You are on page 1of 9

Paper Never Die:

วันๆ หนึ่ง มนุษย์ใช้กระดาษกันเยอะมาก และเกือบจะตลอดเวลาตั้งแต่


ลืมตาตื่นไปจนถึงล้มตัวลงนอน แต่เรามักมองข้ามไปหรือลืมนึกไปว่าแท้ที่จริง
แล้ว ข้าวของเครือ่ งใช้ต่างๆ เหล่านั้น คือกระดาษแปรรูป เช่น หนังสือพิมพ์
นิตยสาร ปฏิทิน จดหมาย ฉลากยา บัตรประชาชน ทิชชู่ นามบัตร รูปถ่าย ตั๋ว
หนัง ธนบัตร บทภาพยนตร์ และอื่นๆ อีกมากมาย แล้วสงสัยกันบ้างหรือเปล่าว่า
กระดาษแต่ละแผ่นแต่ละชิ้นที่เราขีดๆ เขียนๆ อ่าน หรือเพียงแค่พกพานั้น มีขั้น
ตอนการผลิตอย่างไร มีขั้นตอนที่ยุ่งยากสลับซับซ้อนเพียงไหน ในวินาทีที่เรา
ขยำากระดาษสักแผ่น หรือทิ้งกระดาษทิชชู่สักชิ้นลงในถังขยะ กระดาษชิ้นนั้น
เดินทางไปไหน ไปเล่นแร่แปรธาตุ เป็นอะไรบ้าง หรือถูกเผาทิ้งทำาลายกลายเป็น
เพียงมลภาวะไร้ค่าในโลกใบนี้

Paper Never Die:


จุดเริม ่ ต้นของชีวิตที่ไม่มีวันตายของกระดาษ เริ่มจากอาณาจักรกระดาษ
ที่เป็นที่รู้จักกันดีของคนไทย ในฐานะผู้ผลิตกระดาษรายใหญ่อันดับต้นๆ ของ
ประเทศ ข้อมูลจากบริษัท แอดวานซ์ อะโกร จำากัด มหาชน หรือผู้ผลิตกระดาษ
ยี่ห้อ AA ได้ความว่า คนไทยใช้กระดาษกันมากขึ้นเรื่อยๆ ปีที่แล้ว หรือเมื่อปี 2548
ยอดการใช้กระดาษของคนไทยเติบโตเพิ่มขึ้นประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ หรือเฉลี่ย
คนไทยคนหนึ่งใช้กระดาษมากกว่า 30 กิโลกรัมต่อคนต่อปี ไม่ต้องตกใจ ไม่ได้
มากมายอะไรนัก เมื่อเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างสหรัฐอเมริกา ซึ่งชาว
อเมริกันใช้กระดาษเฉลี่ย 300 กิโลกรัม ต่อคนต่อปี เพราะฉะนั้นถือว่า การใช้
กระดาษของคนไทยยังห่างชั้นมากกับชาวประเทศทีได้ชื่อว่าพัฒนาแล้ว และต้อง
ยอมรับว่า กระดาษ คือปัจจัยพื้นฐานของการเรียนรู้ การอ่านหนังสือ และเป็น
ดัชนีบ่งชี้พฤติกรรมการอ่านของมนุษย์

กระดาษพิมพ์เขียน กระดาษอาร์ตมัน และกระดาษอาร์ตด้าน กระดาษ


ปอนด์
กระดาษที่คนใช้มากที่สุด คือ บรรจุภัณฑ์ หรือกล่องต่างๆ
กระดาษพิมพ์เขียน ซึ่งใช้พิมพ์หนังสือต่างๆ เช่น นิตยสาร กระดาษถ่าย
เอกสาร

จากสำานักงานใหญ่ AA ริมถนนบางนา-ตราด การเดินทางตามติดชีวิต


กระดาษ ย้อนกลับไปทีต ่ ้นทาง คือ โรงงานผลิตกระดาษ AA ที่อำาเภอกบินทร์บุรี
จังหวัดปราจีนบุรี เมือ่ ไปถึงก็ต้องตะลึงตะลานกับบรรดารถสิบล้อ รถพ่วง และ
รถบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์ บรรทุกไม้ที่จอดเรียงรายบนเนื้อที่นับร้อยไร่ และรถ
เป็นร้อยๆ คันที่จอดอยู่หน้าโรงงาน
ทุกวันมีไม้เรียงคิวเข้าโรงงานประมาณ 7 พันตัน เพือ ่ รองรับการผลิตเยือ

