You are on page 1of 22

แมฮองสอน : สมัยลานนา

(ราว พ.ศ. ๑๙๘๕ - ๒๑๐๑)๑


โดย นายสุรศักดิ์ ศรีสําอาง ผูอํานวยการสํานักพิพิธภัณฑสถานแหงชาติ

ชุมชนโบราณในเขตจังหวัดแมฮองสอนที่ปรากฏนามในเอกสารลานนาระยะแรก
คงไดแก เมืองยวมใต หรือเมืองแมสะเรียงเกา ซึ่งตั้งอยูบนฝงขวาของแมน้ํายวม ทางดานทิศตะวันตก
เฉียงใตของที่วาการอําเภอแมสะเรียงปจจุบัน ดังความในตํานานพื้นเมืองเชียงใหมกลาวถึงเรื่องราว
ชวงตนรัชกาลพระเจาติโลกราชตอนหนึ่งวา
“ จักจาหองทาวลก (พระเจาติโลกราช) กอนแล เจาเกิดมาในปลีกัดเปา(ปฉลู เอกศก)
สกราชได๗๗๑ ตัว (พ.ศ. ๑๙๕๒) กินเมืองพลาววังหริน(เมืองพราว)ผิดอาชญาพอ(พระญาสามฝง
แกน) ตนพอหื้อเอาไพไวยวมใต...” ๒
แมไมปรากฏหลักฐานแนชัดวา เมืองยวมใตตั้งมาแตครั้งใด แตก็มีความเปนไปได
คอนขางสูงวา ชุมชนนี้นาจะกอตั้งมาแลวแตครั้งรัชกาลพระญามังราย เนื่องจากอยูในเสนทางการ
ติดตอระหวางลานนากับเมืองหงสาวดี โดยมีสถานะเปนหัวเมืองหนาดานทางตะวันตกของลานนา
จากการสํารวจทางโบราณคดีไดคนพบรองรอยของชุมชนโบราณ โบราณสถาน และโบราณวัตถุสมัย
ลานนา อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๒๑ - ๒๒ กระจายอยูตามแหลงโบราณคดีบริเวณที่ราบลุม อันเปน
ที่ตั้งตัวอําเภอแมสะเรียงหลายแหงดวยกัน

ทัศนียภาพบริเวณที่ตั้งตัวเมืองยวมใตเกา บนฝงขวาแมน้ํายวม ทางตะวันตกเฉียงของใตเมืองแมสะเรียงใหม


( ภาพถาย : นายชิณนวุฒิ วิลญาลัย ) ๓

คูเมือง และกําแพงเมืองยวมใต ( ภาพถาย : นายชิณนวุฒิ วิลญาลัย)

ระยะแรกตั ว เมือ งคงจะตั้ ง อยู ท างตอนล า งบริ เ วณเมื อ งเกา ที่ถู ก ทิ้ง ร า งไป ตอ มา
ภายหลังจึงยายขึ้นไปทางเหนือสบน้ําแมสะเรียง บริเวณที่ตั้งที่วาการอําเภอในปจจุบัน จึงเรียกขานกัน
อีกนามหนึ่งตามชื่อลําน้ําแมสะเรียงวา เมืองสะเรียง หรือ ยวนเฉลียง ดังปรากฏนามอยูในมหาราช
วงษพงษาวดารพมา เมื่อกลาวถึงหัวเมืองบนเสนทางเดินทัพเขามาตีเชียงใหมของพระเจาหงสาวดี
บุเรงนอง ราว พ.ศ. ๒๑๐๗ ตอนหนึ่งวา
“ ครั้ น พระองค ท รงจั ด เสร็ จ แล ว ก็ เ สด็ จ ยกพยุ ห โยธาทั พ ใหญ จ ากกรุ ง หงษาวดี
ประทับแรมที่ตําบลไชยสาจี จากไชยสาจีไดทรงประทับแรมไป ๑๑ ตําบลเสด็จถึงญวนเฉลียง จาก
ญวนเฉลียงไดทรงประทับแรม ๒๒ ตําบลจึงเสด็จถึงเมืองลําภูล (ลําพูน)” ๔
หลักฐานสมัยลานนาที่พบระยะนี้คงไดแกซากโบราณสถาน กลุมพระพุทธรูปสําริด
ศิลปะลานนา และเศษเครื่องถวยดินเผาจากแหลงเตาเวียงกาหลง สันกําแพง และเครื่องถวยจีน ที่
นําเขามาใชสอยในพื้นที่ สวนใหญมักพบตามบริเวณแหลงโบราณคดีที่เปนวัดราง และชุมชนโบราณ
อาทิกลุมพระพุทธรูปสําริดที่วัดสุวรรณรังษี และวัดแสนทองเปนตน
อนึ่งชื่อ เมืองยวมใต นี้คงมีที่มาจากทําเลที่ตั้ง และสภาพทางภูมิศาสตร จึงเปนไปได
วานาจะมีชุมชนอีกเมืองหนึ่งที่ชื่อวา เมืองยวม หรือ เมืองยวมเหนือ? ทางตอนบนของลุมน้ํายวม

