You are on page 1of 3

Gramsci's strategic recommendation (ข้อเสนอทางยุทธศาสตร์ของกรัมชี่) กับการต่อสู้ของ นปช

สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล

ผมกาลังพยายามเขียนบทความเรื่องหนึ่ง ให้ชื่อทานองว่า Gramsci's strategic recommendation ( ข้อเสนอทาง


ยุทธศาสตร์ของกรัมชี่) โดยจะอภิปรายข้อความทีมีชื่อเสียงเป็นตานาน (legendary passages) ของกรัมชี่ใน Prison
Notebooks ว่าด้วย War of Position กับ War of Manoeuvre

บทความจริงๆต้อง การให้เป็นบทความทางทฤษฎีวิชาการ ไม่ใช่เกี่ยวกับการเมืองปัจจุบัน แต่มีนัยยะบางอย่าง


เกี่ยวกับข้อเสนอทางยุทธศาสตร์ของกรัมชี่ ทีคิดว่า น่าสนใจ และอาจจะชวนให้ คิดเกี่ยวกับปัจจุบันได้ ผมจึงนามาเล่าให้ฟัง
ก่อนอย่างสั้นๆ ดังนี้

สิ่งที่เป็นหัวใจของ ข้อเสนอทางยุทธศาสตร์ของกรัมชี่ คือ

ในประเทศที่สังคมมีพัฒนาการในระดับที่ค่อน ข้างมากแล้ว คือมีความซับซ้อนมากขึ้นในแง่กลไกสังคมทาง


วัฒนธรรมต่างๆ การต่อสู้กับศัตรูในลักษณะโจมตีแบบรวดเร็ว , ฉับพลัน และซึ่งๆหน้า ชนิด "ม้วนเดียวจบ" (frontal war หรือ
war of manoeuvre) ไม่อาจนามาซึ่งชัยชนะแท้จริงได้ เพราะอานาจแท้จริงของศัตรู มีฐานที่กว้างขวางซับซ้อนในสังคม

มากกว่าเพียงแค่กาลังหรืออานาจแคบๆเพียง หยิบมือเดียว (มีคนสนับสนุน เห็นชอบด้วยหนาแน่นในสังคม และในกลไกต่างๆ)


ซึ่งเราสามารถเอาชนะด้วยการโจมตีแบบ war of manoeuvre แล้วชนะได้

ดังนั้น จึงควรใช้ยุทธศาสตร์แบบยืดเยื้อ "ขุดสนามเพลาะ" (trench warfare หรือ war of position) เอาชนะในแง่


ของการเมืองและวัฒนธรรม ยึดเป็น "จุดๆ" หรือ "ที่มั่นๆ" ในแต่ละช่วง (one or several positions at a time) ไม่ใช่ทีเดียว
(all at once) แบบ war of manoeuvre (เพราะทาไม่ได้ด้วย คือไม่สามารถเอาชนะด้วย frontal war ทีเดียว)

.................

ข้อเสนอทางยุทธศาสตร์ของกรัมชี่สามารถใช้กับ สถานการณ์ปัจจุบันของ นปช. ได้เพียงใด โปรดพิจารณา .....

………….
คือ ใครที่คิดว่า ประชาธิปไตย เป็นสิ่งที่ สามารถได้มาเร็วๆ ตามความต้องการทางอัตวิสัยของบุคคลหรือกลุ่มบุคคล
คนนัน้ โง่บัดซบยิ่งกว่าควายอีก

และคนเช่นนี้ ที่ปากอ้างว่าประชาธิปไตย แท้จริง ไม่เคยเข้าใจอะไรเลย

(คณะราษฎร ต้องการ "ประชาธิปไตย" ลงทุนยึดอานาจ เผด็จอานาจขนาดนั้น แล้วหลังจาก "ตายไปหลายสิบปี " ได้

