You are on page 1of 3

The Appropriateness of Health Administrator Training Curriculums in reality Coherence

ชื่อเรื่อง : ความเหมาะสมของหลักสูตรนักบริหารสาธารณสุขในสังกัดกระทรวง

สาธารณสุขที่สอดคล้องกับบริบทการบริหารงานในสถานการณ์จริง

ชื่อผู้วิจัย : นางสุพร พละเสวีนันท์ ผู้อานวยการวิทยาลัยนักบริหารสาธารณสุข

สถาบันพระบรมราชชนก สานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ : ความเหมาะสม หลักสูตรนักบริหารสาธารณสุข บริบทการบริหารงาน


ในสถานการณ์จริง

บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยเรื่อง “ความเหมาะสมของหลักสูตรนักบริหารสาธารณสุขในสังกัดกระทรวง
สาธารณสุขที่สอดคล้องกับบริบทการบริหารงานใ นสถานการณ์จริง ” เป็นการวิจัยเชิง ประเมิน
(Evaluation Research) โดยใช้วิธีดาเนินการวิจัยเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
ครั้งนี้ ได้แก่ แบบสอ บถามที่เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง 3 กลุ่ม จานวน 1,076 คน คือ นักบริหาร
การแพทย์และสาธารณ สุขระดับสูง (นบส.) จานวน 249 คน ผู้บริหารการสาธารณสุขระดับกลาง
(ผบก.) จานวน 402 คน และผู้บริหารการสาธารณสุขระดับต้น (ผบต.) จานวน 425 คน และการสนทนา
กลุ่มกับผู้เข้ารับการอ บรมกลุ่มละ 10 คน 4 ภาค จานวน 40 คน การวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถาม
ด้วยสถิติการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( X ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.), t – test, F – test
และการวิเคราะห์คะแนนเฉลี่ยรายคู่ด้วยสถิติ LSD และการวิเคราะห์ข้อมูลจากการสนทนากลุ่ม และ
เอกสาร ใช้วิเคราะห์เนื้อหา และสรุปประเด็นสาคัญ ผลการวิจัยพบว่า

กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 56.3 มีอายุระหว่าง 46-50 ปี ร้อยละ 41.4 อาศัย


อยู่ในภาคกลางมากที่สุด ร้อยละ 49.4 และส่วนใหญ่ไม่มีโรคประจาตัว ร้อยละ 78.0 มีเพียงร้อยละ
22.0 ที่มีโรคประจาตัว โดยพบว่า โรคความดันโลหิตสูงเป็นโรคที่กลุ่มตัวอย่างป่วยมากที่สุด ร้อยละ
27.3 สาหรับความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อโคร งสร้างและระบบการบริหารงาน พบว่า มีความ
คิดเห็นในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( X = 3.47, S.D.= 0.91) และในส่วนความคิดเห็นที่ต่อการปฏิรูป
ระบบราชการและการบริหารงานภาครัฐแนวใหม่ พบว่า มีความคิดเห็นในภาพรวมอยู่ในระดับมาก
( X = 3.68, S.D.= 0.79) และในด้านความคิดเห็นเกี่ยวกับพฤติกรรมการบริหารงานหน่วยงานใน
ปัจจุบัน พบว่า มีความคิดเห็นในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( X = 3.84, S.D.= 0.82) และสาหรับความ
คิดเห็นที่มีต่อความเหมาะสมของหลักสูตรและกระบวนการอบรมนักบริหารสาธารณสุขที่พึงประสงค์
The Appropriateness of Health Administrator Training Curriculums in reality Coherence

ทั้ง 3 หลักสูตรคือ นบส . ผบก. และผบต . ในภาพรวมเห็นว่ามีความเหมาะสมอยู่ในร ะดับมาก เท่ากัน


