You are on page 1of 15

เบิ่งน้องลาว

จากลำปางสู่จำปาสัก

Tour Laos by Car


Noppadon Indrasena
dstrategy2008@hotmail.com
963 กิโลเมตร
จากลำปางสู่จำปาสัก
สาธารณประชาธิปไตยประชาชนลาว

การเตรียมตัวก่อนเดินทาง

นอกเหนือจากสุขภาพของผู้เดินทางและความพร้อมของรถยนต์แล้ว เอกสารสำคัญ
ที่จะต้องเตรียมไป คือ หนังสือเดินทาง(passport) ใบอนุญาตขับขี่ระหว่างประเทศ
หนังสืออนุญาตรถยนต์ระหว่างประเทศและที่จะขาดไม่ได้เลย ก็คือ แผนที่พร้อมทั้ง
เงินติดตัว ผมพกธนาคารประจำครอบครัวไปด้วยเลยสบายไม่ต้องเสียเวลาแจกแจง
รายการใช้จ่าย คณะเดินทางประกอบด้วย ผม ภรรยา ลูกชาย และลูกสาวรวมเป็น
สี่ชีวิตออกเดินทางในคืนวันพุธที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2550 เวลาประมาณ 21.00 น.
คาดว่าจะเดินทางไปถึงจังหวัดกาฬสินธุ์ ประมาณเช้าวันพฤหัสบดีที่ 27 ธันวาคม
พ.ศ. 2550 พักค้างคืนที่บ้านพี่ชายของผมหนึ่งคืน เช้าวันศุกร์ค่อยเดินทางไปที่ด่าน
ชายแดนไทย-ลาว(ช่องเม็ก) ตรวจเอกสารเสร็จเดินทางเข้าลาวได้ไม่น่าจะเกินเที่ยง
ใบอนุญาตรถยนต์ระหว่างประเทศ

การนำรถยนต์เข้าประเทศลาวจะต้องมีใบอนุญาตรถยนต์ระหว่างประเทศ ซึ่งเป็น
ข้อตกลงร่วมกันระหว่างประเทศไทยกับประเทศลาว ทำในจังหวัดที่ได้จดทะเบียน
รถยนต์ไว้หรือในจังหวัดมีชายแดนติดกับประเทศลาว (ทุกคันไม่ว่าจะจดทะเบียนใน
จังหวัดไหน) เอกสารที่ใช้ประกอบการขออนุญาตมีดังนี้ (ค่าธรรมเนียม 50 บาท)
1. สำเนาทะเบียนบ้าน
2. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
3. สำเนาการจดทะเบียนรถยนต์ที่มีหน้ารายการเสียภาษีรถยนต์ประจำปี
4. หนังสือมอบอำนาจ (กรณีรถยนต์ยังผ่อนชำระกับไฟแนนซ์)
หลังจากชำระค่าธรรมเนียมแล้วจะได้รับสมุดใบอนุญาตรถยนต์ระหว่างประเทศและ
สติ๊กเกอร์อักษร T(ย่อจาก Thailand)ให้ติดที่กระจกหน้าและกระจกหลังของรถยนต์
ส่วนใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ระหว่างประเทศจะมีหรือไม่มีก็ได้ แต่ถ้ามีก็จะเป็นการดี
อาจมีการตุกติกของเจ้าหน้าที่ตำรวจจากประเทศลาวได้ (เพราะเป็นการอนุโลมแต่
ไม่ถูกกฎหมาย ถ้าทำให้ถูกต้องก็จะเป็นการสะดวกต่อตัวเราเอง) จะทำให้ติดต่อที่
สำนักงานขนส่งจังหวัดใช้เวลาประมาณ 15 วัน (ทำที่กรุงเทพฯ เสร็จในวันเดียว)
เสียค่าธรรมเนียม 550 บาท มีรายละเอียดขั้นตอนการทำดังนี้
ใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ระหว่างประเทศ

เอกสารที่ใช้สำหรับประกอบการขออนุญาตมีดังนี้ (ค่าธรรมเนียม 550 บาท)


