You are on page 1of 4

ซีเอสอาร์ กับ ข้อตกลงโลก 10 ประการ

ในแวดวงของซีเอสอาร์ที่มีการพูดถึงเรื่องซึ่งบรรดากิจการต่างๆ ต้องคำานึงถึงใน
กระบวนการดำาเนินธุรกิจ มักหนีไม่พ้นเรื่องของความรับผิดชอบต่อผู้บริโภค เรื่องของสิทธิ
มนุษยชนและมาตรฐานแรงงาน เรื่องของสิ่งแวดล้อม ตลอดจนเรื่องของบรรษัทภิบาลหรือ
การกำากับดูแลกิจการที่ดี ประเด็นที่กล่าวถึงเหล่านี้ สหประชาชาติ โดยตัวเลขาธิการเอง ก็ได้
ตระหนักถึงความสำาคัญในความเป็นบรรษัทพลเมือง (Corporate Citizenship) ของ
บรรดากิจการทั้งหลาย ที่อาจส่งผลกระทบต่อโลกได้ทั้งในทางบวกและในทางลบอย่าง
มากมายมหาศาล

ข้อตกลงโลกแห่งสหประชาชาติ หรือ UN Global Compact จึงถูกริเริ่มขึ้นในปี


1999 เพื่อเชิญชวนให้เหล่าบรรดาบรรษัทพลเมืองทั้งหลายเข้าร่วมทำาข้อตกลงภายใต้หลัก
สากล 10 ประการ สำาหรับนำาไปใช้ในการดำาเนินกิจกรรมทางธุรกิจ ให้ได้ชื่อว่าเป็น บรรษัท
พลเมืองที่มีความรับผิดชอบ หรือ Responsible Corporate Citizen ในสังคมโลก

หลักสากล 10 ประการดังกล่าว เกี่ยวข้องกับประเด็นหลัก 4 เรื่อง ได้แก่ เรื่องสิทธิมนุษย


ชน (Human Rights) เรื่องแรงงาน (Labour) เรื่องสิ่งแวดล้อม
(Environment) และเรื่องการต้านทุจริต (Anti-Corruption) โดยหลัก 10
ประการนั้น ประกอบด้วย

สิทธิมนุษยชน
หลักประการที่ 1 - สนับสนุนและเคารพในการปกป้องสิทธิมนุษยชนที่ประกาศในระดับสากล
ตามขอบเขตอำานาจที่เอื้ออำานวย
หลักประการที่ 2 - หมั่นตรวจตราดูแลมิให้ธุรกิจของตนเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการล่วง
ละเมิดสิทธิมนุษยชน

แรงงาน
หลักประการที่ 3 – ส่งเสริมสนับสนุนเสรีภาพในการรวมกลุ่มของแรงงานและการรับรอง
สิทธิในการร่วมเจรจาต่อรองอย่างจริงจัง
หลักประการที่ 4 - ขจัดการใช้แรงงานเกณฑ์และที่เป็นการบังคับในทุกรูปแบบ
หลักประการที่ 5 - ยกเลิกการใช้แรงงานเด็กอย่างจริงจัง
หลักประการที่ 6 - ขจัดการเลือกปฏิบัติในเรื่องการจ้างงานและการประกอบอาชีพ

สิ่งแวดล้อม
หลักประการที่ 7 - สนับสนุนแนวทางการระแวดระวังในการดำาเนินงานที่อาจส่งผลกระทบ
ต่อสิ่งแวดล้อม
หลักประการที่ 8 - อาสาจัดทำากิจกรรมที่ส่งเสริมการยกระดับความรับผิดชอบต่อสิ่ง
2

แวดล้อม
หลักประการที่ 9 - ส่งเสริมการพัฒนาและการเผยแพร่เทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

การต้านทุจริต
หลักประการที่ 10 - ดำาเนินงานในทางต่อต้านการทุจริต รวมทั้งการกรรโชก และการให้
สินบนในทุกรูปแบบ

นับตั้งแต่ที่มีการประกาศข้อตกลงโลกแห่งสหประชาชาติอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 26
กรกฎาคม 2543 ได้มีหน่วยงานต่างๆ เข้าร่วมแล้วเกือบ 3,000 แห่ง โดยในจำานวนนี้เป็น
องค์กรธุรกิจกว่า 2,500 ราย จาก 90 ประเทศทั่วโลก สำาหรับในประเทศไทย มีองค์กร
ธุรกิจจำานวน 18 แห่ง รวมถึงสภาองค์การนายจ้างแห่งประเทศไทยและสภาอุตสาหกรรม
แห่งประเทศไทยได้เข้าร่วมในข้อตกลงดังกล่าว

