You are on page 1of 39

www.infogination.

com

จัดทำโดย บริษัท อินโฟจิเนชั่น จำกัด


www.infogination.com
บรรณาธิการบริหาร
ตราวุทธิ์ เหลืองสมบูรณ์
กองบรรณาธิการ
อัญชิสา เกียรติอมรพันธ์
editors@infogination.com
ฝ่ายศิลป์
นพวรรณ รุ่งกิตติวงศ์
http://noppawan.multiply.com/

ฝ่ายโฆษณา
advertising@infogination.com

2
www.infogination.com

CONTENT
5 สร้างเว็บในช่วงข้ามคืนด้วย CMS
13 Build your Website Build Youe eBusiness with Joomla

20
iInsight
27 รู้จักกับ WordPress
31 พัฒนาเว็บไซต์ด้วย Drupal
36 LINK

3
www.infogination.com

iSeminar
ͺÃÁÊÑÁÁ¹Ò·ÕèÃǺÃÇÁ¤ÇÒÁÃÙŒáÅÐà·¤¹Ô¤¡Ò÷ӸØáԨ
eBusiness ãËŒ»ÃÐʺ¤ÇÒÁÊÓàÃç¨ áÅÐÂÑè§Â×¹
´ŒÇÂà·¤¹Ô¤¡Ò÷ӸØáԨÍ‹ҧ¶Ù¡µŒÍ§áÅÐâ»Ã‹§ãÊ
â´ÂàÃÒÁØ‹§à¹Œ¹ãËŒ¼ÙŒà¢ŒÒͺÃÁÊÒÁÒöÊÌҧÃÒÂä´Œ
ÊÌҧ¸ØáԨ䴌¨ÃÔ§ áÅзÕèÊÓ¤Ñญ¤×Í¡ÒùÓä»»ÃÐÂØ¡µ
㪌à¾×èÍãËŒà¡Ô´¸ØáԨÍ‹ҧÍ×è¹à¾ÔèÁ¢Öé¹ä´Œ

â´ÂÇÔ·Âҡ÷ÕèÁÒãËŒ¤ÇÒÁÃÙŒã¹áµ‹ÅÐËÅÑ¡Êٵà Ōǹà»ç¹
¼ÙŒàªÕèÂǪҷÕèÁÕ¤ÇÒÁÃÙŒ ¤ÇÒÁÊÒÁÒöáÅÐÁÕ»ÃÐʺ¡Òó
¨Ò¡¡Ò÷ӸØáԨ eBusiness ÃдѺá¹Ç˹ŒÒ¢Í§»ÃÐà·È
â´ÂÁÕËÅÑ¡ÊÙµÃËÅÒ¡ËÅÒ ÍÒ·Ô

Í‹Ò¹ÃÒÂÅÐàÍÕ´à¡ÕèÂǡѺ¤ÍÏÊÊÑÁÁ¹Òµ‹Ò§æ à¾ÔèÁàµÔÁä´Œ·Õè http://www.infogination.com/course

ÊÑÁÁ¹ÒÊØ´ÎÔµ ¡Ñº ÇÔ·ÂÒ¡ÃÊØ´Î͵


¢ÒÂÊÔ¹¤ŒÒ¹Ñºáʹ¼‹Ò¹ aStore ÊÌҧ䴌ÀÒÂã¹ 5 ¹Ò·Õ
¼¨ÀÑÂÊØ´¢Íº¿éÒ µÒÁÅ‹Ò¢ØÁ·ÃѾ Amazon
·Óâ¦É³Ò Google â»ÃâÁ·àÇçºä«µº¹ Google ÀÒÂã¹ 15 ¹Ò·Õ ¡Ñº»ÃÁÒ¨ÒÏ Google AdWords
à¨ÒÐÅÖ¡à·¤¹Ô¤¡ÒûÃѺᵋ§àÇçºä«µãËŒµÔ´Íѹ´Ñº ¨ÑºµÓá˹‹§ Top º¹ Google
Make Money with Hotel Affiliate Program
ÊÌҧ¸ØáԨÍ͹䬏§‹ÒÂæ ´ŒÇ Affiliate Program
ÊÌҧÃÒÂä´Œ§‹ÒÂæ ¡Ñº WordPress

ÃѺ¨Ñ´ÍºÃÁÊÑÁÁ¹ÒãËŒ¡ÑºË¹‹Ç§ҹ·Ñé§ÀÒ¤ÃÑ° àÍ¡ª¹ áÅÐʶҹÈÖ¡ÉÒµ‹Ò§æ ʹ㨵Դµ‹Íä´Œ·Õè


info@infogination.com ËÃ×Í http://infogination.com/contact
www.infogination.com

“CMS” หรือที่นิยมเรียกกันในชื่อเว็บสำเร็จรูป กำลังถูกกล่าวถึงมากขึ้นเรื่อยๆ


อาจจะมาจากมียอดผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ รวมทั้งรูปแบบการบริการ
ข้อมูลข่าวสารบนเว็บไซต์มีความใกล้ชิดกับผู้ใช้งานมากยิ่งขึ้น ทำให้ผู้ใช้งานสามารถ
บริโภคข่าวสารได้อย่างอิสระ ทุกที่ ทุกเวลา มีผู้ใช้งานมากมายต้องการนำเสนอข้อมูล
องค์กร/ข้อมูลส่วนตัว ผ่านทางหน้าเว็บไซต์ ทางเลือกทางหนึ่งคือการมีเว็บไซต์เป็น
ของตนเอง แต่การสร้างเว็บไซต์มิได้ง่ายอย่างที่คิด ต้องใช้เวลาในการฝึกฝน เรียนรู้
วิธีในการสร้างเว็บทั้งการเขียนโปรแกรม การอกแบบหน้าตาเว็บเป็นแรมเดือนจึงจะ

CMS
สร้างขึ้นมาได้ ด้วยข้อจำกัดเหล่านี้จึงมีผู้คิดค้นระบบเว็บสำเร็จรูปหรือ CMS ขึ้นมา
เพื่อช่วยลดทอนเวลาในการสร้าง กล่าวคือระบบ CMS จะช่วยให้ท่านสามารถเนรมิต
เว็บของท่านภายในช่วงข้ามคืนโดยที่ท่านไม่ต้องมีความรู้ในการเขียนโปรแกรมและ
ออกแบบเว็บ บทความตอนนี้ผู้เขียนได้นำข้อมูลต่างๆ ที่รวบรวมจากงานเขียน
ของผู้เขียนเองและจากเว็บไซต์ CMSThailand.com ซึ่งเป็นเว็บต้นขั้วเว็บแรกๆ
ในไทยที่ให้ข้อมูล ความรู้ด้านนี้ มาให้ท่าผู้อ่านได้อ่านกัน
้ด วย
ืคน
ข้ า ม
ช่ ว ง
ว็ บใ น
สร้ า งเ

5
www.infogination.com

“ ?????? ท่านทราบหรือไม่วา่ เว็บดังๆ ในปัจจุบนั อาทิ Hi5.com, Mutiply.com,


Kapook.com, Tarad.com, Mrpalm.com, Thaisharp.net, Manager.co.th,
Beartai.com, Adslthailand.com, Pocketpcthai.com, Webmaster.or.th ฯลฯ
เข้าใช้ระบบ CMS ตัวใดทำกัน

รู้จักระบบ CMS

CMS ย่อมาจาก Content Management ระบบจัดการสมาชิก(Member)
System เป็นระบบที่ใช้บริหารและจัดการเนื้อหา ระบบจัดการบทความและข่าวสาร(News and Article)
เว็บไซต์แบบสำเร็จรูป ผู้ใช้งานไม่จำเป็นต้องมี ระบบสืบค้นข้อมูล (Search) ระบบกระจายข่าว (RSS)
ความรู้ในการเขียนโปรแกรมมากนักก็สามารถ ระบบกระดานข่าว (Forum)
สร้างเว็บไซต์ใช้งานได้ หากจะพูดไปแล้วระบบ CMS ระบบจัดการแบบสอบถาม (Poll) เป็นต้น
คล้ายๆ กับบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปนั่นเอง ภายใน รวมทั้งมีโปรแกรมเสริมความสามารถระบบ (Modules)
ระบบ CMS มีโปรแกรมประยุกต์แบบพร้อมใช้งาน และฉากหลังเว็บ (Themes) ให้ผู้ใช้งานเลือกใช้
อยู่ภายในมากมายอาทิ มากมายหลายรูปแบบ

แสดงการเปรียบเทียบระหว่าง Static Web และ Dynamic Web Site


6
www.infogination.com

แนวทางในการพัฒนาเว็บไซต์
ในปัจจุบันแนวทางที่ใช้ในการพัฒนาเว็บไซต์จะมี
กระแสลือบอกว่านักพัฒนาเว็บจะตกงาน อยู่ 3 แนวทางด้วยกัน คือ
1. การพัฒนาเว็บไซต์โดยใช้ Text Editor เครื่องมือ
ส่วนตัวผู้เขียนเคยอ่านจากบอร์ดหลายๆ เว็บไซต์ ประเภทนี้ผู้สร้างเว็บจะต้องรู้ไวยากรณ์ของภาษา
ที่ทำการเปรียบเทียบระหว่างการสร้างเว็บไซต์ ที่จะนำมาพัฒนา ตัวอย่างเครื่องมือประเภทนี้ เช่น
ธรรมดากับการสร้างเว็บไซต์ที่ทำด้วยระบบ CMS • ระบบ Windows -> Notepad, Notepad ++,
บอกว่าหากใช้ระบบซีเอ็มเอสพวกเหล่าบรรดา EditPlus, NetObject ScriptBuilder, CuteHT-
นักพัฒนาเว็บw: (Web Programmer) ก็จะ ML, HotDog, HomeSite
ตกงานในที่สุดเพราะทุกอย่างสำเร็จรูปไปทั้งหมด • ระบบ Unix, Linux -> Pico, Vi , Emace, ee
ในทัศนะผู้เขียนคิดว่าไม่น่าจะเป็นตามแนวคิดนั้น
ผู้ใช้งานที่เป็นโปรแกรมเมอร์อยู่ก็สามารถใช้ระบบ 2. การพัฒนาเว็บไซต์โดยใช้เครื่องมือช่วยสร้าง
CMS ในการอิมพลีเมนต์งานต่อยอดจากระบบเดิมได้ เว็บแบบสำเร็จรูป (Web Builder) เครื่องมือ
จะเห็นได้จากเว็บไซต์ใหญ่หลายๆ เว็บไซต์ใน ประเภทนี้ผู้สร้างเว็บไม่จำเป็นต้องรู้แท็ก HTML
ปัจจุบันเขาก็ใช้ระบบซีเอ็มเอสกันแต่เป็นระบบ ก็สามารถพัฒนาเว็บเพจ เป็นของตัวเองได้ ด้วย
ซีเอ็มเอสที่ที่มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติม เวลาอันรวดเร็ว ตัวอย่างเครื่องมือประเภทนี้ เช่น
จากระบบเดิม จริงๆ แล้วโปรแกรมเมอร์ก็สามารถ • Macromedia Dreamweaver (นิยมมากสุด
ทำการพัฒนาโปรแกรมเสริมความสามารถซีเอ็มเอส ปัจจุบันอยู่ภายใต้การดูแลของบริษัท Adobe)
(Module) เพื่อจำหน่ายได้เช่นกัน หรือแม้กระทั้งให้ • Microsoft FrontPage
นักออกแบบเว็บทำการออกแบบฉากหลัง (Themes) • Adobe Golive
มาฝากวางขายตามเว็บต่างประเทศที่ทำเทมเพลต • NetObject Fution
เว็บขายซึง่ เราจะเห็นได้อยูท่ ว่ั ไป อีกทัง้ โปรแกรมเมอร์ • Namo Web Editor
สามารถใช้ระบบซีเอ็มเอสเพื่อเป็นบันได (ทางลัด) 3. การพัฒนาเว็บไซต์โดยใช้ระบบ CMS
ในการศึกษา เรียนรู้เพื่อนำมาสร้างระบบ CMS ขึ้นใช้ (Content Management System)
งานเองในองค์กรได้เช่นกัน ช่วยในการสร้างเว็บ ตัวอย่างระบบ CMS เช่น
PHP-Nuke, Mambo, Joomla!, Drupal, XOOPS,
MODX, Plone, WordPress, Typo3, dotNetNuke,
OpenCMS ฯลฯ

7
www.infogination.com

สามารถนำระบบ CMS ใช้งานด้านใดบ้าง ทำไมต้องใช้ระบบ CMS ?