ประชาธิปไตยมาหรือเปล่า ? ผู้ก่อการสมัย 14 ตุลา, 17 พฤษภา อีก ผ่านมาหลายสิบปีแล้วเหมือนกัน ได้ประชาธิปไตยมาหรือ


เปล่า? ในเยอรมัน ประเทศที่คุณใช้ภาษาเขาเป็นชื่อล็อกอิน รู้หรือเปล่าว่า การต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยสมัยใหม่ ใช้เวลากว่า
100 ปี (ตั้งแต่ช่วงต้นศตวรรษที่ 19 ถึงนาซีแพ้ หลังสงครามโลก ไม่ต้องพูดว่า ประเทศอย่างนั้น มีพื้นฐานอารยธรรมแบบ

โปแตสแตนท์ ที่มีไอเดียเรื่อง idividualism เรื่องความเท่าเทียมกันของบุคคลภายใต้ God ฯลฯ ขณะที่เราเป็นอารยธรรมแบบ


พุทธ ที่เน้นความแตกต่างระหว่างชั้นต่างๆ ตาม "บุญกรรม" ฯลฯ ด้วยซ้า)

ปล.2 สาหรับคนที่สนใจจะวิเคราะห์การเมืองอย่างมีเหตุมีผล มีประเด็นหนึ่ง ที่ควรสังเกตุ (เรื่องนี้ ผมคุยส่วนตัวกับ


บางคนมาก่อน ตั้งแต่ก่อนการปราบครั้งแรกด้วยซ้า) คือ

การ split (แตก) ในหมู่ แกนนา นปช. นั้น มีลักษณะที่ไม่บังเอิญ วีระ-อดิศร-วิสา-จรัล ข้างหนึ่ง กับ จตุพร-กี-้ แรมโบ้-
ขวัญชัย อีกข้างหนึ่ง สิ่งที่ควรสะดุดใจคืออะไร?

สิง่ ที่แชร์ร่วมกันในกลุ่มแรกคือ พวกนี้เป็น คนรุ่น "14 ตุลา" คือพวกที่ผ่านช่วงขบวนการนักศึกษามาก่อน และแม้ว่าจะ


เปลี่ยนไปอย่างไร ในฐานะนักการเมือง ยังมีด้านที่คงไว้ซึ่งลักษณะเป็นตัวของตัวเอง และที่พยายามหลีกเลี่ยงการสูญเสียของ
มวลชน อันเป็นส่วนหนึ่งของวิธีคิดของคนในรุ่นนั้น พูดง่ายๆคือ อย่างน้อย ร่องรอย ของด้านที่เป็นอุดมคติแบบมนุษยนิยม ที่
เป็นส่วนหนึ่งของฝ่ายซ้าย แม้จะจืดจางไปเพียงใด ก็ยังมี ร่องรอยให้เห็นในวิธีคิด (อันที่จริง น่าเสียดายด้วยซ้า ทีคนเหล่านี้ ไม่
ยอมยืนยันในด้านนี้ให้มากกว่านี้ เร็วกว่านี้ ช่วงที่ มีการเจรจาออกทีวี 28-29 มีนาคม และหลังจากนั้น ไม่กี่วัน เห็นได้ชัดว่า วีระ
ต้องการให้ใช้การเจรจา เป็นวิธีการหาข้อยุติ ซึ่งรวมถึง การยอมยืดหยุ่น ไม่ใชยืนกรานเรื่อง "ยุบสภา ทันที" [ที่เขาพูดว่า เวลาที่
ตกลงในที่สุด ต้องไมใช่ ของทั้ง นปช. หรือ รบ.] และยังแสดงความเข้าใจ ความหมายของการ "นั่งโต๊ะเจรจา" [เชน เรื่องที่พูดว่า
เวลาพูดบนเวทีอย่างนึง เวลาเจรจา ต้องอีกอย่างนึง ฯลฯ]

