You are on page 1of 8

Annual Report 2550-2551

3
ส่วนที ่

สรุป

College of Local Administration KKU 65


Sายงานประจำปี 2550-2551

66 วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น
Annual Report 2550-2551

วิเคราะห์การดำเนินงานและแผนพัฒนาในอนาคต
วิเคราะห์การดำเนินงาน
จากการดำเนินการที่ผ่านมาดังได้กล่าวไปแล้วข้างต้น สะท้อนให้เห็นว่าวิทยาลัยการปกครอง-
ท้องถิ่น ได้ดำเนินการตามวัตถุประสงค์ที่ได้กำหนดไว้ทุกประการ อย่างไรก็ตามแม้ว่าที่ผ่านมาจะ
สามารถดำเนินการไปได้จนทำให้วิทยาลัยฯ ซึ่งมีสถานะเป็นคณะที่ 20 ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น มี
จำนวนนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษามากที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักศึกษาหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร
มหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น ซึ่งมีจำนวนมากกว่า 5,000 คน และที่สำคัญเป็นนักศึกษา
ที่เป็นบุคลากรสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เป็นศูนย์กลางในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และ
การเมืองของประเทศ การพัฒนาบุคลากรกลุ่มนี้ให้มีศักยภาพมีความรู้ความสามารถที่จะบริหารจัดการ
บริการสาธารณะให้กับประชาชน จึงถือเป็นภารกิจที่สำคัญของสถาบันการศึกษาในระดับอุดมศึกษา
เพื่อแก้ไขปัญหาและตอบสนองความต้องการของสังคมโดยแท้จริง
หลักสูตรที่เปิดสอนอยู่ในปัจจุบันสามารถบริหารจัดการให้นักศึกษากว่าร้อยละ 95 จบภายใน
เวลาที่กำหนด อาจารย์ที่สอนในหลักสูตรได้ผ่านการกลั่นกรองคัดเลือกจากผู้ที่มีทั้งความรู้ในเชิงวิชาการ
และมีประสบการณ์ตรงในเรื่องที่สอนจากสถาบันการศึกษาทั่วประเทศที่ร่วมเป็นเครือข่ายในการ
จัดการเรียนการสอน อันสะท้อนให้เห็นถึงคุณภาพของการจัดการหลักสูตรได้ในระดับหนึ่ง แต่ก็ยังพบ
ว่าในส่วนคุณภาพของบัณฑิตโดยเฉพาะอย่างยิ่งคุณภาพผลงานของวิทยาลัยฯ นั้น แม้จะได้รับการ
ยอมรับจากสังคมว่า มีประโยชน์ในเชิงสร้างสรรค์ต่อสังคม (social contribution) แต่ก็ยังได้รับข้อกังขา
จากบุคลากรสายวิชาการส่วนหนึ่งในมหาวิทยาลัยขอนแก่นที่ไม่อยู่ในสาขาหรือไม่มีความเชี่ยวชาญ
ทางด้านวิชารัฐประศาสนศาสตร์ ประเด็นที่กังขาเกี่ยวกับเรื่อง คุณภาพของผลงานในเชิงวิชาการ

จึงถือเป็นความท้าทายทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพที่ทางวิทยาลัยฯ จะต้องสร้างความเข้าใจแก่
สาธารณชนต่อไป
ความท้าทายในการบริหารจัดการหลักสูตรสามารถแยกเป็นประเด็นย่อย ๆ ได้ 3 ประเด็น คือ
1) ด้านคุณลักษณะนักศึกษา 2) ด้านการคัดเลือกและหาอาจารย์ผู้สอนที่มีคุณวุฒิ และ 3) ด้านศักยภาพ
ระบบสนับสนุน
ประเด็นแรกที่จะกล่าวถึง คือ ด้านคุณลักษณะนักศึกษา ที่สืบเนื่องมาจากความไม่ชัดเจนว่า
เราต้องการคนที่พร้อมจะเป็นนักวิชาการ หรือคนที่พร้อมจะไปเป็นผู้บริหารและให้บริการแก่ประชาชน
คนจำนวนไม่น้อยที่คาดหวังว่ามหาวิทยาลัยต้องผลิตคนที่เป็นนักวิชาการทางด้านสังคมศาสตร์ ขณะ
เดียวกันนักวิชาการทั่วไปก็ไม่แน่ใจว่าคนที่ทำงานให้กับสังคมควรจะมีความรู้อะไรที่แตกต่างไปจาก

