You are on page 1of 45

57

ด้วยแล้วมันยิ่งไม่กลัว เอาเลย หากพอทำา อั นตรายได้มั นอาจ


ทำา แม้ชาวบ้านก็พูดเหมือนกันว่า เสือพวกนี้ ไม่ค่อยจะกลัวคน
นัก
บางครั้งเวลากลางคืน ท่านกำา ลังเดินจงกรมอยู่ โดยจุด
เทียนไขใส่โคมไฟแขวนไว้ท่ีทางจงกรม ยังเห็นเสือโคร่งใหญ่
เดิ น ตามหลั ง ฝู ง ควาย ที่ พ ากั น เดิ น ผ่ า นมาที่ พั ก ท่ า นอย่ า ง
องอาจ ไม่กลัวท่านซึ่งกำาลังเดินจงกรมอยู่บ้างเลย ฝูงควายที่
ถูก เสื อรบกวนมาก ต้องพากั น กลั บ เข้ า บ้ า น เสื อ ยั ง กล้ า เดิ น
ตามหลังฝูงควายมาได้ต่อหน้าต่อตาพระซึ่งก็เป็ นคนผู้หนึ่ งที่
นั้น พระที่ไปศึกษาอบรมกับท่านต้องเป็ นพระที่เตรียมพร้อม
ทุกอย่างแล้ว ทั้งความสละเป็ นสละตายต่อการประกอบความ
พากเพียรในสถานที่ต่าง ๆ ซึ่งไม่เป็ นที่แน่ ใจและอาจมีภัยรอบ
ด้าน ทั้งสละทิฐิมานะ ความถือตัวว่ามีราคาค่างวด ซึ่งอวดรู้
อวดฉลาดอยู่ภายใน และสละทิฐิมานะต่อหมู่ต่อคณะ ประหนึ่ ง
เป็ นอวั ย วะอั น เดี ย วกั น จิ ต ใจถึ ง จะมี ค วามสงบสุ ข ก าร
ประกอบความเพี ย รก็ มี เกิ ด สมาธิ ไ ด้ เ ร็ ว ไม่ มี นิ ว รณ์ม าขั ด
ขวางถ่วงใจ
ในที่ ถู ก บั ง คั บ ให้ อ ยู่ ใ นวงจำา กั ด เช่ น สถานที่ กลั ว ๆ
อาหารมีน้อย ฝื ดเคืองด้วยปั จจัย สติกำากับใจไม่ลดละ คิดอ่าน
เรื่องอะไรมีสติคอยสะกิดบังคับอยู่เสมอ ย่อมเข้าสู่ความสงบ
ได้เร็วกว่าเท่าที่ควรจะเป็ น เพราะข้างนอกก็มีภัย ข้างในก็มี
สติคอยบั งคั บขู่ เข็ ญ จิ ตซึ่ งเปรี ยบเหมือ นนั ก โทษก็ยอมตั ว ไม่
คึกคะนอง นอกจากนั้น ยังมีอาจารย์คอยใส่ปัญหาเวลาจิตคิด
ออกนอกลู่นอกทางอีกด้วย จิตซึ่งถูกบังคับด้วยเครื่องทรมาน
อยู่ ตลอดเวลาทั้ งข้ างนอกข้ างใน ย่อมกลายเป็ นจิต ที่ ดี ขึ้น ได้
อย่ า งไม่ ค าดฝั น คื อ กลางคื น ซึ่ ง เป็ นเวลากลั ว ๆ เจ้ า ของก็
บังคับให้ออกเดินจงกรมแข่ งกั บความกลัว ทางไหนจะแพ้จ ะ
ชนะ ถ้าความกลัวแพ้ ใจก็เกิ ดความอาจหาญขึ้น มาและรวม
สงบลงได้ ถ้าใจแพ้ส่ิงที่แสดงขึ้นมาในเวลานั้นก็คือความกลัว
อย่างหนักนั่นเอง ฤทธิข ์ องความกลัวคือ ทั้งหนาวทั้งร้อน ทั้ง
ปวดหนั กปวดเบา ทั้งเหมือนจะเป็ นไข้ หายใจไม่สะดวกแบบ
คนจะตายเราดี ๆ นี่ เอง
เครื่องส่งเสริมความกลัวคือเสีย งเสือ กระหึ่ม ๆ อยู่ตาม
ชายเขาบ้าง ไหล่เขาบ้าง หลังเขาบ้าง พื้นราบบ้าง จะกระหึ่ม
อยู่ ท่ี ไ หนทิ ศ ใดก็ ต าม ใจจะไม่ คำา นึ ง ทิ ศ ทางเลย แต่ จ ะคำา นึ ง
อย่ า งเดี ย วว่ า เสื อ จะตรงมากิ น พระองค์ เ ดี ย ว ที่ กำา ลั ง เดิ น
จงกรมด้ ว ยความกลั ว ตั ว สั่ น ไม่ เ ป็ นท่ า อยู่ น้ี เท่ า นั้ น แผ่ น ดิ น

ประวัติท่านพระอาจารย์มัน
่ ภูริทัตตเถระ 57
58

กว้างใหญ่ขนาดไหน ไม่ได้นึกว่าเสือเป็ นสัตว์มีเท้าจะเที่ยวไป


ที่อ่ ืน ๆ แต่คิดอย่างเดียวว่าเสือจะตรงมาที่ท่ีมีบริเวณแคบ ๆ
เล็ก ๆ นิ ดเดียว ซึ่งพระขี้ขลาดกำา ลังเดินวุ่นวายอยู่ด้วยความ
กลั ว นี้ แห่ ง เดี ย ว การภาวนาไม่ ท ราบว่ า ไปถึ ง ไหนมิ ไ ด้ คิ ด
คำานึ งเพราะลืมไปหมด ที่จดจ่อที่สุดก็คือ คำาบริกรรมโดยไม่รู้
สึกตัว ว่าได้บริกรรมว่า เสือจะมาที่น่ี เสือจะมาที่น่ี อย่างเดียว
เท่านั้น จิตก็ย่ิงกำา เริบด้วยความกลัวเพราะการส่งเสริม ด้วย
คำา บริ กรรมแบบโลกแตก ธรรมก็ เตรี ย มจะแตกหากบั ง เอิ ญ
เสือเกิดหลงป่ าเดินเปะปะมาที่น้ันจริง ๆ ลักษณะนี้ อย่างน้อยก็
ยืนตัวแข็งไม่มีสติ มากกว่านั้นเป็ นอะไรไปเลยไม่มีทางแก้ไข
นี่ คือการตั้งจิตไว้ผิดธรรม ผลจะแสดงความเสียหายขึ้น
มาตามขนาดที่ ผู้ น้ั น พาให้ เ ป็ นไป ทางที่ ถู ก ที่ ท่ า นสอนให้ ต้ั ง
หลักใจไว้กับธรรม จะเป็ นมรณัสสติหรือธรรมบทใดบทหนึ่ งใน
ขณะนั้น ไม่ให้ส่งจิตปรุงออกไปนำาเอาอารมณ์ท่ีเป็ นภัยเข้ามา
หลอกตัวเอง เป็ นกับตายก็ต้ังจิตไว้กับธรรมที่เคยบริกรรมอยู่
เท่านั้น จิตเมื่อมีธรรมเป็ นเครื่องยึดจะไม่เสียหลัก และจะตั้ง
ตัวได้ในขณะที่ท้ังกลัว ๆ นั่นแล จะกลายเป็ นจิตที่อาจหาญขึ้น
มาในขณะนั้นอย่างอัศจรรย์ท่ีบอกไม่ถูก
ท่ านพระอาจารย์ ม่ั น ท่ า นสอนให้ ต้ั ง หลั ก ด้ ว ยความเสี ย
สละทุกสิ่ ง บรรดามี อยู่ กั บ ตั ว คื อ ร่ า งกาย จิ ตใจ แต่ มิ ใ ห้ส ละ
ธรรมที่ ต นปฏิ บั ติ ห รื อ บริ ก รรมอยู่ ใ นขณะนั้ น จะเป็ นอะไรก็
ปล่อยให้เป็ นไปตามคติธรรมดา เกิดแล้วต้องตาย จะเป็ นคน
ขวางโลกไม่ยอมตายไม่ได้ ผิดคติธรรมดา ไม่มีความจริงใด ๆ
มาชมเชยคนผู้ มี ค วามคิ ด ขวางโลกเช่ น นั้ น ท่ า นสอนให้ เ ด็ ด
เดี่ ย วอาจหาญ ไม่ ใ ห้ ส ะทกสะท้ า นต่ อ ความตาย เกี่ ย วกั บ
สถานที่ท่ีจะไปบำาเพ็ญเพื่อหาความดีใส่ตัว ดงหนาป่ ารกชัฏมี
สัตว์เสือชุมเท่าไรยิ่งสอนให้ไปอยู่ โดยให้เหตุผลว่า ที่น้ันแลจะ
ได้กำาลังใจทางสมาธิปัญญา เสือจะได้ช่วยให้ธรรมเกิดในใจได้
บ้าง เพราะคนเราเมื่อไม่กลัวพระพุทธเจ้า ไม่เชื่อพระพุทธเจ้า
แต่กลัวเสือและเชื่อเสือว่าเป็ นสัตว์ดุร้ายจะมาคาบเอาไปเป็ น
อาหาร และช่ ว ยไล่ ต ะล่ อ มจิ ต เข้ า สู่ ธ รรมให้ ก็ ยั ง ดี จะได้ ก ลั ว
และตั้ งใจภาวนาจนเห็ น ธรรม เมื่ อเห็ น ธรรมแล้ ว ก็ เ ชื่ อ
พระพุทธเจ้าและเชื่อพระธรรมไปเอง เมื่อเข้าสู่ท่ีคับขันแล้วจิต
ไม่เคยเป็ นสมาธิก็จะเป็ น ไม่เคยเป็ นปั ญญาก็จะเป็ นในที่เช่น
นั้นแล
ใจไม่ มี อ ะไรบั ง คั บ บ้ า ง มั น ขี้ เ กี ย จและตั้ ง หน้ า สั่ ง สมแต่
กิเลสพอกพูนใจ แทบจะหาบหามไปไม่ไหว ไปให้เสือช่วยหาบ

ประวัติท่านพระอาจารย์มัน
่ ภูริทัตตเถระ 58
59

ขนกิ เ ลสตั ว ขี้ เ กี ย จ ตั ว เพลิ ด เพลิ น จนลื ม ตั ว ลื ม ตายออกเสี ย


บ้าง จะได้หายเมาและเบาลง ยืนเดินนั่งนอนจะไม่พะรุงพะรัง
ไปด้ ว ยกิ เ ลสประเภทไม่ เ คยลงจากบนบ่ า คื อ หั ว ใจคน ที่ ใ ด
กิเลสกลัวท่านสอนให้ไปที่น้ัน แต่ท่ีท่ีกิเลสไม่กลัวอย่าไปเดีย ๋ ว
เกิ ด เรื่ อง ไม่ ไ ด้ ค วามแปลกและอั ศ จรรย์ อ ะไรเลย นอกจาก
กิ เ ลสจะพาสร้ า งความฉิ บ หายใส่ ตั ว จนมองไม่ เ ห็ น บุ ญ บาป
เท่านั้น ไม่มีอะไรน่ าชมเชย ท่านให้ความมั่นใจแก่นักปฏิบัติว่า
สถานที่ท่ีไม่มีส่ิงบังคับบ้าง ทำา ความเพีย รไม่ดี จิตลงสู่ค วาม
สงบได้ ย าก แต่ ส ถานที่ ท่ี เ ต็ ม ไปด้ ว ยความระเวี ย งระวั ง ภั ย
ทำา ความเพี ย รได้ ผ ลดี ใจก็ ไ ม่ ค่ อ ยปราศจากสติ ซึ่ ง เป็ นทาง
เดินของความเพียรอยู่ในตัวอยู่แล้ว ผู้หวังความพ้นทุกข์โดย
ชอบจึ งไม่ค วรกลั ว ความตายในที่ ๆ น่ ากลั ว มี ใ นป่ าในเขาที่
เข้าใจว่าเป็ นสถานที่น่ากลัว เป็ นต้น
เวลาเข้าสู่ท่ีคับขันจริง ๆ ขอให้ใจอยู่กับธรรม ไม่ส่งออก
นอกกายนอกใจ ซึ่ ง เป็ นที่ ส ถิ ต อยู่ ข องธรรม ความปลอดภั ย
และกำา ลังใจทุกด้านที่จะพึงได้ในเวลานั้น จะเป็ นสิ่งที่ยอมรับ
กั น ไปในตั ว อย่ า งไรก็ ไ ม่ ต ายถ้ า ไม่ ถึ ง กาลตามกรรมนิ ยม
แทนที่จะตายดังความคาดหมายที่ด้นเดาไว้ ท่านเคยว่าท่าน
ได้กำาลังใจในที่เช่นนั้นแทบทั้งนั้น จึงชอบสั่งสอนหมู่เพื่อนให้มี
ใจมุ่งมั่นต่อธรรมในที่คับขัน จะสมหวังในไม่ช้าเลย แทนที่จะ
ทำา ไปแบบเสี่ยงวาสนาบารมีอันเป็ นเรื่องเหลวไหลหลอกลวง
ตนมากกว่าจะเป็ นความจริง เพราะความคิดเช่นนั้น ส่วนมาก
มักจะออกมาจากความอ่ อ นแอท้ อถอย จึ ง มัก เป็ นความคิ ด ที่
กดถ่วงลวงใจมากกว่าจะช่วยเสริมให้ดี และเพิ่มพูนกำา ลังสติ
ปั ญญาให้ย่ิง ๆ ขึ้น ธรรมที่ให้ความมั่นใจแก่นักปฏิบัติเพื่อถือ
เป็ นหลักประกันชีวิตและความเพียร คือ พึงหวังพึ่งเป็ นและพึ่ง
ตายต่อธรรมจริง ๆ อย่าฟั่ นเฟื อนหวั่นไหวโดยประการทั้งปวง
หนึ่ ง พึงเป็ นผู้กล้าตายด้วยความเพียรในที่ท่ีตนเห็นว่าน่ ากลัว
นั้น ๆ หนึ่ ง
เมื่อเข้าที่จำาเป็ นและคับขันเท่าไร พึงเป็ นผู้มีสติกำา กับใจ
ให้ม่ันในธรรม มีคำา บริกรรมเป็ นต้น ให้กลมกลืนกันทุกระยะ
อย่ า ปล่ อยวาง แม้ ช้างเสื อ งู เ ป็ นต้ น จะมาทำา ลาย ถ้ า จิ ต สละ
เพื่ อธรรมจริ ง อยู่ แ ล้ ว สิ่ งเหล่ า นั้ น จะไม่ ก ล้ า เข้ า ถึ ง ตั ว มิ ห นำา
เรายังจะกล้าเดินเข้าไปหามันด้วยความองอาจกล้าหาญ ไม่
กลั ว ตาย แทนที่ มั น จะทำา อั น ตรายเรา แต่ ใ จเรากลั บ จะเป็ น
มิตรอย่างลึกลับอยู่ภายในกับมันอีกด้วย โดยไม่เป็ นอันตราย
หนึ่ ง ใจเรามี ธ รรมประจำา แต่ ใ จสั ต ว์ ไ ม่ มี ธ รรม ใจเราต้ อ งมี

ประวัติท่านพระอาจารย์มัน
่ ภูริทัตตเถระ 59
60

อำา นาจเหนื อ กว่ า สั ต ว์ เ ป็ นไหน ๆ แม้ สั ต ว์ จ ะไม่ ท ราบได้ ว่ า มี


ธรรม แต่ส่ิงที่ทำา ให้สัต ว์ไ ม่กล้ าอาจเอื้ อมมี อยู่ กับ ใจเราอย่า ง
ลึ ก ลั บ นั่ น แลคื อ ธรรมเครื่ องป้ องกั น หรื อ ธรรมเครื่ องทรง
อำานาจให้สัตว์ใจอ่อนไม่กล้าทำาอะไรได้หนึ่ ง อำานาจของจิตเป็ น
อำา นาจที่ ลึ ก ลั บและรู้ อยู่ เ ฉพาะตั ว แต่ ผู้อ่ ื นทราบได้ ย ากหาก
ไม่มีญาณภายในหนึ่ ง
ฉะนั้น ธรรมแม้จะเรียนและประกาศสอนกันทั่วโลก ก็ยัง
เป็ นธรรมชาติท่ีลึกลับอยู่น่ั นเอง ถ้าใจยังเข้าไม่ถึงธรรมชาติ
เป็ นขั้น ๆ ที่ควรจะเปิ ดเผยกับใจเป็ นระยะ ๆ ไป เมื่อเข้าถึงกัน
จริง ๆ แล้ว ปั ญหาระหว่างใจกับธรรมก็สิ้นสุดลงเอง เพราะใจ
กับธรรมมีค วามละเอีย ดสุ ขุม และลี้ลั บพอ ๆ กั น เมื่ อถึ ง ขั้ น นี้
แล้ว แม้จะพูดว่าใจคือธรรมและธรรมคือ ใจก็ไ ม่ผิด และไม่มี
อะไรมาขัดแย้งถ้ากิเลสตัวเคยขัดแย้งสิน ้ ไปไม่มีเหลือแล้ว เท่า
ที่ใ จกลายเป็ นเครื่ องมื อของกิ เ ลสตั ณ หาจนมองหาคุ ณ ค่ า ไม่
เจอนั้ น ก็เพราะใจถูกสิ่งดังกล่าวคละเคล้ากลุ้มรุมจนเป็ นอัน
หนึ่ ง อั น เดี ย วกั น จึ ง ดู เ หมื อ นไม่ มี คุ ณ ค่ า อะไรแฝงอยู่ เ ลยใน
ระยะนั้ น ถ้ า ปล่ อ ยให้ เ ป็ นทำา นองนั้ น เรื่ อยไป ไม่ ส นใจรั ก ษา
และชำา ระแก้ ไข ใจก็ ไ ม่ มี คุณ ค่ า ธรรมก็ ไ ม่ มี ร าคาสำา หรั บ ตน
แม้จะตายแล้วเกิด และเกิดแล้วตายสักกี่ร้อยกี่พันครั้ง ก็เป็ น
ทำา นองเขาเปลี่ย นชุ ด เสื้ อผ้ า ซึ่ ง ล้ ว นเป็ นชุ ด ที่ ส กปรกด้ ว ยกัน
จะเปลี่ยนวันละกี่ครั้งก็คือผู้สกปรกน่ าเกลียดอยู่น่ันเอง
ผิ ด กั บ ผู้ เ ปลี่ ย นชุ ด เสื้ อผ้ า ที่ สกปรกออก แล้ ว สวมใส่
เสื้ อผ้ า ที่ ส ะอาดแทนเป็ นไหน ๆ ฉะนั้ น การเปลี่ ย นชุ ด ดี ช่ั ว
สำา หรับใจ จึง เป็ นปั ญหาสำา คั ญของแต่ ละคนจะพิ จารณาและ
รับผิดชอบตัวเองในทางใด ไม่มีใครจะมารับภาระแทนได้ ไม่
ต้องเป็ นกังวลอีกต่อไป แต่เรื่องตัวเองนี้ เป็ นเรื่องใหญ่โตของ
แต่ละคน ซึ่งรู้อยู่กับตัวทั้งปั จจุบันและอนาคต ว่าต้องเป็ นผู้รับ
ผิ ด ชอบตั ว เองตลอดไป ไม่ มี กำา หนดกาล นอกจากผู้ ใ ห้ ก าร
บำา รุ ง รั ก ษาจนถึ ง ที่ ป ลอดภั ย โดยสมบู ร ณ์ แ ล้ ว เท่ า นั้ น ดั ง
พระพุ ทธเจ้ าและพระสาวกท่า นเป็ นตัว อย่ าง นั้ น ชื่อว่า เป็ นผู้
หมดภาระโดยประการทั้ ง ปวงอย่ า งสมบู ร ณ์ ผู้ เ ช่ น นั้ น แลที่
โลกกล่ า วอ้ า งเป็ นสรณะเพื่ อหวั ง ฝากเป็ นฝากตายในชี วิ ต
ตลอดมา แม้ผู้ตกอยู่ในลักษณะแห่งความไม่ดี แต่ยังพอรู้บุญรู้
บาปอยู่บ้าง ก็ยังกล่าวอ้าง พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์
ว่ า เป็ นสรณะอย่ างไม่ ห ยุ ด ปากกระดากใจ ยั ง ระลึ ก ถึ ง พอให้
พระองค์ ท รงเป็ นห่ ว งและรำา คาญในความไม่ ดี ข องเขาอยู่

ประวัติท่านพระอาจารย์มัน
่ ภูริทัตตเถระ 60
61

นั่นเอง เช่นเดียวกับลูก ๆ ทั้งที่เป็ นลูกที่ดีและลูกที่เลวบ่นถึงผู้


บังเกิดเกล้าว่าเป็ นพ่อเป็ นแม่ของตนฉะนั้น
ท่านพระอาจารย์ ม่ั น ท่ า นฝึ กอบรมพระเณรเพื่ อเห็ น ผล
ประจักษ์ในการบำาเพ็ญ ท่านมีอุบายปลุกปลอบด้วยวิธีต่าง ๆ
ดั งกล่ าวมา ผู้ ต้ั ง ใจปฏิ บัติ ต ามท่ า นด้ ว ยความเคารพเทิ ด ทู น
จริง ๆ ย่อมได้รับคุณธรรมเป็ นการถ่ายทอดข้อวัตรวิธีดำา เนิ น
จากท่านมาอย่างพอใจ ตลอดความรู้ความฉลาดภายในใจเป็ น
ที่น่าเลื่อมใส และนำา มาสั่งสอนลูกศิษย์สืบทอดกันมาพอเห็น
เป็ นสักขีพยานว่า ศาสนายังทรงมรรคทรงผลประจักษ์ใจของ
ผู้ปฏิบัติตลอดมาไม่ขาดสูญ ถ้าพูดตามความเป็ นมาและการ
อบรมสั่งสอนของท่านพระอาจารย์ม่ันแล้ว ควรเรียกได้อย่าง
ถนัดใจว่า “ปฏิปทาอดอยาก” คือที่อยู่ก็อดอยาก ที่อาศัยก็ฝืด
เคือง ปั จจัยเครื่องอาศัย โดยมากดำาเนิ นไปแบบขาด ๆ เขิน ๆ
ทั้งที่ส่ิงเหล่านั้นมีอยู่ ความเป็ นอยู่หลับนอนที่ล้วนอยู่ในสภาพ
อนิ จจังนั้น
ถ้าผู้เคยอยู่ด้วยความสนุกรื่นเริงและสมบูรณ์ไปเจอเข้า
อาจเกิดความสลดสังเวชใจในความเป็ นอยู่ของท่านเหล่านั้ น
อย่ า งยากจะปลงตกได้ เพราะไม่ มี อ ะไรจะเป็ นที่ เ จริ ญ ตา
เจริญใจสำาหรับโลกผู้ไม่เคยต่อสภาพเช่นนั้น จึงเป็ นที่น่าทุเรศ
เอานักหนา แต่ท่านเองแม้จะเป็ นอยู่ในลักษณะของนักโทษใน
เรือนจำา แต่ก็เ ป็ นความสมัค รใจและอยู่ ได้ ด้ว ยธรรม เป็ นอยู่
หลับนอนด้วยธรรม ลำา บากลำา บนทนทุกข์ด้วยธรรม ทรมาน
ตนเพื่อธรรม อะไร ๆ ในสายตาที่เห็นว่าเป็ นการทรมานของผู้
ไม่ เ คยพบเคยเห็ น จึ ง เป็ นเรื่ องความสะดวกกายสบายใจ
สำา หรั บ ท่ า นผู้ มี ป ฏิ ป ทาในทางนั้ น ดั ง นั้ น จึ ง ควรให้ น ามว่ า
“ปฏิปทาอดอยาก” เพราะอยู่ด้วยความตั้งใจทรมานอดอยาก
ฝื นกายฝื นใจจริ ง ๆ คื อ อยู่ ก็ ฝื น ไปก็ ฝื น นั่ ง ก็ ฝื น ยื น ก็ ฝื น
นอนก็ฝืน เดินจงกรมก็ฝืน นั่งสมาธิก็ฝืน ในอิริยาบถทั้งสี่เป็ น
ท่าฝื นกายฝื นใจทั้งนั้น ไม่ยอมให้อยู่ตามอัธยาศัยใจชอบเลย
บางครั้ ง ยั ง ต้ อ งทนอดทนหิ ว ไม่ ฉั น จั ง หั น ไปหลายวั น
เพื่อเร่งความเพียรทางใจ ขณะที่ไม่ฉันนั้ นเป็ นเวลาทำา ความ
เพี ย รตลอดสาย ไม่ มี ก ารลดหย่ อ นผ่ อ นตั ว ว่ า หิ ว โหย แม้ จ ะ
ทุกข์ก็ทราบว่าทุกข์ในเวลานั้น แต่ก็ทราบว่าตนทนอดทนหิว
เพื่อความเพียร เพราะผู้ปฏิบัติ บางรายจริ ตนิ สัย ชอบทางอด
อาหาร ถ้าฉันไปทุกวันร่างกายสมบูรณ์ความเพียรทางใจไม่
ก้ า วหน้ า ใจอั บ เฉา ไม่ ส ว่ า งไสว ไม่ อ งอาจกล้ า หาญ ก็ จำา
ต้องหาทางแก้ไข โดยมีการผ่อนและอดอาหารบ้ าง อดระยะ