1. สำเนาทะเบียนบ้าน 2 ชุด
2. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน 2 ชุด
3. สำเนาหนังสือเดินทาง (passport) 2 ชุด
4. สำเนาใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ 2 ชุด
5. รูปถ่ายขนาด 2 นิ้ว 2 ใบ (ไม่ใช่รูปที่ได้จากเครื่อง print computer)
6. ตั๋วแลกเงินธนาคารมูลค่า 550 บาท
7. ซองขนาด A4 (สำหรับส่งเอกสารไปกรุงเทพฯ)
8. ซองขนาด1/2 ของ A4 (จ่าหน้าชื่อ/ที่อยู่ตัวเอง สำหรับส่งเอกสารกลับ)
9. แสตมป์มูลค่า 30 บาท
(ถ้าไปดำเนินการที่กรุงเทพฯ ด้วยตนเองใช้เอกสารเพียง 1 ชุด)
ตอนที่ผมจะเดินทางกลับที่ด่านขาออกจากประเทศลาวมีเจ้าหน้าที่ของลาวน่าจะ
เป็นตำรวจ(ไม่แน่ใจ) เรียกตัวผมไปสอบถามใต้ต้นไม้ไม่ใช่ในสำนักงานพยายาม
สอบถามวกไปวนมาในลักษณะจะจับผิด ถามหาใบอนุญาตขับขี่ระหว่างประเทศ
ซึ่งบังเอิญผมมีจึงทำให้รอดตัวไป จึงอยากให้ทุกคนมีใบอนุญาตนี้ป้องกันปัญหา
ที่อาจเกิดขึ้นในกรณีเช่นผม เสียเงินไม่เท่าไรแต่มันทำให้เสียความรู้สึกที่ดีต่อกัน
แต่อย่างไรก็ตามขอยืนยันว่าคนลาวนิสัยดี ไมตรีงาม เอื้ออาทรต่อคนไทยทุกคน
ตรวจเอกสารที่ด่านชายแดน ไทย-ลาว

ถึงด่านชายแดน ไทย-ลาว (ช่องเม็ก) เวลาประมาณ 10.00 น. ต้องประทับตรา


passport เพื่อออกนอกประเทศต้องเสียค่าธรรมเนียมและภาษีที่ด่านศุลกากร
ที่ทำให้ต้องเสียเวลามากเพราะเจ้าหน้าที่เขียนใบเสร็จผิด มีการขีดฆ่าที่ตัวเลข
เจ้าหน้าที่ถามผมว่าได้เรียนบัญชีมาหรือเปล่า การขีดฆ่าอย่างนี้จะถูกต้องไหม
ผมตอบว่าต้องเซ็นชื่อกำกับทุกที่ ที่มีการขีดฆ่าแก้ไข เป็นความรู้ทางกฎหมาย
ไม่ใช่การบัญชี หลังจากนั้นก็ข้ามไปฝั่งประเทศลาวต้องชำระค่าเหยียบแผ่นดิน
300 บาท และค่าประกันภัยรถยนต์ 400 บาท กว่าจะหลุดออกจากด่านตรวจ
ชายแดนได้ก็เกือบเที่ยง มุ่งหน้าเข้าสู่ ปากเซ เมืองหลวงของแขวงจำปาสักเพื่อ
แวะซื้อของที่จำเป็นแล้วเดินทางไปพักที่ จำปาสัก เพราะตั้งใจว่าจะเข้าเยี่ยมชม
มหาวิทยาลัยจำปาสักในเช้าวันรุ่งขึ้น
นับว่าเป็นความผิดพลาดครัง้ ใหญ่ของ
การวางแผนการเดินทางครั้งนี้ของผม
เพราะเข้าใจว่ามหาวิทยาลัยจำปาสัก
ตั้งอยู่ที่จำปาสัก ที่จริงแล้วอยู่ปากเซ
ด่านตรวจกักกันพืชของประเทศลาว
ปากเซ
เมืองหลวงของแขวงจำปาสัก

