You are on page 1of 6

ประว ัติธงชาติไทย

ตามหลักฐานต่างๆ ปรากฏว่าตัง้ แต่สมัยโบราณนัน ้ ไทยเรายังไม่มธี งชาติโดยเฉพาะ เมือ ่ เวลา


จัดกองทัพไปทาสงคราม จะใชธงส ้ ตี า่ งๆ ประจาทัพเป็ นเครือ
่ งหมายทัพละส ี ต่อมาเมือ
่ มีการ
เดินเรือค ้าขายกับต่างประเทศทางตะวันตกในสมัยอยุธยา ได ้ใชธงส ้ แี ดงติดเครือ
่ งหมายว่าเป็ น
ิ ค ้าของไทย
เรือสน

จดหมายเหตุของชาวต่างประเทศกล่าวว่า ในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช มีเรือ


่ ากน้ าเจ ้าพระยา เมือ
ฝรั่งเศสแล่นเข ้ามาสูป ่ ถึงป้ อมของไทย ไทยชก ั ธงชาติฮอลันดาขึน้ รับเรือ
ฝรั่งเศส เพราะไม่มธี งชาติเป็ นของตนเอง แต่เรือฝรั่งเศสไม่ยอมสลุต (ยิงปื นสลุต) รับธง
ฮอลันดาเพราะเคยเป็ นคูอ ่ ริกันมาก่อน และถือว่าไม่ใชธ ่ งชาติไทย ฝ่ ายไทยจึงแก ้ไขโดยนาธง
แดงชก ั ขึน
้ แทนธงชาติ เรือฝรั่งเศสจึงยอมสลุตคานับ ตัง้ แต่นัน ้ มาธงสแี ดงจึงกลายเป็ นธงชาติ
ของไทยเรือ ่ ยมา

ภาพธงแดงเกลีย
้ ง

ครัน้ ถึงสมัยกรุงธนบุรแ ิ ทร์ ก็ยังคงใชธงส


ี ละกรุงรัตนโกสน ้ แ ี ดงเกลีย ั เป็ นเครือ
้ งชก ่ งหมายประจา
เรือค ้าขายกับต่างประเทศอยู่ ธงแดงนีใ้ ชช้ ก
ั ขึน
้ ทัง้ ในเรือหลวงและเรือราษฎร ต่อมา
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้ าจุฬาโลก ทรงมีพระราชดาริวา่ เรือหลวงกับเรือราษฎร
ควรมีเครือ
่ งหมายให ้เห็นแตกต่างกัน จึงมีพระบรมราชโองการให ้ทารูปจักรสข ี าวติดไว ้กลางธงส ี
แดง เป็ นเครือ ้
่ งหมายใชเฉพาะเรื อหลวง สว่ นเรือค ้าขายของราษฎรทั่วไปนัน
้ ยังคงใชส้ แ ี ดง
เกลีย
้ งอยู่


ธงแดง ใชเฉพาะเรื
อหลวง
ถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล ้านภาลัย ได ้ชางเผื ้ ื ก ซงึ่
อกสามเชอ

ตามประเพณีไทยถือว่าเป็ นเกียรติยศอย่างยิง่ จึงมีพระราชโองการให ้ทา รูปชางเผือกไว ้กลางวง
จักรในธงเรือหลวงด ้วย สมัยนีธ ิ ค ้าของราษฎรก็ยังเป็ นธงสแ
้ งเรือสน ี ดง

ธงแดง สมัยรัชกาลที่ ๒

รัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล ้าเจ ้าอยูห ่ วั ได ้ทาหนังสอื สญั ญาเปิ ดการ


