You are on page 1of 9

บทความนี้เปนสวนที่ตัดตอนมาจากบทความเต็ม ในบทความเรื่อง “รถไฟไทย” โดยผูเขียน

นามวา “ปอน ประพันธ” ซึ่งลงตีพิมพในนิตยสาร


ศิลปวัฒนธรรม
ลําดับที่ ๓๒๙ ปที่ ๒๘ ฉบับที่ ๕ เดือนมีนาคม ๒๕๕๐
silpa@matichon.co.th

ขอขอบคุณผูรวมดวยชวยกันพิมพบทความนี้
คุณรุงโรจน ดีกองเสียง e-mail : d-roungrote@hotmail.com
คุณอนุชนา ปะติเส e-mail : spinmaworld@yahoo.com

ประวัติการสรางทางรถไฟที่นาสนใจในสมัยจอมพลแปลก พิบูลสงคราม เปนนายกรัฐมนตรี


และเปนผูบัญชาการทหารสูงสุด ไดมีการตกลงที่จะสรางทางรถไฟตามความประสงคของกองทัพญี่ปุน ที่
เรียกตามภาษาทางการวา ทางรถไฟสาย ไทย-พมา แตโลกรูจักในนามทางรถไฟสายมรณะ เนื่องจากผูใช
แรงงานสวนใหญเปนเชลยศึก ออสเตรเลียและยุโรป อีกสวนหนึ่งเปนกรรมกร ชาวมลายู ชวา จีนและแขก
ไดสูญเสียชีวิต ไปเปนจํานวนมาก
ทางรถไฟจากไทยไปพมาในสมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ ยุคที่เรียกกันวา “ญี่ปุนขึ้น” ญี่ปุนหรือ
กองทัพลูกพระอาทิตยยกพลขึ้นบกในประเทศไทยนัน้ มีอยู ๒ เสนทาง สายแรกคือสาย ไทย-พมา ที่แยก
จากสถานีหนองปลาดุก จังหวัดราชบุรี ปลายทางอยูที่ดา นเจดียสามองค ไปตอกับสถานี Than Bazar ใน
พมาที่จังหวัดมะละแหมง (Moulmein)
สายที่ ๒ จากสถานีชุมพร ไปถึงระนองถึงบานน้ําอุน และกองทัพญี่ปุนเตรียมจะใชการขนสง
ทางเรือไปขึ้นที่เกาะสองเขามะละแหมง (Moulmein) เพื่อตั้งเปนกองบัญชาการเพื่อยึดพมาและอินเดีย
ตอไป (สําหรับเรื่องราวของทางรถไฟสายชุมพร-ระนอง ผมไดเขียนเลาไวหนหนึ่งไวในวารสาร
ศิลปวัฒนธรรม)
เรื่องราวของการสรางทางรถไฟ-พมา ที่นํามาเรียบเรียงประกอบเรื่องรถไฟไทยในปนี้ ไดจาก
เอกสารที่พันเอกแสง จุละจาริตต ผูวาการรถไฟฯ ในระหวางป พ.ศ. ๒๕๑๔ ไดมอบหมายใหคุณประสงค
นิโครธา รวบรวมและเรียบเรียงเอาไวอยางละเอียด และผมบังเอิญไดมีเก็บไวมาตัดตอและลําดับความ
เพิ่มเติม จากความประทับใจเปนสวนตัวอีกทีหนึ่ง ดวยคิดเอาเองวาถาไมนํามาถายทอดเอาไวนานไปจะ
ละลืมได หากผิดพลาดในขอเท็จจริงประการใด ขอใหเปนความผิดพลาดของผมเอง ทราบกันอยูแลววา
เมื่อวันที่ ๘ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๘๔ กองทัพญี่ปุนไดยกพลขึ้นบกในประเทศไทยหลายเสนทางดวยกันเชน
สงขลา ชุมพร นครศรีธรรมราช ประจวบคีรีขันธ สวนมากเปนหัวเมืองปกษใต ตอมาเมื่อวันที่ ๙
ธันวาคม พ.ศ.๒๔๘๔ ฯพณฯ จอมพล แปลก พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีและผูบ ัญชาการทหารสูงสุด
ในเวลานั้น ไดตกลงสงบศึกกับกองทัพญีป่ ุน ยอมใหกองทัพญี่ปุน ใชจุดแวะเพื่อเดินทัพไปยึดพมา ซึ่ง
ตอนนั้นพมาอยูภายใตการปกครองของอังกฤษ
กองทัพญี่ปุนไดกําหนดแผนยุทธการไวอยางดีแลวจึงกําหนดทีจ่ ะสรางทางรถไฟตอจากไทยไป
พมา รวม ๒ เสนทาง คือ จากภาคกลางและภาคใตไปรวมศูนยที่ จังหวัดมะละแหมง ประเทศพมา เพื่อ
เดินหนาเขาพมา และอินเดียตอไป