แวะซื้อสินค้าที่ตลาดดาวเรือง
จากด่านชายแดน ไทย-ลาว ช่องเม็ก เดินทางอีกประมาณ 45 กิโลเมตรก็จะถึง
ปากเซเมืองหลวงของจำปาสัก ข้ามสะพานมิตรภาพ ญี่ปุ่น-ลาว ก็เข้าสู่ตัวเมือง
สภาพความเจริญคล้ายกับอำเภอขนาดเล็กของเมืองไทย ที่นี่มีตลาดขนาดใหญ่
ขายส่งสินค้าให้กับแม่ค้าตามหมู่บ้านต่าง ๆ เป็นที่รู้จักกันดีในหมู่นักช็อปคนไทย
โดยเฉพาะโทรศัพท์มือถือยี่ห้อดังราคาถูก(คุณภาพด้อยสมราคา) ตลาดนี้ชื่อว่า
ตลาดดาวเรือง ขณะที่ผมกำลังเดินซื้อของว่างไว้รับประทานระหว่างเดินทาง
ต่อไปที่จำปาสัก มองเห็นคนไทยกลุ่มหนึ่งกำลังเลือกซื้อโทรศัพท์มือถือยี่ห้อ
Nokia N 70 ราคาประมาณ 3,000 บาท ในไทยขายประมาณ 8,000 บาท
ตัวเรือนด้านนอกเหมือน Nokia ทุกอย่าง แต่ภายในเป็น u-mobile พิสูจน์ได้
ไม่ยากให้ตรวจสอบเมนูการใช้งานจะเหมือนกับ u-mobile (ป้องกันการถูกฟ้อง)
ข้ามแพขนานยนต์
สู่จำปาสักอดีตราชธานีแห่งลาวใต้

จะไปจำปาสักต้องข้ามแม่น้ำโขง (คนลาวเรียกน้ำของ) โดยใช้บริการของแพขนานยนต์


ในราคา 100 บาท มีบริการอาหารบนแพ Laos fast food ซึ่งเรียกว่า ข้าวปุ้น หรือ
ขนมจีนของไทย สอบถามกัปตันแพว่ามหาวิทยาลัยจำปาสักไปทางไหน ได้รับคำตอบ
แล้วใจหาย “ จำปาสักบ่มีมหาวิทยาลัยดอก มีแต่โรงเรียนมัธยม มหาวิทยาลัย
จำปาสักอยู่ปากเซพู้น ” “ ฮ่วยข้อยมาผิดหม่องแล้ว ชื่อมหาวิทยาลัยจำปาสัก
คือบ่อยู่จำปาสัก เป็นหยังจึงไปอยู่ปากเซได้ ข้อยกาย (เลยหรือผ่าน) มาแล้ว ”
วางแผนไว้ว่าจะเยี่ยมเข้าชมมหาวิทยาลัยจำปาสักในวันพรุ่งนี้ จึงต้องเปลี่ยนแปลงเป็น
เที่ยวชม วัดพูมรดกโลก คืนนี้ค้างในจำปาสักที่โรงแรมสุจิดตรา
ชมวิถีชีวิตผู้คนในจำปาสัก
ย้อนรอยไทยในอดีต
ที่พักสำหรับคืนนี้ คือ โรงแรมสุดจิตรา ดูแล้วน่าจะเรียก
บังกาโลมากกว่า แอร์/ตู้เย็น/น้ำอุ่น ราคา 125,000 กีบ
เป็นเงินไทย 500 บาท โรงแรมอยู่ติดแม่น้ำโขง อีกด้าน
ติดถนน ฝั่งตรงข้ามเป็นวังของเจ้าบุญอุ้มเก่า เมื่อครั้งที่
พระองค์ทรงประทับที่จำปาสักก่อนจะไปสร้างพระราชวัง
ในปากเซแล้วถูกรัฐบาลยึดตกเป็นของแผ่นดินให้คนไทย
นำไปปรับปรุงต่อเติมเป็นโรงแรมระดับ 5 ดาว ในปากเซ