ค ้าขายกับชาวตะวันตก ใน พ.ศ. ๒๓๙๘ มีเรือสน ิ ค ้าของประเทศต่างๆ ในยุโรปและอเมริกาเดิน
ทางเข ้ามาค ้าขายมากขึน ้ และมีสถานกงสุลตัง้ อยูใ่ นกรุงเทพฯ สถานทีเ่ หล่านั น ้ ล ้วนชกั ธงชาติ
ของตนขึน ้ เป็ นสาคัญ จึงจาเป็ นทีไ่ ทยจะต ้องมีธงชาติทแ ี่ น่นอน พระบาทสมเด็จพระจอมเกล ้า
เจ ้าอยูห
่ ัว ทรงพระราชดาริวา่ ธงสแ ี ดงซงึ่ เรือสน
ิ ค ้าของไทยใชอยู ้ น ้ ซ้ากับประเทศอืน
่ ัน ่ ยากแก่
การสงั เกตไม่สมควรใชอี้ กต่อไป ควรจะใชธงอย่ ้ างเรือหลวงเป็ นธงชาติ แต่โปรดเกล ้าให ้เอารูป
ี ี
จักรสแดงออกเสย เพราะเป็ นเครือ ่ งหมายเฉพาะพระเจ ้าแผ่นดิน คงไว ้แต่เป็ นรูปชางเผื ้ อกอยู่
กลางธงแดงเท่านัน ้

ในระหว่างรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล ้าเจ ้าอยูห


่ วั รัชกาลที่ ๕ ได ้มี
การออกพระราชบัญญัตวิ า่ ด ้วยแบบอย่างธงหลายครัง้ คือ

 พระราชบัญญัตวิ า่ ด ้วยแบบอย่างธงสยาม ร.ศ.๑๑๐


 พระราชบัญญัตธิ งรัตนโกสน ิ ทรศก ๑๑๖ และ
 พระราชบัญญัตธิ งรัตนโกสน ิ ทรศก ๑๑๘

ทุกฉบับได ้ยืนยันถึงลักษณะของธงชาติวา่ เป็ น ธงพืน ้


้ แดง กลางเป็ นรูปชางเผื
อกไม่
ทรงเครือ ้
่ ง หันหน ้าเข ้าเสา ทัง้ สน ิ

ธงชาติในสมัยรัชกาลที่ ๔ และรัชกาลที่ ๕ พ.ศ.๒๓๙๘ - พ.ศ.๒๔๕๙


ภายหลังพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล ้าเจ ้าอยูห ่ วั ทรงพระราชดาริวา่ เมือ่ มองธง
ชาติซงึ่ ใชอยู
้ ใ่ นขณะนั น
้ แต่ไกล จะมีลักษณะไม่ตา่ งจากธงราชการเท่าไร และรูปชางที ้ อ
่ ยูก่ ลาง
ธง ก็ไม่งดงาม จึงโปรดเกล ้าฯ ให ้ออกประกาศแก ้ไขเพิม ่ เติม

 พระราชบัญญัตธิ ง รัตนโกสน ิ ทรศก ๑๒๙ เมือ ่ วันที่ ๒๑ พฤศจิกายน พ.ศ.


๒๔๕๙ แก ้ไขลักษณะธงชาติเป็ น "ธงพืน ้ แดง กลางเป็ นรูปธงชางเผื ้ อก
ทรงเครือ ่ บังคับใชตั้ ง้ แต่วน
่ ง ยืนแท่น หันหลังเข ้าเสา" ประกาศนีใ้ ห ้เริม ั ที่ ๑
มกราคม พ.ศ.๒๔๕๙ เป็ นต ้นไป (ขณะนัน ้ ยังนับเดือนเมษายนเป็ นเดือนเริม ่
ศักราชใหม่)

