You are on page 1of 9

บทที่ 1

การใชเอทานอลเปนพลังงานทดแทน

1.1 สถานะการทั่วไปของเอทานอลของโลก
การใชเอทานอลในโลกในรูปบริสุทธิและที่ยังมิไดสกัดแยกน้ํา มีปริมาณรวมกัน 40000
ลานลิตร ตอปในป 2003 และมีแนวโนมเพิ่มถึง 70000 ลานลิตรในป 2010 เอทานอลทั้งหมดมีการ
ใชในอุตสาหกรรมหลัก 3 กลุม คือกลุมเครื่องดื่ม กลุมอุตสาหกรรมเครื่องสําอางค ยาและสี และ
กลุมวัสดุเชื้อเพลิงซึ่งมีปริมาณการใชมากที่สุดถึง 80 เปอรเซ็นต ของปริมาณรวมทั้งหมด มีการ
ผลิตกระจายอยูในทุกภูมิภาคของโลก ยกเวนเพียงประเทศกลุม อัฟริกา ตะวันออกกลาง และรัส
เซีย
ปจจัยหลักที่ขับเคลื่อนใหอุตสาหกรรมเอทานอลไดรับความนิยมและมีการเจริญเติบโตตอ
เนื่องอยางยาวนานมีหลายประการดังนี้
• เอทานอลสงเสริมคุณภาพสิ่งแวดลอมของทองถิ่นและของโลกในฐานะที่เปนเชื้อเพลิงจาก
ธรรมชาติ
• ผลิตจากพืชจึงทําใหเกิดการกระจายรายไดสูประชากรในพื้นที่หางไกล
• ลดการพึ่งพาการนําเขาวัสดุเชื้อเพลิงจากปโตรเลียม
• มีสวนเสริมใหเกิดการศึกษาและพัฒนาขยายฐานความรูในวงกวาง
อนาคตของอุตสาหกรรมเอทานอลมีลูทางที่สดใสจากปจจัยบวก 3 ประการ
• มีความตองการใชเอทานอลเพิ่มขึ้นอยางนอเนื่อง
• โอกาสการวิจัยคิดคนและพัฒนาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและการใชงานยังเปด
กวาง
• เปนเทคโนโลยีที่ศึกษาทดลองไดดวยตัวเองทั้งระดับเล็กจนถึงระดับอุตสาหกรรมขนาด
ใหญ
การผลิตเอทานอลมีความสําคัญในเชิงมิติทางสังคม ดังนั้นการริเริ่มโครงการขั้นตนใหมีการจัด
การอยางยั่งยืนจําเปนตองมีความสนับสนุนจากรัฐเพื่อใหมีการพัฒนาเทคโนโลยีของทองถิ่นเองได
โดยปกติอุตสาหกรรมที่มีประโยชนตอสาธารณะสมควรไดรับความสนับสนุนที่จําเปนอยูในรูปของ
การอุดหนุนดานตาง ๆ เชนราคาตนทุนวัตถุดิบ คาเครื่องจักร ภาษีอัตราพิเศษ

