E 002

You might also like

You are on page 1of 8

1

บทที่ 2
การผลิตเอทานอลจากพืช

2.1 การใชประโยชนเอทานอล
สารประกอบเอทานอลเอทานอลเปนวัสดุใสไมมีสี ติดไฟไดเปนสารเคมีอินทรียที่หมักไดจาก
พืชในกลุมแปงหรือน้ําตาล เอทานอลเปนที่รูจักกันในชื่อทั่วไปวา เอทิลแอลกอฮอล มีผสมอยูในสุรา
หรือเครื่องดื่มที่ผสมแอลกอฮอลทุกชนิดที่ใชบริโภค เอทานอลมีลักษณะและโครงสรางเคมีคลายกับ
สารเคมีอนินทรียอีกชนิดหนึ่งคือ เมทานอล หรือเมทิลแอลกอฮอล แตเมทานอลสกัดจากขบวนการก
ลั่นวัสดุปโตรเคมีและเปนวัสดุที่มีพิษเมื่อนํามาบริโภคสวนใหญใชในอุตสาหกรรมที่ผลิตภัณฑไมนํามา
บริโภคหรือมาใชโดยตรงกับมนุษยหรือสัตว มีปริมาณเอทานอลสวนหนึ่งนอยนอกจากไดจากการ
สังเคราะหเอทานอลโดยขบวนการเคมี เอทานอลในทางเคมีเปนกลุมสารประกอบอินทรียมีสูตรทาง
เคมี คื อ C2H5OH ประกอบด วย คารบ อน ไฮโดรเจน และอ อ กซิเจน เป น ไฮดรอกซิล ดิ ริเวที ฟ ของ
ไฮโดรคารบอน เกิดจากการแทนที่ ไฮโดรเจนอะตอมดวย hydroxyl group (OH) เอทานอลบริสุทธิ
(anhydrous) มีจุดเดือด ที่ 78.5 องศาเซนติเกรดคุณสมบัติของ เอทานอลใชเปนสารเพิ่ม ออคเทน
ในน้ํามันแกสโซลีนไดทําใหมีการใชผสมแกสโซลีนอยางแพรหลายแทนสารผสมที่ใชกันอยูในปจจุบัน
คือสาร MTBE (Methyl Tertiary Butyl Ether) ซึ่งมีการคนพบวาเปนสารที่มีอันตรายตอสิ่งแวดลอม
เมื่อมีการรั่วไหลออกสูแหลงน้ําสาธารณะและเคยมีกรณีปนเปอนในน้ําดื่มในสหรัฐอเมริกาและหากมี
การหามใช สาร MTBE ผสมในเชื้อเพลิงจะทําใหมีความตองการใชเอทานอลเพิ่มขึ้น
ในป จ จุ บั น มี ก ารผลิ ต เอทานอลในทุ ก ภู มิ ภ าคของโลกประมาณ 31000 ล า นลิ ต ร โดย
ประมาณ 2 ใน 3 ผลิตในทวีปอเมริกาที่สหรัฐอเมริกา และที่ประเทศบราซิล สวนที่เหลือ ครึ่งหนึ่งผลิต
ในแถบเอเชียแปซิฟค และราวอีกครึ่งผลิตในยุโรปและที่อื่น ๆ เอทานอลทั้งหมดผลิตจากพืชน้ําตาล
ประมาณรอยละ 60 สวนที่เหลือรอยละ 35 ผลิตจากเมล็ดพืชและพืชกลุมแปง มีปริมาณราวรอยละ 5
ที่ผลิตโดยการสังเคราะหการใชงานเอทานอล -มีการประยุกตใชในอุตสาหกรรมหลัก 3 กลุม คือกลุม
เครื่องดื่ม กลุมอุตสาหกรรมเครื่องสําอางค ยาและสี และกลุมวัสดุเชื้อเพลิงซึ่งมีปริมาณการใชมากที่
สุดถึง 70 เปอรเซ็นต ของปริมาณรวม การใชงานเอทานอลในอุตสาหกรรมมีการขยายตัวสูงมากจาก
แนวโนมของโลกที่มีการพึ่งพาขบวนการผลิตที่ใชสารอินทรียมากยิ่งขึ้น

