You are on page 1of 21

หน้า 1 / 21

เรียน คุณดุสิต นนทะนาคร


จาก ทรงยศ สีจร
วันที่ 19 สิงหาคม 2553
เรือ่ ง แนวทางบรรยาย “การขับเคลื่อนธุรกิ จไทยกับอนาคตประเทศ” ในพิ ธีปิดการอบรม
โครงการพัฒนาศักยภาพผูส้ ื่อข่าวระดับสูง (พสส.)

วัน เวลา : วันเสาร์ท่ี 21 สิงหาคม 2553 13:00 – 14:00 น.


( บรรยาย 50 นาที ถาม-ตอบ 10 นาที)

สถานที่ : ห้องเรียน 3 อาคาร 7 ชัน้ 12 มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

กลุ่มผูฟ้ งั : ผูส้ ื่อข่าวสายเศรษฐกิ จ จากสื่อแขนงต่างๆ ทีเ่ ข้าอบรมในหลักสูตร


โครงการ พัฒนาศักยภาพผูส้ ่อื ข่าวระดับสูง (พสส.)

รูปแบบ : บรรยายท่านเดียวในหัวข้อ “การขับเคลื่อนธุรกิ จไทยกับอนาคตประเทศ”

ได้เรียนปรึกษากับอาจารย์ทองทิพภา ผูด้ แู ลโครงการ เกีย่ วกับหัวข้อที่


ต้องการให้บรรยาย สรุปได้ว่าแนวทางเป็ นดังนี้ครับ

 แนะนาหอการค้าไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย
o ความเป็ นมา
o เครือข่าย
o วิสยั ทัศน์ พันธกิจ
 บทบาทความร่วมมือกับภาครัฐ และการพัฒนาประเทศ
o กลไกความร่วมมือกับภาครัฐ
o แผนงานสาคัญของหอการค้าไทย
 แผนยุทธศาสตร์ชาติ
 4 มาตรการเพื่อสร้างความปรองดอง และลดความ
เหลื่อมล้าในสังคม
 ( หากยังพอมีเวลา ) AEC Prompt
หน้า 2 / 21

กาหนดการอบรมโครงการพัฒนาศักยภาพผูส้ ื่อข่าวระดับสูง (พสส.)


ณ ห้องเรียน 3 อาคาร 7 ชัน้ 12 มหาวิ ทยาลัยหอการค้าไทย

วันเสาร์ที่ 21 สิ งหาคม 2553


9.00-10.30 น. เรือ่ ง “ธุรกิ จโรงแรมกับอนาคตประเทศไทย”
โดย คุณบุญรอด โบว์เสรีวงศ์
ประธานฝา่ ยกิจกรรมพิเศษ สมาคมโรงแรมไทย
10.30-10.45 น. พักรับประทานอาหารว่าง

10.45-12.00 น. เรือ่ ง “การท่องเที่ยวกับอนาคตประเทศไทย”


โดย คุณกงกฤช หิ รญ ั กิ จ
ประธานอุตสาหกรรมการท่องเทีย่ วแห่งประเทศไทย.

12.00-13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน

13.00-14.00 น. เรื่อง “การขับเคลื่อนธุรกิ จไทยกับอนาคตประเทศ”


โดย คุณดุสิต นนทะนาคร
ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย

14.00-14.15 น. พิธปี ิดโครงการอบรม


คุณโฆสิ ต ปัน้ เปี่ ยมรัษฎ์ ประธานกรรมการบริหาร ธนาคารกรุงเทพ จากัด (มหาชน)
กล่าวปิดโครงการ

14.15-15.00น. พิ ธีมอบใบประกาศนี ยบัตรโดย คุณโฆสิ ต ปัน้ เปี่ ยมรัษฎ์ ประธานกรรมการบริหาร


ธนาคารกรุงเทพ จากัด (มหาชน) และถ่ายภาพร่วมกันเป็นทีร่ ะลึก

15.00-16.00 น. งานเลีย้ งสังสรรค์ปิดการอบรมโครงการพัฒนาศักยภาพผูส้ ่อื ข่าวระดับสูง


(พสส.)

****************************
หน้า 3 / 21

เริ่ มบรรยาย

ความเป็ นมาของหอการค้าไทย

“หอการค้ า ไทย” เป็ นองค์ ก รภาคเอกชนที่ เ ป็ นศู น ย์ ร วมของนั ก ธุ ร กิ จ และ


ผูป้ ระกอบการ ซึ่งประกอบวิสาหกิจประเภทต่างๆ ไม่ว่าจะเป็ น เกษตรกรรม อุตสาหกรรม
ธุ ร กิจ บริก าร วัต ถุ ป ระสงค์ ท่ีส าคัญ คือ การส่ ง เสริม และพัฒ นาการค้ า ของประเทศให้
เจริญก้าวหน้า สามารถแข่งขันอย่างทัดเทียมกับนานาอารยะประเทศ ตลอดระยะเวลา 77 ปี
นับตัง้ แต่ได้เริม่ ก่อตัง้ หอการค้าขึ้น หอการค้าไทยมีเจตนาอันแน่ วแน่ ท่จี ะทากิจกรรมต่างๆ
ในด้านการส่งเสริมและพัฒนาการค้า และเศรษฐกิจของประเทศให้เป็ นไปตามวัตถุประสงค์ท่ี
กาหนดไว้

ความเป็ นมาของสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย

สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย จัดตัง้ ขึน้ เมื่อปี 2498 โดยมีวตั ถุประสงค์ เพื่อให้เป็ น


องค์กรรวมของนักธุรกิจไทยและต่างประเทศ ในการส่งเสริมและจัดระเบียบเกี่ยวกับการค้าใน
ประเทศไทย รวมทัง้ ให้คาปรึกษา ให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อรัฐบาล เกี่ยวกับ
นโยบายและมาตรการส่ งเสริมพัฒนาและแก้ไขปญั หาการประกอบธุรกิจ และการพัฒนา
เศรษฐกิจ และการค้า ของประเทศ รวมทัง้ ส่งเสริมความร่ว มมือ ทางการค้า และเศรษฐกิจ
ระหว่างประเทศ

การค้า เป็ นพลังสาคัญของเศรษฐกิจของประเทศ เมื่อการค้าดี ฐานะเศรษฐกิจของ


ประเทศก็ดตี ามไปด้วยแต่เศรษฐกิจของประเทศจะเจริญรุ่งเรืองได้ ก็ต่อเมื่อการดาเนินธุรกิจ
ต่างๆ อยูใ่ นระเบียบแบบแผนอันถูกต้อง แต่หากผูป้ ระกอบการค้าในประเทศไทยซึง่
ประกอบด้วยชนหลายชาติและภาษา และทาการค้าโดยไม่มรี ะเบียบแบบแผนทีถ่ ูกต้อง อาจ
เป็ นอันตรายต่อเศรษฐกิจของประเทศ ดังนัน้ รัฐบาลจึงได้จดั ตัง้ สภาหอการค้าแห่งประเทศ
ไทยขึน้
หน้า 4 / 21
ความสัมพันธ์ระหว่างหอการค้าไทย กับสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย

ทัง้ 2 องค์กรเป็ นสถาบันเอกชนทีจ่ ดั ตัง้ ขึน้ ภายใต้กฎหมายฉบับเดียวกัน วัตถุประสงค์


หลักของทัง้ 2 สถาบันนี้ เป็ นไปในทิศทางเดียวกัน คือเป็ นศูนย์รวมของภาคธุรกิจซึ่งมาจาก
หลายแขนงอาชีพ รวมตัวกันเพื่อดาเนิ นกิจกรรมในอันที่จะส่งเสริม ช่วยเหลือ และรักษา
ผลประโยชน์อนั ชอบธรรมของภาคธุรกิจเอกชน โดยคานึงถึงผลประโยชน์และเศรษฐกิจของ
ประเทศชาติเป็ นสาคัญ โดยกฎหมายกาหนดให้ ประธานกรรมการหอการค้าไทย เป็ น
ประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยโดยตาแหน่ง
สภาหอการค้า แห่ ง ประเทศไทย มีส มาชิก สามัญ 4 ประเภท คือ หอการค้า ไทย
หอการค้าจังหวัด หอการค้าต่างประเทศ และสมาคมการค้า ส่วนหอการค้าไทย สมาชิกจะ
อยูใ่ นรูปของบริษทั ห้างร้าน ต่างๆ