1.2 โครงการใชพลังงานทดแทนจากเอทานอลในประเทศตาง ๆ
ในหลายประเทศไดกําหนดเปนวาระที่ตองจัดการในระยะยาวตามพันธกรณีสิ่งแวดลอม
โลก ตาม Kyoto Protocol 1997 เพื่ อ เพิ่ ม การใช พ ลั ง งานทางเลื อ กอื่ น นอกจากพลั ง งานจาก
ปโตรเลียม เชน กลุมประเทศสหภาพยุโรปไดตั้งเปาใหประเทศสมาชิกใชพลังงานทดแทนในอัตรา
สวนรอยละ 12 ของพลังงานทั้งหมดในป พ.ศ.2550 หรือเทียบไดกับ 127 ลานTOE (Ton of Oil
Equivalent) ซึ่งในสวนนี้เปนเปนพลังงานจากเชื้อเพลิงทดแทน ถึง 90 ลาน TOE ที่จะตองพัฒนา
ขึ้นจากการใชวัตถุดิบที่เปนพืชหลายชนิดเชน ขาวบาเลย ขาวสาลี หรือ ชูการบีท ในการนี้มีการ
ปรับมาตรการทางภาษีสรรพสามิตเพื่อสนับสนุนการผลิตและจําหนายเชื้อเพลิงจากพลังงานทด
แทน
ในประเทศบราซิลไดใชโอกาสคราวเกิดวิกฤติน้ํามัน ป 2517 จัดตั้งโครงการ Proalcohol
Program ขึ้นในป 2518 เพื่อศึกษาการใชเอทานอลผสมเชื้อเพลิงปโตรเลียม และในป 2522 ไดเกิด
วิกฤติราคาน้ํามันของโลกเพิ่มขึ้นอยางมาก ทําใหเกิดการตื่นตัวและมีการวิจัยขนานใหญโดยมีวตั ถุ
ประสงคจะนําเอทานอลบริสุทธิมาใชเปนเชื้อเพลิงจนในป 2523 โดยความรวมมือของบริษัทผู
ผลิตรถยนตและรัฐบาลไดจัดตั้งโรงงานผลิตเชื้อเพลิงเอทานอล และผลิตรถที่ใชเอทานอล บริ
สุทธิเปนเชื้อเพลิง โดยการสนับสนุนอยางจริงจังจากทุกภาคสวนในป 2530 มีรถใหมใชเอทานอล
96 (สวนผสมเอทานอล 96 เปอรเซ็นต) ถึง 4 ลานคัน และในป 2538 มีรถใหมที่ใช เอทานอล 22
(สวนผสมเอทานอล 22 เปอรเซ็น ต ) ถึง 5 ลานคัน สหรัฐอเมริก าเป นผูผลิตเอทานอลรายใหญ
ลําดับตนๆ และมีกฎหมายที่เข็มแข็ง Energy Policy Act เพื่อสนับสนุนการใชเชื้อเพลิงอื่นแทน
ปโตรเลียมใหได รอยละ 30 ภายในป พ.ศ.2553 สหรัฐอเมริกาผลิตเอทานอล ประมาณ 3,000
ลานแกลลอนตอป (10,000 ลานลิตร) มีโรงงานผลิต 60 โรงงานใช i ขาวโพดเปนวัตถุดิบ และยังมี
โรงงานผลิตเอทานอล อีก 47 แหง ที่กําลังกอสรางและกําหนดเสร็จในป 2548 ปจจุบันมีการผลิต
ใน 10 มลรัฐ และผลิตมากที่สุดในรัฐไอโอวา
ในประเทศอื่นๆไดเรงเพิ่มสัดสวนการใชพลังงานทดแทนน้ํามันจากปโตรเลียมโดยใชมาตร
การสนับสนุนจากรัฐดวยมาตรการที่ใหสิทธิพิเศษทางภาษีตามที่แสดงในตารางที่ 1
ตารางที่ 1 แสดงมาตรการทางภาษีเพื่อสงเสริมการใชเอทานอลในประเทศตางๆ

ประเทศ อัตราภาษีสรรพสามิต บาทตอลิตร* อัตราการยกเวนภาษี


สรรพสามิตหรือการ
น้ํามันแกสโซลีน น้ํามันผสมเอทานอล สนับสนุน บาทตอลิตร
ฝรั่งเศส 29.2 4.3 24.9
สวีเดน 25.6 0 25.6
สเปน 18.1 0 18.1
เนเธอรแลนด 28.4 15.1 13.3
สหรัฐอเมริกา 1.9 0 7.6**

* ขอมูลแสดงเปนเกณทเชิงเปรียบเทียบเทานั้นโดยใชอัตราแลกเปลี่ยน 1 ECU = 1.25


USD = 50 บาท
** เปนการให Income Tax Credit แกผูผลิตและผูขายในอัตรา 0.54 USD ตอแกลลอน(หรือ
5.7 บาทตอลิตร)

1.3 สถานะการณพลังงานของประเทศไทย

1.3.1 ความเปนมาในการใชพลังงาน

พลังงานเปนปจจัยสําคัญของการพัฒนาและขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ในป 2546