สภาพความเป็นอยู่ของคนลาวในจำปาสัก คล้ายคนไทยในภาคอีสานเมื่อประมาณ
30 ปีที่ผ่านมา เป็นวิถีชีวิตที่เรียบง่าย ผู้คนอัธยาศัยดีมีน้ำใจ พูดตรง(เว้าซื่อ) จริงใจ
มีแม่ค้าหาบคอนสิ่งของที่นำมาขายปากก็ร้องว่า ซอยแหน้...ซอยแหน่ ช่วยอุดหนุน
สินค้าหน่อย ภาพแบบนี้ไม่มีให้เห็นแล้วในเมืองไทย ทุกวันนี้ขนมไทยหลายอย่างไม่มี
ให้เห็นเพราะเด็กไทยนิยมรับประทานขนมกรุบกรอบ
ที่มีตามโฆษณาในโทรทัศน์เมินขนมไทยและเด็กลาว
ก็ไม่ต่างกันมากนัก เพราะได้รับอิทธิพลจากโฆษณา
“ เด็กน้อยบ่มักดอก มักแต่ขนมถุง กินก็บ่อิ่ม ”
เป็นคำตัดพ้อของแม่คา้ ขายขนมครกแบบโบราณเวลา
กินต้องคลุกกับน้ำตาลเพราะแป้งที่ใช้ทำไม่ใส่นำ้ ตาล
คล้ายกับขนมครกที่มีขายตามภาคอีสานในอดีต...
สินค้าส่วนใหญ่ที่นำมาขายที่นี่นำเข้ามาจากฝั่งไทย จึงมี
ราคาแพงกว่าประมาณ 20-30% ร้านค้าขนาดใหญ่มี
สินค้าครบเหมือนไทยทุกอย่างยกเว้นน้ำแข็งยูนิต ที่นี่มี
แต่น้ำแข็งถุงขาย(ลาวเรียกว่าน้ำก้อน) “ เคยเอามาขาย
แต่ขายบ่ได้ แต่ละเฮือนเพิ่นแซ่น้ำก้อนไว้กินเอง ”
น้ำอัดลมเห็นมีแต่ของเป๊ปซี่และมิรินด้าที่ติดฉลากกำกับ
สินค้าเป็นภาษาลาว สินค้าที่เป็นของลาวก็มีบุหรี่ เบียร์
ที่หลายคนเคยอ่านในป้ายโฆษณาว่า เขยลาว ซึ่งผลิต
โดยรัฐบาล รสชาติระดับสากล(ตามที่มีในป้ายโฆษณา)

ซื้อของเสร็จก็กลับโรงแรม อาบน้ำ
ชำระร่างกายให้สะอาด เตรียมตัว
สำหรับอาหารมื้อค่ำ ได้บรรยากาศ
ของธรรมชาติริมฝั่งโขงในยามเย็น
ลูกค้าในร้านมีแต่ฝรั่งหัวแดงเต็มไปหมด ลูกสาวชี้ว่าอยากกินแบบฝรั่งโต๊ะนั้น เป็นสลัดผัก
สารพัดอย่าง(สัมมะปิ) พี่แกกินไปหน้าตาดูพะอืดพะอมกลืนไม่เข้าคายไม่ออกบอกไม่ถูกว่า
What’s happen my salad ? จึงบอกลูกว่า“ ป๋าไม่คิดว่าร้านนี้จะทำน้ำสลัดได้อร่อยดูลุง
ฝรั่งคนนั้นซิท่าทางไม่ค่อยจะ happy ซักเท่าไหร่ สั่งอย่างที่เราเคยกินดีกว่า ”