เวลานั้น จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ในฐานะ ผูบัญชาการทหารสูงสุด เปนผูนําสูงสุดฝายไทย
และ พลโท อาเกโตะ นากามูระ เปนผูบ ัญชาการกองทัพญี่ปุนในประเทศไทย ไดทําความตกลงตั้ง
คณะกรรมการผสมไทย – ญี่ปุน เพื่อหารือในขอราชการที่จะสรางทางรถไฟสาย ไทย-พมา โดยประชุม
ครั้งแรกเมื่อ วันที่ ๘ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๘๕ ณ ที่ทําการคณะกรรมการผสมไทย – ญี่ปุน สนามเสือปา
ตรงขามวัดเบญจมบพิตรฯ
ครั้งแรกนี้ คณะกรรมการฝายไทยไดประชุมกันเอง มี พันเอก เชย พันธุเจริญ เปนประธาน
กรรมการสรางทางรถไฟทหาร ร.ท. ดํา ปทมดิสต ม.จ. ทองคําเปลว ทองใหญ กรรมการพิจารณาสราง
ทางรถไฟ พ.ท.ม.จ. พิสิษฐดิสพงศ ดิศกุล หัวหนากองอํานวยการผสมฯ และ พ.ต.ม.จ. ประเสริฐศรี
ชยางกูร ประจํากองอํานวยการผสมฯ
คณะกรรมการฝายไทยชุดนี้ ไดประชุมเพื่อหารือขอเสนอของกองทัพญี่ปุนที่ตองการสรางทาง
รถไฟสาย ไทย-พมา สวนใหญเปนเรื่องการอํานวยความสะดวก และ เรื่องคาใชจาย เรื่องกรรมสิทธิ์
ที่ดินในเสนทางที่รางรถไฟตัดผาน การวาจางแรงงาน สิทธิครอบครองหลังจากทางรถไฟเลิกใช แลว
สวนใหญเจาหนาที่ฝายรับหลักการ และไดประชุมครั้งสําคัญอีกครั้งหนึ่ง เมื่อวันที่ ๒๗ สิงหาคม พ.ศ.
๒๔๘๕ เปนคณะใหญรวมกันระหวางฝายไทยกับญี่ปุน
ตัวแทนฝายไทย ประกอบดวย
๑. พ.ต. ควง อภัยวงศ รัฐมนตรีวาการกระทรวงคมนาคม
๒. พ.ท. ไชย ประทีปะเสน รองปลัดกระทรวงตางประเทศ ในฐานะกรรมการผสมไทย – ญี่ปุน
๓. พ.อ. เชย พันธุเจริญ กรรมการ
๔. พ.ท. นพ เกตุนุติ กรรมการ
๕. นาย สิทธิ์ บรรณสารประสิทธิ์ กรรมการ
๖. ม.จ. ทองคําเปลว ทองใหญ กรรมการ
๗. ร.ท. ดํา ปทมดิสต กรรมการ
๘. พ.ท. อาจ พิชเยนทรโยธิน เจาหนาทีก่ รมรถไฟ
๙. ม.ล. จรัญ สนิทวงศ เจาหนาที่กรมรถไฟ
๑๐. พ.ท.ม.จ. พิสิษฐดิสพงศ ดิศกุล หัวหนากองอํานวยการผสมฯ
๑๑. พ.ต.ม.จ. ประเสริฐศรี ชยางกูร ประจํากองอํานวยการผสมฯ
ฝายญี่ปนุ ประกอบดวย
๑. พล.ต. เซจิ โมริยา ผูแทนกองทัพญี่ปนุ
๒. พ.ต. ซึเงะ
๓. พ.ต. อิริเจ
๔. พ.ต. ชิรางาอิ
๕. ร.ท. นากามูระ
๖. ร.ต. ฮริฮารา
๗. นาย การาฮาวา
๘. นาย มิตานี
ในประชุมครั้งนี้ไดมีการถกเถียงกันพอสมควรทางดานธุรการและทางดานเทคนิค แรกทีเดียว
ทางฝายไทยจะสรางเอง แตอยูการควบคุมของญี่ปุน แตญี่ปุนตองการใหสรางเสร็จเร็วประมาณ ๑ ป
เพราะจําเปนตองใช ทางญีป่ ุนไดตัดสินใจอีกครั้งวา ทางญี่ปุนจะใชหนวยทหารที่มีความชํานาญในการ
สราง รวมทัง้ นายชางผูมีความเชี่ยวชาญที่ญี่ปุนมีพรอมอยูแลว เพื่อใหมั่นใจวาจะสามารถที่จะสรางเสร็จ
โดยเร็ว ปญหาใหญอกี เรื่องหนึ่งคือ เมื่อสรางเสร็จแลวทางรถไฟจะตกเปนของใคร ซึ่งฝายญี่ปุนบอกวา
ฝายญี่ปุนจะเปนฝายใชตามเวลาสมควร แลวยกใหฝายไทย ที่สุดในการประชุมครั้งนี้ยงั ตกลงกันไมได
การถกเถียงสวนหนึ่งในประชุมครั้งนี้ คุณประสงค โคธรา ไดบันทึกรายละเอียดเอาไวดว ย จึง
