You are on page 1of 43

1

อุดมการณ “ความเปนไทย” กับการธํารงความเหลื่อมล้ําทางดานเศรษฐกิจ : กรณีศึกษาการ


ปราบปรามเคลื่อนไหวของชาวนาชาวไร ในชวงเวลา 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ถึง 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519

โดย นายศักดิส์ ิทธิ์ สีลาเขต 4704611781


นายตฤณ ไอยะรา 4704611898

บทนํา

บทความชิ้นนี้อาจบางทีเปนผลมาจากความหงุดหงิดของผูเขียนทั้งสองที่มีตอความเปนจริง
ในสังคมไทยที่วาสังคมนี้เต็มไปดวยความเหลื่อมล้ําที่อยุติธรรมอยางไมนาจะเกิดขึ้น และดวยความ
ที่งานชิ้นนี้เปนสวนหนึ่งของวิชาสัมมนาเศรษฐศาสตรการเมืองและประวัติศาสตรเศรษฐกิจ ผูเขียน
ซึ่งเปนเพื่อนกันมาตั้งแตปหนึ่งและมีทัศนคติบางอยางคลายคลึงกันจึงสบโอกาสที่จะใชความ
พยายามในการแสวงหาคําตอบวาความหงุดหงิดขางตนนาจะมีสาเหตุมาจากอะไรกันแน โดยมี
ศูนยกลางอยูที่ความไมเสมอภาคหรือไมเทาเทียมหรือเหลื่อมล้ําทางเศรษฐกิจ
ในการศึ ก ษาครั้ ง นี้ ผู เ ขี ย นเลื อ กที่ จ ะใช วิ ธี วิ ท ยาที่ ห ลากหลายในการทํ า ความเข า ใจ
ปรากฏการณ ที่ ส ลั บ ซั บ ซ อ น อั น เกิ ด แต ภู มิ ห ลั ง ทางประวั ติ ศ าสตร ที่ ย าวนานและมี ค วาม
เฉพาะเจาะจงอยางยิ่ง ถาจะใหสรุปอยางรวบรัดที่สุด สิ่งที่ผูเขียนกําลังจะทําคือพยายามตอบคําถาม
ที่วา อะไรคือสาเหตุแหงความไมเทาเทียมในสังคมไทยในหะแรก จากนั้นจึงจะหาคําตอบวา อะไร
ที่ทําใหความไมเทาเทียมเหลานั้นดํารงอยูได
ในการนี้ ผูเขียนแบงเนื้อหาออกเปนสี่สวน สวนแรกทําการศึกษาถึงการศึกษาของความ
เหลื่อมล้ําทางเศรษฐกิจที่สูงขึ้นหลังจากสี่ทศวรรษแหงการเริ่มตนใชแผนพัฒนาเศรษฐกิจแหงชาติ
ซึ่งเคยใหคํามั่นสัญญาวาจะทําใหคนไทยทุกคนมีความรมเย็นเปนสุข แตทําไมมันถึงไมเปนเชนนั้น
ซึ่งสวนนี้จะเปนการตอบคําถามวา สาเหตุแหงความไมเทาเทียมกันในรอบสี่ทศวรรษที่ผานมาคือ
อะไรกันแน ผานการใชวิธีการใชขอมูลเชิงปริมาณบวกกับวรรณกรรมเศรษฐศาสตรกระแสหลัก
สวนที่สอง จะเปนความพยายามในการตอบคําถามวา อะไรที่ทําใหความไมเทาเทียมดํารง
อยูไดในสังคมไทย โดยที่ในสวนนี้จะเปนการทบทวนทฤษฎีและแนวทางการศึกษาแบบ Marxism
ที่ผูเขียนคิดวาเปนวิธีวิทยาที่สามารถเปดเผยใหเห็นถึงความไมเทาเทียมในสังคมไดอยางถึงรากถึง
โคนที่สุด และจะมีภาคประยุกตทฤษฎีตางๆ ดังกลาวในสวนสุดทายคือสวนที่สี่
สวนที่สาม คือความพยายามที่ตอเนื่องจากสวนที่สองในแงที่วาการที่เราจะตอบคําถามวา
อะไรที่ทําใหความไมเทาเทียมดํารงอยูในสังคมไทยมีความจําเปนอยางยิ่งที่จะตองทําความเขาใจ
ระบความหมายหรืออุดมการณหลักที่ครอบงําสังคมไทยอยูอยางฝงราก โดยที่คําตอบในเบื้องตน
2
ของพวกเราที่จะทําการเขาปะทะในสวนนี้ก็คือระบบความหมายที่ถูกสรางขึ้นอันเรียกวา “ความ
เปนไทย” ทั้งนี้ สวนนี้จะมีความเปนทฤษฎีหรือเปนนามธรรมสูงแมจะไมเทาสวนที่สอง ดังนั้นแลว
ผูเขียนจึงจะนําทฤษฎีสวนนี้เขาสูภาคประยุกตในสวนที่สี่เชนเดียวกับสวนที่สาม
ส ว นที่ สี่ เป น การพยายามศึ ก ษาการทํ า งานของอุ ด มการณ “ความเป น ไทย” ผ า นทาง
การศึกษาการเคลื่อนไหวของชาวไรชาวนาในทศวรรษที่ 2510 เพื่อแสดงใหเห็นอยางเปนรูปธรรม
ที่สุดวากลไกของรัฐทําหนาที่อยางไรในการธํารงรักษาความไมเสมอภาคในสังคมไทยตลอดมา

บทที่ 1 ภารกิจที่ยังไมเสร็จสิ้นของสังคมไทย การสรางประชาธิปไตยทางเศรษฐกิจ: บทสํารวจ


ความเหลื่อมล้ําทางเศรษฐกิจของสังคมไทยจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจของรัฐไทยนับตั้งแตทศวรรษ
2500 ถึงทศวรรษ 2540

นั บตั้ ง แตทศวรรษ 2500 ที่รัฐ ไทยเริ่มตน การทํา ให เ ป นสมั ย ใหม (Modernization)
ดําเนินการจัดทําแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแหงชาติ (ในขณะนั้นถูกเรียกวาเปนแผนพัฒนา
เศรษฐกิจแหงชาติ) ทําการดําเนินนโยบายเศรษฐกิจแบบเสรีนิยม (Liberalism) ที่เนนสงเสริม
ภาคอุตสาหกรรม บทบาทของการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนและการคาขายระหวางประเทศ
(หรือพูดใหครอบคลุมกวานั้นคือการนําเอาเศรษฐกิจไทยไปผูกอยูกับเศรษฐกิจโลก ไมวาจะเปนใน
ดานการคา การเคลื่อนยายเงินทุนทั้งเงินทุนเพื่อการเก็งกําไรระยะสั้นและเงินทุนที่เขามาลงทุนใน
อุตสาหกรรมตางๆ) เปนกลจักรที่สําคัญในการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจ และใชกลไกตลาดเปน
เครื่องมือในการจัดสรรทรัพยากร
สํ า หรั บ วั ต ถุ ป ระสงค ข องแผนพั ฒ นาเศรษฐกิ จ จอมพลสฤษดิ์ ไ ด ก ล า วว า คื อ การยก
มาตรฐานชีวิตของประชาชนไทย1 โดยผานทางนโยบายเศรษฐกิจแบบเสรีนิยมที่เชื่อวาการสราง
ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (Economic Growth) จะทําใหสวัสดิการของสังคมสูงขึ้นขึ้นอันเปน
ผลมาจากความคิดวาผลจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจจะตกไปสูสวนตางๆของสังคม (Trickle-
Down Effect) ซึ่งจะสามารถบรรเทาปญหาความยากจนลงไปได
ความสําเร็จของนโยบายเศรษฐกิจแบบเสรีนิยมสามารถเห็นไดจากอัตราการเจริญเติบโต
ทางเศรษฐกิจของไทยที่เพิ่มขึ้นอยางตอเนื่อง โดยจากพ.ศ. 2501 ถึง พ.ศ. 2539 ที่มีอัตราการขยายตัว

1
ทักษิ์ เฉลิมเตียรณ, การเมืองระบบพอขุนอุปถัมภแบบเผด็จการ, (Thailand : The Politics of Despotic
Paternalism), แปลโดย พรรณี ฉัตรพลรักษ, ม.ร.ว. ประกายทอง ศิริสุข, ธํารงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต, (กรุงเทพฯ :
มูลนิธิโครงการตําราสังคมศาสตรและมนุษยศาสตร 2548) หนา 273
3
เฉลี่ยรอยละ 7.2% ตอป ซึ่งเปนอัตราที่สูงเมื่อเทียบกับประเทศดอยพัฒนาในขณะนั้น2 กอนจะมา
สะดุดในชวงตนทศวรรษ 2540 อันเปนผลมาจากวิกฤติการณเศรษฐกิจ นอกจากนั้นรัฐบาลไทยยัง
ใชนโยบายเศรษฐกิจมหภาคที่อนุรักษนิยม ที่ใชอัตราแลกเปลี่ยนคงที่ เปนตัวควบคุมไมใหอัตราเงิน
เฟอสูงเกินไป ดังนั้นเศรษฐกิจไทยจึงมีเสถียรภาพเปนระยะเวลายาวนาน ถึงแมวาการเมืองไมมี
เสถียรภาพเทาที่ควร3 (ดังเห็นไดจากการรัฐประหารที่เกิดขึ้นบอยครั้งและรัฐบาลที่อายุคอนขางสั้น)
อยางไรก็ตามแมความสําเร็จในเรื่องของการขยายตัวทางเศรษฐกิจ จะสงผลตอปญหาความ
ยากจน โดยสัดสวนคนจนในประชากร ที่วัดจากการเปรียบเทียบกับสิ่งที่ถูกเรียกวา “เสนความ
ยากจน” (Poverty Line) โดยพบวาสัดสวนคนยากจนลดลงจากรอยละ 53 ใน พ.ศ. 2529 เหลือเพียง
รอยละ 12 ใน พ.ศ. 2549 หรือลดลงกวาสี่เทาตัวในเวลาเพียงสองทศวรรษ4
แตสําหรับปญหาการความเหลื่อมล้ําทางเศรษฐกิจของสังคมไทย ผลงานที่ผานมาของรัฐ
ไทยถือไดวาทําไดไมดีนัก ดังจะเห็นไดจากความเหลื่อมล้ําทางรายไดของกลุมคนที่รวยที่สุดและ
กลุมคนที่จนที่สุดเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆในชวงสี่ทศวรรษที่ผานมา ประเด็นของการความเหลื่อมล้ําทาง
โอกาสที่จะเขาถึงสินคาและบริการขั้นพื้นฐานที่จําเปนตอการดํารงชีวิต หรือในเปนในเรื่องการ
จั ดสรรทรั พ ยากรที่ ไ ม เ ปน ธรรมระหวา งภาคการผลิตและภูมิภ าค (กรุง เทพฯและต า งจั ง หวั ด )
สามารถกลาวอยางสรุปไดวาแผนพัฒนาเศรษฐกิจที่ดําเนินโดยรัฐไทยตลอดสี่ทศวรรษที่ผานมา ได
สรางความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจบนตนทุนของความเหลื่อมล้ําทางเศรษฐกิจที่สูงขึ้น
ถึงจะมีรัฐบาลบางชุดจะเสนอทางเลือกแกสังคมไทย โดยใชแนวทางที่ตางกันออกไป เชน
นโยบายประชานิยม (Populism) ดังจะเห็นไดจากนโยบาย “เงินผวน” ในสมัยรัฐบาลของ ม.ร.ว. คึก
ฤทธิ์ ปราโมช ในชวงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2518 ถึงมกราคม พ.ศ. 2519 และสมัยรัฐบาลของ พ.ต.ท.
ทักษิณ ชินวัตร ในชวง พ.ศ. 2544 ถึง วันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ที่มีมิติของการกระจายรายได
มากขึ้น แตก็ยังไมสามารถจัดการกับปญหานี้ไดอยางนาพอใจมากนัก
คําถามคือทําไมที่ผานมาสังคมไทยไมเคยมีนโยบายที่จําเปนสําหรับการสรางประชาธิปไตย
ทางเศรษฐกิจ เชน การเก็บภาษีในอัตรากาวหนา การเก็บภาษีทรัพยสิน ภาษีมรดก การปฏิรูปที่ดิน
ห ถึงแมวาในรัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทย ฉบับ พ.ศ. 2550 จะมีอยูแตก็ไมแนวารัฐสวัสดิการ

2
อัมมาร สยามวาลา, สมชัย จิตสุชน, “แนวทางการแกปญหาความยากจน: เสรีนิยม ประชานิยม หรือรัฐ
สวัสดิการ (Tackling Poverty: Liberalism, Populism or Welfare State)”, เอกสารทางวิชาการประกอบการสัมมนา
วิชาการประจําป 2550 เรื่องจะแกปญหาความยากจนกันอยางไร: แขงขัน แจกจาย หรือสวัสดิการ ของมูลนิธิ
สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย ณ วันที่ 10-11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 โรงแรมแอมบาสชาเดอร ซิตี้ จอม
เทียน ชลบุรีหนา 13
3
เพิ่งอาง, หนา 12-13
4
เพิ่งอาง, หนา 2
4
จะเกิดขึ้นในสังคมไทย5 เพราะยังมี “อะไรบางอยาง” ในสังคมไทยที่อยูใน ที่ขัดขวางกระบวนการ
ทําใหเปนประชาธิปไตยทางเศรษฐกิจ ซึ่งการทําใหเปนประชาธิปไตยทางเศรษฐกิจสามารถเกิดขึ้น
ไดผานกระจายรายไดใหแกคนในสังคมผานทางการจัดสรรบริการสาธารณะขั้นพื้นฐานที่จําเปนตอ
การดํารงชีวิต ซึ่งรายไดสําหรับการจัดสรรบริการเหลานั้นมาจากโครงสรางภาษีที่ความกาวหนา
หรือทําการจัดสรรปจจัยการผลิตของคนในสังคมใหมีความเทาเทียมกัน
อยางไรก็ตามเนื้อหาในสวนนี้จะไมไดกลาวถึง “อะไรบางอยาง” ที่เปนปญหาตอการทําให
เปนประชาธิปไตยทางเศรษฐกิจ แตสิ่งที่เนื้อหาในสวนนี้จะทําการกลาวถึงสามารถแบงออกไดเปน
2 สวน สวนที่หนึ่งคือความรุนแรงของปญหาความเหลื่อมล้ําทางเศรษฐกิจ ซึ่งจะเริ่มศึกษาตั้งแต
ทศวรรษ 2500 ที่เปนทศวรรษที่เริ่มตนใชแผนพัฒนาเศรษฐกิจจนถึงทศวรรษ 2540 ที่มีการใช
นโยบายประชานิยม โดยใชการกระจายรายไดเปนตัวแสดงหลัก และมีความไมเสมอภาคทางการ
ดําเนินชีวิตเปนตัวแสดงประกอบ เพื่อไดเห็นสภาพปญหาของความเหลื่อมล้ําทางเศรษฐกิจ ไมวา จะ
เป น ความเหลื่ อ มล้ํ า ระหว า งคนรวยกั บ คนจน หรื อ ความเหลื่ อ มล้ํ า ระหว า งเมื อ งกั บ ชนบท
สวนที่สองจะกลาวถึงสาเหตุของความเหลื่อมล้ําทางดานเศรษฐกิจ โดยจะทําการเนนไปใน
ประเด็นของดํา เนินนโยบายทางเศรษฐกิจจากรัฐไทย ที่มีอคติในการจัดสรรทรัพยากรในภาค
เศรษฐกิจที่ตางกัน เพิกเฉยตอปญหาที่เกิดจากผลกระทบของแผนพัฒนาเศรษฐกิจ รวมไปถึงไมเปด
โอกาสใหกลุมคนที่เสียผลประโยชนไดมีสวนในการกําหนดนโยบาย

1.1 ปญหาความรุนแรงของความเหลื่อมล้ําทางเศรษฐกิจของสังคมไทย

ความเหลื่อมล้ําทางเศรษฐกิจ สามารถแบงออกไดเปน 2 ประเภทใหญๆ ประเภทแรกคือ


ความเหลื่อมล้ําทางดานโอกาส (Inequality of Opportunities) คือการที่มนุษยแตละคนมีโอกาสใน
การเขาถึงทรัพยากรในดานตางๆไมเทากัน สําหรับตัวอยางที่สามารถเห็นไดชัดในสังคมไทยคือการ
ที่มหาวิทยาลัยชั้นนําของประเทศ เชน จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร นักศึกษา
ที่เขาเรียนไดในมหาวิทยาลัยเหลานี้สวนมากเปนนักศึกษาที่มาจากชนชั้นกลางขึ้นไป หรือการที่มี
การแบงประเภทของผูใชบริการของแตละโรงพยาบาลอยางชัดเจน เชน คนที่มีรายไดสูงก็ไปใช
บริการของโรงพยาบาลเอกชน ที่มีการบริการในการดูแลรักษาอยางทั่วถึงและใชบริการอยางไม
แออัดยัดเยียดมากนัก คนที่มีรายไดนอยก็ตองใชบริการโรงพยาบาลของรัฐ ที่การบริการอาจจะไม
ทั่วถึงมากนัก อันเปนผลมาจากการใชบริการกันอยางหนาแนน รวมไปถึงโอกาสในการเขาถึง
ทรัพยากรหรือไดรับการปฏิบัติจากรัฐที่ไมเทากัน ดังเห็นไดจากชาวบานชนชนบทบางแหงไม

5
ในความเห็นของผูเขียนคิดวารัฐสวัสดิการในเมืองไทยเกิดขึ้นไดยาก เพราะสังคมไทยยังไมสามารถผลิต
สวนเกินทางเศรษฐกิจ
5
สามารถจะใชทรัพยากรจากปาสงวน แมจะเปนเพียงแคการเก็บเห็ดหรือหนอไมเพื่อนํามาใชในการ
ประกอบอาหารหรือตัดไมเพื่อนํามากอสรางที่อยูอาศัย แตคนบางกลุมสามารถเขาไปตัดไมในปา
สงวนเพื่อใชในกิจกรรมเกี่ยวกับญาติพี่นองของตน
ประเภทที่สองคือความเหลื่อมล้ําทางดานผลลัพธทางเศรษฐกิจ (Inequality of Outcomes)
คือการที่มนุษยแตละคนถือครองปจจัยการผลิตหรือปจจัยที่จําเปนตอการดํารงชีวิตไมเทากัน เชน
ความเหลื่อมล้ําในการกระจายรายได (กลุมคนที่รวยที่สุดมีรายไดเปน 20 เทาของกลุมคนที่จนที่สุด)
ความเหลื่อมล้ําในเรื่องของการถือครองปจจัยการผลิต ตัวอยางที่เห็นไดชัดในสังคมไทยคือ การที่
คนบางคนมีรายไดที่สามารถไปซื้อสโมสรฟุตบอลในตางประเทศได แตคนอีกกลุมไมมีแมแตเงินที่
จะสงเสียใหบุตรหลานของตนเองเรียนหนังสือ หรือจะเปนในกรณีที่คนบางกลุมถือครองที่ดินเปน
จํานวนมาก ในขณะที่คนอีกกลุมหนึ่งนอกจากไมมีที่ดินเปนของตนเองแลว ยังถูกเจาของที่ดินไลที่
อีกเพราะจะนําที่ดินไปกอสรางหางสรรพสินคา รวมไปถึงเงินที่ใชในการทํากิจกรรมสวนตัวของ
คนบางกลุม มีคามากกวาสินทรัพยของชนชั้นกลางบางคนเสียอีก
ความเหลื่อมล้ําทางเศรษฐกิจทั้งสองประเภทมีความสัมพันธซึ่งกันและกัน ในทางหนึ่ง
ความเหลื่อมล้ําทางโอกาสจะทําใหเกิดความเหลื่อมล้ําทางผลลัพธขึ้น เพราะการที่มนุษยแตละคน มี
โอกาสในการเขาถึงทรัพยากรในแตละดานที่ตางกันจะทําใหผลลัพธ (ที่อาจจะแสดงออกผาน
รายได) ตางกัน เชนการที่คนจํานวนหนึ่งในสังคมไมสามารถเขาถึงการศึกษา ทําใหพวกเขาไม
สามารถเขาไปทํางานในตลาดแรงงานที่มีคุณภาพได ทําใหไมมีรายไดที่สูงมากนัก ในขณะที่คนอีก
จํานวนหนึ่งที่มีโอกาสไดรับการศึกษา ทําใหพวกเขาเขาไปสูตลาดแรงงานที่มีคุณภาพได
และในอีกทางหนึ่งความเหลื่อมล้ําทางผลลัพธจะนําไปสูความเหลื่อมล้ําทางโอกาส เพราะ
การที่คนกลุมหนึ่งไมมีสินทรัพยหรือรายไดอยางเพียงพอ จะมีผลทําใหคนกลุมนี้ไมมีโอกาสในการ
เขาถึงทรัพยากรที่จําเปนในการดําเนินชีวิต เชนครอบครัวที่มีรายไดยากจนไมสามารถสงเสียบุตร
หลานของตนเองให ไ ด รับ บริ ก ารด า นการศึก ษาในระดั บสูง ได หรื อไม สามารถเขา ถึง บริก าร
สาธารณสุขได
สรุปไดวาความเหลื่อมล้ําทางดานโอกาสจะนํามาซึ่งความเหลื่อมล้ําทางดานผลลัพธ และ
ในทางกลับกันความเหลื่อมล้ําทางดานผลลัพธจะนํามาซึ่งความเหลื่อมล้ําทางดานโอกาส ตัวอยางที่
เห็นไดชัดคือวงจรอุบาท (Vicious Cycle) โดยคนที่มีฐานะยากจนจะไมสามารถเขาถึงทรัพยากรที่
จําเปนตอตัวเขาเอง เชนบริการดานสาธารณสุขหรือการศึกษา ซึ่งมีผลตอการลดศักยภาพในการหา
รายไดของเขา มีผลทําใหเขายังตกอยูในฐานะที่ยากจนอีกตอไป
สําหรับเนื้อหาในสวนนี้ ตัวแทนที่แสดงถึงความเหลื่อมล้ําในสังคมไทยคือ ความเหลื่อมล้ํา
ในการกระจายรายได ซึ่งในที่นี้จะเปนขอแบงเปนสองประเด็น ประเด็นแรกคือความเหลื่อมล้ําทาง
รายไดระหวางคนรวยกับคนจน ประเด็นที่สองคือความเหลื่อมล้ําทางรายไดระหวางพื้นที่ โดยจะ
เริ่มศึกษาตั้งแตชวงทศวรรษ 2500 ถึง ทศวรรษ 2540 ซึ่งเปนชวงสี่ทศวรรษที่สังคมไทยเขาสูทุน
6
นิยมอุตสาหกรรมที่เนนบทบาทของผูผลิตภาคเอกชนเปนหลัก ซึ่งความเหลื่อมล้ําทางการกระจาย
รายไดเปนผลมาจากความเหลื่อมล้ําทางผลลัพธและความเหลื่อมล้ําทางดานโอกาส
เริ่ ม จากประเด็ น ความเหลื่ อ มล้ํ า ทางรายได ร ะหว า งคนรวยกั บ คนจน ซึ่ ง วั ด จาก Gini
Coefficient (มีคาตั้งแต 0-1 โดยคายิ่งสูงเทาไหรยิ่งแสดงถึงความเหลื่อมล้ําทางรายไดที่สูงขึ้นของ
สังคมนั้น) และสัดสวนของรายไดระหวางกลุมคนรอยละ 20 ที่มีรายไดสูงที่สุดและกลุมคนที่มี
รายไดนอยที่สุดรอยละ 20 ที่มีรายไดต่ําที่สุด
ในทศวรรษ 2500 ปญหาความเหลื่อมล้ําระหวางคนรวยกับคนจนของไทยมีความรุนแรง
นอยกวาประเทศในกลุมเอเชียตะวันออกเฉียงใต ซึ่งมีคา Gini Coefficient เทากับ 0.5 แตปญหานี้ก็
ยังมีความรุนแรงมากกวากลุมประเทศในเอเชียตะวันออกที่มีคา Gini Coefficient เทากับ 0.36
หลังจากการพัฒนาใหทันสมัยเริ่มตนขึ้น ผานแผนพัฒนาเศรษฐกิจแหงชาติพบวา ความ
เหลื่ อ มล้ํ า ทางรายได ร ะหว า งคนรวยกั บ คนจนมี ช อ งว า งที่ ถ า งขึ้ น เรื่ อ ยๆ ซึ่ ง สามารถศึ ก ษา
ปรากฏการณนี้ไดจากคา Gini Coefficient ที่มีแนวโนมเพิ่มขึ้น โดยเพิ่มจาก 0.413 ใน พ.ศ. 2505
เปน 0.441 ใน พ.ศ. 2524 เพิ่มขึ้นเปน 0.507 ใน พ.ศ. 2535 มีการลดลงใน พ.ศ. 2537 เปน 0.495
และกลับเพิ่มขึ้นอีกใน พ.ศ. 2541 เปน 0.5227 แสดงใหถึงความถดถอยในการกระจายรายไดของ
สังคมไทย โดยสังคมไทยในปจจุบันถือไดวาเปนสังคมที่มีการกระจายรายไดแยที่สุดแลวตาม
มาตรฐานโลก โอกาสที่จะแยลงอีกคงเปนไปไดยาก8
สวนในเรื่องของสัดสวนรายไดของสัดสวนของรายไดระหวางกลุมคนรอยละ 20 ที่มี
รายไดสูงที่สุดและกลุมคนที่มีรายไดนอยที่สุดรอยละ 20 ที่มีรายไดต่ําที่สุด พบวาเพิ่มขึ้นจาก 12.8
เทาใน พ.ศ. 2529 เปน 15.9 เทาในป พ.ศ. 25499 หรือจะวัดสวนแบงรายไดทั้งประเทศของคนที่รวย
ที่สุดรอยละ 10 พบวาสวนแบงรายไดเพิ่มขึ้นจาก รอยละ 34.1 ในป พ.ศ. 2521 ไปเปน รอยละ 45.1
ในป พ.ศ. 254110 ซึ่งแสดงใหเห็นวาในชวงเวลาสี่ทศวรรษแหงการพัฒนาเศรษฐกิจที่ผานมา
ชองวางระหวางคนรวยกับคนจนไดถางกวางขึ้นเรื่อยๆ และถึงแมวาในชวง พ.ศ. 2544-2547 พบวา
การกระจายรายไดดีขึ้นอยางชัดเจน โดยเห็นไดจากรายไดระหวางกลุมคนรอยละ 20 ที่มีรายไดสูง
ที่สุดและกลุมคนที่มีรายไดนอยที่สุดรอยละ 20 ที่มีรายไดต่ําที่สุดลดลงจาก 13.2 เทาใน พ.ศ. 2545
เหลือ 12.1 เทา พ.ศ. 2547 แตเมื่อถึง พ.ศ. 2549 กลับเพิ่มขึ้นเปน 15.9 เทา ซึ่งเปนคาที่สูงที่สุดใน
รอบยี่สิบป โดยการที่การกระจายรายไดดีขึ้นเปนผลจากการใชนโยบายประชานิยม แตเมื่อเงินที่ใช

