You are on page 1of 89

พระไตรปิฎกฉบับพ้นทุกข์

รวบรวมเรียบเรียง โดย ธรรมรักษา

จัดทำำเป็น E-Book โดย พระมหำสุธรรม ธมฺมทินฺโน


วัดชัยมงคล ถนนเจริญประเทศ ตำำบลช้ำงคลำน อำำเภอเมือง
จังหวัดเชียงใหม่ 50100
www.tamdee.net ร่วมเผยแพร่
หลักความจริงที่ทุกคนควรพิจารณา

หลักความจริง ที่ทุกคนรวมทั้งสัตว์ จะต้องได้รับโดยเสมอหน้า และยุติธรรม


อย่างยิ่ง คือ หลักความจริงที่ว่า ทุกคนจะต้องแก่ชรา ต้องเจ็บป่วย ต้องตาย ต้อง
พลัดพรากจากของรัก และต้องรับผลแห่งการกระทำา ที่ตนเองได้ทำาเอาไว้
อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ พระพุทธองค์ได้ตรัสเรื่องนี้ไว้ว่า

ภิกษุทั้งหลาย! เพื่อประโยชน์อะไร ทุกคนจึงควรพิจารณาเนือง ๆ ว่า "เรามีความ


แก่เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้"
เพราะความมัวเมา ในความเป็นหนุ่มสาว มีอยู่แก่สัตว์ทั้งหลาย เป็นเหตุให้
คนทำาชั่ว ด้วยกาย วาจา และใจ เมื่อเขาพิจารณาอยู่เสมอ ๆ ย่อมละความมัวเมา
หรือ ทำาให้เบาบางลงได้

เพื่อ ประโยชน์ อะไร ทุก คนจึ งควรพิจ ารณาเนื่อ ง ๆ ว่ า "เรามี ความเจ็บ ไข้ เป็น
ธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปได้"
เพราะความมั่วเมาในความไม่มีโรค มีอยู่แก่สัตว์ทั้งหลายเป็นเหตุให้คนทำา
ชั่วด้วยกาย วาจา และใจ เมื่อเขาพิจารณาอยู่เสมอ ๆ ย่อมละความมัวเมา ใน
ความไม่มีโรค หรือทำาให้เบาบางลงได้

เพื่ อ ประโยชน์ อ ะไร ทุ ก คนจึ ง ควรพิ จ ารณาเนื อ ง ๆ ว่ า "เรามี ค วามตายเป็ น


ธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้"
เพราะความมัวเมาในชีวิต มีอยู่แก่สัตว์ทั้งหลาย เป็นเหตุให้คนทำาความชั่ว
ด้วยกาย วาจา และใจ เมื่อเขาพิจารณาอยู่เสมอ ๆ ย่อมละความมัวเมาในชีวิต
หรือทำาให้เบาบางลงได้

เพื่อประโยชน์อะไร ทุกคนจึงควรพิจารณาเนือง ๆ ว่า "เราจะต้องพลัดพรากจาก


ของรักของชอบใจทั้งสิ้น"
เพราะความพอใจ ความรักใคร่ในของรัก มีอยู่แก่สัตว์ทั้งหลาย เป็นเหตุให้
คนทำา ชั่วด้วยกาย วาจา และใจ เมื่อเขาพิจารณาอยู่เสมอ ๆ ย่อมละความพอใจ
ความรักใคร่ในของรักหรือทำาให้เบาบางลงได้

เพื่อประโยชน์อะไร ทุกคนจึงควรพิจารณาเนือง ๆ ว่า "เรามีกรรมคือการกระทำา


เป็นของตน เป็นผู้รับมรดกกรรม มีกรรมเป็นที่เกิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็น
ที่พึ่ง เราทำากรรมสิ่งใดไว้ ดีหรือชั่วก็ตาม เราจะต้องเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น"
เพราะการทำาความชั่วด้วยกาย วาจา และใจ มีอยู่แก่สัตว์ทั้งหลาย เมื่อเขา
พิจารณาอยู่เสมอ ๆ ย่อมละการกระทำาความชั่ว หรือทำาให้เบาบางลงได้"

ฐานสูตร ๒๒/๗๑
หลักความจริง ที่ทุกคนควรพิจารณา ๕ ข้อนี้ เป็นสิ่งที่ผู้มีชีวิตตามอายุขัยจะต้องได้ประสบทุก
คน ไม่มีใครจะหลีกหนีได้พ้น ต่างแต่ว่าช้าหรือเร็วเท่านั้น
เมื่อรู้กฎความจริง ตามที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้แล้วเช่นนี้ ทุกคนก็ไม่ควรประมาท ควรจะ
หมั่นพิจารณาอยู่เป็นประจำา เพื่อให้เกิด "ภูมิคุ้มกัน" เหมือนการฉีดวัคซีน เพื่อป้องกันโรคไว้ก่อน ฉะนั้น
การ "ทำาใจ" หรือ "ปรับใจ" ยอมรับความจริงไว้ก่อน เมื่อเหตุการณ์ใน ๕ ข้อนี้เกิดขึ้น เราก็
จะได้ไม่ต้อง "ฝืนกฎธรรมดาของโลก" เมื่อเราไม่ฝืนกฎของธรรมดา หรือ ธรรมชาติ ความทุกข์ก็
เกิดน้อย หรือไม่เกิดเลย
เพราะเรา "ปลงใจได้" ว่าสิ่งเหล่านี้ มิใช่ว่าจะเจาะจงเกิดหรือมีขึ้น เฉพาะเราหรือครอบครัว
ของเราเท่านั้นก็หามิได้ แต่ว่ามันเป็นสิ่งสาธารณะทั่วไป และเกิดขึ้นกับทุกคนทั่วโลก ไม่เลือกชาติ ชั้น
วรรณะ เพศ และ วัย
วิถีทางที่จะหลีกหนีพ้น จากหลักความจริง ๕ ข้อนี้ มีอยู่หนทางเดียว คือ "อย่าเกิดอีก" และ
การที่จะทำาให้ไม่มาเกิดอีก ก็เป็นเรื่องง่ายดินเดียว ตัด "ต้นเหตุแห่งการเกิด" เพียงสิ่งเดียว นั่นคือ
การ "ตัดตัวตัณหา" หรือตัวความอยากในทุกรูปแบบเสียให้ได้ เราก็จะไม่มีการเกิดอีก ไม่ว่าในภพ
หรือชาติไหน ๆ..........

เรื่องของคนเกียจคร้าน

ในบรรดาอุปสรรคของความเจริญที่มใี นโลกนี้ทั้งหมดนั้น ความเกียจคร้านนับ


ว่าเป็นลูกตุ้ม ที่ถ่วงความเจริญก้าวหน้าในทุกรูปแบบ ไม่ว่าคนโง่หรือคนฉลาด ถ้าปล่อยให้
ความเกียจคร้านเข้าครอบงำา ย่อมจะหาความเจริญก้าวหน้าในชีวิตไม่ได้เลย

พระพุทธองค์ทรงแสดงความเกียจคร้านไว้ ๘ ประเภท คือ

๑. ภิกษุจะต้องทำา งาน เธอมีความคิดว่า เมื่อเราทำา การงาน กายจะลำา บาก จึง


นอนเสียก่อน แล้วไม่ปฏิบัติธรรม
๒. ภิกษุทำาการงานแล้ว เธอมีความคิดว่า เราทำาการงานแล้ว กายลำาบากแล้ว จึง
นอนเสีย ไม่ปฏิบัติธรรม
๓. ภิกษุจะต้องเดินทาง เธอมีความคิดว่า เมื่อเราเดินทาง กายจะลำาบาก จึงนอน
เสียก่อน แล้วไม่ปฏิบัติธรรม
๔. ภิกษุที่เดินทางแล้ว เธอมีความคิดว่า เราได้เดินทางแล้ว การลำา บากแล้ว จึง
นอนเสีย ไม่ปฏิบัติธรรม
๕. ภิกษุจะไปบิณฑบาต เธอมีความคิดว่า เมื่อเราบิณฑบาต กายจะลำา บาก จึง
นอนเสียก่อน แล้วไม่ปฏิบัติธรรม
๖. ภิกษุบิณฑบาตกลับมาแล้ว เธอมีความคิดว่า เราได้บิณฑบาต กายลำาบากแล้ว
จึงนอนเสีย ไม่ปฏิบัติธรรม
๗. ภิกษุเจ็บป่วยเล็กน้อย เธอมีความคิดว่า เราเจ็บป่วยเล็กน้อยแล้ว มีข้ออ้างเพื่อ
จะนอนได้แล้ว จึงนอนเสีย ไม่ปฏิบัติธรรม
๘. ภิกษุหายจากเจ็บป่วยแล้ว เธอมีความคิดว่า เราหายอาพาธยังไม่นาน กายยัง
อ่อนเพลีย จึงนอนเสีย ไม่ปฏิบัติธรรม

กุสีตวัตถสูตร ๒๓/๓๐๕

เรื่องของคนขี้เกียจ ก็มักจะมีข้ออ้างต่าง ๆ นานาร้อยแปด เรื่องนี้จึงมิใช่ว่าจะมีในปัจจุบัน แม้


ในครั้งพุทธกาลก็มีมาแล้ว พระพุทธองค์จึงทรงแสดงว่า เป็นความเสื่อมของคนหนึ่งในหกข้อ ที่เรียกว่า
"อบายมุข" คือ ช่องทางของความเสื่อม หรือ เหตุเครื่องฉิบหาย
ดังนั้น ผูห้ วังความเจริญ ไม่ว่าทางโลกหรือทางธรรม จะต้องรีบกำาจัด "ตัวขี้เกียจ" ออกไปให้เร็ว
ที่สุด เพราะเจ้าตัวขี้เกียจมีขึ้นแล้ว มักจะพาเอาเจ้า "ตัวเสนียด" พ่วงเข้ามาด้วย ผู้หวังความสุขและ
ความเจริญแก่ตนและส่วนรวม จึงไม่ควรที่จะเลี้ยงตัวขี้เกียจ ให้เป็นมิตรกันอีกต่อไป.

ธรรมะเหมือนแพข้ามฟาก
พระพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน เมืองสารถี ได้ตรัสกับภิก ษุ ทั้ ง
หลาย เป็นใจความพอสรุปได้ว่า

"ภิกษุทั้งหลาย! เราจักแสดงธรรม มีอุปมาดังเรือหรือแพข้ามฟาก แก่พวกเธอ


เพื่อต้องการให้สลัดออก ไม่ใช่ต้องการให้ยึดถือฃ

ภิกษุทั้งหลาย! เปรียบเหมือนบุคคลผู้เดินทางไกล พบแม่นำ้าขวางหน้า แต่ฝั่ง


ข้างนี้มีภัยอันตราย ส่วนฝั่งข้างโน้นเป็นที่สบายปลอดภัย เรือหรือสะพานจะข้ามฝั่งก็ไม่มี
บุคคลนั้นคิดว่า จะอยู่ช้าไม่ได้อันตราย

เขาจึงรวบรวมกิ่งไม้และใบไม้ เอามาผูกเป็นแพให้ลอยนำ้า แล้วใช้มือและเท้าพุ้ยนำ้า


ด้วยความพยายาม จนข้ามแม่นำ้านั้นได้โดยปลอดภัย

เขาจึงคิดว่า แพนี้มีคุณแก่เรามาก เราอาศัยแพนี้ จึงข้ามพ้นอันตรายได้ อย่ากระนั้น


เลย เรายกเอาแพนี้ขึ้นทูนหัวไปด้วยเถิด แล้วเขาก็เอาแพนั้นทูนหัวเดินไป

ภิกษุทั้งหลาย! การกระทำาของบุคคลนั้น ชื่อว่าทำาไม่ถูกในหน้าที่ ทางที่ถูกนั้น


เมื่อเขาอาศัยแพข้ามฝั่งได้แล้ว พึงยกแพขึ้นบกหรือเอาลอยไว้ในนำ้านั่นแหละ แล้วเดินไปแต่
ตัว จึงชื่อว่าทำาถูกในหน้าที่ในแพนั้น แม้ฉันใด

ภิกษุทั้งหลาย! เราแสดงธรรมมีอุปมาด้วยแพ เพื่อต้องการให้สลัดออก ไม่ใช่


เพื่อให้ยึดถือก็ฉันนั้นแล เธอทั้งหลายรู้ถึงธรรมมีอุปมาด้วยแพ ที่เราแสดงแล้ว พึงละแม้ซึ่ง
ธรรมทั้งหลาย จะป่วยกล่าวไปไยถึงฝ่ายอธรรมเล่า"

อลคัททูปมสูตร ๑๒/๒๑๙
พระสูตรนี้ อยากจะขอร้องให้นักปฏิบัติธรรม ช่วยอ่านกันหลาย ๆ เที่ยว แล้วจับประเด็นหลัก
สำาคัญให้ได้ว่า เป้าหมายอันสูงสุดของพระพุทธดำารัสนี้ อยูต่ รงไหน?
ถ้านักปฏิบัติจับได้และตีปัญหาแตกแล้ว การปฏิบัติธรรมก็จะง่ายยิ่งกว่า การพลิกฝ่ามือ เสีย
อีก ที่บางท่านปฏิบัติธรรมยิ่งมาขึ้นเท่าไร ทั้งที่อยู่และจิตใจ ก็ดูเหมือนจะยิ่งรกรุงรัง และจิตก็ขุ่นมัว
หรือสกปรกลามกมายมายขึ้นเท่านั้น นั่นแสดงว่าการปฏิบัติธรรมเกิดการผิดพลาดขึ้นแล้ว
การปฏิบัติธรรมต้องมีขั้นตอน คือ ละความชั่ว ทำาความดี แต่พอถึงขั้นสูงสุด ทั้งความชั่วและ
ความดีก็ต้องละให้หมด จึงจะพบพระนิพพาน

หลักตัดสินธรรมวินัย ๘

พระพุทธเจ้า ประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน เมืองเวสาลี พระนางม


หาปชาบดี เสด็จไปเฝ้าทูลขอให้ทรงแสดงธรรมโดยย่อ เพื่อหลีกออกปฏิบัติแต่ผู้เดียว
พระพุทธองค์ทรงประทาน ลักษณะตัดสินธรรมวินัย ๘ ประการ ให้ทรงปฏิบัติ คือ

ธรรมเหล่าใดเป็นไปเพื่อ ๑. ความกำาหนัด
๒. ประกอบสัตว์ไว้ในภพ
๓. ความสั่งสมกิเลส
๔. ความมักมาก
๕. ความไม่สันโดษ
๖. ความคลุกคลีด้วยหมู่คณะ
๗. ความเกียจคร้าน
๘. ความเลี้ยงยาก

พึงทราบเถิดว่า นั่นไม่ใช่ธรรม ไม่ใช่วินัย ไม่ใช่คำาสั่งสอนของพระศาสดา


ส่วนธรรมเหล่าใดที่มีลักษณะตรงข้ามจากนี้ พึงทราบเถิดว่า นั่นเป็นธรรม
เป็นวินัย เป็นคำาสั่งสอนของพระศาสดา
สังขิตตสูตร ๒๓/๒๕๕

ในเมืองไทย มักจะมีผู้อ้างตัวเป็นผู้รู้อยู่ทั่วไป มักจะอธิบายธรรมะ ตามความพอใจของตน


ตีความธรรมะเอาตามใจชอบ ตั้งกฎเกณฑ์ต่าง ๆ เอาตามความพอใจ แล้วก็อ้างว่าพระพุทธเจ้าสอน
อย่างนี้ พระสูตรนี้ จะเป็นหลักเปรียบเทียบได้อย่างดี
เพื่อความสมบูรณ์ โปรดดูมหาประเทศ ฝ่ายพระวินัยและฝ่ายธรรมะด้วย ถ้าขัดแย้งกัน แม้อย่าง
ใดอย่างหนึ่ง ก็ถือว่าเป็นของแปลกปลอมเข้ามาใหม่อย่ารับไว้ เพราะนอกจากจะทำาให้เราเกิดความไขว้
เขวปฏิบัติผิดแล้ว จะเป็นเหตุให้พระสัทธรรมเลือนหายด้วย
การเผยแพร่ธรรมที่ถูกต้อง ไม่ว่าในการพูดหรือเขียน ควรจะมีหลักฐานที่มาที่ไปชัดเจน เพราะ
ธรรมะต่าง ๆ ที่เราสอนและเรียนกันทั่วไปนั้น ล้วนเกิดจากการค้นพบของพระพุทธเจ้าทั้งหมด สาวก
เป็นผู้สืบทอดต่อมา
ในฐานะพุ ท ธสาวกที่ ดี ควรจะรั ก ษาธรรมที่ บ ริ สุ ท ธิ์ ไ ว้ และเผยแผ่ แ ต่ ธ รรมะแท้ อย่ า ได้
ปลอมปนทิฐิของปุถุชนเข้าไปเลย จะเกิดบาปเสียเปล่า ถ้ายังอยากดังอยากเด่น ก็ควรที่จะตั้งตัวเป็น
ศาสดาองค์ใหม่ เสียให้รู้แล้วรู้รอดไป

หลักใหญ่สำาหรับเทียบเคียง ๔
(ฝ่ายพระวินัย)
พระพุทธเจ้า ประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน เมืองสาวัตถี เวลานั้นของขบฉัน
ได้แก่ผลไม้ มีผู้นำามาถวายมาก พวกภิกษุพากันสงสัยว่า ผลไม้ประเภทใดควรฉัน หรือไม่
ควร พระพุทธองค์ทรงประทาน หลักใหญ่สำาหรับเทียบเคียง ๔ ฝ่ายพระวินัยที่เรียกว่า มหา
ประเทศ คือ

๑. สิ่งใดไม่ได้ทรงห้าม ไว้ว่าไม่ควร แต่เข้ากันได้กับสิ่งที่ไม่ควร (อกัปปิยะ) ขัดกับสิ่งที่


ควร (กัปปิยะ) สิ่งนั้นไม่ควร
๒. สิ่งใดไม่ได้ทรงห้าม ไว้ว่าไม่ควร แต่เข้ากันได้กับสิ่งที่ควร (กัปปิยะ) ขัดกับสิ่งไม่ควร
(อกัปปิยะ) สิ่งนั้นควร
๓. สิ่งใดไม่ได้ทรงอนุญาต ไว้ว่าควร แต่เข้ากันได้กับสิ่งที่ไม่ควร (อกัปปิยะ) ขัดกับสิ่งที่
ควร (กัปปิยะ) สิ่งในไม่ควร
๔. สิ่งใดไม่ได้ทรงอนุญาต ไว้ว่าควร แต่เข้ากันได้กับสิ่งที่ควร (กัปปิยะ) ขัดกับสิ่งที่ไม่
ควร (อกัปปิยะ) สิ่งนั้นควร

วินัย ๕/๑๒๓

พระวินัยจัดว่าเป็น "คำา สั่ง" ซึ่งมาคู่กับธรรมะ ซึ่งจัดว่าเป็น "คำา สอน" ซึ่งสาวกจะต้องให้


ความเอื้อเฟื้อ และปฏิบัติตามอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
แต่พระวินัย เป็นกฎหรือข้อบังคับ บางอย่างก็ขึ้นกับกาลเวลา และความเชื่อถือของสังคมนั้น ๆ
บางข้อแม้เป็นความผิดปานกลาง แต่คนบางกลุ่มเขาก็ไม่ถือ เช่น เรื่องพระใช้เงิน ขุดดิน ตัดต้นไม้
เป็นต้น
บางอย่างโทษทางวินัยไม่รุนแรง แต่เมื่อนักบวชล่วงเข้าก็อาจถูกจับสึก หรือ ถึงติดคุกได้ เช่น
สุราและการพนัน เป็นต้น
แต่อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าในยุคใดสมัยใด ศีลก็ถือว่าเป็นรากแก้วของศาสนา ที่ทั้งชาวบ้านและ
ชาววัด จะต้องให้ความสนใจปฏิบัติงดเว้นให้ได้ตลอดไป
ส่วนว่า จะปฏิบัตใิ ห้หย่อนและตึงเพียงใดนั้น เป็นเรื่องของแต่ละบุคคล ถ้าเราอยู่ในหมู่คณะใด
ก็ควรที่จะคล้อยตามปฏิปทาของหมู่คณะนั้น มิบังควรที่จะทำาตนเป็น "แกะดำา" ในหมู่ "แกะขาว"
เลย
ในสังคมพุทธปัจจุบันนี้ ก็มีให้เราได้เลือกอยู่หลายแบบแล้ว เราพอใจที่ปฏิบัติในแบบหรือวิธีใด
ก็ขอเชิญตามสมัครใจเถิด ขอแต่ว่า เมื่อสังกัดคณะนี้แล้ว ก็อย่าได้โจมตีคณะโน้น หรือคณะอื่น ๆ อยู่
เลย เพราะถึงอย่างไร เราก็เป็นลูก "พ่อเดียวกัน" ทัง้ นั้น ไม่ใช่หรือ?

การตอบแทนพระคุณพ่อแม่

พระพุทธเจ้า ประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน เมืองสาวัตถี ได้ตรัสถึงการ


ตอบแทนพระคุณของพ่อแม่ ทีไ่ ด้ผลอย่างแท้จริง และถูกต้องตามหลักศาสนา ไว้ดังนี้
"ภิกษุทั้งหลาย! บุตรยกมารดาบิดาขึ้นวางไว้บนบ่าทั้งสองข้าง ปฏิบัติท่านทั้งสองด้วยการ
อบกลิ่น นวด อานนำ้า ท่านทั้งสองได้ถ่ายอุจจาระ และ ปัสสาวะ อยู่บนบ่าบุตรนั้นตลอดร้อยปี แม้อย่าง
นั้น ก็ยังไม่ชื่อว่าได้ตอบแทนคุณของมารดาบิดา ได้เลย

ภิกษุทั้งหลาย! อีกประการหนึ่ง บุตรพึงสถาปนามารดาบิดา ไว้ในราชสมบัติในแผ่นดิน


ใหญ่ มีแก้ว ๗ ประการ แม้อย่างนั้น ก็ยังไม่ได้ชื่อว่า บุตรได้ตอบแทนคุณของมารดาบิดาได้เลย เพราะ
ว่ามารดาบิดามีอุปการะมาก บำารุงเลี้ยง แสดงโลกนี้แก่บุตรทั้งหลาย

ส่วนบุตรคนใด ทำามารดาบิดาผู้ไม่มีศรัทธา ให้มีศรัทธามั่นคง ทำามารดบิดาผู้ทุศีล ให้ตั้งมั่นอยู่


ในศีล ทำา มารดาบิดาผู้มีความตระหนี่ ให้มีการบริจาคทานเป็นนิจ ทำามารดาบิดาผู้ไม่มีปัญญา ให้มี
ปัญญาเป็นเครื่องนำาทางที่ถูกต้องได้

ภิกษุทั้งหลาย! ด้วยเหตุการตอบแทน ๔ ประการนี้ ชื่อว่าบุตรได้ตอบแทนพระคุณของ


มารดาบิดาแล้ว."

ปฐมปัณณาสก์ ๒๐/๗๐

พระพุทธดำารัสตอนนี้ ให้แง่คิดแก่ลูก ๆ ทุกคนว่า การเลี้ยงพ่อแม่ที่ถูกต้อง และครบถ้วนนั้น จะ


ต้องเลี้ยงทั้งรูปธรรมและนามธรรม กล่าวคือ
การเลี้ยงด้วยรูปธรรม มีเสื้อผ้า อาหาร ที่พักผ่อนหลับนอน ยาบำา บัดโรค และเครื่องอำา นวย
ความสุขต่าง ๆ นั้น เป็นการถูกต้องในแง่หนึ่ง แต่ยังไม่ชื่อว่าสมบูรณ์ครบถ้วน
การเลี้ยงด้วยนามธรรม มีการให้ท่านมีศรัทธา รักษาศีล บำาเพ็ญทาน เจริญภาวนา เป็นการ
เลี้ยงที่สมบูรณ์ครบถ้วน เพราะทำาให้ท่านมีที่พึ่งทั้งชาตินี้และชาติหน้า กล่าวคือ
ในชาตินี้ท่านก็จะมีชีวิตอยู่เป็นสุขทั้งกายและใจ คือมีทั้งอาหารกายและอาหารใจ เมื่อท่าน
คิดถึงความตาย ท่านก็จะอุ่นใจว่าได้ทำาที่พึ่ง คือ ทานศีลและภาวนาไว้แล้ว
ดั ง นั้ น ลู ก ที่ ดี จึ ง ควรหาทาง ให้ พ่ อ แม่ ไ ด้ รั บทั้ ง อาหารกายและอาหารใจด้ ว ย จึ ง จะถื อ ว่ า
เป็นการตอบแทนพระคุณของท่านได้หมดสิ้นตามพุทธวจนะ
หลักความเชื่อที่ถูกต้อง

พระพุทธเจ้า ประทับอยู่ ณ นิคมของชาวกาลามะ ชื่อว่า เกสปุตตะ แคว้น


โกศล ในสมัยนั้น ได้มีผู้อวดอ้างตัวในคุณวิเศษกันมาก จนชาวเกสปุตตะเอือมระอานักบวช
มาก แต่ละพวกนอกจากจะอวดตัวแล้ว ยังพูดกดและดูหมิ่นลัทธิอื่นอีกด้วย เมื่อพระพุทธ
องค์เสด็จถึง มีชาวบ้านเกสปุตตะมาเฝ้า ทรงแสดงหลักความเชื่อ ๑๐ ประการ เป็นหลัก
ตัดสิน คือ

๑. อย่างปลงใจเชื่อ ด้วยการฟังตาม ๆ กันมา


๒. อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการถือสืบ ๆ กันมา
๓. อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการเล่าลือ
๔. อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการอ้างตำาราหรือคัมภีร์
๕. อย่าปลงใจเชื่อ เพราะตรรก
๖. อย่าปลงใจเชื่อ เพราะการอนุมาน
๗. อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการคิดตรองตามแนวเหตุผล
๘. อย่าปลงใจเชื่อ เพราะเข้ากันได้กับทฤษฎีที่พินิจไว้แล้ว
๙. อย่าปลงใจเชื่อ เพราะมองเห็นรูปลักษณะน่าจะเป็นไปได้
๑๐.อย่าปลงใจเชื่อ เพราะนับถือว่า ท่านสมณะนี้ เป็นครูของเรา

ต่อเมื่อใด รู้และเข้าใจด้วยตนเองว่า ธรรมเหล่านั้นเป็นอกุศล เป็นกุศล มีโทษหรือ


ไม่มีโทษ เป็นต้นแล้ว จึงควรละหรือควรปฏิบัติ ตามที่รู้และเข้าใจนั้น

เกสปุตตสูตร ๒๐/๒๑๒

พระสูตรนี้ มักจะถูกนำามาอ้างกันมาก แต่มักจะอ้างไม่ตลอดสาย คืออ้างแต่ว่า ไม่ให้เชื่อตำารา


แต่ไม่ได้ดูบทสรุปที่ว่า "ต่อเมื่อเข้าใจด้วยตนเองว่า...."
พระสูตรนี้ท่านมิได้ห้ามมิให้เชื่อ แต่ท่านให้เชื่อด้วยมีปัญญาประกอบด้วย มิฉะนั้นความเชื่อ
ต่าง ๆ มักจะไม่พ้น "ความงมงาย" ถ้าพระสูตรนี้ไม่ให้เชื่ออะไรแล้ว เราก็ต้องไม่เชื่อพระสูตรด้วย เพราะ
พระสูตรนี้ก็เป็นตำาราเหมือนกันมิใช่หรือ?
ดังนั้น เมื่อฟังหรืออ่านอะไรมา จึงไม่ควรทำาตนเป็นคน "กระต่ายตื่นตูม" เอะอะโวยวาย พลอย
ให้คนที่เขารู้น้อยพลอยเสียประโยชน์ไปด้วย การใคร่ครวญพิจารณา จึงเป็นคุณสมบัติของชาวพุทธที่ดี
พึงมีไว้ประจำาตนตลอดไป

ใส่ร้ายคนดี ได้รับโทษทันตา

พระพุทธเจ้า ประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน เมืองสาวัตถี พระโกกาลกริษยา


พระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ ได้ทูลพระพุทธเจ้าให้ร้ายพระเถระทั้งสอง พระพุทธองค์
ทรงห้ามถึง ๓ ครั้งก็ไม่ฟัง ได้รับอกุศลกรรมสนองทันตา ได้เกิดฝีหัวใหญ่ขึ้นทั่วตัว ฝีแตกนำ้า
เหลืองไหล ได้รับทุกขเวทนากล้า จนขาดใจตายไปเกิดในปทุมนรก ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของมหา
นรกอเวจี ได้รับทุกขเวทนาแสนสาหัส

พระพุทธองค์ทรงแสดงโทษ แห่งการใส่ร้ายผู้ทำาความดี เพื่อเป็นเครื่องสังวรของชาว


พุทธไว้ดังนี้

• "คนพาลเมื่อพูดคำาชั่วร้ายออกไป ได้ชื่อว่าฆ่าตัวเองด้วยอาวุธ
• ผู้ใดสรรเสริญผู้ที่ควรถูกติ หรือติผู้ที่ควรได้รับความสรรเสริญ ผู้นั้นชื่อว่าสะสมความชั่วด้วย
ปาก เขาย่อมไม่ได้รับความสุข
• ความพินาศแห่งทรัพย์สินเพราะการพนันก็ดี พร้อมด้วยสิ่งของทั้งหมดก็ดี พร้อมด้วยตนเองก็ดี
ยังนับว่ามีโทษเพียงเล็กน้อย ส่วนบุคคลใด ทำาใจคิดร้ายในท่านผู้ทำาดีทั้งหลาย มีโทษยิ่งใหญ่
กว่า
• ผู้พูดจาด้วยจิตอันลามก ชอบติเตียนพระอริยเจ้า ย่อมเข้าถึงนรก"

โกกาลิกสูตร ๑๕/๒๐๙
การใส่ร้ายคนดีมีโทษหนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระอรหันต์ด้วย โทษก็จะยิ่งมากเป็นทวีคูน
เพราะท่านหมดกิเลสแล้ว จัดว่าเป็น "ปาปมุต" คือ ไม่มีใครถือโทษ หรือพ้นจากโทษแล้ว
กรณีของพระโกกาลิกในเรื่องนี้ ถ้าเราไม่ยกให้เป็นอกุศลกรรมของพระโกกาลิกบันดาลให้เป็น
ไป แล้วจะเกิดจากอะไร? เพราะทั้งพระสารีบุตร และพระมหาโมคคัลลานะ ท่านเป็นพระอรหันต์แล้ว
ไม่มีให้โทษใครมีแต่ให้คุณ ก็แล้วเหตุไฉนพระโกกาลิกจึงไปริษยาท่านเล่า? ก็ไม่ใช่กรรมฝ่ายชั่วมา
บันดาลให้ท่านคิดผิดไป เหมือนการซัดฝุ่นที่ละเอียดทวนลม มันก็ต้องถูกฝุ่นย้อนกลับมาเข้าตาตนเอง
ฉะนี้แล

เรื่องของคนมืดคนสว่าง

พระพุทธเจ้า ประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน เมืองสาวัตถี ได้ตรัสกะพระเจ้าป


เสนทิโกศล ว่า

"มหาบพิตร! คนที่เกิดมาในโลกนี้มีทั้งหมด ๔ ประเภท คือ

๑. คนที่ มื ด มาแล้ ว มื ด ไป คื อ คนที่ เ กิ ด มาในตระกู ล ตำ่า ยากจน


ทุพพลภาพ พิการ ซำ้า ยังประพฤติทุจริตด้วยกาย วาจา และใจ ตาย
แล้วไปเกิดในนรก
๒. คนที่ มื ด มาแล้ ว สว่ า งไป คื อ คนที่ เ กิ ด มาในตระกู ล ตำ่า ยากจน
ทุพพลภาพ พิการ แต่ประพฤติสุจริตด้วยกาย วาจา ใจ ตายแล้วไปเกิด
ในสวรรค์
๓. คนที่สว่างมาแล้วมืดไป คือ คนที่เกิดมาในตระกูลสูง รำ่า รวย ผิว
พรรณงาม แต่ประพฤติทุจริตด้วยกาย วาจา และใจ ตายแล้วไปเกิดใน
นรก
๔. คนที่สว่างมาแล้วสว่างไป คือ คนที่เกิดมาในตระกูลสูง รำ่ารวย ผิว
พรรณงาม แต่ประพฤติสุจริตด้วยกาย วาจา และใจ ตายแล้วไปเกิดใน
สวรรค์.

