซึม มีหน้าที่ดังนี้
๑.๒.๑ ส่วนที่เกี่ยวกับยา-สารเคมี-หัตถการทางการแพทย์
ทีก่ ระท�ำโดยผูป้ ระกอบวิชาชีพแพทย์เท่านัน้ มีหน้า
ทีห่ ลักในการวิจัยและพัฒนาองค์ความรูแ้ ละนวัตกรรม
ทางด้านการแพทย์ที่ใช้สารเคมี (ยา) และหัตถการ
ทางการแพทย์ส�ำหรับบุคคลที่มีกลุ่มอาการออทิสซึม
ดังต่อไปนี้

- มีหน้าที่ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการบริหารขนาดของ
ยาที่ใช้กับบุคคลออทิสติก และผลที่มีต่อพฤติกรรม
ทั้งที่พึงประสงค์และไม่พึงประสงค์
- มีหน้าที่คิดนวัตกรรมหัตการทางการแพทย์ที่จะ
ใช้ กั บ บุ ค คลออทิ ส ติ ก เช่น การท�ำฟัน การเจาะ
เลื อ ด การผ่ า ตั ด การตรวจด้ ว ยเครื่ อ งมื อ แพทย์
(เอกซ์เรย์ การอุลตร้าซาวด์ การท�ำซีทีแสกน การท�ำ
เอ็มอาร์ไอ (MRI) การให้น�้ำเกลือ ฯลฯ)
- มีหน้าที่คิดนวัตกรรมกระบวนการบริการคนไข้
นอกและคนไข้ ใ น ที่สอดคล้องกับธรรมชาติของ
บุคคลออทิสติก

111
“๔ กลไกหลักตามออทิสติกโรดแมป”

๑.๒.๒ ส่วนที่เกี่ยวกับกายภาพบ�ำบัด และการบ�ำบัดทาง


เลือกอืน่ ๆ ทีก่ ระท�ำโดยนักบ�ำบัดและบุคลากรด้าน
การบ�ำบัดอื่นๆ ที่ไม่ใช่แพทย์ ให้มีหน้าที่วิจัยและ
พัฒนาองค์ความรู้และนวัตกรรมการบ�ำบัดทางกายที่
ไม่ใช้สารเคมีหรือหัตถการทางการแพทย์ส�ำหรับบุคคล
ที่มีกลุ่มอาการออทิสซึม ดังต่อไปนี้

- มี ห น้ า ที่ วิ จั ย คิ ด ค้ น นวั ต กรรมกระบวนการกระตุ ้ น


พัฒนาการของประสาทการรับรูร้ ะบบต่างๆ ในบริบท
ของคลินิก
- มี ห น้ า ที่ วิ จั ย คิ ด ค้ น นวั ต กรรมกระบวนการกระตุ ้ น
พัฒนาการของประสาทการรับรูร้ ะบบต่างๆ ในบริบท
ของศูนย์อนุบาลเด็กเล็กในชุมชน
- มี ห น้ า ที่ วิ จั ย คิ ด ค้ น นวั ต กรรมกระบวนการกระตุ ้ น
พั ฒ นาการของประสาทการรั บ รู ้ ร ะบบต่ า งๆ ใน
บริบทของห้องเรียน ๒ รูปแบบ; ห้องเรียนคู่ขนาน
ออทิสติก และห้องเรียนสอนเสริมการศึกษาพิเศษใน
โรงเรียนทั่วไปในชุมชน
- มี ห น้ า ที่ วิ จั ย คิ ด ค้ น นวั ต กรรมกระบวนการกระตุ ้ น
พัฒนาการของประสาทการรับรูร้ ะบบต่างๆ ในบริบท
ของบ้านพิทักษ์บุคคลออทิสติกในชุมชน ฯลฯ

112
๒.ศู น ย์ วิ จั ย และพั ฒ นาด้ า นการศึ ก ษาเพื่ อ บุ ค คลที่ มี ก ลุ ่ ม
อาการออทิสซึม [โครงสร้างและหน้าที่]

๒.๑ โครงสร้างประกอบด้วย ฝ่ายวิจัยและพัฒนา ๓ ฝ่าย ได้แก่


๑) ฝ่ายวิจยั และพัฒนาการศึกษาส�ำหรับบุคคลออทิสติกระดับ
ปฐมวัยจนถึงระดับมัธยมศึกษา (หรือการศึกษาระดับก่อน
การอาชีวศึกษาและการอุดมศึกษา)
๒) ฝ่ายวิจยั และพัฒนาการศึกษาส�ำหรับบุคคลออทิสติกระดับ
การอาชีวศึกษาบ�ำบัดและการฝึกอาชีพบ�ำบัด
๓ ) ฝ ่ า ย วิ จั ย แ ล ะ พั ฒ น า ก า ร ศึ ก ษ า ส� ำ ห รั บ บุ ค ค ล
ออทิสติกระดับการอุดมศึกษา
๒.๒ มี ห น้ า ที่ วิ จั ย และพั ฒ นานวั ต กรรมทางด้ า นการศึ ก ษา
ส� ำ หรั บ บุ ค คลที่ มี ก ลุ ่ ม อาการออทิ ส ซึ ม ครบทุ ก ระดั บ
อายุ แ ละครบทุ ก ระดั บ ความหนั ก เบาของกลุ ่ ม อาการ
ครอบคลุมการศึกษาทั้งนอกและในระบบ ตั้งแต่ระดับ
ปฐมวัย ระดับการอาชีวศึกษา ไปจนถึงระดับการอุดมศึกษา
และการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยแต่ละฝ่ายมีหน้าที่ดังนี้
๒.๒.๑ ฝ่ า ยวิ จั ย และพั ฒ นาการศึ ก ษาส� ำ หรั บ บุ ค คล
ออทิ ส ติ ก ระดั บ ปฐมวั ย จนถึ ง ระดั บ มั ธ ยมศึ ก ษา
(หรื อ การศึ ก ษาระดั บ ก่ อ นการอาชี ว ศึ ก ษาและ
อุดมศึกษา)มีหน้าที่วิจัยและพัฒนาเชิงระบบและเชิง
กระบวนการ เรื่อง “ห้องเรียน ๒ รูปแบบ; ห้องเรียน

113
“๔ กลไกหลักตามออทิสติกโรดแมป”

คู่ขนานออทิสติกและห้องเรียนสอนเสริมการศึกษา
พิ เ ศษในโรงเรี ย นทั่ ว ไปในชุ ม ชนใกล้ บ ้ า น” โดยมี
“ห้องเรียน ๒ รูปแบบ; ห้องเรียนคู่ขนานออทิสติกและ
ห้องเรียนสอนเสริมการศึกษาพิเศษในโรงเรียนสาธิต
ของมหาวิทยาลัยฯ” ครบถ้วนทุกระดับอายุช่วงชั้น เป็น
ภาคสนามหลักของการวิจัย

๒.๒.๒ ฝ่ า ยวิ จั ย และพั ฒ นาการศึ ก ษาส� ำ หรั บ บุ ค คล


ออทิ ส ติ ก ระดั บ การอาชี ว ศึ ก ษาบ� ำ บั ด และการ
ฝึกอาชีพบ�ำบัด มีหน้าที่วิจัยและพัฒนานวัตกรรม
“โครงสร้ า งหลั ก สู ต รคู ่ ข นานเฉพาะบุ ค คลในบุ ค คล
ออทิสติกศักยภาพปานกลาง-ต�ำ่ (วัยรุน่ วัยผูใ้ หญ่) ตาม
ที่ได้ออกแบบไว้ (ดูภาคผนวก)
- โดยให้เป็นการวิจยั เชิงระบบ และเชิงกระบวนการ
ในการบริ ห ารจั ด การหลั ก สู ต รคู ่ ข นานเฉพาะ
บุคคลในบริบทของการอาชีวะบ�ำบัดและการฝึก
อาชีพบ�ำบัด ส�ำหรับบุคคลออทิสติกศักยภาพต�่ำ-
ปานกลาง ระดับอายุวัยรุ่น วัยผู้ใหญ่ วัยท�ำงาน
ตาม “โครงสร้างหลักสูตรฯ” โดยมีสนามวิจัยและ
พั ฒ นาหลั ก เป็ น “ศู น ย์ พั ฒ นาศั ก ยภาพบุ ค คล
ออทิสติก (สาธิต)” ที่มีสถานที่ซึ่งออกแบบให้เป็น
“ฐานฝึกทักษะบุคคลออทิสติก” หมวดต่างๆ ตาม
“โครงสร้างหลักสูตรคู่ขนานเฉพาะบุคคลในบุคคล
ออทิสติกศักยภาพปานกลาง-ต�่ำ” (ดูภาคผนวก ๑)
อย่างครบถ้วน
114
- มีโครงสร้างหลักสูตรนักพัฒนาศักยภาพบุคคล
ออทิสติก ส�ำหรับการวิจยั และพัฒนากระบวนการ
บ่มเพาะบุคลากรประจ�ำฐานฝึกทักษะของหมวด
วิชาต่างๆ ตามโครงสร้างหลักสูตร

๒.๒.๓ ฝ่ า ยวิ จั ย และพั ฒ นาการศึ ก ษาส� ำ หรั บ บุ ค คล


ออทิสติกระดับการอุดมศึกษา มีหน้าที่วิจัยเชิงระบบ
และเชิ ง กระบวนการในนวั ต กรรมการให้ ค วามช่ ว ย
เหลือบุคคลออทิสติกศักยภาพสูงในวัยรุ่น วัยผู้ใหญ่
ที่สามารถเข้าเรียนหลักสูตรระดับอุดมศึกษาร่วมกับ
นักศึกษาที่เป็นบุคคลปกติได้ แต่ยังคงมีปัญหาทาง
ด้านการปฏิสมั พันธ์ทางสังคมและความไม่เข้าในบริบท
ต่างๆ ทางสังคม โดยมี “ศูนย์บริการนักศึกษาออทิสติก
(สาธิต)” ของมหาวิทยาลัย เป็นภาคสนามหลักของ
การวิจัย

๓. ศูนย์วจิ ยั ทางด้านสังคมและสวัสดิการส�ำหรับบุคคลทีม่ กี ลุม่


อาการออทิสซึม [โครงสร้าง/หน้าที่]

มี ห น้ า ที่ วิ จั ย และพั ฒ นาทางด้ า นสั ง คมและสวั ส ดิ ก าร


ส�ำหรับบุคคลที่มีกลุ่มอาการออทิสซึมใน ๓ ด้าน ได้แก่ ๑)
ด้านบุคคลออทิสติก ๒) ด้านบุคลากรที่ต้องท�ำงานด้านสวัสดิการ
สังคมกับบุคคลออทิสติก และ ๓) ด้านหน่วยงานทีต่ อ้ งท�ำงานด้าน
สวัสดิการสังคมกับบุคคลออทิสติก
115
“๔ กลไกหลักตามออทิสติกโรดแมป”

โดยมี “บ้านพิทักษ์บุคคลออทิสติกในชุมชนเมืองมหาวิทยาลัย
ที่ มี โ รงเรี ย นแพทย์ ” (บ้ า นพิ ทั ก ษ์ บุ ค คลออทิ ส ติ ก สาธิ ต ) เป็ น
ภาคสนามหลัก และให้เป็นการวิจัยและพัฒนาเชิงระบบและเชิง
กระบวนการในนวัตกรรมทางด้านสังคมและสวัสดิการส�ำหรับ
บุคคลทีม่ กี ลุม่ อาการออทิสซึม ทีส่ นองตอบต่อความต้องการจ�ำเป็น
พิเศษของบุคคลออทิสติกวัยรุน่ วัยผูใ้ หญ่ วัยท�ำงาน และวัยชราใน
การด�ำรงชีวิตประจ�ำวันตลอด ๒๔ ชม. ๓๖๕ วัน ดังนี้

๓.๑ ด้านบุคคลออทิสติก
ศูนย์วิจัยทางด้านสวัสดิการสังคมฯ นี้ ต้องมีหน้าที่วิจัยและ
พัฒนาเชิงระบบและเชิงกระบวนการในเรื่องต่อไปนี้

๓.๑ ๑ กระบวนการจัดการ-การด�ำรงชีวิต ในช่วงเวลากลางคืน


ของบุคคลอทิสติกวัยรุ่น วัยผู้ใหญ่ และวัยชรา
๓.๑.๒ กระบวนการจัดการ-การด�ำรงชีวิต ในช่วงเวลาว่าง
ของบุคคคลอทอิสติกวัยรุ่น วัยผุ้ใหญ่ และวัยชรา
๓.๑.๓ กระบวนการจั ด การ-การด� ำ รงชี วิ ต ในช่ ว งกิ จ วั ต ร
ประจ�ำวันของบุคคลออทิสติกวัยรุ่น วัยผู้ใหญ่ และวัย
ชรา
๓.๑.๔ กระบวนการจัดการ-การด�ำรงชีวิต ในช่วงเวลาท�ำงาน
ของบุคคลออทิสติกวัยรุ่น วัยผู้ใหญ่ และวัยชรา

116
๓.๒ ด้านบุคลากรที่ต้องท�ำงานด้านสวัสดิการสังคมกับบุคคล
ออทิสติก
ศูนย์วิจัยทางด้านสวัสดิการสังคมฯ นี้ ต้องมีหน้าที่วิจัยและ
พัฒนาเชิงระบบและเชิงกระบวนการในเรื่องดังต่อไปนี้
๓.๒.๑ การประมวลองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดที่จะใช้
ในการบ่มเพาะบุคลากรที่จะมาท�ำงานกับบุคคล
ออทิสติกในบริบทของด้านสวัสดิการสังคม เพื่อ
สนองตอบต่อความต้องการจ�ำเป็นพิเศษของบุคคล
ออทิสติกในการด�ำรงชีวิตในช่วงเวลาต่างๆ ของ ๒๔
ชั่วโมง และ ๓๖๕ วัน (ดูภาคผนวก ๒)
๓.๒.๒ วิจยั ทดลองและคิดค้นกระบวนการบ่มเพาะบุคลากร
ด้วยการประมวลองค์ความรู้ ทั้งภาคทฤษฎีและภาค
ปฏิบัติในข้อที่ ๑
๓.๒.๓ วิจัยทดลองและสังเคราะห์นวัตกรรมบุคลากรให้
เกิดมีขึ้นในโครงสร้างของรัฐ-สังคมไทยในบริบท
ของงานด้ า นสวั ส ดิ ก ารสั ง คมส� ำ หรั บ บุ ค คลที่ มี
กลุ่มอาการออทิสซึม เช่น นักพัฒนาสังคมและความ
มั่ น คงของมนุ ษ ย์ (ออทิ ส ติ ก ) นั ก พั ฒ นาทรั พ ยากร
มนุษย์ (ออทิสติก) นักพัฒนาศักยภาพมนุษย์ (ออทิสติก)
ฯลฯ

117
“๔ กลไกหลักตามออทิสติกโรดแมป”

๓.๓ ด้านหน่วยงานที่ต้องท�ำงานกับบุคคลออทิสติก
ศูนย์วิจัยทางด้านสวัสดิการสังคมฯ นี้ ต้องมีหน้าที่วิจัยและ
พัฒนาเชิงระบบ และเชิงกระบวนการ ในเรื่องต่อไปนี้

๓.๓.๑ เรื่องระเบียบวิธีปฏิบัติต่างๆ ของหน่วยงานทาง


ด้านสวัสดิการสังคม เช่น บ้านพิทักษ์บุคคลออทิสติก
ในชุมชน ถ้าจะให้เกิดประโยชน์สงู สุดแก่บคุ คลทีม่ กี ลุม่
อาการออทิสซึมนั้นต้องมีกฎหมายและกฎระเบียบของ
หน่วยงานระดับต่างๆ รองรับ
๓.๓.๒ เรื่องระเบียบวิธีการงบประมาณระดับและประเภท
ต่างๆ ต้องมีการศึกษา วิจัย ค้นคว้า และสรุปออก
มาจากการลงมื อ ปฏิ บั ติ จ ริ ง ใน “บ้ า นพิ ทั ก ษ์ บุ ค คล
ออทิสติกในชุมชนเมืองมหาวิทยาลัยทีม่ โี รงเรียนแพทย์”
(บ้านพิทักษ์บุคคลออทิสติกสาธิต) ที่เป็นภาคสนาม
จากนัน้ มีการส่งต่อข้อมูลให้หน่วยงานทีเ่ กีย่ วข้องรับเอา
ไปออกกฏหมายและกฎระเบียบที่เป็นจริง เพื่อรองรับ
หน่วยงานที่จะตั้งขึ้นมาใหม่เพื่อท�ำงานกับประชากร
ออทิสติก เช่น “บ้านพิทักษ์บุคคลออทิสติกในชุมชนฯ”
เป็นต้น

118
119
“๔ กลไกหลักตามออทิสติกโรดแมป”

120
121
“๔ กลไกหลักตามออทิสติกโรดแมป”

122
123
“๔ กลไกหลักตามออทิสติกโรดแมป”

124
ภาคผนวก ๑
โครงสร้างหลักสูตรคขู่ นาน
เฉพาะบ ุคคลออทิสติกศักยภาพ
ปานกลาง-ต�่ำ (วัยรนุ่ ผูใ้ หญ่)

125
“๔ กลไกหลักตามออทิสติกโรดแมป”

องค์ประกอบของโครงสร้างหลักสูตร

โครงสร้างหลักสูตรคูข่ นานเฉพาะบุคคลออทิสติกศักยภาพ
ปานกลาง-ต�่ำ (วัยรุ่น วัยผู้ใหญ่) ประกอบด้วย
- หมวดวิชาพัฒนาทักษะภาษา และการสื่อสาร
- หมวดวิชาพัฒนาทักษะชีวิตประจ�ำวัน
- หมวดวิชาพัฒนาบุคลิกภาพ และทักษะทางสังคม
- หมวดวิชาพัฒนาทักษะสันทนาการ และสุนทรียศิลป์
- หมวดวิชาพัฒนาทักษะการงาน และการอาชีพ
- หมวดวิ ช าพั ฒ นาทั ก ษะการด� ำ รงชี วิ ต ที่ บ ้ า น และชุ ม ชน
(บูรณาการทุกทักษะ)

มีทั้งสิ้น ๖ ทักษะคือ
- ทักษะภาษาและการสื่อสาร
- ทักษะชีวิตประจ�ำวัน
- ทักษะทางสังคมและบุคลิกภาพ
- ทักษะสันทนาการและสุนทรียศิลป์
- ทักษะการงานและการอาชีพ
- ทักษะการด�ำรงชีวิตที่บ้านและชุมชน

มี ๕ ทักษะที่ต้องพัฒนาอย่างเป็นทางการเฉพาะด้านในสถาน
ศึกษา (เช่น ศูนย์วิจัยฯ ศูนย์บริการบุคคลออทิสติกฯ) หรือสถาน
ฝึกทักษะ (บ้านพิทักษ์ฯ) เป็นต้น
126
และมีทักษะที่ ๖ คือการบูรณาการทุกทักษะที่ได้รับการ
ฝึกกระตุ้นพัฒนาการที่สถานศึกษา หรือสถานฝึกทักษะ มาใช้ที่
บ้านและชุมชน โดยกิจกรรมของทุกหมวดวิชาจะเป็นกิจกรรม
บูรณาการการบ�ำบัดทางกายภาพด้านการแพทย์

ภาพรวมโครงสร้างหลักสูตร

- ค�ำอธิบายรายหมวดวิชาอย่างสังเขป
- คุณสมบัติบุคลากรประจ�ำแต่ละหมวดวิชา
- การจัดปรับสถานที่เพื่อเป็นฐานฝึกฐานจัดกิจกรรมแต่ละราย
หมวดวิชา
- กรอบหน้าทีแ่ ละภาระงานของบุคลากรประจ�ำฐานฝึกทัง้ ๖ ฐาน
ฝึกของทั้ง ๖ หมวดวิชา
- รุ ป แบบกระบวนการจั ด ท� ำ “หลั ก สู ต รคู ่ ข นานเฉพาะบุ ค คล
ออทิสติก” ตามโครงสร้างหลักสูตรฯ
- รายละเอียด (อย่างสังเขป) ของแต่ละองค์ประกอบ
- คุณสมบัติบุคลากรประจ�ำแต่ละหมวดวิชา
- กรอบหน้าทีแ่ ละภาระงานของบุคลากรประจ�ำฐานฝึกทัง้  ๖ ฐาน
ฝึกของทั้ง ๖ หมวดวิชา
- รุ ป แบบกระบวนการจั ด ท� ำ “หลั ก สู ต รคู ข นานเฉพาะบุ ค คล
ออทิสติก” ตามโครงสร้างหลักสูตรฯ

127
“๔ กลไกหลักตามออทิสติกโรดแมป”

ค�ำอธิบายรายหมวดวิชาอย่างสังเขป

ค�ำอธิบายรายหมวดวิชาอย่างสังเขป เงื่อนไขส�ำคัญของ
กิจกรรมของแต่ละหมวดวิชาคือ จะต้องเป็น “กิจกรรมบูรณาการการ
บ�ำบัดด้านกายภาพทางการแพทย์ กับกิจกรรรมการเรียนการสอน
ทางการศึกษา หรือทางการพัฒนาศักยภาพในบริบทของสถานศึกษา
(โรงเรี ย น)/ สถานฝึ ก ทั ก ษะ (ศู น ย์ ก ารเรี ย นรู ้ / บ้ า นพิ ทั ก ษ์ บุ ค คล
ออทิสติกฯ)”

กิจกรรมบูรณาการการบ�ำบัดด้านกายภาพทางการแพทย์ กับ
กิจกรรรมการเรียนการสอนทางการศึกษา รูปธรรมคืออย่างไรนั้น
เป็นเรื่องที่นักบ�ำบัดกับนักการศึกษาจะต้องมาท�ำงานร่วมกันแล้ว
สังเคราะห์ออกมาให้อย่างเป็นระบบ เพื่อที่จะไม่ให้ออทิสติกศักยภาพ
ปานกลาง-ต�ำ่ เสียเวลาอยูก่ บั คลินกิ บ�ำบัด แล้วพลาดโอกาสจะมีเพือ่ น
ในวัยเดียวกัน

ในส่วนของออทิสติกศักยภาพปานกลาง-ต�่ำ ทางเครือข่ายผู้
ปกครองบุคคลออทิสติกได้คดิ สังเคราะห์ “โครงสร้างหลักสูตรคูข่ นาน
เฉพาะบุคคลในบุคคลออทิสติกศักยภาพปานกลาง-ต�่ำในวัยรุ่น
วัยผู้ใหญ่“ โดยประกอบด้วย ๕ หมวดวิชา ๕ ฐานฝึกที่สถานศึกษา-
สถานฝึกทักษะ กับอีก ๑ ฐานฝึก ๑ หมวดวิชาบูการการทุกทักษะเพื่อ
การด�ำรงชีวิตที่บ้าน-ชุมชน ดังกล่าวข้างต้นนั้น มีค�ำอธิบายรายหมวด
วิชาอย่างสังเขป ดังนี้

128
๑. หมวดวิชาพัฒนาทักษะภาษา และการสื่อสาร
(พู ด -อ่ า น-เขี ย น-คิ ด ) (ภาษานามธรรมและภาษารู ป
ธรรม): กิจกรรมการเรียนการสอนทางด้านการศึกษา/ [ภาษา
เลข วิทยาศาตร์] + กิจกรรมการบ�ำบัดทางกายภาพด้านการแพทย์
[กระตุน้ ประสาทการับรูก้ ารเคลือ่ นไหวกล้ามเนือ้ มัดเล็ก ๓ แห่ง ๑)
ที่บริเวณปากล�ำคอและใบหน้า ๒) บริเวณลุกนัยน์ตา ๓) บริเวณ
ข้อมือ, มือ และนิ้ว]

๒. หมวดวิชาพัฒนาทักษะชีวิตประจ�ำวัน
(กิจวัตรประจ�ำวัน: แปรงฟัน อาบน�้ำ แต่งตัว กินข้าว ล้าง
ก้น ฯลฯ งานบ้าน ): กิจกรรมการเรียนการสอนทางด้านการ
ศึกษา/ [กิจวัตรประจ�ำวัน-งานครัว-งานบ้าน-งานสวน] + กิจกรรม
การบ�ำบัดทางกายภาพด้านการแพทย์ [กระตุน้ ประสาทการับรูก้ าร
เคลื่อนไหวกล้ามเนื้อมัดเล็กและกล้ามเนื้อมัดใหญ่]

