You are on page 1of 13

Thinking Tool: Six thinking hats

โดย
ชนกพร วงษ์ทิม
บทนำำ
เนื่องจากในสังคมปัจจุบันที่มีการแข่งขันสูง ทำาให้คนเราต้องดิ้นต่อสู้
กันทำาให้ทุกคนล้วนมีปัญหาที่ต้องแก้ไข หากเราไม่มีการจัดการระบบความ
คิด การตัดสินใจต่างๆอาจไม่มีประสิทธิภาพ ดังนั้นการจัดการความคิดจึงเป็น
สิ่งที่สำาคัญ และมีความจำาเป็นต่อคนเราเป็นอย่างมาก
ดร.เอ็ดเวิร์ด เดอ โบโน จึงได้ให้เทคนิค “Six thinking hats” เพื่อ
ช่วยจัดระเบียบการคิด ทำาให้การคิดมีประสิทธิภาพมากขึ้น และในปัจจุบันวิธี
การดังกล่าวได้มีการนำาไปใช้อย่างกว้างขวาง โดยหมวกแต่ละใบเป็นการนำา
เสนอทางเลือกที่เป็นไปได้ตามมุมมองต่างๆ ของปัญหา โดยวิธีการสวมหมวก
ทีละใบในแต่ละครั้ง เพื่อพลังของการคิดจะได้มุ่งเน้นไปในทิศทางใดทิศทาง
หนึ่งเป็นการเฉพาะ ซึ่งจะทำาให้ความเห็นและความคิดสามารถแสดงออกได้
อย่างอิสระ สามารถหลีกเลี่ยงความขัดแย้งที่ไม่จำาเป็นได้ และยังเป็นการดึงเอา
ศักยภาพของแต่ละคนมาใช้โดยที่ไม่รู้ตัว

Six thinking hats คืออะไร


Six thinking hats คือ เทคนิคการคิดอย่างมีระบบ คิดอย่างมีโฟกัส มี
การจำาแนกความคิดออกเป็นด้านๆ และคิดอย่างมีคุณภาพ เพื่อช่วยจัดระเบียบ
การคิด ทำาให้การคิดมีประสิทธิภาพมากขึ้น แนวคิดหลัก “การคิด” เป็นทักษะ
ช่วยดึงเอาความรู้และประสบการณ์ของผู้คิดมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดอย่าง
เหมาะสมกับสถานการณ์ทักษะความคิดจึงมีความสำาคัญที่สุด
ดร. Edward de Bono (เอดเวิร์ด เดอ โบโน) ได้ทำาการคิดค้นเทคนิค
การคิด six thinking hats ขึ้นมาเพื่อเป็นระบบความคิดที่ทำา ให้ผู้เรียนมีหลักใน
การจำาแนกความคิดออกเป็น 6 ด้าน ทำาให้สามารถแก้ปัญหาและตัดสินใจด้วย
การคิดทีละด้านอย่างเป็นระบบ เป็นการเพิ่มศักยภาพให้ทักษะการคิด ทำาให้
ไม่คิดกระโดดไปกระโดดมา หรือคิดพร้อมกันทุกอย่างในเวลาเดียวกัน ซึ่ง
ทำาให้สับสนใช้เวลานาน และสรุปไม่ได้