ธงชาติ พ.ศ. ๒๔๕๙

ใน พ.ศ.๒๔๖๐ ได ้มีการแก ้ไขลักษณะธงชาติอก ี ครัง้ หนึง่ เนือ


่ งจากขณะนัน ้ ประเทศไทยได ้

ประกาศตนเข ้าร่วมกับฝ่ ายสมพันธมิตรเพือ ่ รบกับเยอรมันนี ออสเตรีย และฮังการี ใน
สงครามโลกครัง้ ที่ ๑ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล ้าเจ ้าอยูห ่ ัว ทรงพระราชดาริวา่ การประกาศ
สงครามครัง้ นี้ นับเป็ นความเจริญก ้าวหน ้าขัน ้ หนึง่ ของประเทศ สมควรจะมีสงิ่ เตือนใจสาหรับ
้ ว ้ในภายหน ้า สงิ่ นั น
วาระนีไ ้ ควรได ้แก่ธงชาติ ทรงเห็นว่าลักษณะทีไ่ ด ้แก ้ไขไปแล ้วใน พ.ศ.
๒๔๕๙ นัน ้ ยังไม่สง่างามเพียงพอ จึงโปรดเกล ้าฯ ให ้เพิม ่ แถบสน ี ้ าเงินขึน้ อีกสห ี นึง่ เป็ นสามส ี
ตามลักษณะธงชาติของนานาประเทศทีใ่ ชกั้ นอยูโ่ ดยมากในขณะนั น ้ เพือ
่ ให ้เป็ นเครือ ่ งหมายว่า
ประเทศไทยได ้เข ้าร่วมเป็ นน้ าหนึง่ ใจเดียวกับฝ่ ายสม ั พันธมิตร เพือ ่ ต่อต ้านปราบปรามฝ่ าย
อธรรม อีกประการหนึง่ สน ี ้ าเงินก็เป็ นสป
ี ระจาพระชนมวารเฉพาะของพระองค์ด ้วย จึงเป็ นสท ี ี่
สมควรจะประกอบไว ้ในธงชาติไทยด ้วยประการทัง้ ปวง

การเปลีย
่ นธงชาติในครัง้ นี้ จมืน ่ อมรดรุณารักษ์ (แจ่ม สุนทรเวช) ซงึ่ รับราชการใกล ้ชด ิ
พระยุคลบาทในขณะนัน ้ ได ้เขียนเรือ ่ งราวเกีย ่ วกับการเปลีย ่ นแปลงลักษณะของธงชาติวา่
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล ้าเจ ้าอยูห ่ ัว ทรงพระราชดาริจะเปลีย ้
่ นธงชางเป็ นธงแถบส ี เพราะ
ทรงเห็นความลาบากของราษฎรทีต ่ ้องสงั่ ซอื้ ธงผ ้าพิมพ์รป ้
ู ชางมาจากต่ างประเทศ และบางครัง้
เมือ
่ เกิดความสะเพร่าติดธงผิด รูปชางกลั ้ บเอาขาชข ี้ น
ึ้ เป็ นทีน ่ ่าละอาย หากเปลีย ่ นเป็ นธงแถบส ี
ราษฎรก็สามารถทาธงใชได ้ ้เอง และจะชว่ ยขจัดปั ญหาการติดผิดพลาด ได ้ทรงพยายามเลือกส ี
ทีม
่ คี วามหมายในทางความสามัคคีและมีความสง่างาม

ก่อนออกพระราชบัญญัตฉ
ิ บับใหม่ ได ้ทรงทดลองใชธงริ ้ ว้ ขาวแดงติดอยูท
่ ส ื ป่ า
ี่ นามเสอ
หลายวัน ภายหลังจึงตกลงพระทัยใชส้ น
ี ้ าเงินแก่ เพิม
่ ขึน ี นึง่
้ อีกสห
่ ดลองใช ้ ปี พ.ศ.๒๔๖๐
ธงริว้ แดงขาว ทีท

การเพิม่ สนี ้ าเงินนีป


้ รากฏอยูใ่ นพระราชหัตถเลขาในบันทึกสว่ นพระองค์ วันเสาร์ท ี่ ๑๘
สงิ หาคม ๒๔๖๐ ว่า ได ้ทอดพระเนตรบทความแสดงความเห็นของผู ้ใชนามแฝงว่ ้ า "อะแคว์รส ิ "
ในหนั งสอื พิมพ์กรุงเทพฯ เดลิเมล์ ภาษาอังกฤษ ฉบับวันที่ ๑๕ สงิ หาคม พ.ศ.๒๔๖๐ ได ้ทรง
แปลข ้อความนัน ้ ลงในบันทึกด ้วย มีความโดยย่อว่า