ระบบ CMS สามารถนำมาสร้างเว็บไซต์ได้อย่าง - ประหยัดงบประมาณองค์กร
หลากหลาย พอสรุปได้ดังนี้ - สามารถพัฒนาต่อยอดได้
• ใช้ทำเว็บไซต์องค์กร หรือเว็บไซต์ท่า (Corporate - สามารถทำงานเป็นทีมได้
websites or portals) - ลดระยะเวลาในการพัฒนา
• ใช้ทำเว็บไซต์ซื้อขายออนไลน์ (Online - ใช้งานง่าย
commerce) สะดวก + ง่าย + ฟรี = CMS
• ใช้ทำเว็บไซต์องค์กรธุรกิจขนาดเล็ก (Small ประเภทของซอฟต์แวร์ CMS
business websites)
• ใช้ทำเว็บไซต์ชมรม สมาคม หรือองค์กร ประเภทของซอฟต์แวร์ CMS สามารถแบ่ง
ไม่แสวงหากำไรอื่นๆ (Non-profit and ได้สองประเภทใหญ่ ๆ คือ
organizational websites) ซอฟต์แวร์ซเี อ็มเอสเชิงการค้า (Commercial CMS)
• ใช้ทำเว็บไซต์หน่วยงานรัฐบาล (Government ซอฟต์แวร์ซเี อ็มเอสฟรี (Open Source CMS)
applications) ที่พัฒนาตามแนวทางโอเพ่นซ๊อสมีลิขสิทธิ์แบบ GPL
• ใช้ทำเว็บไซต์ระบบอินทราเน็ตหรือเอ็กซ์ทราเน็ต (General Public License) ผู้ใช้สามารถนำไปติดตั้ง
(Corporate intranets and extranets) ใช้งานได้ฟรีไม่ต้องจ่ายค่าลิขสิทธิ์
• ใช้ทำเว็บไซต์สถาบันการศึกษา (School and
church websites)
• ใช้ทำเว็บไซต์ส่วนตัว หรือเว็บครอบครัว
(Personal or family homepages)
• ใช้ทำเว็บไซต์คอมมูนิตี้ (Community-based
portals)
• ใช้ทำเว็บไซต์นิตยสาร หนังหรือพิมพ์
เพื่อรายงานข่าวสารต่างๆ (Magazines and
newspapers)

8
www.infogination.com

ซอฟต์แวร์ซีเอ็มเอสเชิงการค้า
(Commercial CMS Products)
- IBM Enterprise Content
Management (ECM)
- Microsoft Office SharePoint
- RedDot
- Tridion
- Huland OnBase
- ReadPlanet
- NineNIC
- ฯลฯ

9
www.infogination.com

ซอฟต์แวร์ซีเอ็มเอสฟรี
(Open Source CMS Products)

พัฒนาด้วยภาษา PHP+MySQL/PostgreSQL - PHP-Nuke, PostNuke, eNvolution, MDPro, MyPHP-


Nuke, Xaraya
- Mambo, Joomla!
- Drupal
- XOOPS, RunCMS, ImpressCMS, XOOPS Cube
- Typo3, TYPOlight
- CMS Made Simple
- MODx (AJAX CMS)
- WordPress (เน้นพัฒนาเป็น Weblogs)

พัฒนาด้วยภาษา ASP+MS Access ASPNuke, MaxWebPortal

พัฒนาด้วยภาษา ASP.NET+MS SQL Server DotNetNuke, mojoPortal, Umbraco

พัฒนาด้วยภาษา JAVA+MySQL/MS SQL Server/Oracle OpenCMS, Alfresco, Cofax, JPublish, Jahia, dotCMS,
Cocoon

พัฒนาด้วยภาษา PERL+MySQL/PostgreSQL Slashdot, Scoop, WebMake

พัฒนาด้วยภาษา PYTHON+MySQL/PostgreSQL Plone, ZMS, ZOPE, XIST, Squishdot

พัฒนาด้วยภาษา RUBY+MySQL/PostgreSQL KnowledgeVolution, TGRCMS


อ้างอิงข้อมูลจากเว็บไซต์ http://www.cmsthailand.com
สามารถดูรายละเอียด CMS ตัวที่ได้รับความนิยมได้ที่เว็บ www.packtpub.com
ซึ่งเป็นเว็บที่มีการประกวดระบบ CMS จากค่ายต่างๆ ทั่วโลก Open Source CMS Award

10 เว็บไซต์ www.packtpub.com
www.infogination.com

จะใช้ระบบ CMS ต้องเตรียมความพร้อมอะไรบ้าง


ก่อนอื่นต้องมองที่เป้าหมายหลักก่อนว่าจะใช้ระบบ CMS บริการในลักษณะอินทราเน็ตหรือใช้บริการผ่าน
ระบบอินเทอร์เน็ต หลังจากนั้นจึงเลือกภาษาที่ใช้พัฒนาซีเอ็มเอส โปรแกรมฐานข้อมูล โปรแกรมเว็บเซิร์ฟเวอร์
ระบบปฏิบัติการที่ต้องการใช้งาน

โปรแกรมจำลองเครื่องเป็นเว็บเซิร์ฟเวอร์ Stand Alone Web Server


- Stand Alone Web Server (ต้องติดตั้งตัวแปลภาษา ฐานข้อมูลและโปรแกรมจัดการ
(เหมาะสำหรับติดตั้งใช้งานจริง) ฐานข้อมูลเอง)
- Utility Web Server (เหมาะสำหรับทดสอบจำลองใน - Apache HTTP Server (http://httpd.apache.org)
เครื่องพีซีหรือโน๊ตบุ๊ก) - Apache Tomcat (http://tomcat.apache.org)
- LighHttpd (http://www.lighttpd.net)
- Xitami (http://www.xitami.com)
- IIS (Built-in on Windows)
Utility Web Server (Package Web Server)
(ภายในมี Apache, PHP, MySQL, phpMyAdmin)
- WAMP (http://www.wampserver.com)
- XAMMP (http://www.apachefriends.org)
- AppServ (http://www.appservnetwork.com)
- WMSever (http://www.wmcreation.it)
- easyPHP (http://www.easyphp.org)
โปรแกรมฐานข้อมูลและโปรแกรมจัดการฐานข้อมูล - MySQL (http://www.mysql.com)
- PostgreSQL (http://www.postgresql.org)
- MS SQL Server (http://www.microsoft.com/sqlserver/) $
- phpMyAdmin (www.phpmyadmin.net)
โปรแกรมแปลภาษา - PHP (http://www.php.net)
- JAVA/JSP (http://java.sun.com)
- PERL (http://www.perl.org)
- PYTHON (http://www.python.org)
- ASP.NET (http://www.asp.net)
- RUBY (http://www.ruby-lang.org)
โปรแกรมเอดิเตอร์สำหรับแก้ไขซอสโค้ดบางส่วน - NotePad++ (http://notepad-plus.sourceforge.net)
- EditPlus (http://www.editplus.com) $
โปรแกรมสำหรับแตกไฟล์ตัวติดตั้ง โมดูล ธีม - 7-ZIP (http://www.7-zip.org)
- WinRAR (http://www.win-rar.com) $
- WinZip (http://www.winzip.com) $
โปรแกรมสำหรับใช้อัปโหลดข้อมูลขึ้นเก็บบนเว็บโฮสต์ติ้ง - FileZilla (http://filezilla-project.org)
(กรณีต้องการบริการเว็บลักษณะอินเทอร์เน็ต) - WS_FTP (http://www.ipswitch.com) $
- CuteFTP (http://www.cuteftp.com) $

11
www.infogination.com

คำศัพท์ที่เกี่วข้อง
- CMS (Content Management System) ระบบจัดการเนื้อหาบนเว็บไซต์
- LMS (Learning Management System) ระบบจัดการการเรียนการสอนบนเว็บไซต์
- LCMS (Learning Management System) ระบบจัดการเนื้อหาและการเรียนการสอนบนเว็บไซต์
- KMS (Knowledge Management System) ระบบจัดการองค์ความรู้บนเว็บไซต์
- DMS (Document Management System) ระบบจัดการเอกสารผ่านเว็บไซต์
- CMF (Content Management Framework) ระบบจัดการเนื้อหาบนเว็บไซต์แบบอิสระเพิ่มความสามารถหลายส่วน
เข้ามา อาทิ Workflow, Web Services
- ECM (Enterprise Content Management) ระบบจัดการเนื้อหาบนเว็บไซต์ขั้นสูงสามารถทำงานได้อย่างหลากหลาย

บทสรุป หลังจากพิจารณาเลือกได้ทั้งสามอย่างแล้วจึงเลือก
ในปัจจุบันระบบ CMS หรือระบบจัดการบริหารเนื้อหาบน ระบบซีเอ็มเอสไปใช้งาน โดยที่ระบบซีเอ็มเอสที่ได้รับ
เว็บไซต์มีให้เลือกใช้งานหลายตัวด้วย ในการพิจารณาว่า ความนิยมในปัจจุบันส่วนใหญ่จะถูกพัฒนาด้วยภาษา
จะเลือกใช้ซีเอ็มตัวใดนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัย 3 อย่างคือ PHP ร่วมกับฐานข้อมูล MySQL โปรแกรมจะอยู่ภายใต้
1) ภาษาที่ใช้พัฒนา อาทิ PHP, ASP.NET, JAVA, ลิขสิทธิ์แบบ GPL (General Public License) ผู้ใช้งาน
PERL, PYTHON สามารถดาวน์โหลดมาติดตั้งใช้งานได้ฟรี ตัวอย่างซีเอ็ม
2) ฐานข้อมูลที่ใช้ อาทิ MySQL, PostgreSQL, ที่มีผู้ใช้งานในไทยใช้กันมาก อาทิ เช่น Drupal, Joomla!,
MS Access, MS SQL Sever, Oracle Mambo, XOOPS, PHP-Nuke ซึ่งการที่ผู้อ่านจะเลือกใช้
3) เครื่องเว็บเซิร์ฟเวอร์ที่ต้องการนำระบบไป ระบบซีเอ็มเอสตัวใดนั้นผู้เขียนแนะนำให้ทดลองติดตั้งใช้
ติดตั้ง อาทิ Windows Server, Linux Server, BSD งานดูที่เครื่องตนเองก่อน ว่าความสามารถเพียงพอต่อ
Server, Solaris ความต้องการของหน่วยงานหรือไม่