ทุกๆ 2 ปี ภายในเดือนมีนาคมจะมีการเลือกตัง้ คณะกรรมการหอการค้าไทย จานวน


76 คน 38 คน มาจากหอการค้าจังหวัด ส่วนอีก 38 คนมาจากส่วนกลาง คณะกรรมการที่
ได้รบั เลือกตัง้ จะประชุมเลือกประธาน และประธานจะแต่งตัง้ คณะกรรมการบริหารขึน้ มี
ตัง้ แต่รองประธาน เลขาธิการ เหรัญญิก นายทะเบียนปฏิคม
ในเดือนเมษายนก็จะมีการเลือกตัง้ คณะกรรมการสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย
จานวน 60 คน มาจากหอการค้าไทย 15 คน หอการค้าจังหวัด 15 คน สมาคมการค้า 15
คน หอการค้าต่างประเทศ 15 คน และกระทรวงพาณิชย์แต่งตัง้ เพิม่ อีก 6 คน จากรัฐวิสาหกิจ
และสหกรณ์ เมื่อเลือกตัง้ เสร็จก็จะมีการตัง้ คณะกรรมการบริหาร มีเลขาธิการ เหรัญญิก และ
นายทะเบียนคนเดียวกัน เพือ่ ให้การทางานทุกอย่างของทัง้ 2 องค์กร เป็ นไปด้วยความ
ราบรื่น
งานทีเ่ กีย่ วข้องกับกิจกรรมภายในประเทศ จะอยูภ่ ายใต้หอการค้าไทย การเจรจา
การค้าระหว่างประเทศ การจัดทา FTA การส่งเสริมการค้าชายแดน จะอยูภ่ ายใต้สภา
หอการค้าแห่งประเทศไทย

เครือข่ายของหอการค้า

หอการค้ าไทย หอการค้าไทยจะมี 2 สถานภาพ คือเป็ นหอการค้าประจาชาติ และเป็ น


หอการค้าจังหวัดกรุงเทพฯ
หน้า 5 / 21
หอการค้าจังหวัด สมาชิกจะต้องมีภมู ลิ าเนาอยูใ่ นจังหวัดทีห่ อการค้าจัดตัง้ อยู่ และต้องเป็ น
สมาชิกของหอการค้าไทย ปจั จุบนั มีครบทุกจังหวัดแล้ว

หอการค้าต่างประเทศ เป็ นศูนย์รวมของนักธุรกิจชาวต่างประเทศทีเ่ ข้ามาประกอบวิสาหกิจ


ในประเทศไทย หอการค้าต่างประเทศจะจัดตัง้ ได้เพียงสัญชาติละหนึ่งหอการค้า เฉพาะแต่ใน
เขตกรุงเทพมหานครเท่านัน้ และต้องเป็ นสมาชิกของสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ปจั จุบนั
มีหอการค้าต่างประเทศในประเทศไทย จานวน 23 แห่ง

สมาคมการค้า ประกอบด้วยสมาคมการค้าต่างๆ เช่น สมาคมอาหาร สมาคมอัญมณี


สมาคมก่อสร้าง เป็ นต้น ปจั จุบนั มีสมาชิกประเภทนี้ทงั ้ หมด 102 สมาคม

มหาวิ ทยาลัยหอการค้าไทย หอการค้าไทยเป็ นเจ้าของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และ


เราเป็ นหอการค้าเพียงแห่งเดียวในโลกที่มมี หาวิทยาลัยเป็ นของตนเอง และถือว่าเป็ นขุม
พลังทางความคิดให้กบั หอการค้าไทยมาโดยตลอด

คณะกรรมการชุดต่างๆ

เพือ่ ให้เกิดความคล่องตัว ในการติดตามปญั หา และจัดทาข้อเสนอแนะ ทีเ่ ป็ น


ประโยชน์ ได้แบ่งงาน ออกเป็ นคณะกรรมการชุดต่างๆ เช่น
 คณะกรรมการ พัฒนาระบบโลจิสติกส์
 คณะกรรมการ ธุรกิจเกษตรและอาหาร
 คณะกรรมการ ธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับ
 คณะกรรมการ ธุรกิจค้าส่งและค้าปลีก
 คณะกรรมการ กฎระเบียบและการค้าระหว่างประเทศ
 คณะกรรมการ พลังงาน
 คณะกรรมการ ส่งเสริมและพัฒนาสมาคมการค้า
คณะกรรมการได้กาหนดวิสยั ทัศน์ และพันธกิจไว้ชดั เจน เพือ่ ให้การทางานเป็ นไปใน
ทิศทางเดียวกัน และได้มกี ารสื่อสารภายในองค์กร ให้เข้าใจตรงกัน ตัง้ แต่กรรมการลงไป
จนถึงระดับพนักงานทุกคน ดังนี้
หน้า 6 / 21
วิ สยั ทัศน์
“เป็ นสถาบันผูน้ าภาคธุรกิจทีเ่ ข้มแข็ง มีความน่าเชื่อถือ
มีเครือข่ายทีก่ ว้างขวาง และมีประสิทธิภาพ
เพือ่ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และสังคมไทยสูส่ ากล
อย่างมันคงและยั
่ งยื
่ น”

พันธกิ จ
1. เป็ นศูนย์รวมของภาคธุรกิจ มีบทบาทและจุดยืนที่
ชัดเจนในการแก้ไขปญั หาและพัฒนาเศรษฐกิจ
2. ร่วมมือใกล้ชดิ กับภาครัฐในการพัฒนาเศรษฐกิจ
ของประเทศให้มคี วามเจริญก้าวหน้า
3. เสริมสร้างความสามัคคีและความเข้มแข็งให้กบั สมาชิก
และธุรกิจในประเทศไทยทัง้ ในส่วนกลางและส่วนภูมภิ าค
4. พัฒนาการศึกษาให้สอดคล้องกับความต้องการของธุรกิจ
และเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจ
ในระดับสากล

บทบาทของหอการค้าไทย ในการผลักดันนโยบายต่อภาครัฐ

ตลอดระยะเวลาทีผ่ า่ นมา หอการค้าไทยและสภาหอฯมีบทบาทสาคัญในการเข้าไปมี


ส่วนร่วมในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ทัง้ ในระดับส่วนกลางและภูมภิ าค โดยเฉพาะ
การเสนอแนะต่อภาครัฐในเชิงนโยบายการพัฒนา และการแก้ไขปญั หาอุปสรรคต่างๆทีม่ ผี ล
ต่อการประกอบธุรกิจ และการลดข้อจากัดด้านกฎระเบียบ โดยบทบาทของภาคเอกชนในการ
เข้าไปมีสว่ นร่วมดังกล่าว มีกลไกหรือกระบวนการความร่วมมือ ในรูปแบบต่างๆ ดังนี้

 รูปแบบความร่วมมือระหว่างภาคเอกชนกับภาคเอกชนด้วยกันเอง คือ
คณะกรรมการร่วม 3 สถาบันภาคเอกชน หรือ กกร. (สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย
สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สมาคมธนาคารไทย ) ซึง่ จะมีการประชุมร่วมกัน
ทุกเดือน เพือ่ ตกผลึกทางความคิดร่วมกัน และจัดทาข้อเสนอแนะต่อรัฐบาลใน
ประเด็นการพัฒนาและแก้ไขปญั หาทางเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ
หน้า 7 / 21
คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน มีการจัดประชุมเดือนละครัง้ เพือ่
กลันกรอง
่ ความคิดเห็น และข้อเสนอแนะ ทีม่ าจากนักธุรกิจ ผูป้ ระกอบการ ฯลฯ
ทีเ่ สนอมาตามช่องทางของแต่ละสถาบันจากทัวประเทศ

 รูปแบบความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนที่สาคัญๆ ได้แก่
o คณะกรรมการ กรอ. ซึง่ มีนายกรัฐมนตรี เป็ นประธาน ประกอบด้วยรัฐมนตรี
เศรษฐกิจ ประธานกรรมการ 3 สถาบัน และภาคเอกชน ร่วมเป็ นกรรมการ
ซึง่ กรอ. เป็ นเวทีสาคัญทีภ่ าคเอกชนสามารถเสนอปญั หาจาเป็ นเร่งด่วนต่อ
รัฐบาล ซึง่ ปจั จุบนั ได้มขี ยายการตัง้ กรอ. จังหวัด และกรอ. กลุม่ จังหวัด เพือ่
เป็ นกลไกเชื่อมโยงความร่วมมือจากภูมภิ าคเข้าสู่สว่ นกลาง
o คณะกรรมการฯทีเ่ กีย่ วข้องกับการจัดทาแผนพัฒนาจังหวัด และกลุม่ จังหวัด
อาทิ
 คณะกรรมการนโยบายการบริหารงานจังหวัดและกลุม่ จังหวัดแบบ
บูรณาการ (กนจ)
 คณะกรรมการบริหารงานกลุม่ จังหวัดแบบบูรณาการ (กบก)
 คณะกรรมการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการ (กบจ)

ซึง่ ในปจั จุบนั เรามีการกาหนดให้ กรอ.จังหวัด ต้องมีการประชุมกันอย่างน้อย 2


เดือนครัง้ ส่วน กรอ. กลุ่มจังหวัด อย่างน้อย 3 เดือนครัง้
หน้า 8 / 21
แผนยุทธศาสตร์ประเทศไทย

ประเทศไทยมีจุดเด่นในด้านพัฒนาการด้านเกษตรกรรม โดยเฉพาะความได้เปรียบ
ด้านทีต่ งั ้ และลักษณะภูมปิ ระเทศ ทีเ่ อือ้ ต่อการประกอบการอาชีพเกษตรกรรม และทาให้คน
ไทยทามาหากินได้ ถือว่าภาคเกษตรกรรมเป็ นจุดแข็งทีส่ าคัญของประเทศไทย และสามารถ
เชื่อมโยงมาสูภ่ าคอุตสาหกรรมอาหาร และอาหารแปรรูป โดยเฉพาะผลไม้ไทยทีม่ ตี ลอดทัง้ ปี
และหลากหลาย นับเป็ นสินค้าทีเ่ ชิดหน้าชูตาของประเทศไทย

สินค้าเกษตร และอาหารเป็ นสิง่ มีคา่ และเป็ นจุดแข็งใหญ่ของเมืองไทย ซึ่งในอนาคตยัง


สามารถสร้างมูลค่าเพิม่ ได้อกี มาก ในฐานะทีเ่ มืองไทยได้ช่อื ว่าเป็ นแหล่งผลิตอาหารของโลก

ขณะที่ อุตสาหกรรมภาคบริการ ก็ถอื เป็ นจุดแข็งอีกด้านของเมืองไทย เนื่องจากพืน้ ฐาน


วัฒนธรรมของประเทศไทยนัน้ มีความอ่อนน้อม ยิม้ แย้มแจ่มใส ยอมรับและพอใจในสิง่ ที่
ตัวเองมี จึงเป็ นจุดเด่นของการทาธุรกิจภาคบริการ ได้แก่ ท่องเทีย่ ว ร้านอาหาร โรงแรม
ขณะทีป่ ระเทศในแถบสหภาพยุโรปหลายๆ ประเทศทีเ่ คยมุง่ เน้นพัฒนาด้านอุตสาหกรรม
หนักๆ ก็เริม่ เปลีย่ นมาให้ความสาคัญและพัฒนาธุรกิจภาคบริการมากขึน้ ทัง้ งานบริการใน
ธุรกิจต่างๆ ธุรกิจสื่อสาร ซอฟต์แวร์ เพือ่ สร้างมูลค่าเพิม่ ขึน้ จากอุตสาหกรรมเดิม ทีเ่ คยเป็ น
อุตสาหกรรมหลักในการพัฒนาประเทศ

ที่ผา่ นมา ประเทศไทยมุ่งเน้ นพัฒนาไปในทุกๆด้าน และหลายๆ เรื่องมากเกิ นไป โดย


ไม่มีจดุ ยืนที่ชดั เจน ทัง้ เกษตรกรรม อุตสาหกรรมประเภทต่างๆ เทคโนโลยี สื่อสาร
ทาให้การไปสู่จดุ สาเร็จสูงสุดทาได้ยาก เพราะเราไม่เน้นพัฒนาเรื่องใดเรื่องหนึ่งทีเ่ ป็ น
จุดเด่นเฉพาะสาหรับประเทศไทย

ผมว่าถึงเวลาทีป่ ระเทศไทย จะต้องคัดกรองหรือเลือกเน้นอุตสาหกรรมด้านใดด้านหนึ่ง


โดยเฉพาะ เพือ่ พัฒนาเป็ นจุดยืนของประเทศ ว่า อยูท่ ไ่ี หน และเลือกว่าควรจะพัฒนาหรือ
สร้างมูลค่าเพิม่ จากอุตสาหกรรมนัน้ ๆ หรือไม่ ไม่เช่นนัน้ เราจะไม่สามารถนาไปสู่
เป้าหมายทีป่ ระสบผลสาเร็จได้เลย เพราะทีผ่ า่ นมา ประเทศไทยไม่มเี ป้าหมาย หรือจุดยืนที่
ชัดแจ้ง แต่มกี ารพัฒนาไปแบบสะเปะสะปะ หลากหลายมากเกินไป จนกลายเป็ นไม่มจี ุดแข็ง
หรือจุดเด่นด้านใดด้านหนึ่งเลย
หน้า 9 / 21
หอการค้าไทยจึงได้รว่ มกับมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย จัดทา "แผนยุทธศาสตร์ประเทศ
ไทย" เพือ่ นามาปฏิบตั เิ องระหว่างภาคธุรกิจ ซึง่ เป็ นยุทธศาสตร์ทเ่ี น้นการปฏิบตั ไิ ด้จริง
เพราะเขียน จากความต้องการของเอกชนทีจ่ ะให้ภาคธุรกิจสาคัญของประเทศพัฒนาไปใน
ทิศทางทีต่ อ้ งการ

ซึง่ ผมคิดว่า "แผนยุทธศาสตร์ประเทศไทย" ทีจ่ ดั ทาโดยหอการค้านี้ มีขอ้ มูลทีเ่ ป็ น


ประโยชน์ทเ่ี กิดจากการศึกษาในเชิงลึกระดับพืน้ ที่ ทีท่ างสภาพัฒน์สามารถนาไปปรับให้
สอดคล้องกับแผน 11 ทีก่ าลังอยูร่ ะหว่างจัดทาได้

ในมุมมองของหอการค้า การพัฒนาระบบเศรษฐกิ จ จะเริ่ มจากภาคเศรษฐกิ จที่


แท้จริ ง 7 สาขา ก่อนขยายไปยังสาขาอื่นๆ เมื่อแต่ละ สาขาเข้มแข็ง จะทาให้
ภาคเอกชนเข้มแข็ง ส่งผลให้ภาพรวมเศรษฐกิ จประเทศเข้มแข็งได้

ยุทธศาสตร์ของหอการค้าไทยจะไม่ใช่ยุทธศาสตร์แบบกว้าง ทีก่ าหนดว่าผลิตภัณฑ์ มวลรวม


ในประเทศต้องเป็ นเท่าไรในแต่ละปี แต่จะเน้ นการพัฒนาไปที่ระดับภาคธุรกิ จที่แท้จริ ง
เป็ นเสมือนแผนที่พฒั นาภาคเศรษฐกิ จของประเทศ (Economic Development
Mapping)

สาหรับยุทธศาสตร์ระดับภาคธุรกิจทีจ่ ะนาร่องใน 7 กลุม่ สาคัญก่อน ได้แก่ 1. ธุรกิ จเกษตร


และอาหาร 2. ธุรกิ จบริ การเพื่อสุขภาพ 3. ธุรกิ จท่องเที่ยว 4. ธุรกิ จก่อสร้างและ
อสังหาริ มทรัพย์ 5. ธุรกิ จอัญมณี และเครื่องประดับ 6. ธุรกิ จสิ่ งทอ และ 7. ธุรกิ จการค้า
ชายแดน

โดยแต่ละสาขาจะมีผเู้ ชีย่ วชาญรับผิดชอบและประสานความรูค้ วามเข้าใจสร้างแรงผลักดัน ใน