ประวัติท่านพระอาจารย์มัน
่ ภูริทัตตเถระ 61
62

สั้นบ้าง ระยะยาวบ้าง พร้อมกับความสังเกตตัวเองว่า อย่าง


ไหนมีผลมากน้อยต่างกันอย่างไรบ้าง เมื่อทราบนิ สัยของตน
ว่าถูกกับวิธีใดก็เร่งรีบในวิธีน้ัน รายที่ถูกจริตกับการอดหลาย
วันก็จำาต้องยอมรับตามนิ สัยของตน และพยายามทำาตามแบบ
นั้ น เรื่ อยไป แม้ จ ะลำา บากบ้ า งก็ ย อมทนเอา เพราะอยากดี
อยากรู้ อยากฉลาด อยากหลุดพ้นจากทุกข์
ผู้ ท่ี จ ริ ต นิ สั ย ถู ก กั บ การอดในระยะยาวย่ อ มทราบได้ ใ น
ขณะที่กำา ลังทำา การอดอยู่ คืออดไปหลายวันเท่าไร ใจยิ่งเด่น
ดวงและอาจหาญต่ อ อารมณ์ ท่ี เคยเป็ นข้ า ศึ ก ใจมี ค วาม
คล่ อ งแคล่ ว แกล้ ว กล้ า ต่ อ หน้ า ที่ ข องตนมากขึ้ น นั่ ง สมาธิ
ภาวนาลื ม มื ด ลื ม สว่ า ง เพราะความเพลิ น กั บ ธรรม ขณะใจ
สัมผัสสัมพันธ์กับธรรมย่อมไม่สนใจต่อความหิวโหยและกาล
เวลา มีแต่ความรื่นเริงในธรรมทั้งหลายอันเป็ นสมบัติท่ีควรได้
ควรถึ ง ในเวลานั้ น จึ ง รี บ ตั ก ตวงให้ ทั น กั บ เวลาที่ กิ เ ลสความ
เกียจคร้านอ่อนแอ ความไม่อดทน เป็ นต้น กำาลังนอนหลับอยู่
พอจะสามารถแอบปี นขึ้นบนหลังหรือบนคอมันบ้างก็ให้ได้ขึ้น
ในเวลานั้ น ๆ หากรั้ง ๆ รอ ๆ หาฤกษ์งามยามดีพ รุ่ง นี้ ม ะรืน
อยู่ เวลามันตื่นขึ้นมาแล้วจะลำา บาก ดีไม่ดีอาจสู้มันไม่ได้และ
กลายเป็ นช้างให้มันโดดขึ้นบนคอ แล้วเอาขอสับลงบนศีรษะ
คือหัวใจ แล้วต้องยอมแพ้มันอย่างราบ
เพราะใจเราเคยเป็ นช้างให้กิเลสเป็ นนายควาญบังคับมา
นานแสนนานแล้ว ความรู้สึกกลัวที่เคยฝั งใจมานานนั้นแลพา
ให้ขยาด ๆ ไม่กล้าต่อสู้กับมันอย่างเต็มฝี มือได้ ทางด้านธรรม
ท่านว่ากิเลสกับธรรมเป็ นคู่อริกัน แต่ทางโลกเห็นว่ากิเลสกับ
ใจเป็ นคู่ มิ ต รในลั ก ษณะบ๋ อ ยกลางเรื อ นอย่ า งแยกกัน ไม่ อ อก
ฉะนั้น ผู้มีความเห็นไปตามธรรมจึงต้องพยายามต่อสู้กับสิ่งที่
ตนเห็นว่าเป็ นข้าศึก เพื่อ เอาตั วรอดและครองตั วอย่า งอิ สระ
ไม่ ต้ อ งขึ้ น กั บ กิ เ ลสเป็ นผู้ ค อยกระซิ บ สั่ ง การ แต่ ผู้ เ ห็ น ตาม
กิเลสก็ต้องคอยพะเน้าพะนอเอาอกเอาใจ ที่มันแนะนำาหรือสั่ง
การออกมาอย่างไรต้องยอมปฏิบัติตามทุกอย่างไม่ขัดขืนมัน
ได้
ส่ ว นผลที่ ไ ด้ รั บ จากมั น นั้ น เจ้ า ตั ว ก็ ท ราบว่ า มี ค วาม
กระเทื อ นต่ อ จิ ต ใจเพี ย งใด แม้ ผู้ อ่ ื นก็ ย่ อ มทราบได้ จ ากการ
ระบายออกของผู้เ ป็ นเจ้าทุกข์ เพราะความกระทบกระเทือ น
ทางจิตใจที่ถูกกิเลสกลั่นแกล้งและทรมานโดยวิธีต่าง ๆ ไม่มี
ประมาณ โทษทั้งนี้ แลทำาให้ผู้มีความรักตัวสงวนใจต้องมีมานะ
ต่อสู้ด้วยความเพียรทุกด้านอย่างไม่อาลัยเสียดายชีวิต ถึงจะ

ประวัติท่านพระอาจารย์มัน
่ ภูริทัตตเถระ 62
63

อดก็ยอมอด ทุกข์ก็ยอมทุกข์ แม้ตายก็ยอมพลีชีพเพื่อยอมบูชา


พระศาสนาไปเลย ไม่มีการแบ่งรับแบ่งสู้ไว้เพื่อกิเลสได้หวังมี
ส่วนด้วย จะได้ใจ
ที่ท่านพระอาจารย์ม่ั นเทศน์ป ลุก ใจพระเณร ให้มี ความ
อาจหาญร่าเริงต่อความเพียรเพื่อยกตนให้พ้นทุกข์เครื่องกด
ถ่วงจิตใจ ก็เพราะท่านได้พิจารณาทดสอบเรื่องของกิเลสกับ
ธรรมมาอย่างละเอียดถี่ถ้วนจนเห็นผลประจักษ์ใจแล้ว จึงได้
กลับมาภาคอีสานและทำาการสั่งสอนอย่างเต็มภูมิแห่งธรรมที่
ท่านร้เู ห็นมาเป็ นคราว ๆ ในสมัยนั้น
ธรรมที่ท่านสั่งสอนอย่างอาจหาญและออกหน้าออกตา
แก่บรรดาศิษย์อยู่เสมอ ได้แก่ พลธรรม ๕ คือ ศรัทธา วิริยะ
สติ สมาธิ ปั ญญา โดยให้ เ หตุ ผ ลว่ า ผู้ ไ ม่ เ หิ น ห่ า งจากธรรม
เหล่านี้ ไปอยู่ท่ีไหนก็ไม่ขาดทุนและล่มจม เป็ นผู้มีหวังความ
เจริญก้าวหน้าไปโดยลำา ดับ ธรรมทั้ง ๕ ข้อนี้ ท่านแยกความ
หมายมาใช้ สำา หรั บ ท่ า นเองเป็ นข้ อ ๆ ซึ่ ง โดยมากเป็ นไปใน
ทางปลุกใจให้อาจหาญ มีใจความว่า ศรัทธา เชื่อศาสนธรรมที่
พระองค์ ป ระทานไว้ เ พื่ อโลก เราผู้ ห นึ่ ง ในจำา นวนของคนใน
โลก ซึ่ ง อยู่ ใ นข่ า ยที่ ค วรได้ รั บ แสงสว่ า งแห่ ง ธรรมจากข้ อ
ปฏิบัติท่ีทำาจริงแน่ นอนไม่เป็ นอื่น และเชื่อว่าเกิดแล้วต้องตาย
แต่จะช้าหรือเร็วไม่สำาคัญ ที่สำาคัญอยู่ตรงที่ว่าเราจะตายแบบ
ผู้แพ้กิเลสวัฏฏ์ กรรมวัฏฏ์ วิปากวัฏฏ์ หรือจะเป็ นผู้ชนะวัฏวน
สามนี้ ก่อนจะตาย คำาว่าแพ้ไม่เป็ นสิ่งพึงปรารถนา แม้แต่เด็ก
เล่ น กี ฬ ากั น ต่ า งฝ่ ายเขายั ง หวั ง ชนะกั น เราจึ ง ควรสะดุ ด ใจ
และไม่ควรทำา ตัวให้เป็ นผู้แพ้ ถ้าเป็ นผู้แพ้ก็ต้องทนอยู่อย่างผู้
แพ้
ทุก ๆ อาการของผู้แพ้ต้องเป็ นการกระเทือนใจอย่างมาก
และระทมทุกข์จนหาทางออกไม่ได้ ขณะที่จิตจะคิดหาทางออก
ของผู้แพ้มีอยู่ทางเดียวคือ “ตายเสียดีกว่า” ซึ่งตายไปแบบที่
ว่าดีกว่านี้ ก็ต้องเป็ นการตายของผู้แพ้ต่อข้าศึกอยู่น่ันเอง อัน
เป็ นทางกอบโกยโรยทุก ข์ใ ส่ตัว เองจนไม่มี ท่ีป ลงวาง จึ งไม่มี
อะไรดีเลยสำา หรับผู้แพ้ทุกประตูแล้ว ถ้าจะตายแบบผู้ชนะดัง
พระพุทธเจ้าและพระสาวกท่าน ก็ต้องเชื่อแบบท่าน ทำา แบบ
ท่าน เพียรและอดทนแบบท่าน มีสติรักษาใจ รักษาตัว รักษา
กิริยาที่แสดงออกทุกอาการแบบท่าน ทำาใจให้ม่ันคงต่อหน้าที่
ของตน อย่าโยกเยกคลอนแคลนแบบคนจวนตัว ไม่ มีสติ เป็ น
หลักยึด แต่จงทำาใจให้ม่ันคงต่อเหตุท่ีทำาเพื่อผลอันพึงพอใจจะ
ได้มีทางเกิดขึ้นได้ อันเป็ นแบบที่ท่านพาดำาเนิ น

ประวัติท่านพระอาจารย์มัน
่ ภูริทัตตเถระ 63
64

ศาสนาคือคำาสั่งสอนของท่านผู้ฉลาด ท่านสอนคนเพื่อให้
เกิดความฉลาดทุกแง่ทุกมุม ซึ่งพอจะพิจารณาตามท่านได้ แต่
เราอย่ า ฟั งเพื่ อความโง่ อยู่ ด้ ว ยความโง่ กิ น ดื่ มทำา พู ด ด้ ว ย
ความโง่ คำา ว่าโง่ไม่ใช่ของดี คนโง่ก็ไม่ดี สัตว์โง่ก็ไม่ดี เด็กโง่
ผู้ใหญ่โง่ มิใช่ของดีท้ังนั้น เราโง่จะให้ใครเขาชมว่าดี จึงไม่ควร
ทำา ความสนิ ท ติ ด จมอยู่ กั บ ความโง่ โ ดยไม่ ใ ช้ ค วามพิ จ ารณา
ไตร่ตรอง ไม่ใช่ทางพ้นทุกข์โดยประการทั้งปวง จึงไม่ควรแก่
สมณะซึ่ ง เป็ นเพศที่ ใ คร่ ครวญไตร่ ต รอง นี่ คื อ ความหมายใน
ธรรม ๕ ข้อที่ท่านคิดค้นขึ้นมาพรำ่าสอนท่านเองและหมู่คณะที่
ไปอบรมศึ ก ษากั บ ท่ า น รู้ สึ ก ว่ า เป็ นคติ ไ ด้ ดี ม าก เพราะเป็ น
อุบายปลุกใจให้เกิดสติปัญญาและอาจหาญ ทั้งเหมาะสมกับ
สภาพการณ์และสถานที่ของพระธุดงค์ ผู้เตรียมพร้อมแล้วใน
การรบพุ่งชิงชัยระหว่างกิเลสกับธรรมเพื่อความชนะเลิศ คือ
วิมุตติพระนิ พพาน อันเป็ นหลักเขตแดนมหาชัยที่ปรารถนามา
นาน
พระอาจารย์ท่ีเป็ นศิษย์ผู้ใหญ่ของท่านเล่าให้ฟังว่า เวลา
อยู่ กั บ ท่ า น แม้ จ ะมี พ ระเณรจำา นวนมากด้ ว ยกั น แต่ ม องดู
อากัปกิริยาของแต่ละองค์ เหมือนพระเณรที่สิ้นกิเลสกันแล้ว
ทั้ งนั้ น ไม่ มี อาการแสดงความคึ ก คะนองใด ๆ แม้ แ ต่ น้ อ ยให้
ปรากฏบ้างเลย ต่างองค์ต่างสงบเสงี่ยมเจียมตัว ทั้งที่อยู่โดย
ลำา พั ง ตนเอง ทั้ ง เวลามารวมกั น ด้ ว ยกิ จ ธุ ร ะบางอย่ า ง และ
เวลารวมประชุมฟั งการอบรม ต่างมีมรรยาทสวยงามมาก ถ้า
ไม่ ไ ด้ ฟั งธรรมเกี่ ย วกั บ ภู มิ จิ ต เวลาท่ า นสนทนากั น กั บ ท่ า น
อาจารย์บ้าง ก็อาจให้เกิดความสงสัยหรือเชื่อแน่ ว่าแต่ละองค์
คงสำา เร็จพระอรหัตกันแน่ ๆ แต่พ อเดาได้ จากการแก้ปัญหา
ธรรมขณะที่ท่านสนทนากัน ว่าองค์ไหนควรอยู่ในภูมิธรรมขั้น
ใด นับแต่สมาธิและปั ญญาขั้นต้นขึ้นไปถึงสมาธิและวิปัสสนา
ขั้นสูง
การแก้ ปั ญหาในเวลามี ผู้ ไ ปศึ ก ษาก็ ดี การแสดงธรรม
อบรมพระเณรในเวลาประชุมก็ดี ท่านแสดงด้ว ยความแน่ ใ จ
และอาจหาญ พอให้ ผู้ ฟั งทราบได้ ว่ า ธรรมที่ แ สดงออกเป็ น
ธรรมที่ท่านรู้เห็นทางจิตใจจริง ๆ ไม่แสดงด้วยความลูบคลำา
หรือสุ่มเดา ว่าเห็นจะเป็ นอย่างนั้น เห็นจะเป็ นอย่างนี้ จึงเป็ น
ที่ แ น่ ใ จได้ ว่ า เป็ นธรรมที่ ส่ อ แสดงอยู่ กั บ ใจของทุ ก คนแม้ ยั ง
ไม่รู้ไม่เห็น และคงมีวันหนึ่ งที่ผู้ปฏิบัติจะสามารถรู้ได้จำา เพาะ
ตนหากไม่ลดละความเพียรไปเสีย

ประวัติท่านพระอาจารย์มัน
่ ภูริทัตตเถระ 64
65

วิ ธี ใ ห้ ก ารอบรมแก่ พ ระเณรและฆราวาส รู้ สึ ก ว่ า ท่ า น


แสดงให้พอเหมาะสมกับขั้นภูมิความเป็ นอยู่และจริตนิ สัยของ
ผู้ม าอบรมศึก ษาได้ ดี และได้ รั บ ประโยชน์ท้ั ง สองฝ่ ายขณะที่
ฟั งอยู่ด้วยกัน เพราะท่านอธิบายแยกแยะธรรมออกเป็ นตอน
ๆ ซึ่งพอเหมาะสมกับภูมิของผู้มาฟั งจะเข้าใจและนำา ไปปฏิบัติ
ให้ เ กิ ด ผลได้ โดยมากเวลาท่ า นสอนฆราวาสญาติ โ ยมโดย
เฉพาะ ท่ า นยกธรรมเกี่ ย วกั บ ฆราวาสขึ้ น แสดง มี ท าน ศี ล
ภาวนาเป็ นพื้น โดยให้เหตุผลว่า ธรรมทั้งสามนี้ เป็ นรากแก้ว
ของความเป็ นมนุษย์และเป็ นรากเหง้าของพระศาสนา ผู้เกิด
มาเป็ นมนุษย์ต้องเป็ นผู้เคยผ่าน คือเคยสั่งสมธรรมเหล่านี้ มา
อย่างน้อยต้องมีอย่างใดอย่างหนึ่ งที่เป็ นเชื้ออยู่ในนิ สัยของผู้จะ
มาสวมร่างเป็ นมนุษย์ท่ีสมบูรณ์ด้วยมนุษยสมบัติอย่างแท้จริง
ทาน คือเครื่องแสดงนำ้ าใจมนุษ ย์ผู้มีจิ ตใจสู ง ผู้ มีเ มตตา
จิ ต ต่ อเพื่ อนมนุ ษ ย์ แ ละสั ต ว์ ผู้ อ าภั พ ด้ ว ยการให้ ก ารเสี ย สละ
แบ่งปั นมากน้อย ตามกำา ลัง ของวั ตถุ เครื่ องสงเคราะห์ท่ี มีอ ยู่
จะเป็ นวัตถุทาน ธรรมทาน หรือวิทยาทานแขนงต่าง ๆ ก็ตาม
ที่ ใ ห้ เ พื่ อส ง เค ร าะห์ ผู้ อ่ ื น โ ด ย มิ ไ ด้ ห วั ง ค่ าต อบ แ ท น ใ ด ๆ
นอกจากกุ ศ ลคื อ ความดี ท่ี เกิ ด จากทานนั้ น ซึ่ ง จะเป็ นสิ่ ง
ตอบแทนให้เจ้าของทานได้รับอยู่โดยดีเท่านั้น ตลอดอภัยทาน
ที่ควรให้แก่กันในเวลาอีกฝ่ ายหนึ่ งผิดพลาดหรือล่วงเกิน คนมี
ทานหรื อ คนที่ เ ด่ น ในการให้ ท าน ย่ อ มเป็ นผู้ ส ง่ า ผ่ า เผยและ
เด่น ในปวงชนโดยไม่นิย มรู ปร่ างลั ก ษณะ ผู้ เ ช่ น นี้ ม นุ ษย์ แ ละ
สัตว์ตลอดเทวดาที่มองไม่เห็นก็เคารพรัก จะตกทิศใดแดนใด
ย่ อ มไม่ อดอยากขาดแคลน หากมี ส่ิ ง หรื อ ผู้ อุป ถั ม ภ์ จ นได้ ไม่
อับจนทนทุกข์
แม้ในแดนมนุษย์เรานี้ ก็พอเห็นได้อย่างเต็มตารู้ได้อย่าง
เต็มใจว่า ผู้มีทานเป็ นเครื่องประดับตัวย่อมเป็ นคนไม่ล้าสมัย
ในสังคม และบุคคลทุกชั้นไม่มีใครรังเกียจ แม้แต่คนที่ม่ังมีแต่
แสนตระหนี่ ถ่ีเหนี ยวก็ยังหวังต่อการสงเคราะห์ช่วยเหลือจาก
ผู้อ่ ืนเช่นเดียวกับมนุษย์ท่ัว ๆ ไป ไม่ต้องพูดถึงคนที่ช่วยตัวเอง
ไม่ได้ แต่ไม่หวังให้ผู้อ่ ืนช่วยเหลือ จะไม่มีในโลกเมืองไทยเรา
อำา นาจทานทำา ให้ ผู้มี ใ จชอบบริ จ าคเกิ ด ความเคยชิ น ต่ อ นิ สั ย
จนกลายเป็ นผู้มีฤทธิบ ์ ันดาลไม่ให้อดอยากในภพที่เกิดกำาเนิ ด
ที่ อ ยู่ น้ั น ๆ ฉะนั้ น ทานและคนที่ มี ใ จเป็ นนั ก ให้ ท าน การเสี ย
สละ จึงเป็ นเครื่องและเป็ นผู้ค้ ำาจุนหนุนโลกให้เฟื่ องฟูตลอดไป
โลกที่ยังมีการสงเคราะห์กันอยู่ยังจัดเป็ นโลกที่มีความหมาย
ตลอดไป ไม่ เ ป็ นโลกที่ ไ ร้ ช าติ ข าดกระเจิ ง เหลื อ แต่ ซ ากคื อ

ประวัติท่านพระอาจารย์มัน
่ ภูริทัตตเถระ 65
66

แผ่นดินแน่ ๆ ทานจึงเป็ นสาระสำาคัญสำาหรับตัวและโลกทั่ว ๆ


ไป ผู้ มี ท านย่ อ มเป็ นผู้ อ บอุ่ น และหนุ น โลกให้ ชุ่ ม เย็ น ไม่ เ ป็ น
บุคคลและโลกที่แห้งแล้งแข่งกับทุกข์ตลอดไป
ศีล คือรั้วกั้นความเบียดเบียนและทำาลายสมบัติร่างกาย
และจิตใจของกันและกัน ศีลคือพืชแห่งความดีอันยอดเยี่ยมที่
ควรมี ป ระจำา ชาติ ม นุ ษ ย์ ไม่ ป ล่ อ ยให้ สู ญ หายไปเสี ย เพราะ
มนุษย์ท่ีไม่มีศีลเป็ นรั้วกั้นและเป็ นเครื่องประดับตัวเสียเลย ก็
คื อ กองเพลิ ง แห่ ง มนุ ษ ย์ เ ราดี ๆ นี่ เอง การเบี ย ดเบี ย นและ
ทำา ลายกั น ย่ อ มมี ไ ปทุ ก หย่ อ มหญ้ า และทั่ ว โลกดิ น แดน ไม่ มี
เ ก า ะมี ด อ น พ อจ ะเ อา ศี ร ษ ะซุ ก น อน ใ ห้ ห ลั บส นิ ท ไ ด้ โ ด ย
ปลอดภัย แม้โลกจะเจริญด้วยวัตถุจนกองสูงกว่าพระอาทิตย์
บ น ท้ อ ง ฟ้ า แ ต่ ค ว า ม รุ่ ม ร้ อ น แ ผ ด เ ผ า จ ะ ท วี คู ณ ยิ่ ง ก ว่ า
พระอาทิตย์เป็ นไหน ๆ โลกจะไม่มีท่ีปลงใจได้เลยถ้ายังมัวคิด
ว่าวัตถุมีคุณค่ายิ่งกว่าศีลธรรมอยู่ เพราะศีลธรรมเป็ นสมบัติ
ของจอมมนุษย์ คือพระพุทธเจ้า ผู้ค้นพบและนำามาประดับโลก
ที่กำาลังมืดมัวกลัวทุกข์พอให้สว่างไสวร่มเย็น ควรอาศัยได้บ้าง
ด้วยอำานาจศีลธรรมเป็ นเครื่องปั ดเป่ ากำาจัด
ลำา พั ง ความคิด ของมนุ ษ ย์ ท่ี มี กิ เ ลสคิ ด ผลิ ต อะไรออกมา
ทำาให้โลกร้อนจะบรรลัยอยู่แล้ว ยิ่งจะปล่อยให้คิดตามอำา นาจ
โดยไม่มีกลิ่นแห่งศีลธรรมช่วยเป็ นยาแก้และชะโลมไว้บ้าง ก็
น่ ากลัวความคิดนั้น ๆ จะผลิตยักษ์ใหญ่ตัวโหดร้ายที่ทรงพิษ
ขึ้นมากี่แสนกี่ล้านตัว ออกเที่ยวหากว้านกินมนุษย์ให้ฉิบหาย
กั น ทั้ ง โลก ไม่ มี อ ะไรเหลื อ อยู่ บ้ า งเลย ความคิ ด ของคนสิ้ น
กิเลสที่ทรงคุณอย่างสูงสุดคือพระพุทธเจ้า มีผลให้โลกได้รั บ
ความร่มเย็นซาบซึ้ง กับความคิดที่เป็ นไปด้วยกิเลสที่มีผลให้
ตัวเองและผู้อ่ ืนได้รับความเดือดร้อนจนจะคาดไม่ถึงนี่ แล เป็ น
ความคิดที่ผิดกันอยู่มาก พอจะนำา มาเที ยบเคี ยงเพื่ อหาทาง
แก้ ไ ขผ่ อ นหนั ก ผ่ อ นเบาลงได้ บ้ า ง ไม่ จ มไปกั บ ความคิ ด
ประเภทนั้ นจนหมดทางแก้ไข ศีลจึงเป็ นเหมือนยาปราบโรค
ทั้งโรคระบาดและโรคเรื้อรัง อย่างน้อยก็พอให้คนไข้ท่ีสุมด้วย
กิเลสกินอยู่หลับนอนได้บ้าง ไม่ถก ู บีบคั้นด้วยโรคที่เกิดแล้วไม่
ยอมหายนี้ ตลอดไป มากกว่านั้นก็หายขาดอยู่สบาย
ท่านพระอาจารย์ม่ันท่านเมตตาสั่งสอนฆราวาสให้รู้คุณ
ของศี ล และให้ รู้ โ ทษของความไม่ มี ศี ล อย่ า งถึ ง ใจจริ ง ๆ ฟั ง
แล้ ว จั บ ใจไพเราะ แม้ ผู้เ ขี ย นเองพอได้ ท ราบว่ า ท่ า นสั่ ง สอน
ประชาชนให้เห็นโทษเห็นคุณในศีลอย่างซาบซึ้งจับใจเช่นนั้น
ยังเผลอตัวไปว่า “อยากมีศีล ๕ กับเขาบ้าง” ทั้ง ๆ ที่ขณะนั้น

ประวัติท่านพระอาจารย์มัน
่ ภูริทัตตเถระ 66
67

ตนก็มีศีลอยู่ถึง ๒๒๗ ศีลอยู่แล้ว เพราะความปี ติผาดโผนไป


บ้างเวลานั้ นจึงขาดสติไปพักหนึ่ ง พอได้สติขึ้นมาเลยนึ กอาย
ตัวเองและไม่กล้ าบอกใคร กลัว ท่า นเหล่า นั้ น จะหาว่า เราบ้ า
ซำ้าเข้าไปอีก เพราะขณะนั้นเราก็ชักจะบ้า ๆ อยู่บ้างแล้วที่คิด
ว่ า อยากมี ศี ล ๕ กั บ ฆราวาสเขาโดยไม่ ค ลำา ดู ศี ร ษะบ้ า งเลย
อย่างนี้ แลคนเรา เวลาคิดไปทางชั่วจนถึงกับทำา ชั่วตามความ
คิดจริง ๆ ก็คงเป็ นไปในลักษณะดังกล่าวมา จึงควรสำาเหนี ยก
ในความคิ ด ของตนไปทุ ก ระยะ ว่ า คิ ด ไปในทางดี ห รื อ ชั่ ว ถู ก
หรือผิด ต้องคอยชักบังเหียนไว้เสมอ ไม่เช่นนั้นมีหวังเลยเถิด
ได้แน่ นอน
ภาวนา คื อ การอบรมใจให้ ฉ ลาดเที่ ย งตรงต่ อ เหตุ ผ ล
อรรถธรรม รู้จักวิธีปฏิบัติต่อตัวเองและสิ่งทั้งหลาย ไม่ให้จิต
ผาดโผนโลดเต้ น แบบไม่ มี ฝ่ั งมี ฝา ยึ ด การภาวนาเป็ นรั้ ว กั้ น
ความคิ ด ฟ้ ุ ง ของใจให้ อ ยู่ ใ นเหตุ ผ ลอั น จะเป็ นทางแห่ ง ความ
สงบสุข ใจที่ยังมิได้รับการอบรมจากภาวนาจึงยังเป็ นเหมือน
สัตว์ท่ียังมิได้รับการฝึ กหัดให้ทำาหน้าที่ของตนอย่างสมบูรณ์ มี
จำา นวนมากน้ อ ยก็ ยั ง มิ ไ ด้ รั บ ประโยชน์จ ากมั น เท่ า ที่ ค วร จำา
ต้องฝึ กหัดให้ทำา ประโยชน์ตามประเภทของมันก่อน ถึงจะได้
รับประโยชน์ตามควร ใจจึงควรได้รับการอบรมให้รู้เรื่องของ
ตัว เสี ย บ้ าง จะเป็ นผู้ ค วรแก่ ก ารงานทั้ ง หลาย ทั้ ง ส่ ว นหยาบ
ส่ ว นละเอี ย ด ทั้ ง ส่ ว นเล็ ก ส่ ว นใหญ่ ทั้ ง ภายในภายนอก ผู้ มี
ภาวนาเป็ นหลั ก ใจจะทำา อะไรชอบใช้ ค วามคิ ด อ่ า นเสมอ ไม่
ค่ อ ยเอาตั ว เข้ า ไปเสี่ ย งต่ อ การกระทำา ที่ ไ ม่ แ น่ ใ จ ซึ่ ง อาจเกิ ด
ความเสี ย หายแก่ ต นและผู้ เ กี่ ย วข้ อ งตลอดส่ ว นรวมเมื่ อผิ ด
พลาดลงไป การภาวนาจึ ง เป็ นงานเพื่ อผลในปั จจุ บั น และ
อนาคต ไม่ เ สี ย ประโยชน์ ท้ั ง สองทาง ประโยชน์ สำา คั ญ คื อ
ประโยชน์เฉพาะหน้า ที่เรียกว่า ทิฏฐธรรมมิกัตถประโยชน์
การงานทุกชนิ ดที่ทำา ด้วยใจของผู้มีภาวนา จะสำา เร็จลง
ด้วยความเรียบร้อย ขณะที่ทำา ก็ไม่ทำา แบบขอไปที แต่ทำา ด้วย
ความใคร่ครวญ และเล็งถึงประโยชน์ท่ี จะได้ รับ จากงานเมื่ อ
สำา เร็จลงไปแล้ว จะไปมาในทิศทางใดจะทำา อะไร ย่อมเล็งถึง
ผลได้เสียเกี่ยวกับการนั้ น ๆ เสมอ การปกครองตนก็สะดวก
ไม่ฝ่าฝื นตัวเองซึ่งเป็ นผู้มีหลักเหตุผลอยู่แล้ว ถือหลักความถูก
ต้องเป็ นเข็ม ทิศทางเดิน ของกาย วาจา ใจประจำา ตั ว ไม่ ย อม
เปิ ดช่องให้ความอยากอันไม่มีขอบเขตเข้ามาเกี่ยวข้อง เพราะ
ความอยากไป อยากมา อยากทำา อยากพูด อยากคิด ที่ เคย
เป็ นมาดั้งเดิม เป็ นไปตามอำา นาจของกิเ ลสตัณหา ซึ่ งไม่เคย