ปุคคลสูตร ๑๕/๑๓๒

พระสู ต รนี้ แ สดงว่ า ทุ ก คนไม่ อ าจจะเลื อ กที่ ม าได้ แต่ เ ราก็ อ าจที่ จ ะเลื อ กที่ ไ ปได้ นั่ น ก็
หมายความว่า เรามันเกิดมาเสียแล้วนี่ จะไปเลือกอีกได้อย่างไร? ถ้าจะเลือกอีกก็ต้องตายเสียก่อน
แล้วไปเกิดใหม่
แต่ก็ต้องระวังไว้ให้ดีนะ จะต้องเร่งรีบสร้างความดีไว้ให้มาก ถ้าไม่ความดี คือ ทาน ศีล ภาวนา
ไว้เป็นทุนในปัจจุบันนี้แล้ว เอาแต่หวังลม ๆ แล้ง โอกาสที่จะมาเกิดเป็นคนอย่างนี้อีกก็แสนยาก อย่าว่า
แต่จะมาเกิดในตระกูลดีเลย
กรรม คือ การกระทำาของเราเองนี่แหละ นับว่าสำาคัญที่สุด จะเกิดมาแล้วสวย รวย ปานใด
มันไม่สำาคัญหรอก ไม่ช้าก็ตายเน่าเข้าโลงหมด สิ่งที่จะติดตามไปไม่ลดละก็คือ ความดีกับความชั่วนั่น
แหละ เป็นของแน่นอน
ดังนั้น การที่เราได้เกิดมาเป็นคน กับเขาชาติหนึ่งนี้ ก็นับว่าโชคดีมีบุญหนุนให้เกิดมาแล้ว ควร
ที่จะเร่งรีบต่อบุญเก่าเอาไว้ อยามัวแต่หลงตกอยู่ในมายาของโลก อันหาสาระมิได้อยู่เลย ชีวิตนี้น้อยยิ่ง
นัก มิทันไรก็แก่และใกล้จะตายแล้ว
เมื่อตายแล้ว ทรัพย์สมบัติ ยศศักดิ์ ญาติมิตรและบริวารก็มิได้ตามเราไปด้วยเลย ปล่อยให้เป็น
"สมบัติผลัดกันชม" ต่อไป เมื่อถึงเวลาก็ต้องลาโลกนี้ไป โลกเป็นเช่นนี้มากี่พันกี่หมื่นปีแล้ว น่าจะเบื่อ
หน่ายกันบ้าง น่าจะคิดกันบ้างว่า คนเราเกิดมาทำาไม? อะไรคือสาระของชีวิตที่แท้จริง?

ปฏิจจสมุปบาท

พระพุทธเจ้า ประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน เมืองสาวัตถี ได้ตรัสกะพระภิกษุ


ทั้งหลายถึงเรื่อง ปฏิจจสมุปบาท คือ สภาพที่ต้องอาศัยกันเกิดขึ้น ไว้ดังนี้

"ภิกษุทงั้ หลาย! เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร


เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ
เพราะมีวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป
เพราะมีนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ
เพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ
เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา
เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา
เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน
เพราะมีอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ
เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ
เพราะชาติเป็นปัจจัย จึ งมี ชรา มรณะ โสกปริ เ ทวะ
ทุ ก ขโทมนั ส และอุ ป ายาส
ความเกิดแห่งกองทุกข์ทั้งมวล
นี้ ย่ อ มี ด้ ว ยอาการอย่ า งนี้ นี้
เราจึ ง เรี ย กว่ า ปฏิ จ จสมุ
ปบาท

ก็เพราะอวิชชานั่นแหละดับโดยไม่เหลือ สังขารจึงดับ ฯลฯ อุปายาสจังดับ"

เทศนาสูตร ๑๖/๑

ในบรรดาความทุกข์ทั้งหลายแหล่ของมนุษย์เรา เมื่อรวมลงแล้วก็มีต้นเหตุมาแต่ อวิชชา คือ


ความไม่รู้ หรือความโง่ สิ่งใดที่เราไม่รู้เราก็ย่อมจะทำา ผิดพลาดเหมือนคนตาบอด ตั้งแต่ระดับตำ่า คือ
เรื่องปากท้องจนถึงระดับสูงคือความหลุดพ้นจากกิเลสตัณหาทั้งปวงเป็นที่สุด เพราะเหตุแห่งความไม่รู้
คนเราจึงทำาอะไรด้วยความผิดพลาด แล้วก็รับผลแห่งความผิดพลาดนั้น ที่ออกมาในรูปของความทุกข์
นานาประการ
การดับเหตุแห่งความทุกข์โดยสิ้นเชิงนั้น เราจะต้องค้นหาให้พบปมหรือเงื่อนต้นก่อน เมื่อแก้ที่
ต้นเหตุแล้วปลายเหตุก็จะหายไปเอง ไม่มีความทุกข์สิ่งใดที่เกิดโดยไม่มีเหตุ ไม่มีเหตุใกล้ก็ต้องมีเหตุ
ไกล วิธีดับทุกข์สายปฏิจ จสมุปบาท เราจะดั บที่อวิชชาก็ได้ ดับที่ผั สสะก็ไ ด้ ดับที่เวทนาก็ไ ด้ ดับที่
ตัณหาก็ได้ เมื่อตอนใดตอนหนึ่งขาด สายแห่งทุกข์ก็ขาด เมื่อเหตุแห่งความทุกข์ขาด ความทุกข์ก็ดับ
ข้อสำาคัญในการดับทุกข์ เราจะต้องทำาให้จริง และต้องทำาให้ต่อเนื่อง เหมือนการรักษาโรค ก็
ต้องรักษาให้มันจริง และรักษาให้ต่อเนื่อง รักษาบ้างไม่รักษาบ้าง ทำา ๆ หยุด ๆ โรคมันก็จะ "ดื้อยา"
การรักษามันก็ย่อมไม่ได้ผล
เหนือสิ่งอื่นใด ปัญญาหรืออวิชชา เป็นสิ่งสำาคัญที่สุด ถ้าคนขาดปัญญาเพียงอย่างเดียว ยิ่งแก้
มันก็ยิ่งทุกข์ เหมือนการกินเหล้าดับทุกข์นั่นแหละ ยิ่งกินมากขึ้นเท่าไร ทุกข์ก็จะยิ่งมีมากขึน้ เท่านั้น

พุทธวิธีแก้ความหวาดกลัว

พระพุทธเจ้า ประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน เมืองสาวัตถี ได้ตรัสเล่าถึงสงคราม


ระหว่างเทวดากับอสูร ในการทำาสงครามนั้น ถ้าเกิดความสะดุ้งหวาดกลัวขึ้น ท่านแนะให้ดู
ยอดธงของหัวหน้าเทวดา แล้วความหวาดกลัวจะหายไป

ครั้นแล้ว ได้ทรงแนะวิธีแก้ความกลัว สำาหรับภิกษุผู้บำาเพ็ญสมณธรรมในป่าว่า

"ภิกษุทั้งหลาย! หากความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ความขนพองสยองเกล้าก็


ดี พึงบังเกิดขึ้นแก่พวกเธอผู้อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างก็ดี ที่นั้นพวกเธอพึง
ตามระลึกถึงเรา ถึงตามระลึกถึงธรรม ถึงตามระลึกถึงพระสงฆ์ เพราะเมื่อเธอระลึกถึงเรา
ระลึกถึงพระธรรม และระลึกถึงพระสงฆ์ ความกลัว ความหวาดสะดุ้งจะหายไป เพราะว่า
พระตถาคตเป็นผู้หมดราคะ โทสะ และโมหะ จึงไม่กลัว ไม่หวาด ไม่สะดุ้ง และไม่หนี"

ธชัคคะสูตร ๑๕/๓๐๔

ความหวาดกลัวเกิดจากความหวั่นไหวทางจิต ถ้าจิตมีความเชื่อมั่น มีความมั่นใจในคุณธรรม


อย่างใดอย่างหนึ่ง ย่อมระงับความหวาดได้ ภิกษุมีศีลบริสุทธิ์ ย่อมไม่หวาดกลัว ผู้เสียสละไม่เห็นแก่ตัว
ไม่มีความยึดถือมั่น ก็ไม่มีความกลัว
ในทางโลก ผู้ที่มีความรักในระหว่างเพศรุนแรง ผู้มีความโกรธรุนแรง หรือมีความหลงงมงาย ก็
ย่อมจะไม่หวาดกลัวต่อภัยอันตรายใด ๆ แม้ผู้มีกิเลสและตัณหายังบรรเทาความหวาดกลัวได้ ไฉนผูห้ วัง
คุณธรรมเบื้องสูง จะละความหวาดกลัวไม่ได้เล่า

พระสูตรนี้ ทรงแนะให้ยึดเอาคุณของพระพุทธเจ้า พระธรรมและพระสงฆ์เป็นที่พึ่ง นับว่าเป็น


สิ่งจำาเป็นสำาหรับชาวพุทธเรา โดยปกติเราก็มีศรัทธาต่อคุณพระทั้ง ๓ อยู่แล้ว แต่เมื่อตกอยู่ระหว่างความ
หวาดกลัว เราก็จะต้องระลึกให้มาก และให้มั่นเข้าไว้ ก็จะระงับความหวาดกลัวได้แน่นอน

ถ้ายังไม่หายอีก ก็ลองสละตัวตนดูสิ ถอนความยึดถือในตัวตนของตนออกให้หมด ให้จิตได้


สัมผัสกับความว่าง คือว่างจากตัวตนและของ ๆ ตน ขอให้ทำาจิตให้ว่างจริง ๆ เถอะ รับรองว่าหายหวาด
กลัวได้จริง ๆ

มีความคิดไม่มีปัญญาก็เดือดร้อน มีปัญญาแต่ไม่มีสติกำากับก็ฟุ้งซ่าน

ธรรมที่เป็นคู่ปรับกัน

พระพุทธเจ้า ประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน เมืองสาวัตถี ได้ตรัสสอนพระราหุล


ถึงธรรมที่เป็นคู่ปรับกัน ๖ คู่ คือ

๑. "ราหุล! เธอจงเจริญเมตตาภาวนาเถิด เพราะเมื่อเธอเจริญเมตตาภาวนาอยู่ จักละ


พยาบาท (คือความคิดที่จะแก้แค้น) ได้
๒. เธอจงเจริญกรุณาภาวนาเถิด เพราะเมื่อเธอเจริญกรุณาภาวนาอยู่ จักละวิหิงสา (
คือการเบียดเบียน) ได้
๓. เธอจงเจริญมุทิตาภาวนาเถิด เพราะเมื่อเธอเจริญมุทิตาภาวนาอยู่ จักละอรติ (คือ
ความริษยา)ได้
๔. เธอจงเจริ ญอุ เ บกขาภาวนาเถิ ด เพราะเมื่อ เธอเจริ ญ อุเ บกขาภาวนาอยู่ จัก ละ
ปฏิฆะ (คือความขัดใจ) ได้
๕. เธอจงเจริญอสุภภาวนาเถิด เพราะเมื่อเธอเจริญอสุภภาวนาอยู่ จักละราคะ (ความ
ยินดีในกาม) ได้
๖. เธอจงเจริญอนิจจสัญญาภาวนาเถิด เพราะเมื่อเธอเจริญอนิจจสัญญาภาวนา จัก
ละอัสมิมานะ (คือการถือตัว) ได้

มหาราหุโลวาทสูตร ๑๓/๑๒๗

การปฏิบัติธรรมเพื่อการดับทุกข์อย่างจริง ควรจะต้องศึกษาให้รู้ถึงสิ่งที่เป็น "คู่ปรับ" ของกัน


และกัน ดังที่ทรงยกมาสอนแก่พระราหุล ๖ ข้อนี้ และยังมีอีกมาก
การปฏิบัติธรรม ถ้าเราจับคู่ของธรรมะของข้อนั้น ๆ ให้ถูกฝาถูกตัวกัน การปฏิบัติธรรมก็จะดู
เป็นเรื่องไม่ยากเลย เช่น คนมีความตระหนี่ขี้เหนียว ก็ต้องพิจารณาโทษของความตระหนี่ถี่เหนียว
ทำาให้เกิดเป็นคนยากจน ไม่มีพวกพ้องบริวาร ทำาให้เป็นคนมีใจคับแคบ และเห็นแก่ตัวจัด เป็นต้น
ทางแก้ก็ต้องใช้แบบ "หนามยอก เอาหนามบ่ง" คือ การบริจาค การให้ทาน การเสียสละต่าง ๆ
ให้มาก จริงอยู่ในการทำาครั้งแรก ๆ มันก็ย่อมฝืนใจและทำายาก แต่เมื่อหัดทำาบ่อย ๆ มันก็จะเกิดความ
เคยชินไปเอง
ธรรมะข้ออื่น ๆ ก็เช่นเดียว ล้วนมีคู่ปรับที่คอยหักโค่นกันอยู่เสมอ ถ้าเราจัดหาคู่ปรับมาแก้ ให้
ถูกฝาถูกตัวกันได้แล้ว การปฏิบัติธรรมทางศาสนา ก็จะไม่กลายเป็นเรื่องยาก หรือเป็นเรื่อง "สุดวิสัย"
อย่างที่คนทั่ว ๆ ไปคิดเห็นกันอีกต่อไป
ดังนั้น ผู้ที่ปฏิบัติธรรมแล้วไม่ก้าวหน้า ไม่เกิดผลใด ๆ ก็ขอให้พิจารณาดูข้อธรรมนั้น ๆ ว่ามัน
ถูกฝาถูกตัวกันหรือไม่?

ธรรมะลูกโซ่

พระพุทธเจ้า ทรงแสดงว่า เงื่อนต้นแห่งอวิชชา ย่อมไม่ปรากฏในกาลก่อน แต่


สิ่งทั้งหลาย ทั้งที่เป็นกุศลและอกุศล ล้วนมีเหตุเป็นแดนเกิด แล้วก็ส่งผลต่อ ๆ กันมา รับช่วง
กันมาเป็นทอด ๆ คือ

สายอกุศล
๑. อวิชชา มีอาหารเครื่องหล่อเลี้ยง คือ นิวรณ์ ๕
๒. นิวรณ์ ๕ มีอาหารเครื่องหล่อเลี้ยง คือ ทุจริต ๓
๓. ทุจริต ๓ มีอาหารเครื่องหล่อเลี้ยง คือ ไม่สำารวมอินทรีย์ ๖
๔. ไม่สำารวมอินทรีย์ ๖ มีอาหารเครื่องหล่อเลี้ยง คือ ไม่มีสติสัมปชัญญะ
๕. ไม่มีสติสัมปชัญญะ มีอาหารเครื่องหล่อเลี้ยง คือ ไม่มีโยนิโสมนสิการ
๖. ไม่มีโยนิโสมนสิการ มีอาหารเครื่องหล่อเลี้ยง คือ ไม่มีศรัทธา
๗. ไม่มีศรัทธา มีอาหารเครื่องหล่อเลี้ยง คือ ไม่ได้ฟังสัทธรรม
๘. ไม่ได้ฟังสัทธรรม มีอาหารเครื่องหล่อเลี้ยง คือ ไม่ได้คบสัปบุรุษ

สายกุศล
การคบกับสัปบุรุษย่อมเป็นเหตุให้ได้ฟังสัทธรรม เมื่อฟังสัทธรรมย่อมเกิดศรัทธา
เมื่อเกิดศรัทธาย่อมมีโยนิโสมนสิการ เมื่อมีโยนิโสมนสิการ ย่อมมีสติสัมปชัญญะ เมื่อมี
สติสัมปชัญญะ ย่อมสำา รวมอินทรีย์ เมื่อสำา รวมอินทรีย์ย่อมประพฤติสุจริต เมื่อประพฤติ
สุจริตย่อมยังสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์ เมื่อเจริญสติปัฏฐาน ๔ โพชฌงค์ ๗ ย่อมบริบูรณ์
เมื่อโพชฌงค์ ๗ บริบูรณ์ ย่อมยังวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์

เปรียบเหมือนฝนตกบนภูเขา แล้วไหลลงสู่ซอกเขา ลำา ธาร หนองบึง คลอง แม่นำ้า


และทำาเลเป็นที่สุด ฉันนั้น

อวิชชาสูตร ๒๔/๑๑๗

การปฏิบัติกิจทุกสิ่ง ไม่ว่าทางโลกหรือทางธรรม ถ้าตั้งต้นไว้ผิดมันก็จะผิดไปตลอดสาย ยิ่งทำา


มากก็ยิ่งผิดมาก ทางที่ถูกต้องตั้งต้นเสียใหม่ อันนี้เราเห็นกันได้ชัดเจน เช่น
การคบกับเพื่อนฝูงที่ดี เราก็ย่อมจะได้ฟัง ได้เห็น และได้ทำาแต่ในสิ่งที่ดี ตรงข้ามถ้าเราคบหา
กับเพื่อนชัว่ ก็ย่อมจะได้ฟัง ได้เห็น และได้ทำาความชั่วตามเพื่อนไป เพราะมิฉะนั้นเราก็จะคบกันไม่ได้
ในการปฏิบัติธรรมก็เช่นเดียวกัน เรารู้กันอยู่แล้วว่า เราปฏิบัติเพื่อละกิเลสตัณหา หรือ ดับทุกข์
ถ้าปฏิบัติผิดมันก็จะเพิ่มกิเลสตัณหาหรือเพิ่มทุกข์ เพราะธรรมนั้นมันมีทั้งฝ่ายดีและฝ่ายชั่ว
รู้ไว้ล่วงหน้าอย่างนี้แล้ว เมื่อตั้งต้นผิด ก็จะได้กลับตัวทัน และเมื่อตั้งต้นถูกก็จะได้เร่งเดินหน้า
ต่อไปไม่รั้งรอ.

คนรับใช้สอบธรรมะนาย

พระพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน เมืองสาวัตถี ครั้งนั้นแล


พระพุทธองค์ได้ตรัสกะภิกษุทั้งหลาย พอสรุปเป็นใจความได้

เรื่ อ งเคยมี ม าแล้ ว ที่ พ ระนครสาวั ต ถี นี่ แ หละ มี แ ม่ บ้ า นคนหนึ่ ง ชื่ อ "เวเทหิ ก า"
กิตติศัพท์อันงามของนางได้เล่าลือไปไกล ว่านางเป็นคนสงบเสงี่ยม อ่อนโยนเรียบร้อย นาง
ได้มีคนรับใช้หญิงคนหนึ่งชื่อ "กาลี" เป็นคนขยันขันแข็ง ทำา งานบ้านการเรือนเรียบร้อยดี
มาก เป็นที่รักใคร่ของนางเวเทหิกามาก

วั น หนึ่ ง กาลีมี ค วามคิด ว่ า การที่ น ายหญิ งของเรามี กิต ติ ศัพ ท์ ชื่อ เสี ยงว่ า เป็ น ผู้
สงบเสงี่ยม อ่อนโยน เรียบร้อยดุจผ้าพับไว้นั้น เป็นเพราะมีธรรมะในใจหรือเป็นเพราะว่า มี
คนรับใช้ในงานได้เรียบร้อย และถูกใจทุกอย่างกันแน่? จะต้องลองสอบธรรมะนายหญิงดู
สักครั้ง เมื่อคิดอุบายได้แล้ว เช้าวันหนึ่งจึงแกล้งนอนตื่นสายไม่ได้ทำางานบ้าน นายหญิงจึง
ตวาดเอาว่า

"เฮ้ย! อีกาลี มึงเป็นอะไรวะ จึงนอนตื่นสาย?"

"ไม่เป็นไรดอก เจ้าค่ะนาย"

"อีคนชั่ว เมื่อมึงไม่เป็นอะไร ทำาไมจึงนอนตื่นสายล่ะ?"

นางเวเทหิกา โกรธขัดใจ หน้างอ แล้วเหตุการณ์ก็ผ่านไป


วันต่อมา กาลีก็สอบธรรมะนายหญิงด้วยการนอนตื่นสายอีก คราวนี้ถูกด่าอย่าง
รุนแรงและหยาบคายมาก เรื่องก็ผ่านไปอีก

วันต่อมา กาลีก็สอบธรรมะนายสาวอีก คราวนี้นอกจากถูกด่าอย่างรุนแรงแล้ว ยัง


ถูกปาด้วยลิ่มประตูจนหัวแตกเลือดไหล กาลีได้เที่ยวร้องประกาศให้ชาวบ้านได้รู้ทั่วกันว่า

"ท่านทั้งหลายเจ้าข้า!...... เชิญดูคนสงบเสงี่ยมของท่านทั้งหลายเถิด หัวของดิฉันได้


แตก เพราะคนอ่อนโยนและเรียบร้อยของท่านทั้งหลายแล้ว"

ครั้งนั้น กิตติศัพท์อันงามของนางเวเทหิกา ได้สลายลงแล้ว

"ภิกษุทั้งหลาย! ภิกษุบางรูปก็ฉันนั้น เธอเป็นคนสงบเสงี่ยมจัด อ่อนโยนจัด เป็นคน


เรียบร้อยจัด เธอทำาได้ก็เพียงแต่ไม่ได้กระทบถ้วยคำาอันไม่เป็นที่พอใจเท่านั้น จึงยังดูเป็นคน
เรียบร้อย อ่อนโยนได้

ภิ ก ษุ ทั้ ง หลาย! ก็ เ มื่ อ ใดเธอกระทบคำา พู ด อั น ไม่ เ ป็ น ที่ พ อใจเข้ า แล้ ว เธอยั ง


สงบเสงี่ยม อ่อนโยน เรียบร้อยอยู่ได้ เมื่อนั้นแหละเธอควรนะจะน่านับถือจริง

ภิกษุทั้งหลาย! เราไม่เรียกภิกษุว่าง่าย เพราะเหตุที่ได้ปัจจัย ๔ แล้วจึงเป็นผู้ว่าง่าย


เธอไม่ได้ปัจจัย ๔ เธอก็จะเป็นผู้ว่ายากต่อไป

ภิกษุทั้งหลาย! อนึ่งภิกษุรูปใดเคารพและนอบน้อมต่อพระธรรมอยู่ เราเรียกภิกษุรูป


นั้นว่า เป็นผู้ว่าง่ายแล".
กกจูปมสูตร ๑๒/๒๐๔

พระสูตรนี้ นับว่าเป็นบทเรียนที่ดีถึง ๒ ประการ คือ เป็นแว่นสองดูผู้อื่น และเป็นกระจกส่องงดู


ตนเอง
เป็นแว่นสองดูผู้อื่น คือ เมื่อเราติดต่อ เคารพ คบหากับผู้ใหญ่ เราก็จะได้ศึกษาว่า สิ่งที่น่า
แสดงกับเรานั้น เป็นสัจจะหรือมายา เป็นของแท้หรือของเทียม เมื่อมีสิ่งที่เป็น "อนิฏฐารมณ์" เกิดขึ้น ก็
จะเป็นมาตรวัดได้อย่างดี
เป็น กระจกส่อ งดู ตนเอง คือ เมื่อ เรากระทบกั บสิ่ งที่ ไม่น่ายิน ดี ไม่น่า ปรารถนา เราจะเกิ ด
"ปฏิฆะ" ขึ้นในจิตหรือจนถึงแสดงออกมาทางวาจาและกายหรือไม่? แต่ถ้าเรามีความรู้สึกขัดใจ แต่
สามารถควบคุมอารมณ์ไว้ได้ ก็จะเป็น "มาตร" ทีว่ ัดคุณธรรมในจิตใจของเราได้อย่างดี.

คนอกตัญญู ย่อมไม่พบความเจริญ
อลลฺปาณิหโต โปโส น โส ภทฺรานิ ปสฺสติ

บ้านที่ภิกษุไม่ควรไป

พระพุทธเจ้า ได้ตรัสถึงบ้าน ที่ภิกษุไม่ควรไป หรือเมื่อเข้าไปแล้ว ก็ไม่ควรนั่ง มี


๗ ประการ คือ

๑. ต้อนรับด้วยไม่เต็มใจ
๒. ไหว้ด้วยไม่เต็มใจ
๓. ให้ที่นั่งด้วยไม่เต็มใจ
๔. ซ่อนของที่มีอยู่
๕. เมื่อมีของมากให้น้อย
๖. เมื่อมีของดีแต่ให้ของเลว
๗. ให้โดยไม่เคารพ

บ้านที่ประกอบด้วยลักษณะ ๗ ประการนี้ ภิกษุที่ยังไม่เคยไป มีควรไป หรือไปแล้วก็ไม่


ควรนั่ง

ถ้าตรงข้ามจาก ๗ ข้อนี้ ภิกษุที่ไม่เคยไป ก็ควรไป หรือไปแล้วก็ควรนั่ง


กุลสูตร ๒๓/๑๐

พระที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ชื่อว่าเป็น "เนื้อนาบุญ" ของชาวพุทธ การได้เห็นพระที่ดี จึงจัดว่า


เป็นมงคลแก่ตา และถ้าได้ทำาบุญแก่ท่าน ก็ถือว่าเป็นการฝังขุมทรัพย์ทดี่ ี
ด้วยเหตุนี้ การที่พระมาบ้าน จึงถือว่าเป็นมงคลแก่บ้าน ควรที่จะต้องต้อนรับท่านตามฐานะ
หรือกำาลัง จึงจะถือว่าเป็นมรรยาทที่ดีของชาวพุทธ
แต่ถ้าเรารู้ว่าท่านเป็นพระไม่ดี เป็นพระอลัชชี นอกธรรมนอกวินัย การไม่ต้อนรับ การนิมนต์ให้
ท่านไปที่อื่น ดูจะถือว่าเป็นการปฏิบัติที่ชอบธรรม เพราะอะไร?
เพราะถ้าเราให้การต้อนรับกราบไหว้ หรืออุปถัมภ์บำารุง ก็จะเป็นเหตุให้ท่านกำาเริบใจ กล้าทำา
ผิดทำาชั่วยิ่งขึ้น เพราะถือว่ามีผู้สนับสนุนมีเสบียง ก็เลยกลายเป็นว่า เราได้เลี้ยงโจรไว้ปล้นศาสนาไป
โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์
ทุกวันนี้ ชาวพุทธที่เสื่อมศาสนา เพราะพระเป็นเหตุก็มีอยู่มากแล้ว ในฐานะชาวพุทธ เราก็ไม่
อาจจะหลีกเลี่ยงรัตนะองค์ที่ ๓ เสียได้ แต่เราควรจะมีส่วนร่วมกัน นั่นคือ...
เมื่อพบพระที่ไม่ดี ก็ควรที่จะช่วยกันกำาจัด ตามทางที่ถูกที่ควร อย่าคิดว่า "ชั่วช่างชี ดีช่างสงฆ์"
เลย ในฐานะชาวพุทธ เราไม่อาจจะ "ขว้างงูให้พ้นคอ" ได้หรอก
เมื่อพบพระที่ดี ก็ควรที่จะให้ความเคารพ กราบไหว้ และอุปถัมภ์บำารุงตามฐานะ พระศาสนา
จึงจะตั้งอยู่ได้นานแสนนาน การเอาแต่ร้องแรกแหกกระเชอ จะไม่ทำาให้ศาสนาหรือศีลธรรมดีขึ้นเลย.

เหตุที่พระสัทธรรมเลือนหาย

พระพุทธเจ้า ประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน เมืองสาวัตถี พระมหากัสสป ได้


กราบทูลถามว่า

"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรเป็นเหตุ ที่เมื่อก่อนบทบัญญัติพระวินัยมีน้อย แต่พระ


อรหันต์มีมาก ในปัจจุบันสิกขาบทมีมาก แต่พระอรหันต์กลับมีน้อย?

พระพุทธองค์ตรัสตอบว่า
"กัสสป! ข้อนั้นเป็นอย่างนี้ เมื่อหมู่ สัตว์เลวลง พระสัทธรรมกำา ลัง เลือนหายไป
สิ ก ขาบทจึ ง มี ม ากขึ้ น พระอรหั น ต์ จึ ง มี น้ อ ยลง เหตุ ดั ง นี้ เพราะเกิ ด สั ท ธรรมปฏิ รู ป คื อ
สัทธรรมปลอมหรือเทียมขึ้น สัทธรรมแท้จึงเลือนหายไป

กัสสป! ธาตุดิน นำ้า ไฟ ลม ก็ไม่อาจทำาให้สัทธรรมเลือนหายไปได้ แต่โมฆบุรุษใน


โลกนี้ต่างหาก ที่ทำาให้สัทธรรมเลือนหายไป

กัสสป! เหตุ ๕ อย่าง ที่ทำาให้พระสัทธรรมเลือนหาย คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก และ


อุบาสิกา ไม่เคารพในพระศาสดา ๑ ไม่พระธรรม ๑ ในพระสงฆ์ ๑ ในการศึกษา ๑ ในสมาธิ

กัสสป! ถ้าภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก และอุบาสิกา มีความเคารพยำาเกรงในพระศาสดา ใน


พระธรรม ในพระสงฆ์ ในการศึกษา และในสมาธิแล้ว พระสัทธรรมจะตั้งมั่น ไม่ฟั่นเฟือน
และไม่เลือนหายไป".