กระดาษที่ต้องใช้ไม้ 5 ตัน เพื่อให้ได้เยื่อ 1 ตัน หรือ 1 ใน 5 ของเนื้อไม้ เพราะ
ฉะนั้น โรงงานผลิตเยือ ่ กระดาษที่กำาหนดกำาลังการผลิต 5 แสนตันต่อปีก็ตอ้ งใช้
ไม้ถึง 2 ล้าน 5 แสนตัน
ไม้ที่เดินทางเข้ามาเป็นไม้ยูคาลิปตัสล้วนๆ เพราะคุณสมบัติไม้ยูคาลิปตัส
เป็นไม้เส้นใยสั้น ประมาณ 1 มม. ซึ่งจะทำาให้ได้เยื่อกระดาษคุณสมบัติดี เรียงตำา
สมำ่าเสมอ ทำาให้ได้กระดาษที่มีความเรียบ มีความฟูของเนื้อกระดาษ ไม้ยูคา
ลิปตัสที่เข้ามา มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของไม้ประมาณ 3 นิ้ว อายุเฉลี่ย 3-4 ปี ถ้า
คิดเป็นปริมาณ นำ้าหนักไม้ 100 กิโลกรัม ผลิตกระดาษ A4 ได้ 30 กิโลกรัม หรือ
ประมาณ 12 รีม

....
ไม้ยูคาลิปตัสที่เข้ามาที่โรงงานผลิตเยื่อกระดาษ และกระดาษ AA มาจาก
1. แปลงปลูกต้นยูคาลิปตัสของโรงงานเอง
2. จากเกษตรกรที่บริษัทส่งเสริมการปลูกยูคาลิปตัส
3. เกษตรกรทั่วไป ซื้อขายผ่านศูนย์การซื้อไม้

พี่สำาเร็จ เรียบร้อย พ่อค้าไม้และผู้รับเหมาตัดไม้ นำาทางเราไปที่สวนยูคา


ลิปตัส ที่โป่งสะเดา ตำาบลเขาไม้แก้วอำาเภอกบินทร์บร ุ ี จังหวัดปราจีนบุรี ในพื้นที่
ประมาณ 400 ไร่ กระบวนการตัดไม้เริ่มต้นจากนายหน้าหรือเจ้าของสวนเอง
ต้องการตัดไม้ก็ตามหาว่าจ้างผุ้รับเหมาตัดไม้ ซึ่งต้องคำานวณว่าเนื้อที่ 400 ไร่ ไร่
ละ 270 ต้นนั้นได้ไม้ต้น ตันละกี่กิโลกรัม ตัดแล้วคุ้มหรือไม่จึงจะตกลงซื้อ จาก
นั้นก็วางมัดจำาซื้อไม้ 400 ไร่ที่เห็น มัดจำา 1 ล้านบาท ถึงวันตัดจ่ายเงินทั้งหมด
มากกว่า 6 ล้านบาท อาชีพนี้ทำาให้พี่สำาเร็จไม่ตอ ้ งเป็นเกษตรกรชาวอีสานหลังสู้
ฟ้าหน้าสู้ดินที่ยากจนอีกต่อไป เพราะยูคาลิปตัสมีให้ตัดได้ทั้งปี

“ยูคาลิปตัส” เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูงประมาณ


24-30 เมตร หรืออาจสูงได้ถึง 50 เมตร เป็นพันธุ์ไม้โต
เร็ว รูปร่างสูงเพรียว ลำาต้นตรง กิ่งก้านน้อย ไม่ผลัด
ใบ มีถิ่นกำาเนิดอยู่ในประเทศออสเตรเลีย เติบโตได้ดี
ในทุกสภาพดินที่มีการระบายนำ้าได้ดี และทนต่อความ

ขั้นตอนการตัดไม้ ไม่ใช่เรื่องยากสำาหรับมืออาชีพอย่างพี่สำาเร็จและลูก
น้องเลือดอีสานอีกประมาณ 30 ชีวิตทีร ่ ่อนเร่พเนจรไปตามสวนยูคาลิปตัสแลก
กับรายได้มากกว่าหมื่นบาทต่อคนต่อปี
การตัดเริ่มจากการใช้เลื่อยยนตร์ตัด ตัดง่ายเพราะเป็นไม้เนื้ออ่อน เสร็จ
แล้วริดกิ่ง ก่อนทีจ
่ ะตัดเป็นท่อนๆ ตามขนาดความยาว ตามที่โรงงานรับซื้อไม้
ต้องการ จากนั้นก็แบกขึ้นรถสิบล้อไปส่งโรงงาน ไม้ที่ตัดได้ส่วนใหญ่ก็ส่งขาย
โรงงานกระดาษ หรือไปทำาเสาเข็ม ทำานั่งร้าน แม้แต่ไม้นิ้วหนึ่งเอาไปทำาไม้ตก
หมึก ต้นละ 1 บาท ปลายทอ่นเล็กๆ เข้าโรงงานทำาไม้อัด ทำาเฟอร์นิเจอร์ เศษ
เหลือตกหล่นรวมทั้งใบยูคาลิปตัส เข้าโรงงานผลิตไฟฟ้า เป็นเชื้อเพลิง เรียกได้
ว่า ขายได้ทั้งหมดตั้งแต่ต้นไปจนถึงใบ
นอกจากไม้ที่ผู้รับเหมาตัดจากสวนยูคาลิปตัสแล้ว ก็จะมีไม้ยูคาลิปตัสอีก
ส่วนหนึ่งที่มาจากชาวบ้านที่มีอาชีพหลักในการทำานาทำาสวน แต่ปลูกต้นยูคา
ลิปตัสไว้ตามหัวไร่ปลายนา หรือพื้นที่รกร้างว่างเปล่า แต่เมือ
่ ตัดแต่ละครั้งก็ทำา
รายได้ให้เจ้าของที่ดินหลายหมื่นบาทต่อปีเลยทีเดียว จึงไม่ใช่เรื่องแปลงหาก
ออกเดินทางไปต่างจังหวัดจะมองเห็นต้นยูคาลิปตัสเรียงรายสองข้างทางแทนที่
ต้นไม้ใหญ่ที่ให้ร่มเงา