ประวัติท่านพระอาจารย์มัน
่ ภูริทัตตเถระ 67
68

สนใจต่อความผิดถูกดีช่ัวเสียมากต่อมาก และพาเราเสียไปจน
นับไม่ถ้วนประมาณไม่ถูก จะเอาโทษกับมันก็ไม่ได้ นอกจาก
ยอมให้เสียไปอย่างน่ าเสียดาย แล้วพยายามแก้ตัวใหม่เท่านั้น
เมื่อยังมีสติอยู่บ้างพอจะหักล้างกันได้ ถ้าไม่มีสติพอระลึกบ้าง
เลยแล้ ว ทั้ ง ของเก่ า ก็ เ สี ย ไป ทั้ ง ของใหม่ ก็ พ ลอยจมไปด้ ว ย
ไม่ มี วั น กลั บ ฟื้ นคื น ตั ว ได้ เ ลย นี่ แ ลเรื่ องของกิ เ ลส ต้ อ งพาให้
เสียหายเรื่อยไป ฉะนั้นการภาวนาจึงเป็ นเครื่องหักล้างความ
ลามกไม่มีเหตุผลของตนได้ดี แต่วิธีภาวนานั้นรู้สึกลำา บากอยู่
บ้าง เพราะเป็ นการบังคับใจซึ่งเหมือนบังคับลิงให้อยู่เชื่อง ๆ
พองามตาบ้าง ย่อมเป็ นของลำาบากฉะนั้น
วิ ธี ภ าวนาก็ คื อ วิ ธี สั ง เกตตั ว เองนั่ น แล คื อ สั ง เกตจิ ต ที่ มี
นิ สัยหลุกหลิกเหมือนถูกไฟหรือนำ้าร้อนลวก ไม่อยู่เป็ นปกติสุข
ด้วยสติตามระลึกรู้ความเคลื่อนไหวของจิต โดยมีธรรมบทใด
บทหนึ่ งเป็ นคำา บริกรรม เพื่อเป็ นยารัก ษาจิตให้ท รงตั วอยู่ไ ด้
ด้วยความสงบสุขในขณะภาวนา ตามที่นิยมใช้กันมากและได้
ผลดี ก็ มี อ านาปานสติ บ้ า ง พุ ท โธบ้ า ง ธั ม โมบ้ า ง สั ง โฆบ้ า ง
มรณานุ ส สติ บ้ า ง หรื อ เกสา โลมา นขา ทั น ตา ตโจ โดย
อนุโลม ปฏิโลมบ้าง หรือใช้บริกรรมเฉพาะบทใดบทหนึ่ งบ้าง
พยายามบั ง คั บ ใจให้ อ ยู่ กั บ อารมณ์แ ห่ ง ธรรมบทที่ นำา มาบริ
กรรมขณะภาวนา ใจที่อาศัยบทธรรมอันเป็ นอารมณ์ท่ีให้คุณ
ไม่เป็ นภัยแก่จิตใจ ย่อมจะเกิดความสงบสุขขึ้นมาในขณะนั้น
ที่เรียกว่าจิตสงบ หรือจิตรวมเป็ นสมาธิ คือความมั่นคงต่อตัว
เอง ไม่ อาศั ย ธรรมบทใด ๆ เป็ นเครื่ องยึ ด เหนี่ ย วในเวลานั้ น
เพราะจิตมีกำาลังพอดำารงตนอยู่โดยอิสระได้
คำา บริกรรมที่เคยนำา มากำา กับใจ ก็ระงับกันไปชั่วขณะที่
จิตปล่อยอารมณ์เข้าพักสงบตัว ต่อเมื่อถอนขึ้ นมา ถ้า มีเ วลา
ทำา ต่ อ ไปอี ก ก็ นำา คำา บริ ก รรมที่ เ คยกำา กั บ มาบริ ก รรมต่ อ ไป
พยายามทำา อย่ างนี้ เ สมอด้ วยความใฝ่ ใจไม่ ล ดละความเพี ย ร
จิตที่เคยทำา บาปหาบทุกข์ อยู่เสมอก็จะค่อยรู้สึกตัวและปล่อย
วางไปเป็ นลำาดับ และมีความสนใจหนักแน่ นในหน้าที่ของตน
เป็ นประจำา ไม่ ถู ก บั ง คั บ ถู ไ ถเหมื อ นขั้ น เริ่ ม แรก ซึ่ ง เป็ นขั้ น
กำา ลั ง ฝึ กหั ด จิ ต ที่ ส งบตั ว ลงเป็ นสมาธิ เป็ นจิ ต ที่ มี ค วามสุ ข
เย็นใจมากและจำาไม่ลืม ถ้าได้ปรากฏขึ้นเพียงครั้งเดียว ย่อม
เป็ นเครื่ องปลุ ก ใจให้ ต่ ื นตั ว และตื่ นใจได้ อ ย่ า งน่ า ประหลาด
หากไม่ ป รากฏอี ก ในวาระต่ อ ไปทั้ ง ที่ ภ าวนาอยู่ ใ นใจ จะเกิ ด
ความเสี ย ดายอย่ า งบอกไม่ ถู ก อารมณ์แ ห่ ง ความติ ด ใจและ
ความเสียดายในจิตประเภทนั้นจะฝั งใจไปนาน นอกจากจิตจะ

ประวัติท่านพระอาจารย์มัน
่ ภูริทัตตเถระ 68
69

เจริ ญ ก้ า วหน้ า ขึ้ น สู่ ค วามสงบสุ ข อั น ละเอี ย ดไปเป็ นลำา ดั บ


เท่ า นั้ น จิ ต ถึ ง จะลื ม และเพลิ น ในธรรมขั้ น สู ง เรื่ อยไป ไม่ ม า
เกี่ยวข้องเสียดายจิตและความสงบที่เคยผ่านมาแล้ว
แต่เมื่อพูดถึงการภาวนาแล้ว ท่านผู้อ่านอาจจะรู้สึกเหงา
หงอยน้อ ยใจและอ่ อนเปี ยกไปทั้ ง ร่ า งกายและจิ ต ใจ ว่ า ตนมี
วาสนาน้อย ทำา ไม่ไหว เพราะคิด ว่า กิจ การยุ่ง ยากทั้งภายใน
บ้านและนอกบ้านตลอดงานสังคมต่าง ๆ ลูกหลานก็ มีหลาย
คนล้ ว นแต่ ต้ อ งเป็ นธุ ร ะในการเลี้ ย งดู จะมั ว มานั่ ง หลั บ ตา
ภาวนาอยู่เห็นจะไม่ทันอยู่ทันกินกับโลกเขา ต้องอดตายแน่ ๆ
แล้ ว ทำา ให้ เ กิ ด ความอิ ด หนาระอาใจไม่ อ ยากทำา ประโยชน์ท่ี
ควรได้เลยผ่านไป ความคิดเช่นนั้นเป็ นความคิดที่เคยฝั งนิ สัย
มาดั้งเดิม และอาจเป็ นความคิดที่คอยกีดกันทางเดินเพื่อการ
ระบายคลายทุกข์ทางใจไปเสีย ถ้าไม่พยายามคิดแก้ไขเสียแต่
บัดนี้ เป็ นต้นไป
แท้จริงการภาวนา คือวิธีการแก้ความยุ่งยากและความ
ลำาบากทางใจทุกประเภท ที่เคยรับภาระอันหนักหน่ วงมานาน
ให้ เ บาลงและหมดสิ้น ไป เหมื อ นอุ บ ายอื่ น ๆ ที่ เ ราเคยนำา มา
แก้ ไ ขไล่ ทุ ก ข์ อ อกจากตั ว เหมื อ นที่ โ ลกทำา กั น มานั่ น เอง เช่ น
เวลาร้ อนต้องแก้ด้ว ยวิ ธีอ าบนำ้ า เวลาหนาวแก้ด้ วยวิธี ห่ ม ผ้ า
หรื อ ผิ ง ไฟ หรื อ ด้ ว ยวิ ธี อ่ ื น ๆ เวลาหิ ว กระหายแก้ ด้ ว ยวิ ธี รั บ
ประทานและดื่ ม เวลาเป็ นไข้ ก็ แ ก้ ด้ ว ยวิ ธี รั บ ประทานหรื อ
ฉี ดยาที่จะยังโรคให้สงบและหายไป ซึ่งล้วนเป็ นวิธีการที่โลก
เคยทำา ตลอดมาถึ ง ปั จจุ บัน โดยไม่ มีก ารผั ด เพี้ ย นเลื่ อนเวลา
ว่า ยัง ยุ่งยากยั ง ลำา บาก และขั ด สนจนใจใด ๆ ทั้ ง นั้ น ทุ ก ชาติ
ชั้นวรรณะจำา ต้องปฏิบัติกันทั่วโลก แม้แต่สัตว์ก็ยังต้องอาศัย
การเยี ย วยารั ก ษาตั ว ดั ง ที่ เ ราเห็ น เขาหากิ น เลี้ ย งปากเลี้ ย ง
ท้อง เพื่อผ่อนคลายระบายทุกข์ไปวันหนึ่ ง ๆ พอยังชีวิตให้เป็ น
ไปตลอดกาลของเขา ล้วนเป็ นวิธีการแก้ไขและรักษาตัวแต่ละ
อย่าง ๆ
การอบรมใจด้วยภาวนาก็เป็ นวิธีหนึ่ งแห่งการรักษาตัว
วิธีน้ี ย่ิงเป็ นงานสำา คั ญ ที่ ค วรสนใจเป็ นพิ เ ศษ เพราะเป็ นวิ ธี ท่ี
เกี่ ย วกั บ จิ ต ใจผู้ เ ป็ นหั ว หน้ า งานทุ ก ด้ า นโดยตรง งานอะไร
เรื่องอะไรที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับตัว จิตจำา ต้องเป็ นตัวการอย่าง
แยกไม่ อ อก ที่ จ ะต้ อ งเข้ า รั บ ภาระแบกหามโดยไม่ คำา นึ ง ถึ ง
ความหนักเบา และชนิ ดของงานว่าเป็ นงานชนิ ดใด จะพอยก
ไหวไหม แต่จิต ต้องเข้ารับ ภาระทัน ที ดีห รือ ชั่ว ผิ ด หรื อ ถู ก ไม่
ค่อ ยสนใจคิ ด แม้ ง านหรื อ เรื่ องจะหนั ก เบาเศร้ า โศกเพี ย งใด

ประวัติท่านพระอาจารย์มัน
่ ภูริทัตตเถระ 69
70

ซึ่งบางเรื่องแทบจะคว้าเอาชีวิตไปด้วยในขณะนั้น แม้เช่นนั้น
ใจยังกล้าเอาตัวเข้าไปเสี่ยงและแบกหามจนได้ โดยไม่คำา นึ ง
ว่ า จะเป็ นจะตายเพราะเหลื อ บ่ า กว่ า แรง มิ ห นำา ยั ง หอบเอา
เรื่ องมาคิ ด เป็ นการบ้ า นอยู่ อี ก จนแทบนอนไม่ ห ลั บ รั บ
ประทานไม่ได้ ก็ยังมีในบางครั้ง คำา ว่า หนั ก เกิน ไปยกไม่ ไหว
เพราะเกินกว่ากำาลังใจจะคิดและต้านทานนั้นเป็ นไม่มี มีแต่จะ
ส้เู อาท่าเดียว
งานทางกายยังมีเวลาพักผ่อน และยังรู้ประมาณว่าควร
หรื อ ไม่ ค วรแก่ กำา ลั ง ของตนเพี ย งใด ส่ ว นงานทางใจไม่ มี วั น
เวลาได้ พั ก ผ่ อ นเอาเลย จะมี พั ก อยู่ บ้ า งเล็ ก น้ อ ยก็ ข ณะหลั บ
นอนเท่ านั้ น แม้ เ ช่ น นั้ น จิ ต ยั ง อุ ต ส่ า ห์ ทำา งานด้ ว ยการละเมอ
เพ้ อ ฝั นต่ อ ไปอี ก และไม่ รู้ จั ก ประมาณว่ า เรื่ องต่ า งๆ นั้ น ควร
หรือไม่ควรแก่กำา ลังของใจเพียงใด เมื่อเกิดเป็ นอะไรขึ้นมาก็
ทราบแต่เพียงว่าทุกข์เหลือทน แต่ไม่ทราบว่าทุกข์เพราะงาน
หนักและเรื่องเผ็ดร้อนเหลือกำา ลังที่ใจจะสู้ไหว จึงควรให้นาม
ว่ า “ใจคื อ นั ก ต่ อ สู้ ” เพราะดีก็สู้ ชั่วก็สู้ สู้จนไม่รู้จักหยุดยั้ง
ไตร่ตรอง
อารมณ์ชนิ ดใดผ่านมาต้องสู้ และสู้แบบรับเหมา ไม่ยอม
ให้ อะไรผ่านหน้าไปได้ จิตเป็ นเช่ นนี้ แลจึ งสมนามว่ านั ก ต่ อ สู้
เพราะสู้ จ นไม่ รู้ จั ก ตายถ้ า ยั ง ครองร่ า งอยู่ และไม่ ไ ด้ รั บ การ
แก้ไข ก็ต้องเป็ นนักต่อสู้เรื่อยไปชนิ ดไม่มีวันปลงวางภาระลง
ได้ หากปล่ อยให้ เ ป็ นไปตามชอบของใจที่ ไ ม่ รู้ ป ระมาณ โดย
ไม่ มี ธ รรมเครื่ องยั บ ยั้ ง บ้ า ง คงไม่ มี เ วลาได้ รั บ ความสุ ข แม้
สมบั ติ จ ะมี เ ป็ นก่ ายกอง เพราะนั้ น มิ ใ ช่ ก องแห่ ง ความสุ ข แต่
กลั บ เป็ นกองส่ ง เสริ ม ทุ ก ข์ สำา หรั บ ใจที่ ไ ม่ มี เ รื อ นพั ก คื อ ธรรม
ภายในใจ
นักปราชญ์ท่านกล่าวได้อย่างเต็ม ปากว่ า ธรรมแลเป็ น
เครื่องปกครองทรัพย์สมบัติและปกครองใจ ถ้าใจมีธรรมมาก
น้ อ ย ผู้ น้ั น แม้ มี ท รั พ ย์ ส มบั ติ ม ากน้ อ ยย่ อ มจะมี ค วามสุ ข พอ
ประมาณ ถ้าขาดธรรมเพียงอย่างเดียว ลำาพังความอยากของ
ใจ จะพยายามหาทรัพย์ให้ได้กองเท่าภูเขาก็ยังหาความสุขไม่
เจอ เพราะนั้ นเป็ นเพีย งเครื่องอาศั ยของกายและใจ ผู้ ฉ ลาด
หาความสุขใส่ตัวเท่านั้ น ถ้าใจไม่ฉลาดด้วยธรรม ไม่ มีธ รรม
ในใจเพียงอย่างเดียวจะไปอยู่โลกใดและกองสมบัติใด ก็เป็ น
เพี ย งโลกเศษเดนและกองสมบั ติ เ ศษเดนอยู่ เ ท่ า นั้ น ไม่ มี
ประโยชน์อะไรแก่ ใจเลยแม้นิด ความสมบุ กสมบัน ความรั บ
ทุ ก ข์ ท รมาน ความอดทนและความทนทานต่ อ สิ่ ง กระทบ

ประวัติท่านพระอาจารย์มัน
่ ภูริทัตตเถระ 70
71

กระทั่งต่าง ๆ ไม่มีอะไรจะแข็งแกร่งเท่าใจ ถ้าได้รับความช่วย


เหลือที่ถูกทาง ใจจะกลายเป็ นของประเสริฐขึ้นมาให้เจ้า ของ
ได้ชมอย่างภูมิใจและอิ่มพอต่อเรื่องทั้งหลายทันที
การใช้งานจิตนั บแต่วันเกิดจนบัดนี้ รู้สึก ว่า ใช้ เอาอย่า ง
ไม่มีปรานี ปราศรัย ถ้าเป็ นเครื่องใช้ชนิ ดต่าง ๆ มีรถราเป็ นต้น
จะเป็ นอย่างไรบ้าง ไม่ควรพูดถึงการนำา เข้าอู่ซ่อม แต่ควรพูด
ถึง ความแหลกยั บเยิน ของรถจนกลายเป็ นเศษเหล็ก ไปนาน
แล้วจะเหมาะสมกว่า นี่ แลทุกสิ่งเมื่อมีการใช้ต้องมีการบูรณะ
ซ่อมแซม มีการเก็บรักษา ถึงจะพอมีทางอำานวยประโยชน์ต่อ
ไป จิตเป็ นสมบัติสำา คัญ มากในตั วเราที่ ควรได้รั บการเหลี ยว
แล ด้วยวิธีเก็บรักษาเช่นเดียวกับสมบัติท่ัวไป วิธีท่ีควรแก่จิต
โดยเฉพาะก็คื อภาวนาวิ ธี ดั ง ที่ อ ธิ บ ายมาบ้ า งแล้ ว ผู้ ส นใจใน
ความรับผิดชอบต่อจิตอันเป็ นสมบัติท่ีมีค่ายิ่งของตน จึง ควร
ปฏิบัติรักษาจิตด้วยวิธีท่ีถูกต้องเหมาะสม คือฝึ กหัดภาวนาใน
โอกาสอันควร เพื่อเป็ นการตรวจตราดูเครื่องเคราของรถคือ
จิ ต ว่ า มี อ ะไรบกพร่ อ งและเสี ย ไปบ้ า ง จะได้ นำา เข้ า โรงซ่ อ ม
สุขภาพทางจิต
คือนั่งพินิจพิจารณาดูสังขารภายใน คือความคิดปรุงของ
ใจ ว่าคิดอะไรบ้ างในวัน และเวลาหนึ่ ง ๆ พอมี สารประโยชน์
บ้ า งไหม หรื อพยายามคิ ดแส่ ห าแต่ เ รื่ อง หาแต่ โ ทษ และขน
ทุกข์มาเผาลนเจ้าของอยู่ทำา นองนั้ น พอให้รู้ความผิดถูกของ
ตัวบ้าง และพิจารณาสังขารภายนอก คือร่างกายของเรา ว่ามี
ความเจริญขึ้นหรือเจริญลงในวันและเวลาหนึ่ ง ๆ ที่ผ่านไปจน
กลายเป็ นปี เก่ า และปี ใหม่ ผ ลั ด เปลี่ ยนกั น ไปไม่ มี ท่ี สิ้ น สุ ด
สังขารร่างกายเรามีอะไรใหม่ขึ้นบ้างไหม หรือมีแต่ความเก่า
แก่และครำ่าคร่าชราหลุดลงไปทุกวัน ซึ่งพอจะนอนใจกับเขาละ
หรือ จึงไม่พยายามเตรียมตัวเตรียมใจเสียแต่เวลาที่พอทำา ได้
เวลาตายแล้วจะเสียการ นี่ คื อการภาวนา การภาวนาคือ วิธี
เตือนตนสั่งสอนตน ตรวจตราดูความบกพร่องของตนว่าควร
จะแก้ไขจุดใดตรงไหนบ้าง
ผู้ ใ ช้ ค วามพิ จ ารณาอยู่ ทำา นองนี้ เรื่ อย ๆ ด้ ว ยวิ ธี ส มาธิ
ภาวนาบ้าง ด้วยการรำา พึ งในอิริ ยาบถต่ า ง ๆ บ้ า ง ใจจะสงบ
เยื อ กเย็ น ไม่ ลำา พองผยองตั ว และคว้ า ทุ ก ข์ ม าเผาลนตั ว เอง
เป็ นผู้รู้จักประมาณ ทั้งหน้าที่การงานที่พอเหมาะพอดีแก่ตัว
ทั้งทางกายและทางใจ ไม่ลืมตัวมั่วสุมในสิ่งที่เป็ นหายนะต่าง
ๆ คุ ณสมบั ติ ของผู้ ภ าวนานี้ มี ม ากมายไม่ อ าจพรรณนาให้ จ บ
สิน้ ลงได้ แต่ท่านพระอาจารย์ม่ันท่านมิได้อธิบายลึกซึ้งมากไป

ประวัติท่านพระอาจารย์มัน
่ ภูริทัตตเถระ 71
72

กว่าฐานะของฆราวาสที่มารับการอบรม ผิดกับท่านอธิบายให้
พระเณรฟั งอยู่มาก เท่าที่เขียนตามท่านอธิบายไว้พอหอมปาก
หอมคอนี้ ก็ยังอาจมีบทที่รู้สึกว่าเปรี้ยวจัดเค็มจัดแฝงอยู่บ้าง
ตามทรรศนะของนานาจิตตัง จะให้เป็ นแบบเดีย วกั นย่อ มไม่
ได้
เท่ าที่ ไ ด้ พ ยายามตะเกี ย กตะกายนำา มาลง ก็ เ พื่ อท่ า นผู้
อ่านได้ช่วยติชมพอเป็ นยาอายุวัฒนะ ผิดถูกประการใดโปรด
ได้ ตำา หนิ ผู้ นำา มาเขี ย น กรุ ณ าอย่ า ได้ ส นใจกั บ ท่ า นผู้ เ ป็ น
เจ้ า ของประวั ติ เพราะท่ า นมิ ไ ด้ มี ส่ ว นรู้ เ ห็ น ด้ ว ย เวลาแสดง
ธรรมขั้ น สู ง ท่ านก็ แ สดงเป็ นการภายในเฉพาะผู้ ท่ี อ ยู่ ใ กล้ ชิด
เท่ า นั้ น แต่ ผู้ เ ขี ย นคะนองไปเอง ใจและมื อ ไม่ อ ยู่ เ ป็ นสุ ข ไป
เที่ยวซอกแซกบันทึกเอาจากปากคำาของพระอาจารย์ท้ังหลาย
ที่เป็ นลู กศิ ษย์ ท่านพระอาจารย์ ม่ัน ซึ่ งเคยอยู่กับ ท่า นมาเป็ น
คราว ๆ ในสมั ย นั้ น ๆ แล้ ว นำา มาลงเพื่ อท่ า นผู้ อ่ า นได้ ท ราบ
ปฏิปทาการดำาเนิ นของท่านบ้างแม้ไม่สมบูรณ์ เพราะปฏิปทา
ท่ า นปรากฏว่ า เด็ ด เดี่ ย วอาจหาญมาก แทบจะพู ด ได้ ว่ า ไม่ มี
ท่านผู้ใดบรรดาลูกศิษย์ท่ีเคยพึ่งร่มเงาแห่งบารมีท่านมา จะ
สามารถปฏิบัติเด็ดเดี่ยวต่อธุดงควัตรและจริยธรรมทั้งหลาย
อย่างสมำ่าเสมอเหมือนท่าน สำาหรับองค์ท่าน ทั้งข้อปฏิบัติ ทั้ง
ความรู้ภายในใจ นับว่าเป็ นเยี่ยมในสมัยปั จจุบัน ยากจะหาผู้
เสมอเหมือนได้
แถบจังหวัดอุดร และหนองคาย ตามในป่ า ชายเขา และ
บนเขาที่ ท่ า นพั ก อยู่ ท่ า นเล่ า ว่ า พวกเทพฯ ทั้ ง เบื้ องบนเบื้ อง
ล่ า งมาเยี่ ย มฟั งธรรมท่ า นเป็ นคราว ๆ ครึ่ ง เดื อ นบ้ า ง หนึ่ ง
เดือนบ้างมาหนหนึ่ ง ไม่บ่อยนักเหมือนจังหวัดเชียงใหม่ แต่จะ
เขียนต่อเมื่อประวัติท่านดำาเนิ นไปถึง ระยะนี้ ขอดำาเนิ นเรื่องไป
ตามลำา ดับเพื่อไม่ให้ก้าวก่ายกัน ท่านเคยไปพักบำา เพ็ญเพียร
อยู่ชายเขาฝั่ งไทยตะวันตกเมืองหลวงพระบาง นานพอสมควร
ท่ า นเล่ าว่ าที่ ใ ต้ ชายเขาลู ก นั้ น มี เ มื อ งพญานาคตั้ ง อยู่ ใ หญ่ โ ต
มาก หัวหน้าพญานาคพาบริวารมาฟั งธรรมท่านเสมอ และมา
กันมากมายในบางครั้ง พวกนาคไม่ค่อยมีปัญหามากเหมือน
พวกเทวดา พวกเทวดาทั้งเบื้องบนเบื้องล่างมักมีปัญหามาก
พอ ๆ กัน ส่วนความเลื่อมใสในธรรมนั้ น มีพ อ ๆ กัน ท่านพัก
อยู่ ช ายเขาลู ก นั้ น พญานาคมาเยี่ ย มท่ า นแทบทุ ก คื น และมี
บริวารติดตามมาไม่มากนั ก นอกจากจะพามาเป็ นพิ เศษ ถ้า
วันไหนพญานาคจะพาบริวารมามาก ท่านก็ทราบได้ล่วงหน้า
ก่อนทุกครั้ง

ประวัติท่านพระอาจารย์มัน
่ ภูริทัตตเถระ 72
73

ท่ า นว่ าท่ านพั ก อยู่ ท่ี น้ั น เป็ นประโยชน์แ ก่ พ วกนาคและ


พวกเทวดาโดยเฉพาะ ไม่ค่อยเกี่ยวกับประชาชนนัก พวกนาค
มาเยี่ยมท่านไม่มาตอนดึกนัก ท่านว่าอาจจะเป็ นเพราะที่ท่ีพัก
สงั ด และอยู่ ห่ า งไกลจากหมู่ บ้ า นก็ ไ ด้ พวกนาคจึ ง พากั น มา
เยี่ยมเฉพาะที่น้ันราว ๒๒–๒๓ นาฬิกา คือ ๔-๕ ทุ่ม ส่วนที่อ่ ืน
ๆ มาดึ ก กว่ า นั้ น ก็ มี เวลาขนาดนั้ น ก็ มี พญานาคอาราธนา
นิ มนต์ท่านให้อยู่ท่ีน่ันนาน ๆ เพื่อโปรดเขา เขาเคารพเลื่อมใส
ท่านมาก และจัดให้บริวารมารักษาท่านทั้งกลางวันและกลาง
คืน โดยผลัดเปลี่ยนวาระกันมามิได้ขาด แต่เขามิได้มาอยู่ใกล้
นัก อยู่ห่าง ๆ พอทราบและรั กษาเหตุ การณ์เกี่ย วกั บท่ านได้
สะดวก ส่ ว นพวกเทพฯ โดยมากมั ก มาดึ ก กว่ า พวกนาค คื อ
๒๔ นาฬิ กาหรื อ ตี ๑ ตี ๒ ถ้ า อยู่ ใ นเขาห่ า งไกลจากหมู่ บ้ า น
พวกเทพฯ ก็มีมาแต่วัน ราว ๒๒–๒๓ นาฬิกาอยู่บ้างจึงไม่แน่
นั ก แต่ โ ดยมากนั บ แต่ เ ที่ ย งคื น ขึ้ น ไป พวกเทพฯ ชอบมากั น
เป็ นนิ สัย