องค์ประกอบของ Six Thinking Hats


Six Thinking Hats จะประกอบด้วยหมวก 6 ใบ 6 สี คือ

1. White Hat หรือ หมวกสีขำว หมายถึง ข้อมูลเบื้องต้น


ของสิ่งนั้น เป็นความคิดแบบไม่ใช้อารมณ์ และมีเป้าประสงค์ที่
ชัดเจน แน่นอน ตรงไปตรงมา ไม่ต้องการความคิดเห็น สีขาวเป็นสี
ทีช่ ใี้ ห้เห็นถึงความเป็นกลาง จึงเกีย่ วข้องกับข้อเท็จจริง จำานวนตัวเลข
เมือ่ สวมหมวกสีนี้ หมายความว่าทีป่ ระชุมต้องการข้อเท็จจริงเท่านั้น
โดยปกติแล้วเรามักจะ ใช้หมวกขาวตอนเริ่มต้นของกระบวนการ
คิดเพื่อเป็นพื้นฐานของความคิดที่กำาลังจะเกิดขึ้นแต่เราก็ใช้หมวก
ขาวในตอนท้ายของกระบวนการได้เหมือนกัน เพื่อทำาการประเมิน
อย่างเช่นข้อเสนอโครงการต่างๆของเราเหมาะสมกับข้อมูลที่มีอยู่
หรือไม่

2. Red Hat หรือ หมวกสีแดง หมายถึง ความรู้สึก


สัญชาตญาณ และลางสังหรณ์ เมื่อสวมหมวกสีนี้ เราสามารถบอก
ความรู้สึกของตนเองว่าชอบ ไม่ชอบ ดี ไม่ดี มีการใช้อารมณ์ ความ
คิดเชิงอารมณ์ซึ่งส่วนใหญ่การแสดงอารมณ์จะไม่มีเหตุผล
ประกอบ หรือการตระหนักรู้โดยฉับพลันซึ่งก็คือ เรื่องบางเรื่องที่
เคยเข้าใจในแบบหนึ่ง อยู่ๆก็เกิดเข้าใจในอีกแง่มุมหนึ่ง ซึ่งการ
ตระหนักรู้แบบนี้จะทำาให้เกิดงานสร้างสรรค์ การค้นพบทาง
วิทยาศาสตร์ หรือวิธีคิดทางคณิตศาสตร์แบบก้าวกระโดด ความ
คิดความเข้าใจในสถานการณ์โดยทันที ซึ่งเป็นผลจากการ
ใคร่ครวญอันซับซ้อนที่มีพื้นฐานจากประสบการณ์ เป็นการตัดสิน
ทีไ่ ม่อาจให้รายละเอียดหรืออธิบายได้ด้วยคำาพูด เช่นเวลาที่คุณจำา
เพื่อนคนหนึ่งได้ คุณก็จำาได้ในทันที

3. Black Hat หรือ หมวกสีดำำ หมายถึง ข้อควรคำานึงถึง สิ่ง


ทีท่ ำาให้เราเห็นว่า เราไม่ควรทำา เป็นการคิดในเชิงระมัดระวัง
หมวกสีดำา เป็นหมวกคิดที่เป็นธรรมชาติและสอดคล้องกับวิธีการ
คิดของตะวันตกมาก หมวกสีดำาช่วยชี้ให้เราเห็นว่าสิ่งใดผิด สิ่งใด
ไม่สอดคล้องและสิ่งใดใช้ไม่ได้ มันช่วยปกป้องเราจากการเสียเงิน
และพลังงาน ช่วยป้องกันไม่ให้เราทำาอะไรอย่างโง่เขลาเบาปัญญา
และผิดกฎหมาย หมวกสีดำา เป็นหมวกคิดที่มีเหตุมีผลเสมอ เพราะ
ในการวิพากษ์วิจารณ์ หรือวิเคราะห์สิ่งใดจะต้องมีการคิดแบบเป็น
เหตุเป็นผลรองรับ ไม่มีอารมณ์มาเกี่ยวข้อง ในการประเมิน
สถานการณ์ในอนาคตของเรานั้น ต้องขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของ
เราเองและของผู้อื่นด้วย