๓. หมวดวิชาพัฒนาบุคลิกภาพและทักษะทางสังคม
(กิริยาท่าทาง มารยาททางสังคม การแสดงออกทางสังคม
อย่างเข้าใจในแต่ละบริบท): กิจกรรมการเรียนการสอนทาง
ด้านการศึกษา/ [วิทยาศาสตร์การกีฬา + วิทยาศาสตร์การทหารที่
ประยุกต์ใช้กบั พลเรือนออทิสติก + วิทยาศาสตร์สงั คม] + กิจกรรม
การบ�ำบัดทางกายภาพด้านการแพทย์ [กระตุน้ ประสาทการับรูก้ าร
เคลื่อนไหวกล้ามเนื้อมันใหญ่ การท�ำงานประสานสัมพันธุ์อวัยวะ
ของร่างกายซีกขวากับซีกซ้าย ฯลฯ]

129
“๔ กลไกหลักตามออทิสติกโรดแมป”

๔. หมวดวิชาพัฒนาทักษะสันทนาการ และสุนทรียศิลป์
(การใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์/ การผ่อนคลายตนเอง) :
กิจกรรมการเรียนการสอนทางด้านการศึกษา/ [ดูทวี ี เล่นเปียโน อ่าน
หนังสือ (นิทาน สารคดี ฯลฯ)] + กิจกรรมการบ�ำบัดทางกายภาพ
ด้านการแพทย์ [กระตุ้นประสาทการับรู้ด้านการฟัง การมอง การ
เคลื่อนไหวอวัยวะของร่างกายทั้งที่ใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กและที่ใช้
กล้ามเนื้อมัดใหญ่ทั้งตัว การประมวลเรื่องราวในสมอง ฯลฯ]

๕. หมวดวิชาพัฒนาทักษะการงานและอาชีพ
ฝึกฝนการท�ำงาน ฝึกฝนการท�ำอาชีพ โดยมีทงั้ ภาคทฤษฏี
และภาคปฏิบตั ิ (ค�ำว่าภาคทฤษฎี คือ การต้องมีตำ� ราเรียนเฉพาะ
บุคคลออทิสติกประกอบด้วย) :กิจกรรมการเรียนการสอนทางด้าน
การศึกษา/ [การปลูกพืชพันธุ์ไม้-งานสวน การเลี้ยงจิ้งหรีด ฯลฯ]
+ กิจกรรมการบ�ำบัดทางกายภาพด้านการแพทย์ [บูรณาการทุก
การกระตุน้ ประสาทการรับรูท้ กุ ระบบ: การรับรูก้ ารเคลือ่ นไหวกล้าม
เนื้อมัดเล็กและกล้ามเนื้อมัดใหญ่ การรับรู้การสัมผัสและแรงกด
ทับ-แรงดึงข้อต่อต่างๆ การรับรูก้ ารมองเห็น การรับรูก้ ารได้ยนิ การ
รับรู้รส การรับรู้เรื่องกลิ่น ฯลฯ]

๖.หมวดวิชาพัฒนาทักษะการด�ำรงชีวิตที่บ้านและชุมชน
บูรณาการทุกทักษะจากทุกหมวดวิชาถ่ายโอนไปให้ทำ� ได้ทบี่ า้ น
และชุมชนด้วย

130
คุณสมบัติบุคลากรประจ�ำแต่ละหมวดวิชา

๕ หมวดวิชา ๕ ฐานฝึกที่สถานศึกษา-สถานฝึกทักษะ กับอีก ๑


ฐานฝึก ๑ หมวดวิชาบูรณาการทุกทักษะเพือ่ การด�ำรงชีวติ ทีบ่ า้ น-ชุมชน
ในบุคคลออทิสติกวัยรุ่นวัยผู้ใหญ่ศักยภาพปานกลาง-ต�่ำ

๑. หมวดวิชาพัฒนาทักษะภาษาและการสื่อสาร
(พูด-อ่าน-เขียน) (ภาษานามธรรมและภาษา รูปธรรม): กิจกรรม
การเรียนการสอนทางด้านการศึกษา/ [ภาษา เลข วิทยาศาตร์]
+กิจกรรมการบ�ำบัดทางกายภาพด้านการแพทย์[กระตุ้นประสาท
การับรู้การเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อมัดเล็ก ๓ แห่ง ๑) ที่บริเวณปาก
ล�ำคอและใบหน้า ๒) บริเวณลุกนัยน์ตา ๓) บริเบณข้อมือ, มือ
และนิ้ว] คุณสมบัติบุคลากรประจ�ำหมวดวิชา: ผู้จบปริญญา
ตรี-โท สาขา ดังต่อไปนี้: เลข ภาษาไทย วิทยาศาสตร์ ภาษา
อังกฤษ สังคม

๒. หมวดวิชาพัฒนาทักษะชีวิตประจ�ำวัน
(กิจวัตรประจ�ำวัน-แปรงฟัน อาบน�ำ้ แต่งตัว กินข้าว ล้างก้น ฯลฯ
งานบ้าน): กิจกรรมการเรียนการสอนทางด้านการศึกษา/ [กิจวัตร
ประจ�ำวัน-งานครัว-งานบ้าน-งานสวน] + กิจกรรมการบ�ำบัดทาง
กายภาพด้านการแพทย์ [กระตุ้นประสาทการับรู้การเคลื่อนไหว
กล้ามเนื้อมัดเล็กและกล้ามเนื้อมัดใหญ่] คุณสมบัติบุคลากร
ประจ�ำหมวดวิชา: ผู้จบปริญญาตรี-โท สาขา ดังต่อไปนี้:-
โภชนาการ สุขศึกษา วิทยาศาตร์ สังคม
131
“๔ กลไกหลักตามออทิสติกโรดแมป”

๓. หมวดวิชาพัฒนาบุคลิกภาพและทักษะทางสังคม
(กิรยิ าท่าทาง มารยาททางสังคม การแสดงออกทางสังคมอย่าง
เข้าใจในแต่ละบริบท): กิจกรรมการเรียนการสอนทางด้านการ
ศึกษา/ [วิทยาศาสตร์การกีฬา+วิทยาศาตร์การทหารทีป่ ระยุกต์ใช้
กับพลเรือนออทิสติก+วิทยาศาตร์สงั คม] +กิจกรรมการบ�ำบัดทาง
กายภาพด้านการแพทย์ [กระตุ้นประสาทการับรู้การเคลื่อนไหว
กล้ามเนื้อมันใหญ่] คุณสมบัติบุคลากรประจ�ำหมวดวิชา: ผู้จบ
ปริญญาตรี-โท สาขา ดังต่อไปนี้:- พลศึกษา กายภาพบ�ำบัด
วิทยาศาสตร์การกีฬา ผู้ที่ผ่านการฝึกแบบนักศึกษาวิชาทหาร
มาแล้ว (รด.)

๔. หมวดวิชาพัฒนาทักษะสันทนาการและสุนทรียศิลป์
(การใช้ เ วลาว่ า งให้ เ ป็ น ประโยชน์ / การผ่ อ นคลายตนเอง):
กิจกรรมการเรียนการสอนทางด้านการศึกษา/ [ดูทวี ี เล่นเปียโน อ่าน
หนังสือ (นิทาน สารคดี ฯลฯ)] + กิจกรรมการบ�ำบัดทางกายภาพ
ด้านการแพทย์[กระตุ้นประสาทการรับรู้ด้านการฟัง การมอง การ
เคลื่อนไหวอวัยวะของร่างกายทั้งที่ใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กและที่ใช้
กล้ามเนือ้ มัดใหญ่ทงั้ ตัว การประมวลเรือ่ งราวในสมอง] คุณสมบัติ
บุคลากรประจ�ำหมวดวิชา: ผูจ้ บปริญญาตรี-โท สาขาดังต่อไป
นี้ :- ศิลป์ วาดเขียน ดนตรี ภาษาไทย สังคม

132
๕. หมวดวิชาพัฒนาทักษะการงานและอาชีพ
(ฝึกฝนการท�ำงาน ฝึกฝนการท�ำอาชีพ โดยมีทงั้ ภาคทฤษฏีและ
ภาคปฏิบัติ (ค�ำว่าภาคทฤษฎี คือต้องมีต�ำราเรียนเฉพาะบุคคล
ออทิสติกประกอบด้วย) :กิจกรรมการเรียนการสอนทางด้านการ
ศึกษา/ [การปลูกพืชพันธุ์ไม้-งานสวน การเลี้ยงจิ้งหรีด ฯลฯ] +
กิจกรรมการบ�ำบัดทางกายภาพด้านการแพทย์ [บูรณาการทุก
การกระตุ้นประสาทการรับรู้ทุกระบบ: การรับรู้การเคลื่อนไหว
กล้ามเนือ้ มัดเล็กและกล้ามเนือ้ มัดใหญ่ การรับรูก้ ารสัมผัสและแรง
กดทับ-แรงดึงข้อต่อต่างๆ การรับรู้การมองเห็น การรับรู้การได้ยิน
การรับรู้รส การรับรู้เรื่องกลิ่น] คุณสมบัติบุคลากรประจ�ำหมวด
วิชา: ผู้จบปริญญาตรี-โท สาขา ดังต่อไปนี้:- เกษตร คหกรรม
วิทยาศาสตร์การอาหาร

๖. หมวดวิชาพัฒนาทักษะการด�ำรงชีวิตที่บ้านและชุมชน
(บูรณาการทุกทักษะจากทุกหมวดวิชาถ่ายโอนไปให้ท�ำได้ที่
บ้านและชุมชนด้วย) โดยหมวดวิชานี้ ฐานฝึก คือ ทีบ่ า้ นและชุมชน
ส่วนพืน้ ทีท่ สี่ ถานศึกษาหรือสถานฝึกทักษะจะเป็นพืน้ ทีท่ เี่ ป็นทีพ่ กั
ของบุคคลออทิสติกก่อนและหลังชั่วโมงฝึกทักษะตามฐานฝึก
ต่างๆ รวมทั้งที่พักรอเข้าฐานฝึกทักษะหลังผู้ปกครองมาส่งหรือที่
บุคคลออทิสติกจะพักรอผู้ปกครองมารับกลับบ้าน โดยมี “ทีมงาน
ประสานกิจกรรมบูรณาการบ้านและชุมชน” ดูแลอย่างเข้มและ
ประสานผูป้ กครอง ทีมงานนีจ้ ะประกอบด้วยนักบ�ำบัดทีจ่ ะเป็นทีม
ที่ปรึกษาด้านกิจกรรมการบ�ำบัดแก่ทีมบุคลการประจ�ำฐานฝึกทั้ง
ห้าฐาน และเป็นทีมมีหน้าที่คิดและออกแบบกิจกรรมการบ�ำบัด
133
“๔ กลไกหลักตามออทิสติกโรดแมป”

บูรณาการกิจกรรมการเรียนการฝึกทักษะร่วมกับทีมบุคลากรทุก
ฐานฝึกแก่บุคคลออทิสติกเป็นรายบุคคลด้วย

คุณสมบัติบุคลากรประจ�ำหมวดวิชา: ผู้จบปริญญาตรี-โท
สาขา ดังต่อไปนี้: พวกนักบ�ำบัดทั้งหลายที่สามารถประเมิน
พัฒนาการระบบประสาทการรับรูร้ ะบบต่างๆ (การเคลือ่ นไหว
กล้ามเนื้อมัดเล็กมัดใหญ่รวมทั้งการรับรู้น�้ำหนักแรงกดทับ
แรงดึงแรงดัน การทรงตัว การมองเห็น การพูด การได้ยนิ การ
ได้กลิน่ ) ได้ อาทิเช่น กิจกรรมบ�ำบัด กายภาพบ�ำบัด พฤติกรรม
บ�ำบัด เป็นต้น

การจัดปรับสถานที่เพื่อเป็นฐานฝึกฐาน
จัดกิจกรรมแต่ละรายหมวดวิชา

[๕ หมวดวิชา ๕ ฐานฝึกที่สถานศึกษา-สถานฝึกทักษะ กับอีก ๑ ฐาน


ฝึก ๑ หมวดวิชาบูการการทุกทักษะเพื่อการด�ำรงชีวิตที่บ้าน-ชุมชน ใน
บุคคลออทิสติกวัยรุ่นวัยผู้ใหญ่ศักยภาพปานกลาง-ต�่ำ]

๑. หมวดวิชาพัฒนาทักษะภาษาและการสื่อสาร
(พูด-อ่าน-เขียน) (ภาษานามธรรมและภาษา รูปธรรม): กิจกรรม
การเรียนการสอนทางด้านการศึกษา/ [ภาษา เลข วิทยาศาตร์]
+กิจกรรมการบ�ำบัดทางกายภาพด้านการแพทย์ [กระตุน้ ประสาท
การับรูก้ ารเคลือ่ นไหวกล้ามเนือ้ มัดเล็ก ๓ แห่ง ๑) ทีบ่ ริเวณปากล�ำ
134
คอและใบหน้า ๒) บริเวณลุกนัยน์ตา ๓) บริเวณข้อมือ, มือ และ
นิ้ว] การจัดปรับสถานที่เพื่อเป็นฐานฝึก ฐานจัดกิจกรรม ให้
จัดแบบ ห้องท�ำกิจกรรมเป็นรายบุคคล กับห้องท�ำกิจกรรม
เป็นกลุม่ ทีเ่ หมาะสมกับขนาดร่างกายของบุคคลออทิสติกซึง่
เป็นร่างกายของผูใ้ หญ่แล้ว พร้อมอุปกรณ์การท�ำกิจกรรมหรือ
กิจกรรมการฝึกหรือกิจกรรมการพัฒนาทักษะตามทีอ่ อกแบบ
ส�ำหรับบุคคลออทิสติกแต่ละรายบุคคล (คือต้องมีสองพื้นที่-
พื้นที่การเรียนหรือการฝึกทักษะเป็นรายบุคคลกับพื้นที่การเรียน
หรือการฝึกทักษะเป็นกลุม่ ) ทีส่ อดคล้องกับ “ธรรมชาติ” ของบุคคล
ออทิสติก ทีต่ อ้ งตระหนักรูถ้ งึ ประสาทการรับรูท้ ผี่ ดิ ปกติระบบต่างๆ
ของบุคคลออทิสติกและเรือ่ งของอารมณ์ทแี่ ปรปรวนได้ตามสิง่ ทีม่ า
เร้าจากภายนอกโดยเฉพาะอารมณ์เรื่องการใช้ความรุนแรงของ
บุคคลออทิสติกเองด้วย

๒. หมวดวิชาพัฒนาทักษะชีวิตประจ�ำวัน
(กิจวัตรประจ�ำวัน-แปรงฟัน อาบน�ำ้ แต่งตัว กินข้าว ล้างก้น ฯลฯ
งานบ้าน): กิจกรรมการเรียนการสอนทางด้านการศึกษา/ [กิจวัตร
ประจ�ำวัน-งานครัว-งานบ้าน-งานสวน] + กิจกรรมการบ�ำบัดทาง
กายภาพด้านการแพทย์[กระตุ้นประสาทการับรู้การเคลื่อนไหว
กล้ามเนื้อมัดเล็กและกล้ามเนื้อมัดใหญ่] การจัดปรับสถานที่
เพื่อเป็นฐานฝึกฐานจัดกิจกรรมให้จัด “จ�ำลอง” พื้นที่ล้อตาม
กิจกรรมกิจวัตรประจ�ำวันที่จะต้องประกอบด้วย ห้องนอน
ห้องน�้ำ ห้องครัว ห้องเอนกประสงค์/ ห้องสันทนาการ ห้อง
หรือมุมออกก�ำลังกาย บริเวณบ้าน

135
“๔ กลไกหลักตามออทิสติกโรดแมป”

๓. หมวดวิชาพัฒนาบุคลิกภาพและทักษะทางสังคม
(กิริยาท่าทาง มารยาททางสังคม การแสดงออกทางสังคม
อย่างเข้าใจในแต่ละบริบท): กิจกรรมการเรียนการสอนทางด้าน
การศึ ก ษา/ [วิ ท ยาศาสตร์ ก ารกี ฬ า+วิ ท ยาศาตร์ ก าร ทหารที่
ประยุกต์ใช้กับพลเรือนออทิสติก+วิทยาศาสตร์สังคม] + กิจกรรม
การบ�ำบัดทางกายภาพด้านการแพทย์[กระตุน้ ประสาทการรับรูก้ าร
เคลือ่ นไหว กล้ามเนือ้ มันใหญ่] การจัดปรับสถานทีเ่ พือ่ เป็นฐาน
ฝึก-ฐานจัดกิจกรรม ให้จดั พืน้ ทีเ่ ป็น ๒ ส่วน ในร่มกับ กลางแจ้ง
ส�ำหรับกิจกรรมการออกก�ำลังกายกลางแจ้ง (สนามเครือ่ งเล่น
ทีเ่ หมาะกับวัยผูใ้ หญ่) และในร่ม (ห้องฟิตเนส) (ห้องออกก�ำลัง
กายประกอบเครื่องมือช่วยออกก�ำลังกาย เช่น ลู่วิ่ง ฯลฯ โดยมี
มุมกายบริหาร-การออกก�ำลังกายโดยไม่ใช้อปุ กรณ์เครือ่ งช่วย และ
มุมการเรียนรู้ต�ำราเรียนก่อนลงภาคปฏิบัติ เช่น การดูภาพท่าทาง
การออกก�ำลังกายในต�ำราเรียนเฉพาะบุคคล เป็นต้น)

๔. หมวดวิชาพัฒนาทักษะสันทนาการและสุนทรียศิลป์
(การใช้ เ วลาว่ า งให้ เ ป็ น ประโยชน์ / การผ่ อ นคลายตนเอง):
กิ จ กรรมการเรี ย นการสอนทางด้ า นการศึ ก ษา/ [ดู ที วี เล่ น
เปียโน อ่านหนังสือ (นิทาน สารคดี ฯลฯ)] + กิจกรรมการบ�ำบัด
ทางกายภาพด้านการแพทย์ [กระตุ้นประสาทการรับรู้ด้านการ
ฟัง การมอง การเคลื่อนไหวอวัยวะของร่างกายทั้งที่ใช้กล้ามเนื้อ
มัดเล็กและที่ใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ทั้งตัว การประมวลเรื่องราวใน
สมอง การจัดปรับสถานที่เพื่อเป็นฐานฝึกฐานจัดกิจกรรมให้
จัดพื้นที่เป็น ๒ ส่วน ส่วนหนึ่งเป็น ห้องเอนกประสงค์ ที่จะดู
136
ทีวี วีดโี อ ฯลฯ อีกส่วนหนึง่ จัดพืน้ ทีแ่ ยกตามประเภทกิจกรรม
สันทนาการที่คัดสรรค์แล้วส�ำหรับบริบทของสถานฝึกทักษะ
นั้น เช่น ห้อง/มุม เปียโน ห้องสมุด ฯลฯ

๕. หมวดวิชาพัฒนาทักษะการงานและอาชีพ
(ฝึกฝนการท�ำงาน ฝึกฝนการท�ำอาชีพ โดยมีทงั้ ภาคทฤษฏีและ
ภาคปฏิบัติ (ค�ำว่าภาคทฤษฎี คือต้องมีต�ำราเรียนเฉพาะบุคคล
ออทิสติกเป็นรายบุุคคลประกอบด้วย): กิจกรรมการเรียนการสอน
ทางด้านการศึกษา/[การปลูกพืชพันธุไ์ ม้-งานสวน การเลีย้ งจิง้ หรีด
ฯลฯ] +กิจกรรมการบ�ำบัดทางกายภาพด้านการแพทย์[บูรณาการ
ทุกการกระตุ้นประสาทการรับรู้ทุกระบบ: การรับรู้การเคลื่อนไหว
กล้ามเนื้อมัดเล็กและกล้ามเนื้อมัดใหญ่ การรับรู้การสัมผัสและ
แรงกดทับ-แรงดึงข้อต่อต่างๆ การรับรู้การมองเห็น การรับรู้การ
ได้ยนิ การรับรูร้ ส การรับรูเ้ รือ่ งกลิน่ ] การจัดปรับสถานทีเ่ พือ่ เป็น
ฐานฝึกฐานจัดกิจกรรมให้จัดพื้นที่ให้เหมาะสมกับกิจกรรม
การงานและการฝึกอาชีพ โดยสอดคล้องกับ “ธรรมชาติ
ของออทิสติก” ตามทีอ่ อกแบบไว้ใน “หลักสูตรคูข่ นานเฉพาะ
บุคคลออทิสติก” ของสถานศึกษาหรือสถานฝึกทักษะ (สถาน
ฝึกทักษะ เช่น ศูนย์บริการบุคคลออทิสติกจังหวัดขอนแก่น
ฝ่ายวิจัยการอาชีวศึกษาบ�ำบัด ศูนย์วิจัยด้านการจัดศึกษา
ส�ำหรับบุคคลออทิสติก สถาบันวิจัยออทิสซึมในชุมชนเมือง
มหาวิทยาลัยขอนแก่น (สมมติ) เป็นต้น) เช่น อาชีพ/วิชาชีพ
เกษตรกรรมเพาะปลุกพืชพันธุ์ไม้ต้านภัยโลกร้อนตามหลักพลวัต
สมดุลระบบนิเวศ การจัดพืน้ ทีใ่ ห้แบ่งออกเป็น ๒ ส่วน คือ ๑) ส่วนที่

137
“๔ กลไกหลักตามออทิสติกโรดแมป”

จัดเป็นแบบห้องเรียนส�ำหรับการเรียนรูจ้ ากต�ำราเรียนเฉพาะบุคคล
ออทิสติกตามหลักสูตรคู่ขนานเฉพาะบุคคลออทิสติก ๒) ส่วนที่
เป็นภาคสนามหรือเวิรค์ ช้อป อาจประกอบด้วย โรงเรือน โรงเพาะช�ำ
ร้านขายผลิตภัณฑ์ เป็นต้น

๖.หมวดวิชาพัฒนาทักษะการด�ำรงชีวิตที่บ้านและชุมชน
(บูรณาการทุกทักษะจากทุกชุดวิชาถ่ายโอนไปให้ท�ำได้ที่บ้าน
และชุมชนด้วย) การจัดปรับสถานที่เพื่อเป็นฐานฝึกฐานจัด
กิจกรรมของหมวดวิชานี้ไม่มีการจัดพื้นที่ที่สถานศึกษาหรือ
สถานฝึกทักษะเป็นสถานที่ฝึกทักษะของชุดวิชา แต่จะไป
เป็นพื้นที่ธรรมชาติที่บ้านหรือชุมชนของบุคคลออทิสติกที่
มีอยู่แล้ว เช่น ห้องนอน ห้องน�้ำ ห้องอเนกประสงค์ บริเวณบ้าน
มุมออกก�ำลังกาย มุมสันทนาการ ฯลฯ โดยที่บ้านอาจมีการปรับ
พื้นที่ให้สอดคล้องกับการด�ำรงชีวิตของบุคคลออทิสติกบ้างเล็ก
น้อย เช่น เวิร์คชอปส�ำหรับการฝึกอาชีพ เป็นต้น เพราะเป็นการน�ำ
เอาทุกทักษะที่ฝึกได้ที่สถานศึกษาหรือสถานฝึกทักษะของทุกชุด
วิชามาบูรณาการใช้ที่บ้าน ส่วนพื้นที่ที่สถานศึกษาหรือสถาน
ฝึกทักษะให้จัดเป็นพื้นที่ส�ำนักงานอเนกประสงค์ ที่มีห้องพัก
“ทีมบุคลากรประสานกิจกรรมบูรณาการบ้านและชุมชน” และ
ห้องหรือพื้นที่ที่บุคคลออทิสติกมารอผู้ปกครองรับกลับบ้าน

138
กรอบหน้าที่และภาระงานของบุคลากรประจ�ำฐานฝึกทั้ง ๖
ฐานฝึก*ของทั้ง ๖ หมวดวิชา

[๕ ชุดวิชา ๕ ฐานฝึกที่สถานศึกษา-สถานฝึกทักษะ กับ ๑ ชุดวิชา


บูรณาการทุกทักษะเพือ่ การด�ำรงชีวติ ทีบ่ า้ น-ชุมชน ในบุคคลออทิสติก
วัยรุ่นวัยผู้ใหญ่ศักยภาพปานกลาง-ต�่ำ]