นักวิชาการทางด้านสังคมศาสตร์ทั่วๆ ไป เมื่อเป็นเช่นนี้วิทยาลัยฯ จึงต้องมีความชัดเจนในการผลิต
บัณฑิตที่สามารถนำเอาวิชาการไปใช้ในการทำงานให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อ
ท้องถิ่นทีน่ ักศึกษาสังกัดอยู่ การคัดเลือกและการผลิตบัณฑิตจึงต้องมีลักษณะแตกต่างไปจากหลักสูตรอื่นๆ
ทั่วไป เพราะจะต้องดำเนินการสอนโดยวิธีการค้นหาศักยภาพและประสบการณ์ของนักศึกษาเพื่อทราบ
College of Local Administration KKU 67
Sายงานประจำปี 2550-2551

ขีดระดับของความรู้ประสบการณ์ที่มีอยู่ และที่จะต้องพัฒนาต่อไป การสอนและการวัดประเมินผลจึง


ต้องเป็นผลเชิงสัมฤทธิ์จากการสามารถแก้ไขปัญหาและนำเอาความรู้ไปประยุกต์ใช้และขณะเดียวกันก็
ต้องมีบัณฑิตเป็นจำนวนมากพอที่จะเกิดผลกระทบต่อสังคม (critical mass) เพื่อจะได้สร้างการ
เปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นในท้องถิ่น และประเทศชาติต่อไป ดังนั้น วิทยาลัยฯ จึงต้องทำบทบาทใน 2 บทบาท
พร้อมๆ กันไป คือ เป็นหน่วยงานในการผลิต และเป็นหน่วยงานที่นำการเปลี่ยนแปลงมาสู่ท้องถิ่น
ประเด็นความท้าทายถัดไป ได้แก่ คุณภาพของอาจารย์ผู้สอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อ
พิจารณาจากสัดส่วนของอาจารย์ต่อจำนวนนักศึกษา เพื่อให้ได้สัดส่วนตามเกณฑ์ที่กำหนดโดย
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา การสรรหาอาจารย์ผู้สอนและอาจารย์ประจำหลักสูตรที่มีความรู้
และประสบการณ์ทางด้านการปกครองท้องถิ่นในสภาวการณ์ที่ประเทศไทยทั้งประเทศยังไม่มีนักวิชาการ
ที่จบการศึกษาในระดับปริญญาเอกทางด้านการปกครองท้องถิ่น จึงเป็นเรื่องที่ไม่ใช่ท้าทายธรรมดาแต่
ต้องทำภายใต้นโยบายของรัฐบาล โดยการเร่งส่งเสริมให้ทุนการศึกษาปริญญารัฐประศาสนศาสตร์ทาง
ด้านการปกครองท้องถิ่น
ด้านคุณภาพของบัณฑิตศึกษา แม้ว่ามหาบัณฑิตรุ่นแรกของวิทยาลัยฯ มากกว่าร้อยละ 90 จะ
สำเร็จการศึกษาภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในหลักสูตร แต่คุณภาพของผลงานวิชาการหรือคุณภาพ
ของการศึกษาอิสระยังเป็นที่กังขาของสังคมทั่วไป ในขณะเดียวกันผลงานการศึกษาอิสระส่วนหนึ่งแม้
จะได้รับการยอมรับตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการก็ตาม แต่ก็ถือว่ามีสัดส่วนที่ไม่สูงเท่าที่ควรเมื่อ
เทียบกับจำนวนนักศึกษาที่มีอยู่ทั่วประเทศ ที่สำคัญไปกว่านั้นคือ นักวิชาการส่วนมากจะไม่ทราบหรือ
ไม่ได้อ่านผลงานทางวิชาการของมหาบัณฑิตที่จบจากวิทยาลัยฯ จึงจำเป็นที่จะต้องมีกระบวนการ
ประชาสัมพันธ์ผลงานทางวิชาการ ผลงานทางการบริหาร และผลงานทางด้านการบริการของศิษย์เก่า
และศิษย์ปัจจุบันของวิทยาลัยฯ อย่างต่อเนื่อง
เพื่อให้การสะท้อนถึงคุณภาพของบัณฑิตเป็นไปในลักษณะ 2 ทาง คือ แทนที่จะให้นักวิชาการ
เป็นผู้ประเมินนักปกครองท้องถิ่นด้วยไม้บรรทัดหรือวัฒนธรรมของนักวิชาการเพียงทางเดียว ทาง
วิทยาลัยฯ จะจัดและส่งเสริมกิจกรรมทางด้านการเผยแพร่ความรู้ ประสบการณ์ ผลงานด้านการ
ปกครองท้องถิ่น และความก้าวหน้าของท้องถิ่นที่ศิษย์เก่าและศิษย์ปัจจุบันได้กระทำสำเร็จหรือกำลัง
กระทำอยู่มาเผยแพร่ความรู้ให้แก่อาจารย์ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น และแก่สาธารณชนอย่างน้อย