4. Yellow Hat หรือ หมวกสีเหลือง หมายถึง การคาด


การณ์ในทางบวก ความคิดเชิงบวก เป็นการมองโลกในแง่ดี การ
มองที่เป็นประโยชน์ เป็นการคิดที่ก่อให้เกิดผล หรือทำาให้สิ่ง
ต่างๆเกิดขึ้นได้ การคิดเชิงบวกเป็นการเปิดโอกาสให้พัฒนาและ
สร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ความคิดเชิงลบอาจป้องกันเราจากความผิด
พลาด ความเสี่ยง และอันตรายที่อาจเกิดขึ้น ดังนั้นการคิดเชิงบวก
ต้องผสมผสานความสงสัยใคร่รู้ ความสุข ความต้องการ และความ
กระหายที่จะทำาสิ่งต่างๆให้เกิดขึ้นหรือไม่

5. Green Hat หรือ หมวกสีเขียว หมายถึง ความคิดนอก


กรอบที่มีความสัมพันธ์กับความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และเกี่ยวข้อง
โดยตรงกับการเปลี่ยนแปลงแนวคิดและมุมมองซึ่งปกติมักถูก
กำาหนดจากระบบความคิดของประสบการณ์ดั้งเดิม และความคิด
นอกกรอบนั้นจะอาศัยข้อมูลจากระบบของตัวเราเอง โดยเมื่อสวม
หมวกสีนี้ จะแสดงความคิดใหม่ๆ เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น การ
คิดอย่างสร้างสรรค์

6. Blue Hat หรือ หมวกสีนำำเงิน หมายถึง การควบคุม


และการบริหารกระบวน การคิด เพื่อให้เกิดความชัดเจนในเรื่อง
ของความคิดรวบยอด ข้อสรุป การยุติข้อขัดแย้ง การมองเห็นภาพ
และการดำาเนินการที่มีขั้นตอนเป็นระบบ เมื่อมีการใช้หมวกนำ้าเงิน
หมายถึง ต้องการให้มีการควบคุมสิ่งต่างๆ ให้อยู่ในระบบระเบียบ
ที่ดี และถูกต้องหมวกสีนำ้าเงินมักเป็นบทบาทของหัวหน้า ทำา
หน้าที่ควบคุมบทบาทของสมาชิก ควบคุมการดำาเนินการประชุม
การอภิปราย การทำางาน ควบคุมการใช้กระบวนการคิด การสรุป
ผล เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ต้องการ อย่างไรก็ตามสมาชิก ก็
สามารถ สวมหมวกนำ้าเงิน ควบคุมบทบาทของหัวหน้าได้เช่นกัน
ตัวอย่างคำาถามที่ผู้สวมหมวกนำ้าเงินสามารถนำาไปใช้ได้ ได้แก่
เรื่องนี้ต้องการคิดแบบไหน ขั้นตอนของ เรื่องนี้คืออะไร เรื่องนี้จะ
สรุปอย่างไร ขอบเขตของปัญหาคืออะไร ขอให้คิดว่าเราต้องการ
อะไร และให้เกิดผลอย่างไร เรากำาลังอยู่ในประเด็นที่กำาหนดหรือ
ไม่ เป็นต้น ผู้สวมหมวกนำ้าเงินเปรียบเสมือนผูค้ วบคุมวงดนตรีที่
จะทำาให้ผู้เล่นดนตรีแต่ละชิ้นบรรเลงสอดประสานกันได้อย่าง
ไพเราะ ดังนั้น การควบคุมการคิดจึงต้อง เลือกใช้วิธีคิดของหมวก
แต่ละใบอย่างเหมาะสม
กระบวนกำรคิดของ Six Thinking Hats
กระบวนการคิดของ Six Thinking Hats นั้นไม่มีรูปแบบตายตัว แต่
จะทำาการคิดโดยการสวมหมวกทีละใบ ซึ่งเอดเวิร์ด เดอ โบโน ไม่ได้กำาหนด
ว่าควรจะสวมหมวกสีอะไรก่อนหลังเช่น เริ่มจากหมวกสีนำ้าเงิน คือ สิ่งที่เรา
ประสบอยู่ แล้วก็ไปค้นหาวิธีแก้ปัญหานั้นๆ ว่าจะมีทางออกอย่างไรบ้าง จาก
นั้นจึงมาตรวจสอบกับหมวกสีเหลืองว่า ถ้าทำาอย่างนั้นจะมีประโยชน์อะไร
บ้าง ตรวจสอบกับหมวกสีดำาว่าจะมีปัญหา อุปสรรคอะไรไหม แล้วนำาเอา
หมวกสีเขียวมาแก้หมวกสีดำาอีกที ตรวจสอบกับหมวกสีแดงว่าถูกใจทุกคน
หรือไม่ ถ้าไม่กห็ าหมวกสีเขียวมาแก้อกี ครัง้ หนึง่ แล้วถึงขัน้ ตอนสรุป คือหมวก
สีนำ้าเงิน ไม่จำาเป็นต้องใช้หมวกทุกสี
ดังนั้น Six Thinking Hatsจึงเหมาะสมกับการประชุมเพื่อทำาการแก้
ปัญหาตัดสินใจต่างในองค์กรได้อย่างดี และมีประสิทธิภาพ

