You are on page 1of 4

กระแสจตุคามรามเทพในฐานะวัต ถุมงคลรุ่นใหม่ดั งมาตั้ งแต่ต้นปี ๒๕๕๐ จนถึงวันนี้ ก็ยังไม่มีทีท่าว่าจะแผ่วลง

เพราะมีศรัทธาและการตลาดเป็นเครื่องหล่อเลี้ยงอยู่
มิตรร่วมโลกคนหนึ่งตั้งข้อสังเกตกับผู้เขียนว่า การที่สังคมไทยคลั่งไคล้จตุคามรามเทพนั้น น่าจะเป็นเพราะสังคมไทย
อยู่ในภาวะขาดที่พึ่ง คนจึงวิ่งหาที่พึ่งกันเป็นแถว แต่ผู้เขียนแย้งว่า คนไทยไม่ได้ขาดที่พึ่งแม้สักนิด เพราะอะไรก็ตามที่ถือกันว่า
เป็นที่พึ่งของคนไทยนั้น ทุกอย่างยังคงอยู่ครบเหมือนเดิม ดังนั้น สิ่งที่คนไทยขาด กล่าวอย่างตรงไปตรงมาที่สุด ก็คือ คนไทย
กำาลังขาด "สภาพคล่องทางการเงิน " มากกว่า การที่คนวิ่งหาจตุคามรามเทพนั้น ลองมองให้ลึกๆ ถึงคติในการนับถือก็จะพบว่า
แท้ที่จริงคนไทยต้องการที่พึ่งหรือเงินกันแน่
ปรัชญาของจตุคามรามเทพที่สมมติกันขึ้นมาก็คือ "เธอมีฉันไว้ไม่จน" และชื่อรุ่นแต่ละรุ่นส่วนใหญ่จะสะท้อนปรัชญานี้
ทั้งหมด เช่น รวยไม่รู้จบ รวยไม่มีเหตุผล รวยมหาศาล รวยเงินล้าน รวยทรัพย์นับหมื่นล้าน รวยล้นฟ้า คำาว่า "รวย" ซึ่งถูกนำามา
ใช้เป็นชื่อรุ่นจตุคามรามเทพ สะท้อนสิ่งที่คนไทยขาดอย่างไม่ปิดบัง ดังนั้น ยำ้ากันชัดๆ คนไทยไม่ได้ขาดที่พึ่งในความหมายที่ว่า
ที่ยึดเหนี่ยวทางจิตใจให้เกิดความอบอุ่นและปลอดภัย แต่คนไทยขาดที่ พึ่งทางเศรษฐกิจ กล่าวคือ ขาดเงินเท่านั้น
นอกจากเงินแล้ว หากวิเคราะห์ต่ อไป ก็จะพบว่า คนไทยยังขาดความรู้ ความรู้สึก จิต สำา นึกสาธารณะ และขาด
ปัญญาที่เป็นกลางด้วย
ขาดความรู้ คือ คนไทยพุทธกว่าร้อยละ ๘๐ (รวมทั้งผู้เขียนด้วย) ปากบอกว่า เป็นชาวพุทธ แต่กลับไม่รู้จักหลักธรรม
คำาสอนของพระพุทธเจ้าเอาเสียเลย ลองคิดดูง่ายๆ คำาว่า "จตุคามรามเทพ" นั้น ก็บ่งชัดอยู่แล้วว่า ไม่ใช่คำาที่แสดงหลักคิดทาง
พุทธศาสนา คำาว่า "จตุคาม" นั้น เป็นคำาเพี้ยนเสียงมาจาก "ขัตตุคาม" ซึ่งแต่เดิมคำานี้ (น่าจะ) มาจากคำาว่า "ขันธกุมาร" อีกที
หนึ่ง พระขันธกุมารเป็นเทพองค์หนึ่งในระบบความเชื่อของศาสนาพราหมณ์ ส่วนรามเทพนั้น ไม่ต้องการคำาอธิบายมาก "ราม"
ก็คือ พระรามนั่นเอง