คิดวานาจะนํามาบันทึกไวเปนประโยชนแกผูที่สนใจ จึงไดตัดตอนมาสวนหนึ่งดังนี้
ฝายไทย – ปญหาเรื่องการสรางทางรถไฟนี้ เรามีความเห็นเดียวกับทานคือ เมื่อกองทัพญี่ปุนเปน
ผูตองการใชกจ็ ัดสราง แตการสรางทางรถไฟในเมืองไทย ก็ตองเปนของไทยไมมีปญ  หา จะเปนของใคร
ไมไดเพราะขัดตอกฎหมายชัดอยูแลว จึงไมนามีขอของใจอะไร เวนแตจะเปนรถไฟทหาร ไมใชของ
เอกชนหรือบริษัทจัดทําก็เปนของทหารรวมกัน อนึ่ง การสรางนั้นฝายญี่ปุนอางวามีความชํานาญกวาเรา ก็
ยอมรับวา เราสรางเสร็จใน ๑ ปไมทัน เพราะถาการเดินทัพตองเสียแผนการไป เพราะการลาชาของเรา
แลว ก็อาจโทษเราได จําขอใหทานทําตามประสงค แตในการสรางนี้อาจกระทบกระเทือนถึงประชาชน
ที่ทางรถไฟผานเขาไปในที่ของเขาได เพราะทางญี่ปุนทําไปเพือ่ ความรวดเร็ว อาจจะไมคํานึงถึง
ประชาชนที่อยูในความรับผิดชอบของรัฐบาลไทยก็ได นายชางญี่ปุนตองยอมรับวาไมรูกฎหมายไทย เรา
ตองยอมใหเงินเขาเมื่อเอาทีข่ องเขามา เพราะฉะนัน้ เราตองขอแบงทําตอนหมูชนคือตอนตนทาง ตอไป
นั้นใหญี่ปุนทํา
ฝายญี่ปนุ – ที่ฝายไทย กลาววา เมื่อเสร็จการยุทธแลว รถไฟที่สรางในประเทศไทยนัน้ จะตกเปน
ของไทยนั้น ฉันไมสามารถเขาใจความได ทางที่ดีเราควรจะทําความเขาใจกันในเมื่อเสร็จสงครามแลว
ฝายไทย – ขอทราบวารถไฟนี้เปนรถไฟทหารหรือบริษทั
ฝายญี่ปนุ – ในระหวางสงคราม รถไฟนี้เปนของทหาร แตเมื่อเสร็จสงครามแลว ญี่ปุนจะถือสิทธิ์
เปนของญี่ปุนเอง หรือจะเปนของบริษัทใด ก็แลวแตจะเห็นควร
การถกเถียงวารถไฟจะเปนของใครนั้น ในที่สุดตกลงกันไมเปนที่ลงเอย แตดูทาทีญี่ปุนออกจะเอา
เปรียบ แตเมือ่ เสร็จสงครามและญี่ปุนเปนฝายปราชัยนัน้ องคการสหประชาชาติไดเขามาดูแลทางรถไฟ
สายนี้และไดขายใหแกกรมรถไฟหลวงในราคา ๕๐ ลานบาท ในที่สดุ จึงตกเปนของไทย และไดมีการรื้อ
ทางรถไฟไปสวนหนึ่งคงเหลือใหมีการเดินรถถึงสถานีน้ําตกอยางที่เปนในปจจุบนั
อีกตอนหนึ่งของการประชุมตกลงกันเรื่องการสรางทางรถไฟสายนี้ระหวางไทยกับกองทัพญี่ปุน
มีรายละเอียดที่นาสนใจที่ คุณประสงค โคธรา เจาหนาที่การรถไฟไดบันทึกไว เกีย่ วกับฝายไหนจะสราง
ชวงไหน ดังนี้
ฝายไทย – เมือ่ ตกลงกันวาเปนรถไฟทหารเชนนั้น ก็สรางได แตเราขอสรางตอนงาย ทานเกงกวา
สรางตอนยากเอาหรือไม
ฝายญี่ปนุ – ตามที่เสนอแบงตอนสรางนั้น ถาไดลงมือทํางานแลวจะรูสกึ ลําบากและขลุกขลักมาก
ฝายไทยไมจําเปนตองสรางก็ได เพียงแตใหความชวยเหลือดานการเวนคืนที่ดิน เครื่องอุปกรณบางอยาง ก็
เรียกวารวมมือเหมือนกัน
ฝายไทย – เกรงวาการที่ไปทํานั้นจะพูดกันไมรูเรื่องเทานั้น ทางงานชางไมขัดกันเลย เราทําตอน
งาย ทานทําตอนยากก็แลวกัน
ฝายญี่ปนุ – ที่นั่นมีทหารอยูม าก เชลยก็มาก เกรงมีเรื่องกันขึ้นนัน้ ทราบแลว แตตอไปพยายามจะ
ไมใหเกิดเรื่องขึ้นได และการสรางนี้ ทางฝายญี่ปุนจะไมสรางฝายเดียว ทางฝายไทยก็ไดรวมมือในการ
เวนคืนทีด่ ินและชวยทํางานบางอยาง จึงอาจประกาศไดวา ไทยไดรวมมือกับญี่ปุนในการยุทธ