ประโยชน์ของกำรใช้ Six Thinking Hats


1. เนื่องจากกระบวนการคิดแบบ Six Thinking Hats เป็นการเริ่มคิด
ในสิ่งเดียวกัน และคิดร่วมกันในประเด็นเดียวกัน ทำาให้ลดความ
ขัดแย้งในการประชุมลงไปได้มาก
2. เนื่องจากระบบให้คนคิดทีละด้าน มองทีละด้าน จากด้านหนึ่งไป
มองอีกด้านหนึ่ง ทำาให้เห็นภาพจริงที่ชัดเจน เป็นผลให้ในเกิดการ
พิจารณาความคิดใหม่ ๆ ได้รอบคอบ
3. การใช้ Six Thinking Hats ช่วยให้ทุกคนอยากมีส่วนร่วมในการ
แสดงความคิดเห็น ทำาให้เป็นการดึงเอาศักยภาพ ของแต่ละคนมา
ใช้โดยที่ไม่รู้ตัว
4. ช่วยประหยัดเวลาในการประชุม เนื่องจาก ทุกคนในที่ประชุมมี
ความคิดแบบคู้ขนาน
5. จำากัดโอกาสหรือช่องทางสำาหรับการโต้เถียงหรือโต้แย้งกัน

สุรป
เทคนิคการคิดแบบ six thinking hats จะเป็นการรวมความคิดด้าน
ต่างๆ ไว้ครบถ้วนทุกด้าน ระบบให้คนคิดทีละด้าน มองทีละด้าน จากด้าน
หนึ่งไปมองอีกด้านหนึ่ง จะได้เห็นภาพจริงที่ชัดเจน ทำาให้พิจารณาความคิด
ใหม่ ๆ ได้รอบคอบ เป็นผลให้เกิดความคิดที่มีประสิทธิภาพ ดังนั้น การคิด
เป็นทักษะที่สามารถเรียนรู้ ฝึกฝน และพัฒนาได้ การใช้วิธีคิดแบบสวมหมวก
คิด six thinking hats จะช่วยให้ผู้คิดสามารถคิดอย่างเป็นระบบ มีขั้นตอนใน
การคิดอย่าง สร้างสรรค์และสามารถแก้ไขปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ ได้ง่าย
และรวดเร็วมากขึ้น