เมื่อยูคาลิปตัส เดินทางเข้าโรงงานผลิตเยื่อกระดาษ ก็จะมีรถคีบขนาด


ใหญ่ เหมือนปูยักษ์ก้ามโต หนีบไม้ซึ่งมองไกลๆ เหมือนไม้จม ิ้ ฟันเข้าเครื่องปอก
เปลือก เปลือกไม้สามารถนำาไปเป็นเชื้อเพลิงผลิตกระแสไฟฟ้า ซึ่งผลิตได้มากถึง
100 เมกกะวัตต์ต่อวัน หรือพูดง่ายๆ ว่าผลิตไฟใช้เองในโรงงาน และเหลือขายให้
ข้างนอกอีกด้วย
ไม้ที่ผ่านการปอกเปลือกแล้ว ถูกส่งเข้าเครือ่ งหั่น เป็นชิ้นเล็กๆ ด้วยใบมีด
ขนาดยักษ์ ไม้ไหลตามสายพานสูงใหญ่ลงมาเป็นภูเขาชิ้นไม้ ชิ้นไม้สับมีขนาดเล็ก
มาก เป็นรูปสี่เหลี่ยม กว้างคูณยาวไม่เกิน 1 นิ้ว จากนั้นต้องเอายางไม้ออกจาก
ชิ้นไม้สับ โดนเดินทางตาม

สายพาน ยาวประมาณ 500 เมตร ไปที่หม้อต้มเยื่อ


และดูเหมือนว่าสายพานจะไม่ได้มีหน้าที่เพียงการทุ่นแรงทุ่นเวลาในการ
ลำาเลียงไม้ จากกองไม้สับ เข้าสู่หม้อต้มเยือ ่ เท่านั้น เพราะจะมีแม่เหล็กขนาดใหญ่
ทำาหน้าที่ดูดเศษโลหะที่อาจติดมากับเนื้อไม้ และมีกล้องโทรทัศน์วงจรปิดติดอยู่
เหนือสายพานด้วย เพือ ้ ให้รู้ว่าไม้ที่เข้ามามีลักษณะอย่างไร และไม้ที่เข้ามามีฝุ่น
อาจติดไฟได้ จึงต้องมีเครือ ่ งมือดับเพลิงด้วย
การทำางานภายในหม้อต้มเยื่อ ที่มร ี ูปร่างหน้าตาเหมือนกระสวยอวกาศ
หรือที่ทำาการขององค์การนาซ่า ควบคุมโดยห้องควบคุมกลางซึ่งเต็มไปด้วย
เทคโนโลยีทันสมัย ใช้เครือ ่ งคอมพิวเตอร์ควบคุมการทำางานผ่านโทรทัศน์
วงจรปิดในทุกขั้นตอนและตลอดเวลาของการผลิต ซึ่งเดินเครื่องกันตลอด 24
ชั่วโมง เริ่มจากการเดินทางเข้ามาของชิ้นไม้สับ ผสมกับนำ้าปริมาณมหาศาลผสม
สารเคมีที่เรียกว่า ไวท์ลิกเคอร์ (White Liquer) ซึ่งคุณสมบัติในการแยกเยื่อไม้กับ
นำ้ามันยางดำาที่เป็นตัวเชื่อมเยื่อไม้ให้อยู่ชิดติดกันออกจากชิ้นไม้สับในอุณหภูมิ
155 องศาเซลเซียส ใช้เวลาประมาณ 4-5 ชั่วโมง นำ้ามันยางดำาที่ถูกแยกออกมา จะ
ถูกนำาไปใช้ประโยชน์เป็นเชื้อเพลิงในโรงงานผลิตกระแสไฟฟ้า เช่นเดียวกับ
เปลือกไม้ เยื่อที่ผ่านการต้มแล้ว และผ่านการล้างนำ้ามันดำาออกแล้วก็จะมีหน้า
ตาเหมือนกระดาษเปียกนำ้า ยุ่ยๆ เละๆ สีนำ้าตาล ก่อนที่จะผ่านการฟอกหรือการ
Whitening หรือการทำาให้กลายเป็นเยื่อสีขาว เหมือนเครือ ่ งสำาอางที่ทำาให้ผิวสาว
ขาวผ่องนั่นแหละ โดยใช้ก๊าซออกซิเจน คลอรีน ไดออกไซด์ และนำ้าประมาณ 6-7
ลูกบาศก์เมตร ต่อเยื่อ 1 ตัน หรือจนกว่าจะได้เยื่อที่มีความขาวสว่างประมาณ 90
เปอร์เซ็นต์
เพราะฉะนั้นการผลิตกระดาษจำาเป็นต้องใช้นำ้ามากมายมหาศาล เยื่อ
กระดาษที่ได้จากหม้อต้มเยือ ่ จะแบ่งเป็นสองส่วน ส่วนหนึ่งเดินทางตามท่อเพื่อ
เข้าโรงงานผลิตกระดาษของ AA เอง อีกส่วนหนึ่งส่งออกเดินทางไปยังโรงงาน
ผลิตกระดาษอื่นๆ แต่เยือ ่ ที่จะส่งออกขายได้ตอ้ งทำาให้แห้งก่อน โดยเดินทางตาม
ท่อเข้าโรงงานแปรรูปเยื่อ ดูดนำ้าออก ผ่านลูกรีด อบให้แห้ง แล้วทำาเป็นแผ่นๆ
ส่งขาย ตามขนาดหรือความต้องการของลูกค้า ทีจ ่ ะนำาไปแปรรูปเป็นกระดาษ
ประเภทต่างๆ ต่อไป