ปีละครั้ง ในหลาย ๆ รูปแบบที่แตกต่างกันเพื่อให้นักวิชาการตระหนักว่ามีสิ่งต่าง ๆ หรือมีเรื่องต่าง ๆ
หรือความรู้ใหม่ ๆ ที่นักวิชาการควรจะประเมินตนเอง และประเมินคุณภาพของบัณฑิตในเชิงสัมพัทธ์
ซึ่งจะช่วยเปลี่ยนทัศนคติของบุคคลทั่วไปที่มองว่าบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือบัณฑิต
จากท้องถิ่นเป็นบัณฑิตที่แตกต่างจากบัณฑิตปกติ (ที่ผลิตด้วยกระบวนการผลิตแบบดั้งเดิม) มาสู่
ความชื่นชมและเห็นคุณค่าในผลงานและความสามารถของบัณฑิตและมหาบัณฑิตของวิทยาลัยการ
ปกครองท้องถิ่น

68 วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น
Annual Report 2550-2551

ความท้าทายอีกส่วนหนึ่ง ได้แก่ ความจำเป็นที่จะต้องมีการพัฒนาศักยภาพของระบบ


สนับสนุนการบริหารจัดการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบสารสนเทศการสื่อสารและเทคโนโลยี (ICT)
ที่ถือว่าเป็นหัวใจของการบริหารจัดการแบบเครือข่ายที่จะต้องได้รับการออกแบบให้มีประสิทธิผลและมี
ประสิ ท ธิ ภ าพในการที่ จ ะใช้ เ ป็ น กลไกสนั บ สนุ น การบริ ห ารจั ด การและสนั บ สนุ น การเรี ย นรู้ ใ ห้ กั บ

