You are on page 1of 9

อาการผิดปรกติทางตา จากการใช้คอมพิวเตอร์ (Computer Vision

Syndrome)
อาการตาล้า กับ คอมพิวเตอร์

การใช้คอมพิวเตอร์สามารถก่อให้เกิดกล่่มอาการความผิด
ปรกติท่ีสัมพันธ์กับการใช้สายตาไม่ถูกส่ขลักษณะได้ อันเป็ นผล
จากการที่มีภาวะกล้ามเนื้ อตาล้า หรือที่เรียกว่า “อาการตา
ล้า”หรือ eye strain ซึ่งมีอาการแสดงออกได้หลายรูปแบบ
ตั้งแต่อาการเคืองตา ตาแห้งง่ายเวลาใช้สายตา มองสู้แสง
ลำาบาก การปรับโฟกัสภาพช้าลงทำาให้เวลามองวัตถ่ระยะใกล้
แล้วมองไปที่วัตถ่ท่ีอยู่ไกลไม่ชัด หรือรู้สึกว่ามองวัตถ่ท่ีอยู่ไกล
ได้ชัดน้อย ลงคล้ายกับสายตาสั้นเพิ่มขึ้น ซึ่งถ้าไปเปลี่ยนแว่น
สายตาเพิ่มเองโดยไม่ได้รับการตรวจจากจักษ่แพทย์ก่อน จะ
ทำาให้มีปัญหาเรื้อรัง คือช่วงเปลี่ยนแว่นตาใหม่ๆจะมองเห็นได้
ชัดเจนดี แต่เมื่อใช้ไปซักระยะจะรู้สึกตามัวอีก ทำาให้ต้องเปลี่ยน
แว่นสายตาบ่อย จนระยะหลังจะมีอาการปวดกระบอกตา ปวด
ศีรษะ อาจมีอาการคลื่นไส้จนถึงอาเจียนได้ บางรายอาจมี
อาการปวดต้นคอ หลัง ไหล่ร่วมด้วยเนื่ องจากมีลักษณะท่านั่ง
source:PhotoDisc ทำางานไม่เหมาะสม มีรายงานจากผลการศึกษาผลกระทบจาก
การทำางานด้วยคอมพิวเตอร์พบว่า ผู้ท่ีใช้คอมพิวเตอร์ต่อเนื่ อง
มากกว่า 3 ชั่วโมงต่อวัน จะมีอาการแสดงอย่างใดอย่างหนึ่ ง
ของอาการตาล้ามากถึง 90%

โดยธรรมชาติแล้ว ตาของคนเรามีไว้สำาหรับมองวัตถ่ในระยะ
ไกลเป็ นส่วนใหญ่ ซึ่งจะทำาให้กล้ามเนื้ อตาอยู่ในภาวะคลายตัว
แต่เมื่อสภาพแวดล้อมในการทำางานของคนเราเปลี่ยนไป ทำาให้
เราต้องมาทำางานที่อาศัยการมองวัตถ่ในระยะใกล้มากขึ้น นาน
ขึน
้ ทำาให้กล้ามเนื้ อตาต้องเกร็งตัวต่อเนื่ องเป็ นระยะเวลานาน
หรือบ่อยขึ้น มีการกระพริบตาน้อยลง แม้แต่เวลาพักผ่อนหรือ
ว่างจากการทำางานเราก็ยังใช้สายตาจ้องมองในระยะใกล้เป็ น
ส่วนใหญ่เช่น การดูโทรทัศน์ หรือภาพยนตร์ ทำาให้เกิดอาการ
ล้าของกล้ามเนื้ อตาและอาการตาแห้งตามมา ซึ่งจะเกิด ขึ้นได้
ง่าย และมีอาการได้มากกว่าในคนที่ใช้คอมพิวเตอร์ทำางาน
มากกว่าคนที่ใช้การเขียนหรืออ่านตัวหนังสือ