การพัฒนา ส่วนระดับรายพืน้ ที่ ซึง่ ก็คอื หอการค้าจังหวัด 75 จังหวัดทัวประเทศ
่ เพือ่ ให้
ภาคเอกชนในต่างจังหวัดได้มสี ว่ นกาหนดแผนพัฒนาตนเองด้วย
หน้า 10 / 21
กรอบของแผนยุทธศาสตร์ประเทศไทยทีป่ ระกอบด้วย 6 ยุทธศาสตร์ 18 กลุ่มจังหวัด และ 7
กลุม่ ธุรกิจ ทีม่ คี วามเกีย่ วข้องและเชื่อมโยงกันในทุกมิติ โดย 6 ยุทธศาสตร์หลัก ได้แก่

1. ยุทธศาสตร์ การเพิม่ ขีดความสามารถในการแข่งขัน


2. ยุทธศาสตร์ การปรับปรุงโครงสร้างทางเศรษฐกิจ
3. ยุทธศาสตร์ การพัฒนาทักษะและองค์ความรู้
4. ยุทธศาสตร์ การส่งเสริมจริยธรรมและธรรมาภิบาล
5. ยุทธศาสตร์ รักษาสิง่ แวดล้อมและคุณภาพชีวติ
6. ยุทธศาสตร์ การป้องกันและเฝ้าระวัง
ส่ ว น 18 กลุ่ ม จัง หวัด นั น้ ทางหอการค้ า ไทย ได้ มีก ารแบ่ ง เขตพื้น ที่ร ับ ผิด ชอบ
เช่นเดียวกันหน่วยงานราชการ เพือ่ ให้มคี วามคล้องกันในการดาเนินงาน และติดตาม

โดยแนวทางการผลักดันและดาเนินการใน 6 ยุทธศาสตร์ 7 กลุ่มธุรกิจ และ 18 กลุ่ม


จังหวัด นั น้ ทางหอการค้า ไทย ได้มีก ารจัด รูป แบบการด าเนิ น การอย่า งบูร ณาการทัง้ ใน
ส่ว นกลางและส่ว นภูมิภาค โดยเมื่อ พิจ ารณาในส่ว นกลางที่จ ะดูแลใน 7 กลุ่ม ธุร กิจ จะมี
คณะกรรมการในการดาเนิ นงาน 7 กลุ่มธุรกิจ เพื่อที่จะดาเนิ นการติดตามและผลักดันใน
ประเด็นยุทธศาสตร์ต่างๆในส่วนกลาง ส่วนในกลุ่มจังหวัดนัน้ จะทาการผลักดันผ่าน กรอ.
ของจังหวัด และกลุ่มจังหวัด แต่ในท้ายที่สุดทัง้ 7 กลุ่มธุรกิจ และ 18 กลุ่มจังหวัด จะมีการ
ท างานประสานกัน อย่า งต่ อ เนื่ อ ง โดยการตรวจสอบและวัด ผลการด าเนิ น การตามแผน
ยุทธศาสตร์ทไ่ี ด้วางไว้
หน้า 11 / 21

แต่อย่างไรก็ตามไม่ว่าจะเป็ น 6 ยุทธศาสตร์ 7 กลุ่มธุรกิจ และ 18 กลุ่มจังหวัดนัน้ จะ


สาเร็จไปไม่ได้หากประเทศไทยไม่มีการพัฒนาระบบ Logistics และการส่งเสริ มการค้า
ชายแดน ดังนัน้ ทางหอการค้าไทย จึงได้มกี ารตัง้ เป้าหมายในการผลักดันให้มกี ารดาเนินการ
ตามแผนยุทธศาสตร์ Logistics เพื่อให้ตน้ ทุน Logistics ลดลงจากปจั จุบนั ทีอ่ ยู่ท่ี 19%ต่อ
GDP เหลือ 15% ต่อ GDP ในปี 2555 อาทิเช่น การเร่งผลักดันให้เกิดรถทางคู่ หากยังไม่
สามารถดาเนินการได้ ขอให้มกี ารดาเนินการสร้างทางหลีก และปรับปรุงทางให้ได้เป็ นร่าง
มาตรฐานเดียวกันทัง้ ภูมภิ าค เพื่อทีจ่ ะได้สนับสนุ นการค้าและการขนถ่ายสินค้าของภูมภิ าค
อาเซียน

นอกจากนี้ทางหอการค้าไทยยังคงตระหนักดีกว่าการดาเนินการตามแผนยุทธศาสตร์
ต่า งๆที่ท างหอการค้าไทยได้มีการเสนอไปนัน้ รัฐจะเป็ นผู้ดาเนิ น การแต่ ฝ่า ยเดียวไม่ไ ด้
จะต้องมีเอกชนเข้าร่วมดาเนิ นการด้วย หรือในบางโครงการนัน้ ทางภาคเอกชนมองว่าไม่
จาเป็ นที่จะต้องมีรฐั เอกชนก็สามารถที่จะดาเนิ นการเองได้ ดังนัน้ ในยุทธศาสตร์พฒ ั นา
เศรษฐกิจของประเทศไทย ในมุมมองของหอการค้าไทย จึงได้จ ัดทาและแบ่งแนวทางการ
ดาเนินงานอย่างชัดเจน ได้แก่ โครงการที่เอกชนจะดาเนินการเอง เอกชนร่วมกับภาครัฐ
และรัฐบาลดาเนินการเอง

อาทิเช่น แผนงานขับเคลื่อน กรอ. จังหวัด ทางภาคเอกชนเสนอให้มกี ารเพิม่ ศักยภาพ


ของหอการค้าจังหวัด ซึง่ ภาคเอกชนมองว่าโครงการดังกล่าวทางภาคเอกชนจะดาเนินการได้
เอง แต่ในส่วนของการส่งเสริมให้จงั หวัดใช้กลไกของ กรอ. จังหวัดในการขับเคลื่อนการ
พัฒนาเศรษฐกิจของจังหวัด และกลุม่ จังหวัดจังหวัดนัน้ ทางภาคเอกชนมองว่าภาครัฐ จะต้อง
เป็ นผูด้ าเนินการขับเคลื่อนอย่างจริงจัง ซึง่ ทางภาคเอกชนพร้อมให้การสนับสนุ น เป็ นต้น
หน้า 12 / 21

สถานะปัจจุบนั ของแผนยุทธศาสตร์

ตัง้ แต่ตน้ ปีทผ่ี า่ นมา คณาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ของมหาวิทยาหอการค้าไทยที่


รับผิดชอบโครงการ ได้ลงพืน้ ทีไ่ ปทาการสารวจและเก็บข้อมูลจังหวัด และกลุม่ จังหวัด ใน
ระดับพืน้ ที่ ศึกษาจุดแข็ง จุดด้อย เพือ่ วางตาแหน่งทางยุทธศาสตร์ ของแต่ละจังหวัดและ
กลุม่ จังหวัด รวมทัง้ หอการค้าจังหวัด และกลุม่ จังหวัดก็มกี ารประชุมปรึกษาหารือกัน เพือ่
นามาจัดทาแผนปฏิบตั กิ าร ซึง่ เมื่อปลายเดือนมิถุนายนทีผ่ า่ นมา เราก็ได้จดั ประชุม
หอการค้าทัง้ 5 ภาคทีก่ รุงเทพฯ เพือ่ ดูภาพรวมทัง้ หมด

ในวันพฤหัสที่ 9 กันยายนนี้ ในวาระการแถลงข่าวประจาเดือนของหอการค้าฯ


คุณฉัตรชัย จะได้แถลงถึงความคืบหน้าของแผนยุทธศาสตร์ ทีห่ อการค้าไทย

4 มาตรการเพื่อสร้างความปรองดอง และลดความเหลื่อมลา้ ในสังคม

จากความวุน่ วายทางการเมืองในช่วงเวลาทีผ่ า่ นมา ซึง่ ส่วนหนึ่งของสาเหตุนนั ้ มีราก


ของปญั หามาจากความเหลื่อมล้าของคนในสังคม การได้รบั การปฏิบตั ทิ ไ่ี ม่เป็ นธรรม การ
ทุจริตคอรัปชัน หอการค้าได้จดั ประชุมระดมสมอง และได้ขอ้ สรุปออกมา โดยเสนอให้รว่ ม
ใจกันแก้ไขปญั หาใน 4 ประเด็นหลัก ด้วยกัน คือ