2.2 การผลิตระดับโรงงาน
การผลิ ต เอทานอลจากพื ช มี ขั้ น ตอนและขบวนการโดยย อ ตามที่ แ สดงใน เอทานอล
(Ethanol) หรือ เอทิลแอลกอฮอล (Ethyl Alcohol) ที่ผลิตจากพืช เชน มันสําปะหลัง ออย และกาก
น้ําตาล ในกระบวนการผลิต หากใชวัตถุดิบประเภทแปง และเซลลูโลส จะตองนํามายอยใหเปนน้ํา
2

ตาลกอน โดยการใชกรด แบคทีเรีย หรือเอ็นไซม สวนวัตถุดิบที่เปนน้ําตาลในรูปที่เหมาะสมสามารถ


นํามาหมักกับเชื้อยีสตไดเลย ใชเวลาในการหมักประมาณ 2-3 วัน กรณี เปนการหมักแบบชั่วคราว
หากหมักแบบตอเนื่องจะใชเวลา 36 ชั่วโมง จะไดแอลกอฮอล (เอทานอล) ที่ความเขมขนประมาณรอย
ละ 8-12 โดยปริมาตร จากนั้นนําไปกลั่นแยกแบบลําดับสวน จะไดแอลกอฮอลที่ความเขมขนรอยละ
95 โดยปริมาตร ในกรณีที่ตองนํามาใชเปนเชื้อเพลิงผสมกาซโซฮอล และดีโซฮอล จะตองแยกสวนน้ํา
ออกอีกใหไดความบริสุทธิมากกวา 99.5 เปอรเซ็นต โดยวิธีการกลั่นกับสารตัวที่สาม หรือแยกดวย
เครื่องโมเลกคูลาชีฟ (molecular sieve) หรือเครื่องแยกระบบเมมเบรนในขบวนการหลากหลายรูป
แบบนี้มีขั้นตอนและการใชพลังงานในการผลิตแตกตางกัน แลวแตวัตถุดิบหรือสภาพของวัตถุดิบที่นํา
เขาขบวนการ

2.3 การเลือกเทคโนโลยีการผลิต
ปจจุบันโรงงานตนแบบระดับอุตสาหกรรมขนาดเล็กกําลังผลิตวันละ1500 ลิตรทดลองผลิต
โดยสถาบันวิจัยวิทยาศาสตรและเทคโนโลยีฯ และระบบการกลั่นเอทานอลขั้นสุดทายเพื่อใหไดบริสุทธิ
99.5 เปอรเซ็นต ยังคงเปนแบบธรรมดาคือการกลั่นดวยการเติมสารตัวที่ 3 สําหรับโรงงานขนาดใหญ
และการเลือกใชเทคโนโลยีแบบอื่นจําเปนตองซื้อจากตางประเทศเทานั้นเพราะขอจํากัดที่ไมมีการวิจัย
พัฒนาที่ตอเนื่องดวยตัวเองมากอนหนานี้ การเลือกซื้อจึงยึดปจจัยราคาคาโรงงานและคาใชจายใน
การเดินเครื่องเปนเกณทในการตัดสินใจ การจัดตั้งเครื่องจักรโดยสวนใหญเปนบริการแบบ turnkey ที่
รวมออกแบบและติดตั้งเบ็ดเสร็จ รวมทั้งใหคําปรึกษาในการบริหารการเดินระบบ

2.4 ขบวนการชีวเคมีของการผลิตเอทานอล
2.4.1. การหมักเอทานอล
เอทานอลผลิ ตได จ ากพื ชมี ขั้น ตอนขบวนการเคมี ในการผลิ ตโดยยอตามที่ แสดงในรูปที่ 1
เอทานอล หรือเอทิลแอลกอฮอล ที่ผลิตจากพืช เชน มันสําปะหลัง ออย และกากน้ําตาล ในกระบวน
การผลิต หากใชวัตถุดิบประเภทแปง และเซลลูโลส จะตองนํามายอยใหเปนน้ําตาล กอน โดยการใช
กรดแบคทีเรีย หรือเอ็นไซม สวนวัตถุดิบที่เปนน้ําตาลสามารถนํามาหมักกับเชื้อยีสตไดโดยตรง ใช
เวลาในการหมักประมาณ 2-3 วัน กรณีเปนการหมักแบบถังหมัก หากหมักแบบตอเนื่องจะใชเวลาราว
36 ชั่วโมง จะไดแอลกอฮอลที่ความเขมขนประมาณรอยละ 8-12 โดยปริมาตร จากนั้นตองนําไปกลั่น
แยกแบบลําดับสวน จะไดแอลกอฮอลที่ความเขมขนรอยละ 95 โดยปริมาตร ในกรณีที่ตองนํามา
ใชเปนเชื้อเพลิงที่จะใชในรถยนตในรูปกาสโซฮอลและดีโซฮอล จะตองแยกสวนน้ําออกจากเอทานอล
ใหไดความบริสุทธิมากกวา 99.5 เปอรเซ็นต โดยวิธีการกลั่นกับสารตัวที่สาม หรือแยกดวยเครื่องโม
เลกคูลาซีฟ (molecular sieve) หรือเครื่องแยกระบบเมมเบรน
3