ตัวอย่ำงองค์กรที่มีกำรนำำ Six Thinking Hats ไปใช้


บริษัท ไอบีเอ็ม ที่นำาวิธีการ มาใช้ ทำาให้สามารถลดเวลาในการ
ประชุมแต่ละ ครั้งได้ถึง 75 % เนื่องจากเกิดการโต้เถียงในที่ประชุมน้อยลง
เพราะไม่นำาความคิดหลายด้านมาปะปนกัน ทำาให้ช่วย ประหยัด เวลาได้มาก
และมีองค์กร ขนาดใหญ่หลายแห่งทั่วโลก นำา Six Thinking Hats ไปใช้ให้เกิด
ประโยชน์ในการ พัฒนาองค์กร
นอกจากจะมีการนำาไปใช้ในองค์กรต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนแล้ว
หลายประเทศทั่วโลกยังได้นำาการคิดแบบ ใบไปใช้ฝึกทักษะการคิดของ
นักเรียนในโรงเรียน เช่น สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ออสเตรเลีย อิสราเอล สวีเดน
และสิงคโปร์ เป็นต้น ในบางประเทศ เช่น เวเนซูเอลา กฎหมายการศึกษาได้
กำาหนดให้ครูทุกคนต้องผ่านการฝึกหลักสูตรการ คิดแบบ Six Thinking Hats
ก่อนจึงจะเข้าเป็นครูได้
สำาหรับประเทศไทย ได้มีเอกชนจัดตั้งศูนย์ความคิดสร้างสรรค์
(Creativity Center) ตามแนวทางของ เดอ โบโน ขึ้น โดยเปิดอบรม หลักสูตร
การคิดแบบหมวก Six Thinking Hats ผูท้ ี่มาเข้ารับการอบรมส่วนใหญ่ เป็นผู้
บริหารหรือพนักงานขององค์กร ธุรกิจเอกชนที่สนใจนำาทักษะการคิดดังกล่าว
ไปพัฒนาตนเองและองค์กร สำาหรับการนำาไปใช้ในโรงเรียน ในประเทศไทย
ยังไม่มีโรงเรียนใดนำาไปรวมในหลักสูตรการเรียนการสอนโดยตรง แต่ละเป็น
ในรูปแบบที่ครูซึ่งสนในโดยส่วนตัวนำาไป ทดลองใช้กับลูกศิษย์ตนใน
โรงเรียน
ตัวอย่าง ครูไทยที่ได้นำาวิธีคิดแบบ Six Thinking Hats ไปให้นักเรียน
ฝึกฝนความคิดตามแนวทางคือ ฝึกฝนความคิดตามแนวทาง นี้คือ อาจารย์
ชาตรี สำาราญ ครูต้นแบบสาขาภาษาไทย ของสำานักงานคณะกรรมการการ
ศึกษาแห่งชาติ ประจำาปี 2541 แห่งโรงเรียน คุรุชนพัฒนา อำาเภอเมือง จังหวัด
ยะลา โดยกิจกรรม มอบหมายงานให้นักเรียนอ่านข่าวหรือบทความ จาก
หนังสือพิมพ์ แล้วมาร่วมกันสรุปความคิดโดยตั้งคำาถามแบบหมวก 6 ใบ
สมมุติว่า ตัวอย่างสถานการณ์ข่าวที่นำามาให้ร่วมวิจารณ์คือ "ตำารวจ
ทางหลวงจับพ่อค้ายาบ้า ขณะที่นำายาบ้ามาจากเชียงราย เพื่อส่งขายลูกค้าที่
กรุงเทพฯ ได้ยาบ้า 25,800 เม็ด" ให้นักเรียนแต่ละคนอ่านข่าวหรือให้ร่วม
อภิปรายโดยใช้การคิดแบบ หมวก 6 ใบ เป็นรูปแบบการแสดงความคิดเห็น
หมวกสีขำว ครูจะช่วยตั้งประเด็น คำาถาม มุ่งหาข้อมูลจริงทีป่ รากฏในข่าว