( X = 4.18, S.D.= 0.68, X = 4.06, S.D.= 0.84 และ X = 4.03, S.D.= 0.81 ตามลาดับ)
การวิเคราะห์ตัวแปรที่ทาให้ คะแนนเฉลี่ย ของความคิดเห็น ของกลุ่มตัวอย่างแตกต่างกัน พบว่า
มีจานวน 6 ตัวแปร ได้แก่ ประเภทของหลักสูตรที่เข้าอบรม สถานภาพสมรส ตาแหน่งตาม จ .18 ระดับ
ตาแหน่งทางการบริหาร สถานที่ปฏิบัติงาน และสาหรับตัวแปรที่ไม่ทาให้ คะแนนเฉลี่ย ของความคิดเห็น
ของกลุ่มตั วอย่างแตกต่างกัน พบว่า มีจานวน 9 ตัวแปร ได้แก่ เพศ อายุ อายุราชการ โรคประจาตัว
อาชีพเสริม ภูมิภาคที่ปฏิบัติงาน ระดับการศึกษา รายได้รวมต่อเดือน และความเพียงพอของรายได้

สาหรับข้อเสนอแนะอื่นๆ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เห็นว่า ข้อดีของการอบรมคือ การ ได้เครือข่าย


และเพื่อนทั้งในและนอกหน่วยงานเพิ่มมากขึ้น ส่วนข้อควรปรับปรุง คือ ความพร้อมของวิทยากรพี่เลี้ยง
สถานที่ศึกษาดูงาน และแหล่งฝึก งาน การมีกิจกรรมมากเกินไป การประเมินผลอย่างต่อเนื่องและเป็น
ระบบ ส่วนวิชาในหลักสูตร เห็นว่าควรเพิ่มระยะเวลาวิชาการจัดทาแผนกลยุทธ์ให้มีมากขึ้น และควรเพิ่ม
วิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร และจากการวิเคราะห์ข้อมูลสนทนากลุ่มและเอกสารประเมินการ
อบรม พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นที่สนับสนุน และสอดคล้องกับข้อมูลเชิงปริมาณเช่นกัน
และสุดท้ายกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เห็นว่าหลักสูตรทั้ง 3 หลักสูตรนี้มีความเหมาะสมดีแล้ว

สรุปได้ว่า หลักสูตรนัก บริหารสาธารณสุขในปัจจุบันมีความเหมาะสมและสอดคล้องกับบริบท


การบริหารงานในสถานการณ์จริง ตามนโยบายการปฏิรูประบบราชการที่มีประสิทธิภาพ และเกิด
ประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน
The Appropriateness of Health Administrator Training Curriculums in reality Coherence

Research Title : The Appropriateness of Health Administrator Training Curriculums

In reality Coherence

Researcher : Supon Palaseweenun, Director of Public Health Administrators College,

Praboromarajchanok Institute for Health Workforce Development,

Office of Permanent Sercretary of Ministry of Public Health

Key Word : Appropriateness, Health Administrator Training Curriculums,

Administration Context in reality Coherence

Abstract
The study of appropriateness of health administrator training curriculums in reality
coherence was an evaluation research using both qualitative and quantitative data.
Questionnaires were distributed into three sample groups: 249 health executives, 420
middle-level administrators and 435 first-line administrators. In the meantime, focus group
technique was employed into 40 participants from four regions of Thailand. Descriptive
statistics, One Way ANOVA and LSD were used to analyze and report the data.

The study results demonstrated that more than half of participants were female and
undergraduates. Moreover they rated their structure and management system, the
government reform including the new trend of public administration, current organizational
behavior in the high level. Likewise the curriculums and training processes among the three
levels of health administrative training programs were rated in the high level. There were
significant related among group opinions and curriculum, marital status, administrative
position, and place of work. Most participants agreed that the advantage of training was
networking. Anyway training centers should concern about facilitator readiness, study visit
sites, unnecessary activities and systemic evaluation. English communication and strategic
planning should be elective. In conclusion, current curriculums were appropriate and
coherent with administration context under an effective government reform policy which was
beneficial to citizen’s health.

You might also like