6
Ikemoto, Yukio, “Income Inequality and Kuznets’ Hypothesis in Thailand” in Asian Economic Journal 2000,
Vol. 14, No. 4, p.422
7
Ibid., p.424, Table 1 : Gini Coefficient and Poverty in Thailand
8
อัมมาร สยามวาลา, สมชัย จิตสุชน, อางแลว, หนา 3
9
เพึ่งอาง, หนา 3, ตารางที่ 1
10
Ikemoto, Yukio, and Mine Uehara, Op. Cit., p.426
7
จายนอยลงในชวง พ.ศ. 2548-2549 การกระจายรายไดก็กลับแยลง อันแสดงใหเห็นถึงความไม
ยั่งยืนของการใชนโยบายประชานิยม11 ซึ่งรูปแบบการกระจายรายไดของนโยบายประชานิยมผูเขียน
ขออนุญาตไปกลาวถึงในสวนที่สองของเนื้อหาในสวนนี้
สําหรับประเด็นของความเหลื่อมล้ําทางรายไดระหวางพื้นที่ ซึ่งวัดจากการเปลี่ยนแปลงใน
ผลผลิตมวลรวมของภูมิภาค (GRP-Gross Regional Products) ในทศวรรษ 2500 คา GRP ตอหัว
ของภาคกลาง (รวมกรุงเทพดวย) มีมูลคาเปนสามเทาของภาคตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งเปนพื้นที่ที่
ยากจนที่สุด ตอมาใน พ.ศ. 2516 ชองวางระหวางกรุงเทพฯกับภูมิภาคอื่นๆสูงขึ้นไปอีก โดย GRP
ตอหัวของกรุงเทพฯมีมูลคาเปนสามเทาของภาคกลาง และเปนสิบเทาของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ทิศทางเชนนี้ยังดําเนินตอมาถึงในปจจุบัน12
สําหรับตัวแปรที่สามารถเปนตัวแทนของปรากฏการณไดดีอีกตัวแปรหนึ่งคือ สวนแบง
ของ GDP ของกรุงเทพฯ โดยใน พ.ศ. 2516 กรุงเทพฯมีสวนแบง GDP รอยละ 26.40 ของ GDP ทั้ง
ประเทศ แตในป พ.ศ. 2539 สวนแบง GDP ของกรุงเทพฯ ไดเพิ่มเปนรอยละ 51.20 ของ GDP ทั้ง
ประเทศ13 หรือจะเปนในเรื่องของสวนแบงรายได โดยคนในกรุงเทพฯและปริมณฑล มีสวนแบง
รายไดเปนสัดสวนถึงรอยละ 29.1 ของรายไดของคนทั้งประเทศ ซึ่งมากกวารายไดรวมของทุกพื้นที่
ในประเทศไทย 14
สําหรับสิ่งที่ควรศึกษาไปพรอมกับความเหลื่อมล้ําทางการกระจายรายได คือเรื่องของการ
เปลี่ยนแปลงโครงสรางทางเศรษฐกิจ การพัฒนาเศรษฐกิจเปนอุตสาหกรรมมากขึ้นเปนเวลาสี่
ทศวรรษมีผลทําให ภาคอุตสาหกรรมมีการขายตัวอยางรวดเร็ว แตตนทุนที่ตองจายไปพรอมกับการ
ขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมคือทรัพยากรที่ถูกดึงออกไปจากภาคเกษตรกรรมซึ่งเปนภาคที่มีการ
จางงานมากที่สุด15
โดยการเปลี่ยนแปลงในสวนแบงของ GDP ในแตละภาคเศรษฐกิจตางๆ เห็นไดจากสวน
แบง GDP ของภาคเกษตรกรรมลดลงจากรอยละ 40 ในทศวรรษ 2500 ไปเปนรอยละ 25.9 ใน
ทศวรรษ 2510 จนเหลือเพียงประมาณรอยละ 11 ในปจจุบัน ซึ่งสวนทางกับภาคอุตสาหกรรมที่สวน
แบงของ GDP เพิ่มขึ้นจากรอยละ 11.5 ในชวงทศวรรษไปเปนมากกวารอยละ 28 ในปจจุบัน16

11
อัมมาร สยามวาลา, สมชัย จิตสุชน, อางแลว, หนา 22
12
Isra Sarntisart, “Growth, Structural Change, and Inequality : The Experience of Thailand”,in Inequality, in
Growth, and Poverty in An Era of Liberalization and Globalization, edited by Giovanni Andrea Cornia,
(Oxford : Oxford University Press, 2004) p. 414-415
13
Ibid., Table 16.6 : Regional Share of GRP at Current Prices by Industry, Various Years (Percentage), p. 415
14
อัมมาร สยามวาลา, สมชัย จิตสุชน, อางแลว, หนา 4
15
Isra Sarntisart, Op. Cit., p.407
16
Ibid., p.406-407
8
เห็นไดวาผลจากการเปลี่ยนโครงสรางทางเศรษฐกิจในชวงสี่ทศวรรษที่ผานมา มีผลให
ความกระจุกตัวทางเศรษฐกิจไปอยูที่ศูนยกลางของประเทศมากขึ้น ทําใหกรุงเทพและปริมณฑล
กลายเปนศูนยกลางเศรษฐกิจเพียงแหงเดียวเปนผลจากการที่เปนศูนยกลางของภาคอุตสาหกรรม
บริการและอุตสาหกรรมการบริการดานการเงิน รวมทั้งยังเปนจุดขนถายสินคาไปยังตางประเทศ
อาจจะสามารถสรุปไดวา ความเหลื่อมล้ําระหวางคนรวยและคนจนที่มากขึ้น เปนผลมาจากการ
เปลี่ยนแปลงโครงสรางทางเศรษฐกิจของประเทศ เพราะคนที่มีรายไดสูงที่สุดรอยละ 10 เปนคน
รวยและชนชั้ น กลางที่ เ ป นผลผลิต ของการเจริ ญเติบ โตทางเศรษฐกิจ โดยคนกลุ มนี้ทํ า งานใน
ภาคอุตสาหกรรมและภาคการเงิน สวนใหญแลวคนกลุมนี้อาศัยอยูในกรุงเทพฯ17
สวนคนที่จนสวนใหญคือเกษตรกรในชนบท และคนที่ทํางานเปนแรงงานไรฝมือในโรงงาน
อุตสาหกรรม ซึ่งเปนเกษตรกรที่ไรที่ดินหรือถือครองที่ดินเพียงเล็กนอยที่อพยพตามชวงฤดูกาลที่
ขึ้นอยูกับกิจกรรมทางการเกษตรที่มีอัตราการคาจางที่คอนขางต่ํา หรืออาจจะกลาวไดอีกแบบหนึ่ง
วาความเหลื่อมล้ําทางดานการกระจายรายไดเปนผลมาจากความเหลื่อมล้ําในการรับผลประโยชน
ในการพัฒนาที่ตางกัน
สําหรับการเกิดขึ้นของแรงงานอพยพเปนผลมาจาก คือปญหาการสูญเสียการถือครองใน
ที่ดินของชาวนารายยอยที่เพิ่มขึ้น ดังเห็นไดจากขอมูลของกรมพัฒนาที่ดินพบวา ในชวง พ.ศ. 2502-
2509 ชาวนาสูญเสียที่ดินดวยการขายฝากและจํานองเปนจํานวน 172,869 ไร และเฉพาะในภาค
กลางอยางเดียวชาวนาสูญเสียที่ดินประมาณ 92,401 ไร มีผลทําใหชาวนาไรที่ดินเพิ่มมากขึ้น ซึ่ง
ชาวนาไรที่ดินเหลานี้ตองไปเปนแรงงานรับจางในเมืองหรือชาวนารับจาง18 สวนใหญแลวเกษตรกร
ที่เขาไปจับจองที่ดินที่ไมถูกตองตามกฎหมายคือเกษตรกรรายยอยที่เขาไปบุกเบิกพื้นที่ตามปาเขาที่
ยังไมมีผูใดเคยจับจอง
หรือจากหลักฐานเชิงประจักษยังพบวา ในทศวรรษ 2530 เกษตรกรประมาณสิบถึงสิบสอง
ลานคน เปนผูบุกรุก “ปา” (นิยามของ “ปา” ในทางกฎหมายคือพื้นที่ที่ไมมีผูใดครอบครองอยู) ซึ่ง
เกษตรกรเหลานี้คือผูที่ไมถือครองที่ดินที่ใชในการเกษตรถูกตองตามกฎหมาย เกษตรกรไมมีสิทธิ
ในที่ดินทํากินเหลานี้ โดยจากขอมูลใน พ.ศ. 2528 พบวาพื้นที่ของปาที่จับจองถือวาผิดกฎหมายมี
พื้นที่ถึง 71.9 ลานไรหรือคิดเปนรอยละ 37.2 ของพื้นที่จับจองทั้งหมด สวนโฉนดที่ดินที่ถูกตอง
ตามกฎหมาย (น.ส. 4) มีพื้นที่เพียงแค 18.4 ลานไร หรือคิดเปนรอยละ 9.5 ของพื้นที่ทั้งหมด19

17
Ikemoto, Yukio, and Mine Uehara, Op. Cit., p.425
18
กนกศักดิ์ แกวเทพ, ประวัติการเคลื่อนไหวของชาวนาไทยจากอดีต-ปจจุบัน : บทวิเคราะหทางเศรษฐศาสตร
การเมือง (กรุงเทพฯ : สมาคมสังคมศาสตรแหงประเทศไทย, 2526), หนา 111
19
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมไดจาก ผาสุก พงษไพจิตร, คริส เบเกอร, เศรษฐกิจการเมืองไทยสมัยกรุงเทพฯ, (เชียงใหม
: สํานักพิมพซิลคเวอรม, 2546) หนา 76 ตารางที่ 2.5 สภาพทางกฎหมายของที่ถือครอง พ.ศ. 2528
9
จากเนื้อหาในสวนนี้จะเห็นไดวาการทําใหทันสมัยโดยรัฐไทยมีผลทําใหความเหลื่อมล้ํา
ทางเศรษฐกิจในสังคมไทยสูงขึ้นและคนที่อยูในสถานะที่ยากจนตองเผชิญกับชีวิตที่ลําบากยิง่ ขึน้ ไป
อีก ในชวงสี่ทศวรรษแหงการพัฒนาที่ผานมา แลวคําถามตอมาคือรัฐไทยใชนโยบายอยางไรละ ถึง
ทําใหเกิดการกระจายผลแหงการพัฒนาที่ไมเทาเทียมกัน?
ดังนั้นในสวนตอไปจะกลาวถึงสาเหตุของความเหลื่อมล้ําทางเศรษฐกิจ ที่เปนผลจากการ
กําหนดนโยบายของรัฐบาล ที่มีผลใหเกิดการจัดสรรทรัพยากรที่ไมเปนธรรม

1.2 ปจจัยที่มีผลตอความเหลื่อมล้ําทางเศรษฐกิจในสังคมไทย : นโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจของ


รัฐบาลไทย นับตั้งแตทศวรรษ 2500 ถึงทศวรรษ 2540

ปจจัยหนึ่งที่มีผลเปนอยางมากตอการทําใหปญหาความเหลื่อมล้ําทางดานเศรษฐกิจใน
สังคมไทยรุ น แรงขึ้ นในรอบสี่ทศวรรษคือ นโยบายของรัฐบาลไทย นับตั้ ง แตสมัย เริ่มต นของ
แผนพัฒนาเศรษฐกิจ
จุดเริ่มตนของแผนพัฒนาเศรษฐกิจของรัฐไทยในทศวรรษ 2500 โดยไดรับทุนกูยืมจาก
สหรัฐอเมริกา ดังเห็นไดจากซึ่งในชวง พ.ศ. 2501-2502 ไทยไดรับเงินชวยเหลือเปนจํานวนเงิน 58.9
ล า นเหรี ย ญสหรัฐ อเมริ ก า 20 อั น เป น ผลมาจากความสั มพั น ธ ที่ดี ร ะหวา งรั บ บาลไทยกับ รั ฐ บาล
สหรัฐอเมริกาในชวงเวลานั้นและเปนสวนหนึ่งของแผนตอสูกับ “ลัทธิคอมมิวนิสต” ในเอเชีย
ตะวันออกเฉียงใต
สําหรับสวนของแนวทางการดําเนินนโยบายนั้น มาจากเอกสารฉบับหนึ่งที่เปนรายงานของ
คณะสํารวจเศรษฐกิจไทยโดยทั่วไป (General Survey Mission) โดยขอเสนอแนะทางนโยบายตอ
รั ฐ บาลไทยของเอกสารฉบั บ นี้ ส ามารถสรุ ป ได ดั ง นี้ ให รั ฐ บาลถอนตั ว จากการลงทุ น ใน
ภาคอุตสาหกรรมและใหภาคเอกชนมีบทบาทในการลงทุนดานอุตสาหกรรมมากขึ้น รวมทั้งให
ปรับปรุงกฎหมายสงเสริมการลงทุนเพื่อสรางความมั่นในใหกับเอกชน21 สวนหนาที่ของรัฐบาลคือ
นํางบประมาณของตนและเงินกูจากตางประเทศในการสรางโครงสรางขั้นพื้นฐาน เชน ถนน ระบบ
ชลประทาน และไฟฟา รวมไปถึงลงทุนใน “ภาคสังคม” เพื่อสงเสริมการศึกษา การสาธารณสุข การ

20
ทักษิ์ เฉลิมเตียรณ, อางแลว หนา 282
21
เนื่องจากในสมัยรัฐบาล ของจอมพล ป.พิบูลสงคราม ไทยใชนโยบาย “เศรษฐกิจแบบชาตินิยม” ที่เนนการ
ลงทุนของภาครัฐบาลและยังทําการยึดกิจการเอกชนโดยเฉพาะของชาวจีนเปนของรัฐบาลอีกดวย ไมสนับสนุนให
ตางชาติเขามาลงทุน
10
เคหะ22 เพื่อสงเสริมการลงทุนในดานอุตสาหกรรมของประเทศ และพัฒนาศักยภาพของทรัพยากร
มนุษยเพื่อเปนกําลังสําคัญในการพัฒนาประเทศ
ดูเหมือนวาแผนพัฒนาเศรษฐกิจแหงชาติของสังคมไทยจะลืมนึกถึงคําที่ถูกเรียกวา “ความ
เสมอภาคทางเศรษฐกิจ” ไป ถึงแมวาแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจแบบเสรีนิยมจะอางวาการเติบโต
ทางเศรษฐกิจจะทําใหเกิด Trickle-Down ที่ทําใหความยากจนลดลง แตอยางไรก็ตามการลดลงของ
ความยากจนของคนในสังคม (ที่วัดจาก “เสนความยากจน”) ไมไดหมายความวาความเหลื่อมล้ําทาง
เศรษฐกิจจะหมดไป ตรงกันขามความเหลื่อมล้ําทางเศรษฐกิจในสังคมไทยกลับเพิ่มขึ้นเสียอีก
ถึงแมวาระบบเศรษฐกิจจะทะยานเติบโตไปอยางรวดเร็ว
เนื่องจากการเติบโตทางเศรษฐกิจของสังคมไทยที่มีภาคอุตสาหกรรมเปนแรงขับเคลื่อนที่
สําคัญ ตองแลกมาดวยการทอดทิ้งภาคเกษตรกรรม อันเปนผลจากการจัดสรรทรัพยากรที่เนน
ความสําคัญของภาคอุตสาหกรรมมากกวา โดยบทบาทของรัฐไทยที่มีตอการจัดสรรทรัพยากรคือ
การใชมาตรการทางภาษีที่ปกปองสินคาอุตสาหกรรมทดแทนการนําเขาภายในประเทศ (Import-
Substitution) โดยการตั้งกําแพงภาษี มีผลใหราคาสินคาอุตสาหกรรมมีราคาสูงขึ้น ซึ่งสวนมาก
สินคาอุตสาหกรรมกระจุกตัวอยูในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลรวมไปถึงภาคกลาง ทําใหเกิดการ
กระจุกตัวของรายไดในภูมิภาคนี้ คนที่อยูในพื้นที่อื่นๆตองซื้อสินคาอุตสาหกรรมที่มีราคาแพง แต
ในทางกลับกันสินคาเกษตรกลับถูกกดราคาลงเพื่อรักษาระดับคาจางแรงงานที่ต่ําเอาไว โดยตัวอยาง
การกดราคาสินคาเกษตรที่เห็นไดชัดคือในกรณีของพรีเมียมขาว ที่เปนการเก็บภาษีสงออกขาวจาก
ชาวนา ผานทางการซื้อขาวในราคาที่ถูกและนําไปสงออกในราคาที่สูง พรีเมียมขาวนอกจากจะทํา
ใหรัฐบาลไดกําไรแลว ยังมีผลในการกดอัตราเงินเฟอใหอยูในระดับที่ต่ําดวยทําใหไมมีความจําเปน
ที่จะตองขึ้นเงินเดือนของราชการ ซึ่งผลกระทบจากพรีเมียมขาวตอชาวนา นักเศรษฐศาสตรคนหนึ่ง
เคยคํานวณไววาพรีเมียมขาวทําใหรายไดของชาวนาลดลงเฉลี่ยรอยละ 2523 ซึ่งวากันวาแนวทางการ
พัฒนาเชนนี้ไดรับอิทธิพลจากแนวคิดการพัฒนาที่ไมสมดุลตามแนวทางของ M.O.Hirschman24
สามารถกล า วแบบสรุ ป ได ว า รั ฐ บาลพยายามดึ ง ส ว นเกิ น จากภาคเกษตรกรรมมาสู
ภาคอุตสาหกรรม โดยการทําใหอัตราการคาระหวางสินคาอุตสาหกรรมกับสินคาเกษตรกรรม
สูงขึ้น ซึ่ งสงผลตอผูทําอาชีพเกษตรกรรมตองรับตน ทุน ปจ จัยการผลิตในราคาที่สูง ดังจะเห็ น
ตัวอยางไดจากชาวนาที่ตองแบกรับตนทุนปุยในราคาที่สูง โดยราคาปุยเมื่อเทียบกับราคาขาวของ