อาณัติ รัตนถิรกุล
เกี่ยวกับผู้เขียน Project Manager CMSThailand.com
http://www.Arnut.com
Arnut’s Blog (IT Knowledge Sharing)

12
www.infogination.com

Build your
Website Build
You eBusiness
with

สวัสดีเพือ่ นชาว iBusness Magazine เล่มที่ 5 แต่เป็นครัง้ แรกสำหรับผมครับ เล่มทีผ่ า่ นมาได้นำเสนอเกีย่ ว


Joomla! ในการนำไปใช้งานกับ Hotel Affiliate สำหรับเล่มนี้ ผมขอแนะนำให้รู้จักว่า Joomla! คืออะไร
ใช้งานอย่างไร และยกตัวอย่าง การใช้งาน Joomla! กับ Affiliate ประเภทอื่น ๆ บ้างครับ

ก่อนอื่นเรามารู้จักกับ Joomla! (ต้องมี !) หรือ จุมล่า ก่อนนะครับ โดย Joomla! เครื่องมือบริหารจัดการ


ข้อมูลในเว็บไซต์ หรือที่เรียกว่า CMS (Content Management System) ที่เต็มไปด้วยความสามารถที่
ครบถ้วนและฟรีๆๆ ย้ำนะครับ...ว่า ฟรี ทำให้เป็นที่นิยมของ hosting ต่างๆ ไปเป็นส่วนหนึ่ง
ในการบริการของลูกค้าที่ไปใช้งาน hosting ให้สามารถติดตั้ง Joomla! เพียงคลิกไม่กี่ครั้งเอง...
ก็ได้เว็บไซต์สวยๆ ที่มีพลังในการจัดการเว็บไซต์ของเพื่อนๆ แล้ว ซึ่งในปัจจุบัน Joomla! ได้ออกมา
2 versionหลักๆคือ 1.0.x และ 1.5.x ส่วนการเลือกใช้งานใน iBusness Magazine เล่มที่ผ่านมา
ได้แนะนำไปบ้างแล้วครับ ลองเข้าไปดูได้ที่ www.joomla.org แต่ถ้าสนใจใช้งาน Joomla!
เวอร์ชั่นภาษาไทย ลองไปดาวน์โหลดเพิ่มเติมได้ที่ www.joomlacorner.com รวมทั้งพูดคุยเกี่ยวกับ
Joomla!ได้ที่ http://forum.joomla.org ครับ

13
www.infogination.com

ก่อนจะเริ่มใช้งาน มาดูว่าเค้ากล่าวถึง Joomla! สั้นๆ ว่าอย่างไร “Joomla! กล่าวถึงความเป็น


มืออาชีพ เป็นตลาดกลางแห่งธุรกิจโมดูล เป็นความน่าเชื่อถือสำหรับองค์กร” นั้นแสดงว่า
Joomla! มีความเหมาะสมในการนำไปใช้งานสำหรับการสร้างความเชื่อถือกับเว็บไซต์ที่คิดจะ
ใช้งาน Affiliate หรือมองว่าเป็น มืออาชีพในการสร้างบ้านที่ได้รับความไว้วางใจในการสร้าง
บ้านใหญ่ๆ มาหลายที่ ซึ่งผมจะเปรียบเทียบให้เห็นเหมือนกับการสร้างบ้านจริงๆ โดย Joomla!
ก็เหมือนกับเครื่องมือในการสร้าง “บ้านของเรา” ที่มีความสะดวกสบายและรวดเร็วมาก

แล้วเราจะใช้งานได้อย่างไร...ขั้นตอนการติดตั้งใช้งาน Joomla! มีหลายๆ


เว็บไซต์ได้เขียนไว้บ้างหรือ ลองหาตามร้านหนังสือก็มีออกมาหลายเล่มแล้วครับ
แต่ในเบื้องต้นจะแนะนำเพื่อนๆ ที่จะเลือกใช้งาน CMS ตัวนี้ว่าควรจะเลือก พื้นที่บ้าน
ของเรา หรือ hosting ที่มีความสามารถดังนี้
• Apache Web Server + Mod rewrite (เพื่อรองรับ SEF)
• PHP Version 4.x ขึ้นไป
• Mysql เวอร์ชั่น 5 ขึ้นไป
• PhpMyAdmin
• Safe Mode=OFF

หลังจากได้เลือก Hosting แล้วเรามาดูหลักการทำงานของ Joomla! กันเลยนะครับ โดย Joomla!


เองได้แบ่งระบบการทำงานออกเป็น 2 ส่วนคือ

14
www.infogination.com

1. หน้าเว็บไซต์ (Website) :
ส่วนนี้ทำหน้าที่เป็นหน้าเว็บไซต์ของ
เรา โดยจะประกอบไปด้วย Template /
Content / Component / Module ต่าง ๆ
ที่ให้ผู้เยี่ยมชมในเว็บไซต์เห็น

2. หน้าบริหารจัดการเว็บไซต์
(Administrator) : หน้าสำหรับผู้ดูแล
เว็บไซต์จัดการข้อมูลในเว็บไซต์

15
www.infogination.com

ส่วนข้อมูลด้านบน จะเป็นเชิงเทคนิคไปนิด แต่ในส่วนนี้ผมจะมาสรุปให้เห็นภาพกันง่าย ๆ


ขึ้นว่าเราจะต้องเตรียมตัวกันอย่างไร เพื่อจะใช้งาน Joomla! กับเว็บไซต์เราสักที โดยให้
เพื่อน ๆ ลองคิดตามผมง่าย ๆ ว่า หน้าเว็บไซต์ ก็เหมือนกับ บ้านของเรา (Home Page)
และ หน้าบริหารจัดการเว็บไซต์ ก็เป็นเครื่องมือในการจัดการบ้านของเรา ส่วนอื่น ๆ
ก็เป็นส่วนประกอบใน บ้านของเรา โดยสำหรับการสร้างบ้านด้วย Joomla! ให้เริ่มไล่คิด
เป็นลำดับในการวางแผนดังนี้

1. Template : แปลนบ้านเช่น บ้าน 2 ชั้น หรือ บ้าน 3 ชั้น สีอะไร มีโครงสร้างเป็นอย่างไร


มีห้องอะไรบ้าง หรือแต่ละห้องมีสีอะไร มีของอะไรบ้าง (มองในมุมเว็บไซต์ คือ โครงสร้างเว็บไซต์)
2. Component : เครื่องใช้ที่อยู่ในบ้านเราเช่น โต๊ะ ทีวี เครื่องเสียง (มองในมุมเว็บไซต์ คือ
Web board ,Gallery หรือ Affiliate ที่จะใช้งาน)
3. Module : ของตกแต่งบ้าน เช่น กระถางต้นไม้, รีโมตทีวี (มองในมุมเว็บไซต์ คือ User
Online, Top 10 Product)
4. Content : รายละเอียดเกี่ยวกับ บ้านของเรา เช่น ร้านขายกระเป๋า, ขายเสื้อผ้า
หรือ ตัวแทนขายตั๋วเครื่องบิน (มองในมุมเว็บไซต์ คือ ข้อมูลของเว็บไซต์ ที่เราสนใจ)

16
www.infogination.com

หลังจากได้บ้านหลังเล็กๆ แล้วเราก็มาเปิดเป็นตัวแทนขายสินค้า (Affiliate) กันดีกว่า ที่เราเลือกใช้งาน


Joomla! มาในใช้งานในส่วนนี้เนื่องจาก Joomla! มีผู้พัฒนาเครื่องมือ (Component/Module) ของเว็บไซต์
Affiliate มาให้ใช้งานอยู่แล้วอย่างมากมาย เพียงนำมาติดตั้งและเรียกใช้งานได้เลย ยกตัวอย่างเช่น

• Virtual Mart : Component ร้านค้าออนไลน์ ที่ติดตั้งแล้วเว็บไซต์ท่านจะเป็น ร้านขายสินค้า Online


ที่เต็มไปด้วยความสามารถที่มากมาย
• CJ Catalog Builder : Component ที่ใช้งานร่วมกับ Virtual Mart ให้สามารถเชื่อมต่อกับหมวดหมู่
สินค้าของ Commission Junction ได้ง่ายๆ
• Smart Zone Commission Junction Affiliate : Module ที่รองรับการใช้งานร่วมกับ CJ
(Commission Junction Affiliate) เพียง คัดลอก ID ของ CJ มาก็แสดง Ads ได้
• ClickBank Affiliate Advert Module : Module ที่รองรับการใช้งานร่วมกับ ClickBank
• Bidvertiser Module : Module ที่รองรับการใช้งานร่วมกับ Bidvertiser

ถ้าสนใจใช้งาน Component/Module อื่นๆ เพิ่มเติมลองเข้าไปดูที่ http://extensions.joomla.org


ในส่วนของ Ads & Affiliate ดูนะครับ ผมยกตัวอย่างเว็บไซต์ที่ใช้งาน Joomla + Virtural Mart + CJ Catalog
Builder ให้ดูกันนะครับที่ http://demo.joomlashopbuilder.com/

17
www.infogination.com

ข้อดีของ Joomla! ที่ใช้งานร่วมกับ Affiliate

• รูปแบบของ Template และจัดการหน้าเว็บไซต์ให้รองรับกับ Affiliate ได้ง่าย


• ส่วน Component / Module ต่างๆ ที่จัดการเกี่ยวกับ Affiliate ได้ง่าย เพียงแค่เปิด-ปิด
ก็แสดงผลในตำแหน่งต่างๆ ได้
• รองรับการรวมกับระบบร้านค้าออนไลน์ (Virtual Mart) และ CJ ได้อย่างลงตัว
• รองรับผู้ให้บริการ Affiliate ที่เป็นที่นิยมเช่น Amazon.com, CJ, ClickBank
• เพิ่ม HTML เองในส่วนของ Module ได้ง่าย สำหรับเว็บไซต์ที่ไม่มีผู้พัฒนาโมดูล Module ของ
Joomla ออกมารองรับเช่น Hotel2Thailand.com
• ติดตั้งความสามารถ Component อื่นๆ ให้กับเว็บไซต์ได้เช่น Webboard, Gallery
• แทรก HTML เข้าไปใน บทความที่เขียนแนะนำสินค้าได้ง่าย เพื่อให้แสดง Affiliate
ที่ตรงกับบทความที่เขียน
• ทุกส่วนในเว็บไซต์จัดการผ่านทางหน้าผู้ดูแลเว็บไซต์ได้ทั้งหมด โดยไม่จำเป็นต้องติดตั้ง
โปรแกรมเพิ่มเติม

