You are on page 1of 3

1

2
3
ดุษฎีนิพนธ์ ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการข้าวเพื่อเกษตรกรไทย :
กรณีศึกษากลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง กลุ่มที่ 2
ชื่อนักศึกษา นางวราภรณ์ วรสีห์
สาขาวิชา รัฐประศาสนศาสตร์
สถาบัน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
อาจารย์ที่ปรึกษาดุษฎีนิพนธ์ ศาสตราจารย์ ดร.ไพบูลย์ ช่างเรียน
อาจารย์ที่ปรึกษาร่วมดุษฎีนิพนธ์ รองศาสตราจารย์ ดร.รังสรรค์ ประเสริฐศรี
ผู้เชี่ยวชาญ รองศาสตราจารย์ ดร.เฉลิมพงศ์ มีสมนัย
ดร.เลิศ ไชยณรงค์
ปีการศึกษา 2550
1
บทคัด ย่ อ
1
การวิจัยเรื่อง ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการข้าวเพื่อเกษตรกรไทย : กรณีศึกษากลุ่ม
จังหวัดภาคเหนือตอนล่าง กลุ่มที่ 2 นีเ้ ป็นการวิจัยเชิงคุณภาพซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์
สภาพปัจจุบันปัญหาด้านการบริหารจัดการ และยุทธศาสตร์การบริหารจัดการข้าวในกลุ่มจังหวัด
ภาคเหนือตอนล่าง กลุ่มที่ 2 และเพื่อพัฒนาแนวทางยุทธศาสตร์ที่เหมาะสมต่อการบริหารจัดการ
ข้าวเพื่อเกษตรกรไทยในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง กลุ่มที่ 2 ซึ่งผู้วิจัยได้กำาหนดผู้ให้ข้อมูลคน
สำาคัญเพื่อทำาการการสัมภาษณ์เชิงลึก ได้แก่ พาณิชย์จังหวัดกำาแพงเพชร พิจิตร นครสวรรค์ และ
อุทัยธานี ค้าภายในจังหวัดนครสวรรค์ เกษตรจังหวัดกำาแพงเพชร พิจิตร นครสวรรค์ และอุทัยธานี
เกษตรอำาเภอสว่างอารมณ์ จังหวัดอุทัยธานี นายกสมาคมผู้ประกอบการโรงสีข้าวจังหวัดอุทัยธานี
ผู้จัดการตลาดกลางข้าวและพืชไร่โพทะเลพืชผล อำาเภอโพทะเล จังหวัดพิจิตร ผู้จัดการตลาดกลาง
ข้าวและพืชไร่อุทัยธานีทรัพย์รวงทอง อำาเภอหนองฉาง จังหวัดอุทัยธานี กรรมการผู้จัดการบริษัท
ขาณุพืชผล จำากัด ผู้ส่งข้าวออกต่างประเทศ จังหวัดกำาแพงเพชร กรรมการผู้จัดการบริษัท จีเอ็นไรซ์
เทรดดิ้ง จำากัด ผู้ส่งข้าวออกต่างประเทศ จังหวัดพิจิตร กรรมการผู้จัดการบริษัท นครสวรรค์โรงสีไฟ
ไทยรุ่งเรือง 2002 จำากัด ผู้ส่งข้าวออกต่างประเทศ จังหวัดนครสวรรค์ กรรมการผู้จัดการบริษัท