22
อัมมาร สยามวาลา, สมชัย จิตสุชน, อางแลว, หนา 12
23
ผาสุก พงษไพจิตร, คริส เบเกอร, อางแลว, หนา 41
24
เสนห จามริก, การเมืองไทยกับพัฒนาการทางรัฐธรรมนูญ, (กรุงเทพฯ : มูลนิธิโครงการตําราสังคมศาสตรและ
มนุษยศาสตร, 2549), หนา 263
11
ไทยสูงกวาในญี่ปุน 5 เทา อันเปนผลมาจากนโยบายการปกปองสินคาอุตสาหกรรมรวมกับผลจาก
พรีเมียมขาว25 ทําใหชาวนาเสียเปรียบพอคาคนกลางที่นําสินคาอุตสาหกรรมจากในเมืองมาขาย
สําหรับการปกปองสําหรับภาคอุตสาหกรรมของประเทศ ผลประโยชนไดตกไปอยูแกคนที่
มีรายไดสูง ซึ่งเปนคนที่อาศัยอยูในกรุงเทพฯและปริมณฑลเปนสวนใหญ26 อาชีพที่ไดรับประโยชน
จากนโยบายนี้ไดแก อาชีพวิศวกรและอาชีพที่เกี่ยวของกับการบริหารองคกร และในขณะเดียวกัน
นโยบายสงเสริมอุตสาหกรรมที่กดกดราคาสินคาเกษตรเปนนโยบายที่สรางความเดือดรอนใหแก
เกษตรกร ซึ่งเปนคนสวนใหญของประเทศในขณะนั้น
ถึงแมวานับตั้งแตแผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2530-2534) เปนตนมา จะให
ความสําคัญกับการพัฒนาภาคเกษตรกรรมมากขึ้นและเพิ่มมิติในเรื่องของการลดความเหลื่อมล้ํา
ทางดานเศรษฐกิจมากขึ้น แตจากขอมูลของการกระจายรายไดและโครงสรางทางเศรษฐกิจของ
สังคมไทย แตดูเหมือนวาความพยายามในการที่จะแกไขขอผิดพลาดจากการดําเนินนโยบายตาม
แผนพัฒนาเศรษฐกิจยังไมประสบความสําเร็จเทาที่ควร
นอกจากความเหลื่ อ มล้ํ า ในการได รั บ ผลประโยชน ใ นการพั ฒ นาเศรษฐกิ จ ที่ ต า งกั น
นโยบายอีกประการหนึ่งที่รัฐบาลไทยที่ทําใหปญหาของภาคเกษตรโดยเฉพาะเกษตรกรรายยอยแย
ลงไปอีกคือนโยบายสงเสริมสินคาเกษตรขนาดใหญ ซึ่งคนที่ไดประโยชนคือเกษตรกรที่มีฐานะดี
ทําใหเกษตรกรที่ฐานะดีอยูแลวมีฐานะดียิ่งขึ้นไปอีก เพราะเกษตรกรเหลานี้มีเงินทุนหรือมีทดี่ นิ มาก
พอสมควร ที่สามารถปรับตัวไปตามกลไกตลาดได ซึ่งขอไดเปรียบของเกษตรกรเหลานี้ คือการ
สามารถเขาถึงตลาดเงินทุนเนื่องจากมีหลักทรัพยในการค้ําประกัน มีพื้นที่ที่ขนาดใหญพอที่จะทํา
ใหเกิดการประหยัดจากขนาด และมีเงินทุนในการที่จะเขาถึงเทคโนโลยีในการผลิตใหมๆได เปน
ผลมาจากการปรับปรุงการผลิตใหทันสมัยขึ้นนั้น รัฐบาลไมไดแกปญหาในเรื่องของการใหสินเชื่อ
การปฏิรูปที่ดิน การประกันราคาที่เหมาะสม ซึ่งถางชองวางระหวางฐานะเกษตรกรที่มีฐานะดีกับ
เกษตรกรที่มีฐานะไมดีเพิ่มขึ้น27
เมื่อผลของการพัฒนาประเทศที่ไมสมดุลรวมกับผลปญหาความเหลื่อมล้ําในการถือครอง
ที่ดินทําให เกษตรกรโดยเฉพาะกลุมที่มีที่ดินจํานวนนอยหรือไรที่ดิน ตองกลายเปนชาวนารับจาง
หรือไมก็เปนแรงงานอพยพออกไปทํางานในเมืองนอกชวงฤดูกาลเก็บเกี่ยว และแรงงานอพยพ
บางสวนก็ทํางานในเมืองนานขึ้นอันเปนผลมาจากการทํานาไดผลนอยลง ความตองการแรงงานใน
ชนบทมีความไมแนนอน รวมไปถึงราคาปจจัยการผลิตที่สูงขึ้นโดยเปรียบเทียบกับราคาผลผลิต28

25
ผาสุก พงษไพจิตร, คริส เบเกอร, อางแลว, หนา 41-42
26
Isra Sarntisart, opcit, p.412-414
27
กนกศักดิ์ แกวเทพ, อางแลว, หนา 112
28
ผาสุก พงษไพจิตร, คริส เบเกอร, อางแลว, หนา 49
12
เนื่องจากประวัติศาสตรที่ผานมาที่รัฐไทยไมเคยทําการปฏิรูปที่ดินอยางมีประสิทธิภาพ29
ไมวาจะเปนการซื้อที่ดินจากเอกชน แลวนํามาแจกจายใหกับเกษตรกรไรที่ดินทํากิน หรือเปนการตัง้
ภาษี ที่ ดิ น หรื อ ภาษี ม รดกในอั ต ราที่ ก า วหน า เพื่ อ ลดแรงจู ง ใจในการถื อ ครองที่ ดิ น ขนาดใหญ
ถึงแมวารัฐไทยจัดการกับปญหานี้ ผานทางการออก สปก 4-01 ที่นําพื้นที่ปามาแจกจายแกเกษตรกร
แตก็ไมไดทําใหชีวิตของเกษตรกรไทยดีขึ้นนัก เพราะ สปก 4-01 ไมถือวาเปนโฉนดที่ดิน ดังนั้น
แลวจึงไมสามารถใชเปนหลักทรัพยค้ําประกันเงินกูได และที่ดินที่นํามาจัดสรรใหกับเกษตรกรเปน
ที่ดินที่ไมคอยมีคุณภาพ ทําใหการประกอบอาชีพของเกษตรกรไมมีประสิทธิภาพเทาที่ควร
อยางไรก็ตามการอพยพเขาไปทํางานในเมืองเปนแรงงานรับจางของเกษตรกรไรที่ดินหรือ
มีที่ดินจํานวนนอยก็ไมไดทําใหชีวิตของพวกเขาดีขึ้นเสมอไป เพราะพวกเขาถูกนายจางกดคาแรง
หรือใชทํางานหนักกวาที่ควรจะทํา ถึงแมวาจะมีกฎหมายคาจางขั้นต่ํา (The Minimum Wage Bill)
ออกมาในวันที่ 14 กุมภาพันธ พ.ศ. 2516 ที่บังคับใหนายจางตองจายคาจางขั้นต่ําตามคาครองชีพแต
ละพื้นที่ โดยจุดประสงคของกฎหมายนี้คือตองการทําใหเกิดการกระจายรายไดที่ดีดวย แตผลของ
มันไมคอยชัดเจนนัก เพราะจากผลการสํารวจใน พ.ศ. 2536 มีสัดสวนแรงงานไดรับการคุมครอง
ดวยกฎหมายฉบับนี้เพียงรอยละ 26 เทานั้น30
จากเนื้อหาทั้งหมด ในบทนี้สามารถสรุปไดวาที่ผานมารัฐไทยสามารถจัดการกับปญหา
ความเหลื่อมล้ําทางเศรษฐกิจไดเลวมาก ดังจะเห็นไดจากการกระจายรายไดที่มีแนวโนมแยลงเรือ่ ยๆ
ระหวางคนรวยกับคนจน หรือการกระจุกตัวทางรายไดที่ศูนยกลางทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือ
ปญหาความเหลื่อมล้ําทางการจัดสรรทรัพยากรระหวางภาคเกษตรกรรมและภาคอุตสาหกรรม
ถึงแมวาที่ผานมารัฐบาลไทยพยายามแกปญหาเหลานี้ ผานทางการใชนโยบายตางๆเชน
นโยบายประชานิยม ในชวงพ.ศ. 2544-2547 เชน นโยบายการพักชําระหนี้เกษตรกร โครงการ
กองทุนหมูบาน แตอยางไรก็ดีผลจากนโยบายประชานิยมไมมีความยั่งยืนในการแกปญหาความ
เหลื่อมล้ําทางการกระจายรายไดดังที่ไดกลาวไปในขางตนแลว รวมไปถึงนโยบายประชานิยมไมได
นําเสนอแนวทางที่จะแกปญหาความเหลื่อมล้ําทางเศรษฐกิจในระยะยาวเชนนี้ เชน การปฏิรูปที่ดิน
การเก็บภาษีทรัพยสิน31 รวมไปถึงการประกันราคาสินคาเกษตร หรือจะเปนการดําเนินนโยบายอัน
เปนผลมาจากการกดดันทางเมืองของกลุมผลประโยชนตางๆ ดังจะเห็นไดจากตัวอยางของการ

29
ผูเขียนคิดวาสาเหตุหลักสําคัญประการหนึ่ง คือเจาของที่ดินขนาดใหญในประเทศไทยมักจะเปนผูที่มีอํานาจทาง
การเมือง โดยเฉพาะเจาที่ดินรายใหญที่สุด ซึ่งมีทั้งอํานาจและบารมี
30
Isra Sarntisart, Op. Cit., p. 417
31
อัมมาร สยามวาลา, สมชัย จิตสุชน, อางแลว, หนา 17,19
13
เคลื่อนไหวของกลุมชาวนาในทศวรรษ 2510 ที่เรียกรองใหเลิกเก็บคาพรีเมียมขาว ซึ่งรัฐบาลคอยๆ
ลดคาพรีเมียมขาวลงเรื่อยๆจนยกเลิกการเก็บคาพรีเมียมขาวไปใน พ.ศ. 252832
สวนในการคาใชจายดานรัฐสวัสดิการที่พิจารณาจากคาใชจายเพื่อสวัสดิการสังคมทั้งหมด
ของประเทศไทยยังคอนขางต่ํามากเมื่อเทียบกับประเทศอื่น โดยใน พ.ศ. 2549 คาใชจายรัฐ
สวัสดิการของไทยมีสัดสวนเพียงรอยละ 2.3 ของ GDP เทานั้น สําหรับรัฐไทยคาใชจายดาน
สวัสดิการที่ภาครัฐใหความสําคัญมากที่สุดคือดานการรักษาพยาบาล รองลงมาคือดานชราภาพ
สวนสวัสดิการดานแรงงานเปนสวัสดิการที่ใหความสําคัญนอยที่สุด สามารถสรุปไดวารัฐไทยไม
สามารถเรียกตัวเองไดวาเปนรัฐสวัสดิการ อันเนื่องมาจากการใชจายในดานสวัสดิการทางดาน
สังคมคอนขางต่ําและการคุมครองยังไมครอบคลุม33 ดังเห็นไดจากกรณีกฎหมายแรงงานขั้นต่ํา
จากข อมูลที่ ผูเ ขี ย นได นํ าเสนอมาสังคมไทยยังประสบป ญ หาความเหลื่อมล้ําทางด าน
เศรษฐกิจ ถึงแมวาจะมีการยกเลิกนโยบายที่สงผลตอความเหลื่อมล้ําไปแลวบางสวนหรือมีการ
ผลักดันนโยบายใหมๆที่ตองการบรรเทาปญหานี้ลง แตนโยบายเหลานี้ก็ไมเพียงพอสําหรับการ
แกไขปญหาความเหลื่อมล้ําทางดานเศรษฐกิจอยางยั่งยืน และยังไมมีการผลักดันนโยบายที่จะนําพา
สังคมไทยไปสูรัฐสวัสดิการอยางจริงจัง
ดังนั้นผูเขียนจึงมีคําถามในใจวา ทําไมนโยบายที่มีความกาวหนาในการลดความเหลื่อมล้ํา
ทางดานเศรษฐกิจจึงไมเกิดขึ้นในสังคมไทย? มันมี “อะไรบางอยาง” ที่ชวยทําใหความไมเสมอภาค
ทางดานเศรษฐกิจดํารงอยูในสังคมไทยไดอยางสงบสุขหรือทําใหสังคมไทยไมตั้งปญหาตอสภาพ
ทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น? แลวทําไมการเคลื่อนไหวของกลุมผลประโยชนเชนกลุมเกษตรกรจึงมีผล
กดดันแคทําใหประกันราคาสินคาเทานั้นหรือกดดัน ที่ไดผลในการบรรเทาปญหาเพียงแคระยะสั้น
เทานั้น? แลวทําไมพวกเขาจึงไมสามารถผลักดันนโยบายที่กาวหนา เชน การปฏิรูปที่ดินไดสําเร็จ?
ทายที่สุดทําไมประวัติศาสตรความเหลื่อมล้ําทางเศรษฐกิจของสังคมไทยเหมือนจะตอเนื่อง ไมมี
การต อ ต า นขั ด ขื น นโยบายของรั ฐ ไทย หรื อ มี ก ารลุ ก ขึ้ น สู แ ต พ า ยแพ เ ลยทํ า ให โ ครงสร า งทาง
เศรษฐกิจและการกําหนดนโยบายที่เหลื่อมล้ํายังดํารงอยู?
สําหรับคําตอบของคําถามขางตนนี้จะดํารงอยูในเนื้อหาสวนตอไป ซึ่งจะเปนการเปดเผยถึง
“เครื่องมือ” บางอยางที่ทําใหเกิดคําถามในขางตนนี้ “เครื่องมือ”ที่ใชในการธํารงไวซึ่งความเหลื่อม
ล้ําทางเศรษฐกิจในสังคมไทย

32
ผาสุก พงษไพจิตร, คริส เบเกอร, อางแลว, หนา 41
33
อัมมาร สยามวาลา, สมชัย จิตสุชน, อางแลว, หนา 28
14
บทที่ 2 วาดวยวิธีวิทยาสาย Marxism และประเด็นปญหาเรื่องอุดมการณและการครอบงํา

หากเราตองการสรุปความสวนที่ 1 ใหกระชับกุมความทีส่ ุดคือ นอกเหนือไปจากทีผ่ ูเขียน


ตองการแสดงใหเห็นขอมูลรูปธรรมเชิงตัวเลขที่เปนภาพตัวแทนของความไมเทาเทียมในสังคม
ผูเขียนยังตองการแสดงใหเห็นวา สาเหตุแหงความไมเทาเทียม (source of inequality) ในหะหนึง่
แลว คือนโยบายเศรษฐกิจที่เอียงขางไปทางพัฒนาอุตสาหกรรมและละเลยจนถึงขัน้ บีบบังคับและ
ขูดรีดภาคเกษตรกรรม (อยางกรณีพรีเมียมขาวที่ไดกลาวไป) อยางถึงที่สุด ปรากฏการณขางตนใน
ทัศนะของผูเขียนมีสาเหตุพนื้ ฐานที่แทอยูท ี่ความเปนมาทางประวัติศาสตรในระดับโลกที่
modernity ไดผลิตรูปแบบสถาบัน (ในความหมายทีก่ วางที่สุดคือ “rules of the game”) ที่พลิกหนา
ประวัติศาสตรของมนุษยชาติอยางสิ้นเชิง คือ “ทุนนิยม” และถูกทําใหแพรกระจายไปในทุกสวน
ของโลกผานทางลัทธิจักรวรรดินิยมลาเมืองขึ้นที่ทางหนึง่ เปนไปเพื่อแสวงหาทรัพยากรไปใชใน
ทางการผลิตในแบบอุตสาหกรรม พรอมๆ กับตลอดรองรับสินคาเหลานั้น ในขณะที่อีกทางหนึง่ มี
ผลใหระบบเศรษฐกิจ/สถาบัน ทุนนิยมกลายเปน rules หลักของโลกในที่สุด
ในกรณีประเทศไทยหลักฐานที่เห็นไดชัดเจนที่สุดในชั่วอายุคนของรุนพอเราอยางหนึ่งอาจ
คือ ในยุคสมัยแหงการทําใหทันสมัย/การพัฒนา (ใหเปน) ทุนนิยมอุตสาหกรรมอยางเต็มที่โดยจอม
พลสฤษดิ์ที่เริ่มตนเมื่อหลายสิบปมาแลวดังที่กลาว ที่มีสาขาวิชาเศรษฐศาสตรเปนองคความรูที่เปน
ตัวตั้งตัวตีใหความชอบธรรมกับกระแสดังกลาวอยางเต็มเปยม อันเปนการพัฒนาที่เปนไปตาม
ตรรกะของ ทุน คือ การขยายตัวและการสรางผลตอบแทนที่สูงกวา ที่เปนพลังผลักดันให รัฐ-ชาติ
ไทย หรือพูดอยางชัดเจนที่สดุ ชนชั้นนําไทย กระทําการ โดยมิเคยหยุดที่จะคิดถึงผูคนตัวเล็กตัวนอย
หรือใครก็ตาม (มิพักตองพูดถึง ธรรมชาติ ที่ถูกทําราย ทําลาย อยางมากมายและไมมีทางที่จะ
เหมือนเดิม34) โดยใชพลังมหาศาลของรัฐเรงปฏิกิริยาดังกลาวใหสามารถเปลี่ยนแปลงและทําลาย
ลางรูปแบบความหมายและความสัมพันธระหวางผูคนเหลานั้นโดยที่เขาไมมีโอกาสที่จะเลือกอยาง
มีนัยสําคัญเลย
ผูเขียนมิไดหมายความวา “การพัฒนา” เปนสิ่งที่นารังเกียจและไมควรที่จะเกิดขึ้น ประเด็น
คือ การพัฒนา แบบไหน ตางหากที่เราสมควรที่จะ รวมกัน ทําใหเกิดขึ้นโดยอยูบนฐานของคุณคา
ความเปนมนุษยที่อุดม โดยประชากรมีแนวโนมที่จะกลายเปนมนุษยที่สมบูรณใหมากที่สุด เพื่อ
นําไปสู “ความอุดมที่ยั่งยืน” ที่เอื้ออํานวยใหมนุษยสามารถเติบโตทางดานวัตถุ อารมณและจิตใจ
โดยไมทําลายลางทรัพยากรสําหรับอนาคต หรือจะเรียกอีกอยางหนึง่ วา “การเติบโตอยางมีภูมิ

34
พูดอีกอยางหนึ่งก็คือ ทุน ทําการขูดรีดมนุษยมากขึ้นๆ จนกาวเขาไปสูการขูดรีดธรรมชาติ ดู Liodakis, George.
2005. “The New Stage of Capitalist Development and the Prospects of Globalization.” in Science & Society,
69/3 (July): 341-366.
15
ปญญา” อันเปนลักษณะของรัฐ ที่ใหโอกาสประชาชนทําใหสิ่งที่ตนรักและชอบ โดยไมบั่นทอน
โอกาสของชนรุนหลังที่จะใชชีวิตเชนเดียวกันหรือดีกวา มีปจจัยทางวัตถุที่จําเปนอยางเพียงพอใน
การดํารงชีวิต เพื่อใหเราสามารถคนหาศักยภาพของตนเองในฐานะมนุษยไดอยางเต็มที่35 แตกอนที่
จะไปถึงจุดดังกลาว สิ่งที่เราจะตองใหความสําคัญอยางยิ่งยวดเพื่อนําพาเราไปถึงจุดหมายก็คือการ
ใหความสําคัญกับการกระจายรายไดที่เปนธรรม หรือพูดอยางชัดเจนที่สุด ความเทาเทียมในสังคม
ซึ่งรัฐไทยไมและไมเคยทีจ่ ะเห็นคาและใหความสําคัญอยางจริงจัง
หลังจากใชสว นที่ 1 ในการทําความเขาใจประเด็นปญหาเชิงสาเหตุ ในสวนนี้ผูเขียนกําลัง
พยายามตอบคําถามที่วา “อะไรบางอยาง” ที่ทําหนาที่ในการธํารงความไมเทาเทียมไวไดอยางทรง
พลานุภาพที่สดุ และปกปดหรือทําใหผูคนกลายเปนตัวตนที่เชื่องตอประเด็นดังกลาวอยางแนบเนียน
ที่สุดคืออะไรกันแน ในการนี้ผูเขียนเลือกที่จะใช สายธารความคิดที่เปดเผยใหเห็นถึง “ความไมเทา
เทียม”ไดชัดเจนและทรงพลังที่สุดอยางเชน Marxism ในงานชิน้ นี้ โดยเฉพาะอยางยิ่งใชเปน
เครื่องมือสําคัญในการสองทางทําความเขาใจปรากฏการณที่เกิดขึน้ กับรัฐไทยในหวง 50 ปที่ผานมา
ทั้งนี้สถานะของสวนที่สองทั้งหมดคือการ ทบทวนกรอบทฤษฎีและแนวคิด Marxism ที่จะใช
ทั้งหมดในงานชิ้นนี้ โดยจะนํากรอบคิดเหลานี้เขาปะทะกับปรากฏการณจริงของการกดทับและ
ครอบงําชาวนาและชาวไรของไทยในสวนสุดทายของงานชิ้นนี้คือสวนที่ 4
ในการดังกลาว ผูเขียนขอเริ่มตนดวยการปูพื้นองคความรูพื้นฐานที่จําเปนตอการเขาใจ
Marxism จากนั้นจึงคอยเริ่มอธิบายประเด็นปญหาเรื่อง อุดมการณอยางพิสดารในหะตอมาดังนี้

2.1 Introduction to Marxism

นับตั้งแตระบบการจัดการทางเศรษฐกิจทีถ่ ูกเรียกวา “ระบบทุนนิยม” (Capitalism) ได


ปรากฏตัวขึ้นมาในชวงศตวรรษที่ 18 ในโลก “ตะวันตก” ซึ่งถือไดวาเปนความกาวหนา
(Progression) ของมนุษยชาติ เพราะมันไดทําใหสังคมมีสินคาและบริการที่ตอบสนองความตองการ
ของสังคมไดมากขึ้น มีพลังการผลิตที่ยิ่งใหญนับที่จะทําใหมนุษยชาติเปนอิสระจากขอจํากัด
ทางดานเศรษฐกิจ มนุษยมเี สรีภาพในการใชชีวิตมากขึ้น
อยางไรก็ตามในความกาวหนาเชนนี้ ก็มคี วามถดถอย (Regression) ปรากฏอยูเชนกัน
เพราะในทายที่สุดแลวระบบทุนนิยมไดลดทอนคุณคาความเปนมนุษยลง (Dehumanization) ตัว
ของระบบทุนนิยมไดสถาปนาตนเองเปนพระเจาองคใหม ที่ไดกลายเปน “โซตรวน” ที่ผูกมัดชีวิต
ของมนุษยไวกับมิติทางเศรษฐกิจ

35
เบอรนารด ลีตาร, เงินตราแหงอนาคต. (กรุงเทพฯ สํานักพิมพสวนเงินมีมา, 2547) หนา 20
16
โดยไดมนี ักวิชาการผูยิ่งใหญทานหนึ่งไดทําการวิพากษระบบทุนนิยมไวอยางถอนรากถอน
โคนคือ Karl Marx ซึ่งไดกลาววาระบบทุนนิยม (หรือในขณะเดียวกันคือสภาวะ “สมัยใหม”
(Modernity)) มีศักยภาพทีจ่ ะปลดปลอยมนุษยออกจากขีดจํากัดทางดานวัตถุสภาพ เพราะพลังการ
ผลิตที่ยิ่งใหญของมัน แตปญหาเกิดขึน้ อันเปนผลมาจากความสัมพันธทางการผลิตที่ไมเปนธรรม36
ระหวางผูถือครองปจจัยการผลิตคือชนชั้นนายทุนหรือชนชั้นกระฎมพี (Bourgeois) และชนชั้นทีไ่ ม
มีปจจัยการผลิตถือครองคือชนชั้นกรรมาชีพ (Proletariat)
โดยชนชั้นนายทุนจะทําการขูดรีดมูลคาสวนเกินจากการใชแรงงานของชนชั้นกรรมาชีพ มี
ผลทําใหชนชัน้ กรรมาชีพประสบกับสภาวะความแปลกแยก (Alienation) อันเปนผลมาจากการที่
กรรมาชีพมีความหางเหิน (Estranged) จากผลผลิตที่เกิดมาจากแรงงานของเขาเอง ไมสามารถ
ควบคุมผลงานของตนเองได ทําใหเกิดความแตกราวระหวางมนุษยกับโลกของวัตถุ และใน
ขณะเดียวกันในระบบทุนนิยมที่มกี ารแขงขัน ในทีส่ ุดแลวมนุษยตองแยกออกจากเพื่อนมนุษย
ดวยกัน เปนปรากฏการณแตกราวระหวางมนุษย37 หรืออาจแบบสรุปไดวา ในมุมมองของ Marx
ระบบทุนนิยมมนุษยถูกลดทอนคุณคาลงโดยการทําใหกลายเปนทาสของสิ่งของและทาสของมนุษย
ดวยกันเอง รวมไปถึงเปนทาสของพลังแรงงานของตนเอง
ในทายที่สุดแลวสังคมทุนนิยมจะบดขยี้ชนชั้นตางๆ เชน ชนชั้นนายทุนนอย ศักดินา
ออกไปอันเปนผลจากการพัฒนาทางดานอุตสาหกรรม38 จนทําใหเกิดปรากฎการณการเผชิญหนา
กันระหวางชนชั้นกระฎมพีและชนชั้นกรรมาชีพ (Polarization)
ทางออกจากระบบทุนนิยมของ Marx คือชนชัน้ กรรมาชีพตองรวมตัวกันโคนลม
โครงสรางสวนของระบบทุนนิยม อันไดแกระบบกรรมสิทธิ์เอกชน (Private Property Right)
กฎหมายและรัฐของชนชั้นกระฎมพี และยึดครองปจจัยการผลิตของชนชั้นกระฎมพี โดยชนชัน้
กรรมาชีพตองสรางรัฐ39เผด็จการของตนเอง (The Dictatorship from the Proletariat) และเปลี่ยน
ระบบกรรมสิทธิ์มาเปนระบบกรรมสิทธิ์แบบสวนรวม (Common Property) เพื่อทําการสรางสังคม