ผมขอสรุปสั้นๆ ว่า Joomla! เป็นเพียงเครื่องมือจัดการเว็บไซต์ตัวหนึ่งที่ช่วยเพิ่มความสะดวก
สบายในการมีเว็บไซต์มากขึ้น นอกจากนั้น Joomla! ยังมีหนังสือการใช้งานที่ออกมาให้อ่านหลายๆ เล่ม
รวมถึงมี กลุ่มผู้ใช้งานที่แลกเปลี่ยนพูดคุยที่ช่วยเหลือกันอยู่มากในเมืองไทยที่ www.mambo.or.th
แต่การที่จะเอาไปใช้งานคงจะอยู่ที่เพื่อนๆ เลือกใช้งานรูปแบบ (Template) ส่วนประกอบต่างๆ
(Component/Module) และ รวมทั้ง สินค้าที่จะนำมาขายในเว็บไซต์ของเรา ให้ลงตัว หวังว่าเพื่อนๆ
คงจะเห็นภาพมากขึ้นว่าประโยชน์ที่เราควรจะใช้งาน Joomla! กับ Affiliate บ้างนะครับ

นายภูมิพิชญ์ อังสุพานิช
เกี่ยวกับผู้เขียน ผู้ให้บริการพัฒนาเว็บไซต์ด้วยระบบ CMS ต่าง ๆ เช่น
Joomla, Mambo, WordPress
เว็บไซต์: www.themexchange.com ,
www.blogintrend.com

18
www.infogination.com

19
www.infogination.com

Insight

สวัสดีค่ะคุณผู้อ่านทุกท่าน สำหรับ iBusiness Magazine ฉบับเดือนกันยายนนี้ขอนำเสนอเนื้อหาที่ค่อนข้างเกี่ยวข้องกับ


เรื่องเทคนิคกันสักเล็กน้อยนะคะ ไหนๆ เราก็ได้เรียนรู้ถึงเทคนิคต่างๆ ในการทำธุรกิจกันไปแล้วถึง 4 เล่มด้วยกันนะค่ะ
สิ่งหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กันกับเรื่องของเทคนิคในการทำธุรกิจ และถ้าเราไม่มีสิ่งนี้ก็อาจเรียกได้ว่าค่อนข้างที่จะลำบากมาก
อยู่เหมือนกันค่ะ นั่นก็คือการทำเว็บไซต์เป็นของตนเอง นั่นเองค่ะ

จริงๆ แล้ว ในการทำธุรกิจออนไลน์ บางครั้งก็ไม่จำเป็นที่เราถึงกับจะต้องสร้างเว็บไซต์เป็นของตนเองหรอกนะคะ เพราะ


มีวิธีอีกหลากหลายวิธีที่เราทำได้ เช่น การสร้างหน้า Landing Page แทนหน้าที่เป็นเว็บไซต์จริงๆ ค่ะ แต่จะดีกว่าไหม
ถ้าหากเรามีเว็บไซต์เป็นของตนเองจริงๆ เพราะทำให้เรามีโอกาสขยับขยายนำเว็บไซต์ของเราไปทำธุรกิจอย่างอื่นได้อีก
มากมาย

ดังนั้นวันนี้ iBusiness Magazine จึงขอแนะนำให้เพื่อนๆรู้จักกับ CMS ที่สามารถใช้งานได้ง่าย สะดวก และที่สำคัญ


ไม่จำเป็นต้องมีความรู้ด้านการเขียนโปรแกรมมาก่อน ก็สามารถสร้างเว็บไซต์เป็นของตนเองได้เช่นกันค่ะ

เรามาทำความรู้จักตั้งแต่ภาคใหญ่แล้วค่อยลงลึกทีละซอฟต์แวร์ดีกว่านะคะ เริ่มตั้งแต่ CMS กันก่อนค่ะ ว่ามันคืออะไร

20
www.infogination.com

CMS ที่เราเรียกกันสั้นๆ นั้นที่จริงแล้วย่อมาจากคำว่า Content Management System ซึ่งหมายถึง


ระบบที่นำมาช่วยในการสร้างและบริการเว็บไซต์สำเร็จรูป ซึ่งผู้ใช้งานไม่จำเป็นต้องมีความรู้ด้าน
การเขียนโปรแกรมมาก่อนเลย ก็สามารถใช้งานได้ ซึ่ง CMS มีโปรแกรมประยุกต์แบบพร้อมใช้งาน
อาทิ
- ระบบจัดการบทความและข่าวสาร (News&Story)
- ระบบจัดการบทวิจารณ์ (Review)
- ระบบจัดการสมาชิก (Member)
- ระบบสืบค้นข้อมูล (Search)
- ระบบจัดการไฟล์ดาวน์โหลด (Download)
- ระบบจัดการฝ่ายโฆษณา (Banner)
- ระบบการวิเคราะห์และตรวจสอบสถิติความนิยมเว็บไซต์ (Tracking)

ปัจจุบัน CMS มีซอฟต์แวร์ที่ใช้สร้าง CMS อีกหลายตัว อาทิ PHP-Nuke, Mambo, eNvolution,


Drupal, Joomla, WordPress เป็นต้น ซึ่งในคอลัมน์จะขอยกมานำเสนอบางซอฟต์แวร์ที่เป็นที่นิยม
นะคะคือ Joomla WordPress และ Drupal ซึ่งจะได้อธิบายต่อไป ทีนี้เรากลับมาที่ CMS กันก่อน

CMS เป็นซอฟต์แวร์ที่หน่วยงานส่วนงานส่วนใหญ่นั้นนิยมนำมาจัดทำเว็บไซต์ เนื่องจาก CMS


สามารถนำมาประยุกต์ใช้งานได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการนำมาประยุกต์ใช้สำหรับทำ
- e-Office เพื่อใช้สำหรับทำธุรกรรมออนไลน์ในหน่วยงานต่างๆ
- e-Commerce ใช้สำหรับสร้างร้านค้าออนไลน์
- e-Learning ใช้สำหรับเป็นสื่อการเรียนการสอน
- e-Auction ใช้สำหรับการประมูลซื้อขายสินค้า

21
www.infogination.com

จะเห็นได้จากความสามารถของ CMS ว่าสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น


ภายในองค์กร การศึกษา และรวมไปถึงการทำธุรกิจ ความสามารถนี้เองที่ได้ทำให้ CMS เป็นที่นิยม
อย่างมาก และอีกหนึ่งขอดีคือการที่ CMS เป็น Open Source คือสามารถนำมาใช้งานได้ฟรี และยัง
สามารถนำมาประยุกต์ดัดแปลงได้อีกด้วยค่ะ นอกจากที่ได้กล่าวไปข้างต้นแล้ว CMS ยังมีข้อดี
อีกหลายประการ อาทิ
- ไม่จำเป็นต้องมีความรู้ด้านการเขียนโปรแกรมมาก่อนก็สามารถใช้งานได้
- ประหยัดงบประมาณในองค์กร
- สามารถพัฒนาต่อยอดได้
- สามารถทำงานเป็นทีมได้
- ลดระยะเวลาในการพัฒนา
- และข้อสุดท้ายคือ ใช้งานง่าย

เป็นอย่างไรบ้างคะกับข้อมูลเกี่ยวกับ CMS เบื้องต้น เอาเป็นว่าพอหอมปากหอมคอนะคะ ถ้าหาก


ว่าต้องการทราบข้อมูลรายละเอียดที่ลึกมากกว่านี้ คงต้องติดตามอ่านกันที่บทความ ซึ่งเขียนโดย
อ.อาณัติ นะคะ

เมือ่ เราทำความรูจ้ กั กับ CMS โดยรวมๆ แล้ว ทีนเ้ี รามาทำความรูจ้ กั


กับซอฟต์แวร์อื่นๆ ที่อยู่ในกลุ่มของ CMS เพิ่มเติมกันต่อดีกว่าค่ะ

1. Joomla
เริ่มต้นกันที่ Joomla กันก่อนเลยนะคะ Joomla เป็นซอฟต์แวร์
ที่มีผู้นิยมนำมาใช้งานมากที่สุดเป็นอันดับหนึ่ง เป็นระบบจัดการ
เนื้อหาเว็บไซต์แบบ Open Source (โปรแกรมที่พัฒนาขึ้นมา
แล้วสามารถดาวน์โหลดไปใช้งานต่อไปได้ฟรี) ภาษาที่ใช้คือ
PHP และใช้ฐานข้อมูล My SQL ค่ะ

ที่กล่าวไปข้างต้นก็เป็นเพียงเนื้อหาเบื้องต้นเท่านั้นนะคะ
ทีนี้เรามีประวัติความเป็นมาของ Joomla อย่างคร่าวๆ
มาเล่าให้ฟังด้วยค่ะ Joomla ได้เปิดตัวให้ดาวน์โหลดใช้งาน
เป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2005 (ก็เพิ่งจะครบรอบ 3 ปี
เมื่อไม่กี่วันนี้เองนะคะ) ซึ่งทีมพัฒนา Joomla ได้แยกตัวออกมา
จากทีมพัฒนา Mambo ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ CMS อีกตัวหนึ่งที่ได้รับ
ความนิยมเป็นอันดับ 2 รองจาก Joomla เนื่องจากมีความคิดเห็น
ไม่ตรงกับบริษัท Micro ในประเทศออสเตรเลีย ซึ่งเป็น

