You are on page 1of 4

สรุป การป ระ ชุม

คณะทำางานศู นย์อำา นวยการ ประสานงาน ส่วนกลาง


เครือข่ายผู้ นำาเย าว ชน สำานึกรักษ์แผ่นดินทอง
วัน ที่ 22 มก รา คม 25 51 เว ลา 19 .0 0 น. – 22 .0 0 น. ณ หอพ ัก นิส ิตจุ ฬา ลง กรณ ์
มห าว ิท ยา ลั ย
*** *** *** *** *** *** *** *** *** *** *** *** *

ผู้ มาป ระ ชุ ม
1. นายพงษ์พันธุ์ ภูงามทอง (พี่บ๊อบ)
2. นายอภิชาต เขียวสวาท (พี่บอย)
3. นายสายสิทธิ์ ขุนศรี (พี่เอ้)
4. นายจักราวุธ ยางงาม (พี่ต้อม)
5. นายจักรพงษ์ บุญศิลป์ (พี่โจ๊ก)
6. นางสาวนภารัตน์ พันสวะนัด (พี่วุ้น)
7. นายอำานาจ ชุมฝาง (พี่อำานาจ)
8. นางสาวณัฐกานต์ กองมณี (พี่แนท)
9. นายธนา สมทวีกาญจนพร (พี่ไม้)
10. นางสาวกฤติกา มหาวงค์ (พี่บุ๋มบิ๋ม)
11. นายอภิมุข เชิญอักษร (พี่แบงก์)
12. นางสาวดวงกมล ชัยเรือง (พี่แหวน)
13. นางสาวรัชดา เดชหาญ (พี่ก้อย)
14. นายไกรสร ธรรมรักษา (พี่แมค)
15. นายจิราวุฒิ อุทโท (พี่เจเจ)
16. นายธวัชชัย ก่อบุญ (พี่อ๊อฟ)

วาร ะที ่ 1 เรื ่องป ระธา นแจ้ง ให้ท ี่ปร ะช ุมท รา บ


- สำานักงาน ป.ป.ส. เชิญตัวแทนเครือข่ายฯเข้าร่วมสัมมนาเรื่อง การจัดตั้งศูนย์อำานวยการป้องกันและปราบ
ปรามยาเสพติด ภาคเยาวชน (ศอ.ปส.ย) ระหว่างวันที่ 25 – 27 มกราคม 2551 ณ จังหวัดนครนายก
- เครือข่ายฯจัดกิจกรรมโครงการ “รวมพลคนวัยมันส์ ร่วมสร้างสรรค์ ม.ปลอดภัย” ซึ่งเป็นโครงการที่ได้รับ
งบประมาณสนับสนุนจากสำานักงานเครือข่ายลดอุบัติเหตุ โดยในวันศุกร์ที่ 18 มกราคม 2551 ทีผ่ ่านมา จัด ณ
มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม และกำาลังจะจัดในวันเสาร์ที่ 26 มกราคม 2551 ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