ข้อวัตรประจำำองค์ท่ำนโดยเฉพำะ

ข้ อ วั ต รประจำา องค์ ท่ า นโดยเฉพาะในมั ช ฌิ ม วั ย หลั ง


จังหันเสร็จแล้วเข้าทางจงกรมจวนเที่ยงหรือเที่ยงวันเข้าที่พัก
กลางวั น เล็ ก น้ อ ย หลั ง จากพั ก ก็ เ ข้ า ที่ ทำา สมาธิ ภ าวนาราว
ชั่วโมงครึ่ง จากนั้ นลงเดินจงกรม จนถึงเวลาบ่ าย ๔ โมงปั ด
กวาดลานวัดหรือที่พัก เสร็จแล้วสรงนำ้ า แล้วเข้าทางจงกรม
อีก จนถึงเวลา ๑-๒ ทุ่มเข้าที่พักทำาสมาธิภาวนาต่อไป ถ้าเป็ น
หน้าฝนหรือหน้าแล้ง คืนที่ฝนไม่ตกท่านยังลงมาเดินจงกรม
อีกจนดึกดื่น ถึงจะขึ้นกุฏิหรือเข้าที่พัก ซึ่งเป็ นร้านเล็ก ๆ ถ้า
เห็ น ว่ าดึ ก มากไปท่ านก็ เ ข้ า พั ก จำา วั ด ปกติ ท่ า นพั ก จำา วั ด ราว
๒๓ นาฬิกา คือ ๕ ทุ่ม ไปตื่นเอาตี ๓ คือ ๙ ทุ่ม ถ้าวันใดจะมี
แขกเทพฯ มาเยี่ ย มฟั งธรรม ซึ่ ง ปกติ ท่ า นต้ อ งทราบไว้ ล่ ว ง
หน้าในตอนเย็นก่อนแล้วทุกครั้ง วันนั้นถ้าเขาจะมาดึกท่านก็
รีบพักเสียก่อน ถ้าจะมาราว ๕ ทุ่ม หรือเที่ยงคืนก็เข้าที่รอรับ
พวกเทพฯ อย่างนี้ เป็ นประจำา
ท่ านไปพั ก บำา เพ็ ญ ในที่ บ างแห่ ง บางคื น มี ท้ั ง พวกเทพฯ
เบื้องบนและเทพฯเบื้องล่างจะมาเยี่ยมท่านในเวลาเดียวกันก็

ประวัติท่านพระอาจารย์มัน
่ ภูริทัตตเถระ 73
74

มี ถ้าเป็ นอย่างนี้ ท่านต้องย่นเวลาคือรับแขกเทพฯ พวกมาถึง


ก่อนแต่น้อย แสดงธรรมให้ฟังและแก้ปัญหาเท่าที่จำาเป็ น แล้ว
ก็ บ อกชาวเทพฯ ที่ ม าก่ อ นให้ ท ราบว่ า ถั ด จากนี้ ไปจะมี ช าว
เทพฯมาฟั งธรรมและถามปั ญหาอี ก พวกที่ ม าก่ อ นก็ รี บ ลา
ท่ า นกลั บ ไป พวกมาที ห ลั ง ซึ่ ง รออยู่ ห่ า ง ๆ พอไม่ ใ ห้ เ สี ย
มารยาทความเคารพก็พากันเข้ามา ท่านก็เริ่มแสดงธรรมให้
ฟั ง ตามแต่บาทคาถาที่ท่านกำาหนดในขณะนั้นจะผุดขึ้นมา ซึ่ง
พอเหมาะกับจริตนิ สัยและภูมิของเทพฯ พวกนั้ น ๆ บางที หัว
หน้าเทพฯ ก็แสดงความประสงค์ขึ้นเสียเองว่าขอฟั งธรรมนั้น
ท่ า นก็ เ ริ่ ม กำา หนด พอธรรมนั้ น ผุ ด ขึ้ น มาก็ เ ริ่ ม แสดงให้ พ วก
เทพฯ ฟั ง
ในบางครั้ ง หั ว หน้า เทพฯ ขอฟั งธรรมประเภทนั้ น ท่ า น
สงสัยต้องถามเขาก่อนว่าธรรมนั้นชื่ออะไรในสมัยนี้ เพราะชื่อ
ธรรมที่พวกเทพฯ เคยนั บถือกันมาดั้งเดิมแต่สมัยโน้นกับชื่อ
ธรรมในสมั ย นี้ ต่ า งกั น ในบางสู ต รบางคั ม ภี ร์ เขาก็ บ อกว่ า
อย่างนั้นในสมัยนี้ แต่สมัยโน้นซึ่งพวกเทพฯ นับถือกันมาชื่อ
ว่าอย่างนั้น บางครั้งถ้าสงสัยท่านก็กำาหนดเอง ยอมเสียเวลา
เล็กน้อย บางครั้งก็ถามเขาเลยทีเดียว แต่บางครั้งพอเขาขอ
ฟั งธรรมสูต รนั้ น หรื อคั มภีร์น้ั น ซึ่ งเป็ นสู ต รหรื อ คั มภี ร์ ท่ี ท่ า น
เคยรู้อยู่แล้ว นึ กว่าเป็ นความนิ ยมในชื่ออันเดียวกัน ท่านเลย
ไม่ต้องกำาหนดพิจารณาต่อไป เพราะเข้าใจว่าตรงกันกับที่เขา
ขอ ท่านเริ่มแสดงไปเลย พอแสดงขึ้นเขารีบบอกทันทีว่าไม่ใช่
ท่า นยกสู ตรหรือคั ม ภี ร์ ผิด ไป ต้ อ งขึ้ น คาถาว่ า อย่ า งนั้ น ถึ ง จะ
ถูก อย่างนี้ ก็เคยมี
ท่านว่ าพอโดนเข้ าครั้ ง หนึ่ ง สองครั้ งก็ จำา ได้ เ อง จากนั้ น
ท่านต้องกำาหนดให้แน่ ใจเสียก่อนว่าตรงกับมนุษย์และเทวดา
นิ ย มใช้ ต รงกั น หรื อ เปล่ า ค่ อ ยเริ่ ม แสดงต่ อ ไป บางวั น พวก
เทพฯเบื้องบนบ้าง เบื้องล่างบ้าง พวกใดพวกหนึ่ งจะมาเยี่ยม
ฟั งธรรมกั บ ท่ า นในเวลาเดี ย วกั น กั บ พวกพญานาคจะมาก็ มี
เช่ น เดี ย วกั บ แขกมนุ ษ ย์ เ รามาเยี่ ยมครู อ าจารย์ ใ นเวลา
เดียวกันฉะนั้ น แต่นาน ๆ มีครั้ง ในกรณี เช่นนี้ เมื่อเขามาใน
เวลาตรงกัน บ่อย ๆ เข้ า ท่า นจำา ต้ องตกลงกับ เทพฯ ทั้ งเบื้ อง
บนเบื้ องล่ า งว่ าพวกนี้ ใ ห้ ม าในเวลาเท่ า นั้ น พวกนั้ น ให้ ม าใน
เวลาเท่ า นั้ น และพวกนาคให้ ม าในเวลาเท่ า นั้ น เพื่ อความ
สะดวกทั้งฝ่ ายพระฝ่ ายเทพฯ และฝ่ ายนาคทั้งหลาย
ตามท่านเล่าว่า ท่านไม่ค่อยมีเวลาว่างเท่าไรนัก แม้จะ
ไปอยู่ ใ นป่ าในเขาลึ ก ๆ ก็ จำา ต้ อ งปฏิ บั ติ ต่ อ พวกเทพฯ ซึ่ ง มา

ประวัติท่านพระอาจารย์มัน
่ ภูริทัตตเถระ 74
75

จากเบื้องบนชั้นต่าง ๆ และมาจากเบื้องล่างในที่ต่าง ๆ กันอยู่


นั่นเอง ในคืนหนึ่ งพวกหนึ่ งชั้นหนึ่ งไม่มา ก็ต้องมีอีกพวกหนึ่ ง
อีก ชั้น หนึ่ ง และพวกรุก ขเทพฯ ที่ ใ ดที่ ห นึ่ ง มากั น จนได้ จึ ง ไม่
ค่อยมีเวลาว่างในเวลากลางคืน แต่ท่ีเ ช่น นั้ น มนุษย์ ไม่ ค่อ ยมี
ถ้าลงมาพักใกล้บ้านใกล้เมืองก็เป็ นชาวมนุษย์จากที่ต่าง ๆ มา
เยี่ ย ม แต่ ต้ อ งต้ อ นรั บ เวลากลางวั น ตอนบ่ า ยหรื อ ตอนเย็ น
จากนั้นก็อบรมพระเณรต่อไป
ขณะที่จะเขียนประวัติของชาวมนุษย์เราในอันดับต่อจาก
ชาวเทพฯที่มาเกี่ยวข้องกับท่านซึ่งผู้เขียนมีส่วนได้เสียรวมอยู่
ด้วย เพราะความเป็ นมนุษย์ปุถุชนด้วยกัน จึงต้องขออภัยท่าน
ผู้อ่านมาก ๆ หากเป็ นการไม่งามและไม่สมควรประการใดใน
เนื้ อหาต่ อ ไปนี้ เพราะความจำา เป็ นที่ จำา ต้ อ งเขี ย นตามความ
จริ ง ที่ ท่ า นเล่ า ให้ ฟั งเป็ นการภายในโดยเฉพาะ แต่ ผู้ เ ขี ย นมี
นิ สัยไม่ดีประจำาตัวที่แก้ไม่ตกในบางกรณี ดังเรื่องที่จะเขียนต่อ
ไปนี้ ทั้งนี้ เพื่อจะได้นำามาเทียบเคียงกันระหว่างชาวมนุษย์กับ
ชาวเทพฯ และถือเอาประโยชน์เท่าที่ควร จึงขออภัยอีกครั้ง
ท่านเล่าว่า การติดต่อและแสดงธรรมระหว่างมนุษย์กับ
เทวดาร้ส ู ึกต่างกันอยู่มาก คือเวลาแสดงธรรมให้เทวดาฟั ง ไม่
ว่าเบื้องบน เบื้องล่าง หรือรุกขเทวดา พวกนี้ ฟังเข้าใจง่ายกว่า
มนุ ษ ย์ เ ราหลายเท่ า พอแสดงธรรมจบลง เสี ย งสาธุ ก าร ๓
ครั้ ง กระเทื อ นโลกธาตุ ขณะที่ พ วกเทพฯ ทุ ก ชั้ น ทุ ก ภู มิ ม า
เยี่ยมก็มีความเคารพพระอย่ างยิ่ง ไม่เ คยเห็น พวกเทพฯ แม้
รายหนึ่ งแสดงอาการไม่ดีไม่งามภายในใจ ทุกอาการของพวก
เทพฯ อ่อนนิ่ มเหมือนผ้าพับไว้เสมอกันในขณะนั้น ขณะที่มาก็
ดี ขณะนั่ งฟั งธรรมก็ ดี ขณะจะจากไปก็ ดี เป็ นความสงบ
เรี ย บร้ อ ยและสวยงามไปตลอดสาย แต่ เ วลาแสดงธรรมให้
ชาวมนุษย์ฟังกลับไม่เข้าใจกัน แม้อธิบายซำ้าแล้วซำ้าเล่าก็ยังไม่
ค่ อ ยจะเข้ าใจ นอกจากไม่ เ ข้ า ใจแล้ ว ยั ง คิ ด ตำา หนิ ผู้ แ สดงอยู่
ภายในอีกด้วยว่าเทศน์อะไรฟั งไม่รู้เรื่องเลย สู้องค์น้ันไม่ได้ สู้
องค์น้ี ไม่ได้
บางรายยังอดจะเอากิเลสหยาบ ๆ อยู่ภายในของตัวออก
อวดไม่ได้ว่า สมัยเราบวชยังเทศน์เก่งกว่านี้ เป็ นไหน ๆ คนฟั ง
ฮากันตึง ๆ ด้วยความเพลิดเพลิน ไม่มีการง่วงเหงาหาวนอน
เลย ยิ่งเทศน์โจทก์สองธรรมาสน์ด้วยแล้ว คนฟั งหัวเราะกัน
ไม่ได้หุบปากตลอดกัณฑ์ บางรายก็คิดในใจว่า คนเล่าลือกัน
ว่าท่านเก่งมากทางรู้วาระนำ้ าจิตคน ใครคิดอะไรขึ้นมาท่านรู้
ได้ ทั น ที แต่ เ วลาเราคิ ด อะไร ๆ ท่ า นไม่ เ ห็ น รู้ บ้ า งเลย ถ้ า รู้ ก็

ประวัติท่านพระอาจารย์มัน
่ ภูริทัตตเถระ 75
76

ต้องแสดงออกบ้าง ถ้าไม่แสดงออกตรง ๆ ต่อหน้าผู้กำา ลังคิด


ก็ควรพูดเป็ นอุบายเปรียบเปรยว่า นาย ก. นาย ข.ไม่ควรคิด
เช่นนั้น ๆ มันผิด ควรเปลี่ยนความคิดเสียใหม่ดังนี้ พอจะจับ
เงื่อนได้ว่าผู้รู้หัวใจคนจริงสมคำา เล่าลือ บางรายเตรียมตัวจะ
มาจับผิดจับพลาดด้วยความอวดตัวว่าฉลาดอย่างพอตัว ผู้น้ัน
ไม่มีความสนใจต่อธรรมเอาเลย แม้จะแสดงธรรมให้ผู้อ่ ืนฟั ง
ด้วยวิธีใด ๆ ที่เขานั่งฟั งอยู่ด้วยในขณะนั้น ก็เป็ นเหมือนเทนำ้า
ใส่ห ลัง หมานั่ นเอง มั น สลั ด ทิ้ ง หมดทั น ที ไม่ มี น้ ำ าเหลื อ อยู่ บ น
หลังแม้หยดเดียว ว่าแล้วท่านก็หัวเราะ อาจจะขบขันในใจอยู่
บ้าง ที่นาน ๆ ท่านจะได้พบมนุษย์ท่ีฉลาดสักครั้งหนึ่ ง แล้วก็
เล่าต่อไป
เวลามาต่ า งก็ แ บกทิ ฐิ ม านะมาจนจะเดิ น แทบไม่ ไ หว
เพราะหนักมากเกินกว่าแรงมนุษย์ท้ังคนจะแบกหามได้ ในตัว
ทั้งหมดปรากฏว่ามีแต่ทิฐิมานะตัวเป้ ง ๆ ทั้งนั้น ไม่ใช่ของเล่น
มองดูแล้วน่ ากลัวยิ่งกว่าที่จะน่ าสงสารและคิดแสดงธรรมให้
ฟั ง แต่ก็จำาต้องแสดงเพื่อสังคม ถูไถกันไปอย่างนั้นแล ธรรมก็
ไม่ทราบว่าหายไปไหนหมด คิดหาแต่ละบทละบาทก็ไม่เห็นมี
แสดงขึ้นมาบ้างเลย เข้าใจว่าธรรมจะสู้ตัวเป้ ง ๆ ไม่ไหวเลยวิ่ง
หนี หมด ยังเหลือแต่ตัวเปล่าที่เป็ นเหมือนตุุกตา ซึ่งกำา ลังถูก
เหล็ ก แหลมทิ่ ม แทงอยู่ อ ย่ า งไม่ มี ใ ครสนใจว่ า จะมี ค วามรู้ สึ ก
อย่างไรเวลานั้น ที่เขาตำาหนิ ก็ถูกของเขา เพราะบางครั้งเราก็
ไม่มีธรรมโผล่หน้าขึ้นมาเพื่อให้แสดงบ้างเลยจริง ๆ มีแต่น่ั ง
อยู่ เ หมื อนหั ว ตอ จะได้ อ รรถได้ ธ รรมมาจากไหน แล้ ว ท่ า นก็
หั ว เราะไปพลางเล่ าไปพลาง ผู้ น่ั ง ฟั งอยู่ ด้ ว ยกั น หลายคนใน
ขณะนั้น บางรายก็เกิดตัวสั่นขึ้นมาเอาเฉย ๆ แต่หาไข้ไม่เจอ
หาหนาวไม่เจอ เพราะไม่ใช่หน้าหนาว เลยพากันเดาเอาเอง
ว่าคงเป็ นเพราะความกลัวนั่นเอง
ท่ านว่ าถ้ าไม่ จำา เป็ นจริ ง ๆ ก็ไ ม่ เ ทศน์ เพราะการเทศน์
เป็ นเหมื อ นโปรยยาพิ ษ ทำา ลายคนผู้ ไ ม่ มี ค วามเคารพอยู่
ภายใน ส่วนธรรมนั้ นยกไว้ว่าเป็ นธรรมที่เ ยี่ยมยอดจริง ๆ มี
คุณค่ามหาศาลสำาหรับผู้ต้ังใจและมีเมตตาเป็ นธรรม ไม่อวดรู้
อวดฉลาดเหนื อธรรม ตรงนี้ แลที่สำาคัญมาก และทำาให้เป็ นยา
พิษ เผาลนเจ้าของผู้ ก่อเหตุ โ ดยไม่ รู้ สึ ก ตั ว ผู้ ไ ม่ ก่ อ เหตุ ผลจะ
เกิดขึ้นได้อย่างไร ขณะนั่งฟั งอยู่ด้วยกันหลายคน ผู้ร้อน ๆ จน
จะละลายตายไปก็มี ผู้เย็น ๆ จนตัวจะเหาะลอยขึ้นบนอากาศ
ก็มี มันผิดกันที่ใจดวงเดียวนี้ เท่านั้น นอกนั้นไม่สำา คัญ เราจะ

ประวัติท่านพระอาจารย์มัน
่ ภูริทัตตเถระ 76
77

พยายามอนุเคราะห์เขาเพื่อผ่อนหนักให้เป็ นเบาบ้างก็ไม่มีทาง
เมื่อใจไม่ยอมรับแล้วแม้จะพยายามคิดว่า ถ้าไม่เกิดประโยชน์
ก็ไม่อยากให้เกิดโทษ แต่ก็ปิดไม่อยู่ เพราะผู้คอยจะสร้างบาป
สร้ า งกรรมนั้ น เขาสร้ า งอยู่ ต ลอดเวลา แบบไม่ ส นใจกั บ ใคร
และอะไรทั้งนั้น
การเทศน์ส่ังสอนมนุษย์นับว่ายากอยู่ไม่นอ ้ ย เวลาเขามา
หาเราซึ่งไม่ก่ีคน แต่โดยมากต้องมียาพิษแอบติดตัวมาจนได้
ไม่มากก็พอให้รำาคาญใจได้ ถ้าเราจะสนใจรำาคาญอย่างโลก ๆ
ก็ต้องได้รำาคาญจริง ๆ แต่น้ี ปล่อยตามบุญตามกรรม เมื่อหมด
ทางแก้ไขแล้วถือว่าเป็ นกรรมของสัตว์ ท่านว่าแล้วก็หัวเราะ
ผู้ ต้ั ง ใจมาเพื่ อแสวงหาอรรถหาธรรม หาบุ ญ กุ ศ ลด้ ว ยความ
เชื่ อบุ ญเชื่อกรรมจริ ง ๆ ก็มี นั่ นน่ า เห็ นใจและน่ าสงสารมาก
แต่มีจำา นวนน้อย ผู้มาแสวงหาสิ่งไม่เป็ นท่าและไม่มีขอบเขต
นั้นรู้สึกมากเหลือหูเหลือตาพรรณนาไม่จบ ฉะนั้น จึงชอบอยู่
แต่ในป่ าในเขาอันเป็ นที่สบายกายสบายใจ ทำาความพากเพียร
ก็ เ ต็ ม เม็ ด เต็ ม หน่ ว ย ไม่ มี ส่ิ ง รบกวนให้ ลำา บากตาลำา บากใจ
มองไปทางไหน คิดเรื่องอะไรเกี่ยวกับอรรถธรรมก็ปลอดโปร่ง
โล่งใจ
มองดู แ ละฟั งเสี ย งสั ต ว์ ส าราสิ ง พวกลิ ง ค่ า งบ่ า งชะนี ท่ี
หยอกเล่นกัน ทั้งห้อยโหนโยนตัวและกู่ร้องโหยหวนหากันอยู่
ตามกิ่งไม้ชายเขาลำาเนาป่ า ยังทำาให้เย็นตาเย็นใจไปตาม โดย
มิได้คิดว่าเขาจะมีความรู้สึกอะไรต่อเรา ต่างตัวต่างหากินและ
ปี นขึ้นโดดลงไปตามภาษาของสัตว์ ทำาให้รู้สึกในอิริยาบถและ
ความเป็ นอยู่ทุกด้านสดชื่นผ่องใสและวิเวกวังเวง หากจะมีอัน
เป็ นอั น ตายขึ้ น มาในเวลานั้ น ก็ เ ป็ นไปด้ ว ยความสงบสุ ข ทั้ ง
ทางกายและจิตใจ ไม่เกลื่อนกล่นวุ่นวาย ตายแบบธรรมชาติ
คือมาคนเดียวไปคนเดียวแท้ โดยมากพระสาวกอรหันต์ท่าน
นิ พพานแบบนี้ กันทั้งนั้น เพราะกายและจิตของท่านไม่มีความ
เกลื่ อนกล่น วุ่ น วายมาแอบแฝง มี ก ายอั น เดี ย ว จิ ต ดวงเดี ย ว
และมี อ ารมณ์ เ ดี ย ว ไม่ ไ หลบ่ า แส่ ห าความทุ ก ข์ ไม่ ส่ั งสม
อารมณ์ใด ๆ มาเพิ่มเติมให้เป็ นการหนักหน่ วงถ่วงตน ท่านอยู่
แบบอริ ย ะ ไปแบบอริ ย ะ ไม่ ร ะคนคละเคล้ า กั บ สิ่ ง ที่ จ ะทำา ให้
กังวลเศร้าหมองในทิฏฐธรรมปั จจุบัน
สะอาดเท่าไรยิ่งรักษา บริสุทธิเ์ ท่าไรยิ่งไม่คุ้นกับอารมณ์
ตรงกั นข้ ามกับที่ว่ าหนั ก เท่ า ไรยิ่ ง ขนมาเพิ่ ม เข้ า แต่ ท่ า นเบา
เท่าไรยิ่งขนออกจนไม่มีอะไรจะขน แล้วก็อยู่กับความไม่มีท้ัง
ๆ ที่ผู้ว่าไม่ มีคื อใจก็ มีอยู่กั บตั ว คือ ไม่ มีง านจะขนออกและขน

ประวัติท่านพระอาจารย์มัน
่ ภูริทัตตเถระ 77
78

เข้าอีกต่อไป เรียกว่าบรรลุถึงขั้นคนว่างงาน ใจว่างงาน ทาง


ศาสนาถือการว่างงานแบบนี้ เป็ นความสุขอันยิ่งใหญ่ ผิด กับ
โลกที่ ผู้ ว่ า งงานกลายเป็ นคนมี ทุ ก ข์ ม ากขึ้ น เพราะไม่ มี ท าง
ไหลมาแห่งโภคทรัพย์
ท่ า นเล่ า ความแตกต่ า งระหว่ า งมนุ ษ ย์ กั บ เทวดาให้ ฟั ง
มากมาย แต่นำามาเขียนเท่าที่จำาได้และที่เห็นว่าควรจะยึดเป็ น
สารประโยชน์ได้บ้างตามสติปัญญา ที่จะคัดเลือกหาแง่ท่ีเป็ น
ประโยชน์ ที่ มี ข าดตอนไปบ้ า งในเรื่ องเดี ย วกั น เช่ น เรื่ อง
เทวดา เป็ นต้ น ซึ่ ง ควรจะนำา มาเชื่ อมโยงติ ด ต่ อ กั น ไปจนจบ
แต่ไม่สามารถทำา ได้ในระยะนี้ น้ัน เกี่ยวกับประสบการณ์ของ
ท่านผู้เป็ นเจ้าของ มีประสบหลายครั้งทั้งในที่และสมัยต่าง ๆ
กั น จำา ต้ อ งเขี ย นไปตามประวั ติ ท่ี ท่ า นประสบเพื่ อให้ เ รี ย ง
ลำาดับกันไป แม้เรื่องเทวดาก็ยังจะมีอยู่อีกในวาระต่อไป ตาม
ประวัติท่ีผู้เขียนดำา เนิ นไปถึงตามประสบการณ์น้ั น ๆ ไม่กล้า
นำา มาลงให้คละเคล้ากัน จึงขออภัยด้วยหากไม่สะดวกในการ
อ่าน ซึ่งมุ่งประสงค์จะให้จบสิ้นในเรื่องทำานองเดียวกันในตอน
เดียวกัน
ที่ท่านเล่าระหว่างมนุษย์กับเทวดานั้น เป็ นเรื่องราวของ
มนุษ ย์ แ ละเทวดาในสมั ย โน้น ต่ า งหาก ซึ่ ง องค์ ท่ า นผู้ ป ระสบ
และเล่าให้ฟังก็มรณภาพผ่านไปราว ๒๐ ปี นี้ แล้ว คิดว่ามนุษย์
และเทวดาสมัยนั้นคงจะแปรสภาพเป็ นอนิ จจังไปตามกฎอันมี
มาดั้งเดิม อาจจะยังเหลือเฉพาะมนุษย์และเทวดาสมัยใหม่ ซึ่ง
ต่างก็ได้รับการอบรมพัฒนาทางจิตใจและความประพฤติกัน
มาพอสมควร เรื่องมนุษย์ทำานองที่มีในประสบการณ์ของท่าน
จนกลายเป็ นประวัติมานั้น คงจะไม่มีท่านผู้สนใจสืบต่อให้รก
รุงรังแก่ตนและประเทศชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์อีกต่อ
ไป เพราะการศึกษานับวันเจริญ ผู้ได้รับการศึกษามากคงไม่มี
ท่านผู้มีจิตใจใฝ่ ตำ่ าขนาดนั้ น จึง เป็ นที่ เบาใจกั บชาวมนุ ษย์ ใน
สมัยนี้
ท่ า นพั ก บำา เพ็ ญ และอบรมพระเณรและประชาชนชาว
จั ง หวั ด อุ ด รฯ หนองคาย พอสมควรแล้ ว ก็ ย้ อ นกลั บ ไปทาง
จังหวัดสกลนคร เที่ยวไปตามหมู่บ้านที่มีอยู่ในป่ าในเขาต่าง ๆ
มี อำา เ ภ อ ว า ริ ช ภู มิ พั ง โ ค น ส ว่ า ง แ ด น ดิ น ว า น ร นิ ว า ส
อากาศอำา นวย แล้ ว ก็ เ ลยเข้ า เขตจั ง หวั ด นครพนม เที่ ย วไป
ตามแถบอำา เภอศรี ส งคราม มี ห มู่ บ้ า นสามผง โนนแดง ดง
น้อย คำานกกก เป็ นต้น ซึ่งเป็ นหมู่บ้านที่เต็มไปด้วยดงหนาป่ า