ศัพท์ที่แปลว่า "กษัตริย์" ตามพระคัมภีร์ อภิธานปฺปทีปิกา ของสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ มี ๕
ศัพท์ เป็นรูปศัพท์บาลีว่า ราชญฺโญ, ขตฺติโย, ขตฺตำ, มุทฺธาภิสิตฺต และ พาหุชา ถอดจากรูปนามนาม (Nominative) เป็นราก
ศัพท์ (Root) ได้ว่า ราชญฺญ, ขตฺติย, ขตฺต, มุทฺธาภิสิตฺต และ พาหุชา
"ขตฺตุ" มีปัญหาที่ สระ "อุ" ถ้ารู้ที่มาของสระ "อุ" ปัญหาก็คลี่คลาย -- สระ "อุ" เป็นสระปัจจัย (Termination Vowel)
สำาหรับลงประกอบท้ายคำานามให้มีความหมายพิเศษมากขึ้น ขตฺต + ณุ (ณุ เป็นปัจจัย) -- ลบ ณ ออก จึงเป็น ขตฺตุ
เป็นอันว่า "ขตฺตุ" มีแน่ แต่ความหมายที่แท้จริงตาม "พระบาฬีลิปิกรม" ของท่านพระยาปริยัติธรรมธาดา (แพ ตาละ
ลักษณ์) ท่านพูดถึงเพียง และความหมายยังคลุมเครือ ว่า ขตฺติ ว่าขุด คือตระกูลกษัตริย์ผู้ชายฯ ขตฺติ ขตฺตุ สืบสายว่าคำาตอบ
ถ้อยคำา
จากหนังสือ "บาลี-สยาม อภิธาน" ของพระสารประเสริฐ (ตรี นาคะประทีป) ที่ไหว้วานให้เขาไปลอกมาจากหอสมุด
ของมหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ ท่านให้ความหมายสั้นๆ แต่ชัดแจ้งดี ว่า ขตฺตุ คือ สารถี นายประตู และจากหนังสือ
"อภิธานปฺปทีปิกา สูจิ" ท่านเรียบเรียงไว้เป็นภาษาบาลีว่า ขตฺตุ = สูเต สารถมฺหิ, ปฏิหาเร วจนาหาเร, ทวารปาลเก ติ ความ
หมายก็คือ สูเต (สูต) คือ สารถี; ปาฏิหาเร (ปาฏิหาร) คือ ปาฏิหารย์; ทวารปาลิเก (ทวาร+ปาล+ก) คือ คนเฝ้าประตู หรือ นาย
ประตู
ที่มีข้อมูลว่า ใต้ฐานเทวรูปหน้าประตูทางขึ้นลานประทักษิณของพระบรมธาตุ องค์ทางซ้ายมือใต้ฐานมีจารึกว่า "ท้าว
ขัตตุคาม" องค์ทางขวามือใต้ฐานมีจารึกว่า "ท้าวรามเทพ" ก็เลยอยากรู้ว่า ท้าวขัตตุคาม หมายถึงเทวรูปองค์ใด มีนามว่า
อย่างไร มีที่มาอย่างไร
จากการค้นคว้าจากหนังสือมากมายและปรึกษาผู้รู้หลายท่าน "ขตฺตคุ าม รามเทพ" ที่จริงแล้วเป็นเพียงเทพที่มีอิทธิพล
ของพราหมณ์ จากรามายณะ ที่เป็นรากฐานการปกครองในสมัยกรุงศรีอยุธยาและรัตนโกสินทร์ หลักฐานสำาคัญซึ่งเราสามารถ
เห็นได้ชัดเจนก็คือพระปรมาภิไทของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ลงไว้ในหนังสือสำาคัญว่า "ราม" ขตฺตุ ตีความ