วาร ะที ่ 2 เรื ่อง สรุปก าร ดำาเ นิ นง าน ขอ งเค รื อข่ าย ฯแ ละ บทเ รีย นท ี่ไ ด้ รั บ
- ในหลายๆปีที่ผ่านมา เครือข่ายฯซึ่งเกิดขึ้นจากการทำากิจกรรมของกลุ่มรุ่นพี่นิสิตจุฬาฯ-ชนบท โดยการจัด
ค่ายพัฒนาศักยภาพเยาวชนในระดับมัธยมศึกษาและรุ่นน้องมัธยมศึกษาเหล่านั้น ต้องการสานต่ออุดมการณ์ จึงได้
รวมกลุ่มกันจัดค่ายอบรมแบบรุ่นพี่ โดยมีพี่ๆเหล่านั้นเป็นทีป่ รึกษา คอยช่วยเหลือ และเป็นกำาลังใจในทุกสถานการณ์
ได้ให้ทั้งประสบการณ์ทปี่ ระเมินค่าไม่ได้แก่คนทำากิจกรรม ในขณะเดียวกัน ก็ใช้ทรัพยากรของชาติ นั่นคือ ใช้งบ
ประมาณแผ่นดินไปไม่น้อย
- การที่เครือข่ายฯสามารถอยู่ได้จนถึงทุกวันนี้ ซึ่งกำาลังก้าวเข้าสูป่ ีที่ 7 ย่อมจะต้องมีบางอย่างที่เป็นสิ่ง
เหนี่ยวรั้งให้ทุกคนในที่นี้ (ผู้เข้าร่วมประชุม) ยังรวมกลุ่มจัดกิจกรรมต่อไป สิง่ นั้น น่าจะเป็นความสัมพันธ์แบบพี่แบบ
น้องที่ทุกคนสัมผัสได้ ความทุ่มเท เสียสละของทุกคน การมีอุดมการณ์ร่วมกัน ไม่ทอดทิ้งกัน ร่วมคิด ร่วมพูด ร่วมทำา
และร่วมรับผิดชอบ
- ในทุกองค์กร ทุกกลุ่มในสังคม การทำางานหรือทำากิจกรรมย่อมต้องมีอุปสรรคและปัญหาเกิดขึ้น ทีผ่ ่านมา
เรา (เครือข่ายฯ) ตั้งเป้าไว้ว่าจะสนับสนุนให้เกิดกลุ่มแกนนำาเยาวชนที่เข้มแข็ง แต่ถ้าทุกคนในที่นี้ (ผู้เข้าร่วมประชุม)
มองสิ่งที่เป็นอยู่ ความเป็นจริงที่ต้องไม่หลอกตัวเอง เรายังไม่บรรลุเป้าหมายในตรงจุดนั้น สิง่ ที่ทำาให้เป็นเช่นนั้น
เพราะการขาดแรงจูงใจ กล่าวคือ แรงจูงใจของน้องๆมัธยม อาจจะอยู่ที่การได้เห็นแบบอย่างที่ดจี ากพี่ๆอุดมศึกษา ที่
สามารถรวมตัวได้อย่างเข้มแข็ง มีพลัง รวมทั้ง มีพี่ที่คอยเป็นทีป่ รึกษาอยู่ใกล้ๆ แต่แรงจูงใจในตรงจุดนี้ ระยะหลังๆ
มันหายไป อาจเป็นเพราะเกิดช่องว่างระหว่างพี่กับน้อง อาจจะด้วยระยะทาง เวลา งบประมาณ และอีกหลายๆปัจจัย
รวมทัง้ การขาดกิจกรรมในส่วนกลางที่ก่อให้เกิดโอกาสในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างพี่น้อง
- การจัดกิจกรรมของเครือข่ายฯจึงเปรียบเหมือนมีเส้นขนาน 2 เส้น นั่นคือ มีเส้นของน้องมัธยมกับเส้นของ
พี่อุดมศึกษา กล่าวคือ น้องมัธยมจะอยู่ได้ (จัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง) จะขาดพี่อุดมศึกษาไม่ได้ นั่นหมายความว่า
พี่อุดมศึกษาจะต้องเข้มแข็งพอเพื่อทีจ่ ะสามารถดูแลน้องๆได้ หรืออย่างน้อยที่สุด คือเป็นตัวอย่างหรือเป็นแรงจูงใจ
ให้กับน้องๆ มัธยม
- การที่น้องมัธยมจะรวมกลุ่มกันจัดกิจกรรมได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน มีหลายปัจจัย อาทิ ศักยภาพของ
ผู้นำา ความสัมพันธ์ภายในกลุ่ม มีอาจารย์ทปี่ รึกษาคอยสนับสนุนและส่งเสริม รวมทั้ง มีการพัฒนาศักยภาพของคณะ
ทำางานอยู่อย่างสมำ่าเสมอ ซึ่งลำาพังการจะให้น้องๆมัธยมจัดการกันเอง อาจจะดูเป็นภาระที่เกินขีดความสามารถ ดัง
นั้น พี่อุดมศึกษาซึ่งอาจจะสามารถบริหารจัดการเวลาได้ดีกว่า มีประสบการณ์มากกว่า ฯลฯ จึงจำาเป็นที่จะต้องเข้าไป
ช่วยเหลือ สนับสนุน ส่งเสริมอีกแรงหนึ่ง นั่นหมายความว่า พี่อุดมศึกษาจะต้องมีความเข้มแข็งมากพอถึงจะสามารถ
ดำาเนินการได้