ประวัติท่านพระอาจารย์มัน
่ ภูริทัตตเถระ 78
79

ทึ บ และชุ ก ชุ ม ไปด้ ว ยไข้ ป่ า (ไข้ ม าลาเรี ย ) ซึ่ ง รายใดเจอเข้ า


แล้ ว ก็ ย ากจะหายได้ ง่ า ย ๆ อย่ า งน้ อ ยเป็ นแรมปี ก็ ยั ง ไม่
หายขาด หากไม่ตายก็พอทรมาน ดังที่เคยเขียนผ่านมาบ้าง
แล้วว่า “ไข้ท่ีพ่อตาแม่ยายเบื่อหน่ ายและเกลียดชัง” เพราะผู้
เป็ นไข้ประเภทนี้ นาน ๆ ไป แม้ยังไม่หายขาดแต่ก็พอไปมาได้
และรั บ ประทานได้ แต่ ทำา งานไม่ ไ ด้ บางรายก็ ทำา ให้ เ ป็ นคน
วิ ก ลวิ ก ารไปเลยก็ มี ชาวบ้ า นแถบนั้ นเจอกั น บ่ อ ยและมี
ดาษดื่น ส่วนพระเณรจำา ต้ องอยู่ ในข่า ยอั นเดีย วกัน มากกว่า
นั้ น ก็ ถึ ง ตาย ท่ า นจำา พรรษาแถบหมู่ บ้า นสามผง ๓ ปี มี พ ระ
ตายเพราะไข้ป่าไปหลายรูป ที่เป็ นพระชาวทุ่งไม่เคยชินกับป่ า
กับเขา เช่น พระชาวอุบล ร้อยเอ็ด สารคาม ไปอยู่กับท่านใน
ป่ าแถบนั้นไม่ค่อยได้ เพราะทนต่อไข้ป่าไม่ไหว ต้องหลีกออก
ไปจำาพรรษาตามหมู่บ้านแถวทุ่ง ๆ
ท่ า นเล่ า ว่ า ขณะท่ า นกำา ลั ง แสดงธรรมอบรมพระเณร
ตอนกลางคืนที่หมู่บ้านสามผง มีพญานาคที่อยู่แถบลำา แม่น้ ำ า
สงครามได้แอบมาฟั งเทศน์ท่านแทบทุกคืน เฉพาะวันพระมา
ทุกคืน ถ้าไม่มาตอนท่านอบรมพระเณร ก็ต้องมาตอนดึกขณะ
ท่ า นเข้ าที่ ภ าวนา ส่ว นพวกเทวดาทั้ ง เบื้ องบนเบื้ องล่ า งมี ม า
ห่าง ๆ ไม่เหมือนอยู่ท่ีอุดรฯ หนองคาย เฉพาะวันเข้าพรรษา
วันกลางพรรษา และวันปวารณาออกพรรษาแล้ว ไม่ว่าท่าน
จะพักจำาอยู่ท่ีไหน แม้แต่ในตัวเมือง ก็ยังมีพวกเทวดาทั้งเบื้อง
บนเบื้ องล่ า งชั้ น ใดชั้ น หนึ่ ง และที่ ใ ดที่ ห นึ่ ง มาฟั งธรรมท่ า น
มิได้ขาด เช่น ที่วัดเจดีย์หลวงที่จังหวัดเชียงใหม่ เป็ นต้น
ขณะที่ท่านพักอยู่บ้านสามผงมีเรื่องที่แปลกอยู่เรื่องหนึ่ ง
เวลานั้นเป็ นหน้าแล้ง พระเณรอบรมกับท่านมากราว ๖๐–๗๐
รู ป นำ้ าท่ า มี ไ ม่ พ อใช้ แ ละขุ่ น ข้ น ไปหมด พระและเณรพากั น
ปรึกษากันกับชาวบ้านว่า ควรจะขุดบ่อให้ลึกลงไปอีก เผื่อจะ
ได้ น้ ำ าที่สะอาดและพอกิน พอใช้ ไม่ ข าดแคลนดัง ที่ เ ป็ นอยู่ บ้า ง
เมื่ อตกลงกัน แล้ว พระผู้ใ หญ่ ก็เ ข้า ไปกราบเรี ย นท่ า นเพื่ อขอ
อนุญาต พอกราบเรียนความประสงค์ให้ท่านทราบ ท่านนิ่ งอยู่
พักหนึ่ งแล้วแสดงอาการเคร่งขรึมและห้ามออกมาอย่างเสียง
แข็งว่า “อย่า ๆ ดีไม่ดีเป็ นอันตราย” พูดเท่านั้นก็หยุด ไม่พูด
อะไรต่อไปอีก พระอาจารย์รูปนั้นก็งงงันในคำาพูดท่านที่ว่า “ดี
ไม่ดีเป็ นอันตราย” พอกราบท่านออกมาแล้วก็นำาเรื่องมาเล่า
ให้พระเณรและญาติโยมฟั งตามที่ตนได้ยินมา แทนที่จะมีผู้คิด
และเห็นตามที่ท่านพูดห้าม แต่กลับปรึกษากันเป็ นความลับว่า

ประวัติท่านพระอาจารย์มัน
่ ภูริทัตตเถระ 79
80

พวกเราไม่ต้องให้ท่านทราบ พากันขโมยทำาก็ยังได้ เพราะนำ้า


บ่อก็อยู่ห่างไกลจากวัด พอจะขโมยทำาได้
พอเที่ยงวันกะว่าท่านพักจำา วัดก็พากันเตรียมออกไปขุด
บ่อ พอขุดกันยังไม่ถึงไหน ดินรอบ ๆ ปากบ่ อก็ พัง ลงใหญ่จ น
เต็มขึ้นมาเสมอพื้นที่ท่ีเป็ นอยู่ด้ังเดิม ปากบ่อเบิกกว้างและเสีย
หายไปเกื อ บหมด พระเณรญาติ โ ยมพากั น กลั ว จนใจหายใจ
ควำ่าไปตาม ๆ กันและตั้งตัวไม่ติด เพราะดินพังลงเกือบทับคน
ตายหนึ่ ง เพราะพากั น ล่ ว งเกิ น คำา ที่ ท่ า นห้ า มโดยไม่ มี ใ คร
ระลึกรู้พอยับยั้งกันไว้บ้างหนึ่ ง และกลัวท่านจะทราบว่าพวก
ตนพากันขโมยทำาโดยการฝ่ าฝื นท่านหนึ่ ง พระเณรทั้งวัดและ
ญาติโยมทั้งบ้านพากันร้อนเป็ นไฟไปตาม ๆ กัน และรีบพากัน
หาไม้มากั้นดินปากบ่อที่พังลงด้วยความเห็นโทษ ขออาราธนา
วิงวอนถึงพระคุณท่านให้ช่วยคุ้มครองพอเอาดินที่พังลงในบ่อ
ขึ้นได้ และได้อาศัยนำ้ าต่อไป เดชะบุญพออธิษฐานถึงพระคุณ
ท่านแล้ว ทุกอย่างเลยเรียบร้อยไปอย่างน่ าอัศจรรย์คาดไม่ถึง
จึงพอมีหน้ายิ้มต่อกันได้บ้าง
พอเสร็ จ งานพระเณรและญาติ โ ยมต่ า งก็ รี บ หนี เ อาตั ว
รอด กลัวท่านจะมาที่น่ัน ส่วนพระเณรทั้งวัดต่างก็มีความร้อน
ใจสุมอยู่ตลอดเวลา เพราะความผิดที่พากันก่อไว้แต่กลางวัน
ยิ่ ง จวนถึ ง เวลาประชุ ม อบรมซึ่ ง เคยมี เ ป็ นประจำา ทุ ก คื น ก็ ย่ิ ง
เพิ่ มความไม่ สบายใจมากขึ้ น ใคร ๆ ก็เคยรู้เคยเห็ น และเคย
ถูกดุเรื่องทำานองนี้ มาแล้วจนฝั งใจ บางเรื่องแม้ตนเคยคิดและ
ทำา จนลืมไปแล้ว ท่านยังสามารถรู้และนำา มาเทศน์สอนจนได้
เพียงเรื่องนำ้าบ่อซึ่งเป็ นเรื่องหยาบ ๆ ที่พากันขโมยท่านทำาทั้ง
วั ด จะเอาอะไรไปปิ ดไม่ ใ ห้ ท่ า นทราบ ท่ า นต้ อ งทราบและ
เทศน์อย่างหนักแน่ นอนในคืนวันนี้ หรืออย่างช้าก็ตอนเช้าวัน
รุ่งขึ้น อารมณ์เหล่านี้ แลที่ทำา ให้พระเณรไม่สบายใจกันทั้งวัด
พอถึงเวลาประชุมและแทนที่จะถูกโดนอย่างหนักดังที่คาดกัน
ไว้ ท่านกลับไม่ประชุมและไม่ดุด่าอะไรแก่ใคร ๆ เลย สมเป็ น
อาจารย์ท่ีฉลาดสั่งสอนคนจำานวนมาก ทั้งที่ทราบเรื่องนั้นได้ดี
และยังทราบความไม่ดีของพระทั้งวัดที่ล่วงเกินฝ่ าฝื นท่านแล้ว
กำาลังได้รับความเร่าร้อนกันอยู่ หากจะว่าอะไรลงไปเวลานั้นก็
เท่ากับการซำ้าเติมผู้ทำาผิดที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์ ขณะนั้นผู้ทำาผิด
ต่างกำาลังเห็นโทษของตนอย่างเต็มที่อยู่แล้ว
พอรุ่ง เช้ าวั น ใหม่ เ วลาท่ า นออกจากที่ ภ าวนา ปกติ ท่ า น
ลงเดิ น จงกรมจนได้ เ วลาบิ ณ ฑบาต แล้ ว ค่ อ ยขึ้ น บนศาลา
ครองผ้าออกบิณฑบาต อย่างนั้ นเป็ นประจำา มิไ ด้ข าด เช้ าวั น

ประวัติท่านพระอาจารย์มัน
่ ภูริทัตตเถระ 80
81

นั้ น พอท่ า นจากทางจงกรมขึ้ น ศาลา พระทั้ ง วั ด ต่ า งร้ อ นอยู่


ภายในและคอยฟั งปั ญหาว่า ท่า นจะออกแง่ไ หนบ้า งวั นนี้ แต่
แ ท น ที่ จ ะ เ ป็ น ไ ป ต า ม ค ว า ม คิ ด ข อ ง พ ร ะ ทั้ ง วั ด ซึ่ ง กำา ลั ง
กระวนกระวายอยากฟั ง แต่ เ รื่ องกลั บ เป็ นไปคนละโลก คื อ
ท่านกลับพูดนิ่ มนวลอ่อนหวานแสดงเป็ นเชิงปลอบใจพระเณร
ที่กำา ลังเร่าร้อนให้กลับสบายใจว่า “เรามาศึกษาหาอรรถหา
ธรรม ไม่ค วรกล้าจนเกินตั วและกลั วจนเกิ น ไป เพราะความ
ผิดพลาดอาจมีได้ด้วยกันทุกคน ความเห็นโทษความผิดนั่นแล
เป็ นความดี พระพุ ท ธเจ้ า ท่ า นก็ เ คยผิ ด มาก่ อ นพวกเรา ตรง
ไหนที่เห็นว่าผิดท่านก็เห็นโทษในจุดนั้น และพยายามแก้ไขไป
ทุ ก ระยะที่ เ ห็ น ว่ า ผิ ด เจตนานั้ น ดี อ ยู่ แต่ ค วามรู้ เ ท่ า ไม่ ถึ ง
การณ์น้ั น อาจมี ไ ด้ ควรสำา รวมระวั ง ต่ อ ไปทุ ก กรณี เพราะ
ความมีสติระวังตัวทุกโอกาสเป็ นทางของนั ก ปราชญ์ ” เพียง
เท่านี้ ก็หยุด และแสดงอาการยิ้มแย้มต่อพระเณรต่ อไป ไม่มี
ใครจับพิรุธท่านได้เลย แล้วก็พาออกบิณฑบาตตามปกติ
คื น วั น หลั ง ก็ ไ ม่ ป ระชุ ม อี ก เป็ นแต่ ส่ั ง ให้ พ ากั น ประกอบ
ความเพี ย ร รวมเป็ นเวลาสามคื น ที่ ไ ม่ มี ก ารประชุ ม อบรม
ธรรม พอดีกั บระยะนั้ นพระเณรกำา ลั งกลัว ท่า นจะเทศน์เ รื่อง
บ่อนำ้าอยู่แล้ว ก็พอเหมาะกับที่ท่านไม่ส่ังให้ประชุม จนคืนที่ส่ี
ถึงมีการประชุม เวลาประชุมก็มิได้เอ่ยถึงเรื่องบ่อนำ้ า ทำา เป็ น
ไม่รู้ไม่ช้ีให้เรื่องหายเงียบไปเลยตั้งนาน จนปรากฏว่าพระทั้ง
วัดลืมกันไปหมดแล้ว เรื่องถึงได้โผล่ขึ้น มาอย่ างไม่ นึก ไม่ ฝัน
และก็ไม่มีใครกล้ าเล่ าถวายให้ท่ านทราบเลย เพราะต่า งคน
ต่า งปิ ดเงี ย บ ท่ านเองก็ มิ ไ ด้เ คยไปที่ บ่อ ซึ่ ง อยู่ ห่ า งจากวั ด นั้ น
เลย
เริ่ ม แรกก็ แ สดงธรรมอบรมทางภาคปฏิ บั ติ ไ ปเรื่ อย ๆ
อย่างธรรมดา พอแสดงไปถึงเหตุผลและความเคารพในธรรม
ในครู อ าจารย์ ธรรมก็ เ ริ่ ม กระจายไปถึ ง ผู้ ม ารั บ การศึ ก ษา
อบรม ว่ าควรเป็ นผู้ ห นั ก ในเหตุ ผลซึ่ ง เป็ นเรื่ องของธรรมแท้
ไม่ควรปล่อยให้ความอยากที่คอยผลักดันอยู่ตลอดเวลาออก
มาเพ่นพ่านในวงปฏิบัติ จะมาทำา ลายธรรมอันเป็ นแนวทางที่
ถู ก และเป็ นแบบฉบั บ แห่ ง การดำา เนิ น เพื่ อความพ้ น ทุ ก ข์ จะ
ทำาให้ทุกสิ่งที่มุ่งปรารถนาเสียไปโดยลำาดับ ธรรมวินัยหนึ่ ง คำา
พู ด ของครู อ าจารย์ ห นึ่ ง ที่ เ ราถื อ เป็ นที่ เ คารพไม่ ค วรฝ่ าฝื น
การฝ่ าฝื นพระธรรมวินัยและการฝ่ าฝื นคำาครูอาจารย์เป็ นการ
ทำา ลายตั ว เอง และเป็ นการส่ ง เสริ ม นิ สั ย ไม่ ดี ใ ห้ มี กำา ลั ง เพื่ อ
ทำา ลายตนและผู้อ่ ืนต่อไปไม่มีทางสิ้นสุด นำ้ าบ่อนี้ มิใช่มีแต่ดิน

ประวัติท่านพระอาจารย์มัน
่ ภูริทัตตเถระ 81
82

เหนี ยวล้วน ๆ แต่มีดินทรายอยู่ข้างล่างด้วย หากขุดลึกลงไป


มากดิ น ทรายจะพั ง ลงไปกั น บ่ อ และจะทำา ให้ ดิ น เหนี ย วขาด
ตกลงไปด้วย ดีไม่ดีทับหัวคนตายก็ได้จึงได้ห้ามมิให้พากันทำา
การห้ า มมิ ใ ห้ ทำา หรื อ การสั่ ง ให้ ทำา ในกิ จ ใด ๆ ก็ ต าม ได้
พิจารณาก่อนแล้วทุกอย่างถึงได้ส่ังลงไป ผู้มารับการอบรมก็
ควรพิจารณาตามบ้าง บางอย่างก็เป็ นเรื่องภายในโดยเฉพาะ
ไ ม่ จำา ต้ อ ง แ ส ด ง อ อ ก ต่ อ ผู้ อื่ น เ สี ย จ น ทุ ก แ ง่ ทุ ก มุ ม เ ท่ า ที่
แสดงออกเพื่อผู้อ่ ืนก็พอเข้าใจความมุ่งหมายดีพอ แต่ทำาไมจึง
ไม่เข้าใจ เช่น อย่าทำา สิ่งนั้น แต่กลับทำา ในสิ่งนั้ น ให้ทำา สิ่งนั้น
แต่กลับไม่ทำาในสิ่งนั้นดังนี้ เรื่องทั้งนี้ มิใช่ไม่เข้าใจ ต้องเข้าใจ
กันแน่ นอน แต่ท่ีทำา ไปอีกอย่างหนึ่ งนั้ น เป็ นความดื้อดึง ตาม
นิ สัยที่เคยดื้อดึงต่อพ่อแม่มาแต่เป็ นเด็กเพราะท่านเอาใจ นิ สัย
นั้ น เลยติ ด ตั ว และฝั งใจมาจนถึ ง ขั้ น พระขั้ น เณร ซึ่ ง เป็ นขั้ น
ผู้ ใ หญ่ เ ต็ ม ที่ แ ล้ ว แล้ ว ก็ ม าดื้ อดึ ง ต่ อ ครู อ าจารย์ ต่ อ พระธรรม
วิ นัย อั น เป็ นทางเสี ย หายเข้ า อี ก ความดื้ อดึ ง ในวั ย และเพศนี้
ไม่ใช่ความดื้อดึงที่ควรได้รับอภัยและเอาใจเหมือนคราวเป็ น
เด็ก แต่ควรตำา หนิ อย่างยิ่ง ถ้าขืนดื้อดึงต่อไปอีกก็จะเป็ นการ
ส่งเสริมนิ สัยไม่ดีน้ันให้ย่ิงขึ้นและควรได้รับสมัญญาว่า “พระ
ธุดงค์หัวดื้อ”บริขารใช้สอยทุกชิ้นที่เกี่ยวกับตัวก็ควรเรียกว่า
บริขารของพระหัวดื้อไปด้วย
องค์น้ี ก็ ด้ ื อ องค์ น้ั นก็ ด้ า น องค์ โ น้น ก็ มึ น และดื้ อด้ า นกั น
ทั้ ง วั ด อาจารย์ ก็ ไ ด้ ลู ก ศิ ษ ย์ หั ว ดื้ อ อะไรก็ ก ลายเป็ นเรื่ องดื้ อ
ด้านไปเสียหมด โลกนี้ เห็นจะแตก ศาสนาก็จะล่มจมแน่ นอน
แล้วก็แสดงเป็ นเชิงถามว่า ใครบ้างที่ต้องการเป็ นพระหัวดื้อ
และต้องการให้อาจารย์เป็ นอาจารย์ของพระหัวดื้อ มีไหมในที่
นี่ ถ้ามีพรุ่งนี้ ให้พากันไปรื้อไปขุดนำ้าบ่ออีกให้ดินพังลงทับตาย
จะได้ ไปเกิ ด บนสวรรค์ วิ ม านหั ว ดื้ อ เผื่ อชาวเทพทั้ ง หลายชั้ น
ต่าง ๆ จะได้มาชมบารมีบ้างว่าเก่งจริง ไม่มีชาวเทพพวกไหน
แม้ช้ันพรหมโลกที่เคยเห็นและเคยได้อยู่วิมานประหลาดเช่นนี้
มาก่อน
จากนั้นก็แสดงอ่อนลงทั้งเสียงและเนื้ อธรรม ทำา ให้ผู้ฟัง
เห็นโทษแห่งความดื้อดึงฝ่ าฝื นของตนอย่างถึงใจ ผู้น่ั งฟั งอยู่
ในขณะนั้นคล้ายกับลืมหายใจไปตาม ๆ กัน พอจบการแสดง
ธรรมและเลิ ก ประชุ ม แล้ ว ต่ า งก็ อ อกมาถามและยกโทษกั น
วุ่น วายไปว่ า มี ใครไปกราบเรี ยนท่ านถึง ได้เ ทศน์ข นาดหนั ก
ทำา เอาผู้ ฟั งแทบสลบไปตาม ๆ กั น ในขณะนั้ น ทุ ก องค์ ต่ า งก็
ปฏิเสธเป็ นเสียงเดียวกันว่า ไม่มใี ครกล้าไปกราบเรียน เพราะ

ประวัติท่านพระอาจารย์มัน
่ ภูริทัตตเถระ 82
83

ต่างก็กลัวว่าท่านจะทราบและถูกโดนเทศน์หนักอยู่แล้ว เรื่อง
ก็เป็ นอันผ่านไปโดยมิได้ต้นสายปลายเหตุ
ตามปกติ ท่ านพระอาจารย์ ม่ั น ท่ า นมี ค วามรู้ เ ชี่ ย วชาญ
เกี่ยวกับเหตุการณ์ต่าง ๆ มาแต่สมัยท่านจำา พรรษาอยู่ถ้ ำาสา
ริ ก า จั ง หวั ด นครนายกตลอดมา และมี ค วามชำา นาญกว้ า ง
ขวางขึ้นเป็ นลำาดับจนแทบจะพูดได้ว่าไม่มีประมาณ เวลาปกติ
ก็ ดี ขณะเข้ า ประชุ ม ฟั งการอบรมก็ ดี พระที่ อ ยู่ กั บ ท่ า นซึ่ ง รู้
เรื่ องของท่ า นได้ ดี ต้ อ งมี ค วามระวั ง สำา รวมจิ ต อย่ า งเข้ ม งวด
กวดขันอยู่ตลอดไป จะเผลอตัวคิดไปต่าง ๆ นานาไม่ได้ เวลา
เข้าประชุมความคิดนั้นต้องกลับมาเป็ นกัณฑ์เทศน์ให้เจ้าของ
ฟั งอี ก จนได้ ยิ่ง ขณะที่ ท่ า นกำา ลั ง ให้ ก ารอบรมอยู่ ด้ ว ยแล้ ว ยิ่ ง
เป็ นเวลาที่ สำา คัญมากกว่ าเวลาอื่ นใด ทั้ ง ๆ ที่แ สดงธรรมอยู่
แต่ขณะที่หยุดหายใจ หรือหยุดเพื่อสังเกตการณ์อะไรก็สุดจะ
เดา เพีย งขณะเดีย วเท่า นั้ น ถ้ามี รายใดคิด เปะปะออกนอกลู่
นอกทางไปบ้าง ขณะนั้ น แลเป็ นต้ องได้ เรื่ อง และได้ ยินเสี ยง
เทศน์แปลก ๆ ออกมาทันที ซึ่งตรงกับความคิดที่ไม่มีสติราย
นั้น ๆ เป็ นแต่ท่านไม่ระบุรายชื่อออกมาอย่างเปิ ดเผยเท่านั้ น
แม้ เ ช่ น นั้ น ก็ ทำา ให้ ผู้ คิ ด สะดุ ด ใจในความคิ ด ของตนทั น ที แ ละ
กลัวท่านมาก ไม่กล้าคิดแบบนั้นต่อไปอีก
กั บ เวลาออกบิ ณ ฑบาตตามหลั ง ท่ า นนั้ น หนึ่ ง จะต้ อ ง
ระวัง ไม่เช่นนั้นจะได้ยินเสียงเทศน์เรื่องความคิดไม่ดีของตน
ในเวลาเข้าประชุมแน่ นอน บางทีก็น่าอับอายหมู่เพื่อนที่น่ังฟั ง
อยู่ ด้ ว ยกั น หลายท่ า นซึ่ ง ได้ ยิ น แต่ เ สี ย งท่ า นเทศน์ร ะบุ เ รื่ อง
ความคิด แต่มิได้ระบุตัวผู้คิด ผู้ถูกเทศน์แทบมุดดินให้จมหาย
หน้าไปเลยก็ มี เพราะบางครั้ งเวลาได้ ยิ น ท่ า นเทศน์แ บบนั้ น
ทำา ให้ ผู้ น่ั ง ฟั งอยู่ ด้ ว ยกั น หลายท่ า นต่ า งหั น หน้ า มององค์ น้ั น
ชำา เลืองดูองค์น้ี เพราะไม่แน่ ใจว่าเป็ นองค์ไหนแน่ ท่ีถูกเทศน์
เรื่องนั้นอยู่ขณะนั้น บรรดาพระเณรจำานวนมากรู้สึกจะมีนิสัย
คล้ายคลึงกัน พอโดนเจ็บ ๆ ออกมาแล้วแทนที่จะเสียใจหรือ
โกรธ พอพ้ น เขตดั ด สั น ดานออกมาต่ า งแสดงความยิ้ ม แย้ ม
ขบขันพอใจ และไต่ถามซึ่งกันและกันว่า วันนี้ โดนใคร? วันนี้
โดนใคร?
แต่น่าชมเชยอยู่อย่างหนึ่ ง ที่พระท่านมีความสัตย์ซ่ ือต่อ
ความคิดผิดของตัวและต่อเพื่อนฝูง ไม่ปกปิ ดไว้เฉพาะตัว พอมี
ผู้ถาม จะเป็ นองค์ใดก็ตามที่คิดผิดทำา นองท่านเทศน์น้ัน องค์
นั้นต้องสารภาพตนทันทีว่า วันนี้ โดนผมเอง เพราะผมมันดื้อ

ประวัติท่านพระอาจารย์มัน
่ ภูริทัตตเถระ 83
84

ไม่เข้าเรื่องไปหาญคิดเรื่อง….. ทั้งที่ตามปกติก็รู้อยู่ว่าจะโดน
เทศน์ถ้าขืนคิดอย่างนั้น แต่พอไปเจอเข้ามันลืมเรื่องที่เคยกลัว
เสียสิ้น มีแต่เรื่องกล้าแบบบ้า ๆ บอ ๆ ออกมาท่าเดียว ที่ท่าน
เทศน์น้ั น สมควรอย่ า งยิ่ ง แล้ ว จะได้ ดั ด สั น ดานเราที่ คิ ด ไม่ ดี
เสียที
ต้องขออภัยจากท่านผู้อ่านมาก ๆ ที่บางเรื่องผู้เขียนก็ไม่
สะดวกใจที่จะเขียน แต่เรื่องที่ว่าไม่สะดวกก็มีผู้ก่อไว้แล้ว พอ
ให้เกิดปั ญหากลืนไม่ได้คายไม่ออกขวางอยู่ในคอดี ๆ นี่ เอง ถ้า
ได้ระบายออกตามความจริงก็น่าจะเป็ นธรรม เหมือนพระท่าน
แสดงอาบัติ ก็เป็ นวิธีท่ีทำาให้หมดโทษหมดกังวล ไม่กำาเริบต่อ
ไป จึ ง ขอเรี ย นเป็ นบางตอนพอเป็ นข้ อ คิ ด จากทั้ ง ท่ า นผู้ เ ป็ น
เจ้าของเรื่องทั้งท่านผู้ ชำา ระเรื่ อง ทั้งพวกเราผู้มี หัว ใจที่อ าจมี
ความคิดอย่างนั้นบ้าง
โดยมากนักบวชและนักปฏิบัติท่ีโดนเทศน์เจ็บ ๆ อยู่บ่อย
ๆ ก็เนื่ องจากอายตนะภายนอก คือ รูป เสียง เป็ นต้น ที่เป็ นวิ
สภาคต่อกันนั่นเอง มากกว่าเรื่องอื่น ๆ ต้นเหตุท่ีถูกเทศน์โดย
มากก็เวลาบิณฑบาต ซึ่งเป็ นกิจจำาเป็ นของพระ จะละเว้นมิได้
เวลาไปก็ต้องเจอ เวลาเจอก็ จำา ต้อ งคิ ดไปต่ าง ๆ บางรายพอ
เจอเข้าเกิดความรักชอบ ความคิดกลายเป็ นกงจักรไปโดยไม่รู้
สึ ก ตั ว นี่ แ ลคื อ ต้ น เหตุ สำา คั ญ ที่ ฉุ ด ลากใจให้ คิ ด ออกไปนอกลู่
นอกทาง ทั้งที่ไม่อยากจะให้เป็ นเช่นนั้น พอได้สติร้ังกลับมาได้
ตกตอนเย็นมาก็โดนเทศน์ แล้วพยายามทำาความสำารวมต่อไป
พอวาระต่อไปก็ไปเจอเอาของดีเข้าอีก ทำาให้แผลกำาเริบขึ้นอีก
ขากลับมาวัดก็โดนยาเม็ดขนานเด็ด ๆ ใส่แผลเข้าอีก คือ โดน
เทศน์น่ันเอง ถ้าองค์น้ี ไม่โดนของดี แต่องค์น้ันก็โดนเข้าจนได้
เพราะพระเณรมี ม ากต่ อ มากและต่ า งองค์ ก็ มี แ ผลเครื่ องรั บ
ของแสลงด้ ว ยกั น ฉะนั้ น จึ ง ไปโดนแต่ ข องดี ม าจนไม่ ชนะจะ
หลบหลี ก แก้ ไ ข พอมาถึ ง วั ด และสบจั ง หวะก็ โ ดนเทศน์จ าก
ท่านเข้าอีก
ธรรมดาความคิ ด ของคนมี กิ เ ลสก็ ต้ อ งมี คิ ด ไปต่ า ง ๆ ดี
บ้า งชั่ วบ้ าง ท่ านเองก็ ไ ม่ ใ ช่ นัก ดุ ด่ า ไปเสี ย ทุ ก ขณะจิ ต ที่คิ ด ที่
ท่ า นตำา หนิ ก็ คื อสิ่ ง ที่ ท่ านอยากให้คิ ด เช่ น คิ ด อรรถคิ ด ธรรม
ด้วยสติปัญญาเพื่อหาทางปลดเปลื้องตนออกจากทุกข์ อันเป็ น
ความคิดที่ถูกทางและเบาใจแก่ผู้อบรมสั่งสอนนั้นไม่ค่อยชอบ
คิดกัน แต่ชอบไปคิดในสิ่งที่ไม่อยากให้คิด จึงโดนเทศน์กันอยู่
เสมอแทบทุกคืน เพราะผู้ทำาให้ท่านต้องเทศน์บ่อย ๆ มีมาก