1. ยุติความแตกแยก ซึง่ ทุกฝา่ ยจะต้องให้ความสาคัญร่วมกัน พร้อมใจกันรณรงค์


และเห็นแก่สว่ นรวมของประเทศชาติเป็ นสาคัญ

2. ลดความเหลื่อมลา้ ของกระจายรายได้ โดยการยกระดับรายได้ของคนในภาค


เกษตรและแรงงานให้สงู ขึน้

3. สนับสนุนให้คนไทยใช้ผลผลิ ตของไทยและท่องเที่ยวในประเทศไทย เพือ่


เป็ นการขยายตลาดภายในประเทศ โดยเฉพาะผลผลิตทีเ่ กิดจากการผลิตในส่วน
ภูมภิ าค เพือ่ ให้มรี ายได้และเงินหมุนเวียนลงไปในระดับท้องถิน่

4. ป้ องกันและปราบปรามคอร์รปั ชั ่นในระดับต่างๆ อย่างจริ งจัง


หน้า 13 / 21

ทีผ่ า่ นมานักธุรกิจอาจจะมองแต่วา่ ถ้าธุรกิจไปไม่ได้ พนักงานก็อยูไ่ ม่ได้ เศรษฐกิจ


ไทยก็อยูไ่ ม่ได้ดว้ ย ทีส่ ุดประชาชนยากลาบากทัง้ ระบบ ทาให้มองแต่ดา้ นธุรกิจ แต่ทส่ี าคัญ
กว่า คือ วันนี้หอการค้าฯจะมองอีกด้านไปพร้อมกัน คือ ด้านสังคมด้วย เพราะถ้าสังคมอยู่
ไม่ได้ ประเทศไทยก็อยู่ไม่ได้เช่นกัน

ข้อเสนอ 4 ข้อนี้ จึงเกิดขึน้ หลังความเห็นชอบไปในทิศทางเดียวกันของคณะ


กรรมการบริหารหอการค้าไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และได้ตงั ้
คณะกรรมการขึน้ มา 4 ชุด เป็ นเจ้าภาพหลักขับเคลื่อนแผนที่มสี าระสาคัญ 4 ข้อ เพื่อให้
เดินหน้าไปสู่ การปฏิบตั ไิ ด้อย่างแท้จริง
แผนนี้จะมุง่ ใช้กลไกของภาคเอกชนลดความเหลื่อมล้าของรายได้ เอกชน เกษตรกร
และภาคแรงงาน จะทางานกันในลักษณะหุ้นส่วน เอกชนจะช่วยเป็ นพี่เลีย้ งให้กบั
เกษตรกร และแรงงานไทย เพื่อช่วยกันยกระดับปริ มาณ และคุณภาพผลผลิ ตของ
ประเทศให้ดีขึน้ รวมทัง้ สร้างฐานรายได้ที่เหมาะสมที่จะมีชีวิตอยู่ได้อย่างมี
ความสุข ที่ไม่ใช่เพียงค่าแรงขัน้ ตา่

การยุติความแตกแยก
โดยเรื่องแรก การยุตคิ วามแตกแยก มีคณะกรรมการยุตคิ วามแตกแยกของสังคมไทยซึง่ คุณ
สมเกียรติ อนุ ราษฎร์ รองประธานหอการค้าไทยเป็ นประธาน เรื่องนี้เอกชนมองว่าเป็ นหน้าที่
โดยตรง เพราะความแตกแยกเกิดขึน้ เป็ นเพราะมีชอ่ งว่างระหว่างภูมภิ าคกับส่วนกลาง มี
ความได้เปรียบ เสียเปรียบระหว่างกัน ดังนัน้ หอการค้าจังหวัดทัวประเทศจะต้
่ องลงไปดู
ปญั หาของจังหวัดตนเองว่า มีปญั หาใดทีก่ ่อให้เกิดความรูส้ กึ ไม่เท่าเทียม เช่น ปญั หาเด็กขาด
สารอาหาร ขาดการศึกษา รวมทัง้ ปญั หายาเสพติด เพือ่ หาทางแก้ปญั หา

ลดความเหลื่อมลา้ เกษตรกร

เรื่องที่ 2 คือการลดความเหลื่อมล้าของรายได้ มีคณะกรรมการลดความเหลื่อมล้าฯ


ซึง่ คุณคมสัน โอภาสสถาวร รองประธานหอการค้าไทยเป็ นประธาน จะแบ่งการแก้ปญั หา
ออกเป็ น 2 ส่วนคือ การลดความเหลื่อมลา้ ของภาคเกษตร และภาคแรงงานใน
อุตสาหกรรม
หน้า 14 / 21
ในภาคเกษตรนัน้ ความเหลื่อมล้าด้านรายได้ มาจากส่วนใดบ้าง ส่วนหนึ่งอาจมา
จากการกดราคาสินค้า แต่อกี ส่วนหนึ่งอาจมาจากผลิตผลทีไ่ ด้น้อย และไม่มี
คุณภาพ อย่าง ข้าว เราส่งออกมากถึง 9-10 ล้านตันต่อปี เป็ นที่ 1 ในโลก แต่ถา้ เทียบ
ผลผลิตต่อไร่ และคุณภาพแล้วเรายังเป็ นที่ 4 ที่ 5 ของโลก ดังนัน้ การเพิม่ ราคา เพิม่ รายได้
อาจจะมาจากการลดต้นทุน เพิม่ คุณภาพสินค้า และถ้ามีสนิ ค้าขายมากขึน้ ในพืน้ ทีเ่ ท่าเดิม
รายได้เกษตรกรจะมากขึน้ และสุดท้ายต้องยอมรับว่า ราคาทีย่ ตุ ธิ รรมก็เป็นเรื่องสาคัญ

ตามแนวทางทีว่ างไว้ ทุกหอการค้าจังหวัดจะต้องช่วยกันดูวา่ ความเหลื่อมล้าในจังหวัด


ตนเองเกิดขึน้ ทีจ่ ุดใด แล้วกาหนดแนวทางแก้ปญั หา กาหนดพืน้ ทีน่ าร่องทีจ่ ะเข้าไปแก้ไข
เช่น ขณะนี้ หอการค้าฯเลือกชุมชนหนึ่งใน จ.ขอนแก่น ซึง่ พบว่ามีปญั หาการปลูกข้าว
ผลผลิตต่อไร่ต่า ขายข้าวได้ราคาต่า เกษตรกรมีรายได้ไม่เพียงพอกับค่าใช้จา่ ย จน
กลายเป็ นความยากจนดักดานทีไ่ ม่มที างแก้ปญั หาได้

แนวทางการแก้ปญั หาทีเ่ ราเข้าไปก็คอื การหาทางเพิม่ ประสิทธิภาพการผลิต เพิม่ ผลผลิตต่อ


ไร่ให้มากขึน้ เพิม่ คุณภาพผลผลิตให้ดขี น้ึ รวมถึงการเปลีย่ นพันธุ์ ให้ดขี น้ึ โดยนาเทคนิคหรือ
เทคโนโลยีทพ่ี สิ จู น์มาแล้วว่าประสบความสาเร็จไปสอนให้ และสุดท้ายคือ ช่วยหาตลาดให้
ด้วย ไม่ใช่ผลิตแล้วหาทีข่ ายไม่ได้

ทัง้ นี้ แนวทางหนึ่งทีจ่ ะนาไปใช้ในการแก้ปญั หา คือ การช่วยเหลือให้ความรูท้ างวิชาการ และ


การตลาดระหว่างหอการค้าจังหวัด และส่วนกลาง เช่น กรณีชุมชน จ.ขอนแก่น ทีเ่ ลือกไว้
ข้างต้น ทางหอการค้า จ.นครปฐม มีการวิจยั พันธุข์ า้ ว และการปลูกแนวใหม่ทพ่ี สิ จู น์มาแล้ว
ในพืน้ ทีน่ า จ.นครปฐม ว่า ปลูกแล้วได้ผลผลิตดี

ตัวอย่าง โครงการลดความเหลื่อมล้าของรายได้

ทีจ่ งั หวัดขอนแก่น หอการค้าได้เริม่ โครงการเพิม่ รายได้ของเกษตรกรขึน้ เราเรียกว่า