ประเทศไทยมีการใชพลังงานรวมประมาณ 56.3 ลานตัน น้ํามันดิบเทียบเทา ในจํานวนนี้เปนการ
นําเขาน้ํามัน รอยละ 65 คิดเปนปริมาณ วันละ 0.6 ลานบารเรล หรื อคิดเปนมูลคาประมาณ
350,000 ลานบาท ในป 2547 ความตองการใชพลังงานของประเทศคาดวาจะเพิ่มขึ้นเปน 61.0
ลานตันน้ํามันดิบเทียบเทา หรือเพิ่มขึ้นรอยละ 8.3 หากประเมินเปนมูลคา พลังงานที่ตองนําเขาจะ
มีมูลคาสูงถึง 462,000 ลานบาท เพิ่มขึ้นจากปที่ผานมารอยละ 32 หากพิจารณาถึงความตองการ
ใชพลังงานจําแนกตามสาขาเศรษฐกิจ พบวาในภาคคมนาคมขนสง และภาคอุตสาหกรรม แตละ
ภาคมีการใชพลังงานมากที่สุดคิดเปนรอยละ 37 รองลงมา คือ ภาคที่อยูอาศัยและพาณิชยกรรม
รอยละ 20 และภาคเกษตรกรรมใชรอยละ 6
ประเทศไทยกําลังอยูในชวงการปรับโครงสรางสัดสวนการใชและการจัดหาพลังงานจาก
แหลงตางๆ ใหสมดุลมากขึ้นโดยมุงสูการลดสัดสวนการใชพลังงานจากน้ํามันปโตรเลียม ซึ่งมี
ความผันผวนดานราคาในชวงที่ผานมา เพื่อใหผลกระทบจากราคาวัสดุปโตรเลียมที่มีตอระบบ
เศรษฐกิจอยูในระดับที่จัดการไดอยางมั่นคงขึ้น แนวทางปรับโครงสราง เพื่อสรางความมั่นคงดาน
พลังงานโดยกระทรวงพลังงานไดกําหนดแผนเพิ่มการใชพลังงานทดแทนในรูปrenewable energy
ใหไดในระบบเปนรอยละ 8 ของพลังงานรวมในป 2554 หรืออีก 6 ปนับจากป 2549 ซึ่งเปน
ปริมาณพลังงานเทียบกับน้ํามันปโตรเลียม 8 ลาน TOE โดยพลังงานทดแทนในเปาหมายคือ
เชื้อเพลิงผสมเอทานอล และไบโอดีเซลจากน้ํามันปาลม ในเดือน พฤษภาคม 2548 ไดเรงรัดใหเร็ว
ขึ้นอีกโดยกําหนดเปาหมายใหใชพลังงานทดแทนทุกรูปแบบใหไดรอยละ 15 ในป 2551 และเปน
รอยละ 20 ในป 2554
กลยุทธตามแผนยุทธศาสตรกําหนดให
• มีเปาหมายใชน้ํามันใบโอดีเซลผสมในอัตราสวน 10 เปอรเซ็นต ทั่วประเทศใน
ป 2554
• ใชเอทานอลผสมแกสโซลีน 10% แทนแกสโซลีน95ทั้งหมดทั่วประเทศในป 2550

1.3.2 การใชเอทานอลในประเทศไทย

การริเริ่มใชเอทานอลเปนรูปธรรมมีมาเมื่อ 20 ปที่แลว มีการใชเอทานอลผสมน้ํามันแกสโซ


ลีน เพื่ อการผลิตแกสโซฮอลขึ้นในประเทศไทยโดยดําเนินการจากแนวพระราชดําริในพระบาท
สมเด็จพระเจาอยูหัวเมื่อป 2528 ในโครงการสวนพระองค ครั้งนั้นไดศึกษาการผลิตแกสโซฮอลเพือ่
ใชเปนพลังงานทดแทน โดยผลิตเอทานอลจากออย หลังจากนั้นก็เกิดความตื่นตัวทั้งจากภาครัฐ
และเอกชนเขามารวมพัฒนาและนําไปทดสอบกับเครื่องยนต อื่น ๆ เปนตนมา

เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2543 คณะรัฐมนตรีไดมีมติเห็นชอบในหลักการ โครงการผลิต