สัทธรรมปฏิรูปกสูตร ๑๖/๒๔๖

พระสูตรนี้ ทรงแสดงถึงเหตุที่จะให้พระสัทธรรมเสื่อมไว้ ๒ ประเด็น คือ เกิดจาก


โมฆบุรุษ และเกิดจากพุทธบริษัท ๔ คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก และอุบาสิกา ด้วยกันเอง
ทำาให้เสื่อม

เกิดจากโมฆบุรุษ คือ คนเปล่า คนโง่เขลา หรือคนที่ไม่มีสารประโยชน์ทั้งแก่ตนเองและผู้อื่น


คนพวกนี้เข้าไปอยู่ในที่ไหน ก็จะทำาให้หมู่คณะนั้นเสื่อม
เกิดจากพุทธบริษัท คือ คนภายในศาสนานี้เอง เป็นผู้ที่ทำาลายเสียเอง เปรียบเหมือนขุยไผ่ฆ่าต้น
ไผ่ หรือลูกกล้วยฆ่าต้นกล้วย ฉะนั้น
ทางที่พุทธบริษัทจะทำาลายพระสัทธรรมก็คือ ความไม่เคารพ ไม่ยำา เกรงในพระพุทธเจ้า พระ
ธรรม พระสงฆ์ ในการศึกษาพระธรรม และในการปฏิบัติสมาธิ ซึ่งก็รวมถึงการเจริญวิปัสสนาด้วย
ซึ่งก็แน่นอนล่ะ ก็ขนาดคนในศาสนา ยังไม่เคารพไม่ยำาเกรงแล้ว จะให้ใครยำ่าเกรงเล่า ชาวพุทธ
สังวรข้อนี้ไว้ให้มาก

คุณธรรมที่ทำาให้คนเป็นพระอินทร์

พระพุทธเจ้า ประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน เมืองสาวัตถี ได้ตรัสกะภิกษุทั้ง


หลาย ถึงคุณธรรมที่ทำาให้คนเป็นพระอินทร์ หรือท้าวสักกะจอมเทพ เรียกว่า "วัตรบท" มี ๗
ข้อ คือ

๑. เลี้ยงมารดาบิดาตลอดชีวิต
๒. อ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ในตระกูลตลอดชีวิต
๓. พูดจาอ่อนหวานตลอดชีวิต
๔. ไม่พูดจาส่อเสียดตลอดชีวิต
๕. ยินดีในการบริจาคทานตลอดชีวิต
๖. พูดคำาสัตย์ตลอดชีวิต
๗. ไม่โกรธตลอดชีวิต ถ้าเกิดความโกรธก็ระงับโดยเร็ว

ภิกษุทั้งหลาย! ท้าวสักกะจอมเทพ เมื่อยังเป็นมนุษย์อยู่ในกาลก่อน ได้รักษาวัตรบท


๗ ประการนี้บริบูรณ์ จึงได้เป็นท้าวสักกะ."

ปฐมเทวสูตร ๑๕/๓๑๘

คติและคำา สอนของพระพุทธศาสนา ไม่ผูกขาดชนชั้น หรือตำา แหน่งต่าง ๆ แม้แต่ความเป็น


พระพุทธเจ้า ที่จัดว่าเป็นยอดสุดของความเป็นสัตว์โลก
ทั้ง นี้เ พราะพระพุท ธศาสนา ถื อหลัก เหตุ ผลและความเป็นจริง อีก ทั้ง มีใ จกว้า งยิ่ งนั ก โดย
เฉพาะพระศาสดาของเรา ทรงให้อิสระในความคิด ความเชื่อ และการกระทำาเต็มที่
แม้แต่ตำาแหน่งเทพชั้นต่าง ๆ ทุกชั้น ถ้าใครต้องการก็สามารถไปอยู่ได้ ขอแต่ว่าให้สร้างเหตุให้
ถึงฐานะนั้น ๆ เถิด เช่น พระพรหม พระอินทร์ และเทพชั้นรอง ๆ ลงมาทุกชั้น
คิดดูเถิดในโลกนี้ จะมีพระศาสดาองค์ใดบ้าง ที่กล้าพูดความจริง และมีจิตใจที่กว้างใหญ่
ไพศาลเช่นนี้ ควรที่ชาวพุทธเราจะภูมิใจ และพร้อมใจกัน ปฏิบัติตามคำา สอนอย่างจริงจังและจริงใจ
และผลแห่งการปฏิบัตินั้น นอกจากจะเป็นการบูชาพระพุทธองค์ด้วยการบูชาอย่างสูงสุดแล้ว เรายังได้
อานิสงส์จากการปฏิบัตินั้น ตามฐานะที่ควรได้อีกด้วย
ในพระสูตรนี้ ทรงระบุถึงการปฏิบัติตน ที่จะให้ไปเกิดเป็นพระอินทร์ ด้วยวัตรบท ๗ ประการ
ใครอยากไปเกิดเป็นพระอินทร์ มีนางฟ้า ๕๐๐ เป็นบริวาร ก็จงปฏิบัติตามวัตรบท ให้ครบทั้ง ๗ ข้อเถิด
ได้เป็นแน่ ๆ
ถึงแม้ว่า เราจะปฏิบัติได้ไม่ครบ ๗ ข้อ แต่ละข้อที่เราทำาได้ ก็ย่อมจะเสริมให้เรามีคุณธรรมสูง
ขึ้นไปตามลำาดับ ทั้งจะเห็นผลได้ในชาตินี้เสียอีกด้วย.

การเห็นกายเนื้อของพระพุทธเจ้า

พระพุทธเจ้า เสด็จดำาเนินทางไกล ระหว่างกรุงราชคฤห์กับเมืองนาลันทา พร้อม


ด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ได้ตรัสเรื่องทิฐิ ๖๒ โดยพิสดาร ในตอนท้ายสูตร ได้ตรัสถึงการเห็น
พระกายของพระองค์ ไว้ดังนี้

"ภิกษุทั้งหลาย! กายของตถาคตมีตัณหา อันจะนำาไปสู่ภพขาดแล้ว ดำารงอยู่เทวดา


และมนุษ ย์ทั้ง หลาย จักเห็นตถาคตชั่ว เวลาที่กายของตถาคตยังดำา รงอยู่ เมื่อกายแตก
สิ้นชีพแล้ว เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย จักไม่เห็นตถาคต เปรียบเหมือนพวกมะม่วง เมื่อขาด
จากขั้วแล้ว ผลใดผลหนึ่งติดขั้วอยู่ ย่อมติดขั้วไป
ภิกษุทั้งหลาย! กายของตถาคตมีตัณหา อันจะนำาไปสู่ภพขาดแล้ว ก็ฉันนั้นเหมือน
กัน ดำารงอยู่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายจักเห็นตถาคตได้ก็ชั่วเวลาที่กายของตถาคตยังดำารง
อยู่ เมื่อกายแตกสิ้นชีพแล้ว เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย จักไม่เห็นตถาคต"

พรหมชาลสูตร ๙/๕๒
พระสูตรนี้ น่าจะเป็นหลักฐานที่ควรเชื่อได้อย่างดีว่า การเห็นกายเนื้อ หรือ ร่างกายที่จะต้อง
เน่าเปื่อย ไปตามวัยนี้ ของพระพุทธเจ้ากับของคนทั่วไป ไม่มีอะไรแตกต่างกันเลย แต่คุณธรรมต่าง ๆ ที่
อาศัยร่างกายนี้เกิดขึ้นต่างหากเล่า ที่ทำาให้คนเราแตกต่างกัน
มีสำานักปฏิบัติบางแห่ง สอนให้เพ่งดูรูปพระพุทธเจ้า หรือเพ่งให้เห็นทางมโนภาพ นัน่ ก็เกิดจาก
การที่ต้องการให้ผู้ปฏิบัติมีศรัทธา และจิตรวมตัวเป็นสมาธิ เพราะถ้าจิตไม่เป็นสมาธิ เพ่งอย่างไร เพ่ง
เท่าไร มันก็ไม่มีทางเห็นได้
ในเรื่องนี้พึงดูพระวักกลิเป็นตัวอย่าง พระวักกลิท่านบวชเข้ามาก็ด้วยเพียงอยากอยู่ใกล้ อยาก
เห็นพระพุทธเจ้าอยู่ตลอดเวลา อันนี้ก็ไม่ใช่ของแปลกประหลาด เพราะพระพุทธเจ้าท่านเป็นลูกกษัตริย์
ทั้งมีบุญวาสนาสูงส่งมาก่อน ท่านจึงมีพระรูปงามกว่าคนธรรมดา
แต่เพราะพระวักกลิสนใจมองดูแต่ร่างกาย เพียงอย่างเดียว ไม่สนใจธรรมะเลย จึงต้องถูก
พระพุทธองค์ขับไล่ให้หนีไป จึงเกิดความเสียใจ ถึงกับจะกระโดดภูเขาตาย ทรงเมตตาสั่งสอนว่า "ผู้ใด
เห็นธรรม ผู้นั้นย่อมเห็นเรา ผู้ใดเห็นเรา ผู้นั้นย่อมเห็นธรรม" พระวักกลิปฏิบัติตามจึงสามารถบรรลุ
ธรรมขั้นต้นได้
นี่ก็แสดงว่า การเห็นธรรม ย่อมสำาคัญกว่าการเห็นด้วยกายเนื้อ เพราะทำาให้หมดกิเลสตัณหา
หรือสามารถดับทุกข์ได้.

ธรรมะจากยักษ์

พระพุทธเจ้า ประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน เมืองสาวัตถี ขณะนั้นพระพุทธ


องค์กำาลังทรงแสดงธรรม แก่ภิกษุทั้งหลายถึงเรื่องพระนิพพาน นางยักษ์ผู้เป็นแม่ของอุตรา
และปุนัพสุ เห็นลูกทั้งสองกำาลังทำาเสียงดัง นางฟังธรรมไม่ชัด จึงเตือนลูกทั้งสองว่า

"เงียบเสียงหน่อยเถอะลูกอุตราและลูกปุนัพสุ! แม่จะขอฟังธรรมของพระพุทธเจ้าผู้
ประเสริฐให้จบก่อน พระพุทธเจ้าตรัสนิพพานว่าเป็นธรรมเครื่องเปลื้องตัวตน เสียจากกิเลส
ทั้งปวง เวลาที่ปรารถนาในธรรมจะล่วงเลยแม่ไปเสีย

ลูกและผัวเป็นที่รักในโลก แต่ความปรารถนาในธรรมนั้นเป็นที่รักของแม่ยิ่งกว่าลูก
และผัว เพราะลูกและผัวอันเป็นที่รักนั้น ไม่อาจจะเปลื้องความทุกข์ได้ แต่การฟังธรรมย่อม
ปลดเปลื้องเหล่าสัตว์ออกจากความทุกข์ได้ ในเมื่อโลกอันทุกข์วงล้อมแล้ว มีความแก่และ
ความตายเป็นจุดหมาย แม่อยากจะฟังธรรม เพื่อพ้นจากความแก่และความตาย ลูกรักจง
เงียบเสียงเถิด"

ปุนัพสุ ลูกชายตอบว่า

"แม่จ๋า! ลูกจะไม่พูดแล้ว อุตราน้องสาวของลูก ก็จะไม่พูดเหมือนกัน ขอแม่จงฟัง


ธรรมเถิด เพราะการฟังธรรมนำาความสุขมาให้

แม่จ๋า! เพราะเราไม่รู้พระสัทธรรม จึงได้เที่ยวไปด้วยความลำาบาก พระพุทธเจ้าเป็น


ผู้ให้แสงสว่างแก่เทวดาและมนุษย์ผู้ลุ่มหลง"

ยักขิณีมีความยินดี ตอบลูกว่า

"ชื่นใจของแม่! ลูกแม่เป็นคนฉลาด ลูกจึงรักใคร่พระธรรมอันประเสริฐ

ขอปุนัพสุ ลูกแม่จงมีความสุขเถิด วันนี้แม่ย่างขึ้นไปในพระศาสนา แม่เห็นอริยสัจ


แล้ว".

ปนัพสุสูตร ๑๕/๒๙๑

ยักษ์ตนนี้นับว่าเป็นยักษ์สัมมาทิฐิ รู้ว่าอะไรควรฟังอะไรไม่ควรฟัง สามารถที่จะแยกสาระใน


ชีวิตออกได้ คือมองเห็นลูกและผัวมีสาระแต่ในโลกนี้ แต่ธรรมะนั้นสามารถทำา ให้ทุกชีวิตได้พ บสิ่ ง
ประเสริฐ และสูงสุดเหนือชีวิต นับว่าเป็นปฏิปทาที่คนเราควรดำาเนินตามอย่างยิ่ง.

ความหมายของขันธ์ ๕
พระพุทธเจ้า ประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน เมืองสาวัตถี ได้ตรัสกะภิกษุทั้ง
หลายถึงความหมายของ ขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ไว้ดังนี้

"ภิกษุทั้งหลาย! เพราะอะไรจึงเรียกว่า รูป เพราะสลายไปด้วยความหนาว ร้อน หิว


กระหาย เพราะลม แดด และสัตว์เลื้อยคลานบ้าง

เพราะอะไรจึงเรียกว่า เวทนา เพราะเสวยหรือรับอารมณ์ที่เป็นสุขบ้าง ทุกข์บ้าง ไม่


ทุกข์ไม่สุขบ้าง

เพราะอะไรจึงเรียกว่า สัญญา เพราะจำาสีเขียว แดง เหลือง ขาวได้

เพราะอะไรจึงเรียกว่า สังขาร เพราะปรุงแต่งสังขตธรรม คือ รูป เป็นต้น

เพราะอะไรจึ ง เรี ย กว่ า วิ ญ ญาณ เพราะรู้ แ จ้ ง ในอารมณ์ ที่ ม ากระทบทางตา ฯ


เป็นต้น.

ขัชชนิสูตร ๑๗/๙๕

ขั น ธ์ ๕ เป็ น เรื่ อ งที่ ช าวพุ ท ธทุ ก คน ควรจะทำา ความเข้ า ใจให้ ก ระจ่ า ง เพราะเป็ น เรื่ อ งที่
พระพุทธเจ้าทรงสอนมาก เมื่อเข้าใจเรื่องนี้ดีแล้ว การปฏิบัติธรรมก็ง่ายเข้า เพราะเหตุว่า รูปที่เราหลง
รักใคร่ หลงยึดมั่นถือมั่นว่าเป็นเรา และของเรานั้น แท้จริงมันมิได้อยู่ในอำานาจของใครทั้งสิ้น มันย่อม
เป็นไปตามกฎของไตรลักษณ์
ขันธ์ ๕ นี้เมื่อเรายึดถือว่า มันเป็นของเรา เมื่อมันเปลี่ยนแปรไป เราก็เป็นทุกข์ เสียใจ ถ้าเรา
ไม่มีความยึดมั่นว่าเรา ว่าของเรา ความทุกข์ก็ไม่มี พระพุทธเจ้าทรงสอนให้ชาวโลกยอมรับสภาพตาม
เป็นจริง อย่าไปฝืนหรือทวนกระแสธรรมดาเข้า
ชีวิตของแต่ละคน ย่อมประกอบขึ้นด้วยขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ
และเพราะอาศัยขันธ์ ๕ นี้แหละ ถ้าเราขาดการพิจารณา โมหะความหลงก็จะเข้ามาครอบงำา ยึดถือว่า
เป็นเราและของเรา แล้วก็ทำาบุญบ้างทำาบาปบ้าง แล้วก็เสวยผลของกรรมนัน้ ๆ เวียนว่ายตาย -เกิด ไม่รู้
จักจบสิ้น
ถ้าเราไม่พบคำาสอนของพระพุทธเจ้า ไม่ได้ปฏิบัติตามคำาสั่งสอนของพระองค์ เราก็จะไม่มีการ
สิ้นสุดภพชาติได้ เมื่อเราได้พบพระธรรมอันประเสริฐเช่นนี้แล้ว ก็อย่าได้รีรอต่อไปอีกเลย ชีวิตเป็นของ
น้อย และไม่มีหลักอะไรประกัน ควรจะรีบทำาที่พึ่งให้ตนเองเสียแต่บัดนี้เถิด.

พระพุทธเจ้าทรงตำาหนิลาภสักการะ

พระพุทธเจ้า ประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน เมืองสาวัตถี ได้ตรัสกะภิกษุทั้ง


หลายว่า

"ภิกษุทั้งหลาย! ลาภ ยศ สักการะ และชื่อเสียง เป็นของทารุณ เผ็ดร้อน หยาบคาย


เป็นอันตรายแก่การปฏิบัติธรรม และบรรลุธรรมอันเกษม ซึ่งไม่มีสิ่งอื่นยิ่งไปกว่า เปรียบ
เหมือนปลาบางตัว เห็นแก่เหยื่อกลืนเบ็ดที่พรานเบ็ดเกี่ยวเหยื่อหย่อนลงไปในนำ้า ลึก มัน
กลืนเบ็ดของพรานอย่างนี้แล้ว ได้รับทุกข์ถึงความพินาศ พรานเบ็ดพึงทำาได้ตามความพอใจ
ฉะนั้น

ภิกษุทั้งหลาย! พรานเบ็ดเป็นชื่อของมารใจบาป เบ็ดและเหยื่อเป็นชื่อของลาภสัก


การะ และ ชื่อเสียง ภิกษุบางรูปยินดีพอใจในลาภสักการะ และ ชื่อเสียง ที่เกิดขึ้นแล้ว ภิกษุ
นี้เรากล่าวว่า กลืนเบ็ดของมาร ได้รับทุกข์ถึงความพินาศ

เพราะฉะนั้น เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราทั้งหลายจงละลาภสักการะและชื่อ


เสียงที่เกิดขึ้นแล้วเสีย และลาภสักการะและชื่อเสียงที่เกิดขึ้นแล้วจะครอบงำาจิตของเราไม่
ได้ เธอทั้งหลายพึงปฏิบัติอย่างนี้แล".

พฬิสสูตร ๑๖/๒๔๘
การที่พระพุทธเจ้าทรงตำาหนิลาภ ยศ สักการะ และชื่อเสียง ไว้อย่างรุนแรง ก็เพื่อให้สาวกเห็น
ความสำาคัญของสิ่งเหล่านี้ ที่ได้ทำาลายคนดีมามากมายแล้วนั้นเอง
ทั้งนี้ก็เพราะว่า จิตใจของปุถุชนนั้นกลับกลอกง่าย หวัน่ ไหวง่าย ถ้าได้ใกล้ชิดสิ่งใดนาน ๆ แล้ว
จิตใจก็ย่อมจะเปลี่ยนแปรไปได้ กลายเป็นคนละคนกันเลยทีเดียว มีตัวอย่างให้เราได้ศึกษา ทั้งในอดีต
และปัจจุบันทุกยุคทุกสมัย
พระพุทธองค์จึงทรงแสดงโทษไว้ก่อน เพื่อให้เกิดการสังวรระวัง ไม่เกิดความประมาท เมื่อมี
ลาภ สักการะเกิดขึ้น ก็จะได้บริโภคใช้สอย ด้วยความไม่หลงลืมตน มีสติและปัญญา คอยหมั่นกำากับ
และพิจารณาอยู่เสมอ ทุกข์ โทษ และภัย อันแสบเผ็ดรุนแรง ก็ไม่อาจจะเกิดขึ้นได้
เพราะการทำาความดีนั้น ต้องใช้เวลานาน ใช้ความอดทนมาก ต้องเสียสละทั้งทรัพย์สิน กำาลัง
กาย และกำาลังใจที่เข้มแข็งเด็ดเดี่ยว แม้กระนั้นเมื่อเผลอใจเพียงนิดเดียว ความดีที่ทำามาเป็นเวลานาน
ก็อาจพังทลายลงได้ในพริบตา ความไม่ประมาทจึงเป็นวิถีทางที่ปลอดภัย ด้วยประการทั้งปวง

ธรรมที่ไม่เสื่อมของภิกษุ

พระพุทธเจ้า ประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชกูฏ เมืองราชคฤห์ ได้ทรงแสดงถึงธรรมที่


ภิกษุปฏิบัติแล้ว จะมีแต่ความเจริญฝ่ายเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย เรียกว่า อปริหานิ ย
ธรรม มี ๗ ประการคือ

๑. หมั่นประชุมกันเนืองนิตย์
๒. พร้อมเพรียงกันประชุม
๓. ไม่บัญญัติสิ่งที่พระพุทธเจ้าไม่บัญญัติขึ้น
๔. เคารพภิกษุที่เป็นประธาน
๕. ไม่ลุอำานาจแก่ความอยากที่เกิดขึ้น
๖. ยินดีในเสนาสนะป่า
๗. ระลึกถึงเพื่อนพรหมจารีผู้มีศีล ที่ยังไม่มาขอให้มา ที่มาแล้วขอให้อยู่เป็นสุข

ภิกขุสูตร ๒๓/๒๓
ธรรม ๗ ประการนี้ ถ้าวัดใด สำานักใดปฏิบัติได้ ความเสื่อมก็ย่อมไม่เกิดขึ้นกับวัดนั้นหรือสำานัก
นั้นอย่างแน่นอน ผู้ที่ยังไม่แน่ใจว่า ธรรม ๗ ประการนี้ ถ้าปฏิบัติได้แล้ว จะไม่ทำาให้เสื่อมได้จริงหรือ?
ก็ขอได้โปรดพิจารณาด้วยความเป็นจริง ถึงวัดหรือสำานักต่าง ๆ ที่เสื่อมความเคารพนับถือของ
พระและชาวบ้านดูว่า วัดหรือสำา นักเหล่านั้น มีคุณธรรมนี้อยู่ในหัวใจของตน ของคนที่อยู่ในวัดและ
สำานักเหล่านั้นหรือไม่?
ธรรม ๗ ประการนี้ มิใช่ว่าจะใช้ได้เฉพาะภายในวัด หรือสำานักปฏิบัติธรรมเท่านั้น แม้ชาวบ้าน
ที่รวมกันเป็นหมู่คณะก็นำาไปใช้ได้เช่นเดียวกัน เพียงแต่ประยุกต์บ้างข้อให้เหมาะสมเท่านั้น
นี่ก็เป็นเครื่องยืนยันถึงความเป็น "อกาลิโก" ของสัจจธรรม ที่พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้ แม้จะ
ล่วงกาลผ่านสมัยมาตั้งหลายพันปี ก็ยังแจ่มและแจ๋วอยู่ตลอดกาล
เอ้า... วัดหรือสำานักใด ขึ้นต้นก็ดูฟู่ฟ่าดี มีคนขึ้นคึกคักหนาแน่น แต่ไม่นานนักก็จิดจางโรยรา
หาคนเข้ายาก ก็ขอได้โปรดนำา เอาธรรมทั้ง ๗ ข้อนี้ เข้าไปเปรียบเทียบดู แล้วยพยายามขัดเกลียวเข้า
และปฏิบัติอยู่อย่างสมำ่าเสมอ ความเจริญก็ย่อมจะเกิดแก่วัด หรือสำานักนั้นอย่างไม่ต้องสงสัย ขอแต่ว่า
อย่าทำา เป็น "หน้าไหว้ หลังหลอก" หรือ "มือถือสาก ปากถือศีล" ก็แล้วกัน รับรองว่าไม่เสื่อม และต้อง
เจริญแน่ ๆ.

การให้ทานที่ได้รับผลต่างกัน

เจ้าปายาสิ ผู้ครองนคร ที่ขึ้นกับพระเจ้าปเสนทิโกศล เป็นมิจฉาทิฐิ คือเห็นว่า


โลกหน้าไม่มี ผลของการทำาความดีและความชั่วไม่มี แต่พระกุมารกัสสปได้เทนาทางถูกให้
ฟังจนเจ้าปายาสิกลับเป็นสัมมาทิฐิ และได้บริจาคทานเป็นประจำา
แต่การบริจาคทานนั้น เจ้าปายาสิ ให้ทานโดยไม่เคารพ ไม่ให้ทานด้วยมือของตน ให้ทาน
ด้วยความไม่นอบน้อม ให้ทานอย่างทิ้งให้ เจ้าปายาสิได้มอบหมายให้อุตตรมาณพ ผู้เป็นบ่าว
ให้เป็นผู้ให้ทานแทน
ส่วนอุตตรมาณพนั้น ได้ให้ทานโดยเคารพ ให้ทานด้วยมือของตน ให้ทานด้วยความ
นอบน้อม มิได้ให้ทานอย่างทิ้งให้

ผลปรากฏว่า หลังจากบุคคลทั้งสองได้ละจากโลกนี้ไปแล้ว เจ้าปายาสิได้ไปเกิดใน


วิมานชื่อ "เสรีสกะ" ในสวรรค์ชั้นจาตุมหาราช ซึ่งเป็นสวรรค์ชั้นตำ่า สุดในบรรดาสวรรค์
ทั้งหมด และวิมานนั้นยังว่างเปล่าไม่มีเครื่องประดับประดาอะไรเลย และไม่มีนางฟ้าเป็น
บริวารแวดล้อมด้วย

ส่วนอุตตรมาณพได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ซึ่งสูงกว่าสวรรค์ชั้นจาตุมหาราช
หนึ่งชั้น และพรัง่ พร้อมด้วยยศและบริวารเป็นอันมาก

ปายาสิราชัญญสูตร ๑๐/๓๐๗

พระสูตรนี้ เป็นเครื่องเปรียบเทียบถึงผลของการให้ทาน ที่นับว่าชัดเจนมาก คือ พระเจ้าปายาสิ


เป็นเจ้าของทาน ส่วนอุตตรมาณพเป็นผู้บริการทาน พระเจ้าปายาสิไม่เคารพทาน แต่อุตตรมาณพเคารพ
ทาน แม้ว่าทานนั้นมิใช่ของตนก็ตาม นอกจากจะทำาตามคำา สั่งของนายแล้ว เขายังทำาด้วยความศรัทธา
และเสื่อมใสอีกด้วย
ฉะนั้น การทำา บุญทำา ทานในทางศาสนา ของจะมากหรือน้อยไม่สำา คัญ สำา คัญที่ใจ คือความ
เลื่อ มใสและศรัท ธา ถ้า ยังไม่ เ กิด ศรัท ธา ยังไม่ มี ค วามเลื่ อ มใส ก็ อ ย่ า ทำา ดี ก ว่า ถ้ าขื นทำา ในขณะนั้น
นอกจากผลทานจะน้อยแล้ว ผลที่ได้รับก็จะกระดำากระด่าง คือ ได้ ทั้งบุญและบาปคละเคล้ากันไป
ดังนั้น ก่อนให้ทานทุกครั้ง จะต้องมีความดีใจ กำาลังให้ก็เลื่อมใส และเมื่อให้แล้วก็ต้องปลื้มใจ
ทานนั้นจึงจะจัดว่ามีอานิสงส์มากหรือมีผลมาก.

เหตุผลที่คนเกิดมาแล้วไม่เหมือนกัน

พระพุทธเจ้า ประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน เมืองสาวัตถี ได้ทรงตอบปัญหา


ของสุภมาณพ ที่ทูลถามว่าทำาไมคนที่เกิดมาในโลกนี้แล้ว จึงมีสภาพไม่เหมือนกัน พระองค์
ทรงตอบปัญหานี้ พอสรุปเป็นคู่ได้ ๗ คู่คือ

๑. คนที่เกิดมามีอายุสั้น เพราะชอบฆ่าคนหรือสัตว์ มีจิตใจเหี้ยมโหด ขาดความ


เมตตา กรุณาในสัตว์ ตายไปต้องตกนรก ถ้ามาเกิดเป็นคจก็มีอายุสั้น
ส่วนคนที่ที่มีอายุยืน เพราะไม่ฆ่าคนหรือสัตว์ มีจิตเมตตาสงสารต่อสัตว์ทั้งปวง
๒. คนเกิดมามีโรคมาก เพราะชอบเบียดเบียนคนหรือสัตว์ ให้ได้รับความลำาบาก
เดือดร้อนต่าง ๆ ตายแล้วต้องตกนรก มาเกิดเป็นคนจึงมีโรคมาก
ส่วนคนที่มีโรคน้อย เพราะไม่เบียดเบียนหรือทรมานคน และสัตว์มีใจเอ็นดูต่อสัตว์
ทั้งปวง

๓. คนที่เกิดมามีผิวพรรณไม่งาม เพราะเป็นคนขี้โกรธ ขัดเคืองพยาบาทง่าย ตาย


แล้วต้องตกนรก มาเกิดเป็นคนจึงมีผิวพรรณไม่งาม
คนที่มีผิวพรรณงาม เพราะเป็นคนไม่มักโกรธ ไม่ขัดเคือง ไม่พยาบาทคน

๔. คนที่เกิดมามีอำา นาจหรือความสามารถน้อย เพราะเป็นคนขี้ริษยาผู้อื่น ขาด


ความเคารพนับถือผู้อื่น ตายแล้วต้องตกนรก มาเกิดเป็นคนจึงมีอำานาจน้อย
ส่วนคนที่มีอำานาจมาก เพราะเป็นคนไม่ริษยา เคารพบูชาผู้ควรเคารพ

๕. คนที่เกิดมายากจน เพราะเป็นคนไม่ชอบให้ทาน หรือขี้เหนียว ตายไปต้องตก


นรก เกิดมาเป็นคนจึงยากจน
ส่วนคนที่รำ่ารวย เพราะเป็นคนชอบให้ทานอยู่เสมอ มีจิตชอบเสียสละแบ่งปัน

๖. คนที่เกิดในตระกูลตำ่า เพราะเป็นคนกระด้างถือตัว ไม่อ่อนน้อมหรือกราบไหว้


ต่อบุคคลที่ค วรอ่อนน้อมหรือกราบไหว้ ตายไปต้อ งตกนรก มาเกิ ดอี กจึ งเกิด ใน
ตระกูลตำ่า
ส่วนคนที่เกิดในตระกูลสูง เพราะเป็นคนไม่เย่อหยิ่งถือตัว แต่อ่อนน้อม ถ่อมตน

๗. คนที่เกิดมามีปัญญาทรามหรือโง่เขลา เพราะเป็นคนไม่ชอบเข้าไปหาผู้รู้ ไม่สน


ใจไตร่ถามเรื่องบาป บุญ ความดี ความชั่ว ตายไปต้องตกนรก มาเกิดอีกจึงโง่เขลา
ส่วนคนที่มีปัญญาดี เพราะชอบคบหากับบัณฑิตผู้รู้ สนใจศึกษาเรื่องกุศล อกุศลอยู่
เนื่อง ๆ.
จูฬกัมมวิภังคสูตร ๑๔/๓๒๓

เรื่องกรรมคือการกระทำา ที่แบ่งแยกให้คนเราเกิดมาแล้วไม่เหมือนกัน เป็นเรื่องที่น่าสนใจมาก


เพราะถ้าเข้าใจผิดในเรื่องกรรม จะทำา ให้คนบางคนกลายเป็นมิจฉาทิฏิ จะมุ่งสร้างแต่ความชั่วอย่าง
เดียว เพราะเห็นว่าบางคนทำาความดีแทบตาย ไม่เห็นความดีตอบสนอง แต่บางคนทำาชั่วกลับได้ดี มี
คนนับถือและรำ่ารวยทันตาเห็น ส่วนคนทำาความดีจะต้องรอไว้รับผลในชาติหน้า อย่างนี้เป็นต้น
การทำาความดีต้องยึดหลักใจเป็นสำาคัญ จะเอาวัตถุมาเป็นเครื่องวัดไม่ได้ และที่สำาคัญจะต้อง
มองผลของความดีความชั่วด้วยสายตาที่กว้างและไกลอีกด้วย
ในพระสูตรนี้ ย่อมจะเป็นบทเรียนที่ดี สำาหรับบางคนที่ท้อแท้ใจว่า ทำาดีแล้วไม่เห็นรำ่ารวยสักที
ทั้งนี้เพราะเรามองไม่เห็นเหตุในอดีต ที่เราทำาไว้อย่างไร แต่พระพุทธเจ้าท่านมีพระญาณสามารถที่จะ
มองเห็นทั้งอดีตและอนาคต ถ้าเราไม่เชื่อพระองค์ แล้วจะไปเชื่อใครได้ในโลกนี้ ถ้าเราเชื่อนักปราชญ์ที่
มีกิเลส อวดรู้ดีกว่าพระพุทธเจ้า เราก็จะตาบอดตลอดทุกชาติ
พระสูตรนี้ มีแง่คิดที่น่าสนใจคือ ตัวกรรมชั่วต่าง ๆ นั้น ผู้ที่ทำา ไว้ไปได้เสวยหรือรับผลในนรก
เสร็จแล้ว แต่ที่เราเกิดมาในชาตินี้ มีอายุสั้น มีโรคมาก จนถึงโง่เขลานั้น ถือว่าเป็น "เศษกรรม" หรือหาง
ของกรรมเท่านั้น
ขนาดหาง ๆ ของกรรม คนส่วนมากก็เบื่อระอาเต็มทีแล้ว ถ้าเป็นผลของกรรมจริง ๆ จะขนาด
ไหน? จึงไม่ควรมัวเมาประมาท สร้างแต่กรรมชั่วอยู่อีกต่อไปเลย.