36
สุรัช คมพจน, เคาโครงวิทยานิพนธ “โครงการสภาวะความรูแจงที่ยังไมสิ้นสุด : ฮาเบอรมาสกับทฤษฎีวิพากษ
สภาวะสมัยใหม (The Unfinished Project of Enlightenment: Habermas and the Critical Theory of Modernity)”
หนา 11
37
สุรพงษ ชัยนาม, มากซและสังคมนิยม, (กรุงเทพฯ : กอง บก. ปาจารยสาร 2524) หนา 70-71
38
Marx, Karl and Friedrich Engels, The Communist Manifesto, trans. By Samuel Moore with an introduction
by David McLellan (Oxford : Oxford University Press, 1992 reprint 1998) p.18
39
ในวิธีคิดของ Marx รัฐคือกลไกในการกดขี่ทางชนชั้น
17
ที่ไรชนชั้นขึ้น เมื่อภารกิจนี้สําเร็จรัฐเผด็จการจากชนชั้นกรรมาชีพจะหมดความสําคัญใน
กระบวนการทางประวัติศาสตรจนลมสลายไปเอง40
การเสนอทางออกเชนนี้ของ Marx เปนผลมาจากการที่เขามองประวัติศาสตรของสังคม
มนุษยเปนแบบ “วัตถุนิยมวิภาษวิธี” (Dialectical Materialism) ที่มองวาสังคมประกอบดวยฐานทาง
เศรษฐกิจ (Economic Base) และโครงสรางสวนบน (Superstructure) ของกฎหมาย, การเมือง,
ความคิดและการปกครอง แตโครงสรางทั้งสองตางก็มีปฏิสัมพันธซึ่งกันและกัน41 แตในทายที่สุด
(In the last hour) ฐานทางเศรษฐกิจจะเปนตัวกําหนดโครงสรางสวนบน นั่นคือในทัศนะของ Marx

โครงสรางของทุกๆ สังคมประกอบขึ้นดวย “ระดับ” (level หรือ


instance) ซึ่งถูกกําหนดมาอยางอยางแนนอนแลวใหประสานโยงใยกัน
(articulate by specific determination) บรรดาระดับเหลานี้ไดแกโครงสราง
สวนลาง (infrastructure)หรือฐานเศรษฐกิจ (กินความถึงการรวมหนวยขึ้นเปน
เอกภาพของพลังการผลิต (ซึ่งประกอบดวยปจจัยการผลิตและปจจัยแรงงาน-
ผูเขียน)และความสัมพันธทางการผลิต)และโครงสรางสวนบน(superstructure)
ซึ่งในตัวของมันเองประกอบดวย 2 ระดับคือระดับการเมือง-กฎหมาย (ตัว
กฎหมายและรัฐ) และระดับอุดมการณ เชนหมายรวมถึงอุดมการณประเภท
ตางๆ ทั้งอุดมการณทางศาสนาจริยธรรม อุดมการณทางกฎหมาย อุดมการณ
ทางการเมือง ฯลฯ)42

จากขอความขางตนทําใหเราเห็นเปนภาพวาสังคมประกอบดวยโครงสรางสวนลางเปน
ฐานรองรับโครงสรางสวนบน (ซึ่งมี 2 ชั้น) และทําใหเราทราบวาโครงสรางสวนบนจะดํารงอยู
ไมไดหากปราศจากโครงสรางสวนลาง และดังนัน้ แลวตามแนวคิดแบบ Traditional Marxism
โครงสรางสวนลางเปนตัวกําหนดวาระสุดทาย (ตัวกําหนดหลัก) โดยทีโ่ ครงสรางบนก็มี “ความเปน
อิสระที่สัมพันธ ณ ระดับหนึ่ง” และสามารถที่จะมีปฏิกิริยาสะทอนกลับฐานเศรษฐกิจได
(ตัวกําหนดระดับชั้นรอง) ซึ่งปฏิกิริยาดังกลาวคืออะไร ยังไมมีนักคิดคนใดกอนหนา Louis

40
รายละเอียดเพิ่มเติมอานไดใน Marx, Karl and Friedrich Engels, The Communist Manifesto, trans. By Samuel
Moore with an introduction by David McLellan (Oxford : Oxford University Press, 1992 reprint 1998) ,
Chapter 2 : Proletariat and Communists p. 17-26
41
Perry, Matt, Marxism and History (Basingstoke, Hampshire : Palgrave, 2002) p. 46
42
หลุยส อัลธูแซร,อุดมการณและกลไกทางอุดมการณของรัฐ, กาญจนา แกวเทพ แปล, (กรุงเทพฯ: 2529), หนา.
39
18
Althurser ผูซึ่งเปนนักคิดสกุลความคิดแนว Structural Marxism ตอบไดอยางเปนระบบและรัดกุม
อันจะไดกลาวในสวนตอไป

2.2 แนวคิดเรือ่ งอุดมการณและการครอบงําในทฤษฎี Marxism

ณ จุดที่ทิ้งคางไวจากสวนที่แลวนี้เองทีจ่ ะนํามาสูหลักใหญใจความของสวนที่ 2 นี้คือ


ประเด็นปญหาเรื่องอุดมการณนั่นคือ ถาเรามีทาทีในการตีความตัวบทของ Marx อยางเครงครัด เรา
อาจตีความไดวาความคิดหรือจิตสํานึกหนึง่ ๆ อาจมีสถานะเปนอุดมการณก็ตอเมือ่ ความคิดหรือ
จิตสํานึกนัน้ ไดทําการปกปดความขัดแยงทางสังคมหรือไม ถาใช ความคิดหรือจิตสํานึกนั้นก็เปน
อุดมการณ โดยอุดมการณมไิ ดเปนอุดมการณเฉพาะของชนชั้นแตเปนอุดมการณของสังคมโดยรวม
ทั้งหมด และโดยที่ความสัมพันธทางสังคมเปนสิ่งที่แปรเปลี่ยนไมหยุดนิ่ง ดังนัน้ ความขัดแยงทาง
สังคมยอมแปรเปลี่ยนไปดวย และดังนัน้ ยอมสงผลกระทบตอสถานะของความคิดจิตสํานึกที่ดํารง
อยูวาจะเปนหรือไมเปนอุดมการณอีกตอไป43
กระนั้นก็ตามเวลาที่เราพูดถึงแนวคิดเรื่องอุดมการณที่ถกู ตัดแตง ดัดแปลง และพัฒนา มา
อยางยาวนาน เรามิไดพดู ถึงระบบของความหมายทีห่ ยุดนิ่งแนนอนและตายตัวแตเรากําลังพูดถึง
กระบวนการตางๆ ที่มิเคยหยุดนิ่งในการกอรูปความหมายและปฏิสัมพันธของกระบวนการ
เหลานั้น โดยมี “ชนชั้น” เปนสนามของการตอสูของกลุมพลังทางสังคมตางๆ44 และถาจะใหผูเขียน
เลือกเอาวาจะใชนิยามที่ชดั เจนของอุดมการณในสาย Marxism ที่คิดวาเขากันไดกบั งานชิ้นนี้ที่สดุ
ผูเขียนก็ขอเลือกใชแนวทางของ Therborn ผานทางงานของ Turton ดังนี้

[อุดดมการณ-ผูเขียน] หมายถึงสภาวการณความเปนมนุษยสวนที่เอื้อ
ใหมนุษยสามารถใชชีวิตไดอยางผูที่มีความสํานึกในโลกที่มีความหมายตอพวก
เขาในระดับตางๆกัน อุดมการณคือสื่อกลางที่ชวยใหสํานึกและความหมาย
ดังกลาวทํางานไดความสํานึกของมนุษยที่เกิดใหมทุกคนจะคอยๆ สรางสังคม
โดยผานกระบวนการพลวัตทางจิต ซึ่งสวนใหญจะดําเนินไปในระดับจิตใตสํานึก
โดยทํางานผานระบบสัญลักษณทางภาษา อยางไรก็ตาม อุดมการณไมไดมี
ความหมายจํากัดอยูเพียงแคสองอยางนี้เทานั้น

43
วนัส ปยะกุลชัยเดช. ความสัมพันธระหวางแนวคิดการครองความเปนใหญ และอุดมการณของกรัมชี่.
วิทยานิพนธปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาการเมืองการปกครอง คณะรัฐศาสตร บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร, 2548. น.42-47
44
Turton, Andrew. การครอบงําและความหวาดกลัวในสังคมไทย. แปลโดย อูทอง ประศาสนวินิจฉัย. นครปฐม:
คณะบุคคลบานน้ําริน, 2551. น.8-10
19
ดังนั้น แนวความคิดเรื่องอุดมการณที่ใชในที่นี้จึงตั้งใจจะรวมทั้ง
ความคิดกับ “ประสบการณ” ในชีวิตประจําวันและลัทธิทางปญญาที่
สลับซับซอนทั้ง “ความสํานึก” ของคนที่สวมบทบาททางสังคมและระบบ
ความคิดและนัยกรรมที่ไดกลายเปนสถาบันไปแลว แตการศึกษาสิ่งเหลานี้ใน
ฐานะอุดมการณ หมายถึงการมองมันจากมุมมองที่เฉพาะเจาะจงอยางหนึ่ง
กลาวคือไมไดมองมันในฐานะที่เปนกลุมความคิดหรือโครงสรางทางนัยกรรมใน
ตัวของมันเอง แตมองมันในฐานะที่เปนการแสดงออกของการดํารงอยูในโลกนี้
ของคนที่สวมบทบาททางสังคมอยางมีสํานึก-ของผูที่เปน ‘ขา’ หรือกลาวอีกนัย
หนึ่งไดวา การมองตัวบท (text) หรือถอยคําใดๆ ในฐานะอุดมการณคือการพุง
ความสนใจไปยังปฏิบัติการของมันในการสรางและเปลี่ยนแปลงสภาวะความ
เปนขา45

อยางไรก็ตาม ในทัศนะของผูเขียนตอการทําความเขาใจวาอุดมการณทํางานอยางไรอยาง
เปนระบบที่สดุ จนอาจจะเปนกลไก (Mechanism) จนเกินไป แตสามารถฉายภาพการทํางานของ
อุดมการณไดอยางชัดเจนทีส่ ุด สําหรับผูเขียนแลวก็คือ การมองอุดมการณผาน “รัฐ” ในสวนของ
กลไกรัฐของ Althusser ตามที่ไดทิ้งคางไวจากสวนทีแ่ ลวคือ
Althusser เสนอวา46เราควรจะกาวไปใหไกลจากภาพเปรียบที่วาโครงสรางสวนลางเปน
ฐานรองรับโครงสรางสวนบน(และทําใหเราทราบวาโครงสรางสวนบนจะดํารงอยูไมไดหาก
ปราศจากโครงสรางสวนลาง)โดยยึดเอาการผลิตซ้ําความสัมพันธทางการผลิตเปนจุดตั้งตนนัน้ คือ
สําหรับสํานักคิดสาย Marxism แลวสังคมมนุษยดํารงอยูไดดว ย การผลิต ซึ่งคือกระบวนการที่
มนุษยตองเขาจัดการกับโลกธรรรมชาติเพื่อการดํารงอยูท างชีวภาพของตนในเบื้องตน อันเปน
กิจกรรมที่เกิดขึ้น ณ โครงสรางสวนลางที่เงื่อนไขทางการผลิตประกอบดวย 1)พลังการผลิต อันเปน
ผลรวมของปจจัยเชิงวัตถุอยางปจจัยการผลิต และกําลังแรงงาน และ 2)ความสัมพันธทางการผลิต ที่
เปนตัวกําหนดรูปแบบความสัมพันธระหวางมนุษย โดยที่สังคมมนุษยจะดํารงอยูไดก็แตในเงื่อนไข
ที่วา สังคมสามารถผลิตซ้ําโครงสรางสวนลางที่เปนเงื่อนไขเบื้องตนของการดํารงอยูทางชีวภาพ
ของมนุษย ทั้งนี้การผลิตซ้ําปจจัยการผลิตและการผลิตซ้ํากําลังแรงงานในเชิงชีวภาพไมใชปญหาใน
ที่นี้เพราะเปนไปตามกลไกพื้นฐานของการแลกเปลี่ยนและลักษณะพื้นฐานของมนุษย แตสิ่งที่เรา
(Althusser) สนใจในที่นี้คือปญหาเรื่องการผลิตซ้ํา ความคิดจิตสํานึกที่ยอมจํานนของแรงงาน (หรือ
กําลังแรงงานในอีกมิติหนึ่ง) หรือการผลิตซ้ําความสัมพันธทางการผลิตในระบบทุนนิยมนั่นเอง
และผานมุมมองดังกลาว Althusser เสนอวาจะสามารถทําใหตอบคําถามที่ Traditional Marxism
ตอบไมไดวาถึงแมโครงสรางสวนลางเปนตัวกําหนดวาระสุดทาย (ตัวกําหนดหลัก) โดยที่

45
เพิ่งอาง. น.9-10
46
ดู หลุยส อัลธูแซร, อางแลว.
20
โครงสรางบนก็มี “ความเปนอิสระที่สัมพันธ ณ ระดับหนึ่ง” และสามารถที่จะมีปฏิกิริยาสะทอน
กลับฐานเศรษฐกิจได (ตัวกําหนดระดับชั้นรอง) ซึ่งปฏิกิริยาดังกลาวคืออะไร
Althusser เริ่มตนดวยการเสนอใหมอง รัฐ เปนตัวแสดงหลักในการวิเคราะห จากการ
อธิบายรัฐวานอกจาก (รัฐ) จะเปนกลไกรัฐที่ทําหนาทีก่ ดขี่ปราบปรามเพื่อชนชั้นปกครองแลว รัฐ
ยังมีอีกมิติหนึง่ คือ “อํานาจรัฐ” ที่สามารถเปลี่ยนมือได และจากมิติของรัฐที่เปนกลไกนัน้ เอง
Althusser เสนอวา นอกจากจะมี “กลไกคานการกดขีป่ ราบปรามของรัฐ” ที่ทําหนาที่ใชความ
รุนแรงซึ่งมีเอกภาพและดํารงอยูในขอบเขตสาธารณะ อาทิ รัฐบาล กองทัพ ตํารวจ คุก ฯลฯ แลวยัง
มี “กลไกทางอุดมการณของรัฐ” ที่ทําหนาที่ครอบงําทางอุดมการณ ซึง่ หลากหลายและโดยมากแลว
ดํารงอยูในขอบเขตของเอกชน อาทิ ศาสนา วัด ครอบครัว โรงเรียน ฯลฯ โดยที่แตละกลไกตางก็ใช
ความรุนแรงและอุดมการณควบคูกันแตในระดับที่ตางกันและมีรูปแบบของสถานการณที่ตางกัน
ทั้งหมดเพื่อ “ผลิตซ้ํา” ความสัมพันธทางการผลิต (ที่ขูดรีดแบบทุนนิยมในบริบทของ Althurser)
ดังนั้นแลวเราจะเห็นวากลไกทางอุดมการณของรัฐนั่นเองที่เปนโครงสรางสวนบน (ใน
ภาษาแบบเดิม) ที่สามารถเปนตัวกําหนดความสัมพันธทางการผลิต และในงานชิ้นนี้ผูเขียนจะขอ
ผลักเราเขาปะทะกับตัว text ของ Althurser โดยการ “ขยาย” หรือทําใหทฤษฎี Marxism ที่กลาวมานี้
“หลวม” ขึ้นดวยการลองแทนที่ “ความสัมพันธทางการผลิต” ดวย “ความสัมพันธทางสังคม” และ
ใชในความหมายที่สามารถแทนที่กันไดตลอดงานชิ้นนี้ และดวยกระบวนทาดังกลาวนี้เองที่ผูเขียน
เสนอวาเราสามารถทําความเขาใจสิ่งที่ทําใหความไมเทาเทียมดํารงอยูไ ดผานทางการเขาใจวา
อุดมการณ เปนตัวผลิตซ้ํา ความสัมพันธทางการผลิต หรือ ความสัมพันธทางสังคม ที่มีความไมเทา
เทียมดํารงอยู ไมวาจะมาจากสาเหตุเบื้องตนใดๆก็ตาม
ทั้งนี้โดยตระหนักดีวาเราไมสามารถที่จะทอนสถาบันทางสังคมที่ดูเหมือนจะเปนกลางแต
ในหลายๆ ครั้งทํางานรวมกับกลไกรัฐใหมีสถานะเปนกลไกรัฐอยางไมรับผิดชอบได กระนัน้
ผูเขียนก็ยังยืนกรานที่จะใหรฐั (ในฐานะสถาบันและกลไก) เปนหนวยการวิเคราะหที่มีบทบาท
สําคัญสูงสุด ดวยเหตุผลที่วา อาจคงไมมีองคาพยพทางการปกครองใดอีกแลวอยางนอยก็ในปจจุบนั
ที่จะมีอํานาจและทรัพยากรมหาศาลที่จะนําไปสูกลไกการครอบงําที่ทรงพลานุภาพขนาดนี้ ถึงแมจะ
มีขีดจํากัดทางอุดมการณในเงื่อนไขและสภาวะตางๆ ก็ตาม47
และเห็นควรทีจ่ ะกลาวดวยวาเราไมควรที่จะมองมนุษยเปนเพียงสิ่งมีชวี ติ ที่วานอนสอนงาย
หรือเปนเพียงผูถูกครอบงําที่ไมมีการตอตานขัดขืน แตมนุษยเปนผูที่มคี วามสามารถที่จะขัดขืนและ
ตอสูทั้งในเชิงรูปธรรมและนามธรรม หากแตเพียงการตอสูน ั้นตองอาศัยเงื่อนไขที่ตองใชความ

47
ผูที่สนใจโปรดดู กาญจนา แกวเทพ. “ขีดจํากัดการใชเครรื่องมือทางอุดมการณในสังคมไทย.” รัฐศาสตรสาร
ฉบับพิเศษ (ครบรอบ 12 ป ปรัชญาและความคิด) น.293-320 และ Turton, Andrew ,อางแลว.
21
พยายามและน้าํ พักน้ําแรงที่มากมายในการทําใหเกิดขึ้น แตสิ่งนี้มิใชประเด็นทีเ่ ราจะเขาปะทะใน
บทความนี้จึงจะขอหยุดไวเพียงเทานีแ้ ละใหทานที่สนใจไปแสวงหากันเองตอไป

บทที่ 3 “ความเปนไทย”กระแสหลัก ในฐานะระบบความหมายหลักที่ธํารงความไมเทาเทียมใน


สังคม

หลังจากที่เราใชพื้นที่สวนทีส่ องในการทําความเขาใจทฤษฎี Marxism เทาที่คิดวาจําเปนมา


พอสมควร ผูอานที่ระมัดระวังอาจสามารถมองเห็นวาผูเขียนใหความสําคัญกับ รัฐ อยางยิ่งยวดใน
งานชิ้นนี้ ในแงที่วาเปนองคาพยพที่มีความสามารถในการครอบงํามหาศาลในแงอุดมการณ (อันจะ
ประยุกตใหเห็นในบทที่ 4) ซึ่งแตนั่นก็เปนเพียงแงมุมหนึ่งทางวิธีวิทยาที่อาจจะยังไมครบถวน
สมบูรณ หากวาตองเพิ่มเติมวิธีวิทยาอืน่ ๆที่จะทําใหเราเขาใจปรากฏการณไดถองแทยิ่งขึ้น และควร
จะกลาวดวยวาความที่ ทฤษฎีสาย Marxism ในเชิงวีธีวิทยาแลวเปนสายความคิดที่มีแนวโนมจะ
อธิบายโลกในแบบ Metanarrative คือ อธิบายโลกในแบบที่กินรวบ “เวลา” (time) และ “พื้นที่”
(space) เขาดวยกันและมีแนวโนมทีจ่ ะสามารถครอบคลุมการอธิบายรูปแบบอื่นหรือทอนการ
อธิบายรูปแบบอื่นใหอยูในคําอธิบายแบบตัวเองได
แนวคิดเรื่องอุดมการณเปนตัวอยางทีด่ ีในกรณีนี้ คือ เวลาที่ Marxist พูดถึงอุดมการณพวก
เขาสวนมากมีแนวโนมที่จะมองวา สิ่งใดก็ตามทีท่ ําหนาที่ในเชิงความหมายและดังนั้นมีความ
สามารถในการครอบงํา จะมีสถานะเปนอุดมการณไปเสียหมด ซึ่งนั่นก็อาจจะจริง (ที่วาเปน
อุดมการณ) แตในบางครั้งหรือหลายๆครั้ง การกระทําดังกลาวไดลดทอนความสําคัญของ
กระบวนการกอรูปของระบบความหมายเชิงสัญลักษณเหลานั้นไปอยางนาเสียดาย
ดังนั้นแลว สิง่ ที่ผูเขียนกําลังจะทําในสวนที่ 3 นี้จึงคือความพยายามทีจ่ ะคนหาวา มีระบบ
ความหมายอะไรที่อาจเรียกวาเปนสิ่งธํารงความไมเทาเทียมใหดํารงอยูไดในกรณีของประเทศไทย
รวมถึงระบบความหมายเหลานั้นมีกระบวนการกอรูปและแพรกระจายอยางไร โดยคําตอบใน
เบื้องแรกผูเขียนเสนอวาระบบความหมายดังกลาวคือ “ความเปนไทย” กระแสหลักทีม่ ีกระบวนการ
กอรูปตั้งแตสมัยรัชกาลที่ 5 โดยอาศัยเทคนิควิธีการตางๆนานาแพรกระจายไปยังสวนตางๆของ
สังคม โดยดานหนึ่งทั้งแอบอิงไปกับระบบความหมายหลักที่ดํารงอยูก อน (อาทินัยตางๆในไตรภูมิ
พระรวง) และอีกดานหนึ่งก็ทําการตอสูแยงชิงการเปน “วาทกรรมหลัก” (dominant discourse) มา
อยางโชกโชน ซึ่งวาทกรรมในที่นี้หมายถึง
22
ระบบและกระบวนการใหการสราง/ผลิต (constitute) เอกลักษณ48 (identity)
และความหมาย (significance) ใหกับสรรพสิ่งตางๆ ในสังคมที่หอหุมเราอยู
ไมวาจะเปนความรู ความจริง อํานาจ หรือตัวตนของเราเอง นอกจากนี้วาท
กรรมยังทําหนาที่ตรึงสิ่งที่สรางขึ้นใหดํารงอยูและเปนที่ยอมรับของสังคมใน
วงกวาง (valorize) กลายสภาพเปนสิ่งที่... ...เรียกวา “วาทกรรมหลัก”
(dominant discourse) 49