โครงการ “1 ไร่ 1 แสน”
โดยปกติ ผลผลิตของเกษตรกรทีท่ านาข้าวเพียงอย่างเดียวจะอยูท่ ป่ี ระมาณ 5,000
บาทต่อไร่ แต่เมื่อทาตามแผนงานในโครงการนี้แล้ว จะเพิม่ พูนรายได้ถงึ ประมาณ 20 เท่า
หรือ 100,000 บาท
หน้า 15 / 21
โครงการนี้ เราได้รบั ความร่วมมือจากหลายฝา่ ย เช่น มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
คุณอดิศร เจ้าของผลิตภัณฑ์สนิ ค้าตราแตงโม และกลุม่ เกษตรกรทีป่ ระสบความสาเร็จจาก
โครงการนี้แล้วในจังหวัดนครปฐม จะร่วมกันถ่ายทอดความรู้ และแผนงานให้กบั กลุม่
เกษตรกรทีข่ อนแก่น

ในปจั จุบนั มีกลุม่ เกษตรกรทีเ่ ข้าร่วมโครงการกับเรา มากกว่า 200 ครัวเรือน ใน 13


จังหวัดอีสาน เช่น ขอนแก่น (บ้านหนองหว้า ตาบลหนองแต้) อุบลราชธานี
กาฬสิ นธุ์ มุกดาหาร และ อานาจเจริ ญ เป็ นต้น

ถ้าจะถามว่าโครงการนี้ พิเศษอย่างไร ถึงสามารถเพิม่ รายได้เกษตรกรถึง 10 เท่าขึน้


ผมมองว่าหัวใจสาคัญของโครงการนี้ คือ

1. การนาความรู้ด้านบริ หารจัดการเข้าไปใช้ในการเกษตร เช่น


 โลจิสติกส์ เช่น จากเดิมต่างคนต่างขับรถไปซือ้ ของ ส่งของ ก็เปลีย่ นไป
เป็ นการรวมกลุม่ กันซือ้ ของ ส่งของ ในช่วงเวลาทีเ่ หมาะสม ทาให้ลด
เวลา และค่าน้ ามัน
 บัญชี – ต้นทุน

2. เทคนิ คการทาฟาร์มเกษตรแบบผสมผสาน ( Integrated Farming ) ทีด่ นิ ที่


ใช้ ไม่ปลูกพืชเชิงเดีย่ วหรือชนิดเดียว แต่จะจัดการให้ใช้ประโยชน์สงู สุด ทัง้ ทา
นาข้าว เลีย้ งสัตว์น้ า พืชสวน ฯลฯ ตามความเหมาะสมของพืน้ ที่

3. ใช้เทคโนโลยี และอุปกรณ์ ท่นุ แรง ที่จาเป็ นและเหมาะสม

ทัง้ นี้ ในการลดความเหลื่อมล้าของรายได้ ภาคเอกชนไม่ตอ้ งการรอให้ฝา่ ยรัฐ


ดาเนินการเพียงอย่างเดียว แต่ตอ้ งร่วมมือกัน ซึง่ หอการค้าไทย ได้กาหนดทิศทางการทางาน
เพือ่ ลดความเหลื่อมล้า และนาไปสู่ความความเชื่อมโยงอย่างแท้จริ งระหว่างธุรกิ จและ
สังคม แผนต่างๆจะผ่านการคัดสรรเฉพาะแนวทางการทางานที่สามารถดาเนิ นการ
ได้จริ ง และให้หน่ วยงานส่วนกลางเข้าไปช่วยเหลือ สนับสนุนส่วนภูมิภาค

ซึง่ หากได้ผลดีจะเป็ นโครงการนาร่องเป็ นตัวอย่างสาหรับพืน้ ทีอ่ ่นื ๆต่อไป


หน้า 16 / 21

โครงการหนึ่ งชุมชน หนึ่ งบริ ษทั ขณะนี้เรากาลังหาบริษทั ทีส่ มัครใจจะมาเป็ นพี่


เลีย้ งผมเชื่อว่า จะมีบริษทั ให้ความช่วยเหลือจานวนมาก เพราะเม็ดเงินทีจ่ ะนามาช่วยเหลือ
แต่ละชุมชนไม่มากเลย เราวางไว้เบือ้ งต้นหลักแสนบาทเท่านัน้ แต่ผลทีไ่ ด้กลับมาจะมากกว่า
มหาศาล

แนวทางนี้จะนามาใช้ เพราะเมื่อปญั หาด้านรายได้หมดไป ปญั หาความเหลื่อมล้าก็จะ


ลดลง บริษทั ทีเ่ ข้าร่วมเป็ นบริษทั ทีม่ วี สิ ยั ทัศน์ทจ่ี ะตอบแทนสังคม และชุมชน มีความรู้
ความสามารถเหมาะกับพืน้ ทีท่ เ่ี ราจะเข้าไปแก้ปญหา ั โดยเอาบริษทั ทีเ่ ก่งด้านการเกษตรเข้า
มาเป็ นพีเ่ ลีย้ ง ให้คาแนะนาการเพิม่ ประสิทธิภาพการผลิต เพิม่ มูลค่าและคุณภาพให้สนิ ค้า
และช่วยหาตลาดระบายสินค้า ซึง่ อาจจะเป็ นบริษทั พีเ่ ลีย้ ง และเครือข่ายซื้อเองก็ได้ รวมถึง
ช่วยดูแลเรื่องการบริหารจัดการ เพราะเป็ นเรื่องทีช่ ุมชนไม่มคี วามรู้

อย่างเช่น ในชุมชนหนึ่งมีประมาณ 30 ครัวเรือน ปลูกพืชชนิดเดียวกันหมด เมื่อถึงฤดูเก็บ


เกีย่ วก็อาจต้องวางแผนเช่าเครื่องจักรทีใ่ ช้เก็บเกีย่ วข้าวร่วมกันเพือ่ ลดค่าใช้จา่ ย ลดระยะเวลา
ในการเก็บเกีย่ ว หรือเวลาเพาะปลูกก็รวมกันจ้างรถหว่าน รถไถ เป็ นต้น

ยกตัวอย่างเช่น กลุม่ บริษทั น้ าตาล กับชุมชนต้นแบบ ทีเ่ ราจะเลือกขึน้ มา


ความสัมพันธ์จะไม่ใช่เป็น ผูซ้ อ้ื -ผูข้ าย นายจ้าง-ลูกจ้าง เหมือนเมื่อก่อน แต่บทบาทของ
บริษทั จะเหมือนเป็ นหุน้ ส่วน ( หรือ Partnership ) ทีเ่ ข้าไปคลุกวงในกับชุมชน อาจจะถึง
ขัน้ เข้าไปช่วยพัฒนาสายพันธุท์ ใ่ี ห้ผลผลิตน้ าตาลสูง เป็ นทีต่ อ้ งการของตลาด ในขณะทีเ่ มื่อ
เอาไปเข้ากระบวนการผลิตก็ทาได้งา่ ยใช้ตน้ ทุนต่าในการเปลี่ยนจากอ้อยไปเป็ นน้ าตาล ช่วย
คิดเรื่องการปลูก ตารางการขนส่งทีร่ ว่ มกันกับกลุม่ เกษตรกร ในการทีจ่ ะลดค่าใช้จา่ ย

ซึง่ ทัง้ หมดนี้ ผลดีกต็ กกับทุกฝา่ ย ผลดีของเกษตรกรก็คงเห็นได้ชดั ส่วนบริษทั พี่


เลีย้ งนัน้ การเข้ามาคลุกวงในทาให้รลู้ กึ ถึงกระบวนการทีอ่ ยูต่ น้ น้ า ปรับปรุงวัตถุดบิ ได้ตรง
ความต้องการ ได้วตั ถุดบิ ในปริมาณ และเวลาทีเ่ หมาะสม ฯลฯ

ในระยะแรกนี้ ผมคิดว่าคงจะมีบริษทั ทีเ่ ข้าร่วมประมาณ 30 - 40 บริษทั แต่ต่อๆไป


จะเกิน 100 – 200 บริษทั หรือไม่ ผมคิดว่าไปถึงได้แน่ เพียงแต่จะช้าหรือเร็วเท่านัน้
หน้า 17 / 21
เสริ มความแข็งแกร่งแรงงาน ท่องเที่ยว