หมายได้ว่า กษัตริย์ ; คาม ตีความ หมายได้ว่า ที่อยู่ บ้าน หมู่บ้าน เมือง; ราม ตีความหมายได้ว่า องค์อวตารของพระนารายณ์ ;
เทพ ตีความหมายได้ว่า เทวดา; ตีความหมายรวมได้ว่า "เทวดาอันเป็นองค์อวตารของพระนารายณ์ได้มาเป็นกษัตริย์ ณ บ้าน
เมืองแห่งนี้" ซึ่งจริงๆ แล้ว ทั้งหมดนี้เป็นเพียงประโยคสามัญๆ ที่ได้รับอิทธิพลจากศาสนาพราหมณ์และรามายณะแต่เพียง
เท่านั้น
เรื่ อ งของ "จตุ ค าม-รามเทพ" ทราบประวั ติ เ พี ย งว่ า พล.ต.ต. ขุ น พั น ธรั ก ษ์ ร าชเดช เป็ น ผู้ ส ร้ า งศาลหลั ก เมื อ ง
นครศรีธรรมราช ตอนสร้างศาลหลักเมือง ท่านได้เปลี่ยนจาก "ขัตตุคาม รามเทพ" เป็น "จตุคาม รามเทพ" เนื่องด้วยต้องการนำา
เทวดาทั้งสี่ที่คุ้มครองโลกมนุษย์มาปกปักรักษาเมืองนครศรีธรรมราช ตามความเชื่อทางไสยเวท คำาว่า "จตุคาม-รามเทพ" จึงมี
ตั้งแต่พ.ศ. ๒๕๒๘ ขุนพันธ์เป็นผู้ออกชื่อนี้ และไม่มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์มารองรับเรื่อง"จตุคามรามเทพ" แต่อย่างใด มี
แต่เพียงรามเทพ ซึ่งคู่กับ "ขัตตุคาม" ซึ่งเป็นเทพารักษ์เกาะลังกา สองในสี่องค์ คือ ขัตตุคามเทพ รามเทพ สุมนเทพ และลักขณ
เทพ -- ลักขณเทพคือตำานานไทย แต่ตำานานลังกา คือนาถเทพ หรือพระอวโลกิเตศวร -- ซึ่งที่ทางขึ้นปรากฎรูปเทพสี่องค์ ที่บาน
ประตูสององค์ รูปปั้นสององค์ สันนิษฐานว่าเป็นเทพสี่องค์ที่รักษาเกาะลังกา แล้วไทยรับมาเป็นเฝ้าพระธาตุ แบบลังกาที่
นครศรีธรรมราช ถ้าสืบประวัติจริงๆ ก็เจอเรื่องคติพระวิษณุอวตาร คติเทพเฝ้าพระธาตุของวัชรยาน คติมหายานของไศเลนทร์
ในเอกสาร "โองการลุยเพลิง" ในกฎหมายตราสามดวง บัญญัติเมื่อปี พ.ศ. ๑๘๘๙ (ซึ่งอาจมีการแก้ไขภายหลัง) ตอน
อัญเชิญเทพมาเป็นพยานในการพิสูจน์ความบริสุทธิ์ทั้งสองฝ่าย เป็นกาพย์ฉบัง ๑๖ ความว่า
อีกทังพระกาลพระกุลี ขัตุคามี
พระรามเทพชาญไชย
อนึ่ง การเปลี่ยน "ขัตตุ" เป็น จตุ" จึงทำาให้คนที่ไม่รู้ สับสนเป็นอย่างมากว่า "จตุ" ซึ่งควรจะแปลว่า "สี่" แต่เทวรูปกลับมี
เพียงหนึ่งซึ่งไม่ตรงตามความเป็นจริง ความจริงจึงเป็น "ขัตตุ" ซึ่งแปลว่า คนเฝ้าประตู หรือนายประตู (ทวารปาลก) ตามความ
เข้าใจของผู้เขียน รวมแล้วหมายถึง "มหาราชทั้งสี่ที่ครองสวรรค์ชั้นจตุมหาราชิกา" ซึ่งเป็นสวรรค์ชั้นตำ่าที่สุด มีบทบาลีปรากฏใน