ในการอธิบายวา “ความเปนไทย” กระแสหลักมีกระบวนการกอรูปอยางไรและโดยอาศัย


เทคนิควิธีการอะไรแพรกระจายไปยังสวนตางๆ ของสังคมผูเขียนขอเริ่มอธิบายไปจากการทบทวน
ทฤษฎีและกรอบแนวคิดเกีย่ วกับ รัฐ-ชาติ และ ความเปนชาติ โดยทั่วไปเสียกอน แลวจึงตามดวย
กระบวนการกอรูป รัฐ-ชาติไทยในสมัยรัชกาลที่ 5
ทั้งนี้ในงานชิน้ นี้ที่ประกอบสรางดวยวิธีวทิ ยาที่หลากหลายอยางยิ่ง ผูเขียนเลือกทีจ่ ะไมใช
วิธีวิทยาเหลานั้นอยางเครงครัดและขัดขืน ในความหมายที่วาสํานักหนึ่งแยกออกจากสํานักอืน่ อยาง
สิ้นเชิง จนอาจถึงขั้นไมลงรอยกัน ดังนั้นแลวผูอานจะพบวาผูเขียนจะใชแนวคิดเรื่องอุดมการณ
(แบบ Marxism) และ ระบบความหมายหลัก (ที่มีกลิน่ อายของ Poststructuralism) ควบคูปะปนกัน
ไป โดยเฉพาะอยางยิ่งในสวนที่ 4 ผูเขียนจะใช ความเปนไทยในฐานะรูปแบบหนึง่ ของอุดมการณ
เสียเลย ในแงหนึ่งเพื่อแสดงใหเห็นภาพทีส่ ุดขั้ว และดังนั้นเพื่อการวิพากษอยางถอนรากถอนโคน
ที่สุด

3.1 ทบทวนทฤษฎีและกรอบแนวคิดเกี่ยวกับ รัฐ-ชาติ และ ความเปนชาติ

ผูเขียนคิดวาเราควรเริ่มตนไปจากสถานะความเปน “รัฐ-ชาติ” ของ “ประเทศ” กอน นั่นคือ


ถาเรามองจากมุมมองทางสังคมวิทยา ความเปน “รัฐ” ของเราคงมีอยูนานแลว จากการดํารงอยูของ
การจัดระบบระเบียบทางการเมืองการปกครองของสังคม อยางนอยที่สุดก็ในแงของอาณาจักร

48
ตอคํา identity ผูเขียนคิดวาใชคําแปลวา “อัตลักษณ”จะเหมาะสมกวาเพราะโดยคํา “เอก”ในเอกลักษณ มีความ
หมายถึงความเปนหนึ่งเดียว ในขณะที่ identity นั้นในความรูแบบที่ อ.ไชยรัตน, ผูเขียนใช หลากเลื่อนและไมคงที่
คงตัวอยางยิ่ง
49
ไชยรัตน เจริญสินโอฬาร, วาทกรรมการพัฒนา: อํานาจ ความรู ความจริง เอกลักษณ และความเปนอื่น, พิมพ
ครั้งที่ 4 (กรุงเทพฯ: วิภาษา, 2549), น. 19-20.
23
โบราณ เทาทีห่ ลักฐานทางโบราณคดี, ประวัติศาสตร จะพาไปถึง อีกทั้งเมื่อมองจากมุมมองทาง
ปรัชญาการเมืองคลาสสิก ชีวิตมนุษยก็คงจะขาดรัฐไมไดเอาเสียเลย50
แลว “ชาติ” ถูกผูกเขากับรัฐเมื่อไหร? และคงเปนการยากยิง่ กวาที่จะบอกใหชัดวาชาติมา
จากไหน? มีมุมมองมากมายในเรื่องนี้ ทั้งที่วา ชาติเปนธรรมชาติ เปน “ชุมชนทางอินทรีย” (organic
community) อยางพวก Primordial approach, เปนสิง่ ที่เกิดจากกระบวนการทางสังคมบางอยาง
สถานการณบางอยาง พวกSituational approach หรือเปนประดิษฐกรรมที่ถูกสรางอยางพวก
Constructive approach51 จุดกําเนิดของชาติดูเหมือนจะหายไปในกาลเวลาและคงจะถูกรับรูไดแตใน
ความคิดเทานัน้ 52 แตทเี่ ราพอจะรูก็คือ รัฐ-ชาติก็เปนผลพวงหนึ่งของ Modernity นัน่ เอง และใน
แนวทางหนึ่งแลวชาติถูกผูกเขากับรัฐ ในฐานะที่เปนสิ่งยึดเหนี่ยวใหมของผูคนที่ถูกจินตนาการขึ้น
ในหวงเวลาที่ทุนนิยมและผลผลิตของมันปลดปลอยมนุษยออกจากระบบวัฒนธรรมอยางหลักของ
ยุคเดิมคือ ศาสนา ระบอบสมบูรณาญาสิทธิ์ และประวัติศาสตรจักรวาลวิทยา53 และการที่เรา
จะรูสึกผูกพันกับสิ่งที่เปน “นามธรรม” และ “อยูไกล” เชน ชาติ ไดนนั้ ในทัศนะของผูเขียน คงจะ
ไมมีสิ่งใดทําหนาที่ไดดีไปกวา “การเลาเรื่อง” (narration) ในรูปของ Myth อีกแลว และใน
กระบวนการนี้เองที่ “ความเปนเรา” ถูกนิยามโดยรัฐ-ชาติ (จะไดขยายความตอไป) และสงผลให
รัฐ-ชาติ ยังคงทรงพลังและมีความสําคัญอยางยิ่งยวดแมในยุคสมัยปจจุบันที่ทุนและเทคโนโลยีทํา
การสลายเสนแบงตางๆ อยางมีนัยสําคัญมากแลวก็ตาม

3.2 กระบวนการกอรูป รัฐ-ชาติไทยในสมัยรัชกาลที่ 5 และประเด็นปญหาทางทฤษฎีของ รัฐ-ชาติ

เมื่อพูดถึงเมืองไทยในยุคสมัยที่เริ่มจะ “ปะทะ” กับ “ตะวันตก” โดยเฉพาะอยางยิ่ง


จักรวรรดินยิ มตะวันตก การที่ชนชั้นนําไทยในตอนนั้นจะรักษาโครงสรางทางสังคมในแบบที่
ตนเองไดประโยชนใหคงอยูไ ดจําเปนที่จะตองรับเอากระบวนการทําใหเปนสมัยใหมมาจาก
ตะวันตกในรูปแบบของความเจริญกาวหนาทางวัตถุ วิทยาการตางๆ พรอมๆกับ “รักษาสวนใหญ”
ของ “ความเปนไทย” ทางวัฒนธรรมเอาไว 54

50
Aristotle, The Politics Books I and II, translated by Trevor J. Saunders (New York: Oxford University Press,
1995), pp. 1-4.
51
ดู Anthony D. Smith, The Ethnic Origin of Nations (Oxford: Blackwell, 1986), pp. 6-18.
52
ดู Homi K. Bhabha, ed., Nation and Narration (London: Routledge, 1990), pp. 1-7.
53
ดู Benedict Anderson, Imagined Communities: Reflections on the Origin and Spread of Nationalism, 3rd ed.
(London: Verso, 2006), pp. 1-46.
54
ดู สายชล สัตยานุรักษ, “การสราง ‘ความเปนไทย’ กระแสหลัก และ ‘ความจริง’ ที่ ‘ความเปนไทย’ สราง,” ฟา
เดียวกัน, 3:4 (ตุลาคม-ธันวาคม 2548), น. 42.
24
ในกระบวนการดังกลาวนี้เองที่ผูเขียนเขาใจวารัฐไทยรับเอา model รัฐ-ชาติของตะวันตก
เขามาทั้งการใชแนวคิดอํานาจอธิปไตยเหนือดินแดน(ที่แนนอน)55 และการเกิดขึน้ ของสถานะ
พลเมือง แลวการรับเอา model รัฐ-ชาติเขามานั้นมีปญหาอยางไรคําตอบแนวทางหนึง่ อาจคือ ความ
ที่ไทยไมไดถูกยึดครองโดยตรงจากมหาอํานาจ ทําใหการกอรูปของจิตสํานึกความเปนชาติไมถูกตัด
แตงดวยความจําเปนของการรวมมือกันบนความหลากหลายเพื่อตอสูก ับผูยึดครอง แตกลับอยูบ น
ฐานของการทําใหเหมือนกันโดยชนชั้นนํา ที่ตองการธํารงไวซึ่งอํานาจทางการเมืองการปกครอง
ของตน และกดทับวัฒนธรรมยอยตางๆ บนขออางของความทันสมัยดังที่กลาวไปแลว56 โดยสิ่งที่
ผูเขียนกําลังจะทําคือแสดงใหเห็นตอไปจากตรรกะขางตนวาโดยตัวของรัฐ-ชาติโดยทั่วไปเองแลวมี
ปญหาอยางไร โดยอาศัยงานของอาจารยชัยวัฒน57 เปนไฟสองนําทางดังนี้
ในงานชื่อ Of Imagination and The State อาจารยเริ่มตนดวยการฉายภาพใหเห็นความ
รุนแรงในรูปของการกอการราย ซึ่งอาจารยเห็นวาเปนการแสดงออกของความตองการถูกรับรูของ
ผูคนที่ถูก “รัฐ” กดทับ58 โดยการสนองตอบดวยความรุนแรง59 แตการศึกษาผูคนเหลานั้นซึ่งเปน
Minority60 group ถึงแมวาจะมีอยูมากมายหลากหลาย แตทั้งหมดนีย้ ังขาดการใสใจอยางเพียงพอตอ

55
ดู ธงชัย วินิจกุล. “ประวัติศาสตรการสราง ‘ตัวตน’”. ใน สมบัติ จันทรวงศ, ชัยวัฒน สถาอานันท
(บรรณาธิการ), อยูเมืองไทย รวบทความทางสังคมการเมืองเพื่อเปนเกียรติแกศาสตราจารยเสนห
จามริก ในโอกาสอายุครบ 60 ป, กรุงเทพฯ: สํานักพิมพมาวิทยาลัยธรรมศาสตร, 2530. น. 129-182
56
ดู เสกสรรค ประเสริฐกุล , “พัฒนาการของความสัมพันธระหวางรัฐกับสังคมในประเทศไทย : แงคิดเกี่ยวกับ
พลวัตทางการเมืองและการพัฒนาประชาธิปไตย” ใน รัฐศาสตร-การเมือง : รวมบทความวิชาการทางรัฐศาสตร
เลม 3. 2526-2542., นครินทร เมฆไตรรัตนบรรณาธิการ คณะรัฐศาสตร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร: กรุงเทพฯ
2543 น. 257-309 ถาผูใดสนใจประเด็นปญหาเรื่องโมเดล รัฐ-ชาติที่รัฐในโลกที่สามรับมาใชโปรดดู Bertrand
Badie, The Imported State: The Westernization of the Political Order, translated by Claudia Royal (Stanford,
Calif.: Stanford University Press, 2000).
57
Chaiwat Satha-Anand, “Of Imagination and the State,” in K.M. de Silva et al., eds., Ethnic Conflict in
Buddhist Societies: Sri Lanka, Thailand and Burma (London: Pinter, 1988)
58
Ibid., p. 27.
59
Ibid., p. 39.
60
ตอ term “Mimority” นี้ ผูเขียนคิดวาควรขยายความใหชัด คือ นอกจากมิติดานจํานวนแลวยังมีมิติดานอํานาจอีก
ดวย นั่นคือเปนกลุมคนที่มีจํานวนนอยกวา Majority และดังนั้นจึงมีความสําคัญนอยกวาและมี “อํานาจ”นอยกวา
ตามที่ใชในบทความนี้ตามบทความของอาจารย ซึ่งก็ไมจําเปนวาจะตองอยูในตรรกะนี้เสมอไป คือ เราสามารถที่
จะคิดถึง “minority majorities”หรือ “majority minorities” ไดจากมิติทั้ง 2 ดังกลาว [ดู Suzanne Gearheart,
“Inclusions: Psychoanalysis, Transnationalism, and Minority Culture,” in Françoise Lionnet and Shu-mei Shih,
Minor Transnationalism (Durham & London: Duke University Press, 2005), pp.27-28]
25
(ปญหา) Minorities ในความสัมพันธตอรัฐ-ชาติที่เกิดแต “ธรรมชาติ” ของ “ชาติ” และของ “รัฐ”
โดยตัวของมันเอง
ในการนี้อาจารยเริ่มตนดวยการทบทวนแนวความคิดของนักคิดมากมายวา “ชาติ” นั้นเปน
“จินตนาการ” (Imagination) อยางไร ซึ่งเราจะไดเห็นความสามารถในการใชและรอยเรียง “ทฤษฎี”
จาก “ตะวันตก” ที่อาจารยสามารถ “ยอย” และใชไดเปนอยางดีพรอมกับวิพากษทฤษฎีเหลานัน้ ได
อยางทรงพลังและแหลมคม ซึ่งอาจารยทาํ ใหเห็นอยางชัดเจนวา สิ่งที่เรียกวา “ชาติ”นั้น แทที่จริง
แลวเปนเพียงสิ่งที่ถูกสราง (artifacted, constructed) ใหกลายเปน “ชุมชนในจิตนากรรม” (imagined
community) โดยปจจัยหลายสิ่งเทานั้น กระนั้นก็ตามกลับเปนสิ่งที่ทรงพลังอยางยิ่งถึงขนาดที่ผูคนที่
ตกอยูในจินตนากรรมนั้นสามารถสละชีวิตใหได ซึ่งการดํารงอยู (อยางทรงพลังอยางยิ่ง) ของชาติ
นั้น อาจารยอธิบายตอไปวา ไมสามารถเขาใจไดโดยปราศจากความสัมพันธกับ “รัฐ” จากนัน้ จึง
ทบทวนแนวคิดเรื่องรัฐมากมายพรอมกับที่ไมลืมตั้งคําถาม/วิพากษตอนักคิด/แนวคิดเหลานั้นเชน
เคย เกิดเปนความคิดรวบยอดในแบบของอาจารยคือ
รัฐก็เปนสิ่งที่ถูกสรางเชนกัน ซึ่งถึงแมจะกลายเปน “นามธรรม” (abstract) แตก็เปน
“รูปธรรม” (concrete) มากกวาชาติ อัน(รัฐ)มีรูปปรากฏเปนกลไกตางๆของรัฐซึ่งเปนสวนประกอบ
ของรัฐ โดยสวนประกอบที่เราจะตองสนใจเปนพิเศษคือ “อํานาจอธิปไตย” (sovereignty) และ
“ความตอเนื่อง” (continuity) ที่มีตอผูคนในพื้นทีห่ นึ่งๆ ซึ่งความตอเนื่องนั้นถูกทําใหเกิดมีขึ้นผาน
ประวัติศาสตร (ที่มี sovereign เปนตัวกําหนดวาจะ “นับ” (count) อะไรหรือไมนบั อะไร–อาจารย
ไมไดใชคํานี้) อันจะเปนเข็มทิศนําทางใหกับผูคนในจินตนากรรมไดนิยามความหมายของตัวเอง
โดยเฉพาะอยางยิ่งผาน myth ซึ่งจะเปนการทําใหเปนวัตถุสภาพของปรากฏการณของประสบการณ
ทางสังคมของมนุษย61 และก็เปน myth นั่นเองที่เรารับรูวาเปน “ความเปนจริง” (realities) อยางวา
งาย และเราก็กลายเปนผูรักชาติในที่สุด62
ถึงตรงนี้ ชาติ กับ รัฐ จึงสัมพันธกันอยางใกลชิด เพราะคือกลไกและสวนประกอบของรัฐ
ตางๆนั่นเอง เปนสิ่งที่ธํารงรักษา/ผลิตซ้ํา myth ตางๆในสังคม โดยเฉพาะอยางยิ่งผานระบบ
การศึกษาและยอนกลับมาเปนสิ่งสราง ชาติ และรัฐ ในจินตนาการในที่สุด
จากนั้นอาจารยทําใหเห็นวา ทั้งหมดนี้รัฐที่ผูกอยูกบั ชาติมีสวนอยางไรในการทําใหเกิด
“ความรุนแรงเชิงโครงสราง” ซึ่งโครงสรางทําการขัดขวาง “ศักยภาพ” (potentials) ของผูคน อัน
เปนสิ่งที่หลีกเลี่ยงไมไดโดยธรรมชาติของรัฐเอง รวมถึง (รัฐ) ทําใหเกิด “ความรุนแรงเชิง
สัญลักษณ” (symbolic violence) ผานการผลิตซ้ําทางสังคมที่สรางความไมเทาเทียมกันในทาง
วัฒนธรรมภายในรัฐและผูทถี่ ูกกดทับเมื่อถึงเวลาก็จะระเบิดออกมาในที่สุด

61
Ibid., p. 36.
62
Ibid., p. 37.
26
สุดทายอาจารยทําใหเราเห็นวา ในโลกปจจุบันที่เราไมสามารถหลีกเลี่ยงการดํารงอยูใ นรัฐ-
ชาติไดนั้น ถึงแมวาเราจะไดการปกปอง แตในอีกดานหนึ่งเมื่อเราอยูในจินตนากรรมที่ตัวตนของเรา
(แนนอนรวมถึงความเห็นแกประโยชนของเราที่รองรับอยู) ถูกนิยามและปกปองอยางมั่นคงภายใน
“กําแพงในจินตนาการ” นั้นกลับกลายเปนสิ่งที่กีดกันศักยภาพของเราและกีดกันเราออกจากเพื่อน
มนุษยผูอื่น
สําหรับผูเขียนแลว สิ่งที่จะตองทําใหชัดในที่นี้ คือ โดยตรรกะของตัว รัฐ-ชาติ เอง (หรือ
โดยธรรมชาติของตัว รัฐ-ชาติ เองในภาษาของอาจารยชัยวัฒน) ไมมีพนื้ ที่ใหกับ Minorities หรือถา
จะพูดใหสุดขัว้ ในทางหนึ่ง พื้นที่ของ Minorities ในรัฐจะมีไดก็แตในฐานะของสวนเกินหรือ “สวน
ที่ไมถูกนับ” เทานั้น63 และดังนั้นแลว เมื่อเขาไมเปนสวนหนึ่งของเราจึงเปดพื้นทีใ่ หกบั ความรุนแรง
ตางๆ ไมวาจะเปน “ความรุนแรงทางตรง” (Direct Violence), ความรุนแรงเชิงโครงสราง
(Structural Violence) รวมถึง “ความรุนแรงเชิงวัฒนธรรม” (Cultural Violence)64 และ “ความ
รุนแรงเชิงสัญลักษณ” จึงรวมเปนแรงกดดันอันมหาศาลที่มีตอผูคนเหลานั้น ซึ่งแนนอนที่สุดวา สิ่ง
ที่ถูกกดทับไวเหลานั้นจะตองรอคอยหวงขณะที่เหมาะสมที่ปจจัยตางๆ หนุนเนื่องใหระเบิดออกมา
เปนความรุนแรงในการโตตอบ โดยการโตตอบที่ถูกรับรูไดอยางชัดเจนที่สุดก็คงจะเปนการกอการ
รายนั่นเอง
สิ่งที่ผูเขียนพยายามทํา คงจะสามารถเขาใจไดงายขึ้นถาเราลองนึกถึงเหตุการณความวุน วาย
ในสามจังหวัดชายแดนภาคใตของไทย นัน่ คือ โดยตรรกะของรัฐชาติเองที่แบงแยก ความเปนเรา
(คนไทย) ออกจาก “คนอื่น” คือ คนมลายูมุสลิม และเปดพื้นที่ใหกับความรุนแรงกระทําตอพวกเขา
เหลานั้น จนพวกเขาระเบิดออกมาในที่สุด นั่นคือสําหรับพวกเรา เราคือคนไทยในประเทศไทยซึง่
ประเทศนี้เปนของคนไทย ดังนั้นคนลาว (อีสาน) คนมลายู (ใต) ชาวเขา (เหนือ) และอื่นๆ เปน
“พลเมืองชั้นสอง”, เราคือคนที่อยูในระบอบประชาธิปไตยและประชาธิปไตยคือความดีงาม ดังนัน้
พวกกบฏคอมมิวนิสตเปนสิง่ ที่สมควรหายไป ตายไดยิ่งดี ถึงจะไมกลาทําเองแตกใ็ หคนอื่นทําโดย
การนิ่งเฉยเสีย, เราคือคนที่มีพระมหากษัตริยเปนประมุข และเปนสิ่งทีต่ องเคารพอยางสูง ดังนั้น ถา
ใครมาลบหลูดูหมิ่นจะไดเห็นดีกัน

63
ดู Decha Tangseefa, Imperceptible Naked-Lives & Atrocities: Forcibly Displaced Peoples & the Thai-
Burmese in-between Spaces (Ph.D. Dissertation, University of Hawai’i at Manoa, 2003), pp. 35-39.
64
ในขณะที่อาจารยชัยวัฒนเขียนงานชิ้นนี้ (Chaiwat Satha-Anand, “Of Imagination and the State,” op. cit.)
concept “ความรุนแรงเชิงวัฒนธรรม” ยังไมถูกสรางขึ้นโดย Johan Galtung [“Cultural Violence,” Journal of
Peace Research, 27:3 (1990), pp. 291-305] ผูที่สนใจทฤษฎีเกี่ยวกับความรุนแรงในสายนี้ในภาษาไทย โปรดดู
ชัยวัฒน สถาอานันท, อาวุธมีชีวิต: แนวคิดเชิงวิพากษวาดวยความรุนแรง, พิมพครั้งที่ 2 (กรุงเทพฯ: ฟาเดียวกัน,
2549), โดยเฉพาะหนา 3-114.
27
ในทัศนะของผูเขียนเหลานีท้ ี่ไดกลาวไปลวนเปนโครงสรางพื้นฐานของการธํารงความไม
เทาเทียมในสังคมไทยใหดํารงอยูได และถาสิ่งนี้เปนสิ่งที่ทั้ง “เรา” และ “เขา” (ซึ่งแทที่จริงแลวเปน
สิ่งเดียวกัน) ไมตองการ คงถึงเวลาแลวที่เราจะตองคิดถึง “การเมือง” แบบที่ไมมีรัฐ-ชาติเปน
ศูนยกลางแตเปนการเมืองทีเ่ ปดพื้นทีใ่ หมนุษยทกุ คนสามารถอยูรวมกันไดอยางเทาเทียมกันมาก
เทาที่จะเปนไปได
อยางไรก็ตามหลังจากที่เราใชพื้นที่มากมายติดอาวุธทางปญญาในการทําความเขาใจกําเนิด
และปญหาพืน้ ฐานของ รัฐ-ชาติแลวมาพอสมควรแลว มีความจําเปนอยางยิ่งที่เราจะเขาปะทะกับ
ประเด็นทีเ่ ปนหลักใหญใจความของสวนนี้วา ความเปนเรา หรือ ความเปนไทย ทีพ่ ูดถึงขณะนี้ แทที่
จริงแลวมีรูปรางหนาตาอยางไรกันแน และมีคุณลักษณะอยางไรที่สามารถธํารงความไมเทาเทียมใน
สังคมนี้เอาไวได

3.3 ความเปนไทยกระแสหลัก

กลาวโดยยนยอที่สุด เรากําลังพูดถึง ความเปนชาติ ในกรณีของ ความเปนไทย ที่มีสถานะ


เปนสิ่งถูกสราง (constructed) เปนจินตนากรรม (imagined) ที่ถูกทําใหเกิดมีขึ้น โดยที่ความจริง
แบบ “ความเปนไทย” เปนสิ่งที่มีความสลับซับซอนยิ่งและถูกนิยามโดย “ปญญาชนกระแสหลัก”
จํานวนหนึ่ง ที่มีอิทธิพลอยางลึกซึ้งตอความคิดเกีย่ วกับตัวเองของคนไทย เพื่อตอบสนองปญหา
ทางการเมืองของชนชั้นนําในแตละสมัย
ในการนี้ ผูเขียนคิดวางานเรือ่ ง “การสราง ‘ความเปนไทย’ กระแสหลัก และ ‘ความจริง’ ที่
‘ความเปนไทย’ สราง” ของอาจารยสายชล จะเปนผูนําทางที่ดีของเรา
ในงานชิน้ นีอาจารยแสดงใหเห็นวา “ความเปนไทย” กระแสหลัก ถูกสรางขึ้นโดย
ปญญาชนอยางไร และแสดงใหเห็นวา