บริเวณชุมชนโบราณ บานหลวง - ตอแพ ตําบลแมเงา อําเภถอขุนยวม จังหวัดแมฮองสอน เปนเมืองคู


แมชื่อเมืองนี้จะมิปรากฏหลักฐานอยูในเอกสารทางประวัติศาสตรก็ตาม

พระพุทธรูปปางมารวิชัย สําริด ( ซาย - ขวา )วัดแสนทอง อําเภอแมสะเรียง จังหวัดแมฮองสอน


ศิลปะลานนา อายุราวปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๐ - ตนพุทธศตวรรษที่ ๒๐

พระพุทธรูปปางมารวิชัย สําริด ( ซาย - ขวา )วัดสุวรรณรังสี อําเภอแมสะเรียง จังหวัดแมฮองสอน


ศิลปะลานนา อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๒๑
การสํารวจแหลงโบราณคดีทางตอนบนของลุมน้ํายวม และลําน้ําสาขาในเขต อําเภอ
ขุนยวม ซึ่งดําเนินการโดยโครงการโบราณคดีประเทศไทย (ภาคเหนือ) กองโบราณคดี กรมศิลปากร
เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๖ ไดคนพบชุมชนโบราณ และกลุมโบราณสถานลานนา บริเวณลุมน้ํายวมตอนบน
เขต บานหลวง - ตอแพ ตําบลแมเงา ตลอดจน ลําน้ําสาขา เชน ลําน้ําแมเงา และปอน ในเขต ตําบล
เมืองปอน อําเภอขุนยวม จังหวัดแมฮองสอนที่มีอายุระหวางพุทธศตวรรษที่ ๒๑ - ๒๒ หลาย แหง
ดวยกัน ดังนี้
ลุมน้ํายวม
๑. แหลงโบราณคดีดอยเวียง มีลักษณะคลายปราการ ปอม หรือคาย ตั้งอยูบนยอด
ดอยเวียง ทางฝงซายแมน้ํายวม ดานตะวันออกของบานหัวนา(บานตอแพหมู ๑) ภายในเปนที่ตั้งวัด
ราง ประกอบไปดวยวิหาร เจดีย และสระน้ํา มีคันดิน รองคูขนาดใหญลอมอยูโดยรอบ
๒.วั ด ร า งบ า นใหม ตั้ ง อยู บ นฝ ง ขวาของแม น้ํ า ยวม ทางด า นเหนื อ ของแหล ง
โบราณคดีดอยเวียง หางจากบานใหม(ตอแพ)ออกไปทางดานทิศตะวันออกของประมาณ ๓๐๐เมตร
ประกอบไปดวยฐานวิหารขนาดใหญ และกําแพงแกว ๕

ดอยเวียง ที่ตั้งของวัดรางดอยเวียง และปราการโบราณสมัยลานนา บานใหม( ตอแพ ) ตําบลแมเงา อําเภอขุนยวม


จังหวัดแมฮองสอน

ซากเจดีย สมัยลานนา อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๒๑ - ๒๒ ภายในบริเวณวัดรางบนยอดดอยเวียง