ทั้งนี้ อาจเป็ นผลมาจากหลายปัจจัย กล่าวคือ ในภาวะทั่วไปตา


คนเราจะกระพริบประมาณ 22 ครั้งต่อนาที ขณะอ่านหนังสือจะ
กระพริบ 10 ครั้งต่อนาที แต่จะเหลือเพียง 7 ครั้งต่อนาทีเมื่อใช้
คอมพิวเตอร์ นอกจากนี้ การที่ตัวอักษรในคอมพิวเตอร์ไม่ได้
เรียบคมชัดเท่าตัวพิมพ์ มีความไม่น่ิ งของคลื่นสัญญาณใน
จอ(refreshment) การมีแสงสะท้อนจากหน้าจอ รวมถึงระยะ
ห่างของหน้าจอคอมพิวเตอร์ท่ีแตกต่างจากระยะการอ่าน
หนังสือ ทำาให้การมีความผิดปรกติของสายตาเพียงเล็กน้อย
หรือการนำาแว่นสายตาสำาหรับมองไกลหรือแว่นอ่านหนังสือมา
ใช้ดูคอมพิวเตอร์อาจก่อให้เกิดอาการตาล้าได้ง่ายขึ้น

อย่างไรก็ตามจอคอมพิวเตอร์ไม่ได้มีอันตรายในแง่ของ
การแผ่รังสี หรือแสงที่ทำาให้เกิดโรคตามมา อาการผิดปรกติท่ี
เกิดขึ้น เป็ นผลมาจากการทำางานที่ไม่ถูกส่ขลักษณะเท่านั้น
ข้อปฏิบัติสำาหรับผ้้ใช้คอมพิวเตอร์

ปัจจัยหลักที่มีผลต่อการเกิดอาการตาล้าจากการใช้
คอมพิวเตอร์(computer vision syndrome) ได้แก่

1.สถานทีท
่ ำางาน

1. จอภาพ
o ควรใช้จอแบน LCD จะช่วยลดการสะท้อนแสง หลีก
เลี่ยงการใช้จอแก้ว และหมั่นรักษาความสะอาดที่จอ
อย่าให้มีฝ่่นเกาะ
o ยิ่งมี pixels มาก ยิ่งให้ความคมชัด(resolution)สูง
o เลือกที่มีค่า refresh rate สูง(ปรกติจะอยู่ประมาณ
60 Hz.) เพื่อลดการรับรู้ถึงการสั่นไหวของ
ภาพ(flickering sensation)ให้นอ ้ ยที่ส่ด
o เลือก dot pitches เล็ก(น้อยกว่า 0.28 มม.) ช่วยให้
ได้ภาพสีท่ีเรียบชัด
o เลือกใช้ตัวอักษรเข้มบนพื้นจอสีอ่อน ตัวอักษรดำาบนพื้น
ขาวให้ความแตกต่างของสีดีท่ีส่ด
o ปรับความสว่าง(brightness) และความแตกต่างของสี
(contrast) ให้สามารถมองภาพได้คมชัดและสบายตา
ที่ส่ด โดยใช้หลักความสว่างเป็ นสัดส่วน 10:3 คือ ตัว
อักษรควรมีความสว่างเป็ น 10 เท่าของพื้นจอ และแสง
ในห้องทำางานควรสว่างเป็ น 3 เท่าของพื้นจอ
o ขนาดตัวอักษรควรใหญ่เป็ น 3 เท่าของขนาดตัวหนังสือ
ที่เล็กที่ส่ดที่สามารถอ่านได้ในภาวะปรกติทดสอบโดย
ถอยระยะห่างจากจอไป 3 เท่าของระยะทำางาน แล้วยัง
สามารถอ่านหนังสือบนจอได้
2. การจัดวางองค์ประกอบ
o ควรจัดวางจอภาพให้มีระยะห่างจากตาประมาณ 18-
30 นิ้ว
o ขอบบนส่ดของจอควรอยู่ระดับเดียวกับสายตา หรือตำ่า
กว่าสายตาเล็กน้อย โดยให้จ่ดศูนย์กลางของจออยู่ต่ ำา
กว่าระดับสายตา 10-20 องศา และเอียงทำาม่มขึ้นเล็ก
น้อย
o แท่นพิมพ์ควรวางอยู่ในระดับตำ่ากว่าจอ โดยให้ขอ ้ มือ
และแขนขนานไปกับพื้น และไม่อยู่ในลักษณะเอื้อมไป
ข้างหน้า
o โต๊ะควรสูงพอสำาหรับมีท่ีว่างให้เข่าไม่ติดโต๊ะ
o เก้าอี้ควรมีท่ีหน่นหลัง และปรับระดับสูงตำ่าได้ ให้
ฝ่ าเท้าวางราบไปกับพื้น ต้นขาขนานไปกับพื้น อาจมีท่ี
วางข้อศอกและแขนเพื่อลดอาการล้าที่หัวไหล่ แขน
และข้อมือ