แอลกอฮอลจากพืชเพื่อใชเปนเชื้อเพลิง และกระทรวงอุตสาหกรรมไดตั้งคณะกรรมการเอทานอล
แหงชาติ เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2543 ตอมาในการประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม
2543 ไดมีมติเห็นชอบแนวทางการสงเสริม และสนับสนุนการผลิตและการใชเอทานอลเปนเชื้อ
เพลิง โดยรัฐจะสนับสนุนใหภาคเอกชนลงทุนจัดตั้งโรงงานผลิตเอทานอลเปนเชื้อเพลิง และให
กระทรวงเกษตรและสหกรณกําหนดแผนการผลิตออยและมันสําปะหลัง เพื่อรองรับและสอด
คลองกับการลงทุนผลิตเอทานอล พรอมกันในระหวางป 2543 การปโตรเลียมแหงประเทศไทย
เริ่มดําเนินการทดสอบการใชแกสโซฮอลและดีโซฮอลในรถยนต โดยการผสมเอทานอล 10
เปอรเซ็นต พบวาชวยลดมลพิษ ประหยัดน้ํามัน และไมมีผลตอสมรรถนะเครื่องยนต และไดมีการ
ผลิตแอลกอฮอลจากหัวมันสดจากโรงงานตนแบบ โดยสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร และเทคโนโลยี
แหงประเทศไทย ซึ่งไดสงเอทานอลใหโรงกลั่นของบริษัทบางจากผลิตเปนแกสโซฮอล และได
ทดลองจําหนายใหประชาชนทั่วไปเมื่อป 2544 ในสถานีบริการน้ํามันของบางจาก 5 แหงในเขต
กรุงเทพฯ โดยมีราคาจําหนายต่ํากวาน้ํามันเบนซินไรสารตะกั่วออกเทน 95 เล็กนอย ซึ่งไดผลตอบ
รับจากผูใชรถยนตในระดับที่นาพอใจ สมาคมอุตสาหกรรมยานยนตไทย ในป 2544 ไดสํารวจขอ
มูลรถยนตตาง ๆ ที่สามารถใชกาซโซฮอลเปนเชื้อเพลิงตามขอกําหนดคุณภาพของน้ํามันเบนซิน
ออกเทน 95 ประกาศเดิม (กอนประกาศฉบับ 21 ตุลาคม 2545) พบวา รถยนตที่ใชระบบ
คารบูเรเตอรไมสามารถใชกาซโซฮอลเปนเชื้อเพลิงแทนเบนซินออกเทน 95 ได แตรถยนตตั้งแตป
2538 (1995) ที่ใชระบบ Electronic Fuel Injection (EFI) สามารถใชได สําหรับน้ํามันดี
โซฮอล ซึ่งหมายถึง น้ํามันดีเซลผสมเอทานอล ในการผสมน้ํามันดีโซฮอลอาจจะใชเอทานอล
ความบริสุทธิ์รอยละ 95 (Hydrated Ethanol) หรือสูงกวารอยละ 99 (Anhydrous Ethanol) ผสม
กับน้ํามันดีเซลหมุนเร็ว และตองมีการผสมสารเติมแตงประเภท Emulsifier เพื่อชวยใหเอทานอล
ละลายเปนเนื้อเดียวกับน้ํามันดีเซลหมุนเร็ว การผสมเอทานอลในน้ํามันดีเซลหมุนเร็วทําใหคุณ
สมบัติทางเคมีและทางกายภาพของน้ํามันดีเซลหมุนเร็วเปลี่ยนไปบาง ที่สําคัญไดแกคาซีเทนนัม
เบอรลดลง และจุดวาบไฟของน้ํามันดีโซฮอลมีคาต่ํากวาน้ํามันดีเซลหมุนเร็ว ดังนั้น จึงตองชดเชย
คาซีเทนนัมเบอรโดยการเติมสารเติมแตงประเภทเพิ่มซีเทน (Cetane Improver) ลงไปเพื่อเพิ่มคาซี
เทนนัมเบอรและตองเติมสารเติมแตงปองกันการกัดกรอน (Corrosion Inhibitor) เพื่อปองกันหัว
ฉีดเชื้อเพลิงกัดกรอน สถาบันวิจัยและพัฒนา การปโตรเลียมแหงประเทศไทย ไดทดสอบการใชน้ํา
มันดีโซฮอลกับรถโดยสาร ขสมก. พบวา สามารถลดควันดําไดประมาณรอยละ 30-40 แตสิ้น
เปลืองน้ํามันเชื้อเพลิงมากขึ้นประมาณรอยละ 7-9 อนึ่งกรมธุรกิจพลังงาน (กรมทะเบียนการคา)
ยังไมไดออกประกาศกําหนดคุณภาพของน้ํามันดีโซฮอล (ขอมูลเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2545)