ชิ้นสวนปลองไฉน สวนยอดเจดีย

เศษเครื่องถวยจีน สมัยราชวงศหมิง (ซาย) และเศษเครื่องถวยจากแหลงเตาภาคเหนือ (สันกําแพง - เวียงกาหลง)


(ขวา) อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๒๑ - ๒๒ ที่พบภายในบริเวณตัวโบราณสถาน

แนวคูน้ํา และคันดิน ลอมอยูโดยรอบยอดดอยเวียง และบริเวณวัดราง

ฐานวิหารขนาดใหญ วัดรางบานใหม (ตอแพ) ตําบลแมเงา อําเภอขุนยวม จังหวัดแมฮองสอน


ลุมน้ําปอน
๑.วั ด ร า งจอมมอญ ตั้ งอยู บ นลาดเขา ทางฝ ง ขวาของลํ าน้ํ า ปอน บริ เ วณสบซอม
บานเมืองปอน ตัวโบราณสถานเปนซากอาคารขนาดเล็ก มีแนวกําแพงแกวลอมอยูโดยรอบ มีผูขุดพบ
พระพุทธรูปสําริดศิลปะลานนาหลายองคภายในบริเวณวัดนี้
๒. เจดียรางสบแมซอนอย เปนซากเจดียขนาดเล็กตั้งอยู ณ บริเวณสบแมซอนอย
บานหางปอน ทางฝงซายแมน้ําปอน
๓.วัดรางสบแมลากะ ตั้งอยูบนลาดเขาบริเวณสบแมลากะ บานทาหินสม ทางฝงซาย
แมน้ํายวม ตัวโบราณสถานเปนฐานวิหารขนาดใหญ
๔.วัดรางบานหางปอน ตั้งอยูบนลาดเนิน ริมฝงซายแมน้ําปอน ตัวโบราณสถานเปน
ซากเจดียเจดียขนาดเล็ก ๒ องค
๕.วัดรางบานปาฝาง (๑) ตั้งอยูบนที่ราบ ริมฝงซายแมน้ําปอน หางจากบานปาฝาง
ตําบลเมืองปอน ไปทางตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ ๘๐๐ เมตร ตัวโบราณสถานเปนฐานวิหารรูป
สี่เหลี่ยมผืนผา
๖.วัดรางบานปาฝาง (๒) ตั้งอยูบนที่ราบ ริมฝงขวาแมน้ําปอน หางจากบานปาฝางลง
ไปทางตะวันออกเฉียงใต ประมาณ ๓๐๐ เมตร ลักษณะเปนฐานวิหารรูปสี่เหลี่ยมผืนผาประดิษฐาน
พระพุทธรูปปูนปน ปจจุบันพังลงจนหมดเหลือแตขมวดพระเกศาดินเผาที่ใชตกแตงพระเศียร ๖

โบราณสถานราง (เจดีย?) สมัยลานนา อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๒๑ - ๒๒ ปากหวยแมซอนอย ลุมน้ําปอน บานแม


ซอใต ตําบลเมืองปอน อําเภอขุนยวม จังหวัดแมฮองสอน

เศษเครื่องถวยจากแหลงเตาภาคเหนือ (สันกําแพง - เศษเครื่องถวยจีน สมัยราชวงศหมิง อายุราว


เวียงกาหลง) อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๒๑- ๒๒ พุทธศตวรรษที่ ๒๑ -๒๒ พบภายบริเวณโบราณ
พบในบริเวณโบราณสถานราง ปากหวยแมซอนอย สถานรางสบแมลากะ ตําบลเมืองปอน อําเภอขุนยวม

โบราณสถานราง (ฐานวิหาร?) ขนาดใหญ สมัยลานนา อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๒๑ - ๒๒ บริเวณสบแมลากะ บาน