อุบาสกชาวสักกะถูกตำาหนิศีล

พระพุทธเจ้า ประทับอยู่ ณ นิโครธาราม เมืองกบิลพัสดุ์ พวกอุบาสกชาวสักกะ


ได้ พ ากั น ไปเฝ้ า พระพุ ท ธองค์ ไ ด้ ต รั ส ถามอุ บ าสกชาวสั ก กะว่ า ยั ง รั ก ษาอุ โ บสถศี ล อั น
ประกอบด้วยองค์ ๘ อยู่เสมอหรือ? ชาวอุบาสกกราบทูลว่า บางคราวรักษา บางคราวก็ไม่
ได้รักษา พระพุทธองค์ทรงตำาหนิว่า
"อุบาสกชาวสักกะทั้งหลาย! ไม่เป็นลาภของท่านแล้ว ท่านเสื่อมจากความดีแล้ว ใน
เมื่อชีวิตมีภัยเพราะความโศก มีภัยเพราะความตายอยู่อย่างนี้ เหตุใดบางคราวก็รักษาอุโบสถ
๘ บางคราวก็ไม่รักษา?"

ทรงสรุปในตอนท้ายว่า

"อุบาสกชาวสักกะทั้งหลาย! ส่วนสาวกของเรา เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มี


ใจเด็ดเดี่ยว ปฏิบัติตามที่เราพรำ่าสอนอยู่ตลอด ๑๐ ปี พึงเป็นผู้มีความสุขโดยส่วนเดียวตลอด
ร้อยปีก็มี หมื่นปีก็มี แสนปีก็มี สาวกของเรานั้น ที่เป็นสกทาคามีก็มี เป็นอนาคามีก็มี เป็น
โสดาบันปฏิบัติไม่ผิดก็มี...

เมื่อชีวิตมีภัยเพราะความโศก มีภยั เพราะความตายอยู่อย่างนี้ เหตุใดบางคราวจึงรักษา


อุโบสถ ๘ และบางครั้งจึงไม่รักษาเล่า?"

พวกอุบาสกชาวสักกะกราบทูลตอบว่า

"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เหล่านี้ จะรักษาอุโบสถ ๘ เป็นประจำา ตั้งแต่วันนี้


เป็นต้นไป"

สักกสูตร ๒๔/๘๖

ศีลอุโบสถ อันเป็นศีลที่ทรงกำาหนด ให้อุบาสกและอุบาสิกางดเว้นตลอดวันหนึ่งกับคืนหนึ่ง


ในรอบ ๘ วัน เป็นศีลที่ชาวพุทธผู้ครองเรือน น่าจะหาวันพระที่สะดวก งดเว้นรักษาดูบ้าง มิใช่จะรอไว้
ให้ผวิ หนังตกกระเสียก่อน จึงค่อยคิดจะไปรักษาอุโบสถกับเขาบ้าง บางทีก็อาจชวดไปตลอดชาติ
ในยุคที่สังคมกำา ลังเครียดด้วยเศรษฐกิจรัดตัว อย่างทุกวันนี้ การรักษาอุโบสถศีล จะเป็นทาง
หนึ่ง ที่ช่วยลดความตึงเครียด ในการครองชีพลงได้มาก ไม่ว่าจะเป็นด้านปากท้อง หรือการแต่งกาย
ก็ตาม ในฐานะที่เป็นหนึ่งในพุทธบริษัท ๔ น่าจะนำา ระบบนี้ ไปช่วยลดเศรษฐกิจของครอบครัว และ
ประเทศกันบ้าง
คุณธรรมคือสาระของชีวิต
ควรบำาเพ็ญให้เกิดมีและรักษาให้งอกงามยิ่งขึ้น
ฆ่าความโกรธแล้วนอนสบาย

พระพุทธเจ้า ประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน เมืองราชคฤห์ นางธนัญชานีพราห


มณี มีความเลื่อมใสพระพุทธเจ้ามาก วันหนึ่งนางยกอาหาร จะเอามาให้สามี เท้าได้ก้าว
พลาดจะหกล้ม ด้วยความตกใจ นางจึงเปล่งอุทานว่า
"นะโม ! นะโม ! นะโม !"
อันหมายถึงความนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้า
พราหมณ์สามีโกรธจัด เพราะไม่ชอบพระพุทธเจ้า จึงตวาดว่า
"อีคนชั่ว! พระพุทธเจ้าของมึงดียังไง จึงต้องนอบน้อมด้วย"
"พ่อพราหมณ์! ดิฉันยังไม่เคยเห็นใครในโลกนี้ พร้อมทั้งเทวโลก และ พรหมโลก จะ
เสมอพระองค์เลย ถ้าท่านอยากรู้ ก็เชิญไปเฝ้าเองเถิด."
ด้วยอารมณ์เดือดพล่าน เขาจึงรีบไปเฝ้าพระพุทธองค์ แล้วทูลถามว่า
"พระโคดม! คนเราฆ่าอะไรจึงนอนสบาย?"
"ฆ่าความโกรธสิพราหมณ์ จึงนอนสบาย ผู้ใดฆ่าความโกรธได้ จะไม่เศร้าโศก พระ
อริยเจ้าสรรเสริญการฆ่าความโกรธอันมีรากเป็นพิษ"
พราหมณ์ได้ฟังเกิดความเลื่อมใส ทูลขอบวช ครั้นบวชแล้วไม่นาน ก็บำาเพ็ญความ
เพียร จนบรรลุเป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งในโลก

ธนัญชานีสูตร ๑๕/๒๒๒

ความโกรธเปรียบเหมือนไฟ ย่อมลุกไหม้ได้ทุกสิ่ง ไม่ว่าสิ่งดีหรือสิ่งชั่ว


แต่ไฟแม้จะร้อนแรงและเป็นอันตราย ถ้าควบคุมให้ถูกต้อง ย่อมจะใช้ให้เกิดคุณได้ แต่ความ
โกรธนั้น ไม่เคยให้คุณแก่ใครเลย
ฉะนั้น ผู้หวังความเจริญ ทั้งทางโลกและทางธรรม จึงต้องพยายามดับความโกรธให้ได้มาก
ที่สุด ยิ่งดับได้มากเท่าไร เราเองก็ย่อมจะประสบความสงบสุขมากขึ้นเท่านั้น ตรงข้ามถ้าขืนให้โกรธ
บ่อย ๆ นอกจากจะเกิดโทษแล้ว ยังเป็นบ่อเกิดของโรคต่าง ๆ มากมายอีกด้วย.

อันวิสัยของคนดีนั้น ย่อมไม่ระลึกและจดจำาคุณ
ที่เคยได้ทำาไว้แก่ผู้อื่น
แต่ย่อมระลึกและจดจำาพระคุณ
ที่ผู้อื่นได้กระทำาไว้แก่ตนอยู่เสมอ
และย่อมหาโอกาสที่จะสนองพระคุณของท่าน
ศีลกับปัญญาต่างอาศัยกัน

พระพุทธเจ้า ประทับอยู่ ณ สระโบกขรณีคัคครา เมืองจัมปา ในโอกาสที่เสด็จ


จาริก พร้อมด้วยหมู่ภิกษุราว ๕๐๐ รูป พราหมณ์โสณทัณฑะผู้ครองนครจัมปา ได้เข้าไป
เฝ้า พระพุทธองค์ทรงแสดงถึงค่าของคน มิได้อยู่ที่ชาติตระกูล หากแต่อยู่ที่การกระทำาความ
ดี ทั้งเพื่อตนเองและเพื่อผู้อื่น

ในตอนท้ายของสูตร ทรงอธิบายเรื่องศีลกับปัญญา ว่าต่างต้องพึ่งพาอาศัยกัน การ


ปฏิบัติจึงจะบรรลุเป้าหมาย โสณทัณฑะได้แสดงความเห็นคล้อยตาม พระพุทธองค์จึงตรัส
ว่า

"พราหมณ์! ข้อนี้เป็นอย่างนั้น ปัญญาอันศีลชำาระให้บริสุทธิ์ ศีลอันปัญญาชำาระให้


บริสุทธิ์ ศีลมีในบุคคลใด ปัญญาก็มีในบุคคลนั้น ปัญญามีในบุคคลใด ศีลก็มีในบุคคลนั้น
ปัญญาเป็นของบุคคลผู้มีศีล ศีลเป็นของบุคคลผู้มี ปัญญา และนักปราชญ์ย่อม
กล่าวศีลกับปัญญา ว่าเป็นยอดในโลก เหมือนบุคคลล้างมือด้วยมือ หรือล้างเท้าด้วยเท้า
ฉะนั้น.

โสณฑัณฑสูตร ๙/๑๔๘

ศีล จัดว่าเป็นพื้นฐานของความดีทั้ งปวง ผู้ที่ มีค วามล้มเหลวในการรัก ษาศี ล จะหาความ


ก้าวหน้าในทางสมาธิ และปัญญาไม่ได้เลย เพราะศีลเป็นของหยาบ ควบคุมแต่ทางกายและวาจา
เท่านั้น ส่วนสมาธิและปัญญานั้น เป็นเรื่องจิตใจโดยตรง ถ้าของหยาบ ๆ ยังทำาไม่ได้ จะทำาของละเอียด
ได้อย่างไร?
จริงอยู่ การมีเจตนางดเว้น เพียงเพื่อให้ได้ชื่อว่าเป็นผู้มีศีลแบบ "ศีลสังคม" ที่นิยมกันอยู่ทั่วไป
นั้น ไม่ใช่ของยากเย็นอะไร มีผู้รักษากันอยู่แล้ว และเป็นมานานแล้ว แต่การรักษาศีลที่ต้องมีปัญญา
เข้าร่วมด้วยนั้น ไม่ใช่ศีลที่จะรักษากันง่ายนัก
ยิ่งเป็นศีลที่แยกออกจากปัญญาไม่ได้เลย ชนิดที่พระพุทธองค์ทรงเปรียบเหมือน "คนล้างมือ
ด้วยมือ หรือ ล้างเท้าด้วยเท้า" ด้วยแล้ว ก็จะยิ่งยากขึ้นไปกว่านั้นอีก นัน่ คือ
ผู้ที่จะรักษาศีลจะต้องมีปัญญากำากับ ในการรักษาศีลอยู่ตลอดเวลาว่า เรารักษาศีลเพื่ออะไร ?
จุดมุ่งหมายอันสูงสุดของการรักษาศีลคืออะไร? และจะรักษาศีลอย่างไร จึงจะบรรลุเป้าหมายนั้น?
นี่ก็เป็นหลักยืนยันได้ชัดเจนว่า พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาของผู้มีปัญญา จะถึงตัวศาสนาได้
ก็ด้วยปัญญา และการที่จะพ้นทุกข์ทั้งปวงได้ก็ด้วยปัญญา ปัญญาจึงจำาเป็นในการปฏิบัติศาสนกิจทุก
ระดับขั้น
แต่ถึงแม้ว่าปัญญาจะเป็นยอดธรรมก็จริง แต่ปัญญาก็ย่อมจะต้องมีธรรมะอื่น ๆ เช่น ทาน ศีล
และ สมาธิเข้าร่วมด้วย จึงจะจัดว่าเป็นปัญญาที่เป็นสัมมาทิฐิ และใช้ดับทุกข์ได้.

ภิกษุที่ถูกลมเวรัมภาพัดขาด

พระพุทธเจ้า ประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน เมืองสาวัตถี ได้ตรัสกะภิกษุทั้ง


หลายว่า
"ภิกษุทั้งหลาย! ลาภสักการะและชื่อเสียง เป็นของทารุณเผ็ดร้อนหยาบคาย เป็น
อันตรายแก่การปฏิบัติและบรรลุธรรมอันเกษม ไม่มีสิ่งอื่นยิ่งไปกว่า

ภิกษุทั้งหลาย! ลมชื่อว่า เวรัมภา พัดอยู่ในอากาศเบื้องบนซัดนกที่บินอยู่ในอากาศ


นั้น เมื่อมันถูกลมเวรัมภาซัดเท้าขาดไปข้างหนึ่ง ซัดปีกขาดไปทางหนึ่ง ซัดศีรษะขาดไปทาง
หนึ่ง ตัวขาดไปอีกทางหนึ่ง

ภิกษุทั้งหลาย! ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เธอถูกลาภสักการะ


และชื่อเสียงครอบงำาแล้ว จิตถูกยำ่ายีแล้ว เวลาเช้าเธอถือบาตร เข้าไปบิณฑบาตในหมู่บ้าน ไม่
ระวังรักษา ไม่ควบคุมกาย วาจา และใจ ขาดสติ ไม่สำารวมอินทรีย์ มีตา หู เป็นต้น เธอเห็น
หญิงที่นุ่งห่มไม่เรียบร้อยแล้วเกิดราคะในจิต เธอถูกราคะครอบงำาแล้ว ต้องลาสิกขาสึกออก
มา

ภิกษุพวกหนึ่งเอาจีวรของเธอไป พวกหนึ่งเอาบาตร พวกหนึ่งเอาผ้ารองนั่ง พวกหนึง่


เอากล่องเข็ม ฯ เปรียบดังนกลูกลมเวรัมภาซัดไปฉะนั้น

ภิกษุทั้งหลาย! ลาภสักการะและชื่อเสียง ย่อมทารุณและเผ็ดร้อนอย่างนี้แล".

เวรัมภสูตร ๑๖/๒๕๓

การบวชเป็นพระ ถ้าระวังหรือปิดกั้น เหตุแห่งความเสื่อมเพียง ๒ ประการ คือ ลาภสักการะ


(เงิน) และราคะ (ผู้หญิง) ได้ถูกต้อง การมีชวี ิตอยู่ใต้ร่มกาสาวพัตร์ ก็จะมีอินทรีย์ที่ผ่องใส ควรแก่
การกราบไหว้ และสมแก่การเป็นเนื้อนาบุญของชาวพุทธ
แต่เมื่อมันเกิดหมดบุญจริง ๆ จนผ้าเหลืองร้อน ก็อย่าทนทู่ซี้อยู่ ให้เกิดความมัวหมองแก่ศาสนา
เลย ควรรีบสึกออกไปเสียโดยเร็ว อย่าทันให้เกิดราคี เมื่อมีศรัทธาจึงค่อยมาบวชใหม่ภายหลัง โลกก็จะ
ไม่ชำ้าธรรมก็จะไม่เสีย.

การคิดค้นหาเหตุผล เป็นการพัฒนาจิต
แต่การคิดชั่ว คิดผิด ทำาให้สุขภาพจิตเสื่อม
พรหมจรรย์ที่ไม่บริสุทธิ์

พระพุทธเจ้า ได้ทรงตอบปัญหา ของพราหมณ์ชานุสโสณี ถึงเรื่องการประพฤติ


พรหมจรรย์ที่ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย บริสุทธิ์บริบูรณ์ ๗ ข้อ คือ

๑. นักบวชบางคนในโลกนี้ แสดงเครื่องหมายแห่งพรหมจารี ไม่เสพเมถุนกับหญิง แต่


ยังยินดีให้หญิงขัดสี ลูบไล้ ให้อาบนำ้าและนวดแล้วเกิดความพอใจ ชอบใจ ปลื้มใจ
ด้วยการกระทำานั้น
๒. ไม่กระทำาถึงอย่างนั้น แต่ยังกระซิกกระซี้ เล่นหัว สัพยอกกับหญิง แล้วเกิดความ
พอใจ ชอบใจ ปลื้มใจด้วยการเสสรวลนั้น
๓. ไม่กระทำาถึงอย่างนั้น แต่ยังเพ่งดู จ้องดูตาของหญิงด้วยตาของตน แล้วเกิดความ
พอใจ ชอบใจ ปลื้มใจด้วยการเล็งแลนั้น
๔. ไม่กระทำาถึงอย่างนั้น แต่เมื่อได้ฟังเสียงหญิง หัวเราะอยู่ก็ดี ร้องเพลงอยู่ก็ดี ร้องไห้
อยู่ก็ดี แล้วเกิดความพอใจ ชอบใจ ปลื้มใจด้วยเสียงนั้น
๕. ไม่กระทำาถึงอย่างนั้น แต่เมื่อระลึกถึงการหัวเราะ พูดเล่นหัวกับหญิงในกาลก่อน
แล้วเกิดความพอใจ ชอบใจ มีความปลื้มใจด้วยอาการนั้น
๖. ไม่กระทำา ถึงอย่างนั้น แต่ได้เห็นคนมั่งมี หรือลูกคนรวย ผู้อิ่มเอิบด้วยกามคุณ ๕
กำาลังได้รับการบำาเรออยู่ แล้วเกิดความพอใจ ชอบใจปลื้มใจด้วยการบำาเรอนั้น
๗. ไม่กระทำาถึงอย่างนั้น แต่ตั้งใจรักษาศีล หรือประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อหวังไปเกิด
เป็นเทพเจ้าองค์ใดองค์หนึ่ง แล้วเกิดความพอใจชอบใจ และปลื้มใจด้วยความ
ปรารถนานั้น

แม้อย่างนี้ พรหมจรรย์นั้นก็ชื่อว่า ขาด ทะลุ ด่าง พร้อย ไม่บริสุทธิ์ เพราะประกอบ


ด้วยเมถุนสังโยค ไม่พ้นไปจากความทุกข์ได้
เมถุนสูตร ๒๓/๕๔

พระสูตรนี้ ทรงแสดงถึงอำานาจราคะ คือความกำาหนัดเพศตรงกันข้ามที่ละเอียดอ่อนขึ้นไปตาม


ลำาดับ ถ้าผู้ประพฤติพรหมจรรย์อยู่ ไม่สำารวจ ไม่สำารวม ไม่สังวร ปล่อยให้อารมณ์เหล่านั้นเข้าครอบงำา
จิต การปฏิบัติธรรมก็ย่อมจะไม่ก้าวหน้า เพราะพรหมจรรย์ อันเป็นพืน้ ฐานแห่งธรรม มันขาด ทะลุ ด่าง
พร้อย หรือไม่บริสุทธิ์เสียแล้ว เหมือนไม้ที่สด แม้จะอยู่บนบก ก็ไม่อาจสีให้เกิดไฟได้

เรื่องทีพ่ ระควรพูดและไม่ควรพูด

พระพุทธเจ้า ประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน เมืองสาวัตถี ภิกษุหลายรูปประชุม


กันที่หอฉัน ต่างสนทนากันด้วยเรื่อง ดิรัจฉานกถา คือ ถ้อยคำาที่ชักนำาให้จิตตกตำ่า และ
ขวางทางไปนิพพาน คือ

เรื่องพระราชา เรื่องโจร เรื่องมหาอำามาตย์ เรื่องกองทัพ เรื่องภัย เรื่องการรบ เรื่อง


ข้าว เรื่องนำ้า เรื่องผ้า เรื่องที่นอน เรื่องดอกไม้ เรื่องของหอม เรื่องญาติ เรื่องยาน เรื่องบ้าน
เรื่องนิคม เรื่องนคร เรื่องชนบท เรื่องสตรี เรื่องคนกล้าหาญ เรื่องตรอก เรื่องท่านำ้า เรื่องคน
ตายไปแล้ว เรื่องเบ็ดเตล็ด เรื่องโลก เรื่องทะเล เรื่องความเจริญ และเรื่องความเสื่อมฯ

เวลาเย็น พระพุทธองค์เสด็จไปที่หอฉัน จึงตรัสถามว่าพวกเธอกำาลังคุยอะไรกันอยู่


พวกภิกษุกราบทูลว่า คุยกันด้วยเรื่อง ดิรัจฉานกถา ทรงติเตียนว่า ไม่สมควรที่พวกเธอผู้
ออกบวชด้วยศรัทธาจะสนทนากันด้วยเรื่องอย่างนี้

ครั้นแล้วทรงแสดง กถาวัตถุ คือ ถ้อยคำาที่ควรนำามาพูดกันในวงของภิกษุ


คือ

๑. อัปปิจฉกถา เรื่องความมักน้อย ถ้อยคำาที่ชักนำาให้ปรารถนาน้อย


๒. สันตุฏฐิกถา เรื่องความสันโดษ ถ้อยคำาที่ชักนำาให้มีความสันโดษ
๓. ปวิเวกกถา เรื่องความสงัด ถ้อยคำาที่ชักนำาให้มีความสงัดกายและใจ
๔. อสังสัคคกถา เรื่องความไม่คลุกคลี ถ้อยคำาที่ชักนำาให้ไม่คลุกคลีด้วย
หมู่คณะ
๕. วิริยารัมภกถา เรื่องการปรารภความเพียร ถ้อยคำา ที่ชักนำา ให้มุ่งมั่น
ทำาความเพียร
๖. สีลกถา เรื่องศีล ถ้อยคำาที่ชักนำาให้ตั้งอยู่ในศีล
๗. สมาธิกถา เรื่องสมาธิ ถ้อยคำาที่ชักนำาให้ทำาจิตให้ตั้งมั่น
๘. ปัญญากถา เรื่องปัญญา ถ้อยคำาที่ชักนำาให้เกิดปัญญา
๙. วิมุตติกถา เรื่องวิมุตติ ถ้อยคำาที่ชักนำาให้ทำาใจพ้นจากกิเลสและความ
ทุกข์
๑๐. วิมุตติญาณทัสสนกถา เรื่องความรู้ความเห็นในวิมุตติถ้อยคำาที่ชักนำา
ให้สนใจ และเข้าใจ เรื่องความรู้ความเห็นในภาวะที่หลุดพ้นจากกิเลสและ
ความทุกข์
วัตถุกถาสูตร ๒๔/๑๓๑

พระพุทธองค์ตรัสในอีกแห่งหนึ่งว่า

"ภิกษุทั้งหลาย! การที่พวกเธอออกบวชเป็นบรรพชิตด้วยศรัทธา นั่งสนทนาธรรม


กั น เป็ น การสมควร พวกเธอเมื่ อ นั่ ง ประชุ ม กั น ควรทำา กิ จ สองอย่ า ง คื อ สนทนา
ธรรมะ หรือ นั่งนิ่งตามแบบพระอริยะ"

ปาสราสิสูตร ๑๒/๒๕๙
นักบวชเป็นผู้เว้นจากการงานแบบชาวบ้าน จึงมีเวลาที่ว่างมาก ถ้าไม่ศึกษาธรรม ไม่ปฏิบัติ
ธรรม ไม่มีการงานอันเหมาะสมกับสมณะ เป็นภาระอยู่ประจำา ก็ไม่รู้ว่าจะทำา อะไร ก็เลยต้องบริหาร
ปาก ด้วยการยกเอาเรื่องต่าง ๆ อันไร้สาระมาพูดคุยเพื่อฆ่าเวลาให้หมดไปวัน ๆ
เมื่อมีการพูดมาก จิตใจก็ย่อมจะฟุ้งซ่านมาก เรื่องมาก มีปัญหามาก พระพุทธองค์จึงทรงขีด
วง ให้นักบวชได้พูดคุยอยู่ในกรอบของ "กถาวัตถุ ๑๐ ประการ"
ส่วนการ "นั่งนิ่งตามแบบพระอริย ะ" นั้น ได้แก่การเจริญสติ สมาธิ และ วิปัสสนา หรือการ
เจริญสติปัฏฐานสี่ อันเป็นการงานของจิตโดยตรงนั่นเอง
ถ้านักบวชรูปใดใส่ใจ สำารวมวาจาและใส่ใจให้อยู่ในหลักนี้ได้ ความเจริญงอกงามไพบูลย์ ใน
เพศของนักบวชก็ย่อมเกิดขึ้นแก่ตน อย่างไม่ต้องสงสัยเลย

ความต้องการเป็นอิสระ และ เป็นตัวของตัวเองนั้น


นับว่าเป็นสิ่งดี แสดงว่าจิตมีการพัฒนา
แต่จะต้องไม่ตกเป็นทางของสิ่งเสพติด อบายมุข
กิเลสตัณหา และค่านิยมที่ผิด ๆ ด้วย
จึงจะถือว่าเป็นอิสระ และ เป็นตัวของตัวเองอย่างแท้จริง
ทรงขอให้พระฉันวันละมื้อเดียว
พระพุทธเจ้า ประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน เมืองสาวัตถี ได้ตรัสถึงเหตุผลของ
การฉันอาหารวันละหนเดียว และทรงขอร้องภิกษุว่า

"ภิกษุทั้งหลาย! มีอยู่คราวหนึ่ง พวกภิกษุได้ทำา ให้จิตของเรา มีความยินดีเป็นอัน


มาก เราขอเตือนภิกษุทั้งหลาย ไว้ในที่นี้ว่า

ภิกษุทั้งหลาย! เราฉันอาหารวันละหนเดียว เมื่อเราฉันอาหารวันละหนเดียวอยู่แล


รู้สึกว่ามีโรคน้อย มีความลำาบากกายน้อย มีความเบากาย มีกำาลังและเป็นอยู่อย่างผาสุก
ภิกษุทั้งหลาย! ถึงพวกเธอ ก็จงฉันอาหาร วันละหนเดียวเถิด ถ้าพวกเธอฉันอาหาร
วันละหนเดียว เธอจะรู้สึกว่ามีโรคน้อย มีความลำาบากกายน้อย มีความเบากาย มีกำาลังและ
เป็นอยู่อย่างผาสุก".

กกจูปมสูตร ๑๒/๒๐๓

เรื่องของการบริโภคอาหาร มีส่วนเกี่ยวข้องกับร่างกาย จิตใจ และสติปัญญาเป็นอย่างมาก จะ


ขอยกมาพิจารณากันสัก ๒ ประเด็น คือ ทางวัตถุ กับทางจิตใจ
ทางวัตถุ หมายถึงสุขภาพกาย จะต้องเป็นผู้ฉลาดบริโภค โรคจึงจะมีน้อย ต้องเลือกกินอาหาร
ที่มีคุณค่า และต้องเหมาะสมกับวัย คือ วัยเด็ก และ วัยชรา อาหารก็ย่อมจะต้องต่างกัน นอกจากนี้จะต้อง
นึกถึงการควบคุมปริมาณ ไม่ให้มาก หรือน้อยจนเกินไป
พระพุทธองค์ทรงเป็นสัพพัญญูแท้ ทรงให้นักบวชเว้นอาหารมื้อคำ่า เพราะกิน แล้ วนอนไม่
จำาเป็น ช่างตรงกับหลักของแพทย์ในปัจจุบันพอดี อย่างน่าอัศจรรย์ นอกจากนี้ยังเป็นการลดภาระต่าง ๆ
ได้อีกมากมาย
ทางจิตใจ หมายถึงสติปัญญา จะต้องรู้จักเลือกกิน ว่าอาหารอย่างใดทำาลายสุขภาพจิต อาหาร
อย่างใดส่งเสริมปัญญา ถ้ากินอาหารย่อยยาก และกินมากเกินประมาณย่อมจะทำาลายทั้งสุขภาพกายและ
สติปัญญา เช่น ง่วง ซึม อ่อนเพลีย เป็นต้น
กล่าวเฉพาะการปฏิบัติธรรม มีส่วนสำาคัญมาก ท่านจึงจัดว่าเป็นหนึ่งในการปฏิบัติ คือ อาหา
รสัปปายะ มีอาหารพอสบาย ไม่มากไม่น้อยและมีคุณภาพด้วย
สำาหรับผู้ปฏิบัติธรรมแล้ว อาหารจะเป็นมาตรวัดอย่างดีว่าปฏิบัติก้าวหน้าหรือล้มเหลว คือ ถ้าผู้
ปฏิบัติยังกินอาหารได้มาก ก็แสดงว่า การปฏิบัติธรรมล้มเหลว ถูกความเกียจคร้านเข้าครอบงำา ถ้ากินได้
น้อยจนเกินไป หรือไม่กินเลย แสดงว่าเอาจริงเอาจังมากเกินไป ระวังจะเครียด!