ทั้งนี้ครูต้องระวังมิให้ข้อคิดเห็นของตน ปะปนเข้าไปในคำาถาม ครูอาจถามว่า
ข้อมูลหลักๆ ในข่าวมีอะไรบ้าง นักเรียนต้องตอบคำาถามตามข้อมูลที่ปรากฏ
นักเรียนต้องตอบว่า"ตำารวจทางหลวงจับพ่อค้ายาบ้า ได้ยาบ้า 25,800 เม็ด "
หากนักเรียนตอบว่า "ตำารวจทางหลวงจับพ่อค้ายาบ้ารายใหญ่" หรือ"ได้ยาบ้า
จำานวนมหาศาลถึง 25,800 เม็ด" จะเป็นคำา ตอบที่เกินเลยข้อมูลความจริง
เพราะบางข้อความที่ปรากฏคือ รายใหญ่ หรือมหาศาล เป็นความคิดเห็นเพิ่ม
เติมส่วนตัว ไม่มีในเนื้อข่าว ผิดจุดประสงค์ของการติดแบบหมวกสีขาว ซึ่งครู
ต้องชี้แจงให้นักเรียนทราบถึงความ แตกต่างดังกล่าว
หมวกสีแดง นอกจากเหตุผล แล้ว ธรรมชาติของคนยังประกอบด้วยอารมณ์
ความรู้สึก กระทั่งลางสังหรณ์ที่อธิบายด้วยเหตุผลได้ยาก อาจกล่าวได้วา่ หมวก
สีแดง ตรงกันข้ามกับหมวกสีขาว ขณะที่หมวกสีขาวเสนอข้อมูลที่เกิดขึ้นและ
ไม่สนใจว่าใครจะคิดอย่างไรกับข้อมูลเหล่านั้น แต่หมวกสีแดงไม่สนใจข้อมูล
จริง แต่สนใจ อารมณ์ความรู้สึกของคนที่มีต่อข้อมูลนั้นๆ ครูต้องเปิดโอกาส
ให้นักเรียนแสดงความรู้สึกภายในออกมา เพราะอารมณ์ความรู้สึกเป็นส่วนที่
สำาคัญยิ่งของกระบวนการคิด แม้คนเราพยายามคิดโดยปราศจาก อารมณ์ หรือ
อคติ แต่สุดท้ายทางเลือกการตัดสินในที่ได้มักขึ้นอยู่กับอารมณ์ของคนอยู่ มาก
ดังนั้นจุดมุ่งหมายของการคิดแบบหมวกสีแดง ก็เพื่อเปิดโอกาสให้แต่ละคน
ได้เผยอารมณ์ความรู้สึกของคนต่อเรื่อง นั้นๆ ออกมา ประโยชน์ที่ได้คือเราจะ
ไม่นำาความรู้สึกและข้อมูลเหตุผลมาปะปนกันจนเกิดความสับสนในการคิด
ถึงตอนนั้นนักเรียนจะแสดงความคิดในบทบาทสวมหมวกสีแดง ครูอาจถาม
นำาว่า นักเรียนรู้สึกอย่างไรต่อข่าวที่อ่าน เมื่อเด็ก สวมหมวกความคิดสีแดง เด็ก
อาจใช้ อารมณ์พูดออกมาว่า "พ่อค้าพวกนี้ไม่รู้จักกลัวบาป" "พ่อค้าพวกนี้
ใจร้ายฆ่าคนตายทั้ง เป็น " หรือ "น่าจะยิงเป้าให้รู้แล้วรู้รอด" เมื่อเด็กแสดง
อารมณ์ความรู้สึกออกมา แล้ว ครุจะได้สังเกตเห็นและชี้ให้เด็กมอง เห็นว่านี่
คืออารมณ์ที่มีอยู่ในตัวมนุษย์ที่มักมีผลต่อกระบวนการคิดของคนเรา เมื่อเด็กรู้
เท่าทันก็จะไม่นำาอารมณ์ความรู้สึก ไปปะปนกับข้อมูลความจริงส่วนอื่น
หมวกสีดำำ เป็นการพิจารณาหรือใช้วิจารณญาณ ตั้งข้อสงสัยก่อนจะตัดสินใจ
เชื่อสิ่งใดลงไป การติดแบบหมวกสีดำาเป็นการ ติดที่มีเหตุผลสนับสนุนดำาเนิน