ในป 2546 กระทรวงพลังงาน จึงมีการกําหนดแผนยุทธศาสตรเพื่อเพิ่มขีดความสามารถ


ของประเทศ และสวนสําคัญคือใหมีการพัฒนาใชพลังงานทดแทนใหมีสัดสวนเพิ่ม เปนรอยละ 8
ของการใชพลังงานทั้งหมด ในรูปแบบตางๆคือ ผลิตพลังงานไฟฟา พลังความรอน เชื้อเพลิงชีว
ภาพ จากพืชพลังงานซึ่งกําหนดเปน 2 แนวทางหลัก คือ เอทานอล และ ไบโอดีเซล

ในป 2548 มีการปรับเรงรัดนโยบายการใชพลังงานทดแทนของประเทศไทยกระทรวงพลัง


งานโดยการอนุมัติของคณะรัฐมนตรีไดกําหนดแผนใหใชพลังงานทดแทนในทุกภาคเพิ่มเปน 15
เปอรเซ็นต ของการใชพลังงานรวมในปพศ.2551 และใหเพิ่มสูงขึ้นเปน20 เปอรเซ็นต ในป 2554
โดยสาขาขนสงมีเปาหมายใหใช กาส NGV แทน แกสโซลีนและดีเซล และในป2551ตองทดแทน
แกสโซลีนและดีเซลใหได 10 เปอรเซ็นต โดยการใชเอทานอลผสมแกสโซลีน(กาสโซฮอล)10
เปอรเซ็นต และใชใบโอดีเซล
การกําหนดแผนเรงรัดใหมีสถานีบริการที่ขายกาสโซฮอล จาก 730 แหงเปน 4000 แหงทั่ว
ประเทศ และภายในป 2550 น้ํามันเบนซิน95 ทั้งหมดใหเปลี่ยนมาใชกาสโซฮอล
1.3.3 วัตถุดิบที่มีศักยภาพผลิตเปนเอทานอลในประเทศไทย
วัตถุดิบในการผลิตเอทานอลในสถานะที่เปนอยูในปจจุบันประเทศไทยมีวัตถุดิบหลักที่
สามารถใชเพื่อการผลิตเอทานอลในประเทศอยางพอเพียง เปนพืชในกลุมแปงและน้ําตาล เชน
ขาว ขาวโพด ขาวฟาง มันสําปะหลัง ออย ถาไมนับขาวที่สามารถใชบริโภคไดโดยตรงและขาวโพด
ที่ใชเปนอาหารสัตวไดซึ่งจะมีคุณคาทางเศรษฐกิจมากกวาการนํามาผลิตเปนเอทานอล ประเทศ
ไทยสงออกวัตถุดิบจากการเกษตรที่มีศักยภาพที่จะปอนใหอุตสากรรมการผลิตเอทานอลเปนมูล
คาหลายหมื่นลานบาทตอป จากขอมูลกรมศุลกากรในป 2547 มีการสงออกผลผลิตการเกษตร
หลัก คือ มันสําปะหลัง ออย กากน้ําตาล ไปตางประเทศ ซึ่งหากนํามาผลิตเอทานอลบริสุทธิจะได
ปริมาณรวมกันมากกวา 5000 ลานลิตร และมีมูลคารวมกันประมาณ 70,000 ลานบาท เมื่ออาง
อิงดวยราคาเอทานอลในประเทศที่ ระดับราคา 12.75 บาทตอลิตร (ราคาป 2546 ซึ่งราคาป 2548
อยูที่ 15-18 บาทตอลิตร) ขณะที่พืชที่เปนวัตถุดิบที่สงออกเหลานี้มีมูลคาเพียง 65000 ลานบาท
ตามสภาพที่เปนสินคาเกษตรแปรรูปขั้นตน ปริมาณวัตถุดิบที่สามารถนํามาผลิตเอทานอลจะลดลง
เหลือเพียงประมาณครึ่งเดียวหรือเปนเอทานอล 2500 ลานลิตรตอป เทียบไดปริมาณ 7 ลานลิตร
ตอวัน หากไมนับรวมน้ําออยสวนที่จําเปนตองใชในการผลิตน้ําตาลทรายในกรณีที่ราคาน้ําตาลใน
ตลาดโลกสูงกวา 9 บาทตอกิโลกรัม อยางไรก็ตามยังมีความเปนไปไดที่จะใชวัตถุดิบที่มีศักยภาพ
อื่นๆ เชน ขาวฟางหวาน ทั้งนี้จําเปนตองศึกษาวิจัยถึงความไดเปรียบที่จะปลูกขาวฟางหวานแทน
ในพื้นที่ปลูกออยและมันสําปะหลัง นอกจากนี้การปลูกออยและมันสําปะหลังในปจจุบันยังใหผล
ผลิตตอไรคอนขางต่ําซึ่งหมายความวายังมีโอกาสเพิ่มปริมาณวัตถุดิบไดอีกมากหากเพิ่มการจัด
การการปลูกที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น หรือบริหารจัดการโดยยึดผลประโยชนสูงสุดแลวจัดสรรพื้นที่
เลือกปลูกพืชหลากหลายชนิดที่ใชผลตอบแทนเชิงมูลคารวมที่ดีที่สุด โดยนําปจจัยดานการตลาด
และการวิเคราะหเชิงพื้นที่ ที่มีผลตอตนทุนการผลิต เขามาพิจารณารวมดวย