สิ่งที่ควรเกี่ยวข้องและไม่ควร

พระพุทธเจ้า ประทับอยู่ ณ ถำ้า อินทสาละ พระอินทร์ได้เข้าไปเฝ้า แล้วทูลถาม


ปัญหาหลายข้อ ปัญหาข้อหนึ่งมีใจความว่า
"ข้าแต่พ ระองค์ ผู้นิร ทุกข์ ก็ภิ กษุปฏิ บัติอย่างไร จึง จะชื่ อว่ าปฏิ บัติ แล้ วเพื่ อความ
สำารวมอินทรีย์?"

พระพุทธองค์ได้ตรัสตอบว่า

"จอมเทพ! อาตมภาพกล่าวถึงรูป ที่จะพึงรู้แจ้งด้วยนัยน์ตา โดยแยก


เป็น ๒ คือ รูปทีค่ วรดูก็มี รูปที่ไม่ควรดูก็มี

กล่าวถึงเสียง ที่จะพึงรู้แจ้งด้วยหู โดยแยกออกเป็น ๒ คือ เสียงที่ควร


ฟังก็มี เสียงที่ไม่ควรฟังก็มี

กล่าวถึงกลิ่น ที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจมูก โดยแยกออกเป็น ๒ คือ กลิ่นที่


ควรดมก็มี กลิ่นที่ไม่ควรดมก็มี

กล่าวถึงรส ที่จะพึงรู้แจ้งด้วยลิ้น โดยแยกออกเป็น ๒ คือ รสทีค่ วรลิ้ม


ก็มี รสที่ไม่ควรลิ้มก็มี

กล่าวถึงสัมผัส ที่จะพึงรู้แจ้งด้วยกาย โดยแยกออกเป็น ๒ คือ กายที่


ควรสัมผัสก็มี กายที่ไม่ควรสัมผัสก็มี

กล่าวถึงอารมณ์ ที่จะพึงรู้แจ้งด้วยใจ โดยแยกออกเป็น ๒ คือ อารมณ์


ที่ควรรับก็มี อารมณ์ที่ไม่ควรรับก็ม"ี
เพื่อพระพุทธเจ้าตรัสเพียงเท่านี้ พระอินทร์ก็ได้ทูลว่า ตนได้เข้าใจเนื้อความถึงสิ่งที่
ควรเกี่ยวข้อง และไม่ควรเกี่ยวข้องแล้วว่า

เมื่อบุคคลใดเกี่ยวข้องกับ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และอารมณ์ใด


แล้ว เป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามกเจริญขึ้น แต่กุศลธรรมอันดีงามเสื่อม
ลง สิ่งนั้นบุคคลไม่ควรเข้าไปเกี่ยวข้องด้วย

แต่ถ้าบุคคลใด เข้าไปเกี่ยวข้ องกับ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และ


อารมณ์ใดแล้ว เป็นเหตุให้กุศลธรรมเจริญขึ้น แต่อกุศลธรรมเสื่อมลง สิ่ง
นั้นบุคคลควรเข้าไปเกี่ยวข้องด้วย
สักกปัญหาสูตร ๑๐/๒๔๙

การปฏิบัติธรรมเพื่อการดับทุกข์ ปัญญาที่จัดเป็นสัมมาทิฐิ คือความเห็นที่ถูกต้อง นับว่าสำาคัญ


มากเป็นอันดับหนึ่ง อีกอันดับหนึ่งที่นับว่าสำาคัญรองก็คือ การตัดสินใจเด็ดเดี่ยว ที่จะเลิกละสิ่งที่เห็นว่า
ไม่ควรเกี่ยวข้อง เช่น
การดูในสิ่งที่ไม่ควรดู ดูแล้วเกิดอกุศลในจิต ก็จะต้อง ปลูกปัญญา คือ การพิจารณาให้เห็นทั้ง
คุณและโทษ และรับแต่คุณโดยละเว้นโทษเสียให้ได้
พระสูตรนี้ นับว่าสอดคล้องกับยุคสมัยนี้อย่างยิ่ง คือ เมื่อโลกยิ่งพัฒนาในด้านวัตถุมากขึ้น สิ่งที่
ไม่เป็นประโยชน์ เป็นโทษเป็นพิษเป็นภัย ก็มีขึ้นมากตามมา เช่น สุรา บุหรี่ เฮโรอีน ฝิ่น กัญชา สิ่งเสพ
ติดต่าง ๆ
สิ่งเสพติดเหล่านี้ คนทั่วไปก็ย่อมรู้อยู่เต็มอก ว่าไม่มีคุณ มีแต่โทษ แต่ก็อดที่จะลองเสพไม่ได้
และเมื่อเสพจนติดแล้ว ก็ยังไม่คิดจะเลิก นั้นเพราะอะไร? ก็เพราะเราขาดปัญญา ขาดสัจจะ ขาดความ
อดทน จิตใจก็เลยอ่อนแอ กลายเป็นทาสของมันตลอดไป
พระสูตรนี้ แม้ว่าพระอินทร์จะถาม ถึงข้อปฏิบัติของพระ แต่ชาวบ้านเราก็สามารถจะนำา มา
ปฏิบัติให้เกิดความสุขความเจริญได้โดยแท้
การถือฤกษ์ยามตามหลักพระพุทธเจ้า

เรื่องของการถือฤกษ์งามยามดี เป็นสิ่งสำาคัญที่สุด สำาหรับชาวบ้าน ที่ยังไม่ถึง


ธรรมะของพระพุทธเจ้า มักจะคล้อยตามหรือเชื่อถือตาม ๆ กันมา โดยปราศจากเหตุผล และ
ตราบใดที่คนเรายังไม่มีความเชื่อมันในกฎแห่งกรรมของพระพุทธศาสนาอย่างหนักแน่น
แล้ว ก็ยากที่จะเลิกละได้ พระพุทธองค์ทรงวางหลักการถือฤกษ์ยามไว้ดังนี้

"ภิกษุทั้งหลาย! คนเหล่าใดทำาความดี ด้วยกาย วาจา ด้วยใจ ในเวลาเช้า เวลาเช้าก็


เป็นเวลาเช้าที่ดี ของคนเหล่านั้น
คนเหล่าใดทำาความดีด้วยกาย วาจา และใจ ในเวลาเที่ยง เวลาเที่ยงก็เป็นเวลาเที่ยงที่ดี
ของคนเหล่านั้น
คนเหล่าใดทำา ความดีด้วยกาย วาจา และใจ ในเวลาเย็น เวลาเย็นก็เป็นเวลาเย็นที่ดี
ของคนเหล่านั้น
คนทั้งหลายปฏิบัติชอบในเวลาใด เวลานั้นชื่อว่าเป็นฤกษ์ดี มงคลดี สว่างดี รุ่งดี ขณะ
ดี ยามดี และบูชาดี"

สุปุพพัณหสูตร ๒๐/๓๓๕

หลักคำำสอนสำำคัญของพระพุทธศำสนำ เน้นเรื่องกำรกระทำำเป็นใหญ่ ถือว่ำใคร


ทำำควำมดีเวลำใด เวลำนั้นก็เป็นเวลำดี เป็นฤกษ์ที่ดีเป็นเวลำที่เป็นมงคล ทำำให้เกิดโชคดี มี
ควำมสุขควำมเจริญตำมมำ
แต่ทั้งนี้ จะต้องมีปัญญากำากับด้วย คือ ต้องประกอบด้วยกาลเทศะ และบุคคลร่วมด้วย ถ้า
ทำากรรมใดโดยขาดปัญญา กาละและเทศะ เช่น หว่านข้าวในทะเล หรือทำานาหน้าแล้ง มันก็ย่อมจะ
เหนื่อยเปล่า และเสียของเปล่าแน่นอน
และสิ่งประกอบสำาคัญ ที่ไม่ควรลืมคืออกุศลกรรมเก่า จะตามมาให้ผลในขณะที่เรากำาลัง
ทำาความดี ให้เราต้องได้รับทุกข์ แต่เหตุที่เราทำากรรมดีไว้ ผลก็จะต้องดีเสมอไป ไม่กลับกลายเป็นอื่น
เรื่องกฎแห่งกรรม เป็นเรื่องลึกซึ้งและซับซ้อน ค่อนข้างจะเข้าใจยาก ควรที่จะศึกษาให้แจ่มแจ้ง
มิฉะนัน้ อาจเห็นผิดว่า "คนทำาดีได้ชั่วก็มี คนทำาชัว่ ได้ดีก็มี" ซึ่ง ตามกฎแห่งกรรมของพระพุทธ
ศาสนาแล้ว ไม่มีทางจะเป็นไปได้
แต่เพราะการให้ผลของกรรม บางครั้งต้องข้ามภพชาติ จึงทำาให้ผู้อ่อนปัญญาเห็นผิดไป เพราะ
ไปเพ่งแต่กรรมในปัจจุบัน ไม่เห็นกรรมชั่วในอดีต ที่กำาลังให้ผลอยู่ในปัจจุบัน
ในฐานะชาวพุทธที่ดี ก็ควรจะดำาเนินตามแนวคำาสอนของพระพุทธเจ้า เพราะเป็นแนวคำาสอน
ของผู้รู้แจ้งโลกทุกโลกแล้ว ไม่มีทางที่จะผิดพลาดได้ อย่าได้ฝากความหวังไว้กับหมอดู ซึ่งมักจะคู่กับ
หมอเดา จะพาให้เศร้าใจ.

ปัญหาที่ไม่ควรสนใจ

พระพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน เมืองสารถี พระมาลุงกยบุตร ได้ไป


เฝ้าทูลถามปัญหา เรื่องโลกเที่ยงหรือไม่เที่ยง เรื่องสัตว์ตายแล้วเกิดหรือตายแล้วสูญ เรื่อง
ชาติหน้ามีหรือไม่มี เป็นต้น พระพุทธองค์ ทรงเปรียบเทียบเรื่องนี้ไว้น่าคิด พอสรุปได้ว่า

"มาลุงกยบุตร! ปัญหาเรื่องนี้ ไม่ใช่เรื่องที่จะต้องสนใจก่อน ขืนมัวไปสนใจจะ


ตายเสียเปล่า

มาลุงกยบุตร! เปรียบเหมือนคนถูกยิงด้วยลูกศร ซึ่งอาบด้วยยาพิษร้ายแรง


พวกญาติได้พาคนเจ็บไปหาหมอผ่าตัดที่ชำานาญเพื่อผ่าตัดลูกศรออก แต่คนเจ็บได้พูดว่า
"ช้าก่อนหมอ! เรายังไม่รู้จักคนยิงเรานั้น ว่าเป็นใคร ชื่ออะไร สูงตำ่า ดำา ขาว อย่างไร บ้าน
เรือนเขาอยู่ที่ไหน ธนูที่ยิงเราเป็นชนิดไหน สายที่ยิงทำาด้วยอะไร ลูกธนูทำาด้วยไม้อะไร หาง
ธนูทำาด้วยขนสัตว์อะไร ถ้าเรายังไม่รู้ปัญหาเหล่านี้ก่อน เราจะไม่ยอมให้ท่านผ่าเอาลูกศร
ออก" ดังนี้ ฉันใด?
มาลุงกยบุตร! คนผู้นั้นจะต้องตายเสียก่อนก็ฉันนั้น ปัญหาเรื่องโลกเที่ยงไม่
เที่ยง เรื่องสัตว์ตายเกิดหรือสูญ เรื่องชาติหน้ามีหรือไม่มีนี้ เป็นปัญหาที่จะทำา ให้ผู้ขบคิด
ตายเสียก่อน

มาลุงกยบุตร! ปัญหานี้เราไม่ตอบ เพราะเหตุใด? เพราะว่าไม่เป็นประโยชน์ ไม่


เป็นเหตุให้ประพฤติพรหมจรรย์ ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำาหนัด เพื่อความ
ดับทุกข์ เพื่อความสงบ เพื่อความบรรลุนิพพาน ส่วนความเห็นที่ว่านี้ทุกข์ นี้เหตุให้ทุกข์เกิด
นี้ความดับทุกข์ นี้ทางให้ถึงความดับทุกข์ อย่างนี้เป็นปัญหาที่เราตอบ"

จูฬมาลุงโกยวาทสูตร ๑๓/๑๓๒

พระสูตรนี้ น่าจะเป็นบทเรียนที่ดี สำา หรับคนที่มักชอบทำา ตัวเป็นคน "ห่วงหลังห่วงหน้า" แล้ว


ละทิ้ง "ประโยชน์" ทีจ่ ะได้ใน "ปัจจุบัน" ไปเสีย
การ "จัดลำาดับงาน" และการ "รู้หน้าที่" ว่า "อะไรควรทำาก่อน อะไรควรทำาหลัง" เป็นทางหนึ่ง ที่
จะช่วยย่นระยะของงาน และชีวิตลงไปได้มาก
เพราะชีวิตนี้ เป็นของเล็กน้อย และทั้งไม่รู้วันตายอีกด้วย ถ้ามัวไปสนใจในสิ่งที่ไม่ควรสนใจ ก็
อาจจะตายเสียเปล่า สูญจากสาระที่ควรจะได้ อย่างในพระสูตรนี้.

ทรงให้พระราหุลทำาใจเหมือนดินนำ้าไฟลม

พระพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน เมืองสารถี ได้ตรัสสอน พระ


ราหุล ถึง การพิจารณาธาตุ ๕ คือ ดิน นำ้า ลม ไฟ และอากาศ โดยแยกออกเป็นส่วน
ๆ ตอนท้าย ได้ตรัสให้ พระราหุล ทำาใจเหมือน ดิน นำ้า ไฟ ลม และอากาศ พอสรุปเป็นใจ
ความได้ดังนี้
๑. ราหุล! เธอจงทำาจิตให้เหมือนแผ่นดินเถิด เพราะเมื่อเธอทำาจิตให้เหมือนแผ่น
ดินเป็นประจำาอยู่เสมอแล้ว เมื่อ
กระทบอารมณ์ ที่ชอบใจหรือไม่ชอบใจก็ดี อารมณ์เหล่านั้นจะไม่สามารถทำาให้
จิตใจหวั่นไหวได้

ราหุล! เปรียบเหมือนคนทั้งหลาย ทิ้งสิ่งของที่สะอาดบ้าง ไม่สะอาดบ้าง ถ่าย


อุจจาระรดบ้าง ถ่ายปัสสาวะรดบ้าง บ้วนนำ้าลายรดบ้าง เทสิ่งของสกปรกอื่นลงบ้าง
ลงที่แผ่นดิน แต่แผ่นดินจะอึดอัดระอา หรือรังเกียจด้วยสิ่งของนั้น ๆ ก็หาไม่ ฉันใด?

ราหุล! เธอจงทำาจิตให้เสมอแผ่นดินฉันนั้นแล เพราะเมื่อเธอทำาจิตให้เหมือนแผ่น


ดินอยู่ เมื่อมีการกระทบ กับอารมณ์เกิดขึ้น ความรักหรือความชัง ก็จะไม่สามารถ
ครอบงำาจิตได้ฉันนั้น

๒. ราหุล! เธอจงทำาจิตให้เหมือนนำ้าเถิด เมื่อเธอทำา จิตให้เหมือนนำ้า แล้ว จะไม่


เกิดความชอบหรือความชัง ครอบงำาจิตใจได้

ราหุล! เปรียบเหมือนคนทั้งหลาย ล้างของหรือทิ้งของที่สะอาดบ้าง ไม่สะอาด


บ้างลงในนำ้า นำ้าจะอึดอัดระอาหรือรังเกียจด้วยของนั้น ๆ ก็หาไม่ ฉันใด?

ราหุล! เธอจงทำาจิตให้เสมอด้วยนำ้าฉันนั้นแล เมื่อกระทบอารมณ์แล้ว ความชอบ


และความชัง จะไม่สามารถครอบงำาจิตเธอได้ฉันนั้น
๓. ราหุล! เธอจงทำาจิตให้เหมือนไฟเถิด เพราะไฟนั้น เมื่อมีผู้ทิ้งของสะอาดบ้าง
ไม่สะอาดบ้าง ทิ้งอุจจาระ ปัสสาวะบ้างฯ ไฟจะรู้สึกอึดอัดระอาหรือรังเกียจด้วยสิ่ง
นั้น ๆ ก็หาไม่ ฉันใด?

ราหุล! เมื่อเธอทำาจิตให้เหมือนด้วยไฟอยู่ การกระทบกับสิ่งที่ชอบและชังก็ย่อมจะ


ไม่ปรุงแต่งให้จิตแปรปรวนได้ ฉันนั้น

๔. ราหุล! เธอจงทำา จิตให้เหมือนลมเถิด เพราะลมนั้นย่อมพั ดไปถูกต้องของ


สะอาดบ้างไม่สะอาดบ้าง พัดถูกอุจจาระ ปัสสาวะบ้าง ๆ ลมจะรู้สึกอึดอันระอาหรือ
รังเกียจต่อสิ่งเหล่านั้นก็หาไม่ ฉันใด?

ราหุล! เมื่อเธอทำาจิตให้เหมือนด้วยลมอยู่ การกระทบกับสิ่งที่ชอบและชังย่อมจะ


ไม่ปรุงแต่งให้จิตของเธอแปรปรวน ได้ฉันนั้น

๕. ราหุล! เธอจงทำาจิตให้เหมือนอากาศเถิด เพราะอากาศนั้นไม่ตั้งอยู่ในที่ไหน


ฉันใด?

ราหุล! เมื่อเธอทำา จิตให้เหมือนด้วยอากาศอยู่ตลอดเวลาแล้ว เมื่อกระทบกับ


อารมณ์ย่อมจะไม่เกิดความชอบและความชังขึ้นได้ ฉันนั้น"

มหาราหุโลวาทสูตร ๑๓/๑๒๖

ผู้ที่มีทิฐิ มานะ อัตตา และโทสะจริต น่าจะลองนำา เอาคำา สอน ในพระสูตรนี้ ไปใช้เป็นประจำา


เพื่อลดความโทมนัส น้อยใจหรือขัดเคืองใจ เมื่อเห็นว่าผู้อื่นล่วงเกินแล้ว ทำา ให้เกิดความไม่สบายใจ
หงุดหงิดหรือรำาคาญใจ
แม้ทำา ไม่ได้เด็ดขาดตามพระสูตรนี้ ถ้าเราได้หัดทำา อยู่เสมอ ๆ มีสติสัมปชัญญะระวังจิต ไม่
ปล่อยไปตามอารมณ์ที่มากระทบ จิตของเราก็จะสงบ นั่นก็คือจุดหมายปลายทางของความสุขที่ทุกคน
ปรารถนา แม้ได้รับเพียงครั้งคราว ก็นับว่าประเสริฐสุดแล้ว

การทำาบุญ ช่วยให้ ได้ที่พึ่ง


จิตเข้าถึง สวรรค์ ทันตาเห็น
ยอดบุญแท้ ถึงได้ แล้วใจเย็น
ดับทุกข์เข็ญ เป็นสุข ทุกคืนวัน

หลักใหญ่สำาหรับเทียบเคียง ๔
(ฝ่ายธรรมะ)
พระพุทธเจ้า ประทับอยู่ ณ อานันทเจดีย์ ใกล้โภคนคร ได้ตรัสถึงมหาประเทศ ๔
สำาหรับสอบสวนเปรียบเทียบ หลักคำาสอนของพระพุทธเจ้า คือ

หากมีภิกษุกล่าวว่า

๑. ข้าพเจ้าได้ฟังมาจากพระพุทธเจ้าว่า นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำา สอนของ


พระพุทธเจ้า
๒. ในวัดโน้นมีสงฆ์อยู่ พร้อมด้วยพระเถระ ข้าพเจ้าได้ฟังมา เฉพาะหน้าสงฆ์นั้นว่า
นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำาสอนของพระพุทธเจ้า
๓. ในวัดโน้นมีพระเถระอยู่มาก เป็นผู้รู้เป็นผู้ชำา นาญ ทรงธรรม ทรงวินัย นี้เป็น
วินัย นี้เป็นคำาสอนของพระพุทธเจ้า
๔. ในวั ด โน้ น มี พ ระเถระอยู่ อ งค์ ห นึ่ ง เป็ น ผู้รู้ เ ป็ น ผู้ ชำา นาญ ทรงธรรมทรงวิ นั ย
ข้าพเจ้าได้ฟังมาเฉพาะหน้า พระเถระรูปนั้นว่า นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำาสอน
ของพระพุทธเจ้า
เมื่อได้ฟังมาดังนี้ จงอย่าชื่นชมหรือคัดค้าน แต่จงเรียนข้อความและถ้อยคำาเหล่านั้น
ให้ดี แล้วจงสอบสวนดูในพระสูตรและเทียบเคียงดูในพระวินัย ถ้าลงและเข้ากันไม่ได้ พึง
ทราบเถิดว่า นี้มิใช่คำาสอนของพระพุทธเจ้า ท่านจำามาผิดแล้วจงทิ้งเสียเถิด

สัญเจตนิยวรรค ๒๑/๑๙๕

พระพุทธดำา รัสตอนนี้ เป็นหลักในการเตือนสติอย่างดีสำา หรับผู้ที่มี "สัทธาจริต " คือมี


ความเชื่อเป็นทุนเดิมอยู่ก่อน ใครพูดว่าอะไร? อย่างไร? ก็มักจะ "เชื่อคำา " อย่างหลับตาปิดหู ผลที่
ตามมาก็คือ นอกจากจะเสียเวลาแล้ว ยังอาจจะถูกหลอกเอาอีกด้วย เพราะไม่ว่ายุคไหน ก็มักจะมีคน
ประเภท "มือถือสาก ปากถือศีล" แอบแฝงเข้ามาอยู่เสมอ
การมีหลักฐานไว้สำาหรับเทียบเคียง ย่อมจะเกิดผลดีไม่ว่าในกาลไหน ๆ หลักการนี้มิใช่ว่าจะ
ใช้ได้เฉพาะทางธรรมะเท่านั้น แม้ทางโลก ๆ ก็ใช้ได้ดี เพราะมี "ข่าวลือ" เกิดขึ้นเป็นครั้งคราวอยู่เสมอ

การมีความดีแล้วอวดคนอื่น
ทำาให้ค่าของความดีลดลง และไม่บริสุทธิ์
ทรงให้ภิกษุรู้คุณและตอบแทนคุณคน

พระพุทธเจ้า ประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน เมืองสาวัตถี ได้ตรัสกะภิกษุทั้ง


หลาย ถึงเรื่องสุนัขจิ้งจอกแก่ตัวหนึ่ง ที่เข้ามาอาศัยอยู่ในวัด แล้วทรงนำาเอามาเป็นข้อเปรียบ
เทียบ ในเรื่องความกตัญญูรู้คุณ และ ความกตเวที คือ ตอบแทนคุณไว้ดังนี้

"ภิกษุทั้งหลาย! ความกตัญญูบางอย่าง และ ความกตเวทีบางอย่าง พึงมีในสุนัข


จิ้งจอกแก่ตัวนั้น แต่ความกตัญญูบางอย่าง และความกตเวทีบางอย่าง ไม่พึงมีในภิกษุบางรูป
ผู้กฏิญาณว่าเป็นศากยบุตรในธรรมวินัยนี้เลย
เพราะเหตุนั้น เธอจงปฏิบัติอย่างนี้ว่า เราจะเป็นผู้กตัญญู เราจะเป็นผู้กตเวที ความ
อุปการะแม้เล็กน้อย ที่ผู้อื่นกระทำาแล้วในเรา จะไม่เสื่อมหายไป

ภิกษุทั้งหลาย! เธอทั้งหลายจงปฏิบัติอย่างนี้แล"
สิคาลสูตร ๑๖/๓๐๗

เรื่องความรู้คุณและตอบแทนคุณนี้ พึงเห็นพระสารีบุตรเป็นตัวอย่าง แม้ราธะใส่บาตรเพียง


ทัพพีเดียว ท่านก็ยังไม่ลืมคุณ รับเป็นผู้บวชให้เมื่อแก่
พระอัสสชิสอนธรรมะโดยย่อ ให้พระสารีบุตรบรรลุธรรมขั้นต้น ต่อมาท่านก็ไม่เคยลืมคุณ แม้
ภายหลังได้เป็นพระอัครสาวกเบื้องขวา ท่านก็ไม่ลืมคุณของพระอัสสชิ เมื่อทราบว่าพระอัสสชิอยู่ทาง
ทิศไหน ท่านก็นอนหันศีรษะไปทางทิศนั้นตลอดมา
นับว่าเป็นข้อปฏิบัติที่ควรแก่การยกย่อง และถือเอาเป็นตัวอย่างได้
ความรู้คุณและตอบแทนคุณ ถือว่าเป็นคุณธรรมพื้นฐานของคน ถ้าผู้ใดขาดธรรมะ ๒ ข้อนี้แล้ว
ก็หวังความเจริญก้าวหน้าในคุณธรรมข้ออื่น ๆ ได้ยาก
ดังนั้น พ่อแม่หรือผู้ปกครองควรจะรีบปลูกฝังความกตัญญูและกตเวที ลงในจิตใจของลูกเสีย
แต่เมื่อเยาว์วัย ก่อนที่จะให้วิชาหรือความรู้แขนงใด ๆ
เพราะถ้าเด็กขาดความกตัญญูเพียงประการเดียว คุณธรรมข้ออื่น ๆ ก็ไม่เกิด เมื่อขาดคุณธรรม
เสียแล้ว ความรู้ทั้งหลายก็อาจกลายเป็นพิษได้ เหมือนมีดไม่มีฝัก
แต่การปลูกฝังความกตัญญู หรือคุณธรรมใด ๆ ลงในจิตใจของเด็ก ชนิดที่ได้ผลแน่นอนจะไม่
เป็น "หอกข้างแคร่" คอยทิ่มตำาผู้สอนนั่นก็คือ ผู้สอนหรือผู้แนะจะต้องเป็นผู้นำาที่ดี ให้เด็กได้เห็นเป็น
ตัวอย่าง ที่ประทับใจด้วย

ผู้ลิขิตกรรม

พระพุทธเจ้า ประทับอยู่ ณ ปาวาริกอัมพวัน เมืองนาลันทา หัวหน้าหมู่บ้าน


ชื่อ อสิพันธ์ ได้ไปเฝ้าและได้ทูลถามปัญหา ถึงคนที่ตายไปแล้ว ว่าพระพุทธองค์สามารถ
ทำาให้คนเหล่านั้น ไปเกิดในสวรรค์ทั้งหมดได้หรือไม่ พระพุทธองค์ทรงย้อนถามว่า
"อสิพันธ์! เราจะขอถามท่าน คนบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ผิดกาม
พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำา หยาบ พูดเพ้อเจ้อ โลภมาก พยาบาท และเห็นผิด มหาชนได้
ประชุมกันแล้วสวดวิงวอนว่า ขอให้คนนี้เมื่อตายไปแล้ว จงไปเกิดในสวรรค์เถิด คนที่ไม่มี
กุศลกรรมบถผู้นี้ เมื่อตายแล้วจะไปเกิดในสวรรค์ ได้หรือไม่?"

"ไม่ได้ พระเจ้าข้า"

"อสิพันธ์! เปรียบเหมือนคนโยนก้อนหินใหญ่ ลงไปในแม่นำ้าลึก แล้วมหาชนพากัน


สวดอ้อนวอน ขอให้ก้อนหินลอยขึ้นมา ก้อนหินจะลอยขึ้นมาตามเสียงสวดวิงวอนหรือไม่?"

"ไม่ลอยขึ้นมา พระเจ้าข้า"

"อสิพันธ์! ฉันนั้นเหมือนกัน ผู้ใดไม่รักษากุศลกรรมบถ ๑๐ เมื่อตายไปย่อมต้องตก


นรก เสียงอ้อนวอนของมหาชน ก็ไม่อาจจะช่วยอะไรใครได้

เช่นเดียวกัน คนบางคนในโลกนี้ รักษากุศลกรรมบถ ๑๐ มีการไม่ฆ่าสัตว์ เป็นต้น


เมื่อตายไปก็ย่อมไปเกิดในสวรรค์ แม้มหาชนจะพากันสวดอ้อนวอน ให้ผู้ตายไปเกิดในนรก
เขาก็ต้องไปเกิดในสวรรค์ ตามกุศลกรรมบถของเขา เปรียบเหมือนคนเทนำ้ามันลงในแม่นำ้า
แม้มหาชนจะสวดอ้อนวอน ให้นำามันจมลง นำ้ามันย่อมจะลอยขึ้น ไม่จมลงใต้นำ้าก็ฉันนั้น"

ภูมกสูตร ๑๘/๓๔๒

พระสูตรนี้แสดงว่า "วัวใคร ก็เข้าคอกใคร" เป็นหลักคำาสอนที่พ้นสมัย คือ ไม่ขึ้นกับกาลสมัย เข้าลักษณะที่ว่า


"ทำาดีได้ดีเอง ทำาชั่วได้ชั่วเอง" ใครสรรเสริญหรือสาปแช่งให้ใครดีหรือชั่วไม่ได้เลย
คนที่เห็นว่าคำาสอนของพระพุทธเจ้าล้าสมัย ครำ่าครึ งมงาย ไร้เหตุผลนั้น ล้วนแต่เป็นคนที่ไม่รู้หลักกฎแห่ง
กรรมของพระพุทธศาสนาอย่างถูกต้อง
พอเห็นชาวพุทธบางคน ไหว้กราบสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ ก็เลยเหมาเอาว่า พระพุทธศาสนาสอนให้คนงมงาย
แท้จริงเป็นเพราะคนเหล่านั้นยังเข้าไม่ถึงคำาสอนของศาสนา จึงต้องอาศัยสิ่งอื่น ๆ เข้าช่วย "เผื่อเหนียว" ไว้ก่อน ก็เช่น
นั้นเอง

ศึกษาธรรมผิดเหมือนจับงูพิษที่หาง

พระพุทธเจ้า ประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน เมืองสาวัตถี ได้ตรัสกะภิกษุทั้ง


หลายว่า

"ภิกษุทั้งหลาย! บุรุษเปล่าบางพวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ


(พระสูตร) เคยยะ (คำาร้อยกรอง) เวยยากรณะ (คำาร้อยแก้ว) คาถา (คำาฉันท์) อุทาน (
การเปล่งคำาพูดด้วยความเบิกบานใจ) อิติวุตตกะ (การยกหัวข้อธรรมขึ้นอธิบายแล้วสรุป)
ชาดก (อดีตชาติของพระพุทธเจ้า) อัพภูธรรม (ธรรมที่น่าอัศจรรย์) เวทัลละ (การถาม-
ตอบ)

บุรุษเปล่าเหล่านั้น เล่าเรียนธรรมนั้นแล้ว ย่อมไม่ไตร่ตรองเนื้อความแห่งธรรมนั้น


ด้วยปัญญา ธรรมเหล่านั้น ย่อมไม่สมควรแก่บุรุษเปล่าเหล่านั้น เขาเหล่านั้นย่อมเป็นผู้ข่มผู้
อื่น โอ้อวด ยกตัวเหตุเพราะเรียนธรรมเหล่านั้นไม่ดี จึงไม่เป็นประโยชน์ แต่เป็นไปเพื่อทุกข์
สิ้นกาลนาน เพราะเหตุไร?