วาร ะที ่ 3 เรื ่อง ก้า วต ่อ ไป ของ “ สำาน ึก รั กษ์ แผ ่น ดิ นท อง”


3.1 ศูน ย์ อำาน วยก ารปร ะสา นง าน ส่ว นก ลาง
- ศูนย์ฯส่วนกลางทำาหน้าที่เชื่อมประสานทุกภาคส่วนของสังคมเครือข่ายฯให้มุ่งสู่เป้าหมายเดียวกัน คอย
สนับสนุนกิจกรรมของทั้งพี่อุดมศึกษาส่วนภูมิภาคและน้องมัธยม รวมทั้งประสานงานกับแหล่งงบประมาณ
- ปัจจุบัน ศูนย์ฯส่วนกลาง ทำาหน้าที่ของตนเองได้ดีแล้ว แต่ยังดีไม่พอสำาหรับภารกิจและความรับผิดชอบที่
ใหญ่ยิ่ง
- ถ้าพิจารณาให้ดีๆ ศูนย์ฯส่วนกลางไม่ได้ขาดกำาลังคน แต่ขาดการจัดการกำาลังคนอย่างมีประสิทธิภาพ เริ่ม
ตั้งแต่การจัดโครงการการบริหารงาน ระบบจัดการภายในองค์กร การมีส่วนร่วม การพัฒนาศักยภาพอย่างสมำ่าเสมอ
การถ่ายทอดงาน (การสอนงาน) เป็นต้น ทำาให้งานไม่ถูกกระจายออกไปอย่างเป็นระบบ เกิดการกระจุกตัวของงาน
ขาดการมีส่วนร่วม (ไม่มีพื้นที่ให้ยืนในศูนย์ฯส่วนกลาง) ดังนั้น ถ้าจะเปรียบ ก็คงจะคล้ายๆกับบ้านที่ยังไม่ยกเสา ไม่
ขึ้นโครง แต่ทุกคนพร้อมทีจ่ ะเข้าไปอยู่แล้ว ดังนั้น เมื่อไม่มีที่ให้อยู่ จึงเกิดปรากฏการณ์ “คนหาย” ไปหาที่อยู่ใหม่ที่
พร้อมกว่า ให้เขาอยู่ได้อย่างมีความสุข แต่เชื่อว่า เมื่อบ้านหลังนี้สร้างเสร็จ คนเหล่านั้นบางส่วนที่ยังมี
เลือด”แผ่นดินทอง” เข้มข้น คงจะกลับมาร่วมสานฝันบนเส้นทางแห่งดาวต่อไป
- เนื่องจากศูนย์ฯส่วนกลางจะต้องดูแลหลายๆส่วนของเครือข่ายฯ จึงจำาเป็นที่จะต้องมีความเข้มแข็งเพื่อเป็น
เสาหลักให้กับเครือข่ายฯ ดังนั้น ก้าวต่อไปของเครือข่ายฯจะต้องมุ่งสร้างความเข้มแข็งผสมผสานกับความสัมพันธ์
ฉันพี่น้องที่เหนียวแน่น และต้องไม่ลืมว่าทุกอย่างต้องจัดการอย่างเป็นระบบ (เพราะที่ผ่านมาเราได้บทเรียนเยอะพอ
สมควร)