โรงงานผลิตกระดาษ AA ผลิตกระดาษ 2 ประเภท คือ กระดาษอาร์ต และ


กระดาษปอนด์ ส่วนที่ผลิตมากๆ คือ กระดาษปอนด์ถ่ายเอกสาร หรือกระดาษ
A4 นั่นเอง ปี 2548 มีเป้าหมายการผลิต 5 แสน 5 หมื่นตันมากขนาดไหนลอง
จินตนาการดู ในเวลา 1 ปี กระดาษที่ผลิตออกมาจากเครื่องซึ่งเป็นกระดาษหน้า
กว้าง 7 เมตร สามารถพันรอบโลกได้ 24 รอบ หรือผลิต 1 วันสามารถใช้กระดาษ
ปูถนนสองเลนไป-กลับจากเชียงใหม่-หาดใหญ่ หรือคิดเป็นระยทาง 1,629
กิโลเมตร หรือกำาลังผลิต 1 ชั่วโมง สามารถปูถนนสองเลน จากกรุงเทพฯ ไป
ชลบุรีในระยะทาง 81 กิโลเมตร

ส่วนขั้นตอนการผลิตกระดาษ ก็ใช้เครือ ่ งจักรขนาดใหญ่เข้ามาช่วยจึงไม่


ยุ่งยาก ควบคุมการทำางานของเครือ ่ งด้วยระบบคอมพิวเตอร์ เอาเยื่อกระดาษ
เป็นก้อนๆ เข้ามาผ่านเครือ ่ งขึ้นรูปให้เป็นแผ่น ให้เยื่อเรียงชิดสมำ่าเสมอด้วยแรง
ดันและแรงอัดของเครือ ่ ง จากนั้น ดูด กด ซับ และอบ ให้เยื่อกระดาษแห้ง
ปราศจากความชื้นตามมาตรฐานกระดาษที่ดีก็เป็นอันเสร็จกระดาษหนึ่งม้วน
หน้ากว้าง 7 เมตร และมีนำ้าหนักหนึ่งตัน ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมงก็เสร็จ
เรียบร้อยแล้ว สิ่งที่จะทำาให้กระดาษออกมาจากเครื่องแล้วมีคุณสมบัติที่แตกต่าง
กันก็คือ สูตรทางเคมี เพื่อควบคุมคุณภาพกระดาษให้มีความขาว เนียน เนื้อ
ละเอียด และเรียบมัน หลักๆ ก็จะเติมปูนขาวและแป้งมันลงไปตามสูตรของ
แต่ละโรงงาน

ขั้นตอนการตรวจสอบง่ายๆ ตามประสา คนใช้กระดาษ เริ่มจากมองด้วย


ตาเปล่าดูว่า กระดาษมีสีขาวเนียนหรือไม่ เมือ
่ ยกขึ้นส่องไฟแล้วหากเยื่อกระดาษ
เรียงตัวกันอย่างสมำ่าเสมอ จะต้องทึบแสง ผิวกระดาษเรียบสมำ่าเสมอขอบเรียบ
คม หากเคยถูกกระดาษบาดมือ แสดงว่ากระดาษที่ใช้คุณภาพดีมากๆ กระดาษที่
ดีต้องไม่มีฝุ่นติด (แต่ไม่ใช่แกะออกมาวางในห้องสกปรกแล้วติดฝุ่น) ความชื้น
ของกระดาษที่ได้มาตรฐาน เมื่อถูกความร้อนจะไม่โค้งงอ สังเกตจากกระดาษที่
ใช้ในเครื่องถ่ายเอกสาร ถ้าถ่ายเอกสารแล้วโค้งงอ ติดเครือ่ งง่าย แสดงว่า
ความชื้นของกระดาษมากเกินไป
A4
กระดาษที่ออกมาจากเครื่องจะเป็นม้วนใหญ่มาก เรียกว่า จัมโบ้สูงท่วม
หัวเลยทีเดียว จากนั้น ก็จะกลิ้งๆๆๆ ไปผ่านเครือ่ งกรอ ผ่าแยกออกเป็น 12 ม้วน
ด้วยเครือ่ งตัดขนาดยักษ์แล้วก็กลิ้งๆๆๆ ไปเข้าเครื่องตัดขนาดเล็กอีกครั้ง ตัด
กระดาษออกมาเป็นกระดาษ A4 ขั้นตอนต่างๆ เหล่านี้ไม่ยุ่งยาก เพราะใช้
เครื่องจักรเข้ามาช่วยทั้งหมด