ประวัติท่านพระอาจารย์มัน
่ ภูริทัตตเถระ 84
85

ทั้งนี้ กล่าวถึงความรู้ความละเอียดแห่งปรจิตตวิชชา คือ


การกำาหนดรู้ใจผู้อ่ ืนของท่านพระอาจารย์ม่ัน ว่าท่านรู้และสา
มารถจริ ง ๆ ส่ ว นความคิ ด ที่ น่ า ตำา หนิ นั้ น ก็ มิ ไ ด้ เ ป็ นขึ้ น ด้ ว ย
เจตนาจะสั่งสมของผู้คิด หากแต่เป็ นขึ้นเพราะความเผอเรอที่
สติตามไม่ทันเป็ นบางครั้งเท่านั้ น แม้เช่นนั้ นในฐานะที่ท่าน
เป็ นอาจารย์ผู้คอยให้ความรู้ความฉลาดแก่ลูกศิษย์ เมื่อเห็น
ว่าไม่เหมาะสมก็รีบเตือนเพื่อผู้น้ันจะได้สติและเข็ดหลาบแล้ว
ระวังสำารวมต่อไป ไม่หลวมตัวคิดอย่างนั้นอีก จะเป็ นทางเบิก
กว้ า งเพื่ อความเสี ย หายต่ อ ไป เพราะความคิ ด ซำ้ าซากเป็ น
เครื่องส่งเสริม
การสั่งสอนพระ รู้สึกว่ าท่ านสั่ง สอนละเอี ยดถี่ถ้ว นมาก
ศีลที่เป็ นฝ่ ายวินัยท่านก็สอนละเอียด สมาธิและปั ญญาที่เป็ น
ฝ่ ายธรรมท่านยิ่งสอนละเอียดลออมาก แต่ปัญญาขั้นสูงสุดจะ
เขียนลงข้างหน้าตามประวัติท่านที่บำา เพ็ญ ธรรมขั้น สูง ขึ้น ไป
เป็ นลำา ดั บ ส่ ว นสมาธิ ทุ ก ขั้ น และปั ญญาขั้ น กลาง ท่ า นเริ่ ม มี
ความชำานาญมาแล้วจากถำ้าสาริกา นครนายก พอมาฝึ กซ้อม
อยู่ทางภาคอีส านนานพอควรก็ ย่ิง มีความชำา นิ ชำา นาญยิ่ง ขึ้น
ฉะนั้ น การอธิบายสมาธิทุกขั้นและวิปัสสนาขั้นกลางแก่พระ
เณร ท่านจึงอธิบายได้อย่างคล่องแคล่วมาก ไม่มีการเคลื่อน
คลาดจากหลักสมาธิปัญญาที่ถูกต้องเลย ผู้รับการอบรมได้ฟัง
อย่างถึงใจทุกขั้นของสมาธิและปั ญญาขั้นกลาง
สมาธิ ท่ า นรู้ สึ ก แปลกและพิ ส ดารมาก ทั้ ง ขณิ ก สมาธิ
อุ ป จารสมาธิ และอั ป ปนาสมาธิ คื อ ขณะจิ ต รวมเป็ นขณิ ก
สมาธิ แ ล้ ว ตั้ ง อยู่ ไ ด้ ข ณะเดี ย ว แต่ มิ ไ ด้ ถ อนออกมาเป็ นจิ ต
ธรรมดา หากแต่ถอนออกมาสู่อุปจารสมาธิ แล้วออกรู้ส่ิงต่าง
ๆ ไม่มีประมาณ บางครั้งเกี่ยวกับพวกภูตผี เทวบุตร เทวธิดา
พญานาคต่ า ง ๆ นั บ ภพนั บ ภู มิ ไ ด้ ท่ี มาเกี่ ยวข้ อ งกั บ สมาธิ
ประเภทนี้ ซึ่งท่านใช้รับแขกจำา พวกมีรูปไม่ปรากฏด้วยตา มี
เสี ย งไม่ ป รากฏด้ ว ยหู ม าเป็ นประจำา บางครั้ ง จิ ต ก็ เ หาะลอย
ออกจากกายแล้วเที่ยวชมสวรรค์วิมานและพรหมโลกชั้นต่าง
ๆ และลงไปเที่ ยวดู ภ พภู มิ ข องสั ต ว์ น รกที่ กำา ลั ง เสวยกรรมมี
ประเภทต่างกันอยู่ท่ีท่ีทรมานต่าง ๆ กันตามกรรมของตน
คำาว่าขึ้นลงตามคำาสมมุติท่ีโลกนำามาใช้กันตามกิริยาของ
กายซึ่ ง เป็ นอวั ย วะหยาบนั้ น ผิ ด กั บ กิ ริ ย าของจิ ต ซึ่ ง เป็ นของ
ละเอียดอยู่มากจนกลายเป็ นคนละโลกเอาเลย คำา ว่าขึ้นหรือ
ลงของกาย รู้สึกเป็ นประโยคพยายามอย่างเอาจริงเอาจัง แต่
จิตถ้าใช้กิริยาแบบกายบ้างว่าขึ้นหรือลงก็สักแต่ว่าเท่านั้น แต่

ประวัติท่านพระอาจารย์มัน
่ ภูริทัตตเถระ 85
86

มิ ไ ด้ เ ป็ นประโยคพยายามว่ า จิ ต ขึ้ น หรื อ ลงเลย คำา ว่ า สวรรค์


พรหมโลก และนิ พพาน อยู่ สู ง ขึ้ น ไปตามลำา ดั บ แห่ ง ความ
ละเอียดของชั้นนั้น ๆ ก็ดี คำาว่านรกอยู่ต่ ำาลงไปตามลำาดับของ
ความตำ่าแห่งภูมิและผู้มีกรรมต่าง ๆ กันก็ดีน้ี เรานำาด้านวัตถุ
เข้าไปวัดกับนามธรรมเหล่านั้นต่างหาก นรก สวรรค์ เป็ นต้น
จึงมีต่ ำาสูงไปตามโลก
เราพอเที ย บกั น ได้ บ้ า ง เช่ น นั ก โทษทั้ ง ลหุ โ ทษและครุ
โทษที่ อ ยู่ ใ นเรื อนจำา อั น เดี ย วกั น ซึ่ ง ตั้ ง อยู่ ใ นที่ ท่ี ม นุ ษ ย์ ผู้ ไ ม่ มี
โทษทั ณ ฑ์ อ ะไรอยู่ กั น ในนั ก โทษทั้ ง สองชนิ ด ไม่ มี ก ารขึ้ น ลง
ต่างกันที่ตรงไหนบ้างเลย เพราะอยู่ในเรือนจำาอันเดียวกันและ
ไม่มีขึ้นลงต่างกันกับมนุษย์ผู้ไม่มีโทษอีกด้วย เพราะเรือนจำา
หรือตะรางอันเป็ นที่อยู่ของนักโทษทุกชนิ ดอยู่กัน กับสถานที่ท่ี
มนุ ษ ย์ อ ยู่ กั น มั น เป็ นแผ่ น ดิ น อั น เดี ย วกั น บ้ าน เมื อง อั น
เดียวกัน เป็ นแต่แยกเป็ นเอกเทศกันอยู่คนละส่วนเท่านั้น เมื่อ
ต่างคนต่างมีตาดีหูดี ทั้งลหุโทษครุโทษและมนุษย์ผู้ปราศจาก
โทษ ต่างก็มองเห็นได้ยินและรู้เ รื่องของกัน ได้ อย่ างธรรมดา
ทั่ ว ๆ ไป ไม่ เ ป็ นปั ญหาเหมื อ นระหว่ า งพวกนรกกั บ เทวดา
ระหว่ า งเทวดากั บ พรหม และระหว่ า งพวกเทพฯ ทุ ก ชั้ น กั บ
สัตว์นรกทุกภูมิและระหว่างสัตว์นรกทุกภูมิและเทวดา พรหม
ทุกชั้นกับพวกมนุษย์ท่ีไม่รู้เรื่องของกันเอาเลย
แม้กระแสใจของทุก ๆ จำาพวกจะส่งประสานผ่านภูมิท่ีอยู่
ของกั น และกั น อยู่ ต ลอดเวลา แต่ ก็ เ หมื อ นไม่ ไ ด้ ผ่ า นและ
เหมือนไม่มีอะไรมีอยู่ในโลก นอกจากเราคนเดียวที่รู้เรื่องของ
ตัวทุกอย่างเท่านั้น จะรับรองตนได้ว่า การมีอยู่ในโลก เพียง
ใจที่มีอยู่กับทุกคนตลอดสัตว์ก็ยังไม่สามารถรู้เรื่องความคิดดี
ชั่ ว ของกั น และกั น ได้ ถ้ า จะปฏิ เ สธว่ า ใจของคนและสั ต ว์ ไ ม่ มี
และถ้ า มี ทำา ไมไม่ รู้ ไ ม่ เ ห็ น ใจเรื่ องใจกั น บ้ า ง ดั ง นี้ ก็ พ อจะ
ปฏิเสธได้ถ้าจะเป็ นความจริงตามคำา ปฏิเสธ แต่จะปฏิเสธวัน
ยังคำ่าก็คงผิดไปทั้งวัน เพราะปกติคนและสัตว์ท่ียังครองตัวอยู่
ย่ อ มมี ใ จด้ ว ยกั น ทุ ก ราย แม้ จ ะไม่ รู้ ไ ม่ เ ห็ น ความคิ ด ของกั น ก็
ปฏิ เ สธไม่ ไ ด้ ว่ า ใจไม่ มี ใ นร่ า งที่ เ ราไม่ ส ามารถมองเห็ น และ
ได้ยิน สิ่งละเอียดที่สุดวิสัยของตาหูจะรับรู้ได้ในโลกแห่งสัตว์
ทั้งหลาย ก็คงขึ้นอยู่กับความไม่สามารถของแต่ละราย ไม่ขึ้น
กับสิ่งที่มีอยู่เป็ นอยู่จะปกปิ ดตัวเอง
คำาว่าสวรรค์และพรหมโลกชั้นนั้น ๆ สูงขึ้นไปเป็ นลำา ดับ
นั้น ก็มิได้สูงขึ้นไปแบบบ้านที่มีหลายชั้นซึ่งเป็ นด้านวัตถุ ดังที่
รู้ ๆ กันที่จะต้องใช้บันไดหรือลิฟท์ขึ้นไปเป็ นชั้น ๆ หากสูงแบบ

ประวัติท่านพระอาจารย์มัน
่ ภูริทัตตเถระ 86
87

นามธรรม ขึ้ น แบบนามธรรม ด้ ว ยนามธรรม คื อ ใจดวงมี


สมรรถภาพภายในตัว เพราะกรรมดีคือกุศลกรรม คำาว่านรก
ตำ่ าก็ มิ ไ ด้ ต่ ำ าแบบลงเหวลงบ่ อ แต่ ต่ ำ าแบบนามธรรม ลงแบบ
นามธรรม และดู ด้ ว ยนามธรรม คื อ ดวงใจมี ค วามสามารถ
ภายในตั ว แต่ ผู้ ล งไปเสวยกรรมของตนต้ อ งไปด้ ว ยอำา นาจ
กรรมชั่ ว ที่ พ าให้ เ ป็ นไปทางตรงกั น ข้ า ม อยู่ รั บ ความทุ ก ข์
ทรมานก็อยู่ด้วยกรรมพาให้อยู่จนกว่าจะพ้ นโทษ เหมื อนคน
ติ ด คุ ก ตะรางตามกำา หนดเวลา เมื่ อพ้ น โทษก็ อ อกจากคุ ก
ตะรางไปฉะนั้น
ส่วนอุปจารสมาธิของท่านรู้สึกเริ่มเกี่ยวพันกันกับขณิ ก
สมาธิ ม าแต่ เ ริ่ ม แรกปฏิ บั ติ เพราะจิ ต ท่ า นเป็ นจิ ต ที่ ว่ อ งไว
ผาดโผนมาดั้งเดิม เวลารวมลงเพียงขณะเดียวที่เรียกว่าขณิ ก
สมาธิ ก็เริ่ มออกเที่ ยวรู้ เห็ นสิ่ง ต่า ง ๆ ที่ อยู่ ในวงของอุ ป จาระ
จนกระทั่งท่านมีความชำานาญและบังคับให้อยู่กับที่หรือให้ออก
รู้เหตุการณ์ต่าง ๆ ก็ได้แล้ว จากนั้นท่านต้องการจะปฏิบัติต่อ
สมาธิประเภทใดก็ได้สะดวกตามต้องการ คือจะให้เป็ น ขณิ กะ
แล้วเลื่อนออกมาเป็ นอุปจาระเพื่อรับรู้ส่ิงต่าง ๆ หรือจะให้รวม
สงบลงถึงฐานสมาธิอย่างเต็มที่ ที่เรียกว่าอัปปนาสมาธิ แล้ว
พักอย่ใู นสมาธิน้ันตามต้องการก็ได้
อัปปนาสมาธิเป็ นสมาธิท่ีสงบละเอียดแนบแน่ นและเป็ น
ความสงบสุขอย่างพอตัว ผู้ปฏิบัติจึงมีทางติดสมาธิประเภทนี้
ได้ ท่ า นพระอาจารย์ ม่ั น ท่ า นเล่ า ว่ า ท่ า นเคยติ ด สมาธิ
ประเภทนี้ บ้ า งเหมื อ นกั น แต่ ท่ า นเป็ นนิ สั ย ปั ญญาจึ ง หา
ทางออกได้ ไม่นอนใจและติดอยู่ในสมาธิประเภทนี้ นาน ผู้ติด
สมาธิ ป ระเภทนี้ ทำา ให้ เ นิ่ นช้ า ได้ เ หมื อ นกั น ถ้ า ไม่ พ ยายาม
คิดค้นทางปั ญญาต่อไป นักปฏิบัติท่ีติดอยู่ในสมาธิประเภทนี้ มี
เยอะแยะ เพราะเป็ นสมาธิท่ีเต็มไปด้วยความสุข ความเยื่อใย
และอ้อยอิ่งน่ าอาลัยเสียดายอยู่มาก ไม่คิดอยากแยกตัวออก
ไปทางปั ญญาอันเป็ นทางถอนกิเลสทั้งมวล ถ้าไม่มีผู้ฉลาดมา
ตักเตือนด้วยเหตุผลจริง ๆ จะไม่ยอมถอดถอนตัวออกมาสู่ทาง
ปั ญญาเอาเลย
เมื่ อจิ ต ติ ด อยู่ ใ นสมาธิ ป ระเภทนี้ น านไป อาจเกิ ด ความ
สำา คัญตนไปต่าง ๆ ได้ เช่น สำา คัญว่านิ พพานความสิ้นทุกข์ก็
ต้ อ งมี อ ยู่ ใ นจุ ด แห่ ง ความสงบสุ ข นี้ หามี อ ยู่ ใ นที่ อ่ ื นใดไม่ ดั ง นี้
ความจริ ง จิ ต ที่ ร วมตั ว เข้ า เป็ นจุ ด เดี ย วจนรู้ เ ห็ น จุ ด ของจิ ต ได้
อย่างชัดเจน และรู้เห็นความสงบสุขประจักษ์ใจในสมาธิข้ันอัป
ปนานี้ เป็ นการรวมกิเลสภพชาติอยู่ในจิตดวงนั้นด้วยในขณะ

ประวัติท่านพระอาจารย์มัน
่ ภูริทัตตเถระ 87
88

เดียวกัน ถ้าไม่ใช้ปัญญาเป็ นเครื่องบุกเบิกทำา ลาย ก็มีหวังตั้ง


ภพชาติอีกต่อไปโดยไม่ต้องสงสัย ฉะนั้น ผู้ปฏิบัติในสมาธิข้ัน
ใดก็ต าม ปั ญญาจึ งควรมีแอบแฝงอยู่ เสมอตามโอกาสที่ ค วร
เฉพาะอัปปนาสมาธิด้วยแล้ว ควรใช้ปัญญาเดินหน้าอย่างยิ่ง
ถ้าไม่อยากรู้อยากเห็นจิตที่มีเพียงความสงบสุขอยู่อย่างเดียว
ไม่มีความฉลาดรอบตัวเลยเท่านั้น
ท่านพระอาจารย์ม่ัน นั บแต่ท่านกลับมาทางภาคอีส าน
เที่ย วนี้ ท่ านชำา นาญในปั ญญาขั้ น กลางมากจริ ง อยู่ เพราะผู้
ก้าวขึ้นสู่ภูมิธรรมขั้นสาม คือพระอนาคามี ต้องนับว่ามีปัญญา
ขั้นกลางอย่างพอตัว ไม่เช่นนั้นจะพิจารณาภูมิธรรมขั้นนั้น
ไม่ได้ การก้าวขึ้นส่ภ ู ูมิธรรมขั้นนี้ ต้องผ่านกายคตาสติ ทั้งสุภ
ะความเห็นว่ากายเป็ นของสวยงาม ทั้งอสุภะความเห็นว่ากาย
เป็ นของไม่สวยงาม ไปด้วยปั ญญา มิได้ติดอยู่ โดยจิตแยกสุภ
ะและอสุภะออกด้วยปั ญญา แล้วก้าวผ่านไปในท่า มกลางคื อ
มั ช ฌิ ม าตรงกลาง ได้ แ ก่ ร ะหว่ า งสุ ภ ะและอสุ ภ ะต่ อ กั น หมด
ความสงสัยและเยื่อใยในธรรมทั้งสองนั้นอันเป็ นเพียงทางเดิน
ผ่ า นเท่ า นั้ น การพิ จ ารณาถึ ง ขั้ น ที่ ว่ า นี้ จั ด ว่ า เพี ย งผ่ า นไปได้
ถ้ า เที ย บการสอบไล่ ก็ เ พี ย งได้ ค ะแนนตามกฎที่ ต้ั ง ไว้ เ ท่ า นั้ น
ยังมิได้คะแนนสูงและสูงสุดในชั้นนั้น ผู้บรรลุธรรมถึงระดับนี้
แล้ว จำาต้องฝึ กซ้อมปั ญญาเพื่อความชำานาญละเอียดขึ้นไปจน
เต็มภูมิของธรรมชั้นนั้น ที่เรียกว่าอนาคามีเต็มภูมิ ถ้าตายใน
ขณะนั้นก็ไปเกิดในชั้นอกนิ ษฐาพรหมโลกชั้นที่ห้าทันที ไม่ต้อง
เกิดในพรหมโลกสี่ช้ันตำ่านั้น
ท่านพระอาจารย์ม่ันท่านเล่าว่า ท่านเคยติ ดอยู่ในภู มิน้ี
นานเอาการอยู่ เพราะไม่ มี ผู้ ค อยให้ อุ บ ายใด ๆ เลย ต้ อ ง
ลูบคลำา กันอย่างระมัดระวังมาก กลัวจะผิดพลาด เพราะทาง
ไม่ เ คยเดิ น เท่ า ที่ สั ง เกตรู้ ต ลอดมา เวลาสติ ปั ญญาละเอี ย ด
ธรรมละเอียด ส่วนกิเลสที่จะทำาให้หลงก็ละเอียดไปตาม ๆ กัน
จึงเป็ นความลำาบากอยู่ไม่น้อยในธรรมแต่ละขั้นกว่าจะผ่านไป
ได้ ท่านเล่า น่ าอัศจรรย์เหลือประมาณ อุตส่าห์คลำาไม้คลำาตอ
และขวากหนามโดยมิได้รับคำาแนะจากใคร นอกจากธรรมใน
คัมภีร์เท่านั้น กว่าจะผ่านพ้นไปได้และมาเมตตาสั่งสอนพวก
เรา ก็ อ ดที่ จ ะระลึ ก ถึ ง ความทุ ก ข์ อ ย่ า งมหั น ต์ ข องท่ า นมิ ไ ด้
เวลากำาลังบุกป่ าฝ่ าดงไปองค์เดียว
มีโอกาสดี ๆ ท่านเล่าถึงการบำาเพ็ญของท่านให้ฟัง ที่น่า
สมเพชเวทนาท่านนักหนา ผู้เขียนเองเคยนำ้ าตาร่วงสองครั้ง
ด้ ว ยความเห็ น ทุ ก ข์ ไ ปตามเวลาท่ า นลำา บากมากในการ

ประวัติท่านพระอาจารย์มัน
่ ภูริทัตตเถระ 88
89

บำา เพ็ ญ และด้ ว ยความอั ศ จรรย์ ใ นธรรมที่ ท่ า นเล่ า ให้ ฟั ง ซึ่ ง


เป็ นธรรมละเอียดลึกซึ้ง จนเกิดความคิดขึ้นมาว่า เรานี้ จะพอ
มี ว าสนาบารมี แ ค่ ไ หนบ้ า งหนอ พอจะถู ไ ถเสื อ กคลานไปกั บ
ท่านได้เพียงใดหรือไม่ก็มีในบางขณะ ตามประสาของปุ ถุชน
อย่างนั้ นเอง แต่คำา พูดท่านเป็ นเครื่องปลุกประสาทให้ต่ ืนตัว
ตื่นใจได้ดีมาก นี่ แลเป็ นเครื่องพยุงความเพียรไม่ให้ลดละเพื่อ
อนาคตของตนตลอดมา ท่ า นเล่ า ว่ า พอเร่ ง ความเพี ย รทาง
ปั ญญาเข้ามากทีไร ยิ่งทำาให้จิตใจจืดจางออกจากหมู่คณะมาก
ขึ้ น และกลั บดู ด ดื่ มทางความเพี ย รมากเข้ า ทุ ก ที ทั้ ง ที่ ท ราบ
เรื่องของตัวมาโดยลำาดับว่ากำาลังของเรายังไม่พอ แต่ก็จำาต้อง
อยู่รออบรมหมู่คณะพอให้มีหลักฐานทางใจบ้าง
ทราบว่าท่านจำา พรรษาที่จั งหวัด นครพนมหลายปี ตาม
แถบหมู่บ้านสามผง อำาเภอศรีสงคราม ถ้าจำาไม่ผิดก็ราว ๓-๔
ปี ที่ บ้ า นห้ ว ยทราย ซึ่ ง ตั้ งอยู่ เ ขตอำา เภอคำา ชะอี จั ง หวั ด
เดี ย วกั น ๑ ปี แถบหมู่ บ้ า นห้ ว ยทราย บ้ า นคำา ชะอี หนองสู ง
โคกกลาง เหล่านี้ มีภเู ขามาก ท่านชอบพักอยู่แถบนี้ มาก ที่เขา
ผักกูดซึ่งอยู่ใกล้หมู่บ้านแถบนั้น ท่านว่าเทวดาก็ชุม เสือก็ชุม
มาก ตอนกลางคืนเสือก็มาเที่ยวรอบ ๆ บริ เวณที่ท่ านพัก อยู่
เทวดาก็ชอบมาฟั งธรรมท่า นบ่ อ ยเช่น กัน กลางคืนเสีย งเสื อ
โคร่ ง ใหญ่ ก ระหึ่ ม อยู่ ใ กล้ ๆ กั บ ที่ พั ก ท่ า น บางคื น มั น กระหึ่ ม
พร้ อ มกั น ที ล ะหลาย ๆ ตั ว เสี ย งสนั่ น หวั่ น ไหวไปทั่ ว ทั้ ง ป่ า
เสียงมันร้องรับกันเหมือนเสียงคนร้องหากันนี่ เอง ทางโน้นก็
ร้อง ทางนี้ ก็ร้อง กระหึ่มรับกันเป็ นพัก ๆ ทีละหลาย ๆ ตัวน่ า
กลัวมาก พระเณรบางคืนไม่ได้หลับนอนกันเลย กลัวเสือจะมา
ฉวยไปกิน
ท่านฉลาดหาอุบายพูดแปลก ๆ ให้พระเณรกลัวเสือ เพื่อ
จะได้พากันขยันทำาความเพียร โดยพูดว่า ใครขี้เกียจทำาความ
เพี ย รระวั ง ให้ ดี น ะ เสื อ ในเขาลู ก นี้ ชอบพระเณรที่ ขี้ เกี ย จ
ทำา ความเพียรนัก กินก็อร่อยดี ใครไม่อยากเป็ นอาหารอร่อย
ของมันต้องขยัน ใครขยันทำา ความเพียร เสือกลัวและไม่ชอบ
เอาเป็ นอาหาร พอพระเณรได้ ยิ น ดั ง นั้ น ต่ า งก็ พ ยายาม
ทำา ความเพียรกัน แม้เสือกำา ลังกระหึ่มอยู่รอบ ๆ ก็จำา ต้องฝื น
ออกไปเดินจงกรมแบบสละตายทั้งที่กลัว ๆ เพราะเชื่อคำาท่าน
ว่ า ใครขี้ เ กี ย จเสื อ จะมาเอาไปเป็ นอาหารอั น อร่ อ ยของมั น
เพราะที่อยู่น้ันมิได้เป็ นกุฎีเหมือนวัดทั่ว ๆ ไป แต่เป็ นร้านเล็ก
ๆ พอหมกตัวเวลาหลับนอนเท่านั้ น และเตี้ย ๆ ด้วย เผื่อเสื อ