" เพือ
่ นชาวต่างประเทศของผู ้เขียน (อะแคว์รส ิ ) ได ้ปรารภถึงธงชาติแบบใหม่วา่ ยังมี
ลักษณะไม่สง่างามเพียงพอ ผู ้เขียนก็มค ี วามเห็นคล ้อยตามเชน ่ นัน
้ และเสนอแนะด ้วยว่า ริว้ ตรง
กลางควรจะเป็ นสน ี ้ าเงินซงึ่ เป็ นสส
ี ว่ นพระองค์ของพระมหากษั ตริย ์ ซงึ่ ถ ้าเปลีย ่ นตามนีแ
้ ล ้ว ธง
ชาติไทยก็จะประกอบด ้วยสแ ี ดง ขาว น้ าเงิน มีสเี หมือนกับธงสามสข ี องฝรั่งเศส ธงยูเนียนแจ็ค
ของอังกฤษ และธงดาวของสหรัฐอเมริกา ประเทศพันธมิตรทัง้ ๓ คงเพิม ่ ความพอใจในประเทศ
ไทยยิง่ ขึน
้ เพราะเสมือนยกย่องเขา ทัง้ การทีม ่ ส ี
ี ของพระมหากษั ตริยใ์ นธงชาติ ก็จะเป็ นเครือ ่ ง
เตือนให ้ระลึกถึงพระองค์ในวาระทีป ่ ระเทศไทยได ้เข ้าสูเ่ หตุการณ์สาคัญต่างๆ ด ้วย... "

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล ้าเจ ้าอยูห ่ ัวทรงเห็นด ้วยกับข ้อเสนอนี้ เมือ ่ ทรงทดลองวาด


ภาพธงสามสส ี งในบันทึก ทรงเห็นว่างดงามดีกว่าริว้ ขาวแดงทีใ่ ชอยู ้ ่ ต่อมาเมือ ่ เจ ้าพระยาราม
ราฆพ (ขณะนั น ิ
้ ยังเป็ นพระยาประสทธิศภ ์
ุ การ) ไปเฝ้ าสมเด็จพระเจ ้าบรมวงศเธอ เจ ้าฟ้ ากรม
หลวงพิษณุโลกประชานาถ ได ้นาแบบธงไปถวายเพือ ่ ทูลขอความเห็น สมเด็จพระเจ ้าบรมวงศ ์
เธอ เจ ้าฟ้ ากรมหลวงพิษณุโลกประชานาถก็ทรงเห็นชอบ รับสงั่ ว่าถ ้าเปลีย ่ นในขณะนั น ้ จะได ้เป็ น
อนุสรณ์ในการเข ้าร่วมสงครามโลกครัง้ ที่ ๑ ด ้วย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล ้าเจ ้าอยูห ่ ัวโปรด
ให ้พระยาศรีภรู ป ิ รีชา ร่างประกาศแก ้แบบธงชาติ และได ้ทรงนาเรือ ่ งเข ้าทีป
่ ระชุมคณะเสนาบดี
เพือ
่ ฟั งความเห็น ทีป ่ ระชุมลงมติเห็นชอบธงสามสต ี ามแบบทีค ่ ด
ิ ขึน
้ ใหม่

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล ้าเจ ้าอยูห


่ ัว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล ้าฯ ให ้ตรา
้ เรียกว่า พระราชบัญญัตธิ ง พระพุทธศักราช ๒๔๖๐ ออกประกาศเมือ
พระราชบัญญัตธิ งขึน ่ วันที่