อาฏานาติยสูตร และอธิบายขยายความตามหนังสือ พจนานุกรมพุทธศาสน์ฉบับประมวลศัพท์ ของพระราชวรมุนี ที่กล่าวเรื่อง
ท้าวมหาราช เทวดาสี่องค์ผู้รักษาโลกในสี่ทิศ ท้าวโลกบาลทั้งสี่ มีดังนี้
ปุริมหิสํ ธตรฏฺโฐ (ท้าวธตรฏ อยู่ประจําทิศบูรพา) จอมคนธรรพ์ ครองทิศตะวันออก
ทกฺขิเณน วิรุฬหโก (ท้าววิรุฬหก อยู่ประจําทิศทักษิณ) จอมกุภัณฑ์ ครองทิศใต้
ปจฺฉิเมน วิรูปกฺโข (ท้าววิรูปักข์ อยู่ประจําทิศประจิม) จอมนาค ครองทิศตะวันตก
กุเวโร อุตตฺ รํ ทิสํ (ท้าวกุเวร อยู่ประจําทิศอุดร) จอมยักษ์ ครองทิศเหนือ
จตฺตาโร เต มหาราชา (มหาราชทั้งสี่นั้นเป็นผู้มียศ รักษาโลกอยู่)

จตุมหาราชิโก สวรรค์ชั้นที่ ๑ มีมหาราช ๔ องค์เป็นประธานปกครองประจำา ทิศทั้ง ๔ ส่วน "รามเทพ" นั้น ศาสนา


พราหมณ์ถือว่านารายณ์สิบปาง ปางที่สิบอวตารมาเป็น พุทธะ ดังนั้นนารายณ์จึงอวตารมาเป็น "รามะ" มาเฝ้าพระสารีริกฐาตุ
ของพระพุทธเจ้า เทวรูปคือตัวแทนองค์รามะ
ดังนั้น แค่ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่า ขัตตุคามรามเทพ (หรือจตุคามรามเทพสำาหรับคนหลายคน) เป็นพราหมณ์ในนามพุทธ
แต่คนไทยแยกไม่ออก ยกมาเป็นสรณะที่พึ่งหมด จนลืมไปว่าที่พึ่งของพุทธศาสนิกคือพระรัตนตรัยต่างหาก
คนที่ขาดความรู้กลุ่มต่อไปก็คือ พระสงฆ์บางพวก ที่ขาดความรู้ทั้งทางธรรมและทางวินัย ทางธรรม พระสงฆ์ที่เป็น
เกจิอาจารย์จำานวนมากล้วนลืมไปว่า พระพุทธเจ้าทรงสอนให้ชาวพุทธศาสนิกพึ่งตนเอง ไม่ให้พึ่งคนอื่นเป็นหลัก แต่พระสงฆ์
บางพวก กลับสนับสนุนให้เราพึ่งเทพ โดยลืมไปอีกว่าแท้จริงแล้ว เทพนั้นต้องพึ่งธรรม พูดอย่างง่ายว่า เทพยังต้องมาอาศัยอยู่
ตามวัด ตามบ้าน ไม่สามารถสร้างที่อยู่อาศัยให้ตัวเองได้ คนกลับคิดว่า เทพนั้นยิ่งใหญ่จนต้องมอบกายถวายชีวิตให้เทพ และ
คิดว่าท่านช่วยเราได้ทุกอย่าง ทั้งๆ ที่ตามความจริงแล้ว หาเป็นเช่นนั้นไม่
ในวัฒนธรรมความรู้ของพุทธศาสนานั้น เทพก็คือ "เทวดา" และเทวดานั้นก็เป็นสภาพหรือสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งซึ่งดำารง
ตนอยู่ได้เพราะบุญที่ตนทำาไว้ เวลาจะหมดบุญนั้น เทวดาทั้งหลายล้วนอยากเกิดเป็น "มนุษย์" กันทั้งนั้น เพราะการเป็นมนุษย์มี