22
www.infogination.com

ผู้สนับสนุนหลักและเจ้าของเครื่องหมายการค้า Mambo
เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2005 ทาง Joomla ได้สร้างเว็บไซต์
ขึ้นเพื่อเป็นศูนย์กลางในการดูแล Joomla ค่ะ นี่เป็นเพียง
เรื่องราวของ Joomla เพียงบางส่วนเท่านั้นนะคะ
ทีนี้เรามาดูกันว่า Joomla นั้นคืออะไร สามารถนำไป
ประยุกต์ใช้งานได้อย่างไรบ้าง และมีข้อดีอย่างไรบ้างกันดี เมื่อเราได้ทราบถึงความสามารถในการนำไปประยุกต์
กว่านะคะ ใช้งานของ Joomla กันไปแล้ว ทีนี้เรามาสรุปข้อดีของ
Joomla กันบ้างค่ะ ว่ามีอะไรบ้าง
Joomla เป็นซอฟต์แวร์ที่มีประสิทธิภาพ สวยงามเหมาะ -สำหรับข้อดีข้อแรกเลยก็คือ สามารถดาวน์โหลด
สำหรับใช้สร้างเว็บไซต์ส่วนตัว หรือจะนำไปสร้างเว็บไซต์ มาใช้งานได้ฟรี เนื่องจากเป็นซอฟต์แวร์แบบ Open
เพื่อทำธุรกิจ หรือเป็นเว็บไซต์สำหรับองค์กรก็ได้เช่นกันค่ะ Source นั่นเองค่ะ
ซึ่งเหมาะอย่างยิ่งกับการใช้งานในองค์กรระดับใหญ่ เช่น -สามารถติดตัง้ และใช้งานได้งา่ ย เพือ่ นๆ ไม่จำเป็น
นำไปใช้ทำ Intranet สามารถเลือกนำไปใช้งานได้ ต้องมีความรู้ด้านการเขียนโปรแกรมมาก่อนเลยก็ได้ค่ะ
หลากหลายอีกด้วย -สามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบของเว็บไซต์ได้อย่าง
รวดเร็วด้วย Templates ต่างๆ
ความสามารถของ Joomla ยังมีอีกมากมายนะคะ -สามารถเพิ่มเติมหมวดหมู่อื่นๆ ให้เว็บไซต์มี
เรามาดูกันว่า Joomla สามารถนำไปประยุกต์ใช้ทำอะไร ประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น เช่น Poll, Forum เป็นต้น
ได้บ้างเรามาดูกันค่ะ -มีความปลอดภัยสูง
-สามารถใช้สร้างเว็บไซต์ส่วนตัวหรือบล็อก -ช่วยบริหารจัดการข้อมูลได้เป็นอย่างดี เช่น
-ใช้สร้างเว็บไซต์องค์กร หน่วยงานรัฐบาล ข้อมูลจะถูกจัดเก็บอย่างเป็นระบบทำให้ง่ายต่อการค้นหา
บริษัทเอกชนต่างๆ แก้ไข
-ใช้สร้างเว็บไซต์อินทราเน็ตสำหรับใช้งาน -และยังมีข้อดีอื่นๆ อีกนะคะ
ภายในองค์กร
-ใช้สร้างเว็บไซต์เพื่อการค้า หรือ e-Commerce นี่ก็เป็นรายละเอียดเกี่ยวกับ Joomla ค่ะ ทีนี้เรามาเอาใจ
-เว็บไซต์พอร์ทัล (portal) เพื่อนๆ ที่สนใจในเรื่องการสร้างบล็อกเป็นพิเศษบ้างดีกว่า
-เว็บไซต์ชุมชน ค่ะ หลังจากที่ได้รู้จักซอฟแวร์สร้างเว็บไซต์กันไปแล้ว
-เว็บแอปพลิเคชันตั้งแต่ขนาดเล็กไปจนถึง ซอฟต์แวร์อีกอันหนึ่งที่ได้รับความนิยมจากบล็อกเกอร์
ขนาดใหญ่ เช่น ระบบบริหารจัดการเอกสาร แบบฟอร์ม ทั่วโลกมากที่สุดนั้นเห็นจะหนีไม่พ้น WordPress อย่าง
ต่างๆ ฟอรัม (Forum) แชทรูม (Chat Room) ระบบแจ้ง แน่นอน เพื่อนๆ บางคนคงเคยได้ยินมาบ้างแล้วนะคะ
ประกาศข่าวสาร เป็นต้น ทีนี้เรามาทำความรู้จักกับ WordPress กันดีกว่าค่ะ

23
www.infogination.com

2. WordPress
WordPress เป็น CMS ประเภท Blog พัฒนาขึ้นโดยภาษา PHP
และทำงานบนฐานข้อมูล MySQL ซึ่งสามารถนำไปใช้งานได้ฟรี
และเนื่องจากเป็น Open Source จึงสามารถนำไปประยุกต์
ดัดแปลง เพิ่มเติมได้ตามใจชอบค่ะ

สำหรับ WordPress นี้ได้เริ่มพัฒนาโดย แมตต์ มูลเลนแวก


หลังจากซอฟต์แวร์สร้างบล็อก Movable Type ของบริษัท
Six Apart ได้เปลี่ยนแปลงการคิดค่าใช้งานใน พ.ศ. 2547
ผู้ใช้เดิมของ Movable Type จำนวนมากหันมาใช้ WordPress
แทน เนื่องจากมีรูปแบบการใช้งานคล้ายคลึงกัน

นอกจากนี้ WordPress ยังได้แตกหน่อออกมาเป็น


WordPress MU เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถนำไปใช้สร้างเว็บ
บล็อก เพื่อให้ผู้อื่นใช้งานได้อีกด้วย ซึ่งระบบของ WordPress
MU นั้นได้มีการปรับปรุงให้รองรับกับผู้ใช้งานจำนวนมากขึ้น สำหรับเหตุผลที่ทำให้มีคนนิยมใช้งาน WordPress
กว่า WordPress ในรุ่นปรกติ ความสามารถของ WordPress เป็นจำนวนมากก็เพราะมีข้อดีอยู่หลายข้อด้วยกันค่ะ
นั้นก็มีมากมายค่ะ สามารถนำไปใช้งานได้ดังนี้ค่ะ ซึ่งจะได้นำเสนอให้ทราบดังนี้ค่ะ

-ใช้ WordPress ทำเว็บไซต์แสดงผลงานของตนเอง -ดาวน์โหลดมาใช้งานได้ฟรี


-ใช้ WordPress ทำเว็บไซต์ E-Commerce -ระบบมีความยืดหยุ่นในการใช้งาน
-ใช้ WordPress สร้างแกลลอรี่ (Gallery) -มี Plug-In, Theme ฯลฯ ให้ดาวน์โหลด
-ใช้ WordPress ทำเว็บไซต์เสนอข่าวสาร / มากมาย ซึ่งสามารถใช้งานร่วมกับ WordPress
นิตยสารออนไลน์ ได้เป็นจำนวนมากค่ะ
-ใช้ WordPress ทำเว็บไซต์รวบรวมบทความ
-ใช้ WordPress ทำเว็บไซต์ถ่ายทอดรายการทีวีผ่าน
อินเทอร์เน็ต

24
www.infogination.com

3. Drupal
และสำหรับซอฟต์แวร์สุดท้ายที่ทาง iBusiness Magazine
นำมาเสนอในฉบับนี้ก็คือ Drupal (ดรูพอล) ค่ะ เรามาดูประวัติ
และรายละเอียดเบื้องต้นของ Drupal กันก่อนนะคะ

Drupal เป็นอีกหนึ่งซอฟต์แวร์ที่เป็น Open Source


ได้เริ่มพัฒนาขึ้นมาโดย Dries Buytaert ในปี 2543
ใช้ภาษาในการเขียนคือ PHP สำหรับชื่อของ Drupal
นี้มาจากภาษาดัตช์ ซึ่งมีความหมายว่า หยดน้ำ
ดังที่เราได้เห็นจากโลโก้ของ Drupal นั่นเองค่ะ

Drupal ถือว่าเป็นโปรแกรมที่มีการใช้เทคนิคในการเขียน
โปรแกรมที่ดีมาก โค้ดของโปรแกรมนั้นสั้นและกระชับ
แทบไม่มีการเขียนด้วยภาษา HTML ร่วมกับ PHP เลย
ทีนี้เรามาดูข้อดีของ Drupal กันบ้างดีกว่าค่ะ ว่ามีข้อดีอะไรบ้าง พัฒนาในเรื่องของความปลอดภัยอยู่อย่างสม่ำเสมอ
ทั้งนี้ Drupal เองมีชื่อเสียงด้านความปลอดภัยมายาว
ข้อดีของ Drupal นานอีกด้วย ดังนั้นมั่นใจในเรื่องของความปลอดภัย
- ติดตั้งง่าย ไม่จำเป็นต้องมีความรู้ด้านเทคนิคมากก็ ได้อย่างแน่นอนค่ะ
สามารถติดตั้งได้ค่ะ - เพิ่มเติมความสามารถได้ไม่จำกัด มีโมดูลที่
- URL อ่านง่าย นับว่าเป็นข้อดีอย่างยิ่งสำหรับเว็บไซต์ที่ สามารถนำมาใช้เพิ่มเติมได้อีกมาก อาทิ
• Digg this ส่งเนื้อหาบนเว็บไซต์ของเราไปยัง
ต้องการทำ Serach Engine Optimization (SEO)
- เหมาะสำหรับสร้างบล็อกและเว็บบอร์ด ซึ่งนับเป็น Digg และ Social Bookmark อื่นๆ
• Google AdSense การหารายได้
เป้าหมายหลักของ Drupal เลยก็ว่าได้ เพราะ Drupal ตั้งใจ
ออกแบบมาเพื่อเป็นเว็บชุมชนขนาดใหญ่ ดังนั้นจึงมีส่วนของ ผ่านโฆษณาของ Google AdSense
• Google Maps เชื่อมข้อมูลกับเว็บแผนที่ของ
Script ที่สามารถ Support ในส่วนของบล็อกและเว็บบอร์ดได้
อย่างดี Google อย่าง Google Maps
• Ubercart ระบบอีคอมเมิร์ซครบวงจร
- มี RSS Feed ในตัว Drupal จะสร้าง RSS Feed
• XML Sitemap ส่งข้อมูลไปยัง Serach Engine
ให้โดยอัตโนมัติ นับเป็นข้อดีสำหรับผู้ที่เป็นสมาชิกเว็บไซต์ จะ
ง่ายและสะดวกในการติดตามเนื้อหาของเว็บไซต์เรา ทำให้เรา อย่างอัตโนมัติซึ่งมีผลต่อการทำ SEO
สามารถรักษาฐานลูกค้าของเราไว้ได้ด้วยเช่นกัน
- มีความปลอดภัยสูง ทางผู้พัฒนา Drupal ได้มีการ

25
www.infogination.com

เป็นอย่างไรกันบ้างคะ กับเนื้อหา พร้อมทั้งเกร็ดเล็ก เกร็ดน้อยที่เกี่ยวกับซอฟต์แวร์ที่อยู่ในส่วนของ CMS หลักๆ


ที่มีผู้ใช้งานมากที่สุดที่ทาง iBusiness Magazine นำมาให้ได้อ่านกันในฉบับนี้ ทางทีมงานก็หวังเป็นอย่างยิ่งนะคะ
ว่า น่าจะมอบสาระ ความรู้ และประโยชน์ให้กับผู้อ่านไม่มากก็น้อย หากผู้อ่านท่านใด ต้องการติชม แนะนำ หรือ
ร่วมแสดงความคิดเห็น สามารถบอกกล่าวกันมาได้ที่ editors@infogination.com หรือท่านใดต้องการแนะนำเพื่อให้
iBusiness Magazine ได้มีการปรับปรุงไปในทางใด ทางทีมงานก็ยินดีรับฟังนะคะ ขอให้ผู้อ่านและทีมงานได้ร่วมกัน
เป็นส่วนหนึ่งในการมอบความรู้ และพัฒนาวงการ eBusiness ในบ้านเราให้มีก้าวหน้าร่วมกันนะคะ

และสำหรับ iBusiness Magazine ในฉบับหน้านั้นจะมีเรื่องอะไรนำมาแนะนำ คงต้องติดตามอ่านกันนะคะ อ้อ! และ


