You are on page 1of 3

Indie Pop กับความเรียบง่ายแบบ“อินดี้”

ภายในเวลาไม่ถึงสิบปีนับจากการลาจากของ “อัลเตอร์เนทีฟ” กระแสอันรุนแรงของวัฒนธรรม


“นอกกระแส” ได้กลับเข้าปักหลักครอบครองพื้นที่ทางวัฒนธรรมส่วนหนึ่งในบ้านเราอีกครั้ง
และเห็นได้ชัดเจนยิ่งในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะความเป็น “อินดี”้
ในด้านรสนิยมทางดนตรีและแฟชั่น

เพราะดนตรีกับแฟชั่นเป็นสิ่งที่เกิดมาคู่กัน
สิ่งทีพ่ บเจอได้บ่อยครั้งเมื่อต้องสัมผัสและเผชิญหน้ากับความเป็น “อินดี”้
จึงเป็นส่วนผสมที่ลงตัวระหว่าง ดนตรีบริทพ็อพ (ที่มีอิทธิพลมาตั้งแต่ยุค “อัลเตอร์ฯ”)
ดนตรีอินดี้ร็อค ตามติดมาด้วยภาพเด็กหนุ่มสาว กับทรงผมแปลกตา กางเกงขาเดฟ
เสื้อตัวโคร่ง รองเท้าคอนเวิร์ส และงานปาร์ตี้หลาย ๆ งานทีส่ ลับสับเปลี่ยนกันจัดขึ้นเพื่อ
“เด็กแนว” และแฟนเพลงอินดี้ แม้ว่าในปัจจุบันวงดนตรีหลายวงที่หลายคนเรียกกันว่า “อินดี”้
นั้นอาจจะสังกัดค่ายเพลงยักษ์ใหญ่ก็ตาม แน่นอนว่าในแง่หนึ่ง “เพลงอินดี้” คือ
“เพลงฝรั่งนอกกระแส” และสำหรับแฟนเพลงอินดี้บางกลุ่ม อินดี้คือดนตรีท“ี่ ฟังยาก”
จนคนส่วนใหญ่หรือ mainstream ไม่สนใจจะหามาเสพมาฟังกัน
แต่ส่งเสริมทัศนคติเช่นนี้อาจเลยเถิดไปจนทำให้เกิดความรู้สึกทำนองต่อต้านและเหยียด
“เพลงในกระแส” ที่เปิดกันทั่วบ้านทั่วเมือง และเป็นการตีความสิ่งที่เรียกว่า “อินดี”้
นั้นอย่างผิวเผินและตื้นเขินเท่านั้น ซึ่งผิดจากความหมายที่แท้จริงของคำว่า “อินดี”้ หรือ indie
ที่มีที่มาจากคำว่า independence หรือความเป็นอิสระในการสร้างสรรค์งานเพลงไปมากทีเดียว

ดังนั้นหากพูดถึงรากและจิตวิญญาณของ “อินดี”้
คงไม่แปลกที่จะย้อนกลับไปพูดถึงอุดมการณ์และวัฒนธรรมพังค์ของอังกฤษ (UK Punk)
ในช่วงปลายยุค 70 ที่เน้นต่อต้านระบอบทุนนิยม และสนับสนุนแนวคิดเรื่องการพึ่งพาตนเอง
และการ “ทำด้วยตนเอง” แบบ DIY
ที่ทำให้ศิลปินเลือกที่จะมีอิสระในการสร้างสรรค์งานเพลงโดยไม่สังกัดค่ายใหญ่
เพื่อผลิตงานเพลงในแนวทางของตน ซึ่งแนวคิดนี้มอี ิทธิพลอย่างสูงต่อการถือกำเนิดของดนตรี
“อินดี้พ็อพ” ทีแ่ สดงให้เห็นถึงจิตวิญญาณของความเป็น “อินดี”้ ทีช่ ัดเจน