(1)
สามเกษตรมิลล์ จำากัด ผู้ส่งข้าวออกต่างประเทศ จังหวัดอุทัยธานี กรรมการผู้จัดการโรงสีศุภนิมิต
หนองยายดา อำาเภอทัพทัน จังหวัดอุทัยธานี ประธานกลุ่มเกษตรกรตำาบลขาณุวรลักษณ์บุรี
อำาเภอ
ขาณุวรลักษณ์บุรี จังหวัดกำาแพงเพชร ประธานกลุ่มเกษตรกรตำาบลเขาเจ็ดลูก อำาเภอทับคล้อ จัง-
หวัดพิจิตร ประธานกลุ่มเกษตรกรตำาบลหาดสูง อำาเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์ ประธานกลุ่ม
เกษตรกรตำาบลบ่อยาง อำาเภอสว่างอารมณ์ จังหวัดอุทัยธานี ประธานเครือข่ายโรงเรียนชาวนา จัง-
หวัดนครสวรรค์ และผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ (ธ.ก.ส.) สาขาหนองฉาง จังหวัด
อุทัยธานี และบุคคลอื่นๆ ที่มีบริบทเกี่ยวข้องกับงานวิจัยในครั้งนี้ โดยผู้วิจัยได้สนทนาถึงประเด็น
จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และข้อจำากัด ในการบริหารจัดการข้าวในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง
กลุ่มที่ 2 และหายุทธศาสตร์มาตรการอันเป็นรูปธรรมที่เหมาะสมกับสภาวะแวดล้อมและบริบท
ของเกษตรไทยในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง กลุ่มที่ 2 โดยมีเครื่องมือในการวิจัยประกอบด้วย
แนวคำาถามในการสัมภาษณ์เชิงลึก และแนวคำาถามในการสนทนากลุ่ม ข้อมูลจากการสัมภาษณ์
และสนทนากลุ่ม ผู้วิจัยได้นำามาวิเคราะห์และแจกแจงเนื้อหาสาระจากนั้นจึงได้นำามาพัฒนาเป็น
แนวทางยุทธศาสตร์โดยการสังเคราะห์จากผลการศึกษา
ผลการศึกษาพบว่า ยุทธศาสตร์ในการพัฒนาความสามารถในการแข่งขันของการ
บริหารจัดการข้าวเพื่อเกษตรกรไทยในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง กลุ่มที่ 2 ให้มีความเป็นอยู่ที่
ดีขึ้นอย่างยั่งยืน ตามแนวทางการพัฒนาแบบยั่งยืนตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง โดยวิธีเกษตรแบบ
ผสมผสาน ดังนี้
1. สร้างมาตรฐานการผลิต
2. สร้างมาตรฐานการแปรรูป
3. สร้างมาตรฐานด้านการตลาด
4. พัฒนาศักยภาพผู้ที่เกี่ยวข้อง
5. พัฒนาระบบเครือข่ายการจัดการข้าว
6. พัฒนามาตรฐานคุณภาพของสถานที่ผลิต แปรรูปและบรรจุภัณฑ์ ให้ได้
มาตรฐานตามที่หน่วยงานที่รัฐบาล หน่วยงานระหว่างประเทศให้การรับรอง
7. พัฒนาระบบการให้ความรู้ของผู้ที่เกี่ยวข้อง
8. สร้างมาตรฐานวิชาชีพการจัดการข้าว
9. พัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรม ทัง้ ระยะสั้นและระยะยาวด้านการจัดการข้าว
10. พัฒนาระบบการให้คำาปรึกษา แนะนำาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการจัดการข้าว

(2)
11. พัฒนาระบบงานวิจัย และพัฒนานวัตกรรม
12. พัฒนาระบบ รูปแบบของการติดตามประเมินผล
การวิจัยในครั้งนี้นอกจากค้นพบยุทธศาสตร์ที่เหมาะสมที่รัฐจะกำาหนดเป็นนโยบาย
ที่จะเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันด้านการบริหารจัดการข้าวเพื่อเกษตรกรไทยในกลุ่ม
จังหวัดภาคเหนือตอนล่าง กลุ่มที่ 2 แล้วยังเกิดประโยชน์ในการศึกษาและทำาให้เกิดแนวความคิด
ในการนำาไปปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ในการบริหารจัดการข้าวเพื่อเกษตรกรไทยในกลุ่มจังหวัดอื่น
ต่อไป

(3)

You might also like