ซีเอสอาร์ในบริบทของข้อตกลงโลกแห่งสหประชาชาติ ก็คือ การปรับแนวการดำาเนินงานของ


ธุรกิจโดยยึดหลัก 10 ประการนี้ เป็นรากฐานและค่านิยมขององค์กร ทั้งนี้ การเข้าร่วมในข้อ
ตกลงจะเป็นไปโดยสมัครใจ และไม่มีข้อผูกพันทางกฎหมายแต่อย่างใด

CSR ต่างกับ CG อย่างไร


คำาถามหนึ่งที่เกิดขึ้นในห้วงเวลานี้ สำาหรับผู้ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องการกำากับดูแลกิจการ
(Corporate Governance – CG) กับเรื่องการดำาเนินกิจการที่มีความรับผิดชอบ
ต่อสังคม (Corporate Social Responsibility – CSR) ว่าสองเรื่องนี้มีความ
เหมือนกันหรือความแตกต่างกันหรือไม่ อย่างไร โดยคนกลุ่มหนึ่งมีความเห็นว่า CSR นั้น
เป็นส่วนหนึ่งของ CG ในขณะที่คนอีกกลุ่มหนึ่งกลับเห็นว่า CG นั้นเป็นส่วนหนึ่งของ
CSR ต่างหาก ในบทความนี้ จะได้พยายามชี้ให้เห็นข้อแตกต่างระหว่างเรื่องของ CG กับ
เรื่องของ CSR

หลัก “การกำากับดูแลกิจการ” (Corporate Governance) ที่ดสี ำาหรับบริษัทจด


ทะเบียน ปี 2549 ตามที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในฐานะที่เป็นประธานคณะ
อนุกรรมการสร้างความรู้ความเข้าใจและการประชาสัมพันธ์การดำาเนินการเกี่ยวกับ
Corporate Governance ในประเทศไทย ได้ประกาศเผยแพร่นั้น เป็นการนำาข้อพึง
ปฏิบัติจากหลักการกำากับดูแลกิจการที่ดี 15 ข้อ ที่ได้ประกาศใช้เมื่อเดือนมีนาคม 2545
มาปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมให้เทียบเคียงกับหลักการกำากับดูแลกิจการของ The
Organisation for Economic Co-Operation and Development
(OECD Principles of Corporate Governance ปี 2004) และข้อเสนอแนะ
ของธนาคารโลกจากการเข้าร่วมโครงการ Corporate Governance - Reports
3

on the Observance of Standards and Codes (CG-ROSC) โดยปรับให้


มีความเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของบริษัทจดทะเบียนไทย มีอยู่ด้วยกัน 5 หมวด ได้แก่
สิทธิของผูถ้ ือหุ้น การปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียมกัน บทบาทของผู้มีส่วนได้เสีย การ
เปิดเผยข้อมูลและความโปร่งใส และความรับผิดชอบของคณะกรรมการ

หมวดที่ 1 สิทธิของผู้ถือหุ้น - ผู้ถือหุ้นมีสิทธิในความเป็นเจ้าของโดยควบคุมบริษัทผ่าน


การแต่งตั้งคณะกรรมการให้ทำาหน้าที่แทนตนและมีสิทธิในการตัดสินใจเกี่ยวกับการ
เปลี่ยนแปลงที่สำาคัญของบริษัท บริษัทจึงควรส่งเสริมให้ผู้ถือหุ้นได้ใช้สิทธิของตน

หมวดที่ 2 การปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียมกัน - ผู้ถือหุ้นทุกราย ทั้งผู้ถือหุ้นที่เป็น


ผู้บริหารและผู้ถือหุ้นที่ไม่เป็นผู้บริหาร รวมทั้งผู้ถือหุ้นต่างชาติ ควรได้รับการปฏิบัติที่เท่า
เทียมกันและเป็นธรรม ผู้ถือหุ้นส่วนน้อยที่ถูกละเมิดสิทธิควรมีโอกาสได้รับการชดเชย

หมวดที่ 3 บทบาทของผู้มีส่วนได้เสีย - ผู้มีส่วนได้เสียควรได้รับการดูแลจากบริษัทตาม


สิทธิที่มีตามกฎหมายทีเ่ กี่ยวข้อง คณะกรรมการควรพิจารณาให้มีกระบวนการส่งเสริมให้
เกิดความร่วมมือระหว่างบริษัทกับผู้มีส่วนได้เสียในการสร้างความมั่งคั่ง ความมั่นคง
ทางการเงินและความยั่งยืนของกิจการ