หากผู้อ่านท่านใดที่ต้องการทราบเว็บไซต์ที่ให้ข้อมูลเพิ่มเติม เกี่ยวกับ CMS ทั้งหมด ทางทีมงานได้จัดทำคอลัมน์
แนะนำเว็บไซต์ที่ให้ความรู้ในซอฟต์แวร์ในส่วนของ CMS ไว้ที่อีกคอลัมน์แล้วนะคะ สามารถติดตามอ่านกันได้ค่ะ ^ ^

26
www.infogination.com

รู้จักกับ WordPress

สวัสดีค่ะ สำหรับผู้ที่กำลังเริ่มต้นทำธุรกิจออนไลน์ที่อยากจะมี Blog เป็นของตัวเอง สำหรับวันนี้นะคะ


อ.อ้อ ก็จะมาแนะนำ Blogging Software แบบเดียวกับที่ ilearn.in.th ใช้อยู่นะคะ นั่นคือโปรแกรม
WordPress ซึ่งเป็น Open Source ให้เราสามารถดาวน์โหลดมาใช้กันได้ฟรี ไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ
ทั้งสิ้นค่ะ

รู้จักกับ WordPress
WordPress เป็น Blogging Software ที่ได้รับความนิยมอย่างมาก ซึ่งมีทีม Developer ผู้เชี่ยวชาญ
พัฒนาขึ้นมาโดยใช้ภาษา PHP และใช้ระบบฐานข้อมูล MySQL เป็นตัวจัดเก็บข้อมูลรวมทั้งยังมี Plug-in
เสริมประสิทธิภาพการทำงานรวมทั้ง Theme ที่สวยงาม อีกทั้งยังมีความสามารถในการทำ SEO (SEO
Friendly) เป็นเลิศอีกด้วย

27
www.infogination.com

WordPress เป็นโปรแกรมสร้างบล็อกที่พัฒนามาให้ใช้งาน แต่ก็มีข้อเสียในการถูกจำกัดสิทธิ์การปรับแต่ง Blog


ง่าย ติดตั้งสะดวก ไม่ว่าจะเป็นขั้นตอนของการติดตั้ง คือไม่สามารถปรับแต่ง CSS เพื่อแก้ไขหรือปรับเปลี่ยน
จนกระทั่งการอัพเดทบล็อก รวมไปถึงการติดตั้งลูกเล่น layout ให้เป็นแบบที่เราต้องการได้ WordPress.com
(Plug-in) ต่างๆ มากมาย เตรียมพร้อมก่อนออกสตาร์ท จึงเหมาะสำหรับมือใหม่หัดขับที่อยากทดลองเขียน
สำหรับใครที่ต้องการใช้งาน Wordpress อันดับแรกจำเป็น บล็อกอย่างง่ายๆ เพราะสามารถใช้ได้ทันที โดยไม่
ที่จะต้องมี จำเป็นต้องมีพื้นฐานการทำเว็บไซต์เป็นแต่อย่างใด
1. มี Domain Name เป็นของตัวเอง (ถ้าเป็น .com และไม่ต้องรู้เทคนิคอะไรมากมาย ก็สามารถมีบล็อก
ได้ก็จะดีมากๆ ค่ะ เพราะจำชื่อโดเมนง่าย หรือจะใช้ ส่วนตัวเผยแพร่สู่สายตาชาวโลกได้ค่ะ
ของไทยก็ได้ เช่น ilearn.in.th เป็นต้น) 2. WordPress.org เป็น Blogging Software ที่ให้เรา
2. มีพื้นที่ Hosting หรือ Webserver ที่มีคุณสมบัติ Download มาติดตั้งเองใน Webhostingของเรา คุณ
รองรับภาษา PHP และฐานข้อมูล MySQL ได้ สามารถดาวน์โหลดโปรแกรมนี้ได้ที่ wordpress.org ค่ะ
การติดตั้งและการใช้งาน WordPress ซึ่งเหมาะสำหรับผู้ที่มีความรู้พื้นฐานในการทำเว็บไซต์
ซึ่งวิธีการติดตั้งก็แสนง่าย และสามารถปรับแต่ง
WordPress มีบริการต่างๆ ดังนี้ค่ะ WordPress ได้ตามสไตล์ของเราเอง โดยสามารถเปลี่ยน
1. WordPress.com เป็นบริการให้พื้นที่ Blog ฟรี ธีม (Theme) สวยๆ ได้เอง และเพิ่มประสิทธิภาพการ
โดยที่เราไม่ต้องติดตั้งโปรแกรมเอง แค่สมัครลงทะเบียน ทำงานด้วยลูกเล่น Plug-in ต่างๆ มากมายได้ตามต้องการ
ก็สามารถใช้งานได้ทันที โดยมี url ที่อยู่ในรูปแบบที่เรียกว่า ข้อจำกัดจะขึ้นอยู่กับจำนวนพื้นที่ของ Webhosting ที่เรา
เป็น Subdomain เช่น ilearn.wordpress.comข้อดีของการใช้ ใช้บริการกับทางผู้ให้บริการ Webhosting จึงเหมาะ
บริการจาก WordPress.com คือ ไม่เสียค่าใช้จ่ายในการเช่า สำหรับผู้ที่ชอบปรับแต่งบล็อก และเพิ่มเติมลูกเล่นต่างๆ
พื้นที่ hosting เพราะทาง WordPress.com ให้พื้นที่ฟรี 3 Gb ได้ตลอดเวลา

28
www.infogination.com

ในการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของ WordPress ทีท่ ำการโพส ซึง่ จะดึงบทความอืน่ ๆ ทีเ่ กีย่ วข้องกับบทความ


ให้ดูน่าสนใจและทำงานได้อย่างรวดเร็วทันอกทันใจทั้ง นั้น ๆ มีเรื่องอะไรบ้าง หลักการทำงานของ Plug-in ตัวนี้
ผู้เยี่ยมชมและผู้แลบล็อก ซึ่ง Plug-in ของ WordPress จะยึดจาก tag หรือ category เดียวกัน แล้วนำมาจัดเรียง
ก็มีเยอะแยะมากมาย ซึ่งก็ถูกแบ่งออกตามหมวดหมู่การใช้ ให้ได้บทความที่เกี่ยวข้องกัน เพื่อให้ผู้อ่านสามารถติดตาม
งาน อ.อ้อก็ขอแนะนำ Plug-in เด็ดๆ ที่นิยมใช้สำหรับ เนื้อหาหรือบทความที่เกี่ยวข้องกันได้
WordPress ซึ่งมีดังนี้ค่ะ 4. All in One Adsense and YPN
1. Akismet เป็น Plug-in ที่ใช้สำหรับติดตั้งโฆษณา Google Adsense
เป็น Plug-in ที่ทำหน้าที่เป็นตัวกรอง spam comment ที่ เข้าไปในตัวบทความของเรา โดยทำการตั้งค่า และกำหนด
ไม่พึงประสงค์หรือชอบมารวบกวนบล็อกของเราอยู่บ่อย ๆ pub-id ของเรา จากนั้นกำหนดหน้า setting โดยเลือก
โดย spam comment เหล่านี้จะส่งเข้ามาตาม comment รูปแบบขนาดของ โฆษณาได้เลยว่า ต้องการขนาดเท่าไหร่
ต่างๆ ของบล็อกที่เราทำการโพสบทความใหม่ๆ ซึ่ง plug-in และแสดงโฆษณาในตำแหน่งไหนบ้าง เช่น บนซ้าย
ตัวนี้จะถูกติดตั้งมาพร้อมกับตัวโปรแกรม WordPress เลย ตรงกลาง ล่างขวา เป็นต้น
เพียงแค่เราเข้าไป Activate Plug-in และใส่หมายเลข API 5. WP-Amazon item
ก็สามารถช่วยให้เรากรองเจ้า spam ตัวร้ายได้ดีทีเดียวค่ะ เป็น Plug-in ที่ช่วยในการสร้าง Landing Page สำหรับ
2. Google XML Sitemaps สินค้า Amazon อย่างง่ายได้ โดยทำการตั้งค่า และกำหนด
เป็น Plug-in ที่ทำหน้าที่ช่วยสร้างไฟล์ sitemap.xml จากนั้น Amazon Associate ID และกำหนดค่า Setting เพื่อเลือก
เราจึงนำไป submit ที่ Google เพื่อให้ทาง Google รู้ว่า Blog แสดงรายละเอียดต่างๆ บนหน้า Landing Page โดยวิธีการ
ของเรามีการอัพเดทแล้ว และทาง Google ก็จะส่ง Spider โพสบทความ ให้กำหนดชื่อสินค้า จากนั้นก็ใส่หมายเลข
Bot มาเก็บ url ของเราไปบรรจุเก็บไว้ที่ Search Engine หรือ asin ของสินค้าที่เราต้องการลงไป เราก็จะมีบล็อกรีวิว
เรียกว่า ถูก Index นั่นเอง สินค้าแบบมืออาชีพได้อย่างไม่ยากเย็น แถมยังได้ค่า
3. WordPress Related Post คอมมิชชันจากอเมซอนอีกด้วย @^_^@
เป็น Plug-in ที่ทำหน้าที่ช่วยให้มีคนอ่าน Blog ของเราได้
มากขึ้น โดย plug-in ตัวนี้ จะอยู่ที่ท้ายบทความในแต่ละวัน

ตัวอย่างบล็อกรีวิวสินค้า
29
www.infogination.com

สำหรับข้อดีในการนำ WordPress มาประยุกต์


ใช้ร่วมกับการทำ Affiliate ก็คือ
-สามารถนำมาประยุกต์ทำ Blog Review
สินค้าได้
-สามารถทำ SEO ให้ติดบน Search
Engine ได้ง่าย
-สามารถทำ Community
เป็นการทดสอบผลิตภัณฑ์ หรือไอเดียใหม่
-ติดตั้งใช้งานง่าย มีลูกเล่นเสริม
ประสิทธิภาพมากมาย สามารถดาวน์โหลด
ธีมได้ฟรี

คุณสามารถติดตามบทความและศึกษาข้อมูล
เพิ่มเติมได้ที่ www.ilearn.in.th ค่ะ

พิมพ์พร นรินทร์โท
เกี่ยวกับผู้เขียน ผู้จัดการฝ่ายอบรมสัมมนา บริษัท อินโฟจิเนชั่นจำกัด
www.ilearn.in.th

30
www.infogination.com

พัฒนาเว็บไซต์ด้วย Drupal

จะให้พูดถึง CMS อะไรที่ ทำอะไรได้มากมาย ทรงพลัง รวดเร็ว พัฒนาต่อยอดได้ และเหมาะแก่การ


ขยับขยายเว็บในอนาคตนั้น สำหรับผมแล้ว คงต้องให้ Drupal ตั้งแต่ได้สัมผัสกับ Drupal ครั้งแรก เมื่อ 5 ปีก่อน
จะเห็นพัฒนาการและแนวทางของ Drupal ที่พัฒนามาถูกทาง สร้างความแข็งแกร่งตอกย้ำลงไป ทำให้ Drupal
มียอดสูงขึ้นกว่าปีก่อนถึง 125 เปอร์เซ็นต์ ในปีล่าสุดมียอดดาวน์โหลดมากกว่า 1ล้าน4แสนครั้ง ส่งผลให้เกิดการ
พัฒนาทัง้ ตัวสังคมผูพ้ ฒ
ั นา และสังคมผูใ้ ช้ทแ่ี ข่งแกร่งมากขึน้ ไปกว่าเดิม ซึ่งนี่เป็นจุดเด่นซึ่งสำคัญมากสำหรับ Drupal