๒๘ กันยายน พ.ศ.๒๔๖๐ มีผลบังคับใชภายหลั ื ราชกิจจานุเบกษา
งวันออกประกาศในหนั งสอ
แล ้ว ๓๐ วัน
ธงไตรรงค์ พ.ศ.๒๔๖๐

ลักษณะของธงชาติ มีดังนีค ้ อ

เป็ นธงรูปสเี หลีย่ มรี ขนาดกว ้าง ๒ สว่ น ยาว ๓ สว่ น แถบสนี ้ าเงินแก่กว ้าง ๑ ใน ๓ ของ
ความกว ้าง อยูก ่ ลางธง มีแถบสข ี าวกว ้าง ๑ ใน ๖ ของความกว ้างของธงข ้างละแถบ แล ้วมีแถบ
สแี ดงกว ้างเท่ากับแถบสข ี าว ประกอบข ้างนอกอีกข ้างละแถบ และพระราชทานนามว่า "ธง
ไตรรงค์" สว่ นธงรูปชางกลางธงพื
้ น
้ แดงของเดิมนัน้ ให ้ยกเลิก

ความหมายของสธี งไตรรงค์ คือ


สแี ดง หมายถึง ชาติและความสามัคคีของคนในชาติ
สข ี าว หมายถึง ศาสนาซงึ่ เป็ นเครือ
่ งอบรมสงั่ สอนจิตใจให ้บริสท
ุ ธิ์
สน ี ้ าเงิน หมายถึง พระมหากษั ตริยผ์ ู ้เป็ นประมุขของประเทศ

พ.ศ.๒๔๗๐ พระบาทสมเด็จพระปกเกล ้าเจ ้าอยูห ่ ัว ทรงพระราชดาริวา่ ประเทศไทยได ้มี


การเปลีย ่ นแปลงแบบธงชาติมาหลายครัง้ คือ จากธงพืน ้ แดงเกลีย ้
้ ง มาเป็ นธงแดงมีชางเผื อกไม่
ทรงเครือ ่ งอยูก
่ ลาง ธงพืน ้
้ แดงชางเผื อกทรงเครือ ่ งยืนแท่น และธงไตรรงค์ แม ้ว่าธงไตรรงค์จะ

ให ้ความสะดวกในการใชและการสร ้ ใช ้ แต่ธงไตรรงค์ก็ยังไม่เป็ นทีร่ ู ้จักของต่างประเทศ
้างขึน
โดยทั่วไปอย่างแพร่หลายว่าเป็ นธงชาติไทยเชน ่ ธงชาง ้ นอกจากนีธ ้ งไตรรงค์ยังมีสค ี ล ้ายกับส ี
ธงชาติของบางประเทศและคล ้ายกับสข ี องธงบริษัทต่างประเทศบางแห่ง ก่อให ้เกิดความเข ้าใจ
้ งึ่ ไม่ซ้ากับธงชาติใดเลย เพือ
ผิดได ้ง่าย ผิดกับธงชางซ ่ ไม่ให ้ต ้องเปลีย ่ นธงชาติบอ่ ยๆ จึงทรง
พระกรุณาโปรดเกล ้าฯ ให ้ราชเลขาธิการบันทึกพระราชกระแสพระราชทานไปยังองคมนตรี ด ้วย
มีพระราชประสงค์จะทรงฟั งความคิดเห็นสว่ นมากประกอบพระราชวินจ ิ ฉั ย บันทึกฉบับนีล ้ งวันที่
๗ เมษายน พ.ศ.๒๔๗๐ กาหนดให ้องคมนตรีทัง้ หลายทูลเกล ้าฯ ถวายความคิดเห็นภายใน ๑๕
วัน นับแต่ได ้รับบันทึก มีข ้อควรพิจารณาดังนี้