A4
กระดาษ A4 ที่เราใช้กัน มีขนาดกว้าง 21 ซม.
ยาว 29.7 ซม. ซึ่งเป็นขนาดมาตรฐานที่เท่ากันทั่วโลก
คำาว่า A4 นั้น A มาจาก ซีรข
ี่ องกระดาษ 4 มาจากการ
พับกระดาษขนาดมาตรฐานกว้างทีส ่ ุดลงมา 4 ครั้ง

ที่นี่ที่เดียวผลิตกระดาษ A4 วันละ 150 ล้านแผ่น เดินทางส่งขายทั่วโลก


เฉพาะในประเทศไทย วันหนึ่งๆ ก็เดินทางออกไปสู่การใช้งานประมาณ 8 พันรีม
หรือประมาณนำ้าหนัก 100 ตัน หากคิดย้อนกลับไปเล่นๆ ก็จะต้องใช้ไม้ในการ
ผลิตประมาณ 500 ตัน ซึ่งก็ไม่อยากจะคิดต่อเลยว่า ต้องใช้ต้นไม้มากมายสักเพียง
ไหน
A4
ยังจำาได้หรือเปล่าว่า เยือ
่ กระดาษที่ได้จากเยื่อไม้ยูคาลิปตัส เดินทางออก
นอกโรงงานไปแล้ว จุดหมายปลายทางส่วนหนึ่งเดินทางไปที่ บริษัท ริเวอร์โปร์
พัลพ์ แอนด์ เพเพอร์ จำากัด หรือโรงงานผลิตกระดาษทิชชู่ที่จังหวัดสระบุรีซึ่ง
เป็นโรงงานแปรรูป เยื่อกระดาษ เป็นกระดาษชำาระหรือกระดาษทิชชู่

1. กระดาษเช็ดหน้า
2. กระดาษชำาระ
3. กระดาษอเนกประสงค์
4. กระดาษเช็ดปาก

ขั้นตอนการผลิต เริม ่ จากนำาเยื่อแห้งหรือเยื่อบริสุทธิ์ที่มีความขาวสะอาด


ขาวมาก หรือขาวเหมือนเสื้อนักเรียนที่ซักด้วยผงซักฟอกในโฆษณาโทรทัศน์
เลยทีเดียว สุ่มตัวอย่างวัตถุดิบ นำามาตรวจสอบคุณภาพด้วยเครื่องจักร จากนั้น
เยื่อแห้งที่เป็นแผ่นๆ หนาเป็นปึกๆ ก็จะถูกลำาเลียงขึ้นสายพาน เข้าถังปั่นเยื่อ ตี
เยื่อผสมกับนำ้าจนเปื่อยเละ ละลายกลายเป็นนำ้าผสมเยื่อชิ้นเล็กชิ้นน้อย เหมือน
เยื่อบด เละๆ ยุ่ยๆ ไหลเข้าเครือ
่ งขึ้นรูปกระดาษ ซึ่งมองไม่เห็น เจ้าหน้าที่ใช้
เครื่องคอมพิวเตอร์ควบคุมการทำางานของเครื่องซึ่งเหมือนหม้อขนาดใหญ่ (อีก
แล้ว)
จากนั้นก็ฉีดเข้าเครือ
่ งขึ้นแผ่นกระดาษ ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ควบคุมอีก
เหมือนกัน วิธีการคือ การฉีดเยื่อเข้าไประหวางสายพาน เพื่อแยกนำ้าออกจาก
เยื่อ นำ้าจะลอดผ่านตะแกรงลงมาด้านล่าง เยื่อจะไหลตามสายพานเป็นแผ่นต่อ
ไป สายพานเคลื่อนผ่านลูกอบ ลูกใหญ่ๆ หมุนๆๆๆๆ ให้เยือ ่ กระดาษแห้งเป็นแผ่น
เพียง 10 วินาที จากเยื่อเปียกๆ ก็กลายเป็นกระดาษทิชชู่ เป็นม้วนใหญ่มากๆๆๆๆ
ก่อนจะผ่านเครือ ่ งตัดออกมาเป็นลูกเล็กๆ ตามขนาดที่ต้องการใช้งาน ใหญ่ขนาด
ไหนก็ต้องจินตนาการดู กระดาษทิชชู่ม้วนใหญ่หนึ่งม้วน สามารถตัดเป็นกระ
ดาษทิชชู่ม้วนเล็กที่เราใช้งานกันได้ 2 หมื่นม้วน
จากนั้นก็เข้าสู่กระบวนการบรรจุหีบห่อส่งขายได้แล้ว
เรือ
่ งราวของกระดาษยังไม่จบ ตอนนี้อยู่ในวัยกลางคน ออกเดินทางรับใช้
ชาติ รับใช้ประชาชนแล้ว