ผ้านี้มีไว้สำหรับโพกหัวเวลารับประทานอาหาร
เที่ยววัดพูดูมรดกโลก

วัดพูถูกขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก จึงได้รับการจัดสรรงบประมาณจากองค์กรที่รับผิดชอบ
ในการดูแลและบำรุงรักษาเป็นอย่างดี ชาวต่างชาติให้ความสนใจมาเยี่ยมชมจำนวนมาก
ค่าตั๋ว(ปี้)เข้าชมคนละ 120 บาท ปากทางขึ้นมีซุ้มขายเครื่องไหว้สักการะเป็นดอกไม้ ธูป
เทียน ใส่ในกรวยที่ทำจากใบตอง ชุดละ 2 0 บาท จึงซื้อมาสี่ชุด เมื่อเดินลึกเข้าไปอีก
ประมาณ 500 เมตร เห็นปราสาทขนาดใหญ่
ด้านหน้ามีสระน้ำเนื้อที่กว้างประมาณ 5-6 ไร่
มีบันไดทอดยาวสู่ภูเขาเป็นชั้น ๆ มี 3 ชั้น ทำ
จากหินมองหาสถานที่สำหรับจุดธูปเทียนบูชา
สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ปกป้องคุ้มครอง ดูแลวัดพูให้ลูก
หลานได้มีโอกาสมาชื่นชม เดินขึ้นบันไดไปไม่
กี่ขั้นมองเห็นป้ายขนาดใหญ่เขียนว่า โครงการ
บูรณะโบราณสถานด้วยความร่วมมือระหว่าง
ประเทศอิตาลีกบั ประเทศลาวโดยมหาวิทยาลัย
มิลานมองลึกเข้าไปจากรัว้ ทีก่ น้ั จะเห็นปราสาท
ที่จะบูรณะซึ่งมีหมายเลขกำกับที่ศิลาทุกก้อน
เพื่อให้รู้ว่าแต่ละก้อนจะอยู่จุดไหน หรือส่วนใด
ของปราสาทที่บูรณะขึ้นใหม่...
เดินทางขึ้นไปถึงชั้นบนสุดจะมีแม่หญิงลาวอายุมาก ทำพิธีบายศรีสู่ขวัญให้ผู้มาเที่ยวชม
ให้มีความสุขความเจริญในชีวิต “ ขอให้เจ้าอยู่ดีมีแฮง นอนหลับขอให้ได้เงินหมื่น
นอนตื่นให้เงินหมื่นหาย............... กลายเป็นเงินแสนบาทไทยบ่แม่นเงินกีบเด้อ ”
ถัดเข้าไปเป็นโบสถ์ ด้านในมีพระ
ประธานสภาพค่อนข้างสมบูรณ์
จึงพากันเข้าไปกราบไว้เพื่อความ
เป็นศิริมงคลต่อชีวิต สภาพโบสถ์
ทรุดโทรมมากมีไม้ค้ำในหลายจุด
รีบออกมาเกรงเกิดเหตุการณ์อัน
ไม่พึงประสงค์เกิดขึ้น (ได้สาบาน
เอาไว้มาก) เดินเที่ยวโดยรอบจะ
เห็นภาพแกะสลักของเทพเจ้าในศาสนาพราหมณ์ และรูปแกะสลักของช้างขนาดใหญ่
ถ่ายรูปไว้เป็นที่ระลึก ดูแล้วไม่ยิ่งใหญ่อลังการเท่ากับสุโขทัยหรืออยุธยาเมืองเก่าของเรา
ชั้นบนอากาศเย็นสบาย มีสิ่งก่อสร้างแปลกปลอมขึ้นใหม่ เช่น กุฎี สุขา ศาลา เพราะมี
พระภิกษุมาจำพรรษาก่อนที่จะจดทะเบียนเป็นมรดกโลก เก็บภาพประทับใจในหลายจุด
จนพอใจ พากันกลับลงไปข้างล่างบันไดค่อนข้างชัน และแต่ละขั้นมีขนาดเล็กมากทำให้
วางเท้าลำบากต้องใช้ความระมัดระวังในการปีนป่าย ทุกคนกลับลงมาด้วยความปลอดภัย
น้ำตกคอนพะเพ็ง
ไนแองการ่าแห่งเอเชีย

เสร็จจากการเที่ยวชมวัดพูมรดกโลกแล้วเดินทางข้ามแพขนานยนต์ออกจากจำปาสัก
โดยมีจุดมุ่งหมายที่ น้ำตกคอนพะเพ็ง ที่ได้รับสมญานามว่า ไนแองการ่าแห่งเอเชีย
เป็นจุดทีน่ ำ้ โขงไหลมารวมกันก่อนทีจ่ ะไหลเข้าสูป่ ระเทศกัมพูชาและลงสูท่ ะเลในทีส่ ดุ
มีลักษณะของแก่งหินขึ้นเป็นบริเวณกว้าง สายน้ำเมื่อกระทบโขดหินก็แตกกระจาย
เป็นฟองส่งเสียงดังครืนครันดูน่ากลัวยิ่งนัก ต้องไต่โขดหินลงไปด้านล่างเพื่อเก็บภาพ
ที่สวยงามอย่างที่เห็น น้ำตกแห่งนี้ถูกพัฒนาโดยชาวต่างชาติเนื่องจากได้สัมปทาน
จากรัฐบาล จึงสร้างจุดชมวิวติดกับน้ำตก มีร้านขายของที่ระลึก ร้านอาหารนับสิบ
(ไม่อยากเก็บภาพเหล่านี้มา) ดูแล้วทำให้กังวลว่าความเป็นธรรมชาติอาจจะหายไป
ในไม่ช้า การท่องเที่ยวเป็นรายได้หลักของประเทศลาวแต่รัฐบาลไม่มีงบประมาณที่
จะพัฒนาจึงเปิดโอกาสให้ตา่ งชาติเข้ามาพัฒนาแหล่งท่องเทีย่ วต่าง ๆ ทัว่ ประเทศลาว
ซึ่งมักจะนิยมความสะดวกสบายพัฒนาถนนหนทาง สร้างสิ่งอำนวยความสะดวก
เข้าถึงสถานที่ท่องเที่ยวไม่ว่าจะเป็นร้านค้า ร้านอาหาร โรงแรมในสถานที่ท่องเที่ยว
เหล่านั้น นัยว่าเป็นการเสพบรรยากาศของธรรมชาติอย่างใกล้ชิดที่สุด...
มหาวิทยาลัยจำปาสัก
มหาวิทยาลัยทีส่ มเด็จพระเทพ ฯ ทรงให้การอุปถัมภ์