ไปอย่าง รอบคอบ และผู้ติดตั้งข้อสงสัยกับสิ่งที่เกิดขึ้น โดยครุอาจตั้งคำาถามนำา
เช่น มีผล ประโยชน์ใดแอบแฝงเบื้องหลังการค้ายาบ้าครั้งนี้หรือไม่ เมื่อได้
รับคำาถามเหล่านี้ เด็กๆ จะต้องคิดหาเหตุผลมาตอบปัญหา เช่น เด็กอาจตอบว่า
ถึงแม้มีข่าวการจับกุมการค้ายาบ้าอยู่เป็นประจำา แต่ยาบ้ายังคงแพร่ระบาดอยู่
ทุกหนแห่งในประเทศ ไทย ทั้งนี้เป็นเพราะผู้มีอิทธิพลได้รับผลประโยชน์จาก
การค้ายาบ้า เป็นต้น
หมวกสีเหลือง เหมือนหมวกสีดำาตรงต้องอาศัยเหตุผลมาสนับสนุนความคิด
แต่ขณะที่หมวกสีดำาเป็นการตั้งข้อสงสัย (เรื่องราวเป็นเช่นนี้จริงหรือมีสิ่งใด
แอบแฝงหรือ ไม ่ ) หมวกสีเหลืองจะคิดถึงแง่บวก เต็มไปด้วยความหวัง แต่
ความหวังนั้น ต้องอยู่บนพื้นฐานของความเป็นเหตุเป็นผลด้วย หรืออาจพูดได้
ว่าการคิดแบบหมวกสีเหลือง คือการมองไปข้างหน้า ถามตน เองว่าถ้าทำาสิ่งนี้
แล้ว จะเกิดประโยชน์หรือผลดีอย่างไร ครูอาจตั้งคำาถาม เช่น ข่าวนี้สะท้อน
ปรากฏการณ์ด้านบวกอย่างไรบ้าง หรือควรทำาเช่นไร เพื่อคลี่คลายสถานการณ์
การค้ายาบ้าในประเทศไทย เมื่อนักเรียนสวมหมวกความคิดสีเหลือง เด็กจะ
ต้องหาเหตุผลด้านบวกมาแสดง เช่นระยะนี้มีข่าวการจับพ่อค้ายาบ้าได้บ่อย
ครั้งมากขึ้น เป็นเพราะมีการรณรงค์ให้ หลายฝ่ายร่วมมือกัน และผู้รักษา
กฎหมายเอาจริงเอาจังมากขึ้นในการปราบปราม ถ้าทุกฝ่ายเอาจริงเอาจังเพิ่ม
ขึ้นอีก โดยคิดถึงประโยชน์ของชาติเป็นหลัก ปัญหา ยาบ้าก็จะทุเลาเบาบางลง
ในที่สุด เป็นต้น
หมวกสีเขียว คือความคิดที่สร้างสรรค์ นำามาซึ่งทางเลือกใหม่ และวิธีแก้
ปัญหาใหม่ เด็กจะต้องตั้งข้อเสนอแนะความคิดหรือ มุมมองใหม่ๆ ของตน
ออกมาหมวกสีเขียว ต่างจากหมวกสีเหลืองและหมวกสีดำาตรงข้อเสนอแนะ
หรือแนวคิดแบบหมวกสีเขียวไม่ต้องมีเหตุผลที่หนักแน่นมา สนับสนุน เป็น
เพียงการนำาเสนอแนวคิดใหม่ๆ ขึ้นสำาหรับการสำารวจตรวจสอบความเป็นไป
ได้ของแนวคิดนั้นต่อไป ครูอาจตั้งคำาถาม เข่น อ่านข่าวเกี่ยวกับยาบ้าแล้ว
นักเรียนคิดว่าจะมีแนวทางใดบ้างที่จะป้องกัน ไม่ให้ชุมชนของเรามีคนเสพย์
และขายยาบ้า เด็กๆ ร่วมกันคิดหาหนทางแก้ไข ที่แปลกแหวกแนวจากความ
คิดเก่าๆ ที่เคยมีผู้เสนอมา หน้าที่ครูคือต้องกระตุ้นให้เด็กกล้าแสดงความคิด ที่
แปลกใหม่ เช่น เด็กๆ อาจเสนอความคิดเรื่องการรณรงค์ให้ชุมชนหรือ
หมู่บ้านของตนเป็นเขตปลอดยาบ้า โดยทุกบ้านต้องช่วยกัน สอดส่องดูความ