กระบวนการทำากระดาษทิชชู่ก็ไม่ต่างจากการผลิตกระดาษ ที่ต่างกันนิด
นึง คือ กระดาษทิชชู่ต้องใช้เครือ่ งแซะออกมาจากสายพานการผลิตในระหว่างที่
ยังมีความชื้นอยู่ ทำาให้มร
ี อยย่นอันเป็นเอกลักษณ์ของกระดาษทิชชู่ ซึ่งจะทำาให้
กระดาษทิชชู่มีความนุ่มมากกว่ากระดาษที่ใช้งานเพื่อการอ่านเขียน

เมื่อกระดาษทั้งหลายเดินทางออกจากโรงงาน ไม่ว่าจะเป็นกระดาษ
สำาหรับการอ่านเขียน หรือกระดาษชำาระ สำาหรับรองรับผิวหนังอันอ่อนนุ่มใน
ทุกๆ ส่วนของผู้คนแล้ว กระดาษใช้แล้วก็จะมีจุดหมายปลายทางอยู่ที่เดียวกัน
นั่นคือ ถังขยะ และจากถังขยะตามบ้านเรือนผู้คน ทีอ ่ ยู่อาศัย อาคารสำานักงาน
ต่างๆ ผ่านการใช้งานอย่างคุ้มค่า หรืออาจจะไม่คุ้มค่าบ้างตามแต่สำานึกรับผิด
ชอบของผู้ใช้ ก็จะถูกเก็บกำาจัดโดยรถขนะสู่การทำาลายต่อไป
แต่ระหว่างทางแห่งการกำาจัดขยะกระดาษ ก็ยังมีผู้คนจำานวนไม่น้อยที่ยัง
เห็นคุณค่าของกระดาษเหล่านี้ จะด้วยสามัญสำานึกรักสิ่งแวดล้อมหรือเพือ ่ การ
ทำามาหากินก็แล้วแต่ พวกเขาก็ได้เสกสรรปั้นค่าสร้างราคาของกระดาษและชุบ
ชีวิตของกระดาษเหล่านี้อีกครั้ง ทีร่ ้านรับซื้อของเก่า ที่นี่ กระดาษทุกชนิดจะมา
เจอะเจอกันอีกครั้ง ไม่ว่าจะเป็นกระดาษหนังสือพิมพ์ กระดาษลัง กระดาษ A4
หรือแม้กระทั่งกระดาษชำาระหรือกระดาษทิชชู่ใช้แล้ว
ที่ร้านรับซื้อของเก่า กระดาษนานาชนิดที่ผ่านมาการใช้งานแล้ว จะถูก
แยกออกเป็นประเภทต่างๆดังนี้ค่ะ
1. กระดาษขาว-ดำา คือ กระดาษ A4 ที่ใช้แล้ว
2. กระดาษลัง หรือ กระดาษสีนำ้าตาล
3. กระดาษหนังสือพิมพ์
4. กระดาษเล่ม เช่น หนังสือการ์ตูน หนังสือเรียน
5. กระดาษจับจั๊ว หรือ เศษกระดาษมั่วๆ ไม่เป็นชิ้นเป็นอันทั้งหลาย
แยกชนิดใส่กระสอบ ส่งไปขายยังโรงงานต่างๆกัน ตามความต้องการของ
ลูกค้า

ที่โรงงานกระดาษคูเซ่งฮวด กระดาษจับจั๊วจะเดินทางเข้ามาเป็นมัดๆ ตี
ราคาขายกันตามนำ้าหนักขายกันเป็นรถบรรทุกเที่ยวละหลายตัน วันละหลาย
เที่ยว จากนั้นรถบรรทุกก็เอากระดาษมาเทรวมกันกองเป็นภูเขาเลากากระดาษ
มากมายมหาศาลมากกว่า 20 ตันต่อวัน โรงงานก็จะใช้คนงานแยกพลาสติกหรือ
โลหะออกก่อน สร้างรายได้ให้คนงานอีกมากมายหลายชีวิต ที่สำาคัญที่สุด
กระดาษเหล่านี้สามารถทำาไปผลิตกระดาษได้อีกครั้ง และไม่ตอ ้ งกำาจัดทำาลาย
กระดาษให้สิ้นเปลืองงบประมาณแผ่นดิน หรือภาษีของประชาชน ไม่สร้าง
มลภาวะทำาร้ายสิ่งแวดล้อมของประเทศชาติอีกด้วย
กระดาษชิ้นเล็กน้อยที่แยกสิ่งเจือปนออกแล้ว จะถูกอัดเป็นบล๊อกๆ ละ
600-700 กิโลกรัม ส่งเข้าโรงงานผลิตกระดาษ ที่ โรงงานวังศาลา หรือวังศาลา
คอมเพล็ก ทีอ ่ ำาเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งมีกำาลังผลิต 6 แสนตันต่อปี โดย
ต้องซื้อวัตถุดิบกระดาษใช้แล้วมากกว่าแสนห้าหมื่นตันมากจากในประเทศ และ
อีก 4 แสนกว่าตัน นำาเข้าจากต่างประเทศเหตุผลที่ตอ ้ งนำาเข้ารู้แล้วอาจจะเศร้า
ใจ นั่นเป็นเพราะคนไทยไม่ได้เก็บแยกขยะ เพือ ่ รวบรวมมาขายเหมือนต่าง
ประเทศ จึงมีปริมาณไม่เพียงพอต่อการผลิต ในขณะที่ในต่างประเทศมีการใช้
กระดาษออกจากขยะที่นำาไปสู่การกำาจัดทำาลาย จึงทำาให้มีปริมาณกระดาษที่ใช้
แล้ว ส่งขายออกต่างประเทศได้ ไทยก็ต้องสั่งซื้อเพื่อนำาเข้ากระดาษเหล่านี้ด้วย
น่าเสียดายจริงๆ...