นักศึกษา รวมทั้งเป็นสื่อกลางในการสื่อสารระหว่างวิทยาลัยฯ นักศึกษา และอาจารย์ที่กระจายอยู่
ในทั่วประเทศ การออกแบบระบบ ICT ที่ใช้ง่ายแต่มีประสิทธิผลจึงเป็นประเด็นที่จะต้องดำเนินการ
ปรับปรุงแก้ไข และนอกจากนี้ทางวิทยาลัยฯ จะมองระบบ ICT เป็นศักยภาพของการจัดการศึกษาผ่าน
ระบบ online และวางแผนที่จะจัดการศึกษาระบบ online ร่วมกับสถาบันอุดมศึกษาในและต่างประเทศ
ในอนาคตอันใกล้นี้
ปัญหาทางด้านศักยภาพของระบบสนับสนุนการบริหารจัดการ นอกเหนือจาก ICT แล้ว
ศักยภาพของระบบงบประมาณที่มีลักษณะ cost-effectiveness ยังอยู่ในระดับที่ต้องปรับปรุงให้ดีขึ้น
กว่าเดิมที่เป็นอยู่ และจะต้องมีการวางแผนในการจัดหาแหล่งรายได้มากขึ้น หรือในระดับที่ไม่ต่ำไป
กว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน และขณะเดียวกันก็ต้องมีกระบวนการควบคุมต้นทุน (cost-control) ให้ต่ำสุด
(โดยคุณภาพไม่ด้อยไปกว่าเดิม) เพราะวิทยาลัยฯ เป็นองค์กรที่ดำเนินการโดยอาศัยเงินรายได้เพียง
แหล่งเดียว การหาแหล่งรายได้เพิ่มเติมย่อมหมายความถึง การหากลุ่มเป้าหมายและแสวงหาภาคีหุ้นส่วน
ให้ได้กว้างขึ้น แต่ในปัจจุบันวิทยาลัยฯ ยังมีการดำเนินงานเชิงรุกไม่มากเท่าที่ควร นอกจากนี้ทาง
วิทยาลัยฯ ยังต้องมีระบบของการพัฒนาบุคลากรเพื่อให้ได้ลักษณะที่เรียกว่า Talent management
วิทยาลัยฯ จะต้องคิดถึงและจัดให้มีกระบวนการคัดเลือกบุคลากรสายพันธุ์ใหม่และพัฒนาบุคลากรเก่า
ควบคู่ไปด้วย เพื่อให้สามารถปรับตัวเข้ากับกระแสการเปลี่ยนแปลงสังคมและเศรษฐกิจบนพื้นฐาน
ความรู้ตามกระแสโลกในปัจจุบัน และพร้อมที่จะรองรับการแข่งขันของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ในประเทศ
ที่เริ่มหันมาผลิตบัณฑิตหรือจัดการศึกษาทางด้านการปกครองท้องถิ่นมากขึ้น ซึ่งในปัจจุบันนี้มีไม่น้อย
กว่า 44 มหาวิทยาลัย และกำลังจะเพิ่มจำนวนมากขึ้นอีกในอนาคตอันใกล้นี้
ในทุกกระบวนการและความท้าทายที่กล่าวมาข้างต้นเกี่ยวข้องกับกระบวนทัศน์ของบุคลากร
ทั่วไปในมหาวิทยาลัยที่ต่างก็เชื่อว่า “ยากที่จะผลิตบัณฑิตจำนวนมากให้มีคุณภาพที่ดี และมีชื่อเสียง
ได้ หรือ ปริมาณและคุณภาพยากที่จะไปด้วยกันได้” โดยการใช้เพียงสามัญสำนึกหรือความรู้สึกตาม
ลำพังในกระบวนทัศน์เดิมที่มองว่าหลักสูตรที่มีคุณภาพ คือ หลักสูตรที่รับนักศึกษาจำนวนน้อย ๆ และ
ใช้เวลาในการเรียนนาน หรือมีจำนวนหน่วยกิตมาก ๆ หากหลักสูตรใดที่มีคุณลักษณะแตกต่างไปจาก
นี้ถือว่ามีข้อคำถามในเชิงคุณภาพ การบริหารท่ามกลางกระบวนทัศน์ของสังคมเช่นนี้ถือได้ว่าเป็นความ
ท้าทายอย่างยิ่ง วิทยาลัยฯ จึงต้องบริหารให้เกิดการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ของสังคม ทั้งภายในและ
ภายนอกมหาวิทยาลัย ที่ต่างก็เชื่อว่าปริมาณและคุณภาพมีความสัมพันธ์กันในเชิงลบมาเป็นความ
เข้าใจว่า คุณภาพขึ้นอยู่กับกระบวนการผลิต การประเมินคุณภาพจึงต้องประเมินจากกระบวนการ
ผลิตเป็นหลักก่อนที่จะประเมินผลลัพธ์ที่เกิดจากกระบวนการผลิต