บุคลากรประจ�ำฐานฝึกทั้ง ๖ ฐานฝึก ของทั้ง ๖ หมวดวิชา


แต่ละคนมีภาระงาน ดังนี้

๑. จัดท�ำ “หลักสูตรคูข่ นานเฉพาะบุคคลออทิสติก” ตามโครงสร้าง


หลักสูตรคู่ขนานเฉพาะบุคคลในบุคคลออทิสติกศักยภาพปาน
กลาง-ต�่ำ ให้แก่บุคคลออทิสติกแต่ละรายตามหมวดวิชาที่ตนเอง
รับผิดชอบ

๒. จัดท�ำต�ำราเรียนเฉพาะบุคคล ประกอบ “หลักสูตรคู่ขนาน


เฉพาะบุคคลออทิสติก” โดยแตกเป็นชุดวิชาย่อยๆ ตามฐาน
ศักยภาพของบุคคลออทิสติกแต่ละราย ตามหมวดวิชาที่ตนเอง
รับผิดชอบ

139
“๔ กลไกหลักตามออทิสติกโรดแมป”

๓. ท�ำแผนและจัดกิจกรรมตาม “หลักสูตรคู่ขนานเฉพาะบุคคล
ออทิสติก” ให้แก่บคุ คลออทิสติกแต่ละรายตามหมวดวิชาทีต่ นเอง
รับผิดชอบอย่างเข้มข้น

๔. บริหารจัดการ “หลักสูตรคู่ขนานเฉพาะบุคคลออทิสติก” ทั้ง


การวัดผลประเมินผล และการปรับปรุงหลักสูตร ให้แก่บุคคลออทิ
สติกแต่ละรายตามหมวดวิชาที่ตนเองรับผิดชอบอย่างเข้มข้น

๕. เฉพาะบุคลากรนักบ�ำบัด ที่ประจ�ำฐานที่ ๖ ฐานของหมวด


วิชาบูรณาการนั้นให้มีหน้าที่ “ออกแบบ” กิจกรรมบูรณาการ
บ�ำบัดทางการแทพย์ด้านกายภาพ” ให้แก่บุคคลออทิสติกทุก
หลักสูตรและทุกชุดวิชาของทุกคน

รูปแบบกระบวนการจัดท�ำ “หลักสูตรคูขนานเฉพาะบุคคล
ออทิสติก” ตามโครงสร้างหลักสูตรฯ

[โครงสร้างหลักสูตรคู่ขนานเฉพาะบุคคลในบุคคลออทิสติกศักยภาพ
ปานกลาง-ต�่ำ => “หลักสูตรคู่ขนานเฉพาะบุคคล” [ (๕ หมวดวิชา
๕ ฐานฝึก อย่างเข้มข้นและอย่างเป็นทางการที่สถานฝึกทักษะ + ๑
หมวดวิชา ๑ ฐานฝึกกึ่งที่สถานฝึกทักษะและกึ่งที่บ้าน-ชุมชน) =>
ชุดวิชา =>หน่วยการเรียนรู้)] => IEP =>IIP]

140
จากโครงสร้ า งหลั ก สู ต รคู ่ ข นานเฉพาะบุ ค คลในบุ ค คล
ออทิสติกศักยภาพปานกลาง-ต�่ำ ก็จัดท�ำ “หลักสูตรคู่ขนานเฉพาะ
บุคคล” (๕ หมวดวิชา ๕ ฐานฝึก อย่างเข้มข้นและอย่างเป็นทางการ
ที่สถานฝึกทักษะ + ๑ หมวดวิชา ๑ ฐานฝึกกึ่งที่สถานฝึกทักษะและกึ่ง
ที่บ้าน-ชุมชน) ที่จะประกอบด้วยชุดวิชาของหมดวิชาทั้งห้าหมวดวิชา
แล้วแต่ละชุดวิชาก็สังเคราะห์หน่วยการเรียนรู้ที่มีเนื้อหาตามความ
ต้องการจ�ำเป็นที่จะต้องได้รับการพัฒนาทักษะแต่ละด้านของบุคคล
ออทิสติกแต่ละรายเป็นรายบุคคลไป จากนั้นก็จัดท�ำแผนการศึกษา
เฉพาะบุคคล (IEP) ภายใต้ “หลักสูตรคู่ขนานเฉพาะบุคคล” แล้วเอา
แผนการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP) ไปจัดท�ำแผนปฏิบัติการพัฒนา
ศักยภาพเฉพาะบุคคลออทิสติก (IIP) ส�ำหรับการท�ำกิจกรรมจริงตาม
ฐานฝึกทักษะของแต่ละหวดวิชาต่อไป

แต่ทั้งนี้ถ้าเป็นในบริบทของสถานฝึกทักษะหรือสถานพัฒนา
ศักยภาพบุคคลออทิสติก เช่น ศูนย์การเรียนรู้ในชุมชน บ้านพิทักษ์
บุคคลออทิสติกในชุมชน ฯลฯ ก็จะเป็นการจัดท�ำแผนพัฒนาศักยภาพ
เฉพาะบุคคล (IDP) และ แผนปฏิบตั กิ ารพัฒนาศักยภาพเฉพาะบุคคล
(IIDP) (ดูแผนภาพที่ ๗ ของ ภาคผนวก ๑)

141
“๔ กลไกหลักตามออทิสติกโรดแมป”

142
143
“๔ กลไกหลักตามออทิสติกโรดแมป”

144
145
“๔ กลไกหลักตามออทิสติกโรดแมป”

146
147
“๔ กลไกหลักตามออทิสติกโรดแมป”

148
149
“๔ กลไกหลักตามออทิสติกโรดแมป”

150
ภาคผนวก ๒
โครงสร้างหลักสูตรนักพัฒนา
ศักยภาพบ ุคคลออทิสติก

151
“๔ กลไกหลักตามออทิสติกโรดแมป”

หมวดความรู้ด้านออทิสติกมีเนื่อหาเกี่ยวกับเรื่อง ดังต่อไปนี้:

๑) ธรรมชาติของบุคคลออทิสติก

๒) หลักการพื้นฐานในการสอนบุคคลออทิสติกคือ สอนตัวต่อตัว สอน


อย่างเข้มข้น สอนภาษา สอนภาษานามธรรม และสอนเป็นทีม

๓) กระบวนการบูรณาการกิจกรรมการบ�ำบัดทางกายภาพด้านการ
แพทย์เข้ากับกิจกรรมในการใช้ชีวิตประจ�ำวัน และการด�ำรงชีวิต
ทั่วไปอย่างรอบด้าน

๔) เทคนิ ค การสอนในบุ ค คลออทิ ส ติ ก เช่ น เทคนิ ค การสอนเชิ ง


พฤติกรรมหรือทฤษฎี พฤติกรรมบ�ำบัด (ABA) ทฤษฎีฟลอร์ไทม์
(Floortime) ทฤษฎี Sensory Integration เทคนิคการสอนด้วย
ภาพ เป็นต้น

๕) หลักสูตรคู่ขนานเฉพาะบุคคลออทิสติก (Autistic Individual Par-


allel Curriculum) แผนพัฒนาศักยภาพเฉพาะบุคคล (Individual
Developmental Potential Plan: IDP) แผนปฏิบัติการพัฒนา
ศักยภาพเฉพาะบุคคลออทิสติก (Individual Implementation
Developmental Potential Plan: IIDP)

๖) ความรู้ด้านกฎหมายและสิทธิประโยชน์ของบุคคลออทิสติกและ
ครอบครัว

152
๗) จรรยาบรรณบุคลากรที่ท�ำงานกับบุคคลออทิสติก จรรยาบรรณเจ้า
หน้าที่บ้านพิทักษ์บุคคลออทิสติกในชุมชน

๘) การฝึกอาชีพในบุคคลออทิสติกในบริบทของบ้านพิทักษ์บุคคล
ออทิสติกในชุมชน

หมวดความรู้ด้านวิทยาศาสตร์การกีฬา

มีเนื้อหาเกี่ยวกับการออกก�ำลังกายอย่างถูกวิธีสอดคล้องกับ
การท�ำงานของระบบกล้ามเนื้อ กระดูก เอ็น ข้อ ของร่างกาย เพื่อ
น�ำมาใช้ในการออกก�ำลังเพื่อสุขภาพของตนเอง และน�ำพาบุคคล
ออทิสติกออกก�ำลังกายในชีวติ ประจ�ำวันได้อย่างถูกวิธี และสอดคล้อง
กับกระบวนการท�ำงานกระบวนการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อมัดเล็กมัด
ใหญ่ของร่างกายของบุคคลออทิสติก เพื่อเพิ่มพูนความแข็งแกร่งของ
ร่างกายและจิตใจในการท�ำกิจกรรมพัฒนาศักยภาพบุคคลออทิสติก
ที่ท�ำให้การเคลื่อนไหวของบุคคลออทิสติกเป็นไปอย่างได้ดุลยภาพ

153
“๔ กลไกหลักตามออทิสติกโรดแมป”

หมวดความรู้ด้านจิตวิทยาการใช้ทรัพยากรชุมชนเพื่อ
ประโยชน์สูงสุดของบุคคลที่มีกลุ่มอาการออทิสซึม

มีเนือ้ หาเกีย่ วกับทรัพยากรในชุมชนในทุกมิติ ทีจ่ ะน�ำมาประยุกต์


ใช้ในการพัฒนาศักยภาพบุคคลออทิสติก เช่น การประสานให้การ
ศึ ก ษานอกโรงเรี ย นมาจั ด การศึ ก ษาให้ บุ ค คลออทิ ส ติ ก ที่ ส ามารถ
ใช้หลักสูตรการศึกษานอกโรงเรียนได้ ประสานฝ่ายกิจการพลเรือน
ของกองทั พ บกในพื้ น ที่ ม าช่ ว ยจั ด กิ จ กรรมพั ฒ นาศั ก ยภาพบุ ค คล
ออทิสติกทางด้านร่างกายด้วยการประยุกต์ใช้กิจกรรมนักศึกษาวิชา
ทหาร ประสานหน่วยงานด้านสาธารณสุขในพื้นที่มาดูแลและเป็นที่
ปรึกษาทางด้านสุขภาพของบ้านพิทักษ์ฯ เป็นต้น

ทั้งนี้หมายถึง บุคลากรจะมีความรู้เดิมอย่างไรก็ตาม เมื่อ


ผ่านหลักสูตรนักพัฒนาศักยภาพบุคคลออทิสติก ก็จะกลายเป็น
นักพัฒนาศักยภาพบุคคลออทิสติกด้านความรู้เดิมนั้นๆ ของ
บุคลากร เช่น บุคลากรที่มาจากสายวิชาชีพครู เป็นครูสอน
คณิตศาสตร์มาก่อน เมื่อมาผ่านหลักสูตรนักพัฒนาศักยภาพ
บุ ค คลออทิ ส ติ ก ก็ จ ะกลายเป็ น “นั ก พั ฒ นาศั ก ยภาพบุ ค คล
ออทิสติกด้านคณิศาสตร์” เป็นต้น

154
155
“๔ กลไกหลักตามออทิสติกโรดแมป”

156
ภาคผนวก ๓
หลักสูตรคขู่ นาน
เฉพาะบ ุคคลออทิสติก

157
“๔ กลไกหลักตามออทิสติกโรดแมป”

หลักสูตรคู่ขนานเฉพาะบุคคลออทิสติก

หลั ก สู ต รคู ่ ข นานเฉพาะบุ ค คลออทิ ส ติ ก เป็ น การประมวล


เนื้อหาและกิจกรรมฝึกทักษะที่ต้องใช้ในการพัฒนาศักยภาพบุคคล
ออทิสติกอย่างครบถ้วนเป็นระบบไปตามล�ำดับขั้นของพัฒนาการ
โดยมีบุคคลปกติช่วงอายุเดียวกันเป็น “ตัวแบบ” ให้บุคคลออทิสติก
ได้พัฒนาคู่ขนานตามกันไป โดยกิจกรรมของหลักสูตรคู่ขนานเฉพาะ
บุค คลออทิ ส ติ กจะเป็นกิจ กรรมบูรณาการกิจ กรรมการบ� ำ บั ดทาง
กายภาพด้านการแพทย์เข้ามาเป็นเนื้องานเดียวกับกิจกรรมการเรียน
การสอนด้านการศึกษาหรือกิจกรรมการพัฒนาศักยภาพด้านสังคม ซึง่
หลักสูตรคู่ขนานเฉพาะบุคคลออทิสติกจะมีอยู่ ๒ ระดับ ดังนี้

๑.หลักสูตรคู่ขนานเฉพาะบุคคลออทิสติกในระดับช่วงอายุ ๓ ปี
ถึง ๑๙/๒๐ ปี
ในช่วงอายุนี้ เด็ก/ บุคคลออทิสติกทุกคนจะใช้ชวี ติ อยูใ่ นโรงเรียน
กับเด็ก/ บุคคลปกติ หาก ”ห้องเรียน ๒ รูปแบบ คือ ห้องเรียนคูข่ นาน
ออทิสติก และห้องเรียนสอนเสริมการศึกษาพิเศษในโรงเรียนทัว่ ไป
ในชุมชน” ซึ่งเป็น ๑ ใน “๔กลไกหลักตามออทิสติกโรดแมป” ได้
ถูกสถาปนาขึ้นอย่างถาวรในโครงสร้างของระบบการศึกษาไทย
ดังนั้นหลักสูตรคู่ขนานเฉพาะบุคคลออทิสติกในระดับช่วงอายุ ๓
ปี - ๑๙/๒๐ ปี ก็คือหลักสูตรคู่ขนานเฉพาะบุคคลออทิสติกในดับ
อายุช่วงชั้นอนุบาล ช่วงชั้นประถมศึกษา และช่วงชั้นมัธยมศึกษา
ส�ำหรับออทิสติกทุกระดับศักยภาพ กลุ่มเป้าหมายของ “ห้องเรียน
๒ รูปแบบ คือห้องเรียนคู่ขนานออทิสติก และห้องเรียนสอนเสริม

158
การศึกษาพิเศษในโรงเรียนทั่วไปในชุมชน”

๒.หลักสูตรคูข่ นานเฉพาะบุคคลออทิสติกศักยภาพปานกลาง-ต�ำ่
ในระดับช่วงอายุวัยรุ่น วัยผู้ใหญ่
ในระดับอายุช่วงวัยรุ่น วัยผู้ใหญ่นี้ บุคคลออทิสติกศักยภาพ
ปานกลาง-ต�่ำจะใช้ชีวิตอยู่ที่บ้านในชุมชนอันเป็นภูมิล�ำเนาของ
ตนเองและครอบครัว ทั้งที่บ้านของตัวเองกับครอบครัวและที่
บ้านของส่วนรวมส�ำหรับบุคคลออทิสติก ซึ่งก็คือ “บ้านพิทักษ์
บุคคลออทิสติกในชุมชน” ซึ่งจะมีหลักสูตรคู่ขนานเฉพาะบุคคล
ออทิสติกศักยภาพปานกลาง-ต�ำ่ ในระดับช่วงอายุวยั รุน่ วัยผูใ้ หญ่
ตาม “โครงสร้างหลักสูตรคู่ขนานเฉพาะบุคคลออทิสติกระดับ
ศักยภาพปานกลาง-ต�ำ่ (วัยรุน่ วัยผูใ้ หญ่)” (ดูภาคผนวก ๑) ส�ำหรับ
การพัฒนาศักยภาพบุคคลออทิสิตก และมี “หลักสูตรนักพัฒนา
ศักยภาพบุคคลออทิสติก” ตามโครงสร้างหลักสูตรที่ออกแบบไว้
ส�ำหรับการบ่มเพาะบุคลากรในเบื้องต้น (ดูภาคผนวก ๒)

ทั้งนี้จะต้องมีการประมวล “โครงสร้างหลักสูตรคู่ขนาน
เฉพาะบุ ค คลออทิ ส ติ ก ในระดั บ ช่ ว งอายุ ๓ ปี - ๑๙/๒๐ ปี ”
ท� ำ นองเดี ย วกั บ “โครงสร้ า งหลั ก สู ต รคู ่ ข นานเฉพาะบุ ค คล
ออทิสติกระดับศักยภาพปานกลาง-ต�่ำ (วัยรุ่น วัยผู้ใหญ่)” (ดู
ภาคผนวก ๑) และท�ำการวิจัย/ พัฒนาหลักสูตรคู่ขนานเฉพาะ
บุคคลออทิสติก ซึง่ เป็นนวัตกรรมทางด้านหลักสูตรส�ำหรับพัฒนา
ศักยภาพและคุณภาพชีวติ บุคลออทิสติก ทัง้ ทางด้านรูปแบบและ
เนือ้ หาของหลักสูตรให้เป็นมาตรฐานของประเทศด้านการจัดการ
กับประชากรออทิสติกต่อไป

159
“๔ กลไกหลักตามออทิสติกโรดแมป”

160
161
“๔ กลไกหลักตามออทิสติกโรดแมป”

162
ภาคผนวก ๔
โครงสร้างหลักสูตรคขู่ นาน
ผูป้ กครองของบคุ คลที่มี
กลมุ่ อาการออทิสซึม

163
“๔ กลไกหลักตามออทิสติกโรดแมป”

โครงสร้างหลักสูตรคู่ขนานผู้ปกครอง
ของบุคคลที่มีกลุ่มอาการออทิสซึม

๑. หมวดความรู้ด้านกลุ่มอาการออทิสซึม
เป็นที่แน่ชัดแล้วว่า กลุ่มอาการออทิสซึมเกิดจากความผิด
ปกติทรี่ ะบบประสาทส่วนกลาง (สมอง) และความผิดปกติทรี่ ะบบ
ประสาทการรับรู้แทบทุกระบบ

๑.๑ ความผิดปกติที่ระบบประสาทส่วนกลาง (สมอง) มีความ


ผิดปกติในหลายระดับ ดังนี้
๑.๑.๑ ระดับโครงสร้าง มีพื้นที่ของสมองในการควบคุมการ
ท�ำงานของอวัยวะระบบต่างๆ ไม่เท่า/ ไม่เหมือนคนปกติ
เช่น มีพื้นที่สมองในการควบคุมอารมณ์น้อย เป็นต้น

๑.๑.๒ ระดับเซลล์ มีความผิดปกติใน ๒ เรื่อง


- เรื่องปริมาณของเซลล์ประสาท (นิวโรน) และเซลล์
ช่วยสนับสนุนเซลล์ประสาท (เกลียเซลล์) มากหรือ
น้อยกว่าคนปกติ
- เรือ่ งรูปร่างของเซลล์ เช่น คนปกติเซลล์สมองอาจมีรปู
ร่างของเซลล์เป็นรูปสีเ่ หลีย่ ม แต่ของคนออทิสติกอาจมี
รูปร่างเป็นหกเหลีย่ มหรือรูปรี ทัง้ อาจมีขนาดใหญ่กว่า
ของคนปกติอีกด้วย

164
๑.๑.๓ ระดับโมเลกุล มีความผิดปกติด้านสารสื่อประสาท
คืออาจไม่มีเลย หรือมีมากไป (สารสื่อประสาทได้แก่
เซอโรโทนิน โดพามีน เป็นต้น) นอกจากนี้การเกิดแผล
เป็นในเนื้อสมองก็ยิ่งท�ำให้มีสมองมีเซลล์ที่ท�ำงานได้
น้อยลงไปอีก และมีทางเดินของไฟฟ้าในสมองไม่ปกติ

๑.๒ ความผิดปกติที่ระบบประสาทการรับรู้
เช่น รส กลิ่น เสียง สัมผัส การทรงตัว การรับรู้เรื่องน�้ำหนักกด
ทับ แรงดึง แรงดันตามกระดูกข้อต่อ การเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อ
มัดเล็กมัดใหญ่ เช่น มีการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติ ไม่อยู่นิ่ง สบัด
มือ หมุนตัวเอง ไม่เจ็บ ซุ่มซ่ามเดินชน ควบคุมน�้ำหนักมือไมได้
การขยับเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อมัดเล็กที่ตา (เช่น กลอกตาไมได้) ที่
มือ (เช่น หยิบจับสิ่งของไม่ถูกท่า) ที่ปาก (เช่น ขยับริมฝีปากเพื่อ
ออกเสียงพูดไม่ได้หรือได้ยาก) เป็นต้น

๑.๓ ความผิดปกติที่ระบบประสาทส่วนกลาง (สมอง) และ


ความผิ ด ปกติ ที่ ร ะบบประสาทการรั บ รู ้ แ ทบทุ ก ระบบ
ดังกล่าวข้างต้น
ก่อให้เกิดกลุ่มอาการออทิสซึม ซึ่งแบ่งออกได้เป็น ๒ ประเภท
กล่าวคือ ๑) กลุ่มอาการที่ต้องใช้ยาหรือสารเคมีและหัตถการ
ทางการแพทย์ และ ๒) กลุม่ อาการทีต่ อ้ งใช้การบ�ำบัดทางกายภาพ
ด้านการแพทย์

165
“๔ กลไกหลักตามออทิสติกโรดแมป”

๑.๓.๑ กลุ่มอาการที่ต้องใช้ยา หรือสารเคมี และหัตถการ


ทางการแพทย์
มักจะเป็นความผิดปกติที่ระบบประสาทส่วนกลาง
(สมอง) ทีร่ ะดับโมเลกุลหรือสารสือ่ ประสาท เช่น การไม่
นอน/ อาการนอนไม่หลับสามวันสามคืน อาการลมชัก
การแสดงพฤติกรรมแปลกๆ การกินของที่ไม่ใช่อาหาร
เช่น พลาสติก อาการโมโหร้ายอาละวาด หัวเราะร้องไห้
ไม่มีเหตุผล ฯลฯ ซึ่งกลุ่มอาการดังนี้ต้องใช้ยา ขอเน้น
ว่ามีความจ�ำเป็นต้องใช้ยา (ไม่ใช้ไม่ได้) เพื่อให้ระบบ
ประสาทส่วนกลาง (สมอง) มีการท�ำงานเป็นปกติ

๑.๓.๒ กลุ่มอาการที่ต้องใช้การบ�ำบัดทางกายภาพด้านการ
แพทย์
มักเป็นความผิดปกติข องระบบประสาทส่ วนกลาง
(สมอง) ในระดับโครงสร้างและในระดับเซลล์ กับความ
ผิดปกติที่ระบบประสาทการรับรู้ ซึ่งเป็นกลุ่มอาการ
ที่ต้องใช้การบ�ำบัดทางกายภาพด้านการแพทย์โดย
นักสหวิชาชีพที่ไม่ใช่แพทย์ ได้แก่ การฝึกพูดบ�ำบัด
การปรับพฤติกรรมบ�ำบัด การท�ำกิจกรรมบ�ำบัด การ
กายภาพบ�ำบัด และการบ�ำบัดทางเลือกต่างๆ ฯลฯ

ทัง้ หมดนีผ้ ปู้ กครองต้องเข้าใจ และตระหนักถึงความจ�ำเป็นของ


การกระตุน้ พัฒนาการท�ำงานของระบบประสาทส่วนกลาง (สมอง)
และระบบประสาทการรับรู้ที่ผิดปกติอย่างเข้มข้นตั้งแต่ต้นมือ
และตลอดไป ทั้งกลุ่มอาการที่ต้องใช้ยาหรือสารเคมีและหัตถการ

166
ทางการแพทย์ และกลุ่มอาการที่ต้องใช้การบ�ำบัดทางกายภาพ
ด้านการแพทย์ที่ไม่ใช้ยาหรือสาารเคมี เพราะพ่อแม่ผู้ปกครอง
หรือผูด้ แู ลอภิบาลต้องดูแลอย่างละเอียดและใกล้ชดิ คูข่ นานไปกับ
แพทย์และสหวิชาชีพสาขาต่างๆ

๒. หมวดความรู้ด้านวิทยาศาสตร์การกีฬา และการบ�ำบัดทาง
เลือกกลุ่มอาการออทิสซึม
วิทยาศาสตร์การกีฬา รวมทัง้ วิทยาศาสตร์การทหารทีป่ ระยุกต์
ใช้ กั บ พลเรื อ น ซึ่ ง มี เ นื้ อ หาการฝึ ก การเคลื่ อ นไหวต่ า งๆ จะมี
ประโยชน์มากกับบุคคลออทิสติก โดยเฉพาะกับออทิสติกศักยภาพ
ต�ำ่ -ปานกลาง ทีม่ ปี ญ ั หาเรือ่ งการเคลือ่ นไหวกล้ามเนือ้ มัดใหญ่มดั
เล็ก รวมทั้งการบ�ำบัดทางเลือกต่างๆ เช่น การว่ายน�้ำบ�ำบัด อาชา
บ�ำบัด ฯลฯ ซึ่งจะช่วยให้มีบุคลิภาพการเคลื่อนกล้ามเนื้อมัดใหญ่
ในการนั่ง เดิน ยืน ท่าทางต่างๆ เป็นปกติ สมาร์ท สง่างาม ฯลฯ