เมื่อกระดาษใช้แล้วเดินทางมาถึงที่นี่ ต้องผ่านการตรวจสอบคุณภาพโดย
การวัดความชื้น ได้ไม่เกิน 14 เปอร์เซ็นต์ โดยเครื่องวัดราคา 2 แสนบาท
ทำาไมต้องวัด? ความชื้นแปลว่ามีนำ้าอยูใ่ นกระดาษ มีผลต่อนำ้าหนักในการ
ซื้อขาย และมีผลต่อการผลิต เพราะต้องใช้กระดาษเก่าที่แห้งเท่านั้น เสร็จแล้ว
เอามัดกระดาษไปโยนโครม!!! เพื่อให้กระดาษที่อัดแน่นแตกกระจายออกจาก
กัน เสร็จแล้วแยกสิ่งปลอมปนที่ไม่ใช่กระดาษออก ก่อนเข้าเครื่องปั่นเหมือน
เครื่องปั่นนำ้าผลไม้ตีกระดาษให้แตกเละ พร้อมๆกับการทำาความสะอาด ส่วน
ผสมสำาคัญคือการผสมนำ้า (อีกแล้ว) ลงไปในเยื่อกระดาษ จากกระดาษแผ่นเล็ก
แผ่นน้อยก็จะกลายเป็นนำ้าเยื่อกระดาษ จากนั้น แยกสิ่งปลอมปนออกจากเยื่ออีก
ครั้ง แล้วส่งนำ้าเยื่อเดินทางตามท่อ เข้าเครือ
่ งขึ้นรูปกระดาษต่อไป
ขั้นตอนการขึ้นรูปกระดาษก็เหมือนๆ กับโรงงานอื่นๆ (จึงจะไม่พูดถึงให้
เปลืองกระดาษ) แต่ที่โรงงานแห่งนี้ จะได้กระดาษสีนำ้าตาล ทีม ่ ีเยื่อกระดาษ
หยาบกว่ากระดาษพิมพ์เขียน เนื่องจากผลิตจากเยื่อกระดาษที่ใช้แล้วนานาชนิด
นั่นเอง กระดาษสีนำ้าตาลเหล่านี้ก็จะกลายเป็นกระดาษสำาหรับทำาบรรจุภัณฑ์
หรือกระดาษลัง ซึ่งก็จะมีความเรียบ เนียน ละเอียดน้อยกว่ากระดาษพิมพ์ แต่มี
ความแข็งแรงและทนทานกว่า สามารถป้องกันการกระทบกระเทือนจาก
ภายนอก เข้าไปทำาลายสิ่งของทีอ ่ ยู่ภายในได้นั่นเอง
โรงงานแห่งนี้มีกำาลังการผลิตประมาณ 400-500 ตันต่อวัน หรือในคลัง
สินค้ามีสินค้าอยู่ประจำาไม่ตำ่ากว่า 13,000 ตัน วันหนึ่งๆ ต้องส่งออก 3 พันตัน ทั้ง
ในและต่างประเทศ เช่น ส่งเข้าโรงงานแปรรูปจากม้วนเป็นกล่อง ที่โรงงาน
สยามบรรจุภัณฑ์ราชบุรี (1989) จำากัด ซึ่งเป็นโรงงานผลิตลังหรือกล่องกระดาษสี
นำ้าตาล ผลิตต่อวันประมาณ 200 ตัน หรือประมาณ 7 แสนกล่องต่อวัน หรือ 200-
300 ล้านกล่องต่อปี

ขั้นตอนการผลิตกระดาษกล่องก็จะนำาม้วนกระดาษเข้าเครื่อง ทำาเป็นกระ
ดาษแผ่นเรียบ และกระดาษลอน กระดาษลอนหรือกระดาษลูกฟูก ซึ่งจะทำา
หน้าทีล่ ดแรงกระแทกในการบรรจุภัณฑ์นั่นเอง จากนั้นนำามาประกบกับ
กระดาษเรียบก่อนขึ้นรูปเป็นกล่องกระดาษ ตามรูปแบบที่ลูกค้าต้องการต่อไป
เศษกระดาษที่เหลือจากการผลิตกล่องกระดาษ ก็จะถูกเก็บอัดเพื่อเข้าโรงงาน
รีไซเคิลอีก กลายเป็นวงจรผลิตกระดาษเหมือนกับที่เราได้เห็นไปแล้วนั่นเอง