College of Local Administration KKU 69


Sายงานประจำปี 2550-2551

แผนพัฒนาในอนาคต
เพื่อบรรลุเป้าหมายของการทำให้วิทยาลัยเป็นศูนย์กลางของนวัตกรรมทางการบริหารเพื่อ
พัฒนาท้องถิ่น และเป็นตัวกลางในการเชื่อมต่อระหว่างมหาวิทยาลัยที่เป็นแหล่งในการสร้างองค์ความรู้
และชุมชนหรือสังคมอันเป็นแหล่งของการนำความรู้ไปใช้ ภายใต้การบริหารจัดการแบบเครือข่าย
ที่มปี ระสิทธิผลและมีประสิทธิภาพ วิทยาลัยฯ จึงได้กำหนดแผนการดำเนินการในอีก 4 ปีข้างหน้า
เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ที่กำหนดไว้ว่า “วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น เป็นองค์กรในกำกับของ
มหาวิทยาลัย ขอนแก่นที่ได้รับการยอมรับในมาตรฐานในการผลิตบัณฑิตที่มีศักยภาพในการ
ปฏิบัติงานอย่างมีคุณภาพบนพื้นฐานของคุณธรรม จริยธรรม ยึดมั่นในหลักการธรรมาภิบาลและ
สร้างเครือข่ายภาคีหุ้นส่วนในการพัฒนาวิชาการและความเข้มแข็งของสถาบัน รวมทั้งเป็น
องค์กรที่เป็นศูนย์กลางของนวัตกรรมทางการบริหารเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น” โดยมีการบริหาร
จัดการเชิงกลยุทธ์ ตามแนวทางของ Balanced Scorecard 4 ด้านดังต่อไปนี้
1. ด้านการพัฒนาและการเรียนรู้ขององค์การ จะดำเนินการพัฒนาระบบการบริหารทรัพยากร
มนุษย์ พัฒนาระบบสารสนเทศการสื่อสารและเทคโนโลยี (ICT)
ในการพัฒนาระบบการบริหารทรัพยากรมนุษย์จะมีการจัดทำแผนพัฒนาบุคลากรเป็นราย
บุคคล ให้สอดรับกับสมรรถนะที่พึงประสงค์ในการปฏิบัติงาน พร้อมทั้งมีเกณฑ์การประเมินผลงาน
เป็นรูปธรรม และมีการเชื่อมต่อกับผลการดำเนินงานของวิทยาลัยฯ ในลักษณะ personal score card
การพัฒนาระบบสารสนเทศการสื่อสารและเทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการของ
องค์การที่มีลักษณะเป็นเครือข่าย โดยใช้ระบบ ICT ที่มีประสิทธิผลและมีลักษณะ real time เพื่อลด
ทั้งเวลาที่ต้องใช้ในการให้บริการ ลดต้นทุนทางการบริหารจัดการ และครอบคลุมการให้บริการแก่นักศึกษา
ที่กระจายอยู่ทั่วประเทศทั้ง 76 จังหวัดให้ได้ดีขึ้น การพัฒนาในส่วนนี้เป็นความจำเป็นที่จะดำเนินการ
ให้เสร็จในช่วงปีแรกนี้
2. ด้านกระบวนการภายใน จะมีการทบทวนการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรรัฐประศาสน-
ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น ซึ่งในปัจจุบันได้มีการจัดการเรียนการสอนใน 16
ศูนย์การศึกษาทั่วประเทศ บางแห่งก็มีจำนวนนักศึกษาน้อย ดังนั้นในช่วงเวลาต่อไปจากนี้จะได้มีการ
วิเคราะห์ต้นทุนประสิทธิผลและต้นทุนต่อหน่วยอย่างจริงจัง ซึ่งในอนาคตเมื่อบุคลากรของท้องถิ่นได้
รับการพัฒนาเป็นจำนวนมากแล้วเป็นไปได้ว่าทางวิทยาลัยอาจจะยุบศูนย์การศึกษาให้เหลือเพียง 4
ศูนย์การศึกษา โดยมีเพียง 1 ศูนย์การศึกษาในแต่ละภูมิภาคเท่านั้น
นอกจากการทบทวนการเปิดศูนย์การศึกษาสำหรับหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น จาก 16 ศูนย์การศึกษา เหลือ 4 ศูนย์การศึกษาแล้ว วิทยาลัยฯ ก็
จำเป็นที่จะต้องพัฒนาหลักสูตรที่ตอบสนองความต้องการของหลากหลายหน่วยงานมากขึ้น ดังเช่น
กองบัญชาการศึกษา สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กอ.รมน. และสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง
เป็นต้น รวมทั้งเพิ่มภารกิจหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้การจัดการศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา และปริญญาตรี
คือ การพัฒนาโครงการบริการทางวิชาการในระยะสั้น หรือในระดับประกาศนียบัตร ให้แก่บุคลากร
ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นลูกศิษย์ของวิทยาลัยฯ ลูกศิษย์กลุ่มนี้ถือว่าเป็นสินทรัพย์
(Asset) ที่มีค่ายิ่งของวิทยาลัยฯ เมื่อเป็นเช่นนี้ย่อมหมายถึง ความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาระบบการ
70 วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น
Annual Report 2550-2551