๓. หมวดความรู้เรื่องสวัสดิการสังคมจากรัฐที่เกี่ยวกับบุคคลที่มี
กลุ่มอาการออทิสซึม
สิ ท ธิ ป ระโยชน์ ต ่ า งๆ ตาม “ออทิ ส ติ ก โรดแมป” และ “๔
กลไกหลั ก ตามออทิ ส ติ ก โรดแมป” เพื่ อ จะได้ ท ราบว่ า
ลูกหลานออทิสติกของตนในแต่ละช่วงอายุจะใช้บริการจากกลไก
หลักกลไกไหน อย่างไร เช่น สิทธิประโยชน์ทางด้านสาธารณสุข
ด้านการศึกษา ด้านสวัสดิการสังคม ด้านการงาน การอาชีพ ฯลฯ
อันเป็นสวัสดิการจากรัฐ-สังคม

167
“๔ กลไกหลักตามออทิสติกโรดแมป”

โครงสร้างหลักสูตรคู่ขนานผู้ปกครองและผู้ดูแลอภิบาล
บุคคลออทิสิติก แบ่งตามระดับช่วงอายุของบุคคลออทิสติก

เมื่ อ ลงภาคปฏิ บั ติ ใ นการดู แ ลอภิ บ าลบุ ค คลออทิ ส ติ ก ของ


ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแลอภิบาล ควรจะต้องแบ่งเนื้อหารายละเอียดเป็น
หลักสูตรแยกย่อยไปตามช่วงอายุของบุคคลออทิสติก ดังนี้

๑. (โครงสร้ า ง) หลั ก สู ต รคู ่ ข นานผู ้ ป กครองของบุ ค คลผู ้ มี


กลุ่มอาการออทิสซึม ช่วง ๐ - ๓ ปี (ช่วงนี้จะอยู่กับครอบครัว-
โรงพยาบาล)

๒. (โครงสร้าง) หลักสูตรคู่ขนานผู้ปกครองของบุคคลที่มีกลุ่ม
อาการออทิสซึม ช่วง ๓ ปี - ๑๘/๑๙ ปี (ช่วงนีจ้ ะอยูก่ บั ครอบครัว-
โรงเรียน/ ห้องเรียน ๒ รูปแบบ)

๓. (โครงสร้าง) หลักสูตรคู่ขนานผู้ปกครองของบุคคลที่มีกลุ่ม
อาการออทิสซึม ช่วง ๑๓ ปี - ๑๘/๑๙ ปีขึ้นไป (ช่วงนี้จะอยู่กับ
ครอบครัว-บ้านพิทกั ษ์บคุ คลออทิสติกในชุมชน-สถานศึกษาระดับ
การอาชีวะและอุดมศึกษา-ที่ท�ำงาน)

ทั้ ง นี้ (โครงสร้ า ง) หลั ก สู ต รคู ่ ข นานผู ้ ป กครองบุ ค คล


ที่ มี ก ลุ ่ ม อาการออทิ ส ซึ ม ทุ ก ระดั บ ช่ ว งอายุ ดั ง กล่ า ว เป็ น เรื่ อ งที่
นักสหวิชาชีพทุกสาขาทีเ่ กีย่ วข้องจะต้องท�ำการศึกษาวิจยั และประมวล
เนื้อหารายละเอียด โดยในแต่ละระดับช่วงอายุอาจจะต้องมีการแยก
168
เนื้อหาระหว่างผู้ปกครองบุคคลออทิสติกศักยภาพสูง และผู้ปกครอง
บุคคลออทิสติกศักยภาพปานกลาง-ต�่ำ เพราะมีจุดเน้นไม่เหมือนกัน
ส่วนหลักสูตร “จ๊อบโค้ช (Job Coaching)/ พี่เลี้ยงสอนงาน” ประยุกต์
ใช้ (โครงสร้าง) หลักสูตรนักพัฒนาศักยภาพบุคคลออทิสติกได้

169
“๔ กลไกหลักตามออทิสติกโรดแมป”

170
171
“๔ กลไกหลักตามออทิสติกโรดแมป”

172
173
“๔ กลไกหลักตามออทิสติกโรดแมป”

174
ภาคผนวก ๕

ออทิสซึม คืออะไร

175
“๔ กลไกหลักตามออทิสติกโรดแมป”

Autism Today: ออทิสซึม คือ อะไร


ข้อมูลจาก DSM IV - The American Psychiatric Association’s
Diagnostic and Statistic Manual of Mental Disorders-Fourth
Edition (๑๙๙๔) ได้จัดออทิสติก เป็น “pervasive developmental
disorders” ซึ่งก็คือ มีความผิดปกติในด้านพัฒนาการอย่างรอบ
ด้าน แสดงอาการอย่างชัดเจนในวัยเด็ก ท�ำให้พัฒนาการทางด้าน
ความสัมพันธ์ทางสังคมและการสื่อสารไม่เป็นไปตามปกติ ส่งผลให้มี
พฤติกรรม ความสนใจ และกิจกรรมที่ผิดปกติ

ลักษณะต่างๆ ในบุคคลออทิสติก
- เข้ากับคนอื่นได้ยาก หรือไม่ได้เลย
- ท�ำอะไรซ�้ำๆ
- หัวเราะอย่างไม่มีเหตุผล
- กลัวในสิ่งไม่สมควรกลัว
- ไม่สบตาคน
- ไม่ตอบสนองต่อการสอนตามปกติ
- มีท่าทางการเล่นแปลกๆ
- อาจไว หรือไม่ไวต่อความเจ็บปวด
- ส่งเสียงประหลาด
- ชอบอยู่คนเดียว
- ไม่ชอบให้กอด
- มักหมุนตัว หรือหมุนสิ่งของ

176
- กระตุ้นตัวเอง
- หงุดหงิด งอแง โดยไม่มีเหตุผล
- เรียกไม่หัน
- ติดวัตถุ/ สิ่งของบางชิ้น
- กล้ามเนื้อใหญ่และเล็กพัฒนาไม่ปกติ
- แสดงความต้องการไม่ได้ จะใช้ท่าทางหรือจับมือผู้ที่อยู่ใกล้ให้
ไปหยิบของที่ต้องการ

การสังเกตพฤติกรรมในบุคคลออทิสติก
บุคคลออทิสติกจะมีพฤติกรรมที่ผิดปกติ ๓ ด้านใหญ่ ๆ คือ ๑)
ความสัมพันธ์ทางสังคม ๒) การสื่อสาร ๓) ความสนใจและกิจกรรม

ลักษณะพิเศษของบุคคลออทิสติก
- บกพร่องในด้านความสัมพันธ์ทางสังคม
- บกพร่องในด้านการสื่อสาร พฤติกรรม
- ความสนใจและกิจกรรมต่างๆ เป็นไปอย่างจ�ำกัดและซ�้ำๆ
- บุคคลออทิสติกแต่ละคนจะมีความสามารถแตกต่างกันอย่าง
มาก
- บุคคลออทิสติกแต่ละคนจะแตกต่างกัน สภาพปัญหาต่างกัน
แนวทางการรักษาจึงย่อมแตกต่างกัน

177
“๔ กลไกหลักตามออทิสติกโรดแมป”

สาเหตุการเกิดออทิสซึม
• ทางพันธุกรรม
อยูใ่ นระหว่างการศึกษาค้นคว้า แต่ยงั ไม่พบค�ำตอบทีช่ ดั เจน
แต่พบว่าฝาแฝดจากไข่ใบเดียวกัน ถ้าคนหนึง่ เป็นออทิสติก อีก
คนจะเป็นด้วย

• โรคติดเชื้อ
ปั จ จุ บั น ยั ง ไม่ พ บว่ า เชื้ อ โรคชนิ ด ใดที่ ก ่ อ ให้ เ กิ ด กลุ ่ ม
อาการออทิสซึม

• ประสาทวิทยา
จากการศึกษาของ Magaret Bauman กุมารแพทย์ จาก
โรงพยาบาล บอสตัน ซิติ พบว่า ออทิสติกจะมีความผิดปกติใน
สมอง ๓ แห่ง คือ limbic system, cerebellum และ cerebellar
circuits ปัจจุบันพบว่า ในพื้นที่ทั้ง ๓ แห่ง มีความผิดปกติ ดังนี้

๑) Purkinje cells เหลือน้อยมาก


๒) ยังคงเหลือ “วงจร” เซลล์ประสาท ซึ่งจะพบได้แต่ในตัว
อ่อนเท่านั้น “วงจร” เซลล์ประสาทที่เหลือนี้ จะเชื่อมต่อกับ
ระบบประสาทส่วนกลางทั้งหมด
๓) มีเซลล์ประสาทเพิ่มขึ้นเป็นจ�ำนวนมากในบริเวณ limbic
system, hippocampus, amygdala

178
จากการค้นพบนี้ Bauman สรุปว่า ออทิสซึมมีความ
ผิดปกติด้านพัฒนาการของสมองตั้งแต่ยังเป็นตัวอ่อน ใน
ระยะ ๓๐ สัปดาห์ของการตั้งครรภ์ ความผิดปกตินี้ส่งผลให้
limbic system ไม่มกี ารพัฒนา limbic system เกีย่ วข้องกับ
พฤติกรรม การรับรู้ และความจ�ำ เมื่อบริเวณนี้ผิดปกติจึงมี
ผลให้ความสัมพันธ์ทางสังคม ภาษา และการเรียน ผิดปกติ
ไปด้วย (Bauman, ๑๙๙๑)
๔. Neurochemical Causes (สารประกอบทางเคมีในระบบ
ประสาท) พบว่ามี neurotransmitters บางตัวสูงผิดปกติ
ได้แก่ serotonin, dopaminergic และ endogenous
opioid systems แต่เมื่อใช้ยาที่ต้านสารเหล่านี้ กลับไม่
ท�ำให้อาการต่างๆ ในออทิสซึมดีขึ้น
๕) การบาดเจ็บ ก่อน ระหว่าง และหลังการคลอด

เรียบเรียงโดย
นายแพทย์ สิทธิศักดิ์ ตันมณี MD.

179
“๔ กลไกหลักตามออทิสติกโรดแมป”

180
ภาคผนวก ๖

เอกสารประกอบการประช ุม
ที่เกี่ยวข้อง

181
“๔ กลไกหลักตามออทิสติกโรดแมป”

เอกสารประกอบชุดที่ ๑

ข้อเสนอต่อคณะกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาส�ำหรับ
คนพิการ (โดย นายชูศักดิ์ จันทยานนท์ ผู้ทรงคุณวุฒิ)

๑. จัดตั้งคณะอนุกรรมการพัฒนาการจัดการศึกษานอกระบบ
และการศึกษาทางเลือกส�ำหรับคนพิการ พระราชบัญญัตกิ าร
จัดการศึกษาส�ำหรับคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๓ มาตรา ๕ ก�ำหนด
ให้คนพิการมีสิทธิทางการศึกษา ดังนี้

๑.๑ ได้รับการศึกษาโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายตั้งแต่แรกเกิด หรือพบ


ความพิการจนตลอดชีวติ พร้อมทัง้ ได้รบั เทคโนโลยี สิง่ อ�ำนวย
ความสะดวก สื่อ บริการ และความช่วยเหลืออื่นใดทางการ
ศึกษา

๑.๒ เลือกบริการทางการศึกษา สถานศึกษา ระบบและรูปแบบการ


ศึกษา โดยค�ำนึงถึงความสามารถ ความสนใจ ความถนัด และ
ความต้องการจ�ำเป็นพิเศษของบุคคลนั้น

ประกอบกับสถานการณ์ปจั จุบนั มีเด็กพิการเยาวชนพิการ และ


คนพิการ ทีไ่ ด้รบั การศึกษาในระบบ ในสถานศึกษาระดับการศึกษา
ขั้นพื้นฐาน โรงเรียนเรียนร่วม และโรงเรียนเฉพาะความพิการ รวม
จ�ำนวนประมาณ ๔๐๐,๐๐๐ คน ประมาณว่ามีอีกจ�ำนวนมาก
หลายแสนคนที่ไม่ได้รับการศึกษา
182
ส�ำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีสถานศึกษาในสังกัดกว่า
๓๐,๐๐๐ แห่ง แต่จัดการเรียนร่วม ประมาณ ๑๘,๐๐๐ แห่ง ส่วน
ใหญ่จัดการศึกษาในระดับประถมศึกษา ทําให้เด็กและเยาวชน
พิการไม่ได้รับการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาและการศึกษาเพื่อ
การท�ำงานมากนัก นอกจากในโรงเรียนการศึกษาพิเศษ ซึ่งมี
จ�ำนวน ๔๖ แห่งที่มีการจัดการศึกษาตั้งแต่ระดับประถมศึกษา
ถึงมัธยมศึกษา ซึ่งรับนักเรียนพิการทุกระดับชั้นประมาณกว่า
๑๐,๐๐๐ คน

การศึกษานอกระบบที่จัดโดยส�ำนักงานส่งเสริมการศึกษานอก
ระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) และการศึกษาทางเลือก
ในรูปแบบศูนย์การเรียนเฉพาะความพิการ จึงเป็นอีกทางเลือกที่จะ
ช่วยให้เด็กและเยาวชนพิการได้รบั การศึกษาขัน้ พืน้ ฐานและการศึกษา
เพื่อเข้าสู่ระบบการท�ำงานในชุมชน ที่ผ่านมา กศน.ได้จัดการศึกษา
ให้คนพิการทุกประเภทได้ปีละประมาณ ๑๐,๐๐๐ คน แต่ยังขาดการ
สนับสนุนเชิงนโยบาย การจัดท�ำแผนพัฒนาการศึกษานอกระบบ (เคย
มีการจัดท�ำแผนพัฒนาการศึกษานอกระบบเมื่อปี พ.ศ.๒๕๕๐ ถึง
๒๕๕๔) ระบบการจัดการงบอุดหนุนรายหัวนักศึกษาพิการที่ไม่ได้รับ
การจัดสรรเป็นการเฉพาะเหมือนการศึกษาขั้นพื้นฐาน ใช้วิธีการเกลี่ย
งบประมาณทั่วไปมาสนับสนุนการจัดการศึกษาส�ำหรับคนพิการทั้ง
ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน หลักสูตรระยะสั้น และหลักสูตรเตรียม
ความพร้อมสู่การท�ำงาน โดยรวมกับภาคีเครือข่ายทั้งองค์กรคนพิการ
หน่วยงานรัฐ เอกชนทีเ่ กีย่ วข้อง และมีกลไกศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน
ต�ำบล และศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนเครือข่ายที่สามารถพัฒนารูป
แบบให้เป็นต้นแบบ Model ได้ กศน.มีการจัดจ้างครูสอนคนพิการโดย
183
“๔ กลไกหลักตามออทิสติกโรดแมป”

ใช้งบประมาณในหมวดทั่วไปมาสนับสนุน และการพัฒนาศักยภาพ
บุคลากรใช้งบประมาณจ�ำนวนหนึ่งจากกองทุนการศึกษาส�ำหรับคน
พิการ ท�ำให้ไม่สามารถขยายการจัดการศึกษานอกระบบส�ำหรับคน
พิการได้อย่างเต็มที่

คณะกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาส�ำหรับคนพิการ มี
อ�ำนาจหน้าทีเ่ สนอนโยบาย ยุทธศาสตร์ แผนการจัดการศึกษาส�ำหรับ
คนพิการ แผนการจัดสรรทรัพยากร และแนวทางการพัฒนาการบริหาร
และการจัดการศึกษาส�ำหรับคนพิการทุกระบบและทุกระดับ ต่อคณะ
รัฐมนตรีเพือ่ พิจารณาให้ความเห็นชอบและมอบหมายหน่วยงานที่
เกี่ยวข้องด�ำเนินการตามอ�ำนาจหน้าที่ ซึ่งรวมถึงการศึกษานอก
ระบบด้วย และได้เคยมีการจัดตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อด�ำเนิน
การด้านการจัดการศึกษานอกระบบส�ำหรับคนพิการ แต่ไม่มีการ
ด�ำเนินการต่อเนื่อง

จึงเห็นควรเสนอให้มีการจัดตั้งคณะอนุกรรมการพัฒนาการ
จัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาทางเลือกส�ำหรับคนพิการ เพื่อ
ขับเคลื่อนและพัฒนางานการศึกษานอกระบบและการศึกษาทาง
เลือกส�ำหรับคนพิการ โดยมอบหมายให้ส�ำนักงานส่งเสริมการศึกษา
นอกระบบและการศึ ก ษาตามอั ธ ยาศั ย ส� ำ นั ก งานปลั ด กระทรวง
ศึกษาธิการด�ำเนินการจัดโครงสร้างอนุกรรมการที่มีส่วนร่วมจากทุก
ภาคส่วน รวมทั้งภาคีเครือข่ายด้านคนพิการ พร้อมก�ำหนดอ�ำนาจ
หน้าที่ในการพัฒนาแผนงานและระบบงบประมาณที่สนับสนุนการ
จัดการศึกษานอกระบบส�ำหรับคนพิการ ทั้งในหลักสูตรการศึกษาขั้น
พื้นฐาน หลักสูตรการศึกษาเพื่อการท�ำงาน หลักสูตรต่อเนืองส�ำหรับ
184
คนพิการแต่ละประเภท การส่งเสริมความรูแ้ ก่คนพิการ ผูด้ แู ลคนพิการ
ครอบครัวและชุมชน เสนอต่อคณะกรรมการพิจารณา

มติที่ประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาส�ำหรับคน
พิการครั้งที่ ๑/๒๕๕๙ วันที่ ๒๖ มกราคม ๒๕๕๙ ซึ่งรัฐมนตรีช่วย
ว่าการกระทรวงศึกษาธิการพลเอกสุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ เป็นประธาน มี
มติเห็นชอบให้จัดตั้งคณะอนุกรรมการพัฒนาการจัดการศึกษานอก
ระบบและการศึกษาทางเลือกส�ำหรับคนพิการ และมอบหมายให้ฝ่าย
เลขานุการประสานหน่วยงานเกี่ยวข้องจัดท�ำค�ำสั่งแต่งตั้งต่อไป

๒. การด�ำเนินการเพื่อให้เป็นไปตามมติคณะกรรมการส่งเสริม
และพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ
ในการประชุมคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวติ คน
พิการแห่งชาติ ครั้งที่ ๒/๒๕๕๘ เมื่อวันที่ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๕๘ โดย
มีนายยงยุทธ ยุทธวงศ์ รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ที่ประชุมเห็น
ชอบ “แผนที่น�ำทางการพัฒนาระบบการส่งเสริมคุณภาพชีวิตบุคคล
ออทิสติก” เพื่อใช้เป็นกรอบในการจัดท�ำแผนงานและแนวปฏิบัติแก่
หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน โดยเฉพาะประเด็นด้านการศึกษา มี
ข้อเสนอให้กระทรวงศึกษาธิการ และหน่วยงานด�ำเนินการดังนี้

๒.๑ ควรจัดให้สถานศึกษาขั้นพื้นฐานทั้งของรัฐ เอกชน และองค์กร


ปกครองส่วนท้องถิ่น จัดสนับสนุนการเรียนร่วมของเด็กและ
บุ ค คลออทิ ส ติ ก ทุ ก ระดั บ อาการตามหลั ก การ Inclusive
Education
185
“๔ กลไกหลักตามออทิสติกโรดแมป”

๒.๒ ส�ำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ควรเร่งรัดการ


พัฒนา “ห้องเรียนคู่ขนาน ส�ำหรับบุคคลออทิสติกในชุม
ชุนใกล้บ้าน” อย่างน้อยอ�ำเภอละ ๑ แห่ง ที่มีระเบียบหรือ
ประกาศกระทรวง ระบบการจัดการทีม่ มี าตรฐาน โดยก�ำหนด
สัดส่วนครูต่อนักเรียน ๑ ต่อ ๓ เป็นอย่างน้อย มีการจัดระบบ
สอนเสริมการศึกษาพิเศษ (support service and resource
center) ในโรงเรียนทั่วไป หรือ “ห้องเรียนสอนเสริม” โดยมี
อัตราส่วนของครู ๒ ต่อ ๗ เป็นอย่างน้อย ที่บริหารจัดการ
โดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (School Base Management) ให้
ส�ำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ส�ำนักงานคณะกรรมการการ
ศึกษาขั้นพื้นฐาน ส�ำนักบริหารงานการศึกษาเอกชน จัดสรร
งบประมาณสนับสนุน และให้ครอบครัว ชุมชน ร่วมจัดการ

มติที่ประชุม
คณะกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำ�หรับคนพิการ

186
เอกสารประกอบชุดที่ ๒

การเสนอเรื่องจาก
สมาคมผู้ปกครองบุคคลออทิสซึม (ไทย)

เลขานุการรายงานว่า สมาคมผู้ปกครองบุคคลออทิสซึม (ไทย)


มีหนังสือถึงประธานกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคน
พิการแห่งชาติ เสนอผลการประชุมสมัชชาเครือข่ายผู้ปกครองบุคคล
ออทิสติก ในการประชุมใหญ่สามัญประจําปี ๒๕๕๘ เมื่อวันที่ ๒-๕
เมษายน ๒๕๕๘ และจัดสัมมนาร่วมกับคณะกรรมการการวิจัยแห่ง
ชาติเมื่อวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ ซึ่งมีผู้เข้าร่วมการประชุมประกอบ
ด้วย บุคคลออทิสติก ผู้ปกครอง ผู้ดูแล ผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุก
ภาคส่วน อาทิ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงแรงงาน กระทรวงการ
พัฒนาสังคมและความมัน่ คงของมนุษย์ ส�ำนักงานหลักประกันสุขภาพ
แห่งชาติ ส�ำนักงานประกันสังคม โดยได้มีการเสนอ “แผนที่น�ำทาง
การพัฒนาระบบการส่งเสริมคุณภาพชีวิตบุคคลออทิสติก” เพื่อ
เป็นกรอบในการจัดท�ำแผนงานและแนวการปฏิบตั แิ ก่หน่วยงานองค์กร
ภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐ และเอกชน โดยมีสาระส�ำคัญดังนี้

187
“๔ กลไกหลักตามออทิสติกโรดแมป”

๑. กลไกต้านระบบการสร้างเสริมสุขภาพ: การพัฒนาระบบการคัด
กรองที่มีมาตรฐานครอบคลุมและทั่วถึง เพื่อให้สามารถคัดกรอง
บุคคลออทิสติกได้ตั้งแต่แรกพบหรือแรกเกิด และได้รับการช่วย
เหลืออย่างรวดเร็ว มีการพัฒนาระบบสาธารณสุขให้มคี ลินกิ ส�ำหรับ
บุคคลออทิสติกในโรงพยาบาล ศูนย์และโรงพยาบาลทั่วไป และ
การพัฒนาชุดสิทธิประโยชน์ในระบบสุขภาพด้วย

๒. กลไกด้านระบบการศึกษา: สนับสนุนการเรียนร่วมของเด็กและ
บุคคลออทิสติกทุกระดับอาการ เร่งรัดการพัฒนาห้องเรียนคูข่ นาน
ส�ำหรับบุคคลออทิสติก การจัดระบบสอนเสริมการศึกษาพิเศษ
สนับสนุนการจัดการศึกษานอกระบบ จัดท�ำแผนการเรียนส่งต่อทุก
ระดับการศึกษา และพัฒนาสื่ออุปกรณ์เทคโนโลยีบริการทางการ
ศึกษาที่เหมาะสม

๓. กลไกด้านระบบการส่งเสริมอาชีพ การมีงานท�ำ สวัสดิการ


สังคมและการ ด�ำรงชีวิต: ส่งเสริมระบบเตรียมความพร้อมต้าน
อาชีพ โปรแกรมเตรียมพื้นฐานอาชีพ โปรแกรมสอนงาน มี การ
จัดตั้งระบบจัดหางานที่เชื่อมต่อกับองค์กรผู้ปกครองและการจัด
สวัสดิการดูแลบุคคลออทิสติกในชุมชน

๔. กลไกสนั บ สนุ น ด้ า นการวิ จั ย พั ฒ นาจั ด การความรู ้ และ


เทคโนโลยี ส�ำหรับบุคคลออทิสติก: ให้มีแผนการวิจัยและ
พัฒนาส�ำหรับบุคคลออทิสติก

188
มติที่ประชุม เห็นชอบ “แผนที่น�ำทางการพัฒนาระบบการ
ส่งเสริมคุณภาพชีวิตบุคคลลออทิสติก” ประกอบด้วย ระบบการ
สร้างเสริมสุขภาพ ระบบการศึกษา ระบบการส่งเสริมอาชีพ การมีงาน
ท�ำ สวัสดิการสังคมและการด�ำรงชีวิต และระบบสนับสนุนด้านการ
วิจัย พัฒนาจัดการความรู้ และเทคโนโลยีส�ำหรับบุคคลออทิสติก เพื่อ
เป็นกรอบในการจัดท�ำแผนงานและแนวการปฏิบตั แิ ก่หน่วยงานองค์กร
ภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐ และเอกชนต่อไป

189
“๔ กลไกหลักตามออทิสติกโรดแมป”

190
ภาคผนวก ๗
บุคคลออทิสติก ยืนเด่น เป็นสง่า
และมีศักดิ์ศรี

191
“๔ กลไกหลักตามออทิสติกโรดแมป”

บุคคลออทิสติก ยืนเด่น เป็นสง่า และมีศักดิ์ศรี

นายภูดินันท์ เอกลาภ
อายุ ๑๗ ปี เข้ารับการตรวจพบอาการออทิสติกเมื่ออายุ ๑ ปี
๘ เดือน ที่ รพ.เด็ก และเข้ารับการบ�ำบัดทั้ง รพ.เด็กและยุวประสาท
ปั จ จุ บั น ย้ า ยมาเรี ย นหนั ง สื อ ที่ เ ขื่ อ นอุ บ ลรั ต น์ ขอนแก่ น ตั้ ง แต่
ป.๑ โดยเดินทางไปฝึกกิจกรรมบ�ำบัดที่รพ.เด็ก ตามนัดตลอด และที่
รพ.ศรีนคริทร์ด้วย จนกระทั่งอายุครบ ๑๕ ปี รพ.เด็กจึงขอหยุดบ�ำบัด
เนื่องจากอายุเข้าสู่วัยรุ่น ปัจจุบันจึงบ�ำบัดที่รพ.ศรีนครินทร์ที่เดียว

192
ด้านการเรียน ลีโอเรียนร่วมกับเด็กปกติตลอด โดยครูจะแนะน�ำ
เพื่อนๆ ในห้องว่าลีโอเป็นน้อง และให้ลีโอเรียกเพือ่ นในห้องว่า “พี่” ทุก
คน ก็นบั ว่าเป็นกุศโลบายทีด่ ี เพราะเพือ่ นๆ ทุกคนจะรักและเอ็นดู ช่วย
กันเลี้ยงน้องลีโอ พอเข้ามัธยมเด็กๆ เริ่มโตขึ้น อุบายนี้ก็ใช้ไม่ได้ แต่
โชคดีคือลีโอจะเป็นคนพูดจาไพเราะกับทุกคน หน้าตาน่ารัก รักความ
สะอาด เพื่อนๆ มัธยมก็ยังรักและเอ็นดูลีโอในฐานะเพื่อนเช่นเดิม รวม
ถึงครูในโรงเรียนก็เช่นกัน การเรียนการสอนไม่มี IEP คนอื่นเรียนอะไร
ลีโอก็เรียนอย่างนั้น ตอนสอบครูก็อาศัยลดความยากของข้อสอบให้
ท�ำนองนี้

ช่วงตอนประถม ภรรยาลาออกจากงานเพื่อมาดูแลลีโอ พอถึง


มัธยมเริม่ เข้าสูว่ ยั รุน่ ผมก็ลาออกจากงานมาช่วยกันดูแลอีกแรง ตัวผม
เองก็ชว่ ยสอนการใช้ชวี ติ ในวัยรุน่ แบบไหน อย่างไร ความสามารถพิเศษ
คือ เรื่องการอ่านภาษาไทยได้ชัดเจน แม้แต่ค�ำยากๆ ก็อ่านได้ อักขระ
ถูกต้อง ตอนอยู่ ป.๖ เข้าแข่งขันการอ่านออกเสียงได้ที่ ๓ ของภาคอีสาน
ตอนอยู่ ม.๒ แข่งเล่านิทานได้ที่ ๒ ของประเทศ ตอน ม.๓ แข่งอ่านข่าว
ได้ที่ ๒ ของประเทศ (แพ้พแี่ พน ธนวัฒน์ เฉลิมมิตร ศูนย์วจิ ยั ขอนแก่น)

ความสามารถอีกอย่างของลีโอคือ จ�ำปฏิทินได้ทั้งหมด จะพันปี


หมื่นปีก็แล้วแต่ เพียงบอกวันใดวันหนึ่งในปีนั้นมาเพียง ๑ วัน ลีโอจะ
จ�ำวัน วันที่ของเดือนอื่นๆ ในปีนั้นได้หมด

สิ่งดีงามอีกอย่างที่พ่อแม่ไม่เคยสอนคือ ลีโอเป็นเด็กออทิสติก
ที่รักและเทิดทูนต่อสถาบันพระมหากษัตริย์มากๆ โดยเฉพาะในหลวง
พอถึงวันเฉลิมท่านใดในพระวงศ์ ลีโอจะประดับธงที่บ้าน โดยเฉพาะ
วันที่ ๕ ธ.ค. จะจัดใหญ่เป็นพิเศษ มีตั้งโต๊ะถวายพระพรด้วย
193
“๔ กลไกหลักตามออทิสติกโรดแมป”

ก ่ อ น ไ ป โ ร ง เ รี ย น ทุ ก วั น จ ะ อ ่ า น พ ร ะ ร า ช ด� ำ รั ส ห รื อ
พระบรมราโชวาททุกวัน จนสามารถจ�ำได้เกือบหมดว่า พระรมราโชวาท
เหล่านั้น ในหลวงได้ตรัสไว้เนื่องในงานอะไร ที่ไหน เมื่อไร

ด้วยกิจกรรมความจงรักภักดีนี้ ผมได้น�ำเรื่องราวต่างๆ มาโพสต์


ในเฟซบุค จึงถึงผู้สื่อข่าว ดังนั้นเมื่อวันที่ ๕ ธ.ค.๕๗ ที่ผ่านมา นักข่าว
หลายส�ำนักจึงพากันมาท�ำข่าว ว่ามีเด็กออทิสติกรักในหลวง วาดรูป
ในหลวง อ่านพระราชด�ำรัสทุกวัน มีไทยรัฐ เนชัน่ ช่อง ๗ ช่อง ๙ และใน
วันขึน้ ปีใหม่ ๑ ม.ค. ๕๘ ได้ถกู เชิญไปออกทีวสี ด รายการตอมแมลงวัน
ทางช่องเนชั่นทีวีด้วย

ความสามารถอีกด้านคือ การร้องเพลง ผมได้พาไปฝึกหัดการร้อง


เพลงกับครูฝ้าย สถาบัน Voice Academy ขอนแก่น มาเป็นระยะเวลา
ปีกว่าแล้ว จนร้องได้ไม่ต่างกับเด็กปกติ หรือดีกว่าเด็กปกติบางคนอีก
โดยครูฝ้ายได้พาลีโอไปออกงานอีเว้นท์ร้องเพลงตามที่ต่างๆ เช่น ห้าง
แฟรี่ อู้ฟู่ ต้นตาล และงานไหม ซึ่งวันที่เขียนอยู่นี้ก็จะไปร้องที่งานไหม
เวที OTOP และเมื่อต้นปีเข้าประกวดร้องเพลงลูกทุ่งระดับประเทศได้
อันดับที่ ๗ เหรียญทอง ส่วนปีนี้ได้เป็นตัวแทนขอนแก่นเข้าแข่งระดับ
ภาคที่สุรินทร์ในวันที่ ๘ ธ.ค. ที่จะถึงนี้

ในรูปไปร่วมโชว์การร้องเพลงและเดินแบบร่วมกับเด็กปกติ ซึ่ง
สถาบันสอนร้องเพลง Voice Academy โดยครูฝ้ายได้จัดขึ้นที่ตลาด
ต้นตาล ถนนมิตรภาพ ขอนแก่น เมือ่ วันที่ ๒๘ ธ.ค. ๕๘ โดยทีล่ โี อท�ำได้
กลมกลืนกับเด็กปกติมากๆ

หรรษา เอกลาภ
194
เวลา ทวีปรังษีนุกูล
ผมเกิด ๗ พ.ย. ๓๐ ที่ กทม. นิสยั ดี ไม่ชอบสัตว์มพี ษิ ชอบสีเหลือง
เป็นสีที่สวย ตอน อ.๑ เรียนที่เสรีรักษ์ จบ ต่อ ป.๑ ที่อโศกวิทย์ ถึง ป.๓
ชั้น ป.๔-ป.๖ ที่รุ่งอรุณ ชั้น ม.๑-ม.๖ ที่มีนประสาทฯ ระดับอุดมศึกษา
ชั้น ป.ตรี ที่ ม.รามฯ คณะศิลปกรรมฯ วิชาดนตรีไทย เอกระนาดเอก ที่
เลือกเรียนทีน่ ี่ เป็นคณะเปิดใหม่ ชอบดนตรี ก็เลยเรียนราม ตอนนีเ้ รียน
รามจบแล้ว ยังไม่ได้งานท�ำ รอหางานท�ำอยู่ ความปรารถนา อยาก
ท�ำวันนี้ให้ดีที่สุด อยากเป็นนักดนตรีไทย บรรเลงระนาดเอกให้คนฟัง

195
“๔ กลไกหลักตามออทิสติกโรดแมป”

นางสาวจุฑามาศ จักรานุกุล
เกิดวันที่ ๕ มิถนุ ายน พ.ศ. ๒๕๓๐ ก่อนนีอ้ ยูท่ หี่ มูบ่ า้ นส.ภาณุรงั ษี
อยู่มา ๒๐ ปี จ.นนทบุรี ตอนนี้ขายบ้านจ.นนทบุรี เรียบร้อยแล้วนะ
คะ ปัจจุบันตอนนี้ย้ายมาอยู่บ้านที่ จ.เชียงราย ช่วยพ่อ เเม่ ขายของช�ำ
จังหวัดเชียงราย

การท�ำงาน ปี ๒๕๕๑ ฝึกงานในมหาวิทยาลัยสวนดุสิต ในด้าน


ครัว ทุกอย่างเรียนรู้ในการฝึกงาน ปี ๑ และ ปี ๒ ตอนที่ ปี ๓ และ ปี

196
๔ ผู้ช่วยครัวและเเม่ครัว ออกไปฝึกงานข้างนอก บริษัท เอส เเอล อาร์
ที ลิมิเต็ด ซิซซ์เล่อร์ สาขาเซ็นทรัลพลาซ่าปิ่นเกล้า มีรายได้เป็นของ
ตัวเอง ไม่เป็นภาระครอบครัวและคนอื่น ท�ำงานเค เอฟ ซี ท�ำงานด้าน
บริการและเสิร์ฟอาหาร สาขาเซ็นจูรี่ แถวอนุสาวรีย์ชัย ท�ำงานที่บริษัท
มีนาลิสซิ่ง ท�ำงานด้านเอกสาร ถ่ายเอกสาร และคอยเดินเอกสารตาม
เเผนกต่างๆ มอบหมายนะคะ

ประวัติ ฉันเรียนจบปี ๒๕๕๕ ที่มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต


คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หลักสูตร อุตสาหกรรมอาหารและ
การบริการ

สิง่ ทีฉ่ นั ภูมใิ จมากเลยในตอนนัน้ คือสามารถเรียนและท�ำงานจบ


ปริญญาตรี ได้ถงึ เเม้ฉนั ป่วยโรคออทิสติก สิง่ ทีเ่ ป็นเเรงบันดาลใจให้ฉนั
เรียนจบและท�ำงานด้วย นอกจากคุณเเม่ คุณพ่อ ญาติพี่น้องกันคน
หนึ่งคือน้าพร และพี่สาวคนหนึ่งเข้าใจฉันออทิสติก ยังมีเพื่อนคนปกติ
ที่ดี ที่ค่อยให้ก�ำลังใจมาตลอดถึงทุกวันนี้ เป็นโชคดีว่าที่คุณครูสุชาดา
(อ.แหม่ม) เปิดใจให้โอกาสฉันสิ่งที่ปรากฎว่าฉันเรียนได้ไม่มีปัญหา
เเต่คนอื่นมีปัญหา คุณเเม่นั่งเรียนกับฉัน จะค่อยเเอบดูลูกห่างๆ เเต่ไม่
เข้าไปยุ่งเกี่ยว เเต่ดูว่าเราเรียนได้ไหม ว่ามีปัญหาอะไรไหม เพราะว่า
ฉันไม่เหมือนคนปกติ เช่น ชอบอยู่คนเดียว ชอบคุยคนเดียว ไม่สนใจ
คนอื่น ขอความช่วยเหลือไม่เป็นคล้ายค�ำสั่งเเบบที่ต้องการ เพื่อน
ปกติและคนอื่นว่าเด็กปัญญาอ่อน ท�ำอะไรไม่เป็นสักอย่าง มองฉันตัว
ตลก ประหลาด บ้าบอ ก็โดนเพื่อนปกติแกล้งฉันสารพัด คุณเเม่ต้องมี
ปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนๆ พี่ๆ อย่าทอดทิ้งฉันเลยนะคะ

197
“๔ กลไกหลักตามออทิสติกโรดแมป”

คุ ณ เเม่ พ าฉั น ฝึ ก พู ด และทุ ก อย่ า งที่ ศู น ย์ สุ ข วิ ท ยาจิ ต และ


โรงพยาบาลยุวประสาท หมอให้ยาชื่อเมลดิว ถึงเจ็ดขวบเลิกหยุดกิน
ยานะคะ คุณเเม่ทิ้งยาเลยนะคะ หมอบอกว่าฉันเรียนไม่ได้ อยู่กับ
บ้าน สุดท้ายคุณเเม่หาโรงเรียนหลายที่ เรียนอนุบาลที่โรงเรียนศึกษา
บัณฑิต (จ.นนทบุรี) เวลาที่เรียนพยายามเข้าไปพูดคุยกับคุณครูที่
สอนปรากฎว่าฉันเรียนที่โรงเรียนวัดเวตวันธรรมาวาส (กรุงเทพฯ) ได้
ป.๑, ป.๔ เรียนกับเด็กพิเศษ ไม่ค่อยกดดันอะไรมาก สบายๆ ซิวๆ มี
คุณครูพิเศษทุกคนส่งฉันเรียนร่วมคนปกติ ตอนเรียนป.๕, ป.๖ พอ
เรียนได้ เรียนไม่ทันคนปกติอย่างมาก มีปัญหาการปรับตัว ปัญหา
ด้านการสื่อสารและทุกอย่างค่อยกดดันทุกอย่าง มัธยมต้นที่โรงเรียน
ศีลาจารพิพฒ ั น์ และมัธยมปลายโรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี)
นนทบุรี เรียนกับคนปกติครบสามสิบสอง พอเรียนได้ไม่เก่ง เรียนไม่ทนั
คนปกติ มีปญ ั หาบางครัง้ และอุปสรรค มีเพือ่ นคนปกติบางคนช่วยเหลือ
ฉัน คอยเเนะน�ำ คอยตักเตือนฉันมาตลอด หวังดีกับฉันเสมอจนเรียน
จบมัธยมและเรียนมหาวิทยาลัย

เเต่ว่าเรียนไปร้องไห้และเล่าให้คุณเเม่ฟังว่า คนปกติบางคน
ดูถูก และโดนคนปกติและคนอื่นวิจารณ์เเรง เเสดงท่ารังเกียจเด็ก
ปัญญาอ่อน ไม่เต็มบาท หาว่าพ่อเเม่ไม่สั่งสอนเด็กพิเศษ เด็กไม่รู้เรื่อง
โรคประหลาด เจ็บกว่าค�ำว่าเด็กพิเศษ ล้อว่าค�ำว่าเด็กพิเศษ ถือว่าจิ๊บ
จ้อยมากคะ ไม่ต้องเสียใจไปคะ ยอมรับเจ็บปวด เจ็บใจ น้อยใจ อาย
ที่ชีวิตเป็นเด็กพิเศษ โดนคนปกติ ญาติพี่น้องบางคน คนอื่น รังเกียจที่
เด็กพิเศษไม่เหมือนคนปกติครบสามสิบสอง เสียความรู้สึก พวกนี้ให้
เรียนท�ำไม เรียนไปก็เรียนไม่จบ คุณเเม่บอกว่าศักยภาพของเด็กพวก
นี้สามารถได้ให้โอกาสเด็กพวกนี้

198
และมีอยู่ครั้งหนึ่งที่มีจุดประกายฉันคือมีรุ่นพี่ใส่ชุดครุยมาถ่าย
รูปตรงรูปปันหน้ามหาวิทยาลัย ฝนพูดกับเเม่ว่า เเม่จ๋าๆ ฝนเรียนจบที่
นีเ่ เล้ว เพราะว่ามันเป็นอนาคตของลูก เราไม่ได้อยูด่ เู เลลูกตลอดไป ลูก
เราต้องยืนด้วยล�ำเเข้งของตัวเราเอง ไม่เป็นภาระสังคมและคนอืน่ ตอน
ที่ฉันเรียนมหาวิทยาลัยและท�ำงานไปด้วย มีคอยช่วยเหลือเป็นเพื่อน
คนปกติ พี่ๆ น้องๆ อาจารย์ทุกท่าน ความเต็มใจที่จะอยากจะมาช่วย
เหลือฉันโดยไม่มีค่าตอบเเทน

วันเเรกทีฉ่ นั จะได้ชดุ นักศึกษา ฉันมีความรูส้ กึ ตืน่ เต้น เจอเพือ่ นๆ


พี่ๆ น้องๆ ดีใจ ฉันรู้สึกดีใจมากที่ลบค�ำสบประมาทญาติพี่น้องบางคน
คนปกติและคนอื่น เด็กออทิสติกสามารถเรียนจบได้เหมือนคนปกติ
เหมือนกันนะคะ ฉันก็เรียนและท�ำงานก็สามารถเรียนจบมหาวิทยาลัย

สุุดท้ายอยากฝากเด็กออทิสติก บุคคลออทิสติก ผู้ปกครองของ


บุคคลออทิสติกทุกท่าน ต้องพยายามฝึกสอนลูกทุกอย่างตามขั้นตอน
ค่อยเป็น ค่อยไป หลายครัง้ อย่างใจเย็น อยากให้เด็กเรียนตามทีต่ วั เอง
เรียนสามัญหรือเรียนสายอาชีพ สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ อยากให้
เด็กออทิสติกและบุคคลออทิสติก มีความพยายามและทุกอย่าง ผ่าน
อุปสรรคทุกสิ่งทุกอย่าง สู้ๆๆ ต่อไปนะคะ เรียนรู้เอง เเก้ปัญหาได้ เป็น
ก�ำลังใจให้เด็กออทิสติกและบุคคลออทิสติก ผู้ปกครองออทิสติกทุก
ท่านเสมอนะคะ

199
“๔ กลไกหลักตามออทิสติกโรดแมป”

นายณัฐธัญ ธรรมกิจวิบูลย์ (เทย์เลอร์)

อายุ ๑๕ ปี ปัจจุบันเรียนอยู่ที่โรงเรียนโสตศึกษาทุ่งมหาเมฆ
โครงการบุคคลออทิสติก มูลนิธิคุณพุ่ม มีความชอบและสนใจด้าน
ดนตรีตงั้ แต่เด็กๆ ชอบฟังเพลงและฟังได้หลากหลายประเภท เมือ่ อายุ
ประมาณ ๙ ขวบ คุณแม่สังเกตเห็นลูกเล่นคีย์บอร์ดมือซ้ายในขณะที่

200
มือขวาถือ recorder เป่าเป็นเพลงเดียวกัน เป็นเพลง nursery rhyme
สักเพลงที่เด็กๆ ส่วนใหญ่รู้จักกัน จึงเริ่มๆ พยายามให้ลูกเรียนเปียโน

ด้วยลักษณะเด่นของลูกคือไม่นิ่ง (มีพบแพทย์ที่ราชานุกูลและ
ทานยา ประกอบกับกระตุ้นพัฒนาการอย่างสม�่ำเสมอ) ท�ำให้ช่วง
๑-๒ ปีแรกของการเรียนไม่เห็นผลเท่าไรนัก คุณแม่จึงหยุดพาไปเรียน
สาเหตุเพราะเปลี่ยนที่เรียน ๒-๓ แห่งแล้วก็ยังไม่รู้สึกว่าลูกพัฒนาได้
ดีเท่าที่ควร

จนวันหนึ่งลูกเป็นคนมาบอกเองว่าขอเรียนเปียโน คุณแม่รอสัก
ระยะหนึ่งเพื่อความมั่นใจว่าลูกเอาจริง ก็ปรากฏว่าเมื่อถึงเวลาที่เขา
พร้อม เขาก็เรียนจริงๆ และโชคดีที่ครูสอนเปียโนท่านนี้เข้ากันได้ดีกับ
ลูก ทุกอย่างจึงก้าวหน้าได้ดี

แต่สงิ่ ทีส่ ำ� คัญอย่างหนึง่ ในการเล่นดนตรีทคี่ ณ


ุ ครูได้ชแี้ จงกับคุณ
แม่คือ “การฝึกซ้อม” คุณแม่เองไม่มีความรู้ด้านดนตรีเลย แต่ก็ต้อง
พยายามฝึกซ้อมเป็นเพื่อนลูก

เทย์เลอร์สามารถสื่อสารได้ดี พูดชัดถ้อยชัดค�ำ ช่วยเหลือตัวเอง


ได้ดี ด้านวิชาการก็อยู่ในระดับที่น่าพอใจส�ำหรับบุคคลออทิสติก แต่
ปัจจุบันนี้ก็ไม่เน้นการเรียนด้านวิชาการแล้ว ปัญหาที่ต้องแก้ไขและ
พัฒนาต่อก็คือการอยู่ร่วมในสังคมขนาดใหญ่ ซึ่งก็น่าจะเป็นปัญหา
คลาสสิคส�ำหรับบุคคลออทิสติกทุกๆ คน

201
“๔ กลไกหลักตามออทิสติกโรดแมป”

จิรโชติ ชูวงษ์ (ซันเดย์)

เกิดวันที่ ๑๐ ธันวาคม ๒๕๔๓ อายุ ๑๕ ปี ออทิสติก IQ ๖๐ (สถาบัน


ราชานุกูล) ศึกษาอยู่ช้ัน ม.๒ โรงเรียนพิบูลประชาสรรค์ เรียนร่วมกับ
เด็กปกติ

202
เป็นนักกีฬาว่ายน�้ำ
- โรงเรียนพิบูลประชาสรรค์
- ตัวแทนกรุงเทพ กีฬาแห่งชาติคนพิการ นครสวรรค์ ๑๓-๑๗
มกราคม ๒๕๕๙
- ตัวแทนประเทศไทย Special Olympic ๒๐๑๓ Newcastle Australia
- ตัวแทนทีมชาติไทย รายการแข่งขัน “ชิงแช้มป์เอเซีย” ในวันที่ ๓๐-
๓๑ มกราคม ๒๕๕๙ ทีศ่ นู ย์กฬ
ี าทางน�ำ้ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
การพูดสือ่ สารพอได้ อ่านได้ เขียนได้ เข้าใจภาษาง่ายๆ การเรียน
ร่วมกับเด็กปกติไม่ได้คาดหวังความเข้าใจวิชาการมากนัก แต่คาดหวัง
ว่าได้ปรับตัวในสังคม การบ้านมีเยอะไม่คอ่ ยอยากท�ำ แต่ไม่อยากเรียน
ห้องคู่ขนานที่ให้การบ้านตามความสามารถ ทั้งที่ห้องเรียนร่วมมีโดน
เพื่อนแกล้ง มีทั้งเพื่อนที่ดี ลูกสมัครใจอยู่ห้องเรียนร่วมเมื่อให้เลือก
เพื่อนเก่ามีทั้ง ๒ ห้อง หากคิดว่าติดเพื่อนก็ไม่ใช่

