You are on page 1of 5

แถลงการณ์

เรื่องกรณี พิพาทปราสาทพระวิหาร

อนุ ส นธิ แ ถลงการณ์ ข องมหาวิ ท ยาลั ย รั ง สิ ต ลงวั น ที่ ๒๙


กรกฎาคม และ ๓ สิ ง หาคม ๒๕๕๓ เรื่ องการคั ด ค้ า นการขึ้ น
ทะเบี ย นปราสาทพระวิ ห ารเป็ นมรดกโลกโดยกั ม พู ช า ชี้ แ จง
เหตุผลที่รัฐบาลไทยพึงคัดค้านการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหาร
ซึ่งยังเป็ นปั ญหาค้างคาระหว่างไทยกับกัมพูชา ทัง้ ๆ ที่ศาลยุติธรรม
ระหว่างประเทศได้พิพากษาว่า ปราสาทพระวิหารตัง้ อยู่บนพื้นที่
ภายใต้อธิปไตยของกั มพู ช า แต่ไ ทยก็ไ ด้มี หนั งสื อประท้ วงไปยั ง
สหประชาชาติ และยังคงยืนยันว่าอยู่ภายใต้อธิปไตยของไทยถึง
แม้รัฐบาลไทยได้ยินยอมให้ฝ่ายกัมพูชาผ่านชายแดนไทยคือเส้น
สันปั นน้้ าที่เทือกเขาบรรทัดหรือเทือกเขาพนมดงรักเข้ามาเยือน
ปราสาทพระวิหารได้ทางช่องบันไดหั ก ทัง้ นี้ เนื่ องจากปราสาท
พระวิหารไม่มีทางขึ้นจากฝั่ งกัมพูชาโดยไม่ผ่านดินแดนไทย หาก
กัมพูชาจะมาทางอากาศ กัมพูชาก็จะต้องผ่านน่ านฟ้ าไทย เมื่อปี
พ.ศ. ๒๕๐๕ กั ม พู ช าเคยล่ ว งล้้า น่ า นฟ้ าไทยมายั ง ปราสาทพระ
วิ ห ารทางอากาศ ไทยได้ ยิ ง เฮลิ ค อปเตอร์ ข องกั ม พู ช าตกโดย
กัมพูชามิได้ทักท้วงและไม่กล้าแม้แต่ส่งเจ้าหน้ าที่มากู้ซากเครื่อง
บินดังกล่าวเป็ นเวลาหลายปี หลังจากเกิดเหตุ
ตามที่ คณะกรรมการมรดกโลกของยู เ นสโกได้ แ ถลงเลื่ อ น
การพิจารณาวาระการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็ นมรดกโลก
ออกไปอีก ๑ ปี โดยก้าหนดจะน้ าเข้าพิจารณาในสมัยประชุม พ.ศ.
๒๕๕๔ นั ้ น ปั ญหาข้อขัดแย้งนี้ รัฐบาลไทยจึงยังต้องขบคิดและ
หาทางแก้ไขและให้ค้าอธิบายเพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องต่อไป
เพื่อป้ องกันและลดอัตราการสุ่มเสี่ยงต่อการเสียดินแดนอัน
เป็ นที่รักและหวงแหนของประชาชนคนไทย ซึ่งต่างก็ตระหนั กใน
สิทธิและหน้ าที่ในการพิทักษ์ รักษาผลประโยชน์ของประเทศชาติ
มหาวิทยาลัยรังสิตได้ท้า การวิจัย ศึกษาและพิจารณาประเด็นอัน
เป็ นปั ญหาอย่างถี่ถ้วนแล้ว จึงขอแสดงความคิดเห็นพ้องกับข้อ
เสนอของคณะนิ ติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ทัง้ ในหลักการและ
วิธีปฏิบัติเพิ่มเติมจากที่ได้น้าเสนอไปแล้วดังต่อไปนี้