ในช่วงต้นยุค 80 สำหรับวัยรุ่นหนุ่มสาวชาวสกอตต์และอังกฤษหน้าตาธรรมดา
กับความฝันที่จะสร้างสรรค์งานเพลงที่มีเสียงกีต้าร์แปร่ง ๆ
ถ้อยคำเรียบง่ายที่บรรยายเรื่องราวเกี่ยวกับความเป็นเด็ก
(เหตุนี้ดนตรีอินดี้พ็อพจึงมีชื่อเรียกอีกอย่างว่า twee (ทะวี) ซึ่งมีที่มาจากการออกเสียงคำว่า
sweet แบบเด็ก ๆ ) การตกหลุมรัก ความสับสนในชีวิตวัยรุ่น
และความไร้แก่นสารของชีวิตคนธรรมดาที่ไม่ได้มีจุดเด่นอะไรเป็นพิเศษ
ดังนั้นดนตรีพังค์ไม่ใช่คำตอบ เพราะในขณะที่พังค์ มุ่งเน้นการระบายความโกรธเกรี้ยว
ตัวตนภายใน และอุดมการณ์ทางการเมืองที่ชัดเจน
แต่เด็กหนุ่มสาวเหล่านี้ไม่มีความโกรธเกรี้ยวที่จะระบายออก
ไม่ได้อยากจะประกาศแนวคิดทางการเมืองที่เผ็ดร้อนลงในเนื้อเพลง ไม่ได้ใส่เสื้อผ้าตามแฟชั่น
และไม่มี “ลุค” ที่ดู “คูล” เหมือนร็อคสตาร์ เพราะเป็นแค่คนธรรมดาในเสื้อเชิ้ตและคาดิแกน
ใส่แว่นตากรอบหนา (แม้ปัจจุบันจะถูกหยิบยืมมาใช้กันโดยกว้างขวาง นัยว่าเป็นการเพิ่มลุค
“อินดี”้ ) กับท่าทางประหม่าเขินอาย สิ่งเดียวที่ทำได้ก็คือการเล่นเอง ร้องเอง
และผลิตออกขายซะเองด้วย

ศิลปินและค่ายเพลงอินดี้พ็อพ หรือ กีต้าร์พ็อพ จึงเริ่มต้นผลิตงานเพลงด้วยแนวคิด DIY


ที่ใช้ต้นทุนต่ำ
โดยผลิตออกมาในจำนวนไม่มากและแรงงานหลักในการช่วยสร้างสรรค์รูปแบบปกแผ่นเสียงก็คื
อตัวศิลปินเอง เช่น วงดนตรีโพสต์-พังค์และอินดี้พ็อพที่ก่อร่างสร้างตัวขึ้นมาเป็นวงแรก ๆ
ในสังกัดเล็ก ๆ อย่าง Postcard Records จากเมืองกลาสโกว์ ประเทศสกอตแลนด์
แต่ค่ายเพลงที่มีอิทธิพลต่อวงการเพลงอินดี้พ็อพที่สุดคือ Sarah Records จากเมืองบริสตอล
ประเทศอังกฤษ ที่ก่อตั้งขึ้นในปี 1987 ด้วยความตั้งใจที่จะออกแผ่น ซิงเกิลขนาด 7 นิ้ว
(เนื่องจากใช้ต้นทุนต่ำ)เพื่อแสดงถึงความบริสุทธิ์ของดนตรีพ็อพ , Fanzine
(นิตยสารทำมือที่มีบทสัมภาษณ์และบทความที่แสดงถึงแนวคิดและอุดมการณ์ทั้งในด้านดนตรี
วัฒนธรรม สังคม และการเมือง)
และอัลบั้มรวมเพลงจากศิลปินในค่ายให้ครบจำนวนหนึ่งร้อยชิ้นพอดิบพอดี
ก่อนที่จะปิดตัวลงไปในปี 1995 ท่ามกลางความอาลัยของแฟน ๆ ที่ติดตามมาตลอด 8 ปี