แมลากะ ตําบลเมืองปอน อําเภอขุนยวม จังหวัดแมฮองสอน

ลุมน้ําแมเงา
๑.วัดรางบานหวยนา ตั้งอยูบนลาดเนิน ดานทิศตะวันออกเฉียงใตบานหวยนา ทางฝง
ซายของลําน้ําหวยนา สาขาน้ําแมเงา ลักษณะเปนอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผา (วิหาร?) ทางดานตะวันตก
เฉียงเหนือ มี่ฐานอาคารขนาดเล็ก(เจดีย) อีก ๑ หลัง
๒. วัดรางบานสวนออย ตั้งอยูบนที่ราบฝงขวาของลําน้ําแมเงาหางจากบานสวนออย
ไปทางทิ ศ ใตประมาณ ๘๐๐ เมตร ลัก ษณะเปนอาคารรูปสี่ เหลี่ ย มผื น ผา (วิห าร) วางตัว ตามแนว
ตะวันออก - ตะวันตก มีแนวกําแพงแกวลอมอยูโดยรอบ ที่ปลายอาคารดานตะวันตก ยังคงปรากฏ
รองรอยของฐานชุกชีสําหรับประดิษฐานพระพุทธรูป ๗
กลุมโบราณวัตถุรวมสมัยที่พบในแหลงโบราณคดีเหลานี้ ไดแกเศษเครื่องถวยจีน
สมัยราชวงศหยวน(เอวี๋ยน) และหมิง เศษเครื่องถวยจากแหลงเตาลานนา และกลุมพระพุทธรูปสําริด
ศิลปะลานนา ที่วัดมวยตอ และวัดเมืองปอน เปนตน

พระพุทธรูปปางมารวิชัย สําริด ( ซาย - ขวา ) วัดมวยตอ ตําบลขุนยวม อําเภอขุนยวม จังหวัดแมฮองสอน


ศิลปะลานนา อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๒๑
๑๐

พระพุทธรูปปางมารวิชัย สําริด วัดแมสุริน บานแมสุริน อําเภอขุนยวม ศิลปะลานนา มีจารึกที่ฐานระบุจุลศักราช


๘๗๗ หรือพุทธศักราช ๒๐๕๘ ตรงกับรัชกาลเจาพระญาเมืองแกว

พระพุทธรูปทรงเครื่องปางสมาธิ และพระพุทธรูปปางมารวิชัย ( สําริด )วัดเมืองปอน บานเมืองปอน ตําบลเมือง


ปอน อําเภอขุนยวม ศิลปะลานนา อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๒๑
๑๑

เมืองสําคัญที่ปรากฏหลักฐานอยูในเอกสารประวัติศาสตรลานนาลําดับตอมา คือ
เมืองนอย ชุมชนโบราณขนาดเล็กตั้งอยูในหุบเขาทางตอนบนของลุมน้ําปาย ซึ่งถูกใชเปนสถาน
กักกันองคพระมหากษัตริยที่ถูกถอดออกจากราชสมบัติ หรือพระราชวงศที่ไมไววางพระราชหฤทัย
ชื่อเมืองนี้ปรากฏครั้งแรกในรัชสมัยพระเจาติโลกราช และตอมาอีกหลายรัชกาล ครั้งสุดทาย คือ
รัชกาลเจาพระญาเมืองเกสเชฏฐราช ตํานานพื้นเมืองเชียงใหมกลาวถึงดังนี้
“ อยูบนานเทาใด เจาแมทาวหอมุกใสโทษแกเจาพอทาวบุญเรืองวาบดี เจาพระญาติ
โลกราชะหื้อเอาไวเสียเมืองนอย” ๘
“สกราช ๘๕๗ ตัว( พ.ศ.๒๐๓๘ ).............ทาวยอดเชียงรายตนพอเสวิยเมือง ๙ ปลี เอา
ไพไวเสียซะมาด (จวด) เมืองนอยแล” ๙
“ ปลีเปกเส็ด (ปจอสัมฤทธิ) สก ๙๐๐ ตัว(พ.ศ. ๒๐๘๑) เสนาอามาจจทั้งหลายบเพิงใจ
พระเมืองเกส เขาลวดพรอมกันปลงพระญาเกส เอาไพไวเสียเมืองนอย” ๑๐

บริเวณที่ตั้งวัดหลวง(ราง) ชุมชนโบราณเมืองนอย ตําบลเวียงเหนือ อําเภอปาย จังหวัดแมฮองสอน


๑๒

วัดหลวง (ราง) เมืองนอย สรางขึ้นระหวางรัชกาลเจาพระญายอดเชียงราย - เจาพระญาเมืองเกสเชฏฐราช