“ความเปนไทย” ที่ปญญาชนนิยามเกิดขึ้นในบริบททางการเมืองอยางไร และมี


ความสําคัญอยางไรในฐานะเปนฐานทางอุดมการณ ที่จรรโลงโครงสรางการเมืองแบบรวม
ศูนยอํานาจ และโครงสรางสังคมที่แบงคนเปนลําดับชั้น แลววิคราะหใหเห็นวา ฐานทาง
อุดมการณดังกลาวนี้ เมื่อดํารงอยูในฐานะ “วิธีคิดกระแสหลัก” ในทศวรรษ 2500 เปนตนมา
ซึ่งสังคมไทยเปลี่ยนแปลงอยางรวดเร็วนั้น ไดกลายเปนอุปสรรคในการปรับตัวของคนไทย
เพราะมีความหมายแคบเกินไป จนไมสามารถเปดพื้นที่ใหแกคนทุกกลุมในสังคมไทย ที่จะมี
สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคที่จําเปน ทั้งแกการเขาถึงทรัพยากรและการดํารงชีวิตอยาง
28
สมศักดิ์ศรีความเปนมนุษย ทําให “ความเปนไทย” กระแสหลักกลายเปนสวนหนึ่งของ
โครงสรางความรุนแรงในสังคมไทยในระยะหลายทศวรรษที่ผานมา65

อาจารยทําใหเราเห็นภาพของการสราง “ความเปนไทย” กระแสหลักที่เปนความจําเปนที่


เนื่องมาจากการปะทะกับอารยธรรมตะวันตกอยางชัดเจนในสมัยรัชกาลที่ 5 ที่ชนชั้นนําตองการ
รักษาอํานาจทางการเมือง-สังคมเอาไว และดังนั้นจึงตองรับเอาความทันสมัยทางวัตถุมาจาก
ตะวันตก พรอมๆ กับรักษา “ความเปนไทย” ทางวัฒนธรรมบางอยางที่จะชวยจรรโลงโครงสราง
ทางสังคมแบบที่ตนไดประโยชนอยูได66 ซึ่งจุดเนนของ “ความเปนไทย” กระแสหลักที่ถูกสรางขึ้น
นี้ คงสามารถสรุปใหเหลือไดเพียง 3 คํา คือ “ชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย”
ปญญาชนที่อาจารยใหความสําคัญมากที่สุดคือ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช ที่มีอิทธิพลอยาง
ยิ่งตอการสราง “ความเปนไทย” กระแสหลักในชวง 50 ปที่ผานมา ทั้งจากการเปนผูสรางแนวคิด
“การปกครองแบบไทย” ที่ไมจําเปนตองมีรัฐสภา และ”ผูปกครองแบบไทย” ที่มาจากไหนไมสําคัญ
ขอเพียงเปนคนดีมีความสามารถตามความเปนจําเปนทางการเมืองของจอมพลสฤษดิ์ ในขณะนัน้ 67
และที่สําคัญที่สุด คือ การนิยามความหมายพระมหากษัตริยวาทรงเปนแบบอยางในอุดมคติของการ
“ปกครองแบบไทย” ในแงของการเปนผูทรงธรรมสูง(สุด?) และสามารถที่จะ “กีดขวาง” การใช
อํานาจที่มาจากผูนําที่ไมเปนธรรมภายในสังคมการเมืองนี68้ จากทีก่ ลาวมาสงผลใหพระมหากษัตริย
ทรงอยูในสถานะที่สูงสงจนไมสามารถแตะตองได69 และสิ่งสําคัญที่วางอยูบนความคิดที่ไดกลาว
ไปแลว คือ หลักคิดเรื่อง “ที่สูง” และ “ที่ต่ํา” ที่ดํารงอยูใน “ความเปนไทย” กระแสหลักเสมอมา
สงผลใหเกิดเปน “โครงสรางทางสังคมที่แบงเปนลําดับชั้นและรวมศูนยอํานาจตลอดมา โดยที่
“ความเสมอภาค” และระบอบประชาธิปไตยที่มีรากฐานอยูที่ความเสมอภาค ที่บางสวนของ
ขบวนการนักศึกษาเคลื่อนไหวเรียกรองไมเคยมีความสําคัญอยางแทจริงในทัศนะของคนไทย”70

65
สายชล สัตยานุรักษ, อางแลว, น. 42.
66
เพิ่งอาง, น. 42-43.
67
เพิ่งอาง, น. 50-54.
68
เพิ่งอาง, น. 55-58.
69
ในการนี้ เกษียร เตชะพีระ [“บทวิจารณการสราง ‘ความเปนไทย’ กระแสหลัก และ ‘ความจริง’ ที่ ‘ความเปน
ไทย’ สราง โดย รศ. สายชล สัตยานุรักษ,” ฟาเดียวกัน, 3:4 (ตุลาคม-ธันวาคม 2548), น. 68-81] โดยอาศัยงานของ
ชนิดา ชิดบัณฑิตย [โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริ: การสถาปนาพระราชอํานาจนํา (พ.ศ. 2494-2546),
(วิทยานิพนธมหาบัณฑิต คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร, วิพากษสายชลวา แทที่
จริงแลวสถานะอันสูงสุดของพระมหากษัตริยพระองคนี้ (ร. 9) เปนผลมาจากการทรงงานหนักอยางยิ่งผานพระ
ราชกรณียกิจที่ทรงบําเพ็ญอยางตอเนื่องนานหลายสิบปตางหาก
70
สายชล สัตยานุรักษ, อางแลว, น. 60.
29
จากงานของ อ.สายชล ผูเขียนคิดวาสามารถฉายใหเห็นรูปรางหนาตาของ ความเปนไทยได
ในระดับหนึ่ง แตผูเขียนไมตองการที่จะหยุดเพียงเทานี้และเห็นวาปาฐกถาพิเศษของ ศ.ดร.ธงชัย
วินิจจะกูล เรือ่ ง อนาคตของการศึกษาเรื่อง ‘รัฐ’71 ในสวนที่ อาจารยกลาวถึง คุณสมบัติ 3 อยางที่
สืบทอดเปลี่ยนแปรมาจากความคิดวัฒนธรรมการเมืองแบบเดิม ที่ไมไดถูกกําจัด และสงผลตอ
ความสัมพันธระหวางรัฐกับประชาชนที่มผี ลมาถึงรัฐในชีวิตประจําวันของคนไทยปจจุบัน มีความ
เกี่ยวเนื่องอยางยิ่งตอประเด็นเรื่อง ความเปนไทย ในงานชิ้นนี้ โดยอาจารยเสนอวา คุณสมบัติ 3
ประการที่เปนสเต็มเซลหรือเปนฐานของรัฐไทยที่มีผลตอความสัมพันธระหวางรัฐกับประชาชน
ไดแก 1. คอนเซ็ปตเรื่องแบบอํานาจจาก “บารมี” 2. ระเบียบสังคมทีถ่ ือเอา “hierarchy of power”
(ลําดับชั้นของอํานาจ) เปนแกนหลักของการจัดลําดับชั้นทางสังคม และ 3.ความสัมพันธของรัฐกับ
ประชาชน หรือสังคมแบบ “organic” อาจจะแปลวาแบบ “ชีวภาพ”
ขยายความสวนแรก อํานาจแบบ “บารมี” ผูกติดกับคุณสมบัติของตัวบุคคล คือไมใช
แนวคิดอํานาจแบบสมัยใหมตะวันตกอัน เปนอํานาจที่ “impersonal” มากับตําแหนงแหงที่ตาม
กฎหมาย ที่มาพรอมกับตําแหนงหนาที่ แตเปนอํานาจทีผ่ ูกติดกับบุคคล อยูกับคุณสมบัติของบุคคล
อยูกับคุณธรรม อยูกับพลังหรือคุณสมบัติเชิงบุคคลบางอยาง เปนอํานาจแบบ “บารมี” ไมใชแบบ
ตะวันตก คือ เวลาเราคิดถึงอํานาจในการเมืองรัฐสมัยใหม แทที่จริง เราคิดตามความเขาใจเรื่อง
“บารมี” อยูเสมอ แตเราไมรูตัว ขณะเดียวกันพวกเราก็สมัยใหมพอที่จะไมคิดแบบนั้นเชนกันดวย
ทําใหบอยครั้งหรือตลอดเวลา ความคิดเรื่องอํานาจแบบสมัยใหมจงึ ปะทะปะปนกับอํานาจแบบ
บารมี แบบผิดฝาผิดตัวกันเกือบหมด ความคาดหวังทีเ่ รามีตอพฤติกรรมทางการเมืองจึงลักลั่นปนเป
กันอยูระหวางอํานาจสองชนิด
ขยายความคุณสมบัติขอที่ 2 ที่มีผลตอความสัมพันธระหวางรัฐกับประชาชน ก็คือระเบียบ
สังคมที่ถือเอา “hierarchy of power” เปนแกนกลาง หรือระเบียบสังคมที่ถือเอา “ลําดับชั้นของ
บารมี” เปนแกนกลางในการจัดระเบียบทางสังคม คือ รัฐทุกยุคทุกสมัย คืออํานาจทีป่ กปองรักษาค้ํา
จุนระเบียบสังคมที่เชื่อวาเปนปกติซึ่งชนชัน้ ปกครองตองการธํารงรักษา แตระเบียบสังคมที่รัฐสมัย
ใหมในโลกตะวันตกค้ําจุนรักษา เปนระเบียบสังคมที่ผานการปฏิวัติศาสนา อุตสาหกรรม และ
ประชาธิปไตยมาแลว กลายเปนสังคมที่เต็มไปดวยกลุมผลประโยชนที่ขัดแยงกัน ไมไวใจใหใครมี
อํานาจเหนือตัวเอง และเริ่มเกิดปจเจกชน กลายเปนอะตอม กลายเปนหนวยยอยทีส่ ุดของระเบียบ

71
อันเปนสวนหนึ่งของการประชุมประจําป ครั้งที่ 6 ศูนยมานุษยวิทยาสิรินธร ‘รัฐ จากมุมมองของชีวิตประจําวัน’
ระหวางวันที่ 28-30 มีนาคม 2550 โดยนํามาจาก
http://www.prachatai.com/05web/th/home/page2.php?mod=mod_ptcms&ID=7752&Key=HilightNews อนึ่ง
ขอความอันเปนเนื้อหาของการบรรยายตอจากนี้ผูเขียนขอทําการคัดลอกจากคําพูดของอาจารยโดยทําการตัดตอ
ใหเหมาะสม
30
ทางสังคม แตระเบียบสังคมอยางที่พูดนีไ้ มไดเกิดขึ้นในสังคมไทย ระเบียบสังคมไทยที่รัฐไทยค้ําจุน
รักษาไมไดมปี ระวัติศาสตรมาแบบเดียวกัน จึงกลับเปนระเบียบสังคมแบบ hierarchy กลุม
ผลประโยชนและปจเจกชนที่เกิดขึ้นเปนหนวยทางการเมืองในระยะหลัง ดํารงอยูทามกลางระเบียบ
สังคมแบบลําดับชั้นที่ยังฝงรากลึกและไมเคยถูกถอนรากถอนโคน รัฐสมัยใหมในระยะแรกก็เปน
รัฐสมัยใหมทคี่ ้ําจุนระเบียบสังคมของ “ลําดับชั้นของบารมี” อยางที่กลาวมาพยายามจะสถาปนา
หรือ institutionalize คือทําใหระเบียบสังคมที่ถือลําดับชั้นของบารมีกลายเปนสถาบันทางสังคม
คุณสมบัติประการที่ 3 ของสังคมไทยที่มีผลตอความสัมพันธของรัฐกับประชาชน แบบที่
ประชาชนยินดีที่จะทําตัวเปนตัวแทนของรัฐอยูตลอดเวลาก็คือ เราเชื่อวา ความสัมพันธระหวางรัฐ
กับสังคม หรือระหวางรัฐกับประชาชน เปนแบบ “organic” เปนแบบชีวภาพ72
ความเชื่อแบบนี้เชื่อวา สังคมก็เหมือนกับชีวภาพ แลวชีวภาพที่จะมีสุขภาพดี คือเปน
ชีวภาพที่องครวมตางๆ สอดคลองกัน หมายความวา เราเชื่อวาทั้งรัฐ คนมีอํานาจ ทั้งประชาชนสวน
ตางๆ ตางมีตําแหนงแหงที่ของตนในองครวมชีวภาพ สําหรับยุคปจจุบนั ประมาณ 100 กวาปมาแลว
“องครวม” นี้ เราเรียกวา “ชาติ” แตกอนหนานั้นที่จะมี “ชาติ” ความคิดเรื่องสังคมเปนองครวมก็มีมา
นานแลว แตตอนนั้นไมเรียกวาชาติ
เวลาเรามองสังคมเปน organic จึงเห็นความแตกตางของชนชั้น และผลประโยชนตางๆ
ความขัดแยงทางอํานาจระหวางพลังตางๆ ความขัดแยงระหวางรัฐกับประชาชน เปนแคความตางที่
แตละสวนมีบทบาทหนาที่เพื่อความสมบูรณขององครวม แทนที่จะมองวา ความแตกตางเหลานัน้
คือความขัดแยง แทนที่จะมองวาสังคมเปนเรื่องผลประโยชนที่ขัดแยงกัน และหลายจุดประนีประ
นอมกันไมได แทนที่จะมองวา ความขัดแยงเปนเรื่องปกติที่ผลักดันสังคมไปขางหนาซึ่งตองการ
สถาบันทางการเมืองมาจัดการความขัดแยงนั้น เชน การเลือกตั้ง ระบบประชาธิปไตย เรากลับมอง
วาการประสานกันใหไดลงตัวตางหากคือความจําเปนเพือ่ รักษาระเบียบสังคมไว ความขัดแยงที่ลง
รากลึกรุนแรงแกไมตก เรามักเรียกวาเปนอันตรายตอสังคม แทนที่จะมองวาความขัดแยงชนิดนัน้
เปนสิ่งปกติในสังคม แทนที่จะมองวารัฐเปนตัวแทนผลประโยชนหนึ่งของความขัดแยง หรือมอง
วารัฐเปนกรรมการเพื่อแกความขัดแยงในหมูประชาชน เปนผูตัดสินเรื่องนโยบายทีเ่ หมาะ ณ เวลา
หนึ่ง ซึ่งยอมตองอยูกับความขัดแยง ไมใชขจัดความขัดแยง เพราะเปนไปไมได เรากลับมองวารัฐ
เปน “หัว” เปน “ผูนํา” ขององคาพยพที่ตอ งสอดคลองสมานฉันทกัน และก็มองวา ผูใชอํานาจจึง
ตองทรงคุณธรรม เปนที่ยอมรับขององคาพยพตางๆ

72
เปนหนึ่งในฐานคิดของระบบวรรณะในสังคมอินเดีย ที่บอกวาการทํางานตามหนาที่ของตนเองอยางดีที่สุดและ
รูสถานะตําแหนงทางสังคมของตนเองเปนการทําใหเขาใกลสภาวะสูงสุดอันจะมีผลทําใหมนุษยหลุดพนจากทุกข
รายละเอียดหาอานไดเพิ่มจากมหากาพยมหาภารตะ
31
วัฒนธรรมทางการเมืองที่อยูบ นฐานของสังคมแบบ organic เพื่อค้ําจุน hierarchy หรือค้ํา
จุนลําดับชั้นของบารมี จึงคาดหวังประชาชนที่รูจักตําแหนงแหงที่ของตน ประชาชนที่สมควรจะ
เปนแคสวนหนึ่งขององครวม เปนอวัยวะของชีวภาพทีค่ วรรูจักทําตัวใหดี ไมใชมองวาประชาชน
เปนคูขัดแยงของการใชอํานาจ สังคม organic สังคมแบบชีวภาพ เพื่อรักษาลําดับชัน้ ของบารมี จึง
เนนการรูจกั ประสานประโยชน ภายในรัฐแบบนี้ ภายใตทัศนะเรื่องรัฐประชาชนแบบนี้ ประชาชน
จึงยินดีที่จะเปนสวนหนึ่งของรัฐ ประชาชนจึงสมัครใจที่จะทําตัวเปนเอเยนตหรือตัวแทนของรัฐเสีย
เอง รวมดวยชวยกันใชอํานาจบังคับคนอื่น เพื่อรักษาระเบียบสังคมที่อวัยวะตางๆ ทําหนาที่ของ
ตัวเองอยางสงบราบคาบและเรียบรอย
เหลานี้คือภูมหิ ลังและเงื่อนไขของความสัมพันธระหวางรัฐกับประชาชนในสังคมไทย
ภายใตวัฒนธรรมทางการเมืองแบบไทยๆ ภายใตการนําของผูมีบารมีนํารัฐ นําสังคม นําชาติ ทั้งที่อยู
ใน อยูน อก อยูเ หนือ อยูใ ต และไมไดอยูในรัฐธรรมนูญ
ดวยลักษณะพืน้ ฐานดังกลาวนี้เองเมื่อประกอบกับสิ่งที่ผูเขียนพยายามอธิบายในสวนนี้ที่ทํา
ใหเรามาถึงขอสรุปวา ระบบความหมายหลักที่ครอบงําสังคมไทยอยูเ ปนระบบความหมายที่ไมเคย
เปดพื้นทีใ่ หกบั ความคิดเรื่อง ความเสมอภาคเทาเทียม และดังนัน้ แลวจึงเปนระบบความหมายที่เอื้อ
ประโยชนอยางยิ่งใหกับชนชั้นนํา และธํารงความไมเทาเทียมในสังคมนี้ตลอดมา

บทที่ 4 ภาคปฏิบัติการของอุดมการณ “ความเปนไทย” ความเหลื่อมล้ําทางดานเศรษฐกิจ :


กรณีศึกษาการปราบปรามเคลื่อนไหวของชาวนาชาวไร ในชวงเวลา 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ถึง 6
ตุลาคม พ.ศ. 2519

เนื้อหาในบทนี้จะเปนสวนที่ทําใหเนื้อหาในบทที่ 2 และบทที่ 3 มีลักษณะเปนรูปธรรมมาก


ขึ้น สามารถจับตองและมองเห็นภาพไดอยางชัดเจนขึ้น โดยเนื้อหาในสวนนี้จะเปดเผยถึงการ
ทํ า งานของ “กลไกทางอุ ด มการณ ข องรั ฐ ” ไม ว า จะเป น ด า นที่ ทํ า หน า ที่ เ ผยแพร แ ละผลิ ต ซ้ํ า
อุดมการณ “ความเปนไทย” เพื่อธํารงไวซึ่งความ “สงบราบคาบ” ของสังคมไทย ทําใหคนที่ถูกเอา
เปรียบทางสังคมไมตั้งคําถามกับปรากฏการณที่เกิดขึ้นกับตนเอง หรือยอมรับวาการถูกเอาเปรียบ
เปนชะตากรรมที่ถูกลิขิตไวแลว สิ่งเดียวที่ทําไดคือทําใจยอมรับมัน
หรือในดานของการใหความชอบธรรมแก “กลไกทางดานการกดขี่ปราบปรามของรัฐ” ใน
การปราบปรามการลุกขึ้นสูของผูที่ถูกเอาเปรียบทางสังคม เพราะอุดมการณ “ความเปนไทย” ไดทํา
การสรางคูตรงขามของสิ่งที่ถูกเรียกวา “ความเปนไทย-ความเปนอื่น” โดยอุดมการณนี้ใหคุณคา
“ความเปนไทย” วาเปนสิ่งที่ควรธํารงรักษาเอาไว สวน “ความเปนอื่น” เปนสิ่งที่มีคาต่ํากวา “ความ
เปนไทย” และในบางครั้ง “ความเปนอื่น”เปนสิ่งที่ควรไดรับการกําจัดออกไป ดังจะยกตัวอยางได
32
จาก “ลัทธิคอมมิวนิสต” ที่ถูกสร างภาพใหมุงจะทําลาย “ชาติ-ศาสนา-พระมหากษัตริย” ที่เปน
“แกนกลาง” ของความเปนไทย จึงสามารถฆาตายไดอยางชอบธรรม หรือกรณีคนขายยาเสพติดที่
ถูกสรางภาพใหเปนคนทรยศตอชาติ ดังนั้นสังคมไทยจึงใหความชอบธรรมอยางเต็มที่ในการฆาตัด
ตอน รวมไปถึงการที่คนบางกลุมในสังคมไทยเห็นดวยกับการใชความรุนแรงในการแกปญหา
“สามจังหวัดชายแดนภาคใต” เพราะเห็นวาคนเหลานั้นเปน “แขก”
โดยวัตถุแหงการศึกษาการทํางานของอุดมการณ “ความเปนไทย” ของเนื้อหาในสวนนี้คือ
การศึกษาการศึกษาการปราบปรามการเคลื่อนไหวของสหพันธชาวนาชาวไรแหงประเทศไทย ซึ่ง
เป น กลุ ม เคลื่ อ นไหวของเหล า เกษตรกร 73ที่ เ ป น ผู ต อ งแบกรั บ ต น ทุ น ของการเจริ ญ เติ บ โตทาง
เศรษฐกิจเหตุผลที่เลือกกรณีนี้เปนกรณีศึกษาเพราะการเคลื่อนไหวในกรณีนี้เราจะไดเห็นการ
ทํางานของ “กลไกทางอุดมการณของรัฐ” และ“กลไกทางดานการกดขี่ปราบปรามของรัฐ” ที่กระทํา
ตอเกษตรกร และการทํางานของ “กลไกทางอุดมการณของรัฐ” ที่มีอิทธิพลในการสรางความชอบ
ธรรมในการปราบการเคลื่อนไหวของกลุมชาวนาชาวไรตอประชาชนที่ไมไดอยูในกลุมนี้ อยางไรก็
ตามผูเขียนคิดวาสหพันธชาวนาชาวไรแหงประเทศไทย ไมไดเปนตัวแทนของเกษตรกรทั้งหมด แต
เปนกลุมเกษตรกลุมหนึ่งที่มีความตองการจะปกปองผลประโยชนของตนเอง

4.1 “กลไกทางอุดมการณของรัฐ” ในการกดทับความรูสึกการถูกเอาเปรียบของชาวนา

ผูเขียนจะขอเริ่มตนเลาเรื่องจากการทํางานของ “กลไกทางอุดมการณของรัฐ” ที่ทําการ


สรางและผลิตซ้ําภาพ “สังคมไทย” ผานทางสถาบันการศึกษา ซึ่งภาพในจินตนาการของสังคมไทย
ที่รัฐไทยสรางขึ้นในแบบเรียน เปนสังคมที่เปนหมูบานที่มี “ความสงบราบคาบ” ทุกคนเปนพี่นอง
รวมชาติกัน โดยคุณธรรมสําคัญคือความสามัคคี เพราะถาชาติไทยไมมีความสามัคคีชาติไทยก็