ภาพที่ 1 กระบวนการผลิตเอทานอลจากวัตถุดิบหัวมันสําปะหลังสด

**
4

2.4 2. การเตรียมน้ําตาลเพื่อการหมักเอทานอล
การเตรียมเปลี่ยนแปงหรือวัสดุเซลลูโลสอื่นเปนน้ําตาลเพื่อใหมีสภาพเหมาะกับการหมักเอทา
นอลดวยยีสตในสวนตอไปวัตถุดิบสวนที่เปนแปงที่ไดจากธัญพืชจําเปนตองผานขบวนการยอยสลาย
แปงโดยใชเอนไซมรวมในขบวนการเอนไซมนี้เปนกลุม อะไมเลส (amylase) ซึ่งมี 2 ประเภทคือ
1. Endoamylase ยอยแปงแบบกลุม ทําใหไดแปงโมเลกุลเล็ก และเต็กซตริน เอนไซม
ประเภทนี้คือ แอลฟาอะไมเลส (alfa-amylase)
2. Endoamylase ยอยแปงจากปลาย ทําใหไดกลูโคส เอนไซม
ประเภทนี้คือ เบตาอะไมเลส (beta-amylase) และกลูโคอะไมเลส glucosamylase

2.4.3 ขบวนการหมักเอทานอล
การหมักเอทานอลโดยใชยีสตมีองคประกอบที่ตองมีความเขาใจและจัดการใหมีความสม
ดุลย 2 สวนคือ
- ลักษณะเฉพาะและคุณสมบัติของยีสต
- จัดการใหมีปจจัยที่จําเปนตอการทํางานของยีสต
การหมัก เอทานอลสวนมากใช ยีสต สายพั นธุ Saccharomyces cerevisiae ซึ่งสามารถผลิตเอทา
นอลไดสูงและสามารถทนสภาพแวดลอมที่มีเอทานแลไดดีกวาสายพันธุอื่น การทํางานของยีสตในการ
เปลี่ยนน้ําตาลคลูโคสเปนเอทานอลเกิดขึ้นในระดับเซลและปลดปลอยเอทานอลออกมาภายนอกเซล
ตามทฤษฏีการเปลี่ยนน้ําตาลกลูโคสเปนเอทานอลได 51.1 เปอรเซ็นต และสวนที่เหลือ 48.9
เปอรเซ็นต เปนกาสคารบอนไดออกไซด ตามสมการ (1)
enzyme yeast

(1)---- (C6H12O5)n + nH2O nC6H12O6 2nC2H5OH+ 2nCO2


(แปง) (น้ําตาล) (เอทานอล)

ในทางปฏิ บัติมีน้ําตาลเพียงประมาณ 95 เปอรเซ็นตเทานั้น ที่เปลี่ยนเปนเอทานอล สวนที่


เหลือยีสตจะใชในการเจริญเติบโตและสรางสารอื่นไดแก คารบอนไดออกไซด 46.5 อะซิตัสดีไฮด 0.3
กรดอะซิติก 0.25 กลีเซอรีน 3.0 กรดแลกติก กรดซัลซินิก ฟูเซลออยล 0.25-0.50 และเฟอฟูรอล อีก
เล็กนอย
5