๑. รัฐบาลไทยมีสิทธิและหน้ าที่ตามกฎหมายระหว่างประเทศใน
การป้ องกั น ประเทศชาติ ต ามกฎบั ต รสหประชาชาติ ตามสนธิ
สัญญาระหว่างประเทศและกฎหมายระหว่างประเทศ

๒. โดยที่ไทยเป็ นประเทศรักสงบ ไทยจึงได้ใช้ความอดทนและ


อดกลั ้น เป็ นที่ ตั ้ง เพื่ อรั ก ษาสั น ติ ภ าพและมิ ต รภาพกั บ ประเทศ
เพื่อนบ้านมาโดยตลอด แต่กระนั ้น หากประเทศใดใช้ก้าลังทหาร
หรือศาสตราวุธท้าการรุกรานโดยรุกล้า้ เข้ามาในพระราชอาณาเขต
ประเทศไทย ไทยก็ ชอบที่จ ะใช้วิ ธีก ารทูต เจรจาโดยสัน ติวิ ธีก่ อ น
แต่เมื่อการเจรจา ว่ากล่าวตักเตือน ทักท้วง หรือประท้วงโดยสันติ
วิ ธี ไ ม่ บั ง เกิ ด ผล ผู้ รุ ก รานก็ ส มควรได้ รั บ การตอบโต้ ด้ ว ยก้า ลั ง
ทหารและอาวุ ธ ตามควรแก่ เ หตุ แ ละตามสั ด ส่ ว นเพื่ อป้ องกั น
ตนเองมิ ใ ห้ ผู้ ใ ดรุ ก ล้้า เข้ า มาได้ และจะต้ อ งท้า การผลั ก ดั น ให้ ผู้
บุ ก รุ ก ถอยออกไปโดยด่ ว นที่ สุ ด ทั ง้ นี้ เพื่ อ ปกป้ องอธิ ป ไตยและ
บู ร ณภาพของประเทศไทยและคงไว้ ซ่ ึ ง สั น ติ สุ ข ของปวงชนชาว
ไทย

๓. ในกรณี ปราสาทพระวิหาร รัฐบาลไทยยังคงยึดมั่นในสนธิ


สั ญ ญาระหว่ า งไทยกั บ ฝรั่ง เศส ซึ่ ง ตามอนุ สั ญ ญา ค.ศ. ๑๙๐๔
ยื น ยั น โดยสนธิ สั ญ ญาและพิ ธี ส าร ค.ศ. ๑๙๐๗ก้า หนดให้
เขตแดนบริ เ วณที่ พิ พ าทเป็ นไปตามเส้ น สั น ปั นน้้ าบนทิ ว เขา
บรรทัด (พนมดงรัก) ทัง้ นี้ เป็ นไปตามกฎหมายระหว่างประเทศ
และหลักความยุติธรรม

๔. เส้ น สั น ปั นน้้ า ในบริ เ วณเทื อ กเขาบรรทั ด ได้ ถู ก ก้า หนดให้


เป็ นเส้ น เขตแดนระหว่ า งไทยกั บ ฝรั่ ง เศสในอนุ สั ญ ญา ค.ศ.
๑๙๐๔ เป็ นเวลากว่ า ร้ อ ยปี มาแล้ ว กั ม พู ช าเป็ น เพี ย งผู้ สื บ สิ ท ธิ ์
ของฝรั่ ง เศส จึ ง ไม่ อ าจทั ก ท้ ว ง แก้ ไ ข หรื อ เปลี่ ย นแปลงสนธิ
สัญญาทวิภาคีได้ตามใจชอบของตนแต่ฝ่ายเดียว

๕. อนึ่ ง ค้า พิ พ ากษาของศาลยุ ติ ธ รรมระหว่ า งประเทศในคดี


ปราสาทพระวิ ห ารเมื่ อ พ.ศ. ๒๕๐๕ นั ้ น จ้า กั ด เฉพาะพื้ น ที่ ท่ี
ปราสาทพระวิหารตัง้ อยู่ ซึ่งไม่ว่าจะพิจารณาในมุมมองใด ก็ยังคง
อยู่ภายในอาณาเขตของพระราชอาณาจักรไทย เนื่ องจากบริเวณ
ดังกล่าวอยู่ในฝั่ งไทยของเส้นสันปั นน้้ าหรือเส้นแบ่งเขต