ขณะที่กลุ่มหลัง มีลักษณะร่วมกันคือ พวกนี้ ล้วนเป็น "เด็กทักษิณ" คือเป็นคนที่โตขึ้นมา ใต้ร่มบารมีของทักษิณมา


ตลอดเท่านั้น

records in government ของทักษิณ เป็นอย่างไร ก็ทราบกันดี (ตากใบ , ยาเสพย์ติด และเรื่องอื่นๆ) ในขณะที่ ผม

ดีเฟนด์ว่า นโยบายเหล่านั้น อย่างน้อย เป็น นโยบายสาธารณะ ที่เป็นส่วนหนึ่งของการตัดสินใจของผู้เลือกตั้ง และดังนั้น หากผู้


เลือกตั้ง ยังคงเลือกที่จะสนับสนุนรัฐบาลที่ดาเนินนโบายเช่ นนั้น ก็เป็นสิ่งที่ยอมรับในแง่ความชอบธรรมของการเป็นรัฐบาล
เลือกตั้ง แต่ในแง่วิธีคิด ที่สะท้อนให้เห็นการไม่สนใจกับราคาชีวิตมนุษย์ที่ต้องจ่าย เป็นสิ่งที่ไม่ควรสนับสนุน

ลักษณะที่ไม่มีอุดมการอะไรแท้จริง ลักษณะฉวยโอกาส ไม่คานึงถึงวิธีการ ที่จะบรรลุเป้าหมาย ฯลฯ เหล่านี้ ลัวนเป็น


ลักษณะที่สาคัญของคนที่สนใจการเมือง "เล่นการเมือง" ที่โตขึ้นมาจากยุคหลังทศวรรษ 2530 ความจริง ไม่เพียงเฉพาะในแวด
วงนักการเมือง แม้แต่ในแวดวงที่เรียกว่า "ภาคประชาชน" (ngo ต่างๆ) ก็มีลักษณะนี้เยอะ

ในที่สุดแล้ว เรื่องนี้ สะท้อนความอ่อนแอ ในเชิง ideology ของ กระฎุมพีไทย

หลังการล่มสลายของอุดมการแบบฝ่ายซ้าย (ซึ่งไมใช่อุดมการแบบกระฎุมพี ) การเมือง ที่ชี้นา ด้วยความคิด (และนา


ในทางจัดตั้งที่เป็นจริง) โดยกระฎุมพีไทย มีลักษณะทีสะท้อนลักษณะของกระฎุมพีไทย ดังกล่าว โดยตลอด (ฉวยโอกาส, ไม่
คานึงถึงวิธีการ, ไมมีอุดมคติแท้จริง)

แม้แต่ในการต่อสู้ครั้งนี้ ความจริงทีว่า ด้านทีมีลักษณะ "คม" พิเศษขึ้นมา เช่น "วาทกรรม" เรื่อง ไพร่ เรื่อง การต่อสู้
ทางชนชั้น ฯลฯ ที่ นปช. เอามาใช้ แท้จริง ก็เป็นการยืมมาจาก (หรือเป็นอิทธิพลทางความคิด) ของวิธีคิดแบบ พคท. สมัยก่อน
(ไมใช่เอามาจาก "คลังวิธีคิด" "คลังภูมิปัญญา" ของ กระฎุมพี เอง)

โดยสรุป การ split ใน แกนนา นปช. และลักษณะการนาของฮาร์ดคอร์ ที่ในที่สุด นาไปสู่การเสียชีวิตเพิ่มขึ้นอีก 60


ชีวิต (แกนนา รอดสบาย ไม่เป็นไปตามราคาคุย "ผมจะอยู่จนคนสุดท้าย ให้มาอุ้มศพจากเวที " อะไรประเภทนั้น ก็เหมือนสมัย
จาลองนา 17 พค. เช่นกัน) ไมใช่เรื่องบังเอิญ แต่มีฐานทั้งทางสังคม และแนวคิด-ภูมิปัญญา และในทางประวัติศาสตร์ ทีสาคัญ
อยู่

You might also like