ราวพุทธศตวรรษที่ ๒๑
๑๓

ภาพถายทางอากาศ บริเวณที่ตั้งเมืองปายเกา บานเวียงเหนือ ตําบลเวียงเหนือ อําเภอปาย จังหวัดแมฮองสอน

เมืองปาย (เวียงเหนือ ?) เปนเมืองโบราณตั้งอยูบนที่ราบลุมน้ําปายตอนบน บริเวณ


บานเวียงเหนือ อําเภอปาย ทางดานตะวันออกเฉียงเหนือของจังหวัดแมฮองสอน ชื่อเมืองปาย ปรากฏ
นามเดิมในศิลาจารึก และเอกสารประวัติศาสตรวา “ เมืองพาย” หรือ “ เมืองพลาย” ดังนี้
จารึกฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัยสําริด วัดดอนมูล?(วัดหมอแปง) ตําบลแมนาเติง
อําเภอปาย กลาวถึงการที่เจาเมืองปาย หรือ “เจาหมื่นพายศรีธมฺมจินดา” สรางพระพุทธรูปน้ําหนักสี่
หมื่นหาพันทอง เมื่อจุลศักราช ๘๖๔ หรือ พ.ศ. ๒๐๔๕ (ตรงกับรัชกาลเจาพระญาเมืองแกว พ.ศ.
๒๐๓๘ - ๒๐๖๘) ๑๑
๑๔

พร๓ะพุทธรูปปางมารวิชัย สําริด วัดดอนมูล อําเภอปาย จังหวัดแมฮองสอน ศิลปะลานนา มีจารึกขอความทาง


ดานลางของขอบฐานระบุวา “เจาหมื่นปายศรีธรรมจินดา” ใหหลอขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๐๔๕

สวนตํานานพื้นเมืองเชียงใหมไดกลาวถึงเมืองปายระหวาง พ.ศ.๒๑๒๑ - ๒๑๒๔ ไว


ตอนหนึ่งวา
“ พระญาละพูนกินเมืองเชียงแสนบนานเทาใด หนีมาละพูนดังเกลา ไวนางพระญากิน
๓ ปลี แลวยายมากิน เมืองพลาย” ๑๒
อนึ่ง ในเขตตํา บลแมฮี อํ า เภอปาย ยัง พบศิลาจารึ ก อั น เป น หลัก ฐานที่สํ าคั ญ ทาง
ประวัติศาสตร ระยะแรกของชุมชนอีกหลักหนึ่งคือ ศิลาจารึกวัดศรีเกิด ซึ่งกลาวถึงการสรางมหาเจดีย
ในอาราม (วัด) ศรีเกิด หรือวัดหนองบัว(ราง) เพื่ออุทิศถวายผลบุญแด เจาพระญายอดเชียงราย และ
พระราชมารดา โดยพระมหาสามีสัทธรรมราชรัตนเจา ระหวาง จุลศักราช ๘๕๑ - ๘๕๒ หรือ ป พ.ศ.
๒๐๓๒ - ๒๐๓๓ ๑๓
๑๕

ศิลาจารึกวัดศรีเกิด อําเภอปาย จังหวัดแมฮองสอน ( ภาพ : ฮันส เพนธ )

บริเวณที่ราบลุมน้ําปายตอนบนยังพบหลักฐาน อันไดแกโบราณสถานราง และ


กลุมพระพุทธรูปสําริดศิลปะลานนา มากกวาบริเวณอื่นๆ ในเขตจังหวัดแมฮองสอน แสดงใหเห็นวา
เมืองปายเปนหัวเมืองสําคัญเมืองหนึ่งของลานนามาแลว ตั้งแตราวปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๐

พระพุทธรูปปางมารวิชัย สําริด ศิลปะลานนา วัดหลวง ตําบลเวียงใต อําเภอปาย จังหวัดแมฮองสอน


มีจารึกที่ขอบดานลางของฐานระบุวา หลอขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๐๒๘
ตรงกับปลายรัชกาลพระเจาติโลกราช
๑๖