ประวัติท่านพระอาจารย์มัน
่ ภูริทัตตเถระ 89
90

นึ ก หิ ว ขึ้ น มาและโดดมาเอาไปกิ น ต้ อ งเสี ย ท่ า ให้ มั น จริ ง ๆ


เพราะฉะนั้น พระท่านถึงกลัวและเชื่อคำาของท่านอาจารย์
ท่านเล่าให้ฟังก็น่ากลัวด้วย ว่าบางคืนเสือโคร่งใหญ่เข้า
มาถึ ง บริ เ วณที่ พ ระพั ก อยู่ ก็ มี แต่ ก็ ไ ม่ ทำา อะไร เป็ นเพี ย งเดิ น
ผ่านไปเท่านั้น ตามปกติท่านก็ทราบอยู่แล้วว่าเสือไม่กล้ามา
ทำาอะไรได้ ท่านว่าเทวดารักษาอยู่ตลอดเวลา คือเวลาเทวดา
ลงมาเยี่ ยมฟั งเทศน์ ท่ า น เขาบอกกั บ ท่ า นว่ า เขาพากั น
อารั ก ขาไม่ ใ ห้ มี อ ะไรมารบกวนและทำา อั น ตรายได้ และขอ
อาราธนาท่านให้พักอยู่ท่ีน้ันนาน ๆ ฉะนั้น ท่านจึงหาอุบายพูด
ให้พระเณรกลัวและสนใจต่อความเพียรมากขึ้น เสือเหล่านั้นก็
รู้สึ ก จะทราบว่ าที่ บริ เ วณท่ า นพั ก อยู่ เ ป็ นสถานที่ เ ย็ น ใจ พวก
สั ต ว์ เ สื อ ต่ า ง ๆ ไม่ ต้ อ งระวั ง อั น ตรายจากนายพราน เพราะ
ตามปกติ ช าวบ้ า นทราบว่ า ท่ า นไปพั ก อยู่ ท่ี ใ ด เขาไม่ ก ล้ า ไป
เที่ ย วล่ า เนื้ อที่ น้ั น เขาบอกว่ า กลั ว เป็ นบาป และกลั ว ปื นจะ
ระเบิ ดทั้ งลำา กล้ องใส่ มื อเขาตายขณะยิ ง สั ต ว์ ใ นที่ใ กล้ บ ริ เ วณ
นั้น
สิ่ ง ที่ แปลกอยู่ อ ย่ า งหนึ่ งก็ คื อ เวลาท่ า นไปพั ก อยู่ ณ
สถานที่ใด ซึ่งเป็ นแหล่งที่เสือชุม ๆ ที่น้ันแม้ปกติเสือจะเคยมา
เที่ยวหากัดวัวควายกินเป็ นประจำา ตามหมู่บ้านแถบนั้ น แต่ก็
เลิกรากันไป ไม่ทราบว่ามันไปเที่ยวหากินกันที่ไหน เรื่องทั้งนี้
ท่านเองก็เคยเล่าให้ฟัง และชาวบ้านหลายหมู่บ้านที่ท่านเคย
ไปพั ก อยู่ ก็ เ คยเล่ า ให้ ฟั งเหมื อ นกั น ว่ า เสื อ ไม่ ไ ปทำา อั น ตราย
สั ต ว์ เ ลี้ ย งเขาเลย น่ า อั ศ จรรย์ ม ากดั ง นี้ ยั ง มี ข้ อ แปลกอยู่ อี ก
อย่างหนึ่ งคือเวลาพวกเทวดามาเยี่ยมฟั งเทศน์ ท่ านหัว หน้า
เทวดาเล่าว่า ท่านมาพักอยู่ท่ีน่ี ทำาให้พวกเทวดาสบายใจไปทั่ว
กัน เทวดามีความสุขมากผิดปกติ เพราะกระแสเมตตาธรรม
ท่ า นแผ่ ก ระจายครอบท้ อ งฟ้ าอากาศและแผ่ น ดิ น ไปหมด
กระแสเมตตาธรรมท่านเป็ นกระแสที่บอกไม่ถูกและอัศจรรย์
มาก ไม่ มี อะไรเหมื อนเลยดั ง นี้ แล้ ว พู ดต่ อ ไปว่ า ฉะนั้ น ท่ า น
พักอยู่ท่ีไหน พวกเทวดาต้ องทราบกัน จากกระแสธรรมที่แผ่
ออกจากองค์ ท่ านไปทุ ก ทิ ศทุ ก ทาง แม้ เ วลาท่ า นแสดงธรรม
แก่พระเณรและประชาชน กระแสเสียงท่านก็สะเทือนไปหมด
ทั้งเบื้องบนเบื้องล่าง ไม่มีขอบเขต ใครอยู่ท่ีไหนก็ได้เห็นได้ยิน
นอกจากคนตายแล้ ว เท่ า นั้ น จะไม่ ไ ด้ ยิ น ตอนนี้ ต้ อ งขออภั ย
ท่านผู้อ่านมาก ๆ อีกด้วย
จะได้ เ ชิ ญ อาราธนาคำา พู ด ระหว่ า งท่ า นพระอาจารย์ กั บ
พวกเทวดาสนทนากัน มาลงอีกเล็กน้อย ส่วนจะจริงหรือเท็จก็

ประวัติท่านพระอาจารย์มัน
่ ภูริทัตตเถระ 90
91

เขียนตามที่ได้ยินได้ฟังมา ท่านย้อนถามเขาบ้า งว่ า ก็ มนุษย์


ไม่เห็นได้ยินกันบ้าง ถ้าว่าเสียงเทศน์ส ะเทือ นไปไกลดัง ที่ว่ า
นั้ น หัว หน้าเทพฯ รี บตอบท่ า นทั น ที ว่ า ก็ม นุ ษ ย์ เ ขาจะรู้ เ รื่ อง
อะไรและสนใจกั บ ศี ล กั บ ธรรมอะไรกั น ท่ า น ตา หู จมู ก ลิ้ น
กาย ใจของเขา เขาเอาไปใช้ในทางบาปทางกรรมและขนนรก
มาทับถมตัวตลอดเวลา นับแต่วันเขาเกิดมาจนกระทั่งเขาตาย
ไป เขามิได้สนใจกับศีลกับธรรมอะไรเท่าที่ควรแก่ภูมิของตน
หรอกท่าน มีน้อยเต็มทีผู้ท่ีสนใจจะนำา ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
ไปทำาประโยชน์ คือศีลธรรม ชีวิตเขาก็น้อยนิ ดเดียว ถ้าเทียบ
กัน แล้ ว มนุษ ย์ ต ายคนละกี่ สิ บ กี่ ร้ อ ยครั้ ง เทวดาที่ อ ยู่ ภ าคพื้ น
แม้เ พีย งรายหนึ่ ง ก็ยัง ไม่ ตายกันเลย ไม่ต้ องพูด ถึ ง เทวดาบน
สวรรค์ช้ันพรหมซึ่งมีอายุยืนนานกันเลย
มนุ ษ ย์ จำา นวนมากมี ค วามประมาทมาก ที่ มี ค วามไม่
ประมาทมี น้ อ ยเต็ ม ที มนุ ษ ย์ เ องเป็ นผู้ รั ก ษาศาสนา แต่ แ ล้ ว
มนุ ษ ย์ เ สี ย เองไม่ รู้ จั ก ศาสนา ไม่ รู้ จั ก ศี ล ธรรมซึ่ ง เป็ นของดี
เยี่ยม มนุษย์คนใดชั่วก็ย่ิงรู้จักแต่จะทำาชั่วถ่ายเดียว เขายังแต่
ลมหายใจเท่ า นั้ น พอเป็ นมนุ ษ ย์ อ ยู่ กั บ โลกเขา พอลมหายใจ
ขาดไปเท่านั้น เขาก็จมไปกับความชั่วของเขาทันทีแล้ว เทวดา
ก็ได้ยินทำาไมจะไม่ได้ยิน ปิ ดไม่อยู่ เวลามนุษย์ตายแล้วนิ มนต์
พระท่ านมาสาธยายธรรมกุ ส ลา ธั ม มาให้ ค นตายฟั ง เขาจะ
เอาอะไรมาฟั งสำา หรับคนชั่วขนาดนั้ น พอแต่ตายลงไปกรรม
ชั่วก็มัดดวงวิญญาณเขาไปแล้ว เริ่มแต่ขณะสิ้นลมหายใจ จะมี
โอกาสมาฟั งเทศน์ฟังธรรมได้อย่างไร แม้ขณะที่เขายังมีชีวิต
อยู่ก็ไม่สนใจอยากฟั งเทศน์ฟังธรรม นอกจากคนที่ยังเป็ นอยู่
เท่านั้น พอฟั งได้ถ้าสนใจอยากฟั ง แต่เขามิได้สนใจฟั งหรอก
ท่าน
ท่านไม่สังเกตดูเขาบ้างหรือ เวลาพระท่านสาธยายธรรม
กุสลา ธัมมาให้ฟัง เขาสนใจฟั งเมื่อไร ศาสนามิได้ถึงใจมนุษย์
เท่าที่ควรหรอกท่าน เพราะเขาไม่สนใจกับศาสนา สิ่งที่เขารัก
ชอบที่สุดนั้น มันเป็ นสิ่งที่ต่ ำาทรามที่สัตว์เดียรัจฉานบางตัวก็
ยั ง ไม่ อ ยากชอบ นั่ น แลเป็ นสิ่ ง ที่ ม นุ ษ ย์ ท่ี ไ ม่ ช อบศาสนาชอบ
มากกว่าสิ่งอื่นใด และชอบแต่ไหนแต่ไรมา ทั้งชอบแบบไม่ มี
วั น เบื่ อไม่ รู้ จั ก เบื่ อเอาเลย ขณะจะขาดใจยั ง ชอบอยู่ เ ลยท่ า น
พวกเทวดารู้เรื่องของมนุษย์ได้ดีกว่ามนุษย์จะมาสนใจรู้เรื่อง
ของพวกเทวดาเป็ นไหน ๆ มี ท่ า นนี่ แลเป็ นพระวิ เ ศษ รู้ ท้ั ง
เรื่อ งมนุษ ย์ ทั้งเรื่องเทวดา ทั้ งเรื่ องสัต ว์น รก สั ต ว์ก่ี ป ระเภท

ประวัติท่านพระอาจารย์มัน
่ ภูริทัตตเถระ 91
92

ท่านรู้ได้ดีกว่าเป็ นไหน ๆ ฉะนั้น พวกเทวดาทั้งหลายจึงยอม


ตนลงกราบไหว้ท่าน
พอหัวหน้าเทวดาพูดจบลง ท่านพระอาจารย์ม่ันก็พูดเป็ น
เชิงปรึกษาว่า เทวดาเป็ นผู้มีตาทิพย์หูทิพย์แลเห็นได้ไกล ฟั ง
เสียงได้ไกล รู้เรื่องดีช่ัวของชาวมนุษย์ได้ดีกว่ามนุษย์จะรู้เรื่อง
ของตัวและรู้เรื่องของพวกมนุษย์ด้วยกัน จะไม่พอมีทางเตือน
มนุษย์ให้รู้สึกสำานึ กในความผิดถูกที่ตนทำาได้บ้างหรือ อาตมา
เข้ า ใจว่ าจะได้ ผลดี ก ว่ ามนุ ษ ย์ ด้ ว ยกั นตั ก เตื อ นกั น สั่ ง สอนกั น
จะพอมีทางได้บ้างไหม หัวหน้าเทวดาตอบท่านว่า เทวดายัง
ไม่ เ คยเห็ น มนุ ษ ย์ มี ก่ี ร ายพอจะมี ใ จเป็ นมนุ ษ ย์ ส มภู มิ เ หมื อ น
อย่ า งพระคุ ณ เจ้ า ซึ่ ง ให้ ค วามเมตตาแก่ ช าวเทพฯ และชาว
มนุษย์ตลอดมาเลย พอที่เขาจะรับทราบว่าในโลกนี้ มีสัตว์ชนิ ด
ต่ า ง ๆ หลายต่ อ หลายจำา พวกอยู่ ด้ ว ยกั น ทั้ ง ที่ เ ป็ นภพหยาบ
ทั้ ง ที่ เ ป็ นภพละเอี ย ด ซึ่ ง มนุ ษ ย์ จ ะยอมรั บ ว่ า เทวดาประเภท
ต่าง ๆ มีอยู่ในโลก และสัตว์อะไร ๆ ที่มีอยู่ในโลกกี่หมื่นกี่แสน
ประเภทว่ามีจริงตามที่สัตว์เหล่านั้นมีอยู่
เพราะนับแต่เกิดมามนุษย์ไม่เคยเห็นสิ่งเหล่านี้ มาแต่พ่อ
แต่แม่แต่ปู่ย่าตายาย แล้วมนุษย์จะมาสนใจอะไรกับเทวดาเล่า
ท่าน นอกจากเห็นอะไรผิดสังเกตบ้าง จริงหรือไม่จริงไม่คำานึ ง
พวกมนุษย์มีแต่พากันกล่าวตู่ว่าผีกันเท่านั้น จะมาหวังคำา ตัก
เตือนดีชอบอะไรจากเทวดา แม้เทวดาจะรู้เห็นพวกมนุษย์อยู่
ตลอดเวลา แต่ ม นุ ษ ย์ ก็ มิ ไ ด้ ส นใจจะรู้ เ ทวดาเลย แล้ ว จะให้
เทวดาตักเตือนสั่งสอนมนุษย์ด้วยวิธีใด เป็ นเรื่องจนใจทีเดียว
ปล่ อ ยตามกรรมของใครของเราไว้ อ ย่ า งนั้ น เอง แม้ แ ต่ พ วก
เทวดาเองก็ยังมีกรรมเสวยอยู่ทุกขณะ ถ้าปราศจากกรรมแล้ว
เทวดาก็ ไ ปนิ พ พานได้ เ ท่ า นั้ น เอง จะพากั น อยู่ ใ ห้ ลำา บากไป
นานอะไรกัน
ท่านพระอาจารย์ ม่ัน ถามเขาว่า พวกเทวดาก็รู้นิ พพาน
กันด้วยหรือ ถึงว่าหมดกรรมแล้วก็ไปนิ พพานกันได้ และพวก
เทวดาก็มีความทุกข์เช่นสัตว์ท้ังหลายเหมือนกันหรือ เขาตอบ
ท่ า นว่ า ทำา ไมจะไม่ รู้ ท่ าน ก็ เ พราะพระพุ ท ธเจ้ า องค์ ใ ดมาสั่ ง
สอนโลกก็ ล้ ว นแต่ ส อนให้ พ้ น ทุ ก ข์ ไ ปนิ พ พานกั น ทั้ ง นั้ น มิ ไ ด้
สอนให้จมอยู่ในกองทุกข์ แต่สัตว์โลกไม่สนใจพระนิ พพานเท่า
เครื่ องเล่ น ที่ เ ขาชอบเลย จึ ง ไม่ มี ใ ครคิ ด อยากไปนิ พ พานกั น
คำา ว่ า นิ พ พานพวกเทวดาจำา ได้ อ ย่ า งติ ด ใจจากพระพุ ท ธเจ้ า
แต่ละองค์ท่ีมาสั่งสอนสัตว์โลก แต่เทวดาก็มีกรรมหนาจึงยัง
ไม่พ้นจากภพของเทวดาให้ได้ไปนิ พพานกัน จะได้หมดปั ญหา

ประวัติท่านพระอาจารย์มัน
่ ภูริทัตตเถระ 92
93

ไม่ ต้องวกเวี ยนถ่ วงตนดั งที่ เ ป็ นอยู่ น้ี ส่ว นความทุ ก ข์ น้ั นถ้ า มี
กรรมอยู่แล้ว ไม่ว่าสัตว์จำา พวกใดต้องมีทุกข์ไปตามส่ว นของ
กรรมดีช่ัวที่มีมากน้อยในตัวสัตว์
ท่านถามเทวดาว่า พระที่พูดกับเทวดารู้เรื่องกันมีอยู่แยะ
ไหม? เขาตอบว่ามีอยู่เหมือนกันท่าน แต่ไม่มากนัก โดยมาก
ก็เป็ นพระซึ่งชอบปฏิบัติบำาเพ็ญอยู่ในป่ าในเขาเหมือนพระคุณ
เจ้านี่ แล ท่านถามว่า ส่วนฆราวาสเล่ามีบ้างไหม? เขาตอบว่า
มีเหมือนกัน แต่มีน้อยมาก และต้องเป็ นผู้ใคร่ทางธรรมปฏิบัติ
ใจผ่องใสถึงรู้ได้ เพราะกายพวกเทวดานั้นหยาบสำา หรับพวก
เทวดาด้ ว ยกั น แต่ ก็ ล ะเอี ย ดสำา หรั บ มนุ ษ ย์ จ ะรู้ เ ห็ น ได้ ท่ั ว ไป
นอกจากผู้มีใจผ่องใสจึงจะรู้จะเห็นได้ไม่ยากนัก
ท่านถามเขาว่า ที่ธรรมท่านว่าพวกเทวดาไม่อยากมาอยู่
ใกล้พวกมนุษย์ เพราะเหม็นสาบคาวมนุษย์น้ันเหม็นสาบคาว
อย่างไรบ้าง ขณะที่ท่านทั้งหลายมาเยี่ยมอาตมาไม่เหม็นคาว
บ้ า งหรื อ ทำา ไมถึ ง พากั น มาหาอาตมาบ่ อ ยนั ก เขาตอบว่ า
มนุษย์ท่ีมีศีลธรรมมิใช่มนุษย์ท่ีควรรังเกียจ ยิ่งเป็ นที่หอมหวน
ชวนให้ เ คารพบู ช าอย่ า งยิ่ ง และอยากมาเยี่ ย มฟั งเทศน์อ ยู่
เสมอไม่ เ บื่ อเลย มนุ ษ ย์ ท่ี เ หม็ น คาวน่ า รั ง เกี ย จ คื อ มนุ ษ ย์ ท่ี
เหม็ น คาวศี ล ธรรม รั ง เกี ย จศี ล ธรรม ไม่ ส นใจในศี ล ธรรม
มนุษย์ประเภทเบื่อศีลธรรมซึ่งเป็ นของดีเลิศในโลกทั้งสาม แต่
ชอบในสิ่งที่น่ารังเกียจของท่านผู้ดีมีศีลธรรมทั้งหลาย มนุษย์
ประเภทนี้ น่ารังเกียจจึงไม่ อยากเข้ าใกล้ และเหม็นคาวฟ้ ุง ไป
ไกลด้ ว ย แต่ เ ทวดามิ ไ ด้ ต้ั ง ข้ อ รั ง เกี ย จชาวมนุ ษ ย์ แ ต่ อ ย่ า งใด
หากเป็ นนิ สั ย ของพวกเทวดามี ค วามรู้ สึ ก อย่ า งนั้ น มาดั้ ง เดิ ม
ดังนี้
เวลาท่ า นเล่ า เรื่ องเทวดาภู ต ผี ช นิ ด ต่ า ง ๆ ให้ ฟั ง ผู้ ฟั ง
เคลิ้มไปจนลืมตัวและลืมเวลำ่าเวลา ลืมเหน็ ดเหนื่ อยเมื่ อยล้ า
ไปตาม ๆ กัน ประหนึ่ งตนก็ใคร่รู้อย่างนั้นบ้าง และคิดว่าจะรู้
จะเห็ น อย่ างนั้ น บ้ างในวั น หนึ่ ง ข้ า งหน้า แล้ ว ทำา ให้ เ กิ ด ความ
กระหยิ่มต่อความเพียรเพื่อผลอย่างนั้นขึ้นมา กับตอนท่านเล่า
อดีตชาติของท่านและของคนอื่นเป็ นบางรายที่เห็นว่าจำา เป็ น
ให้ฟัง ยิ่งทำาให้อยากรู้เรื่องอดีตของตนจนลืมความคิดที่อยาก
พ้นทุกข์ไปนิ พพาน ในบางครั้งพอรู้ตัวเกิดตกใจและตำาหนิ ตน
ว่า อ๋อ เรานี่ จะเริ่มบ้าไปเสียแล้ว แทนที่จะคิดไปในทางหลุด
พ้นดังที่ท่านสั่งสอน แต่กลับไปคว้าและงมเงาในอดีตที่ผ่านมา

ประวัติท่านพระอาจารย์มัน
่ ภูริทัตตเถระ 93
94

แล้ว ก็ทำาให้รู้สก ึ ตัวไปพักหนึ่ ง พอเผลอตัวก็คิดไปอีกแล้ว ต้อง


คอยปราบปรามตัวเองอยู่เรื่อย
เวลาท่านเล่าเรื่องพวกเทวดาภูตผีชนิ ดต่าง ๆ มาเยี่ยม
ท่าน รู้สึกน่ าฟั งมาก เฉพาะพวกภูตผีรู้สึกมีผีอันธพาลเช่นกับ
มนุษย์เรา ถ้าพวกใดชอบก่อความไม่สงบมาก เขาต้องจับพวก
นั้นมาขังรวมกันไว้ในคอกที่มนุษย์เรียกว่าห้องขังนั่นเอง ขังไว้
เป็ นพวก ๆ เป็ นห้อง ๆ เต็มห้องขังแต่ละห้อง มีท้ังผีอันธพาล
หญิ ง ผี อั น ธพาลชาย และอั น ธพาลประเภทโหดร้ า ยทารุ ณ
จำาพวกทารุณยังมีท้ังหญิงทั้งชายอีกด้วย มองดูหน้าตาพวกนี้
บอกอย่างชัดแจ้งว่าแผ่เมตตาให้ไม่ยอมรับ พวกผีน้ี เขามีบ้าน
เมืองเหมือนมนุษย์เราเหมือนกัน เป็ นบ้านเมืองใหญ่โตมาก มี
หัวหน้าปกครองดูแลเหมือนกัน ผีท่ีมีอุปนิ สัยใฝ่ บุญกุศลก็มีอยู่
แยะ พวกผีธ รรมดาและผี จำา พวกอั นธพาลเคารพนั บ ถื อ มาก
เพราะผู้มีอุปนิ สัยวาสนาเป็ นผู้มีฤทธาศักดานุภาพมาก ผีท้ัง
หลายเคารพเกรงกลัวมากตามหลักธรรมชาติ มิใช่การประจบ
ประแจง
ท่ า นเล่ า ว่ า ที่ ว่ า บาปมี อำา นาจน้ อ ยกว่ า บุ ญ นั้ น ท่ า นไป
พบเห็นในเมืองผีเป็ นพยานอีกประเด็นหนึ่ ง คือผีมีวาสนาแต่
มาเสวยกรรมตามวาระ เช่น มาเกิดเป็ นภูตผี แต่นิสัยใจคอใน
ทางบุ ญ นั้ น ไม่ เ คยเปลี่ ย นแปลงเลยและมี อำา นาจมากด้ ว ย
เพี ย งผู้ เ ดี ย วเท่ า นั้ นก็ ส ามารถปกครองผี ไ ด้ เ ป็ นจำา นวน
มากมาย เพราะเมื อ งผี ไ ม่ มี ก ารถื อ พวกถื อ พ้ อ งเหมื อ นเมื อ ง
มนุ ษ ย์ เ รา แต่ ถื อ อำา นาจตามหลั ก ธรรม แม้ จ ะฝื นถื อ อย่ า ง
มนุษย์ก็เป็ นไปไม่ได้ เพราะกรรมไม่อำานวยไปตาม ต้องขึ้นอยู่
กับกรรม ดีช่ัวเท่านั้นเป็ นหลักตายตัว อำา นาจที่ใช้อยู่ในเมือง
มนุษย์จึงนำา ไปใช้ ในปรโลกไม่ ได้ ท่ านเล่า ตอนนี้ รู้ สึกพิ สดาร
มาก แต่จำาได้เพียงเล็กน้อยขาด ๆ วิ่น ๆ จึงขออภัยด้วย
เวลาท่ า นออกเที่ ย วโปรดสั ต ว์ ต ามสถานที่ ท่ี พ วกผี ต้ั ง
บ้านเรือนอยู่โดยทางสมาธิภ าวนา พอมองเห็ นท่ านเขาก็ รีบ
โฆษณาบอกกันมาทำาความเคารพเหมือนมนุษย์เรา ท่านเดิน
ผ่ า น ไ ปต าม ที่ ต่ าง ๆ ใ น ที่ ชุ ม นุ ม ผี แ ล ะผ่ าน ไ ป ที่ คุ ม ขั ง ผี
อันธพาลหญิงชาย โดยมี หัวหน้าผีเป็ นผู้พานำาทางด้วยความ
เคารพเลื่อมใสท่านมาก และอธิบายสภาพความเป็ นอยู่ของผี
ชนิ ดต่าง ๆ ให้ท่านฟั ง และอธิบายเรื่องผีท่ีถูกคุมขังว่า เป็ นผู้มี
ใจโหดร้ า ยคอยรบกวนผู้ อ่ ื นไม่ ใ ห้ มี ค วามสงบสุ ข เท่ า ที่ ค วร
ต้องขังไว้ตามแต่โทษหนักเบาของเขา คำาว่าภูตผีน้ันเป็ นคำา ที่
มนุษย์เราให้ช่ ือเขาต่างหาก ความจริงเขาก็เป็ นสัตว์ชนิ ดหนึ่ ง

ประวัติท่านพระอาจารย์มัน
่ ภูริทัตตเถระ 94
95

เช่ นเดียวกั บสัต ว์ ชนิ ด ต่ า ง ๆ ที่ มี อ ยู่ ในโลกทั่ ว ไปตามภู มิ ข อง


ตน
ท่านว่าที่ใดมีป่ามีเขามาก ท่านพระอาจารย์ม่ันชอบพัก
อยู่ท่ีน้ันนาน ไป ๆ มา ๆ อยู่ตามแถบเขานั้น ๆ เมื่อท่านพักอยู่
นครพนมและอบรมหมู่คณะนานพอสมควรแล้ว ทำา ให้คิด ถึง
ตัวเองมากขึ้น โดยคำา นึ งถึงความรู้สึกที่โผล่ขึ้นเสมอว่ากำา ลัง
เรายั ง ไม่ พ อดั ง นี้ ถ้ า จะฝื นอยู่ กั บ หมู่ ค ณะไปทำา นองนี้ ความ
เพี ย รก็ ล่ า ช้ า ท่ า นว่ า เท่ า ที่ สั ง เกตดู นั บ แต่ ก ลั บ มาจากภาค
กลางมาอบรมสั่ ง สอนหมู่ ค ณะอยู่ ท างภาคอี ส าน รู้ สึ ก ว่ า ภู มิ
จิ ต ใจไม่ ค่ อ ยก้ า วไปรวดเร็ ว เหมื อ นอยู่ อ งค์ เ ดี ย ว จะต้ อ งเร่ ง
ความเพียรอีกสักพักจนบรรลุถึงความพึ งใจแล้ว นั่ นแหละถึง
จะหมดความกังวลห่วงใยตัวเอง
ประกอบระยะนั้นท่านรับโยมมารดามาบวชเป็ นอุบาสิกา
อบรมอยู่ ด้ ว ยประมาณ ๖ ปี จะไปมาทางใดไม่ ค่ อ ยสะดวก
ทำา ให้ เ ป็ นอารมณ์ห่ ว งใยอยู่ เ สมอ เลยทำา ให้ ท่ า นตั ด สิ น ใจจะ
เอาโยมมารดาไปส่งที่จังหวัดอุบลราชธานี มารดาท่านก็เห็นดี
ด้วยไม่ขัดอัธยาศัย จากนั้ นท่านก็เริ่มพามารดาออกเดินทาง
จากนครพนม โดยเดิน ตั ดตรงไปภู เ ขาแถบหนองสู ง คำา ชะอี
ออกไปอำาเภอเลิงนกทา จังหวัดอุบลฯ ขณะที่ท่านออกเดินทาง
ทราบว่า มีพระเณรติดตามไปด้วยมากมาย ปี นั้นไปจำาพรรษา
บ้ า นหนองขอน อำา เภออำา นาจเจริ ญ อุ บ ลฯ มี พ ระเณรจำา
พรรษากับท่านมาก ขณะที่จำา พรรษาอยู่น้ี ก็ให้การอบรมพระ
เณรอุบาสกอุบาสิกาอย่างเต็มกำาลัง มีผู้คนพระเณรเกิดความ
เชื่อเลื่อมใสและมาอยู่อบรมกับท่านมากขึ้นเป็ นลำาดับ
คื น วั น หนึ่ ง เวลาดึ ก สงั ด ท่ า นกำา ลั ง เข้ า ที่ ภ าวนา พอจิ ต
สงบรวมลงไป ปรากฏเห็นพระเณรจำา นวนมากที่ค่อย ๆ เดิน
ตามหลั ง ท่ านมาด้ ว ยความเคารพและมี ร ะเบี ย บสวยงามน่ า
เลื่ อมใสก็ มี ที่ เ ดิ น แซงหน้ า ท่ า นไปข้ า งหน้ า ด้ ว ยอาการลุ ก ลี้
ลุกลน ไม่มีความเคารพและสำารวมอินทรีย์เลยก็มี ที่กำาลังถือ
โอกาสเดิ น แซงหน้า ท่ า นไปด้ ว ยท่ า ทางที่ ไ ม่ มี ร ะเบี ย บธรรม
วิ นัย ติ ด ตั ว เลยก็ มี พวกที่ กำา ลั ง เอาไม้ มี ลั ก ษณะเหมื อ นไม้ ผ่า
ครึ่งเหมือนหีบปิ้ งปลามาคีบหัวอกท่านอย่างแน่ นแทบหายใจ
ไม่ ไ ด้ ก็ มี เมื่ อเห็ น ความแตกต่ า งแห่ ง พระทั้ ง หลายที่ แ สดง
อาการไม่ มี ค วามเคารพ และทำา ความโหดร้ า ยทรมานท่ า น
ด้ ว ยวิ ธี ก ารต่ า ง ๆ กั น เช่ น นี้ ท่ า นก็ กำา หนดจิ ต ดู เ หตุ ก ารณ์ท่ี
เกิดเฉพาะหน้าให้ละเอียด ก็ทราบขึ้นมาทันทีว่า