เป้าหมายในอนาคต นักกีฬาว่ายน�้ำทีมชาติไทย
ปัจจุบันในวัยเรียน ให้ซ้อมกีฬา ให้เรียนรู้ชีวิตในโรงเรียนให้ใกล้
เคียงเพื่อนนักเรียนปกติในการใช้ชีวิตประจ�ำวัน ให้มีวินัย อดทน เท่า
ที่ศักยภาพจะรับได้ ไม่กดดัน
อนาคต เมื่อมีวินัย อดทน เข้าใจสังคมบ้าง ค่อยมองความสามารถ
ความถนัดในการท�ำงาน และฝึกฝนการท�ำงานต่อไป เพื่อไม่เป็น
ภาระสังคมในอนาคต
Chatchaya Chuvong
203
“๔ กลไกหลักตามออทิสติกโรดแมป”

นาย พุทธฤทธิ์ สินตระการผล

ชื่อเล่น ม๊อบ
วันเกิด วันพุธที่ ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๓๕

204
การศึกษา
- ระดั บ เตรียมเข้า อนุบ าล-อนุบ าล ๒ โรงเรี ย นอนุ บาลพรรณี
จ.เชียงใหม่
- ระดับชั้นอนุบาล ๓ – ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ โรงเรียนปรินส์
รอยแยลส์วิทยาลัย จ.เชียงใหม่
- ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔-๖ โรงเรียนวชิรวิทย์ ฝ่ายมัธยม
จ.เชียงใหม่ แผนการเรียน ESP ศิลป์-จีน

ปัจจุบัน
ก� ำ ลั ง ศึ ก ษาอยู ่ ที่ ม หาวิ ท ยาลั ย ราชภั ฏ เชี ย งใหม่ คณะ
มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ภาควิชา การพัฒนาชุมชน ปี ๓
(ภาคพิเศษ เสาร์-อาทิตย์)

ความสามารถพิเศษ
ค�ำนวณปฏิทิน

ความสนใจที่เป็นประโยชน์ต่อตนเอง
ช่วยคุณแม่ท�ำงานบ้าน เช่น ซักผ้า กวาดบ้าน ถูบ้าน ช่วย
คุณแม่ล้างจาน ช่วยเหลือสังคม ช่วยเก็บของที่ตกพื้น ช่วยเก็บ
ขยะที่ผู้อื่นทิ้งไม่เป็นที่เป็นทาง ช่วยเหลือผู้อื่นยกของในขณะที่
ผู้อื่นเอาไปไม่ไหว

205
“๔ กลไกหลักตามออทิสติกโรดแมป”

ด.ช.ภัทชมน นิลอ่อน

ชื่อเล่น พลาย อายุ ๘ ปี เกิด ๓ มิถุนายน ๒๕๕๐ ถิ่นที่อยู่


กรุงเทพฯ มีภาวะออทิสติก

ปัจจุบัน เรียนอยู่ชั้นประถมปีที่ ๒ โรงเรียนบางจาก หลักสูตรการ


ศึกษาทั่วไปเรียนร่วมกับเด็กปกติทั่วไป

206
ความสามารถพิเศษที่เกิดจากการพัฒนาศักยภาพอย่างต่อเนื่อง
และรอบด้าน
๑. เล่นเปียโน อ่านโน้ต ตามมาตราฐานสากล
๒. อ่านและเขียนหนังสือภาษาอังกฤษ ไทยได้อย่างคล่องแคล่ว และ
อ่านนิทานโชว์ให้ผู้อื่นฟังได้
๓. ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ต่างๆ ได้ พิมพ์และหาข้อมูล

ความสามารถ ตามวัย ที่ควรท�ำได้


๑. ท�ำกิจวัตรประจ�ำวันได้ด้วยดัวเองทุกเรื่อง
๒. ช่วยเหลืองานบ้าน มีหน้าที่รับผิดชอบประจ�ำ
๓. เรียนรู้ด้านวิชาการได้ตามหลักสูตรปกติ

สิ่งที่ต้องพัฒนาต่อ ให้ดีขั้นกว่าเดิม
๑. ด้านกล้ามเนื้อข้อต่อหลวม ต้องฝึกอย่างเป็นระบบและถูกทาง
๒. ทักษะการเข้าสังคม ยังไม่ค่อยสนใจผู้อื่น ไม่ค่อยมองหน้า
๓. ปัญหาทางด้านการควบคุมอารมณ์ และการคิดตัดสินใจ

207
“๔ กลไกหลักตามออทิสติกโรดแมป”

ลักษณะอาการที่พบ
๑. ทราบว่าเป็นออทิสติก เมื่อตอน ๒ ขวบ ๘ เดือน ด้วยอาการที่ไม่
พูด ไม่มองหน้า ไม่สบตา กรี๊ดทั้งวัน เดินทั้งวัน และหลบอยู่คน
เดียวมุมเดียว อารมย์รุนแรง
๒. เคี้ยวไม่เป็น กินอะไรกลืนเลย กินอาหารได้เฉพาะของเหลวๆ
๓. กล้ามเนื้อข้อต่อหลวม ไม่แข็งแรง เดินขาบิด เดินล้มตลอด หยิบ
จับอะไรก็หล่น วิ่งไปเป็นกระโดดไม่เป็น
๔. กลัวสิ่งแปลกใหม่ กลัวชิงช้า กลัวสิ่งที่คนอื่นไม่กลัว
๕. ไม่ยืดหยุ่น เปลี่ยนแปลงไม่ได้ ทนไม่ได้กับการเปียกเปื้อน

การช่วยเหลือ
๑. พาไปพบแพทย์ และฝึกทักษะต่างๆ เพื่อเตรียมความพร้อมทุก
ด้านที่สถาบันราชานุกูล
๒. หาความรู้ หาข้อมูล รวมรวมมาฝึกสอนเองในทุกเรื่อง ฝึกอย่าง
สม�่ำเสมอ และทุ่มเท
๓. ครอบครัวต้องท�ำความเข้าใจตรงกัน ไปในทางเดียวกัน
๔. ลาออกจากงาน เสียสละเวลาส่วนตัวฝึกลูกอย่างเต็มที่ เน้นเรื่อง
ทักษะสังคม พาออกสังคม และการช่วยเหลือตัวเอง ประวัตสิ ว่ น
ตัว และประวัติการดูแลพัฒนา

208
นาย คุณาธิป ไทรงาม

ชื่อเล่น โจโจ้ เกิดเมื่อวันที่ ๒๗ มีนาคม ๒๕๔๑ อายุ ๑๗ ปี เป็นลูก


คนเดียว รู้ว่าไม่ปกติเมื่ออายุ ๔ เดือน จนทราบแน่ชัดว่าเป็นออทิสติก
เมื่ออายุขวบกว่าๆ

209
“๔ กลไกหลักตามออทิสติกโรดแมป”

เข้าเรียนตามเกณฑ์จบชั้นอนุบาล ๓ โรงเรียนสังขวิทย์ มาต่อชั้น


ประถมศึกษาจนจบชั้น ป.๖ โรงเรียนวัดตันตยาภิรม

ตอนนี้เรียนชั้นมัธยมต้นอยู่ที่ กศน.เมืองตรัง และที่ศูนย์ส่งเสริม


ทักษะชีวิตบุคคลออทิสติก จ.ตรัง

โจโจ้เป็นเด็กน่ารักอารมณ์ดี ไม่หงุดหงิดง่าย รักการฟังเพลงเป็น


ชีวิตจิตใจ รักความสะอาด ค่อนข้างเรียบร้อย เข้าสังคมค่อนข้างเก่ง
ชอบพบเจอะเจอผู้คน ต่างกับออทิสติกทั่วๆ ไป ชอบคุยกับผู้ใหญ่มาก
กว่าเด็กๆ ใครๆ เห็นก็เอ็นดู ร่าเริงแจ่มใสยิ้มง่าย

ที่ต้องปรับคือการพูดคุยโต้ตอบ ค่อนข้างมีปัญหาเข้าใจทุกเรื่อง
แต่ไม่สามารถอธิบายออกมาให้คนอื่นเข้าใจได้

พัชรา ไทรงาม

210
นาย สุภากร. สุดามี (น้องหนึ่ง)
เกิด ๑๕ ตุลาคม ๒๕๔๐ เริ่มสงสัยในพัฒนาการลูกเมื่อลูกได้ขวบ
เต็ม เด็กๆ ที่เกิดในช่วงใกล้ๆ กันเริ่มพูดได้บ้างแล้ว แต่น้องหนึ่งยังไม่
พูดเลย จึงพาไปหาหมอที่โรงพยาบาลนพรัตน์ คุณหมอก็จับตรวจหู
คอจมูกและการได้ยิน รวมทั้งใส่เครื่องอะไรอีกมากมาย แล้วก็สรุปว่า
น้องปกติไม่มีอะไร จนมาได้ ๒ ขวบ น้องก็ยังไม่พูดอีก คราวนี้พาไปโรง
พยาบาลเด็ก ทางโรงพยาบาลก็ตรวจเหมือนกับโรงพยาบาลนพรัตน์อกี
แล้วก็บอกน้องปกติทกุ อย่างทีน่ อ้ งไม่พดู อาจจะเป็นเพราะสิง่ แวดล้อม
ก็ได้ แม่เลยเอาไปเข้าเนอร์สเชอรี่ ครูเขาก็วา่ ไม่มอี ะไรแตกต่างจากเด็ก
211
“๔ กลไกหลักตามออทิสติกโรดแมป”

อื่นเลยแม่เลยปล่อยมาเรื่อย
จนน้องได้ ๔ ขวบแม่และพ่อต้องย้ายมาท�ำงานที่อยุธยา แม่
ท�ำงานไม่นานก็ต้องออกเพราะไม่มีใครเลี้ยงเขา จ้างคนเลี้ยงเขาก็
บอกน้องซนมากเอาไม่ไหว แม่จึงพาไปเข้าโรงเรียนอนุบาลโรงเรียน
วัดขนอนบ้านกรด พอแม่ไม่ได้ท�ำงานจึงมีเวลาแอบไปดูลูกที่โรงเรียน
เห็นลูกชอบเล่นคนเดียวพูดคนเดียวและภาษาทีพ่ ดู ก็ไม่เหมือนเด็กคน
อื่น ครั้งแรกนึกว่าเขาแค่จินตนาการ แต่มาวันหนึ่งเขาเห็นโฆษนามา
ม่าหมูสบั แล้วเขาร้องกรีด๊ จนครูและผูป้ กครองเด็กอืน่ ว่าเขาเป็นโรคจิต
แม่เลยพาไปหาหมอทีส่ ถาบันราชานุกลู คุณหมอทวีศกั ดิถ์ ามแม่วา่ รูจ้ กั
ออทิสติกไหม แม่ตอบว่าไม่รู้ หมอบอกว่าน้องเป็นโรคนี้ แม่ตกใจมาก
เพราะไม่รวู้ า่ เป็นอย่างไรต้องกินยาแพงๆ ไหมหรือต้องผ่าตัดอะไรหรือ
เปล่าแม่เครียดไปหมด แต่พอคุณหมอบอกว่าโรคนีไ้ ม่จำ� เป็นต้องกินยา
แต่ตอ้ งอาศัยความรักและเข้าใจในตัวเขาและความอดทนของพ่อแม่ก็
ช่วยเขาได้ แม่ยิ่งงงไปใหญ่
พอกลั บ บ้ า นด้ ว ยความอยากรู ้ ว ่ า ออทิ ส ติ ก คื อ อะไร แม่ ไ ป
ร้านหนังสือมีเงินในกระเป๋า ๒ พันกว่าบาท แม่ซื้อหนังสือเกี่ยวกับ
ออทิสติกมาหมดเลย อ่านทัง้ วันทัง้ คืนจนเข้าใจแล้วเริม่ ฝึกตามหนังสือ
บ้าง คิดเองบ้าง ลองผิดลองถูกอยู่เดือนกว่าๆ พอกลับไปหาหมออีก
ครั้ง หมอบอกน้องพัฒนาการดีขึ้นแม่ท�ำอะไรมา แม่จึงเล่าให้หมอฟัง
หมอบอกแม่ท�ำถูกต้องแล้ว แม่จึงฝึกลูกมาเรื่อยๆ จนลูกพูดได้สื่อสาร
รู้เรื่อง
พอลูกเลื่อนชั้นเรียน แม่ก็ไปขอผู้อ�ำนวยการว่าขอเข้าไปนั่งปรับ
ลูกในห้องเรียนได้ไหม เพราะลูกเป็นเด็กพิเศษที่ต้องเรียนร่วมกับเด็ก

212
ปกติ ถ้าปล่อยให้ครูสอนลูกคงไม่รู้เรื่องแม่จะได้รู้วันนี้ครูสอนอะไรแม่
ก็จะเอามาสอนซ�ำใ้ นตอนเลิกเรียนในแบบของแม่ จนลูกสามารถเรียน
ได้เท่าเด็กปกติ แม่จึงปล่อยให้ครูสอนเอง
แต่พลาดตรงครูไม่เข้าใจเด็ก จะดุและท�ำโทษเด็กบ่อยๆ จนน้อง
ไม่ชอบเรียนหนังสือ ก็จะไม่เข้าห้องเรียน ไปโรงเรียนก็จะเดินทัว่ ไปหมด
แม่กไ็ ม่รวู้ า่ ครูสอนอะไรบ้างในแต่ละวัน เหตุการณ์นเี้ กิดขึน้ ตอนเขาอยู่
ป.๓ เทอม ๒ พอแม่รู้เขาก็อยู่ป.๔ แล้ว และแก้ไขอะไรไม่ได้แล้ว ก็เลย
บอกครูว่าไม่ต้องเน้นวิชาการกับเขา ขอแค่การอยู่ร่วมในสังคมก็พอ
ตั้งแต่นั้นมาทุกปี เปลี่ยนครูประจ�ำชั้น แม่จะต้องมีปัญหากับครู
ทุกครั้ง เพราะต้องไปปรับเขากับลูกให้เข้ากันให้ได้ จนลูกเรียนอยู่ ม.๒
แม่เริม่ วางแผนอนาคตให้ลกู ว่า ลูกจบแล้วจะท�ำอย่างไร จะเรียนทีไ่ หน
จึงปรึกษากับท่าน ผอ.ศูนย์การศึกษาพิเศษ ท่านก็กรุณาไปฝากให้ที่
โรงเรียนมัธยมอีกแห่งหนึ่งให้ในชั้น ม.๔ แต่พอน้องหนึ่งเรียนม.๓ ได้มี
โอกาสไปเรียนท�ำขนมทีส่ ารพัดช่างแล้วน้องชอบมาก ครูบอกน้องท�ำได้
ดีมากและตั้งใจเรียนมาก
ทุกครัง้ ทีก่ ลับจากสารพัดช่าง น้องจะบอกอยากได้เตาอบ เครือ่ ง
ตีแป้ง แม่ยงั ไม่ซอื้ ให้ เพราะคิดว่าคงจะเล่นๆ เฉยๆ แต่วนั หนึง่ น้องบอก
ว่า จบ ม.๓ แล้วไม่เรียนต่อนะ เบือ่ ครู เบือ่ เพือ่ นแกล้ง จะท�ำขนมอยูบ่ า้ น
แม่กว็ า่ ได้แม่จะซือ้ ของให้ แต่ตอ้ งท�ำอะไรง่ายๆ ให้แม่ดกู อ่ น น้องเลือก
ท�ำวุ้นน�้ำแดงให้แม่ น้องท�ำได้จริงๆ แม่เลยเริ่มฝึกน้องมาตั้งแต่นั้นจน
บัดนี้ น้องเขามีความฝันว่าจะเปิดร้านขนมให้ได้ แม่คิดว่าอีกสักระยะ
หนึ่ง จะท�ำความฝันของเขาให้เป็นจริง แม่ก�ำลังหาสถานที่ให้อยู่ช่วงนี้
ก็ให้เขาฝึกไปเรื่อยๆ จากอินเตอร์เน็ตเขาก็ท�ำออกมาได้ดีทุกครั้ง

213
“๔ กลไกหลักตามออทิสติกโรดแมป”

สืบสกุล โคตธนู (น้องเพชร)

อายุ ๑๙ ปี หนุ่มน้อยผู้มีศิลปะ และเสียงเพลงในหัวใจ


น้องเพชรลูกชายทีแ่ ม่นวลรูจ้ กั และรักสุดหัวใจคนนีจ้ ดั อยูใ่ นกลุม่
ทีม่ คี วามสามารถสูง จะมีความสนใจเฉพาะเรือ่ ง มีความสามารถพิเศษ
มีการสะสมของที่สนใจ พูดแต่เรื่องที่ตนเองสนใจ กิจวัตรประจ�ำวันมี
แบบแผนเฉพาะ เปลี่ยนแปลงตัวเองได้ยาก เช่น กินแต่อาหารชนิด

214
เดิมๆ หมกมุ่น เดินไปซื้อของร้านเดิม ที่เดิม ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง ดู
เป็นเด็กเจ้าระเบียบกว่าเด็กวัยเดียวกันมาก มีพฤติกรรมที่ซ�้ำๆ เช่น ฟัง
เพลงเดิมๆ ดูการ์ตนู เรือ่ งเดิมๆ ดูหนังบ้านทรายทองเป็นหลายร้อยรอบ
ถามว่าไม่เบื่อเหรอ ก็ตอบว่า “เพชรชอบ มันสนุกมากๆ”

ติดของบางอย่างมากเกินปกติ ไม่สามารถทนเสียงดังได้ ตอบ


สนองต่อสิง่ เร้ามากหรือน้อยเกินไป ข�ำก็หวั เราะจนเกินปกติ เวลาเศร้าก็
จะเศร้าร้องไห้จนเกินปกติ ไม่รู้จักกาละเทศะ มีกิจวัตรประจ�ำวันที่ต้อง
ท�ำโดยไม่สามารถยืดหยุ่นได้ ถึงแม้นว่ากิจวัตรนั้นจะไม่มีประโยชน์ก็
จะท�ำ เพราะอะไรนะหรือ ถ้าคนปกติอย่างเราจะไปถามหาเหตุผล เขา
จะตอบว่า “เพราะมันต้องท�ำแบบนี้” นี่คือ น้องเพชรที่แม่นวลรู้จัก นี่
คือสิ่งที่ลูกเป็น

คุ ณ แม่ ท ่ า นอื่ น ลองอ่ า นลู ก แล้ ว เขี ย นเป็ น ข้ อ ๆ ดู น ะคะว่ า


ออทิสซึม ของลูกเรา ...เป็นแบบไหน ? แล้วเราจะเข้าใจและมองเห็น
ตัวตนของลูกเรา แบบไม่ตอ้ งมานัง่ สงสัยว่าลูกท�ำแบบนัน้ แบบนี้ ท�ำไม

แท้จริงแล้วลูกเราไม่ได้ตอ้ งการ การอ่านการเขียน ลูกเราต้องการ


เรียนรู้ “ ทักษะชีวิต “ ซึ่งถ้าไม่ใช่เราแล้วใครจะมาช่วย ลูกเรามีภาวะ
แอลดีด้วย สะกดค�ำไม่เป็นเขียนหนังสือตัวเท่าหม้อแกง หัวกลับไป
กลับมา แยกไม่ออกระหว่าง ม ณ น ฆ ฒ เขาสับสน ไม่รู้จักตัวเลข จึง
มาคิดว่าเราเอาลูกเราไปโรงเรียน “ เพื่ออะไร “ ในเมื่อค�ำตอบมันไม่ใช่
ก็ตัดสินใจเอาลูกออกมาค่ะ

น้องเพชรต้องพบเเพทย์ทกุ เดือน ประเมินทุกสามเดือน จนกระทัง่


ร่างกายเขาปรับยอมรับยา (น้องเพชรมีภาวะชัก มือเท้าเกร็งด้วยนะ
215
“๔ กลไกหลักตามออทิสติกโรดแมป”

คะถ้าเครียด) ต้องทานยาตามหมอสั่งทุกวันตั้งแต่สี่ขวบจนถึงทุกวัน
นี้ ส่วนเรื่องการเรียน นวลหาความรู้ศึกษาเองท�ำให้ลูกเองทั้งหมด มี
โปรแกรมต่างๆ การใช้ทักษะชีวิต เดินสวน เดินตลาด วิเคราะห์ท้องฟ้า
สร้างจินตนาการ โดยทีเ่ ราต้องมีสว่ นร่วมกับลูกทุกอย่าง ลดภาวะเขย่ง
ปลายเท้า ดึงลูกให้ช้าในการเดิน จับสเตปการเดิน ...ท�ำเองหมดค่ะ
สอนการพูดเรียงประโยค อ่านตามคาราโอเกะ สอนให้ลูกพูด เดินกัน
เป็นเดือนๆ ปีๆ หลายปีค่ะ

เราต้องอยู่กับลูกตลอดชีวิต “จะรีบกันไปไหน” รีบไปเพื่ออะไร


คุณแม่ต้องหาค�ำตอบค่ะ ขอใช้ค�ำพูดที่ว่าเมื่อรู้ว่าลูกเราเป็นออทิสติก
“ชีวิตของเราจะไม่มีวันเหมือนเดิมอีกต่อไป”

ด้วยความรักยิ่ง
แม่แก้มนวล & น้องเพชร

216
นาย สรุษีห์ แก้วทอง

เกิดวันพฏหัสบดีที่ ๒๕ พฤษภาคา ๒๕๔๓ เวลา ๐๒.๔๕ น.