พระพุทธรูปปางมารวิชัย สําริด ศิลปะลานนา พระพุทธรูปปางมารวิชัย สําริด ศิลปะลานนา


อายุราวตนพุทธศตวรรษที่ ๒๑ วัดศรีดอนชัย อายุราวตนพุทธศตวรรษที่ ๒๑ วัดทุงยาว
ตําบลเวียงเหนือ อําเภอปาย จังหวัดแมฮองสอน ตําบลทุงยาว อําเภอปาย จังหวัดแมฮองสอน

พระพุทธรูปปางมารวิชัย สําริด ศิลปะลานนา พระพุทธรูปปางมารวิชัย สําริด ศิลปะลานนา


อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๒๑ วัดน้ําฮู อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๒๑ วัดทุงยาว
ตําบลเวียงใต อําเภอปาย จังหวัดแมฮองสอน ตําบลทุงยาว อําเภอปาย จังหวัดแมฮองสอน
๑๗

นอกจากจากนี้พื้นที่ลุมน้ําปายตอนลาง เขตอําเภอเมือง จังหวัดแมฮองสอน ยังพบ


รองรอยของกลุมโบราณสถานสมัยลานนาในบริเวณบานทุงกองมู ตําบลปางหมู และลุมน้ําแมจา
บานปาลาน ตําบลหวยโปงหลายแหง อันเปนหลักฐานสําคัญแสดงใหเห็นถึงการกระจายของชุมชน
ระหวางพุธศตวรรษที่ ๒๑- ๒๒ ไดเปนอยางดี ดังนี้
ลุมน้ําปายตอนลาง
๑.วั ด ร า งหมายเลข ๑ ตั้ ง อยู บ นเนิ น เขา ริ ม ฝ ง ซ า ยแม น้ํ า ปาย ตั ว โบราณสถาน
ประกอบไปดวยกําแพงแกว ฐานวิหาร และเจดีย วางตัวในแนวแกนทิศตะวันออก- ตะวันตก ตาม
รูปแบบผังของวัดสมัยลานนา
๒.วัดรางหมายเลข ๒ ตั้งอยูหางจากวัดรางหมายเลข ๑ ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต
ประมาณ ๓๕๐ เมตร ประกอบไปดวยฐานอาคาร ๓ หลัง มีแนวกําแพงแกวลอมอยูโดยรอบ
๓.วัดรางหมายเลข ๓ ตั้งอยูหางจากวัดรางหมายเลข ๒ ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต
ประมาณ ๔๐๐ เมตร ประกอบไปดวยฐานวิหารรูปสี่เหลี่ยมผืนผา มีซากเจดียอยูทางดานหลัง วางตัว
ตามแนวทิศ ตะวันออก- ตะวันตก ๑๔

ผังวัดรางหมายเลข ๑ บานทุงกองมู ตําบลปางหมู อําเภอเมือง จังหวัดแมฮองสอน


๑๘

ฐานวิหาร และฐานเจดีย โบราณสถานราง หมายเลข ๑ บานทุงกองมู ตําบลปางหมู อําเภอเมือง จังหวัดแมฮองสอน

ลุมน้ําแมจา
๑.วัดรางบานเกา ตั้งอยูบนเนินเขา ทางฝงขวาของลําน้ําแมจา หางจากบานปาลาน
ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ ๘๐๐ เมตร ประกอบไปดวยแนวกําแพงแกว ฐานวิหารขนาด
ใหญรูปสี่เหลียมผืนผา และซากฐานเจดีย ๑๕
๑๙