โอกาสมากกว่าในการทำาความดี ในการพัฒนาตนจนสูงสุดจนเป็นพระอรหันต์ก็ยังได้ การอุบัติเป็นมนุษย์คือยอดปรารถนา
ของเทพทั้งหลาย แต่มนุษย์ทั้งหลาย กลับคิดว่าการเป็นเทพนั้นวิเศษที่สุด และคิดว่าเทพจะเป็นที่พึ่งให้มนุษย์ได้ทุกอย่าง ทั้งๆ
ที่ความจริงแล้ว เทพก็ยังพึ่งตนเองไม่ได้ หรือได้ก็ไม่สมบูรณ์นัก บางส่วนก็ยังต้องพึ่งมนุษย์เสียด้วยซำ้า
มนุษย์เรานั้น ดีกว่าเทพอย่างไม่มีทางเทียบกันได้ ในคัมภีร์พระธรรมบทกล่าวว่า พระอินทร์ซึ่งเป็นเทพชั้นสูง ยังแอบ
มาตักบาตรกับพระสงฆ์เพื่อจะได้ "ต่ออายุบุญ" ออกไปให้ยืนยาว ส่วนท่านอนาถปิณฑิกเศรษฐี ซึ่งมีคุณธรรมมาก ก็ยังเคยไล่
ตะเพิดเทพมิจฉาทิฐิออกจากซุ้มประตูบ้าน จนกลายเป็นเทพเร่ร่อนมาแล้ว
ดังนั้น โดยความจริงแล้ว เทพไม่ใช่ที่พึ่งของมนุษย์ แต่ที่พึ่งของมนุษย์คือธรรมะ ในพระไตรปิฎกปรากฏอยู่เสมอว่า
เทพมาขอฟังธรรมจากพระพุทธเจ้าและจากพระอรหันตสาวกทั้งหลายอยู่บ่อยๆ สิ่งที่เทพต้องการ คือโอกาสในการศึกษาและ
ปฏิบัติธรรม เทพจึงไม่มีเวลาว่างมากมายมานั่งดลบันดาลประทานพรอย่างที่มนุษย์เข้าใจไป
หากเทพทั้งหลายศักดิ์สิทธิ์จริงๆ แล้ว ในเมืองไทยคงไม่มีใครขัดสน และในประเทศอินเดียซึ่งเป็นบ้านเกิดของเทพคง
ไม่มีคนยากคนจน และถ้าเทพมีฤทธิ์บันดาลอะไรได้ตามที่มนุษย์ขอ ถ้าเช่นนั้น เทพไม่ก้าวก่ายการทำางานของกฎแห่งกรรม
หรือ? ไหนเคยสอนกันมาว่าทุกอย่างในชีวิตคนเป็นไปตามกฎแห่งกรรม แต่เดี๋ยวนี้ ทำาไมทุกอย่างเป็นไปตามกฎแห่งเทพ กฎ
สองกฎนี้ไม่ตีกันหรือ
สำาหรับพระวินัยนั้น หากพระสงฆ์มคี วามรู้สักหน่อย ท่านก็จะรู้ว่า การปลุกเสกลงเลขยันต์นั้นเป็นการประกอบ "มิจฺฉา
อาชีว" คือ การหาเลี้ยงชีพที่ไม่ถูกต้อง ยิ่งการทำาเป็นธุรกิจยิ่งผิดมหันต์ ยิ่งกระตุ้นให้คนโลภโมโทสันยิ่งไม่ต้องพูดถึงผิดจรรยา
ของพระสงฆ์อย่างไม่มีทางเลี่ยง ในบางกรณีที่มีการอวดอ้างปาฏิหาริย์ประกอบการขายองค์จตุคาม/ขัตตุคาม ยิ่งมีโอกาสผิด
พระวินัยร้ายแรงถึงขั้นขาดจากความเป็นพระ
พระสงฆ์บางรูปที่ว่าขาดความรู้แล้ว คนไทยเป็นจำานวนมากกลับขาดความรู้ยิ่งกว่า ก็เทพนั้น คนมีกิเลสหนาปัญญา