1) การทํางานของยีสตในขบวนการผลิตเอทานอล
การทํางานของยีสตในการหมักเอทานอลเกิดขึ้นสภาวะที่มีออกซิเจนต่ํา ยีสตจะใชกูลโคสสวน
ใหญ ในการผลิ ต เอทานอลและคารบ อนไดอ อ กไซด แ ละได พ ลั ง งานในรูป ATP ขั้ น ตอนนี้ เรี ย กว า
ethanol fermentataion ดังแสดงในสมการ (2) ในสภาพที่มีออกซิเจน ยีสตจะใชกลูโคสสวนใหญเพื่อ
การเจริญผลิตเซลล และพลังงานในรูป ATP เรียกขั้นตอนนี้วา การหายใจ respiration ตามสมการ (3)

(2)---C6H12O6 เซลล + 2C2H5OH + CO2 + (2ATP)

(3)--- C6H12O6 เซลล + 6H2O + 6 CO2 + (38ATP)

2) ปจจัยที่จําเปนตอการทํางานของยีสตในขบวนการหมัก
เพื่อใหมีประสิทธิภาพการหมักสูงสุดและไดปริมาณเอทานอลสูง จําเปนตองมีปจจัยแวดลอม
ที่เหมาะสมตอการทํางานของยีสตในการหมักเอทานอล มีองคประกอบที่เปนสวนปจจัยสําคัญ และ
องคประกอบดานสภาพแวดลอมอื่น ๆ
ก) องคประกอบสวนที่เปนสวนสําคัญ
- ปริมาตรคารบอน ในการหมักยีสตจะใชคารบอนจาก
• น้ําตาลกลูโคส และฟรักโตสใชหมักไดดีเทากัน โดยปกติแหลงน้ําตาลที่หาไดงายได
จากกากน้ําตาล น้ําออย ขาวฟางหวาน และชูการบีท
เปนน้ําตาลที่ไดจากการยอยแปงดวยเอนไซม เชนจากแปงมันชนิดตาง ๆ รวมทั้งมัน
สําปะหลัง ขาวโพด และธัญพืชตาง ๆ
เปนน้ําตาลที่ไดจากการยอยเซลลูโลสดวยขบวนการจุลชีวเคมีหรือขบวนการเคมี เชน
จากกระดาษ ใยจากตนพืชและขี้เลื่อย ซึ่งในปจจุบันยังอยูในขั้นพัฒนาใหมีตนทุนต่ํา
ลง
- ปริมาณไนโตรเจน
ไนโตรเจนเป น ธาตุ อาหารที่ จําเป น ต อการเจริญ ของยี ส ต และเป น สั บ สเตรทสํ าหรับ การ
สังเคราะหโปรตีนทําใหจํานวนเซลลเพิ่มขึ้น นับวาเปนสวนสําคัญที่กระตุนการหมักหรือการผลิต
แอลกอฮอล (เอทานอล) โดยในตัวของยีสตจะมีปริมาณไนโตรเจน ราว 10 เปอรเซ็นต ของน้ําหนักแหง
โดยสวนใหญยีสตจะสามารถใชไนโตรเจนในรูป แอมโมเนียมอิออนได ในอุตสาหกรรมการผลิตเอทา
นอลนิยมใชเกลือแอมโมเนียมซัลเฟต ที่เปนแหลงใหธาตุไนโตรเจนและใหซัลเฟอรไปพรอมกัน (สําหรับ
ยีสตบางชนิดอาจใชไนโตรเจนในรูปกรดแอมมิโน)
6