ฐานวิหาร และเจดีย วัดบานเการาง บานปาลาน ตําบลหวยโปง อําเภอเมือง จังหวัดแมฮองสอน

โบราณวัตถุสมัยลานนาที่พบในบริเวณลุมน้ําทั้งสองแหง มีจํานวนนอย อันแสดงถึง


ลักษณะความหนาแนนของชุมชน สวนใหญเปนเศษเครื่องถวยจากแหลงเตาลานนา และเครื่องถวย
จีนสมัยราชวงศหมิง สวนพระพุทธรูปไมปรากฏหลักฐานที่สามารถนํามาศึกษากําหนดอายุได
บรรดาหลักฐานทางดานโบราณวัตถุ และโบราณสถานทั้งหลายที่กลาวมาขางตน
ลวนแสดงใหเห็นวา พื้นที่จังหวัดแมฮองสอนมีความสําคัญอยางยิ่งในสมัยลานนา เนื่องจากตั้งอยูบน
เสนทางการติดตอ ระหวารัฐลานนากับอาณาจักรพมา มีกลุมชนสมัยประวัติศาสตรที่รับอิทธิพล
วัฒนธรรมลานนาตั้งถิ่นฐานอยูอาศัยหนาแนนในชวงระยะเวลาแหงความรุงเรืองของรัฐนี้ ระหวาง
ปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๐ ถึงราวปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๑
ฐานะของเมืองทั้งสามอันไดแก เมืองยวม ( ขุนยวม -ยวมเหนือ?) เมืองยวมใต(แม
สะเรียง) และเมืองปาย คงเปนหัวเมืองหนาดานทางทิศตะวันตกของลานนา

___________________________
`
นายสุรศักดิ์ ศรีสําอาง
ผูอํานวยการสํานักพิพิธภัณฑสถานแหงชาติ
๕ ตุลาคม ๒๕๔๙

เชิงอรรถ
๑. ระยะเวลากําหนดจากปทนี่ ามเมืองยวมใตปรากฏเปนครั้งแรกในเอกสารทางประวัติศาสตรของ
ลานนา ถึงปที่ลานนาเลียเอกราชแกพมา
๒. คณะอนุกรรมการตรวจสอบ และชําระตํานานพื้นเมืองเชียงใหม. ตํานานพื้นเมืองเชียงใหม ฉบับ
เชียงใหม ๗๐๐ ป ( เชียงใหม โรงพิมพมิ่งเมือง, ๒๕๓๘) หนา ๖๐
๒๐

๓. นายซิณนวุฒิ วินยาลัย นักโบราณคดี ๖ว. สํานักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม


๔. นายตอ แปล , มหาราชวงษพงษาวดารพมา. (กรุงเทพ; สํานักพิมพมติชนจํากัด, ๒๕๔๕) หนา
๘๘
๕. โครงการโบราณคดีประเทศไทย(ภาคเหนือ), กรมศิลปากร. รายงานเบื้องตนการสํารวจแหลง
โบราณคดี มส. ๒๖ - ๐๐๗๐ ถึง มส. ๒๖- ๐๐๘๖ อําเภอขุนยวม จังหวัดแมฮองสอน ป ๒๕๒๖,
หนา ๗ - ๑๙
๖. เรื่องเดียวกัน, หนา ๒๐ - ๓๖
๗. เรื่องเดียวกัน, หนา ๓๗ - ๔๐
๘. ตํานานพืน้ เมืองเชียงใหม ฉบับ เชียงใหม ๗๐๐ ป, หนา ๗๗
๙. เรื่องเดียวกัน, หนา ๘๔
๑๐. เรื่องเดียวกัน, หนา ๘๗
๑๑. ฮันส เพนธ. คําจารึกบนฐานพระพุทธรูปวัดดอนมูล อําเภอปาย จังหวัดแมฮองสอน.
สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม (ยังไมไดตีพิมพ)
๑๒.ตํานานพืน้ เมืองเชียงใหม ฉบับ เชียงใหม ๗๐๐ ป, หนา ๙๗
๑๓. ฮันส เพนธ. ศิลาจารึกวัดศรีเกิด อําเภอปาย จังหวัดแมฮองสอน พ.ศ. ๒๐๓๒ - ๒๐๓๓,
นิตยสารศิลปากร ปที่ ๑๙ ฉบับที่ ๖ (มี.ค. ๑๙), หนา ๗๒ - ๗๖
๑๔. โครงการโบราณคดีประเทศไทย(ภาคเหนือ), กรมศิลปากร. รายงานเบื้องตนการสํารวจแหลง
โบราณคดี มส. ๒๖ - ๐๐๕๖ ถึง มส. ๒๖- ๐๐๕๘ อําเภอเมือง จังหวัดแมฮองสอน ป ๒๕๒๖,
หนา ๑ - ๙
๑๕.โครงการโบราณคดีประเทศไทย(ภาคเหนือ), กรมศิลปากร. รายงานเบื้องตนการสํารวจแหลง
โบราณคดี มส. ๒๖ - ๐๐๖๖ อําเภอเมือง จังหวัดแมฮองสอน ป ๒๕๒๖, หนา ๑ - ๕

