You are on page 1of 1

ธรรมะทาไม ทาไมธรรมะ

กฎธรรมชาติ ความจริงสากล
วันนี้อยากมาชวนคุยธรรมะกันหน่อยครับ ธรรมะคืออะไร มีคา นิยามมากมาย แต่ที่มักจะมีคนพูดถึงมากที่สุด มักจะบอกว่า “ธรรมะ” คือ “ธรรมชาติ” บางคนก็อาจจะว่า ธรรมะ คือ คา สอนของพระพุทธเจ้า ซึ่งนิยามทั้งหลายนี้ ต่างก็สอดคล้องไป ในทางเดียวกัน เพราะธรรมะคือความจริงสากล เป็นของกลางๆ เป็นความจริงแท้ เห็นได้ด้วยการปฏิบัติตาม ไม่เปลี่ยนแปลงไป ตามกาลเวลา ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามา รู้ได้เฉพาะตน ความจริงสากลหรือกฎธรรมชาตินี้มีอยู่แล้ว พระสัมมาสัมพุทธ เจ้าได้ทรงค้นพบ และนามาสั่งสอนให้พวกเราได้รู้ถึงความจริงนี้ ด้วย นอกจากนี้พระองค์ยังสอนวิธีการที่จะไปรู้ไปเห็นความจริง ตามอย่างท่านด้วย มีหัวข้อธรรมที่ไม่ค่อยมีคนกล่าวถึง คือนิยาม ๕ ที่ได้จาแนกกฎ ธรรมชาติออกเป็น ๕ ประการ ได้แก่ ๑. อุตุนิยาม คือกฎธรรมชาติที่ครอบคลุมความเป็นไปของ ปรากฏการณ์ในธรรมชาติ เกี่ยวกับวัตถุที่ไม่มีชีวิตทุกชนิด เช่น ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า การเกิดดับของโลก ฤดูกาล เป็นต้น ซึ่ง ก็คือความรู้ต่าง ๆ ในทางฟิสิกส์นั่นเอง ๒. พีชนิยาม คือกฎธรรมชาติที่ครอบคลุมความเป็นไปของ สิ่งมีชีวิต ซึ่งก็คือความรู้ต่าง ๆ ของชีววิทยานั่นเอง ๓. จิตนิยาม คือกฎธรรมชาติที่เกี่ยวกับกลไกการทางานของ จิต ๔. กรรมนิยาม คือกฎการให้ผลของกรรม ทั้งกรรมดีและ กรรมชั่ว หรือกฎแห่งกรรมนั่นเอง ๕. ธรรมนิยาม คือกฎธรรมชาติที่เกี่ยวกับความเป็นเหตุเป็น ผลของสิ่งทั้งหลาย เป็นกฎสากลที่ครอบคลุมความเป็นไป ทั้งฝ่ายจิตและวัตถุ กฎ ๔ ข้อข้างต้น สรุปรวมลงในข้อ สุดท้ายนี้ ที่ยกข้อธรรมนี้มา เพื่อแสดงให้เห็นว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่าน ทรงรู้แจ้งทุกกฎธรรมชาติข้างต้น ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ต่าง ๆ ที่เราร่าเรียนกันมา (อุตุนิยามและพีชนิยาม) พระองค์ได้รู้มาตั้ง ๒,๖๐๐ ปีมาแล้วทั้งๆ ที่ไม่มีเครื่องมือทดลองทางวิทยาศาสตร์ อย่างไรก็ตาม พระพุทธองค์ทรงสอนธรรมนิยาม โดยเน้นที่จิต นิยามกับกรรมนิยามเป็นหลัก โดยสอนเรื่องอุตุนิยามและพีช นิยามเพียงเล็กน้อย เพราะไม่ใช่ทางดับทุกข์ แม้จิตนิยามและ กรรมนิยาม พระองค์ก็ทรงสอนเท่าที่จาเป็นในการปฏิบัติเพื่อ ดับทุกข์เท่านั้น ดังเรื่องที่ปรากฏตอนพระองค์ทรงประทับอยู่ที่ ป่าประดู่ลาย พระองค์ทรงถือใบประดู่ลาย ๒-๓ ใบด้วยฝ่าพระ หัตถ์ แล้วตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่าใบไม้ที่พระองค์ทรงถือกับใบ ที่บนต้น อันไหนจะมากกว่า เพื่อจะทรงเปรียบเทียบว่า สิ่งที่ พระองค์รแ ู้ ล้วมิได้บอกมีมาก เพราะเหตุไรจึงไม่บอก เพราะสิ่ง นั้นไม่ประกอบด้วยประโยชน์ มิใช่พรหมจรรย์เบื้องต้น ย่อมไม่ เป็นไปเพื่อความหน่าย ความคลายกาหนัด ความดับ ความสงบ ความรู้ยิ่ง ความตรัสรู้ นิพพาน เพราะเหตุนั้น พระองค์จึงไม่ บอก สาหรับพวกเราที่กาลังศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา ส่วนใหญ่ จะต้องทาการวิจัย กาลังขะมักเขม้นศึกษาวิจัยในเรื่องอุตุนิยาม และพีชนิยาม มีบางคนอาจศึกษาจิตนิยามอยู่บ้าง แต่เราไม่ควร ละเลยกรรมนิยาม ซึ่งเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการใช้ชีวิตของเรา โดยตรงทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต ต้องยอมรับว่ากฎแห่ง กรรมเป็นเรื่องที่พิสูจน์ยาก ไม่ได้เห็นผลอย่างตรงไปตรงมา เหมือนการทดลองทางวิทยาศาสตร์ กฎแห่งกรรมนั้นมีอยู่แล้ว พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ไปรู้ไปเห็น ด้วยพระมหากรุณาธิคณ ุ พระองค์จึงนามาสั่งสอน อยากให้มนุษย์ทุกคนได้ดี ไม่พลาดตก ไปในอบาย พระพุทธเจ้าทรงระลึกชาติได้และรู้ในกรรมของสัตว์ โลก พระองค์จึงทรงเห็นทุกข์เห็นโทษของอบายภูมิ และเห็นสุข เห็นประโยชน์ของสุคติภูมิ การศึกษาด้านจิตนิยามและกรรม นิยามนั้น สามารถพิสูจน์ได้ด้วยการปฏิบัติเท่านั้น ไม่สามารถ คิดไตร่ตรองเอาเองด้วยปัญญาทางโลก ดูอย่างพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของพวกเรา พระองค์ทรงมีปัญญามาก สาเร็จศิลปศาสตร์ ๑๘ ประการ ซึ่งเป็นความรู้สูงสุดทางโลก ตั้งแต่ก่อนจะ ออกบวช แต่ก็ยังไม่มีความรู้เรื่องกฎแห่งกรรมนี้เลย อยากให้ทุกคนตระหนักในกฎแห่งกรรม พึงสังวรไว้ว่า สวรรค์ ไม่ได้แค่อยู่ในอก นรกไม่ได้แค่อยู่ในใจ ภพภูมินั้นมีอยู่เพื่อ รองรับผู้ทากรรมทั้งหลาย แม้พ้นจากภพภูมิทั้งหลายแล้ว ก็ยังมี ผลตามมาในมนุษยโลกนี้ ดังที่เราได้เห็นความแตกต่างของสัตว์ โลกทั้งหลาย บ้างจน บ้างรวย บ้างสวย บ้างขี้เหร่ บ้างฉลาด บ้างโง่ ทั้งหมดนี้ย่อมเกิดจากเหตุที่ทามาก่อนทั้งสิ้น ...
“ดูกรภิกษุทั้งหลาย การดืม ่ น้้าเมาคือสุราและเมรัยอันบุคคลเสพแล้ว เจริญแล้ว กระท้าให้มากแล้ว ย่อมยังสัตว์ให้เป็นไปในนรก ในก้าเนิด สัตว์ดร ิ ัจฉาน ในเปรตวิสย ั วิบากแห่งการดื่มสุราและเมรัยอย่างเบา ที่สุด ย่อมยังความเป็นบ้าให้เป็นไปแก่ผู้มาเกิดเป็นมนุษย์ ฯ” สัพพลหุสสูตร ในอังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต ปัณณาสก์ ทานวรรค

You might also like