แม้เวลาจะผ่านไปกว่ายี่สิบปี ปัจจุบันความนิยมในดนตรีอินดี้พ็อพไม่เคยหายไปไหน
ความโด่งดังของค่ายเพลงอินดี้พ็อพอย่าง Labrador Records จากสวีเดน
กับดนตรีที่ได้รับการนิยามว่าเป็น สวีดิชพ็อพ (Swedish Pop) ถูกหยิกแกมหยอกว่ากลายเป็น
“กระแส” และได้รับความนิยมไปทั่วโลกเฉกเช่นเดียวกับเฟอร์นิเจอร์ IKEA เลยทีเดียว
แต่ในขณะเดียวกัน ค่ายเพลงน้องใหม่อย่าง Cloudberry Records
ก็ยังพยายามรักษาจิตวิญญาณของ “อินดี้พ็อพ” ในรูปแบบเดียวกันกับ Postcard Records และ
Sarah Records ไว้อย่างครบถ้วน โดยการผลิตแผ่นซิงเกิ้ล “ทำมือ” ในรูปแบบ CDR
ที่ผลิตออกมาเพียงอัลบั้มละ 100 แผ่นเท่านั้น พร้อมหมายเลขบนปกซิงเกิ้ลทุกแผ่นที่บรรจง
“เขียนด้วยมือ” หรือเราอาจมองได้ว่าปัจจัยอีกด้านที่ส่งเสริมอินดี้พ็อพในยุคนี้
คงหนีไม่พ้นกระแสความนิยมในความเรียบง่ายแบบ “น้อยได้มาก” ของ “วัฒนธรรมทำมือ”
หรืองานสร้างสรรค์แบบ DIY ซึ่งปัจจุบันมีความหมายมากกว่าแค่งานสร้างสรรค์
เพราะความมีเอกลักษณ์ที่ไม่เหมือนใคร และแฝงไปด้วยความรู้สึก “แตกต่าง”
ซึ่งนอกเหนือไปจากความสุขใจของผู้ฟังและศิลปินและต้องการเพียงแค่ทำงานเพลงดี ๆ
ที่มีคนฟังมากกว่าจะหวังผลกำไรเป็นกอบเป็นกำจากการขายงานดนตรี

การดำรงอยู่อย่างยาวนานของดนตรีอินดี้พ็อพ และสถานะความเป็น “อินดี”้


แบบธรรมดาสามัญนี้ ทำให้มองเห็นความจริงที่สำคัญที่สุดอีกแง่มุมหนึ่ง “อินดี”้
อาจไม่ใช่ความพยายามอย่างยิ่งยวดที่จะแตกต่าง หรือการพยายามสร้างความซับซ้อนใด ๆ
เพื่อให้ “เข้าใจยาก”
เพราะการทำเช่นนั้นสุดท้ายคงเป็นได้เพียงแค่ความฉาบฉวยภายนอกของสิ่งที่ถูกประดิษฐ์ขึ้น
แต่ความเป็นอิสระและจิตวิญญาณอันลึกซึ้งของอินดี้ที่แท้จริงคือ การทำในสิ่งที่รัก
และการเริ่มต้นทำในสิ่งที่ทำได้ด้วยตัวของเราเอง ซึ่งเป็นสิ่งที่อธิบายความเป็น DIY ได้ดีที่สุด
และท้ายที่สุดแล้วผลลัพธ์ที่ได้ก็คือความสุขที่เรียบง่ายในแบบที่เราพอใจ

หมายเหตุ :
1. ทำความรู้จักกับอินดี้พ็อพและทะวีเพิ่มเติมได้ที่ http://www.twee.net และอ่านบทความ
“Twee as Fuck” โดย Pitchfork Media ที่
http://www.pitchforkmedia.com/article/feature/10242-twee-as-fuck
2. อยากรู้จัก Postcard Records และศิลปินในค่ายเช่น Orange Juice, Josef K, Blueboy และ
Aztec Camera มากกว่านี้ ลองรื้อนิตยสาร Generation Terrorist เล่มที่ 22 (ธ.ค. 1996)
ออกมาอ่านบทความเกี่ยวกับค่ายนี้เขียนโดยคุณอาทิตย์ พรหมประสิทธิ์
3. เว็บไซต์ของ Sarah Records <http://home2.btconnect.com/smoke/shinkansen.htm>
แนะนำเพลงของ The Orchids, The Field Mice, Aberdeen และ Another Sunny Day
4. เว็บไซต์ของ Labrador Records <http//www.labrador.se> แนะนำเพลงของ Acid House
Kings, The Legends, Loveninjas และ The Radio Department
ซึ่งมีแผ่นจำหน่ายในประเทศไทยโดยค่าย Jointt Records และ Smallroom Records
5. เว็บไซต์และมายสเปซของ Cloudberry Records: http://www.cloudberryrecords.com และ
http://www.myspace.com/cloudberryrecords
6. บทความชิ้นนีเ้ ขียนเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2552

You might also like