Drupal (ดรู-ปอล) เป็นซอฟท์แวร์สำหรับการบริหารจัดการเนื้อหาบนเว็บไซต์ หรือ CMS (Content


Management System) ซึ่งพัฒนาโดยใช้ภาษา PHP ได้ก่อตั้งขึ้นในปี 2001 โดย Dries Buytaert ส่วนชื่อของ
ซอฟท์แวร์ตัวนี้ก็มาจากคำว่า “druppel”ในภาษาดัชท์ที่แปลว่า การหยด จึงเป็นที่มาของโลโก้รูปหยดน้ำของ
Drupal ในปัจจุบันนั่นเอง ด้วยรางวัล CMS Awards’07 ในสาขา Overall Open source CMS พร้อมกับคะแนนโหวต
ถึง 18,000 คะแนนเลยทีเดียว การที่เป็น open-source ที่ทำให้นักพัฒนา หรือผู้สนใจสามารถ
พัฒนาต่อยอดเพิม่ เติมได้ โดยมีสงั คมทีแ่ ข็งแกร่งช่วยสนับสนุนอยูม่ ากถึง 350,000 คน จึงไม่ตอ้ งเป็นห่วงเรือ่ งการ
support มีบทความให้ความเพิ่มเติมมากมาย ที่สำคัญมีโมดูลเสริม และธีม ที่ช่วยให้ Drupal ไม่เป็น CMS
แบบธรรมดาๆ มากมายถึง 2,400 โมดูล นี่ละทำให้ Drupal เป็นที่สนใจและกำลังมาแรงอยู่ในขณะนี้

31
www.infogination.com

มุมมองการจัดการเนื้อหาบนเว็บไซต์นั้น Drupal ได้มองทุกอย่างเป็น Node ทั้งหมด และแบ่งเนื้อหาแต่ละ


ประเภทเป็นแต่ละ Content Type ลองคิดภาพตามว่า จะเป็นกระทู้, blog, กระทู้, อัพเดทข่าวสาร, อัลบั้มรูป
หรือระบบโพล ทั้งหมดนี้จะใช้ Field มาตรฐานเหมือนกันตัวอย่างเช่นคือ ชื่อเรื่อง,วันที่สร้าง,ตัวคำอธิบาย
เนื้อหา เป็นต้น จึงจัดเก็บข้อมูลหลักๆ ลงในฐานข้อมูล Table เดียวกันทั้งหมด แล้วจึงแยกการเก็บข้อมูล
เฉพาะของประเภทเนื้อหานั้นๆ ในอีก Table หนึ่ง ด้วยแนวคิดแบบนี้จึงทำให้ Drupal สามารถทำอะไรที่
หลากหลายได้มาก เพราะ ถ้าเกิดเราพัฒนาอะไรสักโมดูลหนึ่ง อย่างเช่น ระบบ comment เราก็สามารถใช้ได้
กับทุกประเภทเนื้อหาในเว็บเลย

มาดูในส่วนสำคัญของ Drupal กันบ้าง Drupal นั้นมาพร้อมกับโมดูลมาตรฐานกว่า 29โมดูล


เรามาดูโมดูลที่สำคัญๆ กันดีกว่าครับ

1.ระบบแบ่งหมวดหมู่ ซึ่งรอบรับการแบ่งเนื้อหาบนเว็บได้ครบถ้วย ทั้งแบบหมวดหมู่เดี่ยว หมวดหมู่เชิงลึก


(Hierarchy) และ หมวดหมู่แบบแท็ก (Taxonomy) - ด้วยการรองรับหมวดหมู่ที่หลากหลายตอบสนอง
การแบ่งเนื้อหาได้เป็นอย่างดี

2. ระบบหนังสือ – ในหลายๆ ครั้งที่ต้องการเขียนเนื้อหาในลักษณะที่เป็นบทๆ หรือแต่ละบทมีเนื้อหาย่อย


ลงไปได้อีก เช่นถ้าเราต้องการชุดบทความสักชุดหนึ่ง โดยเราจะมี บทนำ, บทที่ 1, บทที่ 2, บทที่ 3
และเราสามารถเพิ่มเนื้อหาย่อยๆ ลงไปในแต่ละบทได้อีกด้วย Drupal จะช่วยเราจัดเรียงเนื้อหาเป็นชุด
พร้อมทำสารบัญให้เราอีกด้วย

3. ระบบ Blog - สามารถเปิดระบบ Blog ให้สมาชิกเข้ามาอัพเดท รวบรวมเป็นหน้าเนื้อหาทั้งหมดของผู้ใช้คนนั้น


ได้ และยังเปิดระบบ XML-RPC สามารถให้เราอัพเดทเนื้อหาจากโปรแกมภายนอกได้ ไม่ว่าจะเป็น Microsoft
World, Windows Live Writer หรือเว็บไซต์อื่นๆ ให้เข้ามาอัพเดทเนื้อหาของเราได้ทันที เพียงเราระบุรหัสผ่านลง
ไปเท่านั้น

4. ระบบ Path - ในทุกเนื้อหา หรือโมดูลที่ได้เปิดใช้นั้น จะสร้างชื่อ URL มาที่หลากหลาย บางครั้งซับซ้อน


ไม่สอดคล้องกับความหมาย ไม่สนับสนุน SEO เราสามารถตั้ง URL ใหม่ให้สั้น หรือง่ายขึ้นได้โดยผ่านโมดูลนี้
เช่น about us อาจจะอยู่ที่ http://drupal.org/node/2 สามารถตั้งให้เป็น http://drupal.org/about-us เป็นต้น

32
www.infogination.com

5. ระบบภาษา (Locale) - สามารถปรับเปลี่ยนภาษาของเมนู ปุ่มการใช้งาน หรือข้อความหลักต่างๆของ Drupal


ได้ พร้อมมีชุดภาษาให้เลือกมากมายกว่า 48 ภาษา

6. ระบบ Watchdog - สำหรับกฎหมาย พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ที่ระบุว่าต้องให้ทุกเว็บไซต์เก็บ Log


การอัพเดทข้อมูล และการเข้าถึงต่างๆ Drupal สามารถตั้งให้เลือกเก็บกี่วัน และดูหน้าที่มี Error ต่างๆ
ได้เป็นอย่างดี

7. ระบบ Aggregator - อยากไปให้มีเนื้อหาจาก Feed ต่างๆ อยู่ในเว็บไซต์ของเรา ต้องโมดูลตัวนี้เลย สามารถ


ดึงข้อมูลจาก Feed ต่างๆ เข้ามาในเว็บไซต์ของเราได้เพียงแค่ระบุ URL จากนั้น Drupal จะจัดการดึงข้อมูล
มาเก็บไว้ พร้อมกับแบ่งหมวดหมู่ และแสดงบนเว็บไซต์

8. ระบบ Cache - จะช่วยลดการประมวลผลของเครื่องลง โดยการเก็บหน้าเนื้อหาที่ทำการประมวลผลแล้ว


ไว้ในหน่วยความจำ เมื่อมีการเรียกข้อมูลดูข้อมูลใหม่อีกครั้งโดยไม่ต้องไปประมวลผลใหม่อีก ช่วยเว็บไซต์ที่มี
ยอดผู้ชมสูงๆให้รับผู้ชมได้มากขึ้นได้เป็นอย่างดี

9. ระบบ Search - Drupal ได้เอาระบบค้นหา และการทำ Index เนื้อหาทั้งหมดใส่มาให้ด้วย นั้นก็เป็นแค่โมดูล


หลักทั่วไป มีเท่านี้ก็สามารถสร้างเว็บไซต์ได้อย่างสบายๆ เรามาดูโมดูลเสริมที่น่าสนใจกันดีกว่าครับ

1. CCK (Content Construction Kit) - ถ้าอยากเก็บข้อมูลเฉพาะแล้วละก็ CCK สามารถจัดการได้อย่างสบาย CCK


นั้นจะเป็นโมดูลที่อนุญาตให้เราได้เพิ่ม Field ลงไปในแต่ละ Content Type เราสามารถเพิ่ม Text field,
Dropdown, Checkbox, รูปภาพ หรือแม้แต่ Latitude-Longitude ที่ใส่แผนที่ Google Map ก็ตามลงในเนื้อหา
ได้เลย โมดูลนี้เป็นโมดูลที่สำคัญและสร้างความหลากหลายมากมาย ให้กับ Drupal ทำให้ Drupal จัดการได้กับ
เนื้อหาทุกประเภท ที่ทำให้แต่ละประเภทเนื้อหานั้นเก็บข้อมูลได้ครบถ้วน มีความเกี่ยวเนื่องกัน และเรายัง
สามารถเลือกได้ด้วยว่า Field ไหนจำเป็นต้องกรอก และแสดงผลยังไง

2. Drigg - ถ้าใครอยากมีเว็บไซต์แบบ Digg.com แล้วละก็ โมดูลนี้สามารถทำให้ Drupal กลายเป็นเว็บ Social


Bookmark หรือ Social News ได้ทันที

33
www.infogination.com

3. Ubercart - ร้านค้าออนไลน์ ตั้งแต่จัดการสินค้าในร้าน ยันไปถึงการเก็บเงิน รองรับการจ่ายเงินผ่าน Payment


ต่างๆ รวมถึง Paypal ด้วย

4. Mass Contact, Simple News - โมดูลที่ช่วยคุณส่งจดหมาย หรือจดหมายข่าวหาผู้ใช้ของคุณทั้งหมด

5. Organic Group - ช่วยให้คุณสร้าง Group หรือสังคมออนไลน์ย่อยๆ ตามความสนใจ โดยสามารถสร้าง


เนื้อหาย่อยๆ ลงในกลุ่มได้ สามารถปรับเปลี่ยนหน้าตาของกลุ่ม และรูปแบบการแสดงผลได้

นี่เป็นแค่โมดูลที่น่าสนใจ หลายๆตัวมีประโยชน์มาก และทำให้ Drupal ทำเว็บไซต์ได้ทุกแนวทุกแบบจริงๆ


พวกนี้มีมากันให้ใช้กันแบบฟรีๆ ถึง 2,400 โมดูล ลองภายในเดือนนึงก็คงไม่หมดแน่ครับ

ผมได้แนะนำให้เห็นถึงจุดดีและ ความสนใจของ Drupal แล้วมาดูอนาคต และปัญหากันบ้างดีกว่า Drupal นั้น