ทรามด้วยกันแท้ๆ ช่วยกันปลุกเสก ช่วยกันโฆษณา ช่วยกันสร้างเรื่องขึ้นมาหลอกกันเป็นทอดๆ กระนั้น ก็ยังคงมีคนหลงเชื่อ
หลงศรัทธาเป็นบ้าเป็นหลัง ปาฏิหาริย์แห่งปาฏิหาริย์ก็คือ ในสังคมไทยคนหลอกคนได้ง่ายดายอย่างเหลือเชื่อ
ขาดความรู้สึก คือ แม้สังคมไทยกำาลังเดินออกนอกทางแห่งธรรมถึงขนาดนี้แล้ว มีใคร หน่วยงาน หรือสถาบันไหน
ตระหนักถึงภัยเหล่านี้บ้าง? เรายังคงมองการขยายตัวของธุรกิจไสยพาณิชย์ในนามพุทธศาสนานี้ด้วยสายตาแห่งความรื่นรมย์
นักวิชาการบางคนออกมาให้ข้อคิดว่า ทำาให้คนเข้าวัดมากขึ้น วัดได้รับการบำารุง และวัยรุ่นสนใจธรรมะ นี่คือ อาการขาดทั้ง
ความรู้และขาดทั้งความรู้สึก มองเห็นความเสื่อมเป็นความเจริญ นี่คือการขาดความรู้ เผยแผ่ความเสื่อมนั้นออกไปจนบดบัง
พุทธศาสนาและพาสังคมไทยเสื่อมโทรม ก็ยังไม่ตื่น นี่คือการขาดความรู้สึก
ขาดจิตสำานึกสาธารณะ คือ มีคนจำานวนน้อยเสียยิ่งกว่าน้อย ที่จะออกมาอุทิศตนติงเตือนให้สังคมไทยได้ตื่นตัว มอง
เห็นความวิปลาสคลาดเคลื่อนของการพระศาสนาในสังคมไทยและในระบบความเชื่อของสังคมไทย หากสิ่งเหล่านี้ถูกทิ้งเอาไว้
ก็จะกลายเป็นมรดกบาปไปจนถึงคนรุ่นหลัง แล้วอย่างนี้ ประเทศไทยจะเอาศักยภาพทางปัญญาที่ไหนไปแข่งขันในเวทีโลก
ขาดปัญญาที่เป็นกลาง คือ ทุกวันนี้ ชนชั้นกลาง ปัญญาชนจำานวนมาก รวมทั้งพระสงฆ์ชั้นผู้ใหญ่ไม่น้อย ล้วนยินดีใช้
ปัญญาของตน เพื่อสนองต่อลัทธิบริโภคนิยม ที่เน้นความรำ่ารวยและความมั่งคั่งทางวัตถุเป็นสิ่งสำาคัญ คนที่ได้เปรียบสังคมอยู่
แล้วเหล่านี้ ต่างยอมหลับตาเสียข้างหนึ่ง ทำาเป็นไม่รู้ไม่เห็นต่อความเสื่อมที่คุกคามสังคมไทยในเพลานี้ เพราะตัวเองพลอยได้
รับประโยชน์โสตถิผล จากความโง่เขลาของเพื่อนร่วมสังคมอย่างอุ่นหนาฝาคั่ง
ปัญญาของชนชั้นกลางและชั้นสูงในสังคมในยามนี้นั้นแม้จะรู้ว่าอะไรดี อะไรไม่ดี แต่ก็ทนนิ่งเงียบเสียดีกว่า เพราะใน
ความเงียบของชนชั้นกลางและชั้นสูงทั้งหลาย หมายถึงการโกยรายได้เป็นกอบเป็นกำาจากคนชั้นล่างหรือชั้นอื่นที่โง่กว่า
กรุงศรีอยุธยานั้นว่ากันว่าที่แตกเป็นจุณไม่ใช่เพราะพม่าข้าศึกจะเก่งกาจอะไร แต่เพราะคนไทยที่เป็นชนชั้นนำา ต่างพา