73
ณ จุดนี้มีประเด็นที่ตองทําความเขาใจที่สําคัญยิ่งคือ เปนที่ทราบกันทั่วไปวาทฤษฎีสาย Marxism มี
ฐานอยูที่สังคมยุโรปที่ผูคนถูกทําใหกลายเปนแรงงานที่ไดรับผลตอบแทนเปนคาจางและไมไดถือครองปจจัยการ
ผลิตอื่นนอกเหนือจากแรงงานของตนโดยมีลักษณะรวมของการเปนชนชั้นอยางชัดเจน ซึ่งนั่นหมายความถึง
ความเปนไปไดของการไมลงรอยเมื่อเรานําทฤษฎีที่มีฐานดังที่กลาวมาใชอธิบายรูปแบบสังคมที่แตกตางกัน ซึ่งใน
กรณีนี้ก็คือ อธิบายการกดขี่ชาวไรชาวนาในประเทศไทย ตอกรณีนี้ผูเขียยนขอตอบวา เราไมควรมองวามโนทัศน
“การผลิต” ในทฤษฎีสาย Marxism อยางคับแคบตายตัวที่จะทําใหเราตีความวาการผลิตของชาวนาไมเปนไปตาม
ทฤษฎี Marxism แต เราควรมองการผลิ ต ในฐานะระบบการแลกเปลี่ ย นของทุ น นิย มที่ป ระกอบดว ยทั้ ง
กระบวนการผลิต กระบวนการซื้อขายแลกเปลี่ยน ที่ไดรับอิทธิพลอยางสูงจาก ทุน มากกวา คือมองวาชาวไร
ชาวนาดํารงอยูในระบบทุนนิยมและถูกเอารัดเอาเปรียบผานการทํางานของทุนนั่นเอง โปรดดู แอนดรูว อางแลว. ,
น.
33
จะตองประสบกับการเสียเอกราช ดังที่ไดเกิดขึ้นในสมัยตอนเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง เพราะใน
จินตภาพเชนนี้แลวประเทศไทยมีพื้นฐานมาการรวมตัวของครอบครัวหลายครอบครัวเขาไวดวยกัน
ดังนั้นแลวจึงเปนหนาที่ของคนไทยทุกคนที่ตองทําตามหนาที่ของตนเองเพื่อดํารงไวซึ่งความสงบ
เรียบรอยและความมีเอกภาพของชาติ เชนตํารวจทําหนาที่รักษาความสงบ ทหารทําหนาที่ปกปอง
กันประเทศชาติจากศัตรูภายนอกประเทศ ครูทําหนาที่อบรมเด็กใหเปนกําลังสําคัญในการพัฒนา
ประเทศชาติในอนาคต เยาวชนตองเชื่อฟงคําสอนจากพอแม ครูบาอาจารยและผูหลักผูใหญ รวมไป
ถึงทุกคนมีหนาที่ตองทํานุบํารุง “ชาติ-ศาสนา-พระมหากษัตริย” ใหมีความเจริญรุงเรือง โดยมี
พระมหากษัตริยทําหนาที่เปนพระประมุขของชาติ และพระมหากษัตริยเปนผูที่มีบุญคุณตอชาติ
ไทยเพราะเปนผูทําสงครามรักษาเอกราชจากศัตรูภายนอกเอาไว รวมทั้งเปนศูนยรวมจิตใจของคน
ในชาติ74
จากจินตภาพแบบนี้ การแบงงานกันทําของสังคมไมไดวางอยูบนพื้นฐานทางดานเศรษฐกิจ
แต เ ป น เรื่ อ งของบุ ญคุ ณ เรื่ อ งของหน าที่ ที่ต นเองต อ งทํ า ให ดีที่ สุด เพื่ อ ผลประโยชน ข องสัง คม
สวนรวม ทําใหมองไมเห็นเรื่องของผลประโยชนที่มีความขัดแยงกัน รวมถึงไมมีการถูกเอารัดเอา
เปรียบเกิดขึ้นเพราะทุกคนตางก็มีบุญคุณซึ่งกันและกันในการที่จะทําใหสังคมอยูอยางสงบสุขและ
รมเย็น ดังนั้นแลวการเรียกรองผลประโยชนใหกับตนเองเพิ่มขึ้นจึงเปนการทวงบุญคุณและเห็นแก
ตัว ไมเห็นแกประโยชนสวนรวม จงกมหนากมตาทําหนาที่ของตนเองใหดีที่สุดการที่ตําราเรียน
เสนอภาพของ “ชาติไทย” แบบนี้ มาจากการที่อุดมการณ “ความเปนไทย” มองสังคมเปนแบบ
“Organic” หรือการมองสังคมทั้งหมดเปนอวัยวะที่ประกอบเขาดวยกันเปนรางกาย75
โดยตําแหนงแหงที่ของชาวนา (หรือเกษตรกรทั้งหมด) ในตําราแบบเรียนที่ผลิตซ้ําโดยรัฐ
คือ เปนกระดูกสันหลังของชาติ เปนผูที่ทําหนาที่ผลิตอาหารใหคนในชาติไทยไดรับประทาน ไม
ประสบกับภาวะอดอยาก ดังนั้นชาวนาทุกคนจึงมีบุญคุณตอพวกเราเพราะเปนผลิตอาหารใหเราได
ประทังชีวิต ดังที่ปรากฏในขอความตอไปนี้

เด็กๆ ถามลุงเกษมวา ทําไมชาวนาจึงปลูกขาวมากนัก

74
รายละเอียดเพิ่มเติมหาอานไดจาก นิธิ เอียวศรีวงศ, “ชาติไทย และเมืองไทย ในแบบเรียนประถมศึกษา”, ใน
ชาติไทย,เมืองไทย, แบบเรียนและอนุสาวรีย วาดวยวัฒนธรรม, รัฐ และรูปการจิตสํานึก, (กรุงเทพฯ : สํานักพิมพ
มติชน, 2547), หนา 45-81
75
http://www.prachatai.com/05web/th/home/page2.php?mod=mod_ptcms&ID=7752&Key=HilightNews
34
ลุงเกษมยิ้มแลวก็ตอบวา ขาวเปนอาหารหลักของคนไทย อุดรและ
เกสรก็ตองกินขาวทุกวันใชไหมละ ลองคิดดูซิวาคนไทยทั้งประเทศกินขาววัน
ละมากมาย ถาลุงกับชาวนาคนอื่นๆ ปลูกขาวนอย พวกเราจะพอกินกันหรือ
(กรมวิชาการ, สปช., ป.๓ : ๕๗)76

ดังนั้นเมื่อการทํานาถูกทําใหเปนเรื่องของหนาที่ไป การที่ชาวนาจะเรียกรองขอความเปน
ธรรมหรือเรียกรองผลประโยชนของตนเอง เชน การเรียกรองราคาขาวเปลือกที่สูงขึ้น เปนเรื่องที่ไม
ถูกตองซักเทาไหร เพราะอยางที่ไดกลาวไวในตอนตนแลวหนาที่ของชาวนาคือการผลิตขาวใหได
มากเพื่อใหคนไทยไดมีขาวกินเยอะๆ ไมใชการไปเดินประทวงบนทองถนนหรือไปทําการยึด
อํานาจรัฐ โดยสํานึกอยางนี้มีอิทธิพลทั้งตอวิธีคิดของเกษตรกรและคนกลุมอื่นๆในสังคม มีผลให
คนในสังคมรวมถึงชาวนารูสึกวาตนเองไมไดถูกเอาเปรียบ
“กลไกทางอุดมการณของรัฐ” ที่สําคัญอีกอยางในการกดทับชาวนา คือสถาบันทางดาน
ศาสนา โดยในสังคมไทยศาสนาที่สําคัญคือศาสนาพุทธ ที่มักจะทําการกลอมเกลาชาวนาอยูเสมอวา
ที่พวกเขามีชีวิตลําบากอยูลําบากเปนเพราะเรื่องของบุญกรรมในชาติที่แลว โดยความเชื่อเชนนี้เปน
ผลมาจากตําราทางศาสนาที่เกาแกที่สุดเลมหนึ่งของสังคมไทยคือ ไตรภูมิพระรวง77 ที่ถูกตีความให
สอดคล อ งกั บ การยอมรั บ อํ า นาจแบบเผด็ จ การรวมศู น ย อํ า นาจ อั น เป น ระบบการปกครองที่
เกษตรกรตองเผชิญอยูในขณะนั้น (ระบบเผด็จการทหาร) เปนการสรางคําอธิบายความยากจนแบบ
“เวรกรรม” ที่ตองการใหชาวนายอมรับชะตากรรมที่ยากลําบากของตน ทําใหเขาหาทางออกที่เปน
ปจเจกบุคคล ไมสามารถรวมกลุมกันเพื่อเรียกรองผลประโยชนทางการเมืองได
อยางไรก็ตามเมื่อไรที่ “กลไกทางอุดมการณของรัฐ” ทางอุดมการณของรัฐไมสามารถใช
ในการสรางรูสึกที่ยอมรับการถูกเอาเปรียบอีกตอไป “กลไกทางดานการกดขี่ปราบปรามของรัฐ” ก็
จําเปนจะตองใชเพื่อจัดการใหเกิดความ “สงบราบคาบ” แต “กลไกทางอุดมการณของรัฐ” ยังจําเปน
ในการสรางความชอบธรรมในการใชความรุนแรง
สําหรับเนื้อหาในสวนตอไปจะเปนการอธิบายถึงสาเหตุของการที่ “กลไกทางอุดมการณ
ของรัฐ” ไมสามารถทํางาน ในกรณีของการลุกขึ้นสูของการลุกขึ้นสูของชาวนาไทยในชวงทศวรรษ
2510 เปนผลมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดลอมทางการเมือง-เศรษฐกิจ-สังคม รวมไปถึง
สหพันธชาวนาชาวไรแหงประเทศไทย ยังไดสรางอุดมการณชุดใหมของตนในการอธิบายปญหา
ความยากจนและแนวทางการปฏิบัติงานของตนเองที่ไมเคยเกิดขึ้นในการเคลื่อนไหวของชาวนา

76
นิธิ เอียวศรีวงศ, อางแลว, หนา 49
77
Jackson, Peter A., “Thai Buddhist Identity : Debates on The Triphum Phra Ruang”, in National Identity and
Its Defenders Thailand, 1939-1989, Edited by Craig J. Reynolds, (Changmai : Silkwormbooks, 1993), p.195
35
4.2 การกอตั้งและการปฏิบัติการทางอุดมการณของสหพันธชาวนาชาวไรแหงประเทศไทย

หลังจากการพัฒนาเศรษฐกิจไดเริ่มตนเปดฉากขึ้น ชาวนา(หรือเกษตรรายยอย) เปนผูที่ตอง


แบกรับตนทุนของการพัฒนาประเทศ พวกเขาถูกกดราคาพืชผลในราคาที่ต่ํา แตตองซื้อปจจัยการ
ผลิตในราคาที่สูง ทําใหพวกเขาตองเปนหนี้สินแกพอคาคนกลาง ตองเสียความเปนเจาของในที่ดิน
ของพวกเขาไป เมื่อพวกเขา (เกษตรกร) รูสึกตัววาตัวเองถูกเอาเปรียบ
โดยกนกศักดิ์ แกวเทพไดทําการวิเคราะหถึงการรวมตัวของชาวนาขณะนั้น (กอนการจัดตั้ง
สมาพันธชาวนาชาวไรแหงประเทศไทยอันเปนผลมาจากเหตุการณ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516) อยาง
สามารถสรุปไดอยางคราวๆ วา ชาวนายังขาดการจัดองคกรและอยูกันอยางกระจัดกระจาย ถึงแมจะ
มีการเขาเรียกรองบางแตก็เปนแคบางกลุม และในขณะเดียวกันแนวคิดที่วาความยากจนขนแคนใน
ชีวิตของชาวนา เปนผลมาจากกรรมก็ยังทํางานอยู ซึ่งสงผลใหพฤติกรรมของชาวนาใหยอมจํานน
ตอการเอาเปรียบที่ตนเองไดรับไมมากก็นอย ซึ่งผลจากการเคลื่อนไหวอยางไมไดจัดตั้งเปนองคกร
อยางเปนระเบียบและตอเนื่องไมสามารถ ทําใหไมสามารถกดดันรัฐบาลจนกดดันใหแกไขนโยบาย
ไดสําเร็จ ไมสามารถเขาถึงกระบวนการกําหนดนโยบายได78
นอกจากปจจัยเรื่องของการขาดประสบการณในการจัดองคกรของชาวนาเองแลว ปจจัย
ทางการเมืองที่เ ปนเผด็จการของประเทศไทยในขณะนั้น มีสวนในการขัดขวาง การจัดตั้งกลุม
ผลประโยชนของผูที่เสียเปรียบทางดานเศรษฐกิจ เชน การจัดตั้งกลุมของกรรมกรหรือเกษตรกร
มักจะไดรับการขัดขวางจากรัฐบาลเผด็จการทหารในสมัยนั้น โดยมักจะถูกกลาวหาเปนอันตรายตอ
ความมั่นคงของชาติ79
ทํา ให สัง คมไทยในขณะนั้ น เกิ ด ความไม เ สมอภาคในการเข า ถึง กระบวนการกํ า หนด
นโยบายขึ้น โดยกลุมผลประโยชนที่เปนคนไดเปรียบจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจเชน พอคาที่สามารถ
รวมตัวเปนหอการคาหรือนักอุตสาหกรรมที่รวมตัวในรูปของกลุมอุตสาหกรรม ซึ่งกลุมเหลานี้
ไดรับการอุปถัมภทางการเมืองจากนายพลตางๆ80

78
กนกศักดิ์ แกวเทพ, “การตอสูของชาวนาไทย ปพ.ศ. ๒๕๑๖-๒๕๑๙ สหพันธชาวนาแหงประเทศไทย”, ใน
เสนทางชาวนาไทย รําลึก ๒๕ สหพันธชาวนาชาวไรแหงประเทศไทย, บก. โดย นฤมล ทับจุมพล, นิติรัตน ทรัพย
สมบูรณ (กรุงเทพฯ : คณะกรรมการจัดงานโครงการเสนทางชาวนาไทย มูลนิธิโกมลคีมทองและมูลนิธิเด็ก,
2542), หนา 40
79
กนกศักดิ์ แกวเทพ, ประวัติการเคลื่อนไหวของชาวนาไทยจากอดีต-ปจจุบัน : บทวิเคราะหทางเศรษฐศาสตร
การเมือง (กรุงเทพฯ : สมาคมสังคมศาสตรแหงประเทศไทย, 2526), หนา 110
80
ผาสุก พงษไพจิตร, คริส เบเกอร, เศรษฐกิจการเมืองไทยสมัยกรุงเทพฯ, (เชียงใหม : สํานักพิมพซิลคเวอรม,
2546), หนา 168
36
การลุกขึ้นสูในเหตุการณ 14 ตุลา พ.ศ. 2516 เปนจุดเปลี่ยนที่สําคัญของการรวมกลุมในการ
เคลื่ อ นไหวของเกษตรกร เพราะเหตุ ก ารณ นี้ ก อ ให เ กิ ด สํ า นึ ก ชาติ นิ ย มกระแสใหม ที่ ว า การที่
ประเทศชาติจะเจริญกาวหนาตองเปนการเมืองระบบประชาธิปไตยที่เปดโอกาสใหแกคนทุกหมู
เหลาซึ่งมีความหลากหลายทางผลประโยชนมาปกครองตนเอง ไมตองอยูภายใตการปกครองแบบ
ทาสของระบบเผด็จการทหารอีกตอไป ที่คอยค้ําจุนการเอารัดเอาเปรียบจากนายทุน81อันเปนผลมา
จากการเปลี่ยนแปลงดุลอํานาจหลังเหตุการณ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 มีผลทําใหกลุมอํานาจไม
สามารถรวมตั ว กั น ได เ หมื อ นก อ น และเป น เงื่ อ นไขที่ ดี สํ า หรั บ การสร า งอุ ด มการณ ใ หม คื อ
อุดมการณที่วาดวย “อํานาจมาจากประชาชน”82
ผลของการที่อํานาจรัฐออนแอลงและบรรยากาศทางการเมืองที่เปนประชาธิปไตยมากขึ้น
รวมไปถึงสํานึกชาตินิยมแบบใหมที่ไดกลาวไปในขางตนมีผลทําให เกิดการรวมกลุมกันปกปอง
ผลประโยชนของกลุมตางๆอยางแพรหลาย โดยสมาพันธชาวนาชาวไรแหงประเทศไทย ก็เปนหนึ่ง
ในปรากฏการณเหลานั้น ซึ่งสําหรับสมาพันธชาวนาชาวไรแหงประเทศไทยถือไดวาเปนการจัดตั้ง
องคกรขึ้นเปนครั้งแรกของเหลาเกษตรกร83 ในวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2517 โดยมีวัตถุประสงค
สามประการคือ
1. พิทักษผลประโยชนของชาวนาชาวไร
2. แกไขปญหาความเดือดรอนของชาวนา
3. ใหชาวนาชาวไรเขาใจ พรบ. ควบคุมการเชานา84
โดยปจจัยอยางหนึ่งที่สําคัญสําหรับการกอตัวของสหพันธชาวนาชาวไรคือ “โครงการ
เผยแพรประชาธิปไตยเพื่อประชาชน” ของนักศึกษา มีผลทําใหชาวนากับนักศึกษามีความสัมพันธ
กันมากขึ้น ทําใหชาวนาชาวไรมีจิตสํานึกทางการเมืองสูงขึ้น และที่สําคัญที่สุดการที่นักศึกษา
ถายทอดอุดมการณที่วา “พลังของประชาชนไดมาจากการจัดตั้งรวมตัวกันเพื่อเขารวมดวยวิธีการ
ตอสูทางชนชั้น มิใชการรองขอจากในอดีต”85
หลังจากสมาพันธชาวนาชาวไรแหงประเทศไทยไดกอตัวขึ้นแลว องคกรนี้ไดทําหนาที่เปน
ผูพิทักษผลประโยชนของกลุมเกษตรกร โดยการดูแลการจายคาเชาใหเปนไปตามกฎหมาย และ
โฆษณาชี้แจงใหชาวนาเขาใจ พรบ.ควบคุมการเชานา พ.ศ. 2517 ซึ่งเปนตนเหตุแหงความขัดแยง

81
นิธิ เอียวศรีวงศ, “ชาตินิยมในขบวนการประชาธิปไตย”, ใน ชาติไทย,เมืองไทย, แบบเรียนและอนุสาวรีย วา
ดวยวัฒนธรรม, รัฐ และรูปการจิตสํานึก, (กรุงเทพฯ : สํานักพิมพมติชน, 2547), หนา 164
82
กนกศักดิ์ แกวเทพ, อางแลว, หนา 36
83
กนกศักดิ์ แกวเทพ, ประวัติการเคลื่อนไหวของชาวนาไทยจากอดีต-ปจจุบัน : บทวิเคราะหทางเศรษฐศาสตร
การเมือง (กรุงเทพฯ : สมาคมสังคมศาสตรแหงประเทศไทย, 2526), หนา 129
84
เพิ่งอาง, (กรุงเทพฯ : สมาคมสังคมศาสตรแหงประเทศไทย, 2526), หนา 130
85
เพิ่งอาง, หนา 122-124
37
ระหวางผูนําชาวนากับนายทุนทองถิ่น ซึ่งจะนํามาสูการสังหารผูนําชาวนาในชวง พ.ศ. 2517-2522
ที่จะกลาวถึงในเนื้อหาสวนตอไป
นอกจากการเปนผูดูแลผลประโยชนใหแกกลุมชาวนาชาวไรแลว สิ่งสําคัญที่สมาพันธ
ชาวนาชาวไรแหงประเทศไทยกระทําคือการปลูกฝงอุดมการณแหงการตอสูใหแกสมาชิกของ
สมาพันธ สอนใหชาวนาชาวไรรูจักรวมตัวกันเพื่อผลประโยชนของตนเอง โดยสมาพันธชาวนา
ชาวไรแหงประเทศไทย ไดนําเอาหลักการการมีสวนรวมของประชาชน (People Participation) และ
เรื่องอํานาจของประชาชน (Power of the People) ตามหลักประชาธิปไตยที่แทจริงมาสูกับทัศนะที่
รอใหผูมีบุญมาโปรด86 (ระบบพอขุนอุปถัมภของจอมพลสฤษดิ์)
อันเปนผลมาจากการเปลี่ยนแปลงการอธิบายอุดมการณความยากจนจากการอธิบายดวย
ทฤษฎีเวรกรรม มาเปนทฤษฎีสังคม โดยสะทอนออกมาเปนคําพูดประมาณวา “...คนรวยเขารวย
เพราะคนจนอยางพวกเรา เราไถนาใหเขา เราปลูกขาวใหเขา เราเก็บเกี่ยว เราทําใหเขาทั้งหมด เพราะ
เขาไมรูจักวาจะทําอยางไร เราเปนคนปลูกขาวใหเขากิน ปลูกยายใหเขาอยู แตเรายิ่งจนลงทุกวัน แต
เขากลับรวยขึ้น...” จะเห็นไดวาการอธิบายความยากจนของสมาพันธชาวนาชาวไรแหงประเทศไทย
ไดกาวขามพนจากเรื่องของตนเองหรือสิ่งเหนือธรรมชาติ แตเปนการอธิบายวาเปนผลจากโลก
ภายนอก สภาพสังคม จึงมีผลใหสมาชิกสหพันธทําการเคลื่อนไหวเพื่อผลประโยชนของตนเอง87
ซึ่งเปนอิทธิพลของแนวคิด Marxist ที่ถูกเผยแพรจากกลุมนักศึกษาที่ศึกษางานเขียนแนว Marxist ที่
ถูกแปลเปนไทย88
สําหรับแนวทางการดําเนินงานของสหพันธชาวนาชาวไรแหงประเทศไทย พวกเขาอาศัย
การชุมนุมประทวงเพื่อกดดันรัฐบาลใหรัฐบาลทําตามขอเรียกรองของพวกเขา แตสหพันธใชการ
ชุมนุมประทวงเพื่อกดดันใหรัฐบาลเรียกรองของตนเอง ซึ่งตางจากในอดีตที่ในสวนของสมาพันธ
ชาวนาชาวไรแหงประเทศไทยที่มีการจัดตั้งองคกรอยางเปนระบบและมีการรวมมือกัลปกลุมอื่นๆ
เชน นักศึกษาและกรรมกรในการทําการประทวงรัฐบาล แตอยางไรก็ตามสิ่งพวกเขาก็ยังเชื่อวา
รัฐบาลสามารถเปนตัวกลางในการจัดการความขัดแยงระหวางผลประโยชนของตนกับคนที่ตน
ขัดแยงอยู89 พวกเขายังไมเห็นวารัฐเปนกลไกในการกดขี่ทางชนชั้น ตามแนวคิดของ Marxist