ประวัติท่านพระอาจารย์มัน
่ ภูริทัตตเถระ 95
96

จำาพวกที่ค่อย ๆ เดินตามหลังท่านด้วยความเคารพและ
มี ร ะเ บี ย บส วย งามเ ป็ น ที่ น่ าเ ลื่ อมใ ส นั้ น คื อ จำา พว ก ที่ จ ะ
ประพฤติ ปฏิ บัติ ชอบตามโอวาทคำา สั่ งสอนของท่ า น จะเป็ นผู้
เคารพเทิ ด ทู น ท่ า นและพระศาสนาให้ เ จริ ญ รุ่ ง เรื อ งต่ อ ไปใน
อนาคต จะสามารถทำา ตนให้ เ ป็ นประโยชน์ แ ก่ พ ระศาสนา
ตลอดหมู่ ช นทั่ ว ไปได้ และสามารถจะยั ง ขนบธรรมเนี ยม
ประเพณี อั น ดี ง ามทางศาสนาให้ ค งที่ ดี ง ามต่ อ ไป เป็ นที่ น่ า
เคารพเลื่อมใสทั้งมนุษย์และเทวดาอีกพรหมยมยัก ษ์ท่ั วหน้า
กัน ซึ่งนับว่าเป็ นผู้ทรงตนและพระศาสนาไว้ได้ตามแบบอริย
ประเพณีไม่เสื่อมสูญ
จำาพวกที่เดินแซงหน้าท่านไปด้วยท่าทางไม่ระวังสำารวม
นั้ น คื อ จำา พวกอวดรู้ อ วดฉลาด เข้ า ใจว่ า ตนเรี ย นมากรู้ ม าก
ปฏิบัติดีย่ิงกว่าครูอาจารย์ผู้พาปฏิบัติดำา เนิ นด้วยสามีจิกรรม
มาก่อน ไม่สนใจเคารพเอื้อเฟื้ อต่อการศึกษาไต่ถามข้ออรรถ
ข้ อ ธรรมใด ๆ เพราะความสำา คั ญตนว่ า ฉลาดรอบรู้ ทุ ก อย่ า ง
แล้วปฏิบัติตนไปด้วยความสำา คัญนั้น ๆ อันเป็ นทางล่มจมแก่
ตนและพระศาสนา ตลอดประชาชนผู้มาเกี่ยวข้องศึกษา ต่าง
จะนำา ยาพิ ษ เพราะความเห็ น ผิ ด จากอาจารย์ อ งค์ น้ั น ไปใช้
แล้ ว กลายเป็ นผู้ ทำา ลายตนและหมู่ ช นตลอดกุ ล บุ ต รสุ ด ท้ า ย
ภายหลังให้เสียหายไปตาม โดยไม่รู้สึกระลึกได้ว่าเป็ นทางถูก
ต้องดีงามหรือไม่ประการใด
จำา พวกที่ กำา ลั ง คอยหาโอกาสเดิ น แซงหน้ า ท่ า นไปใน
ลำาดับต่อมานั้น คือจำาพวกที่กำาลังเริ่มก่อตั้งความเสื่อมเสียแก่
ตนและวงพระศาสนาต่ อ ไป ด้ ว ยความสำา คั ญ ผิ ด ชนิ ด ต่ า ง ๆ
ทำา นองจำา พวกก่อนซึ่งเป็ นจำา พวกที่จะช่วยกันทำา ลายตนและ
พระศาสนา อันเป็ นส่วนรวมดวงใจของประชาชนชาวพุทธให้
ฉิ บ หายล่ ม จมลงไปโดยมิ ไ ด้ ส นใจว่ า ผิ ด หรื อ ถู ก ประการใด
จำา พวกที่เอาไม้มาคีบหัวอกท่านนั้ น คือจำา พวกที่เข้าใจว่าตน
ฉลาดรอบรู้ แ ละปฏิ บั ติ ไ ปด้ ว ยความสำา คั ญ นั้ น ๆ โดยมิ ไ ด้
คำา นึ งว่าผิดหรือถูก ทั้งที่ความจริงการปฏิบัติน้ั นเป็ นทางผิ ด
และยังมีส่วนกระทบกระเทือนวงพระศาสนาและครูอาจารย์ท่ี
พาดำา เนิ นมาก่ อ น ให้ มี ส่ ว นบอบชำ้ าเสี ย หายไปด้ ว ย ส่ ว น
จำา พวกหลั ง นี้ ท่ า นเล่ า ว่ า ท่ า นรู้ ตั ว และนามของพระนั้ น ๆ
ด้ ว ย ที่ ม าทำา ให้ ท่ า นลำา บากในเวลาต่ อ มา คื อ พระที่ เ ป็ นลู ก
ศิษย์ท่านอยู่ก่อน เป็ นแต่ออกไปจำาพรรษาอยู่ไม่ห่างกันนัก ซึ่ง
ท่านเองเป็ นผู้เห็นชอบและอนุญาตให้ออกไป

ประวัติท่านพระอาจารย์มัน
่ ภูริทัตตเถระ 96
97

เมื่ อกำา หนดดู เ หตุ ก ารณ์ท ราบละเอี ย ดแล้ ว ท่ า นก็ ม า


รำา พึ ง ถึ ง พระจำา พวกที่ ม าทำา ความทรมานให้ ท่ า นลำา บาก ว่ า
เป็ นพระที่มีความเคารพเลื่อมใสและนับถือท่านมาก ไม่น่าจะ
ทำาอย่างนั้นได้ หลังจากนั้นท่านก็คอยสังเกตความเคลื่อนไหว
ของบรรดาลู ก ศิ ษ ย์ เ หล่ า นั้ น ตลอดมา โดยมิ ไ ด้ แ สดงเรื่ องที่
ปรากฏในคื น วั น นั้ น ให้ ใ ครทราบเลย ต่ อ มาไม่ ก่ี วั น ก็ มี ผู้ ว่ า
ราชการจังหวัดกับข้าราชการหลายท่า น และพระอาจารย์ท่ี
เป็ นลูกศิษย์ท่าน และเป็ นองค์ท่ีเป็ นหัวหน้าพากันเอาไม้มาคีบ
หัวอกท่านมาเยี่ยมท่านที่สำานัก
ทั้ งส อง ฝ่ าย ม าแ ส ด ง ค ว าม ปร ะส ง ค์ ขอใ ห้ ท่ าน ช่ ว ย
อนุเคราะห์ ประกาศเรี่ยไรเงินจากชาวบ้า นในตำา บล อำา เภอ
นั้ น เพื่ อสร้ า งโรงเรี ย นขึ้ น ๒-๓ แห่ ง อั น เป็ นการช่ ว ยทาง
ราชการอี ก ทางหนึ่ ง ด้ ว ย โดยความเห็ น ของทั้ ง สองฝ่ ายที่
ตกลงกั น มาก่ อ นแล้ ว ว่ า ท่ า นพระอาจารย์ ม่ั น เป็ นที่ เ คารพ
เลื่ อมใสของประชาชนมาก ท่ า นพู ด อะไรขึ้ น มาต้ อ งสำา เร็ จ
แน่ น อน จึ ง ได้ พ ากั น มาหาท่ า นให้ อ นุ เ คราะห์ ช่ ว ยเหลื อ พอ
ทราบความประสงค์ของผู้มาติดต่อแล้ว ท่านก็ทราบทันทีว่า
พระทั้ ง สองรู ป นี้ เป็ นตั ว การสำา คั ญ ที่ ทำา ให้ ท่ า นลำา บาก ซึ่ ง
เทียบกับเอาไม้มาคีบหัวอกท่าน โอกาสต่อไปท่านได้เรียกพระ
ทั้งสองรูปนั้นมาอบรมสั่งสอน เพื่อให้รู้ส่ิงที่ควรหรือไม่ควรแก่
เพศสมณะปฏิบัติผู้ต้ังอยู่ในความสงบและสำารวมระวัง
ที่ เ รี ย น ทั้ ง นี้ ก็ เ พื่ อ ท่ า น ผู้ อ่ า น ไ ด้ ท ร า บ ว่ า จิ ต เ ป็ น
ธรรมชาติลึกลับและสามารถรู้ได้ท้ังสิ่งเปิ ดเผยและลึกลับ ทั้ง
อดี ต อนาคตและปั จจุ บั น ดั ง เรื่ องท่ า นพระอาจารย์ ม่ั น เป็ น
ตัวอย่างมาหลายเรื่อง ท่ านเป็ นพระที่ ป ฏิ บัติ เ พื่ อความเที่ ย ง
ตรงต่ออรรถธรรม มิได้มีความคิดที่เป็ นโลกามิสแอบแฝงอยู่
ด้ว ยเลย คำา พู ดที่ ออกจากความรู้ความเห็ น ท่ า นแต่ ล ะคำา จึ ง
เป็ นคำาที่ควรสะดุดใจว่ามิใช่เป็ นคำาโกหกหลอกลวงท่านผู้หนึ่ ง
ผู้ใดทั้งที่อยู่ใกล้ชิดและทั่ว ๆ ไปให้ง มงายเสี ยหายไปด้ว ยแต่
อย่ า งใด เพราะคำา พู ด ท่ า นที่ นำา มาลงนี้ เป็ นคำา พู ด ที่ พู ด ในวง
จำา เพาะพระที่อยู่ใกล้ชิด มิได้พูดทั่วไปโดยไม่มีขอบเขต แต่ผู้
เขียนอาจเป็ นนิ สัยไม่ดีอยู่บ้างที่ตัดสินใจนำา เอาเรื่องท่านออก
มา ความคิดก็เพื่อท่านที่สนใจได้อ่านและพิจารณาดูบ้าง ซึ่ง
อาจเกิดประโยชน์เท่าที่ควร
เรื่ องของท่ า นพระอาจารย์ ม่ั น เป็ นเรื่ องอั ศ จรรย์ และ
พิส ดารอยู่ม ากในพระปฏิ บัติ สมัย ปั จจุบัน ทั้ งภาคปฏิ บัติ แ ละ

ประวัติท่านพระอาจารย์มัน
่ ภูริทัตตเถระ 97
98

ความรู้ ท่ี ท่ า นแสดงออกแต่ ล ะประโยค การสั่ งสอนบาง


ประโยคก็ บ อกตรง ๆ บางประโยคก็ บ อกเป็ นอุ บ ายไม่ บ อก
ตรง ทั้งสิ่งที่ควรและไม่ควร การทำา นายทายทักทางจิตใจนับ
แต่ เ รื่ องขรั ว ตาที่ ชายเขาถำ้ าสาริ ก าเป็ นต้ น เหตุ ม าแล้ ว ท่ า น
ระวังมากทั้งที่อยากเมตตาสงเคราะห์ บอกตามความคิดของผู้
มาอบรมนั้น ๆ แสดงออกในทางผิดถูกต่าง ๆ อย่างบริสุทธิใ์ จ
ในฐานะเป็ นอาจารย์สอนคน แต่เวลาบอกไปตามตรงว่า ท่าน
ผู้น้ันคิดอย่างนั้นผิด ท่านผู้น้ี คิดอย่างนี้ ถูกต้อง แทนที่จะได้รับ
ประโยชน์ตามเจตนาอนุเคราะห์ แต่ผู้รับฟั งกลับคิดไปอีกทาง
หนึ่ งซึ่ งเป็ นความเสีย หายแก่ต นแทบทั้ งนั้ น ไม่ ค่ อ ยมาสนใจ
ตามเหตุผลและเจตนาสงเคราะห์เลย
บางรายพอเห็ นคิ ดไม่ดี แ ละเริ่ ม จะเป็ นชนวนแห่ ง ความ
เสี ย หาย ส่ ว นใหญ่ ท่ า นก็ ตั ก เตื อ นบ้ า งโดยอุ บ ายไม่ บ อกตรง
เกรงว่าผู้ถูกเตือนจะกลัวและอายหมู่เพื่อน เพียงเตือนให้รู้สึก
ตัวมิได้ระบุนาม แม้เช่นนั้นยังเกิดความรุ่มร้อนแทบจะเป็ นบ้า
เป็ นหลังไปต่อหน้าต่อตาท่านและหมู่คณะก็ยังมี เรื่องทั้งนี้ จึง
เท่ากับเตือนให้รู้เท่าทันถึงอุบายวิธีส่ังสอนไปในตัวทุกระยะที่
เหตุ ก ารณ์เ กี่ ย วข้ อ งบั ง คั บ อยู่ ต้ อ งขออภั ย หากเป็ นความไม่
สบายใจในบางตอนที่เขียนตามความจริงที่บันทึกและจดจำามา
จากท่านเอง และจากครูอาจารย์ท่ีอยู่กับท่านมาเป็ นคราว ๆ
หลายท่านด้วยกัน จึงมีหลายเรื่องและหลายรสด้วยกัน
โดยมากสิ่ง ที่เ ป็ นภัย ต่อ นั กบวช นั ก ปฏิ บัติ และนั ก บวช
นั ก ปฏิ บั ติ ช อบคิ ด โดยไม่ มี เ จตนา แต่ เ ป็ นนิ สั ย ที่ ฝั งประจำา
สั น ดานมาดั้ ง เดิ ม ก็ คื อ อายตนะภายนอก ได้ แ ก่ รู ป เสี ย ง
กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์ของเพศที่เป็ นวิสภาคกัน นั่นแล
คือกัณ ฑ์เ ทศน์กัณฑ์ เอกที่ ท่า นจำา ต้ องเทศน์และเตื อนทั้ง ทาง
ตรงทางอ้ อ มอยู่ เ สมอ มิ ไ ด้ ร ามื อ พอให้ ส บายใจได้ บ้ า ง การ
นึ กคิดอย่างอื่น ๆ ก็มี แต่ถ้าไม่สำาคัญนักท่านก็ทำาเป็ นไม่สนใจ
ที่สำาคัญอย่างยิ่งก็เวลาประชุมฟั งธรรม ซึ่งท่านต้องการความ
สงบทั้งทางกายและทางใจ ไม่ต้องการอะไรมารบกวนทั้งผู้ฟัง
และผู้ให้โอวาท จุดประสงค์ก็เพื่อได้รับประโยชน์จากการฟั ง
จริง ๆ ใครเกิดไปคะนองคิดเรื่องแสลงเพศแสลงธรรมขึ้นมา
ในขณะนั้ น ฟ้ ามั ก จะผ่ า เปรี้ ย ง ๆ ลงในท่ า มกลางความคิ ด ที่
กำาลังคิดเพลินและท่ามกลางที่ประชุม ทำาเอาผู้กำาลังกล้าหาญ
คิ ด แบบไม่ รู้ จั ก ตายตั ว สั่ น แทบสลบไปในขณะนั้ น ทั้ ง ที่ ไ ม่ ไ ด้
ระบุ ตั ว บุ ค คล แต่ ร ะบุ เ รื่ องที่ คิ ด ซึ่ ง เป็ นเรื่ องกระตุ ก ใจของผู้
กำา ลั ง คิ ด เรื่ องนั้ น อย่ า งสำา คั ญ แม้ ผู้ อ่ ื นในที่ ป ระชุ ม ก็ พ ลอย

ประวัติท่านพระอาจารย์มัน
่ ภูริทัตตเถระ 98
99

ตกใจ และบางรายตัวสั่นไปด้วยเผื่อคิดเช่นนั้นขึ้นมาบ้างขณะ
เผลอ
ถ้าถู กฟ้ าผ่ าอยู่เ รื่อย ๆ ขณะฟั งเทศน์ ปรากฏว่ าจิ ตใจผู้
ฟั งหมอบและมี สติ ระวัง ตั ว อย่ า งเข้ ม งวดกวดขั น บางรายจิ ต
รวมสงบลงอย่างเต็ม ที่ก็ มีใ นขณะนั้ น ผู้ ไ ม่ ร วมในขนาดนั้ น ก็
อยู่ในเกณฑ์สงบและระวังตัว เพราะกลัวฟ้ าจะลงเปรี้ยง หรือ
เหยี่ยวจะลงโฉบเอาศีรษะขณะใดก็ไม่รู้ ถ้าเผลอคิดไม่เข้าเรื่อง
ในขณะนั้ น ฉะนั้ น ผู้ ท่ี อ ยู่ กั บ ท่ า นจึ ง มี ห ลั ก ใจเป็ นที่ ม่ั น คงไป
โดยลำา ดับ อยู่กับท่านไปนานเท่าไรก็ย่ิงทำา ให้นิสัยทั้งภายใน
ภายนอกกลมกลืนกับนิ สัยท่านไปไม่มีสิ้นสุด ผู้ใดอดทนอยู่กับ
ท่านได้นาน ๆ ด้วยความใฝ่ ใจ ยอมเป็ นผ้าขี้ริ้วให้ท่านดุด่าสั่ง
สอน คอยยึดเอาเหตุเอาผลจากอุบาย ต่าง ๆ ที่ท่านแสดงใน
เวลาปกติ ห รื อ เวลาแสดงธรรม ไม่ ล ดละความสั ง เกต และ
พยายามปฏิบัติตนให้เป็ นไปตามท่านทุกวันเวลา นิ สัยความ
ใคร่ธรรมและหนักแน่ นในข้อปฏิบัติทุกด้านนี่ แล จะทำาให้เป็ น
ผู้ม่ันคงทางภายในขึ้นวันละเล็กละน้อย จนสามารถทรงตัวได้
ที่ไม่ค่ อยได้ หลั กเกณฑ์จ ากการอยู่ กับ ท่า น โดยมากมัก
จะเพ่งเล็งภายนอกยิ่งกว่าภายใน เช่น กลัวท่านดุด่าบ้างเวลา
คิด ไปต่ าง ๆ ตามเรื่ องความโง่ ข องตน พอถู ก ท่ า นว่ า ให้ บ้ า ง
เลยกลัวโดยมิได้คิดจะแก้ตัวสมกับไปศึกษาอบรมกับท่านเพื่อ
หาความดีใส่ตัว ไม่มีเหตุมีผลอะไรเลย ไปอยู่กับท่านก็ไปแบบ
เรา อยู่แบบเรา ฟั งแบบเรา คิดไปร้อยแปดแบบเราที่เป็ นทาง
ดั้งเดิม อะไร ๆ ก็เป็ นแบบเราซึ่งมีกิเลสหนาอยู่แล้ว ไม่มีแบบ
ท่านเข้ามาแทรกบ้างเลย เวลาจากท่านไปก็จำาต้องไปแบบเรา
ที่เคยเป็ นมาอย่างไรก็เป็ นไปอย่างนั้น ชื่อว่าความดีไม่มีอะไร
เปลี่ ย นแปลงพอให้ เ ป็ นที่ น่ า ชมเชย แต่ ค วามชั่ ว ที่ ทั บ ถมจน
มองไม่เห็นตัวนั้นยิ่งสั่งสมขึ้นทุกวันเวลา ไม่มีความเบื่อหน่ าย
อิ่มพอ ผลจึงเป็ นคนอาภัพอยู่เสมอ ไม่มีส่ิงใดมาฉุดลากพอให้
กลับฟื้ นตัวได้บ้างเลย ถ้าไปอยู่กับท่านแบบที่ว่านี้ จะอยู่นาน
เท่าไรก็ไม่ผิดอะไรกับทัพพีอยู่กับแกงที่มีรสอร่อย แต่ทัพพีจะ
ไม่รู้เรื่องอะไรกับแกง นอกจากให้เขาจับโยนลงหม้อนั้นหม้อนี้
ไม่ ได้ หยุ ดหย่อนเท่ านั้ น กิเลสตัณ หาเครื่ องพอกพู นความชั่ ว
ไม่มีประมาณ จับเราโยนลงกองทุกข์หม้อนั้ นหม้อนี้ ก็ทำา นอง
เดียวกัน
ผู้ เ ขี ย นก็ นั บ เข้ า ในจำา นวนถู ก จั บ โยนลงหม้ อ นั้ น หม้ อ นี้
ด้วย โดยไม่ต้องสงสัย เพราะชอบขยันหมั่นเพียร แต่ส่ิงหนึ่ ง
นั้ น คอยกระซิ บ ให้ ข้ี เ กี ย จ ชอบไปแบบท่ า น อยู่ แ บบท่ า น ฟั ง

ประวัติท่านพระอาจารย์มัน
่ ภูริทัตตเถระ 99
100

แบบท่าน คิดแบบท่าน อย่างเป็ นอรรถเป็ นธรรม แต่ส่ิงหนึ่ งก็


คอยกระซิบให้ไปแบบเรา อยู่แบบเรา ฟั งแบบเรา คิดแบบเรา
อะไร ๆ ก็ ก ระซิ บ ให้ เ ป็ นแบบเราที่ เ คยเป็ นมาดั้ ง เดิ ม และ
กระซิบไม่อยากให้เปลี่ยนแปลงอะไรทั้งนั้ น สุดท้ายก็เชื่อมัน
จนเคลิ้มหลับสนิ ทและยอมทำา ตามแบบดั้งเดิม เราจึงเป็ นคน
ดั้งเดิมไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงในทางดีขึ้นพอให้ตัวเองและผู้อ่ ืน
ได้ ช มเชยบ้ า ง คำา ว่ า “ดั้ ง เดิ ม ” จึงเป็ นเรื่องใหญ่สำาหรับเรา
และใคร ๆ จนมีรากฝั งลึกอยู่ภายใน ยากที่จะถอดถอนออกได้
ถ้าไม่สังเกตสอดรู้ความเป็ นมาและเป็ นไปของตนอย่างเอาใจ
ใส่จริง ๆ
พอตกหน้าแล้ง ท่านพระอาจารย์ม่ันก็เริ่มพาโยมมารดา
ท่านออกเดินทาง พาพักบ้านละคืนสองคืนไปเรื่อยจนถึงบ้าน
และพั ก อยู่ ท่ี บ้ า นท่ า นนานพอควร ให้ ก ารอบรมมารดาและ
ชาวบ้านพอมีความอบอุ่นโดยทั่วกัน แล้วก็ลาโยมมารดาและ
ญาติออกเดินทางธุดงค์ไปเรื่อย ๆ โดยมุ่งหน้าลงไปทางภาค
กลาง ไปแบบธุดงคกรรมฐาน ไม่รีบไม่ด่วน เจอหมู่บ้านหรือ
สถานที่ มี น้ ำ าท่ า สมบู ร ณ์ก็ ก างกลดลงที่ น้ั น แล้ ว พั ก บำา เพ็ ญ
สมณธรรมอยู่ อย่ างเย็ น ใจ พอมี กำา ลั ง กายกำา ลั ง ใจแล้ ว ก็เ ดิ น
ทางต่อไป สมัยโน้นเดินด้วยเท้ากันทั้งนั้น รถราไม่มีเหมือน
สมัยนี้ ท่านว่าท่านมิได้เร่งรีบกับเวลำ่าเวลา จุดใหญ่อยู่ท่ีการ
ภาวนาเท่านั้น เดินทางทั้งวันก็เท่ากับเดินจงกรมภาวนาไปทั้ง
วัน
ขณะท่านจากหมู่คณะเดินทางลงมากรุงเทพฯ เพียงองค์
เดียวนั้น เหมือนช้างสารตัวใหญ่ออกจากโขลงเที่ยวหากินใน
ป่ าลำา พังตัวเดียว เป็ นความเบากายเบาใจ เหมือนถอดเสี้ยน
ถอดหนามออกจากหัวอกที่เคยหนั กหน่ ว งถ่ว งกายถ่ วงใจมา
นาน กายก็เบา ใจก็เบา ขณะเดินทางด้วยวิธีจงกรมภาวนาไป
แถบทุ่งกว้างที่มีสับกันเป็ นตอน ๆ แต่ภายในใจไม่มีความรู้สึก
ว่ า ร้ อ นเพราะแดดแผดเผาเลย บรรยากาศคล้ า ยกั บ เป็ น
เครื่ องส่ ง เสริ ม การเดิ น ทางให้ มี ค วามสะดวกสบายไปเป็ น
ลำาดับ บนบ่าที่เต็มไปด้วยบริขารของพระธุดงค์ มีบาตร กลด
เป็ นต้ น ซึ่ ง รวมหลายชิ้ น ด้ ว ยกั น ตามปกติ ก็ พ อทำา ความ
ลำา บากให้ พ อดู แต่ ใ นความรู้ สึ ก กลั บ ไม่ ห นั ก หนาอะไรเลย
กายกับใจที่ถอดถอนความกังวลจากหมู่คณะออกหมดแล้ว จึง
เป็ นเหมื อ นจะเหาะลอยขึ้ น บนอากาศในขณะนั้ น เพราะ
หมดอาลัยหายห่วงโดยประการทั้งปวง โยมมารดาก็ได้อบรม
สั่งสอนอย่างเต็มภูมิ จนมีหลักฐานทางจิตใจอย่างมั่นคงหมด

ประวัติท่านพระอาจารย์มัน
่ ภูริทัตตเถระ 100
101

ห่ ว งแล้ ว มี ค วามรั บ ผิ ด ชอบเฉพาะตั ว คนเดี ย วนั บ แต่ บั ด นี้


เป็ นต้นไป
นี่ เป็ นคำารำาพึงบริกรรมภาวนาไปตามทาง ซึ่งท่านใช้เป็ น
บทธรรมเตือนสติตัวเองมิให้ประมาท เดินทางโดยวิธีจงกรม
ภาวนาไปตามสายทางที่ปราศจากผู้คนสัญจรไปมา ขณะเดิน
ทางตอนกลางวันแดดกำาลังร้อนจัด มองดูมีต้นไม้ใบหนาตาม
ชายป่ าก็เห็นว่าเหมาะก็แวะเข้าไปอาศัยพักพอหายเหนื่ อย นั่ง
ภาวนาสงบอารมณ์ใต้ร่มไม้ให้ใจเย็นสบาย ตกบ่าย ๆ อากาศ
ร้อนค่อยลดลงบ้างก็เริ่มออกเดินทางต่อไปด้วยท่าทางของผู้
เห็นภัยในวัฏสงสาร มีสติสัมปชัญญะประคองใจ ไปถึงหมู่บ้าน
ไม่ก่ีหลังคาเรือนพอได้อาศัยเขาโคจรบิณฑบาตก็พอแล้ว ไม่
ต้องการความเหลื อเฟื ออะไรมากไปกว่า นั้ น ตามองหาที่ พั ก
อยู่ห่างไกลจากหมู่บ้านพอประมาณ และแวะพักไปเป็ นทอด ๆ
แล้วแต่ทำาเลเหมาะสมจะพักภาวนาสะดวกเพียงไร บางแห่งก็
เป็ นความสะดวกแก่ ก ารบำา เพ็ ญ ก็ พั ก อยู่ เ ป็ นเวลานาน แล้ ว
เดินทางต่อไป
ท่ า นเล่ า ว่ า ตอนเดิ น ทางไปถึ ง ดงพญาเย็ น ระหว่ า ง
สระบุรีกับนครราชสีมาต่อกัน มีป่าเขาลำา เนาไพรมาก ทำา ให้
เกิ ด ความชื่ นบานหรรษา คิ ด อยากพั ก อยู่ ท่ี น้ั น นาน ๆ เพื่ อ
บำาเพ็ญเพียรเสริมกำาลังใจที่กระหายต่อการอยู่คนเดียวในป่ า
ในเขามานาน เมื่ อมาเจอทำา เลเหมาะ ๆ เข้ า ก็ อ ยากพั ก
ภาวนาอยู่ ท่ี น้ั น เป็ นเวลานาน แล้ ว ค่ อ ยผ่ า นไปเรื่ อย พั ก ไป
เรื่อย ท่านว่าท่านก็เพลิดเพลินไปกับสัตว์ชนิ ดต่าง ๆ เหมือน
กัน เพราะป่ าเขาแถบนั้นมีสัตว์นานาชนิ ดชุมชุมมาก มีอีเก้ง
หมู กวาง ลิง ค่าง

ประวัติท่านพระอาจารย์มัน
่ ภูริทัตตเถระ 101

You might also like