ตารางที่ 2 แสดงปริมาณและมูลคาผลผลิตที่สงออก – ที่มา : กรมศุลกากร 2547


มูลคาเพิ่มเมื่อ
ผลผลิตใช ผลิตภัณฑ มูลคา ศักยภาพการ มูลคา ความแตก
ผลิตเปน
ชนิดพืช ในประเทศ สงออก สงออก ผลิตเปนเอทา เอทานอล ตางมูลคา
เอทานอลเทียบ
ลานตัน ลานตัน ลานบาท นอลลานลิตร ลานบาท ลานบาท
เปนเปอรเซ็นต
มัน 7.0 11.4 18,345 2,057 26,227 7,882 43
สําปะหลัง
ออย 21.5 43.0 44,560** 3,010 38,378 -6,182 -14**
(น้ําตาล)
กาก 1.6 1.3 1,963 338 4,310 2,347 120
น้ําตาล

** หากไมรวมคาแปรรูปเปนน้ําตาลเกล็ดจะมีมูลคาต่ํากวานี้ซึ่งทําใหความแตกตางมูลคาเปนบวก
** เมื่อราคาน้ําตาลในตลาดโลกสูงกวา 9 บาทตอกิโลกรัม จะไมมีความเหมาะสมที่จะใชน้ําออยเปนวัตถุดิบ