- ปริมาณซัลเฟอร
ซัลเฟอร เปนธาตุอาหารที่ จําเปนตอการเจริญ เซลล ยีสตมีซัลเฟอรเปน องคประกอบ 0.4
เปอรเซ็นต แหลงซัลเฟอรที่ยีสตใชไดดีคือ
• กรดแอมมอโนเมทไทโอนีน
เกลื อ ซั ล เฟต ในรูป แอมโมเนี ย มซั ล เฟต ที่ มี ราคาถู ก และป น แหล ง ไนโตรเจน
พรอมกันไป
ปริมาณธาตุที่จําเปนอื่น ๆ ธาตุอาหารที่จําเปนตอการเจริญและการทํางานของยีสตคือ
• แมกนิเซียม
• แคลเซียม
• ไวตามินในการเจริญไดแก ไบโอติน กรดแพนโทแทนนิต ไทอะมีน กรดนิโคตินิค
และไพริดอกซิน ในปริมาณเล็กนอย (เจริญรัตน 2544)
ข) ปจจัยแวดลอมอื่นระหวางการหมัก
การหมักเชิงอุตสาหกรรมตองมีการควบคุมสิ่งแวดลอมในการหมักในทุกขั้นตอนเพื่อใหประ
สิทธิภาพการหมักสูงสุด ทั้งนี้ตองมีความสอดคลองกับคุณลักษณะประจําสานพันธุของยีสตที่ใช
- ความเขมขนของน้ําตาล
ในสภาพการหมักที่มีความเขมขนของน้ําตาลสูงจะชวยลดการปนเปอนเชื้ออื่นไดดี แตน้ํา
ตาลสูงจะยับยั้งการเจริญและการหมักเอทานอล และคุณสมบัตินี้เปนลักษณะประจําสายพันธุของ
ยีสต เมื่อเทียบกันกับกรณีความเขมขนอทานอลจะมีผลยับยั้งการหมักรุนแรงกวา แตหากมีภาวะทัง้ น้าํ
ตาลเขมขนและเอทานอลสูงจะยิ่งเสริมกันใหมีลักษณะยับยั้งการหมักรุนแรงขึ้น
- ระดับอุณหภูมิ
ในการหมักยีสตสายพันธุ S cerevisiae สามารถเจริญไดที่อุณหภูมิปานกลาง ในชวง 25-30
องศาเซลเซียส และอุณหภูมิต่ําสุดที่จะทนไดคือ 5-10 องศาเซลเซียส ในสภาพที่อาหารอุดมสมบูรณ
ยีสตจะทนอุณหภูมิสูงไดดี และจะหยุดเจริญเมื่ออุณหภูมิต่ํากวา 0 และเกินกวา 40 องศาเซลเซียส
การควบคุมอุณหภูมิในการหมักเชิงอุตสาหกรรมเปนสิ่งจําเปนเพื่อประสิทธิภาพการหมักที่ดี และจํา
เปนตองมีระบบหลอเย็นเพื่อควบคุมอุณหภูมิในถังหมัก
- คาพีเอช pH
ยีสตสายพันธุ S cerevisiae สามารถเจริญไดดีในสภาพการหมักเอทานอลจากน้ําตาลที่
คา พีเอช อยูในชวง 2.4-8.6 โดยมีคาที่เหมาะสมอยูในชวง 4.5 ซึ่งในสภาพเปนกรดออนนี้สามารถ
ชวยควบคุมการปนเปอนแบคทีเรียไดดี การหมักเอทานอลจากซูโครสมีความไวตอการเปลี่ยนแปลง
พีเอชมากกวาการใชกลูโคส
7