บรรณานุกรม
คณะอนุกรรมการตรวจสอบและชําระตํานานพื้นเมืองเชียงใหม. ตํานานพื้นเมียงเชียงใหม ฉบับ
เชียงใหม ๗๐๐ ป. เชียงใหม ; โรงพิมพมิ่งเมือง, ๒๕๓๘.
โครงการโบราณคดีประเทศไทย(ภาคเหนือ), กรมศิลปากร. รายงานเบือ้ งตนการสํารวจแหลง
โบราณคดี มส. ๒๖ - ๐๐๕๖ ถึง มส. ๒๖- ๐๐๕๘ อําเภอเมือง จังหวัดแมฮองสอน ป
๒๕๒๖.
โครงการโบราณคดีประเทศไทย(ภาคเหนือ), กรมศิลปากร. รายงานเบือ้ งตนการสํารวจแหลง
โบราณคดี มส. ๒๖ - ๐๐๖๖ อําเภอเมือง จังหวัดแมฮองสอน ป ๒๕๒๖.
โครงการโบราณคดีประเทศไทย(ภาคเหนือ) กรมศิลปากร. รายงานเบือ้ งตนการสํารวจแหลง
โบราณคดี มส. ๒๖ - ๐๐๗๐ ถึง มส. ๒๖- ๐๐๘๖ อําเภอขุนยวม จังหวัดแมฮองสอน ป
๒๑

๒๕๒๖.
ณัฏฐภัทร จันทวิช. เครื่องถวยจีนที่พบจากแหลงโบราณคดีในประเทศไทย. กรุงเทพ ;โรง
พิมพมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร, ๒๕๓๗.
นายตอ (ผูแ ปล). มหาราชวงษพงษาวดารพมา. กรุงเทพ ; สํานักพิมพมติชนจํากัด, ๒๕๔๕.
ประชากิจกรจักร, พระยา. พงศาวดารโยนก. กรุงเทพ ; สํานักพิมพคลังวิทยา, ๒๕๑๖.
ประเสริฐ ณ นคร. “ประวัติศาสตรจากโคลงมังทราตีเชียงใหม”. โคลงเรื่องมังทรารบเชียงใหม.
กรุงเทพ ; มิตรนราการพิมพ, ๒๕๒๒.
“พงศาวดารเมืองเงินยางเชียงแสน”. ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๖๑ เลม ๓๓. พระนคร ;โรงพิมพองค
การคาครุสภา, ๒๕๑๒.
แสง มนวิทูร, ร.ต.ท. (ผูแปล). ชินกาลมาลีปกรณ. พิมพเปนอนุสรณในงานพระราชทานเพลิงศพ
พระพรหมคุณาภรณ วัดโสธรวราราม. กรุงเทพ ;โรงพิมพมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ,
๒๕๔๐.
สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม. (ปริวรรต). ตํานานเมืองเชียงใหมปางเดิม. เชียงใหม ;
มหาวิทยาลัยเชียงใหม, ๒๕๓๖.
ศิลปากร, กรม. ทะเบียนโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ในครอบครองของวัดและเอกชน พ.ศ. ๒๕๒๑-
พ.ศ. ๒๕๓๙, เลม ๒. กรุงเทพ; บริษัทสํานักพิมพสมาพันธจาํ กัด, ๒๕๔๒.
ฮันส เพนธ. คําจารึกฐานพระพุทธรูปในนครเชียงใหม. กรุงเทพ โรงพิมพสํานักเลขาธิการ
คณะรัฐมนตรี, ๒๕๑๙.
ฮันส เพนธ. “ศิลาจารึกวัดศรีเกิด อําเภอปาย จังหวัดแมฮองสอน พ.ศ. ๒๐๓๒ - ๒๐๓๓”.
นิตยสารศิลปากร. ปที่ ๑๙, ฉบับที่ ๖ (มี.ค. ๑๙)
๒๒

You might also like