๖. ด้วยเหตุผลดังกล่าว กัมพูชาจึงไม่สามารถใช้ประโยชน์จากค้า
พิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศตามที่คาดหวังไว้ ทัง้ นี้
เนื่ องจากค้าพิพากษาจ้ากัดพื้นที่เฉพาะที่ปราสาทพระวิหารตัง้ อยู่
เท่ า นั ้ น และศาลไม่ มี อ้า นาจพิ จ ารณาเกิ น ค้า ขอ (Ultra Petita)
กั ม พู ช าตระหนั กในความจริ ง ข้ อ นี้ เป็ นอย่ า งดี จึ ง พยายาม
ใคร่ ค รวญโดยใช้ เ วลาหลายสิ บ ปี เพื่ อหาทางขยายผลของค้า
พิพากษา โดยเสี่ยงส่งคนชาติกัมพูชาทยอยเข้าไปพ้า นั กอาศัยตัง้
รกรากในบริเวณใกล้เคียงปราสาทบนยอดเขาพระวิหาร ซึ่งอยู่ใน
เขตไทยตามหลักสันปั นน้้ า

๗. ประเทศไทยและประชาชนคนไทยชอบที่จะปฏิบัติการให้คน
ต่างชาติท่ีรุกล้า้ เข้ามาพักอาศัยในประเทศไทยเคารพกฎหมายไทย
รัฐบาลไทยมีอ้า นาจในการปกครองเหนื อดินแดนไทย จึงจ้า เป็ น
ต้ อ งแสดงการใช้ อ้า นาจอธิ ป ไตยตามกฎหมายระหว่ า งประเทศ
อาทิ การตรวจคนเข้ า เมื อ ง การประทั บ ลงตราอนุ ญ าตให้ ค น
ต่างด้าวเข้าประเทศ การขึ้นทะเบียนวัด โรงเรือน และสิ่งปลูกสร้าง
ท้า บั ญ ชี ส้า มะโนประชากรคนต่ า งด้ า ว ตลอดจนเก็ บ ภาษี อากร
สรรพากร สรรพสามิต และภาษี ศุลกากร ฯลฯ

๘. หา กรั ฐ บ า ล ยั งยิ นย อม ให้ คน ต่ า งด้ า ว เข้ า ม า พ้า นั ก ใน


ประเทศไทยโดยเสรี และไม่ผลักดันออกไปตามกฎหมายไทย หรือ
ไม่สามารถใช้กฎหมายไทยโดยสมบูรณ์ รัฐบาลก็ควรใช้มาตรการ
อย่างหนึ่ งอย่างใดลงโทษคนต่างด้าวที่เข้ามาพ้านั กในประเทศไทย
อย่างผิดกฎหมาย หรือเนรเทศออกไปจากพระราชอาณาจักรไทย
โดยทันที

๙. เพื่อให้ สอดคล้ อ งกั บ การยึ ดถื อเส้น สั นปั นน้้ า เป็ นเส้ นแบ่ง
เขตตามสนธิสัญญา ตาม กฎหมายระหว่างประเทศและตามความ
เป็ นธรรม จึงไม่สมควรอย่ า งยิ่ง ที่รั ฐบาลไทยจะรับ รู้ห รือ ยอมรั บ
เส้ น เขตแดนที่ ฝ รั่ง เศสท้า ขื้ น แต่ ฝ่ ายเดี ย วในแผนที่ ม าตราส่ ว น
๑:๒๐๐,๐๐๐ ผนวก ๑ ต่อท้ายค้าฟ้ องของกัมพูชา ทัง้ ๆ ที่ศาลได้
พิ จ ารณาแล้ ว และได้ ชี้ใ ห้ เ ห็ น ความผิ ด พลาดหลายจุ ด เนื่ องจาก
ฝรั่งเศสได้ลากเส้นเขตแดนไม่ตรงกับเส้นสันปั นน้้ าตามข้อตกลง
ในบทนิ ยามเขตแดนที่ก้า หนดไว้ ในสนธิสัญญา ทัง้ ยั งขั ดต่ อมติ
ของคณะกรรมการปั กปั นเขตแดนไทย-ฝรั่งเศส ค.ศ. ๑๙๐๔ อีก
ด้วย