ที่โรงพยาบาลน่าน ปัจจุบัน อายุ ๑๕ ปี เป็นออทิสติก
จากเหตุการณ์หนึ่งเมื่อรู้ว่ามีลูกเป็นออทิสติก แล้วหมอถาม
ว่าคุณจะเลือกลูกหรืองานและเงิน ใจแม่ตอบทันทีว่าเลือกลูก และ
หลังจากนั้นมาผู้หญิงที่ขึ้นชื่อว่าแม่ต้องทิ้งทุกอย่าง แลัวครอบครัวก็
ไม่ยอมรับว่าลูกเป็น แต่แม่ลูกจะเป็นอะไรก็ช่าง รู้แต่ว่าลูกคือลูกแม่
แก้วตาดวงใจ ไม่ให้ใครมาดููถูกและว่าลูกแม่ แม่ขอรับค�ำๆ นั้นจาก

217
“๔ กลไกหลักตามออทิสติกโรดแมป”

ชาวบ้านที่ชอบเสือกเรื่องทับถมคนอื่น อยากตะโกนดังๆ ว่า กูก็มีหัวใจ


กูเจ็บเป็น แล้วแม่คนนีก้ ม็ ภี าระหนีส้ นิ เป็นจ�ำนวนมากทีไ่ ม่ตงั้ ใจเพราะ
โดนโกงและยุคฟองสบู่แตก

ตอนนีถ้ งึ เวลาต้องหาเงินใช้หนีเ้ ขาแล้วละ จะหวังพึง่ คนอืน่ คงไม่


ได้เพราะปัญหาซ�ำ้ ซากทีเ่ ด็กพิเศษถูกปฏิเสธทีเ่ รียน และเรียนจบมาแม่
เด็กพิเศษบ้านนอกต้องตามเรือ่ งเองเพือ่ หางานให้ลกู ท�ำ เพราะกว่าจะ
ผ่านมาวันนี้ได้จนจบปริญญาไม่ใช่เรื่องง่าย

จากค�ำบอกเล่าของแม่เด็กออทิสติกจังหวัดน่านได้ค�ำตอบจาก
หน่วยงานว่า ไม่มเี ลยงบจ้างเด็กพิเศษ เพราะเค้าคิดว่าเด็กพิเศษท�ำงาน
ไม่ดพี อ เขาน่าจะคิดว่าเด็กพิเศษก็มคี วามสามารถพิเศษ “เขาถนัดด้าน
ไหน” ก็ให้เขาไปท�ำตามที่เขาถนัดก็ได้นี่ ไม่ใช่ว่า “งบหมด” เจ็บปวด
เหลือเกินท�ำไงดี กฏหมายก็ออกมาสวยหรู ให้อยู่อย่างมีความสุขและ
มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ดิฉันเริ่มงง ว่ามาตราฐานอยู่ตรงไหน

ใช่คะ ดิฉันคิดว่าสิ่งแรกคือ เราต้องต่อสู้กว่าจะฟันฝ่าอุปสรรค


มากมายและพัฒนาลูกของเราได้ แต่ละขัน้ ตอนเราต้องฝึกจ�ำนวนกีค่ รัง้
ไม่รแู้ น่นอน ค่าใช้จา่ ยในชีวติ ประจ�ำวันเราไม่สามารถท�ำงานได้ยอมอด
เพื่อให้ลูกได้กิน และยอมสละชีวิตเพื่อลูกได้เรียน แต่พอเรียนจบกลับ
ไม่มีงานรองรับ เข้าใจหัวอกแม่ๆ ที่ก�ำลังต่อสู้ดีคะ สู้ๆ คะ

ในวัยเด็กหาทีเ่ รียนไม่ได้ เป็นนักซ๊อบปิงโรงเรียน ผ่านมามากกว่า


๑๕ โรงเรียน ไม่ใช่มีปัญหากับทางครูหรือโรงเรียน แต่คุณครูมีวิธีพูด
“คุณแม่ขา ทางโรงเรียนเราไม่มีบุคคลากรด้านนี้ค่ะ น่าจะเอาไป
218
โรงเรียนเฉพาะทางนะคะ เด็กคนเดียวท�ำให้ระบบโรงเรียนรวน คุณแม่
ขาโรงเรียนเราเป็นเอกชนค่ะ เราเข้าใจค่ะ แต่โรงเรียนจะอยูไ่ ม่ได้ เดีย๋ ว
ผูป้ กครองแห่พาลูกลาออกจากโรงเรียนค่ะ คิดว่าเห็นแก่สว่ นรวมนะคะ”

หากภาครั ฐ มี ร ะบบที่ ชั ด เจนในการดู แ ลเด็ ก ออทิ ส ติ ก อย่ า ง


จริงจัง ดิฉนั เชือ่ ว่าประเทศไทยจะมีบคุ คลกรทีเ่ ก่งและไร้ขดี จ�ำกัด ไม่ใช่
ปล่อยให้พ่อแม่ท�ำและพัฒนาลูกกันเอง เพราะสุดท้ายคนที่มีลูกเป็น
ออทิสติกจะเป็นครอบครัวที่มีภาระหนี้สินล้นตัว ขอฝากกับรัฐบาลที่
ทหารครองอ�ำนาจช่วยหันมามองหัวใจของพ่อแม่ออทิสติกทุกระดับ
ชนชั้นด้วย

นางสาวอัจฉรา อุดหนุน
๑๘๐ ม. ๔ ต. อ่ายนาไลย อ.เวียงสา จ. น่าน ๕๕๑๑๐

219
“๔ กลไกหลักตามออทิสติกโรดแมป”

นายธนวัฒน์ เฉลิมมิตร

ผมเกิด ๓๐ มิถุนายน ๒๕๔๐ เรียนตั้งแต่อนุบาล ๒ จนถึงตอน


นี้เรียนอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ เป็นออทิสติกตั้งแต่๒ขวบตอนนี้อายุ
๑๘ ปีแล้วครับ
เมือ่ แรกเริม่ ยังพูดไม่ได้ ตอนปี ๒๐๐๑-๒๐๐๒ เริม่ พูดได้บา้ งเล็ก
น้อย ต่อมาในปี ๒๐๐๓ ตอนอายุ ๕-๖ ขวบนั้นก็พูดได้

220
ต่อมาเริ่มเรียนรวมตอนป.๑ในปี ๒๐๐๔ แรกๆ เพื่อนไม่เข้าใจ
ว่าแพนเป็นอะไรก็ไม่รู้ จนถึงปี ๒๐๐๕ เพื่อนๆ ก็เข้าใจว่าแพนเป็น
ออทิสติกแต่ยังไงก็โดนแกล้งตลอด หยอกก็ไม่เป็น ท�ำเป็นเรื่องจริงจัง
ไปหมด แถมร้องไห้หนักมาก

ในปี ๒๐๐๖-๒๐๐๗ เริ่มเรียนรวมเต็มเวลา แต่เริ่มรู้จักการเข้า


สังคมทีแ่ ตกต่างและได้ไปต่างประเทศ (ญีป่ นุ่ ) และท�ำตามระเบียบทุก
อย่างโดยเฉพาะการขึ้นเครื่องบินต้องนั่งอย่างสงบไม่ร้องไห้ ไม่โมโห
ไม่กริ๊ด พอไปถึงต้องท�ำตามกติกาสังคมมากขึ้น

พอในปี ๒๐๐๘-๒๐๑๐ เริ่มเข้าใจเพื่อนบ้าง แต่ยังโดนแกล้ง


มากกว่าเดิมแทบทนไม่ได้ แต่ได้เล่นกีฬาว่ายน�ำ้ แล้ว แรกๆ นัน้ ตีขาก่อน
และจับโฟมเป็นครั้งแรก แต่พอท�ำซ�้ำแล้วซ�้ำอีกก็เคยชินแล้ว และมาขี่
ม้าด้วย แรกๆ ก็ Basic ไปก่อนแต่พอเคยชินปั้บก็ได้เลย

ตอนอยู่เรียนรวมแพนท�ำกิจกรรมทุกอย่างกับเพื่อนๆ ท�ำให้
เพื่อนๆ และคุณครูเข้าใจแพน เพื่อนที่เรียนรวมดีมาก ช่วงมัธยมเริ่ม
แข่งว่ายน�ำ้ สเปเชียวโอลิมปิก และร่วมเล่นละครเวทีกบั เพือ่ นๆ แม่สอน
ให้แพนรักแม่รักพี่น้องและเพื่อน มีอะไรต้องแบ่งปัน และต้องปฏิบัติ
ตามกฎกติกาสังคมทุกอย่าง แม่เลี้ยงแพนเหมือนคนปกติ ไม่ได้สิทธิ
พิเศษทุกอย่าง ถ้าท�ำผิดต้องถูกลงโทษและต้องขอโทษ แม่สอนว่าถ้า
เจอผู้ใหญ่ต้องเคารพ

เป้าหมายของแพนอยากเรียนคณะมนุษยศาสตร์ สาขาภาษา
ญี่ปุ่น มข.ครับ เป้าหมายต่อมาอยากมีงานท�ำเพื่อจะได้เลี้ยงแม่ตอน
221
“๔ กลไกหลักตามออทิสติกโรดแมป”

แม่ชราแล้ว นี่คือจุดหมายอันสูงสุดของแพน และเป็นคนใจสู้ สู้ทุก


อย่าง ไม่มีค�ำว่าถอย เหนื่อยต้องอดทน ปีนี้ขอนแก่นเป็นเจ้าภาพกีฬา
สาธิตสามัคคี แพนได้เข้าร่วมว่ายน�ำ้ แพนจะพยายามสู้ และเป็นความ
ตั้งใจของแพนที่จะแข่งที่ขอนแก่น แพนจะเป็นคนดีของแม่และทุกคน
แพนรักแม่ที่สุดเลย

ตอนอยู่ชั้น ม.๔ (๒๐๑๓) ก่อนเปิดเทอมแพนได้ไปปฏิบัติธรรม


กับโรงเรียนในตอนนั้น แพนต้องอยู่ถึง ๕ วัน วันแรกแพนก็ถามหา
แม่ตลอดเวลา แต่พอแม่มาถึงก็คุณแม่บอกว่ามีเงื่อนไข ถ้าอยู่ได้ก็ได้
รางวัลไป สามวันต่อมาก็ไดไปต่างประเทศ (ญี่ปุ่น) เป็นครั้งที่ ๒ กติกา
เดิม แต่เริม่ เรียนรูเ้ รือ่ งมารยาทและระเบียบวินยั มากขึน้ อยูใ่ นสังคมได้
มากกว่าเดิม และรู้จักการรอคอย รู้จักความรับผิดชอบ

แต่พอกลับมาจากต่างประเทศก็มาที่โรงเรียนในวันต่อมา แพน
ร้องไห้เพราะปรับตัวไม่ทัน ต่อจากนั้นอีกหลายเดือนต่อมาแพนได้ไป
แข่งอ่านข่าวรุน่ เยาว์ประจ�ำปี ๒๕๕๖ และได้เหรียญทองระดับประเทศ
จนได้ ตอนม.๕ ก็เริ่มปรับตัวมากขึ้น แต่แพนถนัดวิชาด้านภาษาและ
สังคม แต่ไม่ถนัดวิชาค�ำนวณ พออยู่ม.๖ เริ่มรู้จักค�ำว่า “ดิ้นรน” มาก
ขึ้นคบกับเพื่อนได้ทุกคนเลยล่ะ แถมเป็นหัวหน้าห้อง ๓ ปีซ้อนอีก ช่วย
งานเพื่อนและคุณครูได้ดีทีเดียว

222
กระผม นายฐากูร อาตม์สกุล

เกิดวันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๒ เกิดที่ถิ่นสโตยม�ำบัง (ปัจจุบัน


จ.สตูล) ด.ช.คนนีแ้ ปลก เขียนหนังสือได้เป็นค�ำ แต่ไม่พดู เลยไปหาเจ้า
อาวาส ถามถึงสาเหตุท�ำไมไม่พูดเลย เจ้าอาวาสบอกชื่อจริง “ฐากูร”
นะ แปลว่า “รูปปั้น” เปลี่ยนชื่อเป็น “มฆวัตว์” แต่ไม่พูดอยู่ดี

223
“๔ กลไกหลักตามออทิสติกโรดแมป”

จน ด.ช. คนนีด้ กู าร์ตนู ขบวนการโอเรนเจอร์ กลับมาคิดนึกคึกขึน้


มา ท�ำเป็นตัวการ์ตนู นัน้ เอาไม้บรรทัดท�ำเป็นดาบ ท�ำสมมุตไิ ล่ฟนั สัตว์
ประหลาด จนล้มคางแตก เย็บสี่เข็ม หลังจากนั้นด.ช.คนนี้พูดได้เหลือ
เชื่อ ยังกับถูกเสกให้พูดได้อัตโนมัติ

เวลาเดินไปไหน ด.ช.คนนี้ เดินเขย่ง น่าเตะ ไปไหนมีคนหมั่นไส้


จนกระทั้งตอน ม.๑ ด.ช.คนนี้ เดินท่าทางแบบนี้ละ โดนคนข้างบ้าน
ต่อยลงกับพื้น จนเพื่อน ด.ช.คนนี้มาเห็น แล้วช่วยเหลือ แล้วนั้นคือ
มิตรภาพครั้งแรกของด.ช. และก็ได้มีเพื่อนคุยเสมอมา จนลืมไปว่าตัว
เองเป็นเด็กพิเศษ

กระทั่งมาถึงวันที่ด.ช.คนนี้ เรียนจบมหาวิทยาลัย เพื่อนของด.ช.


ทั้งสองคนทะเลาะกันเพราะมีลูกเป็นเด็กพิเศษ ด.ช. ก็มาเคลียให้คืนดี
กัน สุดท้ายเพื่อนด.ช.ทั้งสองคืนดีกัน นั้นจุดเริ่มต้นของด.ช. ที่เปิดเผย
เรื่องออทิสติกให้สังคมรู้

พอ ด.ช.เรียนจบ ได้ท�ำงานบริษัทสยามอินเตอร์เนชั่นแนลฟู๊ด
จ�ำกัด ต�ำแหน่งเจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการ ท�ำไปได้สัก ๑ ปี ด.ช.ก็ถูกรถ
ชนขาหักสี่ท่อน เสียทั้งงาน เสียทั้งเงิน รักษาตัวมา ๓ เดือน ในระหว่าง
ที่ด.ช.ป่วย ชมรมผู้ปกครองออทิสติกสตูล ได้เผยแพร่เรื่อง ด.ช.คนนี้
ออกทาง FACEBOOK ท�ำให้คนรู้จักเด็กชายคนนี้กันทั่ว

จนถึ ง วั นออทิส ติกโลก เมื่อ ๒๕๕๗ ด.ช.คนนี้ ไ ด้ เปิ ดตั วเป็ น


ออทิสติกเป็นทางการ แล้วผลงานมากมาย เป็นนักฟุตบอลของภาค
วิชาชีววิทยา ได้เป็นวิทยากรบุคคลออทิสติก ออกรายการวิทยุชุมชน
สตูล ได้รับเชิญเป็นพิธีกรร่วมรายการ Spirit of mind
224
ชื่อแทน คลังก�ำแหงเดช
เกิ ด พุ ธ ที่ ๑๐ มิ ถุ น ายน ๒๕๓๕ ที่ โ รงพยาบาลศิ ริ ร าช
กรุงเทพมหานคร แรกคลอดตัวด�ำ ระบบหายใจไม่ท�ำงาน หลอดลม
ตีบ ใช้เครือ่ งช่วยหายใจหลายเดือน เมือ่ อายุ ๓ เดือนย้ายไปรักษาตัวที่
โรงพยาบาลสวนดอก เชียงใหม่ จนสี่ขวบถึงทราบว่าเป็น Autism ที่ไม่
ทราบก่อนหน้านัน้ เพราะคิดว่าแทนมีพฒ ั นาการไม่ปกติแตกต่างจากพี่
สาว คงเนื่องจากการเจ็บป่วยเมื่อแรกเกิดต่อเนื่องกันมา

เมื่อทราบจึงได้รับการกระตุ้นพัฒนาการจากหลายฝ่าย เริ่ม
จากฝ่ายกิจกรรมบ�ำบัด (OT) ฝ่ายวจีบ�ำบัด (Speech Therapy)
ที่ โ รงพยาบาลสวนดอก ฝ่ า ยกระตุ ้ น พั ฒ นาการแบบองค์ ร วมที่
225
“๔ กลไกหลักตามออทิสติกโรดแมป”

ศูนย์ พัฒ นาการเด็กภาคเหนือ ปัจ จุบันคือสถาบั น พั ฒนาการเด็ ก


ราชนครินทร์ เชียงใหม่ ด้านการศึกษาเรียนที่โรงเรียนอนุบาลมาติกา
สลับกับโรงเรียนการศึกษาพิเศษที่โรงเรียนกาวิละอนุกูล และย้ายเข้า
เรียนต่อทีโ่ รงเรียนอนุบาลเชียงใหม่ เมือ่ อายุ ๘ ขวบ ย้ายตามครอบครัว
มาเข้าโรงเรียนเทศบาลบ้านศรีมหาราชา จนจบชัน้ ประถมศึกษาปีที่ ๖

*ข้อสังเกต ในแต่ละวันได้รับการกระตุ้นพัฒนาการจากหลาย
ฝ่ายแบบองค์รวม ได้แก่ จากฝ่ายครอบครัว ฝ่ายสาธารณสุข ฝ่ายการ
ศึกษา ฝ่ายสังคม และฝ่ายทางเลือกอื่นๆ ซึ่งมีตารางการฝึกในแต่ละ
ที่อย่างชัดเจน

*อาการ Autism แรกพบอยู่ในระดับรุนแรง (Severe) พร่องทุก


ทาง ทั้งสังคม ภาษา-การสื่อสาร พฤติกรรมซ�้ำ รวมถึงภาวะอารมณ์
แปรปรวน การเล่นและการจินตนาการ เมื่อได้รับการพัฒนาแบบ
องค์รวมจึงมีการพัฒนาการบางอย่างก้าวหน้า (Hight functions) บาง
อย่างคงที่ (Moderate) บางอย่างถดถอย (Severe and Regressive)
ชึ่งผกผันตามอายุและสิ่งแวดล้อม

ความสามารถพิเศษ
• มีความจ�ำดี ทัง้ บุคคล อาคาร สถานที่ เหตุการณ์ สิง่ ทีส่ นใจ เช่น
เมื่อ ๗ ขวบ ได้ยินพากย์หนังการ์ตูนที่เคยดู ทั้งเรื่องจนจบ (ที่
พากย์เองเพราะวันนัน้ ระบบเสียงไม่ทำ� งานจึงพากย์ให้ตวั เองฟัง)
• มีจิตสาธารณะ ชอบงานบริการสังคม และช่วยเหลือผู้อื่น
• เมือ่ ครอบครัวพาไปห้างสรรพสินค้าจะไปช่วยคนทีเ่ ขารูจ้ กั เปิด-
226
ปิดประตูรถ ช่วยถือสิ่งของเก็บในรถ ช่วย Top Suppermarket
ที่ศรีราชา เรียงสินค้า เก็บสินค้าเข้าที่ น�ำสินค้าชั่งน�้ำหนักที่
ลูกค้าลืมชั่ง ใส่สินค้าลงถุงอย่างเป็นระเบียบ และสามารถบอก
พนักงานใหม่ให้ท�ำอย่างถูกต้องด้วย
• ช่วยแพคกล่องร้านมิสเตอร์โดนัท
• ช่วยงานเดินเอกสารที่เทศบาลเมืองศรีราชา แม้ไม่ได้สั่งก�ำชับ
ว่าจะน�ำไปให้ฝ่ายไหนบ้าง แต่เมื่ออ่านดูเขาจะทราบและท�ำได้
ถูกต้อง จนได้รับค�ำชมว่า “รู้ได้อย่างไรว่าต้องน�ำไปให้ใคร” เขา
บอก “อ่านดูเอง”
• งานอาสาสอนอ่านหนังสือและน�ำสวดมนต์ให้นกั เรียนชัน้ ป.๑/๔
โรงเรียนบ้านศรีมหาราชา ซึ่งเป็นห้องเรียนเดิมที่เคยเรียน และ
เป็นห้องของคุณครูประจ�ำชั้นที่เคยสอนเก่า
• งานบริการตนเองและบุคคลในครอบครัว งานบ้านต่างๆ เช่น
กรอกน�ำ้ เข้าตูเ้ ย็น หิว้ น�ำ้ ขึน้ รถ ตากผ้า เก็บเสือ้ ผ้าเข้าตู้ ซือ้ อาหาร
ที่ชอบรับประทานเอง ติดเครื่องหมายเสื้อ บางครั้งผูกรองเท้า
บางครั้งติดกระดุมเสื้อ ให้คนในบ้าน เป็นต้น
• งานบริการสังคม เช่น มีเทศกาลงานต่างๆ จะไปแจกน�้ำดื่ม ผ้า
เย็น มห้ผู้มาร่วมงาน
• งานประชุมหรืองานทีค่ ณ ุ แม่เป็นวิทยากร จะช่วยเชิญผูเ้ ข้าอบรม
เข้าห้องประชุม แจกเอกสารการอบรม การประชุมและมีบาง
ครั้งคอยช่วยเตือนผู้เข้าอบรมปรบมือเมื่อได้รับประกาศนียบัตร
เป็นต้น

227
“๔ กลไกหลักตามออทิสติกโรดแมป”

พรรษ (จี๊ป) อัจฉริยะศาสตร์


อายุ ๓๔ ปี เดิมเป็น autistic ระดับ severe
ปัจจุบันอยู่ใน ระดับ moderate ดูแลตัวเองในชีวิตประจ�ำวันได้
มีภาษาบ้างถามตอบได้ยังไม่ถึงขั้นสนทนาหรือเล่าเรื่องได้

ยังมีปัญหาการปรับตัวเมื่อมีการเปลี่ยนแปลง และปัญหาด้าน
อารมณ์ ต้องการการปรับในเรื่องภาษาและสังคม ไม่ค่อยสนใจสิ่ง
แวดล้อม ยังมีการพูดซ�้ำๆ พูดเรื่อยเปื่อย
228
นายซากุระ ซิมิซึ

เกิดวันที่ ๑๐ เม.ย. ๒๕๓๕ อายุ ๒๓ ปี พิการออทิสติก หูหนวกซ้อน


ปัจจุบันฝึกอาชีพ ที่ศูยบ์ส่งเสริมทักษะชีวิตบุคคลออทิสติก
จังหวัดชลบุรี

เคยได้ รั บ รางวั ล จากมู ล นิ ธิ คุ ณ พุ ่ ม ปี ๒๕๕๔ รางวั ล บุ ค คล


ออทิสติกดีเด่น สาขาอาชีพ รางวัลบุคคลออทิสติกต้นแบบจากกระทรวง
229
“๔ กลไกหลักตามออทิสติกโรดแมป”

การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ปี ๒๕๕๗ แม่ น.ส.อารยา


แดงแสง พ่อนายเซอิจิ ซิมิซึ

นายซากุระ ครั้งแรกที่รู้ว่าลูกพิการ คือหูหนวกเมื่ออายุ ๒ ขวบ


และได้รับการฝึกพูดมาตลอด ครูฝึกพูดบอกว่าฝึกยากมาก ไม่นิ่งเลย
และเมือ่ อายุ ๕ ขวบก็พาเข้าเรียนที่ รร.โสตศึกษา จ.ชลบุรี ซากุระไม่นงั่
เรียนเหมือนกับเพือ่ นคนอืน่ ๆ จนครูสงั เกตุและครูบอกว่า น่าจะมีภาวะ
ออทิสติกร่วมด้วยให้แม่ไปพบศูนย์การศึกษาพิเศษ

และแม่ก็ได้เช็คลิสต์อาการออทิสติก ปรากฏว่าเค้ามีทุกข้อเลย
การเรียนต้องจ้างครูประกบตลอดเวลา และวันหยุดแม่ก็จ้างให้พี่คน
หูนวกมาสอนที่บ้านด้วย และด้วยการมีภาวะออทิสติกซากุระก็เรียน
ได้ไม่ถึงใหน แต่แม่สังเกตุเห็นว่าเค้าชอบงานศิลปะ ก็ส่งเสริมเรื่อง
การศิลปะมาตลอดและสังเกตุว่าศิลปะที่ลูกชอบมากที่สุดคือการวาด
รูปรถ..