ฝายไทย – ไมใชชาวเมืองฝายเราไมชวย แตอยากชวยไมใหมีขอโตเถียงกับราษฎร เดีย๋ วดินไมพอ
เที่ยวไปขุดในที่ของเขา ก็จะยุงกันใหญ เราจึงขอทําตอนใน เพราะมีบา นมีนามาก คือตั้งแตหนองปลาดุก
ไปจนถึงกาญจนบุรี ไทยทําหมดราว ๖๐ กิโลเมตร ญี่ปุนจะทําสะพานเองก็เอา เราทําทาง ตอไปอีก ๓๐๐
กวากิโลเมตรทานทําก็หมดเรื่อง
ฝายญี่ปนุ – จะเสร็จภายใน ๑ ปหรือ
ฝายไทย – เสร็จแน ไมเสร็จทําอะไรก็เอา
ฝายญี่ปนุ – ใน ๖๐ กิโลเมตร ที่รับทํานั้น ขอใหอยูใ นบังคับบัญชาญี่ปุนจะไดหรือไม
ฝายไทย – ขอใหรับหลักการกอนวาจะยอมหรือไม สวนการบังคับบัญชานั้น เราจะจัดการให
เรียบรอยเอง
ฝายญี่ปนุ – อยากทราบวาจะใชใครสราง
ฝายไทย – จะใชใครสรางนั้นไมตองถาม ใหสรางเสร็จไดเปนก็แลวกัน
ฝายญี่ปนุ – ตามที่เสนอจะสราง๖๐ กิโลเมตรนั้น ทราบแลว ถามีปญหาทางเทคนิค เจาหนาทีจ่ ะ
ดําเนินการรวมไมได เพราะทางรถไฟตอนหลังก็ตองอาศัยทางลําเลียงตอนตน ถาตอนตนเสร็จไมทัน
ตอนทายก็ดําเนินการไมได มันเปนเนื่องกันทั้งสาย จึงอยากใหอยูใ นบังคับบัญชาญี่ปุน
ฝายไทย – คนของญี่ปุน ญี่ปุนก็ตั้งมา ไทยก็ตั้งไป นายชางดวยกันถือหลักอันเดียวกัน
กองบัญชาการตองรวมกันแน แตตองตกลงเรื่องทําทาง ๖๐ กิโลเมตรกอน
ฝายญี่ปนุ – ทางสายนี้เปนของทหารเพือ่ การยุทธ เจาหนาที่ตองเชื่อฟงหรือปรึกษาหารือกับ
หนวยรถไฟทหารญี่ปุนกอน
การประชุมกันคราวนั้น ตกลงกันไดวาฝายไทยจะสรางทางรถไฟในชวงแรก ๖๐ กิโลเมตร ถึง
ตําบลทามะขาม อําเภอเมือง กาญจนบุรี ที่เหลืออีกประมาณ ๓๐๐ กิโลเมตร อันเปนเขตปาเขานั้นฝาย
ญี่ปุนจะเปนผูสรางตอ จนถึงสถานีตอเนื่องในเขตประเทศพมาที่ดานพระเจดียสามองค
ไดมีขอตกลงไทย-ญี่ปุนเกี่ยวกับการสรางทางรถไฟเชื่อมระหวางไทย-พมา เมื่อวันที่ ๑๖ กันยายน
พ.ศ. ๒๔๘๕ โดยมีการลงนามไวเปนสําคัญระหวาง จอมพล ป. พิบูลสงคราม ผูบัญชาการทหารสูงสุด
แหงประเทศไทย กับ พล.ต.เซจิ โมริยา ผูแทนฝายกองทัพญี่ปุนประจําประเทศไทย
วันรุงขึ้น ๑๗ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๕ ผูบัญชาการทหารสูงสุดไดเรียกประชุมผูเกี่ยวของ เรื่องการ
จัดสรางทางรถไฟทหารอีกครั้ง มีผูเขารวมประชุม ไดแก
๑. จอมพล ป. พิบูลสงคราม ผูบัญชาการทหารสูงสุด เปนประธาน
๒. พลโทมังกร พรหมโยธี รัฐมนตรีวาการกระทรวงมหาดไทย
๓. พลโทจรูญ เสรีเริงฤทธิ์ รัฐมนตรีวาการกระทรวงคมนาคม
๔. พ.ต.ควง อภัยวงศ รัฐมนตรีวาการกระทรวงพาณิชย
๕. พล.ต.ภักดิ์ เกษสําลี เสธ.ท.สนาม
๖. พ.อ.เชย พันธุเจริญ ประธานกรรมการสรางรถไฟทหาร
๗. ม.จ.ทองคําเปลว ทองใหญ กรรมการจัดสรางทางรถไฟทหาร
๘. พ.ท.ไชย ประทีปะเสน กรรมการผสม
๙. พ.ท.ม.จ. พิสษิ ฐดิศพงศ ดิศกุล หัวหนากองอํานวยการกรรมการผสมฯ
๑๐. พ.ต.ม.จ. ประเสริฐศรี ชยางกูร ประจํากองอํานวยการฯ
๑๑. พ.ท.อาจ พิชเยนทรโยธิน นายชางใหญกรมรถไฟ
๑๒.นายวิเทต บุนยคุปต หัวหนากองแบบแผนกรมรถไฟ
ผูบัญชาการทหารสูงสุดไดเปดประชุมวา ขอตกลงการจัดสรางรถไฟทหาร จากหนองปลาดุกไป