กันดูดายและเห็นแก่ตัวต่างหาก ภาวะอย่างนี้ชวนให้นึกถึงสุนทรภู่ที่พรรณนาสภาพกรุงศรีอยุธยาหลังจากเสียกรุงเอาไว้ว่า
กําแพงป้อมขอบคูก็ดลู ึก ไม่น่าอ้ายขุนศึกเข้ามาได้
ยังปล่อยให้ข้ามเข้าเอาเวียงชัย โอ้กระไรเหมือนบุรีไม่มีชาย

ทุกวันนี้สังคมไทยกลายเป็นสังคมหลักลอยทางความเชื่อและไม่มีจริยธรรมทางปัญญาอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน เห็น
สภาพแล้ว อยากนำาบทกลอนของกวีหญิงนิรนามท่านหนึ่งที่พรรณนาสภาพกรุงเทพฯ เมืองไทยในตอนนี้ว่า
กําแพงแก้วแววไวไสวสว่าง ยังมาสร้างจตุคามงามหน้าเหลือ
มาทิ้งธรรมสยบเทพเสพเป็นเบือ โอ้ว่าเรือประเทศไทยบรรลัยแล้ว

เรื่องวัตถุมงคล "เมื่อไม่เชื่อก็ไม่ว่า อย่าลบหลู่ ถ้าเชื่อต้องตรองดู อย่างมงาย" บรรดาวัตถุมงคลทั้งหลายแหล่ไม่มีจิต


วิญญาณ เป็นเพียงวัตถุที่ทำา ขึ้นด้วยตะกั่ว โลหะ และอื่นๆ เมื่อตรองดูแล้ว จะช่วยอะไรได้ วัตถุมงคลบางอย่างที่ศักดิ์สิทธิ์
เพราะมีเทพหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์มาสิงสู่อาจเป็นครั้งคราวเพราะเทพและสิ่งศักดิ์สิทธิ์คงไม่มีหน้าที่ลงมาสิ่งสู่วัตถุมงคลเป็นประจำา
เพราะฉะนั้น วัตถุมงคลจึงไม่อาจช่วยเราได้เสมอไป การยึดมั่นถือมั่นในวัตถุมงคลจนถึงกับคลั่งไคล้ใหลหลงคงไม่น่าใช่การก
ระทำาที่ผู้ที่ควรจะถูกเรียกว่ามี "สัมปชัญญะ"
พระพุทธเจ้าตรัสสอนว่า พะหุ โว สรณํ ยันฺนา ปพฺพตานิ วนานิจ อารามะรุกฺข เจตยานิ มนุสฺสา ภยะตชฺชิตา มนุษย์
เป็นอันมาก ถูกต้องคุกคามแล้ว ย่อมถึงภูเขา ป่า อาราม และรุกขเจดีย์ว่าเป็นที่พึ่ง ที่พึ่งนั้นแลไม่เกษม ที่พึ่งนั้นไม่อุดม เพราะ
บุคคลอาศัยที่พึ่งนั้น ย่อมไม่พ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้ ส่วนบุคคลใดถึงพระพุทธเจ้า พระธรรมและพระสงฆ์ ว่าเป็นที่พึ่ง ย่อมเห็น
อริยสัจสี่ คือ ทุกข์ เหตุให้เกิดทุกข์ ความก้าวล่วงทุกข์ และมรรคมีองค์แปดอันประเสริฐ ซึ่งยังให้เกิดความสงบแห่งทุกข์ด้วย
ปัญญาชอบ ที่พึ่งนั้นแลของบุคคลนั้นเกษม ที่พึ่งนั้นอุดม เพราะบุคคลอาศัยที่พึ่งนั้นย่อมพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้

ปกป้อง วงศ์แก้ว
เตรสมดิถี อาษาฒมาส พุทธศักราช ๒๕๕๐

You might also like