ได้เน้นให้ความสำคัญกับการพัฒนา และตัวโครงสร้างของ Drupal เป็นหลัก ทำให้เรื่องความปลอดภัยนั้น
เป็นที่ไว้วางใจ การอุดรูรั่วและ update patch มีมาอย่างต่อเนื่องและทันท่วงที ปัญหาหลักๆ ที่ Drupal
กำลับเผชิญอยู่ในตอนนี้คือ User Interface ของ Drupal เอง ปัญหาหลักคือความยาก ในการใช้งาน เนื่องจาก
Drupal นั้นสามารถปรับเปลี่ยน ทำอะไรได้เยอะมาก การทำจะทำ Interface ให้เข้าใจ ใช้งานง่ายและดูสวยงาม
ซึ่งล่าสุด Dries ได้ประกาศทิศทาง พร้อมทั้งแนวทางที่จะก้าวไปใน Drupal 7 นี้ว่าจะจัดเน้นเรื่อง User Interface
มากขึ้น ให้เข้าใจและใช้งานได้ง่ายขึ้นครับ

34
www.infogination.com

ทุกวันนี้มีผู้ใช้ Drupal เพิ่มขึ้นมากมาย อาทิเช่น Warner Brothers Records, The New York Observer, Fast
Company, Popular Science, Amnesty International , เว็บไซต์โครงการของ SonyBMG, Forbes, Harvard
University, และอื่นๆอีกมากมาย หรือว่าจะเป็นทางเว็บไทยกันบ้าง fukduk.tv, thaihealth.or.th,
blognone.com, bkmagazine.com, fuse.in.th, foosci.com, infogination.com เป็นต้น

ถ้าใครกำลังสนใจ CMS สักตัวดีๆ และพัฒนาต่อได้ง่าย ปรับแต่งได้หมด ไม่ว่าจะหน้าตา ยังไปถึง


Function แล้วละก็ผมขอแนะนำ Drupal ให้ใช้ โดยผู้สนใจสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Drupal.org
หรือจะเป็นคอมมิวนิตี้ในไทยก็ที่ drupal.in.th ครับ

ศิระ สัจจินานนท์
เกี่ยวกับผู้เขียน เจ้าของเว็บ Social Bookmark แรกของเมืองไทย zickr.com
และนักพัฒนาเว็บไซต์ซึ่งอยู่ในวงการอินเทอร์เน็ตมากกว่า 10 ปี
ประวัติเพิ่มเติม http://hunt.desi2n.com/about
Blog : http://hunt.desi2n.com/
Website : http://www.zickr.com/

35
www.infogination.com

สำหรับคุณผู้อ่านท่านใด ที่สนใจและต้องการติดตาม
ข่าวสาร ข้อมูล ความรู้เกี่ยวกับ CMS, Joomla,
WordPress, Drupal เพิ่มเติม ทาง iBusiness Magazine
ก็ได้จัดทำคอลัมน์นี้ขึ้นมาเพื่อความสะดวกในการค้นคว้า
หาข้อมูลที่สำคัญเพิ่มเติม โดยได้แนะนำเว็บไซต์ที่ให้
ความรู้ในแต่ละซอฟต์แวร์ที่เด่นๆ มาให้ได้รู้จัก คุณผู้อ่าน

LINK
สามารถคลิกที่ลิงค์เพื่อค้นคว้า หาข้อมูลเพิ่มเติมได้เลยค่ะ

- http://opensourcecms.com/ เว็บไซต์ที่ให้ข้อมูล
ข่าวสาร บทความ และยังมีเว็บบอร์ด รวมถึง FAQ
สำหรับให้ความรู้ด้าน CMS โดยเฉพาะ โดยในเว็บไซต์นี้
ได้แยกการนำเสนอข้อมูลออกเป็นหลากหลายรูปแบบ
- http://www.cmsthailand.com เป็นเว็บไซต์ของ
สำหรับผู้ที่สนใจสามารถเข้าไปยังเว็บไซต์นี้ได้เลยค่ะ
คนไทยที่ให้ข้อมูล ความรู้เกี่ยวกับ CMS และ open Source
อื่นๆ เป็นหลักค่ะ เรียกได้ว่าเป็นเว็บไซต์ที่รวบรวมข้อมูล
เกี่ยวกับ CMS ไว้มากที่สุด ซึ่งในเว็บไซต์นี้ ได้รวบรวมไว้
ทั้งไฟล์เอกสาร ที่ให้คุณสามารถดาวน์โหลดไปได้ฟรีๆ - http://www.somsak2004.com/cms.html เป็น
และยังมีเว็บบอร์ดสำหรับพูดคุย และแบ่งปันข้อมูล เว็บไซต์ของคนไทยอีกเว็บไซต์หนึ่งที่ให้ความรู้เกี่ยวกับ
ความรู้อีกด้วยครับ CMS ค่ะ

36
www.infogination.com

- http://www.joomla.org เป็นเว็บไซต์เกี่ยวกับ
Joomla โดยเฉพาะค่ะ ทั้งนี้เป็นเว็บไซต์ที่เป็นภาษาอังกฤษ
มีทั้งเว็บบอร์ด ไฟล์เอกสาร ฯลฯ อีกมากมายค่ะ โดยผู้
เชี่ยวชาญ Joomla ส่วนใหญ่แล้วก็มักจะเข้าเว็บไซต์นี้เป็น
หลักค่ะ นับว่าได้ข้อมูล ข่าวสาร ความรู้อย่างครบถ้วนเลย
ทีเดียวค่ะ

- http://www.joomlacorner.com/th/ เป็นอีกหนึ่ง
- http://www.joomlasiam.com เป็นเว็บไซต์ที่ให้ เว็บไซต์ทใ่ี ห้ความรูเ้ กีย่ วกับ Joomla ทีถ่ กู สร้างขึน้ จากกลุม่
ความรู้เกี่ยวกับ Joomla ที่เป็นกลุ่มของคนไทยจัดทำขึ้นค่ะ ผู้สนใจและใช้งาน Joomla ในไทยค่ะ
เป็นแหล่งรวบรวมความรู้ ข่าวสารสำหรับผู้สนใจ Joomla
ในประเทศไทยโดยเฉพาะเลยค่ะ - http://www.siamjoomla.com สำหรับ
เว็บไซต์นี้ได้จัดทำขึ้นเป็นภาษาไทย โดยในเว็บ
ไซต์จะมีการนำเสนอข้อมูล เนื้อหาผ่านบทความ
วีดีโอ และยังมีคู่มือในการใช้งาน Joomla
ให้ดาวน์โหลดอีกด้วยค่ะ

- http://www.th.wordpress.com เป็นเว็บไซต์ที่ให้
บริการในการสร้างบล็อกส่วนตัวได้ฟรี ซึ่งเป็นบริการจาก
WordPress ค่ะ เพียงเป็นภาษาไทย ซึ่งคนไทยน่าจะ
สามารถเข้าใจและใช้งานได้ง่ายกว่าที่เป็นภาษาอังกฤษค่ะ

- http://www.wordpress.org เป็นเว็บไซต์ที่ให้
บริการสร้างบล็อกส่วนตัวได้ฟรีของ WordPress
เช่นเดียวกับ th.wordpress.com นั่นแหละค่ะ เพียงแต่
เป็นภาษาอังกฤษเท่านั้นเองค่ะ
- http://www.idayblog.com สำหรับเว็บไซต์นี้
- http://www.thaiwp.com/ เป็นเว็บไซต์ที่ให้ข้อมูล น่าจะเป็นที่รู้จักสำหรับคนที่ใช่ WordPress ในการสร้าง
ความรู้ ข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับ WordPress โดยเฉพาะ บล็อกส่วนตัว เนื่องจากเจ้าของเว็บไซต์นี้เป็นทั้งผู้ที่
ประกอบไปด้วยหน้าบล็อกที่อัพเดทข้อมูล ข่าวสาร เชี่ยวชาญ WordPress แล้วยังเป็นผู้แต่งหนังสือที่
และหน้า Forum หรือเว็บบอร์ดเพื่อพูดคุยแลกเปลี่ยน เกี่ยวข้องกับ WordPress อีกด้วย นั่นก็คือคุณเดย์ค่ะ
ความคิดเห็นและความรู้เกี่ยวกับ WordPress ให้กับ สำหรับเว็บไซต์นี้คือบล็อกส่วนตัว ที่นำ WordPress
สมาชิกและผู้ที่สนใจได้ทราบกันค่ะ มาใช้งานค่ะ

37
www.infogination.com

- http://www.drupal.org
เป็นเว็บไซต์ของต่างประเทศ ที่ให้ข้อมูลเกี่ยวข้องกับ Drupal
โดยเฉพาะ ซึ่งผู้ที่สนใจสามารถเข้าไปอ่านข้อมูล
รายละเอียดเกี่ยวกับ Drupal ได้ และยังสามารถดาวน์โหลด
Application ต่างๆ ได้อีกด้วยค่ะ และยังมีเว็บบอร์ดให้เข้า
ซักถาม แบ่งปันข้อมูลกันอีกด้วย ที่น่าสนใจเป็นพิเศษ
คือในส่วนของ Documentary ค่ะ เพราะในเว็บไซต์นี้จะ
มีบอกตั้งแต่การเริ่มต้นว่าควรทำอย่างไร ใช้งานอย่างไร
มีการแนะนำในส่วนอื่นๆ อีกด้วยค่ะ ซึ่งผู้ที่สนใจสามารถเข้า
ไปอ่านได้ที่เว็บไซต์นี้เลยค่ะ

- http://www.drupal.in.th สำหรับเว็บไซต์นี้นั้นจัด
ทำขึ้นโดยคนไทย และการนำเสนอเนื้อหาก็เป็นภาษาไทย
ด้วยค่ะ ดังนั้นก็จะสะดวกสำหรับคนไทยอย่างมาก ซึ่งใน
เว็บไซต์นี้มีการนำเสนอเนื้อหาผ่านบทความ และเว็บบอร์ด - http://www.thaidrupal.org เป็น
มีการนำเสนอตั้งแต่ขั้นพื้นฐานกันเลยทีเดียว สำหรับผู้ที่ อีกหนึ่งเว็บไซต์ที่ให้ความรู้ด้าน Drupal ที่
สนใจก็อย่าลืมแวะเข้ามาชมเว็บไซต์นี้กันนะคะ จัดทำขึ้นและมีการนำเสนอเนื้อหาเป็น
ภาษาไทย ซึ่งมีข่าวสารอัพเดทและบทความ
รวมถึงเว็บบอร์ดให้เข้าใช้งานค่ะ

เป็นอย่างไรบ้างคะกับเว็บไซต์ที่นำมาแนะนำกันในฉบับนี้ ยังไงลองเข้าไปเยี่ยมชมแต่ละเว็บไซต์ดูนะคะ แล้วถ้า


หากคุณผู้อ่านท่านใดชื่นชอบเว็บไซต์ไหนเป็นพิเศษ จนติดตามเป็นพิเศษก็ไม่ว่ากันค่ะ และหากท่านใดที่ได้เข้า
ไปเยี่ยมชมแล้ว มีความคิดเห็นอย่างไรก็อย่าลืมมาแบ่งปันกันนะคะ สามารถส่งมาได้ที่ editors@infogination.com
แล้วพบกันใหม่ฉบับหน้าค่ะ ^ ^

38
Special Thanks

You might also like