86
กนกศักดิ์ แกวเทพ, “การตอสูของชาวนาไทย ปพ.ศ. ๒๕๑๖-๒๕๑๙ สหพันธชาวนาแหงประเทศไทย”, ใน
เสนทางชาวนาไทย รําลึก ๒๕ สหพันธชาวนาชาวไรแหงประเทศไทย, บก. โดย นฤมล ทับจุมพล, นิติรัตน ทรัพย
สมบูรณ (กรุงเทพฯ : คณะกรรมการจัดงานโครงการเสนทางชาวนาไทย มูลนิธิโกมลคีมทองและมูลนิธิเด็ก,
2542), หนา 53
87
เพิ่งอาง, หนา 62-62
88
เกษียร เตชะพีระ, เกษียร เตชะพีระ. “การเมืองไทยจาก ๑๔-๖ ตุลาฯ: สองชาตินิยมชนกัน”, [เอกสาร
ประกอบการสอนวิชา ประวัติศาสตรการเมืองการปกครองไทย (ร.321)] หนา 10
89
กนกศักดิ์ แกวเทพ, อางแลว, หนา 40
38
ในทายที่สุดเมื่อสมาพันธชาวนาชาวไรแหงประเทศไทยไมสามารถกดดันรัฐบาลไดสําเร็จ
จึงประกาศสลายตัวและกลับไปตอสูกันเองในแตละทองถิ่น โดยเหตุการณนี้เกิดขึ้นในวันที่ 1
พฤษภาคม พ.ศ. 251890
ในที่สุดเมื่อมีชาวนาชาวไรบางสวนที่สามารถหลุดออกจาก “กลไกทางอุดมการณของรัฐ”
ชนชั้นปกครองและกลุมผลประโยชนที่ทําการขูดรีดชาวนาชาวไรตองใช“กลไกทางดานการกดขี่
ปราบปรามของรัฐ” ในการจัดการการลุก ขึ้นสูของสหพันธชาวนาชาวไรแหงประเทศไทย แต
“กลไกทางอุดมการณของรัฐ” ก็ยังไมหมดความสําคัญไปซะทีเดียวเพราะมันยังจําเปนในการใช
สรางความชอบธรรมใหกับการปราบปรามการลุกขึ้นสูดวยความรุนแรง

4.3 อุดมการณ “ความเปนไทย” กับการปราบปรามสหพันธชาวนาชาวไรแหงประเทศไทย

ถึงแมวาหลังจากเหตุการณ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 อุดมการณที่ “อํานาจมาจากประชาชน”


จะเติบโตขึ้นอยางรวดเร็ว ดังเห็นไดจากการนัดชุมนุมนัดหยุดงานบอยครั้งของกรรมกรที่ทํางานใน
โรงงาน การกอตั้งของสมาพันธชาวนาชาวไรแหงประเทศไทย รวมไปถึงการที่นักศึกษาทําหนาที่
เปนผูเผยแพรแนวคิดประชาธิปไตยและมารกซิสตสูชาวนาชาวไร รวมไปถึงเกิดพันธมิตร “สาม
ประสาน” นักศึกษา กรรมกรและชาวนาชาวไร ซึ่งกลุมนี้มีจุดรวมกันอยางหนึ่งคือตองการสราง
สังคมไทยใหมีความเปนธรรมมากขึ้น ทั้งในดานการเมือง กฎหมาย และเศรษฐกิจ
สําหรับการเมืองในรัฐสภา กลุมหัวกาวหนาไดเขาไปในสภาในจํานวนที่เยอะอยางไมเคย
เปนมากอน โดยพรรคฝานซายสําคัญสามพรรคไดรับคะแนนเสียงรอยละ 14 และไดที่นั่ง 37 ที่นั่ง91
แตในตน พ.ศ. 2518 ฝายอนุรักษนิยมไดเขามารวมตัวกันเพื่อตอตานแนวคิดหัวกาวหนาใน
ขณะนั้น โดยไดใชวิธีการที่รุนแรงในการปราบปรามการเคลื่อนไหวของกลุมหัวกาวหนา92 อันเปน
ผลมาจาก การยึดครองเวียงจันทร (ลาว) พนมเปญ (กัมพูชา) และไซงอน (เวียดนาม) ตางก็ถูก “ลัทธิ
คอมมิวนิสต” ยึดครองไปหมดแลว และพระมหากษัตริยในลาวก็ถูกโคนไปดวย ทําใหเกิดความ
กลัววาสถาบันกษัตริยในไทยจะถูกโคนลมไปดวย93 เมื่อบวกกับสถานการณการเติบโตขึ้นทางการ
เมืองของพวกหัวกาวหนาในไทยก็ทําใหความกลัวของพวกเขายิ่งมากขึ้น

90
กนกศักดิ์ แกวเทพ, ประวัติการเคลื่อนไหวของชาวนาไทยจากอดีต-ปจจุบัน : บทวิเคราะหทางเศรษฐศาสตร
การเมือง (กรุงเทพฯ : สมาคมสังคมศาสตรแหงประเทศไทย, 2526), หนา 216
91
ผาสุก พงษไพจิตร, คริส เบเกอร, อางแลว, หนา 387
92
เพิ่งอาง, หนา 387
93
เบเนดิก แอนเดอรสัน, “บานเมืองของเราลงแดง : แงมุมทางสังคมและวัฒนธรรมของรัฐประหาร 6 ตุลาคม”,
แปลโดย เกษีตร เตชะพีระ, ธเนศ อาภรณสุวรรณ, ชาญวิทย เกษตรศิริ, ใน จาก 14 ถึง 6 ตุลา, บก. โดย ชาญวิทย
39
สําหรับในการปราบปรามผูนําชาวนาชาวไรตามทองถิ่นตางๆ ที่เปนเสมือนตัวแทนของ
ชาวนาชาวไรหัวกาวหนา เชน การลอบยิงนายอินถา ศรีบุญเรือง ประธานสมาพันธชาวนาชาวไร
ภาคเหนือ ในวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2518 สําหรับเหตุผลที่องคกรนวพลซึ่งเปนหนึ่งในกลุม
อนุรักษนิยมไดทําการจัดการผูนําชาวนาชาวไรดวยความรุนแรง เพราะพวกเขาไดกลาวหาผูนํา
เหลานี้เปนคอมมิวนิสตและเปนปฏิปกษกับชาวพุทธ โดยอํานาจรัฐที่ผูกขาดหนาที่ในการสืบสวน
กับตํารวจก็ไมสืบสวนเหตุการณนี้อยางดีเทาที่ควร ทําใหการใชความรุนแรงชองกลุมการเมืองฝาย
อนุรักษนิยมมีความสะดวกขึ้น
จะเห็นไดวาจากเหตุผลขององคกรนวพล อุดมการณหลักที่ใชในการกําจัดคืออุดมการณ
“ความเป น ไทย” ซึ่ ง กลุ ม ฝ า ยอนุ รั ก ษนิ ย มที่ กํ า จั ด กลุ ม พลั ง ทางการเมื อ งหั ว ก า วหน า ก็ ใ ช คํ า ว า
“คอมมิ ว นิ ส ต ” เป น เครื่ อ งมื อ ในการสร า งความชอบธรรมในการใช ค วามรุ น แรง โดยผู ก การ
เคลื่อนไหวของกลุมการเมืองหัวกาวหนาเขากับคําวา “คอมมิวนิสต”
ฝายอนุรักษนิยมสรางภาพให “คอมมิวนิสต” เปนองคกรที่จองจะทําลาย “ชาติ-ศาสนา-
พระมหากษัตริย” ดังนั้น “คอมมิวนิสต” จึงเปน “ความเปนอื่น” ที่ตองกําจัดออกไป โดยฝาย
อนุรักษนิยมใช “กลไกทางอุดมการณของรัฐ” ในการผลิตซ้ําภาพของ “คอมมิวนิสต” ผานสถาบัน
ตางๆ เชนสถาบันศาสนา สถาบันการศึกษา และสถาบันพระมหากษัตริย
สําหรับสถาบันศาสนาเห็นไดจากกรณีบทสัมภาษณของ กิตติวุฒโฒ ภิกขุ ที่ใหสัมภาษณลง
ในนิตรสารรายสัปดาห จัตุรัส, ปที่ 2 ฉบับที่ 51 ประจําวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2519
จัตุรัส : การฆาซาย หรือ คอมมิวนิสตบาปไหม
กิติวุฒโฒ : อันนั้นอาตมาเห็นวาควรจะทํา คนไทยแมจะนับถือพุทธก็
ควรทํา แตก็ไมใชถือวาเปนการฆาคนเพราะวาใครก็ตามที่ทําลายชาติ ศาสนา
พระมหากษัตริย มันก็ไมใชคนสมบูรณ คือตองตั้งใจ เราไมไดฆาคน แตฆามาร
ซึ่งเปนหนาที่ของคนไทยทุกคน94

แสดงให เ ห็น ว าการเปนคอมมิว นิสตเ ทากับการไมใ ช “มนุ ษ ย ” เพราะคอมมิ ว นิสต ไ ด


ทํ า ลายคุ ณ ค า อั น สู ง ส ง ของ “ความเป น ไทย” ดั ง นั้ น แล ว “ฆ า คอมมิ ว นิ ส ต ไ ม บ าป” มี ผ ลทํ า ให
การเมืองฝายอนุรักษนิยมมีความชอบธรรมในการใชความรุนแรง
สวนบทบาทของสถาบันการศึกษาในฐานะ “กลไกทางอุดมการณของรัฐ” ในการสราง
ความชอบธรรมในการใชความรุนแรงกัลปกลุมชาวนาชาวไร ดังที่ไดกลาวไวในขางตน สถาบัน
ศึกษาไดวางตําแหนงของชาวนาชาวไรในฐานะผูผลิตอาหาร ไมใชในฐานะการเรียกรองความเปน

เกษตรศิริ, ธํารงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต (กรุงเทพฯ : มูลนิธิโครงการตําราสังคมศาสตรและมนุษยศาสตร, 2542),


หนา 134
94
เกษียร เตชะพีระ, อางแลว, หนา 3
40
ธรรม ดั งนั้ นการที่ชาวนาชาวไรไ มทําตามหนาที่ จึงถือวาเนรคุณต อแผ นดิ น ทํ าลายความเปน
ปกแผน มั่นคงของชาติ ดังนั้นชาวนาชาวไรพวกนี้จึงควรถูกกําจัดเพื่อความสงบเรียบรอย
สวนสถาบันกษัตริย ไดผลิตซ้ําความหมายของ “คอมมิวนิสต” ผานทางพระราชดํารัสและ
เพลงพระราชนิพนธ95ที่มักจะเนนย้ําภัยจาก “คอมมิวนิสต” เสมอ โดยกลุมพลังทางการเมืองที่เปน
ถือไดวาคือกลุมลูกเสือชาวบาน โดยผูนําลูกเสือชาวบานสวนใหญมาจาก ขาราชการตางจังหวัด คน
มีชื่อเสียงในชนบท และพวกคนรวยใหมในเมือง96 โดยในชวงป พ.ศ. 2518-2519 จํานวนลูกเสือ
ชาวบานทั้งประเทศไดเพิ่มจาก 203,715 คน เปน 1,915,604 คน แตหลังป พ.ศ. 2519 จํานวนลูกเสือ
ชาวบานไดลดลงอยางมาก97 ผูเขียนคิดวาอาจจะเปนสาเหตุมาจากการเสร็จสิ้นภารกิจ “ขวาพิฆาต
ซาย” ในวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519
จากเนื้อหาในสวนนี้ชวยทําใหเราเห็นความสามารถอีกประการหนึ่ง “กลไกทางอุดมการณ
ของรัฐ” ที่นอกจากจะกดทับความคิดตอตานของเราแลว ในขณะเดียวกัน “กลไกทางอุดมการณ
ของรัฐ” ก็สามารถทําใหมนุษยธรรมดาอยางพวกเรากลายเปน “กลไกทางดานการกดขี่ปราบปราม
ของรัฐ” ดังจะเห็นไดจากกรณีของกลุมนวพลที่ใชความรุนแรงในการปราบปรามชาวนาชาวไร
และกลุมลูกเสือชาวบานที่เปนสวนหนึ่งของความรุนแรงในวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519
จากเนื้ อหาในสว นนี้ไ ด แสดงให เราเห็ นวาประวั ติศาสตร แ หงความเหลื่ อมล้ําทางดาน
เศรษฐกิจไมไดราบลื่น แตมันก็มีการตอตานเกิดขึ้นเชนกัน แตเปนเรื่องโชครายที่การลุกขึ้นสูของผู
ที่เสียเปรียบในสังคมไทยไมไดรับชัยชนะ เปนเพราะอุดมการณ “ความเปนไทย” ในสังคมไทยฝง
รากลึกเกินไป ทําใหคนในสังคมไทยไมสามารถหลุดออกไปจากชุดความหมายของอุดมการณนี้ได
แตอยางไรก็ตามผูเขียนคิดวาการตอสูของพวกเขาเปนเครื่องยืนยันความเปนประชาธิปไตย
ทางเศรษฐกิจเปนเปาหมายที่มีคุณคาสําหรับคนธรรมดาอยางพวกเรา เพราะในที่สุดแลวถาไมมี
ประชาธิ ป ไตยทางเศรษฐกิ จ ประชาธิ ป ไตยทางการเมื อ งก็ จ ะไม ส ามารถเกิ ด ขึ้ น ความไม มี
ประชาธิปไตยทางเศรษฐกิจจะนําไปสูความไมมีประชาธิปไตยทางการเมือง ไมวาจะเปนเผด็จการ
พรรคคอมมิวนิสตในอดีตสหภาพโซเวียตและจีนแผนดินใหญที่มีรากฐานมาจากความเหลื่อมล้ํา
อยางมหาศาล หรือเผด็จการทางรัฐสภาของพรรคไทยรักไทยที่เติบโตขึ้นมาบนเนื้อนาดินแหงความ
ไมเสมอภาคแหงการพัฒนา แลวคุณละยังตองการหมอบคลานอยูหรือเปลา?

95
การวิเคราะหเพลงพระราชนิพนธไดปรากฏอยางละเอียดในงานของสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล, “เราสู : เพลงพระราช
นิพนธทางการเมืองกับการเมืองป 2518-2519” ใน ประวัติศาสตรที่เพิ่งสราง (กรุงเทพฯ : สํานักพิมพ 6 ตุลารําลึก
, 2544), หนา 115-148
96
เบเนดิก แอนเดอรสัน, อางแลว, หนา 122
97
พัชรลดา จุลเพชร, “ลูกเสือชาวบาน : จากอดีตถึงปจจุบัน” ในวารสารฟาเดียวกัน ปที่ 3, ฉบับที่ 1, มกราคม-
มีนาคม, 2548 (กรุงเทพฯ : สํานักพิมพฟาเดียวกัน, 2548), หนา 109
41
บรรณานุกรม
ภาษาไทย

กนกศักดิ์ แกวเทพ. ประวัติการเคลื่อนไหวของชาวนาไทยจากอดีต-ปจจุบัน: บทวิเคราะหทางเศรษฐศาสตร


การเมือง. กรุงเทพฯ: สมาคมสังคมศาสตรแหงประเทศไทย, 2526.
_________. “การตอสูของชาวนาไทย ปพ.ศ. ๒๕๑๖-๒๕๑๙ สหพันธชาวนาแหงประเทศไทย”. ใน เสนทาง
ชาวนาไทย รําลึก ๒๕ สหพันธชาวนาชาวไรแหงประเทศไทย. บก. โดย นฤมล ทับจุมพล, นิติรัตน ทรัพย
สมบูรณ. กรุงเทพฯ: คณะกรรมการจัดงานโครงการเสนทางชาวนาไทย มูลนิธิโกมลคีมทองและมูลนิธิเด็ก
, 2542.
เกษียร เตชะพีระ. “การเมืองไทยจาก ๑๔-๖ ตุลาฯ: สองชาตินิยมชนกัน”, [เอกสารประกอบการสอนวิชา
ประวัติศาสตรการเมืองการปกครองไทย (ร.321)]
ชัยวัฒน สถาอานันท. อาวุธมีชีวิต: แนวคิดเชิงวิพากษวาดวยความรุนแรง. พิมพครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ฟาเดียวกัน,
2549.
ไชยรัตน เจริญสินโอฬาร. วาทกรรมการพัฒนา: อํานาจ ความรู ความจริง เอกลักษณ และความเปนอื่น. พิมพครั้ง
ที่ 4. กรุงเทพฯ: วิภาษา, 2549.
ทักษิ์ เฉลิมเตียรณ. การเมืองระบบพอขุนอุปถัมภแบบเผด็จการ. (Thailand: the Politics of Despotic
Paternalism). แปลโดย พรรณี ฉัตรพลรักษ, ม.ร.ว. ประกายทอง ศิริสุข, ธํารงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต,
กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตําราสังคมศาสตรและมนุษยศาสตร, 2548.
ธงชัย วินิจจะกุล. “ประวัติศาสตรการสราง ‘ตัวตน’”. ใน อยูเมืองไทย รวบทความทางสังคมการเมืองเพื่อเปน
เกียรติแกศาสตราจารยเสนห จามริก ในโอกาสอายุครบ 60 ป. หนา 129-182. สมบัติ จันทรวงศ และ
ชัยวัฒน สถาอานันท (บรรณาธิการ). กรุงเทพฯ: สํานักพิมพมาวิทยาลัยธรรมศาสตร, 2530.
เธอรทัน แอนดรู. การครอบงําและความหวาดกลัวในสังคมไทย. แปลโดย อูทอง ประศาสนวินิจฉัย. นครปฐม:
คณะบุคคลบานน้ําริน, 2551.
นิธิ เอียวศรีวงศ. “ชาติไทย และเมืองไทย ในแบบเรียนประถมศึกษา.” ใน ชาติไทย, เมืองไทย, แบบเรียนและ
อนุสาวรีย วาดวยวัฒนธรรม, รัฐ และรูปการจิตสํานึก. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพมติชน, 2547.
เบเนดิก แอนเดอรสัน. “บานเมืองของเราลงแดง : แงมุมทางสังคมและวัฒนธรรมของรัฐประหาร 6 ตุลาคม”. แปล
โดย เกษีตร เตชะพีระ, ธเนศ อาภรณสุวรรณ, ชาญวิทย เกษตรศิริ, ใน จาก 14 ถึง 6 ตุลา, บก. โดย ชาญวิทย
เกษตรศิริ, ธํารงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตําราสังคมศาสตรและมนุษยศาสตร,
2542.
เบอรนารด ลีตาร. เงินตราแหงอนาคต. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพสวนเงินมีมา, 2547.
พัชรลดา จุลเพชร. “ลูกเสือชาวบาน: จากอดีตถึงปจจุบัน” ใน วารสารฟาเดียวกัน ปที่ 3, ฉบับที่ 1, มกราคม-
มีนาคม, 2548. หนา 109. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพฟาเดียวกัน, 2548.
ผาสุก พงษไพจิตร และ คริส เบเกอร. เศรษฐกิจการเมืองไทยสมัยกรุงเทพฯ. เชียงใหม : สํานักพิมพซิลคเวอรม,
2546.
42
วนัส ปยะกุลชัยเดช. ความสัมพันธระหวางแนวคิดการครองความเปนใหญ และอุดมการณของกรัมชี่.
วิทยานิพนธปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาการเมืองการปกครอง คณะรัฐศาสตร บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร, 2548.
สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล. “เราสู: เพลงพระราชนิพนธทางการเมืองกับการเมืองป 2518-2519” ใน ประวัติศาสตรที่เพิ่ง
สราง. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ 6 ตุลารําลึก, 2544.
สายชล สัตยานุรักษ. “การสราง ‘ความเปนไทย’ กระแสหลัก และ ‘ความจริง’ ที่ ‘ความเปนไทย’ สราง,” ฟา
เดียวกัน, 3:4 (ตุลาคม-ธันวาคม 2548). หนา 42. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพฟาเดียวกัน, 2548.
สุรัช คมพจน. เคาโครงวิทยานิพนธ “โครงการสภาวะความรูแจงที่ยังไมสิ้นสุด: ฮาเบอรมาสกับทฤษฎีวิพากษ
สภาวะสมัยใหม (The Unfinished Project of Enlightenment: Habermas and the Critical Theory of
Modernity)” ปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการเมืองการปกครอง คณะรัฐศาสตร บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร, 2550
สุรพงษ ชัยนาม. มารกซและสังคมนิยม, กรุงเทพฯ: กอง บก. ปาจารยสาร 2524, หนา 70-71.
เสกสรรค ประเสริฐกุล, “พัฒนาการของความสัมพันธระหวางรัฐกับสังคมในประเทศไทย : แงคิดเกี่ยวกับพลวัต
ทางการเมืองและการพัฒนาประชาธิปไตย” ใน รัฐศาสตร-การเมือง : รวมบทความวิชาการทางรัฐศาสตร
เลม 3. 2526-2542. นครินทร เมฆไตรรัตนบรรณาธิการ คณะรัฐศาสตร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร. หนา
257-309. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร, 2543.
เสนห จามริก. การเมืองไทยกับพัฒนาการทางรัฐธรรมนูญ. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตําราสังคมศาสตรและ
มนุษยศาสตร, 2549.
หลุยส อัลธูแซร. อุดมการณและกลไกทางอุดมการณของรัฐ. กาญจนา แกวเทพ แปล. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ
จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย, 2529.
อัมมารสยามวาลา และ สมชัย จิตสุชน. “แนวทางการแกปญหาความยากจน: เสรีนิยม ประชานิยม หรือรัฐ
สวัสดิการ (Tackling Poverty: Liberalism, Populism or Welfare State)” ใน เอกสารทางวิชาการ
ประกอบการสัมมนาวิชาการประจําป 2550 เรื่องจะแกปญหาความยากจนกันอยางไร: แขงขัน แจกจาย
หรือสวัสดิการ ของมูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย ณ วันที่ 10-11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550
โรงแรมแอมบาสชาเดอร ซิตี้ จอมเทียน ชลบุรี

ภาษาอังกฤษ

Anderson, Benedict. 2006. Imagined Communities: Reflections on the Origin and Spread of
Nationalism, 3rd ed. (London: Verso)
Aristotle. 1995. The Politics Books I and II, translated by Trevor J. Saunders (New York: Oxford
University Press)
Badie, Bertrand.2000. The Imported State: The Westernization of the Political Order, translated
by Claudia Royal (Stanford, Calif.: Stanford University Press)
Bhabha, Homi K. 1990 ed., Nation and Narration (London: Routledge)
43
Chaiwat Satha-Anand, 1988. “Of Imagination and the State,” in K.M. de Silva et al., eds.,
Ethnic Conflict in Buddhist Societies: Sri Lanka, Thailand and Burma (London: Pinter)
Decha Tangseefa, 2003. Imperceptible Naked-Lives & Atrocities: Forcibly Displaced Peoples &
the Thai-Burmese in-between Spaces (Ph.D. Dissertation, University of Hawai’i at
Manoa)
Gearheart, Suzanne. 2005. “Inclusions: Psychoanalysis, Transnationalism, and Minority Culture,”
in Françoise Lionnet and Shu-mei Shih, Minor Transnationalism (Durham & London:
Duke University Press), pp.27-28
Ikemoto, Yukio, and Mine Uehara. 2000. “Income Inequality and Kuznets’ Hypothesis in
Thailand” in Asian Economic Journal, Vol. 14, No. 4
Isra Sarntisart. 2004. “Growth, Structural Change, and Inequality: The Experience of Thailand”,
in Inequality, in Growth, and Poverty in An Era of Liberalization and Globalization,
edited by Giovanni Andrea Cornia, (Oxford: Oxford University Press)
Jackson, Peter A. 1993. “Thai Buddhist Identity: Debates on The Triphum Phra Ruang”, in
National Identity and Its Defenders Thailand, 1939-1989, Edited by Craig J. Reynolds,
(Changmai : Silkwormbooks)
Liodakis, George. 2005. “The New Stage of Capitalist Development and the Prospects of
Globalization.” in Science & Society, 69/3 (July): 341-366.
Marx, Karl and Friedrich Engels. 1992 reprint 1998. The Communist Manifesto. trans.
By Samuel Moore with an introduction by David McLellan (Oxford: Oxford University
Press)
Perry, Matt. 2002. Marxism and History (Basingstoke, Hampshire: Palgrave)
Smith, Anthony D. 1986. The Ethnic Origin of Nations (Oxford: Blackwell)

อินเทอรเนต
http://www.prachatai.com/05web/th/home/page2.php?mod=mod_ptcms&ID=7752&Key=HilightNews

You might also like