o เอกสารสิ่งพิมพ์ หรือหนังสือควรวางอย่ใู นระดับและ


ระยะเดียวกับจอภาพ และมีแสงส่องสว่างแยกเฉพาะ
โดยมีความสว่างใกล้เคียงกับที่จอ
2. แสงไฟ (lighting)

แสงที่จ้าเกินไปจะทำาให้เกิดแสงสะท้อนที่จอภาพ ทำาให้มองเห็น
ภาพที่จอลำาบาก ดังนั้นการจัดวางตำาแหน่ งต้นกำาเนิ ดแสง หรือ
ความสว่างของห้อง ก็มีส่วนสำาคัญต่อการทำางานด้วย

1. ปิ ดม่านหน้าต่างเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้มีแสงแดด
หรือแสงสว่างจากภายนอกส่องเข้ามาในห้องโดยตรง
2. แหล่งกำาเนิ ดแสงสว่างไม่ควรอยู่ทางด้านหน้า
หรือด้านหลัง ควรมาจากด้านข้างของจอภาพ และไม่
ควรใช้แสงสว่างส่องตรงจากเหนื อศีรษะหรือส่อง
กระทบโดยตรงบริเวณที่ทำางาน การใช้ระบบไฟส่อง
สว่างแบบตกกระทบจะมีความเหมาะสมกับการทำางาน
มากกว่า แสงห้องทำางานที่สว่างเกินไปจะก่อให้เกิดแสง
สะท้อนที่จอได้ง่าย ทำาให้รู้สึก ไม่สบายตา วิธีทดสอบ
ทำาได้โดยปิ ดจอภาพ แล้วสังเกตว่ามีแสงสะท้อนหรือไม่
ปรกติไม่ควรมี ถ้ามีต้องพยายามหาวิธีลดแสงสะท้อน
จากแหล่งกำาเนิ ดแสงนั้นให้มากที่ส่ด
3. ไฟส่องสว่างสำาหรับต้นแบบพิมพ์ หรือหนังสือ
ควรใช้ไฟที่มีกำาลังตำ่า หรือสามารถปรับความสว่างได้
ส่องโดยตรง และไม่ให้บริเวณที่ส่องไฟสว่างกว่าหน้า
จอ เพื่อป้ องกันการเกิดแสงสะท้อนที่จอ

4. อาจใช้แผ่นกันแสงสะท้อน(antireflection
screen)ติดหน้าจอภาพ
3. พฤติกรรมการใช้สายตา (visual habit)