A4
ส่วนกระดาษ A4 หรือกระดาษพิมพ์เขียนที่ผ่านการใช้งานแล้ว (ควรจะใช้
งานทั้ง 2 หน้าก่อนทิ้ง) ก็จะเดินทางเข้าโรงงานแปรรูปกระดาษด้วยหลักการ
เดียวกันกับกระดาษจับจั๊ว ต่างกันที่สถานที่และเวลาเท่านั้น โรงงานแห่งหนึ่งที่
เราติดตามชีวิตของ A4 มีความต้องการใช้ A4 ที่ผ่านการใช้งานแล้วมากถึง 200-
300 ตันต่อวันเลยทีเดียว
เมื่อกระดาษเดินทางมาถึงโรงงาน ก็ต้องผ่านขั้นตอนการตรวจวัด
ความชื้น และแยกสิ่งปลอมปนออกจากกระดาษก่อนเหมือนการผลิตกระดาษ
อื่นๆ และต้องแยกกระดาษสีออกด้วย เพราะต้องการแต่กระดาษขาวเท่านั้น
จากนั้น ส่งกระดาษเข้าถังตีเยื่อ ผสมนำ้าเพื่อให้กลายเป็นเยื่อกระดาษเล็กๆ จาก
นั้นเติมแชมพูเพื่อทำาให้เกิดฟอง และเติมอากาศเพิ่มฟอง เพื่อให้หมึกเกาะฟอง
ลอยขึ้นมาสู่ผิวหน้า จากนั้นล้างฟองกับหมึกออก เพือ ่ ให้ได้เยือ
่ กระดาษล้วนๆ
ซึ่งก็จะมีความขาวมากกว่ากระดาษที่ผลิตจากจับจั๊ว แต่จะให้ขาวเหมือนเดิมคง
ไม่ได้ เพราะผ่านการใช้งานแล้วเช่นกัน ก็จะออกขาวนวลๆ เหมือนกระดาษ
รีไซเคิลที่เรารู้จักกัน
เยื่อจากกระดาษขาว-ดำา ก็จะเดินทางเข้าสู่กระบวนการผลิตกระดาษ ซึ่ง
มีขั้นตอนเหมือนการผลิตกระดาษทั่วไป จนได้กระดาษแผ่นสีขาวอมนำ้าตาล
อ่อนๆ เป็นม้วน ม้วนละ 1 ตัน วันหนึ่งที่นี่ผลิตได้มากถึง 16,000 ม้วน หรือ 16,000
ตันเลยทีเดียว ผลิตเพือ ่ ป้อนโรงงานผลิตกล่องโดยเฉพาะ ซึ่งก็จะเข้าสู่โรงงาน
ผลิตบรรจุภัณฑ์ เช่นเดียวกับกระดาษกล่องหรือกระดาษลังนั่นเอง

และแล้วสุดท้ายปลายทางชีวิตก็ยังคงเป็นชีวิต เพราะกระดาษลังทั้งหลาย
ที่ใช้แล้ว (หากไม่ถูกมนุษย์ใจร้ายทิ้งขว้างอย่างไม่เห็นคุณค่า) ถูกคัดแยกออก
จากขยะประเภทอื่นๆ กระดาษสีนำ้าตาลหรือกระดาษลังก็ยังคงเป็นกระดาษที่นำา
กลับมาใช้ได้อีก ในวงจรชีวิตกระดาษที่ไม่มีวันจบสิ้น และหากการนำากลับมาใช้
มีปริมาณมากยิ่งๆ ขึ้นเท่าไร การผลิตเยือ ่ กระดาษใหม่ ด้วยการตัดไม้ยูคาลิปตัส
หรือไม้ชนิดอื่นๆ ที่สามารถผลิตกระดาษได้ เพื่อป้อนเข้าสู่อุตสาหกรรมการผลิต
กระดาษก็จะลดการนำาเข้ากระดาษใช้แล้วจากต่างประเทศ ก็จะไม่เพิ่มขึ้นจาก
ปริมาณนำาเข้ามหาศาลที่เกิดขึ้นในทุกๆวัน
การมองเห็นคุณค่าของกระดาษ หรือการต่อชีวิตกระดาษด้วยการแยก
ขยะ ไม่ใช่เพียงเรือ
่ งของการประหยัดเงินในกระเป๋า ลดต้นทุนการผลิตหรือลด
การนำาเข้าวัตถุดิบในการผลิตเยือ ่ กระดาษเท่านั้น แต่ชีวิตกระดาษ ย่อมหมายถึง
ชีวิตของต้นไม้ และสิ่งมีชีวิตในโลกนี้อีกด้วย

You might also like