สื่อสารและการตลาดเพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายมากยิ่งขึ้น และที่สำคัญเน้นการให้บริการทางวิชาการ
เชิงรุกมากกว่าเชิงรับ
กระบวนการภายในที่สำคัญอีกประการหนึ่ง ได้แก่ การพัฒนาระบบการบริหารงานวิจัยเพื่อให้
วิทยาลัยฯ เป็นศูนย์กลางของความรู้ความก้าวหน้า การพัฒนาและการปกครองท้องถิ่นไทย โดยอาศัย
จุดแข็งของวิทยาลัยฯ ที่มีนักศึกษาซึ่งเป็นผู้ที่มี Tacit knowledge อยู่เต็มเปี่ยม เหลือเพียงแต่การมี

ผู้จัดการความรู้ที่จะดึงความรู้เหล่านั้นออกมาเผยแพร่ ดังนั้น ภารกิจที่สำคัญของวิทยาลัยฯ ในช่วง


เวลานี้จึงได้แก่ การพัฒนาระบบการจัดการความรู้ โดยเฉพาะองค์ความรู้เกี่ยวกับการปกครองท้องถิ่น
ซึ่งทางวิทยาลัยฯ จะใช้กลวิธีถอดบทเรียน กรณีศึกษาที่มีลักษณะ best practice เพื่อทำการเผยแพร่
ต่อสาธารณชนในรูปแบบต่าง ๆ
3. ด้านงบประมาณ สืบเนื่องจากวิทยาลัยฯ เป็นองค์กรในกำกับที่พึ่งพาเงินรายได้ของตนเอง
ร้อยเปอร์เซ็นต์ การมีระบบงบประมาณที่มีประสิทธิผลและมีประสิทธิภาพสูงสุด (Cost-effectiveness) ภายใต้
การจัดการศึกษาและการให้บริการที่มีคุณภาพจึงเป็นหัวใจของการดำเนินงานภายใน 4 ปีข้างหน้า การ
บริหารงบประมาณต้องใช้ระบบ project based และมุ่งเน้นผลสำเร็จในการดำเนินการ (result-based management)
นอกจากการบริหารงบประมาณเป็นระบบ project based แล้วเรายังถือว่างบประมาณของ
วิทยาลัยฯ ขึ้นอยู่กับขนาดของเครือข่าย ทั้งเครือข่ายที่เป็นนักศึกษา (ศิษย์เก่าและศิษย์ปัจจุบัน)
ตลอดจนองค์กรต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ที่เป็นเช่นนี้เพราะเครือข่ายที่กล่าวมานี้เป็นสินทรัพย์
(asset) ที่สำคัญของวิทยาลัยฯ ดังนั้นการพัฒนาระบบบริหารเครือข่ายหรือศิษย์เก่าสัมพันธ์ จึงเป็น
ประเด็นที่จะต้องดำเนินการควบคู่ไปกับการบริหารงบประมาณ
