You are on page 1of 3

การผลิตไบโอดีเซลจากสบูดํา เรียบเรียงโดย อุดมวิทย ไวทยการ

น้ํามันสบูดํา เมื่อนํามาเขากระบวนการเปลี่ยนแปลงทางเคมี ( Tranesterification ) จะได


methyl ester ethyl ester หรือ butyl ester ขึ้นอยูกับชนิดของแอลกฮอลที่ใชในการทําปฎิกิริยา
หรือเรียกอีกอยางหนึ่งวา ไบโอดีเซล ซึ่งสามารถนําไปใชเปนเชื้อเพลิงแทนน้ํามันดีเซล โดยไมเกิด
ผลกระทบกับเครื่องยนต ไมเกิดผลกระทบตอสิ่งแวดลอมสามารถยอยสลายไดโดยกระบวนการ
ทางชีวภาพและเกิดมลพิษทางอากาศนอยกวาน้ํามันดีเซล (ตารางที่ 1)
องคประกอบทางเคมีของน้ํามันสบูดํา (ตารางที่ 2)เปนไตรกลีเซอไรดซึ่งเปนสารประกอบ
ทางเคมีที่ประกอบดวยกรดไขมัน ( Fatty acid ) และกลีเซอรีน ( Glycerin ) เมื่อไตรกลีเซอไรดรวม
ตัวกับสารเรงปฎิกิริยาที่เปนดาง เชน โปแตสเซียมไฮดรอกไซด ( KOH ) โดยมีแอลกฮอลปริมาณ
มากเกินพอ ( Excess alcohol ) จะทําใหเกิดการรวมพันธะของกรดไขมันและแอลกอฮอลเกิดเปน
ไบโอดีเซล โดยไดกลีเซอรอล ( Glycerol ) ซึ่งเปนสารเคมีที่สามารถใชประโยชนไดในอุตสาหกรรม
ยาและเครื่องสําอางเปนผลพลอยได ปฎิกิริยานี้เรียกวา Tranesterification
น้ํามันสบูดําบริสุทธิ์ สามารถใชกับเครื่องยนตดีเซลรอบต่ําได แตอยางไรก็ดีน้ํามันจากสบูดํายังมี
มาตรฐานบางอยางที่ตางจากมาตรฐานน้ํามันดีเซลหมุนเร็วคอนขางมาก ไดแก คาความหนืด(ตา
รางที่ 3) ซึ่งถาใชน้ํามันสบูดําเปนเชื้อเพลิงอาจจะทําใหการฉีดน้ํามันไมสมบูรณสงผลใหเครื่อง
ยนตมีประสิทธิภาพต่ําและอาจเกิดความเสียหายตอเครื่องยนตได ดังนั้นโดยหลักการแลวถาจะใช
น้ํามันสบูดําตองดัดแปลงเครื่องยนตใหมีการอุนน้ํามันใหมีความหนืดลดลง และมีการดัดแปลง
อื่นๆ เชน เปลี่ยนกรองน้ํามันใหมีความละเอียดมากขึ้น
ตารางที่1 ผลประโยชนดานสิ่งแวดลอมของไบโอดีเซล เปรียบเทียบกับน้ํามันดีเซลจากปโตรเลียม
ชนิดของไบโอดีเซล B 100 B 20
ไฮโดรคารบอนที่เผาไหมไมหมด (ลดลง) -93 % -30%
คารบอนมอนนอกไซด (ลดลง) -50 % -20%
ฝุนผง (ลดลง) -30 % -22%
NOx (เพิ่มขึ้น) +13 % +2%
กํามะถัน (ลดลง) -100 % -20%
ไฮโดรคารบอน โพลีคลิลิค อโรมาติค (สารระเหย) -80 % -13%
nPAH2-ไนโตรฟลูเรน,1-ไนโตรพิรีน (ลดลง) -90 % -50%
แนวโนมการสกัดโอโซน (หมอกควัน-smog) -50% -10%
วงจรไอเสีย
คารบอนไดออกไซด (ลดลง) -80 %
ซัลเฟอรไดออกไซด (ลดลง) -100 %
ตารางที่ 2 ผลวิเคราะหทางเคมีของน้ํามันสบูดํา

คากรด 38.2
คาสปอนนิพฟเคชั่น 195.0
คาไอโอดีน 101.7
คาความหนืด (31G) 40.4cp
กรดไขมันอิสระ
กรดพาลิมิก 14.2
กรดสเตรียริค 6.9
กรดโอลิอิค 43.1
กรดลิโนเลอิค 34.3
อื่นๆ 1.4

ตารางที่ 3 ขอมูลเปรียบเทียบทางเคมีของน้ํามันสบูดํากับน้ํามันดีเซลหมุนเร็ว

รายการวิเคราะห น้ํามันสบูดํา น้ํามันดีเซล วิธีที่ใชวิเคราะห


ความถวงจําเพาะ d15/4 0.9185 d15/4 0.82-0.84 JIS-K-2249
จุดวาบไฟ c 240 50cp JIS-K-2265
คารบอนตกคาง 0.64 0.15 less JIS-K-2270
คาของซีเทน 51.0 50 up JIS-K-2271
การระเหย c 295 350 less JIS-K-2254
คาความหนืด cs 50.73 2.7 up JIS-K-2283
ปริมาณซัลเฟอร 0.13 1.2 less JIS-K-2273
คาทองแดงตกคาง IA - JIS-K-2513
คาความรอนที่ให Kcl/Kg 9.470 10.170 JIS-K-2271
เอกสารอางอิง

กรมพลังงานทดแทนและอนุรักษพลังงาน. 2549. พลังงานไบโอดีเซล. แหลงที่มา :


http://www.dede.go.th/dede/index.php?id=173,
21กุมภาพันธ 2549.

กระทรวงพลังงาน. 2549. รูเฟองเรื่องพลังงาน.แหลงที่มา :


http://www.energy.go.th/th/knowledgeDetail.asp?id=37,
21กุมภาพันธ 2549.
นิรนาม. 2547. น้ํามันสบูดํากับเครื่องยนตดีเซล. น.ส.พ.กสิกร 77(3) : 74-78.

อัคคพล เสนาณรงค. 2548. การใชเครื่องจักรกลเกษตรกับสบูดํา. เอกสารประกอบการประชุม


เสนอกิจกรรมสบูดํา. 29 มิถุนายน 2548 ณ หองประชุม 107 สถาบันวิจัยพืชไร
กรมวิชาการเกษตร, กรุงเทพฯ. 2 หนา.

You might also like