และเมื่ออายุ ๑๔ ปี ก็ได้พาไปฝึกท�ำงานลวดดัด ซึ่งเป็นสิ่งที่


น้องชอบมากและสามารถท�ำเป็นอาชีพได้และได้รับรางวัลจากมูลนิธิ
คุณพุ่มเมื่อปี ๒๕๕๔ แม่ท�ำงานเป็นประธานชมรมผู้ปกครองบุคคล
ออทิสติกจังหวัดชลบุรีมาตั้งแต่ ปี ๒๕๓๘ จึงถึงปัจจุุบัน และ ได้เปิด
ศูนย์ฯ เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคคลออทิสติกและสติปัญญามาจนถึง
ปัจจุบัน

และปัจจุบัน นายซากุระ ก็ฝึกอาชีพอื่นๆ ที่ศูนย์ฯ ได้สอนได้ทุก


อาชีพ เมื่อท�ำอาชีพจะท�ำให้อารมณ์ดี มีความสุขที่ได้ท�ำ

230
ด.ช.ณัฐวัฒน์ กอบกิจ

อายุ ๑๐ ปี ๘ เดือน ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าเป็นออทิสติก


สเปรคตรัม แบบไฮฟังก์ชั่น ตอนอายุ ๓ ปี ๖ เดือน หลังจากนั้นก็เข้ารับ
การฝึกกิจกรรมบ�ำบัดเป็นต้นมา

เริ่มเข้าศึกษาระดับเตรียมอนุบาลที่ ร.ร.อารีย์วัฒนา จ.ระยอง


ตอนอายุ ๒ ปี ๑ เดือน จากนั้นย้ายที่อยู่ตอนอายุ ๓ ปีมาศึกษาต่อใน
ระดับชั้นอนุบาล ๑ ที่ ร.รธาดาอนุสรณ์จนจบ ป. ๓ ซึ่งเป็น ร.ร. เอกชน
เรียนร่วมกับเด็กปกติทุกวิชา วัดผลการเรียนเท่ากับเด็กปกติตัดที่ ๖๐

231
“๔ กลไกหลักตามออทิสติกโรดแมป”

เปอร์เซนต์ทุกวิชา ปัจจุบันศึกษาอยู่ ร.ร. บ้านคลองมวนในระดับชั้น


ป. ๔ ซึ่งเป็น ร.ร.เรียนร่วมมีถึงม. ๓ แต่เบสท์เรียนร่วมกับเพื่อนในห้อง
ทุกวิชา นัง่ รถรับส่งและอยูด่ ว้ ยตนเองทีร่ .ร.ตลอดทัง้ วันตัง้ แต่อยูเ่ ตรียม
อนุบาลถึงปัจจุบัน

มีความสามารถพิเศษในเรื่องของความจ�ำที่ดี สามารถท่องสูตร
คูณถึงแม่ ๑๒ ได้ตงั้ แต่อายุ ๓ ปี สามารถอ่านหนังสือได้ดว้ ยตนเองโดย
ไม่ต้องสะกดเหมือนเด็กปกติทั่วไป โดยสามารถอ่านได้เป็นประโยค
หรืออ่านนิทานเป็นเรือ่ งๆ ได้ตงั้ แต่อายุประมาณ ๔ ปี สามารถจดจ�ำค�ำ
ศัพท์ภาษาอังกฤษได้เป็นจ�ำนวนมากทัง้ ค�ำอ่าน ตัวสะกด และค�ำแปล
สามารถอ่านเขียนภาษาไทย- อังกฤษได้อย่างคล่องแคล่ว เวลาทีต่ งั้ ใจ
ท�ำการบ้านจะลายมือสวยมาก จะได้รบั ค�ำชมจากเพือ่ นและครูเสมอว่า
ลายมือสวย สามารถเล่นเปียโนเป็นเพลงด้วยตนเองและเล่นพร้อมกับ
ครูผู้สอนได้ อ่านโน๊ตเพลงสากลได้อย่างคล่องแคล่ว

เวลาว่างชอบปัน้ ดินน�ำ้ มันมาก จะชอบปัน้ ในสิง่ ทีต่ นเองชอบและ


สนใจ เช่น เสาส่งสัญญาณโทรศัพท์ เสาไฟฟ้าแรงสูงที่เห็นตามข้าง
ทางซึ่งเค้าชอบมองเวลานั่งรถ โดยจะปั้นจากความทรงจ�ำของสมอง
ที่คิดถึงสิ่งนั้นโดยมีรายละเอียดเหมือนกับของจริงมากๆ บางครั้งก็ปั้น
ตัวหนังสือภาษาไทยบ้าง อังกฤษบ้าง ตัวเลขบ้างตามสิง่ ทีเ่ ค้าสนใจ แต่
ตัวอักษรมีความเป็นระเบียบมีช่องไฟแต่ละตัวอักษรสวยงาม

สามารถจดจ�ำหลักภาษาวิชาภาษาไทยได้ดี เช่น พวกมาตรา


ตัวสะกด อักษรสูง กลาง ต�่ำ แต่มีปัญหาเรื่องการแต่งเรียงความ
คณิตศาสตร์ สามารถบวก ลบ คูณ หาร ได้อย่างคล่องแคล่ว แต่มี
232
ปัญหาเรื่องการวิเคราะห์โจทย์ปัญหา ส่วนการท�ำข้อสอบจะมีปัญหา
เรื่องการวิเคราะห์ การตีความ และความเข้าใจประโยคที่ซับซ้อน

ด้านชีวิตประจ�ำวันสามารถช่วยเหลือตนเองในการท�ำกิจวัตร
ประจ�ำวันได้ ท�ำตามค�ำสั่งได้ สามารถพูดคุยโต้ตอบได้ แต่ยังไม่
สามารถเล่าเรื่องหรือประสบการณ์ได้ แต่สามารถบอกได้ว่าครูสั่งมา
ว่าอย่างไร วันนี้เรียนอะไรบ้าง และใครท�ำอะไรที่ไหนบ้าง

แต่ยงั มีปญ
ั หาพฤติกรรม การเล่นเสียง หรือเลียนแบบเสียงต่างๆ
อยู่ เวลาที่ตื่นเต้น เจอคนมาก หรือเวลาที่ควบคุมตนเองไม่ได้ ซึ่งต้อง
ปรับและฝึกเพิ่มเติมอีกต่อไป

อารียา กอบกิจ

233
“๔ กลไกหลักตามออทิสติกโรดแมป”

ศิราเมษฐ์ เจริญสุข

เกิดวันที่ ๒๒ มกราคม พ.ศ.๒๕๓๐ ในยุคสมัยนั้นความรู้เรื่อง


ออทิสติกยังน้อยนัก และหมอมักจะวินจิ ฉัยว่าเป็นสมาธิสนั้ บ้าง ไฮเปอร์
บ้าง เพราะเนื่องจากซุกซนไม่อยู่นิ่งมาตลอด

234
พูดได้อายุ ๒ ขวบครึ่ง และสบตา พาที ชี้นิ้ว เหมือนคนทั่วไป คน
จึงมองว่าเหมือนเป็นปกติ เวลาเข้าโรงเรียนก็โดนปฏิเสธ และเชิญออก
เพราะความซนเสียก็หลายครั้ง

ในช่วงที่เข้าโรงเรียนใหม่ๆ ตอนอนุบาล ต้องใช้เวลานานกว่าจะ


ลงตัว การรักษาก็เสียเวลา หลงทางไปพอสมควรช่วงหนึ่ง

เคยบวชเรียนเป็นพระมา ๑ พรรษาเต็มๆ และเคยมีอาชีพดูหมอ


ปัจจุบันอยู่ช่วยงานกิจการในครอบครัวที่บ้าน

235
“๔ กลไกหลักตามออทิสติกโรดแมป”

เจนนิเฟอร์ เบสเซ่อลิ่ง

เกิดวันที่ ๑๔ ก.ค ๒๕๔๔ ในยุคนั้นเจนนิเฟอร์นอนหลับตลอด


เวลา จนถึงอายุ ๗ เดือน ช่วงนั้นหมอบอกว่าเจนนิเฟอร์ไม่เป็นไร พอ
อายุได้ ๑๐ เดือน แม่เลยนัดหมอตรวจอีกครั้ง ครั้งนี้หมอเลยบอกว่า
เจนนิเฟอร์เป็นเด็กออทิสติก

เจนนิเฟอร์เริ่มรักษาตอนนั้นแล้ว รักษาที่โรงพยาบาล ๔ ปี ช่วง


นั้นโรคนี้ยังไม่มีคนเป็นมากคน ยังไม่มีใครรู้ แล้วเจนนิเฟอร์รักษาที่

236
โรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่นอีก ๕ ปี แล้วเจนนิเฟอร์มารักษาที่ประเทศ
ฮอลแลนด์ ตอนนี้เจนนิเฟอร์รักษาที่นี่เป็นเวลา ๖ ปี

ตอนนีเ้ จนนิเฟอร์เรียนอยูช่ นั้ ม.๓ แล้ว ไปโรงเรียนแล้ว เจนนิเฟอร์


ไปอยู่บ้าน ๒๔ ชมทุกๆ เดือน เดือนละ ๒ คืนกับ ๓ วัน

เรื่องการรักษาเจนนิเฟอร์ที่นี่ หมอจะนัดปีละ ๓ ครั้ง ตอนนี้


เจนนิเฟอร์ไปโรงเรียน ๕ วันต่อสัปดาห์ การสอนอยู่ที่นี้เด็ก ๗ คน ต่อ
ครู ๓ คน เจนนิเฟอร์จะมีครูดูแลอีก ๑ คน

การเรียนทีน่ ฝี้ กึ กีฬาเพือ่ ให้เด็กได้ออกก�ำลังร่างกายอาทิตย์ละ ๒


ครั้ง การเรียนที่โรงเรียนเค้าจะสอนเรียนแบบจอคอมพิวเตอร์จอใหญ่

แล้วทุกวันพุธ คุณครูจะพาเด็กออกไปท�ำความสะอาดในโรงเรียน
เก็บใบไม้เพื่อให้เด็กรู้จักและฝึกทักษะให้เด็กใช้อุปกรณ์การท�ำงาน
เครื่องใช้ท�ำความสะอาด

อยู่ที่นี่สอนให้เด็กช่วยกระตุ้นในการจัดการกับปัญหาแล้วช่วย
กันเป็นกลุ่ม คุณครูกับพี่เลี้ยงจะดูแลแล้วจะถามเด็กว่าต้องการสิ่ง
ไรเเล้วให้เด็กไปไปเอามาไว้ที่โต๊ะเรียน แล้วคุณครูจะสั่งให้เด็กไปเอา
สิ่งที่ตู้เก็บสิ่งของนั้นออกมาให้คุณครู ทุกๆ ครั้งทางโรงเรียนจะมีสมุด
จดการเรียนการสอนมาให้กลับบ้านทุกวันตั้งแต่เช้าถึงกลับบ้าน

237
“๔ กลไกหลักตามออทิสติกโรดแมป”

นาย ฐิติพงศ์ ภาสวร

ลื ม ตาดู โ ลกขึ้ น ครั้ ง เเรกเมื่ อ วั น ที่ ๕ มกราคม ๒๕๔๓ ที่


โรงพยาบาลส�ำโรงการเเพทย์ ถูกตรวจเเละวินิจฉัยว่าเป็นออทิสติกที่
มีอาการเข้มข้น (โลว์ฟังชั่น) ที่อาการหนักพอสมควร ที่โรงพยาบาล
ยุ ว ประสาทเเละโรงพยาบาลจุ ฬ าลงกรณ์ ไ ด้ เ ข้ า รั บ การรั ก ษาที่
โรงพยาบาลยุวประสาทเเละโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เเละฝึกกับนัก
238
กิจกรรมบ�ำบัดมาตลอด สามารถพูดได้เมื่อตอนอายุ ๔ ขวบ เเละ
เนื่องจากเเม่อ่านหนังสือให้ฟังขณะตอนที่ยังพูดไม่ได้ เมื่อพูดได้จึง
สามารถอ่านหนังสือได้คล่องเเคล่ว หลังจากนั้นตอนที่ได้ไปหาหมอที่
โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เเม่ได้เล่าให้จิตเเพทย์ฟัง จิตเทพย์ได้บอกว่า
เป็นลักษณะอาการที่ไม่พบเห็นมาก่อน เคสที่มีอาการเข้มข้นรุนเเรง
สามารถพูดได้อ่านหนังสือได้ จึงได้วิจัยทดสอบความสามารอย่างต่อ
เนื่อง เเม้กระทั่งการทดสอบจินตนาการ

เพราะอาการออทิสติกท�ำให้ย้ายโรงเรียนบ่อยๆ มากในช่วง
อนุบาล เเละมีปัญหาพฤติกรรมพร้อมๆ กับอาการอาละวาดที่รุนเเรง
ถึงขนาดท�ำร้ายร่างกายตัวเอง จนปีนึงได้ถูกให้เรียนซ�้ำชั้นอนุบาล
๓ ปีหนึ่งเศษๆ ตอนนั้นย้ายไปสองโรงเรียน (โรงเรียนสุดใจวิทยาคือ
โรงเรียนสุดท้าย)

จนโรงเรียนสุดท้ายได้เรียนจบอนุบาล ๓ ไปโดยปริยาย เเต่ปญ ั หา


พฤติกรรมยังไม่บรรเทาลง ยังคงอาการไว้ตามเดิม ชอบออกนอก
ห้องเรียน เเละอาละวาดท�ำลายข้าวของเเละตนเองรุนเเรง อาการเหล่า
นีค้ งถูกรักษาเเละรับการลงโทษต่อเนือ่ ง จนถึงระดับชัน้ ประถมศึกษาปี
ที่ ๓ สามารถคุมอารมณ์เหมือนคนปกติได้ ไม่อาละวาด ท�ำตัวเหมือน
คนปกติได้ ไม่ออกนอกห้องเรียนเหมือนปีที่ผ่านมา ในระดับชั้นนี้ทาง
โรงเรียนส่งเข้าเเข่งขันทักษาะทางวิชาการ ๒ รายการ คือ วันภาษาไทย
เเห่งชาติระดับวิทยาเขตบางบ่อ สพท.สปเขต ๒ เเละเพชรยอดมงกุฏ
(รายวิชาภาษาอังกฤษกับพระพุทธศาสนา) ได้เกียรติบัตรเข้าร่วมเเข่ง
ขัน ๒ รายการ เเละรองชนะเลิศอับดับที่ ๒ มา ๑ รายการ

239
“๔ กลไกหลักตามออทิสติกโรดแมป”

ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ เเข่งขันเสริมปัญญา (เเต่ได้เเค่


เกียรติบัตรเข้าร่วมเเข่งขัน) ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ กิจกรรมเขียน
ตามค�ำบอก ระดับชั้นป.๔-๖ วันภาษาไทยระดับโรงเรียนเอกชน ได้ที่ ๔
เหรียญเงิน ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ เเข่งขันเขียนตามค�ำบอกได้ที่
๒ เหรียญทอง เป็นตัวเเทนกลุ่มโรงเรียนเอกชนเเข่งขันระดับเขตพื้น
ที่เเละเเข่งขันตอบปัญหาพระพุทธศาสนา งาน open house โรงเรียน
นวมินทราชินูทิศ เตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการได้ที่ ๓ พร้อมกับทุนการ
ศึกษา ๒๐๐ บาท

สามารถจบระดั บ ชั้ น การศึ ก ษาประถมศึ ก ษาได้ เ พราะ


คะเเนนโอเน็ตผ่านเกณฑ์การจบชั้น เเละสามารถสอบเข้าโรงเรียน
นวมินทราชินูทิศ เตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการได้ในประเภทโควตา
เรียนดี เเละได้เข้าเรียนต่อในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ ในเเผนการ
เรียนวิทย์คณิต เเละในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ นั้นได้เป็นพนักงาน
นักเรียนห้องสมุด ท�ำงานบริการนักเรียนช่วงเข้าเเถว ช่วยบรรณารักษ์
จัดหนังสือในห้องสมุด เเละได้มีผลงานทางการศึกษาเรื่องประชากร
ออทิสติกในโรงเรียนนวมินทราชินูทิศเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ
รายวิชาการศึกษาค้นคว้าหาองค์ความรู้

เเละในระดั บ ชั้ น มั ธ ยมศึ ก ษาปี ที่ ๓ ยั ง คงรั บ ผิ ด ชอบงานใน


ห้องสมุด เเละการฉายภาพยนตร์ในห้องเธียร์เตอร์ประจ�ำห้องสมุด
โรงเรียนด้วย เเละรางวัลเเละผลงานที่ส�ำคัญคือ รางวัลเเข่งขันเล่า
นิทานออทิสติกถูกน�ำไปประเมินโรงเรียนระบบช่วยเหลือดูเเลนักเรียน
ดีเด่นในระดับ สพม ๖ เเละรางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ ๑ การเเข่งขัน
ตอบปัญหาวิทยาศาสตร์ภาคภาษาอังกฤษในวันวิทยาศาสตร์ เเละ
240
ครอสเวิร์ดในวันคริสมาสต์ เเละตอบปัญหาอาเซียนในวันอาเซียน
เเละการเเข่งขันตอบปัญหาพระพุทธศาสนา งาน openhouse โรงเรียน
นวมินทราชินูทิศ เตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ได้รางวัลรองชนะเลิศ
อันดับที่ ๑

ปัจจุบนั เป็นจิตอาสาช่วยเหลือนคนอืน่ เสมอมา เช่น ช่วยครูกวาด


เก็บขยะ ตอบปัญหา ร้องเพลงชาติ สอนหนังสือให้น้องเเละเพื่อน งาน
อดิเรกคือ การอ่านหนังสือ ดูงิ้ว เเละปั่นจักรยาน

คติ ป ระจ� ำ ใจ: ท� ำ อะไรเเล้ ว ต้ อ งท� ำ ให้ สุ ด เลิ ก ไม่ ไ ด้ อย่ า


ท้อใจ ล้มเหลวก็ต้องสู้ต่อไป ต้องใจสู้ตลอด เวลาสถานการณ์ที่กดดัน
สิ่งที่เราจะเอาชนะได้ คือ ใจสู้คน

241
“๔ กลไกหลักตามออทิสติกโรดแมป”

นายสมภพ ลิมป์คุ้มธรณี
ออทิ ส ติ ก ที่ ไ ร้ ขี ด จ� ำ กั ด ฉบั บ ย่ อ เอาล่ ะ ครั บ ผมขอแนะน� ำ
ตั ว อย่ า งคร่ า วๆ ก่ อ นแล้ ว กั น ชื่ อ ตามบั ต รประจ� ำ ตั ว ประชาชน
คือ นายสมภพ ลิมป์คุ้มธรณี ชื่อเล่นชื่อ ปิยะ มีบิดาเป็นคนไทยเชื้อ
สายจีน ชื่อนายสาธิต ลิมป์คุ้มธรณี ซึ่งถึงแก่กรรมไปเมื่อกลางปี พ.ศ.
๒๕๔๕ ส่วนมารดาคือ นางสมบูรณ์ ลิมป์คุ้มธรณี ซึ่งมีบทบาทส�ำคัญ
มากต่อการบ�ำบัดอาการออทิสติกของผม

242
อ่ะ เกือบลืมบอกไป ผมมีนอ้ งสาวอยูส่ องคน คือ นางสาวสรัญญา
และนางสาวพัชรี ลิมป์คุ้มธรณี ปัจจุบันทั้งสองก็มาช่วยท�ำงานที่ร้าน
ส.รุ่งโรจน์วัสดุภัณฑ์ ซึ่งเป็นกิจการของทางบ้านอีกด้วย

แม่เริ่มต้นปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผมตั้งแต่ยังเป็นเด็กเล็ก จนเข้า
เรียนทั้งระดับอนุบาล และประถมศึกษาตอนต้น จากนั้นผมจึงค่อยๆ
เรียนรู้และซึมซับ น�ำมาปรับใช้กับชีวิตในโรงเรียนที่ต้องห่างพ่อแม่ถึง
๘ ชั่วโมงเต็มในแต่ละวัน (ไม่รวมวันที่ออกค่ายลูกเสืออ่ะนะ ๕๕๕)

จะว่าไปแล้ว สภาพแวดล้อม และเหตุการณ์ที่ผ่านมา รวมถึง


อุปนิสัยส่วนตัว ซึ่งยังไม่ละทิ้งความเป็นออทิสติกอย่างสิ้นเชิงเสียที
เดียว ล้วนแต่เป็นแรงผลักดันให้ผมประสบความส�ำเร็จทางด้านการ
ศึกษาระดับปริญญาตรี คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎ
นครราชสีมา และคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามค�ำแหง รวมถึง
ปริญญาโท คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามค�ำแหง แต่โดยส่วนตัว
แล้ว ผมมองว่า เรามาได้เพียงแค่ครึ่งทางเท่านั้นเอง

ในส่วนของหน้าทีก่ ารงานนัน้ โดยส่วนตัวแล้ว ผมคิดว่ายังคงต้อง


ค้นหาความท้าทายที่แท้จริงต่อไป

สมภพ ลิมป์คุ้มธรณี
๑๕ มกราคม ๒๕๕๙

243
“๔ กลไกหลักตามออทิสติกโรดแมป”

นายพณัฏฐภณ จันทยานนท์

ชื่อเล่น กวีร์ อายุ ๒๙ ปี ปัจจุบัน ท�ำงานต�ำแหน่ง Service Staff


ในบริษัท True Corporation จ�ำกัด มหาชน บริษัทด้านการสื่อสารขาด
ใหญ่ของประเทศไทย

244
กวีได้รบั การวินจิ ฉัยว่าเป็น moderate autism พูดสือ่ สารได้ตอน
อายุ ๘ ปี แต่การสื่อสารเป็นค�ำ มีความจ�ำดีมาก สนใจงานด้านศิลปะ
และดนตรี

ความสามารถพิเศษ คือ การวาดภาพตามแบบ และการวาด


ภาพตามจินตนาการ และการเล่นเปียโน และอิเลคโทน เล่นดนตรีไทย
ระนาดเอก ทุกครั้งที่ได้สร้างสรรค์งานศิลปะ จะมีความสุขและความ
ภูมิใจมาก

ผลงานด้านศิลปะ ได้น�ำมาจัดพิมพ์เป็นโปสการด์ เพื่อจ�ำหน่าย


รายได้ ส นั บ สนุ น งานด้ า นสาธารณกุ ศ ลช่ ว ยเด็ ก พิ เ ศษของมู ล นิ ธิ
ออทิสติกไทย และได้ร่วมเป็นผู้ก่อตั้ง วงดนตรีของบุคคลออทิสติก
“อรุณจันทรา” และรับงานการแสดงด้วย

245
“๔ กลไกหลักตามออทิสติกโรดแมป”

กิตติกรรมประกาศ
รายนามผู ้ ส นั บ สนุ น การจั ด พิ พ ม์ หนั ง สื อ “4 กลไกหลั ก
ตามออทิสติกโรดแมบ” (118,000-.บาท) ผ่านกองทุนรัฐวัฒน์ตนั มณีเพือ่
สิทธิคนออทิสติก (53,000-. บาท) และ กองทุนแทนคลังก�ำแหงเดชเพือ่
คนออทิสติกและครอบครัว (65,000-. บาท) ดังนี้:-

- กองทุนรัฐวัฒน์ตันมณีเพื่อสิทธิคนออทิสติก
1.คุณ คณิต ศาตะมาน 2,000 บาท
2.คุณ Kwanjai Taboonpong 500 บาท
3.คุณ หรรษา เอกลาภ 500 บาท
4. คุณ จีรพันธุ์ ตันมณี 50,000 บาท
รวมทั้งสิ้น 53,000 บาท

- กองทุนแทนคลังก�ำแหงเดช เพื่อคนออทิสติกและครอบครัว
1.ครอบครัว”คลังก�ำแหงเดช” 10,180 บาท
2.บริษัทฮอบบอนจ�ำกัด คุณทิรารัตน์ หอพิบูลย์สุข 9,000 บาท
3.คุณสโรชา-พ.ต.อ.ฉัตรชัย ทรัพย์สุจริตและครอบครัว 5,000 บาท
4.บริษัทวังแก้วจิวเวลรี่จ�ำกัด โรบินสันศรีราชา ชลบุรี
คุณจิราทิตย์ บุญธนนิตย์ 2,000 บาท
5..คุณ ฐิติรัตน์ เอื้อสกุลมงคล 2,000 บาท
6.น.ต.เกษม วินสน 1,500 บาท

246
7.คุณ สุพจน์ โรจน์นันทกิจ 1,180 บาท
8.ชมรมลูกพิเศษเทศบาลนครเจ้าพระยาสุรศักดิ์ 1,140 บาท
9.คุณ วิจิตรา ต่อพันธ์ 1,000 บาท
10.คุณ รัชฏาภรณ์ คาวีรัตน์ 1,000 บาท
11.คุณ ฐิติรัตน์ ปิยบวรวัฒน์ 1,000 บาท
12.คุณ พจน์ แพทย์วงษ์ 1,000 บาท
13.คุณ กิติมา พัฒนโกวิท 1,000 บาท
14.คุณ เกษแก้ว มีเพียร 1,000 บาท
15.คุณ วัจนา ตรังใจจริง 1,000 บาท
16.คุณ สุพัตรา ด�ำรงเกียรติ 1,000 บาท
17.คุณ ผุสดี ภู่วิวัฒนา 1,000 บาท
18.คุณ ประพิศ นพประชา 1,000 บาท
19.คุณ จิราวรรณ ศิรตานนท์ 1,000 บาท
20.คุณ สุธาสินี มารุตตมาน 1,000 บาท
21.คุณ สุวัชร์ ธิติปรีชา 1,000 บาท
22.คุณ ชาญศักดิ์ ตันติวัฒนาไพบูลย์ 1,000 บาท
23.คุณ ฉลาด พรสินศิริรักษ์และครอบครัว 1,000 บาท
24.คุณ สุภาวดี สิทธิ 1,000 บาท
25.คุณ ศิรอร นาลินธมากร 1,000 บาท
26.คุณ เครสโตเฟอร์ คนุดต์สัน 1,000 บาท
27.คุณ ดุษฎี สุทธิเลิศ 1,000 บาท
28.คุณ ดุษฎี ศุขสาตร 1,000 บาท
247
“๔ กลไกหลักตามออทิสติกโรดแมป”

29.คุณ รัตนา อ่อนอรุณ 1,000 บาท


30.คุณ นิภาพรรณ เนตรอ�ำไพ 1,000 บาท
31.คุณ วิไลลักษณ์ อนุดิตย์ 1,000 บาท
32.คุณ ผจงจิต บุญมีสุวรรณ 1,000 บาท
33.คุณ บุญช่วย พัฒนรุ่งพานิชย์ 1,000 บาท
34.คุณ ธีระศักดิ์ คุณเพ็ญภรณ์ธนา วงศ์เดชสกุล 1,000 บาท
35.คุณ อทิวัฒน์ พัฒนมณี 1,000 บาท
36.คุณ ภาณุวัฒน์ สิงห์โตทอง 1,000 บาท
37.คุณ ณิชารีย์ อภิวัฒน์เกษมสุข 1,000 บาท
38.คุณ ไพบูลย์ เอี่ยมอ่อน 1,000 บาท
39.คุณ ทัธชวิทย์ นุ่มทิม 500 บาท
40.พ.ต.ท.หญิง จรุงจิรา มณีศิริ 500 บาท
41.คุณ รัตนา สุทธินันท์ 500 บาท
42.คุณ อนันต์ สุวรรณดิสัย 500 บาท
43.คุณ ราณี ปิยะเจริญวัฒนา 500 บาท
44 คุณ สุภาณี พัฒน์ตระกูลชัย 500 บาท
รวมทั้งสิ้น 65,000 บาท

248

You might also like