ภิกษุทั้งหลาย! เหมือนบุคคลต้องการหางูพิษ เที่ยวเสาะหางูพิษอยู่ เขาพบงูพิษตัว


ใหญ่ แล้วเข้าจับที่หางของมัน งูพิษได้แว้งกัดบุคคลนั้นถึงตาย หรือทุกข์ปางตาย ข้อนั้น
เพราะเหตุใด?

ภิกษุทั้งหลาย! การเล่าเรียนธรรมเหล่านั้น ด้วยการไม่ไตร่ตรองด้วยปัญญา ธรรม


เหล่านั้นย่อมก่อให้เกิดทุกข์ เหมือนจับงูพิษที่หาง ฉะนั้น"
อลคัททูปมสูตร ๑๒/๒๑๗

พระพุทธศาสนา มีหลักคำา สอนที่กว้างขวางมาก จนทำา ให้บางคนท้อใจ ในการศึก ษาและ


ปฏิบัติ แต่ถ้าเรารู้วิธีแล้ว มันก็จะเห็นว่าไม่มากหรือลำาบาก ไม่ว่าในการศึกษาหรือปฏิบัติ
แม้แต่ของใช้บางอย่างที่เป็นวัตถุ ทั้ง ๆ ที่เห็นเขาใช้กันอยู่ บางคนก็ยังใช้ไม่เป็น เกิดอันตรายก็
มีอยู่เสมอ แต่ถา้ เราศึกษาวิธีใช้ให้ถูกต้อง ก็จะมีแต่คุณไม่มีโทษ
หลักคำา สอนของพระพุทธเจ้าก็เช่นเดียวกัน ถ้าเรารู้หลักว่าธรรมะข้อไหนควรใช้ก่อน ข้อไหน
ควรใช้หลัง มันก็จะมีแต่คุณไม่มีโทษ
แต่ถ้าเราปฏิบัติไม่ถูกวิธี มันก็อาจเกิดโทษได้ และที่เกิดโทษนั้นก็มิใช่ว่า ธรรมะให้โทษ แต่เป็น
โทษที่เราใช้ไม่ถูกเอง เช่น รู้ธรรมะแล้ว ก็เที่ยวคุยทับถม ดูหมิ่นคนอื่น รังเกียจคนอื่น เอาเปรียบคนอื่น
เป็นต้น

ธรรมของคนดีและของคนชั่ว

พระพุทธเจ้า ประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน เมืองสาวัตถี ได้ตรัสกะพระภิกษุ


ทั้งหลายถึง เรื่ อง ธรรมของคนดี (สัปปุริสธรรม) และ ธรรมของคนชั่ว (อสัปปุริส
ธรรม) พอสรุปได้ว่า

ธรรมะของคนชั่ว คือ
๑. ผู้ออกบวชจากสกุลสูง
๒. ผู้ออกบวชจากสกุลใหญ่
๓. ผู้มคี นรู้จัก มียศ
๔. ผู้มีลาภ
๕. ผู้มีการศึกษามาก
๖. ผู้ทรงจำาวินัย
๗. ผู้เป็นนักพูดธรรมะ
๘. ผู้อยู่ป่า
๙. ผู้นุ่งห่มผ้าบังสุกุล
๑๐. ผู้ถือบิณฑบาต
๑๑. ผู้อยูโ่ คนไม้
๑๒.ผู้อยู่ป่าช้า
๑๓.ผู้ได้รูปฌานที่ ๑ ถึงที่ ๔
๑๔.และผู้ที่ได้อรูปฌานที่ ๑ ถึงที่ ๔ รวม ๒๐ พวก

ใน ๒๐ พวกนี้ที่เป็นคนชั่ว คือ มักจะยกตนข่มขี่ผู้อื่น เพราะเหตุที่ตนอยู่ใน ๒๐ พวก


นั้น อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือ หลายอย่างก็ได้ จัดว่าเป็นอสัปบุรุษ คือ คนชั่วทั้งสิ้น

ส่วนคนดี ย่อมพิจารณาเห็นว่า ความโลภ ความโกรธ และความหลง ย่อมไม่อาจ


หมดไปได้เพราะการอยู่หรือได้ฐานะ ๒๐ ประการนั้น ถึงแม้ไม่อยู่ในฐานะทั้ง ๒๐ นั้น แต่
เป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ประพฤติตนสมควร คนทั้งหลายก็ต้องบูชา
สรรเสริญในที่นั้น คนดีนั้นเขาปฏิบัติแต่ภายใน (คือไม่โอ้อวด ยกตัว) ไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น
เพราะความเป็นผู้มีฐานะ ๒๐ นั้น นี่คือธรรมของคนดี

สัปปุริสสูตร ๑๔/๑๑๓

คำาว่า "ธรรม" ในหัวเรื่องนี้ เป็นของหรือสิ่งกลาง ๆ ยังไม่จัดว่าดีหรือชั่ว จึงใช้คำาว่า "ธรรม


ของคนดีและของคนชั่ว" ต่อมาเราได้ดูที่การกระทำา หรือฟังคำาที่เขาพูดแล้วจึงจะตัดสินใจได้ว่า สิ่งนั้น
ดีหรือชัว่
ในพระสูตรนี้ ท่านยกเอาผู้ที่อยู่ หรือได้คุณธรรมนั้น ๆ ใน ๒๐ ประเภทมาเป็นตัวอย่างว่า แม้ผู้
ที่ถึงฐานะ ๒๐ พวกนั้นแล้ว ก็มิได้เป็นประกันว่า จะเป็นคนดีหรือคนชั่วเสมอไป จะต้องมีการละความ
โลภ ความโกรธ และความหลงประกอบด้วย
พระสูตรนี้ น่าจะเป็นตัวอย่างที่ดี ให้ชาวพุทธที่มีสัทธาจริต เห็นพระอยู่ป่า อยู่เขา อยู่ป่าช้า นุ่ง
ห่มผ้าสีกรัก ทำาสมาธิได้ถึงขั้นฌานต่าง ๆ ว่าเป็นผู้ที่หมดกิเลสตัณหาแล้ว บางทีท่านอาจมีกิเลสตัณหา
มากกว่า พระที่อยู่ในกรุงบางรูปเสียด้วยซำ้าไป
ปฏิจจสมุปบาทเป็นธรรมลึกซึ้ง

พระพุทธเจ้า ประทับอยู่ ณ นิคมกัมมาสะทัมมะ เมืองกุรุ แคว้นกุรุรัฐ พระ


อานนท์ได้กราบทูลว่า

"น่าอัศจรรย์นัก พระเจ้าข้า" ปฏิจจสมุปบาท นี้เป็นธรรมลึกซึ้ง ทั้งมีกระแส


ความลึกซึ้ง แต่ถึงอย่างนั้นก็ปรากฏเหมือนเป็นธรรมง่าย ๆ แต่ข้าพระองค์"

พระพุทธองค์ตรัสห้ามในทันทีว่า

"อานนท์! เธออย่าพูดอย่างนี้ อานนท์! เธออย่าพูดอย่างนี้ ปฏิจจสมุปบาทนี้เป็น


ธรรมลึกซึ้ง ทั้งมีกระแสความลึกซึ้ง เพราะไม่รู้ไม่ตรัสรู้ ไม่แทงตลอดธรรมนี้ หมู่สัตว์นี้จึงเป็น
เหมือนเส้นด้ายที่ยุ่ง เป็นเหมือนกลุ่มเส้นด้ายที่เป็นปม เป็นเหมือนหญ้ามุงกระต่ายและ
หญ้าปล้อง ย่อมไม่ผ่านพ้นอบาย และการเวียนว่าย

อานนท์! เมื่อภิกษุเกิดความพอใจบ่อย ๆ ในสิ่งอันเป็นที่ตั้งของความยึดมั่นถือมั่น


อยู่ ตัณหาย่อมเกิดขึ้น เพราะตัณหาเป็นเหตุ จึงเกิดอุปาทานเป็นผล เพราะอุปาทานเป็น
เหตุ จึงเกิดภพเป็นผลฯ อย่างนี้

อานนท์! เมื่อภิกษุเห็นโทษบ่อย ๆ ในสิ่งทั้งหลายอันเป็นเหตุแห่งความยึดมั่นถือมั่น


ตัณหาย่อมดับเพราะตัณหาดับอุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับภพจึงดับฯ ความดับแห่ง
กองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี"้

นิทานสูตร ๑๖/๑๐๑
พระสูตรนี้มีเรื่องที่น่าคิด คือ พระพุทธองค์ทรงหมดกิเลสแล้ว ส่วนพระอานนท์ท่านยังไม่หมด
กิเลส ท่านได้แค่พระโสดาบันเท่านั้น การมองปฏิจจสมุปบาท จึงเป็นการมองคนละแง่ คือพระพุทธองค์
ทรงมองตลอดสาย แต่พระอานนท์ท่านอาจมองจุดใดจุดหนึ่ง ตามเยี่ยงของคนที่ยังไม่หมดกิเลส
จากความคิดอันนี้ ทำา ให้เราได้ตัวอย่างต่าง ๆ หลักฐานต่าง ๆ แม้ในพระไตรปิฎก มักจะมีผู้
แสดงความเห็ น หรื อ ตี ค วามธรรมะต่ า ง ๆ กั น ไป เพราะขึ้ น อยู่ กั บ คุ ณ ธรรมในใจ ความรู้ แ ละ
ประสบการณ์ต่าง ๆ
ดังนั้น การตีความธรรมะ จึงควรที่จะยึดหลักฐานในพระไตรปิฎกเป็นแนว มิฉะนัน้ ก็จะเกิดการ
แตกแยก และไม่อาจจะหาข้อยุติได้ ความปรารถนาดีก็เลยกลายเป็นผลร้ายให้มือที่สามได้ประโยชน์
แบบตีงใู ห้กากิน ฉะนั้น

วิธีแก้ความกลัว

พระพุทธเจ้า ประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน เมืองสาวัตถี พราหมณ์ชาณุโสณี


ได้เข้าไปเฝ้าและทูลถามปัญหาว่า ภิกษุอยู่ในที่สงบสงัดในป่า หรือ ป่าเปลี่ยวและโดดเดี่ยว
ยากที่จะอยู่ได้ หรือ ยากที่จะทำาจิตให้เป็นสมาธิได้

พระพุทธเจ้าทรงเล่าความหลังของพระองค์ ครั้งเป็นพระโพธิสัตว์ก่อนที่จะได้ตรัสรู้
ว่า ทรงเคยอยู่ในป่าและป่าเปลี่ยวมาแล้ว แต่เพราะทรงมีกาย วาจา และใจ สะอาดสุจริต มี
ราคะและนิวรณ์ ๕ สงบระงับแล้ว จึงไม่มีความหวาดกลัวแล้ว หรือเกิดความหวาดกลัว เมื่อ
อยู่ในป่าหรือป่าเปลี่ยวเช่นกัน

ในตอนท้ายสูตร พระพุทธองค์ทรงเล่าเป็นเชิงแนะการแก้ความหวาดกลัวว่า

ถ้าความหวาดกลัวเกิดขึ้นในขณะที่กำาลังเดินอยู่ จะไม่ทรงยืน ไม่ทรงนั่ง และไม่ทรง


นอนเลย จะทรงเดินจนกว่าความหวาดกลัวจะหายไป

ถ้าความหวาดกลัวเกิดขึ้นในขณะที่กำาลังยืนอยู่ จะไม่ทรงเดิน ไม่ทรงนั่ง และไม่ทรง


นอนเลย จะทรงยืนจนกว่าความหวาดกลัวจะหายไป
ถ้าความหวาดกลัวเกิดขึ้นในขณะที่กำา ลังนั่งอยู่ จะไม่ทรงนอน ไม่ทรงยืน และไม่
ทรงเดินเลย จะทรงนั่งอยู่จนกว่าความหวาดกลัวจะหายไป

ถ้าความหวาดกลัวเกิดขึ้นในขณะที่กำา ลังนอนอยู่ จะไม่ทรงนั่ง ไม่ทรงยืน และไม่


ทรงเดินเลย จะทรงนอนอยู่จนกว่าความหวาดกลัวจะหายไป

ภยเภรวสูตร ๑๒/๒๖-๓๒

พระสู ต รนี้ ทรงแสดงว่ า ผู้ ที่ ไ ม่ มี ค วามบริ สุ ท ธิ์ ท าง กาย วาจา และใจ เป็น ผู้ ทุ ศี ล มีค วาม
ปรารถนาลามก หลังลาภยศชื่อเสียง แล้วหลบเข้าไปอยู่ในป่าหรือป่าเปลี่ยว เพื่อหวังความนิยมเป็นคน
ขลัง หรือเพื่อเรียกร้องศรัทธา
บุคคลประเภทนี้ ย่อมเรียกร้องความหวาดกลัว หรือภัยอันเกิดจากป่าและป่าเปลี่ยวได้ร้อยแปด
ส่วนผู้ที่มีจิตใจเสียสละ ลาภ ยศ สรรเสริญ ได้อย่างแท้จริงแล้ว ย่อมจะไม่มีความหวาดกลัวสิ่ง
ใด ๆ เลย แม้จะเกิดขึ้นบ้างบางครั้ง เพราะจิตยังไม่หลุดพ้น ก็สามารถจะระงับและข่มความหวาดกลัวได้
โดยอาศัยบารมีธรรมช่วย ที่ตนได้ประพฤติมาดีแล้ว เป็นต้น
การระงับความกลัว ด้วยวิธีหนามยอกเอาหนามบ่งคือ เมื่อเกิดความหวาดกลัวขึ้นในอิริยาบถใด
ๆ ก็ให้อยู่ในอิริยาบถนั้น ๆ จนกว่าจะหายหวาดกลัวจึงค่อยเปลี่ยนไปอิริยาบถอื่น ถ้าไม่หายก็ไม่เปลี่ยน
ผู้ที่มีความกลัวน่าจะลองเอาไปปฏิบัติดู
อันความกลัวใด ๆ ของมนุษย์ในโลกนี้ ที่จะยิ่งไปกว่าความตายเป็นไม่มีแล้ว เมื่อคนเราสามารถ
ปลงภาระในความตายของตนได้แล้ว ความกลัวในสิ่งอื่นย่อมจะหมดไปเอง เพราะสิ่งใด ๆ ในโลกล้วน
แต่สิ้นสุดลงที่ความตายทั้งสิ้น
ดังนั้น การเจริญมรณัสสติ คือการระลึกถึงความตาย จึงเป็นอุบายหนึ่งในหลายอย่าง ที่จะช่วย
บรรเทาความหวาดกลัวได้อย่างดี ข้อสำาคัญคือจะต้องทำาให้จริงจัง และทำาอยู่สมำ่าเสมอ
เมื่อเรากำาจัดความกลัวตายลงได้เพียงอย่างเดียว ความกลัวสายอื่น ๆ ก็กลายเป็นเรื่องเล็กไป
หมด เพราะความตายมันเป็นความสิ้นหวังของทุกสิ่งในโลก

ภิกษุอยู่รูปเดียว เป็นเหมือนพรหม
อยู่สองรูป เป็นเหมือนเทวดา
อยู่ด้วยกันมากากว่าสามรูปขึ้นไป เป็นเหมือนชาวบ้าน
ย่อมมีแต่ความโกลาหลมากขึ้น
ฉะนั้น ภิกษุจึงควรอยู่แต่ผู้เดียว
ยถา พฺรหฺมา ตถา เอโก ยถา เทโว ตถา ทุเว
ยถา คาโม ตถา ตโย โกลาหลำ ตตุตฺตรำ

ยโสชเถรคาถา ๒๖/๓๐๐

สิ่งที่เป็นปฏิปักษ์ต่อกัน

พระพุทธเจ้า ประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน เมืองเวสาลี พวกเจ้า


ลิจฉวีเป็นอันมาก ขึ้นยานอย่างดีมีเสียงอื้ออึง เข้าไปเฝ้าพระพุทธองค์ พระเถระหลายรูป รู้
ว่าเสียงเป็นปฏิปักษ์ต่อฌาน และพระพุทธองค์ทรงสรรเสริญ ความมีเสียงเบา จึงพากัน
หลบไปอยู่ที่ป่าโคสิงคสาลทายวัน

พระพุทธองค์ทรงเห็นภิกษุบางตา จึงตรัสถาม เมื่อทรงทราบแล้ว ตรัสอนุโมทนา


และทรงแสดงสิ่งที่เป็นปฏิปักษ์ต่อกัน ๑๐ ประการ คือ

๑. ผู้ยินดีในการคลุกคลีกับหมู่คณะ ย่อมเป็นปฏิปักษ์ กับผู้ยินดีในที่สงัด


๒. การประกอบไว้ซึ่งสุภนิมิต ย่อมเป็นปฏิปักษ์ กับผู้ประกอบไว้ซึ่งอสุภนิมิต
๓. การดูมหรสพเป็นข้าศึก ย่อมเป็นปฏิปักษ์ กับผู้สำารวมอินทรีย์
๔. การติดต่อกับมาตุคาม ย่อมเป็นปฏิปักษ์ กับผู้พระพฤติพรหมจรรย์
๕. เสียง ย่อมเป็นปฏิปักษ์ ต่อปฐมฌาน
๖. วิตกและวิจาร ย่อมเป็นปฏิปักษ์ ต่อทุติยฌาน
๗. ปีติ ย่อมเป็นปฏิปักษ์ต่อ ตติยฌาน
๘. ลมอัสสาสะและปัสสาสะ ย่อมเป็นปฏิปักษ์ ต่อจตุตถฌาน
๙. สัญญาและเวทนา ย่อมเป็นปฏิปักษ์ ต่อสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ
๑๐. ราคะ ย่อมเป็นปฏิปักษ์ ต่อโทสะ

เธอทั้งหลาย จงเป็นผู้ไม่มีปฏิปักษ์เถิด พระอรหันต์ทั้งหลาย เป็นผู้ไม่มีปฏิปักษ์ เพราะ


เป็นผู้หมดปฏิปักษ์แล้ว

กัณฏกสูตร ๒๔/๑๓๗

การปฏิบัติธรรม ที่จะให้ได้ผลอย่างรวดเร็ว ควรที่จะต้องคำานึงถึง "สิ่งที่เป็นปฏิปักษ์" ต่อองค์


ธรรมข้อนั้น ๆ ด้วย มิฉะนั้นการปฏิบัติก็จะล่าช้า ทำาให้เสียเวลา และจะนำา พาให้เกิดความเบื่อหน่าย
เป็นผลตามมาอีกด้วย
ทั้ ง นี้ ก็ เ พราะว่า งานทางจิ ต เป็น งานละเอี ย ดอ่ อ น ต้ อ งใช้ ปั ญ ญาที่ สุ ขุ มคั ม ภี ร ภาพ จึ ง จะ
เอาชนะข้าศึก (กิเลส) ได้ ถ้ามัวแต่ต่อสู้ข้าศึกหลายด้าน โอกาสที่จะชนะมัน ก็เป็นไปได้ยาก หรืออาจ
แพ้มันก็ได้ ผู้ปฏิบัติธรรมที่ฉลาด จึงไม่ควรที่จะมองข้ามปัญหานีไ้ ป

หลักการฟังคำาพูดของผู้อื่น

พระพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน เมืองสาวัตถี ครั้งนั้นแล ทรง


เรียกภิกษุทั้งหลายมาแล้ว ได้ตรัสว่า

"ภิกษุทั้งหลาย! ทางแห่งถ้อยคำาที่บุคคลอื่น จะพึงกล่าวกะพวกเธอมีอยู่ ๕


ประการ คือ

๑. กล่าวโดยกาลอันสมควรหรือไม่สมควร
๒. กล่าวด้วยเรื่องจริงหรือไม่จริง
๓. กล่าวด้วยคำาอ่อนหวานหรือหยาบคาย
๔. กล่าวด้วยคำามีประโยชน์หรือไร้ประโยชน์
๕. กล่าวด้วยจิตเมตตาภายในหรือประสงค์ร้าย
ภิกษุทั้งหลาย! เมื่อผู้อื่นจะพูดด้วยประการใด ๆ ก็ตาม พวกเธอพึงตั้งจิตอย่าให้
แปรปรวน เราจะไม่พูดจาที่ลามก เราจะสงเคราะห์ผู้อื่นด้วยสิ่งที่เป็นประโยชน์ เราจะต้องมี
เมตตาจิต ไม่มีความโกรธภายในใจ เราจะแผ่เมตตาจิตไปให้บุคคลนั้น เราจะต้องแผ่เมตตา
จิตไปไม่มีประมาณ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาทไปตลอดโลก ทุกทิศทุกทาง

ภิกษุทั้งหลาย! หากจะมีพวกโจรผู้มีความประพฤติตำ่า ช้า เอาเลื่อยที่มีที่จับสอง


ข้าง มาเลื่อยอวัยวะน้อยใหญ่ในร่างกายของเธอ ด้วยการกระทำาของพวกโจรนั้น ภิกษุหรือ
ภิกษุณีรูปใดมีจิตคิดร้ายต่อโจรเหล่านั้น ภิกษุหรือภิกษุณีรูปนั้นไม่ชื่อว่าเป็นผู้ทำาตามคำาสั่ง
ของเรา เพราะเหตุที่อดกลั้นไว้ไม่ได้นั้น

ภิ กษุ ทั้ ง หลาย! แม้ เพราะเหตุ นั้ น พวกเธอพึ ง ปฏิ บั ติ อ ย่ า งนี้ ว่ า จิ ตของเราจะไม่
แปรปรวน เราจะไม่พูดคำา ที่ลามก เราจะอนุเคราะห์ผู้อื่นด้ วยสิ่งเป็นประโยชน์ เราจะมี
เมตตาจิต ไม่มีความโกรธภายใน เราจะแผ่เมตตาจิตไปถึงบุคคลเหล่านั้น และบุคคลทั่วไป
อันไพบูลย์ ใหญ่ยิ่ง หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาทไปตลอดโลก ทุกทิศทุกทาง ซึ่ง
เป็นอารมณ์ของจิตนั้น ดังนี้."

กกจูปมสูตร ๑๒/๒๑๐

พระสูตรนี้ ทรงมุ่งให้สาวกรับฟังคำา พูดของคนอื่นทุกประเภท ไม่ว่าจะพูดดีหรือพูดร้าย อ่อน


หวานหรือหยาบคาย ให้เรามีจิตเมตตาอยู่ตลอดเวลา หักห้ามโทสะเมื่อได้ฟังคำาหยาบคาย หรือไม่เป็น
ที่สบอารมณ์ เพื่อระงับเวรอันจะเกิดจากความอาฆาตพยาบาทนั้น
ทรงสั่งสอนถึงกับว่า ถ้ามีพวกโจรมาเลื่อยท้องไส้ของเราอยู่ แม้จะเจ็บปวดเจียนขาดใจตาย ก็
ยังต้องแผ่เมตตาจิตให้พวกโจร จะป่วยกล่าวไปไยถึงคำาพูดที่ไม่เจ็บปวดร่างกายเล่า หารกเรามีจิตคิด
โกรธแม้แต่น้อยหนึ่ง เราก็ไม่ได้ชื่อว่าเป็นศิษย์ของพระพุทธเจ้า
คำาสอนตอนนี้ ถ้าใครพยายามปฏิบัติตามได้ในชาตินี้ก็จะไม่มีภัยเวรเลย ถ้าล่วงลับดับขันธ์ ก็
หวังสุคติ โลก สวรรค์ ได้แน่นอน แต่ข้อสำาคัญมันทำา ยากนี่สิ จะทำา อย่างไร? ก็ตอบได้แบบ "กำาปั้นทุบ
ดิน" ว่า ต้องทำาบ่อย ๆ ทำาให้มาก ๆ เมื่อเราทำาบ่อยทำามาก ความยากมันก็จะหมดไป ไม่เชื่อก็ลองดู
เรื่องความดีความชั่ว ใคร ๆ ก็รู้กันอยู่เต็มอกว่า ทำาดีแล้วต้องได้ดีแน่ ทำาชั่วแล้วมันก็ต้องได้รับ
ผลของความชั่วแน่ แต่มันไปยากที่ใจมันไม่อยากทำาดี แถมยังยินดีในการทำาชั่วเสียอีก
ในทางพระท่านจึงว่า ธรรมชาติของจิตมันชอบคิดในทางตำ่า เหมือนนำ้าย่อมมีปกติชอบไหลลง
สู่ที่ตำ่าเสมอ แต่เพราะเรารู้ว่า ความดีมีผลเป็นความสุข ความชั่วมีผลเป็นความทุกข์ คนเราจึงต้องฝืน
ใจทำา ความดี และฝืนใจละเว้นไม่ทำา ชั่ว ทั้งนี้และทั้งนั้นก็เพราะคนเรามีความรักตน หวังเพื่อให้ตนมี
ความสุข ดังนี้แล.

การอยู่ร่วมกับคนผู้ไม่เสมอกัน นำาความทุกข์มาให้
ทุกฺโข สมานสำวาโส
การปฏิบัติธรรมที่ให้ผลต่างกัน

พระพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน เมืองสาวัตถี ได้ตรัสกะภิกษุ


ทั้งหลาย ถึงการปฏิบัติธรรมะ ที่ได้รับผลต่างกัน ทั้งในปัจจุบันและอนาคต พอสรุปใจความ
ได้ว่า

๑. การปฏิบัติธรรม มีสุขในปัจจุบัน แต่มีทุกข์เป็นผลต่อไป คือ ผู้ที่ไม่เห็น


โทษของกาม ย่อมดื่มดำ่าในกาม เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงนรก ได้รับทุกข์เผ็ดร้อน
สาหัส
๒. การปฏิ บั ติ ธ รรม มี ทุ ก ข์ ใ นปั จ จุ บั น และมี ทุ ก ข์ เ ป็ น ผลต่ อ ไป คื อ ผู้ ที่
ประพฤติตนทรมานกายด้วยประการต่าง ๆ อย่างพวกเดียรถีย์เป็นต้น เมื่อ ตาย
ไปย่อมเข้าถึงนรก ได้รับทุกข์เผ็ดร้อนสาหัส
๓. การปฏิบัติธรรม มีทุกข์ในปัจจุบัน แต่มีสุขเป็นผลต่อไป คือผู้ที่มีราคะ
แรงกล้า ไม่โทสะแรงกล้า มีโมหะแรงกล้า แต่ต้องอดกลั้นอดทนเมื่อกระทบกับ
ความทุกข์นั้น ต้องร้องไห้ นำ้าตานองหน้า แต่รักษาศีลรักษาพรหมจรรย์ไว้ได้
อย่างบริสุทธิ์บริบูรณ์ เมื่อตายไปย่อมไปสู่สุคติ โลก สวรรค์
๔. การปฏิบัติธรรม มีสุขในปัจจุบันและมีสุขเป็นผลต่อไป คือผู้ที่มีราคะไม่
แรงกล้า มีโทสะไม่แรงกล้า มีโมหะไม่แรงกล้า ไม่ต้องได้รับทุกข์เวทนาในการ
ประพฤติธรรม การปฏิบัติธรรม ก็ก้าวหน้าโดยลำาดับ เมื่อตายไปย่อมไปสู่สุคติ
โลก สวรรค์.

จูฬธรรมสมาทานสูตร

พระสูตรนี้ เป็นหลักฐานแสดงว่า การปฏิบัติธรรมของแต่ละคนไม่เหมือนกัน ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับ


ผลกรรม ทั้งในอดีตและปัจจุบัน หรือที่เรียกว่า "บารมี" ที่อบรมบ่มนิสัยมาไม่เท่ากัน แต่จุดหมายปลาย
ทางของผู้ปฏิบัติ ทีไ่ ด้รับผลแล้วก็ย่อมเท่ากัน คือละกิเลสตัณหาได้ พ้นทุกข์ได้เท่ากัน
ดังนั้น ผู้ปฏิบัติจึงไม่ควรท้อถอย ไม่ควรเปรียบเทียบกับคนที่เขามีบารมีสูงกว่า ถ้าจะเปรียบ
เทียบ ก็ควรจะเปรียบเทียบกับคนที่มีบารมีตำ่ากว่าเรา แต่เขาสามารถเอาชนะอุปสรรค หรือสิ่งชั่วร้าย
จนปลอดภัยมาได้
เมื่อเราได้ยินหรือได้เห็นแล้ว ก็จะเกิดกำาลังใจ ในการทำาความดียิ่ง ๆ ขึ้นไป เพราะนอกจากเรา
จะเกิดกำาลังใจที่เข้มแข็งแล้ว การทำาดีของเรายังจะเป็นแบบอย่างที่ดีแก่อนุชนอีกด้วย.

คนตาบอดคลำาช้าง

พระพุทธเจ้า ประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน เมืองสาวัตถี ได้ตรัสปรารภเจ้าลัทธิ


ต่าง ๆ ที่มคี วามคิดความเห็นต่างกัน ต่างทุ่มเถียงกันตามความเห็นของตน ๆ ครั้นแล้วทรงนำา
เอาเรื่องคนตาบอดคลำาช้าง มาเล่าให้ภิกษุทั้งหลายฟัง พอสรุปได้ว่า

มีพระราชาองค์หนึ่ง ในเมืองสาวัตถีนี้ในอดีต ได้สั่งให้เรียกคนตาบอดทั้งหมดให้มา


ประชุมกัน แล้วสั่งให้นำาช้างไปให้คนตาบอดเหล่านั้นคลำา ครั้นคนตาบอดคลำาทั่วทุกคนแล้ว
พระราชาได้ตรัสถามว่า ช้างมีลักษณะอย่างไร?