1. แว่นตา
o ในผู้ท่ีมีความผิดปรกติทางสายตาอยู่เดิม
(สั้น,ยาว,เอียง) จำาเป็ นที่จะต้องมีแว่นสายตาสำาหรับใส่
ทำางานกับคอมพิวเตอร์ เพื่อช่วยการมองเห็นให้ดีขน ึ้
ลดการเพ่ง ช่วยป้ องกันการเกิดอาการตาล้าได้ ดังนั้น
ในการทำางานหรือใช้สายตากับคอมพิวเตอร์ จึงควรใช้
แว่นสายตาที่วัดมาเฉพาะสำาหรับการมองเห็นที่ดีท่ีส่ด
ที่ระยะการทำางานกับจอภาพเท่านั้น
o ถ้าต้องการใช้แว่นตาที่มองได้ 2 ระยะเวลาทำางาน ควร
ใช้แว่นตาเลนส์ 2 ชั้น(bifocal)แบบแบ่งครึ่งเลนส์ flat
top แบ่งครึ่งบน-ล่าง โดยเลนส์ครึ่งบนมีระยะโฟกัส
ภาพที่จอคอมพิวเตอร์ ครึ่งล่างใช้สำาหรับอ่านหนังสือ
หรือมองระยะใกล้
o ถ้าเป็ นแว่นตาที่มองได้ 3 ระยะ(trifocals) หรือมองได้
หลายระยะ(multifocals) เลนส์ชว ่ งกลางควรมีระยะ
กว้างมากกว่าปรกติและมีระยะโฟกัสสำาหรับมองจอ
คอมพิวเตอร์
2. การพักสายตา
source:PhotoDisc
o ขณะทำางานควรมีการหย่ดพักสายตาเป็ นระยะๆ ไม่
ควรใช้สายตาต่อเนื่ องนานหลายชั่วโมง
o ท่ก 15-30 นาที ควรพักสายตาโดยการหลับตา หรือ
มองออกไปไกลๆระยะตั้งแต่ 6 เมตรขึ้นไปนาน
ประมาณ 2-3 นาที
o ท่ก 1 ชั่วโมง ควรหย่ดทำางาน ล่กขึ้นยืนหรือเดินเพื่อ
เปลี่ยนอิริยาบถนาน 3-5 นาที
o ท่ก 3-4 ชั่วโมง ควรหย่ดพักงานนาน 15-20 นาที ควร
เดินไปรอบๆ ไม่ควรนั่งอยู่กับที่ระหว่างนี้ ไม่ควรใช้
สายตาจับจ้องมองอะไรอยู่เฉพาะที่ใดที่หนึ่ ง อาจทำางาน
ที่ไม่ต้องใช้สายตาได้ เช่น การพูดค่ยหรือสั่งงานทาง
โทรศัพท์ แต่ถ้าเป็ นไปได้ ดีท่ีส่ดคือควรนอนราบและ
หลับตาไว้ระยะหนึ่ ง
3. การนวดผ่อนคลายกล้ามเนื้ อตา
ควรทำาในระหว่างพักหรือเมื่อเสร็จสิ้นงานในแต่ละวัน เพื่อช่วย
คลายกล้ามเนื้ อตาจากอาการล้าได้
o นวดด้วยฝ่ ามือ ให้วางข้อศอกลงบนโต๊ะ หงายฝ่ ามือขึ้น
โน้มตัวทิ้งนำ้าหนักไปทางด้านหน้า แล้ววางศีรษะลงบน
ฝ่ ามือ ให้เบ้าตาวางอยู่บริเวณด้านล่างของฝ่ ามือนิ้ วมือ
วางอยู่บนหน้าผาก ระวังอย่าให้มีแรงกดลงที่ลูกตา
หลับตาสูดหายใจเข้าลึกๆช้าๆทางจมูก กลั้นหายใจไว้
ประมาณ 4 วินาที แล้วผ่อนหายใจออกช้าๆ สูดหายใจ
เข้า-ออกแบบนี้ สลับกันต่อเนื่ องประมาณ 5-10 รอบ
o ใช้การประคบด้วยนำ้าอ่่นและนำ้าเย็น ใช้ผ้าหรือ
hot/cold pack gel แช่น้ ำาร้อนพอประมาณระวังอย่า
ให้ร้อนมากเกินไป เนื่ องจากผิวหนังที่เปลือกตาเป็ น
ส่วนที่บอบบางที่ส่ด ง่ายต่อการเกิดผิวหนังพ่พองด้วย
ความร้อน วางผ้าประคบเบ้าตาไว้ประมาณ 30 วินาที
แล้วสลับวางด้วยผ้าแช่น้ ำาเย็น(นำ้าเย็นใช้น้ ำาที่แช่
นำ้าแข็ง) ให้สลับประคบด้วยความร้อน-เย็นแบบนี้ ต่อ
เนื่ องประมาณ 2 นาที แล้วจึงใช้ผ้าแห้งเช็ดนวดที่เบ้า