(๑) เลิกใชธงไตรรงค์ ้ างแทน
แล ้วใชธงช ้
้ างเป็
(๒) ใชธงช ้ ้
นธงราชการ ใชธงไตรรงค์ เป็ นธงชาติ
(๓) ใชธงช้ างเป็ ้ นธงราชการและธงชาติ ใชธงไตรรงค์ ้ เป็ นสสี าหรับประเทศ คือ ใช ้
ตกแต่งสถานทีใ่ นงานรืน ่ เริง เป็ นต ้น

(๔) ใชธงไตรรงค์ ผสมกับธงชางพื ้ น
้ แดงเป็ นธงเดียวกัน

(๕) คงใชธงไตรรงค์ เป็ นธงชาติตามเดิมดังทีเ่ ป็ นอยูข ่ ณะนัน ้

เมือ
่ องคมนตรีได ้ทาหนังสอื แสดงความคิดเห็นขึน ้ ทูลเกล ้าฯ ถวายแล ้ว ปรากฏว่า
ความเห็นทัง้ หมดแตกต่างกันไปและไม่ได ้ชขี้ าดลงไป ดังนัน ้ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล ้าฯ ให ้

คงใชธงไตรรงค์ เป็ นธงชาติตอ
่ ไป ตามพระราชวินจ ิ ฉั ย ลงวันที่ ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๗๐
ธงไตรรงค์ พ.ศ.๒๔๖๐

ถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระเจ ้าอยูห ่ ัวอานันทมหิดล ได ้ตราพระราชบัญญัตธิ งเป็ นฉบับ


แรกในรัชกาล เมือ ่ พ.ศ.๒๔๗๙ ในสว่ นทีว่ า่ ด ้วยธงชาตินัน ้
้ ยังคงใชธงไตรรงค์ แต่ได ้อธิบาย
ลักษณะให ้เข ้าใจง่ายยิง่ ขึน
้ คือ

ลักษณะเป็ นรูปสเี่ หลีย


่ ม มีขนาดกว ้าง ๖ สว่ น ยาว ๙ สว่ น ด ้านกว ้าง ๒ ใน ๖ สว่ น ตรง

กลางเป็ นสขาบ (น้ าเงินเข ้ม) ต่อจากแถบสข ี าบออกไปทัง้ สองข ้าง ข ้างละ ๑ ใน ๖ สว่ นเป็ นแถบ
สข ี าว ต่อสข ี าวออกไปทัง้ ๒ ข ้าง เป็ นแถบสแี ดง พระราชบัญญัตธิ งฉบับต่างๆ ทีอ ่ อกในสมัย
ต่อมา ไม่มข ี ้อความเปลีย
่ นแปลงลักษณะของธงชาติอก ี ธงไตรรงค์ จึงเป็ นธงชาติไทยสบ ื มาจน
ปั จจุบัน

อ ้างอิง :

 ฉวีงาม มาเจริญ. ธงไทย. พิมพ์ครัง้ แรก. กรุงเทพมหานคร : กองวรรณคดีและ


ประวัตศ ิ าสตร์ กรมศลิ ปากร, ๒๕๒๐.
 อมรดรุณารักษ์ (แจ่ม สุนทรเวช), จมืน ่ พระราชกรณียกิจสาคัญในพระบาทสมเด็จพระ
เจ ้าอยูห
่ ัวพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล ้าเจ ้าอยูห ่ ัว เล่ม ๖ องค์การค ้าคุรสุ ภา ศกึ ษา
ภัณฑ์พาณิชย์, ๒๕๑๒ เรือ ่ ง "เหตุทพ
ี่ ระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล ้าเจ ้าอยูห ่ ัวทรงเปลีย
่ น
ธงชาติ".
 พระมงกุฎเกล ้าเจ ้าอยูห ่ ัว, พระบาทสมเด็จ จดหมายเหตุรายวันในพระบาทสมเด็จพระ
เจ ้าอยูห่ ัว ฉบับพิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ ม.จ.ชช ั ชวลิต เกษมสน ั ต์ วันที่ ๑

สงหาคม ๒๕๑๗ โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.

hs6kjg

7 ธันวาคม 2551

You might also like