คนตาบอดเหล่านั้น ต่างมีความเห็นแตกต่างกันไป ตามแต่ที่ตนคลำาพบ พอสรุปได้


ดังนี้
คนตาบอดพวกที่คลำาถูกศีรษะช้างตอบว่า
ช้างเหมือนหม้อ
คนตาบอดพวกที่คลำาถูกหูช้างตอบว่า
ช้างเหมือนกะด้ง
คนตาบอดพวกที่คลำาถูกงาช้างตอบว่า
ช้างเหมือนผาล
คนตาบอดพวกที่คลำาถูกงวงช้างตอบว่า
ช้างเหมือนงอนไถ
คนตาบอดพวกที่คลำาถูกตัวช้างตอบว่า
ช้างเหมือนฉางข้าว
คนตาบอดพวกที่คลำาถูกเท้าช้างตอบว่า
ช้างเหมือนเสา
คนตาบอดพวกที่คลำาถูกหลังช้างตอบว่า
ช้างเหมือนครกตำาข้าว
คนตาบอดพวกที่คลำาถูกโคนหางช้างตอบว่า
ช้างเหมือนสาก
คนตาบอดพวกที่คลำาถูกหางช้างตอบว่า
ช้างเหมือนไม้กวาด

คนตาบอดเหล่านั้น ต่างทุ่มเถียงกันและกันว่า ช้างเป็นเช่นนี้ ช้างไม่ได้เป็นอย่างนั้น แล้วก็หาข้อ


ยุติไม่ได้ เพราะต่างก็ไม่รู้จักช้างที่แท้จริง พวกลัทธิต่าง ๆ ที่ไม่รู้จริง ก็มีลักษณะเหมือนคนตาบอดคลำา
ช้าง ฉะนัน้ .

กิรสูตร ๒๔/๑๕๔
พระสูตรนี้ ทรงแสดงถึงความเห็นต่าง ๆ ของเจ้าลัทธิทั้งหลาย ที่มีความเห็นไม่ตรงกัน เหตุ
เพราะ "รู้ไม่จริง" แต่พระพุทธองค์ทรงรู้แจ้งโลก จึงไม่มีปัญหาที่ชาวพุทธจะต้องถกเถียงกันอีกต่อไป
แต่ใ นวงการภายในของชาวพุท ธ ก็ ยั งมี ค วามเห็น ไม่ ต รงกั น อยู่ ในที่ ทั่ ว ๆ ไป ทั้ งนี้ เ พราะ
พระพุทธศาสนาหรือคำาสอนของพระพุทธเจ้า เปรียบเหมือนช้าง ผู้ที่ไม่รู้จริงที่มาศึกษาธรรมะ ก็เปรียบ
เหมือนคนตาบอดที่มีคลำาถูกช้างแต่ละจุด แล้วก็ถือเอาสิ่งที่ได้พบเห็นว่า เป็นตัวศาสนาที่แท้ แล้วต่างก็
ถกเถียงกันว่า ของฉันถูกของฉันแท้ ของแกผิดของแกเก๊
เหตุที่พุทธศาสนาแตกเป็นนิกายต่าง ๆ เป็นแบบและแนวการศึกษา และปฏิบั ติ ต่า งกัน ไม่
สามารถจะลงกันได้ในความเห็น ทั้ง ๆ ที่พระธรรมและพระวินัย ก็เหมือนกัน ก็ด้วยเหตุผลที่สติปัญญา
ของแต่ละคนไม่เหมือนกัน คนมีปัญญาน้อยก็มองได้ในวงแคบ คนที่มีปัญญามากก็มองได้กว้างไกล
พระพุทธศาสนาเป็นขุมความรู้ เพื่อความดับทุกข์ที่กว้างใหญ่ ยากที่ปุถุชนคนหน้าด้วยกิเลสจะ
ศึกษาให้แตกฉาน และรู้ให้ทั่วถึงได้โดยง่าย
ฉะนัน้ ผูท้ ี่มีจิตเมตตาต่อสรรพสัตว์ ผู้เกิด แก่ เจ็บ และตายร่วมกัน จึงไม่ควรจะผูกขาดความคิด
ว่า ของฉันถูก แต่ผู้เดียว เพราะนอกจากจะเป็นเหตุป กปิ ดปั ญญาของตนเองแล้ ว ยั งก่อ ให้ เกิ ดความ
แตกแยก ในหมู่พุทธบริษัทด้วยกันอีกด้วย
เราควรยอมรับความจริงว่า ตราบใดที่เรายังไม่บรรลุเป็นพระอรหันต์ ตราบนั้น เชื้ออวิชชาหรือ
ความโง่ ก็ย่อมจะมีเป็นทุนเดิมอยู่บ้างไม่มากก็น้อย.

การทำาบุญเป็นการพัฒนาจิตให้สูงขึ้น
บริสุทธิ์สะอาดและผ่องใสขึ้น
แต่ถ้ายึดและติดในบุญ
ก็ไม่อาจจะพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้
พระมหากัสสปผู้ยอดสันโดษ

พระพุทธเจ้า ประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน เมืองสาวัตถี ได้ตรัสยกย่องพระ


มหากัสสป ว่าเป็น ยอดของผู้สันโดษ ด้วยปัจจัยสี่ ไว้ดังนี้
"ภิกษุทั้งหลาย! กัสสปนี้เป็นผู้สันโดษด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และเภสัช
ตามมีตามได้ เป็นผู้กล่าวคุณแห่งความสันโดษ ไม่แสวงหาด้วยวิธีอันไม่สมควร เมื่อไม่ได้ก็
ไม่สะดุ้ง ครั้นได้ก็ไม่ยินดี ไม่ติดใจ ไม่พัวพัน มีปกติเห็นโทษ มีปัญญาเครื่องสลัดออก ย่อม
ใช้สอย ย่อมบริโภค

เหตุนั้นแล พวกเธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราจักเป็นผู้สันโดษ ด้วยปัจจัย ๔ ตามมีตาม


ได้ จักไม่แสวงหาอันไม่สมควร

ภิกษุทั้งหลาย! เราจะสอนพวกเธอ จงตามอย่างกัสสป หรือทำาตัวเหมือนกัสสป พวก


เธอเมื่อฟังแล้ว จงทำาอย่างนั้นเถิด"

สันตุฏฐสูตร ๑๖/๒๑๖

พระมหากั ส สปรู ป นี้ มีคุ ณ ธรรมหนั ก แน่ น ที่ ท่ า นถื อ และปฏิ บั ติ ไ ด้ จ นตลอดชี วิ ต อย่ า งน่ า
อัศจรรย์ยิ่ง แม้ท่านจะชราภาพแล้ว พระพุทธองค์ทรงขอร้อง ให้บรรเทาลงบ้างเถิด ท่านก็ไม่ยอม จึง
ทรงถามถึงเหตุผล ท่านจึงได้กราบทูลตอบว่า "เพื่ออนุเคราะห์ชนรุ่นหลัง"
จากพระสูตรนี้ เราจะเห็นแนวปฏิปทา ที่พระพุทธองค์ทรงโปรดเป็นพิ เศษแก่พ ระที่ ปฏิบัติ
ขัดเกลากิเลสตัณหา ที่เรียกว่า "พระป่า" หรือ "พระธุดงค์" ก็ได้แก่พระฝ่ายวิปัสสนาธุระนั่นเอง
โดนนัยนี้ ผู้ที่หวังจะให้เป็นที่ยกย่องสรรเสริญ ของพระพุทธเจ้า ก็จงเอาอย่างพระมหากัสสป
เถิด และเราก็สามารถที่จะประยุกต์เอามาปฏิบัติได้ทั้งชาววัดและชาวบ้าน นั่นคือหลักการสันโดษ คือ
ความพอใจตามที่มี และยินดีตามที่ได้ ถ้าเราทำาตามได้ อยู่ที่ไหนเราก็มีความสุขที่นั่น
ทุกวันนี้ ชาวพุทธเราไม่ขาดแคลนตำารา หรือคนที่จะสอนเลย แต่เราขาดแคลนคนที่จะทำาตาม
คำาสอนของพระพุทธเจ้ายิ่งนัก ขอให้เราเป็นหนึ่ง ในท่านเหล่านั้น ที่จะทำาตัวอย่างไว้ให้ลูก ทำาถูกไว้ให้
หลานได้ชื่นชม เมื่อเราล่วงลับไปแล้วสมตามปณิธานของท่านพระมหากัสสป แม้ว่าท่านจะมีอายุยืน
เพียง ๑๒๐ ปี ท่านก็ไม่เคยเปลี่ยนจุดยืนของท่านเลย แม้พระพุทธเจ้าจะตรัสขอก็ตาม สาธุ...

พระกายพระพุทธเจ้าเหมือนพระสาวก
พระพุท ธเจ้ า ประทับ อยู่ ณ สวนอั ม พวัน ของหมอชี วก โกมารภั จ จ์ เมื อ ง
ราชคฤห์ เพื่อแก้ข้อข้องใจของบางท่านที่ว่า พระกายของพระพุทธเจ้า จะเหมือนกับของคน
ทั่วไปในสมัยนั้น หรือไม่ บางท่านก็ว่าไม่เหมือน บางท่านก็ว่าเหมือน ยังหาเป็นที่ยุติไม่ แต่
ในพระสูตรนี้ ได้แสดงหลักฐานที่น่าเชื่อ ว่าพระกายของพระพุทธเจ้าเหมือนกับของสาวก
ทั่วไป

เรื่องโดยย่อมีว่า คืนวันหนึ่งเดือนหงายแจ่มดี พระเจ้าอชาตศัตรูได้ชวนหมอชีวกโก


มารภัจจ์ ไปเฝ้าพระพุทธเจ้าเป็นครั้งแรก ขณะที่เสด็จไปถึงนั้น พระพุทธเจ้ากำาลังประทับอยู่
ในที่ประชุมพระสงฆ์ ๑,๒๕๐ รูป พระเจ้าอชาตศัตรูไม่ทรงทราบว่าองค์ไหนคือพระพุทธเจ้า
ต้องตรัสถามหมอชีวกว่า

"ชีวกผู้สหาย! ไหนพระผู้มีพระภาค?"

หมอชีวกได้ทูลตอบว่า

"ขอเดชะ นั่นพระผู้มีพระภาค ประทับนั่งพิงเสากลาง ผินพระพักตร์ไปทางทิศตะวัน


ออก ภิกษุสงฆ์แวดล้อมอยู่"

สามัญผลสูตร ๙/๕๗

ปัญหาที่ว่า พระกายของพระพุทธเจ้า จะเหมือนของคนโดยทั่วไปหรือไม่? ยังมีผู้ที่ข้องใจอยู่


บ้าง จงยกเอาพระสูตรนี้ มาเป็นหลักฐาน จะได้หายสงสัยเสียที
ความจริง ถ้าเรานึกถึงว่าพระพุทธเจ้า ก่อนที่ท่านจะเป็นพระพุทธเจ้านั้น ท่านก็เป็นลูกคน เกิด
จากคน มีพ่อมีแม่เหมือนคนทั่วไป
เรื่องอภินิหารต่าง ๆ ก่อนเกิดก็ดี กำาลังเกิดก็ดี เกิดแล้วก็ดี เป็นเรื่องของ "บารมี" คือคุณธรรม
ต่าง ๆ ที่ท่านได้บำาเพ็ญไว้แล้ว เป็นเรื่องที่เป็นไปได้ และทุกคนก็ทำาได้ ถ้าได้บำาเพ็ญบารมีถึงขนาดนั้น
ไม่นา่ จะสงสัยเลย
ยิ่งตอนที่ท่านบำาเพ็ญเพียร จนบรรลุธรรมแล้ว เกิดมีฤทธิ์และอภินิหารต่าง ๆ ก็ยิ่งหมดสงสัย
เลย เพราะอำา นาจของจิตนี้ มันลึกลับซับซ้อน ยากที่จะพูดให้คนที่ไม่เคยฝึกหัดรู้ได้ เพราะเป็นเรื่อง
นามธรรม ที่จะสัมผัสได้ทางจิต
ว่าถึงรูปกายตามพระสูตรนี้ ก็ทรงเหมือนกับคนทั่ว ๆ ไป พระเจ้าอชาตศัตรู แม้จะเสด็จเข้าไป
จนใกล้ ก็ยังดูไม่อกว่าองค์ไหนเป็นพระพุทธเจ้า ต่อเมื่อหมอชีวก ชี้ให้ดูจึงเห็น
มีเรื่องที่น่าสงสัยอยู่นิดหน่อย คือ ตำา ราที่ว่าถึง "มหาบุรุษลักษณะ" ๓๒ ประการ ผู้จัดทำา มี
ความเชื่อว่า เป็นตำาราของพราหมณ์ไม่ใช่ของพุทธ ได้ลองหลับนึกวาดมโนภาพดู ถ้าคนเรามีลักษณะ
อย่างนั้น เช่น มือยาวถึงเข่า มีฝา่ เท้าเสมอกัน จะเป็นคนที่งามที่สุดได้อย่างไร?..

ทรงเตือนภิกษุอย่าเป็นฟืนเผาศพ

พระพุทธเจ้า ประทับอยู่ ณ นิโครธาราม เมืองกบิลพัสดุ์ ทรงขับไล่ภิกษุแล้วจึง


เสด็จไปพักยังป่ามหาวัน โคนต้นมะตูม แล้วทรงเกิดพระเมตตา เกรงภิกษุผู้บวชใหม่จะมีจิต
แปรปรวนเหมือนลูกวัวอ่อนขาดแม่ จึงทรงกลับมาประทานพระโอวาทไว้ดังนี้

"ภิกษุทั้งหลาย! ข้อเลวทรามในการเลี้ยงชีพ คือ การแสวงหาบิณฑบาต ภิกษุย่อมได้


รับการแช่งด่า ว่าเป็นผู้ขอ แต่ผู้มาบวชนี้มิใช่เป็นผู้มีโทษ แต่พวกเธอบวชเพราะเห็นทุกข์ มี
ทุกข์ครอบงำาแล้ว ทำาไฉนการทำาที่สุดแห่งทุกข์ จึงจะปรากฏได้

แต่ว่ากุลบุตรนั้น เป็นผู้โลภมาก มีร าคะแรงกล้า มีจิตพยาบาท มีสติหลงลืม ไม่มี


สัมปชัญญะ มีใจไม่เป็นสมาธิ มีจิตหมุนไปผิด ไม่สำารวมอินทรีย์

ภิ ก ษุ ทั้ ง หลาย! เรากล่ า วบุ ค คลผู้ เ สื่ อ มแล้ ว จากโภคะแห่ ง คฤหั ส ถ์ ด้ ว ย ไม่ ทำา
ประโยชน์ คือ ความเป็นสมณะให้บริบูรณ์ด้วย ว่ามีอุปมาเหมือนกับดุ้นฟืนในที่เผาศพ ซึ่งมี
ไฟติดทั้งสองข้าง แถมตรงกลางก็เปื้อนคูถ จะใช้เป็นฟืนในบ้านก็ไม่ได้ จะใช้เป็นฟืนในป่าก็
ไม่ได้ ฉะนั้น"

ปิณโฑลยสูตร ๑๗/๙๙
พระสูตรนี้ ทรงเตือนภิกษุที่นับว่ารุนแรงมาก เพื่อมิให้หลงลืมในเพศและภาวะของตน ที่ต้อง
อาศัยฝากปากท้องไว้กับชาวบ้าน นัน่ คือการขอเขากิน
พระเราต่างจากขอทานก็ตรงที่ ขอทานรับของจากผู้ให้แล้วต้องไหว้ หรือแสดงความเคารพผู้ให้
แต่พระนั้นตรงกันข้าม คือผู้ให้จะต้องไหว้หรือแสดงความเคารพผู้รับ ทั้งนี้ก็เพราะว่าผู้รับมีศีลและ
ธรรมเหนือกว่า จึงอยู่ในฐานะที่เป็น "เนื้อนาบุญ" ของผูใ้ ห้
ด้วยเหตุนี้ การไปบิณฑบาตของพระ จึงมิใช่ไปขอทานหรือขอข้าวเขากิน แต่ถือว่า "ไปโปรด
สัตว์" คือทำาให้ผู้ที่ยังข้องอยู่ในโลกได้รับส่วนบุญ หรือเป็นการสร้างบารมี แต่ทั้งนี้ผู้ที่ไปโปรดสัตว์ จะ
ต้องดำารงตนให้เหมาะสมกับความเป็น "พระแท้" ด้วย มิฉะนั้นผู้รับทานก็จะกลายสภาพเป็น "ลูกหนี้"
ไป
ทรงเปรียบกับคนที่ไร้สาระทั้งสองเพศ คือ อยู่ในเพศของคฤหัสถ์ ก็ไม่ทำาหน้าที่ของฆราวาสที่
ดี อยู่ในเพศของนักบวช ก็ไม่ทำาหน้าที่ของสมณะที่ดี ก็เลยกลายเป็นคนประเภทฟืนเผาผีในป่าช้า มีไฟ
ติดอยู่ที่หัวและท้าย แถมตรงกลางยังเปื้อนอุจจาระเสียอีก เลยใช้ประโยชน์อะไรไม่ได้เลย.

พระพุทธเจ้าทรงปวารณา

พระพุทธเจ้า ประทับอยู่ ณ พระวิหารบุพพาราม เมืองสาวัตถี พร้อมด้วยภิกษุ


สงฆ์ ๕๐๐ รู ป วั น นั้ น เป็ น วั น อุ โ บสถขึ้ น ๑๕ คำ่า ภิ ก ษุ ส งฆ์ นั่ ง นิ่ ง ประชุ ม พร้ อ มกั น อยู่
พระพุทธองค์ได้ตรัสท่ามกลางหมู่สงฆ์ว่า

"ภิกษุทั้งหลาย! บัดนี้เราขอปวารณาแด่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะไม่ติเตียนการก


ระทำาอะไร ๆ ที่แสดงออกทางกายหรือทางวาจาของเราบ้างหรือ?"

ที่ประชุมสงฆ์เงียบสงบ ขณะนั้นพระสารีบุตรลุกขึ้น ทำาผ้าห่มเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง แล้ว


ประนมอัญชลีไปทางพระพุทธเจ้ากราบทูลขึ้นว่า

"ข้ า แต่ พ ระองค์ ผู้ เ จริ ญ ! ข้ า พระองค์ ทั้ ง หลายจะติ เ ตี ย นการกระทำา อะไร ๆ ของ
พระองค์ที่เป็นไปทางพระกายและพระวาจามิได้เลย เพราะพระองค์เป็นผู้ตัดทาง ทรงเป็นผู้
บอกทาง ทรงรู้แจ้งทาง ทรงฉลาดในทาง สาวกทั้งหลายเป็นผู้เดินตามทางของพระองค์
บัดนี้แลขอปวารณาแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคจะไม่ทรงติเตียนการกระทำาอะไร ๆ
อันเป็นไปทางกายหรือวาจาของข้าพระองค์บ้างหรือ?"

พระพุทธเจ้าทรงตรัสชมพระสารีบุตร ว่าเป็นบัณฑิต มีปัญญาว่องไว เป็นธรรมบุตร


ของพระองค์.

ปวารณาสูตร ๑๕/๒๖๕

พระสูตรนี้น่าคิดมาก ก็ขนาดพระพุทธเจ้า ทรงเป็นถึงศาสดาเอก เหนือเทวดาและมนุษย์ทั้ง


ปวง เหนือบุญเหนือบาปแล้ว ยังทรงเปิดโอกาสให้สาวก "ชี้ขุมทรัพย์" ได้ก็แล้วคนอย่างเรา ที่เต็มไป
ด้วยกิเลสหนาตัณหาจัด จะไม่มีโทษใด ๆ เลยหรือ?
พระสูตรนี้จะเป็นบทเรียนที่ดี สำาหรับผู้ที่หลงลืมตนว่าจะทำาอะไรไม่ผิด หรือผู้มีหน้าที่ปกครอง
ผู้อื่น ควรจะได้ย้อนดูตนเอง หรือเปิดโอกาสให้ผู้น้อย ได้ "ชี้ขุมทรัพย์" ให้แต่ตนบ้าง ความเจริญก็ย่อม
จะเกิดแก่ตนและส่วนรวมอย่างไม่ต้องสงสัยเลย ถ้าเรายังระลึกได้ว่า เรายังมีกิเลสตัณหาอยู่ ก็ขนาดผู้
ที่หมดกิเลสตัณหาแล้ว ยังทรงเปิดโอกาสให้ผู้อื่นชี้โทษได้.

การปฏิบัติธรรมเหมือนตัดไม้มีแก่น

พระพุทธเจ้า ประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน เมืองสาวัตถี ได้ทรงแสดงสัญโญ


ชน์ (กิเลสเครือ่ งร้อยรัด) เบื้องตำ่า ๕ คือ

๑. สักกายทิฐิ (ความเห็นเป็นเหตุยึดกายของตน)
๒. วิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย)
๓. สีลัพพตปรามาส (การลูบคลำาศีล)
๔. กามฉันทะ (ความพอใจในกาม)
๕. พยาบาท (ความคิดปองร้าย)
โดยทรงยกเอาตัวอย่างเด็กทารกนอนแบเบาะ มาเป็นตัวอย่างแห่งการเกิดสัญโญชน์
ซึ่งมองดูด้วยตาเปล่าไม่เห็น แต่เป็นอนุสัย (กิเลสที่แฝงตัวตาม) มีอยู่ตลอดเวลา ในตอนท้าย
ได้ทรงแสดงหนทางปฏิบัติ เพื่อละสัญโญชน์ ๕ เหมือนคนที่ต้องการตัดไม้แก่น แต่ต้องผ่าน
เปลือกและกะพี้ไม้ ก่อนที่จะถึงแก่นไม้ ไว้ดังนี้

"อานนท์! สัญโญชน์ ๕ เป็นของมีกำาลัง ถ้าไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้


รับคำาแนะนำาที่ดี ไม่มีอุบายที่ดี ย่อมไม่สามารถจะละได้ ผู้ไม่อาศัยหนทางเพื่อละสัญโญชน์
ย่อมไม่อาจจะละได้

อานนท์! เปรียบเหมือนการตัดต้นไม้มีแก่น ต้องถากเปลือกและกะพี้ออกเสียก่อน


จึงจะตัดแก่นไม้ได้ ฉันใด ? ผู้ต้องการละสัญโญชน์เบื้องตำ่า ๕ ก็ต้องปฏิบัติไปตามลำาดับขั้น
ฉันนั้น".

มหามาลุงโกยวาทสูตร ๑๓/๑๓๗

การปฏิบัติธรรมนั้น จะว่ายากก็เหมือนง่าย จะว่าง่ายก็เหมือนยาก คือถ้ามีอุบายที่ประกอบด้วย


ปัญญาแล้ว การปฏิบัติธรรมก็ดูเป็นเรื่องง่ายดายไป แต่ถ้าขาดปัญญาเพียงตัวเดียว จะทำาอะไรทุกสิ่งก็ดู
มันจะยากไปหมด นอกจากจะทำายากแล้ว บางทีก็อาจเกิดโทษเสียด้วย

พระสูตรตอนนี้ ทรงแสดงถึง "ขั้นตอน" แห่งการปฏิบัติธรรม เหมือนการตัดไม้ที่มีแก่น ต้อง


ผ่านเปลือกและกะพี้ไปตามลำาดับ แล้วจึงจะเข้าถึงแก่นของไม้ได้ ฉันใด
ในการปฏิบัติธรรม เพื่อการดับทุกข์อย่างสิ้นเชิง ก็มีอุปมา ฉันนั้น ทั้งนี้เพราะ กิเลสตัณหา ได้
ถูกสะสมมานานจนกลายเป็น "สัญโญชน์" ไปแล้วนัน่ เอง
แต่ไม่ว่ากิเลสประเภทใด ๆ ก็ตาม ถ้าคนเรามีความเพียรพยายามไม่ลดละ ก็ย่อมจะพิชิตมัน
แน่นอน ต่างแต่ว่าจะช้าหรือเร็วเท่านั้น สมตามพุทธภาษิตที่ตรัสตอบอาฬวกยักษ์ (๑๕/๒๙๘) ว่า คน
จะล่วงพ้นความทุกข์ทั้งปวงได้เพราะความเพียร
ผู้ชนะย่อมก่อเวร

พระพุทธเจ้า ประทับอยู่ ณ พระวิหารบุพพาราม เมืองสาวัตถี ภิกษุทั้งหลายได้


กราบทูลพระพุทธเจ้า ถึงพระเจ้าอชาตศัตรู ยกทัพไปตีแคว้นกาสี พระเจ้าปเสนทิโกศลได้
ยกทัพไปป้องกัน แต่พ่ายแพ้กลับมา ทรงทราบแล้วได้ตรัสว่า

"ภิกษุทั้งหลาย! วันนี้พระเจ้าปเสนทิโกศล ทรงแพ้มาแล้วอย่างนี้ จะบรรทมเป็นทุกข์


ตลอดคืนนี้"

และทรงแสดงผลแห่งสงคราม เป็นคติเตือนใจว่า

"ผู้ชนะย่อมก่อเวร ผู้แพ้ย่อมนอนเป็นทุกข์ บุคคลละความชนะและความแพ้เสียแล้ว


จึงสงบระงับ (เวร) นอนเป็นสุข"

ตอนท้ายอีกสูตรต่อมา พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงชนะบ้าง พระพุทธองค์ตรัสว่า

"คนพาลย่อมสำา คัญว่าเป็นสุข เมื่อบาปยังไม่ให้ผล ถ้าบาปให้ผลเมื่อใด คนพาล


ย่อมได้รับทุกข์เมื่อนั้น

ผู้ฆ่าย่อมถูกฆ่าตอบ ผู้ชนะย่อมได้รับการชนะตอบ ผู้ด่าย่อมถูกด่าตอบ ผู้โกรธย่อม


ได้รับการโกรธตอบ เพราะความหมุนเวียนแห่งกรรม".

สังคามวัตถุสูตร ๑๕/๑๑๙

เรื่องการแพ้การชนะ เรื่องการได้การเสีย เป็นเรื่องของโลก ไม่มีการสิ้นสุดหรือยุติลงได้ ตราบ


ใดที่ยังมีการแพ้หรือชนะกันอยู่ เวรก็ย่อมจะไม่สิ้นสุด ต่อเมือใดเลิกแพ้และเลิกชนะเสียได้ เวรก็ย่อมจะ
สิ้นสุด
ในทางพระ ท่านจึงนิยมการชนะตนเอง หรือชนะกิเลสตัณหาในตนเอง เพราะถ้าชนะได้แล้ว
ย่อมเกิดความเย็น สงบ จะไปทีไ่ หน จะอยู่ที่ไหนก็จะมีแต่ความสงบสุข ทัง้ ตนเองและผู้อื่น
พระพุทธองค์จึงทรงเปรียบเทียบไว้ว่า การชนะข้าศึกทั้งกองทัพ ชนะคนอื่นตั้งหมื่นตั้งแสน ก็
ไม่ประเสริฐเท่ากับการชนะตนเองเพียงคนเดียว
ทั้งนี้เพราะการชนะคนอื่นนั้น อาจกลับกลายเป็นแพ้ก็ได้ และที่สำาคัญคือผู้แพ้ก็ย่อมจะผูกเวร
คือคิดจะแก้แค้นอยู่ตลอดเวลา เป็นการก่อเวรที่ยืดเยื้อเรื้อรังไม่มีวันสิ้นสุด
แต่ว่าการที่จะเอาชนะตนเองนี่ มันก็ไม่ใช่เรื่องง่ายดายนัก ถ้าไม่อาศัยจิตใจที่เข้มแข็งเด็ดเดี่ยว
และทำาอย่างจริงจังตลอดไปแล้ว ถ้าไม่แพ้มันแต่ในมุ้ง ก็มักจะไปตกม้าตายที่กลางทาง อย่างไม่ต้อง
สงสัย.

พระอานนท์ยอดพระนักประหยัด

สมัยนั้น พระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานแล้ว พระเจ้าอุเทนกับพระมเหสี ประทับอยู่


ในพระราชอุทยาน พร้อมด้วยบริวารพระมเหสี ได้ปลีกพระองค์ เข้าไปหาพระอานนท์ เมื่อ
ฟังธรรมแล้ว จึงถวายผ้าห่ม ๕๐๐ ผืน

พระเจ้าอุเทนทรงทราบ จึงติเตียนว่าพระโลภมาก คิดจะตั้งร้านขายผ้าหรืออย่างไร?


จึงเสด็จไปหาพระอานนท์ ตรัสถามว่า

"ผ้าตั้ง ๕๐๐ ผืน ท่านจะเอาไปทำาอะไร?"

"อาตมาจะแจกจ่ายแก่พระ ที่มีจีวรครำ่าคร่า"

"แล้วจีวรที่ครำ่าคร่าล่ะ ท่านจะทำาอย่างไรต่อไป?"

"อาตมาจะทำาเป็นผ้าดาดเพดาน.

"ถ้าผ้าดาดเพดานครำ่าคร่าล่ะ ท่านจะใช้ทำาอะไร?"
"อาตมาจะใช้ทำาเป็นผ้าปูฟูก"

"ถ้าผ้าปูฟูกครำ่าคร่าล่ะ ท่านจะใช้ทำาอะไร?"

"อาตมาจะใช้ทำาเป็นผ้าปูพื้น"

"ถ้าผ้าปูพื้นครำ่าคร่าล่ะ ท่านจะใช้ทำาอะไร?"

"อาตมาจะใช้ทำาเป็นผ้าเช็ดเท้า"

"ถ้าผ้าเช็ดเท้าครำ่าคร่าล่ะ ท่านจะใช้ทำาอะไร?"

"อาตมาจะใช้ทำาเป็นผ้าเช็ดฝุ่น"

"ถ้าผ้าเช็ดฝุ่นครำ่าคร่าล่ะ ท่านจะใช้ทำาอะไร?"

"อาตมาจะขยำากับโคลน แล้วฉาบทาฝากุฏิ มหาบพิตร"

ในที่สุดพระเจ้าอุเทนเกิดความเลื่อมใส น้อมถวายผ้าอีก ๕๐๐ ผืน

พระวินัย ๗/๓๑๓

ความประหยัดนั้น ใช้ได้ทั้งทางโลกและทางธรรม ใช้ได้ทุกกาลทุกสมัย แถมมีแต่ผลดีโดยส่วน


เดียว จึงควรที่จะรีบปลูกฝังความประหยัด ลงในจิตใจของเด็ก เสียแต่เมื่อยังเล็ก ถ้ามาสอนกันเมื่อโตก็
มักจะสายไป กลายเป็นไม้แก่ดัดยาก
ยิ่งในยุคปัจจุบันนี้ คนเกิดมากกว่าคนตาย ความหนาแน่นของผู้คนพลเมือง ทำาให้ขาดแคลน
สิ่งของบริโภคและใช้สอย ถ้าไม่รู้จักคำาว่า "ประหยัด" รู้จักแต่คำาว่า "ซื้อลูกเดียว" ก็จะต้องตกเป็นทาส
ของ "เงิน" ตลอดไป จนหาความสุขในชีวิตไม่ได้
ดังนั้น ความประหยัด จึงก่อคุณให้ทั้งส่วนตัว ส่วนรวม ตลอดถึงความมั่นคงของประเทศชาติ
รวมทั้งศาสนาด้วย.