ประเทศพมา ไดลงนามกันแลวตั้งแตคนื วันที่ ๑๖ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๕ หนาที่ของเราจะตองปฏิบัติตาม
ขอตกลงนั้นใหดีที่สุด สวนเรื่องอื่นๆ นั้นเอาไวพูดกันเมือ่ เสร็จสงคราม
ตอจากนัน้ พ.ท. ไชย ประทีปะเสน กรรมการผสมไทย-ญี่ปุน ไดบอกวา ความมุงหมายของเขาก็
คือจะขอทํารถไฟทหาร แตในขอเสนอแรกๆ มีขอความรุนแรงมาก ทางกรรมการผสมฯ จึงไดปด เปาให
เบาบางลง จนในที่สุดก็สําเร็จ เปนขอตกลงตามที่ไดลงนามกันแลว กอนอื่นที่ประชุมควรจะไดทราบ
ความในขอตกลงตลอดจนหลักการแหงขอตกลงนั้น
ถัดมาผูบัญชาการทหารสูงสุดไดกรุณาอานความในขอตกลงและอธิบายหลักการใหที่ประชุมฟง
ดังตอไปนี้
ความขอ ๑ หมายความวา เราจะรวมกับเขาสรางรถไฟทหารขึ้น โดยเขาเปนฝายออกเงิน
อนุ ๑ สําหรับการใหทดี่ ินเพื่อสรางทางรถไฟนี้ ใหตกลงใชวิธีประกาศเวนคืน เพือ่ ใหเปนที่ชดั
แจงวาทีด่ ินนัน้ เปนของเรา ทั้งนี้ใหกระทรวงคมนาคม เปนเจาหนาที่ดาํ เนินการโดยดวน
อนุ ๒ งานสรางรถไฟนี้ ใหเขาสรางเอง เพราะเปนเรื่องของเขา ฝายเรามีหนาที่ชวยเหลือ คือ
กระทรวงมหาดไทย ชวยจัดหากรรมกร โดยใหถือหลักวาอยาใหกระเทือนตอการประกอบอาชีพ
ของราษฎร
กระทรวงคมนาคม (กรมรถไฟ) ชวยจัดหานายตามความจําเปน
อนุ ๓ หมายความวา เรามีหนาที่ชวยเขาดังนี้
ไมหมอน เสาไฟฟา ไมทใี่ ชในการกอสราง เหลานี้ใหทางกองบัญชาการทหารสูงสุดทําคําสั่งให
กรมปาไมอํานวยความสะดวกในการจัดหา สวนกระทรวงคมนาคม (กรมรถไฟ) เปนผูด ําเนินการจัดหา
ปูน ทราย รถ เรือ และเครื่องลอเลื่อน เหลานี้เปนหนาที่กระทรวงคมนาคม (กรมรถไฟ) เปน
ผูดําเนินการจัดหา
เครื่องใชในการขนสง สัตวพาหนะ เปนหนาที่กระทรวงมหาดไทย จัดหา
นอกนั้นเปนรายละเอียดอื่นๆที่ผูบัญชาการทหารสูงสุด พูดถึง เปนรายละเอียดที่จะไมขอนํามา
บอกเลาในที่นี้
นอกจากนั้น ผูบัญชาการทหารสูงสุดไดมีคําสั่งแตงตั้งคณะกรรมการอีก ๓ ชุด เพื่อประสานงาน
กับฝายญี่ปุน ดังนี้
จากกองบัญชาการทหารสูงสุด
๑. พ.อ.เชย พันธุเจริญ ประธานกรรมการ
๒. พ.ท.นพ เกตุนตุ ิ เปนกรรมการและเลขานุการ
จากกระทรวงคมนาคม (กรมรถไฟ)
๑. พ.ท.อาจ พิชเยนทรโยธิน เปนกรรมการ
๒. ม.ล.จรัญ สนิทวงศ เปนกรรมการ
จากกระทรวงมหาดไทย
๑. นายสิทธิ บรรณาสารประสิทธิ์ เปนกรรมการ
๒. ม.จ. ทองคําเปลว ทองใหญ เปนกรรมการ
กรรมการคณะนี้มีหนาที่ตดิ ตอและเจรจาการสรางรถไฟกับฝายญี่ปุนในกรอบขอตกลงนี้ ทั้งใน
สวนที่เปนหลักการและขอปฏิบัติปลีกยอย เชน การซื้อของและอื่นๆ สวนการติดตอกับเจาหนาทีฝ่ ายอื่น
หรือในกรณีทเี่ ปนปญหาก็ใหติดตอกรรมการผสมฯ และใหสงงานที่คณะกรรมการนีด้ าํ เนินไปผาน
กรรมการผสมฯ ตามลําดับชัน้ โดยมีหนาทีส่ าํ คัญ ๒ ประการ คือ
๑. ทํางานใหสําเร็จในกรอบขอตกลงนี้
๒. รักษาประโยชนของชาติไทยอยางดีที่สุด
การปฏิบัติงานรวมกับเขา(ญีป่ ุน)ถาไมเสียประโยชนของเราก็ตกลงทําไป ถาเปนเรื่องเสีย