1.3.4 พืชอื่นที่มีศักยภาพใชเปนวัตถุดิบในการผลิตเอทานอล
ในการศึกษาของมหาวิทยาลัยขอนแกนมีรายงานวา ขางฟางหวานที่เปนพืชทนอากาศแหง
แลงไดดีปลูกไดในทุกสภาพอากาศสามารถนํามาเปนวัตถุดิบในการผลิตเอทานอลไดและมีตนทุน
ต่ํากวาการใชน้ําออย เนื่องจากเปนพืชอายุสั้นเพียง 100-120 วันจึงมีโอกาสปลูกหมุนเวียนไดปละ
2-3 รอบทําไหไดผลผลิตตอไรสูงกวาออยมากกวาเทาตัว ในขณะที่มีปริมาณน้ําตาลตอหนวยน้ํา
หนักใกลเคียงกันแตขาวฟางหวานมีสวนที่เปนแปงปนอยูทําใหมีความไมเหมาะสมที่จะใชผลิตน้ํา
ตาลโดยตรง ศักยภาพของขาวฟางหวานเมื่อเทียบกับพืชอื่น ๆ นั้นโดดเดนในแงของการเพิ่มกําลัง
การผลิตตอไรไดโดยทันทีโดยไมตองเพิ่มพื้นที่ปลูกพืชไรซึ่งมีอยูอยางจํากัดในปจจุบัน หากเทียบ
กับการเพิ่มผลผลิตตอไรในพืชไรอื่น ๆ เชน ออย หรือมันสําปะหลัง การที่เปนพืชอายุสั้นจึงมีระบบ
การจัดการในแปลงปลูกที่งายและสามารถปรับใหสอดคลองกับการผลิตระดับโรงงาน เชนชวง
เวลาการปลูก เก็บเกี่ยว และการจัดสงโรงงาน มีความจําเปนตองมีการศึกษาวิจัยเพิ่มเติมเพื่อให
ครอบคลุมวิธีการผลิตอยางมีประสิทธิภาพโดยครบวงจร ในสหรัฐอเมริกามีแผนเพิ่มการใชขาวฟาง
หวานในการผลิตเอทานอลและลดการใชขาวโพดลง โดยเหตุผลที่วาขาวฟางหวานมีความทนทาน
และใหผลผลิตตอพื้นที่สูงกวาขาวโพด
การผลิตเอทานอลโดยพืชอื่นในตางประเทศพบวาขาวฟางหวานมีผลผลิตเทียบไดกับการ
ใชออยพืชที่สําคัญและมีอัตราใหผลผลิตตอหนวยพื้นที่ปลูกอยูในระดับตนๆ คือ ออย ขาวโพด ขาว
ฟางหวาน มันสําปะหลัง เมล็ดขาวฟาง ตามที่แสดงในตาราง
ขอมูลการผลิตเอทานอลจากขาวฟางหวานเมื่อเทียบกับการใชออยที่แสดงไวในตาราง
ไดผลการผลิตตอพื้นที่สูงกวาและการมีผลผลิตตลอดทั้งปทําใหการจัดการสวนโรงงานผลิตมีความ
ตอเนื่องทั้งปเทียบกับการใชออยที่โรงงานเดินเครื่องเพียง 6-8 เดือนใน 1 รอบป

ตารางที่ 3 แสดงปริมาณการผลิตเอทานอลดวยพืชอื่นในตางประเทศ

ผลผลิตตอเฮกแตร ผลผลิตแอลกอฮอลตอเฮกแตร
ชนิดพืช
(ตัน) (ตัน)
ออยในประเทศบราซิล 54.2 3630
ขาวฟางหวาน (สหรัฐอมริกา) 46.5 3554
ขาวโพด (สหรัฐอเมริกา) 5.7 2200
มันสําปะหลัง (บราซิล) 11.9 2137
ธัญพืช (สหรัฐอเมริกา) 3.5 1362
ขาวสาลี (สหรัฐอเมริกา) 2.1 773

ที่มา : Brown (1980)


ตารางที่ 4 เปรียบเทียบผลผลิตของเอทานอลและคุณสมบัติดานตางๆ ระหวางออยกับขาวฟาง
หวาน

องคประกอบ ออย ขาวฟางหวาน


อายุเก็บเกี่ยว (เดือน) 10-11 3.5-4
ผลผลิตตนสด (ดินตอเฮกแตร) 70-80 47-52 (ตอครั้ง)
(95-105 ตันตอป)
ปริมาณน้ําตาล 11-13 9-11
ผลผลิตเอทานอล (ลิตรตอตัน) 68-74 55-65
ความตองการในการเจริญเติบโต (เปอรเซ็นต) 100 30-36 (เปอรเซ็นตของออย)
ความตองการปุย (เปอรเซ็นต) 100 0-25 (เปอรเซ็นตของออย)
ปริมาณกาก (ตันตอเฮกแตร) 20-25 12-13 (ตอครั้ง)
(28-32 ตันตอป)

ที่มา: Mandke and Kapoor (2003)

You might also like