ในส่วนของภาคธุรกิจเอง ต้องปรับความคิดใหม่ ต้องเลิกคิดทีจ่ ะกดราคารับซือ้ สินค้า


เกษตรจากเกษตรกร ถ้าสินค้าคุณภาพดีขน้ึ หรือราคาตลาดแพงขึน้ ก็ตอ้ งยอมซือ้ แพง
ไม่ใช่เอาแต่ประโยชน์ เพราะถ้าเกษตรกรอยูไ่ ม่ได้ บริษทั ก็อยูไ่ ม่ได้เช่นกัน แต่หากแก้ปญั หา
ได้ จะเป็ นการลดความเหลื่อมล้าทางรายได้ และเมื่อเกษตรกรมีเงินมากขึน้ การใช้จา่ ยซือ้
สินค้าต่างๆก็จะมีมากขึน้ ในทีส่ ุดจะช่วยเพิม่ รายได้ให้ธุรกิจ และเพิม่ ผลิตภัณฑ์มวลรวมใน
ประเทศ (จีดพี )ี ของประเทศให้สงู ขึน้

เช่นเดียวกับการลดความเหลื่อมล้าของแรงงาน ในภาคอุตสาหกรรมนัน้ เดิมเราจะ


พูดกันถึงแต่เรื่องการขึน้ ค่าแรงขัน้ ต่า แต่ไม่เคยเชื่อมโยงกับการเพิม่ ประสิทธิภาพในการผลิต
คุณภาพ และทักษะแรงงาน
ดังนัน้ หากต้องการลดความเหลื่อมล้า จะต้องเปลี่ยนความคิ ดของนายจ้าง
ใหม่ ให้พดู ถึงแต่เรื่องความเหมาะสมของค่าแรงที่จะสอดคล้องต่อเนื่ องถึงการเพิ่ ม
ประสิ ทธิ ภาพการผลิ ต เพิ่ มคุณภาพของสิ นค้า เพราะถ้าแรงงานของเราถูก มีทกั ษะ
ฝี มือแรงงานตา่ ประสิ ทธิ ภาพการผลิ ตก็ได้แค่ระดับหนึ่ ง การยกระดับคุณภาพสิ นค้า
ก็ทาไม่ได้

ขณะที่ การส่งเสริมและสนับสนุ นคนไทยเทีย่ วไทยใช้ของไทย เป็ นเรื่องที่ 3 ของแผนมี คุณ


ฉัตรชัย บุญรัตน์ รองประธานหอการค้าไทย เป็ นประธานคณะกรรมการ

โดยหอการค้าจะรณรงค์ปลูกจิตสานึกให้คนไทยกินของไทย ใช้ของไทย และเทีย่ วเมืองไทย


โดยเริม่ ต้นจากสมาชิกหอการค้าทีม่ กี ว่า 60,000 รายทัวประเทศ
่ หอการค้าต่างประเทศอีก
10,000 ราย การซือ้ ของขวัญของฝากหรือของใช้จาเป็ น แทนจะซือ้ ของต่างประเทศก็ให้
ปรับเปลีย่ นจิตสานึกมาซือ้ ของไทยกัน ซึง่ ส่วนนี้จะทาให้เกิดการกระจายรายได้ไปยังชุมชน
มากขึน้

ขณะเดียวกัน ผลจากความวุน่ วายทางการเมืองในช่วงทีผ่ า่ นมา ทีท่ าให้นกั ท่องเทีย่ ว


ต่างชาติขวัญหนีดฝี อ่ และหวาดกลัวทีจ่ ะมาเทีย่ วเมืองไทย ส่งผลให้รายได้จากการท่องเทีย่ ว
หายไปนัน้ จาเป็ นทีค่ นไทยด้วยกันจะต้องกระตุน้ เร้าให้ไทยเทีย่ วไทย เพือ่ ให้มเี ม็ดเงิน
ไหลเวียนในระบบเศรษฐกิจมากขึน้
หน้า 18 / 21
ทีส่ าคัญในอีก 5 ปีขา้ งหน้า หรือในปี 2558 ประเทศไทยจะต้องรวมเป็ นหนึ่งเดียวกับอาเซียน
เป็ นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ซึง่ จะทาให้สนิ ค้าจากสมาชิกอื่นในอาเซียนหลังไหลเข้
่ ามาใน
ไทยมาก หากคนไทยไม่รกั ไทย ไม่ใช้ของไทย จะทาให้คนไทยไม่ได้ประโยชน์อะไรเลยจาก
การเปิดเสรีดงั กล่าว

การป้ องกันและปราบปรามคอรัปชัน

เรื่องสุดท้ายของแผน ก็คอื การป้องกันและปราบปรามคอรัปชัน มีคุณนันเดอร์


จี. ฟอน เดอ ลูเฮ รองประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เป็ นประธาน ร่วมกับ คุณกอบ
กาญจน์ วัฒนวรางกูร รองเลขาธิการหอการค้าไทย ช่วยดูแลในฝา่ ยของไทย

เราจาเป็ นต้องให้ชาวต่างชาติมาเป็ นประธานคณะกรรมการชุดนี้ เพราะอยาก


ได้ประสบการณ์จากเขาว่าทาอย่างไรประเทศทีพ่ ฒ ั นาแล้ว ทัง้ สหรัฐฯ ยุโรป ออสเตรเลีย
นิวซีแลนด์ จึงแทบไม่มกี ารคอรัปชันกันเลย ทาให้ประเทศเขาเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว
แต่ทาไมประเทศไทย สังคมไทยถึงมีคอรัปชันอย่างมากมาย โกงกินกันอย่างมโหฬาร จน
กลายเป็ นวัฒนธรรมประจาชาติ และทาให้ประเทศไทยล้าหลัง

ถึงเวลาทีต่ อ้ งมานังดู
่ อย่างจริงๆจังๆว่า จะทาอย่างไรสังคมไทยจึงจะชื่นชมคนดีแต่ยากจน
และร่วมกันประณามคนรวยแต่โกง เพราะสังคมไทยวันนี้ยกมือไหว้คนร่ารวย ดูถูกคนจน
และถ้าเรายอมให้มรี ฐั บาลทีโ่ กงกินได้ สุดท้ายประเทศเราจะไม่มอี นาคต

ต้องลองเปรียบประเทศเราเป็ นธุรกิจ ถ้าลูกน้องโกงกินจะยอมได้ไหม ถ้ายอมได้ การโกง


กินก็จะมากขึน้ เรื่อยๆ จาก 100 บาท ขยับเป็ น 10 ล้านบาท หรือ 100 ล้านบาท ในทีส่ ุด
บริษทั นี้กจ็ ะล่มจม เรื่องนี้ตอ้ งสอนกันตัง้ แต่เด็กๆ ให้ซ่อื สัตย์สุจริต ผูใ้ หญ่ตอ้ งเป็ น
ตัวอย่างให้ และต้องโดดเดีย่ วนักการเมืองทีโ่ กงกิน

แผนทัง้ หมดทีก่ ล่าวมานัน้ ส่วนใหญ่ ภาคเอกชนสามารถทาสาเร็จได้ดว้ ยตัวเอง แต่กม็ บี า้ งที่


ต้องอาศัยการขับเคลื่อนจากภาครัฐ โดยคณะกรรมการทัง้ 4 ชุด มีเวลา 1-2 เดือน เพือ่
กาหนดแผนปฏิบตั กิ ารทีจ่ ะนาไปสูก่ ารปฏิบตั ไิ ด้จริง โดยมีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ร่วม
สนับสนุ นข้อมูล และร่วมจัดทาด้วย ก่อนนาเสนอในทีป่ ระชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3
สถาบัน (กกร.) เพือ่ ช่วยกันระดมสมองหาแนวทางใหม่ๆเพิม่ ขึน้ เพือ่ ให้แผนต่างๆมี
ประสิทธิภาพมากยิง่ ขึน้
หน้า 19 / 21

หลังจากนัน้ เราจะเริม่ โครงการนาร่อง ทัง้ การช่วยเหลือกันระหว่างหอการค้า และ 1 ชุมชน 1


บริษทั และนาเสนอผลงานในการประชุมหอการค้าไทยในเดือน พ.ย.นี้ ที่ จ.ขอนแก่น และ
นาเสนอแผนดังกล่าวต่อท่านนายกรัฐมนตรีทไ่ี ปเป็ นประธานการประชุม