การให้ทานที่เลื่อนชั้นทางจิต

พระพุทธเจ้า ประทับอยู่ ณ ฝั่งสระโบกขรณีคัดครา เมืองจัมปา พระสารบุตรได้


พาพวกอุบาสกชาวนครจัมปา เข้าเฝ้าและทูลถามปัญหา ถึงผลของทานที่มีผลมาก และมี
อานิสงส์มาก พระพุทธองค์ได้ตรัสตอบ และทรงแสดงผลของทานตามลำาดับ ดังนี้

๑. คนบางคนในโลกนี้ มีความหวังแล้วให้ทาน มีจิตผูกพันในทาน


มุ่งการสั่งสมทาน ด้วยคิดว่าเราตายไปจะได้รับผลของทานนี้
เมื่อตายไปย่อมเกิดเป็นเทวดาชั้นจาตุมหาราช เมื่อสิ้นกรรมก็มา
เกิดอย่างนี้อีก
๒. คนบางคนในโลกนี้ ไม่มีความหวังแล้วให้ทาน ไม่มีจิตผูกพัน
ในผลของทาน ไม่มุ่งการสั่งสมทาน ไม่คิดว่าตายแล้วจะได้รับ
ผลของทานนี้ แล้วจึงให้ทาน แต่ให้ทานด้วยคิดว่าทานเป็นของดี
เมื่อตายไปย่อมเกิดเป็นเทวดาชั้นดาวดึงส์ เมื่อสิ้นกรรมก็มาเกิด
อย่างนี้อีก
๓. คนบางคนในโลกนี้ ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า ทานเป็นของดี แต่
ให้ทานด้วยคิดว่า บิดามารดา ปู่ย่า ตายาย เคยให้เคยทำามา เราก็
ไม่ควรทำา ให้เสียประเพณี แล้วจึงให้ทาน เมื่ อตายไปย่อมเกิด
เป็นเทวดาชั้นยามา เมื่อสิ้นกรรมก็มาเกิดอย่างนี้อีก
๔. คนบางคนในโลกนี้ ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า บิดามารดา ปู่ย่า ตา
ยาย เคยให้ เ คยทำา มา แต่ ใ ห้ ท านด้ ว ยคิ ด ว่ า เราหุ ง หากิ น พวก
นักบวชเหล่านี้ไม่ได้หุงหากิน เราหุงหากินได้ จะไม่ให้ทานแก่
ท่านผู้ไม่หุงหา ดูเป็นการไม่สมควร แล้วจึงให้ทาน เมื่อตายไป
ย่อมเกิดเป็นเทวดาชั้นดุสิต เมื่อสิ้นกรรมก็มาเกิดอย่างนี้อีก
๕. คนบางคนในโลกนี้ ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า เราหุงหากินได้ แต่
นักบวชเหล่านี้หุงหากินไม่ได้ จึงให้ทาน แต่ให้ทานด้วยคิดว่า
เราจะเป็นผู้บริจาคทาน เหมือนฤาษีต่าง ๆ ในอดีต แล้วจึง ให้
ทาน เมื่อตายไปย่อมเกิดเป็นเทวดาชั้นนิมมานรดี เมื่อสิ้นกรรมก็
มาเกิดอย่างนี้อีก
๖. คนบางคนในโลกนี้ ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า เราจะเป็นผู้บริจาค
ทาน เหมือนฤาษีต่าง ๆ ในอดีต แต่ให้ทานด้วยคิดว่า เมื่อเราให้
ทานอย่างนี้ จิตจะเลื่อมใส เกิดความปลื้มใจและโสมนัส แล้วจึง
ให้ทาน เมื่อตายไปย่อมเกิดเป็นเทวดาชั้นปรนิมตวสวัสดี เมื่อ
สิ้นกรรมก็มากเกิดอย่างนี้อีก
๗. คนบางคนในโลกนี้ ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า เมื่อเราให้ทานอย่าง
นี้ จิตจะเลื่อมใส แต่ให้ทานเพื่อเป็นเครื่องปรุงแต่งจิต คือเพื่อ
เลื่อนชั้นทางจิต แล้วจึงให้ทาน เมื่อตายไปย่อมเกิดเป็นเทวดาชั้น
พรหม เมื่อสิ้นกรรมแล้ว ก็ไม่ต้องกลับมา คือไม่ต้องกลับมาสู่
โลกนี้อีกแล้ว

นี้แลเป็นเหตุและปัจจัย ที่คนบางคนในโลกนี้ ให้ทานแล้ว จึงมีผลมาก มีอานิสงส์


มาก.

ทานสูตร ๒๓/๕๙

ท่านผู้อ่านโปรดพิจารณาดูว่า การให้ทานของท่านที่แล้วมาอยู่ใน ๗ ข้อนี้หรือไม่ ? และข้อไหน


ที่ท่านปฏิบัติเป็นประจำา ? ท่านเคยสังเกตบ้างหรือไม่ว่า การให้ทานแต่ละครั้ง มีการเปลี่ยนแปลงทางจิต
เกิดขึ้นบ้างหรือไม่?
ตามปกติคนเราทำาสิ่งใด ก็ย่อมจะมีความหวังในสิ่งนั้น แต่การให้ทานทางพุทธศาสนานี่ค่อน
ข้างประหลาด คือยิ่งหวังยิ่งได้น้อย ถ้าทำาทานด้วยไม่มีความหวังเลย คือหมดตัวตนที่จะหวัง ยิ่งจะได้ผล
ทานหมดเลย คือนับประมาณไม่ได้.
หลักการปกครองคน ๓ ประเภท
คนโง่ ต้องใช้วิธีจูงกาย (นำา)
คนฉลาด ต้องใช้วิธีจูงใจ (แนะ)
คนกึ่งโง่กึ่งฉลาด ต้องใช้ทั้งสองผสมกัน

ผู้ไม่มีศีล ๕ ย่อมมีแต่ภัยเวร

พระพุทธเจ้า ประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน เมืองสาวัตถี ได้ตรัสกะอนาถบิณฑิ


กคฤหบดี ถึงเรื่องศีล ๕ ว่า ผู้ไม่รักษาศีล ๕ ย่อมมีแต่ภัยและเวร ตายแล้วจะต้องตกนรกอีก
ด้วย ตอนหนึ่งทรงแสดงว่า

"คฤหบดี! คนผู้มีปกติฆ่าสัตว์ ย่อมประสบภัยเวร ที่เป็นไปในปัจจุบันก็มี ที่เป็นไปใน


ภพหน้าก็มี ได้รับทุกข์ทางใจก็มี เพราะการฆ่าสัตว์เป็นเหตุ เมื่อเว้นจากการฆ่าสัตว์แล้ว ภัย
เวรอันนั้นก็ย่อมสงบระงับ

คนผู้มีปกติลักทรัพย์ ย่อมประสบภัยเวร.....
คนผู้ประพฤติผิดในกาม ย่อมประสบภัยเวร....
คนผู้มีปกติพูดเท็จ ย่อมประสบภัยเวร....
คนผู้มีปกติดื่มนำ้าเมา คือสุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ย่อมประสบ
ภัยเวร ที่เป็นไปในปัจจุบันก็มี ที่เป็นไปในภพหน้าก็มี ได้รับทุกข์ทางใจก็มี เพราะการดื่มสุรา
เป็นเหตุและปัจจัย เมื่อเว้นจากการดื่มนำ้าเมา อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ภัยเวรอันนั้น
ย่อมสงบระงับไปด้วยประการฉะนี้"

เวรภยสูตร ๑๙/๔๓๘

ศีล ๕ อันเป็น "กฎปกติพื้นฐานของสังคม" ผู้ใดปฏิบัติได้ นอกจากตนเองจะปลอดจากภัยและ


เวรทั้งปวงแล้ว ยังมีผลไปถึงส่วนรวม ให้อยู่ด้วยกันอย่างปกติสุข
โปรดพิจารณาดูความไม่ปกติสุข ของสังคมในปัจจุบัน จะเห็นได้ชัดเจนว่า เกิดเพราะการขาด
ศีล ๕ เป็นส่วนใหญ่หรือเป็นหลักใหญ่ ไม่ข้อใดข้อหนึ่งก็หลายข้อ ไม่อาจจะเลี่ยงพ้นไปได้
ฉะนั้น ผู้รักความสงบและรักความสุข ก็ขอให้พยายามช่วยกันรักษาศีล ๕ ให้มาก ๆ เถิด โดย
มุ่งที่ตัวเราเองก่อน รักษาไม่ได้หมดทั้ง ๕ ข้อ ก็ให้พยายามงดเว้นไปทีละข้อ ๆ ข้อไหนงดเว้นง่ายและ
สะดวก ก็ควรงดเว้นก่อน แล้วค่อยพยายามเพิ่มขึ้นทีละข้อ ๆ ก็จะครบทั้ง ๕ ข้อ ได้โดยไม่ยากเลย
ถ้าจะรอไว้ให้มีโอกาส งดเว้นทีเดียวทั้ง ๕ ข้อ บางทีชาตินี้ทั้งชาติ ก็อาจจะไม่มีโอกาสได้รักษา
เลย แม้แต่ข้อเดียว!

โง่แล้วขยันก็อันตราย
แต่ฉลาดแล้วขี้เกียจก็ไม่สบาย
ผู้โกรธตอบคนที่โกรธก่อน เป็นคนที่เลวกว่า

พระพุทธเจ้า ประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน เมืองราชคฤห์ พราหมณ์อสุรินทกะ


ทราบว่าเพื่อนรัก ไปบวชในสำานักพระพุทธเจ้า เขารู้สึกโกรธแค้นพระองค์มาก ได้รีบไปเฝ้า
ถึงที่ประทับ เมื่อพบพระพุทธเจ้าแล้ว เขาก็ระดมคำา ด่าอันหยาบคาย ใส่พระองค์จนนับ
ไม่ทัน พระพุทธเจ้าทรงนิ่งให้เขาด่าข้างเดียว เขาด่าจนพอใจแล้วจึงคิดว่า พระพุทธเจ้ายอม
แพ้ขาแล้วจึงพูดว่า

"พระสมณะ! เราชนะท่านแล้ว พระสมณะ! เราชนะท่านแล้ว"

พระพุทธองค์ตรัสตอบด้วยพระเมตตาว่า

" - คนพาลกล่าวคำาหยาบด้วยวาจา ย่อมสำาคัญว่าชนะท่าเดียว


- แต่ความอดกลั้นไม่ได้ตอบโต้ เป็นความชนะของบัณฑิต
- ผู้ใดโกรธตอบคนผู้โกรธแล้ว ผู้นั้นเป็นคนเลวกว่าผู้โกรธก่อน
- ผู้ไม่โกรธตอบคนที่โกรธแล้ว ชื่อว่าชนะสงครามที่ชนะได้ยาก
- ผูใ้ ดรู้ว่าผู้อื่นโกรธแล้ว เป็นผู้มีสติสงบอยู่ได้ ย่อมเกิดคุณทั้งสองฝ่าย"

สุดท้าย พราหมณ์อสุรินทกะเกิดความเลื่อมใส ทูลขอบวช ครั้นบวชแล้วไม่นาน


ปลีกตนไปบำาเพ็ญเพียร ก็บรรลุเป็นพระอรหันต์.

อสุรินทกสูตร ๑๕/๒๒๖

เรื่องความโกรธนี้ ความคิดของชาวบ้าน มักจะสวนทางกับชาววัด ชาวบ้านถือว่าใครด่าเรา


แล้วเราได้ด่าตอบจึงถือว่าสาสมกัน ยิ่งด่าจนอีกฝ่ายเงียบหมดคำาด่า ถือว่าเป็นชัยชนะที่เด็ดขาด
แต่ทางพระหาได้ถืออย่างนั้นไม่ เมื่อมีใครด่าเรา ถ้าเรานิ่งเฉยได้ สงบได้ทั้งกายวาจาและใจ
ถือว่าเป็นชัยชนะที่ยอดเยี่ยม เพราะถือว่าชนะกิเลส คือความโกรธของตนเองได้
พระพุทธเจ้าและพระอริยเจ้าทั้งหลาย ท่านใช้วิธีนี้และก็ได้ผลดีมาตลอด ควรที่ชาวพุทธจะ
ดำาเนินตาม

เวลาเป็นของมีค่า
อย่าปล่อยให้หมดไปกับสิ่งที่ไร้สาระและทำาลายตนเอง
อายุของคนขึ้นอยู่กับศีลธรรม

พระพุทธเจ้า ประทับอยู่ ณ เมืองมาตุลา แคว้นมคธ ได้ตรัสถึงความเสื่อมและ


ความเจริญของคน ว่าขึ้นอยู่กับศีลธรรม คนอายุน้อยศีลธรรมเสื่อม คนอายุยืนศีลธรรม
เจริญ ไว้ดังนี้

"ภิกษุทั้งหลาย! ในเมื่อคนมีอายุขัย ๑๐ ปี จะมีสัตถันตรกัปสิ้น ๗ วัน คือ คนเหล่า


นั้นจะเห็นคนด้วยกัน เป็นเหมือนหมู่เนื้อ เมื่อพบกันจะตรงเข้าฆ่าฟันกัน โดยคิดว่าเป็นพวก
หมู่เนื้อ
ภิกษุทั้งหลาย! ครั้งนั้นคนเหล่านั้น บางพวกมีความคิดว่า พวกเราอย่าฆ่าใคร ๆ
และใคร ๆ ก็อย่าฆ่าเรา อย่ากระนั้นเลย เราควรเข้าไปอยู่ตามป่าหญ้า สุมทุมพุ่มไม้ หรือ
ตามซอกเขา มีรากไม้และผลไม้ในป่าเป็นอาหาร เลี้ยงชีวิตอยู่ และอยู่อย่างนี้ตลอด ๗ วัน

เมื่อล่วง ๗ วันไป เขาพากันออกจากป่า จากสุมทุมพุ่มไม้ หรือจากซอกเขา แล้วต่าง


ตรงเข้าสวมกอดกันและกัน จะขับร้องด้วยความดีใจ แล้วทักทายกันว่า
"ท่านผู้เจริญ เราพบกันแล้ว ท่านยังมีชีวิตอยู่หรือ?"

ภิกษุทั้งหลาย! ลำาดับนั้น คนเหล่านั้น จะมีความคิดว่า เราถึงความสิ้นญาติอย่าง


ใหญ่เห็นปานนี้ เหตุเพราะประพฤติอกุศล อย่ากระนั้นเลย เราควรทำากุศล เราควรงดเว้น
จากปาณาติบาต ควรสมาทานกุศลธรรมนี้แล้วปฏิบัติ เพราะเหตุที่เขาสมาทานกุศลแล้ว
ปฏิบัตินี้ เขาจะเจริญด้วยอายุบ้าง จะเจริญด้วยวรรณะบ้าง ด้วยเหตุนี้ บุตรของเขาทั้ ง
หลาย ที่มีอายุ ๑๐ ปี จะมีอายุเจริญขึ้นถึง ๒๐ ปี และเจริญขึ้นไปตามลำาดับถัง ๘๐,๐๐๐ ปี
แล้วเมื่อศีลธรรมเสื่อมลง อายุของสัตว์ก็จะลดลงเหลือ ๑๐ ปีอีก วนเวียนกันอยู่อย่างนี้.."

จักกวัตติสูตร ๑๑/๖๔

พระสูตรนี้ มีแง่คิดมากทั้งยากและง่าย อยากจะขอฝากให้ท่านผู้อ่านค้นคว้าและพิจารณาดูว่า


เป็นไปได้อย่างไร? ส่วนที่ไม่เข้าใจ ก็ควรจะยกให้เป็น "พุทธวิสัย" ไป อย่าได้เอาความนึกคิดของปุถุชน
ไปเปรียบเทียบ "พุทธบารมี" เลย นรกจะกินหัวผุเสียเปล่า เชื่อพระองค์ท่านไว้ก่อนเถิด รับรองไม่ตก
นรกแน่

การมีวิชาความรู้ แต่ขาดคุณธรรม
ก็เหมือนมีมีดคมแต่ขาดฝัก
ความเป็นผู้สำารวมอินทรีย์

พระพุทธเจ้า ประทับอยู่ ณ ป่าไผ่ นิคมกัชชังคา ได้ตรัสกะพระอานนท์ ถึงการ


ฝึกหัดสำารวมอินทรีย์ ๖ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ เมื่อกระทบอารมณ์ภายนอกแล้ว ควร
จะปฏิบัติอย่างไร พอสรุปเป็นใจความได้ว่า

เมื่อตาเห็นรูป หูได้ยินเสียง จมูกได้กลิ่น ลิ้นได้ลิ้มรส กายได้ถูกต้องสัมผัส และใจได้


กระทบอารมณ์เกิดขึ้นแล้ว

เกิดความชอบใจ หรื อไม่ ชอบใจ ปรุ ง ขึ้นในจิตแล้ว ยัง หยาบอยู่ ส่ง ที่ละเอียดคื อ
อุเบกขา ความวางเฉยในอารมณ์เหล่านั้น มีอุเบกขาตั้งมั่นไม่ให้ความชอบหรือความชังเกิด
ขึ้นได้ เมื่อฝึกหัดได้เร็วฉับพลัน ก็จะตัดอารมณ์นั้น ๆ ได้ เหมือนคนตาดีกระพริบตา ฉะนั้น

นี่เป็นการเจริญอินทรีย์ ๖ ชนิดที่ไม่มีวิธีอื่นยิ่งกว่า ในวินัยของพระอริยะ

ในท้ายสูตร ทรงสอนให้ภิกษุปฏิบัติ เมื่อตาเห็นรูป หูได้ยินเสียง.. แล้ว ให้รู้สึกอึดอัด


เบื่อหน่ายในความชอบและความชัง ในอารมณ์นั้น ๆ ให้เห็นเป็นความสวยงาม และความ
เป็นปฏิกูล แล้ววางเฉยเสียอย่างมีสติสัมปชัญญะ ท้ายสุดได้ตรัสว่า

"อานนท์! นั่นโคนไม้ นั่นเรือนว่าง เธอทั้งหลายจงเพ่งฌาน อย่าได้ประมาท อย่าได้


เป็นผู้เดือดร้อนใจในภายหลังเลย นี้เป็นคำาพรำ่าสอนของเราแก่พวกเธอ".

อินทรียภาวนาสูตร ๑๔/๔๖๕
การสำารวมอินทรีย์ ๖ ถือว่าจำาเป็น และเป็นข้อปฏิบัติหลัก ทีน่ ักบวชจะต้องปฏิบัติเป็นประจำา มิ
ฉะนัน้ การอยู่ในเพศของนักบวช ก็จะไม่มีอะไรต่างจากชาวบ้าน และสิ่งที่จะพอกพูนตามมาก็คืออกุศล
อันลามกต่าง ๆ
การเป็นพระที่ สมบูร ณ์ จึงมิไ ด้ห มายเพีย งแต่ ว่า ได้ผ่านพิธี กรรมจากคณะสงฆ์แ ล้ว เท่ า นั้น
เพราะนั่นเป็นแต่เพียงรูปแบบที่สมมติกันขึ้น เพื่อความอยู่ผาสุกในหมู่คณะเท่านั้น แก่นหรือสาระแห่ง
การบวชที่แท้จริง จึงอยู่ที่การอบรมและฝึกหัดกาย วาจา และใจ ไม่ให้เกิดความยินดีและยินร้าย เมื่อ
กระทบกับอายตนะทั้ง ๖ พร้อมทั้งพิจารณาจนเกิดความเบื่อหน่าย และปล่อยวางเสียได้ ด้วยการมีสติ
และสัมปชัญญะกำากับ.

หนังสือคือประตูของดวงตา
อ่านไป พิจารณาไป ย่อมได้ปัญญา
คนทำาบาปในปัจจุบันได้รับทุกข์ก็มี สุขก็มี

พระพุทธเจ้า ประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน เมืองสาวัตถี ได้ตรัสกะภิกษุทั้ง


หลาย พอสรุปได้ว่า คนในโลกนี้แม้จะทำาบาปเหมือนกัน แต่ในปัจจุบันนี้เอง บางคนก็ได้รับ
ความทุกข์ บางคนก็ได้รับความสุข โดยทรงยกเอากรรมบถ ๑๐ มาเป็นตัวอย่าง พอสรุป
เป็นใจความได้ดังนี้

๑. บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นคนฆ่าสัตว์ ... ได้รับความทุกข์ บ้าง ความเสียใจบ้า ง


เพราะการฆ่าสัตว์นั้นเป็นต้นเหตุ เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงนรก
๒. บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นคนฆ่าสัตว์... ได้รับความสุขบ้าง ความดีใจบ้าง เพราะ
การฆ่าสัตว์นั้นเป็นต้นเหตุ เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงนรก
๓. บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นคนเว้นจากการฆ่าสัตว์... ได้รับความเสียใจบ้าง เพราะ
การเว้นจากการฆ่าสัตว์นั้นเป็นต้นเหตุ เมื่อตายไปแล้วย่อมเข้าถึงสวรรค์
๔. บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นคนเว้นจากการฆ่าสัตว์... พร้อมกับได้รับความสุขบ้าง
ได้รับความสบายใจบ้าง เพราะการเว้นจากการฆ่าสัตว์เป็นต้นเหตุ เมื่อตายไปแล้ว
ย่อมเข้าถึงสวรรค์.

มหาธรรมสมาทานสูตร ๑๒/๔๖๗
อกุศลกรรมบถ ๑๐ คือ ๑.ฆ่าสัตว์ ๒.ลักทรัพย์ ๓. ผิดกาม ๔.พูดปด ๕.พูดส่อเสียด ๖.พูดคำา
หยาบ ๗.พูดเพ้อเจ้อ ๘.โลภมาก ๙.พยาบาท ๑๐.เห็นผิด
ในที่นี้ได้ยกแต่เพียงข้อต้น คือการฆ่าสัตว์ หรือ ไม่ฆ่าสัตว์มาเป็นตัวอย่างเพียงข้อเดียว ส่วน
กรรมบถ ข้ออื่น ๆ พึงทราบตามนัยนี้
เหตุแห่งการกระทำา กรรม ไม่ว่าจะทำา ด้วยดีใจหรือเสียใจ ย่อมได้รับผลโดยยุติธรรมเสมอกัน
หมด ทำาดีย่อมได้รับผลดี ทำาชั่วย่อมได้รับผลชั่ว แต่ผู้ที่มีปัญญาย่อมละเว้นจากการทำาความชั่ว และจำา
ประกอบแต่กรรมดีเท่านั้น

การเป็นคฤหัสถ์โดยไม่มีลูกเมีย (ผัว)
ก็เสมือนเป็นทหารไม่ได้ออกศึก
ชำาระศีลให้ดีก่อนจึงทำาวิปัสสนา

พระพุทธเจ้า ประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน เมืองสาวัตถี ภิกษุรูปหนึ่งได้เข้าไป


เฝ้าและกราบทูล ขอให้ทรงแสดงธรรม เพื่อปลีกตัวออกไปปฏิบัติคนเดียว ด้วยความไม่
ประมาท พระพุทธองค์ตรัสว่า

"ภิกษุ! ก่อนอื่นเธอจงทำาเหตุเบื้องต้น แห่งกุศลธรรมให้บริสุทธิ์ก่อน เหตุเบื้องต้น


ของกุศลธรรม คือ ศีลที่บริสุทธิ์ดี และ ความเห็นตรง

เมื่อใด ศีลของเธอบริสุทธิ์ดีแล้ว และความเห็นของเธอก็ตรงดีแล้ว


เมื่อนั้นเธออาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ มีกาย เวทนา
จิต และ ธรรม ต่อไป
ภิกษุ! เมื่อใด เธออาศัยศีลและตั้งอยู่ในศีลแล้ว จะเจริญสติปัฏฐาน
๔ เหล่านี้โดยส่วน ๓ อย่างนี้

เมื่ อ นั้ น เธอพึ ง หวั ง ความเจริ ญ ในกุ ศ ลธรรมทั้ ง หลายอย่ า งเดี ย ว


ตลอดคืน หรือ วัน อันจะมาถึง ไม่มีความเสื่อมเลย"

ภิกษุนั้นยินดีชื่นชม รับไปปฏิบัติอยู่ไม่นาน ก็สำาเร็จเป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งในโลก

ภิกขุสูตร ๑๙/๑๘๕

คำาว่า "พุทธะ" ท่านแปลว่า ผู้รู้ ผู้ตื่น และผู้เบิกบาน โดยเฉพาะคำาว่า "ผู้รู้" นั้น ดูเหมือนว่าจะ
สมพระนามยิ่งนัก เพราะทรงรอบรู้ทั้งเบื้องตำ่า เบื้องสูง ทั้งภายนอก และภายใน ชาติก่อน ชาตินี้ และ
ชาติหน้า อย่างเจนจบ ลึกซึ้งจริง ๆ
ด้วยเหตุนี้ คำา สอนของพระองค์จึงมีมากมาย ยังไม่เคยมีศาสดาองค์ใดในโลก จะมีคำา สอน
มากมายเท่าพระองค์เลย แต่ถึงแม้คำาสอนจะมีมาก ลำาดับของการปฏิบัติก็มีขั้นตอนที่ศาสนิกจะเลือก
ศึกษา และนำาไปปฏิบัติ ให้เหมาะกับจริตนิสัย และ บารมีได้ทุกคน ตั้งแต่ระดับตำ่าสุด จนถึงขั้นสูงสุด
อย่างในพระสูตรนี้ ผู้ที่จะเจริญวิปัสสนา อันเป็นข้อปฏิบัติเพื่อกำา จัดกิเลสตัณหาให้หมดสิ้น
สำาหรับผู้ที่ยังมีบารมีอ่อน ท่านก็จะสอนให้สำารวมระวังศีลให้บริสุทธิ์บริบูรณ์หมดจดก่อน แล้วจึงค่อย
ก้าวขึ้นไปเจริญวิปัสสนาต่อไป
แต่ท่านผู้อ่านก็ต้องไม่ลืมว่า คำาสอนแนวนี้ ท่านจะสอนแก่พระเป็นส่วนมาก ถ้าสอนชาวบ้าน
ท่านก็จะตั้งต้นที่ ทาน คือ การเสียสละบริจาคด้านวัตถุก่อน แล้วจึงจะเลื่อ นขึ้ นมาศีล สมาธิ และ
วิปัสสนาต่อไป
พระสูตรนี้ น่าจะเป็นบทเรียนที่ดี ของผู้ที่มักจะเห็นว่าศีลเป็นของตำ่า เป็นของไม่จำาเป็น ไม่น่า
สนใจ สูเ้ จริญสมาธิหรือวิปัสสนาไม่ได้ หรือไม่ก็คิดว่า เมื่อเราเจริญสมาธิและวิปัสสนาอยู่ ศีลมันก็มีอยู่
พร้อมแล้ว เพราะไม่อาจจะล่วงศีลได้ แต่อย่าลืมว่า การปฏิบัติธรรมนั้น ในระดับปุถุชนแล้ว ไม่มีใครจะ
ทำาอยู่ตลอดวันตลอดคืนได้ ศีลจึงควรจะมีอยู่ตลอดเวลา
อันตรายของภิกษุผู้อยู่ป่า

พระพุทธเจ้า ประทับอยู่ ณ พระวิหารนิโครธาราม เมืองกบิลพัสดุ์ ได้ตรัสกะพระ


อานนท์ ถึงภุกษุมากรูปคลุกคลีกันเป็นการไม่สมควร เพราะจะไม่พบความสุขอันเกิดจาก
ความสงัด ภิกษุควารใส่ใจความว่างภายใน คือ การทำาจิตให้ว่างอยู่เสมอ ตอนหนึ่งได้ตรัสถึง
อันตรายของอาจารย์และศิษย์ ที่ปลีกตนออกไปอยู่ในที่สงบสงัด เช่น ป่า โคนไม้ ถำ้า ภูเขา
ป่าช้า ฯ แล้ว

ต่อมามีชาวบ้านพากันไปหา ผู้อยู่ป่าจะหมกมุ่นวุ่นวาย เวียนมาเป็นผู้มักมาก ย่อมเป็น


อันตราย ความลามกเศร้าหมองย่อมครอบงำา มีความกระวนกรวาย มีทุกข์เป็นผล ต้องเกิดใน
ภพใหม่ไม่พ้นการเกิด แก่ และตาย

ถ้าภิกษุที่เป็นอาจารย์หรือเป็นศิษย์ก็ดี เมื่ออยู่ป่าแล้วไม่หลงลืมตัวให้อกุศลธรรม
ครอบงำาได้ ก็จะพ้นจากอันตรายชนะทุกข์ ก้าวหน้าในพรหมจรรย์ต่อไป

ในตอนท้ายของสูตรนี้ ได้ทรงกล่าวเตือนภิกษุทั้งหลายผ่านพระอานนท์ว่า

"อานนท์! เราจะไม่ประคับประคองพวกเธอ เหมือนช่างหม้อประคับ


ประคองหม้อดินที่ยังเปียกยังดิบอยู่ แต่เราจะข่มแล้วข่มอีก จะยกย่องแล้ว
ยกย่องอีก ผู้ใดมีแก่นสาร ผู้นั้นจะทนอยู่ได้"
สุญญตสูตร ๑๔/๒๐๖

ดูเอาเถิด ท่านผู้อ่านทั้งหลาย พิษสงของกิเลสตัณหานี้ช่างน่ากลัวเสียนี่กระไร ไม่มียกเว้นใคร


ๆ เลย
การที่ภิกษุท่านหลบไปอยู่ตามป่า เขา หรือที่สงบสงัด ก็เพื่อจะได้มีโอกาสกำาจัดกิเลสตัณหาได้
สะดวกขึ้น แต่ที่ไหนได้ ถ้าไม่รู้บทบาทและลวดลายของมัน อย่างถูกต้องและแท้จริง ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน
ๆ ก็ไม่อาจพ้นอำานาจของมันไปได้
รู้อย่างนี้แล้ว ท่านที่ได้มีโอกาส ได้อยู่ในสถานที่ อันจัดว่าเหมาะแก่การพิชิตกิเลสตัณหาแล้ว ก็
อย่าได้หลงลืมตัวมัวเมาในลาภยศชื่อเสียงอยู่เลย กิเลสหรือมารทั้งหลายมันมิได้ยกเว้น ว่าใครจะอยู่
ที่ไหนหรอก มันยกเว้นให้อยู่พวกเดียว คือ ผู้ที่มีสติ มีปัญญา เพ่งพิจารณา และไม่ประมาทเท่านั้น.

You might also like