ประโยชนเรา ก็ตองโตแยงอยางดีที่สุด ตอจากนัน้ ยังไดเพิ่มเติมคณะกรรมการขึ้นมาใหม จากผูแทน
กระทรวงอุตสาหกรรม คือ นายคลิ้ง วิศลยวิธีกัล ผูแทนกรมชลประทาน คือ นายรอด ชยากร และผูแทน
กรมทาง คือ นางมงคล เนาวจําเนียร
นายทหารญี่ปนุ ชั้นผูใหญที่เกี่ยวของกับการสรางทางรถไฟสายไทย-ญี่ปุน มีดงั นี้
๑. พล.ต. ชิโมดะ เปนผูควบคุมการกอสรางทางรถไฟสายไทย-พมา ตลอดระยะทางยาว ๔๑๕
กิโลเมตร ตั้งแตเริ่มงาน โดยสํารวจภูมิประเทศทางเครื่องบินเพื่อเลือกแนวทางรถไฟกอน แลวจึงสั่งหนวย
กอสรางทํางานดินตามไป แตกอนทีก่ ารกอสรางจะเชือ่ มกันตลอด และกองทัพญีป่ ุนกําหนดเปดการเดิน
รถไฟตลอดทาง ในวันที่ ๒๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๘๖ เครื่องบินตรวจการซึ่ง พล.ต.ชิโมดะใชในการสํารวจ
ภูมิประเทศและตรวจการกอสรางเปนประจํานั้น เกิดอุบัติเหตุตกในหุบเขาบริเวณปาลึกระหวางชายแดน
ไทย-พมา กองทัพญี่ปุนไดสั่งการใหทหารหลายหนวยคนหาซากเครือ่ งบินและศพ พล.ต.ชิโมดะ แตไม
สามารถคนพบ
๒ พล.ต. ทากาซากิ เปนผูรับชวงงานตอจาก พล.ต.ชิโมดะ ครั้นยางเขาฤดูฝน เดือนมิถุนายน
พ.ศ. ๒๔๘๗ นายพลผูนี้ลมปวยลง
๓. พล.ต.อิชิดะ มีหนาที่บังคับบัญชา ทําการเดินรถจากพนมเปญถึงมลายู สรางทางรถไฟสาย
หนองปลาดุก-พมา แทนพล.ต.ทากาซากิ
๔. พ.อ.อีวาเซ เปนหัวหนาหนวยสรางทางรถไฟสายหนองปลาดุก-พมาในเขตประเทศไทย ตั้ง
คายอยูบริเวณสนามบินจังหวัดกาญจนบุรี สรางขึ้นดวยไมไผประมาณ ๑๕,๐๐๐ ลํา มุงหลังคาจาก ซึ่งผูวา
ราชการจังหวัดกาญจนบุรี จัดหาพอคามาขายใหทหารญีป่ ุน
๕. พ.อ. อิไม อยูในคายเดียวกันกับ พ.อ. อีวาเซ ติดตอในดานการกอสรางทางรถไฟกับฝายไทย
๖. พ.อ.ฮิรายามา ยายมาแทน พ.อ.อิไม นายชางฝายไทยก็เปลี่ยนจาก พ.ท.ยศ โยธาการพินิจ ซึ่ง
ไปเสียชีวิตเนือ่ งจากอุบัติเหตุในการสํารวจเสนทางสายชุมพร-กระบุรี เปนนายเชถ รื่นใจชน พ.ต.โยชิดา
หัวหนาหนวยรถไฟประจําทีค่ ายหนองปลาดุก
ญี่ปุนใชเชลยศึกในการสรางทางรถไฟสายนี้ จากสิงคโปรและมลายูสวนหนึ่ง สวนมากเปนเชลย
อังกฤษและออสเตรเลีย อีกสวนหนึ่งคือไอรแลนด นายจอหน โคสต เขียนเลาไวในหนังสือ Railroad of
Death ตอนหนึ่งวา ญี่ปุนไดเขาตีสิงคโปร เมื่อวันที่ ๑๕ กุมภาพันธ พ.ศ. ๒๔๘๕ ทหารอังกฤษและ
ออสเตรเลียตายบาดเจ็บ และถูกปลดอาวุธเปนจํานวนมาก โดยกองทัพญี่ปุนของนายพลยามาชิตะ และ
ลําเลียงจากสิงคโปรเขามายังยะโฮรในมลายูเขามาในเมืองไทยโดยทางรถไฟที่นั่งเปนตูเหล็กสําหรับ
บรรทุกวัวควาย ไมมีหลังคา ฝนตกก็เปยก แดดออกก็รอน ทหารฝรั่งตูหนึ่ง ๗๐๐ คน มีทหารญี่ปนุ มาคุม
๖ คน ฝาแดดฝาฝนกันมาตลอดระยะทาง ๑,๒๐๐ ไมล จากมลายูถึงบานโปงเปนเวลา ๕ วัน พักที่คายบาน
โปง ๒ วัน แลวไปพักชั่วระยะหนึ่งทีก่ าญจนบุรี
จอหน โคสต เขียนเลาวา คายที่กาญจนบุรีพออยูได คนไทยที่นนั่ ใจดี แจกจายกลวย ขนมและ
น้ําแข็งใหเชลยพอไดมีความสุขบาง อีกตอนหนึ่งจอหน โคสต เลาวา เชลยที่ถกู เกณฑมาจากสิงคโปรตอง