ตาเบาๆ
4. การบริหารกล้ามเนื้ อตา
การบริหารกล้ามเนื้ อตาประจำา จะช่วยป้ องกันการเกิดอาการ
ตาล้าจากการใช้สายตาที่ต้องจับจ้องอะไรต่อเนื่ องเป็ นเวลา
นานๆเช่น การใช้คอมพิวเตอร์ ดูจอ
มอนิ เตอร์,โทรทัศน์,ภาพยนตร์ อ่านเขียนหนังสือ หรือขับรถได้
o near-far focus exercise
 จ้องมองที่นิ้วหัวแม่มือตัวเองระยะห่าง
ประมาณครึ่งฟ่ต พยายามมองให้เห็นภาพชัด
ตลอดเวลา พร้อมกับสูดลมหายใจเข้าออกช้าๆ
จากนั้นมองออกไปยังวัตถ่ท่ีอยู่ไกลระยะห่าง
ประมาณ 3-4 เมตร จ้องมองให้ภาพชัดตลอด
เวลาพร้อมกับสูดลมหายใจเข้าออกช้าๆ ทำา
สลับไปมาต่อเนื่ องอย่างนี้ ประมาณ 15 รอบ
o convergence exercise
 นั่งตัวตรง มองไปยังจ่ดไกลส่ดตรงหน้า
 ถือปากกาให้อยู่ระดับสายตา ยื่นออกไปส่ด
แขน จ้องมองที่ปลายปากกา
 ค่อยๆเคลื่อนปากกาเข้าหาตาช้าๆ มองปลาย
ปากกาให้เห็นภาพชัดเป็ นภาพเดียวตลอด
เวลา เลื่อนปากกาเข้ามาใกล้ตาให้มากที่ส่ด
เท่าที่ยังสามารถมองภาพได้ชัดเป็ นภาพเดียว
จนรู้สึกว่า ต้องเพ่งตามากหรือรู้สึกตึงตา หย่ด
มองปากกาที่ระยะนี้ ประมาณครึ่งนาที แล้ว
ค่อยๆเลื่อนปากกาออก คอยมองปลายปากกา
ให้ชัดตลอดเวลา จนถึงระยะส่ดแขน หย่ดมอง
ปลายปากกาที่ระยะนี้ อีกครึ่งนาที แล้วจึงเริ่ม
ต้นเคลื่อนปากกาเข้าหาตาใหม่ ทำาซำ้าแบบเดิม
 ทำาสลับเข้าออกถือเป็ น 1 รอบ ให้ทำาต่อเนื่ อง
อย่างน้อย 10 รอบต่อครั้ง ควรทำาในช่วงเช้า
และหลีกเลี่ยงการบริหารในช่วงที่ยังมีอาการ
ตาล้าอยู่ หรื่อเหนื่ อยจากการทำางาน ควรทำา
หลังจากได้พักหรือรู้สึกสดชื่นแล้ว ในช่วงแรก
ของการบริหารอาจรู้สึกมีอาการปวดตา ปวด
ศีรษะเพิ่มขึ้นบ้าง จึงยังไม่ควรทำาเยอะ แต่เมื่อ
ทำาต่อเนื่ องไป อาการจะค่อยๆดีขน ึ้ ใน 2-3
สัปดาห์ ควรเพิ่มทำาการ บริหารเป็ น 2 ครั้งใน
สัปดาห์ท่ีสองและ 3 ครั้งในสัปดาห์ท่ีสาม อาจ
ทำาต่อเนื่ องกันไปทีเดียว หรือแบ่งบริหารใน
ช่วงเวลาที่สะดวกในแต่ละวันก็ได้ แต่ควรทำา
ท่กวัน

ควรทำาการบริหารกล้ามเนื้ อตาอย่างต่อเนื่ อง 2-3 เดือน หลังจากนั้น


อาจทำาบ้างเป็ นครั้งคราวเพื่อไม่ให้เกิดอาการตาล้าขึ้นมาได้ง่ายอีก
4. การใช้น้ ำ าตาเทียม

ควรใช้น้ ำาตาเทียมแบบที่ไม่มีสารกันเสียหยอดตาในช่วงที่ใช้
สายตาต่อเนื่ องท่ก 1-2 ชั่วโมง เพื่อป้ องกันเยื่อบ่ตาแห้งและยัง
ช่วยทำาให้รู้สึกสบายตาขึ้น อาจลดหรือเพิ่มความถี่ในการหยอด
ได้ตามอาการ และเนื่ องจากนำ้าตาเทียมแบบนี้ ไม่มีสารกันเสียที่
อาจระคายเคืองเยื่อบ่ตาได้ จึงสามารถนำามาใช้ต่อเนื่ องได้โดย
ไม่ก่อให้เกิดผลข้างเคียง และผู้ป่วยสามารถซื้อมาใช้เองได้โดย
ไม่ต้องมีใบสั่งแพทย์

You might also like