4. ด้านผู้รับบริการ ทั้งในด้านการได้รับการยอมรับจากสังคมและประชาชนทั่วไปในประเด็น
ของคุณภาพของบัณฑิตและมหาบัณฑิตของวิทยาลัยฯ ตลอดจนการได้รับการยอมรับจากหน่วยงานที่
เป็นผู้ใช้บัณฑิตเหล่านั้น การพัฒนาคุณภาพของการจัดการหลักสูตรเพื่อให้ได้บัณฑิตและมหาบัณฑิตที่มี
คุณภาพทั้งทางด้านวิชาการ และด้านการมีคุณธรรม จริยธรรม จึงเป็นสิ่งที่จะต้องดำเนินการเพื่อสร้าง
Brand name ของผลผลิตของวิทยาลัยฯ ในรูปแบบต่าง ๆ ให้เป็นที่ยอมรับของสังคมทั้งในระดับชาติ
และระดับนานาชาติต่อไป
ในการจัดการเรียนการสอนและบริการทางวิชาการต่าง ๆ นั้น วิทยาลัยฯ ต้องคำนึงถึงมิติของ
ผู้รับบริการ โดยยึดหลักว่าต้องสร้างความพึงพอใจให้แก่ผู้มารับบริการในทุกระดับ และยึดถือคุณภาพเป็น
เป้าหมายหลักของการจัดการศึกษา ซึ่งการสร้างความพึงพอใจให้แก่ผู้เรียนจะพิจารณาตั้งแต่การ

คัดเลือกอาจารย์ที่มีความรู้และประสบการณ์ในการทำงานประกอบด้วย มิใช่เพียงการคัดเลือกจากผู้มี
ความรู้ทางด้านเอกสารตำราตามลำพัง ตลอดจนสามารถถ่ายทอดความรู้ให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้
กับหน้าที่การงานได้ การจัดการด้านอาคารสถานที่เรียนนั้นทางวิทยาลัยฯ ได้กำหนดไว้เป็นมาตรฐาน
ว่าห้องเรียนทุกห้องจะต้องมีเครื่องปรับอากาศ มีสภาพแวดล้อมที่เหมาะแก่การเรียน มีความพร้อม
ของเครื่องโสดทัศนูปกรณ์ และมีระบบ Internet ประจำห้องเรียนทุกห้อง นอกจากนี้ในปี พ.ศ. 2551
ทางวิทยาลัยฯ ได้เริ่มดำเนินการก่อสร้างอาคารของวิทยาลัยฯ เพื่อใช้เป็นสถานที่จัดการเรียนการสอน
และอำนวยความสะดวกแก่นักศึกษาและผู้มาติดต่อกับทางวิทยาลัยฯ และเพื่อเป็น “ศูนย์กลางนวัตกรรม
ทางการบริหารเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น” อย่างแท้จริง
College of Local Administration KKU 71
Sายงานประจำปี 2550-2551

72 วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น

You might also like