๑๐. ฉะนั ้น สิ่งที่รัฐบาลไทยจ้า เป็ นต้องด้า เนิ นการอย่างรีบด่วน


คือยืนยันจุดยืนของไทยว่าในบริเวณเขาพระวิหารนั ้น เส้นสันปั น
น้้ าเป็ นเส้นเขตแดนที่แท้จริง มิใช่เส้นเขตแดนบนแผนที่ผนวก ๑
ต่อท้ายค้าฟ้ องของกัมพูชา ซึ่งฝรั่งเศสจัดท้าขึ้นเพียงฝ่ ายเดียวโดย
ไม่ เ คยได้ รั บ ความเห็ น ชอบจากไทย และขั ด ต่ อ ความตกลงใน
อนุสัญญา ค.ศ. ๑๙๐๔ และสนธิสัญญากับพิธีสารต่อท้าย ค.ศ.
๑๙๐๗

๑๑. เพื่ อความเข้ า ใจที่ ถู ก ต้ อ งและทั่ ว ถึ ง รั ฐ บาลต้ อ งชี้แ จงและ


ต อ ก ย้้ า ถึ ง ค ว า ม ผิ ด พ ล า ด ใ น แ ผ น ที่ ผ น ว ก ๑ ม า ต ร า ส่ ว น
๑:๒๐๐,๐๐๐ ต่ อ ท้ า ยค้า ฟ้ องของกั ม พู ช าให้ เ ป็ น ที่ ท ราบทั่ว กั น
ทัง้ นี้ เพื่อมิให้เกิดความสับสนหรือเข้าใจคลาดเคลื่อนซึ่งสุ่มเสี่ยง
ต่อความเข้าใจผิดคิดว่าดินแดนอีกหลายตารางกิโลเมตรนั ้ นมิใช่
ผืนแผ่นดินไทย การปิ ดปาก ไม่โต้แย้ง และวางเฉย หรือยึดหลัก
สั น ติ วิ ธี เ พี ย งอย่ า งเดี ย ว ปล่ อ ยให้ กั ม พู ช าเข้ า มาครอบครองโดย
ไทยเลิกใช้หรืองดใช้อ้านาจอธิปไตยเหนื อดินแดนของตนเอง คือ
การยอมรับโดยดุษณี ยภาพและหยิบยื่นดินแดนไทยให้กัมพูชาเข้า
มายึดครองโดยดี

๑๒. ด้ วยเหตุผ ลดั งกล่า วข้ า งต้น และเพื่ อ ขจั ด ความสุ่ ม เสี่ ย งต่ อ
การสู ญ เสี ย ผื น แผ่ น ดิ น ไทยให้ กั ม พู ช า รั ฐ บาลไทยจ้า เป็ นต้ อ ง
แถลงจุดยืนให้เป็ นที่ประจักษ์ อย่างชัดเจนในสายตาชาวโลก มิใช่
จ้า กัดเฉพาะประชาชนชาวไทยและผู้รุกล้้า เข้า มาในดิ นแดนไทย
เท่านั ้น นอกจากนั ้น รัฐบาลไทยยังสมควรยกเลิก MOU ๒๕๔๓
หลั ง จากกั ม พู ช าเป็ น ฝ่ ายล่ ว งละเมิ ด มาโดยตลอดทั ้ง ๆ ที่ ไ ทยได้
ประท้วงโดยเปล่าประโยชน์ไปแล้วหลายครัง้ หลายหน

มหาวิทยาลัยรังสิต
วันที่ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๕๓

You might also like