3.2 ศูน ย์ อำาน วยก ารปร ะสา นง าน ส่ว นภ ูม ิภ าค


- ปัจจุบันที่ยังพอมองเห็นตัวบุคคลคือ ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งมีสถานการณ์ภายในที่
แตกต่างกันไป กล่าวคือ ภาคเหนือ ยังไม่มีแรงพอที่จะก้าวออกเดินก้าวแรก จึงทำาให้ยังไม่เกิดอะไรขึ้น จะมีความ
เคลื่อนไหวเพียงแค่การรวมตัวกันแบบเฉพาะกิจ นั่นคือ เมื่อมีกิจกรรมจากส่วนกลาง จะมีสมาชิกแวะเวียนมาเข้าร่วม
แต่ยังไม่สามารถรวมตัวกันได้ในระยะยาว ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือนั้น ถือว่ามีผู้นำาที่เข้มแข็งทีส่ ามารถเป็นเสา
หลักให้กับภูมิภาคได้ นำาพาทุกคนก้าวมุ่งสู่เป้าหมาย แต่ที่ผ่านมา การก้าวเดินนี้ ยังเป็นการเดินแบบเรื่อยๆ ยังขาด
การพัฒนารูปแบบ วิธีการ และการมีส่วนร่วม กล่าวคือ ปีที่แล้วเป็นอย่างไร ปีนี้ก็ไม่ต่างกัน แต่ไม่ได้หมายความว่า
ไม่เกิดอะไรขึ้นเลย หากแต่ยังขาดการพัฒนาเท่านั้น สำาหรับภาคอื่นๆ ได้แก่ ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคตะวันตก
และภาคใต้ ยังไม่สามารถรวบตัวกันได้หรือไม่มีโอกาสรวมตัว อาจจะเป็นเพราะเครือข่ายฯไม่มีแผนหรือกิจกรรม
รองรับกลุ่มอุดมศึกษาในภาคเหล่านี้ หรือการจะเดินทางไปร่วมกิจกรรมในภูมิภาคอื่นๆเป็นเรื่องที่ลำาบากยิ่งขึ้น
เพราะภาระมากขึ้น โดยเฉพาะเด็กกิจกรรม และที่น่าสังเกตคือ ปี 1 ซึ่งเป็นน้องใหม่ จะต้องใช้เวลาในการปรับตัว
ให้เข้ากับสถานภาพใหม่ และไปเจอกับสิ่งใหม่ๆที่จูงใจได้มากกว่า จึงทำาให้ไม่สะดวกที่จะเข้าร่วมกิจกรรมของเครือ
ข่ายฯ
- ก้าวต่อไปของศูนย์ฯภูมิภาคคือ รวมตัวกันอย่างเป็นรูปธรรม มีโครงสร้าง มีสมาชิก มีผู้นำา และที่สำาคัญ
ต้องมีกิจกรรมทำาร่วมกัน เพราะกิจกรรมเป็นสื่อนำาแห่งความสำาเร็จและนำามาซึ่งความเข้มแข็ง ซึ่งศูนย์ฯส่วนกลาง
อาจจะต้องเข้าไปช่วยเหลือและสนับสนุนในบางประการ เพื่อให้ศูนย์ฯภูมิภาคมีแรงทีจ่ ะก้าวเดินก็ดี หรือ ก้าวต่อก็ดี
หรือแม้กระทั่ง การเข้าไปรวบรวมกำาลังคนในบางภูมิภาคให้เป็นปึกแผ่น