เพราะเข้าใจผิดคิดว่ามหาวิทยาลัยจำปาสักน่าจะตั้งอยู่ที่จำปาสัก จึงทำให้ต้องเยี่ยมชม
ในวันเสาร์ซึ่งไม่มีการเรียนการสอน พบกับ อาจารย์ธนูทอง สุริยวงศ์ จากฝ่ายวิชาการ
และเป็นผู้สอนในคณะวิศวกรรมศาสตร์ได้ข้อมูลเบื้องต้นว่ามหาวิทยาลัยเปิดทำการสอน
5 คณะ ได้แก่ ศึกษาศาสตร์ เกษตรศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ นิติศาสตร์
(ซึ่งรวมรัฐศาสตร์อยู่ด้วย) มีนักศึกษาประมาณ 4,000 คน และอาจารย์ผู้สอนประมาณ
สองร้อยคน อาจาร์ธนูทอง ชวนให้มาสอนที่นี่ค่าตอบแทนระดับปริญญาโทก็ประมาณ
700,000-800,000 กีบ(เป็นเงินไทยก็ประมาณ 3,000 บาท) เงินไม่ใช่ทุกสิ่งของชีวิต
อำลาจำปาสัก
ฝากไว้ก่อนประเทศลาว
บ่ายวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2550 ได้รับโทรศัพท์จากหลานชายว่า พ่อเสียชีวิตแล้ว
อย่างสงบในคืนวันที่ 28 ธันวาคม เวลาประมาณ 04.00 น. รู้สึกเศร้าแต่ก็ทำใจไว้
ตั้งนานแล้ว ธรรมชาติของชีวิตย่อมมีเกิด แก่ เจ็บ ตายกันทุกคนไม่มีใครหนีพ้นไปได้
แล้วแต่ว่าใครจะไปก่อนไปหลัง ไปช้าหรือไปเร็วกว่ากัน ขอให้ดวงวิญญาณของพ่อจง
สู่สุขคติบนสรวงสวรรค์ เก็บสิง่ ของสัมภาระขึน้ รถเตรียมกลับประเทศไทยเพราะจะต้อง
ประชุมเพลิงในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ.2550 ไม่ปล่อยไว้ข้ามปี(เป็นธรรมเนียมยึดถือ
กันว่าถ้าปล่อยไว้ข้ามปีไม่ดีเหมือนมีความทุกข์ เศร้าโศกเสียใจถึง 2 ปี เป็นสิ่งที่ไม่ดี)
3 วัน ในประเทศสาธารณประชาธิปไตยประชาชนลาว ขอบคุณสถานทีต่ า่ งๆ ขอบคุณ
คนลาวทุกคนทีม่ นี ำ้ ใจให้ความช่วยเหลือ ขอบคุณโปรแกรมวิชายุทธศาสตร์การพัฒนา
ทีท่ ำให้ตอ้ งเดินทางมาประเทศลาว ขอบคุณทุกคนทีไ่ ด้พบปะพูดคุยด้วย ขอประโยชน์
จากบทความเรื่องนี้ ทั้งสาระและความสนุกสนานที่ได้รับ จงเป็นพลปัจจัยส่งผลให้
คุณพ่อประโยชน์ อินทรเสนา ผู้ล่วงลับมีความสุขในสัมปรายภพเทอญ...

You might also like