สับเปลี่ยนกันเปนแรงงานสรางทางรถไฟ ขณะที่ทหารญี่ปุนนั่งคุมงานอยางสุขสําราญ เมื่อเสร็จงานจาก
คายหนึ่งแลว ก็ตองยายไปอีกคายหนึ่ง และตองเดินไป ผานปาเปลี่ยวที่รกชัฏ ระหวางนั้นมีโรคภัยไขเจ็บ
มาก รายที่สุดคืออหิวาต ไขปา คอตีบ ไมมียา ไมมีหมอ ลมตายกันวันละมากๆ อาหารมีขาวตมกับน้ําตาล
ตองทํางานตั้งแตเชายันค่ํา ตองตากแดดกรําฝน เชลยและกรรมกรตายก็เผาทันที คายรางเปนคายๆ เชลย
ฝรั่งที่เสียชีวิตเพราะระเบิดจากเครื่องบินของฝายพันธมิตรก็มาก มองเห็นภาพไดชัดเจนอีกตอนหนึ่ง
เชลยศึกที่ญี่ปนุ ระดมมาจากพมาก็อีกสวนหนึ่ง เดินเทาจากมะละแหมงมาถึงดานพระเจดียสาม
องคในเขตประเทศไทย ผานปาดงมานานประมาณ ๙ วัน รวมแลวเปนเชลยศึกมากกวา ๕๐,๐๐๐ คน
กรรมกรอีกไมนอยกวา ๑๘๐,๐๐๐ คน แรงงานของญี่ปุนเอง ประมาณ ๑๕,๐๐๐ คน
กรรมกรชาวจีนที่สมาคมพาณิชจีนวาจางจากประเทศไทยเอง รวม ๑๘ จังหวัด ๑๘,๐๐๐ คน ใน
ระหวางเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม พ.ศ.๒๔๘๖ ไดคาจางตามชวงทาง ดังนี้
จากหนองปลาดุก ถึงทามะขาม วันละ ๑.๕๐ บาทตอคน
จากทามะขาม ถึงวังใหญ วันละ ๒.๕๐ บาทตอคน
จากวังใหญถึงนิเถะ วันละ ๓.๕๐ บาทตอคน
กรรมกรไทยทีว่ าจางโดยกระทรวงมหาดไทย ประมาณ ๓,๕๐๐ คน จากนครปฐม สุพรรณบุรี
และเพชรบุรีนนั้ ไดคาแรงคนละ ๗๐ สตางคตอวัน แตงานเบากวากันมาก สําหรับแรงงานแขก ชวาและ
มลายูนั้น สวนมากจะถูกสงไปทํางานจัดหาไมหมอนและไมฟนในปาลึก แตกรรมกรชุดชวานี้ไดทําความ
เสียหายใหกับปาไมในกาญจนบุรีอยางมหาศาล จากบันทึกของกรมรถไฟเปดเผยไวตอนหนึ่งวา
“ตามปาทุกแหงที่กรรมกรชวาอยู มีการเผาปาเปนการใหญ บางทีไฟลุกอยู ๕ วัน ๕ คืนไมดับ ลม
แรงจัดจึงติดอยูตลอดวันตลอดคืน เฉพาะที่ปรังกาสี ไหมตลอด ๔ ทิศ กลางคืนสวางไสว กลางวันควัน
ลอยหนาแนน ทหารญี่ปุนหามไมไดเพราะพูดกันไมรูเรื่อง กลับบอกวา ดีมาก สวยดี ไฟไหมไปนับหมื่นๆ
ตน”
การสรางทางรถไฟของฝายไทยในชวง ๖๐ กิโลเมตรแรก จากหนองปลาดุกถึงริมแมนา้ํ แคว บาน
ทามะขาม อําเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งรวมระยะทางจริงๆ เพียง ๕๖ กิโลเมตร กําหนดจะเริ่มถมดิน
ตั้งแตเดือนสิงหาคมและกันยายน พ.ศ. ๒๔๘๕ แตเนื่องจากเวลานั้นเปนฤดูฝน ทําใหไมสะดวกในการถม
ดิน ตองลําเลียงขาวของจากกรุงเทพฯโดยทางเรือ และตองถมดินเพื่อวางรางใหไดวนั ละ ๑ กิโลเมตร
สุดทายงานถมดินเพื่อวางรางไปเสร็จเอาเมือ่ เดือนมกราคม พ.ศ.๒๔๘๖
เมื่อฝายไทยถมดินในชวง ๕๖ กิโลเมตรแรกแลว พ.ต.โยชิดา ไดเริ่มวางรางจากสถานีหนองปลา
ดุก เมื่อวันที่ ๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๕ โดยใชเชลยอังกฤษวันละ ๓๐๐ คน มีรถสําหรับวางรางโดยเฉพาะ
วางรางไดวันละ ๑,๕๐๐ เมตร ถึงทามะขามที่ ก.ม. ๕๖ เมื่อวันที่ ๒๖ มกราคม พ.ศ.๒๔๘๖
วันที่ ๒๒ มีนาคม พ.ศ.๒๔๘๖ วางรางจนถึง ก.ม.ที่ ๑๐๐ และวันที่ ๒๕ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๘๖