3.3 น้ องม ัธย มศ ึกษ า


- นับตั้งแต่ปี 2545 ที่มีการก่อตั้งเครือข่ายฯ ได้มีการจัดอบรมให้กับน้องๆมัธยมศึกษามากกว่า 5,000 คน
โดยที่น้องๆเหล่านั้นเมื่อผ่านกิจกรรมการอบรมไป จะเกิดผลขึ้นในหลากหลายระดับ ได้แก่ ขั้นตำ่าสุด พัฒนาตนเอง
นำาไปใช้ในการเรียนหรือชีวิตประจำาวันได้ ขั้นต่อมา สามารถเป็นผู้นำาและผู้ตามที่ดี จัดกิจกรรมหรือร่วมจัดกิจกรรม
ในสถานศึกษาได้ ขั้นสูงขึ้นมาอีก คือการทีส่ ามารถรวมกลุ่มโดยการนำาของผู้ผ่านการอบรมภายในสถานศึกษาหรือ
ร่วมกับสถานศึกษาอื่น จัดกิจกรรมเอง หรือ ร่วมจัดกิจกรรมกับสถานศึกษาหรือหน่วยงานต่างๆในท้องถิ่นได้ และ
ขั้นสุดท้าย คือการกลับมาเป็นรุ่นพี่ ถ่ายทอดประสบการณ์สู่รุ่นน้อง เพื่อให้เครือข่ายฯสามารถขับเคลื่อนไปได้
- ในช่วงปีแรกของการก่อตั้งเครือข่ายฯ พี่ๆอุดมศึกษาไม่ได้คาดหวังว่าจะเกิดการต่อเนื่อง หรือเกิดการรวม
กลุ่มกันของน้องๆมัธยม หวังแค่เพียงให้น้องๆที่ผ่านการอบรม นำาประสบการณ์ที่ได้รับไปใช้ให้เกิดประโยชน์และ
เป็นการพัฒนาตัวน้องๆเหล่านั้นเอง แต่มาระยะหลังๆ ความคาดหวังเริ่มสูงขึ้น เกิดเป็นความท้าทายว่าจะทำาสำาเร็จ
หรือไม่ ซึ่งบทเรียนที่ผ่านมาได้บอกเราแล้วว่ายังไม่สำาเร็จ ซึ่งสิ่งหนึ่งที่สำาคัญที่จะส่งผลหรือสนับสนุนให้ความคาด
หวังที่ตั้งไว้นั้นสำาเร็จคือ ความเข้มแข็งของพี่ๆอุดมศึกษา สามารถดูแลน้องมัธยมศึกษาได้อย่างทั่วถึง ครอบคลุมทุก
พื้นที่ ไม่ลำาเอียง และพร้อมสนับสนุนน้องๆได้อย่างทันท่วงที สามารถเป็นที่ปรึกษาน้องได้ และเมื่อสิ่งเหล่านี้ พี่ๆ
อุดมศึกษาทำาได้ไม่เต็มที่ จึงส่งผลให้เกิดช่องว่างหรือระยะห่างระหว่างพี่น้องเพิ่มมากขึ้น น้องๆจึงอ่อนแรง อ่อนล้า
เพราะขาดแรงจูงใจ แรงกระตุ้น อีกทั้ง หลายๆคนจะสอบแอดมิสชั่น จึงเว้นวรรคการทำากิจกรรมไว้ก่อน
- ปัจจุบัน แกนนำาที่มีศักยภาพส่วนใหญ่อยู่ ม.6 กำาลังอยู่ในช่วงเว้นวรรค กลุ่มน้องๆมัธยมจึงขาดผู้นำา เริ่ม
อ่อนแอลง ก้าวต่อไปของน้องมัธยมคือ การเสริมสร้างแรงจูงใจให้กับน้องๆพร้อมๆกับการพัฒนาศักยภาพให้สามารถ
ดูแลกันเองได้ในระดับหนึ่ง

วาร ะที ่ 4 เรื ่อง ภา รก ิจใน อน าค ตอ ัน ใก ล้


4.1 ศูน ย์ อำาน วยก ารปร ะสา นง าน ส่ว นก ลาง
- เช็คกำาลังพลล่าสุดพร้อมอัพเดทข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน
- จัดโครงสร้าง ตำาแหน่ง หน้าที่ ของบุคลากรศูนย์อำานวยการประสานงานส่วนกลาง
- จัดระบบการบริหารงานอย่างเป็นรูปธรรม
- คัดเลือกประธานศูนย์ฯส่วนกลางคนใหม่ทดแทนคนปัจจุบันที่กำาลังจะหมดวาระลงในสิ้นเดือนมีนาคมนี้
- พัฒนาศักยภาพบุคลากรให้พร้อมอยู่เสมอ

4.2ศู นย ์อ ำา นวย การป ระส าน งา นส่ วน ภู มิ ภา ค


- รวบรวมกำาลังพลและจัดตั้งเป็นกลุ่มอย่างเป็นรูปธรรม
- วางแผนงานในระยะยาว

4.3 น้อง ๆม ัธ ยมศ ึกษ า


- เช็คกำาลังพลที่ยังเหลืออยู่
- จัดโครงการเพื่อพัฒนาศักยภาพ กระตุ้นให้เกิดแจงจูงใจ

รู้ รักส ามัค คี พ ร้อม ทำา ดี เพ ื่ อแผ่นด ิน

***********************************************************************************************************************
http://www.workseed.net

You might also like