- ความเขมขนของเอทานอล
ในสภาพที่มีเอทานอลสูงการเจริญและการหมักยีสตจะถูกยับยั้งเพราะเอทานอลมีผลตอเอน
โซมและสรีรวิทยาวของเซลล เมื่อเปอรเซ็นตเอทานอลมากกวา 1 โดยน้ําหนัก มีผลทําใหการเจริญลด
ลงและจะหยุดลงเมื่อมีเอทานอล 4.7-7.8 เปอรเซ็นตโดยน้ําหนัก โดยตอจากนั้นจะเปนการหมักเอ
ทานอลจนถึงเอทานอลความเขมขน 14 เปอรเซ็นตโดยน้ําหนัก การที่ยีสตไมเจริญทําใหอัตราการหมัก
ลดลงดวย เชื่อ S cerevisiae เปนยีสตที่ทนเอทานอลมากที่สุด และในสภาพที่มีกรดไขมันไมอิ่มตัว
เกี่ยวของกับสภาวะ ฟอสโฟโลปดที่เยื่อหุมเซลล
- ปริมาณออกซิเจน
ในขั้นตอนการเตรียมหัวเชื้อ ออกซิเจนมีความสําคัญมาก เนื่องจากยีสตมีการเจริญสูงใน
สภาวะที่มีออกซิเจนมาก แตจะมีผลใหการหมักลดลง ออกซิเจนสงเสริใหการออกซิเดชั่นสมบูรณ และ
มีการสรางคารบอนไดออกไซดและน้ํา ในออกซิเจนยังเกี่ยวของกับกระบวนการสังเคราะหกรดไขมันไม
อิ่มตัว ที่มีความสําคัญที่ทําใหยีสตทนเอทานอลไดมากขึ้น ดังนั้นในสภาวะที่ขาดออกซิเจน ยีสตไม
สามารถสังเคราะหกรดไขมันไมอิ่มตัวได จึงตองมีการเติมกรดไขมันไมอิ่มตัวเพื่อใหยีสตสามารถอยู
รอดได ยีสตใชออกซิเจนในการหายใจเพื่อการเจริญเติบโต ดังนั้นในกระบวนการหมักอยางตอเนื่อง
ควรมีการใหอากาศบางในระหวางการหมัก เพื่อเพิ่มจํานวนเซลลทดแทนเซลลที่ตายลง และยังพบวา
การใหอากาศปริมาณเล็กนอย ทําใหการใชกลูโคสไดมากขึ้น และชวยใหยีสตมีความทนทานตอเอทา
นอลไดดี
- ปริมาณคารบอนไดออกไซด
คารบอนไดออกไซดมี ผลยั บยั้งการเติบโตของยีสต ทั้งในภาวะที่มี และไมมี ออกซิเจน ที่
ความดันบรรยากาศปกติ หากมีคารบอนไดออกไซดสูงจะเกิดการยังยั้งการเจริญและการหมักอยางรุน
แรง โดยคารบอนไดออกไซดมีผลยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาดีคารบอกซิเลชั่น และคารบอนไดออกไซดยัง
มีผลตอเยื่อหุมเซลลทําใหการขนถายสารเขาออกเซลลเปลี่ยนไป
2.4.4 การกลั่นเอทานอล
ขบวนการกลั่นแยกน้ําออกจากethanol ซึ่งเมื่อถึงความเขมขนของสารละลายที่ 95 เปอรเซ็นต
โดยน้ําหนักจะเกิดรูป azeotrope ของสารละลายซึ่งการกลั่นแยกน้ําออกแบบธรรมดาไมสามารถแยก
ethanol ใหบริสุทธิ์ได การแยกน้ําออกจากเอทานอลจนไดเอทานอลที่ความบริสุทธิ 99.5เปอรเซ็นต
นั้นปจจุบันมีขบวนการแยก 3 วิธีคือ
1) การแยกน้ําโดยการกลั่นดวยการเติมสารตัวที่ 3 วิธีนี้ใชพลังงานมากและมีตนทุนสูง
โดยตองใชสารเติมเพื่อแยกเอทานอลจากน้ําคือ เบนซิน (benzene) ตอมาพบวาเปน
สารที่อันตรายมากจึงเปลี่ยนไปใช สารจําพวกไซโคลเฮกเซน (cyclo-hexane) แลว
จึงกลั่นแยกเอทานอลออกมาจากสารที่เติมเขาไป
8

2) การใชโมเลกูลาซีฟ
3) การแยกน้ําโดยการใช membraneขบวนการ pervaporation วิธีนี้มีความสะดวก ใช
พลังงานนอย และไดสารที่บริสุทธิ์เชนเดียวกับวิธีอื่น และมีสวนชวยทางดานการประหยัดพลังงานและ
สิ่งแวดลอม การแยกน้ําโดยกระบวนการ pervaporation จะไมขึ้นอยูกับสมดุลของเทอรโม- ไดนา
มิ ก ส (vapor/liquid ٛ quilibrium) แต จะอาศั ย องค ป ระกอบที่ ต างชนิ ด กัน ในสารละลายที่ มี ค วาม
สามารถในการละลาย/แพร ผาน membrane ไมเทากัน หรือกลาววามีผลตางของศักยภาพเคมีเปน
แรงขับ (driving force) ทํ าให ในการใชงาน pervaporation จะใชไดดี ในกรณี ที่การแยกสารโดยวิธี
การกลั่นนั้นทําไดยากและมีราคาสูง แตกระบวนการ pervaporation จะไมมีปญหาในกรณีนี้ และลด
ความจําเปนที่ตองเติมสารอื่นหรือตองกําจัดสารอื่น และยังลดการใชพลังงานในขบวนการมากกวา
การกลั่น

You might also like