กองทัพญี่ปุนวางรางถึง ก.ม.ที่ ๒๔๐ และมุงหนาไปสูดานพระเจดียส ามองค ขณะที่กองทัพญี่ปนุ ยึดได
เมืองมะละแหมงในพมาเมื่อวันที่ ๓๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๕ ไดเริ่มวางรางรถไฟจากสถานีตันบีอูซายัต
ทางตอนใตของมะละแหมง ๕๔ กิโลเมตร มุงเขามาดานพระเจดียส ามองคในประเทศไทยอีกทางหนึ่ง
และมาเชื่อมตอกันเมื่อวันที่ ๒๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๖
จากนั้นจึงกําหนดเดินรถอยางเปนทางการเมื่อวันที่ ๒๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๖ โดยใชหัวรถจักร
หมายเลข ว.๕๖๓๑ ลากขบวนรถ
ระยะทางของทางรถไฟสายไทย-พมาที่มีระยะทางรวมถึงสถานีตันบีอูซายัตในพมา ประมาณ
๔๐๐ กิโลเมตร สรางเสร็จในเวลาประมาณ ๑๒ เดือนนั้น กองทัพญีป่ ุนตองใชเชลยศึกออสเตรเลียและ
เชลยศึกจากยุโรปหลายหมื่นคน กรรมกรผูใชแรงงานไทย จีน มลายู แขก และชวา นับแสนคน มีเชลยศึก
และกรรมกรทีเ่ สียชีวิตจากโรคภัยไขเจ็บ การขาดแคลนอาหาร เปนจํานวนหลายหมื่นคน
วันที่ ๑๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๖ เปนวันทีท่ างรถไฟจากพมาและจากประเทศไทยไปบรรจบกันที่
หลักกิโลเมตรที่ ๒๕๔ ไดมกี ารฉลองกันที่นั่น ญี่ปุนดีใจมากและเพื่อเปนที่ระลึกในงานชิ้นสําคัญนี้ มีการ
ถายรูปคนงานโดยญี่ปุนไดคัดเอาคนงานทีแ่ ข็งแรง ล่าํ ๆจากคายตางๆที่ยังเหลืออยู ไปรวมกันที่หลัก
กิโลเมตรที่ ๒๕๔ ไปลงหนังสือพิมพ แสดงใหเห็นถึงความสุขสําราญของเชลยศึก
แตวนั ที่ถือวาทางรถไฟไทย-พมาบรรจบกันอยางสมบูรณนั้น คือวันที่ ๒๓ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๘๖
สงครามมหาเอเชียบูรพา ซึ่งไดเริ่มตั้งแตวนั ที่ ๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๕ และไดยตุ ิลงเมื่อวันที่
๑๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๘ ครั้นตอมาทหารสหประชาชาติไดเขามาเมือ่ วันที่ ๑๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๘
เพื่อปลดอาวุธกองทัพญี่ปุนในประเทศไทยและเจรจากับรัฐบาลไทยในกรณีตางๆ สวนที่เกี่ยวกับการสราง
ทางรถไฟสายไทย-พมา ซึ่งกองทัพญี่ปุนไดใชเชลยศึกดวยนัน้ สวนมากเปนเชลยศึกอังกฤษจากสิงคโปร
สหประชาชาติใหสรางสุสานขึ้น ๒ แหง คือ ที่ตําบลดอนรัก อําเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี แหงหนึ่ง มี
จํานวน ๖,๙๖๒ คนและทีเ่ ขาปูน ฝงตะวันตกของแมน้ําแควอีกแหงหนึง่ จํานวน ๑,๗๔๐ คน ซึ่งเปนเพียง
สวนนอยเทานัน้ สวนหนึ่งเปนเชลยศึกที่เสียชีวิตจากสถานีนิเถะลงมา สวนเชลยศึกที่เสียชีวิตจากสถานีนิ
เถะขึ้นไป นํามาฝงไวที่เมืองมะละแหมง ประเทศพมา
เรื่องราวของการสรางทางรถไฟที่นํามาเสนอในเรื่องนี้เปนเพียงบางสวนบางตอนเทานั้น หากมี
โอกาสจะไดเขียนในรายละเอียดถึงการสรางทางรถไฟและเรื่องราวของเชลยศึกอีกดานหนึ่ง

ขอขอบคุณ เอกสารบันทึกของ คุณประสงค นิโครธา

You might also like