เคลื่อนไหวของการซื้อขายยาบ้าในชุมชน อย่างจริงจัง ให้กลายเป็นชุมชน "
ปลอดยาบ้า" เพื่อเป็นแบบอย่างให้ชุมชนอื่นๆ ทั่วประเทศ จากนั้นครูแบะ
นักเรียนจึงถกกันถึงความเป็นไปได้และวิธีการที่จะทำาให้เกิด ผลในทางปฏิบัติ
ต่อไป เป็นต้น
หมวกสีฟ้ำ เป็นหมวกคิดของการวางแผน การจัดลำาดับขั้นตอน หมวกสีฟ้าจะ
เป็นเหมือนประธานของที่ประชุมเป็นผู้บอกว่า เมื่อไรควรสวม หมวกสีใด
หรือเปลี่ยน ไปสวมหมวกสีใด
หมวกสีอื่นๆ จะมุ่งคิดถึงเนื้อหาสาระของข้อมูล แต่เมื่อคิดแบบหมวกสีฟ้า ผู้
คิดจะมุ่งสังเกตกระบวนการคิดของตนโดยทั่วๆ ไป การคิดแบบ หมวกสีฟ้าจะ
ควบคุม ประเด็นต่างๆ อาทิเช่น ถึงตอนนี้เรากำาลังคิดแบบใดอยู่ และคืนหน้า
ไปถึงไหนแล้ว อะไรคือข้อสรุปที่ได้จากการคิดทบ ทวนหลายรูปแบบ(หลาย
หมวกความคิด) และมีข้อน่าสังเกตหรือข้อท้วงติงใดบ้าง (เช่น กำาลังหลง
ประเด็นอยู่หรือไม่ หรือใช้ความคิดแบบ หมวกสีแดงมากไปหรือไม่) ครูอาจ
แนะนำาให้นักเรียนตั้งข้อสังเกตว่า พวกเขากำาลังใช้เวลามากเกินกับการโต้เถียง
ในจุดใดจุดหนึ่งหรือไม่ หรือจนขณะนี้นักเรียนอภิปรายกันถึงแต่ทางเลือก
เดียว นักเรียนควรพิจารณากันถึงทางเลือกอื่นๆ ด้วยหรือไม่ เป็นต้น

เอกสำรอ้ำงอิง

การคิดแบบหมวก 6 ใบ. 2545. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก :


http://www.montfort.ac.th/mcs/dept/develop/News6hat.html
การพัฒนากระบวนการคิด.2006. หน้า 20-22. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก :
http://khom-paya.com/think.pdf
จุดประกาย การคิดอย่างเป็นระบบด้วยเทคนิค หมวก 6 สี. (วารสาร).
กรุงเทพฯ : สายใยสังคม (12).2549
นวัตกรรมการเรียนรู.้ 2543.[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก :
http://www.vanessa.ac.th/2548/my_map/brain.htm
Six Thinking Hats. ณิทฐา แสวงทอง 2006. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก :
www.stabundamrong.go.th/journal/journal15/155.doc
Six Thinking Hats. 2006. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก :
http://en.wikipedia.org/wiki/Six_Thinking_Hats
Six Thinking Hats. 2001. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก :

http://www.nationejobs.com/content/learn/quickcourse/template.asp?conno=
4

You might also like