หมวดที่ 4 การเปิดเผยข้อมูลและความโปร่งใส - คณะกรรมการควรดูแลให้บริษัทเปิด


เผยข้อมูลสำาคัญที่เกี่ยวข้องกับบริษัท ทั้งข้อมูลทางการเงินและข้อมูลที่มิใช่ข้อมูลทางการเงิน
อย่างถูกต้อง ครบถ้วน ทันเวลา โปร่งใส ผ่านช่องทางที่เข้าถึงข้อมูลได้ง่าย มีความเท่าเทียม
กันและน่าเชื่อถือ

หมวดที่ 5 ความรับผิดชอบของคณะกรรมการ - คณะกรรมการมีบทบาทสำาคัญใน


การกำากับดูแลกิจการเพื่อประโยชน์สูงสุดของบริษัท คณะกรรมการมีความรับผิดชอบต่อผล
การปฏิบัติหน้าที่ต่อผู้ถือหุ้นและเป็นอิสระจากฝ่ายจัดการ

หลักการกำากับดูแลกิจการทั้ง 5 หมวดนี้ หมวด 1 และหมวด 2 เป็นเรื่องทีเ่ กี่ยวกับผู้ถือหุ้น


ขณะที่หมวด 4 และหมวด 5 เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับคณะกรรมการ ซึ่งทั้งผู้ถือหุ้นและคณะ
กรรมการถือเป็นผู้มีส่วนได้เสียในกิจการ มีเพียงหมวดที่ 3 ที่กล่าวถึงผู้มีส่วนได้เสียนอก
กิจการ ซึ่งเป็นส่วนทีเ่ กี่ยวข้องหลักกับการดำาเนินกิจการที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม
(Corporate Social Responsibility)

แนวปฏิบัติตามหลักการในหมวดที่ 3 นี้ ผู้มีส่วนได้เสียควรได้รับการดูแลจากบริษัทตาม


สิทธิที่มีตามกฎหมายทีเ่ กี่ยวข้อง และเมื่อพิจารณาที่จุดม่งหมายของหลักการดังกล่าวก็ยิ่ง
จำากัดว่าเป็นไปเพื่อสร้างความมั่งคั่ง ความมั่นคงทางการเงินและความยั่งยืนของกิจการ ใน
ขณะที่เจตนารมณ์ในการดำาเนินกิจการที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมที่แท้ ต้องเป็นไปโดยยึด
ประโยชน์ของสังคมเป็นที่ตั้ง และการดูแลผู้มีส่วนได้เสียนอกกิจการ ควรมีจุดเริ่มต้นมาจาก
4

จิตสำานึกที่ต้องการทำาด้วยความเต็มใจ มิใช่แค่เพียงแค่ปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

ดังนั้น การดำาเนินกิจกรรมโดยมีเป้าหมายที่ผู้ถือหุ้น ผู้บริหารหรือคณะกรรมการ เป็นตัวตั้ง


(ซึ่งนับเป็นผู้มีส่วนได้เสียในกิจการ) กิจกรรมเหล่านี้ไม่อาจเรียกว่าเป็น CSR ในขณะที่
การดำาเนินกิจกรรมโดยมีเป้าหมายที่ครอบครัวของพนักงาน ชุมชนที่องค์กรตั้งอยู่ (รวมถึง
สิ่งแวดล้อม) ลูกค้า คูค่ ้า คู่แข่งขัน และประชาชนทั่วไป เป็นตัวตั้ง (ซึ่งนับเป็นผู้มีส่วนได้เสีย
นอกกิจการ) กิจกรรมที่ดำาเนินด้วยความรับผิดชอบต่อกลุ่มเป้าหมายเหล่านี้ จึงจัดว่าเป็น
CSR

กิจการใดที่มี CG อยู่แล้ว ก็มีแนวโน้มที่จะมี CSR ด้วย หากว่ากิจการนั้น มีการขยาย


กิจกรรมครอบคลุมไปถึงกลุ่มเป้าหมายที่อยู่นอกกิจการ อย่างไรก็ดี ยังคงต้องพิจารณาต่อ
ไปว่า CSR ที่มีนั้น เป็น CSR แท้ หรือ CSR เทียม โดยพิจารณาจากเกณฑ์พื้นฐาน 2
ประการ คือ ประการแรก ทำาจากจิตสำานึกที่ดีและด้วยความเต็มใจหรือไม่ และประการที่สอง
ประโยชน์ที่ได้รับตกอยู่กับสังคมหรือกับกิจการมากกว่ากัน เรื่อง CG และ CSR จึงมิใช่
เรื่องเดียวกัน แต่มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันอย่างใกล้ชิด

กรณีศกึ ษา CSR. ประเทศไทย

1. อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง
2. แอมเวย์ (ประเทศไทย)
3. จุลไหมไทย
4. เนสท์เล่ (ประเทศไทย
5. พานาโซนิค อีเล็คทริค เวิร์คส์ (ไทยแลนด์)
6. ไทยประกันชีวิต
7. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

You might also like