=================================================================

*** ถ้ายังพอมีเวลา

AEC Prompt

อีกเรื่อง ซึ่งผมคิดว่าเป็ นเรื่องสาคัญมาก และผูส้ ่อื ข่าวสายเศรษฐกิจควรศึกษาและ


ทาความเข้าใจ คือเรื่อง AEC เพราะต่อไป คาๆนี้จะมีอทิ ธิพลต่อความเป็นไปของเศรษฐกิจ
ในระดับภูมภิ าค ASEAN

แต่เป็ นเรื่องทีน่ ่าตกใจ ทีผ่ ลสารวจของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยเมื่อปลายปีทแ่ี ล้ว


ต่อกรณีการจัดตัง้ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ซึง่ จะเริม่ ลดภาษีเหลือ 0% ในกลุม่ ชาติ
อาเซียนตัง้ แต่ 1 ม.ค. 2553 เป็ นต้นไป พบว่า นักธุรกิจไทยถึง 89% ไม่มคี วามเข้าใจ
เพียงพอในเรื่องนี้ และ 40% ต้องศึกษาด้วยตนเอง ซึง่ ผมมองว่า หากปล่อยให้การจัดตัง้
AEC เสร็จสมบูรณ์ในปี 2558 ก็อาจจะสายเกินไปสาหรับผูป้ ระกอบการชาวไทย เพราะเมื่อ
ถึงเวลานัน้ จะเข้าสูก่ ารเป็ นเขตการค้าเสรีอย่างเต็มรูปแบบ การค้าขายในกลุม่ อาเซียน 10
ประเทศจะไม่มพี รมแดนอีกต่อไป คูแ่ ข่งของภาคธุรกิจไทยจะไม่ได้จากัดอยูเ่ พียงในประเทศ
แต่จะครอบคลุมไปทัง้ กลุม่ อาเซียน

หอการค้าไทยจึงร่วมกับกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ จัดตัง้ ศูนย์ศกึ ษาติดตามและ


เฝ้าระวังประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC Prompt) เพือ่ เตรียมความพร้อมให้ภาคเอกชน
ไทย พร้อมกับเป็ นศูนย์กลางในการเผยแพร่ความรูแ้ ละตอบข้อสงสัย โดยในปี 2553 ได้จดั
โครงการเดินสายให้ความรูค้ รอบคลุมประชาชนทุกกลุม่ ทัวประเทศ

การเปิดเสรีทางการค้าย่อมจะมีทงั ้ ข้อดีและข้อเสียไปพร้อมกัน โดยกลุม่ ธุรกิจทีจ่ ะได้รบั


ประโยชน์อย่างชัดเจน คือ กลุม่ อัญมณี เสือ้ ผ้า สิง่ ทอและยานยนต์ ส่วนกลุม่ ทีจ่ ะได้รบั
หน้า 20 / 21
ผลกระทบค่อนข้างมากคือสินค้าเกษตร ซึง่ ต้องมีการเตรียมพร้อมแก้ไขล่วงหน้า และเป็ น
โอกาสอันดีทจ่ี ะเสริมสร้างให้สนิ ค้าจากไทยได้รบั การยอมรับคุณภาพตามมาตรฐานสากล

AEC เป็ นกรอบการค้าทีต่ อ้ งให้การเอาใจใส่มากทีส่ ุดในขณะนี้ดว้ ยเหตุผลทีว่ า่ 1) เป็ นกลุม่


ประเทศทีม่ ศี กั ยภาพในการพัฒนา 2) มีโครงสร้างพืน้ ฐานทีด่ ี 3) ประชากรมีความรู้ 4) มี
ทรัพยากรธรรมชาติ 5) มีจานวนประชากรรวมกันสูง (ประมาณ 580 ล้านคน-พ.ศ.2553) และ
6) มีความเชื่อมโยงกับอีก 6 ประเทศ คือจีน อินเดีย ญีป่ นุ่ เกาหลี ออสเตรเลีย และ
นิวซีแลนด์ ทีม่ ฐี านะทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยีสงู และเมื่อรวมกันทัง้ หมดแล้วก็จะมี
ประชากรโดยรวมเท่ากับ 3.000 ล้านคนโดยประมาณ

AEC Prompt ทีต่ งั ้ ขึน้ จึงมีภารกิจทีส่ าคัญในการผลักดันให้กรอบการค้านี้บงั เกิดผลให้เร็ว


ทีส่ ุดโดยการเริม่ ต้นแก้ปญหาทีั ค่ น้ พบจากการประชุมสมาชิกหอการค้าทั ่วประเทศเมื่อปลายปี
2552 ทีเ่ ชียงใหม่ซง่ึ มีทงั ้ หมด 6 เรื่องคือ

1) ข้อมูลเกีย่ วกับประชาคมเศรษฐกิจ ASEAN ยังไปไม่ถงึ ผูเ้ กีย่ วข้องเป็ นอย่างมาก


โดยเฉพาะผูป้ ระกอบการขนาดเล็ก

2) กฎหมายใหม่ทจ่ี ะต้องมีการดาเนินการอย่างต่อเนื่องทัง้ การแก้กฎหมายเก่าและออก


กฎหมายใหม่ให้สอดคล้องกับข้อตกลงทีด่ าเนินการแล้วและกาลังจะดาเนินการต่อไป
3) การบังคับใช้กฎหมายอย่างมีประสิทธิภาพเช่นเรื่องสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช
มาตรฐานสินค้า เป็ นต้น

4) การทายุทธศาสตร์รายสินค้าเพือ่ แก้จุดอ่อนและสร้างจุดแข็ง เช่น ข้าว สิง่ ทอและ


เครื่องนุ่งห่ม ธุรกิจสุขภาพ เป็ นต้น

5)มาตรฐานสินค้าและบริการ การค้าสินค้าและบริการจะต้องถูกกาหนดด้วยมาตรฐาน
เนื่องจากภาษีศุลกากรลดลงเหลือศูนย์

6) การเพิม่ ศักยภาพให้กบั ผูบ้ ริโภค ต้องมีแผนการในการเสริมสร้างความรูใ้ ห้กบั บุคคล


ทัวไปได้
่ รบั รูถ้ งึ การแข่งขันและความสาคัญของการบริโภคโดยเน้นสินค้าและบริการทีไ่ ด้
มาตรฐาน อุปสงค์เป็ นปจั จัยสาคัญทีก่ าหนดอุปทาน เราจึงต้องเร่งพัฒนาในภาคส่วนนี้เพือ่
เป็ นตัวกาหนดมาตรฐานการนาเข้าสินค้าและบริการต่อไป
หน้า 21 / 21

Closing

การบรรยายของผมคงจบลงตรงนี้ ซึ่งคิดว่าคงได้เปิดมุมมองให้กบั ผูส้ ่อื ข่าวทุกท่านที่


เข้ารับการสัมมนาในวันนี้

ในมุมมองของผม ผูส้ ่อื ข่าวถือว่าเป็ นกลไกสาคัญมากในการขับเคลื่อนความเป็ นไป


ของสังคม ไม่ได้ดอ้ ยไปกว่าภาครัฐ หรือนักธุรกิจเอกชน

หลายเรื่องหลายประเด็น หากพวกท่านขาดความรูค้ วามเข้าใจ หรือไม่ตระหนักถึง


ความสาคัญ ไม่ส่อื ไปถึงคนในสังคม ให้รบั รูร้ บั ทราบถึงภัยและโอกาส อย่างเช่นเรื่อง AEC
ในภาพรวมก็คงทาให้ประเทศเสียโอกาสทางการแข่งขัน
ซึง่ ทีผ่ า่ นมา เรื่อง AEC พวกผมนักธุรกิจ ได้ไปบรรยายตามสถานทีต่ ่างๆมาเป็ นปี
แต่คนในแวดวงการค้าการลงทุนก็หาคนทีต่ ระหนักและเข้าใจค่อนข้างน้อย เพิง่ จะมาดีขน้ึ
ทีร่ ะยะหลังๆ มีส่อื มวลชนทัง้ สื่อสิง่ พิมพ์ และโทรทัศน์ชว่ ยกันกล่าวถึง ซึ่งผมขอชื่นชม

และในวันนี้ ผมขอแสดงความยินดีกบั พวกท่านทุกคนทีส่ าเร็จการฝึกอบรม และเป็ น


การติดอาวุธทางปญั ญาทีส่ าคัญในวิชาชีพ ขอแสดงความยินดีดว้ ยครับ

You might also like